1510
มหานามสูตรที่ ๒
ว่าด้วยกาลกิริยาอันไม่เลวทราม
[๑๕๑๐]
ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม ใกล้พระนครกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้งนั้น พระเจ้ามหานามศากยราช เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ทรงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทรงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระนครกบิลพัสดุ์นี้ เป็นพระนครมั่งคั่ง เจริญรุ่งเรืองมีผู้คนมาก แออัดไปด้วยมนุษย์ มีถนนคับแคบ หม่อมฉันนั้งใกล้พระผู้มีพระภาค หรือนั่งใกล้
ภิกษุทั้งหลาย ผู้เป็นที่เจริญใจแล้ว เมื่อเข้าไปยังพระนครกบิลพัสดุ์ในเวลาเย็น ย่อมไม่ไปพร้อมกับ ช้าง ม้า รถ เกวียน และแม้กับบุรุษ สมัยนั้น หม่อมฉันลืมสติ ที่ปรารภถึงพระผู้มีพระภาค พระธรรม พระสงฆ์ หม่อมฉันมีความดำริว่า ถ้าในเวลานี้ เรากระทำกาละลงไปคติของเราจะเป็นอย่างไร ? [1]
[๑๕๑๑]
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ขอถวายพระพร มหาบพิตร อย่ากลัวเลยๆ การสวรรคต อันไม่เลวทรามจักมีแก่มหาบพิตร กาลกิริยาอันไม่เลวทรามจักมีแก่มหาบพิตร ดูกรมหาบพิตร อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมเป็นผู้น้อมไป สู่นิพพานโน้ม ไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ธรรม ๔ ประการเปน็ ไฉน ?
อริยสาวกในธรรมวินยั นี้ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้า... ในพระธรรมเจ้า...ในพระสงฆ์... ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้า ใคร่แล้ว ไม่ขาด... เป็นไปเพื่อสมาธิ.
1. ข้อสังเกต : บาลีมีคำว่า “อภิสมฺปราโยติ ฯ” ซึ่งแปลต่อได้อีกว่า “อภิสัมปรายภพของเราจะเป็นอย่างไร ?” -ผู้รวบรวม
[๑๕๑๒]
ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนต้นไม้ที่น้อมโน้มโอนไปทางทิศปราจีนเมื่อรากขาดแล้ว จะพึงล้มไป ทางไหน ? ม. ก็พึงล้มปางที่ต้นไม้น้อม โน้ม โอนไป พระเจ้า ข้า.พ. ฉันใด อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเหล่านี้ ก็ย่อมเป็นผู้น้อมโน้มโอนไปสู่ นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกันแล.
จบ สูตรที่ ๒
1513
โคธาสูตร
ปัญหาเกี่ยวกับการเป็นพระโสดาบัน
[๑๕๑๓]
กบิลพัสดุ์นิทาน. ครั้งนั้น พระเจ้ามหานามศากยราช เสด็จเข้าไปหาเจ้าศากยะ พระนามว่าโคธา ครั้นแล้วได้ตรัสถามว่า
[๑๕๑๔]
ดูกรโคธา พระองค์ย่อมทรงทราบบุคคล ผู้ประกอบด้วยธรรมกี่ประการ ว่าเป็น พระโสดาบัน มีความไม่ตกตํ่าเป็น ธรรมดา เป็น ผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า? เจ้าศากยะพระนามว่าโคธาตรัสตอบว่าดูกรมหานาม หม่อมฉันย่อม ทราบบุคคล ผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ว่าเป็นพระโสดาบัน... ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน ?
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ประกอบด้วย ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวใน พระพุทธเจ้า... ในพระธรรม... ในพระสงฆ์... หม่อมฉันย่อมทราบบุคคลผู้ประกอบ ด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล ว่าเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกตํ่า เป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.
[๑๕๑๕]
ดูกรมหานาม ก็พระองค์เล่าย่อมทรงทราบบุคคล ผู้ประกอบด้วยธรรมกี่ประการ ว่าเป็นพระโสดาบัน... ? ม. ดูกรโคธา หม่อมฉันย่อมทราบ บุคคลผู้ประกอบ ด้วยธรรม ๔ ประการ ว่าเป็นพระโสดาบัน... ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน ?
อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้า... ในพระธรรม... ในพระสงฆ์... ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้า ใคร่แล้ว ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิดูกรโคธา หม่อมฉันย่อมทราบ บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ว่าเป็นพระโสดาบัน... .
[๑๕๑๖]
โค. จงรอก่อน มหานาม จงรอก่อน มหานาม พระผู้มีพระภาคเท่านั้น จะพึงทรง ทราบเรื่องนี้ ว่าบุคคลผู้ประกอบด้วย ธรรมเหล่านี้หรือมิใช่ ที่เป็นพระโสดาบัน ?
ม. ดูกรโคธา เรามาเฝ้าพระผู้มีพระภาคกันเถิด แล้วจักกราบทูลเนื้อความนี้แก่ พระองค์.
[๑๕๑๗]
ครั้งนั้น เจ้าศากยะพระนามว่ามหานาม และเจ้าศากยะพระนามว่าโคธา เสด็จเข้า ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ทรงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว เจ้าศากยะพระนามว่ามหานาม ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส หม่อมฉันเข้าไปหาเจ้าศากยะ พระนามว่า โคธา ได้กล่าวถามว่า
ดูกรโคธา พระองค์ย่อมทรงทราบบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรมกี่ประการ ว่าเป็น พระโสดาบัน... ?
[๑๕๑๘]
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อหม่อมฉันกล่าวถามอย่างนี้แล้ว เจ้าโคธาศากยะได้ตรัส ตอบหม่อมฉันว่า ดูกรมหานาม หม่อมฉันย่อมทราบบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ว่าเป็น พระโสดาบัน... ธรรม ๓ ประการเป็น ไฉน ?
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้า ... ในพระธรรม... ในพระสงฆ์... หม่อมฉันย่อมทราบบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล ว่าเป็นพระโสดาบัน... ก็พระองค์เล่า ย่อมทรงทราบ บุคคลผู้ประกอบ ด้วยธรรมกี่ประการ ว่าเป็นพระโสดาบัน... ?
[๑๕๑๙]
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเจ้าโคธาศากยะตรัสถามอย่างนี้แล้ว หม่อมฉันตอบว่า ดูกรโคธา หม่อมฉันย่อมทราบุคคล ผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ว่าเป็น พระโสดาบัน... ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน ?
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว ใน พระพุทธเจ้า...ในพระธรรม... ในพระสงฆ์... ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด... เป็นไปเพื่อสมาธิ หม่อมฉันย่อมทราบ บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเหล่านี้แล ว่าเป็นพระโสดาบัน... .
[๑๕๒๐]
เมื่อหม่อมฉันกล่าวตอบอย่างนี้แล้วเจ้าโคธาศากยะ ได้ตรัสกะหม่อมฉันว่า จงรอก่อน มหานาม จงรอก่อน มหานามพระผู้มีพระภาคเท่านั้น จะพึงทรงทราบ เรื่องนี้ว่าบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรมเหล่านี้หรือมิใช่ ที่เป็นพระโสดาบัน ?
[๑๕๒๑]
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความบังเกิดแห่งเหตุเฉพาะบางประการ พึงบังเกิดขึ้นได้ ในธรรมวินัยนี้ คือ ฝ่ายหนึ่งเป็น พระผู้มีพระภาค (ตรัส) และฝ่ายหนึ่งเป็นภิกษุ สงฆ์ (กล่าว) ฝ่ายใดพระผู้มีพระภาคตรัส หม่อมฉันพึงเป็นฝ่ายนั้นขอ พระผู้ม ีพระภาคโปรดทรงจำหม่อมฉันว่า เป็นผู้เลื่อมใสอย่างนี้.
[๑๕๒๒]
...ฝ่ายหนึ่งเป็นพระผู้มพระภาค (ตรัส) และฝ่ายหนึ่งเป็นภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์ (กล่าว) ฝ่ายใดพระผู้มีพระภาค ตรัสหม่อมฉันเป็นฝ่ายนั้น... .
[๑๕๒๓]
...ฝ่ายหนึ่งเป็นพระผู้มีพระภาค (ตรัส) และฝ่ายหนึ่งเป็นภิกษุสงฆ์ ภิกษุณีสงฆ์ และอุบาสกทั้งหลาย (กล่าว) ฝ่ายใด พระผู้มีพระภาคตรัส หม่อมฉันเป็นฝ่าย นั้น... .
[๑๕๒๔]
...ฝ่ายหนึ่งเป็นพระผู้มีพระภาค (ตรัส) และฝ่ายหนึ่งเป็นภิกษุสงฆ์ ภิกษุณีสงฆ์ อุบาสกทั้งหลาย และอุบาสิกา ทั้งหลาย(กล่าว) ฝ่ายใดพระผู้มีพระภาคตรัส หม่อมฉันเป็นฝ่ายนั้น... .
[๑๕๒๕]
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความบังเกิดแห่งเหตุเฉพาะบางประการ พึงบังเกิดขึ้นได้ ในธรรมวินัยนี้ คือ ฝ่ายหนึ่งเป็น พระผู้มีพระภาค (ตรัส) และฝ่ายหนึ่งเป็น ภิกษุสงฆ์ ภิกษุณีสงฆ์ อุบาสกทั้งหลาย และอุบาสิกาทั้งหลาย โลกพร้อม ทั้งเทวโลกมารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ (กล่าว) ฝ่ายใด พระผู้มีพระภาค ตรัส หม่อมฉันพึงเป็นฝ่ายนั้น ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงจำหม่อมฉันว่า เป็นผู้เลื่อมใสอย่างนี้.
[๑๕๒๖]
พระผูม้ พี ระภาคตรัสถามว่า ขอถวายพระพร มหาบพิตร ผู้มีวาทะอย่างนี้ ย่อมตรัสอะไรกะพระเจ้ามหานาม ศากยราชเจ้า โคธาศากยะ กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันผู้มีวาทะอย่างนี้ มิได้พูดอะไรกะ พระเจ้ามหานาม ศากยราช นอกจากกัลยาณธรรม นอกจากกุศล.
จบ สูตรที่ ๓
1527
สรกานิสูตรที่ ๑
ผู้ถึงสรณคมน์ไม่ไปสู่วินิบาต
[๑๕๒๗]
กบิลพัสดุ์นิทาน. ก็สมัยนั้น เจ้าศากยะพระนามว่า สรกานิ สิ้นพระชนม์ พระผู้มี พระภาคทรงพยากรณ์ท่านว่า เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกตํ่าเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า ดังได้ยินมา พวกเจ้าศากยะมาก ด้วยกันมา ประชุมพร้อมกันแล้ว ย่อมยกโทษติเตียนบ่นว่า น่าอัศจรรย์หนอ ท่านผู้เจริญ ไม่เคยมีมาแล้วหนอ ท่านผู้เจริญบัดนี้ ในที่นี้ ใครเล่าจักไม่เป็นพระโสดาบัน เพราะเจ้าสรกานิศากยะสิ้นพระชนม์แล้ว พระผู้มีพระภาค ทรงพยากรณ์ท่านว่า เป็นพระโสดาบัน... เจ้าสรกานิศากยะถึงความเป็นผู้ทุรพลด้วยสิกขา เสวย นํ้าจัณฑ์.
[๑๕๒๘]
ครั้งนั้นพระเจ้ามหานามศากยราช เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ทรงถวายบังคมพระผู้มีพระภาค แล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส เจ้าสรกานิศากยะสนิ้ พระชนม์ พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ท่านว่า เป็นพระโสดาบัน... ดังได้ยินมา พวกเจ้า ศากยะมากด้วยกัน มาประชุมพร้อมกัน แล้วย่อมยกโทษติเตียนบ่นว่า น่าอัศจรรย์หนอ ท่านผู้เจริญ ไม่เคยมีมาแลว หนอ ท่านผู้เจริญ บัดนี้ ในที่ี่้ใครเล่าจักไม่เป็นพระโสดาบัน เพราะเจ้าสรกานิศากยะสิ้นพระชนมแล้ว พระผู้มีพระภาค ทรงพยากรณ์ท่านว่าเป็น พระโสดาบัน... เจ้าสรกานิศากยะถึง ความเป็นผู้ทุรพลด้วยสิกขา เสวยน้ำจัณฑ์.
[๑๕๒๙]
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรมหาบพิตร อุบาสกผู้ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ว่าเป็นสรณะตลอดกาลนาน อย่างไรจะพึงไปสู่วินิบาต ก็บุคคลเมื่อจะ กล่าวให้ถูกพึงกล่าวถึงอุบาสกนั้นว่า อุบาสกผู้ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะตลอดกาลนาน บุคคลเมื่อจะกล่าวให้ถูก พึงกล่าวเจ้าสรกานิศากยะว่า เจ้าสรกานิศากยะ เป็นอุบาสกถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ ตลอดกาลนานอย่างไรจะพึงไปสู่วินิบาต.
[๑๕๓๐]
ดูกรมหาบพิตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้า... ในพระธรรม... ในพระสงฆ์... มีปัญญาร่าเริง เฉียบแหลม และประกอบด้วยวิมุติ เขาย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหา อาสวะ มิได้เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้าถึง อยู่ บุคคลแม้นี้พ้นจากนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาต.
[๑๕๓๑]
ดูกรมหาบพิตร ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่ หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า... ในพระธรรม... ในพระสงฆ์... มีปัญญาร่าเริง เฉียบแหลมแต่ไม่ประกอบด้วยวิมุติ เพราะสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องตํ่า ๕ สิ้นไป เขาเกิดเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพที่เกิดนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็น ธรรมดา บุคคลแม้นี้ก็พ้นจากนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาต.
[๑๕๓๒]
ดูกรมหาบพิตร ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่ หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า... ในพระธรรม... ในพระสงฆ์... ไม่มีปัญญาร่าเริง ไม่เฉียบแหลมและไม่ประกอบด้วยวิมุติ เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป (และ) เพราะ ราคะ โทสะ และโมหะเบาบาง เขาได้เป็นพระสกทาคามี มาสู่โลกนี้ อีกคราว เดียวเท่านั้นจะกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ บุคคลแม้นี้ก็พ้นจากนรก... อบาย ทุคติ วินิบาต.
[๑๕๓๓]
ดูกรมหาบพิตร ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้า... ในพระธรรม... ในพระสงฆ์... ไม่มีปัญญาร่าเริง ไม่เฉียบแหลม และไม่ประกอบด้วยวิมุติ เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป เขาได้เป็นพระ โสดาบัน มีความไม่ตกตํ่าเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า บุคคลแม้นี้ก็พ้น จากนรก...อบาย ทุคติ วินิบาต.
[๑๕๓๔]
ดูกรมหาบพิตร ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่ หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า... ในพระธรรม... ในพระสงฆ์... ไม่มีปัญญาร่าเริง ไม่เฉียบแหลม และไม่ประกอบด้วยวิมุติ แต่ว่าเขามีธรรมเหล่านี้คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์
ธรรมทั้งหลายที่พระตถาคต ประกาศแล้ว ย่อมทนซึ่งการเพ่ง ด้วยปัญญาของเขา (ยิ่ง) กว่าประมาณ บุคคลแม้นี้ก็ไม่ไปสู่นรกกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาต.
[๑๕๓๕]
ดูกรมหาบพิตร ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่ หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้า... ในพระธรรม... ในพระสงฆ์... ไม่มีปัญญาร่าเริง ไม่เฉียบแหลม และไม่ประกอบด้วยวิมุติ แต่ว่าเขามีธรรมเหล่านี้ คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯปัญญินทรีย์ และเขามีศรัทธา มีความรักในพระตถาคตพอประมาณ บุคคล แม้นี้ก็ไม่ไปสู่นรก... อบาย ทุคติ วินิบาต.
[๑๕๓๖]
ดูกรมหาบพิตร ถ้าแม้ต้นไม้ใหญ่เหล่านี้ พึงรู้ทั่วถึงสุภาษิต ทุพภาษิตไซร้ อาตมภาพก็พึงพยากรณ์ต้นไม้ใหญ่เหล่านี้ ว่าเป็น พระโสดาบัน... จะตรัสรู้ใน เบื้องหน้าจะป่วยกล่าวไปไยถึงเจ้าสรกานิศากยะ เจ้าสรกานิศากยะ สมาทาน สิกขา ในเวลาสิ้นพระชนม์ ขอถวายพระพร.
จบ สูตรที่ ๔
1537
สรกานิสูตรที่ ๒
ผู้ถึงสรณคมน์ไม่ไปสู่วินิบาต
[๑๕๓๗]
กบิลพัสดุ์นิทาน. ก็สมัยนั้นเจ้าสรกานิศากยะสิ้นพระชนม์ พระผู้มีพระภาคทรง พยากรณ์ท่านว่าเป็น พระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง ที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้าดังได้ยิน มา พวกเจ้าศากยะมากด้วยกัน มาร่วมประชุม พร้อมกันแล้ว ย่อมยกโทษติเตียนบ่นว่าน่าอัศจรรย์หนอ ท่านผู้เจริญ ไม่เคยมี มาแล้วหนอ
ท่านผู้เจริญ บัดนี้ในที่นี้ใครเล่าจักไม่เป็นพระโสดาบัน เพราะเจ้าสรกานิศากยะ สิ้นพระชนม์แล้วพระผู้มีพระภาค ทรงพยากรณ์ท่านว่าเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ ตกต่ำเป็น ธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในกาลเบื้องหน้า เจ้าสรกานิ ศากยะมิได้ กระทำให้บริบูรณ์ในสิกขา.
[๑๕๓๘]
ครั้งนั้นพระเจ้ามหานามศากยราช เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ทรงถวายบังคมพระผู้มีพระภาค แล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส เจ้า สรกานิศากยะ สิ้นพระชนม์
พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่าเป็น พระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำ เป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้าดังได้ยินมา พวกเจ้าศากยะมาก ด้วยกัน มาร่วมประชุมพร้อมกันแล้ว ย่อมยกโทษ ติเตียนบ่นว่า... เจ้าสรกานิ ศากยะ มิได้กระทำให้บริบูรณ์ในสิกขา.
[๑๕๓๙]
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรมหาบพิตร อุบาสกผู้ถึงระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะตลอดกาลนาน จะพึงไปสู่วินิบาตอย่างไรเล่า ก็บุคคลเมื่อจะกล่าว ให้ถูกพึงกล่าวอุบาสกนั้นว่า อุบาสกผู้ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็น สรณะตลอดกาลนาน เมื่อจะกล่าวให้ถูก พึงกล่าวเจ้าสรกานิศากยะว่า เจ้าสรกานิ ศากยะเป็นอุบาสก ผู้ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะตลอดกาล นานเจ้าสรกานิศากยะนั้น จะพึงไปสู่วินิบาตอย่างไร ?
[๑๕๔๐]
ดูกรมหาบพิตร บุคคลบางคนในโลกนี้ เลื่อมใสยิ่งแน่วแน่ในพระพุทธเจ้า... ในพระธรรม... ในพระสงฆ์... มีปัญญา ร่าเริง เฉียบแหลม และประกอบด้วยวิมุติ เขาย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะ อาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ บุคคลแม้นี้ ก็พ้นจากนรกกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย อบาย ทุคติ นิบาต.
[๑๕๔๑]
ดูกรมหาบพิตร ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ เลื่อมใสยิ่งแน่วแน่ในพระพุทธเจ้า... ในพระธรรม... ในพระสงฆ์... มีปัญญาร่าเริง เฉียบแหลม แต่ไม่ประกอบด้วยวิมุติ เพราะสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป เขาเป็นพระอนาคามี ผู้อันตรา ปรินิพพายี อุปหัจจปรินิพพายี อสังขารปรินิพพายี สสังขารปรินิพพายี อุทธังโสโตอกนิฏฐคามีบุคคล แม้นี้ก็พ้นจากนรก... อบาย ทุคติ วินิบาต.
[๑๕๔๒]
ดูกรมหาบพิตร ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ เลื่อมใสยิ่งแน่วแน่ในพระพุทธเจ้า... ในพระธรรม... ในพระสงฆ์... ไม่มีปัญญาร่าเริง ไม่เฉียบแหลม ไม่ประกอบด้วย วิมุติ เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป เพราะราคะ โทสะ และโมหะเบาบาง เขาได้เป็น พระสกทาคามีจักมาสู่โลกนี้อีกคราวเดียวเท่านั้น แล้วกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ บุคคลแม้นี้ก็พ้นจากนรก... อบาย ทุคติ วินิบาต.
[๑๕๔๓]
ดูกรมหาบพิตร บุคคลบางคนในโลกนี้ เลื่อมใสยิ่งแน่วแน่ในพระพุทธเจ้า...
ในพระธรรม... ในพระสงฆ์... ไม่มีปัญญาร่าเริง ไม่เฉียบแหลม ทั้งไม่ประกอบ ด้วยวิมุติ เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป เขาได้เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกตํ่า เป็นธรรมดาเป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า บุคคลแม้นี้ก็พ้นจากนรก... อบาย ทุคติ วินิบาต.
[๑๕๔๔]
ดูกรมหาบพิตร ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่เลื่อมใสยิ่งแน่วแน่ 1 ในพระพุทธเจ้า ...ในพระธรรม... ในพระสงฆ์... ไม่มีปัญญาร่าเริง ไม่เฉียบแหลม ทั้งไม่ประกอบ ด้วยวิมุติ แต่เขามีธรรมเหล่านี้ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ธรรมทั้งหลายที่พระตถาคตประกาศแล้ว ย่อมทนต่อการเพ่งด้วย ปัญญาของเขา (ยิ่ง) กว่าประมาณ บุคคลแม้นี้ก็ไม่ไปสู่นรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัยอบาย ทุคติ วินิบาต.
1. ข้อสังเกต : เนื้อความนี้พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬา ฯ มีการแปลแตกต่างจากฉบับหลวง, ฉบับมหามกุฏ ฯ และฉบับเฉลิมพระเกียรติ ฯ –ผู้รวบรวม
[๑๕๔๕]
ดูกรมหาบพิตร ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่เลื่อมใสยิ่งแน่วแน่ 1 ในพระพุทธเจ้า ...ในพระธรรม... ในพระสงฆ์... ไม่มีปัญญาร่าเริง ไม่เฉียบแหลม ทั้งไม่ประกอบ ด้วยวิมุติ แต่เขามีธรรมเหล่านี้ คือ สัทธินทรีย์... ปัญญินทรีย์ และเขามีศรัทธามคี วามรักในพระตถาคตพอประมาณ บุคคลแม้นี้ก็ไม่ไปสู่นรก... อบาย ทุค ติ วินิบาต.
[๑๕๔๖]
ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนนาที่ไม่ราบเรียบ มีพื้นไม่ดี ยังมิได้ก่นหลักตอออก และพืชเล่าก็แตกร้าว เสีย ถูกลมและแดดกระทบแล้ว ไม่แข็ง (ลีบ) เก็บไว้ไม่ดี ถึงฝนจะหลั่งสายนํ้าลงมาเป็นอย่างดี พืชเหล่านั้นจะพึงถึง ความเจริญงอกงาม ไพบูลย์บ้างไหม ? พระเจ้ามหานามศากยราชกราบทูลว่า หามิได้พระเจ้าข้า.
พ. ข้อนี้ฉันใด ดูกรมหาบพิตร ในข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ธรรมที่กล่าวไม่ดี ประกาศไม่ดี ไม่เป็นนิยยานิกธรรม ไม่เป็นไปเพื่อความสงบ มิใช่พระสัมมา สัมพุทธเจ้าประกาศ อาตมภาพกล่าวเรื่องนี้ในเพราะนาที่ไม่ราบเรียบ และสาวก เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรมในธรรมนั้น อาตมภาพกล่าวเรื่องนี้ใน เพราะพืชที่ไม่ดี.
[๑๕๔๗]
ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนนาที่ราบเรียบ มีพื้นดี ก่นหลักตอออกหมดแล้ว และพืชเล่าก็ไม่แตกร้าว ไม่เสีย ลมและแดดมิได้กระทบ แข็งแกร่ง เก็บไว้ดีแล้ว ฝนพึงหลั่งสายนํ้าลงมาเป็นอย่างดี พืชเหล่านั้นจะพึงถึงความเจริญ งอกงามไพบูลย์บ้างไหม ?
ม. ได้ พระเจ้าข้า.
พ. ข้อนั้นฉันใด ดูกรมหาบพิตร ในข้อนั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน ธรรมที่กล่าวดีแล้ว ประกาศดีแล้ว เป็นนิยยานิกธรรม เป็นไปเพื่อความสงบ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประกาศไว้ อาตมภาพกล่าวเรื่องนี้ในเพราะนาที่ราบเรียบ และสาวก เป็นผู้ปฏิบัติ ธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรมในธรรมนั้น อาตมภาพกล่าว เรื่องนี้ในเพราะพืชที่ไม่ดี 2 จะป่วยกล่าวไปไยถึงเจ้าสรกานิศากยะ เจ้าสรกานิ ศากยะได้กระทำให้บริบูรณ์ในสิกขา ในเวลาจะสิ้นพระชนม์.
จบ สูตรที่ ๕
1. ข้อสังเกต : เนื้อความนี้พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬา ฯ มีการแปลแตกต่างจากฉบับหลวง, ฉบับมหามกุฏ ฯ และฉบับเฉลิมพระเกียรติ ฯ -ผู้รวบรวม
2. พืชที่ดี –ผู้รวบรวม
1548
ทุสีลยสูตรที่ ๑
จำแนกโสตาปัตติยังคะ ๔ ด้วยอาการ ๑๐
[๑๕๔๘]
สาวัตถีนิทาน. ก็สมัยนั้น ท่านอนาถบิณฑิกหฤหบดี 1 ป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้ หนัก ครั้งนั้น ท่านอนาถบิณฑิก คฤหบดีเรียกบุรษุ คนหนึ่งมาสั่งว่า ดูกรบุรุษ ผู้เจริญ ท่านจงไปเถิด จงเข้าไปหาท่านพระสารีบุตร ครั้นแล้ว จงไหว้เท้าทั้งสอง ของท่านพระสารีบุตรด้วยเศียรเกล้าตามคำของเราว่า
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อนาถบิณฑิกคฤหบดีป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก เขาขอกราบ เท้าทั้งสองของท่านพระสารีบุตร ด้วยเศียรเกล้า และท่านจงเรียน อย่างนี้ว่า
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ได้โปรดเถิดขอท่านพระสารีบุตร จงอาศัยความอนุเคราะห์ เข้าไปยังนิเวศน์ ของท่านอนาถบิณฑิก คฤหบดีเถิด บุรุษนั้นรับคำของท่าน อนาถบิณฑิกคฤหบดีแล้ว เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งครั้นแล้วได้เรียนว่า
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ท่านขอ กราบเท้าทั้งสองของ ท่านพระสารีบุตร ด้วยเศียรเกล้า และท่านสั่งมาอย่างนี้ว่า
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ได้โปรดเถิด ขอท่านพระสารีบุตรจงอาศัยความอนุเคราะห์ เข้าไปยังนิเวศน์ของท่านอนาถบิณฑิก คฤหบดีเถิด ท่านพระสารีบุตรรับนิมนต์ ด้วยดุษณีภาพ.
[๑๕๔๙]
ครั้งนั้น เวลาเช้า ท่านพระสารีบุตรนุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวร มีท่านพระอานนท์ เป็นปัจฉาสมณะ เข้าไปยังนิเวศน์ของ ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี แล้วนั่งบน อาสนะที่เขาปูลาดไว้ ครั้นแล้วได้ถามท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีว่า
ดูกรคฤหบดี ท่านพออดทนได้หรือ พอยังอัตภาพให้เป็นไปได้หรือ ทุกขเวทนา คลายลง ไม่กำเริบขึ้นแลหรือ ความทุเลาย่อมปรากฏ ความกำเริบไม่ปรากฏ แลหรือ ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีตอบว่าข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผม อดทนไม่ได้ ยังอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้ ทุกขเวทนาของกระผมกำเริบหนัก ไม่ทุเลาลงเลย ความกำเริบย่อมปรากฏ ความทุเลาไม่ปรากฏ.
[๑๕๕๐]
สา. ดูกรคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยความไม่เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า เห็นปานใด เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ความไม่ เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าเห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน ส่วนท่านมี ความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้าว่าแม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้จำแนกธรรม ก็เมื่อท่านเห็นความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวใน พระพุทธเจ้านั้นอยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน.
1. คฤหบดี –ผู้รวบรวม
[๑๕๕๑]
ดูกรคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยความไม้เลื่อมใสในพระธรรม เห็นปานใดเมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ความไม่ เลื่อมใสในพระธรรมเห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน ส่วนท่านมีความ เลื่อมใสอัน ไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า ธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว ฯลฯ อันวิญญชน 1พึงรู้เฉพาะตน ก็เมื่อท่าน เห็นความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระธรรมนั้น อยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน.
[๑๕๕๒]
ดูกรคฤหบดี ปุถชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยความไม้เลื่อมใสในพระสงฆ์ เห็นปานใดเมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรก ความไม่ เลื่อมใสในพระสงฆ์เห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน ส่วนท่านมีความเลื่อมใส ใน พระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ฯลฯ เปนนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ก็เมื่อท่านเห็นความเลื่อม ใสอันไม่ หวั่นไหวในพระสงฆ์นั้นอยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน.
[๑๕๕๓]
ดูกรคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยความเป็นผู้ทุศีลเห็นปานใด เมื่อแตก กายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ความเป็นผู้ทุศีล เห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน ส่วนท่านมีศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ ก็เมื่อท่านเห็นศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้วอยู่ในตน เวทนาจะพึง สงบระงับโดยพลัน.
[๑๕๕๔]
ดูกรคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิเห็นปานใด เมื่อแตกกาย ตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก มิจฉาทิฏฐิเห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ ท่านส่วนท่านมีสัมมาทิฏฐิ ก็เมื่อท่านเห็นสัมมาทิฏฐินั้นอยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบ ระงับโดยพลัน.
[๑๕๕๕]
ดูกรคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยมิจฉาสังกัปปะเห็นปานใด เมื่อแตก กายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก มิจฉาสังกัปปะเห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน ส่วนท่านมีสัมมาสังกัปปะ ก็เมื่อท่านเห็นสัมมาสังกัปปะ นั้นอยู่ใน ตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน.
[๑๕๕๖]
ดูกรคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยมิจฉาวาจาเห็นปานใด เมื่อแตก กายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก มิจฉาวาจาเห็นปานนั้น ย่อมไม่มี แก่ท่าน ส่วนท่านมีสัมมาวาจา ก็เมื่อท่านเห็นสัมมาวาจานั้นอยู่ในตน เวทนาจะพึง สงบระงับโดยพลัน.
[๑๕๕๗]
ดูกรคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยมิจฉากัมมันตะเห็นปานใด เมื่อแตก กายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก มิจฉากัมมันตะ เห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน ส่วนท่านมีสัมมากัมมันตะ ก็เมื่อท่านเห็นสัมมา กัมมันตะนั้น อยู่ในตนเวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน.
[๑๕๕๘]
ดูกรคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยมิจฉาอาชีวะเห็นปานใด เมื่อแตก กายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก มิจฉาอาชีวะเห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน ส่วนท่านมีสัม มาอาชีวะ ก็เมื่อท่านเห็นสัมมาอาชีวะนั้น อยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน.
[๑๕๕๙]
ดูกรคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยมิจฉาวายามะเห็นปานใด เมื่อแตก กายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก มิจฉาวายามะเห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน ส่วนท่านมีสัม มาวายามะ ก็เมื่อท่านเห็นสัมมาวายามะนั้น อยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน.
[๑๕๖๐]
ดูกรคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยมิจฉาสติเห็นปานใด เมื่อแตก กายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก มิจฉาสติเห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน ส่วนท่านมีสัมมาสติ ก็เมื่อท่านเห็นสัมมาสตินั้นอยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน.
[๑๕๖๑]
ดูกรคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยมิจฉาสมาธิเห็นปานใด เมื่อแตก กายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก มิจฉาสมาธิเห็นปานนั้น ย่อมไม่มี แก่ท่าน ส่วนท่านมีสัมมาสมาธิ ก็เมื่อท่านเห็นสัมมาสมาธินั้นอยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน.
[๑๕๖๒]
ดูกรคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยมิจฉาญาณะเห็นปานใด เมื่อแตก กายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก มิจฉาญาณะเห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน ส่วนท่านมีสัมมาญาณะ ก็เมื่อท่านเห็นสัมมาญาณะนั้น อยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน.
[๑๕๖๓]
ดูกรคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยมิจฉาวิมุติเห็นปานใด เมื่อแตกกาย ตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก มิจฉาวิมุติเห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ ท่าน ส่วนท่านมีสัมมาวิมุติ ก็เมื่อท่านเห็นสัมมาวิมุตินั้นอยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบ ระงับโดยพลัน.
[๑๕๖๔]
ครั้งนั้น เวทนาของท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี สงบระงับแล้วโดยพลัน ท่านอนาถ บิณฑิกคฤหบดีอังคาสท่าน พระสารีบุตร และท่านพระอานนท์ ด้วยอาหารที่เขา จัดมาเฉพาะตน ครั้งนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี เมื่อท่าน พระสารีบุตรฉันเสร็จ นำมือออกจากบาตรแล้ว จึงถือเอาอาสนะต่ำอันหนึ่ง นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหน่งึ แล้ว ท่านพระสารีบุตรอนุโมทนาด้วยคาถาเหล่านี้
[๑๕๖๕]
ผู้ใดมีศรัทธา ตั้งมั่นไม่หวั่นไหว ในพระตถาคตมีศีลอันงาม ที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว สรรเสริญแล้วมีความเลื่อมใส ในพระสงฆ์ และมีความเห็นอันตรงบัณฑิตทั้งหลาย เรียกผู้นั้นว่า เป็นคนไม่ขัดสน ชีวิตของผู้นั้นไม่เปล่าประโยชน์ เพราะฉะนั้น บุคคลผู้มีปัญญา เมื่อระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พึงประกอบตาม ซึ่งศรัทธา ศีล ความเลื่อมใสและความเห็นธรรม.
[๑๕๖๖]
ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตร ครั้นอนุโมทนาด้วยคาถาเหล่านี้แล้ว จึงลุกจากอาสนะ หลีกไป.
[๑๕๖๗]
ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคม พระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคได้ตรัส ถามท่านพระอานนท์ว่าดูกรอานนท์ เธอมาจากไหนแต่ยังวัน ท่านพระอานนท์ กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระสารีบุตรกล่าวสอนอนาถบิณฑิก คฤหบดีด้วยโอวาทข้อนี้ๆ พระผู้มีพระภาคตรัสว่าดูกรอานนท์ สารีบุตรเป็นบัณฑิต สารีบุตรมีปัญญามาก ได้จำแนกโสตา-ปัตติยังคะ ๔ ด้วยอาการ ๑๐ อย่าง.
จบ สูตรที่ ๖
1568
ทุสีลยสูตรที่ ๒
กลัวความตายเพราะไม่มีธรรม ๔ ประการ
[๑๕๖๘]
สาวัตถีนิทาน. ก็สมัยนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ครั้งนั้น ท่านอนาถบิณฑิก-คฤหบดีเรียกบุรุษคนหนึ่งมาสั่งว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ ท่านจงไปเถิด จงเข้าไปหาท่านพระอานนท์
ครั้นแล้ว จงไหว้เท้าทั้งสองของท่านพระอานนท์ด้วยเศียรเกล้า ตามคำของเราว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อนาถบิณฑิกคฤหบดีป่วย ได้รับทุกข์เป็นไข้หนัก ขอกราบเท้า ทั้งสองของท่านพระอานนท์ด้วยเศียรเกล้า และท่านจงเรียนอย่างนี้ว่า
ข้าแต่ท่านผู้เจริญได้โปรดเถิด ขอท่านพระอานนท์ จงอาศัยความอนุเคราะห์ เข้าไปยังนิเวศน์ของท่าน อนาถบิณฑิก คฤหบดีเถิด บุรุษนั้นรับคำของท่าน อนาถบิณฑิกคฤหบดีแล้ว เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้เรียนว่า
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ท่านขอ กราบเท้าทั้งสองของท่าน พระอานนท์ด้วยเศียรเกล้า และท่านสั่งมาอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ได้โปรดเถิด ขอท่านพระอานนท์ จงอาศัย ความอนุเคราะห์ เข้าไปยังนิเวศน์ของท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีเถิด ท่านพระอานนท์รับนิมนต์ ด้วยดุษณีภาพ.
[๑๕๖๙]
ครั้งนั้น เวลาเช้า ท่านพระอานนท์นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังนิเวศน์ ของท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีแล้วนั่งบน อาสนะที่เขาปูลาดไว้ ครั้นแล้วได้ถาม ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีว่า
[๑๕๗๐]
ดูกรคฤหบดี ท่านพออดทนได้หรือ พอยังอัตภาพให้เป็นไปได้แลหรือ ทุกขเวทนา คลายลง ไม่กำเริบขึ้นแลหรือ ความทุเลาย่อมปรากฏ ความกำเริบไม่ปรากฏแล หรือ ?
ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีตอบว่าข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผม อดทนไม่ได้ยังอัตภาพ ให้เป็นไปไม่ได้ ทุกขเวทนาของกระผมกำเริบหนัก ไม่ทุเลาลงเลย ความกำเริบ ย่อมปรากฏ ความทุเลาไม่ปรากฏ.
[๑๕๗๑]
อ. ดูกรคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมมีความ สะดุ้งหวาดเสียว กลัวความตายที่จะมา ถึงในภายหน้า ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน ?
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับในโลกนี้ ประกอบด้วยความไม่เลื่อมใส ในพระพุทธเจ้า ก็เมื่อเขาเห็นความไม่เลื่อมใสในพระพุทธเจ้านั้นอยู่ในตน ย่อมมีความสะดุ้ง หวาดเสียวกลัวความตาย ที่จะมาถึงในภายหน้า.
อีกประการหนึ่ง ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยความไม่เลื่อมใสในพระธรรม ก็เมื่อเขา เห็นความไม่เลื่อมใสใน พระธรรมนั้นอยู่ในตน ย่อมมีความสะดุ้ง หวาดเสียวกลัวความตาย ที่จะมาถึงในภายหน้า.
อีกประการหนึ่ง ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยความไม่เลื่อมใสในพระสงฆ์ ก็เมื่อเขาเห็น ความไม่เลื่อมใส ในพระสงฆ์นั้นอยู่ในตน ย่อมมีความสะดุ้ง หวาดเสียวกลัวความตายที่จะมาถึงในภายหน้า.
อีกประการหนึ่ง ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยความเป็นผู้ทุศีล ก็เมื่อเขาเห็น ความเป็นผู้ทุศีลนั้นอยู่ในตน ย่อมมี ความสะดุ้งหวาดเสียว กลัวความตายที่จะมา ถึงในภายหน้า.ดูกรคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมมีความสะดุ้งหวาดเสียว กลัวความตายที่จะมาถึงในภายหน้า.
[๑๕๗๒]
ดูกรคฤหบดี อริยสาวกผู้ได้สดับ ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมไม่มีความ สะดุ้งหวาดเสียว ไม่กลัวความตาย ที่จะมาถึงในภายหน้า ธรรม ๔ ประการ เป็นไฉน ?
อริยสาวกผู้ได้สดับในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้จำแนก ธรรมก็เมื่อเขาเห็นความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้านั้น อยู่ในตน ย่อมไม่มีความสะดุ้งหวาดเสียว ไม่กลัวความตายที่จะมาถึงในภายหน้า.
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกผู้ได้สดับ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว ในพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มี พระภาคตรัสดีแล้ว ฯลฯ อันวิญญูชน พึงรู้เฉพาะตนก็เมื่อเขาเห็นความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว ในพระธรรมนั้น อยู่ในตน ย่อมไม่มีความสะดุ้งหวาดเสียว ไม่กลัวความตายที่จะมาถึงในภายหน้า.
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกผู้ได้สดับ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว ในพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของ พระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า
ก็เมื่อเขาเห็นความเลื่อมใสอัน ไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์นั้นอยู่ในตน ย่อมไม่มีความสะดุ้งหวาดเสียว ไม่กลัวความตายที่จะมาถึงในภายหน้า.
อีกประการหนึ่งอริยสาวกผู้ได้สดับ ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ ก็เมื่อเขาเห็นศีลที่ พระอริยเจ้าใคร่แล้วนั้นอยู่ในตน ย่อมไม่มี ความสะดุ้งหวาดเสียว ไม่กลัวความตายที่จะมาถึงในภายหน้า.
ดูกรคฤหบดี อริยสาวกผู้ได้สดับ ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมไม่มีความสะดุ้งหวาดเสียว ไม่กลัวความตาย ที่จะมาถึงในภายหน้า.
[๑๕๗๓]
ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีกล่าวว่า ข้าแต่ท่านอานนท์ผู้เจริญ กระผมไม่กลัว กระผมจักพูดแก่ท่านได้ ด้วยว่ากระผม ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้า... ในพระธรรม... ในพระสงฆ์...
อนึ่ง สิกขาบทเหล่าใด ซึ่งสมควรแก่คฤหัสถ์ อันพระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว กระผม ยังไม่แลเห็น ความขาดอะไรๆ ของสิกขาบทเหล่านั้นในตนเลย.
อ. ดูกรคฤหบดี เป็นลาภของท่าน ท่านได้ดีแล้ว โสดาปัตติผล ท่านพยากรณ์แล้ว.
จบ สูตรที่ ๗
1574
เวรภยสูตรที่ ๑
ว่าด้วยภัยเวร ๕ ประการ
[๑๕๗๔]
สาวัตถีนิทาน. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี ผู้นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งว่าดูกรคฤหบดี ภัยเวร ๕ ประการของอริยสาวกสงบระงับแล้ว อริยสาวกประกอบแล้วด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการ และญายธรรม อันประเสริฐ อริยสาวกนั้น เห็นดีแล้วแทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา อริยสาวกนั้นหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเอง ได้ว่าเรามีนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาต สิ้นแล้ว เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกตํ่า เป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.
[๑๕๗๕]
ภัยเวร ๕ ประการเป็นไฉน ? ดูกรคฤหบดี บุคคลผู้มีปกติฆ่าสัตว์ ย่อมประสพภัย เวรอันใด ที่เป็นไปในปัจจุบันก็มี ที่เป็นไปในสัมปรายภพก็มี ได้เสวยทุกขโทมนัส ที่เป็นไปทางใจก็มี ก็เพราะการฆ่าสัตว์เป็นปัจจัย
เมื่ออริยสาวกเว้นจากการฆ่าสัตว์แล้ว ภัยเวร อันนั้นเป็นอันสงบระงับไปด้วย ประการฉะนี้ บุคคลผู้ลักทรัพย์... บุคคลผู้ประพฤติผิดในกาม... บุคคลผู้พูดเท็จ... บุคคลผู้ดื่มนํ้าเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ย่อมประสพ ภัยเวรอันใด ที่เป็นไปในปัจจุบันก็มี ที่เป็นไปในสัมปรายภพก็มี ได้เสวยทุกข์ โทมนัสที่เป็นไปทางใจก็มี ก็เพราะดื่มนํ้าเมาคือสุรา และเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่ง ความประมาทเป็นปัจจัย
เมื่ออริยสาวกงดเว้นจากการดื่มนํ้าเมาคือสุราและเมรัยเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ภัยเวรอัน อันนั้น 1 เป็นอันสงบ ระงับไปด้วยประการฉะนี้ ภัยเวร ๕ ประการเหล่านี้ สงบระงับแล้ว.
[๑๕๗๖]
อริยสาวกประกอบด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการเป็นไฉน ? ดูกรคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วย ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว ใน พระพุทธเจ้า... ในพระธรรม...ในพระสงฆ์... ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิอริยสาวก ประกอบด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการเหล่านี้.
1 ภัยเวรอันนั้น –ผู้รวบรวม
[๑๕๗๗]
ก็ญายธรรม อันประเสริฐ อันอริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา เป็นไฉน ?
ดูกรคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมกระทำไว้ในใจซึ่ง ปฏิจจสมุปบาท อย่างเดียว โดยอุบายอันแยบคาย เป็นอย่างดีว่า เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ย่อมมี เพราะสิ่งนี้เกิดสิ่งนี้ย่อมเกิด
ด้วยประการดังนี้ เมื่อสิ่งนี้ไม่มีสิ่งนี้ย่อมไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับสิ่งนี้ย่อมดับด้วยประการ ดังนี้ คือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้ ก็เพราะอวิชชา ดับ ด้วยการสำรอก โดยหาส่วนเหลือมิได้ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับวิญญาณ จึงดับ... ความดับ แห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้ ญายธรรมอัน ประเสริฐนี้ อริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา.
[๑๕๗๘]
ดูกรคฤหบดี เมื่อใด ภัยเวร ๕ ประการนี้ของอริยสาวกสงบระงับแล้ว อริยสาวก ประกอบแล้วด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการเหล่านี้ และญายธรรมอันประเสริฐนี้ อันอริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นหวัง อยู่พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า เรามีนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย อบายทุคติ วินิบาต สิ้นแล้ว เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.
จบ สูตรที่ ๘
1579
เวรภยสูตรที่ ๒
ผู้ระงับภัยเวร ๕ ได้พยากรณ์ตนเองได้
[๑๕๗๙]
สาวัตถีนิทาน ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภัยเวร ๕ ประการนี้ของอริยสาวก สงบระงับแล้ว อริยสาวกประกอบแล้ว ด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการเหล่านี้ และญายธรรมอันประเสริฐนี้ อันอริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วย ปัญญาเมื่อนั้น อริยสาวกนั้นหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า เรามีนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาต สิ้นแล้ว เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกตํ่าเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.
จบ สูตรที่ ๙
1580
ลิจฉวีสูตร
ผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเป็นพระโสดาบัน
[๑๕๘๐]
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ในป่ามหาวัน ใกล้เมือง เวสาลี ครั้งนั้น มหาอำมาตย์ของเจ้า ลิจฉวีชื่อนันทกะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะมหาอำมาตย์ของเจ้าลิจฉวีชื่อนันทกะว่า
[๑๕๘๑]
ดูกรนันทกะ อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เป็นพระโสดาบันมีความ ไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะ ตรัสรู้ในเบื้องหน้าธรรม ๔ ประการเป็นไฉน ? อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้า...ในพระธรรม... ในพระสงฆ์... ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้า ใคร่แล้ว ไม่ขาด... เป็นไปเพื่อสมาธิ ดูกรนันทกะ อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เป็นพระโสดาบันมีความไม่ตกตํ่าเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง ที่จะตรัสรู้ ในเบื้องหน้า.
[๑๕๘๒]
ดูกรนันทกะ ก็แลอริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้ เป็น ผู้ประกอบด้วย อายุทั้งที่เป็นทิพย์ ทั้งที่เป็นของ มนุษย์ เป็นผู้ประกอบด้วยวรรณะ ทั้งที่เป็นทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์ เป็นผู้ประกอบด้วยสุขทั้งที่เป็นทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์ เป็นผู้ประกอบด้วยยศทั้งที่เป็นทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์ เป็นผู้ประกอบด้วย ความเป็นใหญ่ ทั้งที่เป็นทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์
ดูกรนันทกะ ก็เราได้ฟังแต่สมณะหรือพราหมณ์อื่นจึงกล่าวเรื่องนั้นหามิได้ ความจริง เรารู้เอง เห็นเอง ทราบเอง จึงกล่าวเรื่องนั้น.
[๑๕๘๓]
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว บุรุษคนหนึ่งได้กล่าวกะมหาอำมาตย์ ของเจ้า ลิจฉวีชื่อนันทกะว่า ถึงเวลาอาบนํ้า แล้ว ท่านผู้เจริญ นันทกะมหาอำมาตย์กล่าว ว่า ดูกรพนาย บัดนี้ยังไม่ต้องการอาบนํ้าภายนอก ต้องการจักอาบน้ำ ภายใน คือ ความเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาค.
จบ สูตรที่ ๑๐
จบ สรกานิวรรคที่ ๓
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. มหานามสูตรที่ ๑ ๒. มหานามสูตรที่ ๒
๓. โคธาสูตร ๔. สรกานิสูตรที่ ๑
๕. สรกานิสูตรที่ ๒ ๖. ทุสีลยสูตรที่ ๑
๗. ทุสีลยสูตรที่ ๒ ๘. เวรภยสูตรที่ ๑
๙. เวรภยสูตรที่ ๒ ๑๐. ลิจฉวีสูตร
ปุญญาภิสันทวรรคที่ ๔
1584
อภิสันทสูตรที่ ๑
ห้วงบุญกุศล ๔ ประการ
[๑๕๘๔]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญ ห้วงกุศล อันเป็นปัจจัยนำมา ซึ่งความสุข ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน ?
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้า ว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้จำแนกธรรม นี้เป็น ห้วงบุญ ห้วงกุศล อันเป็นปัจจัยนำมาซึ่งความสุขประการที่ ๑
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาค ตรัสดีแล้ว ฯลฯ อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน นี้เป็น ห้วงบุญ ห้วงกุศล อันเป็นปัจจัยนำมาซึ่งความสุขประการที่ ๒
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวก ของพระผู้มี พระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า นี้เป็นห้วงบุญ ห้วงกุศล อันเป็น ปัจจัยนำมาซึ่งความสุขประการที่ ๓
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้วไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ นี้เป็นห้วงบุญ ห้วงกุศล อันเป็นปัจจัยนำมาซึ่งความสุขประการที่ ๔
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญ ห้วงกุศล อันเป็นปัจจัยนำมาซึ่งความสุข๔ ประการนี้แล.
จบ สูตรที่ ๑
1585
อภิสันทสูตรที่ ๒
ห้วงบุญกุศล ๔ ประการ
[๑๕๘๕]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญ ห้วงกุศล อันเป็นปัจจัยนำมาซึ่งความสุข๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน ? อริยสาวก ในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์ นั้น ฯลฯเป็นผู้จำ แนกธรรมนี้เป็น ห้วงบุญ ห้วงกุศล อันเป็นปัจจัยนำมาซึ่งความสุข ประการที่ ๑
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว ในพระธรรม ว่า พระธรรมอันพระผู้มี พระภาค ตรัสดีแลว้ ฯลฯ อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน นี้เป็นห้วงบุญห้วงกุศล อันเป็นปัจจัยนำมาซึ่งความสุขประการที่ ๒
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มี-พระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า นี้เป็นห้วงบุญ ห้วงกุศล อันเป็นปัจจัย นำมาซึ่งความสุข ประการที่ ๓
อีกประการหนึ่งอริยสาวกมีใจปราศจากความตระหนี่อัน เป็นมลทิน มีจาคะอัน ไม่ติดขัด มีฝ่ามืออันชุ่มยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการจำแนกทาน อยู่ครอบครองเรือน นี้เป็นห้วงบุญ ห้วงกุศล อันเป็นปัจจัยนำมาซึ่งความสุข ประการที่ ๔
ดูกรภิกษุทั้งหลายห้วงบุญ ห้วงกุศล อันเป็นปัจจัยนำมาซึ่งความสุข ๔ ประการนี้แล.
จบ สูตรที่ ๒
1586
อภิสันทสูตรที่ ๓
ห้วงบุญกุศล ๔ ประการ
[๑๕๘๖]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญ ห้วงกุศล อันเป็นปัจจัยนำมาซึ่งความสุข๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน ? อริยสาวก ในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่ หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์ นั้น ฯลฯ เป็นผู้จำแนกธรรม นี้เป็นห้วงบุญ ห้วงกุศล อันเป็นปัจจัยนำมา ซึ่งความสุข ประการที่ ๑
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาค ตรัสดีแล้ว ฯลฯ อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน นี้เป็น ห้วงบุญ ห้วงกุศล อันเป็นปัจจัยนำมาซึ่งความสุขประการที่ ๒
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า นี้เป็นห้วงบุญ ห้วงกุศล อันเป็นปัจจัยนำมาซึ่ง ความสุข ประการที่ ๓
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาอันเป็นเหตุให้ถึง (เห็น) ความเกิดและความดับเป็น อริยะ เป็นไปเพื่อความชำแรกกิเลสให้ถึงความ สิ้นทุกข์โดยชอบ นี้เป็นห้วงบุญ ห้วงกุศล อันเป็นปัจจัยนำมาซึ่งความ สุขประการที่ ๔
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญ ห้วงกุศล อันเป็นปัจจัยนำมาซึ่งความสุข๔ ประการนี้แล.
จบ สูตรที่ ๓
1587
เทวปทสูตรที่ ๑
เทวบท ๔ ประการ
[๑๕๘๗]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวบท (ข้อปฏิบัติของเทวดา) ของพวกเทพ๔ ประการนี้ เพื่อความบริสุทธิ์ของ สัตว์ทั้งหลายผู้ยังไม่บริสิทธิ์ เพื่อความผ่องแผ้ว ของ สัตว์ทั้งหลายผู้ยังไม่ผ่องแผ้ว เทวบท ๔ ประการเป็นไฉน ?
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆพระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้จำแนกธรรม นี้เป็น เทวบทของพวกเทพเพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย ผู้ยังไม่บริสุทธิ์ เพื่อความผ่องแผ้วของสัตว์ทั้ง หลายผู้ยังไม่ผ่องแผ้วประการที่ ๑
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม... นี้เป็น เทวบทของพวกเทพ... ประการที่ ๒
อีกประการหนงึ่อริยสาวกประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์... นี้เป็นเทวบทของพวกเทพ... ประการที่ ๓
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ นี้เป็นเทวบทของ พวกเทพ เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย ผู้ยังไม่บริสุทธิ์ เพื่อความผ่องแผ้วของสัตว์ทั้งหลาย ผู้ยังไม่ผ่องแผ้ว ประการที่ ๔
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวบทของพวกเทพ ๔ ประการนี้แล เพื่อความบริสุทธิ์ของ สัตว์ทั้งหลายผู้ยังไม่บริสุทธิ์ เพื่อความผ่องแผ้วของสัตว์ทั้งหลาย ผู้ยังไม่ ผ่องแผ้ว.
จบ สูตรที่ ๔
1588
เทวปทสูตรที่ ๒
เทวบท ๔ ประการ
[๑๕๘๘]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวบทของพวกเทพ ๔ ประการนี้ เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ ทั้งหลายผู้ยังไม่บริสุทธิ์ เพื่อความผ่องแผ้วของสัตว์ทั้งหลาย ผู้ยังไม่ผ่องแผ้ว เทวบท ๔ ประการเป็นไฉน ?
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้จำแนกธรรม อริยสาวกนั้นย่อมรำพึงในใจว่า อะไรหนอเป็นเทวบทของพวกเทพอริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า เราได้ฟังในบัดนี้แลว่า เทวดาทั้งหลายมีความไม่เบียดเบียน เป็นอย่างยิ่ง
อนึ่ง เรามิได้เบียดเบียนใครๆ ซึ่งเป็นผู้สะดุ้งหรือมั่นคงเราประกอบด้วยธรรม คือเทวบทอยู่เป็นแน่ นี้เป็นเทวบทของ พวกเทพ เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ ทั้งหลายผู้ยังไม่บริสุทธิ์ เพื่อความผ่องแผ้วของสัตว์ทั้งหลาย ผู้ยังไม่ผ่องแผ้ว ประการที่ ๑
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม... นี้เป็นเทวบทของพวกเทพ... ประการที่ ๒
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์... นี้เป็นเทวบทของพวกเทพ ...ประการที่ ๓
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกประกอบด้วยศีล ที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด... เป็นไปเพื่อสมาธิ อริยสาวกนั้นย่อม รำพึงในใจว่า อะไรหนอเป็นเทวบทของ พวกเทพอริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า เราได้ฟังในบัดนี้แลว่า เทวดา ทั้งหลายมีความไม่เบียดเบียน เป็นอย่างยิ่ง อนึ่ง เรามิได้เบียดเบียนใครๆ ซึ่งเป็นผู้สะดุ้งหรือมั่นคงเราประกอบ ด้วยธรรม คือเทวบทอยู่เป็นแน่ นี้เป็นเทวบทของพวกเทพ... ประการที่ ๔
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวบทของพวกเทพ ๔ ประการนี้แล เพื่อความบริสุทธิ์ ของสัตว์ทั้งหลาย ผู้ยังไม่บริสุทธิ์ เพื่อความผ่องแผ้วของสัตว์ทั้งหลาย ผู้ยังไม่ผ่องแผ้ว.
จบ สูตรที่ ๕
1589
สภาคตสูตร
เทวดาสรรเสริญผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ
[๑๕๘๙]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาทั้งหลายปลื้มใจไปสู่ที่ประชุมแล้ว กล่าวถึงบุคคลผปู้ ระกอบดว้ ยธรรม ๔ ประการ ธรรม ๔ ประการเปน็ ไฉน ?
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆพระผู้มี พระภาค พระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้จำแนกธรรม เทวดาเหล่าใดประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าจุติจาก อัตภาพนั้นแล้ว ไปบังเกิดในภพนั้นเทวดาเหล่านั้น ย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า พวกเราประกอบด้วย ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าเห็นปานใด จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว มาบังเกิดในที่นี้
แม้อริยสาวก ผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าเห็นปาน นั้น ก็ย่อมเกิดในสำนักพวกเทวดา ดังจะร้องเชิญ ว่า มาเถิด ดังนี้
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระธรรม... ในพระสงฆ์... อีกประการหนึ่ง อริยสาวกประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ฯลฯ
เป็นไปเพื่อสมาธิ เทวดาเหล่าใดประกอบด้วยศีล ที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว จุติจาก อัตภาพนั้นแล้ว ไปบังเกิดในภพนั้นเทวดาเหล่านั้น ย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า พวกเราประกอบด้วยศีล ที่พระอริยเจ้าใคร่แล้วเห็นปานใด จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว มาบังเกิดในที่นี้
แม้อริยสาวก ผู้ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้วเห็นปานนั้น ก็ย่อมเกิดใน สำนักพวกเทวดาดังจะร้องเชิญว่า มาเถิดดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาทั้งหลาย ปลื้มใจไปสู่ที่ประชุมแล้ว กล่าวถึงผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล.
จบ สูตรที่ ๖
1590
มหานามสูตร
สมบัติของอุบาสก
[๑๕๙๐]
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม ใกล้พระนครกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้งนั้นแลพระเจ้า มหานามศากยราช เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาค ถึงที่ประทับ ทรงอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร บุคคลจึงจะชื่อว่าอุบาสก ?
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่าดูกรมหาบพิตร บุคคลผู้ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ถึงพระธรรมเป็นสรณะถึงพระสงฆ์ เป็นสรณะ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล บุคคลจึงจะ ชื่อว่า เป็นอุบาสก.
[๑๕๙๑]
ม. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร อุบาสกจึงจะชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ?
พ. ดูกรมหาบพิตร อุบาสกเป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาต เป็นผู้งดเว้นจาก อทินนาทาน เป็นผู้งดเว้นจากกา เมสุมิจฉาจาร เป็น ผู้งดเว้นจากมุสาวาท เป็นผู้งดเว้นจากสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล อุบาสกจึงจะ ชื่อว่าเป็นผู้ถึง พร้อมด้วยศีล.
[๑๕๙๒]
ม. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร อุบาสกจึงจะชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อม ด้วยศรัทธา ?
พ. ดูกรมหาบพิตร อุบาสกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา คือ เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ ของพระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้จำแนกธรรม ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล อุบาสกจึงจะชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วย ศรัทธา.
[๑๕๙๓]
ม. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร อุบาสกจึงจะชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อม ด้วยจาคะ ? พ. ดูกรมหาบพิตร อุบาสกในธรรมวินัยนี้ มีใจปราศจากความตระหนี่ อันเป็นมลทิน มีจาคะอันไม่ติดขัด มีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการจำแนก อยู่ครอบครองเรือน ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อุบาสกจึงจะชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะ.
[๑๕๙๔]
ม. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ด้วยเหตุเพียงเท่าไร อุบาสกจึงจะชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อม ด้วยปัญญา ?
พ. ดูกรมหาบพิตร อุบาสกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา คือประกอบด้วยปัญญา เป็นเหตุให้ถึง (เห็น) ความเกิดและ ความดับ เป็นอริยะ เป็นไปเพื่อชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล อุบาสกจึงชื่อว่า เป็นผู้ถึง พร้อมด้วยปัญญา.
จบ สูตรที่ ๗
1595
วัสสสูตร
ธรรมที่เป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ
[๑๕๙๕] 1
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเมื่อฝนเม็ดใหญ่ตกลงบนภูเขา นํ้านั้นไหลไป ตามที่ลุ่มย่อมยังซอกเขา ลำธาร ลำหว้ ย ให้เต็ม ซอกเขา ลำธาร ลำห้วย เต็มแล้วย่อมยังหนองให้เต็ม หนองเต็มแล้ว ย่อมยังบึงให้เต็มแล บึงเต็มแล้ว ย่อมยังแม่นํ้าน้อยให้เต็ม แม่นํ้าน้อยเต็มแล้ว ย่อมยังแม่นํ้าใหญ่ให้เต็ม แม่นํ้าใหญ่เต็มแล้ว ย่อมยังมหาสมุทรสาคร ให้เต็ม ฉันใด
ความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ในพระธรรมในพระสงฆ์ อันใด และศีลที่พระอริยเจ้า ใคร่แล้ว เหล่าใด ของอริยสาวก ธรรมเหล่านี้เมื่อไหล ไปถึงฝั่ง ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ ฉันนั้นเหมือนกันแล.
จบ สูตรที่ ๘
1596
กาฬิโคธาสูตร
องค์คุณของพระโสดาบัน
[๑๕๙๖]
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโคธาราม ใกล้พระนครกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้งนั้นแลเวลาเช้า พระผู้มี พระภาคทรงครองอันตรวาสกแล้ว ทรงถือบาตรและจีวรเสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของเจ้า สากิยานีนามว่า กาฬิโคธา ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูถวาย
พระนางกาฬิโคธาสากิยานีเสด็จเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาค ทรงถวายบังคมพระ ผู้มี พระภาคแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสกะพระนางกาฬิโคธาสากิยานีว่า
[๑๕๙๗]
ดูกรพระนางโคธา อริยสาวิกาผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมเป็นพระ โสดาบัน มีความไม่ตกตํ่าเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้าธรรม ๔ ประการเป็นไฉน ?
อริยสาวิกาในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวใน พระพุทธเจ้า ... ในพระธรรม... ในพระสงฆ์... มีใจปราศจากความตระหนี่ อันเป็นมลทิน มีจาคะอันไม่ติดขัด มีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดีในการสละควรแก่การขอ ยินดีในการจำแนกทาน อยู่ครอบครองเรือน ดูกรพระนางโคธาอริยสาวิกา ผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำ เป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.
[๑๕๙๘]
พระนางกาฬิโคธากราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โสตาปัตติยังคะ ๔ ประการเหล่าใดที่พระองค์ทรงแสดงไว้ ธรรมเหล่านั้น มีอยู่ในหม่อมฉัน และหม่อมฉันก็เห็นชัดในธรรมเหล่านั้น เพราะว่าหม่อมฉันประกอบด้วยความ เลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า...ในพระธรรม... ในพระสงฆ์... อนึ่งไทยธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่มีอยู่ในสกุล หม่อมฉันเฉลี่ยไทยธรรมนั้น ทั้งหมดกับท่านที่มีศีล มีกัลยาณธรรม.
พ. ดูกรพระนางโคธา เป็นลาภของท่าน ท่านได้ดีแล้ว โสดาปัตติผลท่าน พยากรณ์แล้ว.
จบ สูตรที่ ๙
1599
นันทิยสูตร
อยู่ด้วยความประมาทและไม่ประมาท
[๑๕๙๙]
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม ใกล้พระนครกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้งนั้น เจ้าศากยะพระนาม ว่านันทิยะ เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาคถึงที่ประทับ ทรงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
[๑๖๐๐]
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อริยสาวกใด ไม่มีโสตาปัตติยังคธรรม ๔ ประการโดย ประการทั้งปวง ในกาลทุกเมื่ออริยสาวก นั้น หรือหนอที่พระองค์ตรัสเรียกว่า อยู่ด้วยความไม่ประมาท ?
พระผู้มีพระภาคตรัสว่าดูกรนันทิยะ อริยสาวกใด ไม่มีโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการ เราเรียกอริยสาวกนั้นว่า เป็นคนภายนอก ตั้งอยู่ในฝ่ายปุถุชน อนึ่ง อริยสาวกเป็น ผู้ อยู่ด้วยความประมาทและอยู่ด้วยความไม่ประมาท โดยวิธีใด ท่านจงฟังวิธีนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวนนทิยศากยะ 1 ทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า
[๑๖๐๑]
ดูกรนันทิยะ ก็อริยสาวกเป็นผู้อยู่ด้วยความประมาทอย่างไร ? อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น... เป็นผู้จำแนกธรรม อริยสาวกนั้น พอใจแล้วด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้านั้น ไม่พยายามให้ยิ่งขึ้นไปเพื่อความสงัดในกลางวัน เพื่อหลีกเร้นในกลางคืน
เมื่ออริยสาวกนั้นเป็นผู้ประมาทอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มีปราโมทย์ เมื่อไม่มีปราโมทย์ ก็ไม่มีปีติ เมื่อไม่มีปีติ ก็ไม่มีปัสสัทธิ เมื่อไม่มีปัสสัทธิ ย่อมอยู่เป็นทุกข์ จิตของ ผู้มีความทุกข์ ย่อมไม่เป็นสมาธิเมื่อจิตไม่เป็นสมาธิ ธรรมทั้งหลายย่อม ไม่ปรากฏ เพราะธรรมทั้งหลายไม่ปรากฏอริยสาวกนั้น ย่อมถึงความนับว่า อยู่ด้วยความ ประมาท
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระธรรม... ในพระสงฆ์... ประกอบด้วยศีล ที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อ สมาธิ อริยสาวกนั้นพอใจแล้วด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่พยายามให้ยิ่ง ขึ้นไป เพื่อความสงัดในกลางวันเพื่อหลีกเร้นในกลางคืน
เมื่ออริยสาวกนั้น เป็นผู้ประมาทอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มีปราโมทย์ เมื่อไม่มีปราโมทย์ ก็ไม่มีปีติ เมื่อไม่มีปีติ ก็ไม่มีปัสสัทธิ เมื่อไม่มีปัสสัทธิ ย่อมอยู่เป็นทุกข์ จิตของผู้มี ความทุกข์ย่อมไม่มีสมาธิ เมื่อจิตไม่เป็นสมาธิ
1. นันทิยศากยะ -ผู้รวบรวม
ธรรมทั้งหลายย่อมไม่ปรากฏ เพราะธรรมทั้งหลายไม่ปรากฏ อริยสาวกนั้นย่อมถึง ความนับว่าอยู่ด้วยความประมาท ดูกรนันทิยะ อริยสาวกเป็น ผู้อยู่ด้วยความ ประมาทอย่างนี้แล.
[๑๖๐๒]
ดูกรนันทิยะ ก็อริยสาวกผู้เป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาทอย่างไร ? อริยสาวก ในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้จำแนกธรรม อริยสาวกนั้น ยังไม่พอใจด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพรระพุทธเจ้า 1 นั้น พยายามให้ ยิ่งขึ้นไปเพื่อความสงัดในกลางวัน เพื่อหลีกเร้นในกลางคืน
เมื่ออริยสาวกนั้นเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่อย่างนี้ ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ เมื่อมีใจกอปรด้วยปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบ ย่อมได้เสวยสุข จิตของผู้มีความสุขย่อมเป็นสมาธิเมื่อจิตเป็นสมาธิ ธรรมทั้งหลายย่อม ปรากฏ เพราะธรรมทั้งหลายปรากฏ อริยสาวกนั้นย่อมถึง ความนับว่าอยู่ด้วยความ ไม่ประมาท
อีกประการหนึ่งอริยสาวกประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระธรรม... ในพระสงฆ์... ประกอบด้วยศีล ที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อ สมาธิ อริยสาวกนั้นยังไม่พอใจด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้วพยายาม ให้ยิ่งขึ้นไป เพื่อความสงัดในกลางวัน เพื่อหลีกเร้นในกลางคืน
เมื่ออริยสาวกนั้นเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่อย่างนี้ ย่อมเกิดปราโมทย์เมื่อเกิดปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ เมื่อมีใจกอปรด้วยปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบย่อมได้เสวยสุข จิตของผู้มีความสุข ย่อมเป็นสมาธิ เมื่อจิตเป็นสมาธิ ธรรมทั้งหลาย ย่อมปรากฏ
อริยสาวกนั้นย่อมถึงความนับว่า อยู่ด้วยความไม่ประมาท ดูกรนันทิยะอริยสาวก เป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท อย่างนี้แล.
จบ สูตรที่ ๑๐
จบปุญญาภิสันทวรรคที่ ๔
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อภิสันทสูตรที่ ๑ ๒. อภิสันทสูตรที่ ๒
๓. อภิสันทสูตรที่ ๓ ๔. เทวปทสูตรที่ ๑
๕. เทวปทสูตรที่ ๒ ๖. สภาคตสูตร
๗. มหานามสูตร ๘. วัสสสูตร
๙. กาฬิโคธาสูตร ๑๐. นันทิยสูตร
1. พระพุทธเจ้า –ผู้รวบรวม
สคาถกปุญญาภิสันทวรรคที่ ๕
1603
อภิสันทสูตรที่ ๑
ห้วงบุญกุศล ๔ ประการ
[๑๖๐๓]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญ ห้วงกุศล อันเป็นปัจจัยนำมาซึ่งความสุข๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน ?
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้า ว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ฯลฯ เป็นผู้จำแนกธรรม นี้เป็นห้วงบุญ ห้วงกุศลอันนำมาซึ่งความสุขประการที่ ๑
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม... นี้เป็นห้วงบุญ ห้วงกุศล อันนำมา ซึ่งความสุขประการที่ ๒
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์... นี้เป็นห้วงบุญ ห้วงกุศล อันนำมา ซึ่งความสุขประการที่ ๓
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้วไม่ขาด ฯลฯเป็นไปเพื่อสมาธิ นี้เป็นห้วงบุญ ห้วงกุศล อันนำมาซึ่งความสุขประการที่ ๔
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญ ห้วงกุศล อันเป็นปัจจัยนำมาซึ่งความสุข ๔ ประการนี้แล.
[๑๖๐๔]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ใครๆ จะนับประมาณบุญของอริยสาวกผู้ประกอบด้วยห้วงบุญ ห้วงกุศล ๔ ประการนี้ว่า ห้วงบุญ ห้วงกุศล อันเป็นปัจจัยนำมาซึ่งความสุข มีประมาณเท่านี้ มิใช่กระทำได้โดยง่าย ที่แท้ ห้วงบุญ ห้วงกุศล ย่อมถึง ความนับว่าเป็นกองบุญใหญ่จะนับประมาณมิได้.
[๑๖๐๕]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ใครๆ จะนับประมาณนํ้าในมหาสมุทรว่า ประมาณเท่านี้ อาฬหกะ 1 หรือว่าร้อยอาฬหกะ พันอาหฬกะ 2 แสนอาฬหกะ มิใช่กระทำได้โดย ง่ายที่แท้นํ้าย่อมถึงความนับว่าเป็นกองนํ้าใหญ่ จะนับประมาณมิได้ แม้ฉันใด
ใครๆจะประมาณบุญของอริยสาวก ผู้ประกอบด้วยห้วงบุญ ห้วงกุศล ๔ ประการนี้ ว่าห้วงบุญ ห้วงกุศล อันเป็นปัจจัย นำมาซึ่งความสุข มีประมาณเท่านี้ มิใช่กระทำ ได้โดยง่าย ที่แท้ห้วงบุญ ห้วงกุศล ย่อมถึงความนับว่า เป็นกองบุญ ใหญ่ จะนับ จะประมาณมิได้ ฉันนั้นเหมือนกัน พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า
1. ๑ อาฬหกะ เท่ากับ ๔ ทะนาน ฯ
2. อาฬหกะ –ผู้รวบรวม
[๑๖๐๖]
แม่นํ้าเป็นอันมากที่หมู่คือคณะนรชนอาศัยแล้วไหลไปยังสาครทะเลหลวง ซึ่งจะประมาณมิได้เป็นที่ขังนํ้าอย่างใหญ่ มีสิ่งที่น่ากลัวมาก เป็นที่อยู่ของหมู่ รัตนะ ฉันใดสายธารแห่งบุญย่อมไหลไปสู่นรชนผู้เป็นบัณฑิต ผู้ให้ข้าว นํ้า ผ้าที่นอน ที่นั่งและเครื่องปูลาด เหมือนแม่นํ้าไหลไปสู่สาคร ฉันนั้นเหมือนกัน.
จบ สูตรที่ ๑
1607
อภิสันทสูตรที่ ๒
ห้วงบุญกุศล ๔ ประการ
[๑๖๐๗]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญ ห้วงกุศล อันเป็นปัจจัยนำมาซึ่งความสุข๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน ?
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น ฯลฯเป็นผู้จำแนกธรรมนี้เป็น ห้วงบุญ ห้วงกุศล อันนำมาซึ่งความสุขประการที่ ๑
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหว ในพระธรรม...นี้เป็นห้วงบุญ ห้วงกุศล อันนำมา ซึ่งความสุขประการที่ ๒
อีกประการหนึ่งอริยสาวกประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์... นี้เป็นห้วงบุญห้วงกุศล อันนำมา ซึ่งความสุขประการที่ ๓
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกมีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน มีจาคะอัน ไม่ติดขัด มีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการจำแนกทาน อยู่ครอบครองเรือน นี้เป็นห้วงบุญ ห้วงกุศลอันนำมาซึ่งความสุขประการที่ ๔
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญ ห้วงกุศล อันเป็นปัจจัยนำมาซึ่งความสุข ๔ ประการนี้แล.
[๑๖๐๘]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ใครๆ จะนับจะประมาณบุญของอริยสาวกผู้ประกอบ ด้วย ห้วงบุญ ห้วงกุศล ๔ ประการนี้ว่า ห้วงบุญ ห้วงกุศล อันเป็นปัจจัยนำมา ซึ่งความสุข มีประมาณเท่านี้ มิใช่กระทำได้โดยง่าย ที่แท้ ห้วงบุญ ห้วงกุศล ย่อมถึง ความนับว่าเป็นกองบุญใหญ่จะนับจะประมาณมิได้.
[๑๖๐๙]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย มหานทีเหล่านี้ คือ แม่นํ้าคงคา ยมุนา อจิรวดี สรภูมหี ย่อมไหลเรื่อยไปที่ปากนํ้าใด จะนับจะ ประมาณนํ้าที่ปากนํ้านั้นว่า ประมาณเท่านี้ อาฬหกะ หรือร้อยอาฬหกะ พันอาฬหกะ แสนอาฬหกะ มิใช่กระทำได้ โดยง่าย ที่แท้แม่นํ้าย่อมถึงความนับว่า เป็นกองนํ้าใหญ่ จะนับจะประมาณมิได้ แม้ฉันใด
ใครๆจะนับจะประมาณ บุญของอริยสาวก ผู้ประกอบด้วยห้วงบุญ ห้วงกุศล ๔ ประการนี้ว่า ห้วงบุญ ห้วงกุศล อันเป็นปัจจัยนำมาซึ่งความสุข มีประมาณเท่านี้ มิใช่กระทำได้โดยง่าย ที่แท้ ห้วงบุญ ห้วงกุศล ย่อมถึงความ นับว่าเป็นกองบุญ ใหญ่ จะนับจะ ประมาณมิได้ ฉันนั้นเหมือนกัน พระผู้มีพระภาคได้ตรัส พระพุทธพจน์นี้ว่า
[๑๖๑๐]
แม่นํ้าเป็นอันมากที่หมู่คือคณะนรชนอาศัยแล้ว ย่อมไหลไปสู่สาครทะเลหลวง ซึ่งจะประมาณมิได้ เป็นที่ขังนํ้าอย่าง ใหญ่มีสิ่งที่น่ากลัวมาก เป็นที่อยู่ของหมู่ รัตนะ ฉันใดสายธารแห่งบุญ ย่อมไหลไปสู่นรชนผู้เป็นบัณฑิต ผู้ให้ข้าว นํ้า ผ้าที่นอน ที่นั่ง และเครื่องปูลาด เหมือนแม่นํ้าไหลไปสู่สาคร ฉันนั้นเหมือนกัน.
จบ สูตรที่ ๒
1611
อภิสันทสูตรที่ ๓
ห้วงบุญกุศล ๔ ประการ
[๑๖๑๑]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญ ห้วงกุศล อันเป็นปัจจัยนำมาซึ่งความสุข๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน ?
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาค พระองค์นั้นฯลฯ เป็นผู้จำแนกธรรม นี้เป็น ห้วงบุญ ห้วงกุศล อันนำมาซึ่งความสุขประการที่ ๑
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ...นี้เป็นห้วงบุญ ห้วงกุศล อันนำมา ซึ่งความสุขประการที่ ๒
อีกประการหนึ่งอริยสาวกประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์... นี้เป็นห้วงบุญห้วงกุศล อันนำมา ซึ่งความสุขประการที่ ๓
อีกประการหนึ่งอริยสาวก เป็นผู้มีปัญญาคือ ประกอบด้วยปัญญา อันเป็นเหตุให้ถึง ความเกิดและความดับ เป็นอริยะ เป็นไปเพื่อชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์ โดยชอบ นี้เป็นห้วงบุญ ห้วงกุศลอันเป็นปัจจัยนำมา ซึ่งความสุข ประการที่ ๔
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญ ห้วงกุศลอันเป็นปัจจัยนำมาซึ่งความสุข ๔ ประการนี้แล.
[๑๖๑๒]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ใครๆ จะนับจะประมาณบุญของอริยสาวกผู้ประกอบด้วย ห้วงบุญ ห้วงกุศล ๔ ประการนี้ว่า ห้วงบุญ ห้วงกุศล อันเป็นปัจจัยนำมาซึ่ง ความสุขมี ประมาณเท่านี้ มิใช่กระทำได้โดยง่าย ที่แท้ ห้วงบุญ ห้วงกุศล ย่อมถึง ความนับว่าเป็นกองบุญใหญ่ จะนับจะประมาณมิได้ พระผู้มีพระภาคได้ตรัส พระพุทธพจน์นี้ว่า
[๑๖๑๓]
ผู้ใดต้องการบุญ ตั้งมั่นในกุศล เจริญมรรคเพื่อบรรลุอมตธรรมผู้นั้นบรรลุธรรม ที่เป็นสาระ ยินดีในธรรมเป็นที่สิ้นไป (แห่งอาสวะ)ย่อมไม่หวั่นไหวในเมื่อ มัจจุราชมาถึง.
จบ สูตรที่ ๓
1614
มหัทธนสูตรที่ ๑
ผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเป็นผู้มั่งคั่ง
[๑๖๑๔]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เราเรียกว่าเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มียศใหญ่ ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน ?
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆพระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้จำแนกธรรม ประกอบ ด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระธรรม... ในพระสงฆ์... ประกอบ ด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เราเรียกว่า เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมากมียศใหญ่.
จบ สูตรที่ ๔
1615
มหัทธนสูตรที่ ๒
ผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเป็นผู้มั่งคั่ง
[๑๖๑๕]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เราเรียกว่าเป็น ผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มียศใหญ่ ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน ?
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้า ว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆพระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้จำแนกธรรม ประกอบ ด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม... ในพระสงฆ์. .. เป็นผู้มีปัญญา ฯลฯ ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เราเรียกว่า เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มียศใหญ่.
จบ สูตรที่ ๕
1616
ภิกขุสูตร
องค์คุณของพระโสดาบัน
[๑๖๑๖]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกตํ่าเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้าธรรม ๔ ประการเป็นไฉน ?
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า... ในพระธรรม... ในพระสงฆ์... ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกตํ่า เป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะ ตรัสรู้ในเบื้องหน้า
จบ สูตรที่ ๖
1617
นันทิยสูตร
ผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเป็นพระโสดาบัน
[๑๖๑๗]
กบิลพัสดุ์นิทาน. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะเจ้าศากยนันทิยะ ผู้ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งว่าดูกรนันทิยะ อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมเป็นพระโสดาบันมีความไม่ตกตํ่าเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ ในเบื้องหน้า ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน ?
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ... ในพระธรรม... ในพระสงฆ์... ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้วไม่ขาด ฯลฯ เปน็ ไปเพื่อสมาธิ
ดูกรนันทิยะ อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็น ธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า .
จบ สูตรที่ ๗
1618
ภัททิยสูตร
ผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเป็นพระโสดาบัน
[๑๖๑๘]
กบิลพัสดุ์นิทาน. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะเจ้าศากยภัททิยะ ผู้ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งว่าดูกรภัททิยะ อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมเป็นพระโสดาบันมีความไม่ตกตํ่าเป็นธรรมดา... อริยสาวกผู้ประกอบ ด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมเป็น พระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.
จบ สูตรที่ ๘
1619
มหานามสูตร
ผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเป็นพระโสดาบัน
[๑๖๑๙]
กบิลพัสดุ์นิทาน. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะพระเจ้ามหานามศากยราช ผู้ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งว่า
ดูกรมหาบพิตร อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมเป็น พระโสดาบันมี ความไม่ตกตํ่าเป็นธรรมดา... อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อม เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะ ตรัสรู้ในเบื้องหน้า
จบ สูตรที่ ๙
1620
โสตาปัตติยังคสูตร
โสตาปัตติยังคะ ๔ ประการ
[๑๖๒๐]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย โสตาปัตติยังคะ ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน ? คือการคบสัตบุรุษ ๑ การฟังธรรม ๑ การทำไว้ในใจโดยแยบคาย ๑ การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย โสตาปัตติยังคะ ๔ ประการนี้แล.
จบ สูตรที่ ๑๐
จบ สคาถกปุญญาภิสันทวรรคที่ ๕
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อภิสันทสูตรที่ ๑ ๒. อภิสันทสูตรที่ ๒
๓. อภิสันทสูตรที่ ๓ ๔. มหัทธนสูตรที่ ๑
๕. มหัทธนสูตรที่ ๒ ๖. ภิกขุสูตร
๗. นันทิยสูตร ๘. ภัททิยสูตร
๙. มหานามสูตร ๑๐. โสตาปัตติยังคสูตร
สัปปัญญวรรคที่ ๖
1621
สคาถกสูตร
ผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเป็นพระโสดาบัน
[๑๖๒๑]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกตํ่าเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้าธรรม ๔ ประการเป็นไฉน ? อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า... ในพระธรรม... ในพระสงฆ์... ประกอบด้วยศีล ที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว...
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกระกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกตํ่าเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้าพระผู้มี พระภาค ได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า
[๑๖๒๒]
ผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว ในพระตถาคตมีศีลอันงาม ที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว สรรเสริญแล้วมีความเลื่อมใส ในพระสงฆ์ และมีความเห็นตรงบัณฑิตเรียกผู้นั้นว่า เป็นคนไม่ขัดสน ชีวิตของเขาไม่เปล่าประโยชน์เพราะฉะนั้น บุคคลผู้มีปัญญา เมื่อระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าพึงประกอบตามซึ่งศรัทธา ศีล ความเลื่อมใส และความเห็น ธรรม ดังนี้.
จบ สูตรที่ ๑
1623
วัสสวุตถสูตร
ว่าด้วยพระอริยบุคคลมีน้อยกว่ากันโดยลำดับ
[๑๖๒๓]
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นภิกษุรูปหนึ่ง อยู่จำพรรษาในพระนคร สาวัตถีแล้วไปโดยลำดับ ถึงพระนครกบิลพัสดุ ด้วยกรณียบางอย่าง พวกเจ้า ศากยะชาวพระนครกบิลพัสดุ์ได้ทราบข่าวว่า ภิกษุรูปหนึ่งอยู่จำพรรษาในพระนคร สาวัตถี มาถึงพระนคร กบิลพัสดุ์แล้วจึงเสด็จเข้าไปหาภิกษุรูปนั้นถึงที่อยู่ ทรง อภิวาทภิกษุนนั้ แล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ตรัสถาม ภิกษุนั้นว่า
[๑๖๒๔]
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคไม่ประชวร และยังมีพระกำลังหรือ ? ภิกษุนั้นทูลว่า พระผู้มีพระภาคไม่ประชวร และยังมีพระกำลัง ขอถวายพระพร. ศ. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะไม่ป่วยไข้ และยังมี กำลังหรือ ?
ภิ. แม้พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะก็ไม่ป่วยไข้และยังมีกำลัง ขอถวาย พระพร.
ศ. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ภิกษุสงฆ์ไม่ป่วยไข้และยังมีกำลังหรือ ?
ภิ. แม้ภิกษุสงฆ์ก็ไม่ป่วยไข้และยังมีกำลัง ขอถวายพระพร.ศ. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ระหว่างพรรษานี้ อะไรๆ ที่ท่านได้ฟังมา ได้รับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาค มีอยู่หรือ ?
ภิ. ขอถวายพระพร เรื่องนี้อาตมภาพได้ฟังมา ได้รับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มี พระภาคว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาสาวะ 1มิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ มีน้อยที่แท้ ภิกษุผู้เป็นอุปปาติกะ เพราะสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องตํ่า ๕ สิ้นไป จักนิพพานในภพที่เกิดนั้น มีอันไม่กลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา มีมากกว่า อีกประการหนึ่ง อาตมภาพ ได้ฟังมา ได้รับมาเฉพาะพระพักตร์ผู้มีพระภาคว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นอุปปาติกะ เพราะสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องตํ่า ๕ สิ้นไปจักนิพพานในภพที่เกิดนั้น มีอันไม่กลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา มีน้อย ที่แท้ภิกษุผู้เป็นสกทาคามี เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป และเพราะราคะ โทสะ โมหะ เบาบางกลับมาสู่โลกนี้ อีกคราวเดียวเท่านั้นแล้ว จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ มีมากกว่าอีกประการหนึ่ง อาตมภาพได้ฟังมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็น สกทาคามี เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป และเพราะ ราคะ โทสะ โมหะ เบาบาง กลับมาสู่ โลกนี้อีกคราวเดียวเท่านั้น แล้วจักกระทำ ที่สุดแห่งทุกข์ได้มีน้อย ที่แท้ ภิกษุผู้เป็นพระโสดาบัน เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป มีความไม่ตกตํ่าเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า มีมากกว่า.
จบ สูตรที่ ๒
1625
ธรรมทินนสูตร
ธรรมทินนอุบาสกพยากรณ์โสดาปัตติผล
[๑๖๒๕]
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้พระนคร พาราณสี ครั้งนั้น อุบาสกชื่อว่า ธรรมทินนะ พร้อมด้วยอุบาสก ๕๐๐ คน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อใดจะพึงมีประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงตรัสสอน โปรดทรงพรํ่าสอนข้อนั้นแก่ข้าพระองค์ทั้งหลายเถิดพระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกรธรรมทินนะ เพราะฉะนั้นแหละ ท่านทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า พระสูตร เหล่าใดที่พระตถาคตตรัสแล้ว อันลึกซึ้ง มีเนื้อความอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยความว่าง เราจักเข้าถึงพระสูตรเหล่านั้นตลอดกาล เป็นนิตย์อยู่ ดูกรธรรมทินนะท่านทั้งหลาย พึงศึกษาอย่างนี้แหละ.
[๑๖๒๖]
ธ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายยังครองเรือน นอนกกลูกอยู่ ยังทาจันทน์แคว้นกาสี ยังใช้มาลา ของหอมและเครื่องลูบไล้ ยังยินดีทองและ เงินอยู่ จะเข้าถึงพระสูตรที่พระตถาคตตรัสแล้ว อันลึกซึ้ง มีเนื้อความ อันลึกเป็นโลกุตตะ 1 ประกอบด้วยความว่าง ตลอดนิตยกาลอยู่ มิใช่กระทำ ได้โดยง่าย ขอพระผู้มีพระภาคโปรด ทรงแสดงธรรมอันยิ่ง แก่ข้าพระองค์ ทั้งหลายผู้ตั้งอยู่แล้วในสิกขาบท ๕ เถิด.
พ. ดูกรธรรมทินนะ เพราะฉะนั้นแหละ ท่านทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราทั้งหลาย จักเป็นผู้ประกอบด้วย ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวใน พระพุทธเจ้า...ในพระธรรม... ในพระสงฆ์... จักเป็นผู้ประกอบด้วยศีลที่ พระอริยเจ้า ใคร่แล้วไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ ดูกรธรรมทินนะ ท่านทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ.
ธ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โสตาปัตติยังคะ ๔ ประการเหล่าใด ที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงแล้ว ธรรมเหล่านั้น มีอยู่ในข้าพระองค์ทั้งหลาย และข้าพระองค์ ทั้งหลายเห็นชัดในธรรมเหล่านั้น เพราะว่า ข้าพระองค์ทั้งหลาย ประกอบด้วย ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า... ในพระธรรม... ในพระสงฆ์... ประกอบด้วยศีลที่ พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ.
พ. ดูกรธรรมทินนะ เป็นลาภของท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายได้ดีแล้วโสดา ปัตติผล อันท่านทั้งหลายพยากรณ์แล้ว.
จบ สูตรที่ ๓
1. โลกุตตระ -ผู้รวบรวม
1627
คิลายนสูตร
ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความเบาใจ ๔ ประการ
[๑๖๒๗]
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม ใกล้พระนครกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ก็สมัยนั้น ภิกษุมากรูป กระทำจีวรกรรมของพระผู้มีพระภาค ด้วยหวังว่า พระผู้มีพระภาคทรงทำจีวรสำเร็จแล้ว จักเสด็จหลีกไปสู่ที่จาริก โดยล่วง ๓ เดือน พระเจ้ามหานามศากยราช ได้ทรงสดับข่าวว่า ภิกษุมากรูป กระทำจีวรกรรม ของพระผู้มีพระภาค ด้วยหวังว่าพระผู้มีพระภาคทรงทำ จีวรสำเร็จแล้ว จักเสด็จหลีกไปสู่ที่จาริกโดยล่วง ๓ เดือน
ครั้งนั้น พระเจ้ามหานามศากยราชเสด็จเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ทรงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้ยินมาว่า ภิกษุมากรูป กระทำจีวรกรรมของพระผู้มีพระภาคด้วยหวังว่า พระผู้มีพระภาคทรงทำจีวร สำเร็จแล้ว จักเสด็จหลีกไปสู่ที่จาริก โดยล่วง ๓ เดือน
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรื่องนี้หม่อมฉัน ยังไม่ได้ฟัง ยังไม่ได้รับมาเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาคว่า อุบาสกผู้มี ปัญญา พึงกล่าวสอนอุบาสกผู้มีปัญญา ผู้ป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก.
[๑๖๒๘]
พ. ดูกรมหาบพิตร อุบาสกผู้มีปัญญา พึงปลอบอุบาสกผู้มีปัญญา ผู้ป่วยได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ด้วยธรรมเป็นที่ตั้ง แห่งความเบาใจ ๔ ประการว่า ท่านจงเบาใจ เถิดว่า ท่านมีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า... ในพระธรรม... ในพระสงฆ์... มีศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ.
[๑๖๒๙]
ดูกรมหาบพิตร อุบาสกผู้มีปัญญา ครั้นปลอบอุบาสกผู้มีปัญญา ผู้ป่วยได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ด้วยธรรมเป็นที่ตั้งแห่ง ความเบาใจ ๔ ประการนี้แล้ว พึงถามอย่าง นี้ว่า ท่านมีความห่วงใยในมารดาและบิดาอยู่หรือ ?
ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่าเรายังมีความห่วงใย ในมารดาและบิดาอยู่ อุบาสกนั้นพึง กล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า ท่านผู้เช่นกับเรา ซึ่งมีความตายเป็นธรรมดา ถ้าแม้ท่านจัก กระทำความห่วงใยในมารดาและบิดา ก็จักตายไป ถ้าแม้ท่านจักไม่กระทำ ความห่วงใยในมารดาและบิดาก็จักตายไปเหมือนกัน ขอท่านจงละความห่วงใยใน มารดาและบิดาของท่านเสียเถิดถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า เราละความห่วงใยใน มารดาและบิดาของเราแล้ว.
[๑๖๓๐]
อุบาสกนั้นพึงถามเขาอย่างนี้ว่าก็ท่านยังมีความหว่ งใยในบุตรและภริยาอยู่หรือ ?
ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า เรายังมีความห่วงใยในบุตรและภริยาอยู่ อุบาสกนั้นพึง กล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า ท่านผู้เช่นกับเรา ซึ่งมีความตายเป็นธรรมดา ถ้าแม้ท่านจัก กระทำความห่วงใยในบุตรและภริยา ก็จักตายไป ถ้าแม้ท่านจักไม่กระทำ ความห่วงใยในบุตรและภริยา ก็จักตายไปเหมือนกัน ขอท่านจงละความห่วงใย ในบุตรและภริยาของท่านเสียเถิด ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า เราละความห่วงใยใน บุตรและภริยาของเราแล้ว.
[๑๖๓๑]
อุบาสกนั้นพึงถามเขาอย่างนี้ว่า ท่านยังมีความห่วงใยในกามคุณ ๕ อันเป็นของ มนุษย์อยู่หรือ ? ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ ว่า เรายังมีความห่วงใยในกามคุณ ๕ อันเป็นของมนุษย์อยู่ อุบาสกนั้นพึงกล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า กามอันเป็นทิพย์ ยังดีกว่า ประณีตกว่ากามอันเป็นของมนุษย์ ขอท่านจงพรากจิตให้ออกจากกาม อันเป็นของมนุษย์ แล้วน้อมจิตไป ในพวกเทพชั้นจาตุมหาราชเถิด ถ้าเขากล่าว อย่างนี้ว่า จิตของเราออกจากกามอันเป็นของมนุษย์แล้ว จิตของเราน้อมไปใน พวกเทพชั้นจาตุมหาราชแล้ว.
[๑๖๓๒]
อุบาสกนั้นพึงกล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า พวกเทพชั้นดาวดึงส์ยังดีกว่า ประณีตกว่า พวกเทพชั้นจาตุมหาราช ขอท่านจง พรากจิตให้ออกจากพวกเทพ ชั้นจาตุมหาราช แล้วน้อมจิตไปในพวกเทพชั้นดาวดึงส์เถิด
ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า จิตของเราออกจากพวกเทพชั้นจาตุมหาราชแล้ว จิตของเราน้อมไปในพวกเทพชั้นดาวดึงส์ แล้ว อุบาสกนั้นพึงกล่าวกะเขา อย่างนี้ว่า พวกเทพชั้นยามายังดีกว่า ประณีตกว่า พวกเทพชั้นดาวดึงส์... พวกเทพ ชั้นดุสิตยังดีกว่า ประณีตกว่า พวกเทพชั้นยามา... พวกเทพชั้นนิมมานรดียังดีกว่า ประณีตกว่า พวกเทพชั้นดุสิต... พวกเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตตียังดีกว่าประณีตกว่า พวกเทพชั้นนิมมานรดี... พรหมโลกยังดีกว่า ประณีตกว่า พวกเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตตี ขอท่านจงพรากจิตให้ออกจากพวกเทพ ชั้นปรนิมมิตวสวัตตี แล้วน้อมจิตไปใน พรหมโลกเถิด
ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า จิตของเราออกจากพวกเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตตีแล้ว จิตของเราน้อมไปในพรหมโลกแล้ว.
[๑๖๓๓]
อุบาสกนั้นพึงกล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ แม้พรหมโลกก็ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ยังนับเนื่องในสักกายะ ขอท่านจงพรากจิตให้ออกจากพรหมโลก แล้วนำจิตเข้าไปในความดับสักกายะเถิด
ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า จิตของเราออกจากพรหมโลกแล้ว เรานำจิตเข้าไปใน ความดับ สักกายะแล้ว ดูกรมหาบพิตร อาตมภาพไม่กล่าวถึงความต่างอะไร กันของอุบาสก ผู้มีจิตพ้นแล้วอย่างนี้ กับภิกษุผู้พ้นแล้วตั้งร้อยปี คือพ้นด้วยวิมุติ เหมือนกัน.
จบ สูตรที่ ๔
1634
ผลสูตรที่ ๑
เจริญธรรม ๔ ประการทำให้แจ้งโสดาปัตติผล
[๑๖๓๔]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วย่อม เป็นไป เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่ง โสดาปัตติผล ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน ? คือ การคบสัตบุรุษ ๑ การฟังสัทธรรม ๑ การกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ๑ การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้แล อันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้ง ซึ่งโสดาปัตติผล.
จบ สูตรที่ ๕
1635
ผลสูตรที่ ๒
เจริญธรรม ๔ ประการทำให้แจ้งสกทาคามิผล
[๑๖๓๕]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วย่อม เป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล... .
จบ สูตรที่ ๖
1640
เวปุลลสูตร
เจริญธรรม ๔ ประการปัญญาไพบูลย์
[๑๖๔๐]
...ย่อมเป็นไปเพื่อความไพบูลย์แห่งปัญญา... .
จบ สูตรที่ ๑๑
จบ สัปปัญญวรรคที่ ๖
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สคาถกสูตร ๒. วัสสวุตถสูตร
๓. ธรรมทินนสูตร ๔. คิลายนสูตร
๕. ผลสูตรที่ ๑ ๖. ผลสูตรที่ ๒
๗. ผลสูตรที่ ๓ ๘. ผลสูตรที่ ๔
๙. ปฏิลาภสูตร ๑๐. วุฒิสูตร
๑๑. เวปุลลสูตร
มหาปัญญวรรคที่ ๗
1641-1652
มหาปัญญสูตร
เจริญธรรม ๔ ประการมีปัญญามาก
[๑๖๔๑]
...ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญามาก... .
จบ สูตรที่ ๑
ปุถุปัญญสูตร
เจริญ ... มีปัญญาแน่นหนา
[๑๖๒๔] 1
...ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาแน่นหนา... .
จบ สูตรที่ ๒
วิปุลลปัญญสูตร
เจริญ ... มีปัญญาไพบูลย์
[๑๖๔๓]
...ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาไพบูลย์... .
จบ สูตรที่ ๓
คัมภีรปัญญสูตร
เจริญ ... มีปัญญาลึกซึ้ง
[๑๖๔๔]
...ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาลึกซึ้ง... .
จบ สูตรที่ ๔
อัปปมัตตปัญญสูตร
เจริญ ... มีปัญญาหาประมาณมิได้
[๑๖๔๕]
...ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาประมาณมิได้... .
จบ สูตรที่ ๕
ภูริปัญญสูตร
เจริญ ... มีปัญญาดังแผ่นดิน
[๑๖๔๖]
...ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเพียงดังแผ่นดิน... .
จบ สูตรที่ ๖
พาหุลปัญญสูตร
เจริญ ... มีปัญญามาก
[๑๖๔๗]
...ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญามาก... .
จบ สูตรที่ ๗
สีฆปัญญสูตร
เจริญ ... มีปัญญาเร็ว
[๑๖๔๘]
...ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเร็ว... .
จบ สูตรที่ ๘
ลหุปัญญสูตร
เจริญ ... มีปัญญาเบา
[๑๖๔๙]
...ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเบา... .
จบ สูตรที่ ๙
หาสปัญญสูตร
เจริญ ... มีปัญญาร่าเริง
[๑๖๕๐]
...ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาร่าเริง... .
จบ สูตรที่ ๑๐
ชวนปัญญสูตร
เจริญ ... มีปัญญาไว
[๑๖๕๑]
...ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาไว... .
จบ สูตรที่ ๑๑
ติกขปัญญสูตร
เจริญ ... มีปัญญากล้า
[๑๖๕๒]
...ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาคมกล้า... .
จบ สูตรที่ ๑๒
1653
นิพเพธิกปัญญสูตร
เจริญธรรม ๔ ประการมีปัญญาชำแรกกิเลส
[๑๖๕๓]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วย่อม เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเป็น เครื่องชำแรกกิเลส ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน ? คือ การคบสัตบุรุษ ๑ การฟังสัทธรรม ๑ การกระทำไว้ในใจ โดยแยบคาย ๑ การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญา เป็นเครื่องชำแรกกิเลส.
จบ สูตรที่ ๑๓
จบ มหาปัญญวรรคที่ ๗
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. มหาปัญญสูตร ๒. ปุถุปัญญสูตร
๓. วิปุลลปัญญสูตร ๔. คัมภีรปัญญสูตร
๕. อัปปมัตตปัญญสูตร ๖. ภูริปัญญสูตร
๗. พาหุลปัญญสูตร ๘. สีฆปัญญสูตร
๙. ลหุปัญญสูตร ๑๐. หาสปัญญสูตร
๑๑. ชวนปัญญสูตร ๑๒. ติกขปัญญสูตร
๑๓. นิพเพธิกปัญญสูตร
จบ โสดาปัตติสังยุต 1
1. ข้อสังเกต : ในบทที่ ๑๐ แห่งหนังสือเล่มนี้ ใช้คำว่า “โสตาปัตติสังยุต” -ผู้รวบรวม
๑๑. สัจจสังยุต
1654
สมาธิวรรคที่ ๑
สมาธิสูตร ผู้มีใจตั้งมั่นย่อมรู้ตามความเป็นจริง
[๑๖๕๔]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิ ภิกษุผู้มีใจตั้งมั่น แล้วย่อมรู้ตามความเป็นจริง ย่อมรู้อะไรตามความเป็นจริง ย่อมรู้ตามความเป็นจริง ว่านี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เธอทั้งหลายจง เจริญสมาธิภิกษุผู้มีใจตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ตามความเป็นจริง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละเธอทั้งหลาย พึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตาม ความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๑
1655
ปฏิสัลลานสูตร
ผู้หลีกเร้นอยู่ย่อมรู้ตามความเป็นจริง
[๑๖๕๕]
ดกู รภิกษุทงั้ หลาย เธอทงั้ หลายจงถึงความประกอบในการหลีกออกเร้นอยู่ ภิกษุผู้หลีกออกเร้นอยู่ ย่อมรู้ตามความเป็นจริง ย่อมรู้อะไรตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เธอทั้งหลายจงถึง ความประกอบในการหลีกออกเร้นอยู่ ภิกษุผู้หลีกออกเร้นอยู่ ย่อมรู้ตามความ เป็นจริง
ดูกรภิกษุทั้งหลายเพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลาย พึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตาม ความเป็นจริงว่านี้ทุกข์ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๒
1656
กุลปุตตสูตรที่ ๑
ผู้ออกบวชโดยชอบเพื่อรู้อริยสัจ ๔
[๑๖๕๖]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กุลบุตรเหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาล ออกบวชเป็นบรรพชิต โดยชอบ กุลบุตรเหล่านั้นทั้งหมด ออกบวชแล้วเพื่อรู้อริยสัจ ๔ ตามความ เป็นจริง กุลบุตรเหล่าใด เหล่าหนึ่งในอนาคตกาล จักออกบวชเป็นบรรพชิต โดยชอบ
กุลบุตรเหล่านั้นทั้งหมด จักออกบวชเพื่อรู้อริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง กุลบุตรเหล่าใด เหล่าหนึ่งในปัจจุบันกาล ออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ กุลบุตรเหล่านั้นทั้งหมด ออกบวชอยู่เพื่อรู้อริยสัจ ๔ ตามความเป็น จริง อริยสัจ ๔ เป็นไฉน ?
คือทุกขอริยสัจ ทุกขสมุทัย -อริยสัจ ทุกขนิโรธอริยสัจ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อริยสัจ ก็กุลบุตรเหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาล... ในอนาคตกาล... ในปัจจุบันกาล ออกบวชเป็น บรรพชิตโดยชอบ กุลบุตรเหล่านั้นทั้งหมดออกบวช เพื่อรู้อริยสัจ ๔ นี้แลตามความเป็นจริง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ ตามความ เป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๓
1657
กุลปุตตสูตรที่ ๒
ผู้ออกบวชโดยชอบรู้อริยสัจ ๔ ตามเป็นจริง
[๑๖๕๗]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กุลบุตรเหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาล ออกบวชเป็นบรรพชิต โดยชอบ รู้แล้วตามความเป็นจริง กุลบุตรเหล่านั้นทั้งหมด รู้แล้วซึ่งอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง กุลบุตรเหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาล ออกบวชเป็น บรรพชิต โดยชอบ จักรู้ตามความเป็นจริง
กุลบุตรเหล่านั้นทั้งหมด จักรู้ซึ่งอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริงกุลบุตรเหล่าใด เหล่าหนึ่ง ในปัจจุบันกาล ออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ ย่อมรู้ตามความ เป็นจริง กุลบุตรเหล่านั้น ทั้งหมด ย่อมรู้ซึ่งอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริงอริยสัจ ๔ เป็นไฉน ?
คือ ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ก็กุลบุตรเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในอดีตกาล... ในอนาคตกาล... ในปัจจุบันกาล ออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ รู้ตามความเป็นจริง กุลบุตรเหล่านั้นทั้งหมด รู้ซึ่งอริยสัจ ๔
เหล่านี้ ตามความเป็นจริง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลาย พึงกระทำ ความเพียร เพื่อรู้ตามความเป็น จริงว่านี้ทุกข ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคา มินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๔
1658
สมณพราหมณสูตรที่ ๑
สมณพราหมณ์รู้อริยสัจ ๔ ตามเป็นจริง
[๑๖๕๘]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาล รู้แล้วตามความ เป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ทั้งหมด รู้แล้วซึ่งอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาล จักรู้ตามความเป็นจริงสมณะ หรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด จักรู้ซึ่งอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์ เหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบันกาล ย่อมรู้ตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ทั้งหมด ย่อมรู้อริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง อริยสัจ ๔ เป็นไฉน ?
คือ ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ก็สมณะหรือพราหมณ์ เหล่าใด เหล่าหนึ่งในอดีตกาล... ในอนาคตกาล... ในปัจจุบันกาล รู้ตามความ เป็นจริง สมณะหรือ พราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด รู้ซึ่ง อริยสัจ ๔ เหล่านี้ ตามความเป็น จริง
ดูกรภิกษุทั้งหลายเพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร เพื่อรู้ ตามความ เป็นจริงว่านี้ทุกข์ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
จบ สูตรที่ ๕
1659
สมณพราหมณสูตรที่ ๒
สมณพราหมณ์ประกาศอริยสัจ ๔ ที่ตนรู้
[๑๖๕๙]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาล ประกาศแล้วซึ่ง สิ่งที่ตนรู้แล้วตามความจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ประกาศแล้วซึ่งอริยสัจ ๔ ว่าเป็นสิ่งที่ตนรู้แล้วตามความเป็นจริง สมณะหรือ พราหมณ์ เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในอนาคต กาล จักประกาศสิ่งที่ตนรู้แล้ว ตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์ เหล่านั้นทั้งหมด จักประกาศอริยสัจ ๔ ว่า เป็นสิ่งที่ตนรู้แล้วตามความเป็นจริง
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในปัจจุบันกาล ประกาศอยู่ซึ่งสิ่งที่ตน รู้แล้ว ตามความเป็นจริงสมณะ หรือพราหมณ์ เหล่านั้นทั้งหมด ประกาศอยู่ ซึ่งอริยสัจ ๔ ว่า เป็นสิ่งที่ตนรู้แล้วตามความเป็นจริง อริยสัจ ๔ เป็นไฉน ? คือ ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินี-ปฏิปทาอริยสัจ
ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาล... ในอนาคตกาล... ในปัจจุบันกาล ประกาศสิ่งที่ตนรู้แล้วตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์ เหล่านั้นทั้งหมด ประกาศ อริยสัจ ๔ เหล่านี้ว่า เป็นสิ่งที่ตนรู้แล้วตามความ เป็นจริง
ดูกรภิกษุทงั้ หลาย เพราะฉะนนั้ แหละ เธอทงั้ หลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ ตามความเป็น จริงว่านี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๖
1660
วิตักกสูตร
ว่าด้วยการตรึกในอริยสัจ ๔
[๑๖๖๐]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงอย่าตรึกถึงอกุศลวิตกอันลามก คือ กามวิตก พยาบาท วิตก วิหิงสาวิตก ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? เพราะวิตกเหล่านี้ ไม่ประกอบ ด้วยประโยชน์ ไม่ใช่พรหมจรรย์เบื้องต้น ย่อมไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย ความคลายกำหนัด ความดับ ความสงบ ความรู้ยิ่ง ความตรัสรู้ นิพพาน ก็เมื่อเธอ ทั้งหลายจะตรึกพึงตรึกว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโธคามินีปฏิปทา 1 ข้อนั้นเพราะเหตุไร ?
เพราะความตรึกเหล่านี้ ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นพรหมจรรย์เบื้องต้น ย่อมเป็น ไปเพื่อ ความหน่าย ความคลายกำหนัด ความดับ ความสงบ ความรู้ยิ่ง ความตรัสรู้ นิพพาน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลาย พึงกระทำความเพียร เพื่อรู้ตามความ เป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรคามินีปฏิปทา 2.
จบ สูตรที่ ๗
1661
จินตสูตร
ว่าด้วยการคิดในอริยสัจ ๔
[๑๖๖๑]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงอย่าคิดถึงอกุศลจิตอันลามกว่า โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้น ชีพอย่างหนึ่ง สรีระก็อย่างหนึ่ง สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีก สัตว์เบื้องหน้าแต่ตาย แล้วย่อมไม่เป็นอีก สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี สัตว์เบื้องหน้า แต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ ข้อนั้น เพราะเหตุไร ? เพราะความคิดนี้ไม่ ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ใช่พรหมจรรย์ เบื้องต้น ย่อมไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย...
นิพพาน ก็เมื่อเธอทั้งหลายจะคิด พึงคิดว่านี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? เพราะความคิดนี้ ประกอบด้วยประโยชน์เป็นพรหมจรรย์ เบื้องต้น ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่าย... นิพพาน
ดูกรภิกษุทั้งหลายเพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร เพื่อรู้ ตามความ เป็นจริงว่านี้ทุกข์ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๘
1662
วิคคาหิกกถาสูตร
ว่าด้วยการพูดที่ไม่เป็นประโยชน์
[๑๖๖๒]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงอย่าพูดถ้อยคำแก่งแย่งกันว่า ท่านไม่รู้ทั่วถึง ธรรมวินัยนี้ เรารู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ ท่านจักรู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ได้อย่างไร ท่านปฏิบัติผิด เราปฏิบัติถูก สิ่งที่ควรพูดก่อน ท่านพูดเสียทีหลัง สิ่งที่ควร พูดทีหลัง ท่านพูดเสียก่อน เป็นประโยชน์ แก่เรา ไม่เป็นประโยชน์แก่ท่าน ความเป็นไปอย่างอื่นที่คลาดเคลื่อน ท่านประพฤติแล้ว ท่านยกวาทะขึ้นแล้ว เพื่อเปลื้องวาทะของผู้อื่น ท่านถูกข่มขี่ แล้วท่าน จงชำแรกออก ถ้าท่านอาจ ข้อนั้นเพราะเหตุไร ?
เพราะถ้อยคำนี้ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ใช่พรหมจรรย์เบื้องต้น ย่อมไม่เป็น ไปเพื่อ ความหน่าย... นิพพาน ก็เมื่อเธอทั้งหลายจะพูด พึงพูดว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินี ปฏิปทา ข้อนั้นเพราะเหตุไร ?
เพราะถ้อยคำนี้ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นพรหมจรรย์เบื้องต้น ย่อมเป็นไป เพื่อความ หน่าย ... นิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความ เพียร เพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๙
1663
ติรัจฉานกถาสูตร
ว่าด้วยการพูดติรัจฉานกถา
[๑๖๖๓]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงอย่าพูดดิรัจฉานกถา ซึ่งมีหลายอย่างคือ พูดเรื่อง พระราชา เรื่องโจร เรื่องมหาอำมาตย์ เรื่องกองทัพ เรื่องรบ เรื่องข้าว เรื่องนํ้า เรื่องผ้า เรื่องที่นอน เรื่องดอกไม้ เรื่องของหอม เรื่องญาติ เรื่องยาน เรื่องบ้าน เรื่องนิคม เรื่องนคร เรื่องชนบท เรื่องสตรี เรื่องบุรุษ เรื่องคนกล้าหาญ เรื่องตรอก เรื่องท่านํ้า เรื่องคนที่ล่วง ลับ ไปแล้ว เรื่องเบ็ดเตล็ด เรื่องโลก เรื่องทะเลเรื่องความเจริญและ ความเสื่อม ด้วยประการนั้นๆ ข้อนั้นเพราะเหตุไร ?
เพราะถ้อยคำนี้ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นพรหมจรรย์เบื้องต้น ย่อมไม่เป็น ไปเพื่อ ความหน่าย...นิพพาน ก็เมื่อเธอทั้งหลาย จะพูด พึงพูดว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคา มินีปฏิปทาข้อนั้นเพราะเหตุไร ? เพราะถ้อยคำนี้ประกอบด้วย ประโยชน์ เป็นพรหมจรรย์ เบื้องต้น ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่าย... นิพพาน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละเธอทั้งหลาย พึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ ตามความ เป็นจริงว่านี้ทุกขฺ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธ-คามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๑๐
จบ สมาธิวรรคที่ ๑
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สมาธิสูตร ๒. ปฏิสัลลาณสูตร
๓. กุลปุตตสูตรที่ ๑ ๔. กุลปุตตสูตรที่ ๒
๕. สมณพราหมณสูตรที่ ๑ ๖. สมณพราหมณสูตรที่ ๒
๗. วิตักกสูตร ๘. จินตสูตร
๙. วิคคาหิกกถาสูตร ๑๐. ติรัจฉานกถาสูตร
|