เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
  
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ                    

  ปฏิจจสมุปบาท จากพระโอษฐ์   (ที่มา เว็บไซต์ พุทธทาสศึกษา : www.buddhadasa.org) ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
  08 of 8    
  ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ (แปลโดยท่านพุทธทาส)  
     
    หมวด ๑๑ (ต่อ) หน้า  
    : ว่าด้วย ลัทธิหรือทิฏฐิ ที่ขัดกับปฏิจจสมุปบาท (: มิจฉาทิฏฐิ)    
     ผัสสะ คือปัจจัยแห่งทิฏฐิ ๖๒ 719  
     ทิฏฐิ ๖๒ เป็นเพียงความรู้สึกผิด ๆของผู้ไม่รู้ปฏิจจสมุปบาท 723  
     ผัสสะ (แห่งปฏิจจสมุปบาท) คือที่มาของทิฏฐิ ๖๒ 727  
     ทิฏฐิ ๖๒ เป็นผลของการไม่รู้ปฏิจจสมุปบาท 732  
     (ก. สัสสตทิฏฐิ ๔ ประการ) 733  
     (ข.เอกัจจสัสสติก - เอกัจจอสัสสติกทิฏฐิ ๔ ประการ) 736  
     (ค. อันตานันติกทิฏฐ ๔ ประการ) 740  
     (ฆ. อมราวิกเขปิกทิฏฐิ ๔ ประการ) 743  
     (ง. อธิจจสมุปปันทิกทิฏฐิ ๒ ประการ) 747  
     บัญญัติซึ่งอัตตาและโลกว่าเกิดเองลอย ๆ 748  
     (สรุป ปุพพันตกัปปิกทิฏฐิ ๑๘ ประการ) 749  
     [หมวด ๒ อปรันตกัปปิกวาท ๔๔ ประการ] 750  
     (จ.อุทธมาฆตนิก ชนิด สัญญีทิฏฐิ ๑๖ ประการ) 750-1  
     (ฉ.อุทธมาฆตนิก ชนิด อสัญญีทิฏฐิ ๘ ประการ) 754  
     (ช.อุทธมาฆตนิก ชนิด เนวสัญญีนาสัญญีทิฏฐิ ๘ ประการ) 756  
     (ฌ. อุจเฉททิฏฐิ ๗ ประการ) 758  
     (ญ. ทิฏฐธัมมนิพพานทิฏฐิ ๕ ประการ) 763  
     ถ้ารู้ปฏิจจสมุปบาทก็จะไม่เกิดทิฏฐิอย่างพวกตาบอดคลำช้าง 769  
  หมวดที่สิบเอ็ด จบ    
       
    หมวด ๑๒    
       
     ว่าด้วย ปฏิจจสมุปบาท ที่ส่อไปในทางภาษาคน-เพื่อศีลธรรม 778  
     ทรงขยายความปฏิจจสมุปบาท อย่างประหลาด
779  
     ธาตุ ๓ อย่างเป็นที่ตั้งแห่งความเป็นไปได้ของปฏิจจสมุปบาท 790  
  หมวดที่สิบสอง จบ    
       
    บทสรุป : คุณค่าพิเศษของปฏิจจ    
        
     บทสรุป คุณค่าพิเศษของปฏิจจ- (มี ๕ เรื่อง) 798  
     ปฏิจจสมุปบาท คือเรื่องความไม่มีสัตว์บุคคลตัวตนเราเขา 799  
     ที่สุดแห่งปฏิจจสมุปบาทคือที่สุดแห่งภพ 802  
     ธรรมไหลไปสู่ธรรม โดยไม่ต้องมีใครเจตนา 805  
    แม้พระพุทธองค์ก็ทรงสาธยายปฏิจจ-(เกียรติสูงสุดของปฏิจจสมุปบาท) 807  
    เรื่องปฏิจจสมุปบาทรวมอยู่ในเรื่องที่พุทธบริษัทควรทำสังคีติ 811  
  จบ ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์    
       
 

 

   
 
 





หมวด 11 (ต่อ)

หน้า 719
ผัสสะ
คือปัจจัยแห่งทิฏฐิ ๖๒

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่าใดเป็นพวก สัสสตวาท ย่อมบัญญัติ อัตตา และ โลกว่าเที่ยง ด้วยวัตถุ ๔ ประการ เหตุการณ์นี้มีได้ เพราะ ผัสสะเป็นปัจจัย ...สมณพราหมณ์ทั้งหลาย เหล่านั้นหนอ เว้นจากผัสสะ เสียแล้ว จะรู้สึกต่อเวทนา ตามทิฏฐิเฉพาะอย่างๆ ของตนๆ ขึ้นมา (ปฏิสํเวทิสฺสนฺติ) ได้ ดังนี้นั้น ข้อนี้มิใช่ ฐานะที่จะมีได้เลย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่าใด เป็นพวก เอกัจจสัสสติกเอ กัจจอสัสสติกวาท ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่า เที่ยงบางอย่าง ไม่เที่ยง บางอย่าง ด้วยวัตถุ ๔ ประการ เหตุการณ์นี้มีได้ เพราะ ผัสสะเป็นปัจจัย ...สมณพราหมณ์ ทั้งหลายเหล่านั้นหนอ เว้นจากผัสสะเสียแล้ว จะรู้สึกต่อเวทนาตาม ทิฏฐิเฉพาะอย่าง ๆของตน ๆ ขึ้นมาได้ ดังนี้นั้น ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้เลย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่าใด เป็นพวกอันตานัน-ติกวาท ย่อมบัญญัติความมีที่สุด หรือความไม่มีที่สุดแห่งโลก ด้วยวัตถุ ๔ ประการเหตุการณ์นี้ มีได้ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ...สมณพราหมณ์ ทั้งหลายเหล่านั้นหนอเว้นจากผัสสะเสียแล้ว จะรู้สึกต่อเวทนา ทิฏฐิเฉพาะอย่างๆ ของตนๆ ขึ้นมาได้ ดังนี้ นั้น ข้อนี้มิใช่ ฐานะที่จะมีได้เลย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่าใด เป็นพวก อมราวิก-เขปิกวาท เมื่อถูกถามปัญหาใน ที่นั้นๆย่อมถึงความส่ายแห่งวาจา อันดิ้นได้ไม่ตายตัวด้วยวัตถุ๔ ประการ เหตุการณ์นี้มีได้ เพราะผัสสะ เป็นปัจจัย ...สมณพราหมณ์ทั้งหลาย เหล่านั้นหนอ เว้นจากผัสสะเสียแล้ว จะรู้สึกต่อเวทนาตาม ทิฏฐิ เฉพาะอย่าง ๆ ของตนๆ ขึ้นมาได้ ดังนี้นั้น ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้เลย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่าใด เป็นพวก อธิจจสมุป-ปันนิกวาท ย่อม บัญญัติอัตตา และโลกว่าเกิดเองลอยๆด้วยวัตถุ ๒ ประการ เหตุการณ์นี้มีได้ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ...สมณพราหมณ์ ทั้งหลายเหล่านั้นหนอ เว้นจากผัสสะ เสียแล้ว จะรู้สึกต่อเวทนา ตามทิฏฐิเฉพาะอย่างๆ ของตน ๆ ขึ้นมาได้ ดังนี้นั้น ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะ มีได้เลย. (๑๘ พวกนี้ เป็นพวก ปุพพันตานุทิฏฐิ)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่าใดเป็นพวก อุทธมาฆต-นิกสัญ ญีวาท ย่อมบัญญัติ อัตตามีสัญญาภายหลังแต่ตายแล้ว ด้วยวัตถุ ๑๖ ประการ เหตุการนี้มีได้ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ...สมณพราหมณ์ทั้งหลาย เหล่านั้น หนอเว้นจากผัสสะเสียแล้ว จะรู้สึกต่อเวทนา ตามทิฏฐิเฉพาะอย่าง ๆ ของตน ๆ ขึ้นมาได้ ดังนี้นั้น ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้เลย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่าใด เป็นพวก อุทธมาฆต-นิกอสัญญีวาท ย่อมบัญญัติ อัตตาไม่มีสัญญาภายหลังแต่ตายแล้ว ด้วยวัตถุ ๘ ประการเหตุการณ์นี้มีได้เพราะผัสสะ เป็น ปัจจัย...สมณพราหมณ์ทั้งหลาย เหล่านั้น หนอ เว้นจากผัสสะเสียแล้ว จะรู้สึกต่อเวทนา ตามทิฏฐิเฉพาะอย่าง ๆ ของตน ๆ ขึ้นมาได้ ดังนี้นั้น ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้เลย

ดูก่อนภิกษูทั้งหลาย สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่าใด เป็นพวก อุทธมาฆต-นิกเนวสัญญีนาสัญญีวาท ย่อมบัญญัติอัตตามีสัญญา ก็ไม่ใช่ไม่มี สัญญาก็ไม่ใช่ ภายหลังจากตายแล้วด้วยวัตถุ ๘ ประการ เหตุการณ์นี้มีได้ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย
...สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้นหนอ เว้น จากผัสสะ เสียแล้วจะรู้สึกต่อเวทนา ตามทิฏฐิเฉพาะอย่าง ๆ ของตน ๆ ขึ้นมาได้ ดังนี้นั้น ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้เลย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่าใด เป็นพวกอุจเฉทวาทย่อมบัญญัติ ความขาดสูญ ความวินาศ ความไม่มี แห่งสัตว์ที่มีอยู่ ด้วยวัตถุ ๗ ประการ เหตุการณ์ นี้มีได้ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ...สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้นหนอเว้น จาก ผัสสะเสียแล้ว จะรู้สึกต่อเวทนา ตามทิฏฐิเฉพาะอย่าง ๆ ของตน ๆ ขึ้นมาได้ ดังนี้นั้น ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้เลย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่าใด เป็นพวกทิฏฐธัมม-นิพพานวาท ย่อมบัญญัติ นิพพาน อย่างยิ่ง ในทิฏฐธรรมแห่งสัตว์ ผู้มีอยู่ ด้วยวัตถุ ๕ ประการ เหตุการณ์นี้มีได้ เพราะผัสสะ เป็นปัจจัย ...สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น หนอเว้น จาก ผัสสะเสียแล้ว จะรู้สึกต่อเวทนาตาม ทิฏฐิ เฉพาะอย่าง ๆ ของตน ๆ ขึ้นมาได้ ดังนี้นั้น ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้เลย


(๔๔ พวกนี้ เป็นพวก ปรันตานุทิฏฐิ)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่าใด เป็นพวก ปุพพันต-กัปปิกวาท ก็ดี เป็นพวก อปรันต กัปปีกวาท ก็ดี เป็นพวก ปุพพันตอปรันต กัปปีกวาท ก็ดีล้วนแต่ เป็นผู้มี ปุพพันตาปรันตานุทิฏฐิ ปรารภ ปุพพันตาปรันตขันธ์ แล้วกล่าวบัญญัติซึ่ง ทิฏฐิอันเป็นอธิมุตติบท(ทางแห่งความ หลุด พ้นอย่างยิ่ง ของสัตว์ ตามทิฏฐิแห่งตน ๆ) มีอย่างต่างๆ เป็นอเนก ด้วยวัตถุ (ที่ตั้งแห่งทิฏฐิรวมหมดด้วยกัน) ๖๒ ประการ เหตุการณ์นี้มีได้ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ...สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้นหนอ เว้นจากผัสสะ เสียแล้ว จะรู้สึกต่อเวทนาตามทิฏฐิเฉพาะอย่าง ๆ ของตน ๆ ขึ้นมาได้ดังนี้นั้น ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้เลย.

หมายเหตุผู้รวบรวม ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นเป็นพิเศษ เฉพาะในกรณี อันสำคัญ ยิ่งนี้ว่า ผัสสะ อย่างเดียว เป็นตัวสำคัญอันร้ายกาจ นำให้เกิด สิ่งอันไม่พึงปรารถนา ทุกชนิดทุกประการ รวมทั้งทิฏฐิ ๖๒ ประการนี้ด้วย ขออย่าได้ศึกษาอย่างเล่น ๆ กับคำว่าผัสสะ. หรือเมื่อได้ยินคำ ว่า ผัสสะ คือปัจจัยแห่งทิฏฐิ ๖๒ ก็อย่าได้สำคัญ ไปว่าเป็นคำพูดขบขันหรือเพ้อเจ้อแล้วก็ไม่สนใจที่จะเข้าใจ นั่นแหละคือต้นตอ ของความไม่เข้าใจ โดย แท้จริง ในเรื่องปฏิจจสมุปบาท หรือ ทิฏฐิ ๖๒ ก็ตาม.

คำว่า ผัสสะ ในที่นี้ หมายถึง อวิชชาสัมผัส
คือผัสสะที่มีอวิชชาเข้าผสมอยู่ด้วย มิใช่ผัสสะ ที่เป็นสักว่า การกระทบระหว่างอายตนะ คือในขั้น สุดท้าย ซึ่งเล็งถึงมโน สัมผัสที่มีเวทนาอย่างใดยอย่างหนึ่ง เป็นตัว ธรรมารมณ์ ดังนั้น จึงเป็นช่องทางให้ อวิชชา เข้าผสมอยู่ในสัมผัสนั้นได้ ตั้งแต่ ต้นจนปลาย ด้วยเหตุนี้ จึงมีนามว่า อวิชชาสัมผัส เป็นที่เกิดแห่งทิฏฐิทั้งหลาย ทุกชนิด โดยผ่านเวทนาทุก ๆ ขั้น จนถึง ขั้นที่จิตสัมผัสเวทนา อันประกอบอยู่ด้วยทิฏฐินั้น ๆ ทุกคราวไป จนเป็นทิฏฐิที่แน่น แฟ้น ตายตัว.


หน้า 723
ทิฏฐิ
๖๒ เป็นเพียงความรู้สึกผิด ๆของผู้ไม่รู้ปฏิจจสมุปบาท

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่าใด เป็นพวก สัสสตวาท ย่อม บัญญัติอัตตา และ โลกว่าเที่ยงด้วยวัตถุ ๔ ประการ นั่น เป็นเพียง ความรู้สึก ของสมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ไม่มีญาณ เครื่องรู้เครื่องเห็น เหล่านั้น ซึ่งเป็นเพียง ความหวาดเสียว สั่นคลอนแห่งจิตใจ ของบุคคล ผู้มีตัณหาเท่านั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่าใด เป็นพวก เอกัจจสัส-สติกเอกัจจอสัสสติกวาท ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยงบาง อย่างไม่เที่ยง บางอย่าง

ด้วยวัตถุ ๔ ประการ นั่น เป็นเพียงความรู้สึก ของสมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ไม่มีญาณเครื่องรู้เครื่องเห็น เหล่านั้น ซึ่งเป็นเพียง ความหวาดเสียว สั่นคลอน แห่งจิตใจ ของบุคคลผู้มีตัณหาเท่านั้น.

ดูก่อนภิกษูทั้งหลาย สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่าใด เป็นพวก อันตานัน-ติกวาท ย่อมบัญญัติ ความมี ที่สุด หรือความไม่มีที่สุดแห่งโลก ด้วยวัตถุ ๔ ประการ นั่น เป็นเพียงความรู้สึก ของสมณพราหมณ์ ทั้งหลาย ผู้ไม่มีญาณเครื่องรู้เครื่องเห็น หล่านั้นซึ่งเป็นเพียง ความหวาดเสียว สั่นคลอน แห่งจิตใจ ของบุคคล ผู้มีตัณหา เท่านั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่าใด เป็น พวกอมราวิก-เขปีกวาท เมื่อถูกถามปัญหาใ นที่นั้นๆย่อมถึงความส่ายแห่งวาจา อันดิ้นได้ไม่ตายตัว ด้วยวัตถุ ๔ ประการ นั่นเป็นเพียงความรู้สึก ของสมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ไม่มีญาณเครื่องรู้ เครื่องเห็น เหล่านั้นซึ่งเป็น เพียง ความหวาดเสียว สั่นคลอน แห่งจิตใจ ของบุคคล ผู้มีตัณหาเท่านั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่าใด เป็น พวกอธิจจสมุป-ปันนิกวาท ย่อมบัญญัติ ซึ่งอัตตาและโลกว่าเกิดเองลอยๆ ด้วยวัตถุ ๒ ประการ นั่น เป็นเพียงความรู้สึกของพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ไม่มีญาณเครื่องรู้เครื่องเห็นเหล่านั้น ซึ่งเป็น เพียง ความหวาดเสียว สั่นคลอนแห่ง จิตใจ ของบุคคล ผู้มีตัณหาเท่านั้น.

(๑๘ พวกนี้ เป็นพวก ปุพพันตานุทิฏฐ )

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่าใด เป็นพวก อุทธมาฆต-นิกสัญญีวาท ย่อมบัญญัติ อัตตา มีสัญญาภายหลังแต่ตายแล้ว ด้วย วัตถุ ๑๖ ประการนั่น เป็นเพียงความรู้สึกของสมณพราหมณ์ ทั้งหลาย ผู้ไม่มีญาณเครื่องรู้ เครื่องเห็นเหล่านั้น ซึ่งเป็นเพียง ความหวาดเสียว สั่นคลอน แห่งจิตใจ ของบุคคล ผู้มีตัณหาเท่านั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่าใด เป็น พวก อุทธมาฆต-นิกอสัญญีวาท ย่อมบัญญัติ อัตตาไม่มีสัญญาภายหลังแต่ตายแล้วด้วยวัตถุ ๘ ประการนั่น เป็นเพียงความรู้สึกของสมณพราหมณ์ ทั้งหลาย ผู้ไม่มีญาณเครื่องรู้ เครื่องเห็นเหล่านั้น ซึ่งเป็นเพียง ความหวาดเสียว สั่นคลอน แห่งจิตใจ ของบุคคล ผู้มีตัณหาเท่านั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่าใด เป็นพวก อุทธมาฆต-นิกเนวสัญญีนาสัญญีวาท ย่อมบัญญัติอัตตามีสัญญาก็ไม่ใช่ไม่มี สัญญาก็ไม่ใช่ ภายหลังแต่ตายแล้วด้วยวัตถุ ๘ ประการ นั่น เป็นเพียง ความรู้สึก ของสมณ พราหมณ์ทั้งหลายผู้ไม่มีญาณเครื่องรู้เครื่องเห็น เหล่านั้น ซึ่งเป็นเพียง ความหวาด เสียว สั่นคลอน แห่งจิตใจ ของบุคคลผู้มีตัณหาเท่านั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่าใดเป็นพวก อุจเฉทวาท ย่อม บัญญัติ ความขาดสูญ ความวินาศ ความไม่มีแห่งสัตว์ที่มีอยู่ ด้วยวัตถุ ๗ ประการ นั่นเป็นเพียงความรู้สึกของสมณพราหมณ์ ทั้งหลาย ผู้ไม่มี ญาณเครื่องรู้เครื่องเห็น เหล่านั้น ซึ่งเป็นเพียง ความหวาดเสียว สั่นคลอน แห่งจิตใจ ของบุคคล ผู้มีตัณหาเท่านั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่าใด เป็นพวก ทิฏฐธัมม-นิพพานวาท ย่อมบัญญัติ นิพพาน อย่างยิ่งในทิฏฐธรรมแก่สัตว์ผู้มีอยู่ ด้วยวัตถุ ๕ ประการ นั่น เป็นเพียงความรู้สึก ของสมณ พราหมณ์ ทั้งหลาย ผู้ไมีมีญาณเครื่องรู้ เครื่องเห็นเหล่านั้นซึ่งเป็นเพียง ความหวาดเสียว สั่นคลอน แห่งจิตใจของบุคคล ผู้มีตัณหาเท่านั้น.

(๔๔ พวกนี้ เป็นพวก อปรันตานุทิฏฐิ )

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่าใด เป็นพวก ปุพพันตกัปปิกวาท ก็ดี เป็นพวก อปรันตกัปปิกวาท ก็ดี เป็นพวก ปุพพัน ตอปรันตกัปปิกวาท ก็ดีล้วน แต่เป็นผู้มี ปุพพันตาปรันตานุ ทิฏฐิ ปรารภปุพพันตาปรันตขันธ์ แล้วกล่าวบัญญัติ ซึ่งทิฏฐิอันเป็นอธิมุตติบท

(ทางแห่งความหลุดพ้นอย่างยิ่งของสัตว์ตามทิฏฐิแห่งตนๆ) มีอย่างต่างๆ เป็นเอนก ด้วยวัตถุ (ที่ตั้งแห่งทิฏฐิรวมหมด ด้วยกัน) ๖๒ ประการ นั่น เป็นเพียงความรู้สึกของสมณ พราหมณ์ ทั้งหลาย ผู้ไม่มีญาณเครื่องรู้เครื่องเห็นเหล่านั้นซึ่งเป็นเพียง ความหวาด เสียว สั่นคลอน แห่งจิตใจ ของบุคคลผู้มีตัณหาเหล่านั้น.
……………………………………………………………………………………………

หมายเหตุผู้รวบรวม ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห้นว่า ทิฏฐิ ๖๒ ประการเป็นเพียง ความรู้สึก (เวทยิตํ) ของจิตที่ไม่รู้ปฏิจจสมุปบาท ในเมื่อกระทบ อารมณ์ ก็เกิดความ ตื่นเต้น ฟุ้งซ่าน หวาดเสียว สั่นคลอน แห่งจิต จากความรู้สึกนั้น ๆ ผู้นั้น สรุปความเห็น ของตนว่าสิ่งนั้น ๆ เป็นอย่างไร ได้ตาม ความรู้สึกของตน แล้วก็ถือเอา เป็นทิฏฐิของตน ว่านี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ เป็นเหตุให้เกิดมีทิฏฐิขึ้นต่าง ๆ นานา แปลกกันไปตาม ลักษณะของอารมณ์ที่มากระทบ หรือตามลักษณะ ของจิต ที่มีภาวะต่าง ๆ กัน ของผู้เป็นเจ้าของทิฏฐิ. ถ้าเป็นผู้มีญาณเครื่องรู้เครื่องเห็น โดยเฉพาะ อย่างยิ่งใน ปฏิจจ-สมุปบาท แล้ว ทิฏฐิเหล่านี้ ย่อมไม่เกิดขึ้นได้เลย.

หน้า 727
ผัสสะ (แห่งปฏิจจสมุปบาท) คือที่มาของทิฏฐิ ๖๒

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น
สมณพราหมณ์ ทั้งหลาย เหล่าใด เป็นพวกสัสสตวาท ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่า เที่ยงดังนี้ (๔ จำพวก) ก็ดี

สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่าใด เป็นพวกที่บัญญัติว่าเที่ยงแต่บางอย่างไม่เที่ยง บางอย่าง ดังนี้ (๔ จำพวก) ก็ดี

สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่าใด เป็นพวกที่บัญญัติว่า มีที่สุดหรือไม่มีที่สุดดังนี้ (๔ จำพวก) ก็ดี

สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่าใด เป็นพวกที่บัญญัติ ด้วยคำดิ้นได้ไม่ตายตัวดังนี้ (๔ จำพวก) ก็ดี

สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่าใด เป็นพวกที่บัญญัติ เกิดเองลอยๆดังนี้(๒ จำพวก) ก็ดี
(รวมเป็น) สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่าใด ที่บัญญัติทิฏฐิปรารภปุพพันตขันธ์
(๑๘ จำพวก ดังกล่าวแล้วข้างบน) ก็ดี

สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่าใด เป็นพวกที่บัญญัติว่า ตายแล้วมีสัญญาดังนี้ (๑๖ จำพวก) ก็ดี

สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่าใด เป็นพวกที่บัญญัติว่า ตายแล้วไม่มีสัญญาดังนี้ (๘ จำพวก) ก็ดี

สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่าใด เป็นพวกที่บัญญัติว่า ตายแล้วมีสัญญาก็ไม่ใช่ไม่ม ีสัญญาก็ไม่ใช่ ดังนี้ (๘ จำพวก) ก็ดี

สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่าใด เป็นพวกที่บัญญัติ ว่า (ตายแล้ว) ขาดสูญดังนี้ (๗ จำพวก) ก็ดี

สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่าใด เป็นพวกที่บัญญัติ นิพพานในทิฏฐธรรม (๕ จำพวก) ก็ดี (รวมเป็น) สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่าใด ที่บัญญัติทิฏฐิปรารภ อปรันตขันธ์
(๔๔ จำพวก ดังที่กล่าวแล้วข้างบน) ก็ดี


(รวมทั้งหมดเป็น) สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่าใด ที่บัญญัติทิฏฐิปรารภปุพ-พันตขันธ์ ก็ดี ปรารภ อปรันตขันธ์ก็ดีปรารภ ทั้งปุพพันตะ และอปรันตขันธ์ก็ดี ล้วนแต่เป็นผู้มี ปุพพันตาปรันตานุทิฏฐิ ปรารภขันธ์ ทั้งที่เป็นปุพพันตะ และอปรันตะ ดังนี้แล้ว กล่าว บัญญัติทิฏฐิ อันเป็นอธิมุตติบท (ทางแห่งความ หลุดพ้นอย่างยิ่งของสัตว์ ตามทิฏฐิแห่ง ตนๆ) มีอย่างต่างๆกันเป็นอเนกด้วยวัตถุ (ที่ตั้งแห่งทิฏฐิ) ทั้งหลาย๖๒ ประการก็ดี

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์ทั้งหลาย เหล่านั้นทั้งหมด รู้สึกต่อเวทนา ตามทิฏฐิ เฉพาะ อย่างๆ ของตนๆ ขึ้นมา (ปฏิสํเวเทนฺติ)๑ เพราะการถูกต้อง แล้วๆ ด้วยผัสสายตนะทั้งหลาย ประการ.

เพราะเวทนา แห่งสมณพราหมณ์ ทั้งหลาย เหล่านั้นเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะมี ตัณหา เป็นปัจจัย จึงมี อุปาทาน เพราะมี อุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะมีภพเป็น ปัจจัย จึงมีชาติ เพราะมีชาติ เป็นปัจจัย จึงมี ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส อุปายาสทั้งหลาย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแล ภิกษุย่อมรู้ชัด ตามที่เป็นจริงซึ่งความเกิดขึ้น (สมุทัย) ซึ่งความตั้งอยู่ ไม่ได้ (อัตถังคมะ) ซึ่งรส อร่อย (อัสสาทะ) ซึ่งโทษอันต่ำ ทราม (อาทีนวะ) ซึ่งอุบายเป็นเครื่องออกไปพ้น (นิสสรณะ) แห่งผัสสายตนะทั้งหลาย ๖ ประการ ภิกษุนี้ชื่อว่าย่อมรู้ชัด(ซึ่งเรื่องอันเกี่ยวกับผัสสายตนะ ๖ ประการนั้น) ยิ่งกว่า สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น ทั้งหมดทีเดียวในกาล นั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ที่บัญญัติทิฏฐิ ปรารภ ปุพพันตขันธ์บ้าง ปรารภอปรันตขันธ์บ้าง ปรารภทั้งปุพพัน ตะ และอปรันต-ขันธ์บ้าง ล้วนแต่เป็นผู้มีปุพพันตาปรันตานุทิฏฐิ ปรารภขันธ์ทั้งที่เป็นปุพพันตะ และ อปรันตะ ดังนี้แล้ว กล่าวบัญญัติทิฏฐิอันเป็น อธิมุตติบท (ทางแห่งความหลุดพ้น อย่างยิ่ง

ของสัตว์ ตามทิฏฐิแห่งตนๆ) มีอย่างต่างๆกันเป็นอเนก สมณพราหมณ์ทั้งหลาย เหล่านั้น ทั้งหมด ถูกกระทำ แล้วให้ ตกอยู่ภายในแห่งข่าย ด้วย วัตถุ (ที่ตั้งแห่ง ทิฏฐิ)ทั้งหลาย ๖๒ ประการเหล่านั้นเอง เมื่อโงหัวอยู่ ทีเดียว ก็โงหัวอยู่ในข่ายนั้น เมื่อเที่ยวโงหัว อยู่ในที่ทั่วๆไป ก็โงหัวอยู่ใน ข่ายนั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนชาวประมง และลูกมือของชาวประมงผู้เชี่ยวชาญ ได้ล้อมแหล่งน้ำน้อย ไว้ด้วยอวนตาถี่ เมื่อเป็นอย่างนี้ สัตว์มี ชีวิตทั้งหลาย เป็นอันมากเหล่าหนึ่งเหล่าใด ในแหล่งน้ำนี้ สัตว์ทั้งหลาย เหล่านั้น แม้ทั้งหมด ชื่อว่าถูกกระทำไว้แล้วในภายในแห่งอวน เมื่อผุดอยู่ ที่เดียว ก็ผุดอยู่ใน อวน นั้น เมื่อเที่ยวผุดอยู่ในที่ทั่วๆไป ก็ยังคงผุดอยู่ในอวนนั้นนั่นเองนี้ฉันใด

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้น กล่าวคือ สมณพราหมณ์ทั้งหลาย เหล่าใด เหล่าหนึ่ง ที่บัญญัติทิฏฐิ ปรารภปุพพันต-ขันธ์บ้าง ปรารภอปรันต ขันธ์บ้าง ปรารภทั้งปุพพันตะ และอปรันตขันธ์บ้าง ล้วนแต่ เป็นผู้มีปุพพันตา ปรันตานุทิฏฐิ ปรารภขันธ์ทั้งที่เป็น ปุพพันตะ และอปรันตะ ดังนี้แล้ว กล่าวบัญญัติทิฏฐิ อันเป็น อธิมุตติบท (ทางแห่งความหลุดพ้นอย่างยิ่งของสัตว์ ตามทิฏฐิแห่งตนๆ) มีอย่างต่างๆ กันเป็นอเนก สมณพราหมณ์ทั้ง หลาย เหล่านั้นทั้งหมด ถูกกระทำแล้วให้ตกอยู่ ภายใน แห่งข่าย ด้วยวัตถุ (ที่ตั้งแห่งทิฏฐิ) ทั้งหลาย ๖๒ ประการเหล่านั้นเอง เมื่อโงหัวอยู่ที่เดียว ก็โงหัวอยู่ในข่ายนั้น เมื่อเที่ยวโงหัว อยู่ในที่ทั่วๆไป ก็โงหัวอยู่ใน ข่ายนั้นนั่นเอง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กาย(หมู่แห่งนามรูป) ของตถาคต มีตัณหา เครื่องนำไปสู่ภพถูก ตัด ขาดแล้ว ยังตั้งอยู่. กายนั้น ยังตั้งอยู่ตลอดกาลเพียงใด เทวดาและมนุษย์ ทั้งหลาย จักเห็นซึ่งกายนั้นอยู่เพียงนั้น แต่จักไม่เห็น ซึ่งกายนั้น ในที่สุดแห่งชีวิต เพราะการทำลายแห่งกาย.

ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย เปรียบเหมือนเมื่อพวงแห่งผลมะม่วง ขาดแล้วที่ขั้ว ผลมะม่วง ใดๆ ที่มีขั้วเนื่องกัน ย่อมหล่นลงมาด้วยกัน ทั้งหมดทั้งสิ้นนี้ฉันใด

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้น กล่าวคือ กายของตถาคต มีตัณหาเครื่องนำไป สู่ภพถูกตัดขาดแล้ว ยังตั้งอยู่. กายนั้นยังตั้งอยู่ตลอดกาลเพียงใด เทวดาและมนุษย์ ทั้งหลาย จักเห็นซึ่งกายนั้นอยู่เพียงนั้น แต่จักไม่เห็นซึ่งกายนั้น ในที่สุดแห่งชีวิต เพราะการทำลายแห่งกาย.

(เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว พระอานนท์ ได้กราบทูลว่า น่าอัศจรรย์พระ-เจ้าข้าไม่เคยมี พระเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ปริยายนี้มีนามว่ากระไร พระเจ้าข้า ดังนี้).

ดูก่อนอานนท์ ถ้าอย่างนั้น เธอจงจำธรรมปริยายนี้ไว้ว่า ชื่อว่า อัตถ-ชาละ บ้าง ธัมมชาละ บ้าง พระชาละ บ้าง ทิฏฐิชาละ บ้าง อนุตตร-สังคามวิชัย บ้าง ดังนี้เถิด.
…………………………………………………………………………………………….
หมายเหตุผู้รวบรวม ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นใจความของพระพุทธภาษิตที่ตรัสไว้ในตอนนี้ว่า ถ้ารู้จัก สมุทัย อัตถังคมะ อัสสาทะอาทีนวะ และนิสสรณะของผัสสายตนะทั้ง ๖ ตามที่เป็น จริง แล้ว ก็จะเป็นความรู้ ที่ยิ่งกว่าทิฏฐิ ๖๒ ประการเหล่านั้น.ข้อนี้แสดงว่าทิฏฐิ ๖๒ ประการเหล่านั้น เกิดขึ้น จากการที่ไม่รู้ลักษณะ ๖ ประการ อันเกี่ยวกับผัสสายตนะ นั่นเอง.

โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือไม่รู้ว่าผัสสะ คืออะไร อะไรเป็นมูลเหตุ ของผัสสะ อะไรเป็น ความ ตั้งอยู่ไม่ได้ของ ผัสสะ อะไรเป็นรสอร่อยที่ได้รับจาก ผัสสะ อะไรเป็นโทษที่เลว ทรามของผัสสะ อะไรเป็นอุบายที่จะอยู่ เหนือ อำนาจ ของผัสสะ รวมกันเป็น ลักษณะ ๖ ประการ.

ความรู้ตาม เป็นจริงทั้ง ๖ ประการ ที่เกี่ยวกับผัสสะ ก็คือความรู้ปฏิจจสมุปบาท ทั้งสาย นั่นเอง ผัสสะ เกิดมาจากอวิชชา สังขาร วิญญาณ เป็นต้น มีผลให้เกิดเวทนา ตัณหา อันเป็น รสอร่อย ของผัสสะ แล้วให้เกิดอุปาทาน ภพ ชาติ อันเป็นทุกข์ ซึ่ง เป็นโทษอันเลวทรามของผัสสะ และปฏิจจสมุปบาท ส่วนนิโรธวารทั้งสาย เป็นความ ตั้งอยู่ ไม่ได้ หรือเป็นอุบายเครื่องออกไปพ้น จากอำนาจของ ผัสสะ นั่นเอง. ทิฏฐิ ๖๒ ประการไม่มีทางที่จะเกิดขึ้น เพราะมีความรู้เกี่ยวกับผัสสะ ตลอดสายแห่งปฏิจจ สมุปบาท ดังนี้. อย่าลืมว่า ผัสสะในที่นี่ ก็คือ อวิชชา สัมผัสดังที่กล่าวมาแล้ว ในเรื่องก่อนๆนั่นเอง.

หน้า 732
ทิฏฐิ ๖๒ เป็นผลของการไม่รู้ปฏิจจสมุปบาท

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีธรรม๒ที่ลึก ที่สัตว์อื่นเห็นได้ยาก ยากที่สัตว์อื่นจะรู้ตาม เป็น ธรรมเงียบสงบ ประณีต ไม่เป็นวิสัยที่จะหยั่งลงง่ายแห่งความ ตรึก เป็นของละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิตวิสัย ซึ่งเราตถาคตได้ทำให้ แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสอน ผู้อื่น ให้รู้แจ้ง เป็นคุณวุฒิเครื่องนำไปสรรเสริญของผู้ที่เมื่อจะพูดสรรเสริญ เราตถาคต ให้ถูกต้องตรงตามที่เป็นจริง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายเหล่านั้น เป็นอย่างไร เล่า?

[ หมวด ปุพพันตกัปปิกวาท๑๘ประการ]

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง เป็นพวกปุพพันตกัปปิกวาท มีปุพพันตานุทิฏฐิ [ทิฏฐิเป็น ไปตามซึ่งขันธ์อันเป็นปุพพันตะ (ขันธ์ที่มีแล้ว ในกาลก่อน)]ปรารภขันธ์อันมีแล้วในกาลก่อน ย่อมกล่าว บัญญัติซึ่งอธิมุตติบท (ทางแห่งความหลุดพ้นอย่างยิ่งของสัตว์ตาม ทิฏฐิแห่งตนๆ) มีอย่าง ต่างๆ เป็นอเนก ด้วยวัตถุ (ที่ตั้งแห่งทิฏฐิ)ทั้งหลาย ๑๘ ประการ. สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น อาศัยอะไร ปรารภอะไรจึงบัญญัติ อธิมุตติบท ด้วยวัตถุ ๑๘ ประการเหล่านั้น?


หน้า 733
(ก. สัสสตทิฏฐิ ประการ)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง เป็นพวกสัสสตวาท ย่อมบัญญัติอัตตา และโลกว่าเที่ยง ด้วยวัตถุทั้งหลาย๔ประการ... (ต่อไปนี้จะ ตัดข้อความอันยืดยาว แห่ง ทิฏฐิหนึ่งๆ ให้เหลือเฉพาะ แต่ใจความ นำมาเรียงลำดับติดต่อกันไป จนกว่า จะครบทั้ง ๖๒ ทิฏฐิ-วัตถุ และจัดเป็นหมวด ย่อยๆตามลำดับหมวดดัง ที่มีอยู่ใน พระบาลี นับตั้งแต่หมวด ก.ข้างบนนี้ไป)

(๑) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์บางท่าน ในโลกนี้อาศัย ความเพียรเผา กิเลส... จึงมีเจโตสมาธิ ในลักษณะที่เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว เขาย่อม ระลึกถึงขันธ์อันเคย อยู่ในกาล ก่อน มีประการต่างๆ เป็นอเนก คือระลึกได้ ๑ ชาติบ้าง... ฯลฯ... หลายแสนชาติเป็น อเนก บ้าง...แล้วกล่าว (ตามความเห็นของตน) อย่างนี้ว่าอัตตา และโลกเป็นของเที่ยง คงตัว ยืนอยู่เหมือนยอดภูเขา ตั้งอยู่อย่างมั่นคงดุจการตั้งอยู่ของ เสาระเนียด แม้ (ปรากฏการณ์ของ) สัตว์ทั้งหลาย จะแล่นไป ท่องเที่ยวไป เคลื่อนไปบังเกิดไปแต่สิ่งซึ่ง เที่ยงแท้สม่ำเสมอ ยังคงอยู่นั่นเอง ดังนี้ ...เพราะว่า เราย่อมระลึกได้ซึ่งขันธ์อันเคยอยู่ ในกาลก่อน มีประการต่างๆ เป็นอเนกได้ พร้อมทั้ง อาการ พร้อมทั้งอุเทศ ดังนี้. ... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็น ฐานะที่ อันสมณ พราหมณ์พวกหนึ่ง ซึ่งเป็นพวก สัสสตวาท อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงบัญญัติอัตตา และโลกว่าเที่ยง

(๒) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์บางท่าน อาศัยความเพียรเผากิเลส... จึงมี เจโตสมาธิในลักษณะ ที่เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว เขาย่อมระลึกถึงขันธ์ อัน เคยอยู่ ในกาลก่อน มีประการต่างๆเป็นอเนก คือระลึกได้ ๑ สังวัฏฏะ-วิวัฏฏกัปป์บ้าง...กระทั่ง สิบสังวัฏฏะวิวัฏฏ กัปป์บ้าง...แล้วกล่าว (ตามความเห็นของตน) อย่างนี้ว่าอัตตา และโลก เป็นของเที่ยง คงตัว ยืนอยู่เหมือน ยอดภูเขา ตั้งอยู่อย่างมั่นคงดุจการตั้งอยู่ ของ เสาระเนียด แม้(ปรากฏการณ์ของ)สัตว์ทั้งหลาย จะแล่นไป ท่องเที่ยวไป

เคลื่อนไปบังเกิดไป แต่สิ่งซึ่งเที่ยงแท้สม่ำเสมอ ยังคงอยู่นั่นเองดังนี้ ... เพราะว่าเรา ย่อมระลึกได้ซึ่ง ขันธ์ อันเคยอยู่ในกาลก่อน มีประการต่างๆ เป็นอเนกได้ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ดังนี้....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ อันสมณพราหมณ์ พวกหนึ่ง ซึ่งเป็นพวกสัสสตวาท อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงบัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง.

(๓) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์บางท่าน อาศัยความเพียรเผากิเลส.. จึงมี เจโตสมาธิ ในลักษณะ ที่ เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว เขาย่อมระลึกถึง ขันธ์อันเคยอยู่ในกาล ก่อน มีประการต่างๆเป็นอเนก คือระลึกได้ สิบสังวัฏฏะ- วิวัฏฏกัปป์บ้าง... กระทั่งถึง สี่สิบสังวัฏฏะ-วิวัฏฏกัปป์ บ้าง...แล้ว กล่าว (ตามความเห็น ของตน)อย่างนี้ว่า อัตตา และโลก เป็นของเที่ยง คงตัว ยืนอยู่เหมือนยอดภูเขา ตั้งอยู่ อย่างมั่นคงดุจการ ตั้งอยู่ของเสา ระเนียด แม้(ปรากฏการณ์ของ)สัตว์ทั้งหลาย จะแล่นไป ท่องเที่ยวไป เคลื่อนไป บังเกิดไป แต่สิ่งซึ่งเที่ยงแท้สม่ำ เสมอ ยังคงอยู่นั่นเอง ดังนี้ ...เพราะว่า เราย่อม ระลึกได้ซึ่งขันธ์อันเคยอยู่ ในกาลก่อน มีประการต่างๆเป็นอเนกได้ พร้อมทั้ง อาการ พร้อมทั้งอุเทศ ดังนี้..ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๓ อันสมณ-พราหมณ์ พวกหนึ่งซึ่งเป็นพวกสัสสตวาท อาศัยแล้วปรารภแล้ว จึง บัญญัติ อัตตาและโลกว่า เที่ยง

(๔) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์บางท่าน เป็นนักตรึกนักตรองเขา ย่อมกล่าว ตามที่ความตรึก พาไป ความตรองแล่นไป ตามปฏิภาณ ของตนเองว่า อัตตา และโลก เป็นของเที่ยง คงตัว ยืนอยู่ เหมือนยอดภูเขา ตั้งอยู่อย่างมั่นคง ดุจการตั้งอยู่ ของเสาระเนียด แม้ (ปรากฏการณ์ ของ) สัตว์ทั้ง หลาย จะแล่นไป ท่องเที่ยวไป เคลื่อนไป บังเกิดไปแต่สิ่ง ซึ่งเที่ยงแท้สม่ำเสมอ ยังคงอยู่นั่นเอง ดังนี้ ...ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๔ อันสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ซึ่งเป็นพวก สัสสตวาท อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงบัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์ทั้งหลายเท่าใด เป็นพวกสัสสตวาท บัญญัติอัตตา และโลกว่า เป็นของ เที่ยง สมณพราหมณ์ทั้งหลาย เหล่า นั้นทั้งหมด บัญญัติโดย อาศัยวัตถุทั้งหลาย ๔ ประการ เหล่านี้ หรือว่าวัตถุประการใดประการหนึ่ง ในบรรดาวัตถุ ทั้งหลาย ๔ ประการเหล่านี้ วัตถุ อื่นนอกจากนี้ มิได้มี

ดูก่อนภิกษุทั้งหลายตถาคต ย่อมรู้ชัดว่า ฐานะที่ตั้งแห่งทิฏฐิเหล่านี้ เมื่อใครถือเอา แล้ว อย่างนี้ ลูบคลำ แล้ว อย่างนี้ ก็จะมีคติอย่างนั้น มีอภิสัมปรายภพอย่างนั้น ตถาคต ย่อมรู้ชัดซึ่งข้อนั้นด้วยรู้ชัด ซึ่งธรรมอัน ยิ่งไปกว่านั้นด้วย และไม่จับฉวยไว้ ซึ่งสิ่งที่ตถาคตรู้แล้วนั้นด้วย และเมื่อ ไม่จับฉวยอยู่ ความดับเย็น (นิพฺพุติ)ก็เป็นสิ่งที่ ตถาคตรู้แจ้งแล้ว เฉพาะตนนั่นเทียว เพราะรู้แจ้งตามที่เป็นจริง ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้น ซึ่งความตั้งอยู่ไม่ ได้ ซึ่งรสอร่อย ซึ่งโทษอันเลวทราม และซึ่งอุบายเป็นเครื่อง ออกไปพ้น แห่ง เวทนาทั้งหลาย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นผู้พ้นวิเศษแล้ว เพราะความไม่ยึดมั่น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลาย เหล่านี้แล เป็นธรรมที่ลึก ที่สัตว์อื่น เห็นได้ยาก ยากที่สัตว์อื่นจะรู้ตาม เป็นธรรมเงียบสงบ ประณีต ไม่เป็น วิสัยที่จะหยั่งลงง่ายแห่ง ความตรึก เป็นของละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิตวิสัย ซึ่งเราตถาคตได้ทำให้แจ้ง ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง เป็นคุณวุฒิเครื่องนำไปสรรเสริญ ของผู้ที่เมื่อจะพูด สรรเสริญ เราตถาคต ให้ถูกต้องตรงตามที่เป็นจริง
………………………………………………………………………………
หมายเหตุผู้รวบรวม
ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นความสำ คัญของสิ่งที่เรียกว่าเวทนา ดังที่พระองค์ ได้ตรัสว่า เพราะรู้เหตุให้เกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ไม่ได้ รสอร่อยโทษต่ำ ทราม อุบายเครื่อง ออก ตถาคต จึงรู้แจ้งสัสสต ทิฏฐิ เหล่านั้นรู้แจ้งซึ่งสิ่งที่ยิ่งขึ้นไป กว่าทิฏฐิเหล่านั้น แล้วไม่ยึดมั่นจนกระทั่ง รู้ แจ้งนิพพุติ (ความดับเย็น) อันเป็นภายใน. ความรู้แจ้งเวทนาในลักษณะ ๕ ประการ มีรู้แจ้งเหตุให้เกิดขึ้นเป็นต้น นั้น คือรู้แจ้งเวทนา ในสายแห่ง ปฏิจจสมุปบาท ทั้งส่วนหน้าและส่วนหลังของเวทนา นั้นเอง.ถ้าไม่รู้แจ้ง เวทนา ในลักษณะอย่างนี้ ย่อมไม่พ้นไปจากข่ายแห่งสัสสตทิฏฐิ ๔ ประการนี้.

หน้า 736
(ข.เอกัจจสัสสติก - เอกัจจอสัสสติกทิฏฐิ ๔ ประการ)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง เป็นพวกเอกัจจสัสสติก-เอกัจจอสัสสติกวาท ย่อมบัญญัติ อัตตาและโลกว่าเที่ยงบางอย่าง ไม่ เที่ยงบางอย่าง ด้วยวัตถุทั้งหลาย ๔ ประการ

(๕) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ...ฯลฯ... ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ คือ สัตว์ตนใดตนหนึ่ง เคลื่อนจากหมู่ อาภัสรเทพ นั้นแล้ว มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ครั้นมา สู่ความเป็นอย่างนี้ แล้ว ได้ออกบวชจากเรือน เป็นผู้ ไม่มีเรือน อาศัยความเพียรเผากิเลส... มีเจโตสมาธิ ในลักษณะที่เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว เขาย่อม ระลึก ถึงขันธ์ อันเคยอยู่ในกาลก่อน (ชั่วเวลา ที่เขาอยู่ในหมู่อาภัสสรเทพ) ที่เกินกว่านั้น เขาระลึกไม่ได้.

สัตว์นั้นได้กล่าวว่าพรหมผู้เจริญผู้ใด เป็นมหาพรหม เป็นผู้ครอบงำสัตว์ทั้งหลาย ไม่มีสัตว์ใดครอบงำเขา ได้ เห็นสิ่งทั้งหลายอย่างถ่องแท้ เป็นผู้ให้อำนาจเป็นไป เป็นอิศวร เป็นผู้สร้าง เป็นผู้นิรมิต เป็นผู้ประเสริฐ สุด เป็นผู้จัดสรร (สิ่งทั้งปวง) ผู้มีอำนาจ เป็นบิดาแห่งสัตว์ทั้งหลายทั้งที่เป็นแล้ว และจักเป็น. พวกเราทั้ง หลาย เป็นผู้อัน พรหมนั้นนิรมิตแล้ว.

พรหมนั้น เป็นผู้เที่ยง ผู้ยั่งยืน ผู้เที่ยงแท้ ผู้ไม่มีความแปรปรวน เป็นธรรมดา จักตั้งอยู่ อย่างเที่ยง แท้สม่ำเสมอเช่นนั้นนั่นเทียว. ส่วนว่า เราทั้งหลาย เป็นผู้อันพรหมนั้น นิรมิตแล้ว จึงเป็นผู้ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน มีอายุน้อย มีการจุติเป็นธรรมดา มาสู่ความเป็น อย่างนี้แล้ว ดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๑ อันสมณ-พรหมณ์พวกหนึ่งซึ่งเป็นพวก เอกัจจสัสสติก เอกัจจอสัส สติกวาทอาศัยแล้ว ปรารภแล้วจึง บัญญัติ อัตตา และโลกว่าเที่ยงบางอย่าง ไม่เที่ยงบางอย่าง.

(๖) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ...ฯลฯ... ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ สัตว์ตนใดตนหนึ่ง เคลื่อนจากหมู่ ขิฑ ฑาปโทสิกเทพนั้นแล้ว มาสู่ความเป็น อย่างนี้ ครั้นมาสู่ความเป็น อย่างนี้แล้ว ได้ออกบวชจากเรือน เป็นผู้ไม่มีเรือน อาศัยความเพียรเผากิเลส... มีเจโต สมาธิในลักษณะที่เมื่อจิตตั้งมั่น แล้วเขาย่อมระลึกถึง ขันธ์อันเคยอยู่ในกาลก่อนได้ ที่เกินกว่า นั้นเขาระลึกไม่ได้.

สัตว์นั้นได้กล่าวว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลายเอ๋ย เทพทั้งหลาย เหล่าใด ซึ่งมิใช่พวก ขิฑฑาปโทสิกา เทพทั้งหลายเหล่านั้น ถึงพร้อมด้วยธรรมคือ ความยินดีในการร่าเริง และ การเล่นหัว ไม่เกินเวลา (ไม่เกิน ขนาด) เป็นอยู่ เมื่อ เทพทั้งหลายเหล่านั้น ไม่ยินดีในการร่าเริงเล่นหั วจนเกินเวลาเป็นอยู่ สติย่อม ไม่หลงลืม เพราะความไม่หลง ลืมแห่ง สติ เทพทั้งหลายเหล่านั้นย่อมไม่เคลื่อน จากเทพนิกายนั้น จึงเป็นผู้เที่ยง ผู้ยั่งยืน ผู้เที่ยงแท้ มีความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา ตั้งอยู่ อย่าง เที่ยงแท้สม่ำ เสมอ เช่นนั้นนั่นเทียว.

ส่วนว่าเราทั้งหลายซึ่งเป็นพวกขิฑฑาปโทสิกา ได้เป็นผู้ยินดีในการร่าเริงเล่นหัว จนเกินเวลา เมื่อพวกเรายินดีในการร่าเริงเล่นหัว จนเกินเวลา สติย่อมหลงลืม เพราะ ความหลงลืมแห่งสติ พวกเราทั้งหลาย จึงเคลื่อนแล้ว จากเทพ นิกายนั้น เป็นผู้ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน มีอายุน้อย มีการจุติ เป็นธรรมดา มาแล้วสู่ความเป็นอย่าง
นี้ ดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๒ อันสมณพราหมณ์พวกหนึ่งซึ่งเป็นพวก เอกัจจสัสสติกเอกัจจ อสัสสติกวาทอาศัยแล้วปรารภแล้ว จึงบัญญัติอัตตา และ โลกว่าเที่ยงบางอย่าง ไม่เที่ยงบางอย่าง.

(๗) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ...ฯลฯ... ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ สัตว์ตนใดตนหนึ่ง เคลื่อนจากหมู่ มโนปโทสิกเทพ นั้นแล้ว มาสู่ความเป็นอย่าง นี้ ครั้นมาสู่

ความเป็นอย่างนี้แล้ว ได้ออกบวชจากเรือน เป็นผู้ไม่มีเรือน อาศัยความเพียรเผา กิเลส... มีเจโตสมาธิ ในลักษณะที่เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว เขาย่อม ระลึกถึงขันธ์อันเคยอยู่ ในกาลก่อน ได้ ที่เกินกว่านั้น เขาระลึกไม่ได้.

สัตว์นั้นได้กล่าวว่า เทพทั้งหลายที่ไม่ใช่ พวกมโนปโทสิกา ย่อมไม่เพ่งโทษ ซึ่งกันและ กันเกินเวลา (เกินขนาด) เมื่อเทพ ทั้งหลายเหล่านั้นไม่เพ่งโทษ ซึ่งกันและ กันเกินเวลา จิตก็ไม่ประทุษร้ายซึ่งกัน และกัน เมื่อมี จิต ไม่ประทุษร้ายซึ่งกันและกัน กายก็ไม่บอบช้ำ จิตก็ไม่บอบช้ำ เทพทั้งหลาย เหล่านั้น จึงไม่เคลื่อนจากเทพนิกายนั้น เป็นผู้เที่ยง ผู้ยั่งยืน ผู้เที่ยงแท้ มีความไม่แปรปรวน เป็นธรรมดา ตั้งอยู่อย่างเที่ยงแท้สม่ำเสมอ เช่นนั้นนั่นเทียว.

ส่วนพวกเราเหล่ามโนปโทสิกา มีปรกติเข้าไปเพ่งโทษ ซึ่งกันและกันอยู่เกินเวลา เมื่อ เพ่งโทษ ซึ่งกัน และกันอยู่เกินเวลา จิตก็ประทุษร้ายในกันและกัน เมื่อมีจิต ประทุษ ร้ายในกันและกัน กายก็บอบช้ำ จิตก็บอบช้ำ. พวกเราทั้งหลาย จึงเคลื่อน แล้วจาก เทพนิกายนั้น เป็นผู้ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน มีอายุน้อย มีการจุติเป็นธรรมดา แล้วมาสู่ความ เป็นอย่างนี้ ดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๓อันสมณพราหมณ์พวกหนึ่งซึ่ง เป็นพวกเอกัจจ สัสสติกเอกัจจ อสัสสติกวาทอาศัยแล้วปรารภแล้ว จึงบัญญัติอัตตา และโลกว่า เที่ยงบางอย่าง ไม่เที่ยงบางอย่าง

(๘) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์บางท่าน เป็นนักตรึกนักตรองเขา ย่อมกล่าว ตามที่ความตรึก พาไป ความตรองแล่นไป ตามปฏิ ภาณ ของตน อย่างนี้ว่า อัตตาใด ที่เขาเรียกว่า จักษ ดังนี้บ้าง โสตะ ดังนี้บ้างฆานะ ดังนี้บ้างชิวหา ดังนี้บ้าง กายะ ดังนี้บ้าง อัตตานี้ ๆ ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่เที่ยงแท้ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา

ส่วนว่าอัตตาใด ที่เขาเรียกกันว่า จิต ก็ดี มโน ก็ดี วิญญาณ ก็ดีอัตตานี้ เป็นของเที่ยง ยั่งยืน เที่ยงแท้ มีอันไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่อย่างเที่ยงแท้ สม่ำเสมอ เช่นนั้น นั่นเทียว ดังนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๔

อันสมณพราหมณ์พวกหนึ่งซึ่งเป็นพวกเอกัจจสัสสติกเอกัจจอสัสสติกวาทอาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึง บัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยงบางอย่าง ไม่เที่ยงบางอย่าง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่าใด เป็นพวกเอกัจจสัสสติก-เอกัจจอสัสสติกวาท บัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยงบางอย่าง ไม่เที่ยงบางอย่าง สมณ-พราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้นทั้งหมด บัญญัติโดยอาศัยวัตถุทั้งหลาย ๔ ประการ เหล่านี้ หรือว่าวัตถุประการใดประการหนึ่ง ในบรรดาวัตถุ ทั้งหลาย ๔ ประการเหล่านี้ วัตถุอื่นนอกจากนี้ มิได้มี.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตย่อมรู้ชัดว่า ฐานะที่ตั้งแห่งทิฏฐิเหล่านี้ เมื่อใครถือเอา แล้ว อย่างนี้ ลบคลำ แล้วอย่างนี้ ก็จะมีคติอย่างนั้น มีอภิสัม ปรายภพอย่างนั้น ตถาคตย่อม รู้ชัด ซึ่งข้อนั้นด้วย รู้ชัดซึ่งธรรม อันยิ่งไปกว่านั้นด้วย และไม่จับฉวยไว้ ซึ่งสิ่งที่ตถาคต รู้แล้วนั้นด้วย และ เมื่อไม่จับบฉวยอยู่ ความดับเย็น (นิพฺพุติ) ก็เป็นสิ่งที่ตถาคตรู้แจ้งแล้ว เฉพาะตนนั่นเทียว เพราะรู้แจ้งตามที่เป็นจริงซึ่งเหตุ ให้เกิดขึ้น ซึ่ง ความตั้ง อยู่ไม่ได้ ซึ่งรสอร่อย ซึ่งโทษอันเลวทราม และซึ่งอุบาย เป็นเครื่อง ออกไปพ้นแห่ง เวทนา ทั้งหลาย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นผู้พ้นวิเศษแล้ว เพราะความไม่ยึดมั่น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้ง หลายเหล่านี้แลเป็นธรรมที่ลึก ที่สัตว์อื่น เห็นได้ยาก ยากที่สัตว์อื่นจะรู้ตาม เป็นธรรมเงียบสงบ ประณีต ไม่เป็นวิสัยที่จะหยั่งลงง่าย แห่ง ความตรึก เป็นของละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิตวิสัย ซึ่งเราตถาคตได้ทำให้ แจ้งด้วย ปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง เป็นคุณวุฒิเครื่องนำไปสรรเสริญ ของผู้ ที่เมื่อจะพูด สรรเสริญเราตถาคต ให้ถูกต้องตรงตามที่เป็นจริง.

…………………………………………………………………………………………………..

หมายเหตุผู้รวบรวม ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า แม้ทิฏฐิของพวกเอกัจจสัสสติก เอกัจจ- อสัสสติกวาท ๔ จำพวกนี้ ก็มีมูลมาจากสิ่งที่เรียกว่า เวทนา มีข้อความ อย่างเดียวกับข้อความที่ พระองค์ตรัสเกี่ยวกับ พวกสัสสตวาท ขอให้ย้อนไป ดูหมายเหตุ ท้ายหมวดสัสสตวาท อีกครั้งหนึ่ง จนเห็นว่า ถ้าไม่รู้แจ้งเวทนา ในลักษณะ อย่างนั้น ย่อมไม่พ้นไปจากข่ายแห่งเอกัจจสัสสติกเอกัจจอสัสสติกทิฏฐิ ๔ ประการนี้ได้. นี่แหละคือความสำคัญของสิ่งที่เรียกว่า เวทนา เพียงสิ่งเดียว.



หน้า 740
(ค. อันตานันติกทิฏฐ ประการ)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง เป็นพวกอันตานันติกวาท ย่อมบัญญัติ ซึ่งโลกว่า มีที่สุด หรือไม่มีที่สุด ด้วยวัตถุทั้งหลาย ๔ ประการ

(๙) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์บางท่าน อาศัยความเพียรเผากิเลส ... มีเจโต สมาธิในลักษณะ ที่เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว เป็นผู้มีสัญญาว่า มีที่สุดอยู่ในโลกสมณ พราหมณ์ ผู้นี้กล่าวอย่างนี้ว่า โลกอันกลมรอบ ตัวนี้ มีที่สุด. เพราะเหตุไร ข้าพเจ้า จึงกล่าวอย่างนี้? เพราะเหตุว่า ข้าพเจ้า อาศัยความเพียรเผากิเลส... มีเจโตสมาธิใน ลักษณะที่ เมื่อจิต ตั้งมั่นแล้ว เป็นผู้มีสัญญาว่า มีที่สุดอยู่ในโลก. ด้วยเหตุนี้ ข้าพเจ้า จึงรู้ความข้อนี้ว่า โลกอันกลมรอบตัวนี้ มีที่สุด ดังนี้.  

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ อันสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ซึ่งเป็นพวก อันตานันติกวาท อาศัยแล้ว ปรารภแล้วจึงบัญญัติซึ่งโลก ว่ามีที่สุด หรือไม่มีที่สุด.

(๑๐) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์บางท่าน อาศัยความเพียรเผากิเลส... มีเจโตสมาธิในลักษณะ ที่เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว เป็นผู้มีสัญญาว่าไม่มี ที่สุดอยู่ในโลก. สมณพราหมณ์ผู้นี้กล่าวอย่างนี้ว่า โลกอันไม่มี ที่สุดรอบนี้ ไม่มีที่สุด สมณพราหมณ์ ทั้งหลายเหล่าใด เป็นพวกที่กล่าวว่าโลกอัน กลมรอบตัวนี้ มีที่สุด ดังนี้นั้น คำพูดของ สมณพราหมณ์เหล่านั้น เป็นมุสา เพราะว่า โลกอันไม่มีที่สุดรอบนี้ ไม่มีที่สุด.

ข้อนี้เพราะเหตุไรเล่าข้าพเจ้าอาศัยความเพียร เผากิเลส ... มีเจโตสมาธิในลักษณะที่ เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว เป็นผู้มีสัญญาว่า ไม่มีที่สุดอยู่ในโลกด้วยเหตุนี้ ข้าพเจ้าจึงรู้ ความ ข้อนี้ว่า โลกอันไม่มีที่สุดรอบนี้ ไม่มีที่สุด ดังนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

นี้เป็นฐานะที่ อันสมณพราหมณ์พวกหนึ่งซึ่งเป็นพวก อันตานันติกวาท อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงบัญญัติ ซึ่งโลกว่ามีที่สุด หรือไม่มีที่สุด.

(๑๑) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์บางท่าน อาศัยความเพียรเผากิเลส... มีเจโต สมาธิในลักษณะ ที่เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว เป็นผู้มีสัญญาว่า มีที่สุดในเบื้องบนและ เบื้องต่ำ อยู่ในโลก มีสัญญาว่าไม่มีที่สุด ในเบื้องขวาง(รอบตัว) อยู่ในโลก.

สมณ-พราหมณ์ผู้นี้ กล่าวอย่างนี้ว่า โลกนี้มี ที่สุดด้วย ไม่มีที่สุด้วย สมณพราหมณ์ ทั้งหลายเหล่าใด เป็นพวกที่กล่าวว่า โลกอันกลมรอบตัวนี้ มีที่สุด ดังนี้นั้น คำพูดของ สมณพราหณ์เหล่า นั้น เป็นมุสา ถึงแม้สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่าใด ซึ่งเป็นพวก ที่พูดว่าโลกอันไม่มีที่สุด รอบนี้ ไม่มีที่สุด ดังนี้นั้น คำของสมณพราหมณ์แม้ เหล่านั้น ก็เป็นมุสาเพราะเหตุว่า โลกนี้มีที่สุด้วย ไม่มีที่สุดด้วย.

ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า? ข้อนั้นเพราะเหตุว่า ข้าพเจ้าอาศัยความเพียรเผากิเลส... มีเจโตสมาธิในลักษณะ ที่ เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว เป็นผู้มีสัญญาว่า มีที่สุดในเบื้องบน และเบื้องต่ำ อยู่ในโลก มีสัญญาว่า ไม่มี ที่สุดในเบื้องขวาง(รอบตัว) อยู่ในโลก. ด้วยเหตุนี้ ข้าพเจ้าจึงรู้ความข้อนี้ว่า โลกนี้มีที่สุด้วย ไม่มีที่สุด้วย ดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๓ อันสมณ-พราหมณ์พวกหนึ่ง ซึ่งเป็นพวกอันตา นันติกวาท อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงบัญญัติซึ่งโลกว่า มีที่สุดหรือไม่มีที่สุด.

(๑๒) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์บางท่าน เป็นนักตรึกนักตรองเขา ย่อม กล่าวตามที่ความตรึก พาไป ความตรองแล่นไป ตามปฏิภาณของ ตนเองว่าโลกนี้มีที่สุดก็หามิได้ ไม่มีที่สุดก็หามิได้. สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่าใด เป็นพวก ที่กล่าวว่า โลกอันกลมรอบตัวนี้ มีที่สุด ดังนี้นั้น คำพูดของ สมณพราหมณ์เหล่านั้น เป็น มุสา แม้สมณพราหมณ์ ทั้งหลายเหล่าใด ซึ่งเป็นพวกที่กล่าวว่า โลกอันไม่มี ที่สุด

รอบนี้ ไม่มีที่สุด ดังนี้นั้น คำพูดของสมณพราหมณ์ แม้เหล่านั้น ก็เป็นมุสา ถึงแม้สมณ พราหมณ์ทั้งหลาย เหล่าใด ซึ่งเป็นพวกที่กล่าวว่าโลกนี้ มีที่สุด้วย ไม่มีที่สุดด้วยดังนี้ นั้น คำพูดของสมณพราหมณ์แม้เหล่า นั้น ก็เป็นมุสา เพราะว่า โลกนี้มีที่สุดก็หามิได้ ไม่มีที่สุดก็หามิได้ ดังนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็น ฐานะ ที่ อันสมณ-พราหมณ์ พวกหนึ่งซึ่งเป็นพวกอันตานันติกวาทอาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงบัญญัติซึ่ง โลกว่า มีที่สุดหรือไม่มีที่สุด.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่าใด เป็นพวกอันตานันติก-วาท บัญญัติโลกว่ามีที่สุด หรือไม่มีที่สุด สมณพราหมณ์ทั้งหลาย เหล่านั้นทั้งหมด บัญญัติ โดยอาศัยวัตถุทั้งหลาย ๔ ประการเหล่านี้ หรือว่าวัตถุประการใดประการหนึ่ง ในบรรดา วัตถุทั้งหลาย ๔ ประการเหล่านี้ วัตถุอื่นนอกจากนี้ มิได้มี.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลายตถาคตย่อมรู้ชัดว่า ฐานะที่ตั้งแห่งทิฏฐิเหล่านี้ เมื่อใครถือเอาแล้ว อย่างนี้ ลบคลำ แล้วอย่างนี้ ก็จะมีคติอย่างนั้น มีอภิสัม ปรายภพอย่างนั้น ตถาคตย่อม รู้ชัดซึ่งข้อนั้นด้วยรู้ชัด ซึ่งธรรม อันยิ่งไปกว่านั้นด้วย และเมื่อไม่จับฉวยไว้ซึ่งสิ่งที่ ตถาคต รู้แล้วนั้นด้วย และเมื่อไม่ จับฉวยอยู่ความดับเย็น (นิพฺพุติ) ก็เป็นสิ่งที่ตถาคต รู้แจ้งแล้วเฉพาะตนนั่นเทียว เพราะรู้แจ้งตามที่เป็นจริง ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้น ซึ่งความ ตั้งอยู่ไม่ได้ ซึ่งรสอร่อย ซึ่งโทษอันเลวทราม และซึ่งอุบายเป็นเครื่องออก ไปพ้นแห่ง เวทนา ทั้งหลาย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นผู้พ้นวิเศษแล้ว เพราะความไม่ยึดมั่น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้ง หลายเหล่านี้แล เป็นธรรมที่ลึก ที่สัตว์อื่น เห็นได้ยาก ยากที่สัตว์อื่นจะรู้ตาม เป็นธรรมเงียบสงบ ประณีต ไม่เป็นวิสัยที่จะหยั่งลงง่ายแห่ง ความตรึก เป็นของละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิตวิสัย ซึ่งเราตถาคตได้ทำ ให้แจ้งด้วย ปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งเป็นคุณวุฒิเครื่องนำไปสรรเสริญ ของผู้ที่ เมื่อจะพูด สรรเสริญเราตถาคต ให้ถูกต้องตรงตามที่เป็นจริง.

หมายเหตุผู้รวบรวม ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า แม้ทิฏฐิของพวกอันตานันติกวาท ๔ จำพวกนี้ ก็มีมูล มาจากสิ่งที่เรียกว่า เวทนา มีข้อ ความอย่างเดียวกับข้อความ ที่พระองค์ตรัสเกี่ยวกับพวกสัสสตวาท ขอให้ย้อนไปดูหมายเหตุท้ายหมวด สัสสตวาท อีกครั้งหนึ่ง จนเห็นว่า ถ้าไม่รู้ แจ้งเวทนา ในลักษณะอย่างนั้น ย่อมไม่พ้นไปจากข่าย แห่ง อันตานันติกทิฏฐิ ๔ ประการนี้ได้. นี่แหละคือความสำ คัญของสิ่งที่เรียกว่า เวทนา เพียงสิ่งเดียว.


หน้า 743

(ฆ. อมราวิกเขปิกทิฏฐิ ประการ)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง เป็นพวกอมราวิกเขปิกวาทเมื่อถูกถาม ปัญหาในที่นั้นๆ ย่อมถึงความส่ายแห่งวาจา อันดิ้นได้ไม่ ตายตัว ด้วยวัตถุทั้งหลาย ๔ ประการ (๑๓) ดูก่อนภิกษุทั้ง หลาย สมณพราหมณ์บางท่าน ...มีความคิดว่าเราไม่รู้ ชัด ตามที่เป็นจริงว่า นี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล เมื่อไม่ รู้ตาม ที่เป็นจริง อย่างนี้ไป พยากรณ์ เข้าว่านี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล ดังนี้แล้ว นั่นจะเป็นการกล่าวเท็จ ของเรา การกล่าวเท็จ เป็นความคับแค้น ความคับแค้น เป็นอันตราย. ดังนี้

สมณพราหมณ์ผู้นี้ กลัวต่อ มุสาวาท ขยะแขยงต่อมุสาวาท อยู่อย่างนี้ ก็ไม่ยอม กล่าวว่า เช่นนี้เป็นกุศล เช่นนี้เป็นอกุศล เมื่อถูกเขา ถามอยู่ด้วยปัญหาข้อนี้ ก็ถึงซึ่ง ความส่ายแห่งวาจาอันดิ้นได้ไม่ตายตัว เช่นนี้ว่า อย่างนี้ ก็มิใช่ อย่างนั้น ก็มิใช่ อย่างอื่น ก็มิใช่ ไม่ใช่ ก็มิใช่ไม่ไม่ใช่ ก็มิใช่ ดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๑ อัน สมณพราหมณ์พวกหนึ่งซึ่งเป็นพวก อมราวิกเขปิกวาท อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว เมื่อถูกถามปัญหานั้นๆ ย่อมถึงความส่าย แห่งวาจาอันดิ้นได้ไม่ตายตัว.

(๑๔) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์บางท่าน ...มีความคิดว่าเราไม่รู้ชัดตาม ที่เป็นจริงว่า นี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล เมื่อไม่รู้ตามที่เป็นจริง อย่างนี้ไปพยากรณ์เข้าว่า นี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล ดังนี้แล้ว นั่นจะทำ ให้เกิดฉันทะ (ความพอใจ) บ้าง ราคะบ้าง โทสะบ้าง ปฏิฆะ(ความหงุดหงิด) บ้าง ฉันทะ ราคะ โทสะ ปฏิฆะ เกิดในธรรมใด ธรรมนั้น เป็นอุปทานแก่เรา อุปาทานนั้น เป็นความคับแค้นแก่เรา ความคับแค้น เป็นอันตรายดังนี้

สมณพราหมณ์ผู้นี้กลัวต่ออุปาทาน ขยะแขยงต่ออุปทาน อยู่อย่างนี้ ก็ไม่ยอมกล่าวว่า เช่นนี้เป็นกุศล เช่นนี้เป็นอกุศล เมื่อถูกเขาถามอยู่ด้วย ปัญหาข้อนี้ ก็ถึงซึ่งความส่ายแห่งวาจา อันดิ้นได้ ไม่ตายตัว เช่นนี้ว่า อย่างนี้ ก็มิใช่ อย่างนั้น ก็มิใช่ อย่างอื่น ก็มิใช่ ไม่ใช่ ก็มิใช่ ไม่ไม่ใช่ ก็มิใช่ ดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๒ อันสมณพราหมณ์พวกหนึ่งซึ่งเป็นพวกอมราวิก-เขปิกวาทอาศัยแล้ว ปรารภแล้ว เมื่อถูกถามปัญหานั้นๆ ย่อมถึงความส่ายแห่ง วาจา อันดิ้นได้ไม่ตายตัว.

(๑๕) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์บางท่าน ...มีความคิดว่าเราไม่รู้ชัดตามที่เป็นจริงว่า นี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล เมื่อไม่รู้ตามที่เป็น จริง อย่างนี้ไปพยากรณ์เข้าว่า นี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล ดังนี้แล้วเกิดมี สมณพราหมณ์ ทั้งหลายที่เป็นบัณฑิต มีปัญญาละเอียดอ่อน เชี่ยวชาญใน การข่มด้วยวาทะ มีความเฉียบ แหลมดุจยิงถูกเส้นขนเนื้อทราย เผอิญมาเที่ยวทำลายทิฏฐิของผู้อื่น ด้วยปัญญาอยู่สมณพราหมณ์ เหล่านั้น จะพึง รุมกันซักไซ้ไล่เลียงเราในที่นั้น เราจะไม่สามารถตอบโต้แก่เขาได้ การที่ตอบโต้เขาไม่ได้ นั้น มันเป็นความคับแค้น แก่เรา ความคับแค้นนั้นเป็น อันตราย ดังนี้.

สมณพราหมณ์ผู้นี้ กลัวต่อการรุม ล้อมซักถาม ขยะแขยงต่อการรุมล้อมซักถาม อยู่อย่างนี้ก็ไม่ยอม กล่าวว่า เช่นนี้เป็นกุศล เช่นนี้เป็น อกุศล เมื่อถูกเขาถามอยู่ด้วย ปัญหา ข้อนี้ก็ถึงซึ่งความ ส่ายแห่งวาจา อันดิ้นได้ไม่ตายตัว เช่นนี้ว่า อย่างนี้ ก็มิใช่ อย่างนั้น ก็มิใช่ อย่างอื่น ก็มิใช่ ไม่ใช่ ก็มิใช่ ไม่ไม่ใช่ ก็มิใช่ ดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลายนี้ เป็น ฐานะที่ ๓ อันสมณ พราหมณ์ พวกหนึ่งซึ่งเป็น พวก อมราวิก เขปิกวาท อาศัย แล้วปรารภแล้ว เมื่อถูกถาม ปัญหานั้นๆ ย่อมถึง ความส่าย แห่งวาจาอันดิ้นได้ไม่ตายตัว.

(๑๖) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณืบางท่าน เป็นคนเขลา เป็นคนงมงาย เพราะความเป็นคนเขลา เพราะความเป็นคนงมงาย เมื่อถูกถาม ปัญหาในที่นั้น ๆ ก็ถึงซึ่งความส่ายแห่งวาจาอันดิ้นได้ไม่ตายตัว โดย กล่าวว่า ถ้าท่านถามเราว่า โลกอื่นมีอยู่หรือ? ถ้าเรารู้สึกว่าโลกอื่นมีอยุ่ เราก็จะพยากรณ์ข้อนั้นแก่ ท่านว่า โลกอื่น มีอยู่. แต่ความจริงนั้น แม้การตอบว่าอย่างนี้ ก็ไม่เป็นที่ชอบใจแก่เรา แม้การตอบว่า อย่างโน้น ก็มิได้ เป็น ที่ชอบใจแก่เรา แม้การตอบว่าอย่างอื่น ก็ไม่เป็นที่ชอบใจแก่เรา แม้การตอบว่าไม่ ก็มิได้เป็นที่ชอบใจ แก่เรา แม้การตอบว่า ไม่ ก็หามิได้ ก็ไม่เป็นที่ชอบใจแก่เรา....

(จะมีการตอบส่ายไปส่ายมา ไม่ตายตัวถึง ๕ ประการ ในลักษณะอย่างนี้ ในทุก ๆ คำถาม ซึ่งได้สมมติ ขึ้นต่อไปอีกถึง ๑๕ คำถาม. รวมกันทั้งหมด เป็น ๑๖ คำถาม ทั้งคำถามที่กล่าวแล้วข้างต้น.

สำหรับอีก ๑๕ คำถามต่อไปนั้น คือ
๒. โลกอื่นไม่มีหรือ?
๓. โลกอื่นมีและไม่มีหรือ?
๔. โลกอื่นมี ก็หามิได้ไม่มี ก็หา มิได้หรือ?
๕. สัตว์เป็นโอปปาติกะ (เกิดผุดขึ้น) มีหรือ?
๖. สัตว์เป็นโอปปาติกะ ไม่มีหรือ?
๗. สัตว์เป็น โอปปาติกะมี และไม่มี หรือ?
๘. สัตว์เป็นโอปปาติกะมีก็หามิได้ไม่มีก็หามิได้หรือ?
๙. ผลแห่งกรรมดีกรรม ชั่วมีหรือ?
๑๐. ผลแห่งกรรมดีกรรมชั่วไม่มีหรือ?
๑๑. ผลแห่ง กรรมดีกรรมชั่วมีและไม่มีหรือ?
๑๒. ผลแห่ง กรรมดีกรรมชั่วมีก็หามิได้ไม่มีก็หามิได้หรือ?
๑๓. ตถาคตตายแล้วมีอีกหรือ?
๑๔. ตถาคตตายแล้ว ไม่มีอีก หรือ?
๑๕. ตถาคตตายแล้วมีอีกและไม่มีอีกหรือ? ๑๖.

ตถาคตตายแล้วมีอีกก็หามิได้ไม่มีอีกก็หามิได้หรือ? แล้วก็มีคำตอบต่อท้ายทุก ๆ ปัญหาว่า ถ้าเขารู้สึกว่าอย่างไร เขาก็จะตอบว่า อย่างนั้น ตามตัวปัญหาที่ถาม แล้วก็กลับปฏิเสธว่า แต่ความจริงนั้น แม้การตอบว่า อย่างนี้ ก็ไม่ เป็นที่ชอบใจแก่เรา แม้การตอบว่า อย่างโน้น ก็ไม่เป็นที่ชอบใจแก่เรา แม้การตอบว่าอย่างอื่น ก็ไม่เป็นที่ชอบใจแก่เรา แม้การตอบว่าไม่ ก็ไม่เป็น ที่ชอบใจแก่เรา แม้การตอบว่า ไม่ก็หามิได้ ก็ไม่เป็นที่ชอบใจแก่เรา.)
ก่อนภิกษุทั้งหลาย

นี้เป็นฐานะที่ อันสมณพราหมณ์พวกหนึ่งซึ่งเป็นพวก อมราวิกเขปิกวาทอาศัยแล้ว ปรารภแล้ว เมื่อถูก ถามปัญหานั้น ย่อมถึงซึ่งความส่าย แห่งวาจาอันดิ้นได้ ไม่ตายตัว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่าใด ที่เป็นพวกอมราวิก- เขปิกวาท เมื่อถูกเขาถาม ปัญหา ในที่นั้น ๆ ย่อมถึงซึ่งความส่าย แห่ง วาจาอันดิ้นได้ไม่ตายตัว สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น ทั้งหมด ก็อาศัยวัตถุทั้งหลาย ๔ ประการเหล่านี้ หรือว่าวัตถุประการใดประการหนึ่ง ในบรรดาวัถตุ ทั้งหลาย ๔ ประการเหล่านี้ วัตถุอื่นนอกจากนี้มิได้มี.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตย่อมรู้ชัดว่า ฐานะที่ตั้งแห่งทิฏฐิเหล่านี้ เมื่อใครถือเอา แล้วอย่างนี้ ลูบคลำ แล้วอย่างนี้ ก็จะมีคติอย่างนั้น มีอภิสัม ปรายภพอย่างนั้นตถาคต ย่อมรู้ชัด ซึ่งข้อนั้นด้วย รู้ชัดซึ่งธรรม อันยิ่งไปกว่านั้นด้วย และไม่จับฉวยไว้ซึ่ง สิ่งที่ ตถาคตรู้แล้วนั้นด้วย และเมื่อไม่จับ ฉวยอยู่ ความดับเย็น (นิพฺพุติ) ก็เป็นสิ่งที่ตถาคต รู้แจ้งแล้ว เฉพาะตนนั่นเทียว เพราะรู้แจ้งตามที่เป็นจริงซึ่งเหตุให้เกิดขึ้น ซึ่งความ ตั้งอยู่ไม่ได้ ซึ่งรสอร่อย ซึ่งโทษอันเลวทราม และซึ่งอุบายเป็นเครื่องออกไปพ้น แห่งเวทนา ทั้งหลาย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นผู้พ้นวิเศษแล้ว เพราะความ ไม่ยึดมั่น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายเหล่านี้แล เป็นธรรมที่ลึก ที่สัตว์อื่นเห็นได้ยาก ยากที่สัตว์อื่นจะรู้ตาม เป็นธรรมเงียบสงบ ประณีต ไม่เป็นวิสัยที่ จะหยั่งลงง่ายแห่ง ความตรึก เป็นของละเอียด รู้ได้เฉพาะ บัณฑิตวิสัย ซึ่งเราตถาคตได้ทำให้แจ้ง ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง เป็นคุณวุฒิเครื่อง นำไปสรรเสริญ ของผู้ที่เมื่อจะพูดสรรเสริญเราตถาคตให้ถูกต้องตรงตามที่เป็นจริง.
..................................................................................
หมายเหตุผู้รวบรวม ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า แม้ทิฏฐิของพวกอมราวิกเขปิกวาท ๔ จำพวกนี้ ก็มีมูล มาจากสิ่งที่เรียกว่า เวทนา มีข้อความ อย่างเดียวกับข้อความ ที่พระองค์ตรัส เกี่ยวกับพวก สัสสตวาท ขอให้ย้อนไปดูหมายเหตุท้าย หมวด สัสสตวาท

อีกครั้งหนึ่ง จนเห็นว่า ถ้าไม่รู้แจ้งเวทนา ในลักษณะอย่างนั้น ย่อมไม่พ้นไปจากข่าย แห่ง อมราวิกเขปิกทิฏฐิ ๔ ประการนี้ได้. นี่แหละคือความสำ คัญของสิ่งที่เรียกว่า เวทนาเพียงสิ่งเดียว.



หน้า 747
(ง. อธิจจสมุปปันทิกทิฏฐิ ประการ)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่งเป็นพวกอธิจจสมุปปันนิก-วาท ย่อมบัญญัติ อัตตาและโลก ว่าเกิด เองลอยๆด้วยวัตถุทั้งหลาย ๒ ประการ

(๑๗) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเทพทั้งหลายมีชื่อว่า อสัญญีสัตว์ (สัตว์ผู้ไม่มีสัญญา) มีอยู่. ก็พวกเทพ เหล่านั้น ย่อมเคลื่อนจากอสัญญีเทพ นิกายนั้น เพราะการเกิดขึ้นแห่งสัญญา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลายข้อนี้เป็น ฐานะที่มีได้ คือ สัตว์ตนใดตนหนึ่ง เคลื่อนจากอสัญญี เทพนิกายนั้นแล้ว มาสู่ความเป็น(มนุษย์)อย่างนี้ ครั้นมาสู่ความเป็นอย่างนี้แล้ว ออกบวชจากเรือน เป็นผู้ไม่มีเรือน ครั้นออกบวชจากเรือนแล้วเป็นผู้ไม่มีเรือน ครองชีวิต อยู่ ได้อาศัยความเพียรเผากิเลส... เกิดเจโตสมาธิใน ลักษณะ ที่เมื่อจิต ตั้งมั่น แล้ว เขาย่อมระลึกได้ ถึงการเกิดขึ้นแห่งสัญญานั้น ที่ไกลไปกว่านั้น (เมื่อเป็นอสัญญีสัตว์) เขาระลึกไม่ได้ เขาจึงกล่าว อย่างนี้ว่า อัตตาและโลก เกิดขึ้น เองลอย ๆ ข้อนั้น เพราะเหตุไรเล่า? ข้อนั้นเพราะเหตุว่า ในกาลก่อน ข้าพเจ้า มิได้มีอยู่เลย แต่บัดนี้ข้าพเจ้ามี เพราะข้าพเจ้า น้อมจิตไป เพื่อความไม่มีแล้วกลับมี ดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๑ อันสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ซึ่งเป็นพวกอธิจจ-สมุปปันนิกวาทอาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงบัญญัติซึ่งอัตตา และโลกว่าเกิดเองลอย

(๑๘) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมรพราหมณ์บางท่าน เป็นสักตรึกนักตรองเขา ย่อมกล่าว ตามที่ความ ตรึก พาไป ความตรองแล่นไปตาม ปฏิภาณของตนเอง

อย่างนี้ว่า อัตตาและโลกเกิดเองลอย ๆดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ อันสมณพราหมณ์ พวกหนึ่งซึ่งเป็นพวก อธิจจสมุปปันนิกวาท อาศัยแล้ว ปรารภแล้วจึง


หน้า 748
บัญญัติซึ่งอัตตาและโลกว่าเกิดเองลอย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่าใด ที่เป็นพวกอธิจจสมุป-ปันนิกวาท บัญญัติอัตตา และโลกว่าเกิดขึ้นเองลอย ๆ สมณ พราหมณ์ ทั้งหลาย เหล่านั้นทั้งหมด ก็บัญญัติโดยอาศัย วัตถุทั้งหลาย๒ ประการเหล่านี้ หรือวัตถุประการ ใด ประการหนึ่ง ในบรรดาวัตถุทั้งหลาย ๒ ประการเหล่านี้ วัตถุอื่นนอกจากนี้ มิได้มี.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตย่อมรู้ชัดว่า ฐานะที่ตั้งแห่งทิฏฐิเหล่านี้ เมื่อใครถือ เอาแล้วอย่างนี้ ลูบคลำ แล้วอย่างนี้ ก็จะมีคติอย่างนั้น มีอภิสัมปรายภพอย่างนั้น ตถาคตย่อมรู้ชัด ซึ่งข้อ นั้นด้วย รู้ชัด ซึ่งธรรมอันยิ่งไปกว่านั้นด้วย และไม่จับฉวย ไว้ซึ่ง สิ่งที่ตถาคตรู้แล้วนั้นด้วย และเมื่อไม่ จับ ฉวยอยู่ ความดับเย็น(นิพฺพุติ) ก็เป็นสิ่งที่ ตถาคต รู้แจ้งแล้ว เฉพาะตนนั่นเทียว เพราะรู้แจ้งตามที่เป็นจริง ซึ่งเหตุให้ เกิดขึ้น ซึ่งความตั้งอยู่ไม่ได้ ซึ่งรสอร่อย ซึ่งโทษอันเลวทราม และซึ่งอุบายเป็นเครื่อง ออกไป พ้น แห่ง เวทนาทั้งหลาย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลายตถาคต เป็นผู้พ้นวิเศษแล้ว เพราะความไม่ยึดมั่น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลาย เหล่านี้แล เป็นธรรมที่ลึก ที่สัตว์อื่น เห็นได้ยาก ยากที่สัตว์อื่นจะรู้ตามเป็นธรรมเงียบสงบ ประณีต ไม่เป็นสิ่ง ที่หยั่งลงง่ายแห่งความ ตรึก เป็นของละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิตวิสัย ซึ่งเราตถาคตได้ ทำให้แจ้งด้วยปัญญา อันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง เป็นคุณวุฒิเครื่องนำไปสรรเสริญ ของผู้ที่เมื่อ จะพูด สรรเสริญเราตถาคต ให้ถูกต้องตรงตามที่เป็นจริง.


หน้า 749
(สรุป ปุพพันตกัปปิกทิฏฐิ ๑๘ ประการ)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่าใด ซึ่งเป็นพวกปุพพันต-กัปปิวาท มีปุพพันตานุทิฏฐิ ปรารภขันธ์อันมีแล้วในกาลก่อน (ขันธ์มี ส่วนสุดในกาล ก่อน) ย่อมกล่าวบัญญัติซึ่งอธิมุตติบททั้งหลาย มีอย่างเป็นอเนก ด้วยวัตถุทั้งหลาย๑๘ ประการเหล่านี้นั่นเทียว หรือว่าด้วยวัตถุประการใด ประการหนึ่ง ในบรรดาวัตถุ ทั้งหลาย ๑๘ ประการเหล่านี้ วัตถุอื่นนอกจากนี้ มิได้มี.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตย่อมรู้ ชัดว่า ฐานะที่ตั้งแห่งทิฏฐิ เหล่านี้ เมื่อใครถือเอา แล้วอย่างนี้ ลูบคลำแล้วอย่างนี้ ก็จะมีคติอย่างนั้นมี อภิสัมปรายภพอย่างนั้น

ตถาคตย่อมรู้ชัดซึ่งข้อนั้นด้วยรู้ชัด ซึ่งธรรมอันยิ่งไปกว่านั้นด้วย และไม่จับฉวยไว้ ซึ่งสิ่งที่ตถาคตรู้แล้ว นั้น ด้วย และเมื่อไม่จับฉวยอยู่ความดับเย็น (นิพฺพุติ) ก็เป็นสิ่ง ที่ตถาคตรู้แจ้งแล้ว เฉพาะตนนั่นเทียว เพราะรู้แจ้ง ตามที่เป็นจริง ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้น ซึ่งความตั้งอยู่ไม่ได้ ซึ่งรสอร่อย ซึ่งโทษอันเลวทราม ซึ่งอุบายเป็นเครื่อง ออกไปพ้น แห่งเวทนาทั้งหลาย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นผู้พ้นวิเศษแล้ว เพราะความ ไม่ยึดมั่น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลายธรรมทั้งหลายเหล่านี้แล เป็นธรรมที่ลึก ที่สัตว์อื่นเห็นได้ยาก ยากที่สัตว์อื่นจะรู้ตาม เป็นธรรมเงียบสงบ ประณีต ไม่เป็นวิสัย ที่จะหยั่งลงง่ายแห่ง ความตรึก เป็นของละเอียดรู้ได้เฉพาะ บัณฑิต วิสัย ซึ่งเราตถาคตได้ทำให้แจ้งด้วย ปัญญาอันยิ่งเองแล้ว สอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง เป็นคุณวุฒิเครื่องนำไปสรรเสริญ ของผู้ที่ เมื่อจะ พูดสรรเสริญ เราตถาคตให้ถูกต้องตรงตามที่เป็นจริง.
...............................................................................................
หมายเหตุผู้รวบรวม ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า แม้ทิฏฐิของพวก อธิจจสมุปปันนิกวาท ๒ จำพวกนี้ ก็มี มูลมาจากสิ่งที่เรียกว่า เวทนา มีข้อ ความ อย่างเดียวกับข้อความที่พระองค์ตรัสเกี่ยวกับพวกสัสสตวาท ขอให้ย้อนไป ดูหมายเหต ท้ายหมวดสัสสตวาท อีกครั้งหนึ่ง จนเห็นว่า ถ้าไม่รู้ แจ้งเวทนา ในลักษณะ อย่างนั้น ย่อมไม่พ้นไปจาก ข่ายแห่งอธิจจสมุปปันนิกทิฏฐิ ๒ ประการนี้ได้. นี่แหละคือความสำคัญ ของสิ่งที่เรียก ว่าเวทนา เพียงสิ่งเดียว.

(ครั้นตรัสปุพพันตกัปปิกทิฏฐิ ๑๘ ประการ จบลงดังนี้แล้ว ต่อนี้ไปเป็นการตรัส อปรันตกัปปิกทิฏฐิ ๔๔ ประการ-)




หน้า 750
[หมวด ๒ อปรันตกัปปิกวาท ๔๔ ประการ]

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง เป็นพงกอปรันตกัปปิกวาท มี อปรันตานุทิฏฐิ [ทิฏฐิ เป็นไปตามซึ่งขันธิอันเป็นอปรันติ (ขันธ์มีส่วน สุดในเบื้องหน้า)] ปรารภซึ่งขันธ์มีที่สุดในเบื้องหน้าย่อม กล่าวบัญญัติซึ่งอธิมุตติบททั้งหลาย มีอย่างเป็น อเนก ด้วยวัตถุทั้งหลาย ๔๔ ประการ. สมณพราหมณ์ทั้ง. หลายเหล่านั้น อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงบัญญัติอธิมุตติบท ด้วยวัตถุทั้งหลาย ๔๔ ประการเหล่านั้น


หน้า 750 -1
(จ.อุทธมาฆตนิก ชนิด สัญญีทิฏฐิ ๑๖ ประการ)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง เป็นพวกอุทธมาฆตนิก-สัญญีวาท ย่อมบัญญัติอัตตาหลังจ ากตายแล้วว่ามีสัญญา ด้วยวัตถุทั้ง หลาย ๑๖ ประการ

(๑๙) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ย่อมบัญญัติว่า(ต้องเป็น) อัตตา มีรูป๑ (เท่านั้น จึงจะ) เป็นอัตตา หาโรคมิได้(อโรโค) ๒ หลังจากตายแล้ว เป็นสัตว์มีสัญญา ดังนี้ (นี้อย่างหนึ่ง).

(๒๐) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ย่อมบัญญัติว่า(ต้องเป็น) อัตตา ไม่มีรูป ๓ (เท่านั้น จึงจะ)เป็นอัตต าหาโรคมิได้ หลังจากตายแล้วเป็นสัตว์ มี สัญญา ดังนี้ (นี้อย่างหนึ่ง).

(๒๑) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ย่อมบัญญัติว่าอัตตามีรูปก็ได้ ไม่มีรูปก็ได้ เป็น อัตตา หาโรคมิได้ หลังจากตายแล้ว เป็นสัตว์มีสัญญา ดังนี้ (นี้อย่างหนึ่ง).

(๒๒) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ย่อมบัญญัติว่า(ต้องเป็น) อัตตา มีรูปก็มิไช่ ไม่มีรูปก็มิใช่ (เท่านั้น จึงจะ) เป็นอัตตา หาโรคมิได้หลังจาก ตายแล้ว เป็นสัตว์มีสัญญา ดังนี้ (นี้อย่างหนึ่ง).


(๒๓) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ย่อมบัญญัติว่า(ต้องเป็น) อัตตา มีที่สุด(เท่านั้น จึงจะ) เป็นอัตตา หาโรคมิได้ หลังจากตายแล้วเป็นสัตว์มี สัญญา ดังนี้ (นี้อย่างหนึ่ง).

(๒๔) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ย่อมบัญญัติว่า (ต้องเป็น) อัตตา ไม่มีที่สุด (เท่านั้น จึงจะ) เป็นอัตตา หาโรคมิได้ หลังจากตายแล้ว เป็นสัตว์ มีสัญญา ดังนี้ (นี้อย่างหนึ่ง).

(๒๕) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ย่อมบัญญัติว่าอัตตามีที่สุดก็ได้ ไม่มีที่สุดก็ได้ เป็นอัตตา หาโรคมิได้ หลังจากตายแล้ว เป็นสัตว์มีสัญญา ดังนี้ (นี้อย่างหนึ่ง).

(๒๖) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ย่อมบัญญัติว่า (ต้องเป็น) อัตตา มีที่สุด ก็มิใช่ไม่มี ที่สุดก็มิใช่ (เท่านั้น จึงจะ) เป็นอัตตา หาโรคมิได้หลังจากตาย แล้ว เป็นสัตว์มีสัญญา ดังนี้ (นี้อย่างหนึ่ง).

(๒๗) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ย่อมบัญญัติว่า(ต้องเป็น) อัตตา มีสัญญาอย่าง เดียวกัน (เท่านั้น จึงจะ) เป็นอัตตา หาโรคมิได้หลังจาก ตายแล้ว เป็นสัตว์มีสัญญา ดังนี้ (นี้อย่างหนึ่ง).

(๒๘) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ย่อมบัญญัติว่า(ต้องเป็น) อัตตา มีสัญญานานา อย่าง (เท่านั้น จึงจะ) เป็นอัตตาหา โรคมิได้หลังจากตาย แล้ว เป็นสัตว์มีสัญญา ดังนี้ (นี้อย่างหนึ่ง).

(๒๙) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ย่อมบัญญัติว่า(ต้องเป็น) อัตตา มีสัญญาน้อย (เท่านั้น จึงจะ) เป็นอัตตา หาโรคมิได้ หลังจากตายแล้ว เป็นสัตว์ มีสัญญา ดังนี้ (นี้อย่างหนึ่ง).

(๓๐) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ย่อมบัญญัติว่า (ต้องเป็น) อัตตา มีสัญญา (มาก) ไม่มีประมาณ (เท่านั้น จึงจะ) เป็นอัตตา หาโรคมิได้ หลังจาก ตายแล้ว เป็นสัตว์มีสัญญา ดังนี้ (นี้อย่างหนึ่ง).

(๓๑) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ย่อมบัญญัติว่า(ต้องเป็น) อัตตา มีสุขโดยส่วนเดียว (เท่านั้น จึงจะ) เป็นอัตตาหา โรคมิได้หลังจาก ตายแล้ว เป็นสัตว์มีสัญญา ดังนี้ (นี้อย่างหนึ่ง).

(๓๒) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ย่อมบัญญัติว่า (ต้องเป็น) อัตตา มีทุกข์โดยส่วน เดียว (เท่านั้น จึงจะ) เป็นอัตตาหา โรคมิได้หลังจาก ตายแล้ว เป็นสัตว์มีสัญญา ดังนี้ (นี้อย่างหนึ่ง).

(๓๓) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ย่อมบัญญัติว่า(ต้องเป็น) อัตตา มีทั้งสุขและทุกข (เท่านั้น จึงจะ) เป็นอัตตาหา โรคมิได้ หลังจาก ตายแล้ว เป็นสัตว์มีสัญญา ดังนี้ (นี้อย่างหนึ่ง).

(๓๔) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ย่อมบัญญัติว่า (ต้องเป็น) อัตตา ไม่มีทั้งทุกข์ และสุข (เท่านั้นจึงจะ) เป็นอัตตาหา โรคมิได้หลังจาก ตายแล้ว เป็นสัตว์มีสัญญา ดังนี้ (นี้อย่างหนึ่ง).

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่าใด ที่เป็นพวกอุทธมาฆต-นิกสัญญีวาท ย่อมบัญญัติ อัตตาหลังจากตายแล้วว่ามีสัญญา สมณพราหมณ์ ทั้งหลายเหล่านั้นทั้งหมด ก็บัญญัติโดยอาศัยวัตถุทั้ง หลาย ๑๖ ประการเหล่านี้นั่น เทียว หรือว่าด้วยวัตถุประการใด ประการหนึ่ง ในบรรดาวัตถุทั้งหลาย ๑๖ ประการเหล่านี้ วัตถุอื่นนอกจากนี้ มิได้มี.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตย่อมรู้ชัดว่า ฐานะที่ตั้งแห่งทิฏฐิเหล่านี้ เมื่อใครถือเอา แล้ว อย่างนี้ ลูบคลำ แล้วอย่างนี้ ก็จะมีคติอย่างนั้น มีอภิสัมปรายภพอย่างนั้น ตถาคตย่อม รู้ชัด ซึ่งข้อนั้นด้วย รู้ชัดซึ่งธรรมอัน ยิ่งไปกว่านั้นด้วย และไม่จับฉวยไว้ ซึ่งสิ่งที่ตถาคตรู้ แล้วนั้นด้วย และเมื่อไม่จับฉวยอยู่ ความดับเย็น (นิพฺพุติ) ก็เป็นสิ่งที่ ตถาคตรู้แจ้งแล้ว เฉพาะตนนั่นเทียว เพราะรู้แจ้งตามที่เป็นจริงซึ่งเหตุ ให้เกิดขึ้นซึ่ง ความตั้งอยู่ ไม่ได้ ซึ่งรสอร่อย ซึ่งโทษอันเลวทราม และซึ่งอุบายเป็นเครื่องออกไป พ้น แห่งเวทนา ทั้งหลาย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นผู้พ้นวิเศษแล้ว เพราะ ความไม่ยึดมั่น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายเหล่านี้แล เป็นธรรมที่ลึก ที่สัตว์อื่นเห็นได้ยาก ยากที่สัตว์อื่นจะรู้ตาม เป็นธรรมเงียบสงบ ประณีต ไม่เป็นวิสัยที่จะหยั่งลงง่าย แห่งความ ตรึก เป็นของละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต วิสัย ซึ่งเราตถาคตได้ทำให้แจ้ง

ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง เป็นคุณวุฒิเครื่องนำไปสรรเสริญ ของผู้ที่ เมื่อจะพูดสรรเสริญ เราตถาคตให้ถูกต้อง ตรงตามที่เป็นจริง.


หน้า 754
(ฉ.อุทธมาฆตนิก ชนิด อสัญญีทิฏฐิ ประการ)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง เป็นพวกอุทธมาฆตนิก-อสัญญีวาท ย่อมบัญญัติอัตตาหลัง จากตายแล้วว่าไม่มีสัญญา ด้วยวัตถุ ทั้งหลาย ๘ประการ

(๓๕) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ย่อมบัญญัติว่า (ต้องเป็น) อัตตามีรูป(เท่านั้นจึงจะ) เป็นอัตตาหาโรคมิได้ หลังจาก ตายแล้วเป็นสัตว์ ไม่มีสัญญา ดังนี้ (นี้อย่างหนึ่ง).

(๓๖) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ย่อมบัญญัติว่า (ต้องเป็น) อัตตาไม่มีรูป (เท่านั้น จึงจะ) เป็นอัตตาหาโรคมิได้ หลังจากตายแล้วเป็นสัตว์ ไม่มีสัญญา ดังนี้ (นี้อย่างหนึ่ง).

(๓๗) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ย่อมบัญญัติว่า อัตตามีรูปก็ได้ ไม่มีรูปก็ได้ เป็น อัตตาหาโรคมิได้ หลังจากตายแล้ว เป็นสัตว์ไม่มีสัญญา ดังนี้ (นี้อย่างหนึ่ง).

(๓๘)ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ย่อมบัญญัติว่า (ต้องเป็น) อัตตา มีรูปก็ มิใช่ไม่มี รูปก็มิใช่ (เท่านั้น จึงจะ) เป็นอัตตา หาโรคมิได้หลังจาก ตายแล้ว เป็นสัตว์ไม่มีสัญญา ดังนี้ (นี้อย่างหนึ่ง).

(๓๙) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ย่อมบัญญัติว่า (ต้องเป็น) อัตตา มีที่สุด(เท่านั้นจึงจะ) เป็นอัตตาหาโรคมิได้ หลังจากตายแล้วเป็นสัตว์ ไม่มีสัญญา ดังนี้ (นี้อย่างหนึ่ง).


(๔๐)ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ย่อมบัญญัติว่า (ต้องเป็น) อัตตา ไม่มีที่สุด (เท่านั้น จึงจะ) เป็นอัตตาหาโรคมิได้ หลังจากตายแล้วเป็นสัตว์ไม่มี สัญญา ดังนี้ (นี้อย่างหนึ่ง).

(๔๑)ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ย่อมบัญญัติว่า อัตตามีที่สุดก็ได้ ไม่มีที่สุดก็ได้ เป็น อัตตาหาโรคมิได้ หลังจากตายแล้ว เป็นสัตว์ไม่มีสัญญา ดังนี้ (นี้อย่างหนึ่ง).

(๔๒)ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ย่อมบัญญัติว่า (ต้องเป็น) อัตตา มีที่สุดก็มิใช่ไม่มี ที่สุดก็มิใช่ (เท่านั้น จึงจะ) เป็นอัตตาหาโรคมิได้ หลังจาก ตาย แล้ว เป็นสัตว์ไม่มีสัญญา ดังนี้ (นี้อย่างหนึ่ง).

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่าใด ที่เป็นพวกอุทธมาฆต-นิกอสัญญีวาท ย่อมบัญญัติ อัตตาหลังจากตายแล้วว่ามีสัญญา สมณพราหมณ์ ทั้งหลาย เหล่านั้นทั้งหมด ก็บัญญัติโดยอาศัยวัตถุทั้ง หลาย ๘ ประการเหล่านี้ นั่นเทียว หรือว่า ด้วยวัตถุประการใดประการหนึ่ง ในบรรดาวัตถุทั้งหลาย ๘ ประการ เหล่านี้ วัตถุอื่น นอกจากนี้มิได้มี.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตย่อมรู้ชัดว่า ฐานะที่ตั้งแห่งทิฏฐิเหล่านี้ เมื่อใครถือ เอาแล้ว อย่างนี้ ลูบคลำแล้ว อย่างนี้ ก็จะมีคติอย่างนั้น มีอภิสัมปรายภพอย่างนั้น ตถาคตย่อม รู้ชัดซึ่งข้อนั้นด้วย รู้ชัดซึ่งธรรมอันยิ่ง ไปกว่านั้นด้วย และไม่จับฉวยไว้ ซึ่งสิ่ง

ที่ตถาคตรู้แล้วนั้นด้วย และเมื่อไม่จับฉวยอยู่ ความดับเย็น (นิพฺพุติ) ก็เป็นสิ่งที่ตถาคต รู้แจ้งแล้วเฉพาะตน นั่นเทียว เพราะรู้แจ้งตามที่เป็นจริง ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นซึ่งความ ตั้งอยู่ไม่ได้ ซึ่งรสอร่อย ซึ่งโทษอันเลวทราม และซึ่งอุบายเป็นเครื่องออกไปพ้น แห่งเวทนาทั้งหลาย. ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ตถาคตเป็นผู้พ้นวิเศษ แล้ว เพราะความ ไม่ยึดมั่น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายเหล่านี้แล เป็นธรรมที่ลึก ที่สัตว์อื่นเห็นได้ยากยาก ที่สัตว์อื่นจะรู้ตาม เป็นธรรมเงียบสงบ ประณีต ไม่เป็นวิสัย ที่จะหยั่งลงง่ายแห่ง ความ ตรึก เป็นของละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต วิสัย ซึ่งเราตถาคตได้ทำให้แจ้งด้วยปัญญา อันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง เป็นคุณวุฒิเครื่องนำไปสรร เสริญ ของผู้ที่เมื่อจะ พูดสรรเสริญเราตถาคตให้ถูกต้องตรงตามที่เป็นจริง.


หน้า 756
(ช.อุทธมาฆตนิก
ชนิด เนวสัญญีนาสัญญีทิฏฐิ ประการ)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง เป็นพวกอุทธมาฆตนิก-เนวสัญญีนาสัญญีวาท ย่อมบัญญัติ อัตตาหลังจากตายแล้ว ว่ามีสัญญา ก็หามิได้ ไม่มีสัญญาก็หามิได้ ด้วยวัตถุทั้งหลาย ๘ ประการ

(๔๓) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ย่อมบัญญัติว่า (ต้องเป็น) อัตตามีรูป (เท่านั้น จึงจะ)เป็นอัตตาหาโรคมิได้ หลังจาก ตายแล้ว เป็นสัตว์ มีสัญญาก็หามิได้ ไม่มีสัญญาก็หามิได้ ดังนี้ (นี้อย่างหนึ่ง).

(๔๔) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ย่อมบัญญัติว่า (ต้องเป็น) อัตตาไม่มีรูป (เท่านั้น จึงจะ)เป็นอัตตาหาโรคมิได้ หลังจากตายแล้ว เป็นสัตว์ มีสัญญาก็หามิได้ ไม่มีสัญญา ก็หามิได้ ดังนี้ (นี้อย่างหนึ่ง).

(๔๕) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ย่อมบัญญัติว่าอัตตามีรูปก็ได้ ไม่มีรูปก็ได้ เป็นอัตตาหาโรคมิได้ หลังจากตายแล้ว เป็นสัตว์ มีสัญญา ก็หามิได้ ไม่มีสัญญา ก็หามิได้ ดังนี้ (นี้อย่างหนึ่ง).

(๔๖)ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ย่อมบัญญัติว่า (ต้องเป็น) อัตตา มีรูปก็ มิใช่ไม่มี รูปก็มิใช่ (เท่านั้น จึงจะ) เป็นอัตตา หาโรคมิได้ หลังจากตายแล้วเป็นสัตว์ มีสัญญาก็หามิได้ ไม่มีสัญญาก็หามิได้ ดังนี้ (นี้อย่างหนึ่ง).

(๔๗)ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ย่อมบัญญัติว่า (ต้องเป็น) อัตตา มีที่สุด (เท่านั้นจึงจะ) เป็นอัตตาหาโรคมิได้ หลังจาก ตายแล้วเป็นสัตว์ มีสัญญาก็หามิได้ ไม่มีสัญญาก็หามิได้ ดังนี้ (นี้อย่างหนึ่ง).

(๔๘)ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ย่อมบัญญัติว่า (ต้องเป็น) อัตตา ไม่มีที่สุด(เท่านั้น จึงจะ) เป็นอัตตาหาโรคมิได้ หลังจากตายแล้วเป็นสัตว์ มีสัญญาก็หามิได้ ไม่มีสัญญาก็หา มิได้ ดังนี้ (นี้อย่างหนึ่ง).

(๔๙)ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ย่อมบัญญัติว่าอัตตามีที่สุดก็ได้ ไม่มีที่สุดก็ได้ เป็นอัตตาหาโรคมิได้ หลังจากตายแล้ว เป็นสัตว์มีสัญญา ก็หามิได้ ไม่มีสัญญาก็หา มิได้ ดังนี้ (นี้อย่างหนึ่ง).

(๕๐)ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ย่อมบัญญัติว่า (ต้องเป็น) อัตตา มีที่สุดสุดก็มิใช่ ไม่มีที่สุดก็มิใช่(เท่านั้น จึงจะ) เป็นอัตตาหาโรคมิได้ หลังจาก ตายแล้ว เป็นสัตว์มีสัญญาก็หามิได้ ไม่มีสัญญาก็หามิได้ ดังนี้ (นี้อย่างหนึ่ง).

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่าใด ที่เป็นพวกอุทธมาฆต-นิกเนวสัญญีนาสัญญีวาท ย่อมบัญญัติอัตตาหลังจากตายแล้วว่า มีสัญญาก็หามิได้ ไม่มีสัญญาก็หามิได้ สมณพราหมณ์ ทั้งหลาย เหล่านั้นทั้งหมด ก็บัญญัติโดยอาศัย วัตถุ ทั้งหลาย๘ ประการเหล่านี้นั่นเทียว หรือว่าด้วยวัตถุประการใด ประการหนึ่ง ในบรรดา วัตถุทั้งหลาย๘ ประการเหล่านี้ วัตถุอื่นนอกจากนี้ มิได้มี.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตย่อมรู้ชัดว่า ฐานะที่ตั้งแห่งทิฏฐิเหล่านี้ เมื่อใครถือเอา แล้ว อย่างนี้ ลูบคลำแล้ว อย่างนี้ ก็จะมีคติอย่างนั้น มีอภิสัมปรายภพอย่างนั้น ตถาคตย่อม รู้ชัดซึ่งข้อนั้นด้วย รู้ชัดซึ่งธรรมอันยิ่ง ไปกว่านั้นด้วย และไม่จับฉวยไว้ ซึ่งสิ่งที่ตถาคต รู้แล้วนั้นด้วย และเมื่อไม่จับฉวยอยู่ ความดับเย็น (นิพฺพุติ) ก็เป็นสิ่งที่ ตถาคตรู้แจ้งแล้ว เฉพาะตนนั่นเทียว เพราะรู้แจ้งตามที่เป็นจริง ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้น ซึ่งความตั้งอยู่ ไม่ได้ ซึ่งรสอร่อย ซึ่งโทษอันเลวทราม และซึ่งอุบายเป็นเครื่อง ออกไปพ้น แห่งเวทนา ทั้งหลาย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นผู้พ้นวิเศษแล้ว เพราะความไม่ยึดมั่น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้ง หลายเหล่านี้แล เป็นธรรมที่ลึก ที่สัตว์อื่นเห็นได้ยาก ยากที่สัตว์อื่นจะรู้ตาม เป็นธรรมเงียบสงบ ประณีต ไม่เป็นวิสัยที่จะหยั่งลงง่ายแห่ง ความตรึก เป็นของละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิตวิสัย ซึ่งเราตถาคตได้ ทำให้ แจ้งด้วย ปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง เป็นคุณวุฒิเครื่องนำไปสรรเสริญ ของผู้ที่ เมื่อจะพูด สรรเสริญ เราตถาคตให้ถูกต้องตรงตามที่เป็นจริง.


หน้า 758
(ฌ. อุจเฉททิฏฐิ
ประการ)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง เป็นพวกอุจเฉทวาท ย่อมบัญญัติซึ่ง ความ ขาดสูญซึ่งความ พินาศซึ่งความไม่มีแห่งสัตว์ที่มีอยู่ด้วยวัตถุทั้งหลาย ๗ ประการ

(๕๑) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์บางท่าน มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ อัตตานี้ใด ที่เป็น อัตตามีรูป ประกอบขึ้นด้วยมหาภูตทั้ง มีมารดาบิดาเป็นแดนเกิด ภายหลังแต่ การตาย เพราะการทำลายแห่งกาย ย่อมขาดสูญ ย่อมวินาศ ย่อมไม่มี.

ท่านผู้เจริญเอ๋ย อัตตานี้เท่า นั้น ที่ชื่อว่าเป็นอัตตาอันขาดสูญ โดยถูกต้อง ดังนี้. สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ย่อมบัญญัติซึ่งความขาดสูญ ซึ่งความวินาศ ซึ่งความไม่มี แห่งสัตว์ที่มีอยู่ อย่างนี้.

(๕๒) สมณพราหมณ์ผู้อื่น กล่าวกะสมณพราหมณ์ผู้นั้น อย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ อัตตาชนิดที่ท่าน กล่าวนั้น มีอยู่จริง ท่านกล่าวอัตตาใดว่ามีอยู่ ข้าพเจ้าก็มิได้กล่าวว่า อัตตานั้นไม่มี แต่ว่าอัตตาที่ท่านกล่าว เพียง เท่านั้น จะชื่อว่าเป็นอัตตาที่ขาดสูญ โดยถูกต้อง หาได้ไม่.

ท่านผู้เจริญเอ๋ย เพราะว่ายังมี อัตตา อื่นที่ เป็นทิพย์ เป็นอัตตามีรูป เป็นพวก กามาพจร มีกวฬิง การาหารเป็นภักษา๑ ท่านไม่รู้ไม่เห็นซึ่ง อัตตานั้น แต่ข้าพเจ้า ย่อมรู้ย่อมเห็นซึ่งอัตตานั้น.

ท่านผู้เจริญเอ๋ย อัตตานี้ใด ภายหลังแต่การตาย เพราะการทำลายแห่งกาย ก็ย่อมขาดสูญ ย่อมวินาศ ย่อมไม่มี.

ท่านผู้เจริญเอ๋ย อัตตาอย่างนี้ต่างหาก จึงจะชื่อว่าเป็นอัตตาอันขาดสูญ โดยถูกต้อง ดังนี้. สมณ พราหมณ์ พวกหนึ่ง ย่อมบัญญัติซึ่งความขาดสูญ ซึ่งความวินาศ ซึ่งความไม่มีแห่งสัตว์ที่มีอยู่ อย่างนี้.

(๕๓) สมณพราหมณ์ผู้อื่น กล่าวกะสมณพราหมณ์ผู้นั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ อัตตาชนิดที่ท่าน กล่าวนั้น มีอยู่จริง ท่านกล่าวอัตตาใดว่ามีอยู่ ข้าพเจ้าก็มิได้กล่าวว่า อัตตานั้นไม่มี แต่ว่าอัตตาที่ท่านกล่าว เพียงเท่านั้น จะชื่อว่าเป็นอัตตาที่ขาดสูญ โดยถูกต้อง หาได้ไม่.

ท่านผู้เจริญเอ๋ย เพราะว่ายังมีอัตตาอื่น อันเป็นอัตตาที่มีรูปสำเร็จมาจากใจ (มโนมโย) มีอวัยวะ ใหญ่น้อยครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่ทราม ท่านไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งอัตตานั้น แต่ข้าพเจ้าย่อมรู้ย่อมเห็นซึ่งอัตตานั้น.

ท่านผู้เจริญเอ๋ย อัตตานี้ใด ภายหลัง แต่การตาย เพราะการทำลายแห่งกาย ก็ย่อมขาดสูญ ย่อมวินาศย่อมไม่มี.

ท่านผู้เจริญเอ๋ย อัตตา อย่างนี้ต่างหาก จึงจะชื่อว่าเป็นอัตตาอันขาดสูญโดยถูกต้อง ดังนี้. สมณ พราหมณ์พวกหนึ่งย่อมบัญญัติ ซึ่งความขาดสูญ ซึ่งความวินาศซึ่งความ ไม่มี แห่งสัตว์ที่มีอยู่ อย่างนี้.

(๕๔) สมณพราหมณ์ผู้อื่น กล่าวกะสมณพราหมณ์ผู้นั้น อย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ อัตตาชนิดที่ท่าน กล่าวนั้นมีอยู่จริง ท่านกล่าวอัตตาใดว่ามีอยู่ ข้าพเจ้าก็มิได้กล่าวว่า อัตตานั้นไม่มี แต่ว่าอัตตาที่ท่านกล่าว เพียงเท่านั้น จะชื่อว่าเป็นอัตตาที่ขาดสูญ โดยถูกต้อง หาได้ไม่.

ท่านผู้เจริญเอ๋ย เพราะว่ายังมีอัตตาอื่นอันเป็น อัตตาซึ่งเข้าถึงอากาสานัญจายตนะ อันมีความรู้สึก อยู่แต่เพียงว่าอากาศหาที่สุดมิได้ ดังนี้อยู่ เพราะว่าเป็นอัตตาซึ่ง ก้าวล่วง รูปสัญญาเสียได้ โดยประการทั้ง ปวง เพราะดับไปแห่งปฏิฆ-สัญญา เพราะไม่กระทำ สัญญาต่าง ๆ ไว้ในใจ.

ท่านผู้เจริญเอ๋ย ท่านย่อมไม่รู้ไม่เห็นซึ่งอัตตาใด ข้าพเจ้าย่อมรู้ย่อมเห็น ซึ่งอัตตานั้น.
ท่านผู้เจริญเอ๋ย อัตตานี้ใด ภายหลังแต่ตายแล้ว เพราะการทำลายแห่งกาย ก็ย่อม ขาดสูญ ก็ย่อมขาดสูญ ย่อมวินาศ ย่อมไม่มี.

ท่านผู้เจริญเอ๋ย อัตตาอย่างนี้ต่างหาก จึงจะชื่อว่าเป็น อัตตา อันขาดสูญโดยถูกต้อง ดังนี้.สมณพราหมณ์ พวกหนึ่งย่อมบัญญัติซึ่งความขาดสูญซึ่งความวินาศ ซึ่งความ ไม่มี แห่งสัตว์ที่มีอยู่ อย่างนี้.

(๕๕) สมณพราหมณ์ผู้อื่น กล่าวกะสมณพราหมณ์ผู้นั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ อัตตาชนิดที่ท่าน กล่าวนั้น มีอยู่จริง ท่านกล่าวอัตตาใดว่ามีอยู่ ข้าพเจ้าก็มิได้กล่าวว่า อัตตา นั้นไม่มี แต่ว่าอัตตาที่ท่านกล่าว เพียงเท่านั้น จะชื่อว่าเป็นอัตตา ที่ขาดสูญ โดยถูกต้อง หาได้ไม่.

ท่านผู้เจริญเอ๋ย เพราะว่ายังมีอัตตาอื่น อันเป็น อัตตาซึ่งเข้าถึงวิญญาณัญจายตนะ อันมีความรู้สึก อยู่ แต่เพียงว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ ดังนี้อยู่ เพราะว่าเป็นอัตตา ซึ่งก้าวล่วงอากาสานัญ จายตนะเสียได้ โดยประการทั้งปวง

ท่านผู้เจริญเอ๋ย ท่านย่อมไม่รู้ ไม่เห็นซึ่งอัตตาใด ช้าพเจ้าย่อมรู้ย่อมเห็นซึ่งอัตตานั้น.
ท่านผู้เจริญเอ๋ย อัตตานี้ใด ภายหลัง แต่ตายแล้ว เพราะการทำลายแห่งกาย ก็ย่อมขาดสูญ ย่อมวินาศ ย่อมไม่มี.

ท่านผู้เจริญเอ๋ย อัตตา อย่างนี้ต่างหาก จึงจะชื่อว่าเป็นอัตตาอันขาดสูญโดยถูกต้อง ดังนี้. สมณ พราหมณ์พวกหนึ่งย่อมบัญญัติ ซึ่งความขาดสูญซึ่งความวินาศ ซึ่งความ ไม่มีแห่งสัตว์ที่มีอยู่ อย่างนี้.

(๕๖) สมณพราหมณ์ผู้อื่น กล่าวกะสมณพราหมณ์ผู้นั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ อัตตาชนิด ที่ท่าน กล่าวนั้น มีอยู่จริง ท่านกล่าวอัตตาใดว่ามีอยู่ ข้าพเจ้าก็มิได้ กล่าวว่า อัตตานั้นไม่มี แต่ว่าอัตตาที่ท่านกล่าว เพียงเท่านั้น จะชื่อว่าเป็นอัตตา ที่ขาดสูญ โดยถูกต้อง หาได้ไม่.

ท่านผู้เจริญเอ๋ย เพราะว่ายังมีอัตตาอื่น อันเป็นอัตตาซึ่งเข้าถึงอากิญจัญญายตนะ อันมีความรู้สึก อยู่แต่เพียงว่าไม่มีอะไร ดังนี้อยู่พราะเป็น อัตตาซึ่งก้าวล่วงวิญญา ณัญจายตนะเสียได้โดยประการทั้งปวง.

ท่านผู้เจริญเอ๋ย ท่านย่อมไม่รู้ไม่เห็นซึ่ง อัตตาใด ข้าพเจ้าย่อมรู้ย่อมเห็นซึ่งอัตตานั้น. ท่านผู้เจริญ เอ๋ย อัตตานี้ใด ภายหลังแต่ตายแล้ว เพราะ การทำลายแห่งกาย ก็ย่อมขาดสูญ ย่อมวินาศ ย่อมไม่มี.

ท่านผู้เจริญเอ๋ย อัตตาอย่างนี้ต่างหาก จึงจะชื่อว่าเป็นอัตตาอันขาดสูญโดยถูกต้อง ดังนี้. สมณพราหมณ์ พวกหนึ่ง ย่อมบัญญัติ ซึ่งความขาดสูญ ซึ่งความวินาศ ซึ่งความไม่มีแห่ง สัตว์ที่มีอยู่ อย่างนี้.

(๕๗) สมณพราหมณ์ผู้อื่น กล่าวกะสมณพราหมณ์ผู้นั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ อัตตาชนิดที่ท่าน กล่าวนั้น มีอยู่จริง ท่านกล่าวอัตตาใดว่ามีอยู่ ข้าพเจ้าก็มิได้กล่าวว่า อัตตานั้นไม่มี แต่ว่าอัตตาที่ท่าน กล่าวเพียงเท่านั้น จะชื่อว่าเป็นอัตตาที่ขาดสูญ โดยถูกต้อง หาได้ไม่.

ท่านผู้เจริญเอ๋ย เพราะว่ายังมีอัตตา อื่น อันเป็น อัตตาซึ่งเข้าถึงซึ่งเนวสัญญา นาสัญญาย ตนะอยู่ เพราะว่าเป็นอัตตาซึ่งก้าวล่วง อากิญ จัญญายตนะเสียได้ โดยประการทั้งปวง.

ท่านผู้เจริญเอ๋ย ท่านย่อมไม่รู้ไม่เห็นซึ่งอัตตาใด ข้าพเจ้าย่อมรู้ย่อม เห็นซึ่งอัตตานั้น.
ท่านผู้เจริญเอ๋ย อัตตานี้ใด ภายหลังแต่ตายแล้ว เพราะการทำลายแห่งกาย ก็ย่อม ขาดสูญ ก็ย่อมขาดสูญ ย่อม วินาศ ย่อมไม่มี.

ท่านผู้เจริญเอ๋ย อัตตาอย่างนี้ต่างหาก จึงจะชื่อว่า เป็นอัตตาอันขาดสูญโดยถูกต้อง ดังนี้. สมณพราหมณ์ พวกหนึ่งย่อมบัญญัติซึ่งความขาดสูญซึ่ง ความวินาศ ซึ่งความไม่มี แห่งสัตว์ที่มีอยู่อย่างนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่าใด ที่เป็นพวกอุจเฉทวาทย่อม บัญญัติ ซึ่งความขาดสูญ ซึ่งความวินาศ ซึ่งความไม่มี แห่งสัตว์ที่มีอยู่ สมณ-พราหมณ์ทั้งหลาย เหล่านั้นทั้งหมด ก็บัญญัติโดยอาศัย วัตถุทั้งหลาย ๗ ประการเหล่านี้นั่น เทียว หรือว่าด้วย วัตถุประการใดประการหนึ่งในบรรดาวัตถุทั้งหลาย ๗ ประการเหล่านี้วัตถุอื่น นอกจากนี้ มิได้มี.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตย่อมรู้ชัดว่า ฐานะที่ตั้งแห่งทิฏฐิเหล่านี้ เมื่อใครถือเอา แล้ว อย่างนี้ ลูบคลำแล้ว อย่างนี้ ก็จะมีคติอย่างนั้น มีอภิ-สัมปรายภพอย่างนั้น ตถาคตย่อม รู้ชัดซึ่งข้อนั้นด้วย รู้ชัดซึ่ง ธรรมอันยิ่ง ไปกว่านั้นด้วยและไม่จับฉวยไว้ ซึ่งสิ่งที่ตถาคตรู้ แล้วนั้นด้วย และเมื่อไม่จับฉวยอยู่ ความดับเย็น (นิพฺพุติ) ก็เป็นสิ่งที่ ตถาคตรู้แจ้งแล้ว เฉพาะตนนั่นเทียว เพราะรู้แจ้งตามที่เป็นจริง ซึ่งเหตุ ให้เกิดขึ้น ซึ่งความตั้งอยู่ ไม่ได้ ซึ่งรสอร่อย ซึ่งโทษอันเลวทราม และซึ่งอุบายเป็นเครื่องออก ไปพ้น แห่งเวทนา ทั้งหลาย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นผู้พ้นวิเศษแล้ว เพราะความ ไม่ยึดมั่น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลาย เหล่านี้แล เป็นธรรมที่ลึก ที่สัตว์อื่นเห็นได้ยาก ยากที่สัตว์อื่นจะรู้ตาม เป็นธรรมเงียบสงบ ประณีต ไม่เป็นวิสัย ที่จะหยั่งลงง่ายแห่ง ความตรึก เป็นของละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิตวิสัย ซึ่งเราตถาคต ได้ทำให้ แจ้งด้วย ปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งเป็นคุณวุฒิ เครื่องนำไปสรรเสริญของผู้ที่ เมื่อจะพูด สรรเสริญ เรา ตถาคตให้ถูกต้องตรงตามที่เป็นจริง.


หน้า 763
(ญ. ทิฏฐธัมมนิพพานทิฏฐิ ๕ ประการ)


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง เป็นพวกทิฏฐิธัมมนิพพาน-วาท ย่อมบัญญัติซึ่งปรมทิฏฐัม มนิพพาน (นิพพานอย่างยิ่งในทิฏฐธรรม) แก่สัตว์ที่มีอยู่ ด้วยวัตถุทั้งหลาย ๕ ประการ

(๕๘) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์บางท่าน มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า อัตตานี้ใดอิ่มเอิบ แล้ว เพียบพร้อมแล้ว ให้เขาบำเรออยู่ ด้วยกามคุณทั้งหลาย ๕ ประการ

ท่านผู้เจริญเอ๋ย อัตตา อย่างนี้เท่านั้น เป็นอัตตาที่ถึงแล้วซึ่งปรมทิฏฐธัมมนิพพาน ดังนี้. สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ย่อมบัญญัติ ซึ่งปรมทิฏฐธัมมนิพพาน แก่สัตว์ที่มีอยู่ อย่างนี้.

(๕๙) สมณพราหมณ์ผู้อื่นกล่าวกะสมณพราหมณ์ผู้นั้น อย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ อัตตาชนิดที่ท่าน กล่าวนั้น มีอยู่จริง ท่านกล่าวอัตตาใดว่ามีอยู่ ข้าพเจ้าก็มิได้กล่าวว่า อัตตานั้นไม่มี แต่ว่าอัตตาที่กล่าว เพียง เท่านั้น จะชื่อว่าเป็นอัตตาที่บรรลุ ปรมทิฏฐ ธัมม นิพพาน หาได้ไม่.
ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า?

ท่านผู้เจริญเอ๋ย ข้อนั้นเพราะ เหตุว่า กามทั้งหลาย ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความ แปรปรวน เป็นธรรมดา โสกะปริเทวะทุกขะ โทมนัสอุปายาส ทั้งหลาย ย่อมบังเกิดขึ้น เพราะความแปรปรวนเป็นอย่างอื่น ของกามทั้ง หลายเหล่านั้น.

ท่านผู้เจริญเอ๋ย แต่ว่าอัตตานี้ใด เป็นอัตตาที่สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย สงัดแล้ว จาก อกุศล ธรรม ทั้งหลาย เข้าถึงซึ่งปฐมฌาน อันมีวิตกวิจารมีปีติและสุขอันเกิด แต่วิเวก แล้วแลอยู่.

ท่านผู้เจริญเอ๋ย อัตตาอย่างนี้เท่านั้นแล ที่ชื่อว่าเป็น อัตตาอันบรรลุแล้วซึ่งปรม ทิฏฐธัมมนิพพาน ดังนี้.สมณพราหมณ์ พวกหนึ่งย่อมบัญญัติปรมทิฏฐธัมมนิพพาน แก่สัตว์ที่มีอยู่ อย่างนี้.

(๕๙) สมณพราหมณ์ผู้อื่นกล่าวกะ สมณพราหมณ์ผู้นั้น อย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ อัตตาชนิดที่ท่าน กล่าวนั้น มีอยู่จริง ท่านกล่าวอัตตาใดว่ามีอยู่ ข้าพเจ้าก็มิได้กล่าวว่า อัตตานั้นไม่มี แต่ว่าอัตตาที่กล่าวเพียง เท่านั้น จะชื่อว่าเป็นอัตตาที่บรรลุ ปรมทิฏฐธัมม นิพพาน หาได้ไม่.
ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า?

ท่านผู้เจริญเอ๋ย ข้อนั้นเพราะเหตุว่า ในปฐมฌานนั้น องค์ฌานใด เป็นเพียงธรรมอัน บุคคล ทำการ วิตกทำการวิจารแล้ว เพราะเหตุแห่งองค์ฌานนั้น ท่านจึงกล่าวซึ่ง ปฐมฌาน นั้น ว่าเป็นของที่ยังหยาบอยู่.

ท่านผู้เจริญเอ๋ย แต่ว่า อัตตานี้ใด เป็นอัตตาที่ระงับ วิตกวิจารเสียได้แล้วเข้าถึง ทุติยฌาน อันไม่มี วิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ อันเป็นเครื่อง ผ่องใส แห่งใจในภายใน ทำให้สมาธิเป็นธรรม อันเอกผุดมีขึ้น แล้วแลอยู่.

ท่านผู้เจริญเอ๋ย อัตตาอย่างนี้เท่านั้นแล ที่ชื่อว่าเป็นอัตตาอันบรรลุแล้ว ซึ่ง ปรมทิฏฐธัมม-นิพพาน ดังนี้. สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ย่อมบัญญัติปรมทิฏฐธัมม นิพพาน แก่สัตว์ ที่มีอยู่ อย่างนี้.

(๖๐) สมณพราหมณ์ผู้อื่น กล่าวกะสมณพราหมณ์ผู้นั้น อย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ อัตตาชนิดที่ท่าน กล่าวนั้น มีอยู่จริง ท่านกล่าวอัตตาใดว่ามีอยู่ ข้าพเจ้าก็ มิได้ กล่าวว่า อัตตานั้นไม่มี แต่ว่าอัตตาที่กล่าว เพียงเท่านั้น จะชื่อว่าเป็นอัตตาที่บรรลุ ปรมทิฏฐธัมมนิพพาน หาได้ไม่.
ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า?

ท่านผู้เจริญเอ๋ย ข้อนั้นเพราะเหตุว่า ในทุติยฌานนั้น องค์แห่งฌานใด ถึงซึ่งปีติ เป็นที่เฟื่องฟูแห่งใจ เพราะเหตุแห่งองค์ฌานนั้น ท่านจึงกล่าวซึ่งทุติยฌานนั้น ว่ายังเป็น ของที่ยังหยาบ อยู่.

ท่านผู้เจริญเอ๋ย แต่ว่าอัตตานี้ใด เป็นอัตตาที่เข้าถึงซึ่งตติยฌาน เพราะความ จางคลายแห่ง ปีติ ด้วยเป็นผู้อุเบกขาด้วย มีสติสัมปชัญญะด้วย เสวยสุขโดยนามกาย ด้วย อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย กล่าวสรรเสริญผู้เข้าถึงฌานนี้ว่า เป็นผู้อยู่ อุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข ดังนี้ แล้วแลอยู่.

ท่านผู้เจริญเอ๋ย อัตตาอย่างนี้เท่านั้นแล ที่ชื่อว่าเป็นอัตตาอันบรรลุแล้ว ซึ่งปรมทิฏฐธรรมนิพพาน ดังนี้.สมณพราหมณ์ พวกหนึ่ง ย่อมบัญญัติปรมทิฏฐธัมม นิพพาน แก่สัตว์ที่มีอยู่ อย่างนี้.

(๖๑) สมณพราหมณ์ผู้อื่น กล่าวกะสมณพราหมณ์ผู้นั้น อย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ อัตตาชนิดที่ท่าน กล่าวนั้น มีอยู่จริง ท่านกล่าวอัตตาใดว่ามีอยู่ ข้าพเจ้าก็มิได้กล่าวว่า อัตตานั้นไม่มี แต่ว่าอัตตาที่กล่าว เพียงเท่านั้น จะชื่อว่าเป็นอัตตาที่บรรลุ ปรมทิฏฐธัมมนิพพาน หาได้ไม่.
ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า?

ท่านผู้ เจริญเอ๋ย ข้อนั้นเพราะเหตุว่า ในตติยฌานนั้น องค์แห่งฌานใดเป็นเพียงความ ยินดีแห่งจิตว่า สุขๆ'ดังนี้ เพราะเหตุแห่งฌานนั้น ท่านจึงกล่าวซึ่งตติยฌานนั้นว่า เป็นของที่ยังหยาบอยู่.

ท่านผู้เจริญเอ๋ย แต่ว่าอัตตานี้ใด เป็นอัตตาที่เข้าถึงซึ่งจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ และสุข มีแต่ความที่ สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา เพราะเหตุที่ละสุข และ ทุกข์ เสียได้ และเพราะความตั้งอยู่ ไม่ได้แห่ง โสมนัสและโทมนัสทั้งหลาย ในกาลก่อน ดังนี้ แล้วแลอยู่.

ท่านผู้เจริญเอ๋ย อัตตาอย่างนี้เท่านั้นแลที่ชื่อว่า เป็นอัตตาอันบรรลุแล้ว ซึ่งปรมทิฏฐ-ธัมมนิพพาน ดังนี้. สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ย่อมบัญญัติปรมทิฏฐ ธัมมนิพพาน แก่สัตว์ที่มีอยู่ อย่างนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่าใด ที่เป็นพวกทิฏฐธัมม-นิพพานวาท ย่อมบัญญัตซึ่ง ปรมทิฏฐธัมมนิพพาน แก่สัตว์ที่มีอยู่ สมณพราหมณ์ ทั้งหลายเหล่านั้น ทั้งหมด ก็บัญญัติโดยอาศัยวัตถุ ทั้งหลาย ๕ ประการเหล่านี้ นั่นเทียว หรือว่าด้วยวัตถุ ประการ ใดประการหนึ่งในบรรดาวัตถุทั้งหลาย ๕ ประการเหล่านี้วัตถุอื่นนอกจากนี้ มิได้มี.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตย่อมรู้ชัดว่า ฐานะที่ตั้งแห่งทิฏฐิเหล่านี้เมื่อใครถือเอาแล้ว อย่างนี้ ลูบคลำ แล้วอย่างนี้ ก็จะมีคติอย่างนั้น มีอภิสัมปรายภพอย่างนั้น ตถาคต ย่อมรู้ชัด ซึ่งข้อนั้นด้วย รู้ชัดซึ่งธรรม อันยิ่งไปกว่านั้นด้วย และไม่จับฉวยไว้ซึ่งสิ่งที่ ตถาคต รู้แล้วนั้นด้วย และเมื่อไม่จับฉวยอยู่ ความดับเย็น (นิพฺพุติ) ก็เป็นสิ่งที่ตถาคต รู้แจ้งแล้ว เฉพาะตนนั่นเทียว เพราะรู้แจ้งตามที่เป็นจริงซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นซึ่ง ความตั้ง อยู่ ไม่ได้ ซึ่งรสอร่อย ซึ่งโทษอันเลวทราม และซึ่งอุบายเป็นเครื่องออกไปพ้น แห่งเวทนาทั้งหลาย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นผู้พ้นวิเศษแล้ว เพราะความไม่ยึดมั่น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้ง หลายเหล่านี้แล เป็นธรรมที่ลึก ที่สัตว์อื่นเห็นได้ยาก ยากที่สัตว์อื่นจะรู้ตาม เป็นธรรมเงียบสงบ ประณีต ไม่เป็นวิสัยที่จะหยั่งลงง่ายแห่ง ความตรึก เป็นของละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิตวิสัยซึ่งเราตถาคตได้ทำให้ แจ้งด้วย ปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง เป็นคุณวุฒิเครื่องนำไปสรรเสริญ ของผู้ที่เมื่อ จะพูดสรรเสริญเราตถาคตให้ถูกต้องตรงตามที่เป็นจริง. (สรุป อปรันตกัปปิกทิฏฐิ ๔๔ ประการ)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่าใด ซึ่งเป็นพวกอปรันต-กัปปิกวาท มีอปรันตานุทิกฐิ ปรารภขันธ์มีส่วนสุดในเบื้องหน้า สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น ทั้งหมด ย่อมกล่าวบัญญัติซึ่งอธิมุตติ บททั้งหลาย มีประการต่าง ๆ เป็นอเนก ด้วยวัตถุ ทั้งหลาย ๔๔ ประการเหล่านี้นั่นเทียว หรือว่าด้วยวัตถุ ประการใดประการ หนึ่ง ในบรรดาวัตถุทั้งหลาย ๔๔ ประการเหล่านี้ วัตถุอื่นนอกจากนี้มิได้มี.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตย่อมรู้ชัดว่า ฐานะที่ตั้งแห่งทิฏฐิเหล่านี้ เมื่อใครถือเอา แล้ว อย่างนี้ ลูบคลำ แล้วอย่างนี้ ก็จะมีคติอย่างนั้น มีอภิสัมปรายภพอย่างนั้น ตถาคตย่อม รู้ชัด ซึ่งข้อนั้นด้วย รู้ชัดซึ่ง ธรรมอัน ยิ่งไปกว่านั้นด้วย และไม่จับฉวยไว้ ซึ่งสิ่งที่ตถาคต รู้แล้วนั้นด้วย และเมื่อไม่จับฉวยอยู่ ความดับเย็น (นิพฺพุติ) ก็เป็นสิ่งที่ ตถาคตรู้แจ้งแล้ว เฉพาะตนนั่นเทียว เพราะรู้แจ้งตามที่เป็นจริง ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้น ซึ่งความ ตั้ง อยู่ไม่ได้ ซึ่งรสอร่อย ซึ่งโทษอันเลวทราม และซึ่งอุบายเป็นเครื่องออก ไปพ้น แห่งเวทนา ทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นผู้พ้นวิเศษ แล้ว เพราะความไม่ยึดมั่น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้ง หลายเหล่านี้แล เป็นธรรมที่ลึก ที่สัตว์อื่นเห็นได้ยาก ยากที่สัตว์อื่นจะรู้ตาม เป็นธรรมเงียบ สงบ ประณีตไม่เป็น วิสัยที่จะหยั่งลงง่ายแห่ง ความตรึก เป็นของละเอียด รู้ได้เฉพาะ บัณฑิตวิสัย ซึ่งเราตถาคตได้ทำให้ แจ้งด้วย ปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง เป็นคุณวุฒิเครื่องนำ ไป สรรเสริญ ของผู้ที่ เมื่อ จะพูดสรรเสริญ เรา ตถาคตให้ถูกต้องตรงตามที่เป็นจริง. (สรุปทิฏฐิหมดทั้ง ๖๒ ประการ)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่าใด ที่บัญญัติทิฏฐิปรารภปุพพันต ขันธ์บ้าง (คือพวก ปุพพันตกัปปกวาท) ปรารภอปรันตขันธ์บ้าง (คือพวกอปรันต-กัปปิกวาท)ปรารภทั้งปุพพันตะ และ อปรันตขันธ์ บ้าง (คือพวกปุพพันตาปรันต กัปปิกวาท) ล้วนแต่เป็นผู้มีปุพพันตาปรันตานุทิฏฐิ ปรารภขันธ์ ทั้งที่เป็นปุพพันตะ และอปรันตะดังนี้แล้ว กล่าวบัญญัติทิฏฐิ อันเป็นอธิมุตติบท (ทางแห่งความหลุดพ้น อย่างยิ่งของสัตว์ ตามทิฏฐิแห่งตนๆ) มีอย่างต่างๆ กันเป็นเอนก ด้วยวัตถุ (ที่ตั้งแห่ง ทิฏฐิ) ทั้งหลาย ๖๒ ประการเหล่านี้นั่นเทียว หรือว่าด้วยวัตถุประการใดประการหนึ่ง ในบรรดาวัตถุทั้งหลาย๖๒ ประการเหล่านี้ วัตถุอื่นนอกจากนี้ มิได้มี

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตคาคตย่อมรู้ชัดว่า ฐานะที่ตั้งแห่งทิฏฐิเหล่านี้ เมื่อใครถือ เอาแล้วอย่างนี้ ลูบคลำแล้ว อย่างนี้ ก็จะมี คติอย่างนั้น มีอภิสัมปรายภพอย่างนั้น ตถาคตย่อมรู้ชัดซึ่งข้อนั้นด้วย รู้ชัดซึ่ง ธรรม อันยิ่งไปกว่านั้นด้วย และไม่จับฉวยไว้ ซึ่งสิ่งที่ตถาคตรู้แล้วนั้นด้วย และเมื่อไม่จับฉวยอยู่ความดับ เย็น (นิพฺพุติ) ก็เป็นสิ่งที่ตถาคต รู้แจ้งแล้วเฉพาะตนนั่นเทียว เพราะรู้แจ้งตามที่เป็นจริง ซึ่งเหตุ ให้เกิดขึ้น ซึ่งความ ตั้งอยู่ไม่ได้ ซึ่งรสอร่อย ซึ่งโทษอันเลวทราม และซึ่งอุบาย เป็นเครื่องออกไปพ้น แห่งเวทนา ทั้งหลาย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นผู้พ้นวิเศษแล้ว เพราะความไม่ยึดมั่น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายเหล่านี้แล เป็นธรรมที่ลึก ที่สัตว์อื่นเห็นได้ยาก ยากที่สัตว์อื่นจะ รู้ตาม เป็นธรรม เงียบสงบประณีต ไม่เป็นวิสัยที่จะหยั่งลงง่าย แห่งความตรึก เป็นของละเอียด รู้ได้เฉพาะ บัณฑิต-วิสัย ซึ่งเราตถาคตได้ทำให้แจ้ง ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง เป็นคุณวุฒิเครื่องนำไป สรรเสริญ ของผู้ที่เมื่อจะพูดสรรเสริญ เราตถาคตให้ถูกต้องตรงตามที่เป็นจริง.
……………………………………………………………………………………………….
หมายเหตุผู้รวบรวม ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า ทุกๆ ตอนที่ทรงแสดงซึ่งทิฏฐิ หมวดหนึ่งๆจบลงไปทั้ง ๑๐ หมวดย่อย จะมีคำสรุปท้ายให้เห็นความสำคัญของ สิ่งที่เรียกว่า เวทนา ในลักษณะที่ว่าเป็นตัวการ สำคัญ ถ้าไม่รู้สมุทัย ความดับ รสอร่อยโทษต่ำทราม และอุบายเป็นเครื่องออก แห่งเวทนาทั้งหลายแล้ว จะไม่มีความดับเย็น จะมีแต่การเกิดขึ้นแห่งทิฏฐิทั้งหลาย ๖๒ ประการนี้ ด้วยความ ยึดมั่นถือมั่นอย่างใด อย่างหนึ่ง.ในทางที่ตรงกันข้าม ถ้ารู้ข้อเท็จจริงทั้ง ๕ ประการนี้ เกี่ยวกับเวทนาแล้ว ไม่มีทางที่จะถือเอา หรือจะลูบคลำ หรือจะถึงทับ ด้วยอุปาทาน ในสิ่งใดเลย.

ข้าพเจ้าขอร้องให้ตรวจดูคำว่า ผัสสะ และ เวทนา มากมายหลายสิบคำที่เกี่ยวข้อง กันอยู่กับทิฏฐิเหล่านี้ ดังที่ปรากฏอยู่ในพระพุทธภาษิต ที่นำมา แสดงไว้ ก่อนหน้า เรื่องทิฏฐิ ๖๒ นี้ โดยหัวข้อที่ว่าผัสสะ คือปัจจัยแห่งทิฏฐิ๖๒ และว่า ทิฏฐิ ๖๒ เป็นเพียงความรู้สึกผิดๆของผู้ไม่รู้ปฏิจจสมุปบาท ผัสสะ (แห่งปฏิจจสมุปบาท) คือที่มาของทิฏฐิ ๖๒. ทิฏฐิวัตถุ คือต้นเหตุเดิมอันจะให้เกิด ทิฏฐิต่าง ๆ ขึ้น มีอยู่ ๖๒ วัตถุ แต่เราเรียกกันว่าทิฏฐิ๖๒ เฉย ๆ.



769
ถ้ารู้ปฏิจจสมุปบาทก็จะไม่เกิดทิฏฐิอย่างพวกตาบอดคลำช้าง

ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายเป็นอันมาก ครองจีวรถือบาตรเข้าไปสู่เมืองสาวัตถี เพื่อบิณฑบาต ในเวลาเช้า กลับจากบิณฑบาตแล้ว ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถึงที่ประทับ แล้วกราบทูลว่า -

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในเมืองสาวัตถีนี้ มีสมณพราหมณ์ปริพพาชกผู้มีทิฏฐิต่าง ๆ กันเป็นอันมาก อาศัยอยู่ ล้วนแต่มีทิฏฐิต่าง ๆ กัน มีความชอบใจต่าง ๆ กันมีความพอใจ ต่าง ๆ กัน อาศัยทิฏฐิต่าง ๆ กัน

สมณพราหมณ์บางพวก มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า คำนี้ว่า โลกเที่ยงเท่านั้นเป็น คำจริง คำอื่นเป็น โมฆะ

สมณพราหมณ์บางพวก มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า คำนี้ว่า โลกไม่เที่ยงเท่านั้น เป็น คำจริง คำอื่นเป็น โมฆะ

สมณพราหมณ์บางพวก มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า คำนี้ว่า โลกมีที่สุดเท่านั้นเป็น คำจริง คำอื่นเป็น โมฆะ

สมณพราหมณ์บางพวก มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า คำนี้ว่า โลกไม่มีที่สุด เท่านั้น เป็นคำจริง คำอื่น เป็นโมฆะ

สมณพราหมณ์บางพวกมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า คำนี้ว่าชีวะก็อันนั้นสรีระ ก็อันนั้น เท่านั้น เป็นคำจริง คำอื่น เป็นโมฆะ

สมณพราหมณ์บางพวกมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า คำนี้ว่าชีวะก็อันอื่นสรีระ ก็อันอื่น เท่านั้นเป็นคำจริง คำอื่นเป็นโมฆะ

สมณพราหมณ์บางพวกมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า คำนี้ว่าตถาคตภายหลัง แต่ตายแล้ว ย่อมมีอีก เท่านั้น เป็นคำจริงคำอื่นเป็นโมฆะ

สมณพราหมณ์บางพวกมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า คำนี้ว่าตถาคตภายหลัง แต่ตาย แล้ว ย่อมไม่มีอีก เท่านั้น เป็นคำจริงคำอื่น เป็นโมฆะ

สมณพราหมณ์บางพวกมีวาทะอย่างนี้มี ทิฏฐิอย่างนี้ว่า คำนี้ว่าตถาคตภายหลังแต่ ตายแล้ว ย่อมมีอีกก็มี ย่อมไม่มีอีกก็มีเท่านั้นเป็นคำจริงคำอื่น เป็นโมฆะ

สมณพราหมณ์บางพวกมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า คำนี้ว่าตถาคตภายหลัง แต่ตายแล้ว ย่อมมีอีก ก็หามิได้ ย่อมไม่มีอีกก็หามิได้เท่านั้น เป็นคำจริงคำอื่นเป็น โมฆะ

สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น เกิดการบาดหมางกัน ทะเลาะกันวิวาทกัน ทิ่มแทง ซึ่งกัน และกันอยู่ ด้วยหอก คือปากทั้งหลายว่า ธรรมเป็นอย่างนี้ธรรมมิใช่เป็นอย่างนี้ ธรรมมิใช่เป็นอย่างนี้ธรรมเป็นอย่างนี้ อยู่ดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปริพพาชกทั้งหลายผู้เป็นเจ้าลัทธิอื่น ๆ เหล่านั้น เป็นคนบอด ไร้จักษุ จึงไม่รู้อัตถะ ไม่รู้อนัตถะ จึงไม่รู้ธรรมะ ไม่รู้อธรรมะ เมื่อไม่รู้อัตถะ อนัตถะ เมื่อไม่รู้ธรรมะอธรรมะ ก็เกิดการ บาดหมางกัน ทะเลาะกัน

วิวาทกัน ทิ่มแทงซึ่งกันและกันอยู่ด้วยหอก คือปากทั้งหลายว่า ธรรมเป็น อย่างนี้ ธรรมมิใช่เป็น อย่างนี้ ธรรมมิใช่เป็นอย่างนี้ ธรรมเป็นอย่างนี้อยู่ดังนี้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเรื่องเคยมีมาแล้ว ในเมืองสาวัตถีนี้เอง มีพระราชาองค์หนึ่ง ตรัสกะราชบุรุษคนหนึ่งว่า มานี่ซิ บุรุษผู้เจริญ คนตาบอด แต่กำเนิด ในเมืองสาวัตถีนี้ มีประมาณเท่าใด ท่านจงให้คนทั้งหมดนั้น มาประชุมกันในที่แห่งหนึ่ง.

บรุษนั้น ทำตามพระประสงค์แล้ว. พระราชานั้น ได้ตรัสสั่งกะบุรุษนั้นว่า ดูก่อนพนาย ถ้าอย่างนั้น ท่านจงแสดงซึ่งช้าง แก่คนตาบอดแต่กำเนิดเถิด. ราชบุรุษนั้นได้ทำตามพระประสงค์ โดยการ -
ให้คนตาบอดแต่กำเนิดพวกหนึ่ง คลำซึ่งศีรษะช้างพร้อมกับบอกว่า นี่แหละช้าง
ให้คนตาบอดแต่กำ เนิดพวกหนึ่ง คลำซึ่งหูช้างพร้อมกับบอกว่า นี่แหละช้าง
ให้คนตาบอดแต่กำเนิดพวกหนึ่ง คลำซึ่งงาช้างพร้อมกับบอกว่า นี่แหละช้าง
ให้คนตาบอดแต่กำเนิดพวกหนึ่ง คลำซึ่งงวงช้างพร้อมกับบอกว่า นี่แหละช้าง
ให้คนตาบอดแต่กำเนิดพวกหนึ่ง คลำซึ่งกายช้างพร้อมกับบอกว่า นี่แหละช้าง
ให้คนตาบอดแต่กำเนิดพวกหนึ่ง คลำซึ่งเท้าช้างพร้อมกับบอกว่า นี่แหละช้าง
ให้คนตาบอดแต่กำเนิดพวกหนึ่ง คลำซึ่งหลังช้างพร้อมกับบอกว่า นี่แหละช้าง
ให้คนตาบอดแต่กำเนิดพวกหนึ่ง คลำซึ่งโคนหางช้างพร้อมกับบอกว่า นี่แหละช้าง
ให้คนตาบอดแต่กำเนิดพวกหนึ่ง คลำซึ่งพวงหางช้างพร้อมกับบอกว่า นี่แหละช้าง ดังนี้.

ครั้งบุรุษนั้นแสดงซึ่งช้าง แก่พวกคนตาบอดแต่กำเนิด ดังนั้นแล้ว ได้เข้าไปกราบทูล พระราชาว่า พวกคนตาบอดแต่กำเนิดเหล่านั้น ได้เห็นช้างแล้ว. ข้าแต่เทวะขอพระองค์ จงทรงทราบซึ่งสิ่ง อันพึงกระทำต่อไป ในกาลนี้เถิด พระเจ้าข้า.

พระราชาได้ เสด็จไปสู่ที่ประชุมแห่งคนตาบอดแต่กำเนิด แล้วตรัสว่า พ่อบอด ทั้งหลาย พ่อเห็นช้างแล้วหรือ? ครั้นได้ทรงรับคำตอบว่า เห็นแล้ว จึงตรัสว่า ถ้าเห็นแล้ว พ่อบอด ทั้งหลายจงกล่าวดูทีว่า ช้างนั้น เป็นอย่างไร?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
คนตาบอด พวกใดได้คลำศีรษะช้างก็กล่าวว่าข้าแต่เทวราชเจ้า ช้างเหมือนหม้อ
คนตาบอดพวกใดได้คลำหูช้างก็กล่าวว่า ข้าแต่เทวราชเจ้า ช้างเหมือนกระด้ง
คนตาบอดพวกใดได้คลำงาช้างก็กล่าวว่า ข้าแต่เทวราชเจ้า ช้างเหมือนผาล
คนตาบอดพวกใดได้คลำงวงช้างก็กล่าวว่า ข้าแต่เทวราชเจ้า ช้างเหมือนงอนไถ
คนตาบอดพวกใดได้คลำกายช้างก็กล่าวว่า ข้าแต่เทวราชเจ้า ช้างเหมือนพ้อม
คนตาบอดพวกใดได้คลำเท้าช้างก็กล่าวว่า ข้าแต่เทวราชเจ้า ช้างเหมือนเสา
คนตาบอดพวกใดได้คลำหลังช้างก็กล่าวว่า ข้าแต่เทวราชเจ้า ช้างเหมือนครก กระเดื่อง
คนตาบอดพวกใดได้คลำโคนหางช้างก็กล่าวว่า ข้าแต่เทวราชเจ้าช้างเหมือน สาก ตำข้าว
คนตาบอดพวกใด ได้คลำพวงหางช้างก็กล่าวว่า ข้าแต่เทวราชเจ้า ช้างเหมือนไม้กวาด

คนตาบอดแต่กำเนิดทั้งหลายเหล่านั้นเถียงกันอยู่ว่า ช้างเป็นอย่างนี้ ช้างมิใช่ อย่างนี้บ้าง ช้างมิใช่อย่างนี้ ช้างเป็นอย่างนี้ต่างหาก ดังนี้บ้าง ได้ประหารซึ่งกัน และกันด้วยกำหมัด ทั้งหลาย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระราชามีความพอพระทัย เป็นอันมากด้วยเหตุนั้น นี้ฉันใด

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้น กล่าวคือ ปริพพาชกทั้งหลายผู้เป็นเจ้าลัทธิอื่น ๆ เหล่านั้นเป็นคน บอดไร้จักษุ จึงไม่รู้อัตถะ ไม่รู้อนัตถะ จึงไม่รู้ธรรมะ ไม่รู้ อธรรมะ เมื่อไม่รู้อัตถะอนัตถะ เมื่อไม่ รู้ธรรมะอธรรมะ ก็เกิดการบาดหมางกัน ทะเลาะกัน วิวาทกัน ทิ่งแทงซึ่งกันและกันอยู่ด้วยหอก คือปากทั้งหลายว่า ธรรมเป็นอย่างนี้ ธรรมมิใช่เป็นอย่างนี้ธรรมมิใช่เป็นอย่างนี้ธรรมเป็นอย่างนี้ อยู่ดังนี้.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงรู้สึกความข้อนี้แล้ว ได้ทรงเปล่งอุทานนี้ ในเวลานั้นว่า-
ได้ยินว่า สมณพราหมณ์ทั้งหลายพวกหนึ่ง ย่อมข้องอยู่ในทิฏฐิหนึ่งๆ แห่งทิฏฐิทั้งหลายเหล่านี้. ชนทั้งหลาย ผู้มีความเห็นแล่นไปสู่ที่สุดข้างหนึ่ง ถือเอาซึ่งทิฏฐิต่างกันแล้ว ย่อมวิวาทกัน เพราะเหตุนั้น ดังนี้ แล.
……………………………………………………………………......................................…………………………….
หมายเหตุผู้รวบรวม ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า การทะเลาะวิวาทกันด้ว ย เรื่อ งเดีย ว กัน มีขึ้น ม า ได้เพ รา ะ เห ตุที่พ ว ก ห นึ่ง ๆ ถือ เอ า เพีย งส่ว น ห นึ่ง ๆ ข อ งเรื่องนั้นมายืนยัน แก่ผู้อื่น จึงเกิด ความต่างกันถึงกับเป็นเหตุให้วิวาททำ ร้ายกันเหมือน พวกตาบอดคลำ ช้าง ๙ พวก ประหัตประหารกัน เพราะคลำ อวัยวะ ของช้างคนละส่วน กัน ทั้ง ๙พวก. ธรรมหรือสัตถุศาสน์ในพระพุทธศาสนา เป็นเหมือน ช้างที่ตัวใหญ่ยิ่งกว่า ช้าง แล้วยังอาจจะแบ่งได้เป็น ๙ ส่วน ตามจำ นวนแห่งนวังคสัตถุศาสน์ กล่าวคือ สุตตะ เคยยะเวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ รวม ๙ องค์ ด้วยกันฉันใด ก็ฉันนั้น. แต่ถ้าทุกคนเข้าใจ เรื่องสำคัญ เพียงเรื่องเดียว คือ อิทัปปัจจยตา หรือปฏิจจสมุปบาท ที่สามารถ แสดงให้เห็นว่า ธรรมทั้งหลายเกี่ยวข้องกัน อย่างไร ทั้งในฝ่ายเกิดและฝ่ายดับแห่ง กองทุกข์แล้ว ก็จะเท่า กับคลำ ช้างทีเดียวทั้งตัว ไม่มีโอกาสจะเถียงกัน แล้ววิวาท หรือ ทำร้ายกันได้แต่ประการใดเลย.

หมวดที่สิบเอ็ด จบ



หน้า 778

หมวด ๑๒

ว่าด้วย ปฏิจจสมุปบาท ที่ส่อไปในทางภาษาคน-เพื่อศีลธรรม
มีเรื่อง ทรงขยายความปฏิจจสมุปบาทอย่างประหลาด—ธาตุ๓ อย่างเป็นที่ตั้งแห่งความเ)นไปได้ของปฏิจจสมุปบาท.


หน้า 779

ทรงขยายความปฏิจจสมุปบาท อย่างประหลาด

ดูก่อนอานนท์ ก็คำนี้ว่า ชารามรณะมี เพราะปัจจัยคือชาติ ดังนี้ เช่นนี้และ เป็นคำ ที่เรา กล่าวแล้ว. ดูก่อนอานนท์ ความข้อนี้ เธอต้องทราบอธิบายโดยปริยายดังต่อไปนี้ ที่ตรงกับหัวข้อที่เรากล่าวไว้แล้ว่า ชรามณะมี เพราะปัจจัยคือชาติ ดูก่อนอานนน์ ถ้าหากว่าชาติ จักไมได้มีแก่ใครๆ ในที่ไหนๆ โดยทุกชนิด โดยทุกอาการ กล่าวคือ เพื่อความเป็นเทพ แห่งหมู่เทพทั้งหลายก็ดี เพื่อความ

เป็นคนธรรพ์แห่งพวกคนธรรพ์ทั้งหลายก็ดี เพื่อความเป็น ยักษ์แห่งพวกยักษ์ ทั้งหลาย ก็ดีเพื่อความ เป็นภูต แห่งพวกภูตทั้งหลายก็ดี เพื่อความเป็น มนุษย์ แห่งพวกมนุษย์ทั้งหลายก็ดี เพื่อความเป็น สัตว์สี่เท้าแห่งพวกสัตว์สี่เท้าทั้งหลายก็ดี เพื่อความเป็นสัตว์มีปีกแห่งพวกสัตว์มีปีกทั้งหลายก็ดี เพื่อความเป็นสัตว์เลื้อยคลานแห่งพวกสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลายก็ดี แล้วไซร้ ดูก่อนอานนท์ ชาติก็จักไม่ได้มีแล้ว แก่สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ๆ เพื่อความเป็นอย่างนี้แล. เมื่อชาติไม่มี เพราะความดับ ไปแห่งชาติโดยประการทั้งปวงแล้ว ชรามรณะ จะมีขึ้นมาให้เห็นได้ (ปญฺญาเยถ) ไหมหนอ?

(
ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า) ดูก่อนอานนท์ เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ นั่นแหละคือเหตุ นั่นแหละ คืนนิทานนั่นแหละคือสมุทัย นั่นแหละคือปัจจัย ของชรามรณะนั้นคือ ชาติ.

ดูก่อนอานนท์ ก็คำนี้ว่า ชาติ เพราะปัจจัยคือภพ ดังนี้ เช่นนี้แล เป็นคำที่เรากล่าว แล้ว. ดูก่อนอานนท์ ความข้อนี้ เธอต้องทราบอธิบายโดยปริยายดังต่อไปนี้ ที่ตรงกับ หัวข้อที่เรากล่าวไว้แล้วว่า ชาติมี เพราะปัจจัยคือภพ ดูก่อนอานนท์ ถ้าหากว่าภพ จักไม่ได้มีแก่ใคร ๆ ในที่ไหน ๆ โดยทุกชนิด โดยทุกอาการกล่าวคือ กามภพ ก็ดี รูปภพ ก็ดี อรูปภพ ก็ดี แล้วไซร์ เมื่อภพไม่มีเพราะความดับ ไปแห่งภพ โดยประการทั้งปวงแล้ว ชาติ จะมีขึ้นมาให้เห็นได้ไหมหนอ? (ข้อนั้น หามิได้

พระเจ้าข้า) ดูก่อนอานนท์ เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้นั่นแหละคือเหตุ นั่นแหละคือนิทาน นั่นแหละคือ สมุทัย นั่นแหละคือปัจจัย ของชาตินั้นคือ ภพ.

ดูก่อนอานนท์ ก็คำนี้ว่า ภพมี เพราะปัจจัยคืออุปาทาน ดังนี้ เช่นนี้แล เป็นคำที่เรา กล่าวแล้ว. ดูก่อนอานนท์ ความข้อนี้ เธอต้องทราบอธิบายโดย

ปริยายดังต่อไปนี้ ที่ตรงกับหัวข้อที่เรากล่าวไว้แล้วว่า ภพมี เพราะปัจจัยคืออุปาทาน ดูก่อนอานนท์ ถ้าหากว่าอุปาทาน จักไม่ได้มีแก่ ใคร ๆ ในที่ไหน ๆ โดยทุกชนิด โดยทุกอาการ กล่าวคือ กามุปาทาน ก็ดี ทิฏฐุปาทาน ก็ดี สีลัพพัตตุปาทาน ก็ดี อัตตวาทุ-ปาทาน ก็ดี แล้วไซร้ เมื่ออุปาทานไม่มี เพราะความ ดับไปแห่งอุปาทาน โดยประการทั้งปวงแล้ว ภพจะมีขึ้นมาให้เห็นได้ไหมหนอ?(ข้อนั้นหามิได้พระเจ้าข้า)

ดูก่อนอานนท์ เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ นั่นแหละคือเหตุ นั่นแหละคือนิทานนั่นแหละ คือสมุทัย นั่นแหละคือปัจจัย ของภพ นั้นคือ อุปาทาน.ดูก่อนอานนท์ ก็คำนี้ว่า อุปาทานมี เพราะปัจจัย คือตัณหา ดังนี้เช่นนี้แล เป็นคำที่เรากล่าวแล้ว. ดูก่อนอานนท์ ความข้อนี้ เธอต้องทราบอธิบาย โดยปริยายดังต่อไปนี้ ที่ตรงกับหัวข้อ ที่เรากล่าวไว้แล้ว่า อุปาทานมี เพราะปัจจัยคือตัณหา

ดูก่อนอานนท์ ถ้าหากว่าตัณหา จักไม่ได้มีแก่ใคร ๆ ในที่ไหน ๆ โดยทุกชนิด โดยทุกอาการ กล่าวคือ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา แล้วไซร้ เมื่อตัณหาไม่มี เพราะความดับไปแห่ง ตัณหา โดยประการทั้งปวงแล้ว อุปาทาน จะมีขึ้นมาให้เห็นได้ไหมหนอ? (ข้อนั้นหามิได้พระเจ้าข้า) ดูก่อนอานนท์ เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ นั่นแหละคือเหตุ นั่นแหละคือนิทาน นั่นแหละคือสมุทัย นั่นแหละคือปัจจัย ของอุปาทาน นั้นคือ ตัณหา.

ดูก่อนอานนท์ ก็คำนี้ว่า ตัณหามี เพราะปัจจัยคือเวทนา ดังนี้เช่นนี้แล เป็นคำที่เรา กล่าวแล้ว. ดูก่อนอานนท์ ความข้อนี้ เธอต้องทราบอธิบายโดยปริยาย ดังต่อไปนี้ ที่ตรงกับหัวข้อที่เรากล่าวไว้แล้วว่า ตัณหามี เพราะปัจจัย คือเวทนา ดูก่อนอานนท์ ถ้าหากว่าเวทนา จักไม่ได้มีแก่ใครๆ ในที่ไหน ๆ โดยทุกชนิด โดยทุกอาการ กล่าวคือ จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา

ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา. แล้วไซร้ เมื่อเวทนาไม่มี เพราะความดับไปแห่งเวทนา โดย ประการทั้งปวงแล้ว ตัณหาจะมีขึ้นมาให้ เห็นได้ไหมหนอ? (ข้อนั้นหามิได้พระเจ้าข้า)

ดูก่อนอานนท์ เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ นั่นแหละคือเหตุ นั่นแหละคือนิทาน นั่นแหละ คือ สมุทัย นั่นแหละคือปัจจัย ของตัณหา นั้นคือ เวทนา

ดูก่อนอานนท์ ก็ด้วยอาการดังนี้แล (เป็นอันกล่าวได้ว่า)
เพราะอาศัยเวทนาจึงมี ตัณหา
เพราะอาศัยตัณหา จึงมี การแสวงหา (ปริเยสนา)
เพราะอาศัยการแสวงหา จึงมี การได้ (ลาโภ)
เพราะอาศัยการได้ จึงมี ความปลงใจรัก (วินิจฺฉโย)
เพราะอาศัยความปลงใจรัก จึงมี ความกำหนัดด้วยความพอใจ (ฉนฺทราโค)
เพราะอาศัยความกำหนัดด้วยความพอใจ จึงมี ความสยบมัวเมา (อชฺโฌสานํ)
เพราะอาศัยความสยบมัวเมา จึงมี ความจับอกจับใจ (ปริคฺคโห)
เพราะอาศัยความจับอกจับใจ จึงมี ความตระหนี่ (มจฺจริยํ)
เพราะอาศัยความตระหนี่ จึงมี การหวงกั้น (อารกฺโข)
เพราะอาศัยการหวงกั้น จึงมี เรื่องราวอันเกิดจากการหวงกั้น (อารกฺขา-ธิกรณํ)

กล่าวคือ การใช้อาวุธไม่มีคม การใช้อาวุธมีคม การทะเลาะ การแก่งแย่งการวิวาท การกล่าวคำหยาบว่า มึง มึง การพูดคำส่อเสียด และการพูดเท็จ ทั้งหลายธรรมอันเป็น บาปอกุศลเป็นอเนกย่อมเกิดขึ้นพร้อม ด้วยอาการอย่างนี้ (เป็นอันว่า) ข้อความเช่นนี้ เป็นข้อความที่เราได้กล่าวไว้แล้ว.

ดูก่อนอานนท์ ความข้อนี้ เธอต้องทราบอธิบายโดยปริยายดังต่อไปนี้ ที่ตรงกับหัวข้อ ที่เรากล่าวไว้ กล่าวไว้แล้วว่า ธรรมเป็นบาปอกุศลเป็นอเนก กล่าวคือ การใช้อาวุธ ไม่มีคม การใช้อาวุธมีคม การทะเลาะ การแก่งแย่ง การวิวาท การกล่าวคำหยาบว่ามึง มึง' การพูดคำส่อเสียด และการพูดเท็จ ทั้งหลาย ย่อม เกิดขึ้นพร้อม เพราะเรื่องราว อันเกิดจากการหวงกั้นเป็นเหตุ ดังนี้

ดูก่อนอานนท์ ถ้าหากว่าการหวงกั้นจักไม่ได้มีแก่ใคร ๆ ในที่ไหน ๆ โดยทุกชนิด โดยทุกอาการ แล้วไซร้ เมื่อการหวงกั้นไม่มี เพราะความดับไปแห่งการหวงกั้น โดยประการทั้งปวงแล้ว ธรรมเป็นบาปอกุศล เป็นอเนก กล่าวคือ การใช้อาวุธไม่มีคม การใช้อาวุธมีคม การทะเลาะ การแก่งแย่ง การวิวาท การกล่าว คำหยาบว่า มึง มึ่ง การพูดคำส่อเสียด และการพูดเท็จทั้งหลาย จะพึงเกิดขึ้นพร้อมได้ไหมหนอ? (ข้อนั้นหามิได้พระเจ้าข้า)

ดูก่อนอานนท์ เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ นั่นแหละคือเหตุ นั่นแหละคือนิทาน นั่นแหละ คือสมุทัย นั่นแหละคือปัจจัย ของความเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรม เป็นบาปอกุศลเป็น อเนก เหล่านี้ กล่าวคือ การใช้อาวุธไม่มีคม การใช้อาวุธมีคม การทะเลาะ การแก่งแย่ง การ วิวาท การกล่าวคำหยาบว่า มึง มึง การพูดคำส่อเสียด และการกล่าวเท็จ นั้นคือการ หวงกั้น.

ดูก่อนอานนท์ ก็คำนี้ว่า เพราะอาศัยความตระหนี่ จึงมีการหวงกั้นดังนี้ เช่นนี้แล เป็นคำที่เรากล่าว แล้ว. ดูก่อนอานนท์ ความข้อนี้ เธอต้องทราบอธิบายโดยปริยาย ดังต่อไปนี้ ที่ตรงกับหัวข้อที่เรากล่าว ไว้แล้วว่า เพราะอาศัยความตระหนี่ จึงมีการหวงกั้น ดูก่อนอานนท์ ถ้าหากว่าความตระหนี่ จักไม่ได้ มีแก่ใคร ๆ ในที่ไหน ๆ โดยทุกชนิด โดยทุกอาการ แล้วไซร้ เมื่อความตระหนี่ไม่มีเพราะความดับไปแห่ง ความตระหนี่ โดยประการทั้งปวงแล้ว การหวงกั้นจะมีขึ้นมาให้เห็นได้ไหมหนอ?(ข้อนั้นหามิได้พระเจ้าข้า) ดูก่อนอานนท์ เพราะเหตุนั้น

เรื่องนี้ นั่นแหละคือเหตุ นั่นแหละคือนิทาน นั่นแหละคือสมุทัย นั่นแหละคือปัจจัย ของการหวงกั้น นั้นคือ ความตระหนี่.ดูก่อนอานนท์ ก็คำนี้ว่า เพราะอาศัยความ จับอกจับใจ จึงมีความตระหนี่ ดังนี้ เช่นนี้แล เป็นคำที่เรากล่าวแล้ว.

ดูก่อนอานนท์ ความข้อนี้ เธอต้องทราบอธิบายโดยปริยายดังต่อไปนี้ ที่ตรงกับหัว ข้อที่เรากล่าวไว้แล้วว่า เพราะอาศัยความจับอกจับใจ จึงมีความตระหนี่

ดูก่อนอานนท์ถ้าหากว่าความจับอกจับใจจักไม่ได้มีแก่ใคร ๆ ในที่ไหน ๆ โดยทุกชนิด โดยทุกอาการ แล้วไซร้ เมื่อความจับอกจับใจไม่มี เพราะความดับไปแห่งความ จับอก จับใจ โดยประการทั้งปวงแล้ว ความตระหนี่จะมีขึ้นมาให้เห็นได้ไหมหนอ? (ข้อนั้นหามิได้พระเจ้าข้า)

ดูก่อนอานนท์ เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ นั่นแหละคือเหตุ นั่นแหละคือนิทาน นั่นแหละ คือสมุทัย นั่นแหละ คือปัจจัย ของความตระหนี่ นั้นคือ ความจับอกจับใจ. ดูก่อนอานนท์ ก็คำนี้ว่า เพราะอาศัยความสยบ มัวเมา จึงมีความจับอกจับใจ ดังนี้ เช่นนี้แล เป็นคำที่เรากล่าวแล้ว.

ดูก่อนอานนท์ ความข้อนี้เธอต้องทราบอธิบาย โดยปริยายดังต่อไปนี้ ที่ตรงกับหัวข้อที่ เรากล่าวไว้แล้วว่า เพราะอาศัยความสยบมัวเมา จึงมีความจับอกจับใจ. ดูก่อนอานนท์ ถ้าหากความสยบมัวเมา จักไม่ได้มี แก่ใคร ๆ ในที่ไหน ๆ โดยทุกชนิด โดยทุกอาการ แล้วไซร้ เมื่อความสยบมัวเมาไม่มี เพราะความดับไป แห่งความสยบมัวเมา โดยประการ ทั้งปวงแล้วความจับอกจับใจ จะมีขึ้นมาให้เห็นได้ไหมหนอ? (ข้อนั้นหามิได้พระเจ้าข้า)ดูก่อนอานนท์ เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ นั่นแหละคือเหตุ นั่นแหละ คือนิทานนั่นแหละ คือสมุทัย นั่นแหละคือปัจจัย ของความจับอกจับใจ นั้นคือ ความสยบมัวเมา.

ดูก่อนอานนท์ ก็คำนี้ว่า เพราะอาศัยความกำหนัดด้วยความพอใจ จึงมีความ สยบ มัวเมา ดังนี้ เช่นนี้แล เป็นคำที่เรากล่าวแล้ว. ดูก่อนอานนท์ความนี้ เธอต้องทราบ อธิบาย โดยปริยายดังต่อไปนี้ ที่ตรงกับหัวข้อที่เรากล่าวไว้แล้วว่า เพราะอาศัยความ กำหนัด ด้วยความพอใจ จึงมีความสยบมัวเมา

ดูก่อนอานนท์ถ้าหากว่าความกำหนัดด้วยความพอใจ จักไม่ได้มีแก่ใคร ๆ ในที่ไหน ๆโดยทุกชนิด โดยทุกอาการ แล้วไซร้ เมื่อความกำหนัดด้วยความพอใจไม่มี เพราะ ความดับไปแห่งความกำหนัด ด้วยความพอใจ โดยประการทั้งปวงแล้ว ความสยบ มัวเมา จะมีขึ้นมาให้เห็นได้ไหมหนอ? (ข้อนั้นหามิได้พระเจ้าข้า) ดูก่อนอานนท์ เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้นั่นแหละคือเหตุ นั่นแหละคือนิทาน นั่นแหละ คือสมุทัย นั่นแหละคือปัจจัย ของความสยบมัวเมา นั้นคือ ความกำหนัดด้วยความพอใจ.

ดูก่อนอานนท์ ก็คำนี้ว่า เพราะอาศัยความปลงใจรัก จึงมีความกำหนัดด้วยความ พอใจ ดังนี้ เช่นนี้แล เป็นคำที่เรากล่าวแล้ว. ดูก่อนอานนท์ความข้อนี้ เธอต้องทราบ อธิบายโดยปริยายดังต่อไปนี้ ที่ตรงกับหัวข้อที่เรากล่าวไว้แล้วว่า เพราะอาศัยความ ปลงใจรัก จึงมีความกำหนัดด้วยความพอใจ

ดูก่อนอานนท์ถ้าหากว่าความปลงใจรักจักไม่ได้มีแก่ใคร ๆ ในที่ไหน ๆ โดยทุกชนิด โดยทุกอาการ แล้วไซร้ เมื่อความปลงใจรักไม่มี เพราะความดับไปแห่งความปลงใจรัก โดยประการทั้งปวงแล้ว ความ กำหนัดด้วยความพอใจ จะมีขึ้นมาให้เห็นได้ไหมหนอ? (ข้อนั้นหามิได้พระเจ้าข้า) ดูก่อนอานนท์ เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ นั่นแหละคือเหตุ นั่นแหละ คือนิทาน นั่นและคือสมุทัย นั่นแหละคือปัจจัยของ ความกำหนัดด้วยความ พอใจ นั้นคือ ความปลงใจรัก.

ดูก่อนอานนท์ ก็คำนี้ว่า เพราะอาศัยการได้ จึงมีความปลงใจรัก ดังนี้ เช่นนี้แล เป็นคำที่เรา กล่าวแล้ว. ดูก่อนอานนท์ ความข้อนี้ เธอต้องทราบอธิบาย
.
โดยปริยายดังต่อไปนี้ ที่ตรงกับหัวข้อที่เรากล่าวไว้แล้วว่า เพราะอาศัยการได้ จึงมีความ ปลงใจรัก ดูก่อนอานนท์ ถ้าหากว่าการได้ จักไม่ได้มีแก่ใคร ๆ ในที่ไหน ๆโดยทุกชนิด โดยทุกอาการ แล้วไซร้ เมื่อการได้ไม่มี เพราะความดับไปแห่งการ ได้โดยประการ ทั้งปวงแล้ว ความปลงใจรัก จะมีขึ้นมา ให้เห็นได้ไหมหนอ? (ข้อนั้นหามิได้ พระเจ้าข้า) ดูก่อนอานนท์ เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ นั่นแหละ คือเหตุ นั่นแหละคือนิทาน นั่นแหละคือ สมุทัย นั่นแหละคือปัจจัย ของความปลงใจรัก นั้นคือการได้.

ดูก่อนอานนท์ ก็คำนี้ว่า เพราะอาศัยการแสวงหา จึงมีการได้ ดังนี้เช่นนี้แลเป็นคำ ที่เรากล่าวแล้ว. ดูก่อนอานนท์ ความข้อนี้ เธอต้องทราบอธิบายโดยปริยายดังต่อไปนี้ ที่ตรงกับหัวข้อที่เรากล่าวไว้แล้ว่า เพราะอาศัยการแสวงหา จึงมีการได้

ดูก่อนอานนท ถ้าหากว่าการแสวงหาจักไม่ได้มีแก่ใคร ๆ ในที่ไหน ๆ โดยทุกชนิด โดยทุกอาการ แล้วไซร้ เมื่อการแสวงหาไม่มี เพราะความดับไปแห่งการแสวงหา โดยประการทั้งปวงแล้ว การได้ จะมีขึ้นมาให้เห็นได้ไหมหนอ? (ข้อนั้นหามิได้ พระเจ้าข้า) ดูก่อนอานนท์ เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ นั่นแหละคือ เหตุนั่นแหละคือ นิทาน นั่นแหละคือสมุทัย นั่นแหละคือปัจจัย ของการได้ นั้นคือ การแสวงหา.

ดูก่อนอานนท์ ก็คำนี้ว่า เพราะอาศัยตัณหา จึงมีการแสวงหา ดังนี้.เช่นนี้แลเป็นคำ ที่เรากล่าวแล้ว. ดูก่อนอานนท์ ความข้อนี้ เธอต้องทราบอธิบายโดยปริยายดังต่อไปนี้ ที่ตรงกับหัวข้อที่เรากล่าวไว้แล้วว่า เพราะอาศัยตัณหา จึงมีการแสวงหา ดูก่อนอานนท์ ถ้าหาว่าตัณหา จักไม่ได้มีแก่ใคร ๆ ในที่ไหน ๆ โดยทุกชนิดโดย ทุกอาการ กล่าวคือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา แล้วไซร้ เมื่อตัณหา

ไม่มี เพราะความดับไปแห่งตัณหา โดยประการทั้งปวงแล้ว การแสวงหา จะมีขึ้นมา ให้เห็นได้ไหมหนอ? (ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า) ดูก่อนอานนท์ เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ นั่นแหละคือเหตุ นั่นแหละคือนิทาน นั่นแหละคือสมุทัย นั่นแหละคือปัจจัย ของการ แสวงหา นั้นคือ ตัณหา.

ดูก่อนอานนท์ ก็ด้วยอาการดังนี้แล (เป็นอันกล่าวได้ว่า) ธรรมทั้งสอง๑เหล่านี้รวมเป็น ธรรมที่มีมูล อัน เดียวกันในเวทนา คือเวทนาอย่างเดียว ก็เป็นมูลสำหรับให้เกิด ตัณหา แต่ละอย่าง ๆ ทั้งสองอย่าง ได้

ดูก่อนอานนท์ ก็คำนี้ว่า เวทนามี เพราะปัจจัยคือผัสสะ ดังนี้ เช่นนี้แล เป็นคำที่เรา กล่าว แล้ว. ดูก่อนอานนท์ ความข้อนี้ เธอต้องทราบอธิบายโดยปริยายดังต่อไปนี้ ที่ตรงกับ หัวข้อที่เรากล่าวไว้แล้วว่า เวทนามี เพราะปัจจัยคือผัสสะ

ดูก่อนอานนท์ ถ้าหากว่าผัสสะ จักไม่ได้มีแก่ ใคร ๆ ในที่ไหน ๆ โดยทุกชนิด โดยทุกอาการ กล่าวคือ จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส แล้วไซร้เมื่อผัสสะไม่มี เพราะ ความดับไปแห่งผัสสะ โดยประการทั้งปวง แล้วเวทนา จะมีขึ้นมาให้เห็นได้ไหมหนอ? (ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า) ดูก่อนอานนท์ เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ นั่นแหละคือเหตุ นั่นแหละ คือนิทาน นั่นแหละ คือสมุทัย นั่นแหละ คือปัจจัย ของเวทนา นั้นคือผัสสะ

ดูก่อนอานนท์ ก็คำนี้ว่า ผัสสะมี เพราะปัจจัยคือนามรูป ดังนี้ เช่นนี้แล เป็นคำที่เรา กล่าวแล้ว. ดูก่อนอานนท์ ความข้อนี้ เธอต้องทราบอธิบายโดยปริยายดังต่อไปนี้ ที่ตรงกับ หัวข้อที่เรากล่าวไว้แล้วว่า ผัสสะมี เพราะปัจจัยคือนามรูป๑

ดูก่อนอานนท์ การบัญญัติซึ่งหมู่แห่งนาม ย่อมมีได้โดยอาศัยอาการ ลิงค์นิมิต อุเทศ ทั้งหลาย เป็นหลัก เมื่ออาการ ลิงค์ นิมิต อุเทศ เหล่านั้น ไม่มีเสียแล้ว การสัมผัส ด้วยการ เรียกชื่อ(อธิวจน สมฺผสฺโส) ในกรณีอันเกี่ยวกับรูปกาย จะมีขึ้นมาให้เห็นได้ ไหมหนอ? (ข้อนั้นหามิได้พระเจ้าข้า)

ดูก่อนอานนท์ การบัญญัติซึ่งหมู่แห่งรูป ย่อมมีได้โดยอาศัยอาการ ลิงค์นิมิต อุเทศ ทั้งหลายเป็นหลัก เมื่ออาการ ลิงค์ นิมิต อุเทศ เหล่านั้น ไม่มีเสียแล้วการสัมผัส ด้วยการกระทบ (ปฏิฆสมฺผสฺโส) ในกรณี อันเกี่ยวกับรูปกาย จะมีขึ้นมาให้เห็น ได้ไหม หนอ? (ข้อนั้นหามิได้พระเจ้าข้า)

ดูก่อนอานนท์ การบัญญัติซึ่งหมู่แห่งนามด้วย ซึ่งหมู่แห่งรูปด้วย ย่อมมีได้โดย อาศัยอาการ ลิงค์ นิมิต อุเทศ ทั้งหลายเป็นหลัก เมื่ออาการ ลิงค์ นิมิตอุเทศ เหล่านั้น ไม่มีเสียแล้ว การสัมผัสด้วยการเรียกชื่อ ก็ดี การสัมผัสด้วยการกระทบก็ดี จะมีขึ้นมาให้เห็นได้ไหมหนอ? (ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า)

ดูก่อนอานนท์ การบัญญัติซึ่งนามรูป ย่อมมีได้โดยอาศัยอาการ ลิงค์นิมิต อุเทศ ทั้งหลายเป็นหลัก เมื่ออาการ ลิงค์ นิมิต อุเทศ เหล่านั้น ไม่มีเสียแล้วผัสสะ จะมีขึ้นมา ให้เห็นได้ไหมหนอ? (ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า)

ดูก่อนอานนท์ เพราะเหตุนั้นแหละ ในเรื่องนี้ นั่นแหละคือเหตุ นั่นแหละคือนิทาน นั่นแหละ คือสมุทัย นั่นแหละคือปัจจัย ของผัสสะ นั้นคือ นามรูป.

ดูก่อนอานนท์ ก็คำนี้ว่า นามรูปมี เพราะปัจจัยคือวิญญาณ ดังนี้เช่นนี้แล เป็นคำ ที่เรา กล่าวแล้ว. ดูก่อนอานนท์ ความข้อนี้ เธอต้องทราบอธิบายโดย ปริยายดัง ต่อไปนี้ ที่ตรงกับหัวข้อที่เรากล่าวไว้แล้วว่า นามรูปมี เพราะปัจจัย คือวิญญาณ ดูก่อนอานนท์ ถ้าหากว่าวิญญาณ จักไม่ก้าวลงในท้องแห่งมารดา แล้วไซร้นามรูป จักปรุงตัวขึ้นมา ในท้องแห่งมารดาได้ไหม? (ข้อนั้นหามิได้พระเจ้าข้า)

ดูก่อนอานนท์ ถ้าหากว่าวิญญาณก้าวลงในท้องแห่งมารดาแล้ว จักสลายลง เสียแล้วไซร้ นามรูป จักบังเกิดขึ้น เพื่อความเป็นอย่างนี้ได้ไหม? (ข้อนั้นหามิได้พระเจ้าข้า)

ดูก่อนอานนท์ ถ้าหากว่าวิญญาณของเด็กอ่อน ที่เป็นชายก็ตาม เป็นหญิงก็ตาม จักขาดลงเสียแล้วไซร้ นามรูป จักถึงซึ่งความเจริญ ความงอกงาม ความไพบูลย์ บ้างหรือ? (ข้อนั้นหามิได้พระเจ้าข้า)

ดูก่อนอานนท์ เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ นั่นแหละคือเหตุ นั่นแหละคือนิทาน นั่นแหละ คือสมุทัย นั่นแหละคือปัจจัย ของนามรูป นั้นคือ วิญญาณ.
………………………………………………………………………………….
ข้อความนี้ เป็นข้อความที่มีลักษณะเป็นปฏิจจสมุปบาทอย่างภาษาคน หรือภาษา ศีลธรรม. แต่เราอาจ ถือเอาข้อความนี้ เป็นเพียงอุปมา แล้วถือเอาข้อความในภาษา ธรรม เป็นอุปไมย. หรือมิฉะนั้นก็ถือว่าเป็น เรื่องศีลธรรม โดยส่วนเดียว.

ดูก่อนอานนท์ ก็คำนี้ว่า วิญญาณมี เพราะปัจจัยคือนามรูป ดังนี้เช่นนี้แล เป็นคำ ที่เรา กล่าวแล้ว. ดูก่อนอานนท์ ความข้อนี้ เธอต้องทราบอธิบายโดยปริยายดังต่อไป นี้ที่ตรงกับ หัวข้อที่เรากล่าวไว้แล้วว่า วิญญาณมี เพราะปัจจัยคือนามรูปดูก่อนอานนท์ ถ้าหากว่าวิญาณ จักไม่ได้มีที่ตั้งที่อาศัยในนามรูป แล้วไซร้ ความเกิดขึ้นพร้อมแห่ง ทุกข์ คือชาติชรามรณะต่อไป จะมีขึ้นมาให้เห็นได้ไหม? (ข้อนั้นหามิได้พระเจ้าข้า)

ดูก่อนอานนท์ เพราะเหตุนั้นแหละ ในเรื่องนี้ นั่นแหละคือเหตุ นั่นแหละคือนิทาน นั่นแหละคือสมุทัย นั่นแหละคือปัจจัย ของวิญญาณ นั่นคือ นามรูป.ดูก่อนอานนท์ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ สัตว์โลก จึงเกิดบ้าง จึงแก่บ้างจึงตายบ้าง จึงจุติ บ้าง จึง อุบัติบ้าง คลองแห่งการเรียก (อธิวจน) ก็มีเพียงเท่านี้ คลองแห่งการพูดจา (นิรุตฺติ) ก็มีเพียง เท่านี้ คลองแห่งการบัญญัติ (ปญฺญตฺติ) ก็มีเพียงเท่านี้ เรื่องที่จะต้องรู้ด้วย ปัญญา (ปญฺญาวจร) ก็มีเพียงเท่านี้ ความเวียนว่ายในวัฏฏะ ก็มีเพียงเท่านี้ นามรูปพร้อมทั้ง วิญญาณตั้งอยู่ เพื่อการบัญญัติซึ่งความเป็น อย่างนี้ (ของนามรูปกับวิญญาณ นั่นเอง)