เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
  
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ     

  หนังสือภพภูมิ - พุทธวจน   ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
  5 of 7  
 
   หนังสือภพภูม พุทวจน  ที่มา : http://watnapp.com/book  
       
    สารบัญ หน้า  
  ๘๗ ความแตกต่างระหว่างปุถุชน กับอริยสาวก ผู้ได้รูปสัญญา 325  
  ๘๘ ผลของการเจริญรูปสัญญา แล้วเห็นความไม่เที่ยง 331  
  ๘๙ ความแตกต่างระหว่างปุถุชนกับอริยสาวกพรหมวิหาร 333  
  ๙๐ ผลของการเจริญพรหมวิหาร และเห็นความไม่เที่ยง 339  
  ๙๑ ความแตกต่างระหว่างปุถุชนกับอริยสาวก ผู้ได้รูปสัญญา 342  
  ๙๒ ผลของการเจริญอรูปสัญญา แล้วเห็นความไม่เที่ยง 347  
  ๙๓ เทวดาชั้นสุทธาวาส 349  
  ๙๔ ชุมนุมเทวดา 354  
  ๙๕ เทวดาเคยรบกับอสูร 362  
  ๙๖ ตำแหน่งที่สตรีเป็นไปไม่ได้ 366  
  ๙๗ อานิสงส์แห่งการฟังธรรมเนืองๆ 368  
  ๙๘ การเข้าถึงสวรรค์ในภพปัจจุบัน 373  
  ๙๙ แม้เทวดาก็ไม่เที่ยง 375  
  ๑๐๐ ความเห็นผิดของพกพรหม 377  
  ๑๐๑ เหตุที่มีความเห็นว่า อัตตาและโลกบางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง 381  
  ๑๐๒ สุคติของเทวดา 387  
  ๑๐๓ ความเป็นได้ยาก 391  
  ๑๐๔ ความนานแห่งกัป (นัยที่๑) 396  
  ๑๐๕ ความนานแห่งกัป (นัยที่๒) 398  
  ๑๐๖ ความนานแห่งสังสารวัฏ (นัยที่๑) 400  
  ๑๐๗ ความนานแห่งสังสารวัฏ (นัยที่๒) 402  
 
 


หน้า 325

๘๗
ความแตกต่างระหว่างปุถุชนกับอริยสาวกผู้ได้รูปสัญญา
(ฌาณ๑-๔)

ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคล ๔ จําพวกนี้ มีอยู่ในโลก หาได้ในโลก ๔ จําพวก อย่างไรเล่า ? คือ

(๑) บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะสงัดจากกาม และอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุ ปฐมฌาน อันมีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุข เกิดแต่วิเวกแล้วแลอยู่เขาย่อมชอบใจ ธรรมนั้น ปรารถนาธรรมนั้น และ ถึงความยินดีด้วยธรรม นั้น เขาดํารงอยู่ในธรรมนั้น น้อมใจ ไปในธรรมนั้น อยู่มากด้วยธรรมนั้น ไม่เสื่อมจากธรรมนั้น เมื่อทํากาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่า พรหมกายิกา

ภิกษุทั้งหลาย ! กัปหนึ่งเป็นประมาณอายุของ เทวดาเหล่าพรหมกายิกา ปุถุชนดํารง อยู่ในชั้นพรหมกายิกา นั้น ตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณอายุของเทวดาเหล่านั้น ให้สิ้นไปแล้ว ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กําเนิด เดรัจฉาน บ้าง

เปรตวิสัยบ้าง ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาคดํารงอยู่ใน ชั้นพรหมกายิกานั้น ตราบ เท่าสิ้นอายุยังประมาณ อายุของ เทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมปรินิพพานในภพ นั้นเอง

ภิกษุทั้งหลาย! นี้เป็นความผิดแผกแตกต่างกัน เป็นความมุ่งหมายที่แตกต่างกัน เป็นเครื่องกระทําให้แตก ต่าง กัน ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้มิได้สดับ ในเมื่อคติอุบัติยังมีอยู่

(๒) อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะสงบวิตกวิจารเสียได้ จึงบรรลุ ทุติยฌาน อันเป็นเครื่อง ผ่องใสแห่งจิตในภายใน สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดขึ้น ไม่มี วิตกวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิด แต่สมาธิ แล้วแลอยู่

เขาย่อมชอบใจธรรมนั้น ปรารถนาธรรมนั้น และ ถึงความยินดีด้วยธรรมนั้น เขาดํารงอยู่ ในธรรมนั้น น้อมใจ ไปในธรรมนั้น อยู่มากด้วยธรรมนั้น ไม่เสื่อมจากธรรมนั้น เมื่อทํา กาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของ เทวดาเหล่า อาภัสสระ

ภิกษุทั้งหลาย ! ๒ กัปเป็นประมาณอายุของ เทวดาเหล่าอาภัสสระ ปุถุชนดํารงอยู่ ในชั้น อาภัสสระ ตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณอายุของเทวดาเหล่านั้น ให้สิ้นไป แล้ว ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กําเนิดเดรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง ส่วนสาวกของพระผู้มี พระภาค ดํารงอยู่ใน ชั้นอาภัสสระนั้น ตราบเท่าตลอดอายุยังประมาณอายุของ เทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เป็นความผิดแผกแตกต่างกัน เป็นความมุ่งหมายที่แตกต่างกัน เป็นเครื่อง กระทํา ให้แตกต่าง กัน ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้มิได้สดับ ในเมื่อคติอุบัติยังมีอยู่

(๓) อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะความจางไปแห่งปีติ จึงอยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และย่อมเสวยสุขด้วยกาย จึงบรรลุตติยฌาน อันเป็นฌาน ที่พระอริยเจ้า กล่าวว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้อยู่ อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข

เขาย่อมชอบใจธรรมนั้น ปรารถนาธรรมนั้น และ ถึงความยินดีด้วยธรรมนั้น เขาดํารงอยู่ ในธรรมนั้น น้อมใจ ไปในธรรมนั้น อยู่มากด้วยธรรมนั้น ไม่เสื่อมจากธรรมนั้น เมื่อทํากาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของ เทวดาเหล่า สุภกิณหะ

ภิกษุทั้งหลาย ! ๔ กัปเป็นประมาณอายุของ เทวดาเหล่าสุภกิณหะ ปุถุชนดํารงอยู่ใน ชั้นสุภกิณหะนั้น ตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณอายุของเทวดาเหล่านั้น ให้สิ้นไป แล้ว ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กําเนิดเดรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง ส่วนสาวกของพระผู้มี พระภาค ดํารงอยู่ใน ชั้นสุภกิณหะนั้น ตราบเท่าตลอดอายุยังประมาณอายุของ เทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เป็นความผิดแผกแตกต่างกัน เป็นความมุ่งหมายที่แตกต่างกัน เป็นเครื่องกระทํา ให้แตกต่าง กัน ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้มิได้สดับ ในเมื่อคติอุบัติยังมีอยู่

(๔) อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะละสุขและทุกข์เสียได้ เพราะความ ดับหายไปแห่ง โสมนัสและโทมนัสทั้งหลาย ในกาลก่อน จึงบรรลุ จตุตถฌาน อันไม่มี ทุกข์ไม่มีสุข มีแต่ความที่มีสติเป็น ธรรมชาติบริสุทธิ์ เพราะ อุเบกขาแล้วแลอยู่ เขาย่อม ชอบใจธรรมนั้น ปรารถนาธรรมนั้น และ ถึงความยินดี ด้วยธรรมนั้น เขาดํารงอยู่ ในธรรมนั้น น้อมใจ

ไปในธรรมนั้น อยู่มากด้วยธรรมนั้น ไม่เสื่อมจากธรรมนั้น เมื่อทํากาละ ย่อมเข้าถึงความ เป็นสหายของ เทวดาเหล่า เวหัปผละ

ภิกษุทั้งหลาย! ๕๐๐ กัปเป็นประมาณอายุของ เทวดาเหล่าเวหัปผละ ปุถุชนดํารงอยู่ ในชั้นเวหัปผละนั้น ตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณอายุของเทวดาเหล่านั้น ให้สิ้นไปแล้ว ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กําเนิดเดรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง ส่วนสาวกของ พระผู้มี พระภาคดํารงอยู่ใน ชั้นเวหัปผละนั้นตราบเท่า ตลอดอายุ ยังประมาณอายุของ เทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เป็นความผิดแผกแตกต่างกัน เป็นความมุ่งหมายที่แตกต่างกัน เป็นเครื่องกระทํา ให้แตกต่าง กัน ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้มิได้สดับ ในเมื่อคติอุบัติยังมีอยู่

ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคล ๔ จําพวกนี้แล มีอยู่ในโลก หาได้ในโลก
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หน้า 331

๘๘
ผลของการเจริญรูปสัญญา
(ฌาณ๑-๔) แล้วเห็นความไม่เที่ยง

ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคล ๔ จําพวกนี้ มีอยู่ในโลก หาได้ในโลก ๔ จําพวก อย่างไรเล่า ? คือ

(๑) บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะสงัดจากกาม และอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุ ปฐมฌาน อันมีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุข เกิดแต่วิเวกแล้วแลอยู่

รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณอันใด มี อยู่ในธรรมนั้น บุคคลนั้นพิจารณา เห็นธรรม เหล่านั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค เป็นดัง หัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นของทนได้ยาก เป็นของเบียดเบียน เป็นของไม่เชื่อฟังเป็นของ ต้องทําลายไป เป็นของว่างเปล่า เป็นของไม่ใช่ตน บุคคลนั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึง ความ เป็นสหายของเทวดา เหล่าสุทธาวาส.
ภิกษุทั้งหลาย ! ความอุบัตินี้แล ไม่ทั่วไปด้วยปุถุชน.

(๒) อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะสงบวิตกวิจารเสียได้ จึงบรรลุ ทุติยฌาน ....

(๓) อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะความจางไปแห่งปีติ จึงอยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และย่อมเสวยสุขด้วยกาย จึงบรรลุตติยฌาน ....

(๔) อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะละสุขและทุกข์เสียได้ เพราะ ความดับหายไป แห่งโสมนัส และโทมนัสทั้งหลายในกาลก่อน จึงบรรลุ จตุตถฌาน อันไม่มี ทุกข์ไม่มีสุข มีแต่ความที่มีสติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ เพราะ อุเบกขาแล้วแลอยู่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณอันใด มี อยู่ในธรรมนั้น บุคคลนั้นพิจารณา เห็นธรรม เหล่านั้น โดยความเป็นของ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค เป็นดัง หัวฝี เป็นดังลูกศรเป็นของทนได้ยาก เป็นของเบียดเบียน เป็นของไม่เชื่อฟัง เป็นของต้อง ทําลายไปเป็นของว่างเปล่า เป็นของไม่ใช่ตน บุคคลนั้น เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความ เป็นสหายของเทวดาเหล่าสุทธาวาส

ภิกษุทั้งหลาย ! ความอุบัตินี้แลไม่ทั่วไปด้วยปุถุชน ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคล ๔ จําพวกนี้แล มีอยู่ในโลก หาได้ในโลก

จตุกก. อ. ๒๑/๑๗๑/๑๒๔.
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หน้า ๓๓๓

๘๙
ความแตกต่างระหว่างปุถุชน กับอริยสาวก ผู้เจริญพรหมวิหาร


ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคล ๔ จําพวกนี้ มีอยู่ในโลก หาได้ในโลก ๔ จําพวกอย่างไรเล่า ? คือ: -

(๑) บุคคลบางคนในโลกนี้ มีจิตประกอบด้วย เมตตา แผ่ไปสู่ทิศที่หนึ่ง ทิศที่สอง ที่สาม ที่สี่ ก็เหมือน อย่างนั้น ทั้งเบื้องบน เบื้องล่างและเบื้องขวาง เธอแผ่ไป ตลอด โลกทั้งสิ้น ในที่ทั้งปวง แก่สัตว์ทั้งหลายทั่วหน้าเสมอกัน ด้วยจิตอันประกอบ ด้วยเมตตา เป็นจิตไพบูลย์ ใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แล้วแลอยู่
เขาย่อมชอบใจธรรมนั้น ปรารถนาธรรมนั้น และ ถึงความยินดีด้วยธรรมนั้น เขาดํารง อยู่ในธรรม นั้น น้อมใจ ไปในธรรมนั้น อยู่มากด้วยธรรมนั้น ไม่เสื่อมจากธรรมนั้น เมื่อทํากาละ ย่อมเข้าถึง ความเป็นสหายของเทวดาเหล่า พรหมกายิกา

ภิกษุทั้งหลาย ! กัปหนึ่ง เป็นประมาณอายุของ เทวดาเหล่าพรหมกายิกา ปุถุชนดํารง อยู่ในชั้น พรหมกายิกา นั้น ตราบเท่าตลอดอายุยังประมาณอายุของเทวดาเหล่านั้น ให้สิ้นไปแล้ว ย่อมเข้าถึง นรกบ้าง กําเนิดเดรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง ส่วนสาวก ของพระผู้มีพระภาค ดํารงอยู่ใน ชั้นพรหมกายิกานั้นตราบเท่าสิ้นอายุ ยังประมาณ อายุของ เทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไป แล้ว ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เป็นความผิดแผกแตกต่างกัน เป็นความมุ่งหมายที่แตกต่างกัน เป็นเครื่อง กระทํา ให้แตกต่าง กัน ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้มิได้สดับ ในเมื่อคติอุบัติยังมีอยู่

(๒) อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ มีจิตประกอบด้วย กรุณา แผ่ไปสู่ทิศที่หนึ่ง ทิศที่สอง ที่สาม ที่สี่ ก็เหมือนอย่างนั้น ทั้งเบื้องบน เบื้องล่างและ เบื้องขวาง เธอ แผ่ไปตลอดโลกทั้งสิ้น ในที่ทั้งปวง แก่สัตว์ ทั้งหลายทั่วหน้าเสมอกัน ด้วยจิตอัน ประกอบด้วยกรุณา เป็นจิตไพบูลย์ ใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มี พยาบาท แล้วแลอยู่ เขาย่อมชอบใจธรรมนั้น ปรารถนาธรรมนั้น และ ถึงความยินด ีด้วยธรรมนั้น เขาดํารง อยู่ ในธรรมนั้น น้อมใจ ไปในธรรมนั้น อยู่มากด้วยธรรมนั้น ไม่เสื่อมจากธรรมนั้น เมื่อทํากาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่า อาภัสสระ

ภิกษุทั้งหลาย ! ๒ กัป เป็นประมาณอายุของ เทวดาเหล่าอาภัสสระ ปุถุชนดํารงอยู่ใน ชั้น อาภัสสระนั้น ตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณอายุของเทวดาเหล่านั้น ให้สิ้นไป แล้ว ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กําเนิดเดรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง ส่วนสาวกของพระผู้มี พระภาค ดํารงอยู่ใน ชั้นอาภัสสระนั้น ตราบเท่าตลอดอายุยังประมาณอายุของ เทวดา เหล่านั้น ให้สิ้นไปแล้ว ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เป็นความผิดแผกแตกต่างกัน เป็นความมุ่งหมายที่แตกต่างกัน เป็น เครื่องกระทําให้แตกต่างกัน ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้มิได้สดับ ในเมื่อคติอุบัติยังมีอยู่

(๓) อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ มีจิตประกอบด้วย มุทิตา แผ่ไปสู่ทิศที่หนึ่ง ทิศที่สอง ที่สาม ที่สี่ ก็เหมือนอย่างนั้น ทั้งเบื้องบน เบื้องล่างและ

เบื้องขวาง เธอแผ่ไปตลอดโลกทั้งสิ้น ในที่ทั้งปวง แก่สัตว์ ทั้งหลายทั่วหน้าเสมอกัน ด้วยจิตอันประกอบด้วยมุทิตา เป็นจิตไพบูลย์ ใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มี พยาบาทแล้วแลอยู่ เขาย่อมชอบใจธรรมนั้น ปรารถนาธรรมนั้น และ ถึงความยินดี ด้วยธรรมนั้น เขาดํารง อยู่ในธรรมนั้น น้อมใจ ไปในธรรมนั้น อยู่มากด้วยธรรมนั้น ไม่เสื่อมจากธรรมนั้น เมื่อ ทํากาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่า สุภกิณหะ

ภิกษุทั้งหลาย ! ๔ กัป เป็นประมาณอายุของ เทวดาเหล่าสุภกิณหะ ปุถุชนดํารงอยู่ ในชั้น สุภกิณหะนั้น ตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณอายุของเทวดาเหล่านั้น ให้สิ้น ไปแล้ว ย่อมเข้าถึง นรกบ้าง กําเนิดเดรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง ส่วนสาวกของพระผู้มี พระภาคดํารงอยู่ใน ชั้นสุภกิณหะนั้นตราบเท่า ตลอดอายุ ยังประมาณอายุของ เทวดาเหล่านั้น ให้สิ้นไปแล้ว ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เป็นความผิดแผกแตกต่างกัน เป็นความมุ่งหมายที่แตกต่างกัน เป็นเครื่อง กระทํา ให้แตกต่าง กัน ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้มิได้สดับ ในเมื่อคติอุบัติยังมีอยู่

(๔) อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ มีจิตประกอบด้วย อุเบกขา แผ่ไปสู่ทิศ ที่หนึ่ง ทิศที่สอง ที่สาม ที่สี่ ก็เหมือนอย่างนั้น ทั้งเบื้องบน เบื้องล่างและ เบื้องขวาง เธอแผ่ไป ตลอดโลกทั้งสิ้น ในที่ทั้งปวง แก่สัตว์ ทั้งหลายทั่วหน้าเสมอกัน ด้วยจิต อันประกอบด้วยอุเบกขา เป็นจิตไพบูลย์ ใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มี พยาบาทแล้วแลอยู่ เขาย่อมชอบใจธรรมนั้น ปรารถนาธรรมนั้น และ ถึงความ ยินดี ด้วยธรรมนั้น เขาดํารง อยู่ในธรรมนั้น น้อมใจ ไปในธรรมนั้น อยู่มากด้วยธรรมนั้น ไม่เสื่อมจากธรรมนั้น เมื่อทํากาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่า เวหัปผละ

ภิกษุทั้งหลาย ! ๕๐๐ กัป เป็นประมาณอายุของ เทวดาเหล่าเวหัปผละ ปุถุชนดํารง อยู่ในชั้น เวหัปผละนั้น ตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณอายุของเทวดาเหล่านั้น ให้สิ้นไปแล้ว ย่อมเข้าถึง นรกบ้าง กําเนิดเดรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง ส่วนสาวก ของพระผู้มีพระภาคดํารงอยู่ใน ชั้นเวหัปผละนั้น ตราบเท่าสิ้นอายุ ยังประมาณ อายุของ เทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เป็นความผิดแผกแตกต่างกัน เป็นความมุ่งหมายที่แตกต่างกัน เป็นเครื่อง กระทําให้แตกต่าง กัน ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับ กับปุถุชนผู้มิได้สดับ ในเมื่อคติอุบัติยังมีอยู่

ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคล ๔ จําพวกนี้แล มีอยู่ในโลก หาได้ในโลก
จตุกก. อ. ๒๗๑๒/๒-๑๗/๑๒๕-๑๒๖.
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หน้า ๓๓๙

๙๐
ผลของการเจริญพรหมวิหาร
(เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา)

แล้วเห็นความไม่เที่ยง ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคล ๔ จําพวกนี้ มีอยู่ในโลก หาได้ในโลก ๔ จําพวกอย่างไรเล่า ? คือ: -

(๑) บุคคลบางคนในโลกนี้ มีจิตประกอบด้วย เมตตา แผ่ไปสู่ทิศที่หนึ่ง ทิศที่สอง ที่สาม ที่สี่ ก็เหมือน อย่างนั้น ทั้งเบื้องบน เบื้องล่างและเบื้องขวาง เธอแผ่ไป ตลอด โลกทั้งสิ้น ในที่ทั้งปวง แก่สัตว์ทั้งหลายทั่วหน้าเสมอกัน ด้วยจิตอันประกอบด้วย เมตตา เป็นจิตไพบูลย์ ใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาทแล้วแลอยู่

รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณอันใด มี อยู่ในธรรมนั้น บุคคลนั้นพิจารณา เห็นธรรม เหล่านั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค เป็นดัง หัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นของทน ได้ยาก เป็นของเบียดเบียน เป็นของไม่เชื่อฟังเป็นของ ต้องทําลายไป เป็นของว่างเปล่า เป็นของไม่ใช่ตน บุคคลนั้น เมื่อตายไปย่อมเข้าถึง ความเป็นสหาย ของเทวดา เหล่าสุทธาวาส. ภิกษุทั้งหลาย ! ความอุบัตินี้แลไม่ทั่วไป ด้วยปุถุชน.

(๒) อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ มีจิตประกอบด้วย กรุณา...

(๓) อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ มีจิตประกอบด้วย มุทิตา ...

(๔) อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ มีจิตประกอบด้วย อุเบกขาแผ่ไปสู่ ทิศที่หนึ่ง ทิศที่สอง ที่สาม ที่สี่ ก็เหมือนอย่างนั้น ทั้งเบื้องบน เบื้องล่างและ เบื้องขวาง เธอแผ่ไป ตลอดโลก ทั้งสิ้น ในที่ทั้งปวง แก่สัตว์ ทั้งหลายทั่วหน้า เสมอกัน ด้วยจิตอันประกอบด้วยเมตตา เป็นจิตไพบูลย์ ใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มี พยาบาทแล้วแลอยู่

รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณอันใด มีอยู่ในธรรมนั้น บุคคลนั้นพิจารณา เห็นธรรม เหล่านั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค เป็นดัง หัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นของทน ได้ยาก เป็นของเบียดเบียน เป็นของไม่เชื่อฟัง เป็นของต้อง ทําลายไปเป็นของว่างเปล่า เป็นของไม่ใช่ตน บุคคลนั้นเมื่อตายไปย่อมเข้าถึง ความ เป็นสหายของเทวดาเหล่าสุทธาวาส

ภิกษุทั้งหลาย ! ความอุบัตินี้แล ไม่ทั่วไปด้วยปุถุชน.

ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคล ๔ จําพวกนี้แล มีอยู่ในโลก หาได้ในโลก
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หน้า ๓๔๒

๙๑
ความแตกต่างระหว่างปุถุชนกับอริยสาวกผู้ได้อรูปสัญญา
(สมาธิระดับ อากาสา ขึ้นไป)

ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคล ๓ จําพวกนี้ มีอยู่ในโลก หาได้ในโลก ๓ จําพวก อย่างไรเล่า ? คือ : -

(๑) บุคคลบางคนในโลกนี้เพราะก้าวล่วงรูปสัญญา เสียได้โดยประการทั้งปวง เพราะความดับไปแห่ง ปฏิมสัญญา เพราะการไม่ใส่ใจซึ่ง นานัตตสัญญา จึงเข้าถึง อากาสานัญจายตนะ อันมีการทําในใจว่า อากาศไม่มีที่สุด ดังนี้ แล้วแลอยู่

เขาย่อมชอบใจธรรมนั้น ปรารถนาธรรมนั้น และ ถึงความยินดีด้วยธรรมนั้น เขาดํารง อยู่ในธรรมนั้น น้อมใจ ไปในธรรมนั้น อยู่มากด้วยธรรมนั้น ไม่เสื่อมจากธรรมนั้น เมื่อทํากาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเหล่าเทวดา ที่เข้าถึงชั้นอากาสานัญจา ยตนะ

ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่าเทวดาที่เข้าถึงชั้น อากาสานัญจายตนะ มีอายุประมาณ สองหมื่นกัป ปุถุชนดํารงอยู่ ในชั้นอากาสานัญจายตนะนั้น ตราบเท่าสิ้นอายุยัง ประมาณ อายุของเทวดา เหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กําเนิดเดรัจฉาน บ้าง เปรตวิสัยบ้าง ส่วนสาวกของ พระผู้มีพระภาคดํารงอยู่ในชั้นอากาสา นัญจายตนะ นั้นตราบเท่า สิ้นอายุ ยังประมาณอายุ ของเทวดา เหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อม ปรินิพพาน ในภพนั้นเอง

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เป็นความผิดแผกแตกต่างกัน เป็นความมุ่งหมายที่แตกต่างกัน เป็นเครื่อง กระทําให้แตกต่าง กัน ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้มิได้สดับ ในเมื่อคติอุบัติยังมีอยู่

(๒) อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะผ่านพ้นอากาสานัญจายตนะ เสียได้ โดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึงวิญญาณัญจายตนะ อันมีการทําในใจว่า “วิญญาณ ไม่มีที่สิ้นสุด”

เขาย่อมชอบใจธรรมนั้น ปรารถนาธรรมนั้น และ ถึงความยินดีด้วยธรรมนั้น เขาดํารง อยู่ในธรรมนั้น น้อมใจ ไปในธรรมนั้น อยู่มากด้วยธรรมนั้น ไม่เสื่อมจากธรรมนั้น เมื่อ ทํากาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเหล่าเทวดา ที่เข้าถึงชั้นวิญญาณัญจายตนะ

ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่าเทวดาที่เข้าถึงชั้นวิญญาณัญจายตนะ มีอายุประมาณ สี่หมื่นกัป ปุถุชน ดํารงอยู่ใน ชั้นวิญญาณัญจายตนะนั้นตราบเท่าสิ้นอายุยังประมาณ อายุ ของ เทวดาเหล่านั้น ให้สิ้นไปแล้ว ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กําเนิดเดรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง ส่วนสาวกของ พระผู้มีพระภาค ดํารงอยู่ในขั้นวิญญานัญจายตนะนั้นตราบเท่า สิ้นอายุ ยังประมาณอายุ ของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เป็นความผิดแผกแตกต่างกัน เป็นความมุ่งหมายที่แตกต่างกัน เป็นเครื่อง กระทําให้แตกต่าง กัน ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้มิได้สดับ ในเมื่อคติอุบัติยังมีอยู่

(๓) อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะผ่านพ้นวิญญาณัญจายตนะ เสียได้ โดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึงอากิญจัญญายตนะ อันมีการทําในใจว่า “อะไรๆ ไม่มี”

เขาย่อมชอบใจธรรมนั้น ปรารถนาธรรมนั้น และ ถึงความยินดีด้วยธรรมนั้น เขาดํารง อยู่ในธรรมนั้น น้อมใจ ไปในธรรมนั้น อยู่มากด้วยธรรมนั้น ไม่เสื่อมจากธรรมนั้น เมื่อ ทํากาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเหล่าเทวดา ที่เข้าถึงชั้นอากิญจัญญายตนะ

ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่าเทวดาที่เข้าถึงชั้นอากิญจัญญายตนะมีอายุประมาณ หกหมื่นกัป ปุถุชนดํารงอยู่ใน ชั้นอากิญจัญญายตนะนั้นตราบเท่าสิ้นอายุยัง ประมาณ อายุของ เทวดาเหล่านั้น ให้สิ้นไปแล้ว ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กําเนิดเดรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง ส่วนสาวกของ พระผู้มีพระภาค ดํารงอยู่ในชั้นอากิญจัญญายตนะนั้น ตราบเท่า สิ้นอายุ ยังประมาณ อายุของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมปรินิพพาน ในภพนั้นเอง

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เป็นความผิดแผกแตกต่างกัน เป็นความมุ่งหมายที่แตกต่างกัน เป็นเครื่องกระทําให้แตกต่าง กัน ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้มิได้สดับ ในเมื่อคติอุบัติยังมีอยู่

ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคล ๓ จําพวกนี้แล มีอยู่ในโลก หาได้ในโลก
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หน้า ๓๔๗

๙๒
ผลของการเจริญ อรูปสัญญา
แล้วเห็นความไม่เที่ยง
(สมาธิระดับ อากาสา ขึ้นไป)

ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้ ภิกษุเพราะก้าวล่วง รูปสัญญาเสียได้โดยประการทั้งปวง เพราะความดับไปแห่ง ปฏิฆสัญญา เพราะการไม่ใส่ใจซึ่งนานัตตสัญญา จึงเข้าถึง อากาสานัญจายตนะ อันมีการทําในใจว่า “อากาศไม่มีที่สิ้นสุด ดังนี้ แล้วแลอยู่

ในอากาสานัญจายตนะนั้น มีธรรมคือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เธอนั้น ตามเห็นซึ่งธรรมเหล่านั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค เป็นดัง หัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นของทนได้ยาก เป็นของเบียดเบียน เป็นของไม่เชื่อฟัง เป็นของ ต้องทําลายไป เป็นของว่างเปล่า เป็นของไม่ใช่ตน

เธอดํารงจิตด้วยธรรมเหล่านั้น แล้วจึงน้อมจิตไป สู่อมตธาตุ ด้วยการกําหนดว่า “นั่นสงบระงับ นั่นประณีต นั่นคือธรรมชาติเป็นที่สงบระงับแห่งสังขารทั้งปวง เป็น ที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็น ความจางคลาย เป็นความดับ เป็นนิพพาน” ดังนี้

เธอดํารงอยู่ใน วิปัสสนาญาณ มี อากาสานัญจายตนะ เป็นบาทนั้น ย่อมถึงความ สิ้นไปแห่ง อาสวะ ถ้าไม่ถึงความสิ้นไป แห่งอาสวะ ก็เป็นโอปปาติกะ อนาคามี ผู้ปรินิพพาน ในภพนั้น มีการไม่เวียนกลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะความสิ้นไป แห่งสังโยชน์ มีในเบื้องต่ําห้าประการ และเพราะอํานาจแห่ง ธัมมราคะ ธัมมนันทนั้น ๆ นั่นเอง

ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนนายขมังธนูหรือ ลูกมือของเขา ประกอบการฝึกอยู่ กะรูปหุ่นคนที่ทําด้วย หญ้าบ้าง กะรูปหุ่นดินบ้าง สมัยต่อมา เขาก็เป็นนายขมังธนู ผู้ยิงไกล ยิงเร็ว ทําลายหมู่พลอันใหญ่ได้
นวก. อ. ๒๓/๒๔๗๒๔๐.

(ในกรณีแห่งวิญญาณัญจายตนะ และอากิญจัญญายตนะ ก็ได้ตรัสไว้โดยทํานอง เดียวกันกับในกรณีแห่งอากาสานัญจายตนะนี้ ผิดกันแต่ชื่อแห่งสมาธิเท่านั้น ในกรณี ของปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌาน ก็ได้ตรัสไว้โดยทํานองเดียวกันนี้ แต่มีต่างกันตรงที่ให้เห็นความไม่เที่ยง ในขันธ์ทั้ง ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ -ผู้รวบรวม)
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หน้า ๓๔๙

๙๓
เทวดาชันสุทธาวาส
(๕ ขั้น อวิหา อตัปปา สุทัสสา สุทัสสี อกณิฏฐา)

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยหนึ่ง เมื่อเรานั้นไปเร้นอยู่ในที่ลับ เกิดความรําพึงในใจว่า ชั้นสุทธาวาส ซึ่งเรามิได้ เคยอยู่เลย โดยเวลาอันยืดยาวนานนี้ นอกจากเทวดา เหล่าสุทธาวาสแล้ว ไม่ใช่โอกาสที่ใครๆ จะได้โดยง่าย ถ้ากระไรเราพึงเข้าไปหา เทวดาเหล่าสุทธาวาสจนถึงที่อยู่

ภิกษุทั้งหลาย! ทันใดนั้น เราได้หายไปที่ควงไม้ พญาสาลพฤกษ์ ในป่าสุภวันใกล้ อุกกัฏฐนคร ไปปรากฏ ในพวกเทวดาเหล่า อวิหา ชั่วเวลาสักว่า บุรุษแข็งแรง เหยียดแขน หรือคู่แขนเท่านั้น
---------------------------------------------

ภิกษุทั้งหลาย ! ในหมู่เทวดานั้น แล เทวดานับร้อย นับพันเป็นอันมากได้เข้ามาหาเรา แล้ว ได้กล่าวกะเราว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์! นับแต่นี้ไป ๙๑ กัป พระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธะ พระนามว่าวิปัสสี(1) ได้เสด็จอุบัติขึ้นในโลก พวกข้าพระองค์ นั้น ประพฤติพรหมจรรย์ ในพระผู้มีพระภาค พระนามว่าวิปัสสี คลายความพอใจในกาม ทั้งหลายแล้ว จึงได้บังเกิดในที่นี้”
(เทวดาชั้นวิปัสสี ละความพอใจในกาม ในสมัยพระพุทธเจ้าวิปัสสี (๙๑ กัป) หลังทำกาละแล้ว จึงได้มาเกิดใน สุทธาวาส ชั้นอวิหานี้)
---------------------------------------------

ภิกษุทั้งหลาย ! ในหมู่เทวดานั้นแล เทวดานับร้อย นับพันเป็นอันมากได้เข้า มาหาเรา แล้ว ได้กล่าวกะเราว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์! นับแต่นี้ไป ๓๑ กัป พระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธะ พระนามว่าสิขี (2) ได้เสด็จอุบัติขึ้นในโลก พวกข้าพระองค์ นั้น ประพฤติพรหมจรรย์ใน พระผู้มีพระภาค พระนามว่าสิขี คลายความพอใจในกาม ทั้งหลายแล้ว จึงได้บังเกิดในที่นี้”
(เทวดาชั้นวิปัสสี ละความพอใจในกาม ในสมัยพระพุทธเจ้าวิปัสสี (๓๑ กัป) หลังทำกาละแล้ว จึงได้มาเกิดใน สุทธาวาส ชั้นอวิหานี้)
---------------------------------------------

ภิกษุทั้งหลาย ! ในหมู่เทวดานั้นแล เทวดานับร้อย นับพันเป็นอันมากได้เข้ามาหาเรา ได้กล่าวกะเราว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ! ในกัปที่ ๓๑ นั้นเอง พระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธะ พระนามว่าเวสสภู(3) ได้เสด็จอุบัติขึ้นในโลก พวกข้าพระองค์ นั้น ประพฤติพรหมจรรย์ ในพระผู้มีพระภาค พระนามว่าเวสสภู คลายความพอใจในกาม ทั้งหลายแล้ว จึงได้บังเกิดในที่นี้”
(เทวดาชั้นวิปัสสี ละความพอใจในกาม ในสมัยพระพุทธเจ้าวิปัสสี (ในักัปที่ ๓๑) หลังทำกาละ แล้ว จึงได้มาเกิดใน สุทธาวาส ชั้นอวิหานี้)
---------------------------------------------

ภิกษุทั้งหลาย ! ในหมู่เทวดานั้นแล เทวดานับร้อย นับพันเป็นอันมากได้เข้ามาหาเรา ได้กล่าวกะเราว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ! ในภัททกัปนี้เอง พระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธะ พระนามว่ากกุสันธะ(4) ได้เสด็จอุบัติขึ้นในโลก พวกข้าพระองค์ นั้น ประพฤติพรหมจรรย์ ในพระผู้มีพระภาค พระนามว่ากกุสันธะ คลาย ความพอใจในกามทั้งหลายแล้ว จึงได้บังเกิดในที่นี้”
---------------------------------------------

ภิกษุทั้งหลาย! ในหมู่เทวดานั้นแลเทวดานับร้อย นับพันเป็นอันมากได้เข้ามาหาเรา ได้กล่าวกะเราว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ! ในภัททกัปนี้เอง พระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมา สัมพุทธะ พระนามว่า โกนาคมนะ(5) ได้เสด็จอุบัติขึ้นในโลก พวกข้าพระองค์นั้น ประพฤติพรหมจรรย์ ในพระผู้มีพระภาค พระนามว่า โกนาคมนะ คลายความพอใจในกามทั้งหลายแล้วจึงได้ บังเกิดในที่นี้”
---------------------------------------------

ภิกษุทั้งหลาย! ในหมู่เทวดานั้นแล เทวดานับร้อย นับพันเป็นอันมากได้เข้ามาหาเรา ได้กล่าวกะเราว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ! ในภัททกัปนี้เอง พระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมา สัมพุทธะ พระนามว่ากัสสปะ(6) ได้เสด็จอุบัติขึ้นในโลก พวกข้าพระองค์ นั้น ประพฤติพรหมจรรย์ ในพระผู้มีพระภาค พระนามว่ากัสสปะ คลายความพอใจ ในกามทั้งหลายแล้ว จึงได้บังเกิดในที่นี้”
---------------------------------------------

ภิกษุทั้งหลาย! ในหมู่เทวดานั้นแล เทวดานับร้อย นับพันเป็นอันมากได้เข้ามาหาเรา ได้กล่าวกะเราว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ! ในภัททกัปนี้เอง บัดนี้ พระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธะ ได้เสด็จอุบัติขึ้นในโลก พระองค์เป็นกษัตริย์ โดยพระชาติ เสด็จอุบัติขึ้น ในขัตติยสกุล เป็นโคตมะโดยพระโคตร(7) พวก ข้าพระองค์นั้น ประพฤติพรหมจรรย์ ในพระผู้มีพระภาค คลายความพอใจในกาม ทั้งหลายแล้ว จึงได้บังเกิดในที่นี้”

ภิกษุทั้งหลาย ! ครั้งนั้นแล
เราพร้อมด้วยเทวดาเหล่าอวิหา ได้เข้าไปหา เทวดาเหล่า อตัปปา
เราพร้อมด้วย เทวดาทั้งสองพวกนั้น ได้พากันเข้าไปหา เทวดาเหล่า สุทัสสา
เราพร้อมด้วยเทวดาทั้งสามพวกนั้น ได้เข้าไปหา เทวดาเหล่า สุทัสสี
เราพร้อมด้วยเทวดาทั้งหมดนั้น ได้เข้าไปหา เทวดาเหล่า อกนิฏฐา แล้ว

(เทวดาเหล่านั้น ได้กล่าวเล่าข้อความกราบทูลพระองค์ ถึงเรื่องพระพุทธเจ้าบรรดา ที่ล่วงไปแล้ว และเล่าถึงการประพฤติ พรหมจรรย์ของตนในชาติที่พบพระพุทธเจ้า โดยทํานองเดียวกัน)
(โดยสรุป เทวดาสุทธาวาสแต่ละชั้น ได้ประพฤติพรหมจรรย์ คลายความพอใจในกาม ในสมัย พระพุทธเจ้าหลายพระองค์ และหลังทำกาละ ก็ได้มาเกิดในสุทธาวาสทั้ง ๕ ชั้น ตามกำลัง อินทรีย์ของสัตว์)

ภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่ธรรมธาตุนี้ ตถาคต แทงตลอดแล้วอย่างดีด้วยประการ ดังนี้ พระพุทธเจ้าที่ล่วง ไปแล้ว ปรินิพพานไปแล้วตัดธรรมเป็นเหตุให้เนิ่นช้าได้แล้ว ตัดวัฏฏะได้แล้ว ครอบงําวัฏฏะได้แล้ว ล่วงสรรพทุกข์แล้ว ตถาคตย่อมระลึกถึงได้

แม้โดยพระชาติ แม้โดยพระนาม แม้โดยพระโคตรแม้โดยประมาณแห่งพระชนมายุ แม้โดย คู่แห่งพระสาวก แม้โดยการประชุมกันแห่งพระสาวกว่า แม้ด้วยเหตุนี้ พระผู้มี พระภาคเหล่านั้นจึงมีพระชาติ อย่างนี้ จึงมีพระนามอย่างนี้ จึงมีพระโคตรอย่างนี้ จึงมีศีลอย่างนี้ จึงมีธรรมอย่างนี้ จึงมีปัญญาอย่างนี้ จึงมีวิหารธรรมอย่างนี้ จึงมีวิมุตติ อย่างนี้

แม้พวกเทวดาก็ได้บอกเนื้อความนี้ แก่ตถาคต ซึ่งเป็นเหตุให้ตถาคตระลึก ถึงได้ซึ่ง พระพุทธเจ้า ทั้งหลายที่ล่วงไปแล้ว
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หน้า ๓๕๔

๙๔
ชุมนุมเทวดา


ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเทวดาในโลกธาตุทั้ง ๑๐ ประชุมกันมาก เพื่อทัศนาตถาคต และภิกษุสงฆ์

พวกเทวดาประมาณเท่านี้แหละ ได้ประชุมกันเพื่อ ทัศนาพระผู้มีพระภาคอรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งได้มี แล้วในอดีตกาล เหมือนที่ประชุมกันเพื่อทัศนาเรา ในบัดนี้

พวกเทวดาประมาณเท่านี้แหละ จักประชุมกันเพื่อ ทัศนาพระผู้มีพระภาคอรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งจักมี ในอนาคตกาล เหมือนที่ประชุมกันเพื่อทัศนาเราในบัดนี้

เราจักบอกนามพวกเทวดา เราจักระบุนามพวก เทวดา เราจักแสดงนามพวกเทวดา พวกเธอจงฟังเรื่องนั้น จงทําในใจให้ดี เราจักกล่าว.

ยักษ์เจ็ดพันเป็นภุมมเทวดาอาศัยอยู่ในพระนคร กบิลพัสดุ
ยักษ์หกพัน
อยู่ที่ เขาเหมวตา
ยักษ์สามพัน
อยู่ที่ เขาสาตาคีรี
ยักษ์เหล่านั้น รวมเป็นหนึ่งหมื่นหกพัน มีรัศมี ต่าง ๆ กัน มีฤทธิ์ มีอานุภาพ มีรัศมี มียศ ยินดี มุ่งมายังป่า อันเป็นที่ประชุม ของภิกษุ

ยักษ์ห้าร้อยอยู่ที่เขาเวสสามิตตะ มีรัศมีต่าง ๆ กัน มีฤทธิ์ มีอานุภาพ มีรัศมี มียศ ยินดี มุ่งมายังป่าอันเป็นที่ ประชุมของภิกษุ

ยักษ์ชื่อกุมภีระ อยู่ในพระนครราชคฤห์ เขาเวปุลละ เป็นที่อยู่ของยักษ์นั้น ยักษ์แสน เศษ แวดล้อมยักษ์ชื่อกุมภีระนั้น ยักษ์ชื่อกุมภีระอยู่ในพระนครราชคฤห์แม้นั้น ก็ได้มา ยังป่า อันเป็นที่ประชุมของภิกษุ

ท้าวธตรัฏฐ อยู่ด้านทิศบูรพา ปกครองทิศนั้น เป็นอธิบดีของพวกคนธรรพ์ เธอเป็น มหาราช มียศ แม้บุตรของเธอก็มาก มีนามว่าอินทะ มีกําลังมาก มีฤทธิ์ มีอานุภาพ มีรัศมี มียศ ยินดี มุ่งมายังป่าอันเป็นที่ประชุม ของภิกษุ

ท้าววิรุฬหก อยู่ด้านทิศทักษิณ ปกครองทิศนั้น เป็นอธิบดีของพวกกุมภัณฑ์ เธอเป็น มหาราช มียศ แม้บุตรของเธอก็มาก มีนามว่าอินท มีกําลังมาก มีฤทธิ์ มี อานุภาพ มีรัศมี มียศ ยินดี มุ่งมายังป่าอันเป็นที่ประชุมของภิกษุ

ท้าววิรูปักษ์ อยู่ด้านทิศปัจฉิม ปกครองทิศนั้น เป็นอธิบดีของพวกนาค เธอเป็น มหาราช มียศแม้บุตรของ เธอก็มาก มีนามว่าอินท มีกําลังมาก มีฤทธิ์ มีอานุภาพ มีรัศมี มียศ ยินดี มุ่งมายังป่าอันเป็นที่ประชุมของภิกษุ

ท้าวกุเวร อยู่ด้านทิศอุดร ปกครองทิศนั้น เป็นอธิบดีของพวกยักษ์ เธอเป็นมหาราช มียศ แม้บุตร ของเธอก็มาก มีนามว่าอินท มีกําลังมาก มีฤทธิ์ มีอานุภาพ มีรัศมี มียศ ยินดี มุ่งมายังป่าอันเป็นที่ประชุมของภิกษุ

ท้าวมหาราชทั้ง ๔ นั้น ยังทิศทั้ง ๔ โดยรอบ ให้รุ่งเรือง ได้ยืนอยู่แล้วในป่าเขต พระนครกบิลพัสดุ

พวกบ่าวของท้าวมหาราชทั้ง ๔ นั้น มีมายา ล่อลวง โอ้อวด เจ้าเล่ห์ มาด้วยกัน มีชื่อคือ กุเฏณฑ ๑ เวเฏณ ๑ วิฏ ๙ วัฏฏะ ๑ จันทนะ ๑ กามเสฏฐะ ๑ กินนมัณฑ ๑ นิมัณฑ ๑ และท้าวเทวราชทั้งหลายผู้มีนามว่าปนาทะ ๑ โอปมัญญะ ๑ เทพสารถี มีนามว่า มาตลิ ๑ จิตตเสนะ ผู้คนธรรพ์ ๑ นโหราชะ ๑ ชโนสภะ ๑ ปัญจสิขะ ๑ ติมพรู ๙ สุริยวัจฉสาเทพธิดา ๑ มาทั้งนั้น ราชาและ คนธรรพ์พวกนั้น และพวกอื่น กับเทวราชทั้งหลาย ยินดี มุ่งมายังป่าอันเป็น ที่ประชุม ของภิกษุ

อนึ่งเหล่านาค ที่อยู่ในสระ ซ่อนภสะบ้าง อยู่ในเมือง เวสาลีบ้าง พร้อมด้วยนาค บริษัท เหล่าตัจฉกะ กัมพลนาค และอัสสตรนาค ก็มา นาคผู้อยู่ในท่าชื่อปายาคะ กับญาติ ก็มา นาคผู้อยู่ในแม่น้ำยมุนา เกิดในสกุลธตรัฏฐ ผู้มียศ ก็มา เอราวัณ เทพบุตร ผู้เป็น ช้างใหญ่ แม้นั้นก็มายังป่า อันเป็นที่ประชุมของภิกษุ

ปักษีทวิชาติ ผู้เป็นทิพย์ มีนัยน์ตาบริสุทธิ์ นํา นาคราชไปได้โดยพลันนั้น มาโดยทาง อากาศถึงท่ามกลางป่า ชื่อของปักษีนั้นว่าจิตรสุบรรณ ในเวลานั้น นาคราชทั้งหลาย ไม่ได้มีความกลัว พระพุทธเจ้าได้ทรงกระทําให้ปลอดภัย จากครุฑ นาคกับครุฑ เจรจากัน ด้วยวาจาอันไพเราะ กระทําพระพุทธเจ้าให้เป็นสรณะ พวกอสูรอาศัยสมุทร อยู่ อัน ท้าววชิรพันธ์รบชนะแล้ว เป็นพี่น้องของท้าววาสพ มีฤทธิ์ มียศ เหล่านี้คือ พวกกาลกัญซอสูร มีกายใหญ่น่ากลัว ก็มา พวกทานเวฆสอสูร ก็มา เวปจิตติอสูร สุจิตติอสูร ปหาราทอสูร และนมจีพระยามารก็มาด้วยกัน บุตรของพลิอสูรหนึ่งร้อย มีชื่อว่าไพโรจน์ทั้งหมด ผูกสอดเครื่องเสนาอันมีกําลัง เข้าไปใกล้อสุรินทราหู แล้วกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ ! บัดนี้ เป็นสมัยที่จะประชุมกัน” ดังนี้แล้ว เข้าไปยังป่า อันเป็น ที่ประชุมของภิกษุ

ในเวลานั้น เทวดาทั้งหลาย ชื่ออาโป ชื่อปฐวี ชื่อ เตโช ชื่อวาโย ได้พากันมาแล้ว เทวดา ชื่อวรุณะ ชื่อวารณะ ชื่อโสมะ ชื่อยสสะ ก็มาด้วยกัน เทวดาผู้บังเกิดในหมู่ เทวดา ด้วยเมตตาและกรุณาฌาน เป็นผู้มียศ ก็มา หมู่เทวดา ๑๐

เหล่านี้เป็น ๑๐ พวก ทั้งหมดล้วนมีรัศมีต่าง ๆ กัน มีฤทธิ์ มีอานุภาพ มีรัศมี มียศ ยินดี มุ่งมายังป่าอันเป็นที่ประชุม ของภิกษุ

เทวดา ชื่อเวณซู ซื่อสหลี ชื่ออสมา ชื่อยมะทั้งสองพวก ก็มาเทวดาผู้อาศัยพระจันทร์
กระทําพระจันทร์ไว้ในเบื้องหน้า ก็มา เทวดาผู้อาศัยพระอาทิตย์ กระทําพระอาทิตย์ ไว้ใน เบื้องหน้า ก็มา เทวดากระทํานักษัตรไว้ในเบื้องหน้า ก็มา มันทพลาหกเทวดา ก็มาแม้ท้าวสักกรินททวาสวะซึ่งประเสริฐ กว่าสุเทวดาทั้งหลายก็เสด็จมา หมู่เทวดา ๑๐ เหล่านี้ เป็น ๙๐ พวก ทั้งหมดล้วนมีรัศมีต่างๆ กัน มีฤทธิ์ มีอานุภาพ มีรัศมี ยินดี มุ่งมายังป่าอันเป็นที่ประชุมของภิกษุ

อนึ่งเทวดาชื่อสหภู ผู้รุ่งเรืองดุจเปลวไฟ ก็มา เทวดาชื่ออริฏฐกะ ชื่อโรซะ มีรัศมีดังสี ดอกผักตบ ก็มา เทวดาชื่อวรณะ ชื่อสหธรรมชื่ออัจจุตะชื่ออเนชกะชื่อสุเลยยะ ชื่อรุจิระ ก็มา เทวดาชื่อวาสวเนสี ก็มา หมู่เทวดา ๑๐ เหล่านี้ เป็น ๑๐ พวก ทั้งหมดล้วนมี รัศมีต่างๆ กัน มีฤทธิ์มีอานุภาพ มีรัศมี มียศ ยินดี มุ่งมายังป่าอันเป็นที่ประชุมของภิกษุ

เทวดาชื่อสมานะ ชื่อมหาสมานะ ชื่อมานุสะ ชื่อมานุสุตตมะ ชื่อวิฑฑาปทูสิกะ ก็มา เทวดาชื่อมโนปทูสิกะ ก็มา อนึ่ง เทวดาชื่อหริ เทวดาชื่อโลหิตวาสี ชื่อปารคะ
ชื่อมหาปารคะ ผู้มียศ ก็มา หมู่เทวดา ๙๐ เหล่านี้ เป็น ๙๐ พวก ทั้งหมดล้วนมีรัศมี ต่างๆ กัน มีฤทธิ์ มีอานุภาพ มีรัศมี มียศ ยินดี มุ่งมายังป่าอันเป็นที่ประชุมของภิกษุ

เทวดาชื่อสุกกะ ชื่อกรุมหะ ชื่ออรุณะ ชื่อเวฆนสะ ก็มาด้วยกัน เทวดาชื่อโอทาตศัยหะ ผู้เป็นหัวหน้าเทวดา ชื่อวิจักขณะ ก็มา เทวดาชื่อสทามัตตะ ชื่อหารคชะ และชื่อ มิสสกะผู้มียศ ก็มา ปชุนนเทวบุตร ซึ่งคํารามให้ฝนตกทั่วทิศ ก็มา หมู่เทวดา ๑๐ เหล่านี้ เป็น ๑๐ พวก ทั้งหมดล้วน มีรัศมีต่าง ๆ กัน มีฤทธิ์ มีอานุภาพ มีรัศมี มียศ ยินดี มุ่งมายังป่าอันเป็นที่ประชุมของภิกษุ

เทวดาชื่อเขมิยะ เทวดาชั้นดุสิต เทวดาชั้นยามะ และเทวดาชื่อกัฏฐกะ มียศ เทวดาชื่อลัมพิตกะ ชื่อลามเสฏฐะ ชื่อโชตินามะ ชื่ออาสา และเทวดาชั้นนิมมานรดี ก็มา อนึ่ง เทวดาชั้นปรนิมมิตะ ก็มา หมู่เทวดา ๑๐ เหล่านี้เป็น ๑๐ พวก ทั้งหมดล้วนมี รัศมีต่าง ๆ กัน มีฤทธิ์ มีอานุภาพ มีรัศมี มียศ ยินดี มุ่งมายังป่าอันเป็นที่ประชุมของ ภิกษุ

หมู่เทวดา ๖๐ เหล่านี้ ทั้งหมดล้วนมีรัศมีต่างๆ กัน มาแล้วโดยกําหนดชื่อ และเทวดา เหล่าอื่นผู้เช่นกัน มาพร้อมกัน ด้วยคิดว่า “เราทั้งหลายจักเห็นพระนาค ผู้ปราศจาก ชาติ ไม่มีกิเลสดุจตะปู มีโอฆะอันข้ามแล้ว ไม่มีอาสวะข้ามพ้นโอฆะ ผู้ล่วงความยึดถือ ได้แล้ว ดุจพระจันทร์พ้นจากเมฆฉะนั้น” สุพรหมและปรมัตตพรหม ซึ่งเป็นบุตรของ พระพุทธเจ้า ผู้มีฤทธิ์ ก็มาด้วยสนังกุมารพรหมและติสสพรหม แม้นั้น ก็มายังป่าอัน เป็นที่ประชุมของภิกษุ

ท้าวมหาพรหมย่อมปกครองพรหมโลกพันหนึ่ง ท้าวมหาพรหมนั้นบังเกิดแล้วใน พรหมโลก มีอานุภาพ มีกายใหญ่โต มียศ ก็มา พรหม ๑๐ พวก ผู้เป็นอิสระใน พวก พรหมพันหนึ่ง มีอํานาจเป็นไปเฉพาะองค์ละอย่างก็มา มหาพรหมชื่อหาริตะ อันบริวารแวดล้อมแล้ว มาใน ท่ามกลางพรหมเหล่านั้น

เมื่อมารและเสนามาถึง พระศาสดาได้ตรัสกับพวกเทพ พร้อมทั้งพวกพรหมทั้งหมด ผู้มุ่งมานั้นว่า

ท่านจงดูความเขลาของมาร พญามารได้กล่าวว่า “พวกท่านจงมาจับเทวดา เหล่านี้ ผูกไว้ความผูกด้วยราคะ จงมีแก่ท่านทั้งหลาย พวกท่านจงล้อมไว้โดยรอบ อย่าปล่อยใครๆ ไป” พญามารบังคับเสนามาร ในที่ประชุมนั้นดังนี้แล้ว เอาฝ่ามือตบ แผ่นดิน กระทําเสียงน่ากลัว เหมือนเมฆยังฝนให้ตก คํารามอยู่ พร้อมทั้งฟ้าแลบ เวลานั้น พญามารนั้นไม่อาจยังใครให้เป็นไปใน อํานาจได้ โกรธจัด กลับไปแล้ว

พระศาสดาผู้มีพระจักษุทรงพิจารณาทราบเหตุนั้น ทั้งหมด แต่นั้น จึงตรัสแก่สาวก ผู้ยินดี ในพระศาสนาว่า :

ภิกษุทั้งหลาย ! มารและเสนามาแล้ว พวกเธอจงรู้จักเขาไว้

ภิกษุเหล่านั้นสดับพระดํารัสสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว ได้กระทําความเพียร พญามาร และเสนามารหลีกไป จากภิกษุผู้ ปราศจากราคะ ไม่ยังแม้ขนของท่านเหล่านั้นให้ไหว
พญามารกล่าวสรรเสริญว่า

“พวกสาวกของพระองค์ทั้งหมดชนะสงครามแล้ว ล่วง ความกลัวได้แล้วมียศปรากฏ ในหมู่ชนบันเทิงอยู่กับด้วยพระอริยเจ้า ผู้เกิดแล้วในพระศาสนา” ดังนี้แล
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หน้า 362

๙๕
เทวดา เคยรบกับ อสูร


ภิกษุทั้งหลาย ! มีเรื่องราวในกาลก่อน บุรุษผู้หนึ่ง ตั้งใจว่าจะคิดซึ่งความคิดเรื่อง โลก จึงออกจากนครราชคฤห์ ไปสู่สระบัวชื่อสมาคธา แล้วนั่งคิดอยู่ที่ริมฝั่งสระ บุรุษนั้น ได้เห็นแล้ว ซึ่งหมู่เสนาประกอบด้วยองค์สี่ (คือช้าง ม้า รถ พลเดินเท้า) ที่ฝั่งสระสุมาคธา นั้น เข้าไปอยู่ๆ สู่เหง้ารากบัว ครั้นเขาเห็นแล้วเกิดความไม่เชื่อ ตัวเองว่า “เรานี้บ้าแล้ว เรานี้วิกลจริตแล้ว สิ่งใดไม่มีในโลก เราได้เห็นสิ่งนั้นแล้ว” ดังนี้

ภิกษุทั้งหลาย ! บุรุษนั้นกลับเข้าไปสู่นครแล้ว ป่าวร้องแก่มหาชน ว่า “ท่านผู้เจริญ! ข้าพเจ้าเป็นบ้าแล้ว ข้าพเจ้าวิกลจริตแล้ว เพราะว่าสิ่งใดไม่มีอยู่ในโลก ข้าพเจ้า มาเห็นแล้วซึ่งสิ่งนั้น” ดังนี้ มีเสียงถามว่า “เห็นอะไรมา ?” เขาบอกแล้วตามที่เห็น ทุกประการ มีเสียงรับรองว่า “ถูกแล้ว ท่านผู้เจริญเอ๋ย ! ท่านเป็นบ้าแล้ว ท่านวิกลจริต แล้ว”

ภิกษุทั้งหลาย ! แต่ว่าบุรุษนั้น ได้เห็นสิ่งที่มีจริง เป็นจริง หาใช่เห็นสิ่งไม่มีจริง ไม่เป็นจริงไม่

ภิกษุทั้งหลาย ! ในกาลก่อนดึกดําบรรพ์ สงครามระหว่างพวกเทพกับอสูรได้ตั้ง ประชิดกันแล้ว ในสงครามครั้งนั้น พวกเทพเป็นฝ่ายชนะ อสูรเป็นฝ่ายแพ้ พวกอสูร กลัว แล้วแอบหนีไปสู่ภพแห่งอสูรโดยผ่านทาง เหง้ารากบัว หลอกพวกเทพ ให้หลงค้นอยู่ (เรื่องของโลกย่อมพิสดารไม่สิ้นสุดถึงเพียงนี้)

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้

พวกเธอทั้งหลายจงอย่าคิดเรื่องโลก โดยนัยว่า
โลกเที่ยงหรือ ? โลกไม่เที่ยงหรือ ? โลกมีที่สุดหรือ ? โลกไม่มีที่สุดหรือ ? ชีพก็ดวงนั้น ร่างกายก็ร่างนั้นหรือ ? ซีพก็ดวงอื่น ร่างกายก็ร่างอื่นหรือ ? ตถาคตตายแล้ว ย่อมเป็นอย่างที่เป็นมาแล้วนั้นอีกหรือ ? ตถาคตตายแล้ว ไม่เป็นอย่างที่เป็นมาแล้วนั้น อีกหรือ ? ตถาคตตายแล้ว เป็นอย่างที่เป็นมาแล้วอีกก็มี ไม่เป็นก็มีหรือ ? ตถาคตตายแล้ว เป็นอย่างที่เป็นมาแล้วอีกก็ไม่เชิง ไม่เป็นก็ไม่เชิง หรือ?

เพราะเหตุไรจึงไม่ควรคิดเล่า ? เพราะความคิดนั้น ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็น เงื่อนต้นแห่งพรหมจรรย์ ไม่เป็นไปพร้อมเพื่อความหน่ายทุกข์ ความคลายกําหนัด ความดับ ความรํางับ ความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม และนิพพานเลย

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อพวกเธอจะคิด จงคิดว่า เช่นนี้ ๆ เป็นทุกข์ เช่นนี้ ๆ เป็นเหตุให้ เกิดทุกข์ เช่นนี้ ๆ เป็นความดับไม่เหลือของทุกข์ เช่นนี้ ๆ เป็นทางดําเนินให้ถึงความ ดับไม่เหลือ ของทุกข์ ดังนี้ เพราะเหตุไรจึงควรคิดเล่า ? เพราะความคิดนี้ ย่อม ประกอบด้วย ประโยชน์ เป็นเงื่อนต้นของพรหมจรรย์ เป็นไปพร้อมเพื่อความหน่าย ทุกข์ ความคลายกําหนัด ความดับ ความรํางับ ความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม และนิพพาน

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ พวกเธอพึงทําความเพียรเพื่อให้รู้ ตามเป็น จริงว่า :นี้เป็นทุกข์ นี้เป็นเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ นี้เป็นความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ นี้เป็นทางดําเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ดังนี้เถิด
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หน้า 366

๙๖
ตําแหน่งที่สตรีเป็นไม่ได้
(๕ ประการ)

อานนท์ ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้

ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ สตรีจึง เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธะ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และ รู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือ บุรุษพึ่งเป็นพระอรหันต สัมมาสัมพุทธะ นั่นเป็นฐานะที่มีได้

ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะมิใช้โอกาส คือ สตรีจึง เป็นพระเจ้าจักรพรรดินั่นไม่ใช่ ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือ บุรุษพึงเป็น พระเจ้าจักรพรรดิ นั่นเป็นฐานะที่มีได้

ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ สตรีฟังสําเร็จ เป็นท้าวสักกะ นั่นไม่ใช่ ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือบุรุษพึ่งสําเร็จเป็นท้าวสักกะ นั้นเป็นฐานะที่มีได้

ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ สตรีพึ่งสําเร็จ เป็นมาร นั่นไม่ใช่ฐานะ ที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือ บุรุษพึงสําเร็จเป็นมาร นั่นเป็นฐานะ ที่มีได้

ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ สตรีพึ่งสําเร็จ เป็นพรหม นั่นไม่ใช่ฐานะ ที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือ บุรุษพึ่งสําเร็จ เป็นพรหม นั่นเป็นฐานะ ที่มีได้
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หน้า ๓๖๘

๙๗
อานิสงส์แห่งการฟังธรรมเนืองๆ



ภิกษุทั้งหลาย ! อานิสงส์ ๔ ประการแห่งธรรม ทั้งหลายที่บุคคลฟังเนือง ๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอด ด้วยดีด้วยความเห็น อันบุคคลพึงหวังได้
อานิสงส์ ๔ ประการ อย่างไรเล่า ?

(๑) ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยา กรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ ธรรมเหล่านั้น เป็นธรรมอัน ภิกษุนั้นฟังเนืองๆ คล่องปากขึ้นใจแทงตลอด ด้วยดีด้วยความเห็น เธอมีสติหลงลืม เมื่อกระทํากาละ ย่อมเข้าถึงเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่ง บทแห่งธรรมทั้งหลาย ย่อม ปรากฏแก่เธอผู้มีความสุขในภพนั้น สติบังเกิดขึ้นซ้า แต่สัตว์นั้นย่อม เป็นผู้บรรลุ คุณวิเศษเร็วพลัน

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๑ แห่งธรรมทั้งหลายที่บุคคลฟังเนือง ๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยความเห็น อันบุคคลพึงหวังได้

(๒) ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ ...เวทัลละ ธรรมเหล่านั้นเป็นธรรมอันภิกษุ อั้นฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยความเห็น เธอมีสติหลงลืม เมื่อกระทํากาละ ย่อมเข้าถึงเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่ง บทแห่งธรรมทั้งหลายย่อมไม่ ปรากฏแก่เธอผู้มีความสุข อยู่ในภพนั้นเลย แต่ภิกษุผู้มีฤทธิ์ ถึงความชํานาญ แห่งจิต แสดงธรรมแก่เทพบริษัท เธอมีความปริวิตกอย่างนี้ว่า ในกาลก่อน เราได้ ประพฤติ พรหมจรรย์ในธรรมวินัยใด นี้คือธรรมวินัยนั้น สติบังเกิดขึ้นช้า แต่ว่าสัตว์นั้น ย่อม เป็นผู้บรรลุคุณวิเศษเร็วพลัน

ภิกษุทั้งหลาย ! บุรุษผู้ฉลาดต่อเสียงกลอง เขาเดินทางไกล จึงได้ยินเสียงกลอง เขาไม่พึงมีความสงสัย หรือเคลือบแคลงว่าเสียงกลองหรือไม่ใช่หนอ ที่แท้เขาพึงถึง ความตกลงใจว่า เสียงกลองทีเดียว ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น เหมือนกัน ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ ... เวทัลละ ธรรมเหล่านั้น เป็นธรรมอันภิกษุนั้นฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยความเห็น ... สติบังเกิดขึ้นช้า แต่ว่าสัตว์นั้นย่อมเป็นผู้บรรลุ คุณวิเศษ เร็วพลัน

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๒ แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุฟังเนือง ๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยความเห็น อันบุคคลพึงหวังได้

(๓) ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ ...เวทัลละ ธรรมเหล่านั้นเป็นธรรมอันภิกษุ นั้น ฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยความเห็น เธอมีสติหลงลืม เมื่อ กระทํากาละ ย่อมเข้าถึงเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่ง บทแห่งธรรมทั้งหลาย ย่อมไม่ปรากฏ แก่เธอผู้มีความสุข อยู่ในภพนั้นเลย ทั้งภิกษุผู้มีฤทธิ์ถึงความชํานาญแห่งจิต ก็ไม่ได้ แสดงธรรมในเทพบริษัท แต่เทพบุตรย่อมแสดงธรรมในเทพบริษัท เธอมีความคิด อย่างนี้ว่าในกาลก่อน เราได้ประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยใด นี้คือธรรมวินัยนั้นเอง สติบังเกิดขึ้นช้า แต่ว่าสัตว์นั้นย่อมเป็นผู้บรรลุ คุณวิเศษเร็วพลัน

ภิกษุทั้งหลาย ! บุรุษผู้ฉลาดต่อเสียงสังข์ เขา เดินทางไกลพึงได้ฟังเสียงสังข์เข้า เขาไม่พึงมีความสงสัย หรือเคลือบแคลงว่าเสียงสังข์หรือมิใช่หนอ ที่แท้เขาพึงถึง ความตกลงใจว่า เสียงสังข์ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ ... เวทัลละ ธรรมเหล่านั้น เป็นธรรมอันภิกษุนั้นฟังเนืองๆ คล่องปากขึ้นใจ แทงตลอด ด้วยดีด้วยความเห็น ... สติบังเกิดขึ้นช้า แต่ว่าสัตว์นั้น ย่อมเป็นผู้บรรลุ คุณวิเศษเร็วพลัน

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๓ แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยความเห็น อันบุคคลพึงหวังได้

(๔) ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ .... เวทัลละ ธรรมเหล่านั้นเป็นธรรม อัน ภิกษุ นั้น ฟังเนือง ๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยความเห็น เธอมีสติ หลงลืม เมื่อกระทํากาละ ย่อมเข้าถึงเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่ง บทแห่งธรรมทั้งหลาย ย่อมไม่ปรากฏแก่เธอผู้มีความสุข อยู่ในภพนั้นเลย แม้ภิกษุผู้มีฤทธิ์ถึงความชํานาญ แห่งจิต ก็มิได้แสดงธรรมในเทพบริษัท แม้เทพบุตรก็ไม่ได้ แสดงธรรมในเทพบริษัท แต่เทพบุตรผู้เกิดก่อนเตือน เทพบุตรผู้เกิดทีหลังว่า “ท่านผู้นิรทุกข์ย่อมระลึกได้ หรือ ว่า เราได้ประพฤติพรหมจรรย์ในกาลก่อน” เธอกล่าวอย่างนี้ว่า “เราระลึกได้ท่าน ผู้นิรทุกข์ เราระลึกได้ท่านผู้นิรทุกข์” สติบังเกิดขึ้นช้า แต่ว่าสัตว์นั้นย่อมเป็นผู้บรรลุ คุณวิเศษ เร็วพลัน

ภิกษุทั้งหลาย ! สหายสองคนเล่นฝุ่นด้วยกัน เขามาพบกัน บางครั้งบางคราว ในที่ บางแห่ง สหายคนหนึ่ง พึงกล่าวกะสหายคนนั้นอย่างนี้ว่า “สหาย ท่านระลึกกรรม

แม้นี้ได้หรือ” เขาพึงกล่าวอย่างนี้ว่า “เราระลึกได้เราระลึกได้” ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น เหมือนกัน ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ ... เวทัลละ ธรรมเหล่านั้น เป็นธรรมอัน ภิกษุนั้นฟัง เนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยความเห็น .... สติบังเกิด ขึ้นซ้า แต่ว่าสัตว์นั้นย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๔ แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยความเห็น อันบุคคลพึงหวังได้

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้แลอานิสงส์ ๔ ประการ แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุฟังแล้วเนื่อง ๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยความเห็น อันบุคคลพึงหวังได้

การเข้าถึงสวรรค์ในภพปัจจุบัน ภิกษุทั้งหลาย! ลาภของเธอทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย ! เป็นการได้ที่ดีของเธอทั้งหลายแล้ว

ภิกษุทั้งหลาย ! ขณะสําหรับการประพฤติพรหมจรรย์ พวกเธอก็ได้โดยเฉพาะแล้ว.
ภิกษุทั้งหลาย ! สวรรค์ ชื่อ ผัสสายตนิกะ 5 ชั้น เราได้เห็นแล้ว
ในบรรดาสวรรค์ เหล่านั้น บุคคลเห็นรูปใด ๆ ด้วยตา ย่อมเห็นแต่รูปที่น่าปรารถนาเท่านั้น ไม่เห็นรูป ที่ไม่น่า ปรารถนาเลยเห็นแต่รูปที่น่ารักใคร่เท่านั้น ไม่เห็นรูปที่ไม่น่า รักใคร่เลย เห็นแต่รูปที่น่าพอใจเท่านั้น ไม่เห็นรูปที่ไม่น่า พอใจเลย.

ในบรรดาสวรรค์เหล่านั้น บุคคลฟังเสียงใดๆ ด้วยหู
ในบรรดาสวรรค์เหล่านั้น บุคคลดมกลิ่นใด ๆ ด้วยจมูก
ในบรรดาสวรรค์เหล่านั้น บุคคลลิ้มรสใดๆ ด้วยลิ้น
ในบรรดาสวรรค์เหล่านั้น บุคคลถูกต้องโผฏฐพพะ ใด ๆ ด้วยผิวกาย ....
ในบรรดาสวรรค์เหล่านั้น บุคคลรู้แจ้งธรรมารมณ์ ใด ๆ ด้วยใจ ย่อมรู้แจ้งแต่ธรรมารมณ์ที่น่าปรารถนาเท่านั้น ไม่รู้แจ้งธรรมารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนาเลย รู้แจ้งธรรมารมณ์ ที่น่ารักใคร่เท่านั้น ไม่รู้แจ้งธรรมารมณ์ที่ไม่น่ารักใคร่เลย รู้แจ้งแต่ธรรมารมณ์ที่น่าพอใจเท่านั้น ไม่รู้แจ้งธรรมารมณ์ ที่ไม่น่าพอใจเลย.

ภิกษุทั้งหลาย ! ลาภของเธอทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย ! เป็นการได้ที่ดีของเธอทั้งหลายแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย! ขณะสําหรับการประพฤติพรหมจรรย์ พวกเธอก็ได้โดยเฉพาะแล้ว ดังนี้แล.
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หน้า 375

๙๙
แม้แต่เทวดาก็ไม่เที่ยง


ภิกษุทั้งหลาย ! พญาสัตว์ชื่อสีหะ ออกจากถ้ําที่ อาศัยในเวลาเย็น เหยียดกายแล้ว เหลียวดูทิศทั้งสี่โดยรอบ บันลือสีหนาทสามครั้งแล้วก็เที่ยวไปเพื่อหาอาหาร บรรดา สัตว์เดรัจฉานเหล่าใดที่ได้ยินสีหนาท สัตว์เหล่านั้นก็สะดุ้ง กลัวเหี่ยวแห้งใจ พวกที่ อาศัยโพรงก็เข้าโพรง ที่อาศัยน้ำ ก็ลงน้ำ พวกอยู่ป่าก็เข้าป่า ฝูงนกก็โผขึ้นสู่อากาศ เหล่าช้าง ของพระราชาในหมู่บ้าน นิคมและเมืองหลวง ที่เขาผูกล่ามไว้ ด้วยเชือก อันเหนียว ก็พากันกลัว กระชากเชือกให้ขาด แล้ว ถ่ายมูตรและกรีสพลาง แล่นหนีไป พลางข้างโน้นและข้างนี้

ภิกษุทั้งหลาย ! พญาสัตว์ชื่อสีหะ เป็นสัตว์มีฤทธิ์มาก มีศักดิ์มาก มีอานุภาพมากกว่า บรรดาสัตว์เดรัจฉาน ด้วยอาการอย่างนี้แล

ภิกษุทั้งหลาย ! ฉันใดก็ฉันนั้น ในกาลใด ตถาคตอุบัติขึ้นในโลก เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ชอบโดยตนเอง สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ ไปดี รู้แจ้งโลก เป็นผู้ฝึกบุรุษ ที่พอฝึกได้ไม่มีใครยิ่งไปกว่า เป็นครูสอนเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้ปลุกสัตว์ให้ตื่น เป็นผู้จําแนกธรรม.

ตถาคตนั้นแสดงธรรมว่า สักกายะ (คือทุกข์) เป็นเช่นนี้ เหตุให้เกิดสักกายะ เป็นเช่นนี้ ความดับไม่เหลือแห่งสักกายะ เป็นเช่นนี้ ทางให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งสักกายะ เป็นเช่นนี้

พวกเทพเหล่าใดเป็นผู้มีอายุยืนนาน มีวรรณะ มากด้วยความสุข ดํารงอยู่นมนาน มาแล้วในวิมานชั้นสูง พวกเทพนั้น ๆ โดยมาก ได้ฟังธรรมเทศนาของตถาคตแล้ว ก็สะดุ้งกลัว เหี่ยวแห้งใจ สํานึกได้ว่า

ท่านผู้เจริญเอ๊ย ! พวกเราเมื่อเป็นผู้ไม่เที่ยง ก็มาสําคัญว่าเป็นผู้เที่ยง เมื่อไม่ยั่งยืน ก็มาสําคัญว่ายั่งยืน เมื่อไม่มั่นคง ก็มาสําคัญว่าเราเป็นผู้มั่นคง

พวกเราทั้งหลายเป็นผู้ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่มั่นคง และถึงทั่วแล้วซึ่งสักกายะ คือ ความทุกข์ ดังนี้

ภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตเป็นผู้มีฤทธิ์มาก ศักดิ์มาก อานุภาพมาก กว่าสัตว์โลกพร้อม ทั้งเทวโลก ด้วยอาการ อย่างนี้แล.
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หน้า 377

๑๐๐
ความเห็นผิดของพกพรหม


ภิกษุทั้งหลาย ! ในกาลครั้งหนึ่ง เราพักอยู่ ณ ควงพญาไม้สาละ ป่าสุภควัน ในเขตอุกกัฏฐนคร.

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น พกพรหมมีความเห็น อันชั่วร้ายอย่างนี้ว่า พรหมสภาวะ เช่นนี้ เป็นของเที่ยง (นิจจ) ยั่งยืน (ธุว์) มีอยู่เสมอ (สสสต์) เป็นของอย่างเดียว ตลอดกาล (เกวล) มีความไม่เคลื่อนเป็นธรรมดา (อจวน ธมุม) เพราะว่าพรหมสภาวะ เช่นนี้ ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่เคลื่อน ไม่อุบัติ ก็แหละไม่มีสภาวะอื่นที่เป็นนิสสรณะ (อุบายเครื่องออกไปพ้นจากทุกข์) อื่นยิ่งไปกว่าพรหมสภาวะนี้ ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ครั้งนั้นแล เรารู้ปริวิตกของ พกพรหมในใจด้วยใจแล้ว ละจาก ควงแห่งพญาไม้สาละ ไปปรากฏตัวในพรหมโลกนั้น ชั่วเวลาสักว่า บุรุษแข็งแรง เหยียดแขนหรือคู่แขนเท่านั้น

ภิกษุทั้งหลาย ! พกพรหมได้เห็นเราผู้มาอยู่จาก ที่ไกล แล้วได้กล่าวกับเราว่า “ท่านผู้นิรทุกข์ ! เข้ามาเถิด ท่านผู้นิรทุกข์! ท่านมาดีแล้ว ท่านผู้นิรทุกข์ ! ต่อนาน ๆ

ท่านถึงจะมาถึงที่นี้ ท่านผู้นิรทุกข์ ! พรหมสภาวะเช่นนี้ เป็นของเที่ยงยั่งยืน มีอยู่เสมอ เป็นของอย่างเดียวตลอดกาล มีความไม่เคลื่อนเป็นธรรมดา เพราะว่าพรหมสภาวะ เช่นนี้ ไม่เกิด ไม่แก่ไม่ตายไม่เคลื่อนไม่อุบัติ ก็แหละไม่มีสภาวะอื่น ที่เป็นนิสสรณะ เครื่องออกไปจากทุกข์ยิ่งไปกว่าพรหมสภาวะนี้” ดังนี้

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อพกพรหมกล่าวอย่างนี้ เรา ได้กล่าวกะเขาว่า “พกพรหมผู้เจริญ ไปสู่อวิชชาเสียแล้ว หนอ ! พกพรหมผู้เจริญไปสู่อวิชชาเสียแล้วหนอ ! คือ ข้อที่ท่าน กล่าวสิ่งที่ไม่เที่ยงเลย ว่าเป็นของเที่ยง กล่าว สิ่งที่ไม่ยั่งยืนเลย ว่ายั่งยืน กล่าวสิ่ง ที่ไม่มีอยู่เสมอ ว่า เป็นของมีอยู่เสมอ กล่าวสิ่งที่ไม่เป็นของเดียวตลอดกาล ว่าเป็นของอย่างเดียวตลอดกาล กล่าวสิ่งมีความเคลื่อน เป็นธรรมดา ว่าเป็นสิ่งที่ ไม่มีความเคลื่อนเป็นธรรมดา และข้อที่กล่าวสิ่งที่เกิด ที่แก่ ที่ตาย ที่เคลื่อน ที่อุบัติว่า เป็นสิ่งที่ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่เคลื่อน ไม่อุบัติ และ กล่าวอุบายเครื่องออกไปพ้น (นิสสรณะ) อันยิ่งอื่นที่มีอยู่ ว่าไม่อุบายเครื่องออกไปพ้นอื่นที่ยิ่งกว่า” ดังนี้

(หมายเหตุ: ข้อความที่ตรัสต่อจากนี้ ยังมีอีกยืดยาว กล่าว ถึงมารมาช่วยพวกพรหม โต้กับพระองค์ เพื่อให้พระองค์ทรงยอม ตามพวกพรหม แม้พกพรหมก็ยังยืนยัน และ อธิบายลัทธินั้นด้วย อุปมาที่น่าคล้อยตาม ทรงแก้ค่าของพรหมด้วยอาการต่างๆ เช่นว่า พกพรหมยังไม่รู้จักพรหมที่เหนือขึ้นไปจากตน เช่นพรหมพวก อาภัสระ-สุภกิณหะ-เวหัปผละ และทรงแสดงข้อที่พระองค์ไม่ทรง ยึดถือ ดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นต้น ในที่สุด มีการท้าให้มีการเล่นซ่อนหากัน และทรงชนะ แล้วตรัสคาถาที่เป็น หัวใจแห่งพุทธศาสนาที่เหนือกว่า พรหมโดยประการทั้งปวง กล่าวคือความรู้สึก ที่อยู่เหนือภพและวิภพ ซึ่งพุทธบริษัททุกคนควรสนใจอย่างยิ่ง พวกพรหมยอมแพ้ มารก็ ยอมรับแต่ก็ยังแค่นขอร้องอย่าให้พระองค์ ทรงสอนลัทธิของ พระองค์เลย ตรัสตอบมารว่า นั่นมันไม่เป็นความเกื้อกูลแก่สัตว์โลก สัมมาสัมพุทธะที่มารอ้างมานั้น ไม่ใช่สัมมาสัมพุทธะที่แท้จริง ข้อความที่เป็นรายละเอียดจึงดูได้จากบาลี พรหมนิมันตนิกสูตร มู. ม. เล่ม ๑๒ ตั้งแต่หน้า ๕๕๙ เป็นต้นไป หรือตั้งแต่บรรพ ๕๕๓ เป็นต้นไปจนจบสูตร. - ผู้รวบรวม)

เราเห็นภัยในภพ และเห็นภพของสัตว์ผู้แสวงหา ที่ปราศจากภพแล้ว ไม่กล่าวยกย่อง ภพอะไรเลย ทั้งไม่ ยังนันทิ (ความเพลิน) ให้เกิดขึ้นด้วย ดังนี้

ภิกษุทั้งหลาย! ครั้งนั้น พรหมก็ดี พวกพรหมบริษัท ก็ดี พวกพรหมปาริสัชชะก็ดี ได้มีความแปลกประหลาด อัศจรรย์จิตว่า

“ท่านผู้เจริญ ! น่าอัศจรรย์ แปลกประหลาดหนอ พระสมณโคดม มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ก่อนแต่นี้พวกเรา ไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน สมณะหรือพราหมณ์อื่น ที่มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก เหมือนพระสมณโคดมนี้ ผู้ออกผนวช แต่ศากยสกุล ถอนภพพร้อมทั้งรากของหมู่สัตว์ผู้รื่นรมย์ ยินดีในภพ เมาหมกในภพ”
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หน้า 381

๑๐๑
เหตุที่มีความเห็นว่า อัตตาและโลก บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง


ภิกษุทั้งหลาย! มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีทิฏฐิ ว่าบางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง จึงบัญญัติอัตตาและ โลกว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ด้วยเหตุ ๔ ประการ

(๑) ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อโลกกําลังพินาศอยู่ โดยมากเหล่าสัตว์ย่อมเกิดใน อาภัสสรพรหม สัตว์เหล่านั้น ได้สําเร็จทางใจมีปีติเป็นอาหาร มีรัศมีซ่านออกจาก กาย ตนเอง สัญจรไปได้ในอากาศอยู่ในวิมานอันงาม สถิตอยู่ในภพนั้น สิ้นกาล ยึดยาว ช้านาน

ภิกษุทั้งหลาย! มีสมัยบางครั้งบางคราว โดยระยะ กาลยึดยาวช้านาน ที่โลกนี้กลับ เจริญ เมื่อโลกกําลังเจริญอยู่ วิมานของพรหมปรากฏว่าว่างเปล่า ครั้งนั้น สัตว์ผู้ใด ผู้หนึ่ง จุติจากชั้นอาภัสสรพรหม เพราะสิ้นอายุหรือเพราะสิ้นบุญ ย่อมเข้าถึงวิมาน พรหมที่ว่างเปล่า สัตว์ผู้นั้นอยู่ในวิมานนั้น แต่ผู้เดียวเป็นเวลานาน จึงเกิดความกระสัน ความดิ้นรนขึ้น แต่ผู้เดียวเป็นเวลานาน จึงเกิดความกระสัน ความดินรนขึ้น

ว่า “โอหนอ! แม้สัตว์เหล่าอื่นก็พึงมาเป็นอย่างนี้บ้าง ต่อมา สัตว์เหล่าอื่นก็จุติจากชั้น อาภัสสรพรหม เพราะสิ้นอายุหรือ เพราะสิ้นบุญ ย่อมเข้าถึงวิมานพรหม เป็นสหาย ของสัตว์ขนผู้นั้น

ภิกษุทั้งหลาย ! บรรดาสัตว์จําพวกนั้น ผู้ใดเกิดก่อน ผู้นั้นย่อมมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า เราเป็นพรหม เรา เป็นมหาพรหม เป็นใหญ่ ไม่มีใครข่มได้ เห็นถ่องแท้ เป็นผู้กุม อํานาจ เป็นอิสระ เป็นผู้สร้างเป็นผู้นิรมิต เป็น ผู้ประเสริฐ เป็นผู้บงการ เป็นผู้ทรง อํานาจ เป็นบิดาของ หมู่สัตว์ผู้เป็นแล้วและกําลังเป็น สัตว์เหล่านี้เรานิรมิต แม้พวกสัตว์ที่เกิดภายหลัง ก็มีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญนี้แลเป็นพรหม เป็นมหาพรหม เป็นใหญ่ ไม่มีใครข่มได้ เห็นถ่องแท้ เป็นผู้กุมอํานาจ เป็นอิสระ เป็นผู้สร้าง เป็นผู้นิรมิต เป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้บงการ เป็นผู้ทรงอํานาจ เป็นบิดาของ หมู่สัตว์ผู้เป็นแล้วและ กําลังเป็น พวกเราอันพระพรหมผู้เจริญนี้นิรมิตแล้ว

ภิกษุทั้งหลาย! บรรดาสัตว์จําพวกนั้น ผู้ใดเกิดก่อน ผู้นั้นมีอายุยืนกว่า มีผิวพรรณกว่า มีศักดิ์มากกว่า ส่วนผู้ที่เกิด ภายหลังมีอายุน้อยกว่า มีผิวพรรณทรามกว่า มีศักดิ์น้อยกว่า

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่สัตว์ผู้ใด ผู้หนึ่งจุติจากชั้นนั้นแล้ว มาเป็น อย่างนี้ เมื่อมาเป็นอย่างนี้แล้ว ก็ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เมื่อบวชแล้ว อาศัย ความเพียร เป็นเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความ ประกอบเนืองๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการ โดยซอบแล้ว บรรลเจโตสมาธิอันเป็นเครื่อง ตั้งมั่น แห่งจิต ตามระลึกถึงพันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนนั้นได้ หลัง แต่นั้นไประลึก ไม่ได้ เขาจึงได้กล่าวอย่างนี้ว่า พระพรหม ผู้เจริญนั้นเป็นผู้เที่ยงยั่งยืน คงทน มีอันไม่ แปรผันเป็น ธรรมดา จักตั้งอยู่เที่ยงเสมอไปเช่นนั้นทีเดียว ส่วนพวกเรา ที่พระพรหม ผู้เจริญนั้นนิรมิตแล้วนั้น เป็นผู้ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน มีอายุน้อย ยังต้องจุติมาเป็นอย่างนี้ เช่นนี้

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เป็นฐานะที่ ๑ ซึ่งสมณพราหมณ์ พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงมีทิฏฐิว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยงย่อมบัญญัติอัตตา และโลกว่าบางอย่าง เที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง.

(๒) ภิกษุทั้งหลาย! พวกเทวดาชื่อว่าวิตาปโทสิกะ มีอยู่ พวกนั้นพากันหมกมุ่น อยู่ แต่ในความรื่นรมย์ คือ การสรวลเสและการเล่นหัวจนเกินเวลา สติก็ย่อมหลงลืม เพราะสติหลงลืม จึงพากันจุติจากชั้นนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่สัตว์ผู้ใด ผู้หนึ่งจุติจากชั้นนั้นแล้ว มาเป็นอย่างนี้ เมื่อมาเป็นอย่างนี้แล้ว จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต แล้วบรรลุ เจโตสมาธิ อันเป็นเครื่องตั้งมั่นแห่งจิต ตามระลึกถึงพันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ ในกาลก่อน นั้นได้ หลังแต่นั้นไประลึกไม่ได้ เขาจึงกล่าว อย่างนี้ว่า ท่านพวกเทวดาผู้มิใช่เหล่า ขุฑทาปโทสิกะ ย่อม ไม่พากันหมกมุ่นอยู่แต่ในความรื่นรมย์ พวกเหล่านั้นจึง ไม่จุติ จากชั้นนั้น เป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน คงทน มีอันไม่แปรผัน เป็นธรรมดา จักตั้งอยู่เที่ยง เสมอไป เช่นนั้นทีเดียว ส่วน พวกเราเหล่าจิตตาปโทสิกะ หมกมุ่นอยู่แต่ในความ รื่นรมย์ พวกเราจึงพากันจุติจากชั้นนั้นเป็นผู้ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน มีอายุน้อย ยังต้องจุติ มาเป็นอย่างนี้เช่นนี้

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เป็นฐานะที่ ๒ ซึ่งสมณพราหมณ์ พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงมีทิฏฐิว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง

(๓) ภิกษุทั้งหลาย! พวกเทวดาชื่อว่ามโนปโทสิกะ มีอยู่พวกนั้นมักเพ่งโทษกัน และกัน เกินควรเมื่อมัวเพ่งโทษกัน เกินควรย่อมคิดมุ่งร้ายกันและกัน เมื่อต่างคิด มุ่งร้าย กันและกัน จึงลําบากกายลําบากใจ พากันจุติจากชั้นนั้น

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่สัตว์ผู้ใด ผู้หนึ่งจุติจากชั้นนั้นแล้ว มาเป็น อย่างนี้ เมื่อมาเป็นอย่างนี้แล้ว จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต แล้วบรรลุเจโตสมาธิ อันเป็นเครื่องตั้งมั่นแห่งจิต ตามระลึกถึงพันธ์ที่เคยอาศัย อยู่ในกาลก่อนนั้นได้ หลังแต่นั้นไประลึกไม่ได้ เขาจึงกล่าว อย่างนี้ว่า ท่านพวกเทวดาผู้มิใช่เหล่า มโนปโทสิกะ ย่อม ไม่มัวเพ่งโทษกันและกันเกินควร จึงไม่จุติจากชั้นนั้น เป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน คงที่ มีอันไม่แปรผันเป็นธรรมดา จัก ตั้งอยู่เที่ยงเสมอไปเช่นนั้นทีเดียว ส่วน พวกเราได้เป็น พวกมโนปโทสิกะ มัวเพ่งโทษกันและกันเกินควร พวกเรา จึงพากันจุติ จากชั้นนั้น เป็นผู้ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน มีอายุน้อย ยังต้องจุติมาเป็นอย่างนี้เช่นนี้

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เป็นฐานะที่ ๓ ซึ่งสมณพราหมณ์ พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงมีทิฏฐิว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยงย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่าง เที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง

(๔) อนึ่ง ในฐานะที่ ๔ สมณพราหมณ์ผู้เจริญ อาศัยอะไร ปรารภอะไรจึงม ีทิฏฐิว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง?

ภิกษุทั้งหลาย! สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ เป็นนักตรึก เป็นนักค้นคิด กล่าวแสดงปฏิภาณของตนตาม ที่ตรึกได้ ตามที่ค้นคิดได้ อย่างนี้ว่า สิ่งที่เรียกว่า จักษุก็ดี โสตะก็ดี ฆานะก็ดี ชิวหาก็ดี กายก็ดี นี้ได้ชื่อว่าอัตตา เป็นของไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงทน มีอันแปรผันเป็นธรรมดา ส่วนสิ่งที่เรียกว่าจิต หรือใจ หรือวิญญาณ นี้ชื่อว่าอัตตา เป็นของเที่ยงยั่งยืน คงทน มีอันไม่แปรผันเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่เที่ยง เสมอไปเช่นนั้นทีเดียว

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เป็นฐานะที่ ๔ ซึ่งสมณพราหมณ์ พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงมีทิฏฐิว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หน้า 387

๑๐๒
สุคติของเทวดา


ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อใด เทวดาเป็นผู้จะต้องจุติ จากเทพนิกาย เมื่อนั้น นิมิตร ๕ ประการ ย่อมปรากฏแก่ เทวดานั้น คือ

(๑) ดอกไม้ย่อมเหี่ยวแห้ง
(๒) ผ้าย่อมเศร้าหมอง
(๓) เหงือย่อมไหลออกจากรักแร้
(๔) ผิวพรรณเศร้าหมองย่อมปรากฏที่กาย
(๕) เทวดาย่อมไม่ยินดีในทิพอาสน์ของตน

ภิกษุทั้งหลาย ! เทวดาทั้งหลายทราบว่า เทพบุตรนี้ จะต้องเคลื่อนจากเทพนิกาย ย่อมพลอยยินด ีกะเทพบุตรนั้น ด้วยถ้อยคํา ๓ อย่างว่า

แน่ะท่านผู้เจริญ !

ขอท่านจากเทวโลกนี้ไปสู่สุคติ ๑
ครั้นไปสู่สุคติแล้ว ขอจงได้ลาภ ที่ท่านได้ดีแล้ว ๑
ครั้นได้ลาภที่ท่านได้ดีแล้ว ขอจงเป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยดี ๑


ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! อะไรหนอแล เป็นส่วนแห่งการไปสู่ สุคติของเทวดาทั้งหลาย อะไรเป็นส่วนแห่งลาภที่เทวดาทั้งหลาย ได้ดีแล้ว อนึ่ง อะไรเป็นส่วนแห่งการตั้งอยู่ ด้วยดีของเทวดาทั้งหลาย พระเจ้าข้า !

ภิกษุทั้งหลาย ! ความเป็นมนุษย์ นี้แลเป็นส่วนแห่งการไปสู่สุคติ ของเทวดาทั้งหลาย
เทวดาเกิดเป็นมนุษย์แล้ว ย่อมได้ศรัทธาในธรรม วินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว นี้แล เป็นส่วนแห่งลาภ ที่เทวดาทั้งหลายได้ดีแล้ว ศรัทธาของเทวดาใดนั้นตั้งมั่นแล้ว มีรากหยั่งลง มั่นแล้ว อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือ ใคร ๆ ในโลก พึงนําไปไม่ได้ นี้แลเป็นส่วนแห่งการตั้งอยู่ ด้วยดี ของเทวดาทั้งหลาย

ภิกษุทั้งหลาย! เมื่อใดเทวดาจะต้องจุติจากเทพ นิกายเพราะความสิ้นอายุ เมื่อนั้น เสียง ๓ อย่างของเทวดา ทั้งหลายผู้พลอยยินดีย่อมเปล่งออกไปว่า

“แน่ะท่านผู้เจริญ ! ท่านจากเทวโลกนี้ไปแล้วจงถึงสุคติ จงถึงความเป็นสหาย แห่งมนุษย์ทั้งหลายเถิด

เมื่อท่านเป็นมนุษย์แล้ว

จงได้ศรัทธาอย่างยิ่งในพระสัทธรรม ศรัทธาของท่านนั้น พึงตั้งลงมั่น มีรากหยั่ง ลงมั่น ในพระสัทธรรมที่พระตถาคตประกาศดีแล้ว อันใคร ๆ จึงนําไป มิได้ตลอดชีพ ท่าน จงละ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต และอย่ากระทํา อกุศลกรรมอย่างอื่น ที่ประกอบ ด้วยโทษ กระทํากุศลด้วยกาย ด้วยวาจาให้มาก กระทํา กุศลด้วยใจ หาประมาณมิได้ หาอุปธิมิได้ แต่นั้นท่านจงกระทําบุญอัน ให้เกิดสมบัติ นั้น ให้มาก ด้วยทาน แล้วยังสัตว์แม้เหล่าอื่น ให้ตั้งอยู่ในพระสัทธรรม ในพรหมจรรย์”

เมื่อใด เทวดาพึงรู้แจ้งซึ่งเทวดาผู้จะจุติ เมื่อนั้น ย่อมพลอยยินดีด้วยความอนุเคราะห์ นี้ว่า “แน่ะเทวดา ! ท่านจงมาบ่อยๆ
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หน้า 391

๑๐๓
ความเป็นไปได้ยาก


ภิกษุทั้งหลาย !
เธอทั้งหลายจะสําคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร ฝุ่นนิดหนึ่งที่เราซ้อนขึ้นด้วยปลายเล็บนี้ กับมหาปฐพี่นั้น ข้างไหนจะมากกว่ากัน ?

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! มหาปฐพี่นั่นแหละเป็นดิน ที่มากกว่า ฝุ่นนิดหนึ่งเท่าที่ทรง ซ้อนขึ้นด้วยปลายพระนขานี้ เป็นของมีประมาณน้อย ฝุ่นนั้น เมื่อนําเข้าไปเทียบกับ มหาปฐพี ย่อมไม่ถึงซึ่งการคํานวณได้เปรียบเทียบได้ไม่เข้าถึงแม้ซึ่งส่วนเสี้ยว

ภิกษุทั้งหลาย ! อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น สัตว์ที่จุติจากเทวดาไปแล้ว จะกลับไป เกิดในหมู่เทวดา มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจากเทวดาไปแล้ว กลับไปเกิด ในนรก กําเนิดเดรัจฉาน เปรตวิสัย มีมากกว่า โดยแท้

ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนั้นเพราะความที่สัตว์เหล่านั้นไม่เห็นอริยสัจทั้งสี่

อริยสัจสี่ อย่างไรเล่า ? สื่อย่างคือ อริยสัจคือทุกข์ อริยสัจคือเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ อริยสัจคือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ อริยสัจคือทางดําเนินให้ถึงความดับไม่เหลือ แห่งทุกข์

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอพึงประกอบโยคกรรมอันเป็นเครื่อง กระทําให้รู้ว่า ทุกข์ เป็นอย่างนี้ เหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ความดับไม่เหลือ แห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ทางดําเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์เป็นอย่างนี้ ดังนี้

ภิกษุทั้งหลาย ! เธอทั้งหลายจะสําคัญความข้อนี้ ว่าอย่างไร : ฝุ่นนิดหนึ่งที่เราซ้อน ขึ้น ด้วยปลายเล็บนี้ กับ มหาปฐพีนั้น ข้างไหนจะมากกว่ากัน?

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! มหาปฐพี่นั่นแหละเป็นดิน ที่มากกว่า ฝุ่นนิดหนึ่งเท่าที่ทรง ซ้อนขึ้นด้วยปลายพระนขานี้ เป็นของมีประมาณน้อย ฝุ่นนั้น เมื่อนําเข้าไปเทียบกับ มหาปฐพี ย่อมไม่ถึงซึ่งการคํานวณได้เปรียบเทียบได้ไม่เข้าถึงแม้ซึ่งส่วนเสี้ยว

ภิกษุทั้งหลาย ! อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น สัตว์ที่จุติจากเทวดาไปแล้ว จะกลับไป เกิดในหมู่มนุษย์ มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจากเทวดาไปแล้ว กลับไปเกิด ในนรก กําเนิดเดรัจฉาน เปรตวิสัย มีมากกว่า โดยแท้

ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนั้นเพราะความที่สัตว์เหล่านั้นไม่เห็นอริยสัจทั้งสี่

อริยสัจสี่ อย่างไรเล่า ? สื่อย่างคือ :อริยสัจคือทุกข์ อริยสัจคือเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ อริยสัจคือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ อริยสัจคือทางดําเนินให้ถึงความดับไม่เหลือ แห่งทุกข์

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอพึงประกอบโยคกรรมอันเป็นเครื่องกระทํา ให้รู้ว่า ทุกข์ เป็นอย่างนี้ เหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ทางดําเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ดังนี้
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หน้า 396

๑๐๔
ความนานแห่งกัป (นัยที่ ๑)


ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! กัปหนึ่ง นานเพียงไรหนอแล ?

ภิกษุ! กัปหนึ่งนานแล มิใช่ง่ายที่จะนับกัปนั้นว่า เท่านี้ปี เท่านี้ ๑๐๐ ปี เท่านี้ ๑,๐๐๐ ปี หรือว่าเท่านี้ ๙๐๐,๐๐๐ ปี

ก็พระองค์อาจจะอุปมาได้ไหม พระเจ้าข้า ! อาจอุปมาได้ ภิกษุ! ภิกษุ !
เหมือนอย่างว่า ภูเขาหินลูกใหญ่ยาว โยชน์หนึ่ง (๑) กว้างโยซน์หนึ่ง สูงโยชน์หนึ่ง ไม่มีซ่อง ไม่มีโพรง เป็นแท่งทึบ บุรุษพึงเอาผ้าแคว้นกาสีมาแล้ว ปัดภูเขานั้น ๑๐๐ ปีต่อครั้ง ภูเขาหินลูกใหญ่นั้น พึงถึงการหมดไป สิ้นไป เพราะความพยายามนี้ ยังเร็วกว่าแล ส่วนกัปหนึ่ง ยังไม่ถึงการหมดไป สิ้นไป กัปนานอย่างนี้แล บรรดา กัปที่นานอย่างนี้ พวกเธอท่องเที่ยวไปแล้ว มิใช่หนึ่งกัป มิใช่ร้อยกัป มิใช่พันกัป มิใช่แสนกัป.
-----------------------------------------------
๑. ๑ โยชน์ = ๑๖ กิโลเมตร
------------------------------------------------

ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?

เพราะเหตุว่า สงสารนี้กําหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลาย ไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชา เป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็น เครื่องผูก ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ สัตว์เหล่านั้นได้เสวยทุกข์ ความเผ็ดร้อน ความพินาศ ได้เพิ่มพูนปฐพีที่เป็นป่าช้า ตลอดกาลนานเหมือนฉะนั้น

ภิกษุ ! ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ก็พอแล้วเพื่อจะ เบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอแล้ว เพื่อจะคลายกําหนัด พอแล้วเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หน้า 398

๑๐๕
ความนานแห่งกัป (นัยที่ ๒)


ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! กัปหนึ่งนานเพียงไรหนอแล ?
ภิกษุ! กัปหนึ่งนานแล มิใช่ง่ายที่จะนับกัปนั้นว่า เท่านี้ปี เท่านี้ ๑๐๐ ปี เท่านี้ ๑,๐๐๐ ปี หรือว่าเท่านี้ ๙๐๐,๐๐๐ ปี

ก็พระองค์อาจจะอุปมาได้ไหม พระเจ้าข้า ! อาจอุปมาได้ ภิกษุ

ภิกษุ ! เหมือนอย่างว่า นครที่ทําด้วยเหล็ก ยาว โยชน์ ๑ กว้างโยชน์ ๑ สูงโยชน์ ๑ เต็มด้วยเมล็ดพันธุ์ ผักกาด มีเมล็ดพันธุ์ผักกาดรวมกันเป็นกลุ่มก้อน บุรุษ พึงหยิบ เอาเมล็ดพันธุ์ผักกาดเมล็ดหนึ่ง ๆ ออกจากนครนั้น โดยล่วงไปหนึ่งร้อยปี ต่อเมล็ด เมล็ดพันธุ์ผักกาดกองใหญ่ นั้น พึงถึงความสิ้นไป หมดไป เพราะ ความพยายามนี้ ยังเร็วกว่าแล ส่วนกัปหนึ่งยังไม่ถึงความสิ้นไป หมดไป กัปนาน อย่างนี้แล บรรดากัป ที่นานอย่างนี้ พวกเธอ ท่องเที่ยวไปแล้ว มิใช่หนึ่งกัป มิใช่ร้อยกัป มิใช่พันกับ มิใช่ แสนกัป

ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?
เพราะเหตุว่า สงสารนี้กําหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลาย ไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชา เป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็น เครื่องผูก ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ สัตว์เหล่านั้นได้เสวยทุกข์ ความเผ็ดร้อน ความพินาศ ได้เพิ่มพูนปฐพีที่เป็นป่าช้า ตลอดกาลนานเหมือนฉะนั้น.

ภิกษุ ! ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ก็พอแล้วเพื่อจะ เบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอแล้ว เพื่อจะคลายกําหนัด พอแล้วเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หน้า 400

๑๐๖
ความยาวนานแห่งสังสารวัฏ (นัยที่ ๑)


ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! กัปทั้งหลายที่ผ่านไปแล้ว ล่วงไปแล้ว มากเท่าไรหนอ?

ภิกษุทั้งหลาย! กัปทั้งหลายที่ผ่านไปแล้ว ล่วงไปแล้ว มีมาก มิใช่ง่ายที่จะนับกัป เหล่านั้นว่า เท่านี้กัป เท่านี้ ๙๐๐ กัป เท่านี้ ๑,๐๐๐ กัป หรือว่าเท่านี้ ๙๐๐,๐๐๐กัป.

ก็พระองค์อาจจะอุปมาได้ไหม พระเจ้าข้า ! อาจอุปมาได้ ภิกษุทั้งหลาย!

ภิกษุทั้งหลาย ! มีสาวก ๔ รูป เป็นผู้มีอายุ ๙๐๐ ปี มีชีวิต ๙๐๐ ปี หากว่าท่าน เหล่านั้น พึงระลึกถอยหลังไปได้ วันละแสนกัป กัปที่ท่านเหล่านั้นระลึกไม่ถึง พึงยัง มีอยู่อีก สาวก ๔ รูปของเรา ผู้มีอายุ ๙๐๐ ปี มีชีวิต ๑๐๐ ปี จึงทํากาละ โดยล่วงไป ๙๐๐ ปี ๆ โดยแท้แล กัปที่ผ่านไปแล้ว ล่วงไปแล้ว มีจํานวนมากอย่างนี้แล มิใช่ง่าย ที่จะนับกัป เหล่านั้น ว่า เท่านี้กัป เท่านี้ร้อยกัป เท่านี้พันกัป หรือว่า เท่านี้แสนกัป.

ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?
เพราะเหตุว่า สงสารนี้กําหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลาย ไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชา เป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็น เครื่องผูก ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ สัตว์เหล่านั้นได้เสวยทุกข์ ความเผ็ดร้อน ความพินาศ ได้เพิ่มพูนปฐพีที่เป็นป่าช้า ตลอดกาลนานเหมือนฉะนั้น

ภิกษุทั้งหลาย ! ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ก็พอแล้ว เพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอแล้วเพื่อจะคลายกําหนัด พอแล้วเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หน้า 402

๑๐๗
ความยาวนานแห่งสังสารวัฏ (นัยที่ ๒)


ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! กัปทั้งหลายที่ผ่านไปแล้ว ล่วงไปแล้ว มากเท่าไรหนอ?
พราหมณ์! กัปทั้งหลายที่ผ่านไปแล้ว ล่วงไปแล้ว มากแล มิใช่ง่ายที่จะนับกัป เหล่านั้นว่า เท่านี้กัป เท่านี้ ๙๐๐ กัป เท่านี้ ๑,๐๐๐ กัป หรือว่าเท่านี้ ๙๐๐,๐๐๐กัป.
ก็พระโคดมผู้เจริญอาจจะอุปมาได้ไหม? อาจอุปมาได้ พราหมณ์!

พราหมณ์ ! แม่น้ำคงคานี้ย่อมเกิดแต่ที่ใด และ ย่อมถึงมหาสมุทร ณ ที่ใด เมล็ดทราย ในระยะนี้ไม่เป็น ของง่ายที่จะกําหนดได้ว่าเท่านี้เม็ด เท่านี้ ๑๐๐ เม็ด เท่านี้ ๑,๐๐๐ เม็ด หรือว่าเท่านี้ ๙๐๐,๐๐๐ เมล็ด

พราหมณ์ ! กัปทั้งหลายที่ผ่านไปแล้ว ล่วงไปแล้ว มากกว่าเมล็ดทรายเหล่านั้น มิใช่ง่ายที่จะนับกัปเหล่านั้น ว่า เท่านี้กัป เท่านี้ ๙๐๐ กัป เท่านี้ ๑,๐๐๐ กัป หรือว่า เท่านี้ ๙๐๐,๐๐๐ กัป.

ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?
เพราะเหตุว่า สงสารนี้กําหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลาย ไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชา เป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็น เครื่องผูก ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ สัตว์เหล่านั้นได้เสวยทุกข์ ความเผ็ดร้อน ความพินาศ ได้เพิ่มพูนปฐพีที่เป็นป่าช้า ตลอดกาลนานเหมือนฉะนั้น

พราหมณ์ ! ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ก็พอแล้ว เพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอแล้ว เพื่อจะคลายกําหนัด พอแล้วเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้
นิทาน. ส. ๑๖/๒๑๗-๒๑๘/๕๓๕-๔๓๗.

(เกี่ยวกับสังสารวัฏ มีข้อความบาลีที่น่าสนใจในบทว่า : อนมตคุโคย์ ภิกขเวสสาโร ปพุพา โกฏิ น ปญญายติ" อวิซุซานิวรณานี สตุตาน ตญหาสญโญชนาน สนุธาวต์ สสรต์ เอว ทีฆรตุ โข ภิกขเว ทุกข์ ปจุจนุภูต ติปป์ ปจจนุภูต พุยสน ปจจนุภูติ กฏสีวฑฒิตา.) ๑. อนมตคุโคย์ มีเบื้องต้นและเบื้องปลายอันบุคคลตามรู้ไม่ได้ ๒. ปุพพา : อดีต, ก่อน ๓. โกฏิ : ส่วนปลายสุด ๔. น ปญญายติ : ไม่ปรากฏ