เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
  
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ            

  ฆราวาสชั้นเลิศ-พุทธวจน ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
  2 of 3  
 
  ฆราวาสชั้นเลิศ พุทธวจน  ที่มา : http://watnapp.com/book  
       
    สารบัญ หน้า  
  ๙. เหตุเจริญและเหตุเสื่อมแห่งทรัพย์ ๔ ประการ 45  
  ๑๐. หลักดำ รงชีพเพื่อประโยชน์สุขในเวลาถัดต่อมา 50  
  ๑๑. ฆราวาสชั้นเลิศ 54  
  ๑๒. นรกที่ร้ายกาจของมนุษย์ 56  
  ๑๓. วาจาของสัตบุรุษ 61  
  ๑๔. วาจาของอสัตบุรุษ 64  
  ๑๕. วิธีปฏิบัติทางจิต 67  
       
  เมื่อถูกติเตียนหรือทำ ร้ายร่างกาย    
  ๑๖. การวางจิตเมื่อถูกกล่าวหา 70  
  ๑๗. วาจาของสะใภ้ใหม่ 74  
  ๑๘. วาจาที่ไม่มีโทษ 77  
  ๑๙. คู่บุพเพสันนิวาส 79  
  ๒๐. ภรรยา ๗ จำ พวก 81  
  ๒๑. มนุษย์ผี 86  
  ๒๒. เข้าใจเรื่องกรรม 91  
       
 
 





หน้า 45



เหตุเจริญและเหตุเสื่อมแห่งทรัพย์ ๔ ประการ

พ๎ยัคฆปัชชะ ! ปากทางแห่งความเสื่อม ๔ประการ ของโภคทรัพย์ที่เกิดขึ้นพร้อมแล้วอย่างนี้ มีอยู่ คือ :-ความเป็นนักเลงหญิง นักเลงสุรา นักเลงการพนัน และมีมิตรสหายเพื่อนฝูงเลวทราม.

พ๎ยัคฆปัชชะ ! เปรียบเหมือนทางน้ำเข้า ๔ ทางทางน้ำออก ๔ ทาง ของบึงใหญ่มีอยู่ บุรุษปิดทางน้ำเข้าเหล่านั้นเสีย และเปิดทางน้ำออกเหล่านั้น ด้วย ทั้งฝนก็ไม่ตกลงมาตามที่ควร.

พ๎ยัคฆปัชชะ ! เมื่อเป็นอย่างนั้น ความเหือดแห้งเท่านั้นที่หวังได้สำหรับบึงใหญ่นั้น ความเต็มเปี่ยมไม่มีทางที่จะหวังได้ นี้ฉันใด

พ๎ยัคฆปัชชะ ! ผลที่จะเกิดขึ้นก็ฉันนั้นสำหรับโภคทรัพย์ที่เกิดขึ้นพร้อมแล้วอย่างนี้ ที่มีปากทางแห่งความเสื่อม ๔ ประการ คือ ความเป็นนักเลงหญิงเป็นนักเลงสุรา เป็นนักเลงการพนัน และมีมิตรสหายเพื่อนฝูงเลวทราม.

พ๎ยัคฆปัชชะ ! ปากทางแห่งความเจริญ ๔ประการ ของโภคทรัพย์ที่เกิดขึ้นพร้อมแล้วอย่างนี้มีอยู่ คือความ ไม่เป็นนักเลงหญิง ไม่เป็นนักเลงสุรา ไม่เป็นนักเลงการพนัน และมีมิตรสหายเพื่อนฝูงที่ดีงาม.

พ๎ยัคฆปัชชะ ! เปรียบเหมือนทางน้ำเข้า ๔ ทางทางน้ำออก ๔ ทาง ของบึงใหญ่ บุรุษเปิดทางนํ้าเข้า เหล่านั้นด้วย และปิดทางน้ำออกเหล่านั้นเสีย ทั้งฝนก็ตกลงมาตามที่ควรด้วย.

พ๎ยัคฆปัชชะ ! เมื่อเป็นอย่างนั้น ความเต็มเปี่ยมเท่านั้นที่หวังได้สำหรับบึงใหญ่นั้น ความเหือดแห้ง เป็นอันไม่ต้องหวัง นี้ฉันใด

พ๎ยัคฆปัชชะ ! ผลที่จะเกิดขึ้นก็ฉันนั้น สำหรับโภคะที่เกิดขึ้นพร้อมแล้วอย่างนี้ ที่มีปากทางแห่ง ความเจริญ ๔ ประการ คือ ความไม่เป็นนักเลงหญิง ไม่เป็นนักเลงสุราไม่เป็นนักเลงการพนัน และมีมิตรสหายเพื่อนฝูงที่ดีงาม.

พ๎ยัคฆปัชชะ ! ธรรมทั้ง ๔ ประการ เหล่านี้แลเป็นธรรมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขของ กุลบุตร ในทิฏฐธรรม (ในปัจจุบัน).

ธรรม ๔ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เพื่อความสุขในภายหน้าแก่กุลบุตร

ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ
สัทธาสัมปทา ๑
สีลสัมปทา ๑
จาคสัมปทา ๑
ปัญญาสัมปทา ๑

หน้า 50

๑๐
หลักดำรงชีพเพื่อประโยชน์สุขในเวลาถัดต่อมา

พ๎ยัคฆปัชชะ ! ธ ร ร ม ๔ ป ร ะ ก า ร เ ห ล่า นี้เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขของกุลบุตร ในสัมปรายะ (ในเวลาถัดต่อมา) ๔ ประการ อย่างไรเล่า ?

๔ ประการคือ :-
สัทธาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา)
สีลสัมปทา   (ความถึงพร้อมด้วยศีล)
จาคสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยการบริจาค)
ปัญญาสัมปทา     (ความถึงพร้อมด้วยปัญญา)

พ๎ยัคฆปัชชะ ! สัทธาสัมปทา เป็นอย่างไรเล่า ?
พ๎ยัคฆปัชชะ ! กุลบุตรในกรณีนี้ เป็นผู้มีศรัทธา
เชื่อในการตรัสรู้ของตถาคตว่า “เพราะเหตุอย่างนี้ๆพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส เป็นผู้ ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง เป็นผู้ถึงพร้อม ด้วยวิชชาและข้อปฏิบัติให้ถึงวิชชา เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง เป็นผู้สามารถฝึกคนที่ควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครู ผู้สอนของเทวดา และมนุษย์ทั้งหลายเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม เป็นผู้มีความจำเริญจำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์” ดังนี้.

พ๎ยัคฆปัชชะ ! นี้เรียกว่า สัทธาสัมปทา.

พ๎ยัคฆปัชชะ ! สีลสัมปทา เป็นอย่างไรเล่า ?
พ๎ยัคฆปัชชะ ! กุลบุตรในกรณีนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต เป็นผู้เว้นขาดจากอทินนาทาน เป็นผู้เว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร เป็นผู้เว้นขาด จากมุสาวาทเป็นผู้เว้นขาด จากสุราเมรยมัชชปมา ทัฏฐาน.
พ๎ยัคฆปัชชะ ! นี้เราเรียกว่า สีลสัมปทา.

พ๎ยัคฆปัชชะ ! จาคสัมปทา เป็นอย่างไรเล่า ?
พ๎ยัคฆปัชชะ ! กุลบุตรในกรณีนี้ มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน อยู่ครองเรือน มีจาคะอัน ปล่อยอยู่เป็นประจำ มีฝ่ามืออันชุ่มเป็นปกติ ยินดีแล้วในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีแล้วในการจำแนก ทาน.
พ๎ยัคฆปัชชะ ! นี้เรียกว่า จาคสัมปทา.

พยัคฆปัชชะ ! ปัญญาสัมปทา เป็นอย่างไรเล่า ?
พ๎ยัคฆปัชชะ ! กุลบุตรในกรณีนี้ เป็นผู้มีปัญญาประกอบด้วยปัญญา เครื่องให้ถึงสัจจะแห่งการเกิดดับ เป็นเครื่องไปจากข้าศึก เป็นเครื่องเจาะแทง กิเลสเป็นเครื่องถึงซึ่งความสิ้นไปแห่งทุกข์โดยชอบ.
พ๎ยัคฆปัชชะ ! นี้เราเรียกว่า ปัญญาสัมปทา.

พ๎ยัคฆปัชชะ ! ธรรม ๔ ประการเหล่านี้แลเป็นธรรมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขของกุลบุตร ในสัมปรายะ (ในเวลาถัดต่อมา).

กามโภคีบุคคลผู้แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม โดยไม่ทารุณครั้นแสวงหาได้แล้ว ย่อมเลี้ยงตน ให้เป็นสุขให้อิ่มหนำ แจกจ่าย กระทำบุญ และเป็นผู้ไม่กำหนัด ไม่หมกมุ่น ไม่จดจ่อ เห็นโทษมีปัญญา เป็นเครื่องสลัดออก บริโภคโภคทรัพย์นั้นนี้เป็นผู้เลิศประเสริฐ เป็นใหญ่สูงสุด

หน้า 54

๑๑
ฆราวาสชั้นเลิศ

คหบดี ! ในบรรดากามโภคีเหล่านั้น กามโภคีผู้ใด แสวงหาโภคทรัพย์โดยธรรม โดยไม่เครียดครัดด้วย ครั้นแสวงหาโภคทรัพย์โดยธรรม โดยไม่ เครียดครัดแล้ว ทำตนให้เป็นสุข ให้อิ่มหนำ แบ่งปัน โภคทรัพย์ บำเพ็ญบุญด้วย ไม่กำหนัด ไม่มัวเมา ไม่ลุ่มหลง มีปกติ เห็นโทษ มีปัญญา เป็นเครื่องสลัด ออก บริโภคโภคทรัพย์เหล่านั้นอยู่ด้วย

คหบดี ! กามโภคีผู้นี้ ควรสรรเสริญโดยฐานะทั้งสี่ คือ ควรสรรเสริญโดยฐานะที่หนึ่งในข้อที่เขา แสวงหาโภคทรัพย์โดยธรรมโดยไม่เครียดครัด ควรสรรเสริญโดยฐานะที่สองในข้อที่เขา ทำตนให้เป็นสุข ให้อิ่มหนำ ควรสรรเสริญโดยฐานะที่สามในข้อที่เขา แบ่งปันโภคทรัพย์ บำเพ็ญบุญ ควรสรรเสริญโดยฐานะที่สี่ในข้อที่เขา ไม่กำหนัดไม่มัวเมา ไม่ลุ่มหลงมีปกติเห็นโทษ มีปัญญาเป็น เครื่องสลัดออกบริโภคโภคทรัพย์เหล่านั้น.

คหบดี ! กามโภคีผู้นี้ ควรสรรเสริญโดยฐานะทั้งสี่เหล่านี้.

คหบดี ! กามโภคีจำพวกนี้ เป็นกามโภคีชั้นเลิศ ชั้นประเสริฐ ชั้นหัวหน้า ชั้นสูงสุด ชั้นบวรกว่ากามโภคี ทั้งหลาย เปรียบเสมือนนมสด เกิดจาก แม่โคนมส้ม เกิดจากนมสด เนยข้นเกิดจากนมส้ม เนยใสเกิดจากเนยข้น หัวเนยใสเกิดจากเนยใส หัวเนยใสปรากฏว่า เลิศกว่าบรรดารส อันเกิดจากโค ทั้งหลาย เหล่านั้น ข้อนี้ฉันใด กามโภคีจำพวกนี้ ก็ปรากฏว่าเลิศกว่าบรรดากามโภคีทั้งหลายเหล่านั้น ฉันนั้น แล.

หน้า 56

๑๒

นรกที่ร้ายกาจของมนุษย์

ภิกษุทั้งหลาย ! นรกชื่อว่า มหาปริฬาหะ มีอยู่.

ในนรกนั้น บุคคลยังเห็นรูปอย่างใดอย่างหนึ่งได้ด้วยจักษุ (ตา) แต่ได้เห็นรูป ที่ไม่น่าปรารถนา อย่างเดียว ไม่เห็นรูปที่น่าปรารถนาเลย เห็นรูปที่ไม่น่าใคร่อย่างเดียว ไม่เห็นรูปที่น่าใคร่เลย เห็นรูปที่ไม่น่าพอใจอย่างเดียว ไม่เห็นรูปที่น่าพอใจเลย.

ในนรกนั้น บุคคลยังฟังเสียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้ด้วยโสตะ (หู)...
ในนรกนั้น บุคคลยังรู้สึกกลิ่นอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้ด้วยฆานะ (จมูก)...
ในนรกนั้น บุคคลยังลิ้มรสอย่างใดอย่างหนึ่งได้ ด้วยชิวหา (ลิ้น)...
ในนรกนั้น บุคคลยังถูกต้องโผฏฐัพพะอย่างใด อย่างหนึ่งได้ด้วยกาย...
ในนรกนั้น บุคคลยังรู้สึกธรรมารมณ์อย่างใด อย่างหนึ่งได้ด้วยมโน (ใจ)

แต่ได้รู้สึกธรรมารมณ์ ที่ไม่น่าปรารถนาอย่างเดียว ไม่ได้รู้สึกธรรมารมณ์ที่น่าปรารถนาเลย

ได้รู้สึกธรรมารมณ์ที่ไม่น่าใคร่อย่างเดียว ไม่ได้รู้สึก ธรรมารมณ์ที่น่าใคร่เลย

ได้รู้สึกธรรมารมณ์ที่ไม่น่าพอใจอย่างเดียว ไม่ได้ รู้สึกธรรมารมณ์ที่น่าพอใจ เลย.

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถาม พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ความเร่าร้อนนั้น ใหญ่หลวงหนอ.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ความเร่าร้อนนั้น ใหญ่หลวงนักหนอ.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! มีไหม พระเจ้าข้า ความร้อนอื่นที่ใหญ่ หลวงกว่า น่ากลัวกว่า กว่าความร้อนนี้ ?”.

ภิกษุทั้งหลาย ! มีอยู่ ความเร่าร้อนอื่น ที่ใหญ่หลวงกว่า น่ากลัวกว่า กว่าความร้อนนี้
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ก็ความร้อนอื่นที่ใหญ่หลวงกว่า น่ากลัวกว่า กว่าความร้อนนี้เป็น อย่างไรเล่า ?”

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง
ว่า“ทุกข์ เป็นอย่างนี้ๆ ”
ว่า“เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ๆ ”
ว่า“ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์เป็นอย่างนี้ๆ”
ว่า“ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์เป็นอย่างนี้”

สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมยินดียิ่งในสังขารทั้งหลาย อันเป็นไปพร้อมเพื่อชาติชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัสอุปายาส สมณพราหมณ์ เหล่านั้น ครั้นยินดียิ่งในสังขาร ทั้งหลาย เช่นนั้นแล้ว ย่อมปรุงแต่ง ซึ่งสังขารทั้งหลายอันเป็นไปพร้อม เพื่อชาติชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาส

สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น ครั้นปรุงแต่งซึ่งสังขารทั้งหลายเช่นนั้นแล้ว ย่อมเร่าร้อน เพราะความ เร่าร้อนแห่งชาติ (ความเกิด) บ้าง ย่อมเร่าร้อนเพราะความเร่าร้อนแห่ง ชราบ้าง ย่อมเร่าร้อนเพราะความ เร่าร้อน แห่งมรณะบ้าง ย่อมเร่าร้อนเพราะความเร่าร้อน แห่งโสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัสอุปายาสบ้าง

เรากล่าวว่า “สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมไม่พ้นจากชาติชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะ โทมนัสอุปายาส ทั้งหลาย คือไม่พ้นจากทุกข์” ดังนี้.

แม้มีใครถามถึงความไม่ดีของบุคคลอื่นก็ไม่เปิดเผยให้ปรากฏ จะกล่าวทำไม ถึงเมื่อไม่ถูก ใครถาม ก็เมื่อถูกใครถามถึงความไม่ดีของบุคคลอื่น ก็นำเอาปัญหาไปทำให้หลีกเลี้ยว ลดหย่อนลง กล่าวความไม่ดีของผู้อื่่นอย่าง ไม่พิสดารเต็มที่ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนี้พึงรู้กันเถิดว่าคนคนนี้ เป็น สัตบุรุษ.

หน้า  61

๑๓

วาจาของสัตบุรุษ

ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลประกอบด้วยธรรม
๔ ประการ เป็นที่รู้กันว่าเป็นสัตบุรุษ.
๔ ประการ อย่างไรเล่า ?

๔ ประการ คือ

ภิกษุทั้งหลาย ! สัตบุรุษในกรณีนี้ แม้มีใครถามถึงความไม่ดีของบุคคลอื่น ก็ไม่เปิดเผย ให้ปรากฏ จะกล่าวทำไมถึงเมื่อไม่ถูกใครถาม ก็เมื่อถูกใคร ถามถึงความไม่ดีของบุคคลอื่น ก็นำเอาปัญหาไปทำ ให้หลีกเลี้ยวลดหย่อนลง กล่าวความไม่ดีของผู้อื่นอย่างไม่พิสดาร เต็มที่. ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนี้พึงรู้กันเถิดว่าคนคนนี้ เป็น สัตบุรุษ.

ภิกษุทั้งหลาย ! สัตบุรุษอย่างอื่นยังมีอีก คือแม้ไม่ถูกใครถามอยู่ถึงความดีของบุคคลอื่น ก็ยังนำมาเปิดเผยให้ปรากฏ จะต้องกล่าว ทำไม ถึงเมื่อถูกใครถาม ก็เมื่อถูกใครถามถึง ความดีของบุคคลอื่น ก็นำเอาปัญหา ไปทำให้ ไม่หลีกเลี้ยวลดหย่อน กล่าวความดี ของผู้อื่นโดยพิสดารบริบูรณ์. ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนี้พึงรู้กันเถิดว่าคนคนนี้ เป็น สัตบุรุษ.

ภิกษุทั้งหลาย ! สัตบุรุษอย่างอื่นยังมีอีก คือแม้ไม่มีใครถามถึงความไม่ดีของตน ก็ยังนำมาเปิดเผย ทำให้ปรากฏ ทำไมจะต้องกล่าวถึงเมื่อถูกถาม เล่า ก็เมื่อถูกใครถาม ถึงความไม่ดีของตน ก็ไม่นำเอา ปัญหาไปหาทางทำให้ ลดหย่อนบิดพลิ้ว แต่กล่าว ความไม่ดีของตนโดยพิสดารเต็มที่. ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนี้พึงรู้กันเถิดว่าคนคนนี้ เป็น สัตบุรุษ.

ภิกษุทั้งหลาย ! สัตบุรุษอย่างอื่นยังมีอีก คือแม้มีใครถามถึงความดีของตน ก็ไม่เปิดเผย ให้ปรากฏ ทำไมจะต้องกล่าวถึงเมื่อไม่ถูกใครถามเล่า ก็เมื่อถูกใครถามถึงความดีของตน ก็นำเอาปัญหาไปกระทำ ให้ลดหย่อน หลีกเลี้ยวเสีย กล่าวความดีของตนโดยไม่พิสดาร เต็มที่. ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนี้พึงรู้กันเถิดว่าคนคนนี้ เป็น สัตบุรุษ.

ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเหล่านี้แล เป็นที่รู้กันว่าเป็น สัตบุรุษ.

หน้า 64


๑๔

วาจาของ อสัตบุรุษ

ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เป็นที่รู้กันว่าเป็น อสัตบุรุษ.
๔ ประการ อย่างไรเล่า ? ๔ ประการ คือ

ภิกษุทั้งหลาย ! อสัตบุรุษในกรณีนี้ แม้ไม่มีใครถามถึงความไม่ดี ของบุคคลอื่น ก็นำมา เปิดเผยให้ปรากฏ ไม่ต้องกล่าวถึงเมื่อถูกใครถาม ก็เมื่อถูกใครถามถึง ความไม่ดี ของบุคคลอื่น ก็นำเอาปัญหาไปทำให้ไม่มี ทางหลีกเลี้ยวลดหย่อน แล้วกล่าวความไม่ดี ของผู้อื่นอย่างเต็มที่โดยพิสดาร. ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนี้พึงรู้กันเถิดว่า คนคนนี้ เป็น อสัตบุรุษ.

ภิกษุทั้งหลาย ! อสัตบุรุษ อย่างอื่นยังมีอีก คือแม้ถูกใครถามอยู่ถึงความดีของบุคคลอื่น ก็ไม่เปิดเผย ให้ปรากฏ ไม่ต้องกล่าวถึงเมื่อไม่ถูกใครถาม ก็เมื่อถูกใครถามถึงความดี ของบุคคลอื่น ก็นำเอาปัญหา ไปทำให้ลดหย่อน ไขว้เขวแล้ว กล่าวความดีของผู้อื่นอย่าง ไม่พิสดารเต็มที่. ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนี้พึงรู้กันเถิดว่า คนคนนี้ เป็น อสัตบุรุษ.

ภิกษุทั้งหลาย ! อสัตบุรุษอย่างอื่นยังมีอีก คือแม้ถูกใครถามถึงความไม่ดีของตน ก็ปกปิดไม่เปิดเผย ให้ปรากฏ ไม่ต้องกล่าวถึงเมื่อไม่ถูกใครถาม ก็เมื่อถูกใครถามถึงความ ไม่ดีของตน ก็นำเอาปัญหา ไปทำให้ลดหย่อน ไขว้เขว แล้วกล่าวความไม่ดีของตนอย่าง ไม่พิสดารเต็มที่. ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนี้พึงรู้กันเถิดว่า คนคนนี้ เป็น อสัตบุรุษ.

ภิกษุทั้งหลาย ! อสัตบุรุษอย่างอื่นยังมีอีก คือแม้ไม่มีใครถามถึงความดีของตน ก็นำมา โอ้อวด เปิดเผยจะกล่าวทำไมถึงเมื่อถูกใครถาม ก็เมื่อถูกใครถามถึงความดีของตน ก็นำเอาปัญหาไปทำให้ ไม่ลดหย่อนหลีกเลี้ยว กล่าวความดีของตนอย่างเต็มที่ โดยพิสดาร. ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนี้พึงรู้กันเถิดว่า คนคนนี้เป็น อสัตบุรุษ.

ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ประการเหล่านี้แล เป็นที่รู้กันว่าเป็น อสัตบุรุษ.

“ความหวั่นไหวโยกโคลงแห่งกายก็ตามความหวั่นไหวโยกโคลงแห่งจิตก็ตามย่อมมีไม่ได้ เพราะการเจริญ ทำให้มากซึ่งอานาปานสติสมาธิ”

หน้า  67


๑๕
วิธีปฏิบัติทางจิต เมื่อถูกติเตียนหรือถูกทำร้ายร่างกาย

ผัคคุนะ ! ถ้ามีใครกล่าวติเตียนเธอต่อหน้า
ผัคคุนะ ! ในกรณีเช่นนั้นเธอพึงละฉันทะและวิตกชนิดที่เป็นวิสัยแห่งชาวบ้านเสีย.

ผัคคุนะ ! ในกรณีเช่นนั้นเธอพึงทำความสำเหนียกอย่างนี้ว่า“จิตของเราจักไม่แปรปรวน เราจักไม่กล่าว วาจาอันเป็นบาป เราจักเป็นผู้มีจิตเอ็นดูเกื้อกูล มีจิตประกอบด้วยเมตตา ไม่มีโทสะในภายใน” ดังนี้.

ผัคคุนะ ! เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้.
ผัคคุนะ ! ถ้ามีใครประหารเธอด้วยฝ่ามือด้วยก้อนหิน ด้วยท่อนไม้ หรือด้วยศัสตรา ผัคคุนะ ! ในกรณีแม้เช่นนั้นเธอก็พึงละฉันทะและวิตกชนิดที่เป็นวิสัยแห่งชาวบ้านเสีย.

ผัคคุนะ ! ในกรณีเช่นนั้นเธอพึงทำความสำเหนียกอย่างนี้ว่า“จิตของเราจักไม่แปรปรวน เราจักไม่กล่าว วาจาอันเป็นบาป เราจักเป็นผู้มีจิตเอ็นดูเกื้อกูล มีจิตประกอบด้วยเมตตา ไม่มีโทสะในภายใน” ดังนี้.

ผัคคุนะ ! เธอพึงทำการสำเหนียกอย่างนี้ แล.

ในยุคไหนก็ตาม เวรทั้งหลายไม่เคยระงับได้ ด้วยการผูกเวรเลยแต่ระงับได้ ด้วยการไม่มีการ ผูกเวรธรรมนี้ เป็นของเก่า ใช้ได้ตลอด

หน้า 70

๑๖
การวางจิตเมื่อถูกกล่าวหา

ภิกษุทั้งหลาย ! ทางแห่งถ้อยคำที่บุคคลอื่นจะพึงกล่าวหาเธอ ๕ อย่าง เหล่านี้ มีอยู่ คือ :-
๑. กล่าวโดยกาลหรือโดยมิใช่กาล
๒. กล่าวโดยเรื่องจริงหรือโดยเรื่องไม่จริง
๓. กล่าวโดยอ่อนหวานหรือโดยหยาบคาย
๔. กล่าวด้วยเรื่องมีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์
๕. กล่าวด้วยมีจิตเมตตาหรือมีโทสะในภายใน

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อเขากล่าวอยู่อย่างนั้นในกรณีนั้นๆ เธอพึงทำการสำเหนียกอย่างนี้ว่า “จิตของเรา จักไม่แปรปรวน เราจักไม่กล่าววาจา อันเป็นบาป เราจักเป็น ผู้มีจิตเอ็นดู เกื้อกูล มีจิตประกอบด้วยเมตตา ไม่มีโทสะในภายใน อยู่, จักมีจิตสหรคต ด้วยเมตตาแผ่ ไปยังบุคคลนั้น อยู่ และจักมี จิตสหรคต ด้วยเมตตา อันเป็นจิตไพบูลย์ ใหญ่หลวงไม่มี ประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่โลกถึงที่สุดทุกทิศทาง มีบุคคลนั้น เป็นอารมณ์ แล้วแลอยู่” ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! เธอพึงทำการสำเนียกอย่างนี้แล.

ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าโจรผู้คอยช่อง พึงเลื่อยอวัยวะน้อยใหญ่ของใครด้วย เลื่อยมีด้าม สองข้าง ผู้ใดมีใจ ประทุษร้ายในโจรนั้น ผู้นั้นชื่อว่าไม่ทำตามคำสอนของเรา เพราะเหตุ ที่มีใจประทุษร้าย ต่อโจรนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนั้นเธอพึงทำการสำเหนียกอย่างนี้ว่า “จิตของเราจักไม่แปรปรวน เราจักไม่กล่าว วาจาอันเป็นบาป เราจักเป็นผู้มีจิตเอ็นดู เกื้อกูล มีจิตประกอบด้วยเมตตา ไม่มีโทสะในภายในอยู่ จักมีจิตสหรคตด้วยเมตตาแผ่ไปยังบุคคลนั้นอยู่ และจักมีจิต สหรคตด้วยเมตตา อันเป็นจิต ไพบูลย์ ใหญ่หลวงไม่มี ประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่โลกถึงที่สุดทุกทิศทาง มีบุคคลนั้นเป็นอารมณ์ แล้วแลอยู่” ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย !เธอพึงทำการสำเนียกอย่างนี้แล.

ภิกษุทั้งหลาย ! เธอพึงกระทำในใจถึงโอวาทอันเปรียบด้วยเลื่อยนี้ อยู่เนืองๆ เถิด.

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อเธอทำในใจถึงโอวาทนั้นอยู่เธอจะได้เห็นทาง แห่งการกล่าวหาเล็ก หรือใหญ่ ที่เธออดกลั้น ไม่ได้ อยู่อีกหรือ ?

“ข้อนั้นหามิได้พระเจ้าข้า !”.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้พวกเธอทั้งหลาย จงกระทำในใจถึงโอวาท อันเปรียบด้วยเลื่อยนี้ อยู่เป็นประจำเถิด นั่นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล และความสุข แก่เธอ ทั้งหลายตลอดกาลนาน.

“พึงศึกษาว่า ‘เราจักไม่พูดถ้อยคำซึ่งจะเป็นเหตุให้ทุ่มเถียงกัน’ เมื่อมีถ้อยคำ ซึ่งจะเป็นเหตุให้ทุ่มเถียง กันก็จำต้องหวังการพูดมาก เมื่อมีการพูดมาก ย่อมคิดฟุ้งซ่าน เมื่อคิดฟุ้งซ่าน ย่อมไม่สำรวม เมื่อไม่ สำรวม จิตย่อมห่างจากสมาธิ”

หน้า 74

๑๗
วาจาของสะใภ้ใหม่

ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนหญิงสะใภ้ใหม่อันเขาเพิ่งนำมาชั่วคืนชั่ววัน ตลอดเวลาเท่านั้น ก็ยังมีความละอายและความกลัวที่ดำรงไว้ได้ อย่างเข้มแข็ง ในแม่ผัวบ้างในพ่อผัวบ้าง ในสามีบ้าง แม้ที่สุดแต่ในทาสกรรมกรคนใช้.

ครั้นล่วงไปโดยสมัยอื่น เพราะอาศัยความคุ้นเคยกันหญิงสะใภ้นั้น ก็ตวาดแม่ผัวบ้าง พ่อผัวบ้าง แม้แต่กะสามีว่า “หลีกไปๆ พวกแกจะรู้อะไร” นี้ฉันใด

ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนี้ก็ฉันนั้น : ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ออกบวชจากเรือน เป็นผู้ไม่มี เรือนได้ชั่วคืน ชั่ววัน ตลอดเวลาเพียงเท่านั้น หิริและ โอตตัปปะของเธอนั้น ยังดำรงอยู่ อย่างเข้มแข็ง ในภิกษุ ในภิกษุณี ในอุบาสกในอุบาสิกา แม้ที่สุดแต่ในคนวัด และสามเณร.

ครั้นล่วงไปโดยสมัยอื่น เพราะอาศัยความคุ้นเคยกันเธอก็กล่าว ตวาดอาจารย์บ้าง อุปัชฌาย์บ้างว่า “หลีกไปๆพวกท่านจะรู้อะไร” ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้เธอทั้งหลายพึงทำการฝึกหัดศึกษาอย่างนี้ว่า “เราจักอยู่อย่าง มีจิตเสมอกันกับหญิงสะใภ้ใหม่ ผู้มาแล้วไม่นาน” ดังนี้.

ตถาคตรู้ชัดซึ่งวาจาใด อันจริง อันแท้ประกอบด้วยประโยชน์แต่ไม่เป็นที่รักที่พึงใจ ของผู้อื่น ตถาคตย่อมเลือกให้เหมาะกาลเพื่อกล่าววาจานั้น

หน้า 77


๑๘
วาจาที่ไม่มีโทษ

ภิกษุทั้งหลาย ! วาจาอันประกอบด้วยองค์ ๕ประการ เป็นวาจาสุภาษิต ไม่เป็นวาจาทุพภาษิต เป็นวาจาไม่มีโทษและวิญญูชนไม่ติเตียน.

องค์ ๕ ประการ อย่างไรเล่า ?
๕ ประการ คือ :-
กล่าวแล้วควรแก่เวลา (กาเลน ภาสิตา โหติ).
กล่าวแล้วตามสัจจ์จริง (สจฺจ ภาสิตา โหติ).
กล่าวแล้วอย่างอ่อนหวาน (สณฺหา ภาสิตา โหติ).
กล่าวแล้วอย่างประกอบด้วยประโยชน์
(อตฺถสญฺหิตา ภาสิตา โหติ).
กล่าวแล้วด้วยเมตตาจิต
(เมตตฺตจตฺเตน ภาสิตา โหติ).

ภิกษุทั้งหลาย ! วาจาอันประกอบด้วยองค์ ๕ประการเหล่านี้แล เป็นวาจาสุภาษิต ไม่เป็นวาจาทุพภาษิต เป็นวาจาไม่มีโทษและวิญญูชนไม่ติเตียน.

อนึ่ง คนเราเมื่อมีการอยู่ร่วมกันกับคนที่สะอาดหรือคนที่ไม่สะอาด ก็ตามต้องมีสติกำกับอยู่ ด้วยเสมอ แต่นั้นพึงสามัคคีต่อกันมีปัญญา ทำที่สุดทุกข์ แห่งตน เถิด.

หน้า 79

๑๙
คู่บุพเพสันนิวาส

ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าภรรยาและสามีทั้งสองพึงหวังพบกันและกันทั้งในปัจจุบัน และใน สัมปรายภพทั้งสอง เทียว พึงเป็นผู้มีศรัทธาเสมอกัน มีศีลเสมอกันมีจาคะเสมอ กัน มีปัญญาเสมอกัน ภรรยาและสามี ทั้งสองนั้น ย่อมได้พบกันและกันทั้งในปัจจุบัน ทั้งในสัมปรายภพ.

ภรรยาและสามีทั้งสอง เป็นผู้มีศรัทธา รู้ความประสงค์ของผู้ขอ มีความสำรวม เป็นอยู่โดย ธรรม เจรจาถ้อยคำที่น่ารักแก่กันและกัน ย่อมมีความ เจริญรุ่งเรืองมาก มีความผาสุก ทั้งสองฝ่าย มีศีลเสมอกัน รักใคร่กันมากไม่มีใจร้ายต่อกัน ประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว ทั้งสองเป็นผู้มีศีลและวัตร เสมอกัน ย่อมเป็นผู้เสวยกามารมณ์ เพลิดเพลินบันเทิงใจอยู่ใน เทวโลก.

รักษาตน ด้วยการเสพธรรมะ

ด้วยการเจริญธรรมะ ด้วยการทำให้มากซึ่งธรรมะรักษาผู้อื่น ด้วยการอดทนด้วยการไม่เบียดเบียน ด้วยเมตตาจิต ด้วยความรักใคร่เอ็นดู

หน้า 81

๒๐
ภรรยา ๗ จำพวก

ครั้งนั้น เมื่อเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงนุ่งแล้วทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี ประทับนั่งบนอาสนะ ที่ปูลาดแล้ว ก็สมัยนั้น มนุษย์ทั้งหลายในนิเวศน์ของท่าน อนาถบิณฑิก-เศรษฐีส่งเสียงอื้ออึง ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายบังคม แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า คหบดีเหตุไรหนอ มนุษย์ทั้งหลายในนิเวศน์ ของท่าน จึงส่งเสีย งอื้ออึงเหมือนชาวประมงแย่งปลากัน.

อนาถบิณฑิกเศรษฐีกราบทูลว่า“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! นางสุชาดาคนนี้ ข้าพระองค์นำ มาจากตระกูล มั่งคั่งมาเป็นสะใภ้ในเรือน นางไม่เชื่อถือ แม่ผัวพ่อผัว สามี แม้แต่พระผู้มี พระภาค นางก็ไม่สักการะ เคารพนับถือบูชา”.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกนางสุชาดาหญิงสะใภ้ในเรือนว่า “มานี่แน่ะ ! สุชาดา” นางสุชาดา หญิงสะใภ้ในเรือนทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า สุชาดา ! ภริยาของบุรุษ ๗ จำพวกนี้

๗ จำพวกเป็นไฉน คือ :-
ภริยาเสมอด้วยเพชฌฆาต ๑
เสมอด้วยโจร ๑
เสมอด้วยนาย ๑
เสมอด้วยแม่ ๑
เสมอด้วยพี่สาวน้องสาว ๑
เสมอด้วยเพื่อน ๑
เสมอด้วยทาสี ๑
สุชาดา ! ภริยาของบุรุษ ๗ จำพวกนี้แล
เธอเป็นจำพวกไหนใน ๗ จำพวกนั้น.

นางสุชาดากราบทูลว่า“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! หม่อมฉันยังไม่รู้ทั่วถึงความแห่งพระดำรัส ที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วโดยย่อนี้ได้โดยพิสดาร.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาค โปรดทรงแสดงธรรม แก่หม่อมฉัน โดยที่หม่อมฉันจะพึงรู้ทั่วถึงเนื้อความ แห่งพระดำรัส ที่พระผู้มีพระภาคตรัส โดยย่อนี้โดยพิสดารเถิด”

สุชาดา ! ถ้าอย่างนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดีเราจักกล่าวนางสุชาดาหญิงสะใภ้ในเรือน ทูลรับพระผู้มี พระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัส พระพุทธพจน์นี้ว่า

(๑) ภริยาผู้มีจิตประทุษร้าย ไม่อนุเคราะห์ด้วยประโยชน์เกื้อกูล ยินดีในชายอื่น ดูหมิ่นสามี เป็นผู้อัน เขาซื้อมาด้วยทรัพย์ พยายามจะฆ่าผัว ภริยาของบุรุษ เห็นปานนี้เรียกว่า วธกาภริยา ภริยาเสมอ ด้วยเพชฌฆาต.

(๒) สามีของหญิงประกอบด้วยศิลปกรรมพาณิชยกรรม และกสิกรรม ได้ทรัพย์ใดมา ภริยาปรารถนา จะยักยอกทรัพย์ แม้มีอยู่น้อยนั้นเสีย ภริยาของบุรุษเห็นปานนี้ เรียกว่า โจรภริยา ภริยาเสมอด้วยโจร.

(๓) ภริยาที่ไม่สนใจการงาน เกียจคร้าน กินมากปากร้าย ปากกล้า ร้ายกาจ กล่าวคำหยาบ ข่มขี่ผัวผู้ขยันขันแข็งภริยาของบุรุษเห็นปานนี้เรียกว่า อัยยาภริยา ภริยาเสมอด้วยนาย.

 (๔) ภริยาใดอนุเคราะห์ด้วยประโยชน์เกื้อกูลทุกเมื่อ ตามรักษาสามีเหมือนมารดารักษา บุตร รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้ไว้ ภริยาของบุรุษ เห็นปานนี้ เรียกว่า มาตาภริยา ภริยาเสมอด้วยมารดา.

(๕) ภริยาที่เป็นเหมือนพี่สาวน้องสาว มีความเคารพในสามีของตน เป็นคนละอายบาป เป็นไปตามอำนาจสามี ภริยาของบุรุษเห็นปานนี้เรียกว่า ภคินีภริยาภริยา เสมอด้วยพี่สาว น้องสาว.

(๖) ภริยาใดในโลกนี้เห็นสามีแล้วชื่นชมยินดีเหมือนเพื่อนผู้จากไปนานแล้วกลับมา เป็นหญิงมีศีลมีวัตร ปฏิบัติสามี ภริยาของบุรุษเห็นปานนี้ เรียกว่า สิขภริยา ภริยาเสมอ ด้วยเพื่อน.

(๗) ภริยาใดสามีเฆี่ยนตี ขู่ตะคอก ก็ไม่โกรธไม่คิดพิโรธโกรธตอบสามี อดทนได้ เป็นไปตามอำนาจ สามีภริยาของบุรุษเห็นปานนี้เรียกว่า ทาสีภริยา ภริยาเสมอ ด้วยทาสี.

ภริยาที่เรียกว่าวธกาภริยา ๑ โจรีภริยา ๑ อัยยาภริยา ๑ ภริยาทั้ง ๓ จำพวกนั้น ล้วนแต่เป็นคนทุศีล หยาบช้า ไม่เอื้อเฟื้อ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงนรก.

ส่วนภริยาที่เรียกว่า มาตาภริยา ๑ ภคินีภริยา ๑ สขีภริยา ๑ ทาสีภริยา ๑ภริยาทั้ง ๔ จำพวกนั้น เพราะตั้งอยู่ในศีลถนอมรักไว้ยั่งยืน เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติ.

สุชาดา ! ภริยาของบุรุษ ๗ จำพวกนี้แลเธอเป็นภริยาจำพวกไหน ใน ๗ จำพวกนั้น.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงจำ หม่อมฉันว่า เป็นภริยาของ สามีผู้เสมอด้วยทาสี.

หน้า 86

๒๑
มนุษย์ผี

คหบดีและคหปตานี ทั้งหลายการอยู่ร่วม ๔ ประการนี้
๔ ประการเป็นอย่างไรเล่า ? คือ
(๑) ชายผีอยู่ร่วมกับหญิงผี
(๒) ชายผีอยู่ร่วมกับหญิงเทวดา
(๓) ชายเทวดาอยู่ร่วมกับหญิงผี
(๔) ชายเทวดา อยู่ร่วมกับหญิงเทวดา

คหบดี และคหปตานีทั้งหลาย ! ก็ชายผีอยู่ร่วมกับหญิงผีอย่างไร ?

สามีในโลกนี้เป็นผู้มักฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ ดื่มน้ำเมา คือสุรา และเมรัย อันเป็น ที่ตั้งแห่งความประมาท เป็นคนทุศีล มีบาปธรรม มีใจอันมลทิน คือ ความตระหนี่ ครอบงำด่า และบริภาษ สมณพราหมณ์อยู่ครองเรือน แม้ภรรยาของเขาก็เป็น ผู้มักฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม ฯลฯ เป็นคนทุศีล มีบาปธรรม มีใจอันมลทิน คือความตระหนี่ครอบงำ ด่าและบริภาษสมณพราหมณ์ อยู่ครองเรือน.

คหบดี และคหปตานีทั้งหลาย ! ชายผีอยู่ร่วมกับหญิงผี อย่างนี้แล.

คหบดีและคหปตานีทั้งหลาย ! ก็ชายผีอยู่ร่วมกับหญิงเทวดาอย่างไร ?
สามีในโลกนี้เป็นผู้มักฆ่าสัตว์ ฯลฯ ด่าและบริภาษสมณพราหมณ์ อยู่ครองเรือน ส่วนภรรยาของเขาเป็นผู้งดเว้น จากการฆ่าสัตว์ จากการลักทรัพย์ จากการ ประพฤติผิด ในกาม จากการพูดเท็จ จากการดื่มน้ำเมาคือสุราเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท มีศีลมี กัลยาณธรรม มีใจปราศจาก มลทิน คือความตระหนี่ ไม่ด่าไม่บริภาษ สมณพราหมณ์ อยู่ครองเรือน.

คหบดีและคหปตานีทั้งหลาย ! ชายผีอยู่ร่วมกับหญิงเทวดา อย่างนี้แล.

คหบดีและคหปตานีทั้งหลาย ! ก็ชายเทวดาอยู่ร่วมกับหญิงผีอย่างไร ?
สามีในโลกนี้เป็นผู้งดเว้น จากการฆ่าสัตว์ ฯลฯอยู่ครองเรือน ส่วนภรรยาของเขาเป็นผู้ มักฆ่าสัตว์ ฯลฯด่าและบริภาษสมณพราหมณ์ อยู่ครองเรือน.

คหบดี และคหปตานี ทั้งหลาย ! ชาย เทวดาอยู่ร่วมกับหญิงผี อย่างนี้แล.

คหบดีและคหปตานี ทั้งหลาย ! ก็ชายเทวดาอยู่ร่วมกับหญิงเทวดาอย่างไร ? สามีในโลกนี้เป็นผู้งดเว้น จากการฆ่าสัตว์ ฯลฯไม่ด่าไม่บริภาษ สมณพราหมณ์ อยู่ครองเรือน แม้ภรรยาของเขาก็เป็นผู้งดเว้น จากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ไม่ด่าไม่บริภาษ สมณพราหมณ์ อยู่ครองเรือน คหบดี และคหปตานีทั้งหลาย ! ชายเทว ดาอยู่ร่วมกับหญิง เทวดา อย่างนี้แล.

คหบดีและคหปตานีทั้งหลาย ! การอยู่ร่วม ๔ประการอย่างนี้แล.

ภรรยาและสามีทั้งสองเป็นผู้ทุศีลเป็นคนตระหนี่ มักด่าว่า สมณพราหมณ์ ชื่อว่าเป็นผีมา อยู่ร่วมกัน.

สามีเป็นผู้ทุศีล มีความตระหนี่ มักด่าว่า สมณพราหมณ์ ส่วนภรรยาเป็นผู้มีศีล รู้ความประสงค์ของผู้ขอ ปราศจากความตระหนี่ ภรรยานั้นชื่อว่า เทวดาอยู่ร่วมกับ สามีผี.

สามีเป็นผู้มีศีล รู้ความประสงค์ของผู้ขอปราศจากความตระหนี่ ส่วนภรรยาเป็นผู้ทุศีล มีความตระหนี่ มักด่าว่า สมณพราหมณ์ ชื่อว่าหญิงผี อยู่ร่วมกับสามีเทวดา.

ทั้งสองเป็นผู้มีศรัทธา รู้ความประสงค์ ของผู้ขอมีความสำรวม เป็นอยู่โดยธรรม ภรรยา และสามีทั้งสอง นั้น เจรจาถ้อยคำที่น่ารักแก่กันและกัน ย่อมมีความเจริญ รุ่งเรืองมาก มีความผาสุกทั้งสองฝ่ายมีศีล เสมอกัน รักใคร่กันมาก ไม่มีใจร้ายต่อกันครั้นประพฤติธรรม ในโลกนี้แล้ว ทั้งสองเป็นผู้มีศีลและวัตร เสมอกัน ย่อมเป็นผู้ เสวยกามารมณ์เพลิดเพลิน บันเทิงใจอยู่ในเทวโลก.

สิ่งใดมีความเกิด เป็นธรรมดาสิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับไป เป็นธรรมดา

หน้า  91

๒๒
เข้าใจเรื่องกรรม

เรื่องควรทราบเกี่ยวกับกรรม ทั้ง ๖ แง่มุมภิกษุทั้งหลาย !
กรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ
นิทานสัมภวะแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ
เวมัตตตาแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคล ควรทราบ
วิบากแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ
กัมมนิโรธป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ

...คำที่เรากล่าวแล้วดังนี้นั้นเราอาศัย อะไรกล่าวเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าวซึ่งเจตนาว่าเป็นกรรม เพราะว่าบุคคลเจตนาแล้ว ย่อมกระทำซึ่ง กรรมด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ.

ภิกษุทั้งหลาย ! นิทานสัมภวะแห่งกรรมทั้งหลายเป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! นิทานสัมภวะ (เหตุเป็นแดนเกิดพร้อม) แห่งกรรมทั้งหลาย คือ ผัสสะ.

ภิกษุทั้งหลาย ! เวมัตตตาแห่งกรรมทั้งหลายเป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมที่ทำสัตว์ให้เสวยเวทนาในนรก มีอยู่ กรรมที่ทำสัตว์ให้เสวยเวทนา ในกำเนิด-เดรัจฉาน มีอยู่ กรรมที่ทำสัตว์ให้เสวยเวทนา ในเปรต-วิสัย มีอยู่ กรรมที่ทำสัตว์ ให้เสวยเวทนาในมนุษยโลกมีอยู่ กรรมที่ทำสัตว์ให้เสวยเวทนาในเทวโลก มีอยู่ ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรากล่าวว่า เวมัตตตา(ความมีประมาณต่างๆ) แห่งกรรมทั้งหลาย.

ภิกษุทั้งหลาย ! วิบากแห่งกรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าววิบากแห่งกรรมทั้งหลาย ว่ามีอยู่ ๓ อย่าง คือ วิบากใน ทิฏฐธรรม(คือทันควัน) หรือว่าวิบากในอุปะปัชชะ (คือในเวลาต่อมา) หรือว่าวิบากใน อปรปริยายะ (คือในเวลาต่อมาอีก).
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรากล่าวว่า วิบากแห่งกรรมทั้งหลาย.

ภิกษุทั้งหลาย ! กัมมนิโรธ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ความดับแห่งกรรมย่อมมีเพราะความดับแห่งผัสสะ.

อริยอัฏฐังคิกมรรค (อริยมรรคมีองค์แปด) นี้นั่นเองเป็นกัมมนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับ ไม่เหลือแห่งกรรม)

ได้แก่ สิ่งเหล่านี้คือ

สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ)
สัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ)
สัมมาวาจา (การพูดจาชอบ)
สัมมากัมมันตะ (การทำการงานชอบ)
สัมมาอาชีวะ (การเลี้ยงชีวิตชอบ)
สัมมาวายามะ (ความพากเพียรชอบ)
สัมมาสติ (ความระลึกชอบ)
สัมมาสมาธิ (ความตั้งใจมั่นชอบ).

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อใดอริยสาวกย่อม
รู้ชัดซึ่งกรรม อย่างนี้
รู้ชัดซึ่งนิทานสัมภวะแห่งกรรม อย่างนี้
รู้ชัดซึ่งเวมัตตตาแห่งกรรม อย่างนี้
รู้ชัดซึ่งวิบากแห่งกรรม อย่างนี้
รู้ชัดซึ่งกัมมนิโรธ อย่างนี้
รู้ชัดซึ่งกัมมนิโรธคามินีปฏิปทา อย่างนี้


อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดซึ่งพรหมจรรย์นี้ว่าเป็นเครื่องเจาะแทงกิเลส เป็นที่ดับไม่เหลือ แห่งกรรม.

ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อที่เรากล่าวแล้วว่า“กรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ นิทานสัมภวะแห่ง กรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ เวมัตตตาแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ วิบากแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ กัมมนิโรธ เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ
กัมมนิโรธคา มินีปฏิปทา เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ”

ดังนี้ (รวมสิ่งที่บุคคลควรทราบเกี่ยวกับกรรมทั้ง ๖ แง่มุม) นั้นเราอาศัยความ ข้อนี้ กล่าวแล้ว.