เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม

หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ            

  หนังสือ พุทธวจน   ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
  11 of 13  
 
  หนังสือ พุทธวจน  ที่มา : http://watnapp.com/book  
       
    สารบัญ ข้อ  
       
  เวฬุทวารวรรคที่ ๑    
  ราชาสูตร คุณธรรมของพระอริยสาวก 1411  
  โอคธสูตร องค์คุณของพระโสดาบัน 1414  
  ฑีฆาวุสูตร องค์ธรรมเครื่องบรรลุโสดา 1416  
  สาริปุตตสูตรที่ ๑ เป็นพระโสดาบันเพราะมีธรรม ๔ ประการ 1425  
  สาริปุตตสูตรที่ ๒ ว่าด้วยองค์ธรรมเครื่องบรรลุโสดา 1427  
  ถปติสูตร ว่าด้วยช่างไม้นามว่าอิสิทัตตะ 1434  
  เวฬุทวารสูตร ว่าด้วยธรรมปริยายอันควรน้อมเข้ามาในตน 1454  
  คิญชกาวสถสูตรที่ ๑ ว่าด้วยธรรมปริยายชื่อธรรมาทาส 1469  
  คิญชกาวสถสูตรที่ ๒ ว่าด้วยธรรมปริยายชื่อธรรมาทาส 1473  
  คิญชกาวสถสูตรที่ ๓ ว่าด้วยธรรมปริยายชื่อธรรมาทาส 1476  
       
  ราชการามวรรคที่ ๒    
  สหัสสสูตร องค์คุณของพระโสดาบัน 1481  
  พราหมณสูตร ว่าด้วยอุทยคามินีปฏิปทา 1482  
  อานันทสูตร ละธรรม ๔ ประกอบธรรม ๔ เป็นพระโสดาบัน 1485  
  ทุคติสูตรที่ ๑ มีธรรม ๔ ประการพ้นทุคติ 1491  
  ทุคติสูตรที่ ๒ มีธรรม ๔ ประการ พ้นทุคติและวินิบาต 1492  
  มิตตามัจจสูตรที่ ๑ องค์ธรรมเครื่องบรรลุโสดา ๔ ประการ 1493  
  มิตตามัจจสูตรที่ ๒ องค์ธรรมเครื่องบรรลุโสดา ๔ ประการ 1494  
  เทวจาริกสูตรที่ ๑ ข้อปฏิบัติให้เข้าถึงสุคติ 1498  
  เทวจาริกสูตรที่ ๒ ข้อปฏิบัติให้เข้าถึงสุคติ 1501  
  เทวจาริกสูตรที่ ๓ องค์คุณของพระโสดาบัน 1504  
       
  สรกานิวรรคที่ ๓    
  มหานามสูตรที่ ๑ ว่าด้วยกาลกิริยาอันไม่เลวทราม 1507  
 


   
       
 
 




เวฬุทวารวรรคที่ ๑

1411

ราชาสูตร
คุณธรรมของพระอริยสาวก
[๑๔๑๑]
พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิเสวยราชสมบัติ เป็นอิสราธิบดีในทวีปทั้ง ๔สวรรคตแล้ว ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ คือ ได้เป็นสหายของพวกเทพชั้นดาวดึงส์ ท้าวเธอแวดล้อมไปด้วยหมู่นางอัปสร เอิบอิ่ม พรั่งพร้อมบำเรออยู่ด้วยกามคุณ ๕อันเป็นทิพย์ ณ สวนนันทวัน ในดาวดึงส 1 พิภพนั้น ท้าวเธอประกอบด้วยธรรม๔ ประการก็จริง ถึงอย่างนั้น ท้าวเธอก็ยังไม่พ้นจากนรก จากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานจากปิตติวิสัย และจากอบาย ทุคติ วินิบาต.

[๑๔๑๒]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกเยียวยาอัตภาพอยู่ด้วยคำข้าวที่แสวงหา มาด้วยปลีแข้งนุ่งห่มแม้ผ้าที่เศร้าหมอง เธอประกอบด้วย ธรรม ๔ ประการก็จริง ถึงอย่างนั้น เธอก็พ้นจากนรก จากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน จากปิตติวิสัย และจากอบาย ทุคติ วินิบาตธรรม ๔ ประการเป็นไฉน ?

อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้วทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า

พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว อันผู้ได้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามา อันวิญญูชนพึง รู้เฉพาะตน ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค ปฏิบัติดีแล้ว ปฏิบัติตรง ปฏิบัติเป็นธรรม ปฏิบัติสมควร คือคู่แห่งบุรุษ ๔ บุรุษบุคคล ๘

นี่พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค ผู้ควรของคำนับควรของต้อนรับ ควรของทำบุญ ควรทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่าประกอบด้วยศีล ที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทวิญญชน 1 สรรเสริญ อันตัณหาและทิฏฐิไม่ลูบคลำแล้ว เป็นไปเพื่อสมาธิ อริยสาวกย่อมประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเหล่านี้.

[๑๔๑๓]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย การได้ทวีปทั้ง ๔ กับการได้ธรรม ๔ ประการ การได้ทวีปทั้ง ๔ย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ ซึ่งจำแนกออกไปแล้ว ๑๖ หน ของการได้ธรรม ๔ ประการ.
จบ สูตรที่ ๑

1414

โอคธสูตร
องค์คุณของพระโสดาบัน
[๑๔๑๔]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกตํ่าเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะ ตรัสรู้ในกาลเบื้องหน้าธรรม ๔ ประการเป็นไฉน ? อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้า ฯลฯ ในพระธรรม ฯลฯ ในพระสงฆ์ ฯลฯ ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ฯลฯ อริยสาวกผู้ประกอบ ด้วยธรรม ๔ ประการเหล่านี้แลเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกตํ่าเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า ครั้นพระผู้มี พระภาคผู้สุคตศาสดา ได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้ จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า

[๑๔๑๕]
ศรัทธา ศีล ความเลื่อมใสและการเห็นธรรมมีอยู่แก่ผู้ใดผู้นั้นแล ย่อมบรรลุความสุข อันหยั่งลงในพรหมจรรย์ ตามกาล.
จบ สูตรที่ ๒

1416

ฑีฆาวุสูตร
องค์ธรรมเครื่องบรรลุโสดา
[๑๔๑๖]
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลันทกนิวาปนสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ก็สมัยนั้น ฑีฆาวุอุบาสกป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ได้เชิญคฤหบดีชื่อโชติยะ ผู้เป็นบิดามาสั่งว่า ข้าแต่คฤหบดีขอท่านจงไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค แล้วถวายบังคมพระบาททั้งสอง ของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า แล้วกราบทูลตามคำของผมว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ฑีฆาวุอุบาสกป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก เขาถวายบังคมพระบาททั้งสอง ของพระผู้มีพระภาค ด้วยเศียรเกล้า และจงกราบทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาค จงทรงพระกรุณาเสด็จไปยังนิเวศน์ของ ฑีฆาวุอุบาสก โชติยคฤหบดีรับคำฑีฆาวุอุบาสกแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง.

[๑๔๑๗]
ครั้นแล้ว โชติยคฤหบดีได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ฑีฆาวุอุบาสกป่วย ได้รับทุกข์เป็นไข้หนัก เขาถวายบังคมพระบาททั้งสอง ของพระผู้มีพระภาค ด้วยเศียรเกล้า และเขากราบทูลมาอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงพระกรุณา เสด็จไปยังนิเวศน์ ของฑีฆาวุอุบาสกพระผู้มีพระภาค ทรงรับด้วย ดุษณีภาพ.

[๑๔๑๘]
ครงั้ นนั้ พระผูม้ พี ระภาคทรงนุง่ แลว้ ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเขา้ ไปยังนิเวศนข์ องฑีฆาวุอบุ าสก ประทับนงั่ บนอาสนะที่เขาปูลาดไว้ แล้วได้ตรัสถามฑีฆาวุอุบาสกว่า ดูกรฑีฆาวุอุบาสก ท่านพอจะอดทนได้หรือ พอยังอัตภาพให้เป็น ไปได้ละหรือ

ทุกขเวทนาทุเลาลง ไม่กำเริบขึ้นแลหรือ ความทุเลา ย่อมปรากฏ ความกำเริบไม่ปรากฏแลหรือฑีฆาวุ อุบาสกกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผเจริญเจริญ ข้าพระองค์อดทนไม่ได้ เยียวยาอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้ ทุกขเวทนาของพระองค์กำเริบหนัก ไม่ทุเลาลงเลย ความกำเริบย่อมปรากฏ ความทุเลาย่อมไม่ปรากฏ.

[๑๔๑๙]
พ. ดูกรฑีฆาวุ เพราะเหตุนั้นแหละ ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักเป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ฯลฯ ในพระธรรม ฯลฯ ในพระสงฆ์ ฯลฯจักเป็นผู้ประกอบด้วยศีล ที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ ดูกรฑีฆาวุท่าน พึงศึกษาอย่างนี้แหละ.

 [๑๔๒๐]
ที. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ องค์แห่งธรรมเป็นเครื่องบรรลุโสดา ๔ เหล่าใด ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว ธรรมเหล่านั้น มีอยู่ในข้าพระองค์ และข้าพระองค์ก็เห็นชัดในธรรมเหล่านั้น ข้าพระองค์ ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวใน พระพุทธเจ้า ฯลฯ ในพระธรรม ฯลฯ ในพระสงฆ์ ฯลฯ ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ.

พ. ดูกรทีฆาวุ เพราะฉะนนั้ แหละ ท่านพึงตั้งอยู่ในองค์แหง่ ธรรมเป็น เครื่องบรรลุโสดา ๔ เหล่านี้แล้ว พึงเจริญธรรมอันเป็นไป ในส่วนแห่งวิชชา ๖ ประการ ให้ยิ่งขึ้นไป.

[๑๔๒๑]

ดูกรทีฆาวุ ท่านจงพิจารณาเห็นในสังขารทั้งปวงว่าเป็นของไม่เที่ยง มีความสำคัญในสิ่งที่ไม่เที่ยง ว่าเป็นทุกข์ มีความสำคัญ ในสิ่งที่เป็นทุกข์ ว่าเป็นอนัตตา มีความสำคัญในการละ มีความสำคัญใน ความคลายกำหนัด มีความสำคัญในการดับ ดูกรฑีฆาวุท่านพึงศึกษาอย่างนี้แล.

[๑๔๒๒]
ที. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมอันเป็นไปในส่วนแห่งวิชชา ๖ ประการ เหล่าใด ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง แล้ว ธรรมเหล่านั้น มีอยู่ในข้าพระองค์ และข้าพระองค์ก็เห็นชัดในธรรมเหล่านั้น ข้าพระองค์พิจารณา เห็นในสังขารทั้งปวง ว่าเป็นของไม่เที่ยง มีความสำคัญในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่า เป็นทุกข์... มีความสำคัญ ในความดับ

อีกอย่างหนึ่ง ข้าพระองค์มีความคิดอย่างนี้ว่า โชติยคฤหบดีนี้ อย่าได้ถึงความทุกข์โดยล่วงไปแห่ง ข้าพระองค์เลย โชติยคฤหบดี ได้กล่าวว่า พ่อทีฆาวุพ่ออย่าได้ใส่ใจถึงเรื่องนี้เลย พ่อทีฆาวุ จงใส่ใจพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคตรัสแก่ท่านให้ดีเถิด.

[๑๔๒๓]
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสสอนทีฆาวุอุบาสก ด้วยพระโอวาทนี้แล้ว เสด็จลุกจากอาสนะแล้วหลีกไป เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จไป แล้วไม่นาน ทีฆาวุอุบาสกกระทำกาละแล้ว.

[๑๔๒๔]
ครั้งนั้น ภิกษุมากรูปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทีฆาวุอุบาสกที่พระผู้มี พระภาคตรัสสอนด้วยพระโอวาท โดยย่อกระทำกาละแล้ว คติของเขาเป็นอย่างไร อภิสัมปรายภพของเขา เป็นอย่างไร ? พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทีฆาวุอุบาสก เป็นบัณฑิต มีปกติพูดจริง ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม และไม่ยังตนให้ ลำบาก เพราะมีธรรมเป็นเหตุ ทีฆาวุอุบาสกเป็นอุปปาติกะจักปรินิพพานในภพที่เกิดนั้น มีอันไม่กลับมาจาก โลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะสังโยชน์ เบื้องตํ่า ๕ สิ้นไป.
จบ สูตรที่ ๓

1425

สาริปุตตสูตรที่ ๑
เป็นพระโสดาบันเพราะมีธรรม ๔ ประการ
[๑๔๒๕]
สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรกับท่านพระอานนท์อยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้น เวลาเย็น ท่านพระอานนท์ ออกจากที่เร้นเข้าไปหาท่านพระสารีบุตร ถึงที่อยู่แล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า

ดูกรท่านสารีบุตร เพราะเหตุที่ประกอบด้วยธรรมเท่าไร หมู่สัตว์นี้พระผู้มีพระภาคจึงจะทรงพยากรณ์ว่า เป็นพระโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า ?

[๑๔๒๖]
ท่านพระสารีบุตรตอบว่าดูกรผู้มีอายุ เพราะเหตุที่ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ หมูสัตว์นี้พระผู้มีพระภาค จึงจะทรงพยากรณ์ว่า เป็นพระโสดาบัน มีอันไม่ตกตํ่าเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน ?

อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ฯลฯ ในพระธรรม ฯลฯในพระสงฆ์ ฯลฯ ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิเพราะเหตุที่ประกอบ ด้วยธรรม ๔ ประการเหล่านี้แล หมู่สัตว์นี้พระผู้มีพระภาคจึงจะทรงพยากรณ์ว่า เป็นโสดาบัน มีอันไม่ตกตํ่า เป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.
จบ สูตรที่ ๔

1427

สาริปุตตสูตรที่ ๒
ว่าด้วยองค์ธรรมเครื่องบรรลุโสดา
[๑๔๒๗]
ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้น แล้วพระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระสารีบุตรว่า ดูกรสารีบุตร ที่เรียกว่า โสตาปัตติยังคะๆ 1 ดังนี้ โสตาปัตติยังคะนั้นเป็นไฉน ?

[๑๔๒๘]
ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โสตาปัตติยังคะ คือ สัปปุริสสังเสวะการคบสัตบุรุษ ๑ สัทธรรมสวนะ ฟังคำสั่งสอนของท่าน ๑ โยนิโสมนสิการ กระทำไว้ในใจโดยอุบายที่ชอบ ๑ ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑.

[๑๔๒๙]
พ. ถูกละๆ สารีบุตร โสตาปัตติยังคะ คือ สัปปุริสสังเสวะ ๑ สัทธรรมสวนะ ๑โยนิโสมนสิการ ๑ ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ ๑.

[๑๔๓๐]
ดูกรสารีบุตร ก็ที่เรียกว่า ธรรมเพียงดังกระแสๆ ดังนี้ ก็ธรรมเพียงดังกระแสเป็นไฉน ? ท่านพระสารีบุตร กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล คือสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ชื่อว่า ธรรมเพียงดังกระแส.

[๑๔๓๑]
พ. ถูกละๆ สารีบุตร อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯสัมมาสมาธิ ชื่อว่า ธรรมเพียง ดังกระแส.

[๑๔๓๒]
ดูกรสารีบุตร ที่เรียกว่า โสดาบันๆ ดังนี้ โสดาบันเป็นไฉน ?สา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ผู้ใดประกอบด้วย อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ผู้นี้เรียกว่าพระโสดาบัน ท่านผู้นี้นั้น มีนามอย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้.
[๑๔๓๓]
พ. ถูกละๆ สารีบุตร ผู้ซึ่งประกอบด้วยอริยมรรค ๘ นี้ เรียกว่าโสดาบันท่านผู้นี้นั้น มีนามอย่างนี้.
จบ สูตรที่ ๕

1434

ถปติสูตร
ว่าด้วยช่างไม้นามว่าอิสิทัตตะ
[๑๔๓๔]
สาวัตถีนิทาน. ก็สมัยนั้น ภิกษุมากรูปกระทำจีวรกรรมของพระผู้มีพระภาคด้วยคิดว่า พระผู้มีพระภาคมีจีวร สำเร็จแล้ว จักเสด็จจาริกไป โดยล่วงสามเดือน.

[๑๔๓๕]
ก็สมัยนั้น พวกช่างไม้ผู้เคยเป็นพระสกทาคามีนามว่า อิสิทัตตะ อยู่อาศัยในหมู่บ้านส่วย ด้วยกรณียกิจ บางอย่างพวกเขาได้ฟัง ขาวว่า ภิกษุมากรูปกระทำจีวรกรรม ของพระผู้มีพระภาคด้วยคิดว่า พระผู้มีพระภาค มีจีวรสำเร็จแล้ว จักเสด็จจาริกไป โดยล่วง สามเดือน จึงวางบุรุษไว้ในหนทางโดยสั่งว่า

ดูกรผู้บุรุษผู้เจริญ ท่านเห็นพระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จมาในเวลาใด พึงบอกพวกเรา ในเวลานั้น บุรุษนั้นอยู่มาได้ ๒-๓ วันได้เห็นพระผู้มีพระภาคเสด็จมาแต่ไกล จึงเข้าไปหาพวกช่างไม้แล้ว ได้บอกว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า กำลังเสด็จมาขอท่านทั้งหลาย จงทราบกาลอันควรในบัดนี้เถิด.

[๑๔๓๖]
ครั้งนั้น พวกช่างไม้ผู้เคยเป็นพระสกทาคา มีนามว่าอิสิทัตตะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคมพระผู้มี พระภาคแล้ว เดินตามพระผู้มีพระภาคไปข้างพระปฤษฎางค์ พระผู้มีพระภาคทรงแวะจากหนทาง เสด็จเข้าไปยังโคนไม้แห่งหนึ่ง แล้วประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดถวาย พวกช่างไม้ถวายบังคมพระผู้มี พระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลว่า.

 [๑๔๓๗]
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เวลาใด ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ฟังข่าวพระผู้มีพระภาคว่า จักเสด็จจาริก จากพระนคร สาวัตถีไปในโกศล ชนบท เวลานั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความเสียใจ น้อยใจว่า พระผู้มีพระภาค จักเสด็จห่างเราทั้งหลายไปเวลาใด ได้ฟังข่าวพระผู้มีพระภาคว่า เสด็จจาริกจาก นครสาวัตถีไปในโกศล ชนบทแล้ว เวลานั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความเสียใจ น้อยใจว่า พระผู้มีพระภาคเสด็จห่างจากเราไปแล้ว.

[๑๔๓๘]
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เวลาใด ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ฟังข่าวพระผู้มีพระภาคว่า จักเสด็จจาริกจาก โกศลชนบทไปยังแค้วน มัลละ เวลานั้นข้าพระองค์ทั้งหลายมีความเสียใจ น้อยใจว่าพระผู้มีพระภาค จักเสด็จห่างเราทั้งหลายไปเวลาใด ได้ฟังข่าวพระผู้มีพระภาคว่า เสด็จจากโกศลชนบทไปแคว้นมัลละแล้ว เวลานั้น ข้าพระองค์ทั้งหลาย มีความเสียใจน้อยใจว่า พระผู้มีพระภาคเสด็จห่างเราทั้งหลายไปแล้ว.

[๑๔๓๙]
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เวลาใด ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ฟังข่าว พระผู้มีพระภาคว่า จักเสด็จจากแคว้นมัลละ ไปยังแคว้นวัชชี เวลานั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความเสียใจ น้อยใจว่า พระผู้มีพระภาคจักเสด็จห่างเรา ทั้งหลายไปเวลาใด ได้ฟังข่าวพระผู้มี พระภาคว่า เสด็จจาริกจากแคว้นมัลละไปยังแคว้นวัชชีแล้ว เวลานั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความเสียใจ น้อยใจว่า พระผู้มี พระภาคเสด็จห่างเราทั้งหลายไปแล้ว.

[๑๔๔๐]
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เวลาใด ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ฟังข่าวพระผู้มีพระภาคว่า จักเสด็จจาริกจาก แคว้นวัชชีไปยังแคว้นกาสี เวลานั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความเสียใจ น้อยใจว่า พระผู้มีพระภาค จักเสด็จห่างเราทั้งหลายไปเวลาใด ได้ฟังข่าวพระผู้มี พระภาคว่า เสด็จจาริกจากแคว้นวัชชีไปยังแคว้น กาสีแล้ว เวลานั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความเสียใจ น้อยใจว่าพระผู้มีพระภาค เสด็จห่างเราทั้งหลาย ไปแล้ว.

[๑๔๔๑]
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เวลาใด ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ฟังข่าว พระผู้มีพระภาคว่า จักเสด็จจาริกจากแคว้น กาสี ไปในแคว้นมคธ เวลานั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความเสียใจ น้อยใจว่า พระผู้มีพระภาคจักเสด็จ ห่างเราทั้งหลายไปเวลาใด ได้ฟังข่าวพระผู้มี พระภาคว่า เสด็จจาริกจากแคว้นกาสีไปในแคว้นมคธแล้ว เวลานั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความเสียใจ น้อยใจเป็นอันมากว่า พระผู้มีพระภาคเสด็จห่างเราทั้งหลาย ไปแล้ว.

 [๑๔๔๒]
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เวลาใด ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ฟังข่าวพระผู้มีพระภาคว่า จักเสด็จจาริกจากแคว้น มคธมายังแคว้นกาสี เวลานั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความดีใจ ปลื้มใจว่า พระผู้มีพระภาคจักใกล้เรา ทั้งหลาย เข้ามาเวลาใด ได้ฟังข่าวพระผู้มี พระภาคว่า เสด็จจาริกจากแคว้นมคธมายังแคว้นกาสีแล้ว เวลานั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความดีใจ ปลื้มใจว่า พระผู้มีพระภาค ใกล้เราทั้งหลายเข้ามาแล้ว.

[๑๔๔๓]
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เวลาใด ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ฟังข่าวพระผู้มีพระภาคว่า จักเสด็จจากแคว้นกาสี มายังแคว้นวัชชี เวลานั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความดีใจ ปลื้มใจว่า พระผู้มีพระภาคจักใกล้เราทั้งหลาย เข้ามา เวลาใดได้ฟังข่าวพระผู้มีพระภาค ว่า เสด็จจาริกจากแคว้นกาส ีมายังแคว้นวัชชีแล้ว เวลานั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความดีใจปลื้มใจว่า พระผู้มีพระภาคใกล้เรา ทั้งหลายเข้ามาแล้ว.

[๑๔๔๔]
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เวลาใด ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ฟังข่าวพระผู้มีพระภาคว่า จักเสด็จจาริกจาก แคว้นวัชชีมายังแคว้นมัลละ เวลานั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความดีใจ ปลื้มใจว่า พระผู้มีพระภาคจักใกล้เรา ทั้งหลายเข้ามาเวลาใด ข้าพระองค์ทั้งหลาย ได้ฟังข่าวพระผู้มีพระภาคว่า เสด็จจาริกจากแคว้นวัชชีมา ยังแคว้นมัลละแล้ว เวลานั้นข้าพระองค์ทั้งหลายมีความดีใจ ปลื้มใจว่า พระผู้มีพระภาคใกล้เรางหลาย เข้ามาแล้ว.

[๑๔๔๕]
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เวลาใด ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ฟังข่าวพระผู้มีพระภาคว่า จักเสด็จจากแคว้นมัลละ มายังแคว้นโกศล เวลานั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความดีใจ ปลื้มใจว่า พระผู้มีพระภาคจักใกล้เราทั้งหลาย เข้ามา เวลาใดข้าพระองค์ทั้งหลายได้ฟัง ข่าวพระผู้มีพระภาคว่า เสด็จจาริกจากแคว้นมัลละมายังแคว้น โกศลแล้ว เวลานั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความดีใจ ปลื้มใจว่า พระผู้มีพระภาคใกล้เราทั้งหลายเข้ามาแล้ว.

[๑๔๔๖]
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เวลาใด ข้าพระองค์ทั้งหลาย ได้ฟังข่าวพระผู้มีพระภาคว่า จักเสด็จจาริกจากแคว้น โกศลมายังพระนคร สาวัตถี เวลานั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความดีใจ ปลื้มใจว่า พระผู้มีพระภาคจักเข้ามา ใกล้เราทั้งหลายเวลาใด ข้าพระองค์ ทั้งหลาย ได้ฟังข่าวพระผู้มีพระภาคว่า ประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก-เศรษฐีใกล้พระนครสาวัตถี เวลานั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความดีใจ ปลื้มใจเป็น อันมากว่าพระผู้มีพระภาคเข้ามาใกล้เราแล้ว .

 [๑๔๔๗]
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรช่างไม้ทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ ฆราวาสคับแคบเป็นทางมาแห่งธุลีบรรพชา ปลอดโปร่ง ท่านทั้งหลายควรไม่ประมาท.

[๑๔๔๘]
ถ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความคับแคบอย่างอื่นที่เป็นความคับแคบกว่า และที่นับว่าเป็นความคับแค บยิ่งกว่า ความคับแคบนี้ มีอยู่หรือหนอ ? พ. ดูกรช่างไม้ทั้งหลาย ก็ความคับแคบอย่างอื่นที่เป็นความ คับแคบกว่าและที่นับว่าเป็นความคับแคบ ยิ่งกว่าความคับแคบนี้เป็นไฉน ?

[๑๔๔๙]
ถ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส เมื่อใดพระเจ้าปเสนทิโกศล มีพระราชประสงค์ จะเสด็จ ออกไปยังพระราชอุทยาน เมื่อนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายต้องกำหนดช้าง ที่ขึ้นทรงของพระเจ้าปเสนทิโกศล แล้วให้พระชายาซึ่งเป็นที่โปรดปราน เป็นที่พอพระราชหฤทัย ของพระเจ้าปเสนทิโกศล ประทับข้างหน้า พระองค์หนึ่ง

ข้างหลังพระองค์หนึ่ง กลิ่นของพระชายาเหล่านนั้ เป็นอย่างนี้ คือเหมือนกลิ่นของนางราชกัญญา ผู้ปะพรมด้วยของหอม ดังขวดน้ำหอมที่เขาเปิดในขณะนั้น กายสัมผัสของพระชายาเหล่านั้นเป็นอย่างนี้ คือ เหมือนกายสัมผัส ของนางราชกัญญา ผู้ดำรงอยู่ด้วยความสุขดังปุยนุ่น หรือปุยฝ้าย ก็ในสมัยนั้น แม้ช้างข้า พระองค์ทั้งหลายก็ต้องระวัง แม้พระชายาทั้งหลาย ข้าพระองค์ ทั้งหลาย ก็ต้องระวัง แม้พระเจ้า ปเสนทิโกศลเล่า ข้าพระองค์ทั้งหลายก็ต้องระวัง.

[๑๔๕๐]
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่รู้สึกว่า จิตอันลามกบังเกิดขึ้น ในพระชายาเหล่านั้นเลย ข้อนี้แลคือความคับแคบ อย่างอื่นที่เป็นความคับแคบกว่า และที่นับว่าเป็นความคับแคบยิ่งกว่า ความคับแคบนี้.

[๑๔๕๑]
พ. ดูกรช่างไม้ทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ ฆราวาสจึงคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลีบรรพชาปลอดโปร่ง ท่านทั้งหลายควร ไม่ประมาท.

 [๑๔๕๒]
ดูกรช่างไม้ทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกตํ่าเป็น ธรรมดา เป็นผู้เที่ยงจะ ตรัสรู้ในเบื้องหน้าธรรม ๔ ประการเป็นไฉน ? อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วย ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์น้้น ฯลฯ ในพระธรรม ฯลฯ ในพระสงฆ์ ฯลฯ

มีใจปราศจากความ ตระหนี่อันเป็นมลทินมีจาคะอันปล่อยแล้ว มีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการจำแนก ทาน อยู่ครองเรือน ดูกรช่างไม้ทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเหล่านี้ แล ย่อมเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ ตกตํ่าเป็นธรรมดาเป็นผู้เที่ยง ที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

[๑๔๕๓]
ดูกรช่างไม้ทั้งหลายท่านทั้งหลายประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ฯลฯ ในพระธรรม ฯลฯ ในพระสงฆ์ ฯลฯ ก็ไทยธรรมสิ่งหนึ่งสิ่งใดมีอยู่ในตระกูล ท่านทั้งหลายเฉลี่ยไทยธรรม นั้นทั้งหมด กับผู้มีศีลมีกัลยาณธรรมท่านทั้งหลาย จะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ?

เหมือนว่า พวกมนุษย์ในแคว้นโกศลมีเท่าไรท่านทั้งหลายก็เฉลี่ยแบ่งปันให้เท่าๆ กัน.

ถ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เป็นลาภของข้าพระองค์งหลาย ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ดีแล้ว ที่พระผู้มีพระภาค ทรงทราบ พฤติการณ์ อย่างนี้ของข้าพระองค์ทั้งหลาย.
จบ สูตรที่ ๖

1454

เวฬุทวารสูตร
ว่าด้วยธรรมปริยายอันควรน้อมเข้ามาในตน
[๑๔๕๔]
ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค เสด็จเที่ยวจาริกไปในโกศลชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เป็นอันมาก เสด็จถึง พราหมณคามของชาว โกศลชื่อเวฬุทวาระ

[๑๔๕๕]
พราหมณ์และคฤหบดีชาวเวฬุทวาระได้สดับข่าวว่า พระสมณโคดม ผู้เป็นโอรสของเจ้าศากยะ เสด็จออก ผนวชจากศากยสกุล เสด็จเที่ยวจาริกไปในโกศลชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เป็นอันมาก เสด็จถึงเวฬุทวาร คามแล้ว ก็กิตติศัพท์อันงามของท่าน พระโคดมพระองค์นั้น ขจรไปอย่างนี้ว่า

แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชา และจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษ ที่ควรฝึกอย่างไม่มีผู้อื่น ยิ่งกว่าเป็นศาสดาของ เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรมพระสมณโคดมพระองค์นั้น

ทรงกระทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลกให้แจ้งชัด ด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์แล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ให้รู้ตาม พระองค์ทรงแสดงธรรมอันงาม ในเบื้องต้นงามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง ก็การได้เห็นพระอรหันต์ เห็นปานนั้นเป็นความดี.

[๑๔๕๖]
ครั้งนั้น พราหมณ์และคฤหบดีชาวเวฬุทวารคาม ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ บางพวกถวาย บังคมพระผู้มีพระภาค บางพวกได้ปราศรัยกับ พระผู้มีพระภาค บางพวกประนมอัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาค บางพวกประกาศชื่อ และโคตรในสำนัก พระผู้มีพระภาค แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า

[๑๔๕๗]
ข้าแต่พระโคดม ข้าพระองค์ทั้งหลาย มีความปรารถนา มีความพอใจ มีความประสงค์อย่างนี้ๆ ว่า ขอเราทั้งหลายพึงแออัด ไปด้วยบุตรอยู่ครองเรือน พึงลูบไล้จันทน์ที่เขานำมาแต่แคว้นกาสี พึงทัดทรง มาลา ของหอม และเครื่องลูบไล้พึงยินดี ทองและเงิน เมื่อแตกกายตายไป พึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ข้าพระองค์ทั้งหลาย จะพึงแออัดไปด้วยบุตรอยู่ครองเรือน...

เมื่อแตกกายตายไป พึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ด้วยประการใด ขอท่านพระโคดม โปรดทรงแสดงธรรม ด้วยประการนั้น แก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย ผู้มีความปรารถนา ผู้มีความพอใจ ผู้มีความประสงค์อย่างนั้นๆ เถิด.

 [๑๔๕๘]
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมปริยาย อันควรน้อมเข้ามา ในตน แก่ท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงฟังธรรมปริยายนั้น จงใส่ใจให้ดีเราจักกล่าว พราหมณ์ และคฤหบดีชาวเวฬุทวารคามทูลรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า

[๑๔๕๙]
ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ธรรมปริยายที่ควรน้อมเข้ามาในตนเป็นไฉน ? อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็น ดังนี้ว่าเราอยากเป็นอยู่ ไม่อยากตาย รักสุขเกลียดทุกข์ ผู้ใดจะปลงเราผู้อยากเป็นอยู่ ไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์ เสียจากชีวิตข้อนั้น ไม่เป็นที่รัก ที่ชอบใจของเรา

อนึ่งเราพึงปลงคนอื่นผู้อยากเป็นอยู่ ไม่อยากตายรักสุข เกลียดทุกข์ เสียจากชีวิต ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รัก ที่ชอบใจ แม้ของคนอื่น ธรรมข้อใดไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา ธรรมข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจ แม้ข้องผู้อื่น ธรรมข้อใดไม่เป็นที่รัก ที่ชอบใจของเรา เราจะพึงประกอบผู้อื่นไว้ด้วยธรรมข้อนั้นอย่างไร ?

อริยสาวกนั้น พิจารณาเห็นดังนั้นแล้ว ตนเองย่อมงดเว้นจากปาณาติบาตด้วย ชักชวน ผู้อื่นเพื่องดเว้นจาก ปาณาติบาตด้วย กล่าวสรรเสริญคุณแห่ง การงดเว้น ปาณาติบาตด้วยกายสมาจารของอริยสาวกนั้น ย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสามอย่างนี้.

[๑๔๖๐]
ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ผู้ใดพึงถือเอา สิ่งของที่เรามิได้ให้ ด้วยอาการขโมย ข้อนั้นไม่เป็นที่รักที่ชอบ 1 ของเราอนึ่ง เราพึงถือเอาสิ่งของที่ผู้อื่น มิได้ให้ด้วยอาการขโมย ข้อนั้นก็ไม่เป็น ที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น

ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา ธรรมข้อนั้น ก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น เช่นกัน ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจ ของเรา เราจะพึงประกอบผู้อื่น ไว้ด้วยธรรมข้อนั้นอย่างไร ?

อริยสาวกนั้น พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ตนเองย่อมงดเวน้จากอทินนาทานด้วย ชักชวนผู้อื่น เพื่อ ให้งดเว้น จากอทินนาทานด้วย กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นจากอทินนาทานด้วย กายสมาจารของอริยสาวกนั้น ย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสามอย่างนี้.

[๑๔๖๑]
ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่าผู้ใดถึงความประพฤติ (ผิด) ในภริยาของ เรา ข้อนั้นไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเราอนึ่ง เราพึงถึงความประพฤติ (ผิด) ในภริยาของ ผู้อื่น ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจ แม้ของคนอื่น

ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา ธรรมข้อนั้น ก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่นเช่นกัน ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจ ของเรา เราจะพึงประกอบผู้อื่นไว้ด้วยธรรมข้อนั้นอย่างไร ?

อริยสาวกนั้น พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ตนเองย่อมงดเว้นจากกาเมสุมจิฉาจารด้วย ชักชวนผู้อื่น เพื่อให้งดเว้น จากกาเมสุมิจฉาจาร ด้วยกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจารด้วย กายสมาจารของ อริยสาวกนั้นย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสามอย่างนี้.

[๑๔๖๒]
ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ผู้ใดพึงทำลาย ประโยชน์ของเรา ด้วยการกล่าวเท็จ ข้อนั้นไม่เป็นที่รักใคร่ชอบใจ 1 ของเรา

อนึ่ง เราพึงทำลายประโยชน์ของคนอื่นด้วยการกล่าวเท็จ ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ ชอบใจของเรา ธรรมข้อนั้น ก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา เราจะพึงประกอบผู้อื่นไว้ ด้วยธรรมข้อนั้นอย่างไร ?

อริยสาวกนั้น พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ตนเองย่อมงดเว้นจากมุสาวาทด้วย ชักชวนผู้อื่นเพื่อให้งดเว้น จากมุสาวาทด้วย กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นจากมุสาวาทด้วย วจีสมาจารของอริยสาวกนั้น ย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสามอย่างนี้.
[๑๔๖๓]
ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ผู้ใดพึงยุยงให้เรา แตกจากมิตร ด้วยคำส่อเสียด ข้อนั้นไม่เป็น ที่รักที่ชอบใจของเราอนึ่ง เราพึงยุยงผู้อื่นให้แตกจากมิตร ด้วยคำส่อเสียด ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รัก ที่ชอบใจแม้ของคนอื่น

ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา ธรรมข้อนั้น ก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของคนอื่น ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา เราจะพึงประกอบผู้อื่นไว้ด้วยธรรมข้อนั้น อย่างไร ?

อริยสาวกนั้น พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ตนเองย่อม งดเว้นจากปิสุณาวาจาด้วย ชักชวนผู้อื่นเพื่อให้เว้นจาก ปิสุณาวาจาด้วย กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นจากปิสุณาวาจาด้วย วจีสมาจารของอริยสาวกนั้นย่อม บริสุทธิ์โดยส่วนสามอย่างนี้.

[๑๔๖๔]
ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ผู้ใดพึงพูดกะเรา ด้วยคำหยาบ ข้อนั้นไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา อนึ่งเราพึงพูดกะผู้อื่นด้วยคำหยาบ ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รัก ที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น

ธรรมข้อใดไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา ธรรมข้อน้น ก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา เราจะพึงประกอบผู้อื่นไว้ด้วยธรรมข้อนั้นอย่างไร ? อริยสาวกนั้น พิจารณาเห็น ดังนี้แล้ว ตนเองย่อมงดเว้น จากผรุสวาจาด้วย ชักชวนผู้อื่นเพื่อให้งดเว้นจากผรุสวาจาด้วย กล่าวสรรเสริญ คุณแห่งการงดเว้นจากผรุสวาจา ด้วยวจีสมาจารของอริยสาวกนั้น ย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสามอย่างนี้.

[๑๔๖๕]
ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ผู้ใดพูดกะเรา ด้วยถ้อยคำเพ้อเจ้อข้อนั้น ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา อนึ่งเราพึงพูดกะคนอื่นด้วยถ้อยคำเพ้อเจ้อ ข้อนั้น ก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของคนอื่นธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา ธรรมข้อนั้น ก็ไม่เป็นที่รักที่ ชอบใจแม้ของผู้อื่น ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา เราจะพึงประกอบผู้อื่นไว้ด้วยธรรม ข้อนั้นอย่างไร ?

อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ตนเองย่อมงดเว้นจากสัมผัปปลาปะ ชักชวนผู้อื่น เพื่อให้งดเว้นจาก สัมผัปปลาปะด้วย กล่าวสรรเสริญคุณ แห่งการงดเว้น จากสัมผัปปลาปะด้วย วจีสมาจารของอริยสาวกนั้น ย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสามอย่างนี้.

[๑๔๖๖]
อริยสาวกนั้นประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า... ในพระธรรม... ในพระสงฆ์... ประกอบด้วยศีล ที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว... เป็นไปเพื่อสมาธิ.

[๑๔๖๗]
ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย เมื่อใด อริยสาวกประกอบด้วยสัทธธรรม 1๗ ประการนี้ เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นหวังอยู่ ด้วยฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความหวัง๔ ประการนี้ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า เรามีนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัยอบาย ทุคติ วินิบาต สิ้นแล้ว เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกตํ่า เป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

[๑๔๖๘]
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์ และคฤหบดีชาวเวฬุทวารคาม ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค ว่าข้าแต่พระโคดม ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งยิ่งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์ แจ่มแจ้งยิ่งนัก ฯลฯข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์เหล่านี้ ขอถึงท่านพระโคดมกับทั้งพระธรรม และ พระภิกษุสงฆ์ว่า เป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมโปรดทรงจำ ข้าพระองค์ทั้งหลายว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ จนตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๗

1469

คิญชกาวสถสูตรที่ ๑
ว่าด้วยธรรมปริยายชื่อธรรมาทาส

[๑๔๖๙]
ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ที่พักซึ่งก่อด้วยอิฐ ในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้วได้ทูลถามว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุชื่อสาฬหะมรณภาพแล้ว คติของเธอเป็นอย่างไร สัมปรายภพของเธอเป็น อย่างไร ? ภิกษุณีชื่อนันทา มรณภาพแล้ว... อุบาสกชื่อสุทัตตะกระทำกาละแล้ว... อุบาสิกาชื่อสุชาดากระทำกาละแล้ว คติของเขาเป็นอย่างไรสัมปรายภพของเขา เป็นอย่างไร ?

[๑๔๗๐]
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ ภิกษุชื่อสาฬหะมรณภาพแล้ว กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ภิกษุณีชื่อ นันทามรณภาพแล้ว เป็นอุปปาติกะจัก ปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะ สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องตํ่า ๕ สิ้นไป

อุบาสกชื่อว่าสุทัตตะกระทำกาละแล้ว เป็นพระสกทาคามีเพราะสังโยชน์ ๓ สิ้น ไป และเพราะราคะ โทสะ โมหะเบาบาง มาสู่โลกนี้อีกคราวหนึ่ง แล้วจักกระทำที่สุดทุกข์ได้ อุบาสิกาชื่อว่าสุชาดากระทำกาละแล้ว เป็นพระโสดาบันเพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

 [๑๔๗๑]
ดูกรอานนท์ ข้อที่บุคคลเกิดมาเป็นมนุษย์แล้วพึงกระทำกาละ มิใช่เป็นของน่าอัศจรรย์ ถ้าเมื่อผู้นั้นๆ กระทำ กาละแล้ว เธอทั้งหลายพึงเข้ามาหาเราแล้ว สอบถามเนื้อความนั้น ข้อนี้เป็นความลำบากของตถาคต เพราะฉะนั้นแหละ เราจักแสดงธรรมปริยายชื่อธรรมาทาส (แว่น ส่องธรรม) ที่อริยสาวกประกอบแล้วเมื่อหวัง อยู่พึง พยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า เรามีนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย อบายทุคติ วินิบาต สิ้นแล้ว เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

[๑๔๗๒]
ดูกรอานนท์ ก็ธรรมปริยายชื่อธรรมาทาส ที่อริยสาวกประกอบแล้ว... จะตรัสรู้ในเบื้องหน้านั้น เป็นไฉน ? อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็น ผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า... ในพระธรรม... ในพระสงฆ์... ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้า ใคร่แล้ว... เป็นไปเพื่อสมาธิ นี้แล คือ ธรรมปริยายชื่อ ธรรมาทาส ที่อริยสาวกประกอบแล้ว... จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.
จบ สูตรที่ ๘

1473

คิญชกาวสถสูตรที่ ๒
ว่าด้วยธรรมปริยายชื่อธรรมาทาส
[๑๔๗๓]
(ข้อความเบื้องต้นเหมือนคิญชกาวสถสูตรที่ ๑) ครั้นแล้ว ท่านพระอานนท์ ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุชื่ออโสกะมรณภาพแล้ว คติของเธอเป็นอย่างไร สัมปรายภพของเธอเป็น อย่างไร ? ภิกษุณีชื่ออโสกา มรณภาพแล้ว ฯลฯ อุบาสกชื่ออโสกะกระทำกาละแล้ว ฯลฯ อุบาสิกาชื่อ อโสกากระทำกาละแล้ว คติของเขาเป็นอย่างไรสัมปรายภพ ของเขาเป็นอย่างไร ?

[๑๔๗๔]
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ ภิกษุชื่ออโสกะมรณภาพแล้ว กระทำให้แจ้ง ซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้  เพราะอาสวะทั้งหลาย สิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ภิกษุณีชื่อ อโสกา... อุบาสกชื่ออโสกะ... อุบาสิกาชื่อ อโสกา กระทำกาละแล้ว เป็นพระโสดาบัน เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ ในเบื้องหน้า.

[๑๔๗๕]
ดูกรอานนท์ นี้แล คือ ธรรมปริยายชื่อธรรมาทาส ที่อริยสาวกประกอบแล้วเมอื่ หวังอยู่ พึงพยากรณ์ ตนด้วยตนเองได้ว่าเรามีนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาต สิ้นแล้ว เราเป็น พระโสดาบัน มีความไม่ตกตํ่าเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะ ตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า. 1
จบ สูตรที่ ๙

1476

คิญชกาวสถสูตรที่ ๓
ว่าด้วยธรรมปริยายชื่อธรรมาทาส
[๑๔๗๖]
(ข้อความเบื้องต้นเหมือนคิญชกาวสถสูตรที่ ๑) ครั้นแล้ว ท่านพระอานนท์ ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุบาสกชื่อกกุฏะในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง กระทำกาละแล้ว คติของเขาเป็นอย่างไร สัมปรายภพของเขาเป็นอย่างไร... อุบาสกชื่อกฬิภะในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง... อุบาสกชื่อทนิกัทธะในหมู่บ้าน แห่งหนึ่ง... อุบาสกชื่อกฏิสสหะ ในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ... อุบาสก ชื่อตุฏฐะในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ... อุบาสกชื่อ สันตุฏฐะในหมู่บ้านแหง่ หนงึ่ ... อุบาสกชื่อภัททะในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง... อุบาสกชื่อสุภัททะในหมู่บ้าน แห่งหนึ่ง กระทำกาละแล้ว คติของเขาเป็นอย่างไร สัมปรายภพของเขาเป็นอย่างไร ?

[๑๔๗๗]
พระผู้มีพระภาคตรัสว่าดูกรอานนท์ อุบาสกชื่อกกุฏะ กระทำกาละแล้ว เป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพ นั้น มีอันไม่กลับจาก โลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องตํ่า ๕ สิ้นไป อุบาสกชื่อกฬิภะ... ชื่อทนิกัทธะ... ชื่อกฏิสสหะ...ชื่อตุฏฐะ... ชื่อสันตุฏฐะ... ชื่อภัททะ... ชื่อสุภัททะกระทำกาละแล้ว เป็น อุปปาติกะจักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้น เป็นธรรมดา เพราะสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องตํ่า ๕ สิ้นไป.

[๑๔๗๘]
ดูกรอานนท์ อุบาสกทั้งหลายในหมู่บ้านแห่งหนึ่งเกินกว่า ๕๐ คน กระทำกาละแล้ว เป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้น เป็นธรรมดา เพราะสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องตํ่า ๕ สิ้นไป อุบาสกทั้งหลาย ในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง เกินกว่า ๙๐ คน กระทำกาละแล้ว เป็นพระสกทาคามี เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไปและเพราะราคะ โทสะ โมหะเบาบาง มาสู่โลกนี้อีกคราว เดียวแล้ว จักทำที่สุดทุกข์ได้อุบาสก ทั้งหลาย ในหมู่บ้านแห่ง หนึ่งเกินกว่า ๕๐๐ คน กระทำกาละแล้ว เป็นพระโสดาบันเพราะ สังโยชน์ ๓ สิ้นไป มีอันไม่ตกตํ่าเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

[๑๔๗๙]
ดูกรอานนท์ ข้อที่บุคคลเกิดมาเป็นมนุษย์แล้ว พึงกระทำกาละ มิใช่เป็นของน่าอัศจรรย์ ถ้าเมื่อผู้นั้นๆ กระทำกาละแล้ว เธอทั้งหลายพึงเข้ามาหาเราแล้ว สอบถามเนื้อความนั้น ข้อนี้เป็นความลำบากของตถาคต เพราะฉะนั้นแหละ เราจักแสดงธรรมปริยายชื่อธรรมาทาส ที่อริยสาวกประกอบแล้ว เมื่อหวังอยู่ พึง พยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า เรามีนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาต สิ้นแล้วเราเป็น พระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

[๑๔๘๐]
ดูกรอานนท์ ก็ธรรมปริยายชื่อธรรมาทาส ที่อริยสาวกประกอบแล้ว เมื่อหวังอยู่พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเอง ได้ว่า เรามีนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาต สิ้นแล้ว เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้าเป็นไฉน ?

อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้า... ในพระธรรม... ในพระสงฆ์... ประกอบด้วยศีล ที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว... เป็นไปเพื่อสมาธิ นี้แล คือ ธรรมปริยายชื่อ ธรรมาทาสที่อริยสาวกประกอบแล้ว เมื่อหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า เรามีนรกกำเนิด สัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาต สิ้นแล้ว เราเป็นพระโสดาบันมีความไม่ตกตํ่าเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.
จบ สูตรที่ ๑๐
จบ เวฬุทวารวรรคที่ ๒1

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ราชาสูตร ๒. โอคธสูตร
๓. ทีฆาวุสูตร ๔. สาริปุตตสูตรที่ ๑
๕. สาริปุตตสูตรที่ ๒ ๖. ถปติสูตร
๗. เวฬุทวารสูตร ๘. คิญชกาวสถสูตรที่ ๑
๙. คิญชกาวสถสูตรที่ ๒ ๑๐. คิญชกาวสถสูตรที่ ๓


ราชการามวรรคที่ ๒

1481

สหัสสสูตร
องค์คุณของพระโสดาบัน
[๑๔๘๑]
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ราชการาม ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีสงฆ์ ๑๐๐๐ รูป เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วพระผู้มี พระภาคได้ตรัสกะภิกษุณีเหล่านั้น ว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมเปน็ พระโสดาบันมีความไม่ตกตํ่าเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง ที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า ธรรม ๔ ประการนั้นเป็นไฉน ?

อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า... ในพระธรรม... ในพระสงฆ์... ประกอบด้วย ศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้วไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ อริยสาวกผู้ประกอบ ด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.
จบ สูตรที่ ๑

1482

พราหมณสูตร
ว่าด้วยอุทยคามินีปฏิปทา
[๑๔๘๒]
สาวัตถีนิทาน. พระผู้มีพระภาคตรัสว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย พราหมณ์ทั้งหลาย ย่อมบัญญัติปฏิปทา ชื่อ อุทยคามินีพวกเขาย่อม ชักชวนสาวกอย่างนี้ว่า ดูกรบุรุษ ผู้เจริญ มาเถิดท่าน ท่านจงลุกขึ้นแต่เช้า ตรู่แล้วเดินบ่ายหน้า ไปทางทิศปราจีน ท่านอย่าเว้นบ่อ เหว ตอ ที่มีหนาม หลุมเต็มด้วยคูถ บ่อโสโครก ใกล้บ้าน ท่านพึงตกไปในที่ใด พึงรอความตายในที่นั้น ด้วยวิธีอย่างนี้ เมื่อแตกกายตายไป ท่านจักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์.

 [๑๔๘๓]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อบัญญัติของพราหมณ์ทั้งหลายนั้น เป็นความดำเนินของคนพาล เป็นความดำเนิน ของคนหลง ย่อมไม่เป็น ไปเพื่อความหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความเข้าไปสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้เพื่อนิพพาน

ส่วนในอริยวินัย เราก็บัญญัติปฏิปทาชื่ออุทยคามินี ที่เป็นไปเพื่อความหน่าย โดยส่วนเดียว เพื่อความ คลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความเข้าไปสงบเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน.

[๑๔๘๔]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อุทยคามินีปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความหน่ายโดยส่วนเดียว ฯลฯเพื่อนิพพานเป็นไฉน ? อริยสาวกใน ธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า... ในพระธรรม... ในพระสงฆ์... ประกอบด้วยศีล ที่พระ อริยเจ้าใคร่แล้วไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ นี้แล คือ อุทยคามินีปฏิปทา ที่เป็นไปเพื่อความหน่าย โดยส่วนเดียว เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความเข้าไป สงบ เพื่อความรู้ยิ่งเพื่อ ความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน.
จบ สูตรที่ ๒

1485

อานันทสูตร
ละธรรม ๔ ประกอบธรรม ๔ เป็นพระโสดาบัน
[๑๔๘๕]
สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรและท่านพระอานนท์อยู่ ณ พระวิหารเชตวันอาราม ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้น เวลาเย็น ท่านพระสารีบุตรออกจากที่เร้นแล้ว เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึง ที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระอานนท์ ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระอานนท์ว่า ดูกรอานนท์ เพราะละธรรมเท่าไร เพราะเหตุประกอบธรรม เท่าไร หมู่สัตว์นี้ พระผู้มีพระภาคจึงทรงพยากรณ์ว่าเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกตํ่าเป็นธรรมดา เป็นผู้ เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า ?

 [๑๔๘๖]
ท่านพระอานนท์กล่าวตอบว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ เพราะละธรรม ๔ ประการ เพราะเหตุประกอบธรรม ๔ ประการ หมู่สัตว์นี้ พระผู้มีพระภาคจึงทรงพยากรณ์ ว่าเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกตํ่าเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ ในเบื้องหน้า ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน ?  

ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า เห็นปานใด เมื่อแตกกาย ตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าเห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ปุถุชนนั้น ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับ ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า เห็นปานใดเมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า เห็นปานนั้น ย่อมมีแก่อริยสาวกนั้นว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้จำแนกธรรม.

[๑๔๘๗]
ดูกรท่านผู้มีอายุ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระธรรมเห็นปานใด เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรกความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระธรรมเห็น ปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ปุถุชนนั้น ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับ ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวใน พระธรรมเห็นปานใด เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวใน พระธรรมเห็นปานนั้น ย่อมมีแก่อริยสาวกนั้นว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว ฯลฯ อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน.

[๑๔๘๘]
ดูกรท่านผู้มีอายุ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์เห็นปานใด เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรกความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์เห็นปาน นั้น ย่อมไม่มีแก่ปุถุชนนั้น ส่วนอริยสาวก ผู้ได้สดับ ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ เห็นปานใดเมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ เห็นปานนั้น ย่อมมีแก่อริยสาวกนั้นว่าพระสงฆ์สาวก ของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติ ดีแล้ว ฯลฯ เป็นนาบุญ ของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

 [๑๔๘๙]
ดูกรท่านผู้มีอายุปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยความทุศีลเห็นปานใด เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรก ความทุศีลเห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ ปุถุชนนั้น ส่วนอริยสาวกผู้ประกอบด้วยศีล ที่พระอริยเจ้าใคร่แล้วเห็นปานใด เมื่อ แตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ศีลที่พระอริยเจ้า ใคร่แล้ว เป็นศีลไม่ขาด... เป็นไปเพื่อสมาธิเห็นปานนั้น ย่อมมีแก่อริยสาวกนั้น.

[๑๔๙๐]
ดูกรท่านผู้มีอายุ เพราะละธรรม ๔ ประการนี้ เพราะเหตุประกอบธรรม ๔ ประการนี้หมู่สัตว์นี้ พระผู้มีพระภาค จึงทรงพยากรณ์ว่า เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกตํ่าเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.
จบ สูตรที่ ๓

1491

ทุคติสูตรที่ ๑
มีธรรม ๔ ประการพ้นทุคติ
[๑๔๙๑]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมล่วงภัยคือทุคติทั้งหมดได้ ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน ? อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้า... ในพระธรรม... ในพระสงฆ์... ประกอบด้วย ศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้วไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ ดูกรภิกษุทั้ง หลายอริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเหล่านี้ ย่อมล่วงภัยคือทุคติทั้งหมดได้.
จบ สูตรที่ ๔

1492

ทุคติสูตรที่ ๒
มีธรรม ๔ ประการ พ้นทุคติและวินิบาต
[๑๔๙๒]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมล่วงภัย คือทุคติและวินิบาตทั้งหมดได้ ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน ? อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้า... ในพระธรรม... ในพระสงฆ์... ประกอบด้วย ศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ ดูกรภิกษุทั้งหลายอริยสาวก ผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเหล่านี้ ย่อมล่วงภัยคือทุคติ และวินิบาตทั้งหมดได้.
จบ สูตรที่ ๕

1493

มิตตามัจจสูตรที่ ๑
องค์ธรรมเครื่องบรรลุโสดา ๔ ประการ
[๑๔๙๓]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงอนุเคราะห์เหล่าชนผู้เป็น มิตร อำมาตย์ ญาติหรือสาโลหิต ผู้ที่สำคัญ โอวาทว่า เป็นสิ่งที่ ตนควรฟัง พึงยังเขาเหล่านั้นให้สมาทานให้ตั้งมั่นให้ดำรงอยู่  ในองค์แห่งธรรมเป็น เครื่องบรรลุโสดา ๔ ประการ องค์แห่ง ธรรมเป็นเครื่องบรรลุโสดา ๔ ประการเป็นไฉน ? คือ พึงให้สมาทาน ให้ตั้งมั่น ให้ดำรงอยู่ในความเลื่อมใสอัน ไม่หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้า... ในพระธรรม... ในพระสงฆ์... ในศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงอนุเคราะห์เหล่าชนผู้เป็นมิตร อำมาตย์ ญาติหรือสาโลหิต ผู้ที่สำคัญ โอวาทว่าเป็นสิ่งที่ตน ควรฟัง พึงยังเขาเหล่านั้น ให้สมาทาน ให้ตั้งมั่นให้ดำรงอยู่ในองค์แห่งธรรม เป็นเครื่องบรรลุโสดา ๔ ประการเหล่านี้แล.
จบ สูตรที่ ๖

1494

มิตตามัจจสูตรที่ ๒
องค์ธรรมเครื่องบรรลุโสดา ๔ ประการ
[๑๔๙๔]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงอนุเคราะห์เหล่าชนผู้เป็นมิตร... ให้ดำรงอยู่ในองค์แห่งธรรมเป็นเครื่อง บรรลุโสดา ๔ ประการ องค์แห่งธรรมเป็นเครื่องบรรลุโสดา๔ ประการเป็นไฉน ? คือพึงให้สมาทาน ให้ตั้งมั่น ให้ดำรงอยู่ ในความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น ฯลฯเป็นผู้จำแนกธรรม.

[๑๔๙๕]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย มหาภูตรูป ๔ คือ ธาตุดิน ธาตุนํ้า ธาตุไฟ ธาตุลม พึงมีความแปรเป็นอย่างอื่นไปได้ ส่วนอริยสาวกผูป้ ระกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ไม่พึงมีความแปรเป็นอย่างอื่น ไปได้เลย ความแปรเป็นอย่างอื่นในข้อ นั้น ดังนี้อริยสาวกผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้า ...ในพระธรรม... ในพระสงฆ์... จักเข้าถึงนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน หรือปิตติวิสัยข้อนี้ไม่เป็น ฐานะที่จะมีได้ เธอทั้งหลายพึงยังเขาเหล่านั้นให้สมาทาน ให้ตั้งมั่นให้ดำรงอยู่ใน ความเลื่อมใสอันไม่ หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า... ในพระธรรม... ในพระสงฆ์...ในศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ.

[๑๔๙๖]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย มหาภูตรูป ๔ คือ ธาตุดิน ธาตุนํ้า ธาตุไฟ ธาตุลม พึงมีความแปรเป็นอย่างอื่นไปได้ ส่วนอริยสาวกผู้ประกอบ ด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้วไม่พึงมีความแปรเป็นอย่างอื่นไปได้เลย ความแปรเป็นอย่างอื่นในข้อนั้น ดังนี้อริยสาวกผู้ประกอบ ด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว จักเข้าถึงนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานหรือปิตติวิสัย ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

[๑๔๙๗]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย พึงอนุเคราะห์เหล่าชนผู้เป็นมิตร อำมาตย์ญาติหรือสาโลหิต ผู้ที่สำคัญ โอวาทว่าเป็นสิ่งที่ตน ควรฟัง พึงยังเขาเหล่านั้นให้สมาทานให้ตั้งมั่น ให้ดำรงอยู่ในองค์แห่งธรรมเป็น เครื่องบรรลุโสดา ๔ ประการเหล่านี้.
จบ สูตรที่ ๗

1498

เทวจาริกสูตรที่ ๑
ข้อปฏิบัติให้เข้าถึงสุคติ
[๑๔๙๘]
สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ได้หายจากพระวิหารเชตวัน ไปปรากฏในเทวโลกชั้น ดาวดึงส์ เหมือนบุรุษ มีกำลังเหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียดฉะนั้น ลำดับนั้น เทวดาชั้นดาวดึงส์ มากด้วยกัน เข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะ อภิวาทแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าว กะเทวดาเหล่านั้นว่า

[๑๔๙๙]
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย การประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ว่าแม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้จำแนกธรรม เป็นความดีแลเพราะเหตุที่ประกอบด้วย ความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า

สัตว์บางพวกในโลกนี้เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ การประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวใน พระธรรม... ในพระสงฆ์... เป็นความดีแล เพราะเหตุที่ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระธรรม... ในพระสงฆ์...

สัตว์บางพวกในโลกนี้เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ การประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้า ใคร่แล้วไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ เป็นความดีแล เพราะเหตุที่ประกอบด้วยศีล ที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์. [1]

[๑๕๐๐]
เทวดาทั้งหลายกล่าวว่า ข้าแต่พระโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ การประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้า... ในพระธรรม... ในพระสงฆ์... เป็นความดีแลการประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด... เป็นไปเพื่อสมาธิ เป็นความดีแลข้าแต่ท่านพระโมคคัลลานะ ผู้นิรทุกข์ เพราะเหตุที่ประกอบ ด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า... ในพระธรรม... ในพระสงฆ์... การประกอบด้วยศีลที่พระ อริยเจ้าใคร่แล้ว สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อกายแตกตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์.
จบ สูตรที่ ๘

1501

เทวจาริกสูตรที่ ๒
ข้อปฏิบัติให้เข้าถึงสุคติ
[๑๕๐๑]
สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ได้หายจากพระวิหารเชตวัน ไปปรากฏในเทวโลกชั้น ดาวดึงส์เหมือนบุรุษ มีกำลังเหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียดฉะนั้น ครั้งนั้น เทวดาชั้นดาวดึงส์มาก ด้วยกันเข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะ อภิวาทท่านพระมหาโมคคัลลานะแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง ครั้นแล้วท่านพระมหาโมคคัลลานะ ได้กล่าวกะเทวดา เหล่านั้นว่า.

[๑๕๐๒]
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย การประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า...ในพระธรรม... ในพระสงฆ์... เป็นความดีแล เพราะเหตุที่ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า... ในพระธรรม... ในพระสงฆ์...

สัตว์บางพวกในโลกนี้เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ การประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้า ใคร่แล้ว ไม่ขาด... เป็นไปเพื่อสมาธิ เป็นความดีแล เพราะเหตุที่ประกอบด้วยศีล ที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์. [1]

[๑๕๐๓]
เทวดาทั้งหลายกล่าวว่า ข้าแต่ท่านพระโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ การประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่ หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า... ในพระธรรม... ในพระสงฆ์... เป็นความดีแล...การประกอบด้วยศีล ที่พระอริยเจ้า ใคร่แล้ว ไม่ขาด... เป็นไปเพื่อสมาธิ เป็นความดีแลเพราะเหตุที่ประกอบด้วยศีล ที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงซึ่งสุคติโลกสวรรค์
จบ สูตรที่ ๙

1504

เทวจาริกสูตรที่ ๓
องค์คุณของพระโสดาบัน
[๑๕๐๔]
สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงหายจากพระวิหารเชตวัน ไปปรากฏในเทวโลกชั้นดาวดึงส์ เหมือนบุรุษมีกำลัง เหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียดฉะนั้น ครั้งนั้น เทวดาชั้นดาวดึงส์มากด้วยกัน เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหน่งึ ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะเทวดา เหล่านั้นว่า

[๑๕๐๕]
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย การประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า... ในพระธรรม... ในพระสงฆ์... เป็นความดีแล เพราะเหตุที่ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า... ในพระธรรม... ในพระสงฆ์...สตั วบ์ างพวกในโลกนี้ เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็น ธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้าการประกอบด้วยศีล ที่พระอริยเจ้าใคร่แล้วไม่ขาด... เป็นไปเพื่อสมาธิเป็น ความดีแล เพราะเหตุที่ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว สัตว์บางพวกในโลกนี้เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกตํ่าเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

[๑๕๐๖]
เทวดาทั้งหลายกราบทูลว่าข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ การประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวใน พระพุทธเจ้า... ในพระธรรม... ในพระสงฆ์... เป็นความดีแล เพราะเหตุที่ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ... ในพระธรรม... ในพระสงฆ์. ..

หมู่สัตว์นี้เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกตํ่าเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้าการประกอบ ด้วยศีล ที่พระอริยเจ้า ใคร่แล้ว ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ เป็นความดีแลเพราะเหตุที่ประกอบด้วยศีล ที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว หมู่สัตว์นี้ เป็นพระ โสดาบันมีความไม่ตกตํ่าเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ ในเบื้องหน้า.
จบ สูตรที่ ๑๐

จบราชการามวรรคที่ ๒
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สหัสสสูตร ๒. พราหมณสูตร
๓. อานันทสูตร ๔. ทุคติสูตรที่ ๑
๕. ทุคติสูตรที่ ๒ ๖. มิตตามัจจสูตรที่ ๑
๗. มิตตามัจจสูตรที่ ๒ ๘. เทวจาริกสูตรที่ ๑
๙. เทวจาริกสูตรที่ ๒ ๑๐. เทวจาริกสูตรที่ ๓

สรกานิวรรคที่ ๓

1507

มหานามสูตรที่ ๑
ว่าด้วยกาลกิริยาอันไม่เลวทราม
[๑๕๐๗]
ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม ใกล้พระนครกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้งนั้น พระเจ้ามหานามศากยราช เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ทรงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทรงกราบทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระนครกบิลพัสดุ์นี้ เป็นพระนครมั่งคั่ง เจริญรุ่งเรืองมีผู้คนมาก แออัดไปด้วยมนุษย์ มีถนนคับแคบ หม่อมฉันนั่งใกล้พระผู้มีพระภาค หรือนั่งใกล้ภิกษุทั้งหลาย ผู้เป็นที่เจริญใจแล้ว เมื่อเข้าไป ยังพระนครกบิลพัสดุ์ในเวลาเย็น ย่อมไม่ไปพร้อมกับช้าง ม้า รถ เกวียน และแม้กับ บุรษุ สมัยนั้นหม่อมฉัน ลืมสติที่ปรารภถึงพระผู้มีพระภาค พระธรรม พระสงฆ์ หม่อมฉันมีความดำริว่าถ้าในเวลานี้ เรากระทำกาละลงไปคติของเราจะเป็นอย่างไร อภิสัมปรายภพของเราจะเป็นอย่างไร ?

[๑๕๐๘]
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ขอถวายพระพรมหาบพิตร อย่ากลัวเลยๆ การสวรรคตอันไม่เลวทรามจักมีแก่ มหาบพิตร กาลกิริยา อันไม่เลวทรามจักมีแก่มหาบพิตร ดูกรมหาบพิตร จิตของผู้ใดผู้หนึ่งที่อบรมแล้ว ด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญาตลอดกาล นาน กายนี้ของผู้นั้น มีรูป ประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ มีมารดาบิดาเป็นแดนเกิด เจริญขึ้นด้วยข้าวสุกและขนมสด มีความไม่เที่ยง ต้องขัดสี นวดฟั้นและมีอัน แตกกระจัดกระจายไปเป็นธรรมดา พวกกา แร้ง นกตะกรุม สุนัขสุนัขจิ้งจอก หรือสัตว์ต่างชนิด ย่อมกัดกิน กายนี้แหละ ส่วนจิตของผู้นั้นอันศรัทธาศีล สุตะ จาคะ ปัญญาอบรมแล้วตลอดกาลนาน ย่อมเป็นคุณชาติ ไปใน เบื้องบนถึงคุฌวิเศษ. 1

[๑๕๐๙]
ขอถวายพระพร เปรียบเหมือนบุรุษลงไปยังห้วงนํ้าลึกแล้ว พึงทุบหม้อเนยใสหรือหม้อนํ้ามัน สิ่งใดที่มีอยู่ใน หม้อนั้น จะเป็นก้อน กรวด หรือกระเบื้องก็ตาม สิ่งนั้นจะจมลง สิ่งใดเป็นเนยใสหรือนํ้ามัน สิ่งนั้นจะลอยขึ้น ถึงความวิเศษ ฉันใดจิตของผู้ใดผู้หนึ่ง อันอบรมแล้วด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ตลอดกาลนาน กายนี้ของผู้นั้น มีรูปประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔...

ส่วนจิตของผู้นั้นซึ่งอบรมแล้วด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ตลอดกาลนาน ย่อมเป็นคุณชาติไป ในเบื้องบน ถึงคุณวิเศษ ฉันนั้นเหมือนกัน ขอถวายพระพร มหาบพิตร อย่ากลัวเลยๆการสวรรคต อันไม่ลามก จักมีแก่มหาบพิตร กาลกิริยาอันไม่ลามกจัก มีแก่มหาบพิตร.
จบ สูตรที่ ๑