เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
  
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ       

  หนังสือภพภูมิ - พุทธวจน   ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
  7 of 7    
 
   หนังสือภพภูม พุทธวจน  ที่มา : http://watnapp.com/book  
       
    สารบัญ หน้า  
  ๑๓๑ ดับตัญหา คือ ปลงภาระหนักลงได้ 463  
  ๑๓๒ ละความพอใจในสิ่งใด คือการละซึ่งสิ่งนั้น 465  
  ๑๓๓ เมื่อ " เธอ" ไม่มี 466  
  ๑๓๔ สังขตลักษณะ 467  
  ๑๓๕ อสังขตลักษณะ 468  
  ๑๓๖ "ดิน น้ำ ไฟ ลม" ไม่อาจหยั่งลงได้ในที่ใหน 469  
  ๑๓๗ "สิ่งนั้น" หาพบในกายนี้ 472  
  ๑๓๘ สิ่งๆ นั้น มีอยู่ 473  
  ๑๓๙ สิ่งนั้น มีแน่ 474  
  ๑๔๐ ลำดับการปฏิบัติ เพื่ออรหัตผล 476  
  ๑๔๑ ลำดับการหลุดพ้น เมื่อเห็นอนัตตา 487  
  ๑๔๒ อริยมรรคมีองค์ ๘ คือข้อปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ 487  
  ๑๔๓ ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ 488  
  ๑๔๔ บริษัทสมาคม ๘ 490  
  ๑๔๕ บุรพกรรมของการได้ลักษณะของมหาบุรุษ 492  
  ๑๔๖ อานิสงส์ของผู้มีจิตเลื่อมใสตถาคต 501  
  ๑๔๗ ว่าด้วยทักษิณา 504  
  ๑๔๘ รัตนะที่หายาก 510  
  ๑๔๙ ผู้มีอุปาระมาก 511  
  ๑๕๐ ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อการละขาดซึ่งภพ 513  
       
  ----ประเด็นที่ควรค้นคว้าต่อ เกี่ยวกับอสูร---- 517  
  ภพ ภูมิ จบ    
       
 
 


หน้า 463

๑๓๑
ดับตัณหา คือ ปลงภาระหนักลงได้

ภิกษุทั้งหลาย ! การปลงภาระหนักลงเสียได้ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือ แห่งตัณหานั้นนั่นเทียว ความละไปของตัณหา นั้น ความสลัดคืนของตัณหานั้น ความหลุดออกไปของตัณหา นั้น และความไม่มีที่อาศัยอีกต่อไป ของ ตัณหานั้น อันใด.

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เราเรียกว่า การปลงภาระหนักลงเสียได้ ดังนี้

(คาถาผนวกท้ายพระสูตร) ขันธ์ทั้งห้าเป็นของหนัก บุคคลนั่นแหละ เป็นผู้แบกของ หนักพาไป การแบก ถือ ของหนัก เป็นความทุกข์ในโลก การปลงภาระหนักเสียได้ เป็นความสุข พระอริยเจ้าปลงภาระหนัก ลงเสียแล้ว ทั้งไม่หยิบฉวยเอาของหนัก อันอื่นขึ้นมาอีก ก็เป็นผู้ถอนตัณหาขึ้นได้กระทั่งราก (อวิชชา) เป็นผู้หมดสิ่งปรารถนา ดับสนิทไม่มีส่วนเหลือ ดังนี้
ขนุ. ส. ๑๗/๓๒/๕๒-๕๓
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หน้า 465

๑๓๒
ละความพอใจในสิ่งใด


คือ การละซึ่งสิ่งนั้น ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อไม่รู้ยิ่ง เมื่อไม่รู้รอบเมื่อไม่ คลายกําหนัด เมื่อไม่ละขาด ซึ่งรูป ... เวทนา ... สัญญา สังขาร ... วิญญาณ ก็ไม่ควรแก่ความ สิ้นไป แห่งทุกข์

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อรู้ยิ่ง เมื่อรู้รอบ เมื่อคลาย กําหนัด เมื่อละขาด ซึ่งรูป .... เวทนา .. สัญญา ... สังขาร วิญญาณ ก็ควรแก่ความสิ้นไปแห่งทุกข์

ภิกษุทั้งหลาย ! เธอทั้งหลาย จงละฉันทราคะ ในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เสีย ด้วยการกระทําอย่างนี้ เป็นอันว่ารูป ... เวทนา .... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณนั้น เป็นสิ่งที่เธอละขาดแล้ว มีรากอันขาดแล้ว ทําให้เป็นเหมือนต้นตาล มีขั้วยอด อันขาดแล้วให้ถึงความไม่มีอยู่ มีอันไม่เกิดขึ้น อีกต่อไปเป็นธรรมดา
ขนุ. ส. ๑๗/๓/๕๖-๕๘.
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หน้า 466

๑๓๓
เมื่อ “เธอ” ไม่มี

พาหิยะ ! เมื่อใด “เธอ” เห็นรูปแล้ว สักว่าเห็น ได้ฟังเสียงแล้ว สักว่าฟัง ได้กลิ่น ลิ้มรส สัมผัสทาง ผิวกาย ก็สักว่า ดม ลิ้ม สัมผัส ได้รู้แจ้งธรรมารมณ์ ก็สักว่าได้รู้แจ้ง แล้ว

เมื่อนั้น “เธอ” จักไม่มี
เมื่อใด “เธอ” ไม่มี
เมื่อนั้น “เธอ” ก็ไม่ปรากฏในโลกนี้
ไม่ปรากฏในโลกอื่น ไม่ปรากฏในระหว่างแห่งโลกทั้งสอง
นั่นแหละ คือที่สุดแห่งทุกข์ ละ
อ. ข. ๒๕/๔/๔๕.
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หน้า 467

๑๓๔
สังขตลักษณะ


ภิกษุทั้งหลาย ! สังขตลักษณะแห่งสังขตธรรม ๓ อย่าง เหล่านี้ มีอยู่ ๓ อย่าง อย่างไรเล่า ?

๓ อย่าง คือ
(๑) มีการเกิดปรากฏ (อุปปาโท ปญญายติ)
(๒) มีการเสื่อมปรากฏ (วโย ปญญายติ)
(๓) เมื่อตั้งอยู่ ก็มีภาวะอย่างอื่นปรากฏ (จิตสุส อญญถตต์ ปญญายติ)

ภิกษุทั้งหลาย ! ๓ อย่าง เหล่านี้แล คือ สังขตลักษณะแห่งสังขตธรรม.
ติก. อ. ๒๐/๑๙๒/๕๔๖.
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หน้า 468

๑๓๕
อสังขตลักษณะ

ภิกษุทั้งหลาย ! อสังขตลักษณะแห่งอสังขตธรรม ๓ อย่างเหล่านี้ มีอยู่ ๓ อย่างอย่างไรเล่า ?

๓ อย่าง คือ
(๑) ไม่ปรากฏมีการเกิด (น อุปปาโท ปญญายติ)
(๒) ไม่ปรากฏมีการเสื่อม (นวโย ปญญายติ)
(๓) เมื่อตั้งอยู่ ก็ไม่มีภาวะอย่างอื่นปรากฏ (น ฐิตสุส อญญถตต์ ปญญายติ)

ภิกษุทั้งหลาย ! ๓ อย่าง เหล่านี้แล คือ อสังขตลักษณะแห่งอสังขตธรรม.
ติก. อ. ๒๐/๑๙๒/๔๘๗.
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หน้า 469

๑๓๖
ดิน น้ำ ไฟ ลม" ไม่อาจหยั่งลงได้ในที่ใหน

เกวัฏฏะ ! เรื่องเคยมีมาแล้ว : ภิกษุรูปหนึ่ง ใน หมู่ภิกษุนี้เอง เกิดความสงสัยขึ้น ในใจว่า “มหาภูตสี่ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม เหล่านี้ ย่อมดับสนิท ไม่มีเศษเหลือ ใน ที่ไหนหนอ” ดังนี้

(ความว่า ภิกษุรูปนั้นได้เข้าสมาธิอันอาจนําไปสู่เทวโลก ได้นําเอาปัญหาข้อที่ตน สงสัยนั้นไปเที่ยวถาม เทวดาพวกจาตุมหาราชิกา เมื่อไม่มีใครตอบได้ก็เลย ไปถาม เทวดาในชั้นดาวดึงส์ เทวดาชั้นนั้น โยนให้ไปถามท้าวสักกะ, ท้าวสุยามะ, ท้าวสันตุสิตะ, ท้าวสุนิมมิตะ, ท้าวปรนิมมิตวสวัตติ, ถามเทพพวก พรหมกายิกา กระทั่งท้าว มหาพรหมในที่สุด, ท้าวมหาพรหมพยายามหลีกเลี่ยงเบียงบ่ายที่ จะไม่ตอบ อยู่พักหนึ่ง

แล้วในที่สุด ได้สารภาพว่าพวกเทวดาทั้งหลาย พากันคิดว่า ท้าว มหาพรหมเอง เป็นผู้รู้เห็น ไปทุกสิ่งทุกอย่าง
แต่ที่จริงไม่รู้ ในปัญหาที่ว่า มหาภูตรูป จักดับไปใน ที่ไหนนั้นเลย มันเป็นความผิด ของภิกษุนั้นเองที่ไม่ไป ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้า ในที่สุด ก็ต้องย้อนกลับมาเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า)

เกวัฏฏะ ! ภิกษุนั้นได้กลับมาอภิวาทเรา นั่ง ณ ที่ควร แล้วถามเราว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! มหาภูตสี คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม เหล่านี้ ย่อมดับสนิท ไม่มีเศษเหลือ ในที่ไหน ?” ดังนี้

เกวัฏฏะ ! เมื่อเธอถามขึ้นอย่างนี้ เราได้กล่าวกะ ภิกษุนั้นว่า :

แน่ะภิกษุ! เรื่องเก่าแก่มีอยู่ว่า พวกค้าทางทะเล ได้พา นก สําหรับค้นหาฝั่งไป กับเรือ ค้าด้วย เมื่อเรือหลงทิศ ในทะเล และแลไม่เห็นฝั่ง พวกเขาปล่อยนก สําหรับค้นหา ฝังนั้นไป นกนั้นบินไปทาง ทิศตะวันออกบ้าง ทิศใต้บ้าง ทิศตะวันตกบ้าง ทิศเหนือบ้าง ทิศเบื้องบนบ้าง ทิศน้อยๆ บ้าง
เมื่อมันเห็นฝั่งทางทิศใดแล้ว มันก็จะบิน ตรงไปยังทิศนั้น แต่ถ้าไม่เห็น ก็จักบินกลับมาสู่เรือตามเดิม.

ภิกษุ !
เช่นเดียวกับเธอนั้นแหละ ได้เที่ยวหาคําตอบของปัญหานี้ มาจนจบทั่วกระทั่ง ถึงพรหมโลกแล้ว ในที่สุดก็ยังต้องย้อนมาหาเราอีก.

ภิกษุ! ในปัญหาของเธอนั้น เธอไม่ควรตั้งคําถาม ขึ้นว่า “มหาภูตสี่ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม เหล่านี้
ย่อมดับสนิท ไม่มีเศษเหลือ ในที่ไหน ?” ดังนี้เลย

อันที่จริง เธอควรจะตั้งคําถามขึ้นอย่างนี้ว่า “ดิน น้ำ ไฟ ลม
ไม่หยั่งลงได้ ในที่ไหน ? ความยาว ความสัน ความเล็ก ความใหญ่ ความงาม ความไม่งาม ไม่หยั่งลง ได้ใน ที่ไหน ? นามรูป ย่อมดับสนิท ไม่มีเศษเหลือในที่ไหน ?” ดังนี้ ต่างหาก.

ภิกษุ! ในปัญหานั้น คําตอบมีดังนี้

“สิ่ง” สิ่งหนึ่ง ซึ่งบุคคลพึงรู้แจ้ง เป็นสิ่งที่ไม่มี ปรากฏการณ์ ไม่มีที่สุด แต่มีทางปฏิบัติ เข้ามาถึงได้โดยรอบนั้น มีอยู่ ใน “สิ่ง” นั้นแหละ ดิน น้ำ ไฟ ลม ไม่หยั่งลงได้ ใน “สิ่ง” นั้นแหละ ความยาว ความสั้น ความเล็ก ความใหญ่ ความงาม ความไม่งาม ไม่หยั่งลงได้ ใน “สิ่ง” นั้นแหละ นามรูป ย่อมดับสนิท ไม่มีเศษเหลือ นามรูป ดับสนิท ใน “สิ่ง” นี้ เพราะการดับสนิทของวิญญาณ ดังนี้

สี. ที. ๔/๒๕๗๗/๓๔m.
----------------------------------------------------------------------------------------------------

หน้า 472

๑๓๗

สิ่งนั้น” หาพบในกายนี้

แน่ะเธอ ! ที่สุดโลก แห่งใด อันสัตว์ ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติ เราไม่กล่าว ว่า ใครๆ อาจรู้ อาจเห็น อาจถึงที่สุดแห่งโลกนั้น ด้วยการไป.

แน่ะเธอ! ในร่างกายที่ยาวประมาณวาหนึ่งนี้ ที่ยังประกอบด้วยสัญญา และใจนี่เอง เราได้บัญญัติโลก เหตุให้เกิดโลก ความดับสนิทไม่เหลือของโลก และทางดําเนิน ให้ถึงความดับสนิทไม่เหลือของโลกไว้ ดังนี้แล. (โลกคือขันธ์๕ คือกายและใจ)
จตุกก. อ. ๒/๖๒/๔๔.
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หน้า 473

๑๓๘
สิ่ง ๆ นั้น มีอยู่

ภิกษุทั้งหลาย ! “สิ่ง” สิ่งนั้นมีอยู่ เป็นสิ่งซึ่งในนั้นไม่มีดิน ไม่มีน้ำ ไม่มีไฟ ไม่มีลม ไม่ใช่อากาสานัญจายตนะ ไม่ใช้วิญญาณัญจายตนะ ไม่ใช่อากิญจัญญายตนะ ไม่ใช่ เนวสัญญานาสัญญายตนะ ไม่ใช่โลกนี้ ไม่ใช่โลกอื่น ไม่ใช่ดวงจันทร์ หรือ ดวงอาทิตย์ ทั้งสองอย่าง

ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีอันเกี่ยวกับ “สิ่ง” สิ่งนั้น เราไม่กล่าวว่ามีการมา ไม่กล่าวว่า มีการไป ไม่กล่าวว่ามีการหยุด ไม่กล่าวว่ามีการจุติ ไม่กล่าวว่ามีการเกิดขึ้น สิ่งนั้น มิได้ตั้งอยู่ สิ่งนั้นมิได้เป็นไป และสิ่งนั้นมิใช่อารมณ์ นั้นแหละคือ ที่สุดแห่งทุกข์ ละ
อุ. ข. ๒๕/๒๐๖/๑๕๘.
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หน้า 474

๑๓๙
สิ่งนั้น มีแน่

ภิกษุทั้งหลาย ! สิ่งซึ่งมิได้เกิด (อชาติ) มิได้เป็น (อภูต) มิได้ถูกอะไรทํา (อกต) มิได้ถูกอะไรปรุง (อสมุขต) นั้นมีอยู่

ภิกษุทั้งหลาย! ถ้าหากว่า สิ่งที่มิได้เกิด มิได้เป็น มิได้ถูกอะไรทํา มิได้ถูกอะไรปรุง จักไม่มีอยู่แล้วไซร้ การรอดออกไปได้สําหรับสิ่งที่เกิด ที่เป็น ที่ถูกอะไรทํา ที่ถูก อะไรปรุง ก็จักไม่ปรากฏ

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุที่มีสิ่ง ซึ่งมิได้เกิด มิได้เป็น มิได้ถูกอะไรทํา มิได้ถูกอะไร ปรุงนั่นเอง การรอด ออกไปได้สําหรับสิ่งที่เกิด ที่เป็น ที่ถูกอะไรทํา ที่ถูกอะไรปรุง จึงได้ปรากฏอยู่

(คาถาผนวกท้ายพระสูตร)
ใครๆ ไม่ควรเพลิดเพลินต่อสิ่งซึ่งเกิดแล้วเป็นแล้ว เกิดขึ้นพร้อมแล้ว อันปัจจัยกระทํา แล้ว อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว ไม่ยั่งยืน ปรุงแต่งเพื่อชราและมรณะ เป็นรังโรค เป็นของ ผู้ฟัง มีอาหารและเนตติ (ตัณหา) เป็นแดนเกิด.

ส่วนการออกไปเสียได้จากสิ่งนั้นเป็นธรรมชาติอันสงบ ไม่เป็นวิสัยแห่งความตรึก เป็นของยั่งยืน ไม่เกิด ไม่เกิดขึ้นพร้อม ไม่มีโศก ปราศจากธุลี เป็นที่ควรไปถึง เป็นที่ดับแห่งสิ่งที่มี ความทุกข์เป็นธรรมดา เป็นความเข้าไปสงบรํางับแห่งสังขาร เป็นสุข ดังนี้
อิติว ข. ๒๕/๒๕๗/๒๒๑.

ภิกษุทั้งหลาย ! สิ่งซึ่งมิได้เกิด มิได้เป็น มิได้ถูก กระทํา มิได้ถูกอะไรปรุงนั้นมีอยู่,

ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าหากว่า สิ่งที่มิได้เกิด มิได้เป็น มิได้ถูกอะไรทํา มิได้ถูกอะไรปรุง จักไม่มีอยู่แล้วไซร้ ความรอดออกไปได้ของสิ่งที่เกิด ที่เป็น ที่ถูกอะไรทํา ที่ถูกอะไร ปรุง ก็จักไม่ปรากฏเลย.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุที่มีสิ่ง ซึ่งมิได้เกิด มิได้เป็น มิได้ถูกกระทํา มิได้ถูกอะไร ปรุง นั่นเอง จึงได้มี ความรอดออกไปได้ ของสิ่งที่เกิด ที่เป็น ที่ถูกอะไรทํา ที่ถูกอะไร ปรุง ปรากฏอยู่
อุ. . ๒๕/๒๐๗/๑๖o.
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หน้า 476

๑๔o
ลําดับการปฏิบัติ เพื่ออรหัตตผล


ภิกษุทั้งหลาย ! เราย่อมไม่กล่าวการประสบความพอใจในอรหัตตผล ด้วยการกระทํา อันดับแรกเพียงอันดับเดียว

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็แต่ว่า การประสบความพอใจในอรหัตตผล ย่อมมีได้ เพราะการ ศึกษาโดยลําดับ เพราะการกระทําโดยลําดับ เพราะการปฏิบัติโดยลําดับ

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็การประสบความพอใจในอรหัตตผล ย่อมมีได้ เพราะการศึกษาโดย ลําดับ เพราะการกระทําโดยลําดับ เพราะการปฏิบัติโดยลําดับนั้น เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! บุรุษบุคคลในกรณีนี้ : เป็นผู้มีศรัทธาเกิดขึ้นแล้ว ย่อม เข้าไปหา (สัปบุรุษ) เมื่อเข้าไปหา ย่อม เข้าไปนั่งใกล้ เมื่อเข้าไปนั่งใกล้ ย่อม เงี่ยโสตลงสดับ ผู้เงี่ยโสตลงสดับ ย่อมได้ฟังธรรม ครั้นฟังแล้ว ย่อมทรงจําธรรมไว้ ย่อมใคร่ครวญ พิจารณา ซึ่งเนื้อความแห่งธรรมทั้งหลาย ที่ตนทรงจําไว้ เมื่อเขาใคร่ครวญ พิจารณา ซึ่งเนื้อความแห่งธรรมนั้นอยู่ ธรรมทั้งหลายย่อมทนต่อการเพ่งพิสูจน์ เมื่อธรรมทน ต่อการ เพ่งพิสูจน์มีอยู่ ฉันทะ (ความพอใจ) ย่อมเกิด ผู้เกิดฉันทะแล้ว ย่อม มีอุตสาหะ ครั้นมีอุตสาหะแล้ว ย่อม ใช้ดุลยพินิจ (เพื่อหาความจริง) ครั้นใช้ ดุลยพินิจ (พบ) แล้ว ย่อม ตั้งตนไว้ในธรรมนั้น ผู้มีตนส่งไปแล้วในธรรมนั้นอยู่ ย่อม กระทํา ให้แจ้ง ซึ่งบรมสัจจ์ด้วยกายด้วย ย่อม เห็นแจ้งแทงตลอด ซึ่งบรมสัจจ์นั้นด้วยปัญญา ด้วย.
ม. ม. ๑/๒๓/๒๓๘.
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หน้า 478

๑๔๑
ลําดับการหลุดพ้น เมื่อเห็นอนัตตา

ภิกษุทั้งหลาย ! รูปเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็น อนัตตา สิ่งนั้นนั้น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เป็นเรา ไม่ใช่ เป็นตัวตนของเรา เธอทั้งหลายพึงเห็นข้อนั้น ด้วยปัญญาโดยชอบ ตรงตามที่เป็นจริง อย่างนี้ ด้วยประการดังนี้
(ในกรณีแห่งเวทนา สัญญา สังขารทั้งหลาย และวิญญาณ ก็ตรัสอย่างเดียวกันกับ ในกรณีแห่งรูปทุกประการ)

ภิกษุทั้งหลาย! เมื่อบุคคลเห็นข้อนั้น ด้วยปัญญา โดยชอบตรงตามที่เป็นจริงอยู่ อย่างนี้ ปุพพันตานุทิฏฐิ (ความตามเห็นขันธ์ส่วนอดีต) ทั้งหลาย ย่อมไม่มี

เมื่อปุพพันตานุทิฏฐิ ทั้งหลายไม่มี อปรันตานุทิฏฐิ ทั้งหลาย (ความตามเห็นขันธ์ ส่วนอนาคต) ย่อมไม่มี

เมื่อ อปรันตานุทิฏฐิ ทั้งหลายไม่มี ความยึดมั่น ลูบคลําอย่างแรงกล้า ย่อมไม่มี

เมื่อความยึดมั่นลูบคลําอย่างแรงกล้าไม่มี จิต ย่อมจางคลายกําหนัด ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ทั้งหลาย ในวิญญาณ ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะ ทั้งหลาย เพราะ ไม่มีความยึดมั่นถือมั่น

เพราะหลุดพ้นแล้ว จึงดํารงอยู่ เพราะดํารงอยู่ จึงยินดีร่าเริงด้วยดี เพราะยินดีร่าเริง ด้วยดี จึงไม่หวาดสะดุ้ง

เมื่อไม่หวาดสะดุ้ง ย่อมปรินิพพานเฉพาะตนนั่นเทียว เธอนั้นย่อมรู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทํา ได้ทําสําเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทําเพื่อความ เป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก” ดังนี้
ขนู. ส. ๑๗/๕๗/๕๓

เพราะหลุดพ้นแล้ว จึงดํารงอยู่ เพราะดํารงอยู่ จึงยินดีร่าเริงด้วยดี เพราะยินดีร่าเริง ด้วยดี จึงไม่หวาดสะดุ้ง เมื่อไม่หวาดสะดุ้ง ย่อมปรินิพพานเฉพาะตนนั่นเทียว เธอนั้น ย่อมรู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทํา ได้ทําสําเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทําเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก” ดังนี้
ขนู. ส. ๑๗/๕๗/๕๓
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หน้า 487

๑๔๒
อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ ข้อปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์


ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ อริยสัจ คือหนทางเป็นเครื่อง ให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ? คือ: -

หนทางอันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนี้เอง องค์แปดคือ ความเห็นชอบ (สัมมาทิฏฐิ) ความดําริชอบ (สัมมาสังกัปปะ) วาจาชอบ (สัมมาวาจา) การงานชอบ (สัมมา กัมมันตะ) อาชีวะชอบ (สัมมาอาชีวะ) ความเพียรชอบ (สัมมา วายามะ) ความระลึกชอบ (สัมมาสติ) ความตั้งใจมั่นชอบ (สัมมาสมาธิ).

ภิกษุทั้งหลาย ! ความเห็นชอบ เป็นอย่างไร ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในเหตุ ให้เกิดทุกข์ ความรู้ในความดับไม่เหลือ แห่งทุกข์ ความรู้ ในหนทางเป็นเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ อันใด นี้เรา เรียกว่า ความเห็นชอบ

ภิกษุทั้งหลาย ! ความดําริชอบ เป็นอย่างไร?
ภิกษุทั้งหลาย ! ความดําริในการออกจากกาม ความดําริในการไม่พยาบาท ความดําริ ในการไม่เบียดเบียน นี้เราเรียกว่า ความดําริชอบ.

ภิกษุทั้งหลาย! วาจาชอบ เป็นอย่างไร ?
ภิกษุทั้งหลาย ! การเว้นจากการพูดเท็จ การเว้น จากการพูดยุให้แตกกัน การเว้นจาก การพูดหยาบ การเว้น จากการพูดเพ้อเจ้อ นี้เราเรียกว่า วาจาชอบ.

ภิกษุทั้งหลาย ! การงานชอบ เป็นอย่างไร?
ภิกษุทั้งหลาย ! การเว้นจากการฆ่าสัตว์ การเว้น จากการถือเอาสิ่งของ ที่เจ้าของ ไม่ได้ให้ การเว้นจากการ ประพฤติผิดในกามทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า การงานชอบ.(ศีล5 3 ข้อแรก)

ภิกษุทั้งหลาย ! อาชีวะชอบ เป็นอย่างไร ?
ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวกในกรณีนี้ ละการหา เลี้ยงชีพที่ผิดเสีย สําเร็จความเป็นอยู่ ด้วยการหาเลี้ยงชีพ ที่ชอบ นี้เราเรียกว่า อาชีวะชอบ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ความเพียรชอบ เป็นอย่างไร?
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความ เพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อความไม่บังเกิดขึ้นแห่งอกุศลธรรมอัน เป็นบาป ทั้งหลายที่ยังไม่ได้บังเกิด ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภ ความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อการละเสียซึ่งอกุศลธรรมอันเป็นบาป ที่บังเกิดขึ้นแล้ว ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อม ประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อการบังเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย ที่ยังไม่ได้บังเกิด ย่อมปลูกความพอใจย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิต ไว้ เพื่อความยั่งยืน ความไม่ เลอะเลือน ความงอกงามยิ่งขึ้น ความไพบูลย์ ความเจริญ ความเต็มรอบ แห่งกุศลธรรมทั้งหลายที่บังเกิดขึ้นแล้ว นี้เราเรียกว่า ความเพียรชอบ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ความระลึกชอบเป็นอย่างไร ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้มีปกติ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่เป็นประจํา มีความเพียรเผากิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม (สัมปชัญญะ) มีสติ นําความพอใจ และความไม่พอใจในโลกออกเสียได้ เป็นผู้มีปกติ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา ทั้งหลายอยู่เป็นประจํา มีความเพียรเผากิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ ในความ พอใจ และความไม่พอใจในโลกออกเสียได้ เป็นผู้ มีปกติพิจารณาเห็นจิตในจิต อยู่เป็นประจํา มีความเพียร เผากิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสตินําความพอใจและ ความไม่พอใจในโลกออกเสียได้ เป็นผู้มีปกติพิจารณา เห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย อยู่เป็นประจํา มีความเพียร เผากิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นําความพอใจ และความไม่พอใจในโลกออกเสียได้ นี้เราเรียกว่า ความระลึกชอบ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ความตั้งใจมั่นชอบเป็นอย่างไร?
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้ สงัดแล้วจากกาม ทั้งหลาย สงัดแล้วจากอกุศลธรรม ทั้งหลาย เข้าถึงฌานที่หนึ่ง อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่ เพราะวิตกวิจารรํางับลง เธอเข้าถึงฌานที่สอง อันเป็น เครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ แล้วแลอยู่ เพราะปีติจางหายไป เธอเป็นผู้เพ่งเฉยอยู่ได้ มีสติ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม และได้เสวยสุขด้วยกายย่อม เข้าถึงฌานที่สาม อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย กล่าว สรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า “เป็นผู้เฉยอยู่ได้ มีสติ มีความรู้สึกตัว ทั่วพร้อม” แล้วแลอยู่ เพราะละสุขและทุกข์เสียได้ และ เพราะความดับหายไปแห่งโสมนัส และ โทมนัสในกาลก่อน เธอย่อมเข้าถึงฌานที่สี่ อันไม่ทุกข์และไม่สุข มีแต่สติอัน บริสุทธิ์ เพราะอุเบกขาแล้วแลอยู่ นี้เราเรียกว่า สัมมาสมาธิ

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เราเรียกว่า อริยสัจ คือ หนทางเป็นเครื่องให้ถึงความดับ ไม่เหลือ แห่งทุกข์
มหา. ที. ๑๐/๓๔๓-๓๔๕/๒๙๙.
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หน้า 488

๑๔๓
ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ

(การสนทนากับโหณพราหมณ์ เริ่มในที่นี้ด้วยพราหมณ์ ทูลถาม)
“ท่านผู้เจริญของเรา! ท่านเป็นเทวดาหรือ ?” พราหมณ์เอย ! เราไม่ได้เป็นเทวดาดอก, “ท่านผู้เจริญของเรา! ท่านเป็นคนธรรพ์หรือ ?” พราหมณ์เอย ! เราไม่ได้เป็นคนธรรพ์ดอก “ท่านผู้เจริญของเรา! ท่านเป็นยักษ์หรือ ?” พราหมณ์เอย ! เราไม่ได้เป็นยักษ์ดอก. “ท่านผู้เจริญของเรา! ท่านเป็นมนุษย์หรือ ?” พราหมณ์เอย! เราไม่ได้เป็นมนุษย์ดอก.

“ท่านผู้เจริญของเรา! เราถามอย่างไรๆ ท่านก็ตอบว่า มิได้เป็นอย่างนั้นๆ ถ้าเช่นนั้น ท่านเป็นอะไรเล่า ?”

พราหมณ์เอย ! อาสวะเหล่าใด ที่จะทําให้เราเป็น เทวดา เพราะยังละมันไม่ได้ อาสวะเหล่านั้นเราละได้ขาด ถอนขึ้นทั้งรากแล้ว ทําให้เหมือนตาลยอดด้วน ไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้น อีกต่อไปแล้ว

พราหมณ์เอย! อาสวะเหล่าใด ที่จะทําให้เราเป็น คนธรรพ์ เป็นยักษ์ เป็นมนุษย์ เพราะยังละมันไม่ได้ อาสวะเหล่านั้น เราละได้ขาด ถอนขึ้นทั้งรากแล้ว ทําให้ เหมือนตาลยอดด้วน ไม่ให้มีไม่ให้เกิดขึ้น อีกต่อไปแล้ว

พราหมณ์! เปรียบเหมือนดอกบัวเขียวบัวหลวง หรือบัวขาว มันเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ โผล่ขึ้นพ้นน้ำ ตั้งอยู่ น้ําไม่เปียกติดมันได้ ฉันใดก็ฉันนั้น.

พราหมณ์ ! เรานี้เกิดในโลก เจริญในโลก ก็จริง แต่เราครอบงําโลกเสียได้แล้ว และอยู่ในโลก โลกไม่ฉาบทาแปดเปื้อน เราได้

พราหมณ์ ! ท่านจงจําเราไว้ว่า เป็น “พุทธะ” ดังนี้เถิด.
จตุกก. อ. ๒๑/๔/๓๖.
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หน้า 490

๑๔๔
บริษัทสมาคม ๘

อานนท์ ! บริษัทสมาคม ๘ จําพวก คือ :
(๑) ขัตติยบริษัท
(๒) พราหมณบริษัท
(๓) คหบดีบริษัท
(๔) สมณบริษัท
(๕) จาตุมมหาราชิกบริษัท
(5) ดาวดึงสบริษัท
(๗) มารบริษัท
(๘) พรหมบริษัท

อานนท์ ! ตถาคตยังจําได้ว่าเคยเข้าไปสู่ขัตติยบริษัท พราหมณบริษัท คหบดีบริษัท สมณบริษัท จาตุมมหาราชิกบริษัท ดาวดึงสบริษัท มารบริษัท และพรหมบริษัท นับด้วยร้อย ๆ ทั้งเคยนั่งร่วม เคยเจรจาร่วม เคยสนทนา และสมาคมร่วมกับบริษัทนั้นๆ

เราย่อมจําเรื่องนั้น ๆ ได้ดีว่า (คราวนั้นๆ) ผิวกาย ของพวกนั้นเป็นเช่นใด ผิวกาย ของเราก็เป็นเช่นนั้น เสียงของพวกนั้นเป็นเช่นใด เสียงของเราก็เป็นเช่นนั้น

อนึ่ง เรายังเคยได้ชี้แจงพวกเขาเหล่านั้นให้เห็นจริง ในธรรม ให้รับเอาไปปฏิบัติ ให้เกิดความกล้า ที่จะทําตาม ให้พอใจในผลแห่งการปฏิบัติ ที่ได้รับแล้วด้วยธรรมีกถา บริษัทเหล่านั้น ไม่รู้จักเรา ผู้กําลังพูดให้เขาฟังอยู่ ว่าเราเป็นใคร คือเป็นเทวดา หรือ เป็นมนุษย์ ครั้นเรากล่าวธรรมีกถาจบแล้ว ก็จากไปทั้งที่ ชนทั้งหลายเหล่านั้น ก็ยังไม่รู้จักเรา.

เขาได้แต่เกิดความฉงนใจว่า ผู้ที่จากไปแล้วนั้น เป็นใคร เป็นเทวดา หรือมนุษย์แน่ ดังนี้
มหา. ที่ ๑๐/๑๒๗/๔๙.
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หน้า 492

๑๔๕
บุรพกรรมของการได้ลักษณะของมหาบุรุษ

ภิกษุทั้งหลาย ! พวกฤาษีภายนอกจํามนต์ มหาปุริสลักขณะได้ก็จริง แต่หารู้ไม่ว่า การที่มหาบุรุษได้ ลักขณะอันนี้ ๆ เพราะทํากรรมเช่นนี้ ๆ :

ก. ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ใน ชาติก่อน ในภพที่อยู่อาศัยก่อน ได้เป็นผู้บากบั่น ในกุศล ถือมั่นในกายสุจริตวจีสุจริต มโนสุจริต ในการบริจาคทาน การสมาทานศีล การรักษาอุโบสถ การปฏิบัติมารดา บิดา การปฏิบัติสมณพราหมณ์ การอ่อนน้อมต่อผู้เจริญในตระกูล และในอธิกุศลธรรมอื่น เพราะได้กระทําได้สร้างสม ได้พอกพูน ได้มั่วสุมกรรมนั้น ๆ ไว้ภายหลังแต่การตายเพราะการทําลาย แห่งกาย ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ตถาคตนั้นถือเอาในเทพ เหล่าอื่นโดยฐานะ ๑๐ คือ อายุทิพย์ วรรณะทิพย์ สุขทิพย์ ยศทิพย์ อธิบดีทิพย์ รูปทิพย์ เสียงทิพย์ กลิ่นทิพย์ รสทิพย์ สัมผัสทิพย์ ครั้นจุติ จากภพนั้น มาสู่ความเป็นมนุษย์อย่างนี้ จึงได้มหา ปุริสลักขณะ ข้อนี้คือ มีฝ่าเท้าเสมอ จดลงก็เสมอ ยกขึ้นก็เสมอฝ่าเท้า ถูกต้องพื้น พร้อมกัน (ลักขณะที่ ๑) ย่อมเป็นผู้ไม่หวาดหวั่นต่อข้าศึก ทั้งภายใน และภายนอก คือ ราคะ โทสะ โมหะ ก็ตาม สมณะพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ก็ตาม ในโลก ที่เป็นศัตรู

ข. ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ใน ชาติก่อน ได้เป็นผู้นําสุขมาให้แก่มหาชนเป็นผู้บรรเทาภัย คือ ความสะดุ้งหวาดเสียวจัดการ คุ้มครองรักษาโดยธรรม ได้ถวายทานมีเครื่องบริวาร เพราะ ... กรรมนั้นๆ ... ครั้น มาสู่ความเป็นมนุษย์อย่างนี้ จึงได้มหา ปุริสลักขณะข้อนี้ คือ ภายใต้ฝ่าเท้ามีจักร ทั้งหลายเกิดขึ้น มีซี่ตั้งพัน พร้อมด้วย กงและดุม บริบูรณ์ ด้วยอาการทั้งปวง มีระยะ อันจัดไว้ด้วยดี ... (ลักขณะที่ ๒), ย่อมเป็นผู้มีบริวารมาก ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เทวดา มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์ ย่อมเป็นบริวารของตถาคต

ค. ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ใน ชาติก่อน ... ได้เป็นผู้เว้นจากปาณาติบาต วางแล้วซึ่งศัสตรา และอาชญา มีความละอาย เอ็นดู กรุณาเกื้อกูลแก่สัตว์มี ชีวิตทั้งปวงเพราะ....กรรมนั้น ๆ .... ครั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์ อย่างนี้ จึงได้มหาปุริสลักขณะทั้ง ๓ ข้อนี้ คือ มีส้นยาว มีข้อนิ้วยาว มีกายตรงดุจกาย พรหม ... (ลักขณะที่ ๓, ๔, ๑๕) ย่อมเป็นผู้มีชนมายุยืนยาวตลอดกาลนาน สมณะ หรือ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม ก็ตาม หรือใครๆ ที่เป็นศัตรู ไม่สามารถปลงชีวิต ตถาคตเสียในระหว่างได้

ง. ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ใน ชาติก่อน ได้เป็นผู้ให้ทานของควรเคี้ยว ควรบริโภค ควรลิ้ม ควรจิบ ควรดื่ม มีรสอันประณีต เพราะ ... กรรมนั้น ๆ ... ครั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์อย่างนี้แล้ว จึงได้มหาปุริสลักขณะ ข้อนี้ คือ มีเนื้อนูนหนาในที่ ๗ แห่ง คือ ที่มือทั้งสอง ที่เท้า ทั้งสอง ที่บ่าทั้งสอง และที่คอ ... (ลักขณะที่ ๑๖), ย่อมได้ ของควรเคี้ยว ควรบริโภค ควรลิ้ม ควรจิบ ควรดื่มอัน มีรสประณีต

จ. ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ใน ชาติก่อน ... ได้สงเคราะห์ผู้อื่นด้วยสังคหวัตถุทั้งสี่ คือ การให้สิ่งของ วาจาที่ไพเราะ การประพฤติ ประโยชน์ผู้อื่น และความมีตนเสมอกัน เพราะ ... กรรมนั้นๆ .... ครั้นมาสู่ ความเป็น มนุษย์อย่างนี้แล้ว จึงได้มหาปุริสลักขณะ ๒ ข้อนี้ คือ มีมือและเท้า อ่อนนุ่ม มีลาย ฝ่ามือฝ่าเท้าดุจตาข่าย... (ลักขณะที่ ๕, ๖), ย่อมเป็นผู้สงเคราะห์บริษัท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เทวดา มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์ ย่อมได้รับความ สงเคราะห์จากตถาคต.

ฉ. ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ใน ชาติก่อน ... ได้เป็นผู้กล่าววาจาประกอบด้วยอรรถด้วยธรรม แนะนําชนเป็นอันมาก เป็นผู้นํา ประโยชน์ สุขมาให้แก่ชน ทั้งหลาย ตนเองก็เป็นผู้บูชาธรรม เพราะ ... กรรมนั้น ๆ ... ครั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์อย่างนี้ จึงได้มหา ปุริสลักขณะ ๒ ข้อนี้ คือ มีข้อเท้าสูง มีปลายขนซ้อนขึ้น ... (ลักขณะที่ ๓, ๑๔), ย่อมเป็นผู้เลิศ ประเสริฐเยี่ยมสูงกว่า สัตว์ทั้งหลาย

ช. ภิกษุทั้งหลาย! เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ใน ชาติก่อน ... ได้เป็นผู้บอกศิลปวิทยา ข้อประพฤติ ด้วย ความเคารพ ด้วยหวังว่าสัตว์เหล่านั้น จึงรู้ได้รวดเร็ว พึงปฏิบัติ ได้รวดเร็ว ไม่พึงเศร้าหมอง สิ้นกาลนาน เพราะ ... กรรมนั้นๆ ...ครั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์อย่างนี้ จึงได้มหาปุริสลักขณะ ข้อนี้ คือ มีแข้งดังแข้งเนื้อ ... (ลักขณะที่ ๔), ย่อมได้วัตถุ อันควรแก่สมณะ เป็นองค์แห่งสมณะเป็นเครื่องอุปโภค แก่สมณะ โดยเร็ว

ซ. ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ใน ชาติก่อน ... ได้เป็นผู้เข้าไปหาสมณพราหมณ์แล้วสอบถามว่า “ท่านผู้เจริญ ! อะไรเป็นกุศล อะไร เป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ ทําอะไรไม่มี ประโยชน์ เป็นทุกข์ ไปนาน ทําอะไรมีประโยชน์เป็นสุขไปนาน เพราะ ... กรรมนั้น ๆ ... ครั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์อย่างนี้ จึงได้มหาปุริสลักขณะ ข้อนี้ คือ มีผิวละเอียดอ่อน ธุลีไม่ติด อยู่ได้ .... (ลักขณะที่ ๑๒), ย่อมเป็นผู้มี ปัญญาใหญ่ มีปัญญา หนาแน่น มีปัญญาเครื่องปลื้มใจ ปัญญาแล่น ปัญญาแหลม ปัญญาแทงตลอด ไม่มีสัตว์อื่นเสมอ หรือยิ่งไปกว่า

ณ. ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ใน ชาติก่อน ... ได้เป็นผู้ไม่มักโกรธ ไม่มากไปด้วยความแค้น แม้ชนเป็นอันมาก ว่ากล่าวเอา ก็ไม่เอา ใจใส่ ไม่โกรธ ไม่ พยาบาท ไม่คุมแค้น ไม่แสดงความโกรธ ความร้ายกาจ ความเสียใจ ให้ปรากฏ ทั้งเป็นผู้ให้ทานผ้าเปลือกไม้ ผ้าด้าย ผ้าไหม ผ้าขนสัตว์ สําหรับลาดและนุ่งห่ม อันมีเนื้อละเอียดอ่อน เพราะ ... กรรมนั้น ๆ ... ครั้นมาสู่ความ เป็นมนุษย์ อย่างนี้ จึงได้มหาปุริสลักขณะข้อนี้ คือ มีกายดุจทอง มีผิวดุจทอง ... (ลักขณะที่ ๑๑), ย่อมเป็นผู้ได้ผ้าเปลือกไม้ ผ้าด้าย ผ้าไหม ผ้าขนสัตว์สําหรับลาด และห่มมีเนื้อละเอียดอ่อน

ญ. ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ใน ชาติก่อน...ได้เป็นผู้สมานญาติมิตรสหายชาวเกลอ ผู้เหินห่าง แยกกันไปนาน ได้สมานไมตรี มารดากับบุตร บุตรกับมารดา บิดากับบุตร บุตรกับบิดา พี่น้องชายกับพี่น้องหญิง พี่น้อง หญิงกับพี่น้องชาย, ครั้นทําความสามัคคีแล้วพลอยชื่นชม ยินดีด้วย เพราะ ... กรรมนั้น ๆ ... ครั้นมาสู่ความเป็น มนุษย์อย่างนี้ จึงได้มหาปุริสลักขณะ ข้อนี้ คือ มีคุยหฐาน (อวัยวะที่ลับ) ซ่อนอยู่ในฝัก ... (ลักขณะที่ ๑๐), ย่อมเป็น ผู้มีบุตร (สาวก) มาก มีบุตรกล้าหาญ มีแววแห่งคนกล้า อันเสนาแห่งบุคคลอื่นจะย่ํายีมิได้ หลายพัน

ฎ. ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ใน ชาติก่อน ได้เป็นผู้สังเกตชั้นเชิงของมหาชนรู้ได้สม่ําเสมอ รู้ได้เอง รู้จักบุรุษธรรมดาและ บุรุษ พิเศษ ว่าผู้นี้ควรแก่สิ่งนี้ ๆ ได้เป็นผู้ทําประโยชน์อย่างวิเศษในชนชั้นนั้น เพราะ ... กรรมนั้น ๆ ... ครั้นมาสู่ความ เป็นมนุษย์อย่างนี้จึงได้ มหาปุริสลักขณะ ๒ ข้อนี้ คือ มีทรวดทรงดุจต้นไทร ยืนตรงไม่ย่อกาย ลูบถึงเข่าได้ ด้วยมือทั้งสอง ... (ลักขณะที่ ๑๙, ๙), ย่อมมั่งคั่งมีทรัพย์มาก มีโภคะมาก ทรัพย์ของ ตถาคตเหล่านี้ คือ ทรัพย์ คือศรัทธา ทรัพย์คือศีล ทรัพย์ คือหิริ ทรัพย์คือโอตตัปปะ ทรัพย์คือการศึกษา (สุตตะ) ทรัพย์คือจาคะ ทรัพย์คือปัญญา

ฐ. ภิกษุทั้งหลาย! เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ใน ชาติก่อน ... ได้เป็นผู้ใคร่ต่อประโยชน์ใคร่ต่อความเกื้อกูล ใคร่ต่อความผาสุข ใคร่ต่อความเกษม จาก โยคะแก่ชน เป็นอันมากว่า “ไฉนชนเหล่านี้จึงเป็นผู้เจริญด้วยศรัทธา ด้วยศีล ด้วยการศึกษา ด้วยความรู้ ด้วยการเผื่อแผ่ ด้วยธรรม ด้วยปัญญา ด้วยทรัพย์ และ ข้าวเปลือก ด้วยนาและสวน ด้วยสัตว์สองเท้า สี่เท้า ด้วยบุตรภรรยา ด้วยทาสกรรมกร และบุรุษ ด้วยญาติมิตรและพวกพ้อง” เพราะ ... กรรมนั้น ๆ ... ครั้นมาสู่ความ เป็นมนุษย์อย่างนี้ จึงได้มหาปุริสลักขณะ ๓ ข้อนี้ คือ มีกิ่งกายเบื้องหน้าดุจสีหะ มีหลังเต็ม มีคอกลม ... (ลักขณะที่ ๑๒, ๑๔, ๒๐), ย่อมเป็นผู้ไม่เสื่อมเป็นธรรมดา คือไม่เสื่อมจากศรัทธา ศีล สุตตะ จาคะ ปัญญา ไม่เสื่อม จากสมบัติทั้งปวง,

ฑ. ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ใน ชาติก่อน ... ได้เป็นผู้ไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลายด้วยฝ่ามือ ก็ตาม ก้อนดินก็ตาม ท่อนไม้ก็ตาม ศัสตราก็ตาม เพราะ ... กรรมนั้น ๆ ... ครั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์อย่างนี้ จึงได้ มหาปุริสลักขณะข้อนี้ คือ มีประสาทรับรสอันเลิศ มีปลาย ขึ้นเบื้องบน เกิดแล้ว ที่คอรับรสโดยสม่ําเสมอ ... (ลักขณะ ที่ ๒๑), ย่อมเป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคน้อย มีวิบากอัน สม่ําเสมอ ไม่เย็นเกิน ร้อนเกิน พอควรแก่ความเพียร.

ฒ. ภิกษุทั้งหลาย! เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ใน ชาติก่อน ... ได้เป็นผู้ไม่ถลึงตา ไม่ค้อนควัก ไม่จ้องลับหลัง เป็นผู้แช่มชื่นมองดูตรงๆ มองดูผู้อื่นด้วยสายตาอันแสดง ความรัก เพราะ...กรรมนั้น ๆ ..ครั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์อย่างนี้ จึงได้มหาปุริสลักขณะ ๒ ข้อนี้ คือ มีตาเขียวสนิท มีตาดุจตาโค. จึงได้มหาปุริสลักขณะ ๒ อย่างนี้ คือมีฟัน ครบ ๔๐ ซี่ มีฟันสนิทไม่ห่างกัน ... (ลักขณะที่ ๒๓, ๒๕), ย่อมเป็นผู้มีบริษัทไม่กระจัด กระจาย คือภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เทวดา มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์.

ถ. ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ใน ชาติก่อน... ได้เป็นผู้ละเว้นการกล่าวคําหยาบ กล่าวแต่วาจา ที่ไม่มีโทษเป็นสุขแก่หูเป็นที่ตั้ง แห่ง ความรักซึมซาบถึงใจ เป็นคําพูดของชาวเมือง เป็นที่พอใจและชอบใจของชนเป็น อันมาก เพราะ ...กรรมนั้น ๆ ... ครั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์ อย่างนี้ ย่อมได้มหาปุริส ลักขณะ ๒ ข้อนี้ คือ มีลิ้นอันเพียงพอ มีเสียงเหมือนพรหม พูดเหมือนนกการวิก ... (ลักขณะที่ ๒๒, ๒๕๔), ย่อมเป็นผู้มีวาจาที่ผู้อื่นเอื้อเฟื้อเชื่อฟัง คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เทวดา มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์ เอื้อเฟื้อเชื่อฟัง.

ธ. ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ใน ชาติก่อน ... ได้เป็นผู้ละเว้นการพูดเพ้อเจ้อ เป็นผู้กล่าว ควรแก่เวลา กล่าวคําจริง กล่าวเป็นธรรม กล่าวมีอรรถ กล่าวเป็นวินัย กล่าวมีที่ตั้ง มีหลักฐาน มีที่สุด ประกอบด้วย ประโยชน์ เพราะ...กรรมนั้น ๆ ...ครั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์ อย่างนี้แล้ว ย่อมได้มหาปุริสลักขณะ ข้อนี้ คือ มีคางดุจคาง ราชสีห์ ... (ลักขณะที่ ๒๒), ย่อมเป็นผู้ที่ศัตรูทั้งภายใน และ ภายนอกกําจัดไม่ได้ ศัตรู คือ ราคะ โทสะ โมหะ หรือ สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก กําจัดไม่ได้,

น. ภิกษุทั้งหลาย! เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ใน ชาติก่อน ... ได้เป็นผู้ละมิจฉาชีพ มีการเลี้ยงชีพชอบ เว้นจาก การฉ้อโกงด้วยตาชั่ง ด้วยของปลอม ด้วยเครื่องตวง เครื่องวัด จากการโกง การลวง เว้นจากการตัด การฆ่า การผูกมัด การร่วมทําร้าย การปล้น การกรรโชก เพราะ .....กรรมนั้นๆ ...ครั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์อย่างนี้ จึงได้ มหาปุริสลักขณะ ๒ ข้อนั้น คือ มีฟันอันเรียบเสมอ มีเขี้ยวขาวงาม ... (ลักขณะ ที่ ๒๔, ๒๖), ย่อมเป็นผู้มีบริวารเป็นคนสะอาด คือ มีภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เทวดา มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์ เป็นบริวารอันสะอาด.
ปา. ที. ๑/๑๕๙-๑๙๓/๑๓๐-๑๗๑.
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หน้า 501

๑๔๖
อานิสงส์ของผู้มีจิตเลื่อมใสในตถาคต

อานนท์ ! ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์แผ่รัศมีส่องแสง ให้สว่างไปทั่วทิศกินเนื้อที่ ประมาณ เท่าใด โลกมีเนื้อที่เท่านั้น มีจํานวนพันหนึ่ง ในพันโลกนั้น มีดวงจันทร์พันดวง ดวงอาทิตย์พันดวง ภูเขาสิเนรุพันลูก ชมพูทวีปพันทวีป อมรโคยานพันทวีป อุตรกุรุ พันทวีป ปุพพวิเทหะพันทวีป มหาสมุทรสี่พัน มหาราชสี่พัน จาตุมมหาราชิกาพันหนึ่ง ดาวดึงส์พันหนึ่ง ยามาพันหนึ่ง ดุสิตพันหนึ่ง นิมมานรดีพันหนึ่ง ปรนิมมิตวสวัตตี พันหนึ่ง พรหมพันหนึ่ง นี้เรียก ว่า สหัสสีจูฬนิกาโลกธาตุ (โลกธาตุอย่างเล็กมีพัน จักรวาล)

สหัสสีจูฬนิกาโลกธาตุ มีขนาดเท่าใด โลกธาตุ ขนาดเท่านั้น คํานวณทวีขึ้นโดย ส่วนพันนั้นเรียกว่า ทวิสหัสสีมัชฌิมิกาโลกธาตุ (โลกธาตุอย่างกลางมีล้านจักรวาล)

ทวิสหัสสีมัชฌิมิกา โลกธาตุมีขนาดเท่าใด โลกธาตุขนาดเท่านั้น คํานวณทวีขึ้น โดยส่วนพัน นั้นเรียกว่า ติสหัสสีมหาสหัสสี โลกธาตุ (โลกธาตุ อย่างใหญ่ประมาณ แสนโกฏิจักรวาล)

อานนท์ ! ตถาคต เมื่อมีความจํานง ก็ย่อมพูดให้ ติสหัสสีมหาสหัสสีโลกธาตุ ได้ยินเสียงทั่วกันได้ หรือว่า จํานงให้ได้ยินเพียงเท่าใด ก็ได้

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ! เป็นไปได้ด้วยวิธีอย่างใด พระเจ้าข้า !

อานนท์ ! ตถาคตอยู่ที่นี่ จะพึงแผ่รัศมี มีโอภาส สว่างไปทั่วติสหัสสีมหาสหัสสี โลกธาตุเสียก่อน เมื่อสัตว์ เหล่านั้น รู้สึกต่อแสงสว่างอันนั้นแล้ว ตถาคตก็จะบันลือ เสียง ให้สัตว์เหล่านั้นได้ยิน

อย่างนี้แล อานนท์ ! ตถาคตจะพูดให้ติสหัสสีมหาสหัสสีโลกธาตุได้ยินเสียงทั่วกันได้ หรือจํานงให้ได้ยิน เพียงเท่าใดก็ได้

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ ได้ กราบทูลว่า “เป็นลาภของ ข้าพระองค์หนอ ข้าพระองค์ได้ดีแล้วหนอ ที่ข้าพระองค์มีพระศาสดา ผู้มีฤทธิ์มี อานุภาพ มากอย่างนี้”

ลําดับนั้น ท่านพระอุทายีได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า :

ท่านอานนท์ผู้มีอายุ! ในข้อนี้ท่านจะได้ประโยชน์อะไร ถ้าศาสดาของท่านมีฤทธิ์มาก อย่างนี้ มีอานุภาพมากอย่างนี้ เมื่อท่านพระอุทายีกล่าวอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคได้ตรัส กะท่านพระอุทายว่า :

อุทายี ! เธออย่าได้กล่าวอย่างนี้ ถ้าอานนท์ ยังไม่หมดราคะเช่นนี้ พึงทํากาละไป เธอพึงเป็นเจ้า แห่งเทวดาในหมู่เทวดา ๗ ครั้ง จึงเป็นพระเจ้าจักพรรดิ ในชมพูทวีป นี้แหละ ๒ ครั้ง เพราะจิตที่เลื่อมใสนั้น

อุทายี ! ก็แต่ว่าอานนท์จักปรินิพพานในอัตภาพนี้เอง
ติก. อ. ๒๐/๒๙๒/๕๒๐.
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หน้า 504

๑๔๗
ว่าด้วยทักษิณา

อานนท์ !
บุคคลให้ทานในสัตว์เดรัจฉาน พึงหวังผลทักษิณา ได้ร้อยเท่า
ให้ทานในปถุชนผู้ทุศีล พึงหวังผลทักษิณา ได้พันเท่า
ให้ทานในปุถุชนผู้มีศีล พึงหวังผลทักษิณา ได้แสนเท่า
ให้ทานในบุคคลภายนอกผู้ปราศจากความกําหนัดในกาม พึงหวังผลทักษิณา ได้แสนโกฏิเท่า
ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทําโสดาปัตติผลให้แจ้ง พึงหวังผลทักษิณานับไม่ได้ ประมาณไม่ได้ ไม่ต้องกล่าว ถึงการให้ทานในพระโสดาบัน ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทํา สกทาคามิผลให้แจ้งในพระสกทาคามีในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อ ทําอนาคามิผลให้แจ้งใน พระอนาคามี ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อ ทําอรหัตผลให้แจ้ง ในสาวกของตถาคตผู้เป็น พระอรหันต์ ในพระปัจเจกพุทธะ และในตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ

อานนท์ ! ก็ทักษิณาที่ให้แล้วในสงฆ์มี ๒ อย่าง คือ :

ให้ทานในสงฆ์ ๒ ฝ่าย มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ ประการที่ ๑

ให้ทานในสงฆ์ ๒ ฝ่าย ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว นี้เป็นทักษิณาแล้วในสงฆ์ ประการที่ ๒

ให้ทานในภิกษุสงฆ์ นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ ประการที่ ๓

ให้ทานในภิกษุณีสงฆ์นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ ประการที่ ๔

แจ้งต่อสงฆ์ว่า ขอได้โปรดจัดภิกษุและภิกษุณี จํานวนเท่านี้ ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้า แล้วให้ทาน นี้เป็น ทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ ประการที่ ๕

แจ้งต่อสงฆ์ว่า ขอได้โปรดจัดภิกษุจํานวนเท่านี้ ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้า แล้วให้ทาน นี้เป็นทักษิณา ที่ถึงแล้ว ในสงฆ์ ประการที่ ๕ (๑) แจ้งต่อสงฆ์ว่า ขอได้โปรดจัด ภิกษุณี จํานวนเท่านี้ ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้า แล้วให้ทาน นี้เป็นทักษิณา ที่ถึงแล้ว ในสงฆ์ ประการที่ ๒)
๑. หมายเหตุ : เป็นข้อสังเกตให้ทราบว่า ทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์นั้น จะมีภิกษุ หรือ ภิกษุณี จํานวนที่รูป ก็ได้

อานนท์ ! ก็ในอนาคตกาล จักมีแต่เหล่าภิกษุ โคตรภู มีผ้ากาสาวะ (จีวร) พันคอ เป็นคนทุศีล มีบาปธรรม คนทั้งหลายจักถวายทานเฉพาะสงฆ์ได้ในเหล่าภิกษุทุศีลนั้น

อานนท์ ! ทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์แม้ในเวลานั้น เราก็กล่าวว่า มีผลนับไม่ได้ ประมาณไม่ได้ แต่ว่าเราไม่กล่าว ปาฏิปคคลิกทาน (การถวายเจาะจงบุคคล) ว่ามีผลมากกว่า ทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ โดยปริยายไรๆ เลย.

อานนท์ ! ก็ความบริสุทธิ์แห่งทักษิณานี้มี ๔ อย่าง ๔ อย่าง คือ :

อานนท์ ! ทักษิณาบางอย่างบริสุทธิ์ฝ่ายทายก (ผู้ให้) ไม่บริสุทธิ์ฝ่าย ปฏิคาหก (ผู้รับ) บางอย่างบริสุทธิ์ ฝ่ายปฏิคาหก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก บางอย่างฝ่ายทายกก็ไม่บริสุทธิ์ ฝ่ายปฏิคาหกก็ไม่บริสุทธิ์ บางอย่างบริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายก และฝ่ายปฏิคาหก.

อานนท์ ! ก็ทักษิณาชื่อว่าบริสุทธิ์ฝ่ายทายก ไม่บริสุทธิ์ฝ่าย ปฏิคาหก เป็นอย่างไร?

อานนท์ ! ในข้อนี้ ทายกมีศีล มีธรรมงาม ปฏิคาหก เป็นผู้ทุศีล มีบาปธรรม อย่างนี้แล ทักษิณาชื่อว่า บริสุทธิ์ฝ่ายทายก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก.

อานนท์ ! ก็ทักษิณาชื่อว่าบริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก เป็นอย่างไร ?

อานนท์ ! ในข้อนี้ ทายกเป็นผู้ทุศีล มีบาปธรรม ปฏิคาหกเป็นผู้มีศีล มีธรรมงาม อย่างนี้แล ทักษิณาชื่อว่า บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก.

อานนท์ ! ก็ทักษิณาชื่อว่าฝ่ายทายก ก็ไม่บริสุทธิ์ ฝ่ายปฏิคาหกก็ไม่บริสุทธิ์ เป็นอย่างไร ?

อานนท์ ! ในข้อนี้ ทายกก็เป็นผู้ทุศีล มีบาปธรรม ปฏิคาหกก็เป็นผู้ทุศีล มีบาปธรรม อย่างนี้แล ทักษิณาชื่อว่า ฝ่ายทายกก็ไม่บริสุทธิ์ ฝ่ายปฏิคาหก ก็ไม่บริสุทธิ์

อานนท์ ! ก็ทักษิณาชื่อว่าบริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายก และฝ่ายปฏิคาหก เป็นอย่างไร ?
อานนท์ ! ในข้อนี้ ทายกก็เป็นผู้มีศีล มีธรรมงาม ปฏิคาหกก็เป็นผู้มีศีล มีธรรมงาม อย่างนี้แล ทักษิณาชื่อว่า บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก.

อานนท์ ! นี้แล ความบริสุทธิ์แห่งทักษิณา ๔ อย่าง

(คาถาผนวกท้ายพระสูตร)
(๑) ผู้ใดมีศีล ได้ของมาโดยธรรม มีจิตเลื่อมใสดี เชื่อกรรม และผลแห่งกรรมอย่างยิ่ง ให้ทานในคนทุศีล ทักษิณาของผู้นั้น ชื่อว่าบริสุทธิ์ฝ่ายทายก

(๒) ผู้ใดทุศีล ได้ของมาโดยไม่เป็นธรรม มีจิต ไม่เลื่อมใส ไม่เชื่อกรรม และผลของกรรมอย่างยิ่ง ให้ทาน ในคนมีศีล ทักษิณาของผู้นั้นชื่อว่า บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก

(๓) ผู้ใดทุศีล ได้ของมาโดยไม่เป็นธรรม มีจิต ไม่เลื่อมใส ไม่เชื่อกรรม และผลของกรรมอย่างยิ่ง ให้ทาน ในคนทุศีล เราไม่กล่าวทานของผู้นั้นว่ามีผลไพบูลย์

(๔) ผู้ใดมีศีล ได้ของมาโดยธรรม มีจิตเลื่อมใสดี เชื่อกรรม และผลของกรรมอย่างยิ่ง ให้ทานในคนมีศีล เรา กล่าวทานของผู้นั้นแลว่ามีผลไพบูลย์

(๕) ผู้ใดปราศจากราคะแล้ว ได้ของมาโดยธรรม มีจิตเลื่อมใสดี เชื่อกรรมและผลของกรรมอย่างยิ่ง ให้ทาน ในผู้ปราศจากราคะ ทานของผู้นั้นนั่นแล เลิศกว่าอามิสทานทั้งหลาย.

อุปร. ม. ๑๔/๔๕๘-๔๖๒/๑๗๑๑-๗๑๙
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หน้า 510

๑๔๘
รัตนะที่หาได้ยาก

เจ้าลิจฉวีทั้งหลาย ! ความปรากฏขึ้นแห่งรัตนะ ๕ ประการ หาได้ยากในโลก ๕ ประการ อย่างไรเล่า ? คือ: -
(๑) ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ (ตถาคต)
(๒) บุคคลผู้แสดงธรรมวินัย ที่ตถาคตประกาศแล้ว (ผู้แสดงธรรม)
(๓) บุคคลผู้รู้แจ้งธรรมวินัย ที่ตถาคตประกาศแล้ว อันผู้อื่นแสดงแล้ว (ผู้รู้แจ้ง-อรหันต์)
(๔) บุคคลผู้รู้แจ้งธรรมวินัย ที่ตถาคตประกาศแล้ว อันผู้อื่นแสดงแล้ว ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม (ผู้ปฏิบัติ)
(๕) กตัญญูกตเวทีบุคคล

เจ้าลิจฉวีทั้งหลาย ! ความปรากฏขึ้นแห่งรัตนะ ๕ ประการนี้แล หาได้ยากในโลก
ปญจก. อ. ๒๒/๒๖๖/๑๙๔.
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หน้า 511

๑๔๙
ผู้มีอุปการะมาก

ถูกแล้วๆ อานนท์ ! จริงอยู่ บุคคลอาศัยบุคคลใดแล้ว ได้เป็นผู้ถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ เราไม่กล่าวการที่บุคคลนี้ ตอบแทนต่อบุคคลนี้ด้วยดี แม้ด้วยการ อภิวาท การลุกขึ้น ยืนรับ การทําอัญชลี การทําสามีจิกรรม และการตามถวาย ซึ่งจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร

บุคคลใดอาศัยบุคคลใดแล้ว ได้เป็นผู้งดเว้นจาก ปาณาติบาต จากอทินนาทาน จาก กาเมสุมิจฉาจาร จาก มุสาวาท จากฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทเพราะดื่ม น้ําเมา คือสุราและเมรัย เราไม่กล่าว การที่บุคคลนี้ตอบแทน ต่อบุคคลนี้ด้วยดี แม้ด้วยการ อภิวาท การลุกขึ้นยืนรับ การทําอัญชลี การทําสามีจิกรรม และการตามถวายซึ่งจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร

บุคคลอาศัยบุคคลใดแล้ว ได้เป็นผู้ประกอบด้วย ความเลื่อมใส อันหยั่งลงมั่น ไม่ หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ประกอบด้วยศีลอันเป็นที่รักของ

พระอริยะเจ้า เราไม่กล่าวการที่บุคคลนี้ตอบแทนบุคคลนี้ ด้วยดี แม้ด้วยการอภิวาท การลุกขึ้นยืนรับ การทําอัญชลี การทําสามีจิกรรม และการตามถวายซึ่งจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย เภสัชซบริขาร

บุคคลอาศัยบุคคลใดแล้ว ได้เป็นผู้หมดความสงสัย ในทุกข์ในทุกขสมุทัย ใน ทุกขนิโรธ ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เราไม่กล่าวการที่บุคคลนี้ตอบแทนบุคคลนี้ ด้วยดี แม้ด้วย การอภิวาทการลุกขึ้นยืนรับ การทําอัญชลี การทําสามีจิกรรม และการ ตามถวายซึ่งจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชซบริขาร
อุปร. ม. ๑๔/๕๕๖-๔๕๗/๗๐๙.
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หน้า 513

๑๕๐
ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อการละขาดซึ่งภพ

สัตว์โลกนี้ เกิดความเดือดร้อนแล้ว มีผัสสะบังหน้า ย่อมกล่าวซึ่งโรคนั้น โดยความ เป็นตัวเป็นตน เขาสําคัญสิ่งใด โดยความเป็นประการใด แต่สิ่งนั้น ย่อมเป็นโดย ประการอื่น จากที่เขาสําคัญนั้น

สัตว์โลกติดข้องอยู่ในภพ ถูกภพบังหน้าแล้ว มีภพ โดยความเป็นอย่างอื่น จึงได้ เพลิดเพลินยิ่งนักในภพนั้น เขาเพลิดเพลินยิ่งนักในสิ่งใด สิ่งนั้นเป็นภัย เขากลัว ต่อสิ่งใด สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ พรหมจรรย์นี้ อันบุคคลย่อมประพฤติ ก็เพื่อการ ละขาด ซึ่งภพ.

สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด กล่าวความหลุดพ้น จากภพว่ามีได้เพราะภพเรากล่าวว่า สมณะหรือพราหมณ์ ทั้งปวงนั้น มิใช่ผู้หลุดพ้นจากภพ.

ถึงแม้สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด กล่าวความ ออกไปได้จากภพ ว่ามีได้เพราะวิภพ เรากล่าวว่า สมณะ หรือพราหมณ์ทั้งปวงนั้น ก็ยังสลัดภพออกไปไม่ได้ ก็ทุกข์นี้มีขึ้น เพราะอาศัยซึ่งอุปธิทั้งปวง เพราะความสิ้นไปแห่งอุปาทานทั้งปวง ความเกิดขึ้น แห่งทุกข์จึงไม่มี ท่านจงดูโลกนี้เถิด (จะเห็นว่า) สัตว์ทั้งหลายอัน อวิชชาหนาแน่น บังหน้าแล้ว และว่าสัตว์ผู้ยินดีในภพอันเป็นแล้วนั้น ย่อมไม่ เป็นผู้หลุดพ้นไปจากภพ ได้ ก็ภพทั้งหลายเหล่าหนึ่งเหล่าใด อันเป็นไปในที่หรือ ในเวลาทั้งปวง เพื่อความมี แห่งประโยชน์โดยประการทั้งปวง ภพทั้งหลายทั้งหมดนั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์มีความ แปรปรวนเป็นธรรมดา เมื่อบุคคลเห็นอยู่ซึ่งข้อนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริง อย่างนี้ อยู่เขาย่อมละภวตัณหาได้ และไม่เพลิดเพลิน วิภวตัณหาด้วย.

ความดับเพราะความสํารอกไม่เหลือ เพราะความ สิ้นไปแห่งตัณหาโดยประการทั้งปวง นั้นคือนิพพาน ภพใหม่ ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น ผู้ดับเย็นสนิทแล้ว เพราะไม่มีความยึดมั่น ภิกษุนั้น เป็นผู้ครอบงํามารได้แล้ว ชนะสงครามแล้ว ก้าวล่วงภพทั้งหลายทั้งปวง ได้แล้ว เป็นผู้คงที่ ดังนี้แล.
อ.ข. ๒/๑๒๑/๘๔.
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หน้า 517

ประเด็นที่ควรค้นคว้าต่อเกี่ยวกับอสูร

๑. อสูร นาค คนธรรพ์ อาศัยอยู่ในสมุทร

๒. ท้าวสักกะ มีอสุรกัญญา นามว่า สุชา เป็นปชาบดี (มีอสูรหญิงชื่อ สุชา เป็นมเหสี)

๓. เมื่อตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะทั้งหลาย เสด็จอุบัติขึ้นในโลก ทิพยกายย่อม บริบูรณ์ อสุรกายย่อมเสื่อมไป

๔. เทวดาเคยรบกับอสูร ถ้าอสูรรบชนะ พึงจองจํา ท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทวดานั้น ด้วยเครื่องจองจํา ๕ ประการ แล้วนํามายังอสูรบุรี ถ้าเทวดารบชนะ พึงจองจําท้าว เวปจิตติ จอมอสูร ด้วยเครื่องจองจํา ๕ ประการ แล้วนํามายังเทวสภาชื่อสุธรรมา

๕. การประชุมกันของเทวดาทั้ง ๑๐ โลกธาตุเพื่อเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ก็มีการ กล่าวถึงการมาของพวกอสูร

หมายเหตุ : ข้อมูลข้างต้น ได้ถอดข้อความ บางส่วน จากพุทธวจน ในไตรปิฎก เพื่อให้สามารถเทียบเคียงสืบค้นต่อไปได้ เสื่อมไป ทั้งหลาย

ภพภูมิ จบ