66
162
ลักษณะของผู้อยู่ในอริยวงศ์
-บาลีจตุกฺก. อํ. ๒๑/๓๕/๒๘.
ภิกษุทั้งหลาย ! อริยวงศ์ ๔ อย่างเหล่านี้ ปรากฏว่าเป็นธรรมอันเลิศ ยั่งยืน เป็นแบบแผนมาแต่ก่อน ไม่ถูกทอดทิ้ง แล้ว ไม่เคยถูกทอดทิ้งเลย ไม่ถูกทอดทิ้งอยู่ จักไม่ถูกทอดทิ้ง เป็นธรรมอันสมณพราหมณ์ทั้งหลาย ที่เป็นผู้รู้ไม่คัด ค้านแล้ว อริยวงศ์ ๔ อย่างเป็นอย่างไร คือ
(1) ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้
และเป็นผู้สรรเสริญ ความสันโดษ ด้วยจีวรตามมีตามได้ ไม่ทำการแสวงหา อันไม่สมควร เพราะจีวร เป็นเหตุไม่ได้จีวรก็ไม่ทุรนทุราย ได้จีวรแล้วก็ไม่ยินดีเมาหมก พัวพัน เห็นส่วนที่ เป็นโทษแห่งสังสารวัฏฏ์ มีปัญญาในอุบายที่จะถอนตัวออกอยู่เสมอ นุ่งห่มจีวรนั้น อนึ่ง ไม่ยกตนไม่ข่ม ผู้อื่นเพราะความสันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้นั้น ...
(2) อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเป็น ผู้สันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ และเป็นผู้สรรเสริญความสันโดษด้วยบิณฑบาต ตามมีตามได้ ไม่ทำการแสวงหา อันไม่สมควร เพราะบิณฑบาตเป็นเหตุ ไม่ได้บิณฑบาตก็ไม่ทุรนทุราย ได้บิณฑบาต แล้วก็ไม่ยินดีเมาหมกพัวพัน เห็นส่วนที่เป็นโทษแห่งสังสารวัฏฏ์ มีปัญญาในอุบาย ที่จะถอนตัวออกอยู่เสมอ บริโภค บิณฑบาตนั้นอนึ่ง ไม่ยกตนไม่ข่มผู้อื่น เพราะความสันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้นั้น ...
(3) อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้สันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้ และเป็นผู้สรรเสริญความสันโดษด้วยเสนาสนะ ตามมีตามได้ ไม่ทำการแสวงหาอันไม่ สมควรเพราะเสนาสนะเป็นเหตุ ไม่ได้เสนาสนะก็ไม่ทุรนทุราย ได้เสนาสนะ แล้วก็ ไม่ยินดี เมาหมกพัวพัน เห็นส่วนที่เป็นโทษ แห่งสังสารวัฏฏ์ มีปัญญาในอุบาย ที่จะถอนตัวออกอยู่เสมอ ใช้สอยเสนาสนะนั้นอนึ่ง ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความสันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้นั้น ...
(4) อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีใจยินดีในการบำเพ็ญสิ่งที่ควรบำเพ็ญ ยินดีแล้วในการบำเพ็ญสิ่งที่ควรบำเพ็ญ เป็นผู้ มีใจยินดีในการละสิ่งที่ควรละ ยินดีแล้วในการละสิ่งที่ควรละ อนึ่ง ไม่ยกตนไม่ข่มผู้อื่น เพราะเหตุดังกล่าวนั้น.
ก็ภิกษุใดเป็นผู้ฉลาด ไม่เกียจคร้าน มีสัมปชัญญะมีสติมั่นในการบำเพ็ญ สิ่งที่ควร บำเพ็ญ และการละสิ่งที่ควรละนั้น เราเรียกภิกษุนี้ว่า ผู้สถิตอยู่ในอริยวงศ์ อันปรากฏว่าเป็นธรรมเลิศมาแต่เก่าก่อน.
ภิกษุทั้งหลาย ! อริยวงศ์ ๔ อย่างเหล่านี้แล ปรากฏว่าเป็นธรรมอันเลิศ ยั่งยืน เป็นแบบแผนมาแต่เก่าก่อน ไม่ถูก ทอดทิ้งแล้ว ไม่เคยถูกทอดทิ้งเลย ไม่ถูกทอดทิ้งอยู่ จักไม่ถูกทอดทิ้ง เป็นธรรมอันสมณพราหมณ์ทั้งหลายที่เป็น ผู้รู้ไม่คัดค้านแล้ว.
ภิกษุทั้งหลาย ! ก็แลภิกษุผู้ประกอบพร้อมแล้วด้วยอริยวงศ์ ๔ อย่างเหล่านี้ แม้หาก อยู่ในทิศตะวันออก ...ทิศตะวันตก ... ทิศเหนือ ... ทิศใต้ เธอย่อมย่ำยีความไม่ยินดี เสียได้ข้างเดียว ความไม่ยินดีหาย่ำยีเธอได้ไม่ ที่เป็นเช่นนั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า ภิกษุผู้มีปัญญา ย่อมเป็นผู้ย่ำยีเสียได้ ทั้งความไม่ยินดีและความยินดี ดังนี้.
165
กรณีของคฤหัสถ์
67
166
หากเห็นโทษโดยความเป็นโทษ ให้ทำคืนตามธรรม
-บาลีมหา. ที. ๙/๑๑๒/๑๓๙.
(กรณีตัวอย่างของพระเจ้าอชาตศัตรูที่ทำการฆ่าบิดาของตนเอง) ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! โทษได้ครอบงำ หม่อมฉันซึ่งเป็นคนเขลาคนหลงคนไม่ฉลาด หม่อมฉันได้ปลง พระชนม์ชีพพระบิดา ผู้ดำรงธรรมเป็นพระราชา โดยธรรม เพราะเหตุ แห่งความเป็นใหญ่ ขอพระผู้มีพระภาค จงทรงรับทราบความผิดของหม่อมฉัน โดยเป็นความผิด เพื่อสำรวม ระวังต่อไปด้วยเถิด.
มหาราช ! จริงทีเดียว ความผิดได้ครอบงำพระองค์ซึ่งเป็นคนเขลา คนหลง คนไม่ฉลาด พระองค์ได้ปลงพระชนม์ ชีพพระบิดาผู้ดำรงธรรม เป็นพระราชาโดยธรรม เพราะเหตุแห่ง ความเป็นใหญ่ แต่เพราะพระองค์ทรงเห็นความผิด โดยเป็นความผิด แล้วทรงสารภาพ ตามเป็นจริงฉะนั้น เราขอรับทราบความผิดของพระองค์ไว้ ก็การที่บุคคล เห็นโทษ โดยความเป็นโทษ แล้วทำ คืนตามธรรม ถึงความสำรวมระวังต่อไป นี้เป็นความเจริญในอริยวินัย ของผู้นั้น
68
167
ลักษณะการเกี่ยวข้องกับนักบวช
-บาลี ปญฺจก. อํ. ๒๒/๒๗๑/๑๙๙.
ภิกษุทั้งหลาย ! นักบวชผู้มีศีล เข้าไปสู่สกุลใดมนุษย์ทั้งหลายในสกุลนั้น ย่อมประสบบุญเป็นอันมาก ด้วยฐานะ ๕ อย่าง ฐานะ ๕ อย่างเป็นอย่างไร คือ
(1) ในสมัยใด จิตของมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมเลื่อมใสเพราะได้เห็นนักบวชผู้มีศีล ซึ่งเข้าไปสู่สกุล ในสมัยนั้น สกุลนั้น ชื่อว่า ปฏิบัติข้อปฏิบัติที่เป็นไปเพื่อสวรรค์
(2) ในสมัยใด มนุษย์ทั้งหลายพากันต้อนรับ กราบไหว้ ให้อาสนะแก่นักบวชผู้มีศีล ซึ่งเข้าไปสู่สกุล ในสมัยนั้น สกุลนั้น ชื่อว่า ปฏิบัติข้อปฏิบัติที่เป็นไป เพื่อการเกิด ในสกุลสูง
(3) ในสมัยใด มนุษย์ทั้งหลาย กำจัดมลทินคือความตระหนี่เสียได้ในนักบวชผู้มีศีล ซึ่งเข้าไปสู่สกุล ในสมัยนั้น สกุลนั้น ชื่อว่า ปฏิบัติข้อปฏิบัติที่เป็นไปเพื่อการได้ เกียรติศักดิ์อันใหญ่
(4) ในสมัยใด มนุษย์ทั้งหลาย ย่อมแจกจ่ายทานตามสติ ตามกำลังในนักบวชผู้มีศีล ซึ่งเข้าไปสู่สกุล ในสมัยนั้น สกุลนั้น ชื่อว่า ปฏิบัติข้อปฏิบัติที่เป็นไปเพื่อการได้ โภคทรัพย์ใหญ่
(5) ในสมัยใด มนุษย์ทั้งหลาย ย่อมไต่ถาม สอบสวนย่อมฟังธรรมในนักบวชผู้มีศีล ซึ่งเข้าไปสู่สกุล ในสมัยนั้นสกุล นั้น ชื่อว่า ปฏิบัติข้อปฏิบัติที่เป็นไปเพื่อการได้ ปัญญาใหญ่
ภิกษุทั้งหลาย ! นักบวชผู้มีศีล เข้าไปสู่สกุลใดมนุษย์ ทั้งหลายในสกุลนั้น ย่อมระสบบุญเป็นอันมาก ด้วยฐานะ ๕ อย่างเหล่านี้แล.
69
168
ผู้จัดว่าเป็นอุบาสกจัณฑาล
-บาลีปญฺจก. อํ. ๒๒/๒๓๐/๑๗๕.
ภิกษุทั้งหลาย ! อุบาสกผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นอุบาสกผู้จัณฑาล เศร้าหมอง และน่ารังเกียจธรรม ๕ ประการเป็นอย่างไร คือ
(1) เป็นผู้ไม่มีศรัทธา
(2) เป็นผู้ทุศีล
(3) เป็นผู้ถือโกตุหลมงคล1 เชื่อมงคล ไม่เชื่อกรรม
(4) แสวงหาผู้ควรรับทักษิณาภายนอกศาสนานี้
(5) ทำการสนับสนุนในที่นอกศาสนานั้น
ภิกษุทั้งหลาย ! อุบาสกผู้ประกอบด้วยธรรม ๕
ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นอุบาสก ผู้จัณฑาล เศร้าหมอง และน่ารังเกียจ.
----------------------------------------------------------------------------------------------------------
1. มงคลภายนอกของสมณพราหมณ์เหล่าอื่น
---------------------------------------------------------------------------------------------------------
70
169
ผู้จัดว่าเป็นอุบาสกรัตนะ
-บาลีปญฺจก. อํ. ๒๒/๒๓๐/๑๗๕.
ภิกษุทั้งหลาย ! อุบาสกผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ประการ ย่อมเป็นอุบาสกรัตนะ อุบาสกปทุม อุบาสกบุณฑริกธรรม ๕ ประการเป็นอย่างไร คือ
(1) เป็นผู้มีศรัทธา
(2) เป็นผู้มีศีล
(3) ไม่เป็นผู้ถือโกตุหลมงคล เชื่อกรรม ไม่เชื่อมงคล
(4) ไม่แสวงหาผู้ควรรับทักษิณาภายนอกศาสนานี้
(5) ทำการสนับสนุน ในศาสนานี้
ภิกษุทั้งหลาย!อุบาสกผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นอุบาสกรัตนะ อุบาสกปทุมอุบาสกบุณฑริก.
71
170
การให้ทาน เป็นเหตุให้เกิดทรัพย์
-บาลีอุปริ. ม. ๑๔/๓๗๖/๕๗๙.
มาณพ ! บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรี ก็ตามบุรุษก็ตาม ย่อมเป็นผู้ให้ข้าว น้ำ เครื่องนุ่งห่ม ยานพาหนะดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่ และประทีป โคมไฟแก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อมสมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็นมนุษย์เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีโภคทรัพย์มาก
72
171
สังคมเลว เพราะคนดีอ่อนแอ
-บาลีทุก. อํ. ๒๐/๘๗/๒๘๔.
ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใดพวกโจรมีกำลัง สมัยนั้นพระราชาย่อมเสื่อมกำลัง คราวนั้นทั้งพระราชาเองก็หมดความ ผาสุกที่จะเข้าใน ออกนอก หรือจะออกคำสั่ง ไปยังชนบทชายแดน ถึงแม้พวกพราหมณ์และคหบดีก็หมดความ สะดวกที่จะเข้าใน ออกนอก หรือที่จะอำนวยการงานนอกเมืองข้อนี้ฉันใด.
ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใดพวกภิกษุเลวทรามมีกำลัง สมัยนั้นหมู่ภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รักย่อม เสื่อมกำลัง คราวนั้นหมู่ภิกษุ ผู้มีศีล เป็นที่รัก จำต้องเป็นผู้นิ่ง เงียบเชียบ อยู่ใน ท่ามกลางสงฆ์ หรือถึงกับต้องไปอยู่ตามชนบท ชายแดน ฉันนั้น เหมือนกัน.
ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนี้ย่อมไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์ แก่มหาชนทั้งหลาย ไม่เป็นไป เพื่อความสุข เป็นความเสียหาย แก่มหาชนเป็นอันมาก และไม่เป็นไปเพื่อความ เกื้อกูล เพื่อความทุกข์ทั้งแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย.
ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใดพระราชามีกำลัง สมัยนั้นพวกโจรย่อมเสื่อมกำลัง คราวนั้น ทั้งพระราชาเองก็มีความผาสุก ที่จะเข้าในออกนอก หรือที่จะออกคำสั่งไปยังชนบท ชายแดน แม้พวกพราหมณ์และคหบดี ก็มีความสะดวกที่จะ เข้าใน ออกนอก หรือที่จะ อำนวยการงานนอกเมือง ข้อนี้ฉันใด.
ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใดภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รักมีกำลัง สมัยนั้นพวกภิกษุเลวทรามย่อม เสื่อมกำลัง คราวนั้นพวกภิกษุ เลวทราม จำต้องเป็นผู้นิ่ง เงียบเชียบ อยู่ในท่ามกลาง สงฆ์ หรือเป็นพวกที่ต้องหล่นไปเอง ฉันนั้นเหมือนกัน.
ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนี้ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่มหาชนทั้งหลาย ให้มหาชน มีความสุข เป็นความเจริญแก่มหาชน เป็นอันมาก และเป็นไปเพื่อความเกื้อกูล เพื่อความสุข ทั้งแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.
73
173
หลักการกำจัดเสี้ยนหนาม (คนไม่ดี)
-บาลีสี. ที. ๙/๑๗๑/๒๐๖.
(พระพุทธเจ้าตรัสกับกูฏทันตพราหมณ์ เล่าถึงเรื่องของพระเจ้ามหาวิชิตราช ที่เรียก พราหมณ์ ปุโรหิตมาเฝ้าเพื่อให้ สอนวิธีการบูชามหายัญญ์)
พราหมณ์ ! ปุโรหิตได้ทูลสนองพระดำรัสนั้นว่า‘แว่นแคว้นของพระองค์ยังมีเสี้ยนหนาม ยังมีการเบียดเบียนกัน การปล้นฆ่าในหมู่บ้านก็ยังปรากฏ การปล้นฆ่าในนิคม ก็ยังปรากฏ การปล้นฆ่าในนครก็ยังปรากฏ การแย่งชิงตาม ระยะหนทางก็ยังปรากฏ และ ถ้าพระองค์จะให้เลิกเก็บส่วยในขณะที่แว่นแคว้นเป็นไปด้วยเสี้ยนหนาม เต็มไปด้วย การ เบียดเบียนเช่นนี้ ก็จะได้ชื่อว่าทำกิจไม่ควรทำ
อีกประการหนึ่ง พระองค์อาจทรงพระดำริว่า เรากำจัดเสี้ยนหนาม คือโจรผู้ร้ายเสียได้ ด้วยการประหาร การจองจำ การริบทรัพย์การประจาน หรือการเนรเทศดังนี้ ข้อนี้ ก็ไม่ชื่อว่าเป็นการกำจัดได้ราบคาบด้วยดี เพราะผู้ที่ยังเหลือ จากการถูกประหารก็ยังมี ชนพวกนี้จะเบียดเบียนชนบทของพระองค์ในภายหลัง แต่ว่ามีอุบายที่จะกำจัดเสี้ยน หนาม เหล่านั้นให้ราบคาบด้วยดีได้ คือ
(1) ชนเหล่าใดอุตสาหะในการทำเกษตรกรรมและปศุสัตว์ ขอพระองค์จงประทาน พืชพันธุ์และอาหารแก่ชนเหล่านั้น
(2) ชนเหล่าใดอุตสาหะในพาณิชยกรรม ขอพระองค์จงเพิ่มทุนให้ชนเหล่านั้น
(3) ข้าราชการเหล่าใดอุตสาหะ ขอพระองค์จงประทานเบี้ยเลี้ยงและเงินเดือนแก่ชนพวกนั้นในโอกาสอันสมควร ชนเหล่านั้นนั่นแหละ จักเป็นผู้ขวนขวายในการงานของตน ไม่เบียดเบียนแว่นแคว้น ของพระองค์ และพระคลังก็จะเพิ่มพูนมากมาย แว่นแคว้นจะตั้งอยู่ด้วยความเกษม ปราศจากเสี้ยนหนามและการเบียดเบียน พวกมนุษย์จะร่าเริงบันเทิง นอนชูบุตรให้เต้น ฟ้อน อยู่บนอก แม้จักไม่ปิดประตูเรือน ในเวลาค่ำคืน ก็เป็นอยู่ได้’.
74
175
กรณีศึกษาเรื่องภิกษุชาวกรุงโกสัมพีแตกสามัคคีกัน
-บาลี มหา. วิ. ๕/๓๑๒/๒๓๘.
เรื่องมีอยู่ว่าภิกษุ ๒ รูปทะเลาะกัน คือรูปหนึ่งหาว่าอีกรูปหนึ่งต้องอาบัติแล้ว ไม่เห็นอาบัติ จึงพาพวกมาประชุมสวด ประกาศลง อุกเขปนียกรรม แก่ภิกษุรูปนั้น แต่ละรูป ต่างก็มี เพื่อนฝูงมากด้วยกันทั้งสองฝ่าย และต่างก็หาว่าอีกฝ่าย หนึ่ง ทำไม่ถูก ถึงกับสงฆ์ แตกกัน เป็นสองฝ่าย และแยกทำอุโบสถ แม้พระผู้พระภาค จะทรงแนะ นำตักเตือน ให้ประนี ประนอมกันก็ไม่ฟัง ในที่สุดถึงกับทะเลาะวิวาท และแสดงอาการ ทางกาย ทางวาจา ที่ไม่สมควรต่อกัน พระผู้มีพระภาค จึงทรงตักเตือน.
ภิกษุทั้งหลาย ! พอที พวกเธอทั้งหลาย อย่าหมายมั่นกันเลย อย่าทะเลาะกันเลย อย่าโต้เถียงกันเลย อย่าวิวาท กันเลย.
มีภิกษุบางรูปทูลขึ้นว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นธรรมสามี ! ขอพระองค์จงหยุด ไว้ก่อนเถิดพระเจ้าข้า ขอจง ทรงขวนขวายน้อยเถิดพระเจ้าข้า. ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ! ขอจงทรงประกอบในสุขวิหารในทิฏฐธรรมอยู่เถิด พระเจ้าข้า พวกข้าพระองค์ทั้งหลายจักทำให้เห็นดำเห็นแดงกัน ด้วยการหมายมั่นกัน ด้วยการทะเลาะกัน ด้วยการโต้เถียงกันด้วยการวิวาทกัน อันนี้เอง”.
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสคำนี้แก่ภิกษุเหล่านั้นเป็นคำรบ ๒ ว่า ภิกษุทั้งหลาย ! พอที พวกเธอทั้งหลาย อย่าหมายมั่น กัน เลย อย่าทะเลาะกันเลย อย่าโต้เถียงกันเลย อย่าวิวาทกันเลย.
มีภิกษุบางรูปทูลคำนี้ขึ้นเป็นคำรบ ๒ ว่า “ข้าแต่พระผู้มี พระภาคเจ้าผู้เป็นธรรมสามี ! ขอพระองค์จงหยุดไว้ก่อนเถิด พระเจ้าข้าขอจงทรงขวนขวายน้อยเถิดพระเจ้าข้า.
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ! ขอจงทรงประกอบในสุขวิหารในทิฏฐธรรมอยู่เถิด พระเจ้าข้า พวกข้าพระองค์ทั้งหลาย จักทำให้เห็นดำเห็นแดงกัน ด้วยการหมายมั่น กันด้วยการ ทะเลาะกัน ด้วยการโต้เถียงกัน ด้วยการวิวาทกัน อันนี้เอง”.
พระผู้มีพระภาคจึงทรงสั่งสอนให้ดูตัวอย่าง ทีฆาวุกุมาร แห่ง แคว้นโกศลผู้คิดแก้แค้น พระเจ้าพรหมทัต แห่งแคว้นกาสี ในการที่จับพระราชบิดาของพระองค์ คือพระเจ้าทีฆีติ ไปทรมานประจาน และประหารชีวิต เมื่อมี โอกาสจะแก้แค้นได้ ก็ยังระลึกถึง โอวาท ของบิดา ที่ไม่ให้เห็นแก่ยาว (คือไม่ให้ผูกเวรจองเวรไว้นาน) ไม่ให้เห็น แก่สั้น (คือไม่ให้ตัดไมตรี) และให้สำนึกว่า เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร จึงไว้ชีวิตพระเจ้า พรหมทัต แล้วกลับ ได้ราชสมบัติที่เสียไปคืนพร้อมทั้งได้ พระราชธิดา ของพระเจ้า พรหมทัตด้วย.
ทรงสรุปว่า พระราชาที่จับศัสตราอาวุธยังทรงมีขันติ และโสรัจจะได้ จึงควรที่ภิกษุ ทั้งหลาย ผู้บวชในธรรม วินัยนี้จะมี ความอดทนและความสงบเสงี่ยม แต่ภิกษุเหล่านั้น ก็มิได้เชื่อฟังกาลนั้นแล ในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง ครองจีวรถือบาตร เสด็จเข้าไปสู่เมือง โกสัมพี เพื่อบิณฑบาต ครั้นทรงเที่ยวบิณฑบาตในเมืองโกสัมพี แล้ว ภายหลัง ภัตตกาล กลับจากบิณฑบาตแล้ว ทรงเก็บบริขารขึ้นมาถือไว้ แล้วประทับยืน ตรัสคาถานี้ว่า
คนไพร่ๆ ด้วยกัน ส่งเสียงเอ็ดตะโร แต่หามีคนไหนสำคัญตัวว่าเป็นพาลไม่ เมื่อหมู่แตกกัน ก็หาได้มีใครรู้สึกเป็น อย่างอื่น ให้ดีขึ้นไปกว่านั้นได้ไม่.
พวกบัณฑิตลืมตัว สมัครที่จะพูดตามทางที่ตนปรารถนาจะพูดอย่างไร ก็พูดพล่ามไป อย่างนั้น หาได้นำพาถึงกิเลส ที่เป็นเหตุแห่งการทะเลาะกันไม่.
พวกใด ยังผูกใจเจ็บอยู่ว่า ‘ผู้นั้นได้ด่าเราได้ทำร้ายเรา ได้เอาชนะเราได้ลักทรัพย์ ของเรา’เวรของพวกนั้นย่อม ระงับ ไม่ลง.
พวกใด ไม่ผูกใจเจ็บว่า ‘ผู้นั้นได้ด่าเราได้ทำร้ายเราได้เอาชนะเรา ด้ลักทรัพย์ของเรา’ เวรของพวกนั้นย่อมระงับ ได้.
ในยุคไหนก็ตาม เวรทั้งหลาย ไม่เคยระงับได้ด้วยการผูกเวรเลย แต่ระงับได้ด้วย ไม่มีการ ผูกเวร ธรรมนี้เป็นของเก่าที่ใช้ได้ตลอดกาล.
คนพวกอื่น ไม่รู้สึกว่า ‘พวกเราจะแหลกลาญก็เพราะเหตุนี้’ พวกใด สำนึกตัวได้ในเหตุ ที่มีนั้น ความมุ่งร้ายกันย่อม ระงับได้ เพราะความรู้สึกนั้น.
ความกลมเกลียวเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ยังมีได้แม้แก่พวกคนกักขฬะเหล่านั้น ที่ปล้นเมืองหักแข้งขา ชาวบ้าน ฆ่าฟันผู้คน แล้วต้อนม้า โค และขนเอาทรัพย์ไป แล้วทำไมจะมีแก่พวกเธอไม่ได้เล่า ถ้าหากไม่ได้สหาย ที่พาตัวรอด เป็นปราชญ์ ที่มีความเป็นอยู่ดี เป็นเพื่อนร่วมทางแล้วไซร้ ก็จงทำตัวให้เหมือนพระราชา ที่ละแคว้นซึ่งพิชิตได้แล้วไปเสีย แล้วเที่ยวไปคนเดียวดุจช้างมาตังคะ เที่ยวไปในป่าตัวเดียว ฉะนั้น.
การเที่ยวไปคนเดียว ดีกว่า เพราะไม่มีความเป็นสหายกันได้กับคนพาล พึงเที่ยวไป คนเดียว และไม่ทำบาปเป็นคนมักน้อย ดุจช้างมาตังคะ เป็นสัตว์มักน้อย เที่ยวไปในป่า ฉะนั้น.
ครั้นแล้วจึงเสด็จไปจากที่นั้นสู่ พาลกโลณการกคามสู่ป่าชื่อปาจีนวังสะโดยลำดับได้ทรงพบปะกับพระเถระต่างๆในที่ที่เสด็จไปนั้น ในที่สุดได้เสด็จไปพำนักอยู่ ณโคนไม้สาละอันร่มรื่นณป่าชื่อ ปาริเลยยกะ และ ได้มีพญาช้างชื่อปาริเลยยกะ มาอุปัฏฐาก ดูแลพระผู้มีพระภาคต่อจากนั้นจึงได้เสด็จไปยังกรุงสาวัตถี.
ครั้งนั้นอุบาสกอุบาสิกาชาวพระนครโกสัมพี ได้หารือกันดังนี้ว่า พระคุณเจ้าเหล่าภิกษุ ชาวพระนครโกสัมพีนี้ทำความพินาศใหญ่โตให้พวกเรา พระผู้มีพระภาคถูกท่าน เหล่านี้ รบกวนจึงเสด็จหลีกไปเสียเอาละพวกเราไม่ต้องอภิวาท ไม่ต้องลุกรับ ไม่ต้องทำ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม ไม่ต้องทำสักการะไม่ต้องเคารพไม่ต้องนับถือไม่ต้องบูชา ซึ่งพระคุณเจ้าเหล่าภิกษุชาวพระนครโกสัมพี แม้เข้ามาบิณฑบาตก็ไม่ต้องถวาย บิณฑบาต ท่านเหล่านี้ถูกพวกเราไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือไม่บูชา เป็นผู้ไม่มี สักการะอย่างนี้ จักหลีกไปเสียหรือจักสึกเสียหรือจักให้ พระผู้มีพระภาคทรงโปรด ครั้นแล้ว ไม่อภิวาทไม่ลุกรับ ไม่ทำอัญชลีกรรมสามีจิกรรมไม่สักการะไม่เคารพไม่นับถือไม่บูชา ซึ่งพวกภิกษุชาวพระนครโกสัมพีแม้เข้ามาบิณฑบาต ก็ไม่ถวายบิณฑบาต.
ครั้งนั้นพวกภิกษุชาวพระนครโกสัมพีถูกอุบาสกอุบาสิกา ชาวพระนครโกสัมพี ไม่สักการะไม่เคารพไม่นับถือไม่บูชาเป็นผู้ไม่มีสักการะ จึงพูดกันอย่างนี้ว่าอาวุโสทั้งหลาย ! มิฉะนั้นพวกเราพึงไปพระนครสาวัตถีแล้วระงับอธิกรณ์นี้ในสำนัก พระผู้มีพระภาค ครั้นแล้วเก็บงำเสนาสนะถือบาตรจีวร พากันเดินทางไปพระนคร สาวัตถี.
ภิกษุเหล่านั้นได้รับความลำบากก็รู้สึกสำนึกผิดจึงพากันเดินทางไปกรุงสาวัตถี และยอมตกลงระงับข้อวิวาท แตกแยกกัน โดยภิกษุรูปที่เป็นต้นเหตุยอมแสดงอาบัติ ภิกษุฝ่ายที่สวดประกาศลงโทษยอมถอนประกาศพระผู้มีพระภาคจึงตรัสให้ ประชุมสงฆ์ สวดประกาศระงับเรื่องนั้นเป็น สังฆสามัคคี ด้วยทุติยกรรมวาจาเสร็จแล้วให้ สวดปาติโมกข์.
บทส่งท้าย
75
p182
การเกี่ยวข้องกันของนักบวชกับคฤหัสถ์
-บาลีอิติวุ. ขุ. ๒๕/๓๑๔/๒๘๗.
ภิกษุทั้งหลาย ! พราหมณ์และคหบดีทั้งหลายผู้บำรุงเธอทั้งหลายด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ชื่อว่าเป็นผู้มีอุปการะมากแก่เธอทั้งหลาย.
ภิกษุทั้งหลาย ! การที่เธอทั้งหลายแสดงธรรม อันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด พร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ ประกาศพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สิ้นเชิง แก่พราหมณ์และคหบดีเหล่านั้น ชื่อว่าเธอทั้งหลาย ก็เป็นผู้มี อุปการะมาก แก่ชนเหล่านั้น.
ภิกษุทั้งหลาย ! คฤหัสถ์และบรรพชิตทั้งหลาย ต่างอาศัยซึ่งกันและกันอยู่ประพฤติ พรหมจรรย์ เพื่อถอนกิเลสอันเปรียบเหมือนห้วงน้ำ เพื่อจะทำซึ่งที่สุดแห่งทุกข์ โดยชอบ ด้วยประการอย่างนี้.
76
p183
สิ่ง ที่ใครๆ ในโลกไม่ได้ตามปราถนา
-บาลีปญฺจก. อํ. ๒๒/๕๙/๔๘.
ภิกษุทั้งหลาย ! ฐานะ ๕ ประการเหล่านี้ อันสมณะพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือ ใครๆ ในโลก ไม่พึงได้ตามปรารถนา ๕ ประการเป็นอย่างไร คือสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆในโลก ไม่อาจได้ตามปรารถนาว่า
(1) สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา อย่าแก่เลย
(2) สิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา อย่าเจ็บไข้เลย
(3) สิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดา อย่าตายเลย
(4) สิ่งที่มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา อย่าสิ้นไปเลย
(5) สิ่งที่มีความวินาศเป็นธรรมดา อย่าวินาศเลย
ภิกษุทั้งหลาย ! สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา ก็ย่อมแก่สำหรับปุถุชนผู้มิได้สดับ เมื่อสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาแก่แล้ว เขาก็ไม่พิจารณาเห็นโดยประจักษ์ว่า “ไม่ใช่สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา จะแก่สำหรับเราผู้เดียวเท่านั้น โดยที่แท้แล้ว สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา ย่อมแก่สำหรับสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ ก็เมื่อสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาแก่แล้ว เราจะมามัวเศร้าโศกกระวน กระวาย ร่ำไรรำพัน ทุบอกร่ำไห้ ถึงความหลงใหลแม้อาหารก็ไม่ย่อย กายก็เศร้าหมอง การงานก็หยุดชงักพวกอมิตรก็ดีใจ มิตรสหายก็เศร้าใจ” ดังนี้.
ปุถุชนนั้น เมื่อสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา แก่แล้วย่อมเศร้าโศก กระวนกระวาย ร่ำไร รำพัน เป็นผู้ทุบอกร่ำไห้ย่อมถึงความหลงใหล. ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าวว่าปุถุชนผู้มิได้ สดับนี้ ถูกลูกศรแห่งความโศก อันมีพิษเสียบแทงแล้ว ทำตนเองให้เดือดร้อนอยู่.
ภิกษุทั้งหลาย ! สิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ก็ย่อมเจ็บไข้สำหรับปุถุชนผู้มิได้สดับ เมื่อสิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดาเจ็บไข้แล้ว เขาก็ไม่พิจารณาเห็นโดย ประจักษ์ว่า“ ไม่ใช่สิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา จะเจ็บไข้สำหรับเราผู้เดียวเท่านั้น โดยที่แท้แล้ว สิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดาย่อมเจ็บไข้สำหรับสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ที่มีการมา การไป การจุติการอุบัติ ก็เมื่อสิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา เจ็บไข้แล้วเราจะมามัว เศร้าโศก กระวนกระวาย ร่ำไรรำพัน ทุบอกร่ำไห้ถึงความหลงใหล แม้อาหารก็ไม่ย่อย กายก็เศร้าหมอง การงานก็หยุดชะงัก พวกอมิตรก็ดีใจ มิตรสหายก็เศร้าใจ” ดังนี้.
ปุถุชนนั้น เมื่อสิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา เจ็บไข้แล้ว ย่อมเศร้าโศก กระวนกระวาย ร่ำไรรำพัน เป็นผู้ทุบอกร่ำไห้ ย่อมถึงความหลงใหล. ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าวว่าปุถุชน ผู้มิได้สดับนี้ ถูกลูกศรแห่งความโศก อันมีพิษเสียบแทงแล้ว ทำตนเองให้เดือดร้อนอยู่.
ภิกษุทั้งหลาย ! สิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดา ก็ย่อมตายสำหรับปุถุชนผู้มิได้สดับ เมื่อสิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดาตายแล้ว เขาก็ไม่พิจารณาเห็นโดยประจักษ์ว่า
“ไม่ใช่สิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดา จะตายสำหรับเราผู้เดียวเท่านั้น โดยที่แท้แล้ว สิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดา ย่อมตายสำหรับสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ ก็เมื่อสิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดา ตายแล้ว เราจะมามัวเศร้าโศก กระวนกระวาย ร่ำไรรำพัน ทุบอกร่ำไห้ ถึงความหลงใหล แม้อาหารก็ไม่ย่อย กายก็เศร้าหมอง การงานก็หยุดชะงัก พวกอมิตรก็ดีใจ มิตรสหายก็เศร้าใจ” ดังนี้.
ปุถุชนนั้น เมื่อสิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดา ตายแล้วย่อมเศร้าโศก กระวนกระวาย ร่ำไรรำพัน เป็นผู้ทุบอกร่ำไห้ย่อมถึงความหลงใหล. ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าวว่า ปุถุชนผู้มิได้สดับนี้ ถูกลูกศรแห่งความโศก อันมีพิษเสียบแทงแล้วทำตนเอง ให้เดือดร้อนอยู่.
(ในกรณีแห่งสิ่งที่มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความวินาศไปเป็นธรรมดา ก็ได้ตรัสไว้ด้วย ถ้อยคำอย่างเดียวกันกับในกรณี แห่งสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา ข้างบนนี้ และพระองค์ ยังได้ตรัสไว้ในลักษณะที่ตรงกันข้ามจากข้อความนี้ สำหรับอริยสาวกผู้ได้สดับ)
77
p187
เหตุให้สำเร็จตามปรารถนานัยที่ ๑
-บาลีจตุกฺก. อํ. ๒๑/๘๕/๖๑.
คหบดี ! ธรรม ๔ ประการนี้ น่าปรารถนา น่ารักใคร่น่าพอใจ หาได้ยากในโลก ธรรม ๔ ประการเป็นอย่างไร คือขอโภคทรัพย์จงเกิดขึ้นแก่เราโดยทางธรรม นี้เป็นธรรมประการที่ ๑ อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจหาได้ยากในโลก.
เราได้โภคทรัพย์ทั้งหลายโดยทางธรรมแล้ว ขอยศจงเฟื่องฟูแก่เราพร้อมด้วย ญาติ และมิตรสหาย นี้เป็นธรรมประการที่ ๒ อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ หาได้ยาก ในโลก.
เราได้โภคทรัพย์ทั้งหลายโดยทางธรรมแล้ว ได้ยศพร้อมด้วยญาติและมิตรสหายแล้ว ขอเราจงเป็นอยู่นานจงรักษาอายุให้ยั่งยืน นี้เป็นธรรมประการที่ ๓ อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก.
เราได้โภคทรัพย์ทั้งหลายโดยทางธรรมแล้ว ได้ยศพร้อมด้วยญาติและมิตรสหายแล้ว เป็นอยู่นานรักษาอายุ ให้ยั่งยืนแล้ว เมื่อตายแล้ว ขอเราจงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์นี้เป็นธรรมประการที่ ๔ อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจหาได้ยากในโลก.
คหบดี ! ธรรม ๔ ประการเหล่านี้แล น่าปรารถนาน่ารักใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก.
คหบดี ! ธรรม ๔ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อให้ได้ธรรม ๔ ประการ อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจหาได้ยากในโลก ธรรม ๔ ประการเป็นอย่างไร คือ
(1) สัทธาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา)
(2) สีลสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศีล)
(3) จาคสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยการบริจาค)
(4) ปัญญาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยปัญญา)
คหบดี ! ก็ สัทธาสัมปทาเป็นอย่างไรเล่าอริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มีศรัทธา เชื่อปัญญาตรัสรู้ของตถาคตว่า “เพราะเหตุอย่างนี้ๆพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น
เป็นผู้ไกลจากกิเลส เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะเป็นผู้ไปแล้วด้วยดี
เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง
เป็นผู้สามารถ ฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า
เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม
เป็นผู้มีความจำเริญจำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์”.
คหบดี ! นี้เรียกว่า สัทธาสัมปทา.
คหบดี ! ก็ สีลสัมปทา เป็นอย่างไรเล่าอริยสาวกในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต
เป็นผู้เว้นขาดจากอทินนาทาน
เป็นผู้เว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร
เป็นผู้เว้นขาดจากมุสาวาท
เป็นผู้เว้นขาดจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท. คหบดี ! นี้เรียกว่า สีลสัมปทา.
คหบดี ! ก็ จาคสัมปทา เป็นอย่างไรเล่าอริยสาวกในธรรมวินัยนี้
มีใจปราศจากมลทิน คือความตระหนี่ อยู่ครองเรือน
มีการบริจาคอันปล่อยอยู่เป็นประจำ
มีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดีในการสละ
เป็นผู้ควรแก่การขอ ยินดีในการให้และการแบ่งปัน.
คหบดี ! นี้เรียกว่า จาคสัมปทา.
คหบดี ! ก็ ปัญญาสัมปทา เป็นอย่างไรเล่า
บุคคลมีใจอันความโลภอย่างแรงกล้า คือ อภิชฌาครอบงำแล้ว
ย่อมทำกิจที่ไม่ควรทำ
ละเลยกิจที่ควรทำ
เมื่อทำกิจที่ไม่ควรทำ และละเลยกิจที่ควรทำเสีย
ย่อมเสื่อมจากยศและความสุข บุคคลมีใจอันพยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ อันวิจิกิจฉาครอบงำแล้ว
ย่อมทำกิจที่ไม่ควรทำ ละเลยกิจ ที่ควรทำ เมื่อทำกิจที่ไม่ควรทำ และละเลยกิจที่ควรทำเสีย ย่อมเสื่อมจากยศ และความสุข.
คหบดี ! อริยสาวกนั้นแลรู้ว่า อภิชฌาวิสมโลภะ(ความโลภอย่างแรงกล้า) เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ย่อมละอภิชฌาวิสมโลภะอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตเสียได้ รู้ว่า พยาบาท(คิดร้าย) ถีนมิทธะ (ความหดหู่ซึมเซา) อุทธัจจกุกกุจจะ(ความฟุ้งซ่านรำคาญ) วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ย่อมละเสียซึ่งสิ่งที่เป็นอุปกิเลสแห่งจิตเหล่านั้น.
คหบดี ! เมื่อใดอริยสาวกรู้ว่าอภิชฌาวิสมโลภะเป็นอุปกิเลสแห่งจิตดังนี้แล้ว เมื่อนั้นย่อมละเสียได้เมื่อใด อริยสาวกรู้ว่าพยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะวิจิกิจฉา เป็นอุปกิเลสแห่งจิตดังนี้แล้ว เมื่อนั้นย่อมละสิ่งเหล่านั้นเสียได้ อริยสาวกนี้เราเรียกว่า เป็นผู้มีปัญญามากมีปัญญาหนาแน่น เป็นผู้เห็นทางเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาคหบดี ! นี้เรียกว่า ปัญญาสัมปทา.
คหบดี ! ธรรม ๔ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อให้ได้ธรรม ๔ ประการ อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่น่าพอใจ หาได้ยากในโลก.
78
p192
เหตุให้สำเร็จตามปรารถนานัยที่ ๒
-บาลีอุปริ. ม. ๑๔/๒๑๗/๓๑๘.
ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดงเหตุสำเร็จความปรารถนาแก่เธอทั้งหลาย พวกเธอจงฟัง เหตุสำเร็จความปรารถนานั้น จงทำในใจให้ดี เราจักกล่าว.
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ ประกอบด้วย ศรัทธา ศีล สุตตะ จาคะ ปัญญา เธอมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า “โอหนอ ! เราเมื่อตายไปแล้ว พึงเข้าถึงความ เป็นสหายแห่งกษัตริย์มหาศาลเถิด” ดังนี้ก็มี … ว่า “โอหนอ !เราเมื่อตายไปแล้ว พึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งพราหมณ์มหาศาลเถิด” ดังนี้ก็มี ... ว่า “โอหนอ ! เราเมื่อตายไปแล้ว พึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งคหบดีมหาศาลเถิด”ดังนี้ก็มี เธอจึงตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้นความปรารถนาและวิหารธรรม เหล่านั้น อันเธอเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไป เพื่อความสำเร็จในภาวะนั้นๆ.
ภิกษุทั้งหลาย ! ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตตะ จาคะ ปัญญา เธอได้ฟังมาว่าเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา ... เทวดาชั้นดาวดึงส์ … เทวดาชั้นยามา … เทวดาชั้นดุสิต ... เทวดาชั้นนิมมานรดี ... เทวดาชั้นปรนิม มิตวสวัสดี มีอายุยืน มีวรรณะ มากด้วยความสุข.
เธอมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า “โอหนอ ! เราเมื่อตายไปแล้ว พึงเข้าถึง ความเป็น สหายแห่ง เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัสดี เถิด” เธอจึงตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิต นั้น ความปรารถนาและวิหารธรรมเหล่านั้น อันเธอเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้ว อย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความสำเร็จในภาวะนั้นๆ.
ภิกษุทั้งหลาย ! ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตตะ จาคะ ปัญญา เธอได้ฟังมาว่าสหัสสพรหม ... ทวิสหัสสพรหม ... ติสหัสสพรหม ...จตุสหัสสพรหม ... ปัญจสหัสสพรหม ... ทสสหัสสพรหม... สตสหัสสพรหม มีอายุยืน มีวรรณะ มากด้วยความสุข ... เธอมีความปรารถนาอย่างนี้ “โอหนอ !
เราเมื่อตายไปแล้ว พึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งสตสหัสสพรหมเถิด”เธอจึงตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น ความปรารถนาและวิหารธรรมเหล่านั้น อันเธอเจริญแล้ว อย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความสำเร็จในภาวะนั้นๆ.
ภิกษุทั้งหลาย ! ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตตะ จาคะ ปัญญา เธอได้ฟังมาว่า เทวดาชั้นอาภา ... เทวดาชั้นปริตตาภา ... เทวดาชั้นอัปปมาณาภา ... เทวดาชั้นอาภัสสรา ... เทวดาชั้นสุภา... เทวดาชั้นปริตตสุภา... เทวดาชั้นอัปปมาณสุภา ... เทวดาชั้นสุภกิณหา ... เทวดาชั้นเวหัปปผลา ... เทวดาชั้นอวิหา ...เทวดาชั้นอตัปปา ... เทวดาชั้นสุทัสสา ... เทวดาชั้นสุทัสสี... เทวดาชั้นอกนิฏฐา มีอายุยืน มีวรรณะ มากด้วยความสุข เธอมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า
“โอหนอ ! เราเมื่อตายไปแล้ว พึงเข้าถึง ความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นอกนิฏฐาเถดิ ” เธอจึงตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น ความปรารถนาและวิหารธรรมเหล่านั้น อันเธอเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความสำเร็จในภาวะนั้นๆ.
ภิกษุทั้งหลาย ! ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตตะ จาคะ ปัญญา เธอได้ฟังมาว่าเทวดาผู้เข้าถึงอากาสานัญจายตนภพ ... เทวดาผู้เข้าถึง วิญญาณัญจายตนภพ ... เทวดาผู้เข้าถึงอากิญจัญญายตนภพ... เทวดาผู้เข้าถึง เนวสัญญานาสัญญายตนภพ มีอายุยืนดำรงอยู่นาน มากด้วยความสุข เธอมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า
“โอหนอ ! เราเมื่อตายไปแล้ว พึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาผู้เข้าถึง เนวสัญญา นาสัญญายตนภพเถิด” เธอจึงตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น ความปรารถนา และวิหารธรรมเหล่านั้น อันเธอเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไป เพื่อความสำเร็จในภาวะนั้นๆ.
ภิกษุทั้งหลาย ! ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วย ศรัทธา ศีล สุตตะ จาคะ ปัญญา เธอมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า
“โอหนอ ! เราพึงเข้าถึงเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไป แห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงแล้วแลอยู่” เธอจึงเข้าถึง เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงแล้วแลอยู่.
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุนี้ ย่อมไม่เกิดในที่ไหนๆ
79
p196
เทวดาไหว้ใคร ๕๓
-บาลี สคาถ. สํ. ๑๕/๓๔๔/๙๒๙.
ภิกษุทั้งหลาย ! ครั้งนั้นแล ได้ทราบว่าท้าวสักกะจอมเทพขณะเสด็จลงจาก เวชยันต ปราสาท ทรงประนม อัญชลีนมัสการทิศเป็นอันมาก.
ภิกษุทั้งหลาย ! ครั้งนั้นแล มาตุลีสังคาหกเทพบุตร ได้ทูลถามท้าวสักกะจอมเทพ ด้วยคาถาว่า“พราหมณ์ทั้งหลายผู้บรรลุไตรวิชชา กษัตริย์ทั้งหลาย ณ ภูมิภาคทั้งหมด ท้าวมหาราชทั้ง ๔ และทวยเทพชาว ไตรทศผู้มียศย่อมนอบน้อมพระองค์ ข้าแต่ ท้าวสักกะ ! เมื่อเป็นเช่นนั้นพระองค์ทรงนอบน้อมท่านผู้ควรบูชาคนใด ท่านผู้ควรบูชา คนนั้นชื่อไรเล่า ขอเดชะ”.
ท้าวสักกะตรัสตอบว่า “พราหมณ์ทั้งหลาย ผู้บรรลุ ไตรวิชชา กษัตริย์ทั้งหลาย ณ ภูมิภาคทั้งหมด ท้าวมหาราช ทั้ง ๔ และทวยเทพชาว ไตรทศ ผู้มียศ นอบน้อมท่านผู้ใด ซึ่งเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล มีจิตตงมนตลอดกาลนาน ผู้บวชแล้ว โดยชอบ มีพรหมจรรย์ เป็นเบื้องหน้า คฤหัสถ์ เหล่าใดเป็นผู้ทา บุญ มีศีล เป็นอุบาสก เลี้ยงดูภรรยา โดยชอบธรรม. มาตุลี ! เรานอบน้อมคฤหัสถ์เหล่านั้น”.
มาตุลีสังคาหกเทพบุตร กล่าวว่า “ข้าแต่ท้าวสักกะ ! ได้ยินว่า พระองค์ทรงนอบน้อม บุคคลเหล่าใด บุคคลเหล่านั้นเป็นผู้ประเสริฐที่สุดในโลกเทียว ข้าแต่ท้าววาสวะ พระองค์ทรงนอบน้อมบุคคลเหล่าใดถึงข้าพระองค์ก็ขอนอบน้อมบุคคลเหล่านั้น”.
ท้าวมฆวาสุชัมบดีเทวราชผู้เป็นประมุขของเทวดาทั้งหลาย ครั้นตรัสดังนี้แล้ว ทรงน้อม นมัสการทิศเป็นอันมากแล้วเสด็จขึ้นรถ.
80
p198
ฤกษ์ดี ยามดี ในแบบพุทธวจน
-บาลีติก. อํ. ๒๐/๓๗๘/๕๙๕.
ภิกษุทั้งหลาย ! สัตว์เหล่าใดประพฤติสุจริตด้วยกายประพฤติสุจริตด้วยวาจา ประพฤติสุจริตด้วยใจ ในเวลาเช้าเวลาเช้า ก็เป็นเวลาเช้าที่ดีของสัตว์เหล่านั้น.
สัตว์เหล่าใดประพฤติสุจริตด้วยกาย ประพฤติสุจริตด้วยวาจา ประพฤติสุจริตด้วยใจ ในเวลาเที่ยง เวลาเที่ยง ก็เป็นเวลาเที่ยงที่ดีของสัตว์เหล่านั้น.
สัตว์เหล่าใดประพฤติสุจริตด้วยกาย ประพฤติสุจริตด้วยวาจา ประพฤติสุจริตด้วยใจ ในเวลาเย็น เวลาเย็น ก็เป็นเวลาเย็นที่ดีของสัตว์เหล่านั้น.
สัตว์ทั้งหลายประพฤติชอบในเวลาใด เวลานั้นชื่อว่าเป็นฤกษ์ดี มงคลดี สว่างดี รุ่งดี ขณะดี ยามดี และบูชาดีในพรหมจารีบุคคลทั้งหลาย
81 p199
ที่พึ่งผิด ที่พึ่งถูก
-บาลีธ. ขุ. ๒๕/๔๐/๒๔.
มนุษย์ทั้งหลายเป็นอันมาก ถูกความกลัวคุกคามเอาแล้ว ย่อมยึดถือเอาภูเขาบ้าง ป่าไม้ที่ศักดิ์สิทธิ์บ้าง สวนศักดิ์สิทธิ์บ้าง รุกขเจดีย์บ้าง ว่าเป็นที่พึ่งของตนๆ นั่นไม่ใช่ ที่พึ่งอันทำความเกษมให้ได้เลย นั่นไม่ใช่ที่พึ่งอันสูงสุดผู้ใดถือเอาสิ่งนั้นๆ เป็นที่พึ่งแล้ว ย่อมไม่หลุดพ้นไปจากทุกข์ทั้งปวงได้.
ส่วนผู้ใดที่ถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็น ทีพึ่ง แล้วเห็นอริยสัจทั้งสี่ด้วยปัญญา อันถูกต้อง คือเห็นทุกข์ เห็นเหตุเป็นเครื่องให้เกิดขึ้นของทุกข์ เห็นความก้าวล่วง เสียได้ซึ่งทุกข์ และเห็นมรรคประกอบด้วยองค์แปด อันประเสริฐ ซึ่งเป็นเครื่องให้ถึง ความเข้าไปสงบรำงับแห่งทุกข์ นั่นแหละ คือ ที่พึ่งอันเกษม นั่นคือ ที่พึ่งอันสูงสุด ผู้ใดถือเอาที่พึ่งนั้นแล้ว ย่อมหลุดพ้นไปจากทุกข์ทั้งปวงได้แท้.
82
p200
พิธีปลงบาปในอริยวินัยนัยที่ ๑
-บาลีทสก. อํ. ๒๔/๒๖๗/๑๕๖.
ก็โดยสมัยนั้นแลพราหมณ์ชื่อว่าชาณุสโสณีสระเกล้าในวันอุโบสถนุ่งห่มผ้าไหมคู่ใหม่ ถือกำหญ้าคาสดไปยืนอยู่ณที่ควรส่วนข้างหนึ่งในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคพระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตร เห็นชาณสุโสณีพราหมณ์ผู้สระเกล้าในวันอุโบสถนุ่งห่มผ้าไหมคู่ใหม่ถือกำหญ้าคาสดยืนอยู่ณที่ควรส่วนข้างหนึ่งในที่ไม่ไกลครั้นแล้วได้ตรัสถามชาณุสโสณีพราหมณ์ว่า
พราหมณ์ ! เพราะเหตุไรหนอ ท่านจึงสระเกล้าในวันอุโบสถ นุ่งห่มผ้าไหมคู่ใหม่ ถือกำหญ้าคาสดมายืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง วันนี้เป็นวันอะไรของสกุลพราหมณ์.
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! วันนี้เป็นวันปลงบาปของสกุลพราหมณ์.
พราหมณ์ ! ก็พิธีปลงบาปของพราหมณ์ทั้งหลายย่อมมีด้วยประการใดเล่า.
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! พราหมณ์ทั้งหลายในกรณีนี้สระเกล้าในวันอุโบสถนุ่งห่ม ผ้าไหมคู่ใหม่ทาแผ่นดินด้วยโคมัยสดลาดด้วยหญ้าคาที่เขียวสดแล้วสำเร็จการนอน ในระหว่างกองทรายและเรือนไฟในราตรีนั้นพราหมณ์เหล่านั้นย่อมลุกขึ้นประนมอัญชลี นมัสการไฟ๓ครั้งด้วยการกล่าวว่าข้าพเจ้าขอปลงบาปกะท่านผู้เจริญข้าพเจ้าขอปลง บาป กะท่านผู้เจริญดังนี้และย่อมหล่อเลี้ยงไฟไว้ด้วยเนยใสน้ำมันและเนยข้น อันเพียงพอพอล่วงราตรีนั้นไปย่อมเลี้ยงพราหมณ์ทั้งหลาย ให้อิ่มหนำด้วย ขาทนียโภชนียาหารอันประณีต.
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! พิธีปลงบาปของพราหมณ์ทั้งหลายย่อมมี ด้วยประการ อย่างนี้แล.
พราหมณ์ ! พิธีปลงบาปของพราหมณ์ทั้งหลายเป็นอย่างหนึ่ง ส่วนพิธีปลงบาป ในอริยวินัยย่อมมีโดยประการอื่น.
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! พิธีปลงบาปในอริยวินัยย่อมมีด้วยประการใดเล่า. ขอประทานพระวโรกาสขอพระโคดมผู้เจริญ ! โปรดทรงแสดงธรรม แก่ข้าพระองค์ ตามพิธีปลงบาปในอริยวินัยด้วยเถิด.
พราหมณ์ ! ถ้าเช่นนั้นท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดีเราจักกล่าว. พราหมณ์ ! อริยสาวก ในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากของปาณาติบาต เป็นสิ่งที่ชั่วช้าทั้งใน ปัจจุบันและในอภิสัมปรายะ อริยสาวกนั้นครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละ ปาณาติบาต ย่อมปลงบาปจากปาณาติบาต.
ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
วิบากแห่งอทินนาทานเป็นสิ่งที่ชั่วช้า ทั้งในปัจจุบัน และในอภิสัมปรายะ อริยสาวกนั้น ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละอทินนาทาน ย่อมปลงบาปจากอทินนาทาน
ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากแห่งกาเมสุมิจฉาจารเป็นสิ่งที่ชั่วช้าทั้งในปัจจุบันและในอภิสัมปรายะ อริยสาวกนั้น ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้ ย่อมละกาเมสุมิจฉาจาร ย่อมปลงบาปจากกาเมสุมิจฉาจาร
ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากแห่งมุสาวาทเป็นสิ่งที่ชั่วช้าทั้งในปัจจุบันและในอภิสัมปรายะ อริยสาวกนั้น ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละมุสาวาท ย่อมปลงบาปจากมุสาวาท
ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากแห่งปิสุณาวาจาเป็นสิ่งที่ชั่วช้าทั้งในปัจจุบันและในอภิสัมปรายะ อริยสาวกนั้น ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละปิสุณาวาจา ย่อมปลงบาปจากปิสุณาวาจา
ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากแห่งผรุสวาจาเป็นสิ่งที่ชั่วช้าทั้งในปัจจุบันและในอภิสัมปรายะ อริยสาวกนั้น ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละผรุสวาจา ย่อมปลงบาปจากผรุสวาจา
ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากแห่งสัมผัปปลาปะเป็นสิ่งที่ชั่วช้าทั้งในปัจจุบันและในอภิสัมปรายะ อริยสาวกนั้น ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละสัมผัปปลาปะ ย่อมปลงบาปจากสัมผัปปลาปะ.
ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากแห่งอภิชฌาเป็นสิ่งที่ชั่วช้าทั้งในปัจจุบันและในอภิสัมปรายะ อริยสาวกนั้น ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละอภิชฌา ย่อมปลงบาปจากอภิชฌา
ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากแห่งพยาบาทเป็นสิ่งที่ชั่วช้าทั้งในปัจจุบันและในอภิสัมปรายะ อริยสาวกนั้น ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละพยาบาท ย่อมปลงบาปจากพยาบาท
ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากแห่งมิจฉาทิฏฐิเป็นสิ่งที่ชั่วช้าทั้งในปัจจุบันและในอภิสัมปรายะ อริยสาวกนั้น ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละมิจฉาทิฏฐิ ย่อมปลงบาปจาก มิจฉาทิฏฐิ
พราหมณ์ ! พิธีปลงบาปในอริยวินัย ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้แล.
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! พิธีปลงบาปของพราหมณ์ทั้งหลายเป็นอย่างหนึ่ง ส่วนพิธี ปลงบาปในอริยวินัยย่อมมีโดยประการอื่น.ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! ก็พิธีปลงบาปของ พราหมณ์ทั้งหลายย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่๑๖แห่งพิธีปลงบาปในอริยวินัยนี้.
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งยิ่งนักภาษิตของพระองค์ไพเราะนัก พระองค์ทรงแสดง ธรรม โดยอเนกปริยายอย่างนี้ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทาง แก่คนหลงทางหรือส่องประทีป ในที่มืดด้วยตั้งใจว่าคนมีตาดี จักได้ เห็นรูปดังนี้ ข้าพระองค์ขอถึงพระพุทธเจ้าพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ. ขอพระโคดมผู้เจริญ ! โปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.
83
p204
พิธีปลงบาปในอริยวินัยนัยที่ ๒
-บาลีทสก. อํ. ๒๔/๒๕๑/๑๑๙.
ก็โดยสมัยนั้นแลพราหมณ์ชื่อว่า ชาณุสโสณีสระเกล้า ในวันอุโบสถนุ่งห่มผ้าไหม คู่ใหม่ ถือกำหญ้าคาสด ไปยืนอยู่ณที่ควรส่วนข้างหนึ่งในที่ไม่ไกล พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นชาณสุโสณีพราหมณ์ผู้สระ เกล้าในวันอุโบสถ นุ่งห่ม ผ้าไหมคู่ใหม่ ถือกำหญ้าคาสดยืนอยู่ ณที่ควรส่วนข้างหนึ่งในที่ไม่ไกล ครั้นแล้วได้ตรัสถาม ชาณุสโสณีพราหมณ์ ว่า
พราหมณ์ ! เพราะเหตุไรหนอ ท่านจึงสระเกล้าในวันอุโบสถ นุ่งห่มผ้าไหมคู่ใหม่ ถือกำหญ้าคาสดมายืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง วันนี้เป็นวันอะไรของสกุลพราหมณ์.
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! วันนี้เป็นวันปลงบาปของสกุลพราหมณ์.
พราหมณ์ ! ก็พิธีปลงบาปของพราหมณ์ทั้งหลายย่อมมีด้วยประการใดเล่า.
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! พราหมณ์ทั้งหลายในกรณีนี้สระเกล้าในวันอุโบสถ นุ่งห่ม ผ้าไหมคู่ใหม่ทาแผ่นดินด้วยโคมัยสดลาดด้วยหญ้าคาที่เขียวสด แล้วสำเร็จการนอน ในระหว่างกองทราย และเรือนไฟในราตรีนั้นพราหมณ์เหล่านั้นย่อมลุกนึ้ประนมอัญชลี นมัสการไฟ๓ครั้งด้วยการกล่าวว่า ข้าพเจ้าขอปลงบาปกะท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้า ขอปลงบาปกะท่านผู้เจริญ ดังนี้ และย่อมหล่อเลี้ยงไฟไว้ด้วยเนยใสน้ำมันและเนยข้น อันเพียงพอพอล่วงราตรีนั้นไปย่อมเลี้ยงพราหมณ์ทั้งหลายให้อิ่มหนำ ด้วยขาทนียโภชนียาหาร อันประณีต. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! พิธีปลงบาป ของพราหมณ์ ทั้งหลาย ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้แล.
พราหมณ์ ! พิธีปลงบาปของพราหมณ์ทั้งหลายเป็นอย่างหนึ่ง ส่วนพิธีปลงบาป ในอริยวินัย ย่อมมีโดยประการอื่น.
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! พิธีปลงบาปในอริยวินัยย่อมมีด้วยประการใดเล่า. ขอประทานพระวโรกาสขอพระโคดมผู้เจริญ ! โปรดทรงแสดงธรรม ตามที่เป็นพิธี ปลงบาป ในอริยวินัยแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด.
พราหมณ์ ! ถ้าเช่นนั้นท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดีเราจักกล่าว.
พราหมณ์ ! อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากแห่งมิจฉาทิฏฐิ เป็นสิ่งที่ชั่วช้าทั้งในปัจจุบันและในอภิสัมปรายะ อริยสาวกนั้นครั้นพิจารณาเห็น ดังนี้แล้ว ย่อมละมิจฉาทิฏฐิ ย่อมปลงบาปจากมิจฉาทิฏฐิ.
ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากแห่งมิจฉาสังกัปปะเป็นสิ่งที่ชั่วช้า ทั้งในปัจจุบัน และใน อภิสัมปรายะ อริยสาวกนั้นครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละมิจฉาสังกัปปะ ย่อมปลงบาป จากมิจฉาสังกัปปะ.
ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากแห่งมิจฉาวาจาเป็นสิ่งที่ชั่วช้าทั้งในปัจจุบัน และใน อภิสัมปรายะ อริยสาวกนั้นครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละมิจฉาวาจา ย่อมปลงบาป จากมิจฉาวาจา.
ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากแห่งมิจฉากัมมันตะเป็นสิ่งที่ชั่วช้าทั้งในปัจจุบัน และใน อภิสัมปรายะ อริยสาวกนั้น ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละมิจฉากัมมันตะ ย่อมปลงบาปจากมิจฉากัมมันตะ.
ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากแห่งมิจฉาอาชีวะเป็นสิ่งที่ชั่วช้า ทั้งในปัจจุบัน และใน อภิสัมปรายะ อริยสาวกนั้นครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละมิจฉาอาชีวะ ย่อมปลงบาปจากมิจฉาอาชีวะ.
ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากแห่งมิจฉาวายามะเป็นสิ่งที่ชั่วช้า ทั้งในปัจจุบัน และใน อภิสัมปรายะ อริยสาวกนั้นครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละมิจฉาวายามะ ย่อมปลงบาปจากมิจฉาวายามะ.
ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากแห่งมิจฉาสติเป็นสิ่งที่ชั่วช้า ทั้งในปัจจุบัน และใน อภิสัมปรายะ อริยสาวกนั้นครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละมิจฉาสติ ย่อมปลงบาป จากมิจฉาสติ.
ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากแห่งมิจฉาสมาธิเป็นสิ่งที่ชั่วช้า ทั้งในปัจจุบันและใน อภิสัมปรายะ อริยสาวกนั้นครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละมิจฉาสมาธิ ย่อมปลงบาปจากมิจฉาสมาธิ.
ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากแห่งมิจฉาญาณะเป็นสิ่งที่ชั่วช้าทั้งในปัจจุบัน และใน อภิสัมปรายะ อริยสาวกนั้นครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละมิจฉาญาณะ ย่อมปลงบาปจากมิจฉาญาณะ.
ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากแห่งมิจฉาวิมุตติเป็นสิ่งที่ชั่วช้า ทั้งในปัจจุบัน และในอภิสัมปรายะ อริยสาวกนั้น ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละมิจฉาวิมุตติ ย่อมปลงบาปจากมิจฉาวิมุตติ.
พราหมณ์ ! พิธีปลงบาปในอริยวินัย ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้แล.
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! พิธีปลงบาปของพราหมณ์ทั้งหลายเป็นอย่างหนึ่งส่วนพิธี ปลงบาปในอริยวินัย ย่อมมีโดยประการอื่น. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! ก็พิธีปลงบาป ของ พราหมณ์ทั้งหลายย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่๑๖ แห่งพิธีปลงบาปในอริยวินัยนี้.ข้าแต่พระโคดม ผู้เจริญ ! ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งยิ่งนัก ...ขอพระโคดมผู้เจริญ ! โปรดทรงจำ ข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกถึงสรณะตลอดชีวิตตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.
84
p208
พิธีปลงบาปอันเป็นอริยะนัยที่ ๑
-บาลีทสก. อํ. ๒๔/๒๖๙/๑๕๗.
ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดงพิธีปลงบาปอันเป็นอริยะแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว.
ภิกษุทั้งหลาย ! ก็พิธีปลงบาปอันเป็นอริยะเป็นอย่างไร.
ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากของปาณาติบาต เป็นสิ่งที่ชั่วช้า ทั้งในปัจจุบัน และในอภิสัมปรายะ อริยสาวกนั้น ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละปาณาติบาต ย่อมปลงบาป จากปาณาติบาต.
ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากแห่งอทินนาทาน ...วิบากแห่งกาเมสุมิจฉาจาร ... วิบากแห่งมุสาวาท ... วิบากแห่งปิสุณาวาจา ... วิบากแห่งผรุสวาจา ... สัมผัปปลาปะ... วิบากแห่งอภิชฌา ... วิบากแห่งพยาบาท ... วิบากแห่งมิจฉาทิฐิ เป็นสิ่งที่ชั่วช้าทั้งใน ปัจจุบัน และในอภิสัมปรายะ อริยสาวกนั้น ครั้นพิจารณาเห็น ดังนี้แล้ว ย่อมละ มิจฉาทิฏฐิ ย่อมปลงบาปจากมิจฉาทิฏฐิ.
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่าพิธีปลงบาปอันเป็นอริยะ.
85
210
พิธีปลงบาปอันเป็นอริยะนัยที่ ๒
-บาลีทสก. อํ. ๒๔/๒๕๓/๑๒๐.
ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดงพิธีปลงบาปอันเป็นอริยะแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว.
ภิกษุทั้งหลาย ! ก็พิธีปลงบาปอันเป็นอริยะเป็นอย่างไรเล่า.
ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากแห่งมิจฉาทิฏฐิ เป็นสิ่งที่ชั่วช้า ทั้งในปัจจุบัน ทั้ง และในอภิสัมปรายะ อริยสาวกนั้น ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละมิจฉาทิฏฐิ ย่อมปลงบาปจาก มิจฉาทิฏฐิ
ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากแห่งมิจฉาสังกัปปะ... วิบากแห่งมิจฉาวาจา ... วิบากแห่งมิจฉากัมมันตะ ...วิบากแห่งมิจฉาอาชีวะ ... วิบากแห่งมิจฉาวายามะ ... วิบากแห่งมิจฉาสติ ... วิบากแห่งมิจฉาสมาธิ ... วิบากแห่งมิจฉา-ญาณะ ... วิบากแห่งมิจฉาวิมุตติ เป็นสิ่งที่ชั่วช้าทั้งในปัจจุบัน อภิสัมปรายะ อริยสาวกนั้น
ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้วย่อมละมิจฉาวิมุตติ ย่อมปลงบาปจากมิจฉาวิมุตติ.
ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนี้เรากล่าวว่า เป็นพิธีปลงบาปอันเป็นอริยะ.
86
214
มูลนิธิพุทธโฆษณ์
มูลนิธิแห่งมหาชนชาวพุทธ ผู้ซึ่งชัดเจน และมั่นคงในพุทธวจน
เริ่มจากชาวพุทธกลุ่มเล็กๆ กลุ่มหนึ่ง ได้มีโอกาสมาฟังธรรมบรรยายจาก ท่านพระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล ที่เน้นการนำพุทธวจน (ธรรมวินัยจากพุทธโอษฐ์ ที่พระพุทธองค์ทรงยืนยันว่า ทรงตรัสไว้ดีแล้ว บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ทั้งเนื้อ ความ และพยัญชนะ) มาใช้ในการถ่ายทอดบอกสอน ซึ่งเป็นรูปแบบการแสดงธรรม ที่ตรงตาม พุทธบัญญัติตามที่ทรงรับสั่งแก่พระอรหันต์ ๖๐ รูปแรกที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ในการประกาศ พระสัทธรรม และเป็นลักษณะเฉพาะที่ภิกษุในครั้งพุทธกาล ใช้เป็นมาตรฐานเดียว หลักพุทธวจนนี้ ได้เข้ามา ตอบคำถาม ต่อความลังเลสงสัย ได้เข้ามาสร้างความชัดเจน ต่อความพร่าเลือนสับสน ในข้อธรรมต่างๆ ที่มีอยู่ใน สังคมชาวพุทธซึ่งทั้งหมดนี้ เป็นผลจากสาเหตุเดียวคือ
การไม่ใช้คำของพระพุทธเจ้า เป็นตัวตั้งต้นในการศึกษาเล่าเรียน ด้วยศรัทธา อย่างไม่หวั่นไหวต่อ องค์สัมมา สัมพุทธะ ในฐานะพระศาสดาท่านพระอาจารย์คึกฤทธิ์ ได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่า “อาตมาไม่มีคำสอน ของตัวเอง” และใช้เวลา ที่มีอยู่ ไปกับการรับสนองพุทธประสงค์ ด้วยการโฆษณาพุทธวจน เพื่อความตั้งมั่น แห่ง พระสัทธรรม และความประสานเป็นหนึ่งเดียวของชาวพุทธ เมื่อกลับมาใช้หลัก พุทธวจน เหมือนที่เคยเป็น ในครั้งพุทธกาล
สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ความชัดเจนสอดคล้องลงตัว ในความรู้ความเข้าใจ ไม่ว่าในแง่ของ หลักธรรมตลอด จนมรรควิธีที่ตรง และสามารถนำไปใช้ปฏิบัติให้เกิดผล รู้เห็นประจักษ์ ได้จริงด้วยตนเองทันที ด้วยเหตุนี้ ชาวพุทธที่เห็นคุณค่าในค่าของ พระพุทธเจ้า จึงขยายตัวมากขึ้นเรื่อยๆ เกิดเป็น “กระแสพุทธวจน” ซึ่งเป็นพลังเงียบ ที่กำลัง จะกลายเป็นคลื่นลูกใหม่ ในการกลับไปใช้ระบบการเรียนรู้ พระสัทธรรม เหมือนดังครั้ง พุทธกาล
ด้วยการขยายตัวของกระแสพุทธวจนนี้ สื่อธรรมที่เป็นพุทธวจน ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ หรือซีดี ซึ่งแจกฟรีแก่ญาติ โยม เริ่มมีไม่พอเพียงในการแจก ทั้งนี้เพราะจำนวน ของผู้ที่สนใจเห็นความสำคัญของพุทธวจน ได้ขยายตัวมากขึ้น อย่างรวดเร็ว ประกอบกับว่า ท่านพระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล เคร่งครัดในข้อวัตรปฏิบัติ ที่พระศาสดาบัญญัติไว้ อันเป็นธรรมวินัยที่ออกจากพระโอษฐ์ของตถาคตโดยตรง
การเผยแผ่พุทธวจนที่ผ่านมา จึงเป็นไปในลักษณะสันโดษตามมีตามได้ เมื่อมีโยมมา ปวารณาเป็นเจ้าภาพในการ จัดพิมพ์ ได้มาจำนวนเท่าไหร่ ก็ทยอยแจกไปตามที่มี เท่านั้น เมื่อมีมา ก็แจกไป เมื่อหมด ก็คือหมด เนื่องจากว่า หน้าที่ในการดารง พระสัทธรรมให้ตั้งมั่นสืบไป ไม่ได้ผูกจำกัดอยู่แต่เพียงพุทธสาวกในฐานะของสงฆ์ เท่านั้น ฆราวาสกลุ่มหนึ่งซึ่งเห็นความสำคัญของพุทธวจน จึงรวมตัวกันเข้ามาช่วย ขยายผลในสิ่ง ที่ท่าน พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโลทำอยู่แล้ว
นั่นคือ การนำพุทธวจนมาเผยแพร่โฆษณา โดยพิจารณาตัดสินใจจดทะเบียนจัดตั้ง เป็นมูลนิธิอย่างถูกต้องตาม กฏหมาย เพื่อให้การดำเนินการต่างๆ ทั้งหมดอยู่ในรูปแบบ ที่โปร่งใส เปิดเผย และเปิด กว้างต่อสาธารณชนชาว พุทธทั่วไปสาหรับผู้ที่เห็น ความสาคัญของพุทธวจน และมีความประสงค์ที่จะดารง พระ สัทธรรม ให้ตั้งมั่น ด้วยวิธี ของพระพุทธเจ้า สามารถสนับสนุนการดำเนินการ ตรงนี้ได้ด้วยวิธีง่ายๆ นั่นคือ เข้ามา ใส่ใจ ศึกษาพุทธวจน และ นำไปใช้ปฏิบัติ ด้วยตนเอง เมื่อรู้ประจักษ์ เห็นได้ด้วยตนแล้ว ว่ามรรควิธีที่ได้จาก การทาความเข้าใจ โดยใช้คำ ของ พระพุทธเจ้า เป็นตัวตั้งต้นนั้น นำไปสู่ความเห็นที่ถูกต้อง ในหลักธรรมอัน สอดคล้อง เป็นเหตุเป็นผล และ เชื่อมโยงเป็นหนึ่งเดียว กระทั่งได้ผลตามจริงทาให้เกิดมีจิตศรัทธา ในการช่วยเผย แพร่ขยายสื่อพุทธวจน เพียง เท่านี้ คุณก็คือหนึ่งหน่วยในขบวน “พุทธโฆษณ์” แล้วนี่คือเจตนารมณ์ของมูลนิธิ พุทธโฆษณ์ นั่นคือเป็น มูลนิธิ แห่งมหาชนชาวพุทธ ซึ่งชัดเจน และมั่นคงในพุทธวจน
ผู้ที่สนใจรับสื่อธรรมที่เป็นพุทธวจน เพื่อไปใช้ศึกษาส่วนตัวหรือนาไปแจกเป็นธรรมทาน แก่พ่อแม่พี่น้อง ญาติ หรือเพื่อนสามารถมารับได้ฟรี ที่วัดนาป่าพง หรือตามที่พระอาจารย์คึกฤทธิ์ ได้รับนิมนต์ไปแสดงธรรมนอกสถานที่ สำหรับรายละเอียด กิจธรรมต่างๆ ภายใต้เครือข่ายพุทธวจนโดยวัดนาป่าพง ค้นหาข้อมูลได้จาก www.buddhakos.org หรือ www.watnapp.com หากมีความจำนงที่จะรับไปแจกเป็นธรรมทาน ในจำนวนหลายสิบชุด ขอความกรุณา แจ้งความจำนงได้ที่
มูลนิธิพุทธโฆษณ์
ประสานงานและเผยแผ่ เลขที่ ๒๙/๓ หมู่ที่ ๗ ถนนเลียบคลอง ๑๐
ฝั่งตะวันออกตำบลบึงทองหลาง อำเภอลำลูกกา
จังหวัดปทุมธานี ๑๒๑๕๐
โทรศัพท์ ๐๘ ๒๒๒๒ ๕๗๙๐-๙๔, ๐๘ ๕๐๕๘ ๖๘๘๘, ๐๘ ๑๕๑๓ ๑๖๑๑
โทรสาร ๐ ๒๑๕๙ ๐๕๒๕-๖
เว็บไซต์ : www.buddhakos.org อีเมล์ : buddhakos@hotmail.com
สนับสนุนการเผยแผ่พุทธวจนได้ที่
ชื่อบัญชี “มูลนิธิพุทธโฆษณ์”
ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขา คลอง ๑๐ (ธัญบุรี)
ประเภท บัญชีออมทรัพย์
เลขที่บัญชี ๓๑๘-๒-๔๗๔๖๑-๐
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
87
10 พระสูตรของความสำคัญ
ที่ชาวพุทธต้องศึกษาแต่คำสอนจากพระพุทธเจ้าเท่านั้น
ผ่านมา ๒,๕๐๐ กว่าปี
คำสอนทางพระพุทธศาสนา เกิดความหลากหลายมากขึ้น
มีสำนักต่างๆ มากมาย ซึ่งแต่ละหมู่คณะก็มีความเห็นของตน
หามาตรฐานไม่ได้ แม้จะกล่าวในเรื่องเดียวกัน
ทั้งนี้ไม่ใช่เพราะคำสอน ของพระพุทธเจ้าไม่สมบูรณ์
แล้วเราควรเชื่อและปฏิบัติตามใคร ?
ลองพิจารณาหาคำตอบง่ายๆ ได้จาก ๑๐ พระสูตร
ซึ่งพระตถาคตทรงเตือนเอาไว้
แล้วตรัสบอกวิธีป้องกันและแก้ไข เหตุเสื่อม แห่งธรรมเหล่านี้.
ขอเชิญมาตอบตัวเองกันเถอะว่า ถึงเวลาแล้วหรือยัง ?
ที่พุทธบริษัท จะมีมาตรฐานเพียงหนึ่งเดียว คือ “พุทธวจน” ธรรมวินัย
จากองค์พระสังฆบิด าอันวิญญูชนพึงปฏิบัติและรู้ตามได้เฉพาะตน ดังนี้.
๑. พระองค์ทรงสามารถกำหนดสมาธิ เมื่อจะพูด ทุกถ้อยคำจึงไม่ผิดพลาด
-บาลีมู. ม. ๑๒/๔๕๘/๔๓๐.
อัคคิเวสนะ ! เรานั้นหรือ จำเดิมแต่เริ่มแสดง กระทั่งคำสุดท้ายแห่ง
การกล่าว เรื่องนั้นๆ ย่อมตั้งไว้ซึ่งจิตในสมาธินิมิตอันเป็นภายในโดยแท้ ให้จิตดำรงอยู่ ให้จิต ตั้งมั่น อยู่ กระทำให้มีจิตเป็นเอก ดังเช่นที่คนทั้งหลาย
เคยได้ยินว่าเรา กระทำอยู่เป็นประจำ ดังนี้.
๒. แต่ละคำพูดเป็นอกาลิโก คือ ถูกต้องตรงจริงไม่จำกัดกาลเวลา
-บาลีมู. ม. ๑๒/๔๘๕/๔๕๑.
ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอทั้งหลายเป็นผู้ที่เรานำไปแล้วด้วยธรรมนี้ อันเป็น ธรรมที่บุคคล จะพึงเห็นได้ด้วยตนเอง (สนทฺฏิฐิโก) เป็นธรรมให้ ผลไม่จำกัดกาล (อกาลิโก) เป็นธรรมที่ควรเรียกกันมาดู (เอหิปสฺสิโก)ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว (โอปนยิโก) อันวิญญูชนจะพึงรู้ได้เฉพาะตน (ปจฺจตฺต เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ).
๓. คำพูดที่พูดมาทั้งหมดนับแต่วันตรัสรู้นั้น สอดรับไม่ขัดแย้งกัน
-บาลีอิติวุ. ขุ. ๒๕/๓๒๑/๒๙๓.
ภิกษุทั้งหลาย ! นับตั้งแต่ราตรี ที่ตถาคตได้ตรัสรู้ อนุตตรสัมมา-
สัมโพธิญาณ จนกระทั่งถึงราตรีที่ตถาคตปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสส
นิพพานธาตุ ตลอดเวลา ระหว่างนั้น ตถาคตได้กล่าวสอน พร่ำสอน
แสดงออก ซึ่งถ้อยคำใด ถ้อยคำเหล่านั้น ทั้งหมด ย่อมเข้ากันได้โดย ประการเดียวทั้งสิ้น ไม่แย้งกันเป็นประการอื่นเลย.
๔. ทรงบอกเหตุแห่งความอันตรธานของคำสอนเปรียบด้วยกลองศึก
-บาลีนิทาน. สํ. ๑๖/๓๑๑/๖๗๒-๓.
ภิกษุทั้งหลาย ! เรื่องนี้เคยมีมาแล้ว กลองศึกของกษัตริย์พวกทสารหะ
เรียกว่า อานกะ มีอยู่ เมื่อกลองอานกะนี้ มีแผลแตกหรือลิ พวกกษัตริย์
ทสารหะได้หา เนื้อไม้อื่นทำเป็นลิ่ม เสริมลงในรอยแตกของกลองนั้น (ทุก
คราวไป). ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อเชื่อมปะเข้าหลายครั้งหลายคราวเช่นนั้น
นานเข้าก็ถึงสมัยหนึ่ง ซึ่งเนื้อไม้เดิมของ ตัวกลองหมดสิ้นไป เหลืออยู่แต่
เนื้อไม้ที่ทำเสริมเข้าใหม่เท่านั้น.
ภิกษุทั้งหลาย ! ฉันใดก็ฉันนั้น ในกาลยืดยาวฝ่ายอนาคต จักมีภิกษุทั้งหลาย
สุตตันตะเหล่าใด ที่เป็นคำของตถาคต เป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้ง
เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้น
มากล่าวอยู่ เธอจักไม่ฟังด้วยดี จักไม่เงี่ยหูฟัง จักไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง
และจักไม่สำคัญว่า เป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน ส่วนสุตตันตะเหล่าใดที่
นักกวีแต่งงขึ้นใหม่เป็น คำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอักษรสละสลวย
มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวก เมื่อมีผู้นำ
สุตตันตะที่นักกวีแต่งขึ้นใหม่ เหล่านั้นมากล่าวอยู่ เธอจักฟังด้วยดี จัก
เงี่ยหูฟัง จักตั้งจิต เพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษา
เล่าเรียนไป.
ภิกษุทั้งหลาย ! ความอันตรธานของสุตตันตะเหล่านั้น ที่เป็นคำของ
ตถาคต เป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วย
เรื่องสุญญตา จักมีได้ด้วยอาการอย่างนี้ แล.
๕. ทรงกำชับให้ศึกษาปฏิบัติเฉพาะจากคำของพระองค์เท่านั้น
อย่าฟังคนอื่น
-บาลีทุก. อํ. ๒๐/๙๑-๙๒/๒๙๒.
ภิกษุทั้งหลาย ! พวกภิกษุบริษัทในกรณีนี้ สุตตันตะเหล่าใด ที่กวี
แต่งขึ้นใหม่ เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวก เมื่อมีผู้นำ
สุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่ เธอจักไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่ตั้งจิตเพื่อ
จะรู้ทั่วถึง และจักไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน.
ภิกษุทั้งหลาย ! ส่วนสุตตันตะเหล่าใด ที่เป็นคำของตถาคต เป็น
ข้อความลึก มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา เมื่อมีผู้นำสุตตันตะ เหล่านั้นมากล่าวอยู่ เธอย่อมฟังด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟัง
ย่อมตั้งจิตเพื่อ จะรู้ทั่วถึงและ ย่อมสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน
จึงพากันเล่าเรียน ไต่ถาม ทวนถาม แก่กัน และกันอยู่ว่า “ข้อนี้เป็นอย่างไร
มีความหมายกี่นัย” ดังนี้ ด้วยการทำดังนี้ เธอย่อมเปิดธรรมที่ถูกปิดไว้ได้
ธรรมที่ยังไม่ปรากฏ เธอก็ทำให้ปรากฏได้ ความสงสัยในธรรมหลายประการ
ที่น่าสงสัย เธอก็บรรเทาลงได้.
ภิกษุทั้งหลาย ! บริษัทชื่อ อุกกาจิตวินีตา ปริสา โน ปฏิปุจฉาวินีตา
เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้คือ ภิกษุทั้งหลายในบริษัทใด
เมื่อสุตตันตะทั้งหลาย อันเป็นตถาคตภาษิต (ตถาคตภาสิตา) อันลึกซึ้ง
(คมฺภีรา)มี
อรรถอันลึกซึ้ง (คมฺภีรตฺถา) เป็นโลกุตตระ (โลกุตฺตรา)ประกอบด้วย
เรื่องสุญญตา (สุญฺญตปฏิสยุตฺตา) อันบุคคลนามากล่าวอยู่ ก็ไม่ฟังด้วยดี
ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่เข้าไปตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควร
ศึกษาเล่าเรียน.
ส่วนสุตตันตะเหล่าใด ที่กวีแต่งขึ้นใหม่ เป็นคำร้อยกรองประเภท
กาพย์กลอน มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว
เป็นคำกล่าวของสาวก เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านี้มากล่าวอยู่
พวกเธอย่อมฟังด้วยดี เงี่ยหูฟัง ตั้งจิตเพื่อจะรู้ ทั่วถึง และสำคัญไป
ว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน พวกเธอเล่าเรียนธรรม อันกวีแต่งใหม่
นั้นแล้ว ก็ไม่สอบถามซึ่งกันและกัน ไม่ทำให้เปิดเผยแจ่มแจ้ง ออกมาว่า
ข้อนี้พยัญชนะเป็นอย่างไร อรรถเป็นอย่างไร ดังนี้ เธอเหล่านั้น เปิดเผย
สิ่งที่ยังไม่เปิดเผยไม่ได้ ไม่หงายของที่คว่ำอยู่ให้หงายขึ้นได้ ไม่บรรเทา
ความสงสัย ในธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยมีอย่างต่างๆ ได้.
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เราเรียกว่า อุกกาจิตวินีตา ปริสา โน ปฏิปุจฉาวินีตา.
ภิกษุทั้งหลาย ! บริษัทชื่อ ปฏิปุจฉาวินีตา ปริสา โน อุกกาจิตวินีตา เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้คือ ภิกษุทั้งหลายในบริษัทใด เมื่อสุตตันตะ
ทั้งหลาย ที่กวีแต่งขึ้นใหม่ เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอักษร
สละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวก
อันบุคคลนำมากล่าวอยู่ ก็ไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่เข้าไปตั้งจิตเพื่อจะ
รู้ทั่วถึง และไม่สำคัญว่า เป็นสิ่งที่ตน ควรศึกษาเล่าเรียน ส่วน สุตตันตะ เหล่าใด อันเป็นตถาคตภาษิต อันลึกซึ้ง มีอรรถอันลึกซึ้ง เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยเรื่องสุญญตา เมื่อมีผู้นำสุตตันตะ เหล่านี้ มากล่าวอยู่ พวก เธอย่อมฟังด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟัง ย่อมเข้าไปตั้งจิต เพื่อจะรู้ทั่วถึง และ ย่อมสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ควรศึกษาเล่าเรียน พวกเธอเล่าเรียน ธรรมที่เป็น
ตถาคตภาษิตนั้นแล้ว ก็สอบถามซึ่งกันและกัน ทำให้เปิดเผยแจ่มแจ้งออก
มาว่า ข้อนี้พยัญชนะเป็นอย่างไร อรรถะเป็นอย่างไร ดังนี้ เธอเหล่านั้น
เปิดเผยสิ่ง ที่ยังไม่เปิดเผยได้ หงายของที่คว่ำอยู่ให้หงายขึ้นได้ บรรเทา
ความสงสัยในธรรม ทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยมีอย่างต่างๆ ได้.
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เราเรียกว่า ปฏิปุจฉาวินีตา ปริสา โน อุกกาจิตวินีตา.
ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แลบริษัท ๒ จำพวกนั้น. ภิกษุทั้งหลาย !
บริษัทที่เลิศในบรรดาบริษัททั้งสองพวกนั้น คือ บริษัทปฏิปุจฉาวินีตา
ปริสา โน อุกกาจิตวินีตา (บริษัทที่อาศัยการสอบสวนทบทวนกันเอาเอง
เป็นเครื่องนำไป ไม่อาศัยความเชื่อจากบุคคลภายนอกเป็นเครื่องนำไป) แล.
๖. ทรงห้ามบัญญัติเพิ่มหรือตัดทอนสิ่งที่บัญญัติไว้
-บาลีมหา. ที. ๑๐/๙๐/๗๐.
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุทั้งหลาย จักไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่เคยบัญญัติ จัก
ไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว จักสมาทานศึกษาในสิกขาบทที่บัญญัติไว้
แล้วอย่างเคร่งครัด อยู่เพียงใด ความเจริญก็เป็นสิ่งที่ภิกษุทั้งหลายหวังได้
ไม่มีความเสื่อมเลย อยู่เพียงนั้น.
๗. สำนึกเสมอว่าตนเองเป็นเพียงผู้เดินตามพระองค์เท่านั้น
ถึงแม้จะเป็นอรหันต์ผู้เลิศทางปัญญาก็ตาม
-บาลีขนฺธ. สํ. ๑๗/๘๒/๑๒๖.
ภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ ได้ทามรรคที่ยัง
ไม่เกิดให้เกิดขึ้น ได้ทำมรรคที่ยังไม่มีใครรู้ให้มีคนรู้ ได้ทำมรรคที่ยังไม่มี
ใครกล่าวให้เป็นมรรคที่กล่าวกันแล้ว ตถาคตเป็นผู้รู้มรรค (มคฺคญฺญู) เป็น
ผู้รู้แจ้งมรรค (มคฺควิทู) เป็นผู้ฉลาดในมรรค (มคฺคโกวิโท). ภิกษุทั้งหลาย !
ส่วนสาวกทั้งหลายในกาลนี้ เป็นผู้เดินตามมรรค (มคฺคานุคา) เป็นผู้ตามมา
ในภายหลัง.
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้แล เป็นความผิดแผกแตกต่างกัน เป็นความมุ่งหมายที่แตกต่างกัน เป็นเครื่องกระทำให้แตกต่างกัน ระหว่างตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ กับภิกษุผู้ปัญญาวิมุตติ.
๘. ตรัสไว้ว่าให้ทรงจำบทพยัญชนะและคำอธิบายอย่างถูกต้อง พร้อมขยันถ่ายทอดบอกสอนกันต่อไป
-บาลีจตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๙๗/๑๖๐.
ภิกษุทั้งหลาย ! พวกภิกษุในธรรมวินัยนี้ เล่าเรียนสูตรอันถือกันมาถูก ด้วยบทพยัญชนะที่ใช้กันถูก ความหมายแห่งบทพยัญชนะที่ใช้กันก็ถูก ย่อมมีนัยอันถูกต้องเช่นนั้น. ภิกษุทั้งหลาย ! นี่เป็น มูลกรณีที่หนึ่งซึ่งทำให้ พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้ไม่เลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป...
ภิกษุทั้งหลาย ! พวกภิกษุเหล่าใด เป็นพหุสูต คล่องแคล่ว ในหลักพระพุทธวจน ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา (แม่บท) พวกภิกษุเหล่านั้นเอาใจใส่ บอกสอน เนื้อความแห่งสูตรทั้งหลายแก่คนอื่นๆ เมื่อท่านเหล่านั้นล่วงลับไป สูตรทั้งหลาย ก็ไม่ขาดผู้เป็นมูลราก (อาจารย์) มีที่อาศัยสืบกันไป.
ภิกษุทั้งหลาย ! นี่เป็น มูลกรณีที่สาม ซึ่งทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้ ไม่เลอะเลือน จนเสื่อมสูญไป...*** ในที่นี้ยกมา ๒ นัยยะ จาก ๔ นัยยะ ของมูลเหตุสี่ประการ ที่ทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้ ไม่เลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป
๙. ทรงบอกวิธีแก้ไขความผิดเพี้ยนในคำสอน
-บาลีมหา. ที. ๑๐/๑๔๔/๑๑๓-๖.
๑. (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้กล่าวอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ ! ข้าพเจ้าได้สดับรับมา เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า “นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัยนี้เป็นคำสอนของ พระศาสดา”...
๒. (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้กล่าวอย่างนี้ว่า ในอาวาสชื่อโน้นมีสงฆ์อยู่พร้อมด้วย พระเถระ พร้อมด้วยปาโมกข์ ข้าพเจ้าได้สดับมาเฉพาะหน้าสงฆ์นั้นว่า “นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระศาสดา”...
๓. (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้กล่าวอย่างนี้ว่า ในอาวาสชื่อโน้นมีภิกษุผู้เป็นเถระ อยู่จำนวนมาก เป็นพหุสูต เรียนคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัยทรงมาติกา ข้าพเจ้า ได้สดับมาเฉพาะหน้าพระเถระเหล่านั้นว่า “นี้เป็นธรรมนี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของ พระศาสดา”...
๔. (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้กล่าวอย่างนี้ว่า ในอาวาสชื่อโน้นมีภิกษุผู้เป็นเถระ อยู่รูปหนึ่ง เป็นพหุสูต เรียนคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัยทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้สดับมา เฉพาะหน้าพระเถระรูปนั้นว่า “นี้เป็นธรรมนี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของ พระศาสดา”...เธอทั้งหลายยังไม่พึงชื่นชม ยังไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของผู้นั้น พึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี แล้วพึงสอบสวนลงในพระสูตร เทียบเคียงดู ในวินัย
ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น สอบลงในสูตรก็ไม่ได้ เทียบเข้าในวินัยก็ไม่ได้ พึงลงสันนิษฐานว่า “นี้มิใช่พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นแน่นอน และภิกษุนี้รับมาผิด” เธอทั้งหลาย พึงทิ้งคำนั้นเสียถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น สอบลงในสูตรก็ได้ เทียบเข้าในวินัยก็ได้ พึงลงสันนิษฐานว่า “นี้เป็นพระดำรัส ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นแน่นอน และภิกษุนั้นรับมาด้วยดี” เธอทั้งหลาย พึงจำมหาปเทส... นี้ไว้.
๑๐. ทรงตรัสแก่พระอานนท์ให้ใช้ธรรมวินัยที่ตรัสไว้เป็นศาสดาแทนต่อไป
-บาลี มหา. ที. ๑๐/๑๗๘/๑๔๑.
-บาลี ม. ม. ๑๓/๔๒๗/๔๖๓.
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๑๗/๗๔๐.
อานนท์ ! ความคิดอาจมีแก่พวกเธออย่างนี้ว่า ‘ธรรมวินัยของพวกเรามีพระศาสดา ล่วงลับไปเสียแล้ว พวกเราไม่มีพระศาสดา’ ดังนี้.
อานนท์ ! พวกเธออย่าคิดอย่างนั้น. อานนท์ ! ธรรมก็ดี วินัยก็ดี ที่เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้ว แก่พวกเธอทั้งหลาย ธรรมวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ ทั้งหลาย โดยกาลล่วงไปแห่งเรา.
อานนท์ ! ในกาลบัดนี้ก็ดี ในกาลล่วงไปแห่งเราก็ดี ใครก็ตาม จักต้องมีตน เป็นประทีป มีตนเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ มีธรรมเป็นประทีป มีธรรมเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ เป็นอยู่.
อานนท์ !ภิกษุพวกใด เป็นผู้ใคร่ในสิกขา ภิกษุพวกนั้น จักเป็นผู้อยู่ในสถานะ อันเลิศที่สุดแล.
อานนท์ ! ความขาดสูญแห่งกัลยาณวัตรนี้ มีในยุคแห่งบุรุษใดบุรุษนั้นชื่อว่า เป็นบุรุษคนสุดท้ายแห่งบุรุษทั้งหลาย... เราขอกล่าวย้ำกะเธอว่า... เธอทั้งหลาย อย่าเป็นบุรุษคนสุดท้ายของเราเลย.
จบ เดรัจฉานวิชา
|