1090
๕. สัมมัปปธานสังยุต
ว่าด้วยสัมมัปปธาน ๔
[๑๐๙๐]
สาวัตถีนิทาน. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายแล้วตรัสว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมัปปธาน ๔ เหล่านี้ สัมมัปปธาน ๔ เป็นไฉน ?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคอง จิตไว้ ตั้งจิตไว้
เพื่อไม่ให้บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น ๑
เพื่อละบาป อกุศลธรรมที่เกิดขึ้น แล้ว ๑
เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น ๑
เพื่อความตั้งอยู่ เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อความมี ยิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อความไพบูลย์เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่บังเกิดขึ้นแล้ว ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลายสัมมัปปธาน ๔ เหล่านี้แล.
[๑๐๙๑]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่นํ้าคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่
ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเจริญสัมมัปปธาน ๔ กระทำให้มากซึ่ง สัมมัปปธาน ๔ ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.
[๑๐๙๒]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเจริญสัมมัปปธาน ๔ กระทำให้มากซึ่งสัมมัปปธาน ๔ อย่างไรเล่าย่อม เป็นผู้นอมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังฉันทะ ให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้เพื่อไม่ให้บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น ๑ เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๑ เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น ๑ [1] เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อความมียื่งๆ ขึ้นไปเพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เจริญสัมมัปปธาน ๔ กระทำให้มากซึ่งสัมมัปปธาน ๔ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน. 2
ปาจีนนินนสูตร ๖ สูตร สมุททนินนสูตร ๖ สูตร ๒ อย่าง เหล่านั้นอย่างละ ๖ สูตร รวมเป็น ๑๒ สูตร เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่าวรรค.
(พึงขยายความคังคาเปยยาลแห่งสัมมัปปธานสังยุตด้วยสามารถสัมมัปปธาน)
จบ วรรคที่ ๑
๑. ตถาคตสูตร ๒. ปทสูตร
๓. กูฏสูตร ๔. มูลสูตร
๕. สารสูตร ๖. วัสสิกสูตร
๗. ราชาสูตร ๘. จันทิมสูตร
๙. สุริยสูตร ๑๐. วัตถสูตร
(พึงขยายความอัปปมาทวรรคด้วยสามารถสัมมัปปธาน)1
จบ วรรคที่ ๒
[๑๐๙๓]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย การงานที่จะพึงทำด้วยกำลังอย่างใดอย่างหนึ่ง อันบุคคล ทำอยู่การงาน ที่จะพึงทำด้วยกำลังทั้งหมดนั้น อัน บุคคลอาศัยแผ่นดิน ดำรง อยู่บนแผ่นดินจึงทำได้อย่างนั้น แม้ฉันใด ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จึงเจริญสัมมัปปธาน ๔กระทำให้มากซึ่งสัมมัปปธาน ๔ ฉันนั้นเหมือนกัน.
[๑๐๙๔]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จึงเจริญสัมมัปปธาน ๔กระทำให้มากซึ่ง สัมมัปปธาน ๔ อย่างไรเล่า ?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังฉันทะให้เกิดพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อไม่ให้บาปอกุศลธรรมที่ยัง ไม่เกิด เกิดขึ้น ๑ เพื่อละบาป อกุศลธรรม ที่เกิดขึ้นแล้ว ๑ เพื่อ ให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น ๑ เพื่อความ ตั้งอยู่ เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อความมียิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้น แล้ว ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้วจึงเจริญสัมมัปปธาน ๔ กระทำให้มากซึ่ง สัมมัปปธาน ๔อย่างนี้แล. 2
(พึงขยายความพลกรณียวรรคด้วยสามารถสัมมัปปธานอย่างนี้)
จบ วรรคที่ ๓
[๑๐๙๕]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน ? คือ การแสวงหากาม ๑
การแสวงหาภพ ๑
การแสวงหาพรหมจรรย์ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลายการแสวงหา ๓ อย่างนี้แล.
[๑๐๙๖]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมัปปธาน ๔ อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อ ความสิ้นไป เพื่อความละซึ่งการแสวงหา ๓ อย่างนี้ สัมมัปปธาน ๔ เป็นไฉน ?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมยัง ฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ไว้ตั้งจิตไว้ เพื่อไม่ให้บาปอกุศลที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อความตั้งอยู่ เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อความมียิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมัปปธาน ๔ เหล่านี้อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละการแสวงหา ๓ อย่างนี้แล.
[๑๐๙๗]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ นี้ สังโยชน์เป็นส่วนเบื้องบน ๕เป็นไฉน ? คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ นี้แล.
[๑๐๙๘]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมัปปธาน ๔ อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้เพื่อ ความสิ้นไป เพื่อละ ซึ่งสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เหล่านี้แล สัมมัปปธาน ๔เป็นไฉน ?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังฉันทะให้เกิดพยายาม ปรารภความเพียรประคองจิต ไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อไม่ให้บาปอกุศลธรรม ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น ฯลฯเพื่อความตั้งอยู่ เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อความมียิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อความ ไพบูลย์เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลายสัมมัปปธาน ๔ เหล่านี้ อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละซึ่งสังโยชน์ อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เหล่านี้แล.1
(พึงขยายความออกไป เหมือนเอสนาวรรค)
จบ สัมมัปปธานสังยุต
1099
๖. พลสังยุต
ว่าด้วยพละ ๕
[๑๐๙๙]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พละ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ สัทธาพละ ๑วิริยพละ ๑ สติพละ ๑ สมาธิพละ ๑ ปัญญาพละ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลายพละ ๕ ประการ นี้แล.
[๑๑๐๐]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่นํ้าคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเจริญพละ ๕ กระทำให้มากซึ่งพละ ๕ ย่อมเป็น ผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่ นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.
[๑๑๐๑]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเจริญพละ ๕ กระทำให้มากซึ่งพละ ๕ อย่างไรเล่า ย่อมเป็น ผู้น้อมไป สู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมเจริญสัทธาพละ อันอาศัย วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละย่อมเจริญวิริยพละ... สติพละ... สมาธิพละ... ปัญญาพละ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะอาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจริญพละ ๕ กระทำให้มากซึ่งพละ ๕ อย่างนี้แล ย่อมเป็น ผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่ นิพพาน โอนไปสู่นิพ พาน.1
[๑๑๐๒]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เหล่านี้ สังโยชน์อันเป็น ส่วนเบื้องบน ๕ เป็นไฉน ? คือ รูปราคะ อรูปาคะ 2 มานะ อุทธัจจะ อวิชชา ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็น ส่วนเบื้องบน ๕ เหล่านี้แล.
[๑๑๐๓]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พละ ๕ อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้เพื่อความ สิ้นไป เพื่อละ สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เหล่านี้แล พละ ๕เป็นไฉน ?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญ สัทธาพละ... วิริยพละ... สติพละ...สมาธิพละ ปัญญาพละ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พละ ๕ เหล่านี้ อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เหล่านี้แล.
[๑๑๐๔]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่นํ้าคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีนบ่า ไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเจริญพละ ๕ กระทำให้มากซึ่งพละ ๕ ย่อมเป็นผู้ น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่ นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.
[๑๑๐๕]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจริญพละ ๕ กระทำให้มากซึ่งพละ ๕ อย่างไรเล่าย่อม เป็นผู้น้อมไป สู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมเจริญสัทธาพละ มีอันกำจัด ราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด...
ย่อมเจริญปัญญาพละ มีอันกำจัด ราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจริญพละ ๕ อย่างนี้แลย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน.1
[2]
[๑๑๐๖]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เหล่านี้ สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เป็นไฉน ? คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชาดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วน เบื้องบน 3 เหล่านี้แล.
[๑๑๐๗]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พละ ๕ อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อรู้ยิ่งเพื่อ กำหนดรู้ เพื่อความ สิ้นไปเพื่อละ ซึ่ง สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เหล่านี้แล พละ ๕ เป็นไฉน?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญ สัทธาพละ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัด โทสะเป็นที่สุดมีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด... ย่อมเจริญปัญญาพละ มีอันกำจัดราคะ เป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุดมีอันกำจัดโมหะ เป็นที่สุดพละ ๕ เหล่านี้แล อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อรู้ยิ่งเพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละซึ่ง สังโยชน์อัน เป็นส่วนเบื้องบน ๕ เหล่านี้แล. จบ พลสังยุต
๗. อิทธิปาทสังยุต
ปาวาลวรรคที่ ๑
1108
อปารสูตร
อิทธิบาท ๔
[๑๑๐๘]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ เหล่านี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อถึง ฝั่งจากที่มิใช่ฝั่ง อิทธิบาท ๔ เป็นไฉน ?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบด้วย ฉันทสมาธิ และปธาน สังขาร เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วย วิริยสมาธิ และปธานสังขาร เจริญ อิทธิบาท อันประกอบด้วยจิตตสมาธิและปธานสังขาร เจริญอิทธิบาทอันประกอบ ด้วย วิมังสาสมาธิ และปธานสังขาร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ ถึงฝั่งจากที่มิใช่ฝั่ง.
จบ สูตรที่ ๑
1109
วิรัทธสูตร
ผู้ปรารภอิทธิบาทชื่อว่าปรารภอริยมรรค
[๑๑๐๙]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ อันชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งเบื่อแล้ว ชนเหล่านั้น ก็ชื่อว่า เบื่ออริยมรรค เครื่องให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ อิทธิบาท ๔ อันชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งปรารภแล้ว ชนเหล่านั้น ชื่อว่าปรารภอริยมรรค เครื่องให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบอิทธิบาท ๔ เป็นไฉน ?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทประกอบด้วย ฉันทสมาธิ และปธาน สังขาร... วิริยสมาธิ... จิตตสมาธิ... วิมังสาสมาธิ และปธานสังขาร อิทธิบาท ๔ เหล่านี้
อันชน เหล่าใดเหล่าหนึ่งเบื่อแล้ว ชนเหล่านั้นก็ชื่อว่าเบื่อ อริยมรรคที่ให้ถึงความ สิ้นทุกข์โดยชอบ อิทธิบาท ๔ เหล่านี้ อันชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งปรารภแล้ว ชนเหล่านั้นชื่อว่า ปรารภอริยมรรค ที่ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ.
จบ สูตรที่ ๒
1110
อริยสูตร
เจริญอิทธิบาท ๔ เพื่อความสิ้นทุกข์
[๑๑๑๐]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ เหล่านี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว เป็นอริยะ นำออก จากทุกข์ ย่อมนำผู้บำเพ็ญ อิทธิบาทนั้นไป เพื่อความสิ้นทุกข์ โดยชอบอิทธิบาท ๔ เป็นไฉน ?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาท ประกอบด้วยฉันทสมาธิ และปธาน สังขาร... วิริยสมาธิ... จิตตสมาธิ... วิมังสาสมาธิ และปธานสังขาร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ เหล่านี้แลอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว เป็นอริยะ นำออกจากทุกข์ ย่อมนำผู้บำเพ็ญอิทธิบาทนั้นไป เพื่อความสิ้นทุกข์ โดยชอบ.
จบ สูตรที่ ๓
1111
นิพพุตสูตร
เจริญอิทธิบาท ๔ เพื่อความหน่าย
[๑๑๑๑]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ เหล่านี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป เพื่อความหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อความสงบเพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน อิทธิบาท ๔ เป็นไฉน ?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทประกอบด้วย ฉันทสมาธิ และปธาน สังขาร... วิริยสมาธิ... จิตตสมาธิ...วิมังสาสมาธิและปธานสังขาร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล อันบุคคล เจริญแล้ว กระทำให้มาก แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่ายโดยส่วนเดียว... เพื่อนิพพาน.
จบ สูตรที่ ๔
1112
ปเทสสูตร
ฤทธิ์สำเร็จได้เพราะเจริญอิทธิบาท
[๑๑๑๒]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในอดีตกาลยังส่วน แห่งฤทธิ์ให้สำเร็จแล้ว สมณะหรือพราหมณ์ ทั้งหมดนั้น ยังส่วนแห่งฤทธิ์ ให้สำเร็จได้ ก็เพราะเจริญ กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔
สมณะ หรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในอนาคตกาล จักยังส่วนแห่งฤทธิ์ให้ สำเร็จ สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหมดนั้น จักยังส่วนแห่งฤทธิ์ให้สำเร็จได้ ก็เพราะ เจริญกระทำให้มาก ซึ่งอิทธิบาท ๔ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด เหล่าหนึ่ง ในปัจจุบัน ยังส่วนแห่งฤทธิ์ให้สำเร็จ
สมณะหรือพราหมณ์ ทั้งหมดนั้นย่อมยังส่วนแห่งฤทธิ์ให้สำเร็จได้ ก็เพราะเจริญ กระทำให้มาก ซึ่งอิทธิบาท ๔ อิทธิบาท ๔เป็นไฉน ?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร ย่อมเจริญอิทธิบาท ประกอบด้วยวิริยสมาธิ... จิตตสมาธิ...วิมังสาสมาธิและปธานสังขาร.
[๑๑๑๓]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในอดีตกาลยังส่วน แห่งฤทธิ์ให้สำเร็จ แล้ว สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหมดนั้น ยังส่วนแห่งฤทธิ์ให้ สำเร็จได้ก็เพราะเจริญ กระทำให้มาก ซึ่งอิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในอนาคตกาล จักยังส่วนแห่ง ฤทธิ์ให้ สำเร็จ สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหมดนั้น จักยังส่วนแห่งฤทธิ์ให้สำเร็จได้ ก็เพราะเจริญ กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล
สมณะหรือพราหมณ์ เหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบันย่อมยังส่วนแห่งฤทธิ์ให้สำเร็จ สมณะหรือพราหมณ์ ทั้งหมดนั้น ย่อมยังส่วนแห่งฤทธิ์ให้สำเร็จได้ ก็เพราะเจริญ กระทำให้มาก ซึ่งอิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล.
จบ สูตรที่ ๕
1114
สัมมัตตสูตร
ฤทธิ์บริบูรณ์ได้เพราะเจริญอิทธิบาท
[๑๑๑๔]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในอดีตกาลยังฤทธิ์ ให้สำเร็จบริบูรณ์ แล้ว สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหนดนั้น 1 ยังฤทธิ์ให้สำเร็จได้ บริบูรณ์ก็เพราะเจริญ กระทำให้มากซึ่ง อิทธิบาท ๔ สมณะหรือพราหมณ์ เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาล จักยังฤทธิ์ให้สำเร็จบริบูรณ์
สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหมดนั้น จักยังฤทธิ์ให้สำเร็จได้บริบูรณ์ ก็เพราะเจริญ กระทำให้มากซึ่ง อิทธิบาท ๔ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในปัจจุบัน ย่อมยังฤทธิ์ให้สำเร็จบริบูรณ์ สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหมดนั้น ย่อมยังฤทธิ์ให้ สำเร็จได้บริบูรณ์ ก็เพราะเจริญ กระทำให้มากซึ่ง อิทธิบาท ๔ อิทธิบาท ๔ เป็นไฉน ?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทประกอบด้วย ฉันทสมาธิ และปธาน สังขาร ย่อมเจริญอิทธิบาท ประกอบด้วยวิริยสมาธิ... จิตตสมาธิ... วิมังสาสมาธิและปธานสังขาร.
[๑๑๑๕]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในอดีตกาลยังฤทธิ์ ให้สำเร็จบริบูรณ์ แล้ว สมณะหรือพรกหมณ์ 2 ทั้งหมดนั้น ยังฤทธิ์ให้สำเร็จได้ บริบูรณ์ก็เพราะเจริญ กระทำให้มาก ซึ่งอิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด เหล่าหนึ่ง ในอนาคตกาล จักยังฤทธิ์ให้ สำเร็จ บริบูรณ์ สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหมดนั้น จักยังฤทธิ์ให้สำเร็จบริบูรณ์ ก็เพราะ เจริญ กระทำ ให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในปัจจุบัน ย่อมยังฤทธิ์ ให้สำเร็จบริบูรณ์ สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหมดนั้น ย่อมยังฤทธิ์ให้สำเร็จบริบูรณ์ ก็เพราะเจริญ กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล.
จบ สูตรที่ ๖
1116
ภิกขุสูตร
ได้เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติเพราะเจริญอิทธิบาท
[๑๑๑๖]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในอดีตกาล กระทำให้แจ้งซึ่ง เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้
เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ภิกษุทั้งหมดนั้น กระทำ ให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะไม่ได้
เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ เพราะเจริญ กระทำให้มาก ซึ่งอิทธิบาท ๔ ภิกษุเหล่า ใดเหล่า หนึ่งในอนาคตกาล จักทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้
เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ภิกษุทั้งหมดนั้น กระทำ ให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้
เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ เพราะเจริญ กระทำให้ มากซึ่งอิทธิบาท ๔ ภิกษุเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในปัจจุบัน กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้
เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ภิกษุ ทั้งหมดนั้น กระทำ ให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้เพราะ อาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอัน ยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ เพราะเจริญ กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ อิทธิบาท ๔ เป็นไฉน ?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทประกอบด้วย ฉันทสมาธิ และปธานสังขาร ย่อมเจริญอิทธิบาท ประกอบด้วยวิริยสมาธิ... จิตตสมาธิ... วิมังสาสมาธิและปธานสังขาร.
[๑๑๑๗]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในอดีตกาล กระทำให้แจ้งซึ่ง เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วย ปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่
ภิกษุทั้งหมดนั้นกระทำให้แจ้งซึ่ง เจโตวิมุติปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลาย สิ้นไป ด้วย ปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ เพราะเจริญ กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล
ภิกษุเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในอนาคตกาล จักทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้ง หลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่
ภิกษุทั้ง หมดนั้นกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลาย สิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ เพราะเจริญ กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล
ภิกษุเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในปัจจุบัน กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติอันหา อาสวะ มิได้
เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ภิกษุทั้งหมดนั้น กระทำให้ แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้เพราะ อาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ เพราะเจริญกระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล.
จบ สูตรที่ ๗
1118
พุทธสูตร
เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเพราะเจริญอิทธิบาท
[๑๑๑๘]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ เหล่านี้ อิทธิบาท ๔ เป็นไฉน ?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมเจริญ อิทธิบาท ประกอบด้วยฉันทสมาธิ และปธานสังขาร ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิ ... จิตตสมาธิ... วิมังสาสมาธิและ ปธานสังขาร ดูกรภิกษุทั้งหลายอิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล เพราะได้ เจริญ ได้ กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ เหล่านี้แลเขาจึงเรียกตถาคตว่า พระอรหันตสัมมา สัมพุทธเจ้า.
จบ สูตรที่ ๘
1119
ญาณสูตร
พระพุทธเจ้าเจริญอิทธิบาท ๔
[๑๑๑๙]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมที่เรา ไม่เคย ได้ฟังมาก่อนว่า นี้เป็นอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิ และปธานสังขาร... อิทธิบาท อันประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขารนี้ นั้นแลอันเราควรเจริญ... อิทธิบาทอันประกอบด้วย ฉันทสมาธิและปธานสังขาร นั้นนี้แลอันเราเจริญแล้ว.
[๑๑๒๐]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมที่เรา ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้เป็นอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิ และปธานสังขาร... อิทธิบาทอัน ประกอบด้วยวิริยสมาธิและปธานสังขารนี้ นั้นแลอันเราควรเจริญ... อิทธิบาทอันประกอบด้วย วิริยสมาธิและปธานสังขารนี้ นั้นแลอันเราเจริญแล้ว.
[๑๑๒๑]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมที่เราไม่เคย ได้ฟังมาก่อนว่า นี้เป็นอิทธิบาทอันประกอบด้วยจิตตสมาธิ และปธานสังขาร... อิทธิบาท อันประกอบด้วยจิตตสมาธิและปธานสังขารนี้ นั้นแลอันเราควรเจริญ... อิทธิบาทอันประกอบด้วย จิตตสมาธิและปธานสังขารนี้ นั้นแลอันเราเจริญแล้ว.
[๑๑๒๒]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราใน ธรรมที่เรา ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้เป็นอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิมังสาสมาธิ และปธานสังขาร... อิทธิบาท อันประกอบด้วยวิมังสาสมาธิและ ปธานสังขารนี้ นั้นแลอันเราควรเจริญ... อิทธิบาทอันประกอบด้วย วิมังสาสมาธิและปธานสังขาร นี้นั้นแลอันเราเจริญแล้ว.
จบ สูตรที่ ๙
1123
เจติยสูตร
การเจริญอิทธิบาท ๔ ทำให้อายุยืน
[๑๑๒๓]
ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน ใกล้เมือง เวสาลี ครั้งนั้นเป็น เวลาเช้าพระผู้มีพระภาค ทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยัง เมืองเวสาลี
ครั้นเสด็จเที่ยวบิณฑบาตร 1 แล้วเวลาปัจฉาภัต เสด็จกัลบาก บิณฑบาตร 2 แล้ว ตรัสเรียกท่าน พระอานนท์มาตรัสว่าดูกรอานนท์ เธอจงถือเอาผ้านิสีทนะ เราจะเข้าไปยัง ปาวาลเจดีย์ เพื่อ พักผ่อนในตอนกลางวัน ท่านพระอานนท์ ทูลรับพระดำรัสของ พระผู้มีพระภาคแล้ว ถือผ้านิสีทนะ ตามพระผู้มีพระภาคไป ทางเบื้องพระปฤษฎางค์.
[๑๑๒๔]
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปยังปาวาลเจดีย์ ประทับนั่งบนอาสนะ ที่ท่านพระอานนท์ปูถวาย ส่วนท่านพระอานนท์ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มี พระภาคตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า
ดูกรอานนท์ เมืองเวสาลีเป็นที่น่ารื่นรมย์ อุเทนเจดีย์ก็เป็นที่น่ารื่นรมย์ โคตมก เจดีย์ก็เป็นที่น่า รื่นรมย์ สัตตัมพเจดีย์ก็เป็น ที่น่ารื่นรมย์ พหุปุตตกเจดีย์ก็เป็น ที่น่ารื่นรมย์ สารันททเจดีย์ ก็เป็นที่ น่ารื่นรมย์
อิทธิบาท ๔ อันผู้ใดผู้หึ่ง เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วกระทำให้เป็นดุจยาน กระทำ ให้เป็นที่ตั้ง ให้คล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้วผู้นั้น เมื่อจำนง อยู่พึงดำรงอยู่ได้กัลป์หนึ่ง หรือเกินกว่ากัลป์หนึ่ง
ดูกรอานนท์อิทธิบาท ๔ อันตถาคตเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว กระทำให้เป็น ดุจยาน กระทำให้ เป็นที่ตั้ง ให้คล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ตถาคตนั้น เมื่อจำนงอยู่พึงดำรงอยู่ได้ กัลป์หนึ่งหรือเกินกว่ากัลป์หนึ่ง.
[๑๑๒๕]
แม้เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงกระทำนิมิตอันโอฬาร กระทำโอภาสอันโอฬารอย่างนี้ ท่านพระอานนท์ ก็มิอาจรู้ทันจึงมิได้ทูล วิงวอนพระผูมี้พระภาคว่าข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ
ขอพระผู้มีพระภาคจงทรง ดำรงอยู่ตลอดกัลป์หนึ่ง ขอพระสุคตจงทรง ดำรงอยู่ ตลอดกัลป์หนึ่ง เพื่อประโยชน์สุขแก่ชน เป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล และความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ดังนี้ เพราะถูก มารเข้าดลใจ.
[๑๔๒๖] 1
แม้ครั้งที่ ๒ แม้ครั้งที่ ๓ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า ดูกรอานนท์ เมืองเวสาลีเป็น ที่น่ารื่นรมย์... ตถาคตนั้น เมื่อจำนงอยู่ พึงดำรงอยู่ได้กัลป์หนึ่ง หรือเกินกว่ากัลป์หนึ่ง.
[๑๑๒๗]
แม้เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงกระทำนิมิตอันโอฬาร กระทำโอภาสอันโอฬารอย่างนี้ ท่านพระ อานนท์ก็มิอาจรู้ทัน จึงมิได้ทูลวิงวอนพระผู้มีพระภาค... เพราะถูกมาร เข้าดลใจ.
[๑๑๒๘]
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสกะท่านพระอานนท์ว่าเธอจงไปเถิด อานนท์ เธอรู้กาลอันควร ในบัดนี้เถิด ท่านพระอานนท์ ทูลรับพระดำรัสของพระผู้มี พระภาคแล้ว ลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้ว ไปนั่ง ณ โคนไม้แห่งหนึ่ง ในที่ไม่ไกล.
[๑๑๒๙]
ครั้งนั้น มารผู้มีบาป เมื่อท่านพระอานนท์หลีกไปแล้วไม่นาน เข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาคถึงที่ประทับ แล้วยืนณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคจง ปรินิพพานในบัดนี้เถิด ขอพระสุคตจงปรินิพพาน ในบัดนี้เถิด บัดนี้ เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มี พระภาค ก็พระผู้มีพระภาคได้ ตรัสพระดำรัสนี้ว่า
ดูกรมารผู้มีบาป ภิกษุสาวกของเราจักยังไม่เฉียบแหลม ไม่ได้รับแนะนำ ไม่แกล้วกล้า ไม่เป็นพหูสูต ไม่ทรงธรรม ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ไม่ปฏิบัติ ชอบไม่ประพฤติตามธรรม เรียนกับอาจารย์ ตนแล้วยังบอก แสดงบัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผยจำแนก กระทำให้ง่ายไม่ได้ ยังแสดงธรรมมี ปาฏิหาริย์ ข่มขี่ปรับปวาท ที่บังเกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยสหธรรมไม่ได้ เพียงใด เราจักยังไม่ ปรินิพพาน เพียงนั้น ดังนี้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็บัดนี้ ภิกษุสาวกของพระผู้มีพระภาค เป็น ผู้เฉียบแหลม แล้ว้ได้รับแนะนำ แล้ว แกล้วกล้าเป็นพหูสูต ทรงธรรม ปฏิบัติธรรมสมควร แก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรม เรียนกับอาจารย์ของตนแล้วบอก แสดง บัญญัติแต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก กระทำให้ง่ายได้ แสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ ข่มขี่ ปรับปวาทที่บังเกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยสหธรรมได้ ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคทรงปรินิพพานในบัดนี้เถิด ขอพระสุคตจงปรินิพพานในบัดนี้ เถิด บัดนี้ เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาค.
[๑๑๓๐]
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระดำรัสนี้ไว้ว่า ดูกรมารผู้มีบาป ภิกษุณีสาวิกา ของเราจัก ยังไม่เฉียบแหลม...ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็บัดนี้ ภิกษุณีผู้เป็นสาวิกาของพระผู้มี พระภาค เป็นผู้เฉียบแหลมแล้ว... แสดงธรรมมี ปาฏิหาริย์ ข่มขี่ปรับปวาทที่บังเกิดขึ้น ให้เรียบร้อย โดยสหธรรมได้
ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงปรินิพพานในบัดนี้เถิด ขอพระ สุคตจงทรงปรินิพพานในบัดนี้เถิด บัดนี้ เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาค.
[๑๑๓๑]
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระดำรัสนี้ไว้ว่าดูกรมารผู้มีบาป อุบาสก ฯลฯ อุบาสิกาสาวิกาของเราจัก ยังไม่เฉียบแหลมไม่ได้รับแนะนำ ไม่แกล้วกล้า ไม่เป็นพหูสูต ไม่ทรงธรรม ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมไม่ปฏิบัติิ
ชอบ ไม่ประพฤติธรรม เรียนกับอาจารย์ของตน แล้ว ยังบอกแสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก กระทำให้ง่ายไม่ได้ ยังแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ ข่มขี่ ปรับปราท1 ที่บังเกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยสหธรรมไม่ได้เพียงใด เราจักยังไม่ ปรินิพพาน เพียงนั้น ดังนี้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็บัดนี้ อุบาสิกาสาวิกาของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้เฉียบ แหลมแล้ว ได้รับ แนะนำแล้วแกล้วกล้า เป็นพหุสูต ทรงธรรม ปฏิบัติธรรมสมควร แก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรม เรียนกับอาจารย์ของตนแล้วบอกแสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก กระทำให้ง่ายได้ แสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ ข่มขี่ปรับปวาทที่บังเกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยสหธรรมได้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคจงปรินิพพานในบัดนี้เถิด ขอพระสุคต จงปรินิพพานในบัดนี้เถิด บัดนี้เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาค.
[๑๑๓๒]
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระดำรัสนี้ไว้ว่าดูกรมารผู้มีบาป พรหมจรรย์ ของเรานี้ จักยังไม่สมบูรณ์ แพร่หลาย กว้างขวางรู้กันโดยมาก แน่นหนา (มั่นคง) จนกระทั่งพวก เทวดา และมนุษย์ประกาศได้ดีแล้วเพียงใด เราจักยังไม่ปรินิพพาน เพียงนั้นข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ก็บัดนี้ พรหมจรรย์ของ พระผู้มีพระภาคสมบูรณ์แล้ว แพร่หลายกว้างขวาง รู้กันโดยมากแน่นหนา (มั่นคง) จนกระทั่งพวกเทวดา และมนุษย์ประกาศได้ ดีแล้วข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มี พระภาคจงปรินิพพานในบัดนี้เถิด ขอพระสุคตจงปรินิพพานในบัดนี้เถิด บัดนี้ เป็นเวลาปรินิพพาน ของพระผู้มี พระภาค.
[๑๑๓๓]
เมื่อมารกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสตอบว่าดูกรมารผู้มีบาป ท่านจงมีความ ขวนขวายน้อยเถิด การปรินิพพานแห่งตถาคตจักมีในไม่ช้า แต่นี้ล่วงไปอีก ๓ เดือน ตถาคตจัก ปรินิพพาน.
[๑๑๓๔]
ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคทรงมีพระสติสัมปชัญญะ ทรงปลงอายุสังขาร ณ ปาวาลเจดีย์ และเมื่อพระผู้มีพระภาค ทรงปลงอายุสังขารแล้ว ได้เกิดแผ่นดิน ไหวใหญ่ และเกิดขนพอง สยองเกล้าน่าสพึงกลัว ทั้งกลองทิพย์ก็บันลือลั่น.
[๑๑๓๕]
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว ทรงเปล่งพระอุทานนี้ ในเวลานั้น ความว่ามุนี เมื่อเทียบเคียงนิพพาน และภพได้ปลงเสียแล้วซึ่งธรรม อันปรุงแต่งภพยินดีแล้วในภายใน มีจิตตั้ง มั่นแล้วได้ทำลายแล้วซึ่งข่าย คือกิเลสอันเกิดในตนเปรียบดังเกาะ.
จบ สูตรที่ ๑๐
จบ ปาวาลวรรคที่ ๑
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อปารสูตร ๒. วิรันทธสูตร
๓. อริยสูตร ๔. นิพพุตสูตร
๕. ปเทสสูตร ๖. สัมมัตตสูตร
๗. ภิกขุสูตร ๘. พุทธสูตร
๙. ญาณสูตร ๑๐. เจติยสูตร
ปาสาทกัมปนวรรคที่ ๒
1136
ปุพพสูตร
วิธีเจริญอิทธิบาท ๔
[๑๑๓๖]
พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อก่อนแต่ตรัสรู้ ครั้งเราเป็นพระโพธิสัตว์ ยังมิได้ตรัสรู้ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า อะไรหนอ เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ของการเจริญอิทธิบาท.
[๑๑๓๗]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญ อิทธิบาท อันประกอบด้วย ฉันทสมาธิ และปธานสังขาร ดังนี้ ว่าฉันทะของเราจัก ไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ฟุ้งซ่านไปใน ภายนอก
และเธอมีความสำคัญ ในเบื้องหลังและเบื้องหน้าอยู่ว่า เบื้องหน้า ฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้นเบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้า ก็ฉันนั้น เบื้องล่าง ฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใดเบื้องล่างก็ฉันนั้น กลางวันฉันใด กลางคืน ก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้นเธอมีใจเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตใจ ให้สว่างอยู่.
[๑๑๓๘]
ภิกษุย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วย วิริยสมาธิและปธานสังขาร ดังนี้ว่า วิริยะของเราจัก ไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป... ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่.
[๑๑๓๙]
ภิกษุย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยจิตตสมาธิและปธานสังขาร ดังนี้ว่าจิต ของเราจักไม่ ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป... ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่.
[๑๑๔๐]
ภิกษุย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิมังสาสมาธิ และปธานสังขาร ดังนี้ว่า วิมังสาของเราจัก ไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ฟุ้งซ่านไปภายนอก
และเธอมีความสำคัญในเบื้องหลังและเบื้องหน้าอยู่ว่า เบื้องหน้าฉันใดเบื้องหลัง ก็ฉันนั้น เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด เบื้องล่างก็ฉันนั้น กลางวัน ฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืน ฉันใดกลางวันก็ฉันนั้น เธอมีใจเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่.
[๑๑๔๑]
ภิกษุเมื่อเจริญ กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ อย่างนี้ ย่อมแดสงฤทธิ์ 1 ได้หลายอย่างคือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ทะลุฝา กำแพง ภูเขาไปได้ไม่ติดขัด เหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำลงในแผ่นดินเหมือนในนํ้าก็ได้ เดินบนนํ้า ไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลำ พระจันทร์ พระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากอย่างนี้ด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลก ก็ได้.
[๑๑๔๒]
ภิกษุเมื่อเจริญ กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ อย่างนี้ ย่อมได้ยินเสียง ๒ ชนิดคือ เสียงทิพย์ และเสียงมนุษย์ ทั้งอยู่ไกลและใกล้ ด้วยทิพโสตธาตุอันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์.
[๑๑๔๓]
ภิกษุเมื่อเจริญ กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ อย่างนี้ ย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่นของบุคคลอื่น ด้วยใจ คือ จิตมีราคะ ก็รู้ว่า จิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิต มีโทสะ ก็รู้ว่าจิต มีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิต ฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตเป็นมหรคต หรือจิตไม่เป็น มหรคต ก็รู้ว่าจิต ไม่เป็น มหรคตจิต มีจิต อื่นยิ่ง กว่าก็รู้ว่าจิต มีจติ อื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่า จิต ไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตตั้งมั่น ก็รู้ว่าจิต ตั้งมั่น หรือจิตไม่ตั้งมั่น ก็รู้ว่า จิตไม่ตั้งมั่นจิตหลุดพ้น ก็รู้ว่า จิตหลุดพ้น หรือจิต ไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่า จิตไม่หลุดพ้น.
[๑๑๔๔]
ภิกษุเมื่อเจริญ กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ อย่างนี้ ย่อมระลึกชาติก่อนได้ เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง
ตลอดสังวัฏกัป เป็นอันมากบ้าง ตลอดวัฏกัป 1 เป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏ วิวัฏกัป เป็นอันมากบ้างว่า ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณ อย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวย ทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น
ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้นมีอาหาร อย่างนั้น เสวยสุข เสวยทุกข์ อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้.
[๑๑๔๕]
ภิกษุเมื่อเจริญ กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ อย่างนี้ ย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี ผิวพรรณทราม ได้ดีตกยาก ด้วย ทิพยจักษุ อันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิยึดมั่นการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ
เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรกส่วนสัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วย กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดมั่นการ กระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เธอย่อม เห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอัน บริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้.
[๑๑๔๖]
ภิกษุเมื่อเจริญ กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ อย่างนี้ ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่ง เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.
จบ สูตรที่ ๑
1147
มหัปผลสูตร
อานิสงส์ของการเจริญอิทธิบาท
[๑๑๔๗]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ เหล่านี้ อันภิกษุเจริญ กระทำให้มากแล้ว ย่อมมี ผลมาก มีอานิสงส์ มาก ก็อิทธิบาท อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว อย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบด้วยฉันทสมาธิและ ปธานสังขาร ดังนี้ว่า
ฉันทะของเรา จักไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ฟุ้งซ่านไปใน ภายนอก และเธอมีความสำคัญในเบื้องหลัง เบื้องหน้าอยู่ว่า เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น เบื้องล่าง ฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด เบื้องล่าง ก็ฉันนั้น กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น
เธอมีจิตเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่ ย่อมเจริญอิทธิบาทอัน ประกอบด้วย วิริยสมาธิ... จิตตสมาธิ... วิมังสาสมาธิและปธานสังขาร ดังนี้ว่า วิมังสาของเราจักไม่ย่อหย่อน เกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก
และเธอมีความสำคัญในเบื้องหลัง และเบื้องหน้าอยู่ว่า เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้นเบื้องบนฉันใด เบื้องล่าง ก็ฉันนั้น กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใดกลางวัน ก็ฉันนั้น
เธอมีใจเปิด เผย ไม่มี อะไรหุ้มห่ออบรมจิตให้สว่างอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมมีผลมา มีอานิสงส์มาก.
[๑๑๔๘]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญ กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ อย่างนี้ย่อม แสดงฤทธิ์ได้ หลายอย่าง คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจ ทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้.
[๑๑๔๙]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญ กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ อย่างนี้ย่อม กระทำให้แจ้งซึ่ง เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลาย สิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.
จบ สูตรที่ ๒
1150
ฉันทสูตร
ว่าด้วยอิทธิบาทกับปธานสังขาร
[๑๑๕๐]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุอาศัยฉันทะแล้ว ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต นี้เรียกว่าฉันทสมาธิ เธอยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้เพื่อไม่ให้บาปอกุศลธรรม ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น
เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น เพื่อความตั้งอยู่ เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ บริบูรณ์แห่งกุศลธรรม ที่เกิดขึ้นแล้วเหล่านี้เรียกว่า ปธานสังขาร ฉันทะนี้ด้วย ฉันทสมาธินี้ด้วย และปธานสังขารเหล่านี้ด้วยดังพรรณนามานี้ นี้เรียกว่า อิทธิบาทประกอบด้วย ฉันทสมาธิ และปธานสังขาร.
[๑๑๕๑]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุอาศัยวิริยะแล้ว ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต นี้เรียกว่า วิริยสมาธิ เธอยัง ฉันทะให้เกิด ฯลฯ เพื่อความเจริญบริบูรณ์แห่งกุศลธรรม ที่เกิดขึ้นแล้วเหล่านี้เรียกว่า ปธานสังขาร วิริยะนี้ด้วย วิริยสมาธินี้ด้วย และปธาน สังขารเหล่านี้ด้วยดังพรรณนามานี้ นี้เรียกว่า อิทธิบาท ประกอบด้วยวิริยสมาธิ และปธานสังขาร.
[๑๑๕๒]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุอาศัยจิตแล้ว ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต นี้เรียกว่า จิตตสมาธิ เธอยัง ฉันทะให้เกิด ฯลฯ เพื่อความเจริญบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรม ที่เกิดขึ้นแล้วเหล่านี้เรียกว่า ปธานสังขาร จิตนี้ด้วย จิตตสมาธินี้ด้วย และปธาน สังขารเหล่านี้ด้วยดังพรรณนามานี้ นี้เรียกว่า อิทธิบาทประกอบด้วยจิตตสมาธิ และปธานสังขาร.
[๑๑๕๓]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุอาศัยวิมังสาแล้ว ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิตนี้เรียกว่า วิมังสาสมาธิ เธอยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อไม่ให้บาปอกุศลธรรม ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น เพื่อละบาปอกุศลธรรม ที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น เพื่อความตั้งอยู่ เพื่อความ ไม่เลือนหายเพื่อความเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความ เจริญบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เหล่านี้เรียกว่า ปธานสังขาร วิมังสานี้ด้วย วิมังสาสมาธิ นี้ด้วย และปธานสังขารเหล่านี้ด้วย ดังพรรณนามานี้ นี้เรียกว่า อิทธิบาทประกอบด้วยวิมังสาสมาธิ และปธานสังขาร.
จบ สูตรที่ ๓
1154
โมคคัลลานสูตร
พระโมคคัลลานแสดงฤทธิ์
[๑๑๕๔]
ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปราสาทของมิคารมารดา ในบุพพาราม ใกล้พระนคร สาวัตถี สมัยนั้นภิกษุมากรูป ที่อยู่ภายใต้ปราสาทของมิคารมารดา เป็นผู้ฟุ้งซ่าน อวดตัว มีจิตกวัดแกว่ง ปากกล้า พูดจาอื้อฉาวลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะ มีจิตไม่ตั้งมั่น คิดจะสึก ไม่สำรวม อินทรีย์.
[๑๑๕๕]
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกท่านพระมหาโมคคัลลานะ มาตรัสว่า ดูกรโมคคัลลานะ สพรหมจารี เหล่านี้ ที่อาศัยอยู่ภายใต้ปราสาทของมิคาร มารดาเป็นผู้ฟุ้งซ่าน อวดตัว มีจิต กวัดแก่วง ปากกล้าพูดจาอื้อฉาว ลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะ มีจิตไม่ตั้งมั่น คิดจะสึก ไม่สำรวมอินทรีย์ ไปเถิด โมคคัลลานะ
เธอจงยังภิกษุเหล่านั้นให้สังเวช ท่านพระมหาโมคคัลลานะทูลรับ พระดำรัสของ พระผู้มีพระภาค แล้ว แสดงอิทธาภิสังขาร ให้ปราสาทของมิคารมารดาสะเทือน สะท้าน หวั่นไหวด้วยนิ้วหัวแม่เท้า.
[๑๑๕๖]
ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นเกิดความสลดใจ ขนพองสยองเกล้า ได้ไปยืนอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่งแล้ว พูดกันว่าน่าอัศจรรย์หนอท่าน ไม่เคยมีมาแล้ว ลมก็ไม่มี ทั้งปราสาทของมิคารมารดานี้ ก็มีรากลึก ฝังไว้ดีแล้ว จะโยกคลอนไม่ได้ก็แหละ เมื่อเป็นเช่นนี้ อะไรสักอย่างหนึ่งที่ทำให้ปราสาทนี้ สะเทือนสะท้านหวั่นไหว.
[๑๑๕๗]
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปยัง ที่ซึ่งภิกษุเหล่านั้นยืนอยู่แล้วตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอเกิดความสลดใจ ขนพองสยองเกล้า ไปยืนอยู่ ณส่วนข้างหนึ่งเพราะเหตุอะไร ?
ภิกษุเหล่านั้น กราบทูลว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาแล้วลม ก็ไม่มี ทั้งปราสาท ของมิคารมารดานี้ก็มีรากลึก ฝังไว้ดีแล้วจะโยกคลอนไม่ได้ ก็แหละ เมื่อเป็นเช่นนั้น อะไรสักอย่าง หนึ่งที่ทำให้ปราสาทนี้สะเทือนสะท้าน หวั่นไหว.
[๑๑๕๘]
พระผู้มีพระภาคตรัสว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุโมคคัลลานะ ประสงค์จะให้เธอ ทั้งหลายสังเวช จึงทำปราสาทของมิคารมารดา ให้สะเทือนสะท้านหวั่นไหว ด้วยนิ้วหัวแม่เท้าดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ? ภิกษุโมคคัลลานะ มีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีอานุภาพมาก อย่างนี้ เพราะได้เจริญ ธรรมเหล่าไหน เพราะได้กระทำให้มากซึ่งธรรมเหล่าไหน ?
ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็น รากฐาน มีพระผู้มี พระภาคเป็นผู้นำมีพระผู้มีพระภาค เป็นที่พึ่ง ขอประทาน พระวโรกาส ขอเนื้อความแห่ง ภาษิตนี้ จงแจ่มแจ้ง กะพระผู้มีพระภาคเถิด ภิกษุทั้งหลายได้ฟังแล้ว จักทรงจำไว้.
[๑๑๕๙]
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น เธอทั้งหลายจงฟังเถิด ภิกษุโมคคัลลานะ มีฤทธ์มากอย่างนี้ มีอานุภาพมากอย่างนี้ เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่ง อิทธิบาท ๔ อิทธิบาท ๔ เป็นไฉน ?
ภิกษุโมคคัลลานะย่อมเจริญอิทธิบาท ประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร... วิริยสมาธิ... จิตตสมาธิ... วิมังสาสมาธิ และปธานสังขาร ดังนี้ว่า วิมังสาของเรา จักไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป ไม่หดหู่ในภายในไม่ฟุ้งซ่าน ไปในภายนอก
และเธอมีความสำคัญในเบื้องหลัง และเบื้องหน้าอยู่ว่าเบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น เบื้องล่างฉันใด เบื้องบน ก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด เบื้องล่าง ก็ฉันนั้น กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น เธอมีจิต เปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่ออบรมจิต ให้สว่างอยู่ ภิกษุโมคคัลลานะมีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีอานุภาพมาก อย่างนี้ เพราะได้เจริญได้กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล.
[๑๑๖๐]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ เหล่านี้ภิกษุ โมคคัลลานะ ย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปตลอด พรหมโลกก็ได้.
[๑๑๖๑]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ เหล่านี้ภิกษุ โมคคัลลานะ ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.
จบ สูตรที่ ๔
1162
พราหมณสูตร
ว่าด้วยปฏิปทาเพื่อละฉันทะ
[๑๑๖๒]
ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้เมืองโกสัมพี ครั้งนั้น อุณณาภ พราหมณ์เข้าไป หาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระอานนท์ ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึง กันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระอานนท์ว่า
[๑๑๖๓]
ดูกรท่านอานนท์ ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณโคดม เพื่อประโยชน์อะไร ? ท่านพระอานนท์ตอบว่าดูกรพราหมณ์ เราประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มี พระภาคเพื่อละฉันทะ.
[๑๑๖๔]
อุณ. ดูกรท่านอานนท์ ก็มรรคา ปฏิปทา เพื่อละฉันทะนั้น มีอยู่หรือ ? อา. มีอยู่ พราหมณ์.
[๑๑๖๕]
อุณ. ดูกรท่านอานนท์ ก็มรรคาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉน ?
อา. ดูกรพราหมณ์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบด้วย ฉันทสมาธิและ ปธานสังขาร ย่อมเจริญอิทธิบาทประกอบด้วยวิริยสมาธิ... จิตตสมาธิ... วิมังสา-สมาธิ และปธาน สังขาร นี้แลเป็นมรรคา เป็นปฏิปทา เพื่อละฉันทะนั้น.
[๑๑๖๖]
อุณ. ดูกรท่านอานนท์ เมื่อเป็นเช่นนั้น ฉันทะนั้นยังมีอยู่ ไม่ใช่ไม่มี บุคคลจักละ ฉันทะด้วย ฉันทะ นั่นเองข้อนี้มิใช่ฐานะที่มีได้.
อา.
ดูกรพราหมณ์ ถ้าเช่นนั้น เราจะย้อนถามท่านในเรื่องนี้ ท่านเห็นควรอย่างไร พึงแก้อย่างนั้นเถิด.
[๑๑๖๗]
ดูกรพราหมณ์ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ? ในเบื้องต้นท่านได้มีความพอใจว่า จักไปอาราม เมื่อท่านไปถึงอารามแล้ว ความพอใจที่เกิดขึ้นนั้นก็ระงับไปมิใช่หรือ ?
อุณ. อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ.
อา. ในเบื้องต้น ท่านได้มีความเพียรว่า จักไปอาราม เมื่อท่านไปถึงอารามแล้ว ความเพียรที่ เกิดขึ้นนั้นก็ระงับไปมิใช่หรือ ?
อุณ. อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ.
อา. ในเบื้องต้น ท่านได้มีความคิดว่า จักไปอาราม เมื่อท่านไปถึงอารามแล้ว ความคิดที่เกิดขึ้นนั้น ก็ระงับไปมิใช่หรือ ?
อุณ. อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ.
อา. ในเบื้องต้น ท่านได้ตริตรองพิจารณาว่า จักไปอาราม เมื่อท่านไปถึงอาราม แล้ว ความตริตรอง พิจารณาที่เกิดขึ้นนั้น ก็ระงับไปมิใช่หรือ ?
อุณ. อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ.
[๑๑๖๘]
อา. ดูกรพราหมณ์ อย่างนั้นเหมือนกัน ภิกษุใดเป็นพระอรหันตขีณาสพอยู่จบ พรหมจรรย์ ทำกิจที่ ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว มีประโยชน์ของตน ถึงแล้วโดยลำดับ สิ้นสังโยชน์ที่จะนำไป สู่ภพแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ
ภิกษุนั้นในเบื้องต้น ก็มีความพอใจเพื่อบรรลุอรหัต เมื่อบรรลุแล้วความพอใจ ที่เกิดขึ้นนั้นก็ระงับไป ในเบื้องต้น ก็มีความเพียรเพื่อบรรลุอรหัต เมื่อบรรลุแล้ว ความเพียรที่เกิดขึ้นนั้นก็ระงับไป ในเบื้องต้นก็มีความคิดเพื่อบรรลุอรหัต เมื่อบรรลุแล้ว ความคิดที่เกิดขึ้นนั้นก็ระงับไป ในเบื้องต้นก็มีความตริตรอง พิจารณา เพื่อบรรลุ อรหัต เมื่อบรรลุแล้ว ความตริตรองพิจารณาที่เกิดขึ้นนั้น ก็ระงับไป.
[๑๑๖๙]
ดูกรพราหมณ์ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ? เมื่อเป็นเช่นนั้น ความพอใจนั้นยังมีอยู่หรือ ว่าไม่มี ?
อุณ. ข้าแต่ท่านอานนท์ เมื่อเป็นเช่นนั้น ความพอใจก็มีอยู่โดยแท้ ไม่มีหามิได้ ข้าแต่ท่าน พระอานนท์ ภาษิตของท่านแจ่มแจ้งนัก ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ภาษิตของท่านแจ่มแจ้ง นัก
ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ท่านประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนหงาย ของที่ควํ่า เปิดของ ที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่าผู้มีจักษุจักเห็นรูป
ฉะนั้น ข้าพเจ้านี้ขอถึงท่านพระโคดม กับทั้งพระธรรมและพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอท่านพระอานนท์ จงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะจนตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.
จบ สูตรที่ ๕
1170
สมณพราหมณสูตรที่ ๑
ผู้มีฤทธิ์มาก เพราะเจริญอิทธิบาท ๔
[๑๑๗๐]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในอดีตกาลเป็นผู้มี ฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหมดนั้น เป็นผู้มีฤทธิ์มากมอี านุภาพมาก เพราะเป็นผู้เจริญ กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในอนาคตกาล จักมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหมดนั้น จักเป็นผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก เพราะเป็น ผู้เจริญ กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในปัจจุบัน เป็นผู้มีฤทธิ์มากมีอานุภาพ มาก สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหมดนั้น เป็นผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก เพราะเป็นผู้เจริญ กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ อิทธิบาท ๔ เป็นไฉน ?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วย ฉันทสมาธิและปธาน สังขาร ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิ... จิตตสมาธิ... วิมังสาสมาธิและปธาน สังขาร.
[๑๑๗๑]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในอดีตกาลเป็นผู้มี ฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก
สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหมดนั้น เป็นผู้มีฤทธิ์มากมีอานุภาพมาก เพราะเป็นผู้เจริญ กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในอนาคตกาล จักเป็นผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหมดนั้น จักเป็นผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ก็เพราะเป็นผู้เจริญ กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล
สมณะหรือพราหมณ์ เหล่าใดเหล่า หนึ่งในปัจจุบัน ย่อมเป็นผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหมด 1ย่อมเป็น ผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก เพราะเป็นผู้เจริญ กระทำให้มากซึ่ง อิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล.
จบ สูตรที่ ๖
1172
สมณพราหมณสูตรที่ ๒
แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่างเพราะเจริญอิทธิบาท ๔
[๑๑๗๒]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในอดีตกาล แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้... ใช้อำนาจทางกายไป ตลอดพรหมโลกก็ได้ สมณะหรือพราหมณ์ ทั้งหมดนั้น แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง เช่นนั้น เพราะเป็นผู้เจริญกระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ สมณะหรือพราหมณ์ เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในอนาคตกาล...
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด เหล่าหนึ่ง ในปัจจุบัน แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือคนเดียวเป็น หลายคนก็ได้... ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหมดนั้น แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่างเช่นนั้น ก็เพราะเป็นผู้เจริญ กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ อิทธิบาท ๔ เป็นไฉน ?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบด้วย ฉันทสมาธิ และปธานสังขาร ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิ... จิตตสมาธิ... วิมังสาสมาธิและ ปธานสังขาร.
[๑๑๗๓]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในอดีตกาล แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้... ใช้อำนาจทางกายไป ตลอดพรหมโลกก็ได้สมณะ หรือพราหมณ์ ทั้งหมดนั้น แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง เช่นนั้น ก็เพราะเป็นผู้เจริญกระทำให้มาก ซึ่งอิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาล... สมณะหรือพราหมณ์ เหล่าใด เหล่าหนึ่ง ในปัจจุบัน แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวเป็นหลาย คนก็ได้... ใช้อำนาจ ทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้สมณะ หรือพราหมณ์ ทั้งหมดนั้น แสดงฤทธิ์หลายอย่างเช่นนั้น ก็เพราะเป็นผู้เจริญกระทำให้มากซึ่ง อิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล.
จบ สูตรที่ ๗
1174
อภิญญาสูตร
ได้เจโตวิมุติและปัญญาวิมุติเพราะเจริญอิทธิบาท ๔
[๑๑๗๔]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะ มิได้เพราะอาสวะ ทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่ง เอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ เพราะเป็น ผู้เจริญกระทำให้มาก ซึ่งอิทธิบาท ๔ อิทธิบาท ๔ เป็นไฉน ?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบด้วย ฉันทสมาธิและ ปธานสังขารย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบด้วยวิริยสมาธิ... จิตตสมาธิ... วิมังสาสมาธิและปธานสังขาร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติอันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะ ทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ เพราะเป็นผู้เจริญ กระทำให้มาก ซึ่งอิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล.
จบ สูตรที่ ๘
1175
เทสนาสูตร
แสดงปฏิปทาเข้าถึงอิทธิบาทภาวนา
[๑๑๗๕]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอิทธิ อิทธิบาท อิทธิบาทภาวนา และปฏิปทาที่จะ ให้ ถึงอิทธิบาท ภาวนา แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ก็อิทธิเป็นไฉน ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมแสดง ฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจ ทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ นี้เรียกว่า อิทธิ.
[๑๑๗๖]
ก็อิทธิบาทเป็นไฉน ? มรรคาอันใด ปฏิปทาอันใด ย่อมเป็นไปเพื่อได้ฤทธิ์เพื่อได้ เฉพาะซึ่งฤทธิ์ นี้เรียกว่า อิทธิบาท.
[๑๑๗๗]
ก็อิทธิบาทภาวนาเป็นไฉน ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบด้วย ฉันทสมาธิ และปธานสังขาร ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบด้วย วิริยสมาธิ... จิตตสมาธิ... วิมังสาสมาธิ และปธานสังขาร นี้เรียกว่า อิทธิบาทภาวนา.
[๑๑๗๘]
ก็ปฏิปทาที่จะให้ถึงอิทธิบาทภาวนาเป็นไฉน ? อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘นี้แล คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้เรียกว่า ปฏิปทาที่จะให้ถึงอิทธิบาท ภาวนา.
จบ สูตรที่ ๙
1179
วิภังคสูตร
วิธีเจริญอิทธิบาท ๔
[๑๑๗๙]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ เหล่านี้ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ก็อิทธิบาท ๔ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาท ประกอบด้วย ฉันทสมาธิและปธานสังขาร ดังนี้ว่า
ฉันทะของเราจักไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป ไม่หดหู่ใน ภายใน ไม่ฟุ้งซ่านไปใน ภายนอก และเธอมีความสำคัญในเบื้องหลัง และ เบื้องหน้าอยู่ว่า เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลัง ก็ฉันนั้น เบื้องหลังฉันใดเบื้องหน้า ก็ฉันนั้น เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด เบื้องล่างก็ฉันนั้น กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น
เธอมีจิตเปิดเผยไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิต ให้สว่างอยู่ ย่อมเจริญอิทธิบาท ประกอบด้วยวิริยสมาธิ ...จิตตสมาธิ... วิมังสาสมาธิและปธานสังขาร ดังนี้ว่า วิมังสาของเราจักไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ฟุ้ง ซ่านไปในภายนอก และเธอมีความสำคัญใน เบื้องหลัง และเบื้องหน้า อยู่ว่า เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น เบื้องหลังฉันใดเบื้องหน้า ก็ฉันนั้น เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด เบื้องล่างก็ฉันนั้นกลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น เธอมีจิตเปิดเผยไม่มีอะไร หุ้มห่อ อบรมจิต ให้สว่างอยู่.
[๑๑๘๐]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ฉันทะที่ย่อหย่อนเกินไปเป็นไฉน ? ฉันทะที่ประกอบด้วย ความเกียจคร้าน สัมปยุตด้วยความเกียจคร้าน นี้เรียกว่า ฉันทะที่ย่อหย่อน เกินไป.
[๑๑๘๑]
ก็ฉันทะที่ต้องประคองเกินไปเป็นไฉน ? ฉันทะที่ประกอบด้วยอุทธัจจะ สัมปยุต ด้วยอุทธัจจะ นี้เรียกว่า ฉันทะที่ต้องประคองเกินไป.
[๑๑๘๒]
ก็ฉันทะที่หดหู่ในภายในเป็นไฉน ? ฉันทะที่ประกอบด้วยถีนมิทธะ สัมปยุต ด้วยถีนมิทธะ นี้เรียกว่า ฉันทะที่หดหู่ในภายใน.
[๑๑๘๓]
ก็ฉันทะที่ฟุ้งซ่านไปในภายนอกเป็นไฉน ? ฉันทะที่ฟุ้งซ่านไป พล่านไป ปรารภกามคุณ ๕ ในภายนอก นี้เรียกว่า ฉันทะที่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก.
[๑๑๘๔]
ภิกษุมีความสำคัญในเบื้องหลังและเบื้องหน้าอยู่ว่า เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลัง ก็ฉันนั้น เบื้องหลัง ฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น อย่างไร ? ความสำคัญในเบื้องหลัง และเบื้องหน้า อันภิกษุในธรรมวินัยนี้ ยึดไว้ดีแล้ว กระทำไว้ในใจดีแล้ว ทรงไว้ดี แล้วแทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา ภิกษุชื่อว่ามีความ สำคัญในเบื้องหลังและ เบื้องหน้าอยู่ว่าเบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้า ก็ฉันนั้น อย่างนี้แล.
[๑๑๘๕]
ก็ภิกษุมีความสำคัญอยู่ว่า เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด เบื้องล่างก็ฉันนั้น อย่างไร ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณากายนี้ เบื้องบนแต่พื้น เท้าขึ้นมา เบื้องล่างแต่ปลายผม ลงไป มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่าในกายนี้ มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่าดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น นํ้าตา มันเหลว นํ้าลาย นํ้ามูก ไขข้อ มูตรภิกษุชื่อว่า มีความสำคัญอยู่ว่า เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใดเบื้องล่างก็ฉันนั้น อย่างนี้แล.
[๑๑๘๖]
ก็ภิกษุมีความสำคัญอยู่ว่า กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น อย่างไร ?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิ และปธาน สังขาร ในกลางวัน ด้วยอาการเหล่าใด ด้วยเพศเหล่าใด ด้วยนิมิตเหล่าใด เธอย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขารใน กลางคืน ด้วยอาการเหล่านั้น ด้วยเพศเหล่านั้น ด้วยนิมิตเหล่านั้น อีกอย่างหนึ่ง
ภิกษุย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบด้วยฉันทสมาธิ และปธานสังขารใน กลางคืน ด้วยอาการ เหล่าใดด้วยเพศเหล่าใด ด้วยนิมิตเหล่าใด เธอย่อมเจริญ อิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิ และปธานสังขารในกลางวัน ด้วยอาการ เหล่านั้น ด้วยเพศเหล่านั้น ด้วยนิมิตเหล่านั้นภิกษุ มีความสำคัญอยู่ว่า กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น อย่างนี้แล.
[๑๑๘๗]
ก็ภิกษุมีจิตเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่ อย่างไร ? อาโลก-สัญญา (ความสำคัญ ว่าแสงสว่าง) อันภิกษุในธรรมวินัยนี้ ยึดไว้ดีแล้ว ความสำคัญว่ากลางวัน ตั้งมั่นดีแล้ว ภิกษุมีจิต เปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่ อย่างนี้แล.
[๑๑๘๘]
ก็วิริยะที่ย่อหย่อนเกินไปเป็นไฉน ? วิริยะที่ประกอบด้วยความเกียจคร้าสัมปยุต ด้วยความเกียจคร้าน นี้เรียกว่า วิริยะที่ย่อหย่อนเกินไป.
[๑๑๘๙]
ก็วิริยะที่ต้องประคองเกินไปเป็นไฉน ? วิริยะที่ประกอบด้วยอุทธัจจะ สัมปยุตด้วย อุทธัจจะ นี้เรียกว่า วิริยะที่ต้องประคองเกินไป.
[๑๑๙๐]
ก็วิริยะที่หดหู่ในภายในเป็นไฉน ? วิริยะที่ประกอบด้วยถีนมิทธะ สัมปยุตด้วย ถีนมิทธะ นี้เรียกว่า วิริยะหดหู่ในภายใน.
[๑๑๙๑]
ก็วิริยะที่ฟุ้งซ่านไปในภายนอกเป็นไฉน ? วิริยะที่ฟุ้งซ่านไป พล่านไป ปรารภ กามคุณ ๕ ในภายนอก นี้เรียกว่า วิริยะที่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก ฯลฯ.
[๑๑๙๒]
ก็ภิกษุมีจิตเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่ออบรมจิตให้สว่างอยู่ อย่างไร ? อาโลกสัญญาอันภิกษุในธรรม วินัยนี้ ยึดไว้ดีแล้ว ความสำคัญว่า กลางวัน ตั้งมั่นดีแล้ว ภิกษุมีจิตเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่ อย่างนี้แล.
[๑๑๙๓]
ก็จิตที่ย่อหย่อนเกินไปเป็นไฉน ? จิตที่ประกอบด้วยความเกียจคร้าน สัมปยุตด้วย ความเกียจคร้าน นี้เรียกว่า จิตที่ย่อหย่อนเกินไป.
[๑๑๙๔]
ก็จิตที่ต้องประคองเกินไปเป็นไฉน ? จิตที่ประกอบด้วยอุทธัจจะ สัมปยุตด้วย อุทธัจจะ นี้เรียกว่า จิตที่ต้องประคองเกินไป.
[๑๑๙๕]
ก็จิตที่หดหู่ในภายในเป็นไฉน ? จิตที่ประกอบด้วยถีนมิทธะ สัมปยุตด้วยถีนมิทธะ นี้เรียกว่า จิตที่ หดหู่ในภายใน.
[๑๑๙๖]
ก็จิตที่ฟุ้งซ่านไปในภายนอกเป็นไฉน ? จิตที่ฟุ้งซ่านไป พล่านไป ปรารภกามคุณ ๕ ในภายนอก นี้เรียกว่า จิตที่ฟุ้งซ่านไป ในภายนอก ฯลฯ.
[๑๑๙๗]
ภิกษุมีจิตเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่ อย่างนี้แล.
[๑๑๙๘]
ก็วิมังสาที่ย่อหย่อนเกินไปเป็นไฉน ? วิมังสาที่ประกอบด้วยความเกียจคร้าน สัมปยุตด้วยความเกียจคร้าน นี้เรียกว่า วิมังสาที่ย่อหย่อน เกินไป.
[๑๑๙๙]
ก็วิมังสาที่ต้องประคองเกินไปเป็นไฉน ? วิมังสาที่ประกอบด้วยอุทธัจจะ สัมปยุตด้วยอุทธัจจะ นี้เรียกว่า วิมังสาที่ต้องประคองเกินไป.
[๑๒๐๐]
ก็วิมังสาที่หดหู่ในภายในเป็นไฉน ? วิมังสาที่ประกอบด้วยถีนมิทธะ สัมปยุตด้วย ถีนมิทธะ นี้เรียกว่า วิมังสาที่หดหู่ในภายใน.
[๑๒๐๑]
ก็วิมังสาที่ฟุ้งซ่านไปในภายนอกเป็นไฉน ? วิมังสาที่ฟุ้งซ่านไป พล่านไป ปรารภกามคุณ ๕ ในภายนอก นี้เรียกว่า วิมังสาที่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก ฯลฯ.
[๑๒๐๒]
ภิกษุมีจิตเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้ว อย่างนี้ ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก.
[๑๒๐๓]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญ กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ อย่างนี้แล ย่อมแสดงฤทธิ์ได้ หลายอย่าง คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็น คนเดียวก็ได้ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไป ตลอดถึงพรหมโลกก็ได้.
[๑๒๐๔]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญ กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ อย่างนี้แล ย่อมกระทำให้แจ้ง ซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะ ทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่. (พึงขยายอภิญญาแม้ทั้งหกให้พิสดาร)
จบ สูตรที่ ๑๐
จบ ปาสาทกัมปนวรรคที่ ๒
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ปุพพสูตร ๒. มหัปผลสูตร
๓. ฉันทสูตร ๔. โมคคัลลานสูตร
๕. พราหมณสูตร ๖. สมณพราหมณสูตรที่ ๑
๗. สมณพราหมณสูตรที่ ๒ ๘. อภิญญาสูตร
๙. เทสนาสูตร ๑๐. วิภังคสูตร
อโยคุฬวรรคที่ ๓
1205
มรรคสูตร
ว่าด้วยปฏิปทาแห่งการเจริญอิทธิบาท
[๑๒๐๕]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก่อนแต่ตรัสรู้ ครั้งเราเป็น พระโพธิสัตว์ ยังมิได้ตรัสรู้ได้มี ความคิดอย่างนี้ว่า อะไรหนอ เป็นมรรคา เป็นปฏิปทาแห่งการ เจริญอิทธิบาท เรานั้นได้มีความคิด อย่างนี้ว่า ภิกษุนั้นย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบด้วยฉันทสมาธิ และปธานสังขาร ดังนี้ว่า ฉันทะของเราจักไม่ย่อ หย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกินไปไม่หดหู่ในภายใน ไม่ฟุ้งซ่านไป ภายนอก
และเธอมีความสำคัญในเบื้องหลัง และเบื้องหน้าอยู่ว่าเบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลัง ก็ฉันนั้น เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้นเบื้องล่างฉันใด เบื้องบน ก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด เบื้องล่าง ก็ฉันนั้น กลางวันฉันใดกลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น เธอมีใจ เปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้ม ห่อ อบรมจิต ให้สว่างอยู่ ด้วยประการฉะนี้
ภิกษุย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบด้วยวิริยสมาธิ... จิตตสมาธิ... วิมังสาสมาธิ และปธานสังขาร ดังนี้ว่า วิมังสาของเราจักไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคอง เกินไป ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ฟุ้งซ่าน ไปในภายนอก และเธอมีความสำคัญใน เบื้องหลัง และเบื้องหน้าอยู่ว่า เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลัง ก็ฉันนั้น เบื้องหลัง ฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้นเบื้องบน ฉันใด เบื้องล่าง ก็ฉันนั้น กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใดกลางวัน ก็ฉันนั้น เธอมีใจ เปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่ ด้วยประการ ฉะนี้แล.
[๑๒๐๖]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอิทธิบาท ๔ แล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้ว อย่างนี้ ย่อมแสดง ฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจ ทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้.
[๑๒๐๗]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอิทธิบาท ๔ แล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อม กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.
(แม้อภิญญาทั้งหกก็พึงขยายความออกไป)
จบ สูตรที่ ๑
1208
อโยคุฬสูตร
ว่าด้วยการแสดงฤทธิ์
[๑๒๐๘]
สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มี พระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถาม พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์เจริญ พระผู้มีพระภาคทรงทราบอยู่หรือว่า พระองค์ทรงเข้าถึงพรหมโลกด้วยพระฤทธิ์ พร้อมทั้งพระกายอันสำเร็จแต่ใจ ?
พระผู้มีพระภาค ตรัสตอบว่า เราทราบอยู่ อานนท์ ว่าเราเข้าถึงพรหมโลกด้วย ฤทธิ์พร้อมทั้งกายอันสำเร็จแต่ใจ.
อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็พระผู้มีพระภาคทรงทราบอยู่หรือว่า พระองค์ทรงเข้า ถึงพรหมโลกด้วย พระฤทธิ์ พร้อมทั้งพระกาย อันประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ นี้
พ. เราทราบอยู่ อานนท์ ว่าเราเข้าถึงพรหมโลกด้วยฤทธิ์ พร้อมทั้งกายอัน ประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ นี้.
[๑๒๐๙]
อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อที่พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า พระองค์ทรงเข้าถึง พรหมโลกด้วย พระฤทธิ์ พร้อมทั้งพระกายอันสำเร็จด้วยใจ และทรงทราบว่า พระองค์ทรงเข้าถึงพรหมโลกด้วย พระฤทธิ์ พร้อมทั้งพระกายอันประกอบด้วย มหาภูตรูป ๔ นี้ เป็นสิ่งน่าอัศจรรย์ ทั้งไม่เคยมีมาแล้ว.
พ. ดูกรอานนท์ พระตถาคตทั้งหลายเป็นผู้อัศจรรย์ และประกอบด้วยธรรมอันน่า อัศจรรย์ เป็นผู้ไม่เคยมีมา และประกอบด้วยธรรมอันไม่เคยมีมา.
[๑๒๑๐]
ดูกรอานนท์ สมัยใด ตถาคตตั้งกายไว้ในจิต หรือตั้งจิตลงไว้ที่กาย ก้าวลง สู่สุขสัญญา และลหุสัญญาในกายอยู่ สมัยนั้น กายของตถาคตย่อม เบากว่าปกติ อ่อนกว่าปกติ ควรแก่การงานกว่าปกติ และผุดผ่องกว่าปกติ.
[๑๒๑๑]
ดูกรอานนท์ เปรียบเหมือนก้อนเหล็กที่เผาไฟอยู่วันยังคํ่า ย่อมเบากว่าปกติอ่อน กว่าปกติ ควรแก่ การงานกว่าปกติ และผุดผ่องกว่าปกติ ฉันใด สมัยใด ตถาคต ตั้งกายลงไว้ในจิต หรือตั้งจิตลงไว้ ที่กาย ก้าวลงสู่สุขสัญญา และลหุสัญญา ในกาย อยู่สมัยนั้น กายของ ตถาคตย่อมเบากว่าปกติ อ่อนกว่าปกติ ควรแก่การง านกว่าปกติและผุดผ่องกว่าปกติ ฉันนั้นเหมือนกัน.
[๑๒๑๒]
ดูกรอานนท์ สมัยใด ตถาคตตั้งกายลงไว้ในจิต หรือตั้งจิตลงไว้ที่กาย ก้าวลงสู่ สุขสัญญาและ ลหุสัญญาในกายอยู่ สมัยนั้นกายของตถาคต ย่อมลอยจากแผ่นดิ นขึ้นสู่อากาศ ได้โดยไม่ยากเลย ตถาคตนั้นย่อมแสดงฤทธิ์ ได้หลายคน 1 คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกาย ไปตลอดพรหมโลกก็ได้.
[๑๒๑๓]
ดูกรอานนท์ เปรียบเหมือนปุยนุ่นหรือปุยฝ้าย ซึ่งเป็นเชื้อธาตุที่เบา ย่อมลอยจาก แผ่นดินขึ้นสู่ อากาศ ได้โดยไม่ยากเลย ฉันใด สมัยใด ตถาคตตั้งกายลงไว้ใน จิต หรือตั้งจิตลงไว้ที่กาย ก้าวลงสู่สุขสัญญาและ ลหุสัญญาอยู่ สมัยนั้น กายของตถาคตย่อมลอยจากแผ่นดิน ขึ้นสู่อากาศ ได้โดยไม่ยากเลย ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ.
[๑๒๑๔]
ดูกรอานนท์ สมัยนั้น กายของตถาคต ย่อมลอยจากแผ่นดินขึ้นสู่อากาศได้ โดยไม่ยากเลย ตถาคต นั้นย่อมแสดงฤทธิ์ ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวเป็น หลายคนก็ได้หลายคน เป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปตลอด พรหมโลกก็ได้.
จบ สูตรที่ ๒
1215
ภิกขุสุทธกสูตร
ว่าด้วยการเจริญอิทธิบาท
[๑๒๑๕]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ เหล่านี้ อิทธิบาท ๔ เป็นไฉน ? ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญ อิทธิบาทอันประกอบด้วย ฉันทสมาธิและ ปธานสังขาร ...วิริยสมาธิ... จิตตสมาธิ... วิมังสาสมาธิ และปธานสังขาร ดูกรภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล.
[๑๒๑๖]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะได้เจริญ กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ เหล่านี้แลภิกษุ จึงกระทำ ให้แจ้ง ซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะ ทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.
จบ สูตรที่ ๓
1217
ผลสูตรที่ ๑
เจริญอิทธิบาทหวังผลได้ ๒ อย่าง
[๑๒๑๗]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ เหล่านี้ อิทธิบาท ๔ เป็นไฉน ? ภิกษุในธรรม วินัยนี้ ย่อมเจริญ อิทธิบาทอันประกอบด้วย ฉันทสมาธิ และปธานสังขาร... วิริยสมาธิ... จิตตสมาธิ... วิมังสาสมาธิ และปธานสังขาร ดูกรภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล.
[๑๒๑๘]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล ภิกษุ พึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตตผลใน ปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีความถือมั่นเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี.
จบ สูตรที่ ๔
1219
ผลสูตรที่ ๒
ว่าด้วยผลานิสงส์ ๗
[๑๒๑๙]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ เหล่านี้ อิทธิบาท ๔ เป็นไฉน ? ภิกษุในธรรม วินัยนี้ ย่อมเจริญ อิทธิบาทอันประกอบด้วย ฉันทสมาธิและปธานสังขาร... วิริยสมาธิ... จิตตสมาธิ... วิมังสาสมาธิ และปธานสังขาร ดูกรภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล.
[๑๒๒๐]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ เหล่านี้แลภิกษุพึงหวังได้ ผลานิสงส์ ๗ ประการ ผลานิสงส์ ๗ ประการ เป็นไฉน ? คือจะได้ชมอรหัตผลในปัจจุบันก่อน ๑ ถ้าไม่ได้ชมอรหัตผลในปัจจุบันก่อน จะได้ชมเวลาใกล้ตาย ๑ ถ้าในปัจจุบันไม่ได้ชม ในเวลา ใกล้ตายก็ไม่ได้ชมไซร้
เพราะสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องตํ่า ๕ สิ้นไป จะได้เป็นพระอนาคามี ผู้อันตราปรินิพพายี ๑ ผู้อุปหัจจปรินิพพายี ๑ ผู้อสังขารปรินิพพายี ๑ ผู้สสังขารปรินิพพายี ๑ผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล ภิกษุพึงหวังได้ผลา นิสงส์ ๗ ประการเหล่านี้.
จบ สูตรที่ ๕
1221
อานันทสูตรที่ ๑
ว่าด้วยปฏิปทาที่จะถึงอิทธิบาท
[๑๒๒๑]
สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มี พระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถาม พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ อิทธิเป็นไฉน อิทธิบาทเป็นไฉน อิทธิบาทภาวนาเป็นไฉน ปฏิปทาที่จะให้ถึงอิทธิบาท ภาวนาเป็นไฉน ?
[๑๒๒๒]
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมแสดงฤทธิ์ได้ หลายอย่าง คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลก ก็ได้ นี้เรียกว่า อิทธิ.
[๑๒๒๓]
ก็อิทธิบาทเป็นไฉน ? มรรคอันใด ปฏิปทาอันใด ย่อมเป็นไปเพื่อได้ฤทธิ์เพื่อได้ เฉพาะซึ่งฤทธิ์ นี้เรียกว่า อิทธิบาท.
[๑๒๒๔]
ก็อิทธิบาทภาวนาเป็นไฉน ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบ ด้วยฉันทสมาธิ และ ปธานสังขาร... ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วย วิริยสมาธิ ... จิตตสมาธิ... วิมังสาสมาธิ และปธานสังขาร นี้เรียกว่า อิทธิบาท ภาวนา.
[๑๒๒๕]
ปฏิปทาที่จะถึงอิทธิบาทภาวนาเป็นไฉน ? อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้เรียกว่า ปฏิปทาที่จะให้ถึงอิทธิบาทภาวนา.
จบ สูตรที่ ๖
1226
อานันทสูตรที่ ๒
ว่าด้วยอิทธิฤทธิ์
[๑๒๒๖]
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระอานนท์ผู้นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ว่าดูกรอานนท์ อิทธิเป็นไฉน อิทธิบาทเป็นไฉน อิทธิบาทภาวนาเป็นไฉน ปฏิปทาที่จะให้ถึงอิทธิบาทภาวนา เป็นไฉน ? ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมี พระผู้มีพระภาคเป็น รากฐาน ฯลฯ.
[๑๒๒๗]
พ. ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือคนเดียว เป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปตลอด พรหมโลกก็ได้ นี้เรียกว่า อิทธิ.
[๑๒๒๘]
ก็อิทธิบาทเป็นไฉน ? มรรคาอันใด ปฏิปทาอันใด ย่อมเป็นไปเพื่อให้ได้ฤทธิ์ เพื่อได้เฉพาะซึ่งฤทธิ์ นี้เรียกว่า อิทธิบาท.
[๑๒๒๙]
ก็อิทธิบาทภาวนาเป็นไฉน ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบ ด้วยฉันทสมาธิ และปธานสังขาร ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบด้วยวิริยสมาธิ ... จิตตสมาธิ... วิมังสาสมาธิ และปธานสังขาร นี้เรียกว่า อิทธิบาทภาวนา.
[๑๒๓๐]
ก็ปฏิปทาที่จะให้ถึงอิทธิบาทภาวนาเป็นไฉน ? อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้เรียกว่า ปฏิปทาที่จะให้ถึงอิทธิบาท ภาวนา.
จบ สูตรที่ ๗
1231
ภิกขุสูตรที่ ๑
ว่าด้วยอิทธิฤทธิ์
[๑๒๓๑]
ครั้งนั้น ภิกษุหลายรูปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มี พระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้น แล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อิทธิเป็นไฉน อิทธิบาทเป็นไฉน อิทธิบาทภาวนา เป็นไฉน ปฏิปทาที่จะให้ถึงอิทธิบาทภาวนาเป็นไฉน ?
[๑๒๓๒]
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมแสดง ฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปตลอด พรหมโลกก็ได้ นี้เรียกว่า อิทธิ.
[๑๒๓๓]
ก็อิทธิบาทเป็นไฉน ? มรรคาอันใด ปฏิปทาอันใด ย่อมเป็นไปเพื่อได้ฤทธิ์เพื่อได้ เฉพาะซึ่งฤทธิ์ นี้เรียกว่า อิทธิบาท.
[๑๒๓๔]
ก็อิทธิบาทภาวนาเป็นไฉน ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบ ด้วย ฉันทสมาธิ และปธานสังขาร ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วย วิริยสมาธิ...จิตตสมาธิ... วิมังสาสมาธิและ ปธานสังขาร นี้เรียกว่า อิทธิบาท ภาวนา.
[๑๒๓๕]
ก็ปฏิปทาที่จะให้ถึงอิทธิบาทภาวนาเป็นไฉน ? อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้เรียกว่า ปฏิปทาที่จะให้ถึงอิทธิบาท ภาวนา.
จบ สูตรที่ ๘
1236
ภิกขุสูตรที่ ๒
ว่าด้วยอิทธิฤทธิ์
[๑๒๓๖]
ครั้งนั้นภิกษุหลายรูปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสถามภิกษุ เหล่านั้น ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อิทธิเป็นไฉน อิทธิบาท เป็นไฉน อิทธิบาทภาวนาเป็นไฉน ปฏิปทาที่จะให้ถึงอิทธิบาทภาวนาเป็นไฉน ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลายของข้าพระองค์ ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ.
[๑๒๓๗]
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อิทธิเป็นไฉน ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมแสดงฤทธิ์ได้ หลายอย่าง คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดถึง พรหมโลกก็ได้ นี้เรียกว่า อิทธิ.
[๑๒๓๘]
ก็อิทธิบาทเป็นไฉน ? มรรคาอันใด ปฏิปทาอันใด ย่อมเป็นไปเพื่อได้ฤทธิ์เพื่อได้ เฉพาะซึ่งฤทธิ์ นี้เรียกว่า อิทธิบาท.
[๑๒๓๙]
ก็อิทธิบาทภาวนาเป็นไฉน ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบ ด้วยฉันทสมาธิ และ ปธานสังขาร ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วย วิริยสมาธ ิ... จิตตสมาธิ... วิมังสาสมาธิและ ปธานสังขาร นี้เรียกว่า อิทธิบาทภาวนา.
[๑๒๔๐]
ก็ปฏิปทาที่จะให้ถึงอิทธิบาทภาวนาเป็นไฉน ? อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘นี้แหละ คือสัมมา ทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้เรียกว่า ปฏิปทาที่จะให้ถึงอิทธิบาท ภาวนา.
จบ สูตรที่ ๙
1241
โมคคัลลานสูตร
สรรเสริญพระโมคคัลลาน 1 ว่ามีฤทธิ์มาก
[๑๒๔๑]
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ภิกษุโมคคัลลานะ มีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีอานุภาพมากอย่างนี้ เพราะ ได้ เจริญ ได้กระทำให้มาก ซึ่งธรรมเหล่าไหน ? ภิกษุทั้ง หลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลายของข้าพระองค์ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ.
[๑๒๔๒]
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุโมคคัลลานะมีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีอานุภาพมาก อย่างนี้ เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ อิทธิบาท ๔ เป็นไฉน ?
ภิกษุโมคคัลลานะย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบด้วยฉันทสมาธิ และปธาน สังขารดังนี้ว่า ฉันทะของเราจัก ไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้อง ประคองเกินไป ไม่หดหู่ในภายในไม่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก และเธอมีความสำคัญ ในเบื้องหลัง และเบื้องหน้าอยู่ว่า เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น เบื้องล่าง ฉันใดเบื้องบน ก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด เบื้องล่างก็ฉันนั้น กลางวันฉันใด กลางคืน ก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น
เธอมีใจเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตใจให้สว่างอยู่ ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบด้วย วิริยสมาธิ... จิตตสมาธิ... วิมังสาสมาธิ และปธานสังขารดังนี้ว่า วิมังสาของเราจักไม่ย่อหย่อน เกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป ฯลฯ เธอมีใจ เปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ โมคคัลลานะ มีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีอานุภาพมากอย่างนี้ เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล.
[๑๒๔๓]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุโมคคัลลานะแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือคนเดียว เป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปตลอด พรหมโลกก็ได้ เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ เหล่านี้.
[๑๒๔๔]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุโมคคัลลานะ ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่ง เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ เหล่านี้.
จบ สูตรที่ ๑๐
1245
ตถาคตสูตร
พระตถาคตมีฤทธิ์มาก
[๑๒๔๕]
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ตถาคตมีฤทธิ์ มาก อย่างนี้ มีอานุภาพมากอย่างนี้ เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งธรรม เหล่าไหน ?
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลายของ ข้าพระองค์ ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ.
[๑๒๔๖]
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตมีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีอานุภาพมากอย่างนี้เพราะ ได้เจริญ ได้กระทำ ให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ อิทธิบาท ๔ เป็นไฉน ? ตถาคตย่อม เจริญอิทธิบาท อันประกอบด้วยฉันทสมาธิ และปธานสังขารดังนี้ว่า ฉันทะ ของเราจักไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป ไม่หดหู่ ในภายใน ไม่ฟุ้งซ่านในภายนอก และตถาคตมีความสำคัญในเบื้องหน้า และ เบื้องหลังอยู่ว่า เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ ฉันนั้นเบื้องบนฉันใด เบื้องล่างก็ฉันนั้น กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น
ตถาคตมีใจเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่ ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบด้วย วิริยสมาธิ... จิตตสมาธิ... วิมังสาสมาธิและปธานสังขารดังนี้ว่า วิมังสาของเราจักไม่ย่อหย่อน เกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป ฯลฯ ตถาคตมีใจ เปิดเผยไม่มี อะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่ ตถาคตมีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีอานุภาพมากอย่างนี้เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล.
[๑๒๔๗]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ตถาคตย่อมแสดงอิทธิฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือคนเดียว เป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปตลอด พรหมโลกก็ได้ เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ เหล่านี้.
[๑๒๔๘]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ตถาคตย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มาก ซึ่งอิทธิบาท ๔ เหล่านี้.
(พึงให้อภิญญาทั้ง ๖ พิสดาร)
จบ สูตรที่ ๑๑
1249
คังคาทิเปยยาล แห่งอิทธิบาทสังยุตที่ ๔
ว่าด้วยผลแห่งอิทธิบาท ๔
[๑๒๔๙]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่นํ้าคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีนบ่าไปสู่ ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุผู้เจริญอิทธิบาท ๔ กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่ นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือน กัน.
[๑๒๕๐]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเจริญอิทธิบาท ๔ กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ อย่างไรเล่า จึงเป็นผู้น้อม ไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทอัน ประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธาน สังขาร ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบด้วยวิริยสมาธิ... จิตตสมาธิ... วิมังสา สมาธิและปธานสังขารภิกษุเจริญอิทธิบาท ๔ กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน.1 (พึงขยายความบาลีในอิทธิบาท จนกระทั่งถึงความแสวงหา)
[๑๒๕๑]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เหล่านี้ สังโยชน์อันเป็นส่วน เบื้องบน ๕ เป็นไฉน ? คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชาสังโยชน์ อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เหล่านี้แล.
[๑๒๕๒]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอิทธิบาท ๔ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความ สิ้นไป เพื่อละ สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เหล่านี้แล อิทธิบาท ๔ เป็นไฉน ?ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญ อิทธิบาทอันประกอบด้วย ฉันทสมาธิและปธาน สังขาร ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วย วิริยสมาธิ... จิตตสมาธิ... วิมังสา สมาธิ และปธานสังขาร
ภิกษุพึงเจริญอิทธิบาท ๔ เหล่านี้ เพิ้อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไปเพื่อละ สังโยชน์อันเป็น ส่วนเบื้องบน ๕ เหล่านี้แล. (คังคาเปยยาลเหมือนกับมรรค สังยุต ที่ข้าพเจ้าให้พิสดารแล้ว พึงขยายความบาลีในอิทธิบาท จนกระทั่ง ถึงความแสวงหา)
จบ อิทธิบาทสังยุต |