|
ลัทธิความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับกรรม ๓ แบบ
๑๗)
ลัทธิที่เชื่อว่า สุขและทุกข์
เกิดจากกรรมเก่าอย่างเดียว
ภิกษุทั้งหลาย ! ลัทธิ ๓ ลัทธิเหล่านี้มีอยู่ เป็นลัทธิซึ่งแม้บัณฑิต จะพากันไตร่ตรอง จะหยิบขึ้นตรวจสอบ จะหยิบขึ้นวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างไร แม้จะบิดผันกันมาอย่างไร ก็ชวนให้น้อมไป เพื่อการไม่ประกอบกรรม ที่ดีงาม อยู่นั่นเอง.
ภิกษุทั้งหลาย ! ลัทธิ ๓ ลัทธินั้น เป็นอย่างไรเล่า? ๓ ลัทธิคือ
(๑) สมณะและพราหมณ์บางพวก มีถ้อยคำและ ความเห็นว่า “บุรุษบุคคลใดๆ ก็ตาม ที่ได้รับสุข รับทุกข์ หรือไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์ ทั้งหมดนั้น เป็นเพราะกรรม ที่ทำไว้แต่ปางก่อน” ดังนี้
(๒) สมณะและพราหมณ์บางพวก มีถ้อยคำและ ความเห็นว่า “บุรุษบุคคลใดๆ ก็ตาม ที่ได้รับสุขรับทุกข์ หรือไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์ ทั้งหมดนั้น เป็นเพราะการ บันดาล ของเจ้าเป็นนาย” ดังนี้
(๓) สมณะและพราหมณ์บางพวก มีถ้อยคำและ ความเห็นว่า “บุรุษบุคคลใดๆ ก็ตาม ที่ได้รับสุข รับทุกข์ หรือไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์ ทั้งหมดนั้น ไม่มีอะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัยเลย” ดังนี้
ภิกษุทั้งหลาย ! ในบรรดาลัทธิทั้ง ๓ นั้น สมณพราหมณ์พวกใด มีถ้อยคำและ ความเห็น ว่า “บุคคลได้รับสุข หรือทุกข์ หรือไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์ เพราะกรรม ที่ทำไว้แต่ปางก่อน อย่างเดียว” มีอยู่
เราเข้าไปหาสมณพราหมณ์เหล่านั้น แล้วสอบถาม ความที่เขายังยืนยันอยู่ ดังนั้นแล้ว เรากล่าวกะเขาว่า “ถ้ากระนั้น คนที่ฆ่าสัตว์ ... ลักทรัพย์ ... ประพฤติ ผิดพรหมจรรย์ ... พูดเท็จ ... พูดคำหยาบ ... พูดยุให้แตกกัน ... พูดเพ้อเจ้อ ... มีใจละโมบเพ่งเล็ง ... มีใจพยาบาท ... มีความเห็นวิปริตเหล่านี้อย่างใด อย่างหนึ่ง (ในเวลานี้) นั่นก็ต้องเป็น เพราะกรรมที่ทำไว้แต่ปางก่อน
เมื่อมัวแต่ถือเอา กรรมที่ทำไว้แต่ปางก่อน มาเป็นสาระสำคัญดังนี้แล้ว คนเหล่านั้น ก็ไม่มี ความอยากทำ หรือความพยายามทำในข้อที่ว่า สิ่งนี้ควรทำ (กรณียกิจ) สิ่งนี้ไม่ควรทำ (อกรณียกิจ) อีกต่อไป.
เมื่อกรณียกิจและอกรณียกิจ ไม่ถูกทำหรือถูกละเว้นให้จริงๆ จังๆ กันแล้ว คนพวกที่ไม่มีสติคุ้มครองตน เหล่านั้น ก็ไม่มีอะไรที่จะมาเรียกตนว่าเป็นสมณะ อย่างชอบธรรมได้” ดังนี้
๑๘)
ลัทธิที่เชื่อว่าสุขและทุกข์
เกิดจากเทพเจ้าบันดาลให
ภิกษุทั้งหลาย !
ในบรรดาลัทธิทั้ง ๓ นั้น สมณพราหมณ์พวกใด มี ถ้อยคำ และความ เห็นว่า “บุคคลได้รับสุขหรือทุกข์ หรือไม่ ใช่ สขุ ไม่ใช่ ทุกข์ ทั้งหมดนั้นเป็น เพราะ อิศวร เนรมิตให้ (อิสฺสรนิมฺมานเหตูติ)” ดังนี้ มีอยู่
เราเข้าไปหาสมณพราหมณ์เหล่านั้นแล้วสอบถาม ความที่เขายังยืนยันอยู่ ดังนั้นแล้ว เรากล่าวกะเขาว่า “ถ้ากระนั้น (ในบัดนี้) คนที่ฆ่าสัตว์ ... ลักทรัพย์ ... ประพฤติผิด พรหมจรรย์ ... พูดเท็จ ... พูดคำหยาบ ... พูดยุให้แตกกัน ... พูดเพ้อเจ้อ ... มีใจละโมบเพ่งเล็ง ... มีใจพยาบาท มีความเห็นวิปริ ตเหล่านี้ อย่างใดอย่างหนึ่งอยู่นั่น ก็ต้องเป็นเพราะการเนรมิตของอิศวรด้วย
เมื่อมัวแต่ถือเอาการเนรมิตของอิศวร มาเป็นสาระสำคัญดังนี้แล้ว คนเหล่านั้น ก็ไม่มี ความอยากทำ หรือความพยายามทำในข้อที่ว่าสิ่งนี้ควรทำ(กรณียกิจ) สิ่งนี้ไม่ควรทำ (อกรณียกิจ) อีกต่อไป
เมื่อกรณียกิจและอกรณียกิจ ไม่ถูกทำหรือถูกละเว้นให้จริงๆ จังๆ กันแล้ว คนพวก ที่ไม่มี สติคุ้มครองตนเหล่านั้น ก็ไม่มีอะไรที่จะมาเรียกตนว่าเป็น สมณะ อย่าง ชอบธรรมได้”ดังนี้
ติก. อํ. ๒๐/๒๒๓/๕๐๑.
๑๙)
ลัทธิที่เชื่อว่า สุข และ ทุกข์ เกิดขึ้นเองลอยๆ
ไม่มีอะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัย
ภิกษุทั้งหลาย ! ในบรรดาลัทธิทั้ง ๓ นั้น สมณพราหมณ์พวกใด มีถ้อยคำ และความเห็น ว่า “บุคคลได้รับสุข หรือทุกข์ หรือไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์ ทั้งหมดนั้น ไม่มีอะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัยเลย” ดังนี้ มีอยู่
เราเข้าไปหาสมณะพราหมณ์เหล่านั้น แล้วสอบถาม ความที่เขายังยืนยัน อยู่ดังนั้นแล้ว เรากล่าวกะเขาว่า “ถ้ากระนั้น (ในบัดนี้) คนที่ฆ่าสัตว์ … ลักทรัพย์ … ประพฤติผิด พรหมจรรย์ … พูดเท็จ … พูดคำหยาบ … พูดยุให้แตกกัน … พูดเพ้อเจ้อ … มีใจละโมบ เพ่งเล็ง … มีใจพยาบาท … มีความเห็นวิปริตเหล่านี้ อย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ นั่นก็ต้อง ไม่มีอะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัยเลยด้วย
เมื่อมัวแต่ถือเอา ความไม่มีอะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัยเลย มาเป็นสาระสำคัญ ดังนี้แล้ว คนเหล่านั้นก็ไม่มีความอยากทำ หรือความพยายามทำในข้อที่ว่า สิ่งนี้ควรทำ (กรณียกิจ) สิ่งนี้ไม่ควรทำ(อกรณียกิจ) อีกต่อไป
เมื่อกรณียกิจและอกรณียกิจ ไม่ถูกทำหรือถูกละเว้นให้จริงๆ จังๆ กันแล้ว คนพวก ที่ไม่มี สติคุ้มครองตนเหล่านั้น ก็ไม่มีอะไรที่จะมาเรียกตนว่าเป็นสมณะ อย่างชอบธรรมได้”ดังนี้
ติก. อํ. ๒๐/๒๒๔/๕๐๑.
๒๐)
เชื่อว่า“กรรม” ไม่มี อันตรายอย่างยิ่ง
ภิกษุทั้งหลาย ! ในบรรดาผ้าที่ทอด้วยสิ่งที่เป็น เส้นๆ กันแล้ว ผ้าเกสกัมพล (ผ้าทอด้วยผมคน) นับว่าเป็น ผ้าเลวที่สุด. ผ้าเกสกัมพลนี้ เมื่ออากาศหนาว มันก็เย็นจัด เมื่ออากาศร้อน มันก็ร้อนจัด. สีก็ไม่งาม กลิ่นก็เหม็น เนื้อก็กระด้าง ข้อนี้เป็นฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย ! ในบรรดาลัทธิต่างๆ ของเหล่าปุถุสมณะ (สมณะอื่นทั่วไป) แล้ว ลัทธิมักขลิวาท นับว่าเป็นเลวที่สุด ฉันนั้น
ภิกษุทั้งหลาย ! มักขลิโมฆบุรุษนั้น มีถ้อยคำ และ หลักความเห็นว่า “กรรมไม่มี กิริยาไม่มี ความเพียรไม่มี” (คือในโลกนี้อย่าว่าแต่จะมีผลกรรมเลย แม้แต่ตัวกรรม เองก็ไม่มี ทำอะไรเท่ากับ ไม่ทำ ในส่วนของกิริยาและความเพียร ก็มีนัย เช่นเดียวกัน).
ภิกษุทั้งหลาย ! แม้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ที่เคยมีแล้ว ในอดีตกาล นานไกล ท่านเหล่านั้นก็ล้วนแต่เป็นผู้กล่าวว่า มีกรรม มีกิริยา มีวิริยะ
มักขลิโมฆบุรุษ ย่อมคัดค้านพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นว่า ไม่มีกรรม ไม่มีกิริยา ไม่มีวิริยะ ดังนี้
ภิกษุทั้งหลาย ! แม้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ที่จักมีมาใน อนาคตกาล นานไกลข้างหน้า ท่านเหล่านั้นก็ล้วนแต่เป็นผู้กล่าวว่า มีกรรม มีกิริยามีวิริยะ
มักขลิโมฆบุรุษ ย่อมคัดค้าน พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เหล่านั้นว่า ไม่มีกรรม ไม่มีกิริยา ไม่มีวิริยะ ดังนี้
ภิกษุทั้งหลาย ! ในกาละนี้ แม้เราเองผู้เป็น อรหันตสัมมาสัมพุทธะ ก็เป็นผู้กล่าวว่า มีกรรม มีกิริยามีวิริยะ. มักขลิโมฆบุรุษ ย่อมคัดค้านเราว่า ไม่มีกรรม ไม่มีกิริยา ไม่มีวิริยะ ดังนี้
ภิกษุทั้งหลาย ! คนเขาวางเครื่องดักปลา ไว้ที่ปากแม่น้ำไม่ใช่เพื่อความเกื้อกูล แต่เพื่อความทุกข์ ความวอดวาย ความฉิบหาย แก่พวกปลาทั้งหลายฉันใด
มักขลิโมฆบุรุษเกิดขึ้นในโลก เป็นเหมือนกับ ผู้วางเครื่องดักมนุษย์ไว้ ไม่ใช่เพื่อความเกื้อกูล, แต่เพื่อ ความทุกข์ ความวอดวาย ความฉิบหาย แก่สัตว์ทั้งหลาย เป็นอันมาก ฉันนั้น
ผลของกรรม แบ่งโดยระยะเวลาให้ผลของกรรม ๒๑)
ระยะเวลาการให้ผลของกรรม
ภิกษุทั้งหลาย ! วิบาก (ผลแห่งการกระทำ) แห่งกรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าววิบากแห่งกรรมทั้งหลายว่ามีอยู่ ๓ อย่าง คือ
วิบากใน ทิฏฐธรรม (คือทันควัน)
หรือว่า
วิบากใน อุปปัชชะ (คือในเวลาต่อมา)
หรือว่า
วิบากใน อปรปริยายะ (คือในเวลาต่อมาอีก)
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรากล่าวว่า วิบากแห่งกรรมทั้งหลาย
๒๒)
ผู้ฉลาดในเรื่องวิบากแห่งกรรม
...บุคคลเป็นพราหมณ์ เพราะชาติ (กำเนิด) ก็หามิได้
...จะมิใช่พราหมณ์ เพราะชาติก็หามิได้
...บุคคลเป็นพราหมณ์ เพราะกรรม
...ไม่เป็นพราหมณ์ ก็เพราะกรรม.
...บุคคลเป็นชาวนา ก็เพราะกรรม
...เป็นศิลปิน ก็เพราะกรรม
...บุคคลเป็นพ่อค้า ก็เพราะกรรม
...เป็นคนรับใช้ ก็เพราะกรรม
...บุคคลแม้เป็นโจร ก็เพราะกรรม
...เป็นนักรบ ก็เพราะกรรม
...บุคคลเป็นปุโรหิต ก็เพราะกรรม
...แม้เป็นพระราชา ก็เพราะกรรม
บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมเห็นซึ่งกรรมนั้น ตามที่เป็นจริงอย่างนี้
ชื่อว่า เป็นผู้เห็นซึ่งปฏิจจสมุปบาท เป็นผู้ฉลาดในเรื่องวิบากแห่งกรรม.
โลก ย่อมเป็นไปตามกรรม หมู่สัตว์ ย่อมเป็นไปตามกรรม สัตว์ทั้งหลาย มีกรรม เป็นเครื่องรึงรัด เหมือนลิ่มสลักขันยึดรถที่กำาลังแล่นไปอยู่ ...
สุ. ขุ. ๒๕/๔๕๗/๓๘๒.
๒๓)
เหตุให้ได้ความเป็นผู้มีรูปงาม
มีทรัพย์มากและสูงศักดิ์
มัลลิกา! มาตุคามบางคนในโลกนี้ไม่เป็นผู้มักโกรธ ไม่มากไปด้วยความ คับแค้นใจ ถูกว่าแม้มากก็ไม่ขัดเคือง ไม่ฉุนเฉียว ไม่กระฟัดกระเฟียด ไม่กระด้างกระเดื่อง ไม่แสดงความโกรธ ความขัดเคืองและ ความไม่พอใจ ให้ปรากฏ
เป็นผู้ให้ทาน คือ ข้าว น้ำ เครื่องนุ่งห่ม ยานพาหนะ ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่ และประทีปโคมไฟ แก่สมณะหรือพราหมณ์และเป็น ผู้มีใจ ไม่ริษยา ย่อมไม่ ริษยา ไม่มุ่งร้าย ไม่ผูกใจอิจฉา ในลาภ-สักการะ ความเคารพ ความนับถือ การไหว้ และการบูชา ของคนอื่น
ถ้ามาตุคามนั้นจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว มาสู่ ความเป็นอย่างนี้กลับมาเกิด ในชาติใดๆ ย่อมเป็น ผู้มีรูปงาม น่าด ูน่าชม ประกอบด้วยความเป็นผู้มี ผิวพรรณงาม ยิ่งนัก ทั้งเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคสมบัติมากและสูงศักดิ์.
จตุกฺก. อํ. ๒๑/๒๗๘/๑๙๗.
๒๔)
ผลของให้ทานแบบต่างๆ
ภิกษุทั้งหลาย ! สัปปุริสทาน ๕ ประการนี้ ๕ ประการอย่างไรเล่ า? คือ
๑. ย่อมให้ทานด้วยศรัทธา
๒. ย่อมให้ทานโดยเคารพ
๓. ย่อมให้ทานโดยกาลอันควร
๔. เป็นผู้มีจิตอนุเคราะห์ให้ทาน
๕. ย่อมให้ทานไม่กระทบตนและไม่กระทบผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย ! สัตบุรุษ
(๑) ครั้นให้ทานด้วยศรัทธาแล้ว ย่อมเป็น ผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคทรัพย์มาก และเป็นผู้มีรูปสวยงาม น่าดูน่าเลื่อมใส ประกอบด้วยผิวพรรณงามยิ่งนัก ในที่ที่ทานนั้นให้ผล
(๒) ครั้นให้ทานโดยเคารพแล้ว ย่อมเป็น ผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคทรัพย์มาก และเป็นผู้มีบุตรภรรยา ทาส คนใช้หรือคนงาน เป็นผู้เชื่อฟัง เงี่ยโสตลงสดับ คำสั่ง ตั้งใจใคร่รู้ ในที่ที่ทานนั้นให้ผล
(๓) ครั้นให้ทานโดยกาลอันควรแล้ว ย่อมเป็น ผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคทรัพย์มาก และย่อมเป็นผู้มีความต้องการที่เกิดขึ้นตามกาล บริบูรณ์ ในที่ที่ทานนั้นให้ผล
(๔) ครั้นเป็นผู้มีจิตอนุเคราะห์ให้ทานแล้ว ย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคทรัพย์มาก และเป็นผู้มีจิตน้อมไปเพื่อบริโภคกามคุณ ๕ สูงยิ่งขึ้น ในที่ที่ทานนั้นให้ผล
(๕) ครั้นให้ทานไม่กระทบตนและไม่กระทบ ผู้อื่นแล้ว ย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคทรัพย์มาก และย่อมเป็นผู้มีโภคทรัพย์ไม่มีภยันตราย มาแต่ที่ไหนๆ คือ จากไฟ จากน้ำ จากพระราช า จากโจร จากคนไม่เป็นที่รัก หรือจากทายาท ในที่ที่ทานนั้นให้ผล
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้แลสัปปุริสทาน ๕ ประการ
ปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๙๒/๑๔๘.
๒๕)
กรรมที่ทำให้ได้รับผลเป็นความไม่ตกต่ำ
ภิกษุทั้งหลาย ! แ ต่ ชา ติ ที่ แ ล้ ว มา แ ต่ อ ดี ต ตถาคตได้เคยเจริญเมตตา ภาวนา ตลอด ๗ ปี จึงไม่เคย มาบังเกิดในโลกมนุษย์นี้ตลอด ๗ สังวัฏฏกัป และ วิวัฏฏกัปป์. ในระหว่างกาลอันเป็น สังวัฏฏกัปป์นั้น เราได้บังเกิดใน อาภัสสรพรหม. ในระหว่างกาล อันเป็น วิวัฏฏกัปป์นั้น เราก็ได้อยู่พรหมวิมาน อันว่างเปล่าแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย ! ในกัปป์นั้น เราได้เคยเป็น พรหม ได้เคยเป็น มหาพรหม ผู้ยิ่งใหญ่ ไม่มีใครครอบงำได้ เป็นผู้เห็นสิ่งทั้งปวงโดยเด็ดขาด เป็นผู้มีอำนาจ สูงสุด
ภิกษุทั้งหลาย ! เราได้เคยเป็นสักกะ ผู้เป็นจอมแห่งเทวดา นับได้ ๓๖ ครั้ง เราได้เคยเป็นราชา จักรพรรดิผู้ประกอบด้วยธรรม เป็นพระราชา โดยธรรม มีแว่นแคว้นจดมหาสมุทรทั้งสี่ เป็นที่สุด
เป็นผู้ชนะแล้ว อย่างดี มีชนบทอันบริบูรณ์ประกอบด้วยแก้วเจ็ดประการ นับด้วยร้อยๆ ครั้ง ทำไมจะต้องกล่าวถึงความเป็นราชา ตามธรรมดาด้วย.
ภิกษุทั้งหลาย ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราว่า ผลวิบากแห่งกรรมอะไรของเราหนอ ที่ทำาให้เราเป็นผู้มีฤทธิ์มากถึงอย่างนี้ มีอานุภาพมากถึงอย่างนี้ ในครั้งนั้นๆ
ภิกษุทั้งหลาย ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า ผลวิบากแห่งกรรม ๓ อย่างนี้แล ที่ทำให้เรามีฤทธิ์มาก ถึงอย่างนี้ มีอานุภาพมากถึงอย่างนี้
วิบากแห่งกรรม ๓ อย่าง ในครั้งนั้น คือ
ผลวิบากแห่งทาน (การให้) ๑
ผลวิบากแห่งทมะ (การบีบบังคับใจ) ๑
ผลวิบากแห่งสัญญมะ (การสำรวมระวัง) ๑
ดังนี้.
|