เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม

หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ           

  หนังสือ พุทธวจน   ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
  10 of 13  
 
  หนังสือ พุทธวจน  ที่มา : http://watnapp.com/book  
       
    สารบัญ ข้อ  
       
  ๘. อนุรุทธสังยุต รโหคตวรรคที่ ๑ 1253  
  รโหคตสูตรที่ ๑ ว่าด้วยสติปัฏฐาน ๔ 1253  
  รโหคตวรรคที่ ๒ ว่าด้วยสติปัฏฐาน ๔ 1263  
  สุตนุสูตร การบรรลุภาวะแห่งมหาอภิญญา 1270  
  กัณฏกีสูตรที่ ๑ ธรรมที่พระเสขะพึงเข้าถึง 1272  
  กัณฏกีสูตรที่ ๒ ธรรมที่พระอเสขะพึงเข้าถึง 1274  
  กัณฏกีสูตรที่ ๓ การบรรลุภาวะแห่งมหาอภิญญา 1276  
  ตัณหักขยสูตร เจริญสติปัฏฐานเพื่อความสิ้นตัณหา 1278  
  สลฬาคารสูตร ภิกษุผู้เจริญสติปัฏฐานไม่ลาสิกขา 1279  
  อัมพปาลิสูตร ว่าด้วยวิหารธรรม 1281  
  คิลลานสูตร จิตตั้งมั่นในสติปัฏฐานทุกขเวทนาไม่ครอบงำ 1283  
       
  ทุติยวรรคที่ ๒ 1285  
  สหัสสสูตร การบรรลุภาวะแห่งมหาอภิญญา 1285  
  อิทธิสูตร เจริญสติปัฏฐานแผลงฤทธิ์ได้ 1287  
  ทิพโสตสูตร ว่าด้วยเสียง ๒ ชนิด 1288  
  เจโตปริจจสูตร ว่าด้วยการกำหนดรู้ใจผู้อื่น 1289  
  ฐานาฐานสูตร ว่าด้วยการรู้ฐานะอฐานะ 1290  
  วิปากสูตร ว่าด้วยการรู้วิบากของกรรม 1291  
  สัพพัตถคามินีปฏิปทาสูตร ปฏิปทาอันให้ถึงประโยชน์ทั้งปวง 1292  
  นานาธาตุสูตร ว่าด้วยการรู้ธาตุต่างๆ 1293  
  อธิมุตติสูตร ว่าด้วยการรู้อธิมุติต่างๆ 1294  
  อินทริยสูตร ว่าด้วยการรู้ความยิ่งหย่อนแห่งอินทรีย์ 1295  
  สังกิเลสสูตร ว่าด้วยรู้ความเศร้าหมองความผ่องแผ้ว 1296  
  วิชชาสูตรที่ ๑ ว่าด้วยการระลึกชาติได้ 1297  
  วิชชาสูตรที่ ๒ ว่าด้วยการเห็นจุติและอุปบัติ 1298  
  วิชชาสูตรที่ ๓ ว่าด้วยการทำอาสวะให้สิ้นไป 1299  
  ๙. ฌานสังยุต ว่าด้วยฌาน ๔ 1300  
       
  อานาปานสังยุต เอกธรรมวรรคที่ ๑ 1305  
  เอกธรรมสูตร ว่าด้วยอานาปานสติ 1305  
  โพชฌงคสูตร ว่าด้วยโพชฌงค์ 1307  
  สุทธิกสูตร วิธีเจริญอานาปานสติ 1309  
  ผลสูตรที่ ๑ ผลานิสงส์เจริญอานาปานสติ ๒ ประการ 1311  
  ผลสูตรที่ ๒ ผลานิสงส์การเจริญอานาปานสติ ๗ ประการ 1314  
  อริฏฐสูตร การเจริญอานาปานสติ 1317  
  กัปปินสูตร ว่าด้วยอานาปานสติสมาธิ 1321  
  ทีปสูตร อานิสงส์แห่งการเจริญอานาปานสติสมาธิ 1327  
  เวสาลีสูตร ว่าด้วยการเจริญอสุภกรรมฐาน 1348  
  กิมิลสูตร การเจริญอานาปานสติสมาธิ 1355  
  อิจฉานังคลสูตร ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยะ 1363  
  โลมสกังภิยสูตร วิหารธรรมของพระเสขะ ต่างกับของพระพุทธองค์ 1369  
  อานันทสูตรที่ ๑ ว่าด้วยปัญหาของพระอานนท์ 1380  
  อานันทสูตรที่ ๒ ว่าด้วยปัญหาของพระอานนท์ 1399  
  ภิกขุสูตรที่ ๑ ว่าด้วยปัญหาของภิกษุหลายรูป 1402  
  ภิกขุสูตรที่ ๒ ว่าด้วยปัญหาของภิกษุหลายรูป 1404  
  สังโยชนสูตร เจริญอานาปานสติสมาธิเพื่อละสังโยชน์ 1406  
  อนุสยสูตร เจริญอานาปานสติสมาธิเพื่อถอนอนุสัย 1408  
  อัทธานสูตร เจริญอานาปานสติสมาธิเพื่อรู้อัทธานะ 1409  
  อาสวักขยสูตร เจริญอานาปานสติสมาธิเพื่อสิ้นอาสวะ 1410  
       
 
 





๘. อนุรุทธสังยุต รโหคตวรรคที่ ๑

1253

รโหคตสูตรที่ ๑
ว่าด้วยสติปัฏฐาน ๔

[๑๒๕๓]
ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง ท่านพระอนุรุทธะอยู่ ณ พระวิหาร เชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถีครั้งนั้นแล ท่านพระอนุรุทธะหลีกเร้นอยู่ในที่ลับ ได้เกิด ความปริวิตกขึ้นในใจอย่างนี้ว่า

สติปัฏฐาน ๔ อันชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งเบื่อแล้ว ชนเหล่านั้น ชื่อว่า เบื่ออริยมรรค ที่จะให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ สติปัฏฐาน ๔ อันชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ปรารภแล้ว ชนเหล่านั้น ชื่อว่าปรารภอริยมรรคที่จะให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ.

[๑๒๕๔]
ลำดับนั้น ท่านมหาโมคคัลลานะ รู้ความปริวิตกในใจของท่านพระอนุรุทธะด้วยใจ จึงไปปรากฏใน ที่เฉพาะหน้าท่านอนุรุทธะ เหมือนบุรุษมีกำลัง เหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้ถาม ท่าน อนุรุทธะด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุจึงจะชื่อว่า ปรารภ สติปัฏฐาน ๔ ?

[๑๒๕๕]
ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า ดูกรผู้มีอายุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้น ในกายในภายในอยู่ พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเสื่อมไปใน กายในภายในอยู่ พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิตขึ้น 1 และความเสื่อมไปใน กายใน ภายในอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัส ในโลกเสียได้

ย่อมพิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้นในกายในภายนอกอยู่ พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเสื่อม ไปในกายในภายนอกอยู่ พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปในกาย ในภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะมีสติพึงกำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้

ย่อมพิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้นในกาย ทั้งภายในและภายนอกอยู่ พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเสื่อมไปในกายทั้งภายใน และภายนอกอยู่ พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้น และความ เสื่อมไปในกายทั้งภายใน และภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้.

[๑๒๕๖]
ภิกษุนั้นถ้าหวังอยู่ว่า ขอเราพึงเป็นผู้มีความสำคัญว่าปฏิกลู ในสิ่งที่ไม่ปฏิกลู อยู่เถิดก็ย่อมเป็น ผู้มีความสำคัญกว่า 1 ปฏิกูลในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลนั้นอยู่ ถ้าหวังอยู่ว่า ขอเราพึงเป็นผู้มีความสำคัญว่า ไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลอยู่เถิด ก็ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลนั้นอยู่ ถ้าหวังอยู่ว่า

ขอเราพึงเป็นผู้มีความสำคัญว่า ปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูล และสิ่งปฏิกูล อยู่เถิด ก็ย่อมเป็นผู้มี ความสำคัญว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูล และ สิ่งปฏิกูลนั้นอยู่ ถ้าหวังอยู่ว่าขอเราพึงเป็นผู้มีความ สำคัญว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกลู และสิ่งไม่ ปฏิกูลอยู่เถิด ก็ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญว่า ไม่ปฏิกูล ในสิ่งปฏิกูล และสิ่งไม่ ปฏิกูลนั้นอยู่ ถ้าหวังอยู่ว่า ขอเราพึงเป็นผู้เว้นขาดสิ่งไม่ปฏิกูล และสิ่ง ปฏิกูล ทั้งสองนั้นแล้วมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่เถิด ก็ย่อมเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ ในสิ่งทั้งสองนั้นอยู่.

[๑๒๕๗]
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นในเวทนาในภายในอยู่ พิจารณา เห็นธรรม คือ ความเสื่อมไปในเวทนาในภายในอยู่ พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปใน เวทนา ในภายในอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะมีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้

ย่อมพิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้นในเวทนาในภายนอกอยู่ พิจารณาเห็น ธรรม คือความ เสื่อมไปในเวทนาในภายนอกอยู่ พิจารณาเห็นธรรม คือ ความ เกิดขึ้นแล ความเสื่อมไปในเวทนา ในภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้

ย่อมพิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นในเวทนาทั้งภายในและภายนอกอยู่ พิจารณาเห็นธรรม คือความเสื่อมไปในเวทนา ทั้งภายใน และภายนอกอยู่ พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้นและ ความเสื่อมไปในเวทนาทั้งภายใน ภายนอกอยู่มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌา และ โทมนัสในโลกเสียได้.

[๑๒๕๘]
ภิกษุนั้นถ้าหวังอยู่ว่าขอเราพึงเป็นผู้มีความสำคัญว่าปฏิกูล ในสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่เถิด ก็ย่อมเป็นผู้มี ความสำคัญว่าปฏิกูลในสิ่ง ไม่ปฏิกูลนั้นอยู่ ฯลฯ ถ้าหวังอยู่ว่า ขอเราเป็น ผู้เว้นขาดสิ่งไม่ปฏิกูล และสิ่งิปฏิกูลทั้งสองนั้นแล้วมีอุเบกขา มีสติ สัมปชัญญะ อยู่เถิดก็ย่อมเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมป ชัญญะในสิ่งทั้งสองนั้นอยู่.

[๑๒๕๙]
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นในจิตในภายใน ฯลฯ พิจารณาเห็น ธรรม คือ ความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป ในจิตทั้งภายใน และภายนอกอยู่มี ความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้.

[๑๒๖๐]
ภิกษุนั้นถ้าหวังอยู่ว่า ขอเราพึงเป็นผู้มีความสำคัญว่าปฏิกูลในสิ่งที่ไม่ปฏิกูล อยู่เถิด ฯลฯ ก็ย่อมเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ ในสิ่งทั้งสองนั้นอยู่. [1]

[๑๒๖๑]
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายในภายใน ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปในธรรมทั้งหลาย ทั้ง ภายในและภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้.

[๑๒๖๒]
ภิกษุนั้นถ้าหวังอยู่ว่า ขอเราพึงเป็นผู้มีความสำคัญว่า ปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูล อยู่เถิด ฯลฯ ก็ย่อมเป็น ผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะในสิ่งทั้งสองนั้นอยู่ ดูกรท่านผู้มีอายุด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล ภิกษุจึงจะ ชื่อว่าปรารภสติปัฏฐาน ๔. [2]
จบ สูตรที่ ๑

1263

รโหคตวรรคที่ ๒ 1
ว่าด้วยสติปัฏฐาน ๔
[๑๒๖๓]
สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธะหลีกเร้นอยู่ในที่ลับ ได้เกิดความปริวิตก ขึ้นในใจอย่างนี้ว่า สติปัฏฐาน ๔ อันชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งเบื่อแล้ว ชนเหล่านั้น ชื่อว่า เบื่ออริยมรรคที่จะให้ถึงความสิ้น ทุกข์ โดยชอบ สติปัฏฐาน ๔ อันชน เหล่าใดเหล่าหนึ่งปรารภแล้วชนเหล่านั้น ชื่อว่าปรารภ อริยมรรค ที่จะให้ถึงความ สิ้นทุกข์โดยชอบ.

[๑๒๖๔]
ลำดับนั้น ท่านมหาโมคคัลลานะ รู้ความปริวิตกในใจของท่านอนุรุทธะด้วยใจ จึงไปปรากฏในที่ เฉพาะหน้าท่านพระอนุรุทธะ เหมือนบุรุษมีกำลัง เหยียดแขน ที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น.

[๑๒๖๕]
ครั้งนั้น ท่านมหาโมคคัลลานะได้ถามท่านพระอนุรุทธะว่า ดูกรท่านพระอนุรุทธะ ด้วยเหตุเพียง เท่าไร หนอภิกษุจึงจะชื่อว่า ปรารภสติปัฏฐาน ๔.

[๑๒๖๖]
ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า ดูกรผู้มีอายุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกาย ในกายในภายใน อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌา และ โทมนัสในโลกเสียได้ พิจารณาเห็นกาย ในกายในภายนอกอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายใน และภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.

[๑๒๖๗]
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในภายในอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติพงึ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้ ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา ในภายในอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็น เวทนา ในเวทนาทั้งภายใน และภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้.

[๑๒๖๘]
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตในภายในอยู่... พิจารณาเห็นจิตในจิตใน ภายนอกอยู... พิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายใน และภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติพึงกำจัด อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.

[๑๒๖๙]
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมในภายในอยู่... พิจารณาเห็นธรรมในธรรม ทั้งภายในและ ภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้ ดูกรท่านผู้มีอายุ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล ภิกษุจึง จะชื่อว่าปรารภ สติปัฏฐาน ๔.
จบ สูตรที่ ๒

1270


สุตนุสูตร
การบรรลุภาวะแห่งมหาอภิญญา

[๑๒๗๐]
สมัยหนึ่ง ท่านพระอนุรุทธะอยู่ที่ฝั่งแม่นํ้าสุตนุ ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุมากรูปเข้าไปหา ท่านพระอนุรุทธะถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระอนุรุทธะ ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกัน ไปแล้ว จึงไปนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามว่า ท่านอนุรุทธะบรรลุภาวะแห่งมหา อภิญญา เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งธรรมเหล่าไหน ?

[๑๒๗๑]
ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เราบรรลุภาวะแห่งมหาอภิญญา เพราะได้เจริญได้ กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน ? เราย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก เสียได้เราพิจารณาเห็นเวทนา ในเวทนาอยู่... เราพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่... เราพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เราบรรลุภาวะแห่งมหาอภิชฌา 1 เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่ง สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้แล อนึ่งเพราะได้ เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้เราจึงได้ รู้ธรรมอันเลว โดยความเป็นธรรมเลว รู้ธรรมปานกลาง โดยความเป็นธรรม ปานกลาง รู้ธรรมอัน ประณีต โดยความเป็นธรรมอันประณีต.
จบ สูตรที่ ๓

1272

กัณฏกีสูตรที่ ๑
ธรรมที่พระเสขะพึงเข้าถึง
[๑๒๗๒]
สมัยหนึ่ง ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระสารีบุตร และท่านพระมหาโมคคัลลานะอยู่ ณ กันฏกีวัน (ป่าไม้มีหนาม)ใกล้เมืองสาเกต ครั้งนั้น เป็นเวลาเย็น ท่านพระสารีบุตร และท่านพระมหาโมค คัลลานะออกจากที่พักผ่อน เข้าไปหาท่านพระอนุรุทธะถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับ ท่านพระอนุรุทธะ

ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วท่าน พระสารีบุตร ได้ถามท่าน พระอนุรุทธะว่า ดูกรท่านอนุรุทธะ ธรรมเหล่าไหน อันภิกษุผู้เป็น เสขะพึงเข้าถึงอยู่ ?

[๑๒๗๓]
ท่านพระอนุรุทธะตอบว่าข้าแต่ท่านพระสารีบุตร สติปัฏฐาน ๔ อันภิกษุผู้เป็น เสขะพึงเข้าถึงอยู่ สติปัฏฐาน ๔ นั้นเป็นไฉน ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย... ย่อมพิจารณาเห็น เวทนาในเวทนา... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิต... ย่อมพิจารณา เห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ดูกรท่านพระสารีบุตร สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้แล อันภิกษุผู้เป็นเสขะพึงเข้าถึงอยู่.. [1]
จบ สูตรที่ ๔

1274

กัณฏกีสูตรที่ ๒
ธรรมที่พระอเสขะพึงเข้าถึง
[๑๒๗๔]
สาเกตนิทาน. ...ครั้นแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้ถามท่านพระอนุรุทธะว่า ดูกรท่านอนุรุทธะ ธรรมเหล่าไหนอันภิกษุผู้เป็นอเสขะ พึงเข้าถึงอยู่ ?

[๑๒๗๕]
ท่านพระอนุรุทธะตอบว่าดูกรท่านพระสารีบุตร สติปัฏฐาน ๔ อันภิกษุผู้เป็น อเสขะพึงเข้า ถึงอยู่สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่... ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ .. ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่... ย่อมพิจารณาเห็น ธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ดูกรท่านพระสารีบุตร สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ อัน ภิกษุผู้เป็น อเสขะพึงเข้าถึงอยู่.
จบ สูตรที่ ๕

1276


กัณฏกีสูตรที่ ๓
การบรรลุภาวะแห่งมหาอภิญญา
[๑๒๗๖]
สาเกตนิทาน. ...ครั้นแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้ถามท่านพระอนุรุทธะว่า ท่านอนุรุทธะบรรลุภาวะ แห่งมหาอภิญญาเพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งธรรมเหล่าไหน ?

[๑๒๗๗]
ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ผมบรรลุภาวะแห่งมหาอภิญญา เพราะได้เจริญได้ กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน ? ผมย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ .. ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่... ย่อมพิจารณาเห็นจิต ในจิตอยู่... ย่อมพิจารณาเห็นธรรม ในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้

ดูกรท่านผู้มีอายุ ผมบรรลุภาวะแห่งมหาอภิญญา เพราะได้เจริญได้กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ แล อนึ่งเพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ ผมจึงรู้โลกพันหนึ่ง.
จบ สูตรที่ ๖

1278


ตัณหักขยสูตร
เจริญสติปัฏฐานเพื่อความสิ้นตัณหา
[๑๒๗๘]
สาวัตถีนิทาน. ณ ที่นั้นแล ท่านพระอนุรุทธะเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วได้กล่าวว่า ดูกรผู้มีอายุ ทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ ความสิ้นตัณหา สติปัฏฐาน ๔ นั้นเป็นไฉน ?

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่... ย่อม พิจารณาเห็นเวทนา ในเวทนาอยู่... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก เสียได้ ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้แล อันบุคคล เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นตัณหา.
จบ สูตรที่ ๗

1279

สลฬาคารสูตร
ภิกษุผู้เจริญสติปัฏฐานไม่ลาสิกขา
[๑๒๗๙]
สมัยหนึ่งท่านพระอนุรุทธะอยู่ ณ สลฬาคาร ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล ท่านพระอนุรุทธะ เรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วได้กล่าวว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่นํ้าคงคาไหลไปสู่ ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศ ปราจีน

เมื่อเป็นเช่นนั้น หมู่มหาชน ถือเอาจอบและ ตะกร้ามาด้วยประสงค์ว่า จักทด แม่นํ้าคงคาให้ไหลกลับ หลั่งกลับ บ่ากลับ ดังนี้ ท่านทั้งหลาย จะสำคัญความ ข้อนั้น เป็นไฉน หมู่มหาชนนั้นจะพึงทดนํ้าคงคาให้ไหลกลับ หลั่งกลับบ่ากลับ ได้บ้างหรือ ? ภิกษุเหล่านั้นตอบว่า ไม่ได้ ขอรับ.

อ. เพราะเหตุไร ?

ภิ. เพราะการที่จะทดแม่นํ้าคงคาอันไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน ให้ไหลกลับหลั่งกลับ บ่ากลับ มิใช่กระทำให้ง่าย หมู่มหาชน นั้น จะพึงเป็นผู้มีส่วนแห่งความเหน็ด เหนื่อยลำบากเปล่าแน่นอน.

อ. ฉันนั้นเหมือนกัน ผู้มีอายุทั้งหลาย พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา มิตร อมาตย์ญาติ หรือสาโลหิต จะพึงเชื้อเชิญ

ภิกษุผู้เจริญ กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ ให้ยินดีด้วยโภคะว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ จงมาเถิด ท่านจะครองผ้ากาสาวะเหล่านี้อยู่ ทำไมท่านจะเป็นผู้มีศีรษะโล้น มือถือกระเบื้องเที่ยวบิณฑบาตอยู่ทำไม นิมนต์ท่านสึกมาบริโภคสมบัติ และ บำเพ็ญบุญเถิด

ข้อที่ภิกษุผู้เจริญ ผู้กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ จักลาสิกขาออกมานั้น มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? เพราะจิตที่น้อมไป ในวิเวก โน้มไปในวิเวก โอนไปในวิเวก ตลอดกาลนาน จักหวนสึก มิใช่ฐานะที่จะมีได้. [1]

[๑๒๘๐]
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ภิกษุย่อมเจริญ กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ อย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย... ย่อม พิจารณาเห็นเวทนา ในเวทนาอยู่... ย่อมพิจารณาเห็นจิต ในจิตอยู่... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม อยู่ มีความเพียรมีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลายภิกษุย่อมเจริญ กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ อย่างนี้แล.
จบ สูตรที่ ๘

1281


อัมพปาลิสูตร
ว่าด้วยวิหารธรรม
[๑๒๘๑]
สมัยหนึ่ง ท่านพระอนุรุทธะ และท่านพระสารีบุตร อยู่ในอัมพปาลีวันใกล้เมือง เวสาลี ครั้งนั้น เป็นเวลาเย็นท่านพระสารีบุตร ออกจาก ที่พักเข้าไปหาท่าน พระอนุรุทธะ

ครั้นแล้วได้ถามท่านพระ อนุรุทธะว่า ดูกรท่านอนุรุทธะ อินทรีย์ของท่านผ่องใส ผิวหน้าของท่าน บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ในเวลานี้ ท่านอนุรุทธะอยู่ด้วยวิหารธรรม ข้อไหนมาก ?

[๑๒๘๒]
ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ เวลานี้ผมมีจิตตั้งมั่นอยู่ในสติปัฏฐาน ๔ มากสติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน ? ผมย่อมพิจารณา เห็นกายในกายอยู่... ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม อยู่มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้

ดูกรท่านผู้มีอายุเวลานี้ ผมมีจิต ตั้งมั่นอยู่ในวิหารธรรมเหล่านี้ เป็นอันมากอยู่ ภิกษุใดเป็นอรหันต ขีณาสพอยู่ จบพรหมจรรย์มีกิจ ที่ควรทำทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงแล้ว บรรลุถึงประโยชน์ของ ตนแล้ว สิ้นสังโยชน์ทจี่ ะนำไปสู่ภพแล้ว เพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้นมีจิต ตั้งมั่นในสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้อยู่มาก.

สา. เป็นลาภของเราแล้ว เราได้ดีแล้ว ที่ได้ฟังอาสภิวาจาในที่เฉพาะหน้าท่าน พระอนุรุทธะ ผู้กล่าว.
จบ สูตรที่ ๙

1283

คิลลานสูตร
จิตตั้งมั่นในสติปัฏฐานทุกขเวทนาไม่ครอบงำ
[๑๒๘๓]
สมัยหนึ่ง ท่านพระอนุรุทธะอยู่ในป่าอันธวัน ใกล้พระนครสาวัตถี อาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ครั้งนั้นภิกษุมากรูปเข้าไปหาท่าน พระอนุรุทธะถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้ถามท่านพระอนุรุทธะว่า ท่านอนุรุทธะอยู่ด้วยวิหารธรรม ข้อไหนทุกขเวทนาในสรีรกายที่บังเกิดขึ้น จึงไม่ครอบงำจิต ?

[๑๒๘๔]
ท่านพระอนุรุทธะตอบว่าดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เรามีจิตตั้งมั่นอยู่ในสติปัฏฐาน ๔ ทุกขเวทนาใน สรีรกายที่บังเกิดขึ้น จึงไม่ครอบงำ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน ? เราย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่... ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่... ย่อมพิจารณาเห็นจิต ในจิตอยู่... ย่อมพิจารณา เห็นธรรม ในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ดูกรท่านผู้มี อายุทั้งหลาย เรามีจิตตั้งมั่นอยู่ในสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้แล ทุกขเวทนาในสรีรกาย ที่บังเกิดขึ้น จึงไม่ครอบงำจิต.
จบ สูตรที่ ๑๐
จบ รโหคตวรรคที่ ๑

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. รโหคตสูตรที่ ๑ ๒. รโหคตสูตรที่ ๒
๓. สุตนุสูตร ๔. กัณฏกีสูตรที่ ๑
๕. กัณฏกีสูตรที่ ๒ ๖. กัณฏกีสูตรที่ ๓
๗. ตัณหักขยสูตร ๘. สลฬาคารสูตร
๙. อัมพปาลิสูตร ๑๐. คิลานสูตร

ทุติยวรรคที่ ๒

1285


สหัสสสูตร
การบรรลุภาวะแห่งมหาอภิญญา
[๑๒๘๕]
สมัยหนึ่ง ท่านพระอนุรุทธะอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก เศรษฐี ใกล้ พระนครสาวัตถีครั้งนั้น ภิกษุมากรูป เข้าไปหาท่านพระอนุรุทธะ ถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่าน พระอนุรุทธะ ฯลฯ

ครั้นแล้วได้ถามท่านพระอนุรุทธะ ว่า ท่านอนุรุทธะบรรลุ ภาวะแห่งมหาอภิญญา เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งธรรมเหล่าไหน ?

[๑๒๘๖]
ท่านพระอนุรุทธะตอบว่าดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เราบรรลุภาวะแห่ง มหาอภิญญา เพราะได้เจริญ ให้มากได้กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐาน ๔ นั้นเป็นไฉน ?

เราย่อมพิจารณาเห็น กายในกายอยู่... ย่อมพิจารณาเห็นเวทนา ในเวทนาอยู่... ย่อมพิจารณาเห็นจิต ในจิตอยู่ ...ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัส ในโลกเสียได้

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เราบรรลุภาวะแห่งมหาอภิญญา เพราะได้เจริญ ได้กระทำ ให้มากซึ่ง สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้แลอนึ่ง เราย่อมระลึก ได้ตลอดพันกัล์ป 1 เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้.
จบ สูตรที่ ๑

1287

อิทธิสูตร
เจริญสติปัฏฐานแผลงฤทธิ์ได้
[๑๒๘๗]
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง เราย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวเป็น หลายคนก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหม โลกก็ได้ เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้.
จบ สูตรที่ ๒

1288

ทิพโสตสูตร
ว่าด้วยเสียง ๒ ชนิด
[๑๒๘๘]
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง เราย่อมได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์และมนุษย์ 1ทั้งที่อยู่ไกล และใกล้ด้วยทิพโสต 2 อันบริสุทุธิ์ล่วง โสตของมนุษย์ เพราะได้เจริญ ได้กระทำ ให้มากซึ่ง สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้.
จบ สูตรที่ ๓

1289

เจโตปริจจสูตร
ว่าด้วยการกำหนดรู้ใจผู้อื่น
[๑๒๘๙]
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง เราย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นด้วยใจ คือ จิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิต มีราคะ ฯลฯ จิต หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น เพราะได้เจริญ ได้ กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้.
จบ สูตรที่ ๔

1290

ฐานาฐานสูตร
ว่าด้วยการรู้ฐานะอฐานะ
[๑๒๙๐]
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่งเราย่อมรู้ฐานะโดยความเป็นฐานะ และอฐานะ โดยความเป็นอฐานะ ตามความเป็นจริง เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่ง สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้.
จบ สูตรที่ ๕
1. เสียงมนุษย์ -ผู้รวบรวม
2. ทิพโสตธาตุ –ผู้รวบรวม

1291


วิปากสูตร
ว่าด้วยการรู้วิบากของกรรม
[๑๒๙๑]
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง เราย่อมรู้วิบากของการกระทำกรรมทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน โดยฐานะ โดยเหตุ ตามความเป็น จริง เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้.
จบ สูตรที่ ๖

1292

สัพพัตถคามินีปฏิปทาสูตร
ปฏิปทาอันให้ถึงประโยชน์ทั้งปวง
[๑๒๙๒]
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง เราย่อมรู้จักปฏิปทาอันให้ถึงประโยชน์ทั้งปวง ตามความเป็นจริง เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้.
จบ สูตรที่ ๗

1293

นานาธาตุสูตร
ว่าด้วยการรู้ธาตุต่างๆ
[๑๒๙๓]
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง เราย่อมรู้ธาตุเป็นอเนกและโลกธาตุต่างๆ ตามความ เป็นจริงเพราะ ได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้.
จบ สูตรที่ ๘

1294


อธิมุตติสูตร
ว่าด้วยการรู้อธิมุติต่างๆ
[๑๒๙๔]
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง เราย่อมรู้อธิมุติอันเป็นต่างๆ กัน ของสัตว์ทั้งหลาย ตามความเป็นจริง เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่ง สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้.
จบ สูตรที่ ๙

1295

อินทริยสูตร
ว่าด้วยการรู้ความยิ่งหย่อนแห่งอินทรีย์
[๑๒๙๕]
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง เราย่อมรู้ความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์อื่นของบุคคลอื่น ตามความเป็น จริง เพราะได้เจริญ ได้ทระทำ 1 ให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้.
จบ สูตรที่ ๑๐

1296

สังกิเลสสูตร
ว่าด้วยรู้ความเศร้าหมองความผ่องแผ้ว
[๑๒๙๖]
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่งเราย่อมรู้ความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว ความออก แห่งฌานวิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติ ตามความเป็นจริง เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้.
จบ สูตรที่ ๑๑

1297

วิชชาสูตรที่ ๑
ว่าด้วยการระลึกชาติได้
[๑๒๙๗]
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง เราย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือระลึกได้ ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ เราย่อมระลึกถึงชาติ ก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการพร้อมทั้งอุทเทศ1 ด้วยประการฉะนี้ เพราะได้เจริญ ได้กระทำ ให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔เหล่านี้.
จบ สูตรที่ ๑๒

1298

วิชชาสูตรที่ ๒
ว่าด้วยการเห็นจุติและอุปบัติ
[๑๒๙๘]
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่งเราย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติกำลังอุปบัติ ฯลฯ ด้วยทิพยจักษุ อัน บริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่ง หมู่สัตว์ผู้เป็นไป ตามกรรม ฯลฯ เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้.
จบ สูตรที่ ๑๓

1299

วิชชาสูตรที่ ๓
ว่าด้วยการทำอาสวะให้สิ้นไป
[๑๒๙๙]
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่งเราย่อมกระทำให้แจ้งซึ่ง เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญา อันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ เพราะได้เจริญได้กระทำ ให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้.
จบ สูตรที่ ๑๔
จบ ทุติยวรรคที่ ๒

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สหัสสสูตร ๒. อิทธิสูตร
๓. ทิพโสตสูตร ๔. เจโตปริจจสูตร
๕. ฐานาฐานสูตร ๖. วิปากสูตร
๗. สัพพัตถคามินีปฏิปทาสูตร ๘. นานาธาตุสูตร
๙. อธิมุตติสูตร ๑๐. อินทริยสูตร
๑๑. สังกิเลสสูตร ๑๒. วิชชาสูตรที่ ๑
๑๓. วิชชาสูตรที่ ๒ ๑๔. วิชชาสูตรที่ ๓



1300


๙. ฌานสังยุต
ว่าด้วยฌาน ๔
[๑๓๐๐]
สาวัตถีนิทาน. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฌาน ๔ เหล่านี้ฌาน ๔ เป็นไฉน ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต ในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร

เพราะวิตกวิจารสงบลงไปมีปีติ และสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วย นามกายเพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มี อุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข บารลุ 1 จตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับ โสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฌาน ๔ เหล่านี้แล.

[๑๓๐๑]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่นํ้าคงคา ไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศ ปราจีน บ่าไปสู่ทิศ ปราจีนฉันใด ภิกษุเจริญ กระทำให้มากซึ่งฌาน ๔ ย่อมเป็นผู้ น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.

[๑๓๐๒]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเจริญ กระทำให้มากซึ่งฌาน ๔ อย่างไร ย่อมเป็นผู้ น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ?

ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน... ตติยฌาน... จตุตถฌาน...

ดุกร 2 ภิกษุทั้งหลายภิกษุผู้เจริญ กระทำให้มากซึ่งฌาน ๔ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพานโน้ม ไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน.3 (พึงขยายความบาลีออกไป อย่างนี้ จนถึงความแสวงหา)

[๑๓๐๓]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เหล่านี้ สังโยชน์อันเป็น ส่วนเบื้องบน ๕ เป็นไฉน ? คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชาสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เหล่านี้แล.

[๑๓๐๔]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฌาน ๔ อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้เพื่อ ความสิ้นไป เพื่อละสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เหล่านี้ ฌาน ๔ เป็นไฉน ?

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจารมีปีติและ สุขเกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน... ตติยฌาน... จตุตถฌาน...

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฌาน ๔ อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อละความสิ้นไปเพื่อละ สังโยชน์อันเป็นส่วน เบื้องบน ๕ เหล่านี้แล. (คังคาเปยยาล พึงขยายเนื้อความฌานสังยุต ตลอดถึงบาลีไปจนถึง ความแสวงหา เหมือนมรรคสังยุต).
จบ ฌานสังยุต

อานาปานสังยุต
เอกธรรมวรรคที่ ๑

1305

เอกธรรมสูตร
ว่าด้วยอานาปานสติ
[๑๓๐๕]
พระนครสาวัตถี ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันหนึ่ง อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วย่อมมีผลมาก ธรรมอันหนึ่งเป็นไฉน ? คือ อานาปานสติ.

[๑๓๐๖]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว อย่างไรย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี
นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า
เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าหายใจ ออกยาว
เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าหายใจ เข้าสั้น

ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้แจ้งกายทั้งปวง หายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้แจ้งกายทั้งปวง หายใจเข้า
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้ระงับกาย สังขาร หายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็น ผู้ระงับกายสังขาร หายใจเข้า
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งปีติ หายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่าเราจักรู้แจ้งปีติหายใจเข้า
ย่อมสำเหนียกว่าเราจักรู้ แจ้งสุข หายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่าเราจักรู้แจ้งสุข หายใจเข้า
ย่อมสำเหนียกว่าเราจักรู้แจ้ง จิตสังขาร หายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่าเราจักรู้แจ้งจิตสังขาร หายใจเข้า
ย่อมสำเหนียกว่าเราจักเป็นผู้ระงับจิตสังขาร หายใจออก

ย่อมสำเหนียกว่าเราจักระงับจิต สังขารหายใจเข้า
ย่อมสำเหนียกว่าเราจักเป็น ผู้รู้แจ้ง จิตหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่าราจักเป็นผู้รู้ แจ้งจิตหายใจเข้า
ย่อมสำเหนียกว่าเราจักทำจิตให้บันเทิง หายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่าเราจักทำจิตใจให้บันเทิง หายใจเข้า
ย่อมสำเหนียกว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า
ย่อมสำเหนียกว่าเราจักพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจออก

ย่อมสำเหนียกว่าเราจักพิจารณาเห็น โดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจเข้า
ย่อมสำเหนียกว่าเราจักพิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัต 1 หายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่าเราจักพิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัดหายใจเข้า
ย่อมสำเหนียกว่าเราจักพิจารณาเห็นโดยความดับหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่าเราจักพิจารณาเห็นโดยความดับหายใจเข้า
ย่อมสำเหนียกว่าเราจักพิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่าเราจักพิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจเข้า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก.
จบ สูตรที่ ๑

1307

โพชฌงคสูตร
ว่าด้วยโพชฌงค์
[๑๓๐๗]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก.

[๑๓๐๘]
ก็อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมมีผลมากมีอานิสงส์มาก ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติ สัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยอานาปานสติ อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

ย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์... วิริยสัมโพชฌงค์... ปีติสัมโพชฌงค์... ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์... สมาธิสัมโพชฌงค์... อุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วย อานาปานสติ อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก.
จบ สูตรที่ ๒

1309

สุทธิกสูตร
วิธีเจริญอานาปานสติ
[๑๓๐๙]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วย่อมมีผล มาก มีอานิสงส์มาก.

[๑๓๑๐]
ก็อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมากมีอานิสงส์มาก ?

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยูที่โคนไม้ก็ดี อยู่ที่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า (พึงขยายเนื้อความให้ตลอดถึง ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเห็น โดยความสละคืนหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่าเราจัก เป็นผู้พิจารณาเห็นโดย ความสละคืนหายใจเข้า)

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก.
จบ สูตรที่ ๓

1311

ผลสูตรที่ ๑
ผลานิสงส์เจริญอานาปานสติ ๒ ประการ
[๑๓๑๑]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วย่อม มีผลมาก มีอานิสงส์มาก.

[๑๓๑๒]
ก็อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมมีผลมากมีอานิสงส์มาก ?

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ที่เรือนว่างก็ดีนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติ หายใจออก มีสติหายใจเข้า (พึงขยายเนื้อ ความให้พิสดารตลอดถึง ย่อมสำเหนียกว่าเราจักเป็น ผู้พิจารณา เห็นโดยความสละคืนหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่าเราจัก เป็นผู้พิจารณาเห็น โดย ความสละคืนหายใจเข้า)

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก.

[๑๓๑๓]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ พึงหวังได้ผล ๒ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีความถือมั่นอยู่ เป็นพระอนาคามี.
จบ สูตรที่ ๔

1314

ผลสูตรที่ ๒
ผลานิสงส์การเจริญอานาปานสติ ๗ ประการ
[๑๓๑๔]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วย่อม มีผลมาก มีอานิสงส์มาก.

[๑๓๑๕]
ก็อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมมีผลมากมีอานิสงส์มาก ?

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติ ไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า (พึงขยายเนื้อความให้ตลอด ถึง ย่อมศึกษาว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเห็น โดยความสละคืนหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความสละคืน หายใจเข้า)

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก.

[๑๓๑๖]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ พึงหวังได้ผลานิสงส์ ๗ ประการ ผลานิสงส์ ๗ ประการนั้นเป็นไฉน ?

คือจะได้ชมอรหัตผลในปัจจุบันก่อน ๑ ถ้าไม่ได้ชมอรหัตผลในปัจจุบันก่อน จะได้ชมในเวลาใกล้ตาย ๑ ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้ชม ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้ ชมไซร้ เพราะสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องตํ่า ๕ สิ้นไป จะได้เป็นพระอนาคามี ผู้อันตราปรินิพพายี ๑ ผู้อุปหัจจปรินิพพายี ๑ ผู้อสังขารปรินพิ พายี ๑ ผู้สสังขารปรินิพพายี ๑ ผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล พึงหวังได้ผลานิสงส์ ๗ ประการเหล่านี้.
จบ สูตรที่ ๕

1317

อริฏฐสูตร
การเจริญอานาปานสติ
[๑๓๑๗]
พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ฯลฯ ได้ตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย ย่อมเจริญอานาปานสติหรือหนอ ?

[๑๓๑๘]
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสถามอย่างนี้แล้ว ท่านพระอริฏฐะได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญข้าพระองค์ เจริญอานาปานสติอยู่.

พ. ดูกรอริฏฐะ ก็เธอเจริญอานาปานสติอย่างไรเล่า ?

[๑๓๑๙]
อ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กามฉันท์ในกามที่ล่วงไป ข้าพระองค์ละได้แล้ว กามฉันท์ในกาม ที่ยังไม่มาถึงของข้าพระองค์ไปปราศแล้ว ปฏิฆสัญญา ในธรรมทั้งหลาย ทั้งที่เป็นภายใน และภายนอก ข้าพระองค์กำจัดเสียแล้ว ข้าพระองค์มีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ เจริญอานาปานสติอย่างนี้แล.

[๑๓๒๐]
พ ดูกรอริฏฐะ อานาปานสตินั้นมีอยู่ เราไม่ได้กล่าวว่าไมมีก็ แต่ว่า อานาปานสติ ย่อมบริบูรณ์โดย กว้างขวาง ด้วยวิธีใด เธอจงฟังวิธีนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวท่าน พระอริฏฐะ ทูลรับพระดำรัส พระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า

ดูกรอริฏฐะ ก็อานาปานสติ ย่อมบริบูรณ์โดย กว้างขวางอย่างไรเล่า ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ด็อยู่ที่เรือนว่างก็ดี

นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรงดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า ฯลฯ ย่อมสำเหนียกว่าเราจักพิจารณาเห็นโดย ความสละคืน หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจเข้า ดูกรอริฏฐะ อานาปานสติย่อมบริบูรณ์ โดยกว้างขวางอย่างนี้แล.
จบ สูตรที่ ๖

1321

กัปปินสูตร
ว่าด้วยอานาปานสติสมาธิ
[๑๓๒๑]
พระนครสาวัตถี. ก็สมัยนั้น ท่านพระมหากัปปินะ นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค.

[๑๓๒๒]
พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นท่านมหากัปปินะนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า ครั้นแล้วได้ตรัสถาม ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเห็นความไหว หรือความเอนเอียงแห่งกายของภิกษุนั้นหรือหนอ ?

[๑๓๒๓]
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เวลาใดข้าพระองค์ทั้งหลาย เห็นท่านผู้มีอายุนั้น นั่งอยู่ในท่ามกลางสงฆ์ หรือนั่งใน ที่ลับรูปเดียว ในเวลานั้น ข้าพระองค์ทั้งหลาย มิได้เห็นความไหว หรือความเอนเอียงแห่งกายของท่านผู้มีอายุนั้นเลย.

[๑๓๒๔]
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความไหวหรือความเอนเอียงแห่งกายก็ดี ความหวั่นไหว หรือความ กวัดแกว่งแห่งจิตก็ดี ย่อมไม่มี เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่ง สมาธิใดภิกษุนั้น ได้สมาธินั้น ตามความปรารถนาได้ โดยไม่ยากไม่ลำบาก.

[๑๓๒๕]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความไหวหรือความเอนเอียงแห่งกายก็ดี ความหวั่นไหว หรือความกวัดแกว่ง แห่งจิตก็ดี ย่อมไม่มี เพราะได้เจริญ กระทำให้มากซึ่งสมาธิ เป็นไฉน ? เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งอานาปานสติสมาธิ.

[๑๓๒๖]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออานาปานสติสมาธิ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว อย่างไร ความไหว หรือความเอนเอียงแห่งกายก็ดี ความหวั่นไหวหรือความ กวัดแกว่งแห่งจิตก็ดี ย่อมไม่มี ?

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยูที่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า (พึงขยายเนื้อความให้พิสดาร ตลอดถึง ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้พิจารณา เห็นโดยความสละคืนหายใจออก ย่อมสำเหนียก ว่าเราจักเป็น ผู้พิจารณาเห็น โดยความสละคืน หายใจเข้า)

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออานาปานสติสมาธิ อันภิกษุเจริญ กระทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ความไหว หรือความเอนเอียงแห่งกายก็ดี ความหวั่นไหว หรือความกวัดแกว่งแห่งจิตก็ดีย่อมไม่มี.
จบ สูตรที่ ๗

1327

ทีปสูตร
อานิสงส์แห่งการเจริญอานาปานสติสมาธิ
[๑๓๒๗]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติสมาธิ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก.

[๑๓๒๘]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อานาปานสติสมาธิ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว อย่างไร ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก? ภิกษุในธรรม วินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ที่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นไว้ เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า (พึงขยาย เนื้อความให้พิสดาร ตลอดถึง ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเห็น โดยความสละคืน หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเห็น โดยความสละคืน หายใจเข้า)

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติสมาธิ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก.

[๑๓๒๙]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า เมื่อก่อนแต่ตรัสรู้ ครั้งเราเป็นโพธิสัตว์ มิได้ตรัสรู้ ก็ย่อมอยู่ด้วย วิหารธรรมนี้ โดยมาก เมื่อ เราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ โดยมาก กายไม่ลำบาก จักษุไม่ลำบาก และจิต ของเราย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น.

[๑๓๓๐]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า แม้กายของเราไม่พึง ลำบาก จักษุของ เราไม่พึงลำบาก และจิตของเราจักหลุดพ้นจากอาสวะ ทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่น ก็พึงมนสิการ อานาปานสติสมาธินี้แหละให้ดี.

 [๑๓๓๑]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงสละความ ระลึก และความดำริ ของเราที่อาศัยเรือนนั้นเสีย ก็พึงมนสิการอานาปานสติ สมาธินี้แหละให้ดี.

[๑๓๓๒]
...ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งไม่ปฏิกูล ว่าปฏิกูลอยู่ก็ พึงมนสิการ อานาปานสติสมาธินี้แหละให้ดี.

[๑๓๓๓]
...ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งปฏิกูลว่าไม่ปฏิกูลอยู่ก็พึงมนสิการ อานาปานสติ สมาธินี้แหละให้ดี.

[๑๓๓๔]
...ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่าเราพึงเป็น ผู้มีความสำคัญ ทั้งในสิ่งไม่ปฏิกูล และในสิ่ง ปฏิกูลว่าปฏิกูลอยู่ ก็พึงมนสิการ อานาปานสติสมาธิ นี้แหละให้ดี.

[๑๓๓๕]
...ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่าเราพึงเป็นผู้มีความสำคัญทั้งในสิ่งปฏิกูล และในสิ่งไม่ ปฏิกูลว่าไม่ปฏิกูลอยู่ ก็พึงมนสิการ อานาปานสติสมาธิ นี้แหละให้ดี.

[๑๓๓๖]
...ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงเว้นสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลทั้งสองนั้นเสีย แล้ววางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ ก็พึงมนสิการอานาปานสติ สมาธินี้แหละให้ดี.

[๑๓๓๗]
...ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงสงัดจากกาม สงัดจากกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ก็พึงมนสิการ อานาปานสติสมาธิ นี้แหละให้ดี.

[๑๓๓๘]
...ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจาร สงบไป มีปีติและสุขเกิด แก่สมาธิอยู่ ก็พึงมนสิการอานา ปานสติสมาธินี้แหละให้ดี.

[๑๓๓๙]
...ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วย นามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้า ทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธิ นี้แหละให้ดี.

[๑๓๔๐]
...ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงบรรลุจตุถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์และดับ โสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็น เหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธิ นี้แหละให้ดี.

[๑๓๔๑]
...ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงบรรลุ อากาสานัญจายตนฌาน ด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญา โดยประการ ทั้งปวง เพราะดับปฏิฆ สัญญาเพราะไม่มนสิการ ถึงนานัตต สัญญา ก็พึงมนสิการอานาปานสติ สมาธินี้แหละให้ดี.

[๑๓๔๒]
...ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงบรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน ด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนฌาน โดยประการทั้งปวง ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธิ นี้แหละให้ดี.

[๑๓๔๓]
...ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงบรรลุอากิญจัญญายตนฌาน ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไรน้อยหนึ่ง เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌาน โดยประการทั้งปวง ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธิ นี้แหละให้ดี.

[๑๓๔๔]
...ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เพราะล่วง อากิญจัญญายตนฌาน โดยประการทั้งปวง ก็พึงมนสิการอานาปานสติ สมาธิ นี้แหละให้ดี.

 [๑๓๔๕]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนี้แหละ ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงบรรลุสัญญา เวทยิตนิโรธ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน โดยประการทั้งปวง ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธิ นี้แหละให้ดี.

[๑๓๔๖]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออานาปานสติสมาธิ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ถ้าเธอเสวยสุขเวทนา ก็ย่อมจะรู้ชัดว่า สุขเวทนานั้นไม่เที่ยง ไม่น่า ยินดีไม่น่าเพลิดเพลิน ถ้าเธอเสวยทุกขเวทนา ก็ย่อมจะรู้ชัดว่า ทุกขเวทนานั้น ไม่เที่ยงไม่น่ายินดี ไม่น่าเพลิดเพลิน

ถ้าเธอเสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า อทุกขมสุข-เวทนานั้นไม่เที่ยง ไม่น่ายินดี ไม่น่าเพลิดเพลิน ถ้าเธอเสวยสุขเวทนาเธอก็ไม่พัวพัน เสวยสุขเวทนานั้น ถ้าเธอเสวยทุกขเวทนา เธอก็ไม่ พัวพันเสวยทุกขเวทนานั้น ถ้าเธอเสวยอทุกขม สุขเวทนา เธอก็ไม่พัวพันเสวย อทุกขมสุขเวทนานั้น

เมื่อเธอเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า เสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด เมื่อ เสวยเวทนามีชีวิต เป็นที่สุดก็รู้ชัดว่าเสวยเวทนามีชีวิต เป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า เวทนาทั้งหมดในโลกนี้แหละ อันไม่น่า เพลิดเพลิน จักเป็นของเย็น เพราะสิ้น ชีวิตเบื้องหน้า แต่กายแตก.

[๑๓๔๗]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนประทีปนํ้ามัน จะพึงลุกโพลงได้ ก็เพราะอาศัย นํ้ามันและไส้ เพราะหมดนํ้ามันและไส้ ประทีปนํ้ามัน ไม่มีเชื้อ พึงดับไป ฉันใด ภิกษุ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า เสวยเวทนา มีกายเป็นที่สุด

เมื่อเสวยเวทนา มีชีวิตเป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า เสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุดย่อมรู้ชัดว่า เวทนาทั้งหมดในโลกนี้แหละ อันไม่น่าเพลิดเพลิน จักเป็นของเย็น เพราะ สิ้นชีวิตเบื้องหน้าแต่กายแตก.
จบ สูตรที่ ๘

1348

เวสาลีสูตร
ว่าด้วยการเจริญอสุภกรรมฐาน
[๑๓๔๘]
ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กฏูาคารศาลา ป่ามหาวัน ใกล้เมืองเวสาลี ก็สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสอสุภกถา ตรัสสรรเสริญ คุณแห่ง อสุภแก่ภิกษ ุทั้งหลาย โดยอเนกปริยาย ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย มาตรัสว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราปรารถนา จะหลีกเร้นอยู่สักกึ่งเดือน ใครๆ ไม่พึงเข้ามา หาเราเว้นแต่ภิกษุผู้นำบิณฑบาตรูปเดียว ภิกษุเหล่า นั้นรับพระดำรัสพระผู้มี พระภาคแล้วใครๆ ไม่เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค เว้นแต่ภิกษุผู้นำบิณฑบาต รูปเดียว.

[๑๓๔๙]
ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นคิดกันว่า พระผู้มีพระภาคตรัสอสุภกถา ตรัสสรรเสริญคุณ แห่งอสุภ ตรัส สรรเสริญคุณแห่งการเจริญอสุภ โดยอเนกปริยาย จึงขวนขวาย ประกอบการเจริญอสุภ อันเกลื่อน กล่นด้วยอาการเป็นอเนกอยู่

ภิกษุเหล่านั้น อึดอัดระอา เกลียดกายนี้ ย่อมแสวงหาศาตรา สำหรับปลงชีวิต สิบรูปบ้าง ยี่สิบรูปบ้าง สามสิบรูปบ้าง ย่อมนำศาตรามาโดยวันเดียวกัน.

[๑๓๕๐]
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่เร้น โดยล่วงกึ่งเดือนนั้นแล้ว ตรัสเรียกท่านพระอานนท์ มาตรัสถามว่า ดูกรอานนท์ เพราะเหตุไรหนอ ภิกษุสงฆ์จึงดูเหมือนเบาบางไป ?

ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เป็นเช่นนี้ พระผู้มีพระภาค ตรัสอสุภกถา ตรัสสรรเสริญคุณแห่งอสุภ ตรัสสรรเสริญคุณ แห่งการเจริญอสุภ แก่ภิกษุทั้งหลาย โดยอเนกปริยาย

ภิกษุเหล่านั้นคิดกันว่า พระผู้มีพระภาค ตรัสอสุภกถา ตรัสสรรเสริญคุณแห่งอสุภ ตรัส สรรเสริญคุณแห่งการเจริญอสุภ โดยอเนกปริยาย

ภิกษุจึงขวนขวายประกอบการเจริญอสุภ อันเกลื่อนกล่นด้วยอาการเป็นอเนกอยู่ อึดอัดระอา เกลียดกายนี้ ย่อมแสวงหาศาตรา สำหรับปลงชีวิตสิบรูปบ้าง ยี่สิบรูปบ้าง สามสิบรูปบ้าง ย่อมนำ ศาตรามาโดยวันเดียวกัน ขอประทาน พระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาค จงตรัสบอกปริยาย โดยวิธี ที่ภิกษุสงฆ์จะพึงดำรงอยู่ในอรหัตผลเถิด.

 [๑๓๕๑]
พ. ดูกรอานนท์ ถ้าอย่างนั้น ภิกษุมีประมาณเท่าใด ที่อาศัยเมืองเวสาลีอยู่ เธอจงให้ภิกษุเหล่านั้น ทั้งหมด ประชุมกันในอุปัฏฐานศาลา ท่านพระอานนท์ ทูลรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคแล้ว ยังภิกษุ ทั้งหมดที่อาศัยเมืองเวสาลี อยู่ให้มาประชุมกันในปัฏฐานศาลา 1 แล้วเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุสงฆ์ประชุมกันแล้วขอ พระผู้มีพระภาค จงทราบกาลอันควรในบัดนี้เถิด.

[๑๓๕๒]
ครงั้ นนั้ พระผูมี้พระภาคเสด็จเข้าไปยังอุปัฏฐานศาลา แล้วประทับนั่งบนอาสนะ ที่เขาปูลาดไว้ ครั้นแล้วตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายแล้ว ตรัสว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ นี้แล อันภิกษุเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว เป็นสภาพสงบ ประณีตชื่นใจ เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุข และยังอกุศลธรรม อันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้วๆ ให้อันตรธานสงบไปโดยพลัน.

[๑๓๕๓]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนธุลีและละอองที่ฟุ้งขึ้น ในเดือนท้ายฤดูร้อน ฝนใหญ่ในสมัย มิใช่กาล ย่อมยังธุลีและละอองนั้น ให้อันตรธานสงบไปโดยพลัน ฉันใดสมาธิอันสัมปยุตด้วย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว เป็นสภาพสงบประณีต ชื่นใจ เป็นธรรมเครื่อง อยู่เป็นสุข และยังอกุศลธรรม อันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้วๆ ให้อันตรธานสงบไปโดยพลัน ฉันนั้น เหมือนกัน.

[๑๓๕๔]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว อย่างไรกระทำให้มาก แล้วอย่างไร เป็นสภาพสงบ... ให้อันตรธานสงบไปโดย พลัน ?

ภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ที่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรงดำรงสติ ไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจ ออก มีสติหายใจเข้า ฯลฯ

ย่อมสำเหนียกว่าเราจักพิจารณาเห็น โดยความสละคืนหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจัก พิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุ เจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ เป็นสภาพสงบ... ให้อันตรธานสงบไปโดย พลัน.
จบ สูตรที่ ๖

1355

กิมิลสูตร
การเจริญอานาปานสติสมาธิ
[๑๓๕๕]
ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน ใกล้เมืองกิมิลา ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระ ภาคตรัสถามท่าน พระกิมิละว่า

ดูกรกิมิละ สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว อย่างไรกระทำ ให้มากแล้วอย่างไร ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ? เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัส อย่างนี้แล้ว ท่านพระกิมิละนิ่งอยู่.

[๑๓๕๖]
แม้ครั้งที่สอง แม้ครั้งที่สาม พระผู้มีพระภาคก็ตรัสถามท่านกิมิละว่าดูกรกิมิละ สมาธิอันสัมปยุต ด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว อย่างไรกระทำให้มาก แล้วอย่างไร ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์ มาก ?ท่านพระกิมิละก็ยังนิ่งอยู่.

[๑๓๕๗]
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มี พระภาคว่า ข้าแต่พระผู้มี พระภาคเป็นกาล สมควรที่พระองค์ จะพึงตรัส สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ ข้าแต่พระสุคต เป็นกาลสมควรที่พระองค์ จะพึงตรัส สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ ภิกษุทั้งหลายได้ฟังต่อ พระผู้มีพระภาคแล้วจักทรงจำไว้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

ดูกรอานนท์ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวท่านพระอานนท์ ทูลรับพระผู้มีพระภาค แล้ว พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ดูกรอานนท์ สมาธิอัน สัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว อย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ?

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดีอยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ที่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรง สติไว้เฉพาะหน้าเธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า ฯลฯ ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็น โดยความสละคืนหายใจออก เราจักพิจารณาเห็นโดยความสละคืน หายใจเข้า

ดูกรอานนท์สมาธิ อันสัมปยุต ด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก.

[๑๓๕๘]
ดูกรอานนท์ สมัยใด ภิกษุหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้นเมื่อหายใจเข้าสั้นก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมหายใจทั้งปวง หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมหายใจ ทั้งปวงหายใจเข้าย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า

สมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียรมีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร ?

เพราะเรากล่าวกายอันหนึ่ง ในบรรดากาย ทั้งหลาย ซึ่งได้แก่ลมหายใจออก และลม หายใจเข้าเพราะฉะนั้นแหละ

อานนท์ สมัยนั้นภิกษุย่อม พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียรมีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัส ในโลกเสียได้.

[๑๓๕๙]
ดูกรอานนท์ สมัยใด ภิกษุย่อมสำเหนียกว่าเราจักเป็น ผู้กำหนดรู้ปีติหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจัก เป็นผู้กำหนดรู้สุขหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุขหายใจ เข้าย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนด รู้จิตสังขารหายใจออก ย่อม สำเหนียกว่า เราจักเป็น ผู้กำหนดรู้จิต สังขารหายใจเข้าย่อม สำเหนียกว่า เราจักระงับ จิตสังขารหายใจออกย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับจิตสังขารหายใจเข้า

สมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัด อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร ?

เพราะเรากล่าวเวทนาอันหนึ่ง ในบรรดาเวทนาทั้งหลาย ซึ่งได้แก่การกระทำไว้ ในใจให้ดีซึ่งลมหายใจออก และลมหายใจเข้า เพราะ ฉะนั้นแหละอานนท์ สมัยนั้นภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร มีสัมป ชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้.

[๑๓๖๐]
ดูกรอานนท์ ในสมัยใด ภิกษุย่อมสำเหนียกว่า เราจักกำหนดรู้จิตหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักกำหนดรู้จิตหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักทำจิตให้ บันเทิงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักทำจิตให้บันเทิงหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่าเราจักตั้งจิต มั่นหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้าย่อมสำเหนียกว่าเราจักเปลื้องจิตหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเปลื้องจิตหายใจเข้า

สมัยนั้นภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึง กำจัดอภิชฌาและ โทมนัสในโลกเสียได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร ?

เพราะเราไม่กล่าวซึ่งการเจริญสมาธิ อันสัมปยุต้วย อานาปานสติ สำหรับผู้มีสติ หลงไม่มีสัมปชัญญะ เพราะฉะนั้นแหละอานนท์ สมัยนั้น ภิกษุย่อม พิจารณาเห็น จิต ในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและ โทมนัสในโลก เสียได้.

[๑๓๖๑]
ดูกรอานนท์ สมัยใด ภิกษุ
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง หายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า เราจัก พิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัด หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัด หายใจเข้า

ย่อมสำเหนียกว่าเราจักพิจารณาเห็น โดยความดับ หายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความดับหายใจเข้า
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความสละคืน หายใจเข้า

สมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้ เธอเห็นการละอภิชฌาและโทมนัส นั้นด้วยปัญญา จึงวางเฉยเสียได้ เป็นอย่างดี เพราะฉะนั้นแหละอานนท์

สมัยนั้น ภิกษุย่อม พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.

[๑๓๖๒]
ดูกรอานนท์ เปรียบเหมือนมีกองดินใหญ่อยู่ที่หนทางใหญ่ ๔ แพร่ง ถ้าเกวียน หรือรถ ผ่านมา ในทิศบูรพา ก็ย่อมกระทบกองดินนั้น ถ้าผ่านมาในทิศปัจฉิม ทิศอุดรทิศทักษิณ ก็ย่อมกระทบ กองดินนั้นเหมือนกัน ฉันใด

ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อพิจารณาเห็นกาย ในกายอยู่ พิจารณา เห็นเวทนาใน เวทนาอยู่ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ ย่อมจะกำจัด อกุศลธรรมอันลามก นั้นเสียได้.
จบ เอกธรรมวรรคที่ ๑

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. เอกธรรมสูตร ๒. โพชฌงคสูตร
๓ สุทธิกสูตร ๔. ผลสูตรที่ ๑
๕. ผลสูตรที่ ๒ ๖. อริฏฐสูตร
๗. กัปปินสูตร ๘. ทีปสูตร
๙. เวสาลีสูตร ๑๐. กิมิลสูตร
ทุติยวรรคที่ ๒



1363


อิจฉานังคลสูตร
ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยะ
[๑๓๖๓]
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ไพรสณฑ์ชื่อ อิจฉานังคละ ใกล้อิจฉา นังคลนคร ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก ภิกษุทั้งหลายมา แล้วตรัสว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราปรารถนา จะหลีกเร้น อยู่สักสามเดือนใครๆ ไม่พึงเข้า มาหาเราเว้นแต่ภิกษุผู้นำบิณฑบาตรูปเดียวภิกษุ เหล่านั้น ทูลรับพระดำรัส พระผู้มีพระภาคแล้ว ใครๆ ไม้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค เว้นแต่ภิกษุผู้นำ บิณฑบาตรูปเดียว.

[๑๓๖๔]
ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่เร้น โดยล่วงสามเดือนนั้นแล้ว ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมา แล้วตรัสว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก จะพึงถามเธอทั้งหลายอย่าง นี้ว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระสมณโคดมอยู่จำพรรษาด้วยวิหารธรรม ข้อไหนมาก เธอทั้งหลายถูก ถามอย่างนี้แล้วพึง ตอบพวกอัญญเดียรถีย์ ปริพาชกนั้น อย่างนี้ว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลายพระผู้มี พระภาคอยู่จำพรรษา ด้วยสมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติมาก.

[๑๓๖๕]
ดูกรภิกษุทงั้ หลาย เรามีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้าเมื่อ หายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าหายใจ ออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้นก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น ย่อมรู้ชัดว่าเราจักกำหนดรู้ กองลมหายใจทั้งปวงหายใจออก... ย่อมรู้ชัดว่าเราจักพิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจออก ย่อมรู้ชัดว่า เราจักพิจารณาเห็น โดยความสละคืนหายใจเข้า.

[๑๓๖๖]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเมื่อจะกล่าวถึงสิ่งใดโดยชอบ พึงกล่าวถึงสิ่งนั้นว่า ธรรมเป็นเครื่องอยู่ ของพระอริยะบ้าง ธรรมเป็นเครื่องอยู่ ของพรหมบ้าง ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระตถาคตบ้างดังนี้

พึงกล่าวถึงสมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ ว่าธรรมเป็น เครื่องอยู่ของ พระอริยะบ้าง ธรรมเป็น เครื่องอยู่ของพรหมบ้าง ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของ พระตถาคตบ้าง

ภิกษุเหล่าใดเป็นเสขะยังไม่บรรลุอรหัตผล ย่อมปรารถนาความเกษม จากโยคะอันยอดเยี่ยมอยู่ สมาธิอันสัมปยุต ด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเหล่านั้น เจริญแลว้กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ ความสิ้นอาสวะ.

[๑๓๖๗]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเหล่าใดเป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์มีกิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงแล้ว บรรลุ ประโยชน์ตนแล้วโดยลำดับสิ้นสังโยชน์เครื่องนำ ไปสู่ภพ แล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเหล่านั้นเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน และเพื่อสติสัมปชัญญะ.

[๑๓๖๘]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเมื่อจะกล่าวถึงสิ่งใดโดยชอบ พึงกล่าวถึงสิ่งนั้นว่าธรรมเป็นเครื่องอยู่ ของ พระอริยะบ้าง ธรรมเป็นเครื่องอยู่ ของพรหมบ้าง ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระตถาคตบ้าง ดังนี้ พึงกล่าวถึงสมาธิอันสัมปยุต ด้วยอานาปานสติว่าธรรมเป็นเครื่องอยู่ ของพระอริยะบ้าง ธรรมเป็นเครื่องอยู่ ของพรหมบ้าง ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระตถาคตบ้าง.
จบ สูตรที่ ๑

1369

โลมสกังภิยสูตร
วิหารธรรมของพระเสขะ ต่างกับของพระพุทธองค์
[๑๓๖๙]
สมัยหนึ่ง ท่านพระโลมสกังภิยะอยู่ ณ นิโครธาราม ใกล้เมืองกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้งนั้นเจ้า ศากยะพระนามว่ามหานาม เสด็จเข้าไปหาท่าน พระโลมสกังภิยะถึงที่อยู่ ถวายนมัสการแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ตรัสถามว่า ข้าแต่ท่านผูเจริญ สมาธิอันสัมปยุตด้วย อานาปานสตินั้น เป็นวิหารธรรมของพระเสขะ เป็นวิหารธรรมของพระตถาคต หรือว่า วิหารธรรม ของพระเสขะ อย่างหนึ่ง ของพระตถาคตอย่างหนึ่ง ท่านพระโลมสกังภิยะถวายพระพรว่า ดูกรมหาบพิตร สมาธิอันสัมปยุต ด้วยอานาปานสตินั้นแล เป็นวิหารธรรมของพระเสขะ เป็นวิหารธรรมของพระตถาคตหามิได้ วิหารธรรมของพระเสขะอย่างหนึ่ง ของพระตถาคต อย่างหนึ่ง.

 [๑๓๗๐]
ดูกรมหาบพิตร ภิกษุเหล่าใดเป็นเสขะ ยังไม่บรรลุอรหัตผล ย่อมปรารถนาความเกษมจากโยคะ อันยอดเยี่ยมอยู่ ภิกษุเหล่านั้นย่อมละ นิวรณ์ ๕ นิวรณ์ ๕ เป็นไฉน ? คือกามฉันทนิวรณ์ พยาบาทนิวรณ์ ถีนมิทธนิวรณ์ อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ วิจิกิจฉานิวรณ์ภิกษุเหล่าใด เป็นเสขะ ยังไม่บรรลุอรหัตผล ย่อมปรารถนาความเกษมจากโยคะ อันยอดเยี่ยมอยู่ ภิกษุเหล่านั้นย่อมละ นิวรณ์ ๕ เหล่านี้.

[๑๓๗๑]
ดูกรมหาบพิตร ภิกษุเหล่าใดเป็นพระอรหันตขีณาสพอยู่จบพรหมจรรย์ มีกิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว ปลงภาระแล้ว บรรลุประโยชน์ ตนแล้ว สิ้นสังโยชน์เครื่องนำไปสู่ภพแล้วหลุดพ้นแล้ว เพราะรู้โดย ชอบ นิวรณ์ ๕ อันภิกษุเหล่านั้นละได้แล้ว ถอนรากเสียแล้วกระทำ ไม่ให้มีที่ตั้งดุจตาลยอดด้วน กระทำไม่ให้มี มีอันเกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดานิวรณ์ ๕ เป็นไฉน ?

คือ กามฉันทนิวรณ์ พยาบาทนิวรณ์ ถีนมิทธนิวรณ์อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ วิจิจฉานิวรณ์ 1 ภิกษุเหล่าใดเป็นพระอรหันตขีณาสพ... หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ นิวรณ์ ๕ เหล่านี้ อันภิกษุเหล่านั้นละได้แล้ว ถอนรากเสียแลว้ กระทำไม่ให้มีที่ตั้งดุจตาลยอดด้วน กระทำไม่ให้มี มีอันไม่เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา.

[๑๓๗๒]
ดูกรมหาบพิตร พระองค์พึงทราบข้อนี้ โดยปริยายที่วิหารธรรมของพระเสขะอย่างหนึ่ง ของพระตถาคตอย่างหนึ่ง.

[๑๓๗๓]
ดูกรมหาบพิตร สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ไพรสณฑ์ ชื่ออิจฉานังคละ ใกล้อิจฉา นังคลนคร ณที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้ว ตรัสว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย เราปรารถนาจะหลีกเร้นอยู่สักสามเดือน ใครๆ ไม่พึงเข้ามาหาเรา เว้นแต่ภิกษุผู้นำบิณฑบาต รูปเดียว ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคแล้วใครๆ ไม่เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค เว้นแต่ภิกษุผู้นำบิณฑบาตรูปเดียว.

[๑๓๗๔]
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่เร้น โดยล่วงสามเดือนนั้นแล้ว ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย มาแล้ว ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญญเดียถีย์ 1 ปริพาชกจะพึงถามเธอทั้งหลาย อย่างนี้ว่า

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระสมณโคดมอยู่จำพรรษาด้วยวิหารธรรม ข้อไหนมาก ? เธอทั้งหลายถุกถามอย่างนี้แล้ว พึงตอบพวกอัญญเดียถีย์ 2 ปริพาชกนั้นอย่างนี้ว่า ดูกรผู้มีอายุทั้ง หลายพระผู้มีพระภาคอยู่จำพรรษาอยู่ด้วยสมาธิ อันสัมปยุตด้วยอานาปานสติมาก.

[๑๓๗๕]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรามีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า เมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่า หายใจ ออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว ฯลฯย่อมรู้ชัดว่า เราจักพิจารณาเห็นโดย ความสละคืนหายใจออก ย่อมรู้ชัดว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความสละคืน หายใจเข้า.

[๑๓๗๖]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเมื่อกล่าวถึงสิ่งใดโดยชอบ พึงกล่าวถึงสิ่งนั้นว่าธรรมเป็นเครื่องอยู่ของ พระอริยะบ้าง ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของ พรหมบ้าง ธรรมเป็น เครื่องอยู่ของพระตถาคตบ้าง ดังนี้ พึงกล่าวถึงสมาธิอันสัมปยุต ด้วยอานาปานสติว่าธรรมเป็นเครื่องอยู่ ของพระอริยะบ้าง ธรรมเป็น เครื่องอยู่ของพรหมบ้าง ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระตถาคตบ้าง

ภิกษุเหล่าใดเป็นเสขะ ยังไม่บรรลุอรหัตผล ย่อมปรารถนาความเกษมจากโยคะ อันยอดเยี่ยมอยู่ สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเหล่านั้นเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ ความสิ้นอาสวะ ?

[๑๓๗๗]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเหล่าใดเป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์มีกิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว ปลงภาระแล้ว บรรลุประโยชน์ ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นสังโยชน์เครื่องนำไปสู่ภพแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุ เหล่านั้นเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน และเพื่อสติสัมปชัญญะ.
1. อัญญเดียรถีย์ -ผู้รวบรวม
2. อัญญเดียรถีย์ –ผู้รวบรวม

[๑๓๗๘]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเมื่อจะกล่าวถึงสิ่งใดโดยชอบ พึงกล่าวถึงสิ่งนั้นว่าธรรมเป็นเครื่องอยู่ ของพระอริยะบ้าง ธรรมเป็นเครื่องอยู่ ของพรหมบ้าง ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระตถาคตบ้างดังนี้ พึงกล่าวถึงสมาธิอันสัมปยุต ด้วยอานาปานสติว่าธรรมเป็นเครื่อง อยู่ของ พระอริยะบ้าง ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพรหมบ้าง ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระตถาคตบ้าง.

[๑๓๗๙]
ดูกรมหาบพิตร พระองค์พึงทราบข้อนี้ โดยปริยายที่วิหารธรรมของพระเสขะอย่างหนึ่ง ของพระ ตถาคตอย่างหนึ่ง.
จบ สูตรที่ ๒

1380


อานันทสูตรที่ ๑
ว่าด้วยปัญหาของพระอานนท์
[๑๓๘๐]
พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคม พระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมอย่างหนึง อันภิกษุเจริญแลว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังธรรม ๔ ข้อให้บริบูรณ์ ธรรม ๔ ข้ออันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังธรรม ๗ ข้อให้บริบูรณ์ ธรรม ๗ ข้ออันภิกษุ เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังธรรม ๒ ข้อให้บริบูรณ์ มีอยู่หรือหนอ ? พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า มีอยู่ อานนท์.

[๑๓๘๑]
อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ธรรมอย่างหนึ่งอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังธรรม ๔ ข้อให้บริบูรณ์ธรรม ๔ ข้อให้บริบูรณ์ 1 ธรรม ๔ ข้อ... ธรรม ๗ ข้อ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้ มากแล้ว ย่อมยังธรรม ๒ ข้อให้บริบูรณ์เป็นไฉน ?

พ. ดูกรอานนท์ ธรรมอย่างหนึ่ง คือ สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ สติปัฏฐาน ๔อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ โพชฌงค์ ๗ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังวิชชาและวิมุติให้บริบูรณ์.

[๑๓๘๒]
ดูกรอานนท์ ก็สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไรกระทำให้มากแล้ว อย่างไร ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ที่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก มีสติ หายใจเข้า เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว ฯลฯ ย่อมรู้ชัดว่าจักพิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจออก ย่อมรู้ชัดว่าจัก พิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจเข้า

ในสมัยใด ภิกษุเมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้นหรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับกายสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับกาย สังขารหายใจเข้า

ในสมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัด อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? เพราะเรากล่าวกายอันหนึ่งในบรรดา กายทั้งหลาย ซึ่งได้แก่ลมหายใจออก และลมหายใจเข้า เพราะฉะนั้นแหละ อานนท์ในสมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติพึงกำจัดอภิชฌาและ โทมนัสในโลกเสียได้.

[๑๓๘๓]
ดูกรอานนท์ ในสมัยใด ภิกษุย่อมสำเหนียกว่าจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติหายใจออกหายใจเข้า ย่อม สำเหนียกว่า จักเป็นผู้กำหนดรู้ สุขหายใจออก... หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า จักเป็นผู้กำหนดรู้ จิตสังขารหายใจออก... หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่าจักระงับจิต สังขารหายใจออก... หายใจเข้า

ในสมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัด อภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้

ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? เพราะเรากล่าวเวทนาอันหนึ่ง ในบรรดาเวทนาทั้งหลาย ซึ่งได้แก่การกระทำ ไว้ในใจให้ดีซึ่งลมหายใจออก และลมหายใจเข้า เพราะฉะนั้นแหละ อานนท์ในสมัยนั้น ภิกษุย่อม พิจารณาเห็นเวทนาอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติพึงกำจัด อภิชฌาและโทมนัสในโลก เสียได้.

[๑๓๘๔]
ดูกรอานนท์ ในสมัยใด ภิกษุย่อมสำเหนียกว่าจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจออก...หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า จักทำจิตให้บันเทิง หายใจออก... หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า จักตั้งจิตมั่น หายใจออก... หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า จักเปลื้องจิต

หายใจออก... หายใจเข้า ในสมัยนนั้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียรมีสัมป ชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและ โทมนัสในโลกเสียได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? เพราะเราไม่ กล่าวซึ่งการเจริญสมาธิ อันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ สำหรับผู้มีสติหลงลืม ไม่มีสัมปชัญญะ เพราะฉะนั้นแหละ อานนท์ ในสมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัด อภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้.

[๑๓๘๕]
ดูกรอานนท์ ในสมัยใด ภิกษุย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง หายใจออก... หายใจเข้าย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัด หายใจออก... หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาเห็นโดยความดับหายใจออก... หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจออก... หายใจเข้า

ในสมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติพึงกำจัด อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ เธอเห็นการละอภิชฌาและโทมนัสนั้นด้วยปัญญา จึงวางเฉย เสียได้เป็นอย่างดี เพราะฉะนั้นแหละ อานนท์ ในสมัยนั้นภิกษุย่อม พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.

[๑๓๘๖]
ดูกรอานนท์ สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้กระทำให้มากแล้ว อย่างนี้ ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์.

[๑๓๘๗]
ดูกรอานนท์ ก็สติปัฏฐาน ๔ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมยัง โพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ ?

ในสมัยใด ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ในสมัยนั้นสติของเธอย่อมตั้ง มั่นไม่หลงลืม ในสมัยใด สติของภิกษุตั้งมั่นไม่หลงลืม ในสมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ชื่อว่า เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ ในสมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมถึง ความเจริญบริบูรณ์แก่ ภิกษุ ในสมัยนั้น เธอมีสติอยู่อย่างนั้น ย่อมค้นคว้าพิจารณาสอดส่องธรรมนั้นด้วยปัญญา.

 [๑๓๘๘]
ดูกรอานนท์ ในสมัยใด ภิกษุมีสติอยู่อย่างนั้น ย่อมค้นคว้าพิจารณาสอดส่องธรรมนั้น ด้วยปัญญา ในสมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ชื่อว่าเป็นอันภิกษุปรารภแล้วภิกษุย่อมเจริญธรรม วิจยสัมโพชฌงค์

ในสมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์แก่ภิกษุ เมื่อเธอค้นคว้าพิจารณา สอดส่องธรรมนั้น ด้วยปัญญาเป็นอันชื่อว่า ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน.

[๑๓๘๙]
ดูกรอานนท์ ในสมัยใด เมื่อภิกษุค้นคว้าพิจารณาสอดส่องธรรมนั้น ด้วยปัญญาเป็นอันชื่อว่า ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ในสมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อม เจริญวิริยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์แก่ภิกษุ ปีติอันหาอามิสมิได้ ย่อมเกิดแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียร.

[๑๓๙๐]
ดูกรอานนท์ ในสมัยใด ปีติอันหาอามิสมิได้ ย่อมเกิดแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียร ในสมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ชื่อว่า เป็นอันภิกษุ ปรารภแล้ว ภิกษุย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์แก่ภิกษุ แม้กายของภิกษุผู้มีใจเอิบอิ่มด้วยปีติ ก็ย่อมสงบ แม้จิตก็ย่อมสงบ.

[๑๓๙๑]
ดูกรอานนท์ ในสมัยใด แม้กายของภิกษุผู้มีใจเอิบอิ่มด้วยปีติก็ย่อมสงบ แม้จิตก็ย่อมสงบ ในสมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ชื่อว่า เป็นอันภิกษุปรารภแล้วภิกษุ ย่อมเจริญปัสสัทธิ สัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์แก่ภิกษุ จิตของภิกษุ ผู้มีกายสงบ มีความสุข ย่อมตั้งมั่น.

[๑๓๙๒]
ดูกรอานนท์ ในสมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายสงบ มีความสุข ย่อมตั้งมั่นในสมัยนั้น สมาธิสัม โพชฌงค์ชื่อว่า เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมเจริญสมาธิ-สัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์แก่ภิกษุ เธอย่อมเพ่งดูจิตซึ่งตั้งมั่นอย่างนั้นอยู่ด้วยดี.

 [๑๓๙๓]
ดูกรอานนท์ ในสมัยใด ภิกษุย่อมเพ่ง ดูจิต ซึ่ง ตั้ง มั่นอย่างนั้น อยู่ด้วยดี ในสมัยนั้นอุเบกขา สัมโพชฌงค์ชื่อว่า เป็นอันภิกษุปรารภ แล้ว ภิกษุย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อุเบกขา สัมโพชฌงค์ ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์แก่ภิกษุ.

[๑๓๙๔]
ดูกรอานนท์ ในสมัยใด ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา... เห็นจิตในจิต...เห็นธรรมในธรรม ในสมัยนั้น สติของเธอย่อมตั้งมั่น ไม่หลงลืม.

[๑๓๙๕]
ดูกรอานนท์ ในสมัยใด สติของภิกษุย่อมตั้งมั่น ไม่หลงลืม ในสมัยนั้นสติสัมโพชฌงค์ชื่อว่า เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมเจริญ สติสัมโพชฌงค์สติสัมโพชฌงค์ ย่อมถึงความเจริญ ริบูรณ์แก่ภิกษุ (พึงขยายเนื้อความให้พิสดาร เหมือนสติปัฏฐานข้อต้น) เธอย่อม เพ่งดูจิตซึ่งตั้งมั่น อย่างนั้นอยู่ด้วยดี.

[๑๓๙๖]
ดูกรอานนท์ ในสมัยใด ภิกษุย่อมเพ่ง ดูจิตซึ่ง ตั้งมั่น อย่างนั้น อยูด้วยดี ในสมัยนนั้อุเบกขา สัมโพชฌงค์ชื่อว่า เป็นอันภิกษุปรารภ แล้ว ภิกษุย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อุเบกขา สัมโพชฌงค์ย่อม ถึงความเจริญบริบูรณ์แก่ภิกษุ.

[๑๓๙๗]
ดูกรอานนท์ สติปัฏฐาน ๔ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์.

[๑๓๙๘]
ดูกรอานนท์ ก็โพชฌงค์ ๗ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไรย่อมยังวิชชา และวิมุติให้บริบูรณ์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ย่อมเจริญธรรมวิจย-สัมโพชฌงค์... วิริยสัมโพชฌงค์... ปีติสัมโพชฌงค์... ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์...อุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละดูกรอานนท์ โพชฌงค์ ๗ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมยังวิชชาและวิมุติให้บริบูรณ์.
จบ สูตรที่ ๓

1399


อานันทสูตรที่ ๒

ว่าด้วยปัญหาของพระอานนท์
[๑๓๙๙]
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระอานนท์ว่า ดูกรอานนท์ ธรรมอย่างหนึ่งอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังธรรม ๔ ข้อให้บริบูรณ์ ธรรม ๔ ข้ออันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังธรรม ๗ ข้อให้บริบูรณ์ ธรรม ๗ ข้ออันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังธรรม ๒ ข้อให้บริบูรณ์ มีอยู่หรือหนอ ?

ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลว่าข้าแตพระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ. พ. ดูกรอานนท์ ธรรมอย่างหนึ่ง อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วย่อมยังธรรม ๔ ข้อให้บริบูรณ์... ธรรม ๗ ข้ออันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วย่อมยังธรรม ๒ ข้อให้บริบูรณ์ มีอยู่.

[๑๔๐๐]
ดูกรอานนท์ ก็ธรรมอย่างหนึ่ง อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังธรรม ๔ ข้อให้บริบูรณ์ ธรรม ๔ ข้อ... ธรรม ๗ ข้ออันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังธรรม ๒ ข้อให้บริบูรณ์เป็นไฉน ?

ดูกรอานนท์ ธรรมอย่างหนึ่งคือ สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ สติปัฏฐาน ๔ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ โพชฌงค์ ๗ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วย่อมยังวิชชา และวิมุติให้บริบูรณ์.
[๑๔๐๑]
ดูกรอานนท์ ก็สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไรกระทำให้มากแล้ว อย่างไร ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่ในป่าก็ดี ฯลฯ ดูกรอานนท์ โพชฌงค์ ๗ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมยังวิชชาและวิมุติ ให้บริบูรณ์.
จบ สูตรที่ ๔

1402

ภิกขุสูตรที่ ๑
ว่าด้วยปัญหาของภิกษุหลายรูป
[๑๔๐๒]
ครั้งนั้น ภิกษุมากรูปเข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมอย่างหนึ่ง อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วยอ่ มยังธรรม ๔ ข้อให้บริบูรณ์... ธรรม ๗ ข้อ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังธรรม ๒ ข้อ ให้บริบูรณ์ มีอยู่หรือหนอ ? พระผู้มีพระภาค ตรัสตอบว่ามีอยู่ ภิกษุทั้งหลาย.

[๑๔๐๓]
ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ธรรมอย่างหนึ่ง อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังธรรม ๔ ข้อให้บริบูรณ์... ธรรม ๗ ข้ออันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังวิชชา และวิมุติให้ บริบูรณ์ เป็นไฉน ?

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมอย่างหนึ่ง คือ สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ สติปัฏฐาน ๔ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ โพชฌงค์ ๗ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังวิชชาและวิมุติให้บริบูรณ์. (พึงขยายเนื้อความให้พิสดารเหมือนไวยากรณภาษิตข้างต้น)
จบ สูตรที่ ๕

1404

ภิกขุสูตรที่ ๒
ว่าด้วยปัญหาของภิกษุหลายรูป
[๑๔๐๔]
ครั้งนั้น ภิกษุมากรูปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแลว้ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามภิกษุเหล่านั้นว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมอย่างหนึ่ง อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วย่อมยังธรรม ๔ ข้อให้บริบูรณ์...

ธรรม ๗ ข้ออันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วย่อมยังธรรม ๒ ข้อให้บริบูรณ์ มีอยู่หรือหนอ ? ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลว่าข้า แต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาค เป็นรากฐาน ฯลฯ

ภิกษุทั้งหลายได้สดับแล้ว จักทรงจำไว้. พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมอย่างหนึ่ง อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วย่อมยังธรรม ๔ ข้อให้บริบูรณ์... ธรรม ๗ ข้ออันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มาก แล้วย่อมยังธรรม ๒ ข้อให้บริบูรณ์ มีอยู่.

[๑๔๐๕]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอย่างหนึ่ง อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วย่อมยังธรรม ๔ ข้อให้บริบูรณ์... ธรรม ๗ ข้ออันภิกษุเจริญ แล้ว กระทำให้มากแล้วย่อมยังธรรม ๒ ข้อให้บริบูรณ์ เป็นไฉน ?

ธรรมอย่างหนึ่ง คือ สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ สติปัฏฐาน ๔ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยัง โพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์โพชฌงค์ ๗ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังวิชชา และวิมุติให้บริบูรณ์.
จบ สูตรที่ ๖

1406

สังโยชนสูตร
เจริญอานาปานสติสมาธิเพื่อละสังโยชน์
[๑๔๐๖]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อละสังโยชน์.

[๑๔๐๗]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มาก แล้วอย่างไร ย่อมเป็นไปเพื่อละ สังโยชน์ ?

ภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่ในป่าก็ดี ฯลฯ ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาเห็นโดยความสละคืน หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณา เห็นโดยความสละคืนหายใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลายสมาธิ อันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้ว อย่างนี้ย่อมเป็นไปเพื่อละสังโยชน์ ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๗

1408

อนุสยสูตร
เจริญอานาปานสติสมาธิเพื่อถอนอนุสัย
[๑๔๐๘]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อถอนอนุสัย ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อถอนอนุสัย.
จบ สูตรที่ ๘

1409

อัทธานสูตร
เจริญอานาปานสติสมาธิเพื่อรู้อัทธานะ
[๑๔๐๙]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อกำหนดรู้อัทธานะ ฯลฯ สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว อย่างนี้ กระทำให้มาก แล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อกำหนดรู้อัท ธานะ ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๙

1410

อาสวักขยสูตร
เจริญอานาปานสติสมาธิเพื่อสิ้นอาสวะ
[๑๔๑๐]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไป
เพื่อความสิ้นอาสวะ.
จบ สูตรที่ ๑๐
จบ วรรคที่ ๒

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อิจฉานังคลสูตร ๒. สกังภิยสูตร
๓. อานันทสูตรที่ ๑ ๔. อานันทสูตรที่ ๒
๕. ภิกขุสูตรที่ ๑ ๖. ภิกขุสูตรที่ ๒
๗. สังโยชนสูตร ๘. อนุสยสูตร
๙. อัทธานสูตร ๑๐. อาสวักขยสูตร
จบ อานาปานสังยุต
๑๐. โสตาปัตติสังยุต