เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม

หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ            

  หนังสือ พุทธวจน   ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
  6 of 13  
 
  หนังสือ พุทธวจน  ที่มา : http://watnapp.com/book  
       
    สารบัญ ข้อ  
       
  หมวด ๖ แห่งโพชฌงค์ที่ ๖ (ต่อ)    
  อภยสูตร ความไม่รู้ความไม่เห็นมีเหตุมีปัจจัย 627  
       
  นิโรธวรรคที่ ๘ แห่งโพชฌงคสังยุต
   
  อานาปานาทิเปยยาลที่ ๗ แห่งโพชฌงค์ อัฏฐิกสัญญามีผล ๒ อย่าง 641  
       
  โอฆะ ๔ 676  
       
  ๓. สติปัฏฐานสังยุต อัมพปาลีวรรคที่ ๑    
  อัมพปาลิสูตร ว่าด้วยสติปัฏฐาน ๔ 678  
  สติสูตร ว่าด้วยสติ 682  
  ภิกขุสูตร ว่าด้วยการเจริญสติปัฏฐาน ๔ โดยส่วน ๓ 685  
  โกสลสูตร ว่าด้วยการเจริญสติปัฏฐาน ๔ 691  
  อกุสลราสิสูตร กองอกุศล ๕ 696  
  สกุณัคฆีสูตร ว่าด้วยอารมณ์โคจร 698  
  มักกฏสูตร ว่าด้วยอารมณ์อันมิใช่โคจร 701  
  สูทสูตร ว่าด้วยการสำเหนียกและไม่สำเหนียกนิมิต 704  
  คิลานสูตร ว่าด้วยมีตนเป็นเกาะ 708  
  ภิกขุนีสูตร ผู้มีจิตตั้งมั่นในสติปัฏฐาน ๔ ย่อมรู้คุณวิเศษ 714  
       
  นาฬันทวรรคที่ ๒    
  มหาปุริสสูตร ว่าด้วยผู้เป็นมหาบุรุษ 724  
  นาฬันทสูตร ว่าด้วยธรรมปริยาย 726  
  จุนทสูตร ว่าด้วยการปรินิพพานของพระสารีบุตร 733  
  เจลสูตร ว่าด้วยการมีธรรมเป็นเกาะเป็นที่พึ่ง 741  
  พาหิยสูตร ศีลเป็นเบื้องต้นแห่งกุศลธรรม 747  
  อุตติยสูตร อาศัยศีลเจริญสติปัฏฐาน ๔ 750  
  อริยสูตร สติปัฏฐาน ๔ เป็นอริยะ 753  
  พรหมาสูตร สติปัฏฐาน ๔ เป็นทางอันเอก 754  
  เสทกสูตรที่ ๑ ผู้รักษาผู้อื่นชื่อว่ารักษาตน 758  
  เสทกสูตรที่ ๒ ว่าด้วยกายคตาสติ 763  
       
  สีลัฏฐิติวรรคที่ ๓    
  สีลสูตร ว่าด้วยกุศลศีล 767  
  ฐิติสูตร ว่าด้วยการตั้งอยู่แห่งพระสัทธรรม 770  
  ปริหานสูตร ว่าด้วยความเสื่อมแห่งพระสัทธรรม 773  
  สุทธกสูตร ว่าด้วยการเจริญสติปัฏฐาน ๔ 776  
  พราหมณสูตร ว่าด้วยพระสัทธรรมตั้งอยู่ไม่ได้นาน 777  
  ปเทสสูตร ว่าด้วยบุคคลจะชื่อว่าเป็นพระเสขะ 781  
  สมัตตสูตร ว่าด้วยบุคคลจะชื่อว่าเป็นพระอเสขะ 783  
  โลกสูตร ว่าด้วยผู้รู้โลก 785  
  สิริวัฑฒสูตร ผู้เจริญสติปัฏฐาน ๔ ได้อนาคามิผล 787  
  มานทินนสูตร ผู้เจริญสติปัฏฐาน ๔ ได้อนาคามิผล 793  
       
 
 




หมวด ๖ แห่งโพชฌงค์ที่ ๖(ต่อ)

627

อภยสูตร
ความไม่รู้ความไม่เห็นมีเหตุมีปัจจัย
[๖๒๗]
ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ ใกล้พระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น อภัยราชกุมารเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มี พระภาคแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ตรัสทูลถามพระผู้มี พระภาคว่า

[๖๒๘]
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ปุรณกัสสปกล่าวอย่างนี้ว่า เหตุไม่มี ปัจจัยไม่มี เพื่อความ ไม่รู้ เพื่อความไม่เห็นความไม่รู้ ความไม่เห็น ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย เหตุไม่มี ปัจจัยไม่มี เพื่อความรู้ เพื่อความเห็น ความรู้ ความเห็นไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ดังนี้ ในเรื่องนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้อย่างไร ?

[๖๒๙]
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่าดูกรราชกุมาร เหตุมีปัจจัยมี เพื่อ ความไม่เพื่อความ ไม่เห็นความไม่รู้ ความไม่เห็น มีเหตุ มีปัจจัย เหตุมี ปัจจัยมี เพื่อความรู้ เพื่อความเห็นความรู้ ความเห็น มีเหตุ มีปัจจัย.

[๖๓๐]
อ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เหตุเป็นไฉน ปัจจัยเป็นไฉน เพื่อความไม่รู้ เพื่อความ ไม่เห็น ความไม่รู้ ความไม่เห็นมีเหตุ มีปัจจัย อย่างไร ?

[๖๓๑]
พ. ดูกรราชกุมาร สมัยใดบุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วยกามราคะ อันกามราคะเหนี่ยวรั้ง ไป และย่อมไม่รู้ ไม่เห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก ซึ่ง กามราคะที่บังเกิดขึ้น แล้วตามความเป็นจริง แม้ข้อนี้แล ก็เป็นเหตุ เป็นปัจจัย เพื่อความไม่รู้ เพื่อความ ไม่เห็นความไม่รู้ ความไม่เห็น มีเหตุ มีปัจจัย แม้ด้วยประการฉะนี้.

[๖๓๒]
ดูกรราชกุมาร อีกประการหนึ่ง สมัยใด บุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วยพยาบาท... .

 [๖๓๓]
ดูกรราชกุมาร อีกประการหนึ่ง สมัยใด บุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วยถีนมิทธะ... .

[๖๓๔]
ดูกรราชกุมาร อีกประการหนึ่ง สมัยใด บุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วยอุทธัจจกุกกุจจะ... .

[๖๓๕]
ดูกรราชกุมาร อีกประการหนึ่ง สมัยใด บุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วยวิจิกิจฉา อัน วิจิกิจฉาเหนี่ยวรั้งไป และย่อมไม่รู้ ไมเห็นอุบายเป็น เครืองสลัดออก ซึ่งวิจิกิจฉา ที่บังเกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง แม้ข้อนี้แล ก็เป็นเหตุ เป็นปัจจัย เพื่อความไม่รู้ เพื่อความไม่เห็น ความไม่รู้ ความไม่เห็น มีเหตุ มีปัจจัย ด้วยประการฉะนี้.

[๖๓๖]
อ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมปริยายนี้ชื่ออะไร ?
พ. ดูกรราชกุมาร ธรรมเหล่านี้ชื่อนิวรณ์.
อ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นิวรณ์เป็นอย่างนี้ ข้าแต่พระสุคต นิวรณ์เป็นอย่างนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลถูกนิวรณ์แม้อย่างเดียว ครอบงำแล้วไม่พึงรู้ ไม่พึงเห็นตามความเป็นจริงได้  จะกล่าวไปไยถึงการถูกนิวรณ์ทั้ง ๕ ครอบงำเล่า.

[๖๓๗]
อ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เหตุเป็นไฉน ปัจจัยเป็นไฉน เพื่อความรู้ เพื่อความเห็น ความรู้ ความเห็น มีเหตุมีปัจจัยอย่างไร ?

[๖๓๘]
พ. ดูกรราชกุมาร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ เธอเจริญสติสัมโพชฌงค์อยู่ ย่อมรู้ย่อมเห็นตามความเป็นจริง ด้วยจิตนั้นแม้ข้อนี้แล ก็เป็นเหตุ เป็นปัจจัย เพื่อ ความรู้เพื่อความเห็น ความรู้ ความเห็น มีเหตุ มีปัจจัย ด้วยประการฉะนี้.

[๖๓๙]
ดูกรราชกุมาร อีกประการหนึ่ง ฯลฯ ภิกษุย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัย วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธน้อมไปในการสละ เธอเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อยู่ ย่อมรู้ ย่อมเห็น ตามความเป็นจริง ด้วยจิตนั้น แม้ข้อนี้แลก็เป็นเหตุ เป็นปัจจัย เพื่อความรู้ เพื่อความเห็น ความรู้ ความเห็น มีเหตุ มีปัจจัยด้วยประการนี้.

[๖๔๐]
อ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมปริยายนี้ชื่ออะไร ?

พ. ดูกรราชกุมาร ธรรมเหล่านี้ชื่อโพชฌงค์.

อ. ข้าแต่พระผู้มีพระภาค โพชฌงค์เป็นอย่างนี้ ข้าแต่พระสุคต โพชฌงค์เป็น อย่างนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญบุคคลผู้ประกอบด้วย โพชฌงค์แม้อย่างเดียว พึงรู้ พึงเห็น ตามความเป็นจริงได้ จะกล่าวไปไยถึงการที่ประกอบด้วยโพชฌงค์ทั้ง ๗ เล่า

ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ เมื่อข้าพระองค์ขึ้นภูเขา คิชฌกูฏ แม้ความเหน็ดเหนื่อย กาย ความเหน็ดเหนื่อยใจของข้าพระองค์ก็สงบระงับแล้ว และธรรมอัน ข้าพระองค์ ก็ได้บรรลุแล้ว.
จบ สูตรที่ ๖

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อาหารสูตร ๒. ปริยายสูตร
๓. อัคคิสูตร ๔. เมตตสูตร
๕. สคารวสูตร ๖. อภยสูตร
จบ หมวด ๖ แห่งโพชฌงค์ โพชฌงค์แห่งสังยุต


641

นิโรธวรรคที่ ๘ แห่งโพชฌงคสังยุต

อานาปานาทิเปยยาลที่ ๗ แห่งโพชฌงค์
อัฏฐิกสัญญามีผล ๒ อย่าง
[๖๔๑]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มาก แล้วจึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ก็อัฏฐิกสัญญาอัน บุคคลเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมเจริญสติ สัมโพชฌงค์ อันสหรคต ด้วยอัฏฐิกสัญญา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธน้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญาอาศัยวิเวก อาศัย วิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญาอันบุคคลเจริญแล้ว อย่างนี้แล กระทำให้มากแล้ว อย่างนี้ ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก.

[๖๔๒]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มาก แล้วพึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยัง มีความยึดถือเหลืออยู่ จักเป็นพระอนาคามี ก็เมื่ออัฏฐิกสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว อย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร พึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คืออรหัตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีความยึดถือเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วย อัฏฐิกสัญญา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขา-สัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา อาศัยวิเวก อาศัย วิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออัฏฐิกสัญญา อันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้แล กระทำให้มาก แล้ว อย่างนี้ พึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คืออรหัตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีความยึดถือเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี.

[๖๔๓]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มาก แล้วย่อมเป็นไปเพือ ประโยชน์มาก ก็อัฏฐิกสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว อย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร เป็นไปเพื่อ ประโยชน์มาก ?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วย อัฏฐิกสัญญา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธน้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญาอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญาอันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้แล กระทำให้มากแล้ว อย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก.

[๖๔๔]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มาก แล้วย่อมเป็นไป เพื่อความเกษมจากโยคะใหญ่ ก็อัฏฐิกสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว อย่างไรกระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมเป็นไปเพื่อความเกษมจากโยคะใหญ่ ?

ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วย อัฏฐิกสัญญา อาศัย วิเวกอาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วย อัฏฐิกสัญญา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ1ดูกรภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญา อันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้แล กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ย่อมเป็นไป เพื่อความเกษมจาก โยคะใหญ่.

[๖๔๕]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มาก แล้วย่อมเป็นไปเพื่อ ความสังเวชมาก ก็อัฏฐิกสัญญา อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมเป็นไป เพื่อความสังเวชมาก ?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วย อัฏฐิกสัญญา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญาอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญา อันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้แล กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความสังเวชมาก.

[๖๔๖]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มาก แล้วย่อมเป็นไปเพื่อ อยู่เป็นผาสุกมาก ก็อัฏ ฐิกสัญญา อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้ว อย่างไร ย่อมเป็นไป เพื่ออยู่เป็น ผาสุกมาก ?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันสหรคต ด้วยอัฏฐิกสัญญา อาศัย วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธน้อมไปในการสละ ฯลฯ เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์2 อันสหรคตด้วย อัฏฐิกสัญญาอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญา อันบุคคลเจริญ แล้วอย่างนี้แล กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่ออยู่เป็น ผาสุกมาก.

[๖๔๗]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุฬวกสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ.

[๖๔๘]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย วินีลกสัญญา ฯลฯ.

[๖๔๙]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิจฉิททกสัญญา ฯลฯ.

[๖๕๐]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุทธุมาตกสัญญา ฯลฯ.

[๖๕๑]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมตตา อันบุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ.

[๖๕๒]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กรุณา อันบุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ.

[๖๕๓]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย มุทิตา อันบุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ.

[๖๕๔]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุเบกขา อันบุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ.

[๖๕๕]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ.

[๖๕๖]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสุภสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ.

[๖๕๗]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย มรณสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ.

[๖๕๘]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาหาเรปฏิกูลสัญญา ฯลฯ.

[๖๕๙]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัพพโลเก อนภิรตสัญญา ฯลฯ.

[๖๖๐]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญา ฯลฯ.

[๖๖๑]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนิจเจ ทุกขสัญญา ฯลฯ.

[๖๖๒]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกเข อนัตตสัญญา ฯลฯ.

[๖๖๓]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปหานสัญญา ฯลฯ.

[๖๖๔]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิราคสัญญา ฯลฯ1.

[๖๖๕]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิโรธสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วย่อมมีผล มาก มีอานิสงส์มาก ก็นิโรธสัญญา อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้ว อย่างไร ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วย นิโรธสัญญา อาศัย วิเวก อาศัยวิราคะอาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อม เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วย นิโรธสัญญา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูกรภิกษุทั้งหลายนิโรธสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว อย่างนี้แล กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมมีผลมากมีอานิสงส์มาก.

[๖๖๖]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อนิโรธสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว พึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมี ความยึดถือเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี เมื่อนิโรธสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว อย่างไรกระทำ ให้มากแล้วอย่างไร พึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีความยึดถือเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ?

ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันสหรคต ด้วยนิโรธสัญญา อาศัยวิเวกอาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันสหรคต ด้วยนิโรธสัญญา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อนิโรธสัญญา อันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้แล กระทำให้มาก แล้วอย่างนี้ พึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีความยึดถือเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี.

[๖๖๗]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิโรธสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วย่อมเป็นไป เพื่อประโยชน์มาก เพื่อความเกษมจากโยคะมาก เพื่อความสังเวชมากเพื่อ อยู่เป็นผาสุกมาก ก็นิโรธสัญญา อันบุคคล เจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้ว อย่างไรจึงเป็นไป เพื่อประโยชน์มาก เพื่อความเกษมจากโยคะมาก เพื่อ ความสังเวชมาก เพื่ออยู่เป็นผาสุกมาก ?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์อันสหรคต ด้วยนิโรธสัญญา อาศัย วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วย นิโรธสัญญา อาศัยวิเวก อาศัย วิราคะอาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิโรธสัญญา อันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้แล กระทำให้มากแล้ว อย่างนี้ ย่อมเป็นไป เพื่อประโยชน์มาก เพื่อความเกษม จากโยคะมาก เพื่อความ สังเวชมาก เพื่ออยู่เป็นผาสุกมาก.

[๖๖๘]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่นํ้าคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ ทิศปราจีน ฉันใด ภิกษุผู้เจริญโพชฌงค์ ๗ ก็ย่อมเป็น ผู้น้อมไปสู่นิพพานโน้มไปสู่ นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้น เหมือนกัน ก็ภิกษุผู้เจริญโพชฌงค์ ๗ กระทำ ให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างไร ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่ นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย นิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เจริญโพชฌงค์ ๗ กระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างนี้แลย่อมเป็นผู้ น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน.
สังโยชน์ ๕

[๖๖๙]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ ประการนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ อันภิกษุควรเจริญ เพื่อรู้ยิ่งเพื่อ กำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละซึ่งสังโยชน์อันเป็นส่วน เบื้องสูง ๕ ประการนี้โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน ?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย นิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้แล อันภิกษุควรเจริญ เพื่อรู้ยิ่งเพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละซึ่งสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ ประการนี้แล.

[๖๗๐]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่นํ้าคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศ ปราจีน ฉันใด ภิกษุผู้เจริญโพชฌงค์ ๗ กระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ ก็ย่อมเป็นผู้ น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน ก็ภิกษุ ผู้เจริญ โพชฌงค์ ๗ กระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างไร ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่ นิพพานโน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ มีอันกำจัดราคะ เป็นที่สุด มีอันกำจัด โทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจริญโพชฌงค์ ๗ กระทำ ให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างนี้แล ย่อมเป็น ผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน.

[๖๗๑]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงั โยชนอ์ นั เปน็ สว่ นเบอื้ งสูง ๕ ประการ ๕ ประการเปน็ ไฉน ?คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ ประการนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ อันภิกษุควรเจริญ เพื่อรู้ยิ่งเพื่อ กำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละซึ่งสังโยชน์อันเป็นส่วน เบื้องสูง ๕ ประการนี้ โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน ?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ มีอันกำจัดราคะ เป็นที่สุด มีอันกำจัด โทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะ เป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ มีอันกำจัดราคะเป็น ที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้แล อันภิกษุ ควรเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละสังโยชน์อันเป็นส่วน เบื้องสูง ๕ ประการนี้แล.

เรื่องในวรรคนี้ คือ
๑. อัฏฐิกสัญญา ๒. ปุฬวกสัญญา
๓. วินีลกสัญญา ๔. วิจฉิททกสัญญา
๕. อุทธุมาตกสัญญา ๖. เมตตา
๗. กรุณา ๘. มุทิตา
๙. อุเบกขา ๑๐. อานาปานสติ
จบ อานาปานวรรคที่ ๗ แห่งโพชฌงคสังยุต
๑. อสุภสัญญา ๒. มรณสัญญา
๓. อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๔. สัพพโลเกอนภิรตสัญญา
๕. อนิจจสัญญา ๖. อนิจเจทุกขสัญญา
๗. ทุกเขอนัตตสัญญา ๘. ปหานสัญญา
๙. วิราคสัญญา ๑๐. นิโรธสัญญา
จบ นิโรธวรรคที่ ๘ แห่งโพชฌงคสังยุต


[๖๗๒]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศ ปราจีน บ่าไปสู่ทิศ ปราจีนฉันใด ฯลฯแม่นํ้าทั้ง ๖ สายไหลไปสู่ทิศปราจีนแม่นํ้าทั้ง ๖ สายไหลไปสู่สมุทร ทั้ง ๒ อย่างๆ ละ ๖รวมเป็น ๑๒ เพราะเหตุนั้นจึงเรียกว่า วรรค.
จบ คังคาเปยยาลที่ ๙

[๖๗๓]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ที่ไม่มีเท้าก็ดี ๒ เท้าก็ดี ๔ เท้าก็ดี เท้ามากก็ดีมีประมาณ เท่าใด (พึงขยายเนื้อความอย่างที่กล่าวนี้เป็นตัวอย่าง).

2 รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ตถาคตสูตร ๒. ปทสูต
๓. กูฏสูตร ๔. มูลสูตร
๕. สารสูตร ๖. วัสสิกสูตร
๗. ราชาสูตร ๘. จันทิมสูตร
๙. สุริยสูตร ๑๐. วัตถสูตร
จบ อัปปมาทวรรคที่ ๑๐ แห่งโพชฌงคสังยุต


[๖๗๔]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย การงานที่จะพึงทำด้วยกำลังอย่างใดอย่างหนึ่ง อันบุคคลทำอยู่ การงาน ที่จะพึงทำด้วยกำลังทั้งหมดนั้น อันบุคคลอาศัยแผ่นดิน ดำรงอยู่บน แผ่นดินจึงทำได้ฉันใด. (พึงขยายเนื้อความอย่างที่กล่าวนี้เป็นตัวอย่าง).

1 รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. พลสูตร ๒. พีชสูตร
๓. นาคสูตร ๔. รุกขสูตร
๕. กุมภสูตร ๖. สุกสูตร
๗. อากาสสูตร ๘. เมฆสูตรที่ ๑
๙. เมฆสูตรที่ ๒ ๑๐. นาวาสูตร
๑๑. อาคันตุกสูตร ๑๒. นทีสูตร
จบ พลกรณียวรรคที่ ๑๑

[๖๗๕]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน ? คือ การแสวงหา กาม ๑ การแสวงหาภพ ๑ การแสวงหาพรหมจรรย์ ๑ (พึงขาย 1 เนื้อความที่กล่าวนี้เป็นตัวอย่าง).

2รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. เอสนาสูตร ๒. วิธาสูตร
๓. อาสวสูตร ๔. ภวสูตร
๕. ทุกขสูตรที่ ๑ ๖. ทุกขสูตรที่ ๒
๗. ทุกขสูตรที่ ๓ ๘. ขีลสูตร
๙. มลสูตร ๑๐. นีฆสูตร
๑๑. เวทนาสูตร ๑๒. ตัณหาสูตร
(เอสนาเปยยาลแห่งโพชฌงคสังยุต บัณฑิตพึงให้พิสดารโดยอาศัยวิเวก)
จบ เอสนาวรรคที่ ๑๒


676

โอฆะ ๔
[๖๗๖]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย โอฆะ ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน ? ได้แก่ โอฆะคือกาม โอฆะคือภพ โอฆะคือทิฏฐิ โอฆะคืออวิชชา

[๖๗๗]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา สังโยชน ์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ ประการนี้แล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ อันภิกษุควรเจริญเพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละซึ่ง สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ ประการนี้แล โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน ?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย นิโรธน้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละย่อมเจริญสติ สัมโพชฌงค์ มีอันกำจัดราคะ เป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะ เป็นที่สุด ฯลฯ

ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัด โทสะ เป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะ เป็นที่สุด ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ฯลฯ

ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะ เป็นที่สุด ย่อมเจริญสติ สัมโพชฌงค์ อันน้อมไปสู่ นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัม โพชฌงค์อันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่ นิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้แล อันภิกษุควรเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละซึ่งสังโยชน์ อันเป็นส่วน เบื้องสูง ๕ ประการนี้แล.

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. โอฆสูตร ๒. โยคสูตร
๓. อุปาทานสูตร ๔. คันถสูตร
๕. อนุสยสูตร ๖. กามคุณสูตร
๗. นิวรณสูตร ๘. ขันธสูตร
๙. อุทธัมภาคิยสูตร
จบ โอฆวรรคที่ ๑๓

แม่นํ้าทั้ง ๖ สาย ไหลไปสู่ทิศปราจีน
แม่นํ้าทั้ง ๖ สาย ไหลไปสู่สมุทร ทั้ง ๒ อย่างนั้น อย่างละ ๖
รวมเป็น ๑๒ เพราะเหตุนั้นจึงเรียกว่าวรรค.
จบ วรรคที่ ๑๔

๑. ตถาคตสูตร ๒. ปทสูตร
๓. กูฏสูตร ๔. มูลสูตร
๕. สารสูตร ๖. วัสสิกสูตร
๗. ราชสูตร ๘. จันทิมสูตร
๙. สุริยสูตร ๑๐. วัตถสูตร
(อัปปมาทวรรค พึงขยายเนื้อความให้พิสดารด้วยสามารถแห่งราคะ)2
จบ วรรคที่ ๑๕

๑. พลสูตร ๒. พีชสูตร
๓. นาคสูตร ๔. รุกขสูตร
๕. กุมภสูตร ๖. สุภสูตร
๗. อากาสสูตร ๘. เมฆสูตรที่ ๑
๙. เมฆสูตรที่ ๒ ๑๐. นาวาสูตร
๑๑. อาคันตุกสูตร ๑๒. นทีสูตร
(พลกรณียวรรคแห่งโพชฌงคสังยุต พึงขยายเนื้อความ ให้พิสดารด้วยสามารถ แห่งราคะ)1
จบ วรรคที่ ๑๖

๑. เอสนาสูตร ๒. วิธาสูตร
๓. อาสวสูตร ๔. ภูวสูตร 2
๕. ทุกขสูตรที่ ๑ ๖. ทุกขสูตรที่ ๒
๗. ทุกขสูตรที่ ๓ ๘. ขีลสูตร
๙. มลสูตร ๑๐. นีฆสูตร
๑๑. เวทนาสูตร ๑๒. ตัณหาสูตร
จบ เอสนาวรรค แห่งโพชฌงคสังยุตที่ ๑๗ 3

๑. โอฆสูตร ๒. โยคสูตร
๓. อุปาทานสูตร ๔. คันถสูตร
๕. อนุสยสูตร ๖. กามคุณสูตร
๗. นีวรณสูตร ๘. ขันธสูตร
๙. อุทธัมภาคิยสูตร

(โอฆวรรคพึงขยายเนื้อความให้พิสดาร ด้วยสามารถแห่งการกำจัดราคะเป็นที่สุด การกำจัดโทสะเป็นที่สุด และการกำจัดโมหะเป็นที่สุด) 4
จบ วรรคที่ ๑๘

(มรรคสังยุตแม้ใด ขยายเนื้อความให้พิสดารแล้ว โพชฌงคสังยุตแม้นั้น ก็พึงขยายเนื้อความให้ พิสดาร)
จบ โพชฌงคสังยุต

๓. สติปัฏฐานสังยุต
อัมพปาลีวรรคที่ ๑

678

อัมพปาลิสูตร
ว่าด้วยสติปัฏฐาน ๔
[๖๗๘]
ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ อัมพปาลิวัน ใกล้เมืองเวสาลี ณ ที่นั้น แล พระผู้มีพระภาคตรัส เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับ พระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ ตรัสพระพุทธภาษิตว่า

[๖๗๙]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงความ โศกและความรํ่าไร เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อ บรรลุญายธรรม เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน ?

[๖๘๐]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ พิจารณาเห็น เวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและ โทมนัสในโลกเสียได้ ๑ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้  ๑ พิจารณาเห็นธรรม ในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑.

[๖๘๑]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วง ความโศกและความรํ่าไร เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำนิพพาน ให้แจ้ง หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ฉะนี้แล.

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น ชื่นชม ยินดีพระภาษิต ของพระผู้มีพระภาค.
จบ สูตรที่ ๑

682

สติสูตร
ว่าด้วยสติ
[๖๘๒]
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ อัมพปาลิวัน ใกล้เมืองเวสาลี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัส เรียกภิกษุทั้งหลาย... แล้วได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะอยู่ นี้เป็นอนุศาสนีของเรา สำหรับเธอทั้งหลาย.

[๖๘๓]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้มสติเป็น อย่างไร ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณา เห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัส ในโลกเสียได้ พิจารณาเห็นเวทนา ในเวทนาอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรม ในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัด อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีสติ อย่างนี้แล.

[๖๘๔]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้มีสัมปชัญญะเป็นอย่างไร ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมกระทำความรู้สึกตัว ในการก้าวไป การถอยกลับ กระทำความรู้สึกตัวในการ เหลียวการแล กระทำความรู้สึกตัวในการคู้เข้า และเหยียดออก กระทำการรูสึกตัว ในการทรงผ้าสังฆาฏิ บาตรและจีวร กระทำการรู้สึกตัวในการกิน การดื่มการลิ้ม กระทำการรู้สึกตัวในการถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ กระทำการรู้สึกตัวในการเดิน ยืน นั่ง หลับ ตื่น พูด นิ่งดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีสัมปชัญญะ อย่างนี้แล ภิกษุพึง เป็นผู้มีสติ สัมปชัญญะอยู่นี้เป็นอนุศาสนีของเราสำหรับเธอทั้งหลาย.
จบ สูตรที่ ๒

685

ภิกขุสูตร
ว่าด้วยการเจริญสติปัฏฐาน ๔ โดยส่วน ๓
[๖๘๕]
สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถีครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มี พระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า

[๖๘๖]
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรม โดยย่อ แก่ข้าพระองค์ที่ข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว พึงเป็นผู้ๆ เดียวหลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวเถิด.

พระผู้มีพระภาคตรัสว่าก็โมฆบุรษุบางพวกในโลกนี้ ย่อมเชื้อเชิญเราอย่างนี้ เหมือนกัน และเมื่อเรากล่าว ธรรมแล้ว ย่อมสำคัญเราว่า เป็นผู้ควรติดตามไป เท่านั้นภิกษุนั้น ทูลวิงวอนว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคได้โปรด แสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์ ขอพระสุคตได้โปรดแสดงธรรมโดยย่อ แก่ข้าพระองค์ แม้ไฉน ข้าพระองค์พึงได้เป็นทายาทแห่งภาษิต ของพระผู้มี พระภาค.

[๖๘๗]
พ. ดูกรภิกษุ เพราะเหตุนั้นแหละ เธอจงยังเบื้องต้นในกุศลธรรมให้บริสุทธิ์ก่อน เบื้องต้นของกุศลธรรม คืออะไร ? คือ ศีลที่บริสุทธิ์ดี และความเห็นตรง เมื่อใดศีลของเธอจักบริสุทธิ์ดี และความเห็นของเธอ จักตรง เมื่อนั้น เธออาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ โดยส่วน ๓ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน ?

[๖๘๘]
ดูกรภิกษุ เธอจงพิจารณาเห็นกายในกายภายในอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสีย ๑ จงพิจารณาเห็นกายในกาย ภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัส ในโลกเสีย ๑ จงพิจารณาเห็นกายทั้งภายในภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ๑ จงพิจารณาเห็น เวทนาในเวทนา ภายในอยู่... จงพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายนอกอยู่... จงพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทงั้ ภายในภายนอกอยู่...

จงพิจารณาเห็นจิตในจิตภายในอยู่... จงพิจารณาเห็นจิตในจิตภายนอกอยู... จงพิจารณาเห็นจิตในจิต ทั้งภายในภายนอกอยู่... จงพิจารณาเห็นธรรมใน ธรรมภายในอยู่ มีความเพียรมีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัส ในโลกเสีย ๑ จงพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ๑ จงพิจารณาเห็นธรรมในธรรม ทั้งภายใน ภายนอกอยู่ มีความเพียรมีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสีย ๑.

[๖๘๙]
ดูกรภิกษุ เมื่อใด เธออาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้วจักเจริญสติปัฏ ฐาน ๔ เหล่านี้โดย ส่วน ๓ อย่างนี้ เมื่อนั้น เธอพึงหวังความเจริญ ในกุศลธรรม ทั้งหลายอย่างเดียว ตลอดคืน หรือวันอันจักมาถึง ไม่มีความเสื่อมเลย.

[๖๙๐]
ครั้งนั้นภิกษุนั้นชื่นชม ยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาค ลุกจากอาสนะ ถวายบังคม พระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป เธอเป็นผู้ๆ เดียว หลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ไม่นานนักก็ทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแหง่ พรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ซึ่งกุลบุตรทั้งหลาย ผู้ออกบวชเป็น บรรพชิตโดยชอบ ต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ก็แลภิกษุนั้น ได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย.
จบ สูตรที่ ๓

691

โกสลสูตร
ว่าด้วยการเจริญสติปัฏฐาน ๔
[๖๙๑]
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พราหมณคามชื่อโกศล ในแคว้นโกศล ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ แล้วได้ตรัสพระพุทธภาษิต นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายที่เป็นผู้มาใหม่ บวชยังไม่นาน เพิ่งมาสู่ธรรม วินัยนี้อันเธอทั้งหลาย พึงให้สมาทาน พึงให้ตั้งอยู่ พึงให้ดำรงมั่นในการเจริญสติ ปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน ?

[๖๙๒]
มาเถิด ผู้มีอายุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีธรรมเอกผุดขึ้นมีจิต ผ่องใส มีจิตตั้งมั่น มีจิต มีอารมณ์เดียว เพื่อรู้กายตามความเป็น จริง จงพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่... เพื่อรู้เวทนา ตามความเป็นจริง จงพิจารณาเห็น จิตในจิตอยู่... เพื่อรู้จิตตามความเป็นจริง จงพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีธรรมเอกผุดขึ้น มีจิตผ่องใส มีจิต ตั้งมั่นมีจิต มีอารมณ์เดียวเพื่อรู้ธรรมตามความเป็นจริง.

[๖๙๓]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุทั้งหลายที่ยังเป็นเสขะ ยังไม่บรรลุอรหัต ปรารถนา ความเกษมจากโยคะ อันยอดเยี่ยม ก็ย่อมพิจารณา เห็นกายในกายอยู่ มีความเพียรมีสัมปชัญญะ มีธรรมเอกผุดขึ้น มีจิตผ่องใส มีจิตตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์ เดียวเพื่อกำหนดรู้กาย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่... เพื่อกำหนดรู้ เวทนาย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่... เพื่อกำหนดรู้จิต ย่อมพิจารณาเห็นธรรม ในธรรมอยู่มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีธรรมเอกผุดขึ้น มีจิตผ่องใส มีจิตตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เดียว เพื่อกำหนดรู้ธรรม.

[๖๙๔]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุทั้งหลายที่เป็นอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงแล้ว มีประโยชน์ตน ถึงแล้วโดยลำดับ สิ้นสังโยชน์ที่จะนำไปสู่ภพแล้ว หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้โดยชอบ ก็ย่อมพิจารณาเห็น กายในกายอยู่มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีธรรมเอกผุดขึ้น มีจิตผ่องใส มีจิตตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เดียว พรากจากกายแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่... พรากจากเวทนาแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่... พรากจากจิตแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นธรรม ในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีธรรมเอกผุดขึ้น มีจิตผ่องใสมีจิตตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เดียว พรากจากธรรมแล้ว.

[๖๙๕]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายที่เป็นผู้มาใหม่ บวชยังไม่นาน เพิ่งมาสู่ธรรมวินัย นี้ อันเธอทั้งหลาย พึงให้สมาทาน พึงให้ตั้งอยู่ พึงให้ดำรงมั่น ในการเจริญสติ ปัฏฐาน ๔ เหล่านี้.
จบ สูตรที่ ๔

696

อกุสลราสิสูตร
กองอกุศล ๕
[๖๙๖]
สาวัตถีนิทาน. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพุทธภาษิตนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อจะ กล่าวว่ากองอกุศล จะกล่า วให้ถูกต้องกล่าวถึงนิวรณ์ ๕ เพราะว่ากองอกุศลทั้งสิ้นนี้ ได้แก่นิวรณ์ ๕ นิวรณ์ ๕ เป็นไฉน ?

คือกามฉันทนิวรณ์ ๑ พยาบาทนิวรณ์ ๑ ถีนมิทธนิวรณ์ ๑ อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ ๑ วิจิกิจฉานิวรณ์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อจะกล่าวว่ากองอกุศล จะกล่าวให้ถูกต้อง กล่าว ถึงนิวรณ์ ๕ เหล่านี้เพราะกองอกุศลทั้งสิ้นนี้ ได้แก่ นิวรณ์ ๕.

[๖๙๗]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อจะกล่าวว่ากองกุศล จะกล่าวให้ถูก ต้องกล่าวถึงสติปัฏฐาน ๔ เพราะว่า กองกุศลทั้งสิ้นนี้ ได้แก่สติปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็น กายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสีย

ย่อมพิจารณา เห็นเวทนาในเวทนาอยู่...ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่... ย่อม พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียรมีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลายเมื่อ จะกล่าวว่า กองกุศล จะกล่าวให้ถูก ต้องกล่าวถึงสติปัฏฐาน ๔ เพราะว่ากองกุศลทั้งสิ้นนี้ ได้แก่สติปัฏฐาน. 1
จบ สูตรที่ ๕

698

สกุณัคฆีสูตร
ว่าด้วยอารมณ์โคจร
[๖๙๘]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีแล้ว เหยี่ยวโฉบลงจับนกมูลไถโดยรวดเร็วครั้งนั้น นกมูลไถกำลังถูก เหยี่ยวนำไป ได้รำพันอย่างนี้ว่า เราเป็นคนอับโชค มีบุญน้อย ที่เที่ยวไปในถิ่นของผู้อื่น อันมิใช่ถิ่น หากิน ถ้าวันนี้เราไปเที่ยวในถิ่น อันเป็นของ บิดาตนซึ่งควรเที่ยวไปไซร้ เหยี่ยวตัวนี้เราอาจต่อสู้ได้.

เหยี่ยวจึงถามว่า แน่ะนกมูลไถ ก็ถิ่นซึ่งเป็นของบิดาตน อันเป็นที่หากินของเจ้า เป็นเช่นไร ? นกมูลไถตอบว่า คือที่ๆ มีก้อนดิน ซึ่งเขาทำการไถไว้.

ครั้งนั้น เหยี่ยวหยิ่งในกำลังของตน อวดอ้างกำลังของตน ปล่อยนกมูลไถไป พร้อมด้วยบอกว่า เจ้าจงไปเถิดนกมูลไถ เจ้าจะไปแม้ ในที่นั้นก็ไม่รอดพ้นเราได้ นกมูลไถจึงไปยังที่ๆ มีก้อนดิน ซึ่งเขา ทำการไถไว้ ขึ้นสู่ก้อนดินก้อนใหญ่ ยืน ท้าเหยี่ยวอยู่ว่า แน่ะเหยี่ยว บัดนี้ท่านจงมาจับเราเถิด

ครั้งนั้น เหยี่ยวหยิ่งในกำลังของตนอวดอ้างในกำลังของตน จึงห่อปีกทั้ง ๒ โฉบหานกมูลไถโดย รวดเร็ว ครั้งใด นกมูลไถรู้ว่าเหยี่ยวนี้ โฉบลงมาเร็วจะจับเรา

ครั้งนั้น ก็หลบเข้าซอกดินนั้นเอง เหยี่ยวยังอกให้กระแทกดิน (ตาย) ในที่นั้นเอง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องนกมูลไถเที่ยวไปในถิ่นอื่น อันมิใช่ถิ่นหากิน ย่อมเป็นเช่นนี้ แล.

[๖๙๙]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลาย อย่าเที่ยวไปในอารมณ์อื่น อันมิใช่โคจร เมื่อเธอทั้งหลาย เที่ยวไปในอารมณ์อื่น อันมิใช่โคจร มารจักได้ ช่องมารจักได้อารมณ์ ก็อารมณ์อื่น อันมิใช่โคจรของภิกษุ คืออะไร ?

กามคุณ ๕ กามคุณ ๕ เป็นไฉน ? คือ รูปอันพึงรู้ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารักชัก ให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด เสียงที่พึงรู้ ด้วยหู... กลิ่นที่พึงรู้ ด้วยจมูก... รสที่พึ่งรู้ด้วยลิ้น ... โผฏฐัพพะที่ พึงรู้ด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ชวนให้กำหนัด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้คือ อารมณ์อื่น มิใช่โคจรของภิกษุ.

[๗๐๐]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเที่ยวไปในอารมณ์ ซึ่งเป็นของบิดาตน อันเป็นโคจร เมื่อเธอ ทั้งหลายเที่ยวไปในอารมณ์ ซึ่งเป็นของ บิดาตน อันเป็นโคจรมารจักไม่ได้ช่อง มารจักไม่ได้อารมณ์ ก็อารมณ์อันเป็นของบิดา อันเป็นของโคจรคืออะไร ? คือ สติปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน ?

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณา เห็นเวทนา ในเวทนา อยู่... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก เสีย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้คือ อารมณ์ซึ่งเป็นของบิดาตน อันเป็นโคจรของภิกษุ.
จบ สูตรที่ ๖

701

มักกฏสูตร
ว่าด้วยอารมณ์อันมิใช่โคจร
[๗๐๑]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถิ่นแห่งขุนเขาชื่อหิมพานต์ อันไปได้ยาก ขรุขระ ไม่เป็นที่่เที่ยว ไปทั้งของฝูงลิง ทั้งของหมู่มนุษย์มีอยู่ถิ่น แห่ง ขุนเขาชื่อหิมพานต์ อันไปได้ยาก ขรุขระเป็นที่เที่ยวของฝูงลิงเท่านั้น ไม่ใช่ของหมู่มนุษย์มีอยู่ ภูมิภาคแห่ง ขุนเขา ชื่อหิมพานต์ ราบเรียบ น่ารื่นรมย์ เป็นที่เที่ยวไปทั้งของ ฝูงลิง ทั้งของหมู่มนุษย์ มีอยู่ ณ ที่นั้นพวกพรานวางตั้งไว้ในทางเดินของฝูงลิงเพื่อดักลิง ในลิงเหล่านั้น

ลิงเหล่าใดไม่โง่ไม่ลอกแลก ลิงเหล่านั้น เห็นดังนั้น ย่อมหลีกออกห่าง ส่วนลิงใด โง่ ลอกแลกลิงตัวนั้น เมื่อเข้าไปใกล้ตังนั้น เอามือจับ มือก็ติดตัง มันจึงเอามือข้าง ที่สองจับด้วยคิดว่าจักปลดมือออก มือข้าง ที่สองก็ติดตังอีก มันจึงเอาเท้าจับ ด้วยคิดว่าจักปลดมือทั้งสองออก เท้าก็ติดตังอีก มันจึงเอาเท้าข้าง ที่สองจับ ด้วยคิดว่า จักปลดมือทั้งสองและเท้าออก เท้าที่สองก็ติดตังอีก มันจึงเอาปากกัด ด้วยคิดว่า จักปลดมือทั้งสอง และเท้าทั้งสองออก ปากก็ติดตังอีก

ลิงตัวนั้นถูกตรึง ๕ ประการอย่างนี้แล นอน ถอนใจ ถึงความพินาศ ยุบยับแล้ว อันพรานจะพึงกระทำได้ ตามความปรารถนา พรานแทงลิงตัวนั้น แล้วจึงยกขึ้นไว้ ในที่นั้นเอง ไม่ละทิ้ง หลีกไปตามความ ปรารถนา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องลิงเที่ยวไป ในถิ่นอื่น อันมิใช่ที่ควรเที่ยวไป ย่อมเป็นเช่นนี้ แหละ.

[๗๐๒]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายอย่าเที่ยวไปในอารมณ์อื่น อันมิใช่โคจร เมื่อเธอ ทั้งหลายเที่ยวไปในอารมณ์อื่น อันมิใช่โคจร มารได้ช่องมาร จักได้อารมณ์ ก็อารมณ์อื่นอันมิใช่โคจรของ ภิกษุ คืออะไร ?

คือ กามคุณ ๕กามคุณ ๕ เป็น ไฉน ? คือรูปที่พึ่ง รู้ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารักชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด เสียงที่พึงรู้ด้วยหู... กลิ่นที่พึงรู้ ด้วยจมูก... รสที่พึงรู้ด้วยลิ้น... โผฏฐัพพะที่พึงรู้ด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารักชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้คืออารมณ์อื่น อันมิใช่โคจรของภิกษุ.

[๗๐๓]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเที่ยวไปในอารมณ์ซึ่งเป็นของบิดาตน อันเป็น โคจร เมื่อเธอทั้งหลาย เที่ยวไปในอารมณ์ ซึ่งเป็นของ บิดาตน อันเป็นโคจรมาร จักไม่ได้อารมณ์ ก็อารมณ์อันเป็นของบิดาตน อันเป็นโคจรของภิกษุ คืออะไร ? คือ สติปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน ?

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌา และโทมนัส ในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา อยู่... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัส ในโลกเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้คือ อารมณ์ซึ่งเป็นของบิดาตนอันเป็นโคจรของภิกษุ.
จบ สูตรที่ ๗

704

สูทสูตร
ว่าด้วยการสำเหนียกและไม่สำเหนียกนิมิต
[๗๐๔]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนพ่อครัวผู้เขลา ไม่ฉลาดเฉียบแหลม บำรุง พระราชาหรือมหาอำมาตย์ ของพระราชาด้วยสูปะต่างชนิด มีรสเปรี้ยวจัดบ้าง ขมจัดบ้าง เผ็ดจัดบ้าง หวานจัดบ้าง มีรสเฝื่อนบ้าง ไม่เฝื่อนบ้าง เค็มบ้าง จืดบ้างพ่อครัวนั้นไม่สังเกตรสอาหาร ของตนว่า วันนี้ ภัตและสูปะของเราชนิดนี้ ท่านชอบใจหรือท่านรับสูปะนี้มาก หรือท่านชมสูปะนี้ วันนี้ภัตและสูปะของเรา มีรสเปรี้ยว จัดท่านชอบใจ หรือท่านรับสูปะมีรสเปรี้ยวจัด หรือท่านหยิบเอาสูปะ มีรสเปรี้ยวจัดมาก หรือท่านชมสูปะ มีรสเปรี้ยวจัด

วันนี้ ภัตและสูปะของเรามีรสขมจัด... มีรสเผ็ดจัด...มีรสหวานจัด... มีรสเฝื่อน... มีรสไม่เฝื่อน... มีรสเค็ม... วันนี้ ภัตและสูปะ ของเรา มีรสจืดท่านชอบใจ หรือ ท่านรับสูปะมีรสจืด หรือท่านหยิบเอาสูปะ มีรสจืดมากหรือท่านชมสูปะมีรสจืด ดังนี้ พ่อครัวนั้นย่อมไม่ได้เครื่อง นุ่งห่ม ไม่ได้ค่าจ้างไม่ได้รางวัล ข้อนั้นเป็นพราะเหตุไร ? เพราะพ่อครัวนั้นเป็นคนเขลา ไม่ฉลาดเฉียบแหลมไม่สังเกตเครื่องหมาย อาหาร ของตน ฉันใด.

[๗๐๕]
ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็น ผู้เขลา ไม่ฉลาด เฉียบแหลม เธอพิจารณาเห็นกายในกายอยู่  มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย เมื่อเธอพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ จิตย่อม ไม่ตั้งมั่น ยังละอุปกิเลสไม่ได้ เธอไม่สำเหนียกนิมิตนั้น ย่อมพิจารณาเห็นเวทนา ในเวทนาอยู่...ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม อยู่ มีความเพียรมีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย

เมื่อพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่จิต ย่อมไม่ตั้งมั่นยังละอุปกิเลสไม่ได้ เธอไม่ สำเหนียกนิมิตนั้น ภิกษุนั้นย่อมไม่ได้ธรรมเป็นเครื่องอยู่ เป็นสุข ในปัจจุบัน และ ไม่ได้สติสัมปชัญญะ ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? เพราะภิกษุนั้นเป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด เฉียบแหลม ไม่สำเหนียกนิมิต แห่งจิตของตน.

[๗๐๖]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนพ่อครัวผู้มีปัญญาฉลาด เฉียบแหลมบำรุง พระราชาหรือมหาอำมาตย์ ของพระราชาด้วยสูปะต่างชนิด มีรสเปรี้ยวจัดบ้าง ขมจัดบ้าง เผ็ดจัดบ้าง หวานจัดบ้าง มีรสเฝื่อนบ้าง ไม่เฝื่อนบ้าง มีรสเค็มบ้าง จืดบ้างพ่อครัวนั้นย่อมสังเกต รสอาหารของตนว่า

วันนี้ ภัตและสูปะของเรา ชนิดนี้ ท่านชอบใจหรือท่านรับสูปะนี้ หรือหยิบเอาสูปะ นี้มาก หรือท่านชมสูปะนี้ วันนี้ ภัตและสูปะ ของเรามีรสเปรี้ยวจัด... วันนี้ ภัต และสูปะของเรามีรสขมจัด... มีรสเผ็ดจัด...มีรสหวานจัด... มีรสเฝื่อน ... มีรสไม่เฝื่อน... มีรสเค็ม...

วันนี้ ภัตและสูปะของเรามีรสจืดท่านชอบใจ หรือท่านรับสูปะ มีรสจืด หรือท่าน หยิบเอา สูปะมีรสจืดมาก หรือท่านชมสูปะ มีรสจืด ดังนี้ พ่อครัวนั้นย่อมได้เครื่อง นุ่งห่ม ได้ค่าจ้าง ได้รางวัลข้อนั้นเพราะเหตุไร ? เพราะพ่อครัวนั้นเป็นคนมีปัญญา ฉลาด เฉียบแหลมสังเกตรส อาหารของตน ฉันใด.

[๗๐๗]
ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญาฉลาด เฉียบแหลม ย่อมพิจารณา เห็นกายในกายอยู่  มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติกำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลก เสีย เมื่อเธอพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ จิตย่อมตั้งมั่นละอุปกิเลสได้ เธอย่อมสำเหนียกนิมิตนั้น ย่อมพิจารณาเห็นเวทนา ในเวทนาอยู่...ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม อยู่ มีความเพียรมีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย

เมื่อเธอพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ จิตย่อมตั้งมั่น ละอุปกิเลสได้ เธอย่อม สำเหนียกในนิมิตนั้น ภิกษุนั้นย่อมได้ธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็น สุขในปัจจุบัน และได้สติสัมปชัญญะ ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร ?เพราะภิกษุนั้นเป็นผู้มีปัญญา ฉลาด เฉียบแหลม สำเหนียกนิมิตแห่งจิตของตน.
จบ สูตรที่ ๘

708

คิลานสูตร
ว่าด้วยมีตนเป็นเกาะ
[๗๐๘]
ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ เวฬุวคาม ใกล้เมืองเวสาลี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก ภิกษทั้งหลายมาแล้ว ตรัสว่ามาเถิด ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเข้าจำพรรษาในเมืองเวสาลี โดยรอบ ตามมิตร ตามสหาย ตามพวก (ของตนๆ) เถิด เราจะเข้าจำพรรษา ณ เวฬุวคามนี้ แลภิกษุ เหล่านั้นทูล รับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว เข้าจำพรรษาในเมืองเวสาลี โดยรอบ ตามมิตร ตามสหายตามพวก (ของตนๆ).

[๗๐๙]
ส่วนพระผู้มีพระภาคทรงเข้าจำพรรษา ณ เวฬุวคามนั้นแหละ เมื่อพระผู้มีพระ ภาคทรงเข้าจำพรรษา แล้ว อาพาธกล้าบัง เกิดขึ้นเวทนาอย่างหนัก ใกล้มรณะเป็นไปอยู่ ได้ยินว่า ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคทรงพระดำรงสติ สัมปชัญญะ ทรงอดกลั้นไม่ทรงพรั่นพรึง

ครั้งนั้นพระองค์ทรง พระดำริว่า การที่เรายังไม่บอกภิกษุผู้อุปัฏฐาก ยังไม่อำลา ภิกษุสงฆ์แล้วปรินิพพาน เสียนั้น หาสมควร แก่เราไม่ ไฉนหนอ เราพึงขับไล่ อาพาธนี้ เสียด้วยความเพียร แล้วดำรงชีวิตสังขารอยู่

ครั้งนั้น พระผู้มี พระภาค ทรงขับไล่ พระประชวรนั้น ด้วยความเพียร แล้วทรง ดำรงชีวิตสังขารอยู่ ครั้งนั้นพระผู้มี พระภาคทรงหายจากพระประชวรแล้ว ทรงหายจากความไข้ไม่นาน ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาด ไว้ในร่ม แห่งวิหาร.

[๗๑๐]
ลำดับนั้นท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคม พระผู้มีพระภาคแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เห็น พระผู้มีพระภาคทรงอดทน ข้าพระองค์เห็นพระผู้มีพระภาคทรง ยังอัตภาพให้เป็นไป กายของข้าพระองค์ ประหนึ่งจะงอมระงมไป แม้ทิศทั้งหลายก็ไม่ปรากฏแก่ข้าพระองค์ แม้ธรรม ทั้งหลาย ก็ไม่แจ่มแจ้ง แก่ข้าพระองค์ เพราะความประชวรของพระผู้มีพระภาค แต่ข้าพระองค์มา เบาใจ อยู่หน่อยหนึ่งว่า พระผู้มีพระภาคยังไม่ทรงปรารภ ภิกษุสงฆ์ แล้วตรัสพระพุทธพจน์อันใดอันหนึ่ง จักยังไม่เสด็จ ปรินิพพานก่อน พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

ดูกรอานนท์ ก็บัดนี้ ภิกษุสงฆ์จะยังมาหวังอะไรในเราเล่า ธรรมอันเราแสดงแล้ว กระทำไม่ให้มีในภายใน ไม่ให้มีในภายนอก กำมือ อาจารย์ในธรรมทั้งหลาย มิได้มีแก่ตถาคต ผู้ใดพึงมีความดำริฉะนี้ว่าเราจัก บริหารภิกษุสงฆ์ หรือว่า ภิกษุสงฆ์ยังมีตัวเราเป็นที่เชิดชู ผู้นั้นจะพึงปรารภภิกษุสงฆ์ แล้วกล่าวคำ อันใดอันหนึ่งแน่นอน

ดูกรอานนท์ ตถาคตมิได้มีความดำริอย่างนี้ว่า เราจักบริหารภิกษุสงฆ์ หรือว่า ภิกษุสงฆ์มีตัวเราเป็น ที่เชิดชู ดังนี้ ตถาคตจักปรารภภิกษุ สงฆ์แล้วกล่าวคำอันใด อันหนึ่งทำไมอีก เล่า บัดนี้เราก็แก่เฒ่า เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยแล้ววัยของเรา เป็นมาถึง ๘๐ ปีแล้วเกวียนเก่า ยังจะใช้ไปได้ ก็เพราะการ ซ่อมแซมด้วยไม้ไผ่ ฉันใด กายของตถาคตก็ฉันนั้นเหมือนกัน ยังเป็นไปได้ ก็คล้ายกับเกวียนเก่า ที่ซ่อมแซม แล้วด้วยไม้ไผ่ ฉะนั้น.

[๗๑๑]
ดูกรอานนท์ สมัยใด ตถาคตเข้าเจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต เพราะไม่กระทำไว้ในใจ ซึ่งนิมิตทั้งปวงเพราะดับเวทนาบางเหล่าแล้วอยู่ สมัยนั้น กายของตถาคต ย่อมผาสุก เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลาย จงมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งคือ มีธรรม เป็นเกาะมีธรรมเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง อยู่เถิด.

[๗๑๒]
ดูกรอานนท์ ก็ภิกษุเป็นผู้มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่งไม่มีสื่ง อื่นเป็นที่พึ่ง คือมีธรรมเป็นเกาะ มีธรรม เป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโสมนัส 1 ในโลกเสีย ดูกรอานนท์ ภิกษุเป็นผู้มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือมีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสื่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ อย่างนี้แล.

[๗๑๓]
ดูกรอานนท์ ก็ผู้ใดผู้หนึ่งในบัดนี้ก็ดี ในเวลาที่เราล่วงไปแล้วก็ดี จักเป็นผู้มีตน เป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือ มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้ใคร่ ต่อการศึกษา ภิกษุเหล่านั้นจัก เป็นผู้เลิศ.
จบ สูตรที่ ๙

714

ภิกขุนีสูตร
ผู้มีจิตตั้งมั่นในสติปัฏฐาน ๔ ย่อมรู้คุณวิเศษ
[๗๑๔]
สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้นในเวลาเช้าท่านพระอานนท์นุ่งแล้วถือ บาตรและจีวร เข้าไปยังสำนักของนาง ภิกษุณีแห่งหนึ่งแล้ว นั่งบนอาสนะ ที่เขาปูลาดไว้ ครั้งนั้น ภิกษุณีจำนวนมากรูปเข้าไปหาท่านพระ อานนท์ ไหว้ท่านพระอานนท์แล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้ว จึงพูดกะท่านพระอานนท์ว่า ข้าแต่พระอานนท์ ผู้เจริญ ภิกษุณีมีมากรูป ในธรรมวินัยนี้มีจิตตั้งมั่นดีแล้ว ในสติปัฏฐาน ๔ ย่อมรู้ คุณวิเศษ อันยิ่งอย่างอื่น จากคุณวิเศษในกาลก่อน

ท่านพระอานนท์ตอบว่า น้องหญิง ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ข้อนี้เป็นอย่างนี้ ภิกษุหรือ ภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง มีจิตตั้งมั่นดีแล้วในสติปัฏฐาน ๔ ภิกษุหรือภิกษุณีรูปนั้น พึ่งหวัง ข้อนี้ได้ว่าจักรู้คุณวิเศษอันยิ่งอย่างอื่น จากคุณวิเศษในกาลก่อนลำดับนั้น ท่านพระอานนท์ยังภิกษุณี เหล่านั้นให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมมีกถาแล้วลุกจากอาสนะหลีกไป.

[๗๑๕]
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เที่ยวไปบิณฑบาตในพระนครสาวัตถีแล้ว ในเวลา ปัจฉาภัต กลับจากบิณฑบาต เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายบังคม พระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มี พระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเช้านี้ ข้าพระองค์นุ่งแล้วถือบาตร และจีวรเข้าไปยังสำนักนางภิกษุณีแห่งหนึ่ง แล้วนั่งบนอาสนะที่เข้าปูลาดไว้ ครั้งนั้น ภิกษุณีมากรูป เข้ามาหาข้าพระองค์ ไหว้ข้าพระองค์แล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้วได้พูดกะข้าพระองค์ว่า ข้าแต่ท่านพระอานนท์ผู้เจริญ ภิกษุณีมากรูปใน ธรรมวินัยนี้มีจิต ตั้งมั่น ดีแล้วในสติปัฏฐาน ๔ ย่อมรู้คุณ วิเศษอันยิ่งอย่างอื่น จากคุณวิเศษในกาลก่อน

เมื่อภิกษุณีทั้งหลาย พูดอย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์ตอบว่า น้องหญิง ข้อนี้เป็นอย่าง นั้น ข้อนี้เป็นอย่างนั้นภิกษุหรือภิกษุณีรูปใด รูปหนึ่ง มีจิตตั้งมั่นดีแล้วในสติปัฏฐาน ๔ ภิกษุหรือภิกษุณีรูปนั้นพึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักรู้คุณวิเศษ อันยิ่ง อย่างอื่น จากคุณวิเศษในกาลก่อน.

[๗๑๖]
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ภิกษุหรือ ภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง มีจิตตั้งมั่นดีแล้วในสติปัฏฐาน ๔ ภิกษุหรือภิกษุณีรูปนั้น พึงหวังข้อนี้ได้ว่าจักรู้คุณ วิเศษอันยิ่งอย่างอื่น จากคุณวิเศษในกาลก่อน สติปัฏ ฐาน ๔ เป็นไฉน ?

[๗๑๗]
ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย เมื่อเธอพิจารณาเห็นกาย ในกายอยู่ ความเร่าร้อนมีกายเป็น อารมณ์เกิดขึ้นในกายก็ดี ความหดหู่แห่งจิต เกิดขึ้น ก็ดีจิตฟุ้งซ่าน ไปใน ภายนอกก็ดี ภิกษุนั้นพึงตั้งจิต ไว้ให้มั่นในนิมิต อันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อเธอตั้งจิตไว้ให้มั่นในนิมิต อันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ ปราโมทย์ย่อมเกิด

เมื่อเธอปราโมทย์ ปีติย่อมเกิดเมื่อเธอมีใจประกอบด้วยปีติ กายย่อมระงับ เธอมีกาย ระงับแล้ว ย่อม เสวยสุขเมื่อเธอมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น เธอย่อมพิจารณา เห็นอย่างนี้ว่า เราตั้งจิตไว้เพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์นั้นสำเร็จแก่เราแล้ว บัดนี้เราจะคุมจิตไว้ เธอคุมจิตไว้และไม่ตรึก ไม่ตรองย่อมรู้ชัดว่า เราไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีสติในภายใน เป็นผู้มีความสุข ดังนี้.

[๗๑๘]
ดูกรอานนท์ อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นเวทนา ในเวทนาอยู่... ย่อมพิจารณา เห็นจิตในจิตอยู่... ย่อมพิจารณา เห็นธรรม ในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสีย เมื่อเธอพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ ความเร่าร้อนมีธรรมเป็นอารมณ์ เกิดขึ้นใน กายก็ดี ความหดหู่แห่งจิตเกิดขึ้นก็ดี จิตฟุ้งซ่านไปในภายนอกก็ดี

ภิกษุนั้นพึงตั้งจิตไว้ให้มั่นในนิมิตอันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อเธอตั้งจิตไว้ ให้มั่นในนิมิตอันเป็น ที่ตั้งแห่งความ เลื่อมใสอย่างใดอย่างหนึ่ง อยู่ ปราโมทย์ย่อมเกิด เมื่อเธอ ปราโมทย์ปีติย่อมเกิด เมื่อเธอมีใจประกอบด้วยปีต ิกายย่อมระงับ เธอมีกายระงับแล้วย่อมเสวยสุข เมื่อเธอมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น เธอย่อมพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า เราตั้งจิตไว้เพื่อประโยชน์ใดประโยชน์นั้น สำเร็จแก่เราแล้ว บัดนี้เราจะคุมจิตไว้ เมื่อเธอคุมจิตไว้และไม่ตรึก ไม่ตรองย่อม รู้ชัดว่าเราไม่มีวิตก เราไม่มีวิจาร มีสติในภายใน เป็น ผู้มีความสุข ดังนี้ ดูกรอานนท์ภาวนาย่อมมีเพราะตั้งจิตไว้ ด้วยประการฉะนี้แล.

[๗๑๙]
ดูกรอานนท์ ก็ภาวนาย่อมมีเพราะไม่ตั้งจิตไว้ในภายนอกเป็นอย่างไร ? ดูกรอานนท์ ภิกษุมิได้ตั้งจิตไว้ ในภายนอก ย่อมรู้ชัดว่า จิตอันเรามิได้ตั้งไว้ใน ภายนอกในลำดับนั้น เธอย่อมรู้ชัดว่า จิตของเราไม่ได้ ฟุ้งซ่านไปข้างหลังและ ข้างหน้า พ้นแล้วมิได้ตั้งอยู่ ก็แลในกาลนั้น เธอย่อมรู้ชัดว่า เราย่อมพิจารณา เห็นกายในกายอยู่มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ เป็นผู้มีความสุข ดังนี้.

[๗๒๐]
ดูกรอานนท์ ภิกษุมิได้ตั้งจิตไว้ในภายนอก ย่อมรู้ชัดว่าจิต อันเรามิได้ตั้งไว้ใน ภายนอก ในลำดับนั้น เธอย่อมรู้ชัดว่า จิตของเราไม่ฟุ้งซ่าน ไปข้างหลังและ ข้างหน้า พ้นแล้วมิได้ตั้งอยู่ ก็แลอยู่ในกาลนั้น เธอย่อมรู้ชัดว่าเราย่อมพิจารณา เห็นเวทนาในเวทนาอยู่มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ เป็นผู้มี ความสุข ดังนี้.

[๗๒๑]
ดูกรอานนท์ ภิกษุมิได้ตั้งจิตไว้ในภายนอก ย่อมรู้ชัดว่าจิตอันเรามิได้ตั้งไว้ใน ภายนอก ในลำดับนั้น เธอย่อมรู้ชัดว่า จิตของเราไม่ฟุ้งซ่าน ไปข้างหลังและ ข้างหน้า พ้นแล้วมิได้ตั้งอยู่ ก็แลในกาลนั้นเธอย่อมรู้ชัดว่า เราย่อมพิจารณาเห็น จิตในจิตอยู่ มีความเพียรมีสัมปชัญญะ มีสติ เป็นผู้มีความสุข ดังนี้.

[๗๒๒]
ดูกรอานนท์ ภิกษุมิได้ตั้งจิตไว้ในภายนอก ย่อมรู้ชัดว่า จิตของเรามิได้ฟุ้งซ่าน ไปข้างหลังและข้างหลัง พ้นแล้ว มิได้ตั้งอยู่ ก็แล ในกาลนั้น เธอย่อมรู้ชัดว่า เราย่อมพจิ ารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ เป็นผู้มี ความสุข ดังนี้.

[๗๒๓]
ดูกรอานนท์ ภาวนาย่อมมีเพราะไม่ได้ตั้งจิตไว้อย่างนี้แล ดูกรอานนท์ ภาวนาย่อม มีเพราะตั้งจิตไว้ เราได้แสดงแล้ว ภาวนาย่อมมี เพราะมิได้ตั้งจิตไว้ เราก็แสดง แล้ว ด้วยประการฉะนี้แล ดูกรอานนท์ กิจอันใดอันศาสดา ผู้แสวงหาประโยชน์ผู้ อนุเคราะห์ มุ่งความ อนุเคราะห์จะพึงทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจอันนั้น เรากระทำ แล้วแก่เธอทั้งหลาย อานนท์ นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง เธอทั้งหลายจงเพ่ง พินิจ อย่าประมาทอย่าได้มีความร้อนใจในภายหลัง นี้เป็นอนุศาสนีของเรา สำหรับเธอทั้งหลาย.

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพุทธพจน์นี้แล้ว ท่านพระอานนท์ปลื้มใจชื่นชมภาษิต ของพระผู้มีพระภาคแล้วแล.
จบ สูตรที่ ๑๐
จบ อัมพปาลิวรรค

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อัมพปาลิสูตร ๒. สติสูตร
๓. ภิกขุสูตร ๔. โกสลสูตร
๕. อกุสลราสิสูตร ๖. สกุณัคฆีสูตร
๗. มักกฏสูคร 1 ๘. สูทสูต 2
๙. คิลานสูตร ๑๐. ภิกขุนีสูตร
1. มักกฏสูตร -ผู้รวบรวม
2. สูทสูตร -ผู้รวบรวม


นาฬันทวรรคที่ ๒


724

มหาปุริสสูตร

ว่าด้วยผู้เป็นมหาบุรุษ
[๗๒๔]
สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มี พระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถาม พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า มหาบุรุษๆ ดังนี้ บุคคลจะเป็น มหาบุรุษได้ด้วยเหตุเท่าไรหนอแล ?

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรสารีบุตร เราเรียกว่ามหาบุรษุ เพราะเป็นผู้มีจิตหลุดพ้น เราไม่เรียกว่า มหาบุรุษ เพราะเป็นผู้มีจิตยังไม่หลุดพ้น.

[๗๒๕]
ดูกรสารีบุตร ก็บุคคลเป็นผู้มีจิตหลุดพ้นอย่างไร ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมพิจารณา เห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัส ในโลกเสีย เมื่อเธอพิจารณาเห็นกายใน กายอยู่ จิตย่อมคลายกำหนัดย่อมหลุดพ้น จากอาสวะทั้งหลายเพราะ ไม่ถือมั่น ย่อมพิจารณาเห็น เวทนาในเวทนาอยู่.

..ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย เมื่อพิจารณาเห็นธรรม ในธรรมอยู่ จิตย่อมคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่น

ดูกรสารีบุตร บุคคลเป็นผู้มีจิตหลุดพ้น อย่างนี้แล เราเรียกว่ามหาบุรุษ เพราะเป็น ผู้มีจิตหลุดพ้น เราไม่เรียกว่า มหาบุรุษ เพราะเป็นผู้มีจิต ยังไม่หลุดพ้น.
จบ สูตรที่ ๑

726

นาฬันทสูตร
ว่าด้วยธรรมปริยาย
[๗๒๖]
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปาวาริกอัมพวัน ใกล้เมืองนาฬันทา ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ ประทับ ถวายบังคมพระผู้มี พระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มี-พระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เลื่อมใส ในพระผู้มีพระภาค อย่างนี้ว่า สมณะหรือพราหมณ์อื่น ซึ่งจะรู้ยิ่งไปกว่าพระผู้มี พระภาคในทางปัญญา เครื่องตรัสรู้ มิได้ มีแล้ว จักไม่มี และย่อมไม่มีในบัดนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

ดูกรสารีบุตร นี้เป็นอาสภิวาจาอย่างสูง ที่เธอกล่าวแล้ว เธอถือเอาแต่วาทะ อย่างเดียวบันลือสีหนาทว่า พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระองค์เลื่อมใส ในพระผู้มี พระภาคอย่างนี้ว่าสมณะหรือพราหมณ์อื่น ซึ่งจะรู้ยิ่งไปกว่า พระผู้มีพระภาคในทาง ปัญญา เครื่องตรัสรู้มิได้มีแล้ว จักไม่มีและย่อมไม่มี ในบัดนี้.

[๗๒๗]
ดูกรสารีบุตร พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่าใด ที่ได้มีมาแล้วในอดีตกาล พระผู้มีพระภาคเหล่านั้น ทุกพระองค์ อันเธอกำหนดซึ่งใจ ด้วยใจแล้ว รู้ว่าพระผู้มี พระภาคเหล่านั้น ทรงมีศีล อย่างนี้ มีธรรม อย่างนี้ มีปัญญาอย่างนี้ มีธรรมเป็น เครื่องอยู่อย่างนี้หรือว่าหลุดพ้น แล้วอย่างนี้ ดังนี้ กระนั้นหรือ ? สา. หามิได้ พระเจ้าข้า.

[๗๒๘]
พ. ดูกรสารีบุตร พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่าใด ที่จักมีในอนาคตกาล และพระผู้มีพระภาค เหล่านั้นทุกพระองค์ อันเธอกำหนดซึ่ง ใจด้วยแล้วรู้ว่าพระผู้มี พระภาคเหล่านั้น ทรงมีศีลอย่างนี้ มีธรรมอย่างนี้ มีปัญญาอย่างนี้ มีธรรมเป็น เครื่องอยู่อย่างนี้หรือว่าหลุดพ้นแล้ว อย่างนี้ ดังนี้ กระนั้นหรือ ? สา. หามิได้ พระเจ้าข้า.

[๗๒๙]
พ. ดูกรสารีบุตร พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในบัดนี้ คือเราอันเธอกำหนด ซึ่งใจด้วยใจแล้วรู้ว่า พระผู้มีพระภาคเป็นผู้มีศีล อย่างนี้ มีธรรมอย่างนี้ มีปัญญา อย่างนี้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่อย่างนี้ หรือว่าหลุดพ้นแล้วอย่างนี้ ดังนี้ กระนั้น หรือ ? สา. หามิได้ พระเจ้าข้า.

[๗๓๐]
พ. ดูกรสารีบุตร ก็ในข้อนี้ เธอไม่มีเจโตปริยญาณ ในพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุอะไร ? เธอจึงกล่าว อาสภิวาจาอย่างสูงนี้ เธอถือเอา วาทะแต่อย่างเดียวบันลือสีหนาทว่า พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระองค์เลื่อมใส ในพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า สมณะหรือ พราหมณ์อื่น ซึ่งจะรู้ยิ่งไปกว่าพระผู้มีพระภาคในทางพระปัญญา เครื่องตรัสรู้ มิได้มีแล้ว จักไม่มี และย่อมไม่มี ในบัดนี้.

สา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จะมีเจโตปริยญาณ ในพระอรหันตสัมมา สัมพุทธเจ้า ทั้งที่เป็น อดีต อนาคตและ ปัจจุบันก็หามิได้ แต่ว่าข้าพระองค์รู้ได้ ตามกระแสพระธรรม.

[๗๓๑]
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เปรียบเหมือนปัจจันตนครของพระราชา มีเชิงเทินมั่นคง มีกำแพงและหอรบ หนาแน่นมีประตูเดียว คนเฝ้าประตู ของพระราชาในนครนั้น มีปัญญาเฉลียวฉลาด ห้ามคนที่ไม่รู้จัก ให้ค้นที่รู้จักเข้าไป เขาเดินตรวจตามทางรอบนครนั้น ไม่พบที่ต่อหรือ ช่องแห่งกำแพง โดยที่สุด แม้เพียงแมวลอดออกไปได้ เขาจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่าสัตว์ตัวเขื่องๆ ชนิดใดชนิดหนึ่ง จะเข้านครนี้ หรือจะออกไป

สัตว์เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมเข้าหรือออกโดยประตูนี้เท่านั้นแม้ฉันใด ข้าพระองค์รู้ ตามกระแสพระธรรม ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่าใด ที่ได้มีมาแล้วในอดีตกาล พระผู้มีพระภาคเหล่านั้น ทุกพระองค์ ทรงละนิวรณ์ ๕ อันเป็นเครื่อง เศร้าหมองแห่งใจ ทอนกำลัง ปัญญา ทรงมีพระหฤทัยตั้งมั่นดีแล้ว ในสติปัฏฐาน ๔ ทรงเจริญโพชฌงค์ ๗ ตามความเป็นจริง ตรัสรู้พระอนุตตร สัมมาสัมโพธิญาณแล้ว

พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่าใด จักมีในอนาคตกาล... จักตรัสรู้พระอนุตตร สัมมาสัมโพธิญาณ แม้พระผู้มีพระภาคอรหันต สัมมา สัมพุทธเจ้าในบัดนี้ ก็ทรงละ นิวรณ์ ๕ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งใจ ทอนกำลังปัญญา ทรงมีพระหฤทัยตั้งมั่น ดีแล้ว ในสติปัฏฐาน ๔ ทรงเจริญโพชฌงค์ ๗ ตามความเป็นจริง ตรัสรู้พระอนุตตร สัมมาสัมโพธิญาณ.

[๗๓๒]
พ. ดีละๆ สารีบุตร เพราะเหตุนั้นแหละ เธอพึงกล่าวธรรมปริยายนี้เนืองๆแก่ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ด้วยว่า โฆษบุรุษเหล่าใด จักมีความเคลือบแคลงหรือ ความสงสัยในตถาคต โฆษบุรุษ เหล่านั้น จักละความเคลือบแคลงหรือ ความสงสัยนั้นเสีย เพราะได้ฟังธรรมปริยายนี้.
จบ สูตรที่ ๒

733

จุนทสูตร
ว่าด้วยการปรินิพพานของพระสารีบุตร
[๗๓๓]
สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของ ท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี ใกล้ พระนครสาวัตถีก็ในสมัยนั้น ท่านพระสารีบุตร อยู่ ณ บ้านนาฬกคาม ในแคว้น มคธ อาพาธ เป็น ไข้หนัก ได้รับทุกขเวทนา สามเณร จุนทะเป็นอุปัฏฐากของท่าน ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรปรินิพพาน ด้วยอาพาธ นั่นแหละ.

[๗๓๔]
ครั้งนั้น สามเณรจุนทะถือเอาบาตร และจีวรของท่านพระสารีบุตร เข้าไปหา พระอานนท์ยังพระวิหาร เชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก เศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี นมัสการท่านพระอานนท์แล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ ว่าข้าแต่ ท่านผู้เจริญ ท่านพระสารีบุตร ปรินิพพานแล้วนี้ บาตรและจีวรของท่าน ท่านพระอานนท์กล่าวว่า

ดูกรอาวุโสจุนทะ นี้เป็นมูลเรื่องที่จะเฝ้า พระผู้มีพระภาค มีอยู่ มาไปกันเถิด เราจักเข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาค แล้วกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระองค์ สามเณรจุนทะรับคำ ของท่านพระอานนท์แล้ว.

[๗๓๕]
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์กับสามเณรจุนทะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มี พระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ท่าน พระอานนท์ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สามเณรจุนทะรูปนี้ได้บอก อย่างนี้ว่า ท่านพระสารีบุตร ปรินิพพานแล้ว นี้บาตรและจีวรของท่าน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กายของข้าพระองค์ประหนึ่งจะงอมงมไป แม้ทิศทั้งหลาย ก็ไม่ปรากฏ แก่ข้าพระองค์ แม้ธรรมก็ไม่แจ่มแจ้งแก่ข้าพระองค์ เพราะได้ฟังว่า ท่านพระสารีบุตรปรินิพพานแล้ว.

[๗๓๖]
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรอานนท์ สารีบุตรพาเอาศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุติขันธ์ หรือ วิมุติญาณทัสสนขันธ์ ปรินิพพาน ไปด้วยหรือ ? ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า หามิได้ พระเจ้าข้า ท่านพระสารีบุตรมิได้พาศีลขันธ์ ปรินิพพานไปด้วย ฯลฯ มิได้พาวิมุติญาณทัสสนขันธ์ปรินิพพานไปด้วย ก็แต่ว่าท่านพระสารีบุตรเป็นผู้กล่าวแสดงให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริง ไม่เกียจคร้าน ในการแสดงธรรม อนุเคราะห์เพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ข้าพระองค์ทั้งหลาย มาตามระลึกถึง โอชะแห่งธรรม ธรรมสมบัติ และการอนุเคราะห์ด้วยธรรมนั้น ของท่านพระสารีบุตร.

[๗๓๗]
พ. ดูกรอานนท์ ข้อนั้น เราได้บอกแก่เธอทั้งหลายไว้ก่อนแล้ว ไม่ใช่หรือว่า จักต้องมีความจาก ความพลัดพราก ความเป็นอย่างอื่น จากของรัก ของชอบใจทั้งสิ้นเพราะฉะนั้น จะพึงได้ในของรัก ของชอบใจนี้แต่ที่ไหน ? สิ่งใดเกิดแล้ว มีแล้ว ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว มีความทำลายเป็นธรรมดา การปรารถนาว่า ขอสิ่งนั้นอย่าทำลายไปเลยดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้.

[๗๓๘]
ดูกรอานนท์ เปรียบเหมือนเมื่อต้นไม้ใหญ่ มีแก่น ตั้งอยู่ ลำต้นใดซึ่งใหญ่กว่าพงึ ทำลายลง ฉันใด เมื่อภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ซึ่งมีแก่น ดำรงอยู่ สารีบุตรปรินิพพาน แล้วฉันนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น จะพึงได้ในข้อนี้แต่ที่ไหน ? สิ่งใดเกิดแล้ว มีแล้วมีปัจจัยปรุงแต่งแล้ว ย่อมมีความทำลายเป็นธรรมดา การปรารถนาว่า ขอสิ่งนั้นอย่าทำลายไปเลย ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้ เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลาย จงมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือ มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่งอย่ามีสิ่งอื่น เป็นที่พึ่งอยู่เถิด.

[๗๓๙]
ดูกรอานนท์ ภิกษุมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือมีธรรม เป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอืนเป็นที่พึ่งอยู่อย่างไร ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อม พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชญาและ โทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณา เห็นเวทนาในเวทนาอยู่... ย่อมพิจารณาเห็นจิต ในจิตอยู่...ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ดูกรอานนท์ ภิกษุมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็น ที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่น เป็นที่พึ่งคือ มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง อยู่อย่างนี้แล.

[๗๔๐]
ดูกรอานนท์ ก็ภิกษุพวกใดพวกหนึ่ง ในบัดนี้ก็ดี ในกาลที่เราล่วงไปแล้วก็ดี จักเป็นผู้มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือ มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง พวกภิกษุเหล่านั้นที่เป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา จักเป็นผู้เลิศ.
จบ สูตรที่ ๓

741

เจลสูตร
ว่าด้วยการมีธรรมเป็นเกาะเป็นที่พึ่ง
[๗๔๑]
สมัยหนึ่ง เมอื่ พระสารีบตุ รและพระโมคคัลลานะปรินพิ พานแล้ว ไม่นาน พระผู้มี พระภาคประทับอยู่ แทบฝั่งแม่น้ำคงคา ใกล้อุกก เจลนคร ในแคว้น วัชชี กับพระ ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่

ก็สมัยนั้นพระผู้มี พระภาคอันภิกษุสงฆ์แวดล้อมแล้วประทับนั่งที่กลางแจ้ง ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาค ทรงชำเลืองดูภิกษุ สงฆ์ผู้นิ่งอยู่ แล้วตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บริษัทของเรานี้ปรากฏเหมือนว่างเปล่า เมื่อสารีบุตรและ โมคคัลลานะ ยังไม่ ปรินิพพาน สารีบุตรและโมคคัลลานะ อยู่ในทิศใด ทิศนั้นของเราย่อมไม่ว่างเปล่า ความไม่ห่วงใย ย่อมมีในทิศนั้น.

[๗๔๒]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้เหล่าใดได้มีมาแล้ว ในอดีตกาล พระผู้มีพระภาค แม้เหล่านั้น ก็มีคู่สาวกเป็นอย่างยิ่ง เท่านั้น เหมือนกับสารีบุตรและโมคคัลลานะของเรา พระอรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้า แม้เหล่าใดจักมีในอนาคตกาลพระผู้มีพระภาค แม้เหล่านั้น ก็จักมีคู่สาวกนั้น เป็นอย่างยิ่งเท่านั้น เหมือนกับสารีบุตรและโมคคัลลานะของเรา.

[๗๔๓]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เป็นความอัศจรรย์ของสาวกทั้งหลาย เป็นเรื่องที่ไม่เคยมีมา ของสาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลายจักกระทำตามคำสอน และกระทำตามโอวาท ของพระศาสดาและจักเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ เป็นที่ตั้งแห่งความเคารพ และ สรรเสริญของบริษัท ๔ เป็นความ อัศจรรย์ของตถาคต เป็นเรื่องที่ไม่เคยมีมาของ ตถาคต เมื่อคู่สาวกแม้เห็นปานนี้ปรินิพพานแล้ว ความโศกหรือความร่าไร ก็มิได้มี แก่พระตถาคต เพราะฉะนั้นจะพึงได้ข้อนี้แต่ที่ไหน สิ่งใดเกิดแล้วมีแล้วปัจจัยปรุง แต่งแล้ว มีความทำลายเป็น ธรรมดา การปรารถนาว่า ขอสิ่งนั้นอย่าทำลายเลย ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้.

[๗๔๔]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้ใหญ่ มีแก่นตั้งอยู่ ลำต้นที่ใหญ่กว่าพึง ทำลายลงฉันใด เมื่อภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ซึ่งมีแก่นดำรงอยู่ สารีบุตรและ โมคคัลลานะ ปรินิพพานแล้ว ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น จะพึงได้ในข้อนี้ แต่ที่ไหน ?

สิ่งใดเกิดแล้ว มีแล้ว มีปัจจัย ปรุงแต่งแล้ว มีความทำลาย เป็นธรรมดา การปรารถนาว่าขอสิ่งนั้นอย่าทำลายไปเลย ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้ เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุทั้งหลายเธอทั้งหลาย จงมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือ มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็น ที่พึ่งอยู่เถิด.

[๗๔๕]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งคือ มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรม เป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง อยู่ย่างไร ?

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ และพิจารณาเห็นกายในกายอยู่... พิจารณาเห็นเวทนา ในเวทนาอยู่...พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่... พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะมีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีตน เป็นเกาะมีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือมีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ อย่างนี้แล.

[๗๔๖]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุพวกใดพวกหนึ่งในบัดนี้ก็ดี ในกาลที่ล่วงไปแล้วก็ดี จักเป็นผู้มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือ มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ ภิกษุเหล่านี้นั้น ที่เป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา จักเป็นผู้เลิศ.
จบ สูตรที่ ๔

747

พาหิยสูตร
ศีลเป็นเบื้องต้นแห่งกุศลธรรม
[๗๔๗]
สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น ท่านพระพาหิยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มี พระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มี พระภาค ทรงแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้า พระองค์ ซึ่งข้าพระองค์ ได้ฟังแล้ว จักพึงเป็นผู้หลีกออกจากหมู่ อยู่ผู้เดียวไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ด้วยเถิด

พระผู้มีพระภาคตรัสว่าดูกรพาหิยะ เพราะฉะนั้น เธอจงชำระเบื้องต้นในกุศลธรรม ให้บริสุทธิ์เสียก่อน ก็อะไรเป็นเบื้องต้นของ กุศลธรรม คือ ศีลที่บริสุทธิ์ดี และความเห็นอันตรง.

[๗๔๘]
ดูกรพาหิยะ เมื่อใดแลศีลของเธอจักบริสุทธิ์ดี และความเห็นของเธอจักตรงเมื่อนั้น เธอพึงอาศัยศีล ตั้งมั่นในศีล แล้วเจริญสติปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน ? ดูกรพาหิยะ เธอจงพิจารณาเห็นกาย ในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติกำจัดอภิชญา 1 และโทมนัสในโลกเสีย พิจารณาเห็น เวทนาในเวทนาอยู่... พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่...

พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติกำจัดอภิชฌา และ โทมนัส ในโลกเสีย เมื่อใด เธออาศัยศีลตั้งมั่นอยู่ในศีลแล้ว จักเจริญสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้อย่างนี้ เมื่อนั้น เธอพึงหวังความเจริญในกุศลธรรม ทั้งหลายได้ทีเดียว ตลอดราตรีหรือวันที่มาจักถึง จักไม่มีความเสื่อมเลย.

[๗๔๙]
ครั้งนั้น ท่านพระพาหิยะชื่นชม อนุโมทนา ภาษิตของพระผู้มีพระภาค แล้วลุกจาก อาสนะถวายบังคมพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณ แล้วหลีกไป ท่านพระ พาหิยะ หลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียรมีใจเด็ดเดี่ยว ไม่นานนักก็กระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่ง พรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลาย ออกบวช เป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็น อย่างนี้มิได้มี และท่านพระพาหิยะ เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย.
จบ สูตรที่ ๕

750

อุตติยสูตร
อาศัยศีลเจริญสติปัฏฐาน ๔
[๗๕๐]
สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น ท่านพระอุตติยะได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทาน พระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์ ซึ่งข้า พระองค์ ได้ฟังแล้ว จะพึงเป็นผู้หลีกเร้นออกจากหมู่ อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวเถิดพระผู้มีพระภาคตรัสว่าดูกรอุตติยะ เพราะฉะนั้น เธอจงชำระเบื้องต้นในกุศลธรรมให้บริสุทธิ์เสียก่อน ก็อะไรเป็นเบื้องต้นของ กุศลธรรม คือ ศีลที่บริสุทธิ์ดี และความเห็นอันตรง.

[๗๕๑]
ดูกรอุตติยะ เมื่อใดแล ศีลของเธอจักบริสุทธิ์ดี และความเห็นของเธอจักตรง เมื่อนั้น เธอพึงอาศัยศีล ตั้งมั่นในศีลแล้ว เจริญสติปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน ? ดูกรอุตติยะ เธอจงพิจารณาเห็นกายใน กายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัส ในโลกเสีย พิจารณาเห็นเวทนา ในเวทนาอยู่... พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่... พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย เมื่อใดเธอ อาศัยศีล ตั้งมั่นอยู่ในศีลแล้ว จักเจริญใน สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้อย่างนี้ เมื่อนั้น เธอจักไปพ้นฝั่งแห่งบ่วงมาร.

[๗๕๒]
ครั้งนั้น ท่านพระอุตติยะ ชื่นชม อนุโมทนา ภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้ว ลุกจากอาสนะ ถวายบังคม พระผู้มีพระภาคกระทำประทักษิณ แล้วหลีกไป ท่านพระอุตติยะหลีกออกจากหมู่ อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียรมีใจเด็ดเดี่ยว ไม่นานนัก ก็กระทำให้แจ้งซึ่งที่สุด แห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตร ทั้งหลายออกบวชเป็นบรรพชิต โดยชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี และท่าน พระอุตติยะ เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย.
จบ สูตรที่ ๖

753

อริยสูตร
สติปัฏฐาน ๔ เป็นอริยะ
[๗๕๓]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว เป็นอริยะ เป็นนิยยานิกะ ย่อมนำไปเพื่อ ความสิ้นทุกข์โดยชอบ แก่ผู้กระทำตาม สติปัฏฐาน ๔ นั้นเป็นไฉน ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณา เห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัส ในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่... ย่อมพิจารณาเห็นจิต ในจิตอยู่... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก เสีย สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้แล อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว เป็นอริยะเป็นนิยยานิกะ ย่อมนำไป เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ แก่ผู้กระทำตาม.
จบ สูตรที่ ๗

754

พรหมาสูตร
สติปัฏฐาน ๔ เป็นทางอันเอก
[๗๕๔]
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค แรกตรัสรู้ ประทับอยู่ ณ อชปาลนิโครธ แทบฝั่งแม่นํ้าเนรัญชรา ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงหลีกออกเร้น อยู่ในที่ลับ ได้เกิดความปริวิตกขึ้นในพระหฤทัยอย่างนี้ว่า ทางนี้เป็นที่ไป อันเอกเพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อล่วงความโศก และความรํ่าไร เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง คือ สติปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน ?

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียรมีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสีย พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่... พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่... พิจารณาเห็น ธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียรมีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัด อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ทางนี้เป็น ที่ไปอันเอกเพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อล่วงความโศกและความรํ่าไร เพื่อความดับสูญ แห่งทุกข์ และโทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง คือ สติปัฏฐาน ๔.

[๗๕๕]
ครั้งนั้น ท้าวสหัมบดีพรหม ทราบความปริวิตกในพระหฤทัยของพระผู้มีพระภาคแล้วด้วยใจ จึงหายตัว จากพรหมโลก มาปรากฏเบื้อง พระพักตร์ของพระผู้มีพระภาค เหมือนบุรุษมีกำลัง เหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้นท้าวสหัมบดีพรหมกระทำผ้าเฉวียงบ่า ข้างหนึ่ง ประนมอัญชลีไปทางพระผู้มี พระภาคแล้วได้กราบทูลว่า.

[๗๕๖]
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคตข้อนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญทางนี้ เป็นที่ไปอันเอก เพื่อ ความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อล่วงความโศกและความร่ำ ไรเพื่อความดับ สูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำนิพพานให้แจ้งคือ สติปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน ?

ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌา และโทมนัส ในโลกเสีย พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่... พิจารณาเห็นจิต ในจิตอยู่... พิจารณาเห็นธรรมในธรรม อยู่มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ทางนี้เป็นทางไปอันเอก เพื่อความ บริสุทธิ์ของ สัตว์ทั้งหลาย เพื่อล่วงความโศกและความรํ่าไร เพื่อความดับสูญ แห่งทุกข์ โทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง คือ สติปัฏฐาน ๔.

[๗๕๗]
ท้าวสหัมบดีพรหมได้กราบทูลอย่างนี้แล้ว ครั้นแล้วได้กราบทูลนิคมคาถา ต่อไปอีกว่า พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงเห็นความสิ้นชาติ และที่สุด แห่งชาติทรง อนุเคราะห์ด้วยประโยชน์เกื้อกูล ทรงทราบทางเป็นที่ไป อันเอก ในกาลก่อน ชนทั้งหลาย ข้ามโอฆะได้แล้วด้วยทางนี้ ในอนาคต ก็จักข้าม ด้วยทางนี้ และในบัดนี้ ก็ข้ามอยู่ด้วยทางนี้.
จบ สูตรที่ ๘

758

เสทกสูตรที่ ๑
ผู้รักษาผู้อื่นชื่อว่ารักษาตน
[๗๕๘]
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของชาวสุมภะชื่อเสทกะ ในสุมภชนบท ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว คนจัณฑาลผู้เป็น นักไต่ราว ยกไม้ไผ่ขึ้นตั้งไว้แล้ว เรียกศิษย์ชื่อเมทกถาลิกะมาบอกว่า

ดูกรเมทกถาลิกะผู้เป็นสหาย มาเถิด มาขึ้นไม้ไผ่ แล้วยืนอยู่บนคอของเรา เมทกถาลิกะผู้เป็นศิษย์รบั คำของนักไต่ราวแล้วขึ้นราวไม้ไผ่ ยืนอยู่บนคอ ของอาจารย์ ครั้งนั้นแล คนจัณฑาลนักไต่ราว จึงพูดกะเมทกถาลิกะผู้เป็นศิษย์ว่า

ดูกรเมทกถาลิกะผู้เป็นสหาย ท่านจงรักษาเรา เราจักรักษาท่าน เราทั้งสองต่าง คุ้มครองกันและกัน ต่างรักษากันและกันอย่างนี้ จักแสดงศิลปะ จักได้ลาภ และจักลงจากราวไม้ไผ่ได้โดยสวัสดี.

[๗๕๙]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออาจารย์กล่าวอย่างนี้แล้ว เมทกถาลิกะผู้เป็นศิษย์ ได้กล่าวตอบว่า ข้าแต่ท่านอาจารย์ ก็เรื่องนี้จักเป็นอย่างนั้น หามิได้ ท่านจงรักษาตน ผมก็จักรักษาตน เราทั้งสองต่างคุ้มครองตน ต่างรักษาตนอย่างนี้ จักแสดงศิลปะ จักได้ลาภและจักลงจาก ไม้ไผ่ได้โดยสวัสดี พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า เหตุผลในข้อนั้นมีดังนี้เหมือนศิษย์ชื่อเมทกถาลิกะ ได้พูดกะอาจารย์ ฉะนั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอพึงเสพสติปัฏฐานด้วยคิดว่า เราจักรักษาผู้อื่น บุคคล ผู้รักษาตน ย่อมชื่อว่ารักษาผู้อื่นบุคคลผู้รักษาผู้อื่น ชื่อว่ารักษาตน.

[๗๖๐]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้รักษาตน ย่อมชื่อว่ารักษาผู้อื่น อย่างไร ? ที่ชื่อว่ารักษาผู้อื่น ด้วยการส้องเสพ ด้วยการเจริญ ด้วยการกระทำ ให้มาก บุคคลผู้รักษาตนย่อมชื่อว่ารักษาผู้อื่น อย่างนี้แล.

[๗๖๑]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้รักษาผู้อื่นย่อมชื่อว่ารักษาตน อย่างไร ? ที่ชื่อว่ารักษาตน ด้วยความอดทน ด้วยความไม่เบียดเบียน ด้วยความมีจิต ประกอบด้วยเมตตา ด้วยความเอ็นดู บุคคลผู้รักษาผู้อื่น ย่อมชื่อว่ารักษาตน อย่างนี้แล.

[๗๖๒]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอพึงเสพสติปัฏฐานด้วยคิดว่า เราจักรักษาตน พึงเสพ สติปัฏฐานด้วยคิดว่า เราจักรักษาผู้อื่น บุคคลผู้รักษาตน ย่อมชื่อว่ารักษาผู้อื่น บุคคล ผู้รักษาผู้อื่น ย่อมชื่อว่ารักษาตน.
จบ สูตรที่ ๙

763

เสทกสูตรที่ ๒
ว่าด้วยกายคตาสติ
[๗๖๓]
ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของชาวสุมภะ ชื่อ เสทกะ ในสุมภ ชนบท ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษ เหล่านั้น ทูลรับพระผู้มพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า :-

[๗๖๔]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนหมู่มหาชนได้ทราบข่าวว่า มีนางงามในชนบท พึงประชุมกัน ก็นางงาม ในชนบทนั้น น่าดูอย่างยิ่งในการ ฟ้อนรำ น่าดูอย่างยิ่ง ในการขับร้อง หมู่มหาชน ได้ทราบข่าวว่า นางงามในชนบทจะฟ้อนรำขับร้อง พึงประชุมกันยิ่งขึ้นกว่าประมาณ ครั้งนั้น บุรุษผู้อยากเป็นอยู่ ไม่อยากตาย ปรารถนาความสุขเกลียดทุกข์ พึงมากล่าวกะหมู่มหาชนนั้นอย่างนี้ว่า

ดูกรบุรุษผู้เจริญ ท่านพึงนำภาชนะนํ้ามันอันเต็มเปี่ยมนี้ ไปในระหว่างที่ประชุมใหญ่ กับนางงามในชนบท และจักมีบุรุษ เงื้อดาบเดินตามบุรุษ ผู้นำหม้อน้ำมันนั้น ไปข้างหลังๆ บอกว่าท่านจักทำน้ำมันนั้น หกแม้หน่อยหนึ่ง ในที่ใด ศีรษะของท่าน จักขาดตกลงไปในที่นั้นทีเดียว

ดูกรภิกษุทั้งหลายเธอทั้งหลาย จะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ? บุรุษผู้นั้น จะไม่ใส่ใจภาชนะนํ้ามันโน้น แล้วพึงประมาทในภายนอกเทียว หรือภิกษุทั้งหลาย กราบทูลว่า ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

[๗๖๕]
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราทำอุปมานี้ เพื่อให้เข้าใจเนื้อความนี้ชัดขึ้น เนื้อความ ในข้อนี้ มีอย่างนี้แล คำว่า ภาชนะนํ้ามันอันเต็มเปี่ยม เป็นชื่อของกายคตาสติ.

[๗๖๖]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า กายคตาสติ จักเป็นของอันเรา เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว กระทำให้เป็นดังยาน กระทำให้เป็นที่ตั้ง กระทำไม่หยุด สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย พึงศึกษาอย่างนี้แล.
จบ สูตรที่ ๑๐

จบ นาฬันทวรรคที่ ๒
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. มหาปุริสสูตร ๒. นาฬันทสูตร
๓. จุนทสูตร ๔. เจลสูตร
๕. พาหิยสูตร ๖. อุตติยสูตร
๗. อริยสูตร ๘. พรหมาสูตร
๙. เสทกสูตรที่ ๑ ๑๐. เสทกสูตรที่ ๒


สีลัฏฐิติวรรคที่ ๓


767

สีลสูตร
ว่าด้วยกุศลศีล
[๗๖๗]
ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์และท่านพระภัททะ อยู่ ณ กุกกุฏาราม ใกล้เมือง ปาฏลีบุตร ครั้งนั้น ท่านพระภัททะออกจากที่เร้นในเวลาเย็น เข้าไปหาท่าน พระอานนท์ถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่าน พระอานนท์ ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้พูดกะท่านพระอานนท์ว่า :-

[๗๖๘]
ดูกรท่านอานนท์ ศีลที่เป็นกุศลเหล่าใดอันพระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว ศีลที่เป็น กุศลเหล่านี้ พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วมีพระประสงค์อย่างไร ? ท่านพระอานนท์ กล่าวว่า ดีละๆ ท่านภัททะ ท่านช่างคิด ช่างเฉียบแหลม ช่างไต่ถามเหมาะๆ ก็ท่านถามอย่างนี้หรือว่า

ดูกรอานนท์ ศีลที่เป็นกุศลเหล่าใด อันพระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว ศีลที่เป็นกุศล เหล่านี้ พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วมีพระประสงค์อย่างไร ?
ภ. อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ.

[๗๖๙]
อา. ดูกรท่านภัททะ ศีลที่เป็นกุศลเหล่าใดอันที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว ศีลที่เป็นกุศลเหล่านี้ พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว เพียงเพื่อเจริญสติปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน ?

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนา ในเวทนา อยู่... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่... ย่อมพิจารณาเห็น ธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัส ในโลกเสีย

ดูกรท่านภัททะ ศีลที่เป็น กุศลเหล่าใด อันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว ศีลที่เป็น กุศลเหล่านี้ พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว เพียงเพื่อเจริญสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้แล.
จบ สูตรที่ ๑

770

ฐิติสูตร
ว่าด้วยการตั้งอยู่แห่งพระสัทธรรม
[๗๗๐]
นิทานต้นสูตรเหมือนกัน. ท่านพระภัททะนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ถาม พระอานนท์ว่า :-

[๗๗๑]
ดูกรท่านอานนท์ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย เครื่องให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ไม่ได้ นาน ในเมื่อพระตถาคตเสด็จปรินิพพานแล้ว และอะไรเป็นเหตุเป็น ปัจจัย เครื่องให้พระสัทธรรมตั้ง อยู่ได้นาน ในเมื่อพระตถาคตเสด็จปรินิพพานแล้ว ?

ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ดีละๆ ท่านภัททะ ท่านช่างคิด ช่างเฉียบแหลม ช่างไต่ถามเหมาะ ๆ ก็ท่านถามอย่างนี้หรือว่า ดูกรท่านอานนท์ อะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัย เครื่องให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ไม่ได้ นาน ในเมื่อพระตถาคตเสด็จ ปรินิพพานแล้ว และอะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัย เครื่องให้พระสัทธรรม ตั้งอยู่ได้นาน ในเมื่อพระตถาคตเสด็จปรินิพพานแล้ว.
ภ. อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ.

[๗๗๒]
อา. ดูกรท่านผู้มีอายุ เพราะบุคคลไม่ได้เจริญ ไม่ได้กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔พระสัทธรรม จึงตั้งอยู่ไม่ได้นาน เมื่อพระตถาคตเสด็จ ปรินิพพานแล้ว และ เพราะบุคคลเจริญกระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ พระสัทธรรมจึงตั้งอยู่ได้นาน ในเมื่อพระตถาคตเสด็จ ปรินิพพาน แล้ว สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน ?

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนา ในเวทนาอยู่... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก เสีย ดูกรท่านผู้มีอายุ เพราะบุคคลไม่ได้เจริญ ไม่ได้กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔เหล่านี้แล พระสัทธรรมจึงตั้งอยู่ไม่ได้นาน เมื่อพระตถาคตเสด็จปรินิพพานแล้ว และเพราะบุคคลได้เจริญ ได้กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้แล พระสัทธรรมจึงตั้งอยู่ได้นาน ในเมื่อพระตถาคตเสด็จ ปรินิพพานแล้ว.
จบ สูตรที่ ๒

773

ปริหานสูตร
ว่าด้วยความเสื่อมแห่งพระสัทธรรม
[๗๗๓]

สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์และท่านพระภัททะ อยู่ ณ กุกกุฏาราม ใกล้เมือง ปาฏลีบุตร ครั้งนั้น ท่านพระภัททะออกจากที่เร้นในเวลาเย็น เข้าไปหาท่าน พระอานนท์ถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่าน พระอานนท์ ครั้นผ่านการปราศรัย พอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่าน พระอานนท์ว่า :-

[๗๗๔]
ดูกรท่านอานนท์ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย เครื่องทำให้พระสัทธรรมเสื่อม อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัยเครื่องทำให้พระสัทธรรม ไม่เสื่อม ? ท่านพระอานนท์ กล่าวว่า ดีละๆ ท่านภัททะ ท่านช่างคิด ช่างเฉียบแหลม ช่างไต่ถามเหมาะๆ ก็ท่านถามอย่างนี้หรือว่า ดูกรอานนท์ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย เครื่องทำให้ พระสัทธรรมเสื่อม อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องทำให้พระสัทธรรมไม่เสื่อม ? .
ภ. อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ.

[๗๗๕]
อา. ดูกรท่านผู้มีอายุ เพราะบุคคลไม่ได้เจริญ ไม่ได้กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔พระสัทธรรม จึงเสื่อม และเพราะบุคคลได้เจริญ ได้กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔พระสัทธรรมจึงไม่เสื่อม สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน ?

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสีย พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่... พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่... พิจารณาเห็น ธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย

ดูกรท่านผู้มีอายุ เพราะบุคคลไม่ได้เจริญ ไม่ได้กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้แล พระสัทธรรม จึงเสื่อม และเพราะบุคคลได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่ง สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้แล พระสัทธรรม จึงไม่เสื่อม.
จบ สูตรที่ ๓

776

สุทธกสูตร
ว่าด้วยการเจริญสติปัฏฐาน ๔
[๗๗๖]
สรวัตถีนิทาน. 1 ดูกรภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ นี้ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้แล.
จบ สูตรที่ ๔

777

พราหมณสูตร
ว่าด้วยพระสัทธรรมตั้งอยู่ไม่ได้นาน
[๗๗๗]
ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถีครั้งนั้น พราหมณ์คนหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาคถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกะ พระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัย พอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า :-

[๗๗๘]
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย เครื่องทำให้พระสัทธรรม ตั้งอยู่ไม่ได้นาน ในเมื่อพระตถาคตเสด็จปรินิพพานแล้ว และอะไรเป็นเหตุเป็น ปัจจัย เครื่องทำให้พระสัทธรรม ตั้งอยู่ได้นาน ในเมื่อพระตถาคตเสด็จปรินิพพาน แล้ว ?

[๗๗๙]
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์ เพราะบุคคลไม่ได้เจริญ ไม่ได้กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ พระสัทธรรมจึงตั้งอยู่ไม่ได้นาน เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว และเพราะบุคคลเจริญ กระทำใหม้ าก ซงึ่ สติปฏั ฐาน ๔ พระสัทธรรมจึงตงั้ อยู่ได้นาน ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน ?

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนา ในเวทนาอยู... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัส ในโลกเสีย

ดูกรพราหมณ์ เพราะบุคคลไม่ได้เจริญ ไม่ได้กระทำมาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔เหล่านี้แล พระสัทธรรม จึงตั้งอยู่ได้ไม่นาน ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว และเพราะบุคคลได้เจริญ ได้กระทำให้มาก ซึ่ง สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้แล พระสัทธรรมจึงตั้งอยู่ได้นานในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว.

[๗๘๐]
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์นั้นได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงาย ของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่บุคคล ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่าผู้มีจักษุจักแลเห็นได้ ฉะนั้น ขอท่านพระโคดมโปรด ทรงจำข้าพระองค์ ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะจนตลอดชีวติตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.
จบ สูตรที่ ๕

781

ปเทสสูตร
ว่าด้วยบุคคลจะชื่อว่าเป็นพระเสขะ
[๗๘๑]
สมัยหนึ่งท่านพระสารีบุตร ท่านพระมหาโมคคัลลานะ และท่านพระอนุรุทธะ อยู่ ณ กัณฏีกวัน ใกล้เมืองสาเกต ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรและ ท่านพระมหา โมคคัลลานะ ออกจากที่พักผ่อน ในเวลาเย็น เข้าไปหาท่านพระอนุรุทธะ ถึงที่อยู่ได้ปราศรัยกับท่านพระอนุรุทธะ ครั้นผ่านการปราศรัย พอให้ระลึกถึงกัน ไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วท่านพระสารีบุตร ได้ถามท่าน พระอนุรุทธะว่า :-

[๗๘๒]
ดูกรท่านอนุรุทธะ ที่เรียกว่า พระเสขะ พระเสขะ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ? บุคคลจึงจะชื่อว่าเป็น พระเสขะท่านพระอนุรุทธะตอบว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ บุคคลที่จะชื่อว่าเป็นพระเสขะ ? เพราะเจริญ สติปัฏฐาน ๔ ได้เป็นส่วนๆ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน ?

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ดูกรผู้มีอายุบุคคล จะได้ชื่อว่า เป็นพระเสขะ เพราะเจริญสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้แลได้เป็นส่วนๆ.
จบ สูตรที่ ๖

783

สมัตตสูตร
ว่าด้วยบุคคลจะชื่อว่าเป็นพระอเสขะ
[๗๘๓]
นิทานต้นสูตรเหมือนกัน. ครั้นท่านพระสารีบุตรนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ถามท่าน พระอนุรุทธะว่า :-

[๗๘๔]
ดูกรท่านอนุรุทธะ ที่เรียกว่า พระอเสขะ พระอเสขะ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ? บุคคลจึงจะชื่อว่าเป็นพระอเสขะ ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า

ดูกรท่านผู้มีอายุ บุคคลที่จะชื่อว่าเป็นพระอเสขะ ? เจริญสติปัฏฐาน ๔ ได้บริบูรณ์ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่... ย่อมพิจารณาเห็นจิต ในจิตอยู่... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสีย

ดูกรท่านผู้มีอายุ บุคคลที่จะชื่อว่าเป็นพระอเสขะ เพราะเจริญสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้แล ได้บริบูรณ์.
จบ สูตรที่ ๗

785

โลกสูตร
ว่าด้วยผู้รู้โลก
[๗๘๕]
นิทานต้นสูตรเหมือนกัน. ครั้นท่านพระสารีบุตร นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ถามท่าน พระอนุรุทธะว่า :-

[๗๘๖]
ท่านพระอนุรุทธะถึงความเป็นผู้มีอภิญญามาก เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มาก ซึ่งธรรมเหล่าไหน ? ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า ดูกรผู้มีอายุ ผมถึงความเป็นผู้มี อภิญญามาก เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน ?

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัส ในโลกเสียดูกรผู้มีอายุ ผมถึงความ เป็นผู้มีอภิญญามาก เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้แล และเพราะได้เจริญ ได้ทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้แล ผมจึงรู้โลกได้ตั้งพัน.
จบ สูตรที่ ๘

787

สิริวัฑฒสูตร
ผู้เจริญสติปัฏฐาน ๔ ได้อนาคามิผล
[๗๘๗]
สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ พระวิหารเวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ก็สมัยนั้นสิริวัฑฒคฤหบดีอาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก

ครั้งนั้น สิริวัฑฒคฤหบดีเรียกบุรุษคนหนึ่ง มาสั่งว่า มานี่แน่ะบุรุษผู้เจริญท่าน จงเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่

ครั้นแล้ว จงกราบเท้าทั้งสอง ของท่านด้วยเศียรเกล้า ตามคำของเราว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ สิริวัฑฒคฤหบดีอาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก เขาขอกราบเท้าทั้ง สองของท่านพระอานนท์ด้วยเศียรเกล้า ดังนี้ และจงเรียนอย่างนี้ว่า

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ได้โปรดเถิด ขอท่านพระอานนท์จงอาศัยความอนุเคราะห์ เข้าไปยังนิเวศน์ของ สิริวัฑฒ คฤหบดีเถิด บุรุษนั้น รับคำสิริวัฑฒ คฤหบดีแล้ว จึงเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ นมัสการท่านพระอานนท์แล้วจึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้วได้เรียนท่านพระอานนท์ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ สิริวัฑฒคฤหบดีอาพาธ ได้รับทุกข์เป็น ไข้หนัก ท่านขอกราบเท้าทั้งสองของท่านพระอานนท์ ด้วยเศียรเกล้าและสั่ง ให้เรียนอย่างนี้ว่าข้าแต่ท่านผู้เจริญ ได้โปรดเถิดขอท่าน พระอานนท์จงอาศัยความอนุเคราะห์ เข้าไปยังนิเวศน์ของสิริวัฑฒคฤหบดีเถิด ท่านพระอานนท์รับคำด้วยดุษณีภาพ.

[๗๘๘]
ครั้งนั้น เวลาเช้า ท่านพระอานนท์นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังนิเวศน์ ของสิริวัฑฒคฤหบดี แล้วนั่งบนอาสนะที่เขาปูถวาย ครั้นแล้วได้ถาม สิริวัฑฒคฤหบดีว่า :-

[๗๘๙]
ดูกรคฤหบดี ท่านพอจะอดทนได้หรือ พอจะยังอัตภาพให้เป็นไปได้หรือ ทุกขเวทนาย่อมคลายลง ไม่กำเริบขึ้น หรือความทุเลาปรากฏ ความกำเริบ ไม่ปรากฏหรือ ? สิริวัฑฒคฤหบดีตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมอดทนไม่ได้ ยังอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้ ทุกขเวทนาของกระผมกำเริบหนัก ไม่เสื่อมคลาย ไปเลย ความกำเริบปรากฏอยู่ ความทุเลาไม่ปรากฏ.

[๗๙๐]
อา. ดูกรคฤหบดี เพราะเหตุนั้นแหละ ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักพิจารณา เห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัส ในโลกเสีย จักพิจารณาเห็นเวทนา ในเวทนาอยู่... จักพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่... จักพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียดูกรคฤหบดี ท่านพึงศึกษาอย่างนี้แล.

[๗๙๑]
สิ.ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ธรรมคือสติปัฏฐาน ๔ เหล่าใด ที่พระผู้มี พระภาคได้ ทรงแสดงแล้วธรรมเหล่านั้น มีอยู่ในกระผมและกระผมย่อมเห็นชัดในธรรมเหล่านั้น ก็กระผมย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียรมีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนา ในเวทนาอยู่... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย.

 [๗๙๒]
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องตํ่า ๕ เหล่าใด ที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงไว้ กระผม ยังไม่แลเห็นสังโยชน์ข้อใดข้อหนึ่ง ที่ยังละไม่ได้แล้วในตน. อา. ดูกรคฤหบดี เป็นลาภของท่าน ท่านได้ดีแล้ว อนาคามิผลอันท่านกระทำให้ แจ้ง.
จบ สูตรที่ ๙

793

มานทินนสูตร
ผู้เจริญสติปัฏฐาน ๔ ได้อนาคามิผล
[๗๙๓]
นิทานต้นสูตรเหมือนกัน. ก็สมัยนั้น มานทินนคฤหบดีอาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ครั้งนั้น มานทินนคฤหบดีเรียกบุรุษคนหนึ่งมาสั่งว่า มานี่แน่ะ บุรุษผู้เจริญ ท่านจงเข้าไปหาพระอานนท์ถึงที่อยู่ ครั้นแล้ว จงกราบเท้าทั้งสองของท่านด้วยเศียรเกล้า ตามคำของเราว่า

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ มานทินนคฤหบดีอาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนักเขาขอกราบเท้าทั้งสองของท่าน พระอานนท์ด้วยเศียรเกล้า ดังนี้ และจงเรียนอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ได้โปรดเถิดขอท่าน พระอานนท์ จงอาศัยความอนุเคราะห์ เข้าไปยังนิเวศน์ของมานทินนคฤหบดีเถิด บุรุษนั้น เมื่อรับคำ มานทินนคฤหบดีแล้ว เข้าไปหาพระอานนท์ถึงที่อยู่ นมัสการท่านพระอานนท์แล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้วได้เรียนท่านพระอานนท์ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ มานทินนคฤหบดีอาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ท่านขอกราบเท้าทั้งสองของท่านพระอานนท์ ด้วยเศียรเกล้า และสั่งให้เรียนอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ได้โปรดเถิด ขอท่านพระอานนท์อาศัยความอนุเคราะห์ เข้าไปยังนิเวศน์ของ มานทินนคฤหบดี เถิด ท่านพระอานนท์รับคำด้วยดุษณีภาพ

ครั้งนั้น เวลาเช้าท่านพระอานนท์นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังนิเวศน์ ของมานทินนคฤหบดี แล้วนั่งบนอาสนะที่เขาปูถวาย ครั้นแล้วได้ถามมานทินน คฤหบดีว่า ดูกรคฤหบดี ท่านพอจะอดทน ได้หรือ พอจะยังอัตภาพให้เป็น ไปได้หรือ ทุกขเวทนาย่อมคลายลงไม่กำเริบขึ้นหรือ ความทุเลาปรากฏ ความกำเริบไม่ปรากฏหรือ ? มานทินนคฤหบดีตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญกระผม อดทนไม่ได้ ยังอัตภาพ ให้เป็นไปไม่ได้ ทุกขเวทนาของกระผมยังกำเริบหนัก ไม่เสื่อมคลายไปเลย ความกำเริบยัง ปรากฏอยู่ ความทุเลาไม่ปรากฏ.

[๗๙๔]
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมอันทุกขเวทนาเห็นปานนี้กระทบแล้ว ย่อมพิจารณา เห็นกายในกายอยู่ มีความเพียรมีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัส ในโลกเสีย พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่... พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสีย.

[๗๙๕]
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องต่ำ ๕ เหล่าใด ที่พระผู้มีพระภาคได้ ทรงแสดงไว้ กระผมยังไม่แลเห็นสังโยชน์ข้อใดข้อหนึ่ง ที่ยังละไม่ได้แล้วในตน ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ดูกรคฤหบดี เป็นลาภของท่าน ท่านได้ดีแล้วอนาคามิผล อันท่านกระทำให้แจ้งแล้ว.
จบ สูตรที่ ๑๐

จบ สีลัฏฐิติวรรคที่ ๓

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สีลสูตร ๒. ฐิติสูตร
๓. ปริหานสูตร ๔. สุทธกสูตร
๕. พราหมณสูตร ๖. ปเทสสูตร
๗. สมัตตสูตร ๘. โลกสูตร
๙. สิริวัฑฒสูตร ๑๐. มานทินนสูตร