|
หมวด ๓
หน้า 122
ว่าด้วย บาลีแสดงว่า ปฏิจจสมุปบาท
ไม่ใช่เรื่องข้ามภพข้ามชาติ
ลำดับเรื่องเฉพาะหมวด
สำหรับปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ หมวดที่ ๓
ว่าด้วยบาลีที่แสดงว่า ปฏิจจสมุป บาท ไม่ใช่เรื่อง ข้ามภพข้ามชาติ
(มี ๙ เรื่อง)
มีเรื่อง
ปฏิจจสมุปบาทมีเมื่อมีการกระทบทางอายตนะ--
ปฏิจจสมุปบาทดับได้กลางสาย—
นันทิเกิดเมื่อใดก็มีปฏิจจสมุปบาทเมื่อนั้น—
นันทิดับเมื่อใดปฏิจจสมุปบาทดับเมื่อนั้น--
ในภาษาปฏิจจสมุปบาทกรรมให้ผลในอัตตภาพที่กระทำกรรม--
เห็นปฏิจจสมุปบาทคือฉลาดในเรื่องกรรม—
นามรูปหยั่งลงเพราะเห็นสัญโญชนิย-ธรรมโดยความเป็นอัสสาทะ--
นามรูปไม่หยั่งลงเพราะเห็นสัญโญชนิยธรรมโดยความเป็นอาทีนวะ—
ปฏิจจสมุปบาทที่ตรัสระคนกับปัจจุปาทานขันธ์
หน้า 123
ปฏิจจสมุปบาทมีเมื่อมีการกระทบทางอายตนะ
(ไม่ต้องข้ามภพข้ามชาติ)
เพราะอาศัยซึ่งจักษุด้วย ซึ่งรูปทั้งหลายด้วย จึงเกิดจักขุวิญญาณ การประจวบพร้อม แห่งธรรม ๓ ประการนี้ คือ ผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะมีเวทนาเป็น ปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะมีอุปาทานเป็น ปัจจัยจึง มีภพ เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะมีชาติเป็นปัจจัยชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะ โทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.
เพราะอาศัยซึ่งโสตะด้วย ซึ่งเสียงทั้งหลายด้วย จึงเกิดโสตวิญญาณ การประจวบ พร้อมแห่งธรรม ๓ ประการนี้ คือผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา ...ฯลฯ... ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.
เพราะอาศัยซึ่งฆานะด้วย ซึ่งกลิ่นทั้งหลายด้วย จึงเกิดฆานวิญญาณ การประจวบพร้อม แห่งธรรม ๓ ประการนี้ คือผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา ...ฯลฯ... ความเกิด ขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.
เพราะอาศัยซึ่งชิวหาด้วย ซึ่งรสทั้งหลายด้วย จึงเกิดชิวหาวิญญาณ การประจวบพร้อม แห่งธรรม ๓ ประการนี้ คือผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา..ฯลฯ..ความเกิดขึ้น พร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.
เพราะอาศัยซึ่งกายะด้วย ซึ่งโผฏฐัพพะทั้งหลายด้วย จึงเกิดกายวิญญาณ การประจวบ พร้อมแห่งธรรม ๓ ประการนี้ คือผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา ...ฯลฯ... ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.
เพราะอาศัยซึ่งมโนด้วยซึ่งธัมมารมณ์ทั้งหลายด้วย จึงเกิดมโนวิญญาณ การประจวบ พร้อมแห่งธรรม ๓ ประการนี้ คือผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะมีเวทนา เป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
เพราะมีอุปาทานเป็น ปัจจัย จึงมีภพ เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะมีชาติเป็น ปัจจัย ชรามรณะโสกะ ปริเทวะ ทุกขะโทมนัส อุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อมแห่ง กองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.
ปฏิจจสมุปบาทดับได้กลางสาย(โดยไม่ต้องข้ามภพข้ามชาติ)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า? (ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่ง ทุกข์นั้นคือ เพราะอาศัยซึ่งจักษุด้วย ซึ่งรูปทั้งหลายด้วย จึงเกิด จักขุวิญญาณ
การประจวบ พร้อม แห่งธรรม ๓ ประการนี้ คือผัสสะ
เพราะมีผัสสะเป็น ปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะมีเวทนา เป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
เพราะความ จางคลายดับไปไม่เหลือ แห่งตัณหานั้นนั่นเทียว
จึงมีความดับแห่ง อุปาทาน
เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมี ความดับแห่งภพ
เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความ ดับแห่งชาติ
เพราะมีความดับแห่ง ชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะ
ทุกขะโทมนัส-อุปายาส ทั้งหลาย จึงดับสิ้น
ความดับ ลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้
นี้คือ ความตั้ง อยู่ไม่ได้แห่งทุกข์ เพราะอาศัยซึ่งโสตะด้วย ซึ่งเสียงทั้งหลายด้วย จึงเกิดโสตะวิญญาณ การประจวบพร้อม แห่งธรรม ๓ ประการนี้ คือผัสสะ
เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะมีเวทนาเป็น ปัจจัย จึงมีตัณหา
เพราะความจางคลาย ดับไป ไม่เหลือแห่งตัณ หานั้น นั่นเทียว
จึงมีความ ดับแห่งอุปาทาน...ฯลฯ...๑ ความดับลงแห่ง กองทุกข์ทั้งสิ้นนี้
ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ นี้คือ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งทุกข์.
เพราะอาศัยซึ่งฆานะด้วย ซึ่งกลิ่นทั้งหลายด้วย จึงเกิดฆานวิญญาณ การประจวบพร้อม แห่งธรรม ๓ ประการนี้ คือผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะมีเวทนา เป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
เพราะความจางคลายดับไปไม่เหลือแห่งตัณหานั้นนั่นเทียว จึงมี ความดับแห่งอุปาทาน….ฯลฯ… ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการ อย่างนี้.
นี้คือ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งทุกข์เพราะอาศัยซึ่งชิวหาด้วย ซึ่งรสทั้งหลายด้วย จึงเกิด ชิวหา วิญญาณ การประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการนี้ คือผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะความจางคลายดับไปไม่เหลือ แห่งตัณ หานั้นนั่นเทียว จึงมีความดับแห่งอุปาทาน...ฯลฯ... ความดับลงแห่งกองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ นี้คือ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งทุกข์.
เพราะอาศัยซึ่งกายะด้วย ซึ่งโผฏฐัพพะทั้งหลายด้วย จึงเกิดกายวิญญาณ การประจวบ พร้อม แห่งธรรม ๓ ประการนี้ คือผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะมีเวทนา เป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะความจางคลายดับไปไม่
เหลือแห่งตัณหานั้น นั่นเทียว จึงมีความดับแห่ง อุปาทาน ...ฯลฯ... ความดับลงแห่งกอง ทุกข์ ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ นี้คือ ความตั้ง อยู่ไม่ได้แห่งทุกข์.
เพราะอาศัยซึ่งมโนด้วย ซึ่งธัมมารมณ์ทั้งหลายด้วย จึงเกิดมโนวิญญาณ การประจวบ พร้อมแห่ง ธรรม ๓ ประการนี้ คือผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะมี เวทนา เป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะความจางคลายดับไปไม่เหลือ แห่งตัณหา นั้นนั่น เทียว จึงมี ความดับแห่ง อุปาทาน เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ เพราะมีความ ดับแห่งภพ จึงมีความ ดับแห่งชาติเพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรา มรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัส อุปายาส ทั้งหลายจึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วย อาการ อย่างนี้. นี้คือ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งทุกข์.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล คือความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งทุกข์. นันทิเกิดเมื่อใด ก็มีปฏิจจสมุปบาท เมื่อนั้น๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอทั้งหลาย จงเจริญสมาธิเถิด. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ผู้มีจิต เป็นสมาธิตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริง. ก็ภิกษุนั้น ย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริง ซึ่งอะไรเล่า? ภิกษุนั้น ย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริง ซึ่งความเกิดขึ้น
และความดับไปแห่งรูป ...แห่งเวทนา ..แห่งสัญญา .แห่งสังขารทั้งหลาย แห่งวิญญาณ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็การเกิดขึ้นแห่งรูป... แห่งเวทนา...แห่งสัญญา... แห่งสังขารทั้ง หลาย... แห่งวิญญาณ. เป็นอย่างไรเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมเพลิด เพลิน ย่อมพร่ำ สรรเสริญ ย่อมเมาหมกอยู่. ภิกษุนั้น ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำสรรเสริญ ย่อมเมาหมกอยู่ซึ่ง อะไรเล่า?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้น ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำสรรเสริญ ย่อมเมาหมกอยู่ซึ่งรูป เมื่อภิกษุนั้น เพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่ ซึ่งรูป นันทิ (ความเพลิน) ย่อมเกิดขึ้น. ความเพลินใด ในรูป ความเพลินนั้นคืออุปาทาน. เพราะอุปาทานของภิกษุนั้นเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะ-ทุกขะโทมนัส อุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้น ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำสรรเสริญ ย่อมเมาหมกอยู่ซึ่ง เวทนา ...ฯลฯ...ฯลฯ.. ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้น ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำสรรเสริญ ย่อมเมาหมกอยู่ ซึ่งสัญญา ...ฯลฯ...ฯลฯ... ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการ อย่างนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้น ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำสรรเสริญ ย่อมเมาหมกอยู่ ซึ่ง สังขารทั้งหลาย ...ฯลฯ...ฯลฯ... ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วย อาการอย่างนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้น ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำสรรเสริญ ย่อมเมาหมกอยู่ ซึ่ง วิญญาณ เมื่อภิกษุนั้น เพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่
ซึ่งวิญญาณ นันทิย่อม เกิดขึ้น. ความเพลินใด ในวิญญาณ ความเพลินนั้นคือ อุปาทาน.
เพราะอุปาทานของภิกษุนั้น เป็นปัจจัย จึงมีภพเพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติเพราะมีชาติ เป็นปัจจัยชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะ-โทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้คือ ความเกิดขึ้นแห่งรูป... แห่งเวทนา... แห่งสัญญา...แห่งสังขาร ทั้งหลาย...แห่งวิญญาณ.
หน้า 129
นันทิดับเมื่อใด ปฏิจจสมุปบาทดับเมื่อนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ความดับแห่งรูป...แห่งเวทนา...แห่งสัญญา... แห่งสังขารทั้งหลาย ...แห่งวิญญาณ. เป็นอย่างไรเล่า?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำสรรเสริญ ย่อม ไม่เมาหมก อยู่. ภิกษุนั้น ย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำสรรเสริญ ย่อมไม่เมาหมกอยู่ ซึ่งอะไรเล่า?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้น ย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำสรรเสริญย่อม ไม่เมาหมก อยู่ซึ่งรูป เมื่อภิกษุนั้น ไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่เมาหมกอยู่ซึ่งรูป นันทิ (ความเพลิน)ใด ในรูป นันทินั้นย่อมดับไป.
เพราะความดับแห่งนันทิของภิกษุนั้น จึงมีความดับแห่งอุปาทาน เพราะมีความดับแห่ง อุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ เพราะมีความดับแห่งชาติ ชรา มรณะ โสกะปริเทวะทุกขะ-โทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกอง ทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุนั้น ย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำสรรเสริญย่อ ม ไม่เม าห ม ก อ ยู่ ซึ่งเว ท น า ...ฯล ฯ ...ฯล ฯ ... ค วาม ดับ ล งแห่งกอ งทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วย อาการอย่างนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้น ย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำสรรเสริญ
ย่อ ม เม า ห ม ก อ ยู่ ซึ่ง สัญ ญ า ...ฯ ล ฯ ...ฯ ล ฯ ... ค ว า ม ดับ ล ง แ ห่ง ก อ ง ทุก ข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้น ย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำสรรเสริญย่อ ม ไม่เม าห ม ก อ ยู่ ซึ่งสัง ข า ร ทั้งห ล าย ...ฯล ฯ ...ฯล ฯ ... ค วาม ดับ ล งแ ห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้น ย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำสรรเสริญย่อมไม่เมาหมกอยู่ ซึ่งวิญญาณ เมื่อภิกษุนั้น ไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญไม่เมาหมกอยู่ ซึ่งวิญญาณ นันทิใด ในวิญญาณ นันทินั้น ย่อมดับไป.
เพราะความดับแห่งนันทิของภิกษุนั้น จึงมีความดับ แห่งอุปาทาน เพราะมีความดับแห่ง อุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ เพราะมีความดับ แห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ เพราะมี ความดับแห่งชาติชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะ โทมนัส-อุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลงแห่ง กองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการ อย่างนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้คือ ความเกิดขึ้นแห่งรูป...แห่งเวทนา...แห่งสัญญา... แห่งสังขาร ทั้งหลาย...แห่งวิญญาณ ดังนี้ แล.
หน้า 131
ในภาษาปฏิจจสมุปบาท
กรรมให้ผล ในอัตตภาพที่กระทำกรรม
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุทั้งหลาย ๓ ประการเหล่านี้ มีอยู่ เพื่อความเกิดขึ้นแห่งกรรมทั้งหลาย. สามประการเหล่าไหนเล่า สามประการคือ โลภะ เป็นเหตุเพื่อความเกิดขึ้นแห่ง กรรมทั้งหลาย โทสะ เป็นเหตุเพื่อความเกิดขึ้นแห่งกรรมทั้งหลาย
โมหะ เป็นเหตุเพื่อความเกิดขึ้นแห่งกรรมทั้งหลาย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กรรมอันบุคคลกระทำแล้ว ด้วยโลภะ เกิดจากโลภะมีโลภะเป็นเหตุ มีโลภะเป็นสมุทัย อันใด กรรมอันนั้น ย่อมให้ผลในขันธ์ทั้งหลายอันเป็น ที่บังเกิดแก่ อัตตภาพของบุคคลนั้น.
กรรมนั้น ให้ผลในอัตตภาพใด เขาย่อมเสวยวิบากแห่งกรรมนั้น ในอัตตภาพนั้นเอง ไม่ว่าจะเป็น ไปอย่างในทิฏฐิธรรม หรือว่า เป็นไปอย่างใน อุปปัชชะ หรือว่า เป็นไปอย่างใน อปรปริยายะ๑ ก็ตาม.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กรรมอันบุคคลกระทำแล้วด้วยโทสะ เกิดจากโทสะมีโทสะเป็นเหตุ มีโทสะ เป็นสมุทัย อันใด กรรมอันนั้น ย่อมให้ผลในขันธ์ทั้งหลาย อันเป็นที่บังเกิดแก่ อัตตภาพของ บุคคลนั้น. กรรมนั้น ให้ผลในอัตตภาพใด เขาย่อมเสวยวิบากแห่งกรรมนั้น ในอัตตภาพนั้นเอง ไม่ว่าจะเป็นไปอย่างในทิฏฐิธรรมหรือว่า เป็นไปอย่างในอุปปัชชะ หรือว่า เป็นไปอย่างใน อปรปริยายะ ก็ตาม.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กรรมอันบุคคลกระทำแล้วด้วยโมหะ เกิดจากโมหะมีโมหะเป็นเหตุ มีโมหะ เป็นสมุทัย อันใด กรรมอันนั้น ย่อมให้ผลในขันธ์ทั้งหลาย อันเป็นที่บังเกิดแก่ อัตตภาพ ของบุคคลนั้น. กรรมนั้น ให้ผลในอัตตภาพใด เขาย่อมเสวยวิบากแห่งกรรมนั้น ในอัตตภาพ นั้นเอง ไม่ว่าจะเป็นไปอย่างในทิฏฐิธรรมหรือว่า เป็นไปอย่างในอุปปัชชะ หรือว่า เป็นไป อย่างในอปรปริยายะ ก็ตาม.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเมล็ดพืชทั้งหลาย ที่ไม่แตกหัก ที่ไม่เน่าที่ไม่ถูก ทำลาย ด้วยลมและแดด เลือกเอาแต่เม็ดดี เก็บงำไว้ดี อันบุคคลหว่านไปแล้วในพื้นที่ ซึ่งมีปริกรรม อันกระทำดีแล้ว ในเนื้อนาดี. อนึ่ง สายฝนก็ตกต้องตามฤดูกาล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เมล็ดพืชทั้งหลายเหล่านั้น จะพึงถึงซึ่งความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ โดยแน่นอน ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้น คือ กรรมอันบุคคลกระทำแล้ว ด้วยโลภะ เกิดจากโลภะ มีโลภะเป็นเหตุ มีโลภะเป็นสมุทัยอันใด กรรมอันนั้นย่อมให้ผล ในขันธ์ทั้งหลาย อันเป็นที่บังเกิดแก่อัตตภาพของบุคคลนั้น. กรรมนั้นให้ผลในอัตตภาพใด เขาย่อมเสวยวิบาก แห่งกรรมนั้น ในอัตตภาพนั้นเอง ไม่ว่าจะเป็นไปอย่างในทิฏฐิธรรม หรือว่า เป็นไปอย่างใน อุปปัชชะ หรือว่า เป็นไปอย่างในอปรปริยายะ ก็ตาม.
กรรมอันบุคคลกระทำแล้วด้วยโทสะ เกิดจากโทสะมีโทสะเป็นเหตุ มีโทสะเป็นสมุทัย อันใด กรรมอันนั้น ย่อมให้ผลในขันธ์ทั้งหลาย อันเป็นที่บังเกิดแก่อัตตภาพของบุคคลนั้น. กรรมนั้น ให้ผลในอัตตภาพใด เขาย่อมเสวยวิบากแห่งกรรมนั้น ในอัตตภาพนั้นเอง ไม่ว่า จะเป็นไป อย่างในทิฏฐิธรรมหรือว่า เป็นไปอย่างในอุปปัชชะ หรือว่า เป็นไปอย่างใน อปรปริยายะ ก็ตาม.
กรรมอันบุคคลกระทำแล้วด้วยโมหะ เกิดจากโมหะ มีโมหะเป็นเหตุ มีโมหะเป็นสมุทัย อันใด; กรรมอันนั้น ย่อมให้ผลในขันธ์ทั้งหลาย อันเป็นที่บังเกิดแก่อัตตภาพ ของบุคคลนั้น. กรรมนั้น ให้ผลในอัตตภาพใด เขาย่อมเสวยวิบากแห่งกรรมนั้น ในอัตตภาพนั้นเอง ไม่ว่า จะเป็นไป อย่างในทิฏฐิธรรม หรือว่า เป็นไปอย่างในอุปปัชชะหรือว่า เป็นไปอย่างใน อปรปริยายะ ก็ตาม.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เหตุทั้งหลาย ๓ ประการเหล่านี้แล เป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่งกรรม ทั้งหลาย.
.... ..... ..... ....
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุทั้งหลาย ๓ ประการ เหล่านี้ มีอยู่ เพื่อความเกิดขึ้นแห่งกรรม ทั้งหลาย. สามประการ เหล่าไหนเล่า?
สามประการคือ
อโลภะ เป็นเหตุเพื่อความเกิดขึ้นแห่งกรรมทั้งหลาย
อโทสะ เป็นเหตุเพื่อความเกิดขึ้นแห่งกรรมทั้งหลาย
อโมหะ เป็นเหตุเพื่อความเกิดขึ้นแห่งกรรมทั้งหลาย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กรรม อันบุคคลกระทำแล้วด้วย อโลภะ เกิดจากอโลภะมีอโลภะ เป็นเหตุ มีอโลภะเป็นสมุทัย อันใด เพราะปราศจากโลภะเสียแล้ว ด้วยอาการอย่างนี้ เอง กรรมอันนั้น ย่อมเป็นกรรมอันบุคคลนั้น ละขาดแล้ว มีรากอันถอนขึ้นแล้ว ถูกกระทำให้ เหมือนตาลมีขั้วยอด อันด้วน ทำให้ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กรรมอันบุคคลกระทำแล้วด้วยอโทสะ เกิดจากอโทสะ มีอโทสะ เป็นเหตุ มีอโทสะเป็นสมุทัย อันใด เพราะปราศจากโทสะเสียแล้วด้วยอาการอย่างนี้ เอง กรรมอันนั้น ย่อมเป็นกรรมอันบุคคลนั้นละขาดแล้ว มีรากอันถอนขึ้นแล้ว ถูกกระทำให้ เหมือนตาลมีขั้วยอด อันด้วน ทำให้ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กรรมอันบุคคลกระทำแล้วด้วยอโมหะ เกิดจากอโมหะ มีอโมหะ เป็นเหตุ มีอโมหะเป็นสมุทัย อันใด เพราะปราศจากโมหะเสียแล้ว ด้วยอาการอย่างนี้ เอง กรรมอันนั้น ย่อมเป็นกรรมอันบุคคลนั้นละขาดแล้วมีรากอันถอนขึ้นแล้ว ถูกกระทำให้ เหมือนตาลมีขั้วยอด อันด้วน ทำให้ถึงความไม่มีมีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเทียบเมล็ดพืชทั้งหลาย ที่ไม่แตกหัก ที่ไม่เน่าที่ไม่ถูกทำลาย ด้วยลม และแดด เลือกเอาแต่เม็ดดี เก็บงำไว้ดี.
บุรุษพึงเผาเมล็ดพืช เหล่านั้นด้วยไฟ ครั้นเผาด้วยไฟแล้ว พึงกระทำให้เป็นผงขี้เถ้า ครั้น กระทำให้เป็นผงขี้เถ้า แล้ว พึงโปรยไปในกระแสลมอันพัดจัด หรือว่าพึงลอยไปใน กระแส น้ำอันเชี่ยวในแม่น้ำ. เมล็ดพืชทั้งหลายเหล่านั้นเป็นพืชมีมูลอันขาดแล้ว ถูกกระทำให้ เหมือนตาล มีขั้วยอด อันด้วน ทำให้ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดาโดย แน่นอน นี้ฉันใด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้น กล่าวคือกรรม อันบุคคลกระทำแล้วด้วยอโลภะ เกิดจากอโลภะ มีอโลภะเป็นเหตุ มีอโลภะเป็นสมุทัย อันใด เพราะปราศจากโลภะ เสียแล้ว ด้วยอาการ อย่างนี้เอง กรรมอันนั้น ย่อมเป็นกรรมอันบุคคลนั้น ละขาดแล้ว มีราก อันถอนขึ้นแล้ว ถูกกระทำ ให้เหมือนตาล มีขั้วยอดอันด้วน ทำให้ถึงความไม่มีมี อันไม่ เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา.
กรรมอันบุคคลกระทำแล้วด้วยอโทสะ เกิดจากอโทสะมีอโทสะเป็นเหตุ มีอโทสะเป็น สมุทัย อันใด; เพราะปราศจากโทสะเสียแล้ว ด้วยอาการอย่างนี้เอง กรรมอันนั้น ย่อม เป็นกรรมอัน บุคคลนั้น ละขาดแล้ว มีรากอันถอนขึ้นแล้ว ถูกกระทำให้เหมือนตาล มีขั้วยอด อันด้วน ทำให้ถึง ความไม่มี มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา.
กรรมอันบุคคลกระทำแล้วด้วยอโมหะ เกิดจากอโมหะ มีอโมหะเป็นเหตุ มีอโมหะเป็น สมุทัย อันใด เพราะปราศจากโมหะเสียแล้ว ด้วยอาการอย่างนี้เอง กรรมอันนั้น ย่อม เป็นกรรมอันบุคคล นั้นละขาดแล้ว มีรากอันถอนขึ้นแล้ว ถูกกระทำให้เหมือนตาลมีขั้ว ยอด อันด้วน ทำให้ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เหตุทั้งหลาย ๓ ประการเหล่านี้แล เป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่ง กรรมทั้งหลาย.
กรรมใด อันผู้กระทำเห็นอยู่ว่า เกิดแต่โลภะ เกิดแต่โทสะ
เกิดแต่โมหะ ก็ตาม กระทำแล้ว น้อยก็ตาม มากก็ตาม
กรรมนั้นอันบุคคลนั้นพึงเสวยผล ในอัตตภาพนี้นั่นเทียว วัตถุ(พื้นที่)๑ อื่นหามีไม่ เพราะฉะ นั้น ภิกษุผู้รู้ประจักษ์ซึ่งโลภะโทสะและโมหะกระทำวิชชาให้เกิดขึ้นอยู่ ย่อมละทุคติ ทั้งหลายทั้งปวงได้.
หน้า 137
เห็นปฏิจจสมุปบาท คือฉลาดในเรื่องกรรม
บุคคลเป็นพราหมณ์เพราะชาติ (กำเนิด) ก็หามิได้
จะมิใช่พราหมณ์เพราะชาติก็หามิได้
บุคคลเป็นพราหมณ์เพราะกรรม ไม่เป็นพราหมณ์ก็เพราะกรรม.
บุคคลเป็นชาวนา ก็เพราะกรรม เป็นศิลปิน ก็เพราะกรรม
บุคคลเป็นพ่อค้า ก็เพราะกรรม เป็นคนรับใช้ ก็เพราะกรรม
บุคคลแม้เป็นโจร ก็เพราะกรรม เป็นนักรบ ก็เพราะกรรม
บุคคลเป็นปุโรหิต ก็เพราะกรรม แม้เป็นพระราชา ก็เพราะกรรม
บัณฑิตทั้งหลายย่อมเห็นซึ่งกรรมนั้น ตามที่เป็นจริงอย่างนี้
ชื่อว่าเป็นผู้เห็นซึ่งปฏิจจสมุปบาท เป็นผู้ฉลาดในเรื่องวิบากแห่งกรรม.
โลก ย่อมเป็นไปตามกรรม หมู่สัตว์ ย่อมเป็นไปตามกรรม
สัตว์ทั้งหลาย มีกรรมเป็นเครื่อง รึงรัด เหมือนลิ่มสลักขันยึดรถ ที่กำลังแล่นไปอยู่.
๑วาเสฏฐสู
เพราะการบำเพ็ญตบะ การประพฤติพรหมจรรย์ การสำรวม และเพราะการฝึกตน นั่นแหละ บุคคลจึงเป็นพราหมณ์ นั่นแหละ ความเป็นพราหมณ์ชั้นสูงสุด
บุคคลผู้ถึง พร้อมแล้ว ด้วยวิชชา ๓ เป็นผู้รำ งับแล้ว มีภพใหม่สิ้นแล้ว มีอยู่
ดูก่อนวาเสฏฐะ ท่านจงรู้บุคคล อย่างนี้ ว่าเป็นพรหม เป็นสักกะ ของท่านผู้รู้ ท.
หน้า 138
นามรูปหยั่งลง เพราะเห็น สัญโญชนิยธรรม
โดยความเป็นอัสสาทะ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเป็นผู้มีปรกติ เห็นโดยความเป็นอัสสาทะ(น่ารักน่ายินดี) ในธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ (สัญโญชนิยธรรม)๒ อยู่ การหยั่งลงแห่ง นามรูป ย่อมมี, เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะมี
เวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะมี
อุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะมีชาติเป็น ปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส อุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นรบถ้วน ความเกิดขึ้น พร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้ใหญ่ มีรากดิ่งลงไปเบื้องล่าง ด้วยมีรากแผ่ไปรอบ ๆ ด้วย รากทั้งหลายเหล่านั้น ล้วนแต่ดูดสิ่งโอชะขึ้นไปเบื้องบน ก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเป็นอย่างนี้ ต้นไม้ใหญ่ซึ่งมีอาการอย่างนั้น มีเครื่องหล่อเลี้ยงอย่างนั้น พึงตั้ง อยู่ได้ ตลอดกาลยาวนาน ข้อนี้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้น เมื่อภิกษุ เป็นผู้มีปรกติ เห็นโดยความเป็นอัสสาทะ (น่ารักน่ายินดี) ในธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่ง สังโยชน์อยู่ การหยั่งลงแห่งนามรูป ย่อมมี
เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้น ครบถ้วน
ความเกิดขึ้นพร้อม แห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.
นามรูปไม่หยั่งลง เพราะเห็นสัญโญชนิยธรรม โดยความเป็นอาทีนวะ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเป็นผู้มีปรกติเห็น โดยความเป็นอาทีนวะ(โทษอันต่ำทราม) ในธรรมทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์อยู่ การหยั่งลงแห่งนามรูป ย่อมไม่มี
เพราะความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ
เพราะมีความดับแห่งสฬายตนะ จึงมีความดับแห่งผัสสะ
เพราะมีความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา
เพราะมีความดับแห่งเวทนา จึงมีความดับแห่งตัณหา
เพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน
เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ
เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ
เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส อุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น
ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้ใหญ่ มีอยู่. ลำดับนั้น บุรุษพึงถือเอาจอบและ ตะกร้า มาแล้ว บุรุษนั้นพึงตัดต้นไม้นั้นที่โคน ครั้นตัดที่โคนแล้วพึงขุดเซาะ ครั้นขุดเซาะ แล้ว พึงรื้อขึ้น ซึ่งรากทั้งหลาย แม้ที่สุดเพียงเท่าก้านแฝก.
บุรุษนั้นตัดต้นไม้เป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่
ครั้นตัดเป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่แล้ว พึงผ่า
ครั้นผ่าแล้ว พึงกระทำให้เป็นซีก ๆ
ครั้นกระทำให้เป็นซีก ๆ แล้ว พึงผึ่งให้แห้งในลมและแดด
ครั้นพึ่งให้แห้งในลมและแดดแล้ว ย่อมเผาด้วยไฟ
ครั้นเผาด้วยไฟแล้วพึงกระทำให้เป็นขี้เถ้า
ครั้นกระทำให้เป็นขี้เถ้าแล้ว ย่อมโปรยไปตามลมอันพัดจัด หรือว่าพึงให้ลอยไปในกระแสน้ำอันเชี่ยว.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยการกระทำอย่างนี้ แลต้นไม้ใหญ่นั้น ก็จะพึงเป็นต้นไม้มีรากอัน ขาดแล้ว เหมือนต้นตาล ที่ถูกทำลายแล้วที่ขั้วแห่งยอด ถึงแล้วซึ่งความไม่มีไม่เป็น มีความไม่งอกอีกต่อไป เป็นธรรมดา ข้อนี้ฉันใด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้น เมื่อภิกษุเป็นผู้มีปรกติเห็นโดยความเป็น อาทีนวะ (โทษอัน ต่ำทราม) ในธรรมทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์อยู่ การหยั่งลงแห่งนามรูป ย่อมไม่มี. เพราะความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ เพราะมีความดับแห่ง สฬายตนะ จึงมีความดับแห่งผัสสะ เพราะมีความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา เพราะมีความดับ แห่งเวทนาจึงมี ความดับแห่งตัณหา เพราะมีความดับ
แห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่ง ภพ เพราะมี ความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกอง ทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการ อย่างนี้ ดังนี้ แล.
หน้า 141
ปฏิจจสมุปบาท ที่ตรัสระคนกับปัญจุปาทานขันธ์
เรื่องในนครกบิลพัสดุ์ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงขับภิกษุสงฆ์หมู่หนึ่ง ผู้ละโมบในลาภ สักการะ ให้ออก ไปพ้นแล้ว ภายหลังทรงรำพึง เมื่อภิกษุเหล่านี้มิได้เห็นพระศาสดาก็จะ หมุนไปผิดเหมือน ลูกโคไร้แม่ จึงน้อมพระทัยไปในทางที่จะว่ากล่าวตักเตือน ด้วยพระทัย อันอนุเคราะห์ ในลักษณะ ที่บาลี ใช้สำนวนว่า สหัมบดีพรหมเข้ามาอ้อนวอนให้ทรงกระทำ เช่นนั้น จึงทรงบันดาลด้วย อิทธาภิสังขาร ให้ภิกษุเหล่านั้นกล้าเข้ามาเฝ้าพระองค์ ทีละรูป สองรูป จนกระทั่งครบถ้วนแล้ว จึงตรัสพระพุทธ พจน์นี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาชีพต่ำ ที่สุด ในบรรดาอาชีพทั้งหลาย คือการ ขอทาน.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำสาปแช่งอย่างยิ่งในโลกนี้คือ คำสาปแช่งว่า"แกถือกระเบื้อง ในมือเที่ยว ขอทานเถอะ" ดังนี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรทั้งหลาย เข้าถึงอาชีพนี้ เป็นผู้เป็นไปในอำนาจแห่ง ประโยชน์ เพราะ อาศัยอำนาจแห่งประโยชน์ ไม่ใช่เป็นคนหนีราชทัณฑ์ ไม่ใช่เป็นขอให้ โจรปล่อยตัว ไปบวช ไม่ใช่เป็น คนหนีหนี้ ไม่ใช่เป็นคนหนีภัย ไม่ใช่เป็นคนไร้อาชีพ จึงบวช อีกอย่าง หนึ่ง กุลบุตรนี้บวชแล้ว โดยที่คิดเช่นนี้ว่า เราทั้งหลายเป็นผู้ถูกหยั่ง เอาแล้ว โดยชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส ทั้งหลายเป็นผู้อัน ความทุกข์หยั่งเอาแล้ว มีความทุกข์เป็น เบื้องหน้า แล้ว ทำไฉน การทำที่สุดแห่ง
กองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ จะพึงปรากฏแก่เรา ดังนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! แต่ว่า กุลบุตร ผู้บวช แล้ว อย่างนี้ กลับเป็นผู้มากไปด้วยอภิชฌา มีราคะแก่กล้าในกามทั้งหลายมีจิต พยาบาท มีความดำริ แห่งใจ เป็นไปในทางประทุษร้าย มีสติอันลืมหลงแล้ว ไม่มีสัมป ชัญญะ มีจิตไม่ตั้งมั่นแล้ว มีจิตหมุนไปผิดแล้ว มีอินทรีย์อันตนไม่สำรวมแล้ว.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนดุ้นฟืนจากเชิงตะกอน ที่เผาศพ ยังมีไฟติดอยู่ทั้งสอง ตรงกลาง ก็เปื้อนอุจจาระ ย่อมใช้ประโยชน์ เป็นไม้ในบ้านเรือนก็ไม่ได้ ย่อมใช้ประโยชน์ เป็นไม้ในป่าก็ไม่ได้ ข้อนี้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวบุคคลนี้ว่ามีอุปมาเช่นนั้น คือ เป็นผู้เสื่อมจากโภคะแห่ง คฤหัสถ์ ด้วย ไม่ทำประโยชน์แห่งสมณะให้บริบูรณ์ ด้วย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! อกุศลวิตก (ความตริตรึกอันเป็นอกุศล) ๓ อย่างเหล่านี้มีอยู่ กล่าวคือ กามวิตก (ความตริตรึกในทางกาม) พยาบาทวิตก (ความตริตรึกในทาง พยาบาท) วิหิงสาวิตก(ความตริตรึกในทางทำผู้อื่นให้ลำบากโดยไม่เจตนา).
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! อกุศลวิตกทั้ง ๓ อย่างนี้ ย่อมดับไปโดยไม่เหลือ เมื่อบุคคล มีจิต ตั้งมั่นแล้วด้วยดี ในสติปัฎฐานทั้ง ๔ หรือว่า เมื่อบุคคลเจริญอยู่ซึ่งสมาธิอันหานิมิต มิได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประโยชน์เพียงเท่านี้ก็พอแล้ว เพื่อการเจริญสมาธิอันหานิมิตมิได้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนิมิตตสมาธิ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วย่อมเป็นสมาธิ มีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ทิฏฐิทั้งหลาย ๒ อย่างเหล่านี้ มีอยู่ กล่าวคือ ภวทิฏฐิและ วิภาวทิฏฐิ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกรณีแห่งทิฏฐิทั้งสองอย่างนั้น อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อมพิจารณา ด้วยอาการอย่างนี้ว่า "ในโลกนี้ มีสิ่งใด ๆ บ้างไหมหนอ ที่เมื่อเรายึดถืออยู่ เราจักเป็นผู้หา โทษ มิได้?" ดังนี้. อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า
"ในโลกนี้ ไม่มีสิ่งใด ๆ เลย ที่เมื่อเรายึดถืออยู่ เราจักเป็นผู้หาโทษมิได้"
(นตฺถิ นุ โข ตํ กิญฺจิ โลกสฺมึ ยมหํ อุปาทิยมาโน นวชฺชวา อสฺสํ) ดังนี้. อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดอย่าง นี้ว่า "เราเมื่อยึดถือ ก็ยึดถือซึ่งรูปนั่นเอง ซึ่งเวทนานั่นเอง ซึ่งสัญญานั่นเองซึ่งสังขารทั้งหลาย นั่นเอง ซึ่งวิญญาณ นั่นเอง. เพราะความยึดถือ (อุปาทาน)ของเรานั้นเป็นปัจจัย ก็จะพึงมีภพ เพราะ มีภพเป็นปัจจัย ก็จะพึงมีชาติ เพราะมีชาติเป็น ปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะ โทมนัส อุปายาส ทั้งหลายก็จะพึงมี ความเกิดขึ้น พร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ พึงมี ด้วยอาการอย่างนี้".
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง ("ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า!") ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้น เป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ("เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า") ก็สิ่งใด ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอที่ จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา?" ("ข้อนั้นหามิได้พระเจ้าข้า!")
(ในกรณีแห่งเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็มีการถามตอบด้วยข้อความ อย่างเดียวกัน ทุกตัวอักษร กับในกรณีแห่งรูป ต่างกันแต่ชื่อแห่งขันธ์ แต่ละขันธ์ เท่านั้น)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ รูปอย่างใดอย่างหนึ่งทั้งที่เป็นอดีตอนาคต และ ปัจจุบัน อันมีอยู่ในภายในหรือภายนอกก็ดี หยาบหรือละเอียดก็ดี เลวหรือปราณีตก็ดี อยู่ห่างไกล หรืออยู่ใกล้ ก็ดี รูปทั้งหมดนั้น อันเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญา อันชอบ ตรงตามที่เป็นจริง (ยถาภูตสัมมัปปัญญา) อย่างนี้ว่า "นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา" ดังนี้
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และ ปัจจุบัน อันมีอยู่ในภายในหรือ ภายนอกก็ดี หยาบหรือละเอียดก็ดี เลวหรือปราณีตก็ดี อยู่ ห่างไกลหรืออยู่ใกล้ก็ดี เวทนาทั้งหมดนั้นอันเธอ ทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตรงตามที่เป็นจริง อย่างนี้ว่า "นั่นไม่ใช่เรา
นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา" ดังนี้. สัญ ญาอย่างใดอย่างหนึ่งทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน อันมีอยู่ในภายใน หรือภายนอกก็ดี หยาบหรือละเอียดก็ดี เลวหรือ ปราณีตก็ดี อยู่ห่างไกล หรืออยู่ใกล้ก็ดี สัญญาทั้งหมดนั้นอันเธอทั้งหลาย พึงเห็นด้วย ปัญญาอันชอบ ตรงตามที่เป็นจริง อย่างนี้ว่า "นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตน ของเรา " ดังนี้.
สังขารทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน อันมีอยู่ในภายใน หรือภายนอกก็ดี หยาบหรือละเอียดก็ดี เลวหรือปราณีตก็ดี อยู่ห่างไกลหรืออยู่ใกล้ก็ดี สังขารทั้งหมดนั้นอันเธอทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตรงตามที่เป็นจริง อย่างนี้ ว่า "นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา" ดังนี้.
วิญญาณอย่างใด อย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน อันมีอยู่ในภายใน หรือ ภายนอกก็ดี หยาบหรือละเอียด ก็ดีเลวหรือปราณีตก็ดี อยู่ห่างไกลหรืออยู่ใกล้ก็ดี วิญญาณทั้งหมดนั้น อันเธอทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญา อันชอบตรงตามที่เป็นจริง อย่างนี้ว่า "นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา" ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวก ผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป แม้ใน เวทนา แม้ในสัญญา แม้ในสังขารทั้งหลาย แม้ในวิญญาณอริยสาวกนั้น เมื่อเบื่อ หน่าย ย่อม คลายกำหนัด เพราะความคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว. อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า "ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ อันเราอยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำ สำเร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก" ดังนี้ แล.
หมวดที่สาม จบ
หน้า 144
หมวด ๔
ว่าด้วย ปฏิจจสมุปบาทเกิดได้เสมอ
ในชีวิตประจำวันของคนเรา
ลำดับเรื่องเฉพาะหมวด
สำหรับปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ หมวดที่ ๔
ว่าด้วย ปฏิจจสมุปบาทเกิดได้เสมอ
ในชีวิตประจำวันของคนเรา
(มี ๑๒ เรื่อง)
มีเรื่อง :
ปฏิจจสมุปบาทจะมีได้แก่ทารกเฉพาะที่โตขึ้นถึงขนาดรู้สึกยึดถือในเวทนา--
ปัจจัยาการ แห่งเวทนาโดยละเอียด—
อายตนะคือจุดตั้งต้นของปฏิจจสมุปบาท --
การเกิดขึ้นแห่ง ไตรทวาร ขึ้นอยู่กับการเกิดขึ้นแห่งอวิชชาของปฏิจจสมุปบาท--
อวิชชาสัมผัสคือต้นเหตุอันแท้จริงของ ปฏิจจสมุปบาท--
นามรูปก้าวลงเมื่ออนุสัยก่อขึ้น--
ตัณหาเกิดขึ้น เมื่ออนุสัยก่อขึ้น--
ภพใหม่เกิดขึ้น เมื่ออนุสัยก่อขึ้น—
การหยั่งลงแห่งวิญ-ญาณเกิดมีขึ้นเมื่อเห็นสัญโญนิยธรรม โดยความเป็นอัสสาทะ—
การหยั่งลงแห่งวิญญาณ ไม่มีเพราะเห็นสัญโญชนิยธรรม โดยความเป็นอาทีวะ--
การเกิดแห่งโลก คือการเกิดแห่งกระแสปฏิจจสมุปบาท ที่เกิดขึ้นในใจคนทุกคราวไป--
การดับแห่งโลกคือการดับแห่ง กระแสปฏิจจสมุปบาท ที่ดับลงในใจคนทุกคราวไป.
หน้า 148
ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ หมวดที่ ๔
ว่าด้วย ปฏิจจสมุปบาทเกิดได้เสมอ ในชีวิตประจำวันของคนเรา
ปฏิจจสมุปบาทจะมีได้ แก่ทารกเฉพาะที่โตขึ้นถึง ขนาดรู้สึกยึดถือ ในเวทนา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะการประจวบพร้อมแห่งปัจจัย ๓ ประการ การก้าวลงสู่ครรภ์ ของสัตว์ ผู้เกิด ในครรภ์ ย่อมมีขึ้น. ในกรณีนี้คือ แม้มารดาบิดาอยู่วมกันแต่มารดาไม่มีระดู ทั้งคันธัพพะ (สัตว์ที่จะ ปฏิสนธิในครรภ์) ก็ยังมิได้เข้าไปตั้งอยู่เฉพาะแล้ว การก้าวลงสู่ครรภ์ ของสัตว์ผู้เกิด ในครรภ์ ก็ยังมี ไม่ได้ก่อน. ในกรณีนี้
แม้มารดาบิดาอยู่ร่วมกัน ด้วย มารดาก็มีระดูด้วย แต่คันธัพพะ ยังไม่เข้าไปอยู่เฉพาะแล้ว การก้าวลงสู่ ครรภ์ของสัตว์ผู้เกิด ในครรภ์ ก็ยังมีไม่ได้ก่อน อยู่นั่นเอง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่ในกาลใด มารดา บิดาอยู่ร่วมกันด้วย มารดามีระดูด้วย คันธัพพะ เข้าไปตั้งอยู่ เฉพาะแล้วด้วย การก้าวลงสู่ ครรภ์ของสัตว์ผู้เกิดในครรภ์ ย่อมมีเพราะการประจวบ พร้อม แห่งปัจจัย ๓ ประการ ด้วยอาการอย่างนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มารดาย่อมบริหาร ซึ่งสัตว์ผู้เกิดในครรภ์นั้น ด้วยท้อง ตลอดเวลาเก้า เดือนบ้าง สิบเดือนบ้าง ด้วยความวิตกกังวลอันใหญ่หลวง เป็นภาระหนัก.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มารดาย่อม คลอดซึ่งทารกนั้น โดยกาลอันล่วงไปเก้าเดือนบ้าง สิบเดือนบ้าง ด้วยความวิตกกังวลอันใหญ่หลวง เป็นภาระหนัก เลี้ยงแล้วซึ่งทารกอันเป็น ผู้เกิดแล้วนั้น ด้วยโลหิตแห่งตน.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ในอริยวินัย สิ่งที่เรียกว่า "โลหิต" นั้น หมายถึงน้ำนมแห่งมารดา.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุมารนั้น อาศัยความเจริญและความเติบโต แห่งอินทรีย์ทั้งหลายแล้ว เล่นอยู่ ด้วยของเล่นสำหรับทารก กล่าวคือ เล่นไถน้อย ๆ เล่นหม้อข้าวหม้อแกง เล่นของ เล่นชื่อ โมกขจิกะ๑ เล่นกังหันลมน้อย ๆ เล่นตวงทรายด้วยใบไม้เล่นรถน้อยๆเล่นธนูน้อ ๆ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! กุมารนั้น อาศัยความเจริญและความเติบโต แห่งอินทรีย์ทั้งหลายแล้ว เป็นผู้เอิบ อิ่มเพียบพร้อมด้วยกามคุณห้า ให้เขาบำเรออยู่ทางตา ด้วยรูปทั้งหลาย ทางหู ด้วยเสียง ทั้งหลาย ทางจมูก ด้วยกลิ่นทั้งหลาย ทางลิ้น ด้วยรสทั้งหลาย และ ทางกาย ด้วยสัมผัส ทางผิวหนัง ทั้งหลาย ล้วนแต่น่าปรารถนาน่ารักใคร่ น่าพอใจ มีภาวะเป็นที่ตั้ง แห่งความรัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดนำมาซึ่ง ความรัก.
กุมารนั้น ครั้นเห็นรูปด้วยตาแล้ว.. ได้ยินเสียงด้วยหูแล้ว...รู้สึกกลิ่นด้วยจมูกแล้ว... ลิ้มรสด้วย ลิ้นแล้ว… ถูกต้องสัมผัสทางผิวหนังด้วยผิวกายแล้ว… รู้แจ้งธัมมารมณ์ด้วยใจ แล้ว ย่อม กำหนัด ยินดี ในรูปและเสียง เป็นต้นอันมีลักษณะเป็นที่ตั้งแห่งความรัก ย่อม ขัดเคือง ในรูปและเสียง เป็นต้น อันมีลักษณะเป็นที่ตั้งแห่งความชัง.
กุมารนั้น ย่อมมีจิตใจด้อยด้วยคุณธรรม อยู่โดยปราศจากสติอันเข้าไปตั้งไว้ในกายด้วย ย่อมไม่รู้ชัด ตามที่เป็นจริง ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญา-วิมุตติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือ แห่งธรรมอันเป็นบาป อกุศล ทั้งหลายด้วย.
กุมารนั้น เมื่อประกอบด้วยความยินดี และความยินร้ายอยู่เช่นนี้แล้ว เสวยอยู่ซึ่งเวทนาใด ๆ เป็นสุข ก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ตาม เขาย่อมเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่ ซึ่งเวทนานั้น ๆ เมื่อเป็นผู้เพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่ ซึ่ง เวทนา นั้น ๆ นันทิ (กำหนัดยินดีที่ได้ตามอยาก) ย่อมบังเกิดขึ้น นันทิใดเป็นไป ในเวทนาทั้งหลาย นันทินั้น คือ อุปาทาน เพราะอุปาทาน ของกุมารนั้นเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้น ครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อมแห่ง กองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ แล.
หมายเหตุผู้รวบรวม ผู้ศึกษาพึงสังเกตใจความสำคัญ ที่สุดจากพระ-พุทธภาษิตนี้ไว้ ๒ ประการ คือ เด็กโตพอที่จะรู้จักยึดมั่นในเวทนา จึงจะเกิดกระแสแห่งปฏิจจสมุปบาท ด้วย อำนาจแห่ง อวิชชา ในจิตใจเด็กนั้นได้ นี้อย่างหนึ่ง อีกอย่างหนึ่งข้อความตอนท้าย แสดง ให้เห็นชัดอยู่แล้วว่า สิ่งที่เรียกว่า ภพ ก็ดี ชาติ ก็ดี เพิ่งเกิดมีเมื่อตอนยึดมั่นในเวทนานั้น ๆ หาใช่มีเมื่อเด็กคลอดจาก ท้องแม่ เหมือนดังที่เข้าใจกันอยู่ในภาษาคนธรรมดาพูดไม่.
ดังนั้น คำพูดในภาษาปฏิจจสมุปบาทนี้ตรัสไว้โดย ภาษาธรรมแท้ ภพ ชาติ มีทุกคราว ที่ยึดมั่น ในเวทนา. ชรามรณะ มีได้แม้แก่เด็ก ๆ เพราะมีความหมายในภาษาธรรม อีกนั่น เอง ได้แก่ปัญหา หนักใจต่าง ๆ ที่เกิดมาจาก "ความหมาย" ของคำว่า "แก่-ตาย" ซึ่งเป็น สิ่งที่ทำให้เกิดทุกข์ใจ ได้จริง เป็นความแก่ หรือความตายที่ถูกยึดถือ ให้มามี อำนาจเหนือ จิตใจของเขา. เมื่อผู้ศึกษา เข้าใจความจริงอันลึกซึ้งนี้แล้ว การศึกษาเรื่องปฏิจจสมุปบาท ก็มีทางที่จะเป็นไปได้ง่ายขึ้น. ขอให้สนใจทบทวนเป็นพิเศษ.
หน้า 152
ปัจจยาการแห่งเวทนา โดยละเอียด
(หลังจากที่ได้ทรงประทับอยู่ด้วยการหลีกเร้น เป็นเวลากึ่งเดือน เสด็จออกจากที่หลีกเร้น นั้นแล้ว ได้ตรัสว่า)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เราได้อยู่แล้วโดยประเทศ๒แห่งวิหารธรรม อย่างเดียวกันกับวิหาร ธรรม ที่เราเคยอยู่แล้ว เมื่อตรัสรู้แล้วใหม่ ๆ.
เมื่ออยู่โดยวิหารธรรมอย่างนี้ เราย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า
เวทนา ย่อมมี เพราะปัจจัยคือ มิจฉาทิฏฐิบ้าง -สัมมาทิฏฐิบ้าง
เวทนา ย่อมมี เพราะปัจจัยคือ มิจฉาสังกัปปะบ้าง -สัมมาสังกัปปะบ้าง
เวทนา ย่อมมี เพราะปัจจัยคือ มิจฉาวาจาบ้าง -สัมมาวาจาบ้าง
เวทนา ย่อมมี เพราะปัจจัยคือ มิจฉากัมมันตะบ้าง -สัมมากัมมันตะบ้าง
เวทนา ย่อมมี เพราะปัจจัยคือ มิจฉาอาชีวะบ้าง -สัมมาอาชีวะบ้าง
เวทนา ย่อมมี เพราะปัจจัยคือ มิจฉาวายามะบ้าง -สัมมาวายามะบ้าง
เวทนา ย่อมมี เพราะปัจจัยคือ มิจฉาสติบ้าง - สัมมาสติบ้าง
เวทนา ย่อมมี เพราะปัจจัยคือ มิจฉาสมาธิบ้าง -สัมมาสมาธิบ้าง
เวทนา ย่อมมี เพราะปัจจัยคือ ฉันทะบ้าง
เวทนา ย่อมมี เพราะปัจจัยคือ วิตกบ้าง
เวทนา ย่อมมี เพราะปัจจัยคือ สัญญาบ้าง
เวทนา ย่อมมี เพราะปัจจัยคือ ฉันทะ วิตก และสัญญา ที่ยังไม่เข้าไปสงบรำงับบ้าง
เวทนา ย่อมมี เพราะปัจจัยคือ ฉันทะ วิตก และสัญญาที่เข้าไปสงบ รำงับแล้วบ้าง
เวทนา ย่อมมี เพราะปัจจัยคือ การบรรลุถึงฐานะ ที่ได้พยายามเพื่อจะบรรลุถึงบ้าง" ดังนี้.
(อีกสูตรหนึ่ง๑ได้ตรัสโดยข้อความ ที่แปลกออกไปอีกบางประการว่า)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เราได้อยู่แล้ว โดยประเทศแห่งวิหารธรรม อย่างเดียวกันกับวิหาร ธรรม ที่เราเคยอยู่แล้วเมื่อตรัสรู้ใหมๆ เมื่ออยู่โดยวิหารธรรมอย่างนี้ เราย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือมิจฉาทิฏฐิบ้าง
-ความเข้าไปสงบรำงับแห่งมิจฉาทิฏฐิบ้าง
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือสัมมาทิฏฐิบ้าง
-ความเข้าไปสงบรำงับแห่งสัมมาทิฏฐิบ้าง
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือมิจฉาสังกัปปะบ้าง
-ความเข้าไปสงบรำงับแห่งมิจฉาสังกัปปะบ้าง
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือสัมมาสังกัปปะบ้าง
-ความเข้าไปสงบรำงับแห่งสัมมาสังกัปปะบ้าง
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือมิจฉาวาจาบ้าง
-ความเข้าไปสงบรำงับแห่งมิจฉาวาจาบ้าง
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือสัมมาวาจาบ้าง
-ความเข้าไปสงบรำงับแห่งสัมมาวาจาบ้าง
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือมิจฉากัมมันตะบ้าง
-ความเข้าไปสงบรำงับแห่งมิจฉากัมมันตะบ้าง
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือสัมมากัมมันตะบ้าง
-ความเข้าไปสงบรำงับแห่งสัมมากัมมันตะบ้าง
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือมิจฉาอาชีวะบ้าง
-ความเข้าไปสงบรำงับแห่งมิจฉาอาชีวะบ้าง
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือสัมมาอาชีวะบ้าง
-ความเข้าไปสงบรำงับ
แห่งสัมมาอาชีวะบ้าง
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือมิจฉาวายามะบ้าง
-ความเข้าไปสงบรำงับ
แห่งมิจฉาวายามะบ้าง
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือสัมมาวายามะบ้าง
-ความเข้าไปสงบรำงับ
แห่งสัมมาวายามะบ้าง
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือมิจฉาสติบ้าง
-ความเข้าไปสงบรำงับ
แห่งมิจฉาสติบ้าง
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือสัมมาสติบ้าง
-ความเข้าไปสงบรำงับ
แห่งสัมมาสติบ้าง
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือมิจฉาสมาธิบ้าง
-ความเข้าไปสงบรำงับ
แห่งมิจฉาสมาธิบ้าง
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือสัมมาสมาธิบ้าง
-ความเข้าไปสงบรำงับ
แห่งสัมมาสมาธิบ้าง
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือฉันทะบ้าง
-ความเข้าไปสงบรำงับ
แห่งฉันทะบ้าง
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือวิตกบ้าง
-ความเข้าไปสงบรำงับ
แห่งวิตกบ้าง
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือสัญญาบ้าง
-ความเข้าไปสงบรำงับ
แห่งสัญญาบ้าง
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือฉันทะ
วิตกและสัญญาที่ยังไม่เข้าไปสงบรำงับบ้าง
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือฉันทะ
วิตกและสัญญา ที่เข้าไปสงบรำงับแล้วบ้าง
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือการบรรลุถึง
ฐานะที่ได้พยายามเพื่อจะบรรลุถึงบ้าง" ดังนี้.
หน้า 156
อายตนะ คือ จุดตั้งต้นของปฏิจจสมุปบาท
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!
เมื่อมือทั้งหลาย มีอยู่ การจับและการวาง ก็ปรากฏ
เมื่อเท้าทั้งหลาย มีอยู่ การก้าวไปและการถอยกลับ ก็ปรากฏ
เมื่อข้อแขนขาทั้งหลายมีอยู่ การคู้เข้าและ การเหยียดออก ก็ปรากฏ
เมื่อท้องไส้ มีอยู่ ความหิวและความกระหาย ก็ปรากฏ นี้ฉันใด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!
เมื่อจักษุ มีอยู่
สุขและทุกข์อันเป็นภายใน ย่อมเกิดขึ้น เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อโสตะ มีอยู่
สุขและทุกข์อันเป็นภายใน ย่อมเกิดขึ้น เพราะโสตะสัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อฆานะ มีอยู่
สุขและทุกข์อันเป็นภายใน ย่อมเกิดขึ้น เพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อชิวหา มีอยู่ สุขและทุกข์อันเป็นภายใน ย่อมเกิดขึ้น เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อกายะ มีอยู่ สุขและทุกข์อันเป็นภายใน ย่อมเกิดขึ้น เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อมโน มีอยู่ สุขและทุกข์อันเป็นภายใน ย่อมเกิดขึ้น เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ฉันนั้นเหมือนกัน.
(ต่อไปนี้ เป็นปฏิปักขนัย จากข้างบน)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!
เมื่อ มือ ทั้งหลาย ไม่มี การจับและการวาง ก็ไม่ปรากฏ
เมื่อ เท้า ทั้งหลาย ไม่มี การก้าวไปและการถอยกลับ ก็ไม่ปรากฏ
เมื่อ ข้อแขนขา ทั้งหลาย ไม่มี การคู้เข้าและการเหยียดออก ก็ไม่ปรากฏ
เมื่อ ท้องไส้ ไม่มี ความหิวและความกระหาย ก็ไม่ปรากฏ
นี้ฉันใด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!
เมื่อจักษุ ไม่มี สุขและทุกข์อันเป็นภายใน ย่อมไม่เกิดขึ้น เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อโสตะ ไม่มี สุขและทุกข์อันเป็นภายใน ย่อมไม่เกิดขึ้น เพราะโสตะสัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อฆานะ ไม่มี สุขและทุกข์อันเป็นภายใน ย่อมไม่เกิดขึ้น เพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อชิวหา ไม่มี สุขและทุกข์อันเป็นภายใน ย่อมไม่เกิดขึ้น เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อกายะ ไม่มี สุขและทุกข์อันเป็นภายใน ย่อมไม่เกิดขึ้น เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อมโน ไม่มี สุขและทุกข์อันเป็นภายใน ย่อมไม่เกิดขึ้น เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย
ฉันนั้นเหมือนกัน.
... ... ... ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!
เมื่อมือทั้งหลาย มี การจับและการวาง ก็มี
เมื่อเท้าทั้งหลาย มี การก้าวไปและการถอยกลับ ก็มี
เมื่อข้อแขนขาทั้งหลาย มี การคู้เข้าและการเหยียดออก ก็มี
เมื่อท้องไส้ มี ความหิวและความกระหาย ก็มี
นี้ฉันใด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!
เมื่อจักษุ มีอยู่ สุขและทุกข์อันเป็นภายใน ย่อมเกิดขึ้น เพราะจักขุสัมผัส เป็นปัจจัย
เมื่อโสตะ มีอยู่ สุขและทุกข์อันเป็นภายใน ย่อมเกิดขึ้น เพราะโสตะสัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อฆานะ มีอยู่สุขและทุกข์อันเป็นภายใน ย่อมเกิดขึ้น เพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อชิวหา มีอยู่ สุขและทุกข์อันเป็นภายใน ย่อมเกิดขึ้น เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อกายะ มีอยู่ สุขและทุกข์อันเป็นภายใน ย่อมเกิดขึ้น เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อมโน มีอยู่ สุขและทุกข์อันเป็นภายใน ย่อมเกิดขึ้นเพราะ มโนสัมผัส เป็นปัจจัย ฉันนั้นเหมือนกัน.
(ต่อไปนี้ เป็นปฏิปักขนัย จากข้างบน)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!
เมื่อมือทั้งหลาย ไม่มี การจับและการวาง ก็ไม่มี
เมื่อเท้าทั้งหลาย ไม่มี การก้าวไปและการถอยกลับ ก็ไม่มี
เมื่อข้อแขนขาทั้งหลายไม่มี การคู้เข้าและการ เหยียดออก ก็ไม่มี
เมื่อท้องไส้ ไม่มี ความหิวและความกระหายก็ไม่มี นี้ฉันใด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!
เมื่อจักษุไม่มี สุขและทุกข์อันเป็นภายในก็ไม่เกิดขึ้น เพราะจักขุ สัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อโสตะ ไม่มี สุขและทุกข์อันเป็นายในก็ไม่เกิดขึ้น เพราะโสตะสัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อฆานะ ไม่มี สุขและทุกข์อันเป็นภายในก็ไม่เกิดขึ้น เพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อชิวหา ไม่มี สุขและทุกข์อันเป็นภายในก็ไม่เกิดขึ้น เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อกายะ ไม่มี สุขและทุกข์อันเป็นภายในก็ไม่เกิดขึ้น เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อมโน ไม่มี สุขและทุกข์อันเป็นภายในก็ไม่เกิดขึ้น เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย
ฉันนั้นเหมือนกัน ดังนี้แล.
หน้า 158
การเกิดขึ้นแห่งไตรทวาร (กาย วาจา ใจ)
ขึ้นอยู่กับการเกิดขึ้นแห่งอวิชชาของปฏิจจสมุปบาท
ถูกแล้ว ถูกแล้ว อานนท์ ตามที่สารีบุตรเมื่อตอบปัญหาในลักษณะนั้นเช่นนั้น ๒ ชื่อว่าได้ ตอบโดยชอบ. ดูก่อนอานนท์ สุขและทุกข์นั้น เรากล่าวว่า
เป็นเพียงสิ่งที่อาศัย ปัจจัยอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วเกิดขึ้น (เรียกว่าปฏิจจสมุปปันน-ธรรม).
สุข และ ทุกข์ นั้นอาศัยปัจจัยอะไรเล่า สุขและทุกข์นั้น อาศัยปัจจัยคือ ผัสสะผู้กล่าวอย่างนี้แล ชื่อว่า กล่าวตรงตามที่เรากล่าว ไม่เป็นการกล่าวตู่เรา ด้วยคำไม่จริง แต่เป็นการกล่าวโดยถูกต้อง และสหธรรมมิก บางคนที่กล่าวตาม ก็จะไม่พลอยกลายเป็นผู้ ควรถูกติไปด้วย.
ดูก่อนอานนท์ ในบรรดาสมณพราหมณ์ ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมทั้งสี่พวกนั้น สมณพราหณ์ ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด ย่อมบัญญัติ สุขและทุกข์ ว่าเป็นสิ่งที่ตนทำเอาด้วย ตนเอง แม้สุขและทุกข์ ที่พวกเขาบัญญัตินั้น ก็ยังต้องอาศัยผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมีได้
สมณพราหณ์ที่กล่าวสอนเรื่องกรรม พวกใด ย่อมบัญญัติ สุขและทุกข์ ว่าเป็นสิ่งที่ผู้อื่น ทำให้ แม้สุขและทุกข์ที่พวกเขาบัญญัตินั้น ก็ยังต้องอาศัยผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมีได้
สมณพราหณ์ที่กล่าวสอนเรื่องกรร พวกใดย่อมบัญญัติ สุขและทุกข์ว่าเป็นสิ่งที่ตนทำเอา ด้วยตนเองด้วย ผู้อื่นทำให้ด้วย แม้สุขและทุกข์ ที่พวกเขาบัญญัตินั้น ก็ยังต้องอาศัย ผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมีได้
ถึงแม้สมณพราหมณ์ ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด ย่อม บัญญัติ สุขและทุกข์ ว่าไม่ใช่ ทำเองหรือใครทำให้ก็เกิดขึ้นได้ ก็ตาม แม้สุขและ ทุกข์ที่พวกเขาบัญญัตินั้น ก็ยังต้อง อาศัยผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมีได้ อยู่นั่นเอง.
ดูก่อนอานนท์ ในบรรดาสมณพราหมณ์ ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมทั้งสี่พวกนั้น
สมณพราหณ์ ที่กล่าว สอนเรื่องกรรมพวกใด ย่อมบัญญัติสุขและทุกข์ ว่าเป็นสิ่งที่ตน ทำเอาด้วย ตนเอง สมณพราหมณ์พวกนั้นหนา เว้นผัสสะเสียแล้ว จะรู้สึกต่อสุขและทุกข์ นั้นได้ ดังนั้นหรือ นั่นไม่ใช่ฐานะที่จักมีได้ ถึงแม้สมณพราหณ์ ที่กล่าวสอนเรื่องกรรม พวกใด ย่อมบัญญัติสุข และทุกข์ ว่าเป็นสิ่งที่ผู้อื่นทำให้ก็ตาม สมณพราหมณ์
พวกนั้นหนา เว้นผัสสะเสียแล้ว จะรู้สึกต่อสุขและทุกข์นั้นได้ ดังนั้นหรือ นั่นไม่ใช่ฐานะ ที่จักมีได้ ถึงแม้สมณพราหณ์ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด ย่อมบัญญัติสุขและทุกข์ ว่าเป็นสิ่งที่ตนทำเอา ด้วยตนเองด้วย ผู้อื่นทำให้ด้วย ก็ตาม สมณพราหมณ์พวกนั้นหนา เว้นผัสสะเสียแล้ว จะรู้สึกต่อสุข และทุกข์นั้นได้
ดังนั้นหรือ นั่นไม่ใช่ฐานะที่จักมีได้ ถึงแม้สมณพราหณ์ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด ย่อม บัญญัติสุขและทุกข์ ว่าไม่ใช่ทำเองหรือใครทำให้ก็เกิดขึ้นได้ ก็ตาม สมณพราหมณ์พวก นั้นหนาเว้นผัสสะเสียแล้ว จะรู้สึกต่อสุขและทุกข์นั้นได้ ดังนั้นหรือ นั่นไม่ใช่ฐานะที่จัก มีได้
ดูก่อนอานนท์ เมื่อกาย (กายทวารที่ทำหน้าที่อยู่ด้วยอวิชชา) ก็ตามมีอยู่ สุขและทุกข์อัน เป็นภายใน ย่อมบังเกิดขึ้น เพราะกายสัญเจตนา (ความจงใจที่เป็นไปทางกาย) เป็นเหตุ.
ดูก่อนอานนท์! เมื่อวาจา (วจีทวารที่ทำหน้าที่อยู่ด้วยอวิชชา) ก็ตามมีอยู่ สุขและทุกข์อัน เป็นภายใน ย่อมบังเกิดขึ้น เพราะวจีสัญเจตนา (ความจงใจที่เป็นไปทางวาจา) เป็นเหตุ.
ดูก่อนอานนท์! เมื่อมโน (มโนทวารที่ทำหน้าที่อยู่ด้วยอวิชชา) ก็ตามมีอยู่ สุขและทุกข์อัน เป็นภายใน ย่อมบังเกิดขึ้น เพราะมโนสัญเจตนา (ความจงใจที่เป็นไปทางใจ) เป็นเหตุ.
ดูก่อนอานนท์ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยนั่นเทียว ธรรมชาติทางฝ่ายจิต ย่อมปรุงแต่งให้เกิด กายสังขาร (อำนาจที่ทำให้เกิดการเป็นไปทางกาย) ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อัน เป็นภายในเกิดขึ้น โดยตนเองบ้าง
ดูก่อนอานนท์ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยนั่นเทียว ธรรมชาติทางฝ่ายจิต ย่อมปรุงแต่งให้เกิด กายสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุข และทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้น โดยอาศัยการกระตุ้นจาก ผู้อื่นบ้าง
ดูก่อนอานนท์ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยนั่นเทียว ธรรมชาติทางฝ่ายจิต ย่อมปรุงแต่งให้เกิด กายสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุข และทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้น โดยรู้สึกตัวอยู่บ้าง
ดูก่อนอานนท์ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยนั่นเทียว ธรรมชาติทางฝ่ายจิต ย่อมปรุงแต่งให้เกิด กายสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุข และทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้น โดยไม่รู้สึกตัวอยู่บ้าง
ดูก่อนอานนท์ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยนั่นเทียว ธรรมชาติทางฝ่ายจิตย่อมปรุงแต่งให้เกิด วจีสังขาร (อำนาจที่เกิดการเป็นไปทางวาจา) ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายใน เกิดขึ้น โดยตนเองบ้าง
ดูก่อนอานนท์ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยนั่นเทียว ธรรมชาติทางฝ่ายจิต ย่อมปรุงแต่งให้เกิด วจีสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุข และทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้น โดยอาศัยการกระตุ้นจาก ผู้อื่นบ้าง
ดูก่อนอานนท์ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยนั่นเทียว ธรรมชาติทางฝ่ายจิต ย่อมปรุงแต่งให้เกิด วจีสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุข และทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้น โดยรู้สึกตัวอยู่บ้าง
ดูก่อนอานนท์ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยนั่นเทียว ธรรมชาติทางฝ่ายจิต ย่อมปรุงแต่งให้เกิด วจีสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุข และทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้น โดยไม่รู้สึกตัว อยู่บ้าง
ดูก่อนอานนท์ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยนั่นเทียว ธรรมชาติทางฝ่ายจิต ย่อมปรุงแต่งให้เกิด มโนสังขาร (อำนาจที่เกิดการเป็นไปทางใจ) ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์ อันเป็นภายใน เกิดขึ้น โดยตนเองบ้าง
ดูก่อนอานนท์ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยนั่นเทียว ธรรมชาติทางฝ่ายจิตย่อมปรุงแต่งให้เกิด มโนสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุข และทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้น โดยอาศัยการกระตุ้นจาก ผู้อื่นบ้าง
ดูก่อนอานนท์ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยนั่นเทียว ธรรมชาติทางฝ่ายจิต ย่อมปรุงแต่งให้เกิด มโนสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุข และทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้น โดยรู้สึกตัวอยู่บ้าง
ดูก่อนอานนท์ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยนั่นเทียว ธรรมชาติทางฝ่ายจิต ย่อมปรุงแต่งให้เกิด มโนสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุข และทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้น โดยไม่รู้สึกตัวอยู่บ้าง
ดูก่อนอานนท์ อวิชชา เป็นตัวการ ที่แทรกแซงแล้ว ในธรรมทั้งหลายเหล่านั้น.
ดูก่อนอานนท์ เพราะความจางคลายดับไปไม่เหลือ แห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว กาย (กายทวาร ที่ทำหน้าที่อยู่ด้วยอวิชชา) นั้น ย่อมไม่มีเพื่อความเป็นปัจจัยให้สุข และทุกข์ อันเป็นภายใน เกิดขึ้น.
ดูก่อนอานนท์ เพราะความจางคลายดับไปไม่เหลือ แห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว วาจา (วจีทวารที่ทำ หน้าที่ อยู่ด้วยอวิชชา) นั้น ย่อมไม่มี เพื่อความเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์ อันเป็นภายในเกิดขึ้น.
ดูก่อนอานนท์ เพราะความจางคลายดับไปไม่เหลือ แห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว มโน (มโนทวาร ที่ทำหน้าที่อยู่ด้วยอวิชชา) นั้น ย่อมไม่มีเพื่อความเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์ อันเป็นภายใน เกิดขึ้น.
ดูก่อนอานนท์ เพราะความจางคลายดับไปไม่เหลือ แห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว สัญเจตนา ในฐานะ ที่เป็นเขต (ที่เกิดที่งอกแห่งสุขและทุกข์ในภายใน) ก็ดี ในฐานะที่เป็นวัตถุ (ที่ตั้งที่อาศัยแห่งสุข และทุกข์ในภายใน) ก็ดี ในฐานะอายตนะ (ปัจจัยโดยตรงแห่งสุข และทุกข์ในภายใน) ก็ดี ในฐานะ ที่เป็นอธิกรณะ (เครื่องมือกระทำให้เกิดสุข และทุกข์ใน ภายใน) ก็ดี ย่อมไม่มีเพื่อความเป็นปัจจัยให้สุข และทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้น ดังนี้ แล.
หน้า 163
อวิชชาสัมผัสคือต้นเหตุอันแท้จริงของปฏิจจสมุปบาท
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เมื่อสำคัญเห็น ย่อมสำคัญ เห็นซึ่ง อัตตา (ตน) มีอย่างต่าง ๆ สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ย่อม
สำคัญเห็นซึ่งอุปาทานขันธ์ทั้ง 5 อย่างนั้นบ้าง หรือว่า ย่อมสำคัญเห็นซึ่งอุปาทานขันธ์ ขันธ์ใด ขันธ์หนึ่ง ในบรรดาปัญจุปาทานขันธ์เหล่านั้นบ้าง (ว่าเป็นอัตตา).
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นอย่างไรเล่า?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในโลกนี้ ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว ไม่เห็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย ไม่ฉลาด ในธรรมของ พระอริยเจ้าไม่ได้ รับการแนะนำในธรรม ของพระอริยเจ้า ไม่เห็นสัปบุรุษทั้ง หลาย ไม่ฉลาด ในธรรมของ สัปบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัปบุรุษ
(๑) เขาย่อมสำคัญเห็นซึ่ง รูป โดยความเป็นตนบ้าง ย่อมสำคัญเห็นซึ่งตนว่ามีรูปบ้าง ย่อมสำคัญเห็นซึ่งรูปในตนบ้าง ย่อมสำคัญเห็นซึ่งตนในรูปบ้าง
(๒) เขาย่อมสำคัญเห็นซึ่ง เวทนา โดยความเป็นตนบ้าง ย่อมสำคัญเห็นซึ่งตนว่า มีเวทนาบ้าง ย่อมสำคัญเห็นซึ่งเวทนาในตนบ้าง ย่อมสำคัญเห็นในเวทนาบ้าง
(๓) เขาย่อมสำคัญเห็นซึ่งสัญญา โดยความเป็นตนบ้าง ย่อมสำคัญเห็นซึ่งตนว่า มีสัญญาบ้าง ย่อมสำคัญเห็นซึ่งสัญญาในตนบ้าง ย่อมสำคัญเห็นซึ่งตนในสัญญาบ้าง
(๔) เขาย่อมสำคัญเห็นซึ่งสังขารทั้งหลาย โดยความเป็นตนบ้าง, ย่อมสำคัญเห็นซึ่ง ตนว่ามีสังขารบ้าง, ย่อมสำคัญเห็นซึ่งสังขารในตนบ้าง ย่อมสำคัญ เห็นซึ่งตนในสังขาร บ้าง;
(๕) เขาย่อมสำคัญเห็นซึ่งวิญญาณ โดยความเป็นตนบ้าง ย่อมสำคัญเห็นซึ่งตนว่ามี วิญญาณบ้างย่อมสำคัญเห็น ซึ่งวิญญาณในตนบ้าง ย่อมสำคัญเห็นซึ่งตนในวิญญาณบ้าง.
เป็นอันว่า การสำคัญเห็น ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนี้ ย่อมมีด้วย การถึงทับจับฉวย (อธิคตํ) ของภิกษุนั้นว่า "เรามีอยู่" ดังนี้ ก็มีด้วย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุนั้น ถึงทับจับฉวยว่า "เรามีอยู่ (อสฺมีติ)" ดังนี้แล้ว ลำดับนั้น การก้าวลงแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย ๕ ประการ ย่อมมีขึ้น ได้แก่อินทรีย์คือ ตา อินทรีย์คือหู อินทรีย์คือจมูก อินทรีย์คือลิ้น อินทรีย์คือกาย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! มโน มีอยู่ ธรรมทั้งหลาย มีอยู่ อวิชชาธาตุมีอยู่.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เมื่อปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้ว เป็น ผู้อันเวทนาอันเกิดจาก อวิชชา สัมผัสถูกต้องแล้ว ความถึงทับจับฉวย ว่า "เรามีอยู่ (อสฺมีติ)" ดังนี้บ้าง
ย่อมมีแก่เขา ว่า "นี้เป็นเรา (อยมหมสฺมีติ)" ดังนี้บ้าง
ย่อมมีแก่เขา ว่า "เราจักมี (ภวิสสํอิติ) “ ดังนี้บ้าง
ย่อมมีแก่เขา ว่า "เราจักไม่มี (น ภวิสสํอิติ) “ ดังนี้บ้าง
ย่อมมีแก่เขา ว่า "เราจักเป็นสัตว์มีรูป (รูปี ภวิสฺสํอิติ)" ดังนี้บ้าง
ย่อมมีแก่เขา ว่า "เราจักเป็นสัตว์ไม่มีรูป (อรูปี ภวิสฺสํอิติ)" ดังนี้บ้าง
ย่อมมีแก่เขา ว่า "เราจักเป็นสัตว์มีสัญญา (สญฺญี ภวิสฺสํอิติ) " ดังนี้บ้าง
ย่อมมีแก่เขา ว่า "เราจักเป็นสัตว์ไม่มีสัญญา (อสญฺญีภวิสฺสํอิติ)" ดังนี้บ้าง
ย่อมมีแก่เขา ว่า "เราจักเป็นสัตว์มีสัญญาก็ไม่ใช่ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่
(เนวสญฺญินาสญฺญี ภวิสฺสํอิติ) " ดังนี้บ้าง ย่อมมีแก่เขา.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ทั้งหลาย ๕ ประการ ย่อมตั้งอยู่ ในการถึงทับจับฉวยเหล่านั้น นั่นเทียว. แต่ว่า ในกรณีที่อวิชชา เป็นสิ่งที่อริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมละเสียได้ วิชชา ย่อมเกิดขึ้น.
เพราะการเกิดขึ้นแห่งวิชชา โดยการสำรอกไม่เหลือแห่งอวิชชา ของอริยสาวกนั้น ความถึง ทับจับฉวยว่า "เรามีอยู่" ดังนี้ก็ดี
ย่อมไม่มีแก่อริยสาวกนั้น ว่า "นี้เป็นเรา" ดังนี้ก็ดี
ย่อมไม่มี แก่อริยสาวกนั้น ว่า”เราจักมี” ดังนี้ก็ดี
ย่อมไม่มีแก่อริยสาวกนั้น ว่า "เราจักไม่มี" ดังนี้ก็ดี
ย่อมไม่มีแก่อริยสาวกนั้น ว่า "เราจักเป็นสัตว์มีรูป" ดังนี้ก็ดี
ย่อมไม่มีแก่อริยสาวกนั้นว่า "เราจักเป็นสัตว์ไม่มีรูป" ดังนี้ก็ดี
ย่อมไม่มีแก่อริยสาวกนั้น ว่า "เราจักเป็นสัตว์มีสัญญา" ดังนี้ก็ดี
ย่อมไม่มีแก่อริยสาวกนั้น ว่า "เราจักเป็นสัตว์ไม่มีสัญญา" ดังนี้ก็ดี
ย่อมไม่มีแก่ อริยสาวกนั้น ว่า "เราจักเป็นสัตว์มีสัญญาก็ไม่ใช่สัญญาก็ม่ใช่"ดังนี้ก็ดี ย่อมไม่มีแก่ อริยสาวก นั้น ดังนี้ แล.
หน้า 166
นามรูปก้าวลง เมื่ออนุสัยก่อขึ้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าบุคคลย่อม คิด (เจเตติ) ถึงสิ่งใดอยู่ ย่อมดำริ(ปกปฺเปติ) ถึงสิ่งใดอยู่,
และย่อมมีจิตปักลงไป (อนุเสติ) ในสิ่งใดอยู่ สิ่งนั้น ย่อมเป็นอารมณ์ เพื่อการตั้งอยู่แห่ง วิญญาณ. เมื่ออารมณ์ มีอยู่ ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญาณ ย่อมมี เมื่อวิญญาณนั้น ตั้งขึ้นเฉพาะ เจริญงอกงามแล้ว การก้าวลงแห่งนามรูป ย่อมมี.
เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะมีผัสสะ เป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปทาน เพราะมีอุปทานเป็นปัจจัยจึงมีภพ เพราะมีภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าบุคคลย่อมไม่คิดถึงสิ่งใด ย่อมไม่ดำริถึงสิ่งใด แต่เขายังมีใจ ฝังลงไป (คือมีอนุสัย) ในสิ่งใดอยู่ สิ่งนั้น ก็ยังเป็นอารมณ์ เพื่อการตั้งอยู่แห่ง วิญญาณ. เมื่ออารมณ์มีอยู่ ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญาณ ย่อมมี เมื่อวิญญาณนั้น ตั้งขึ้นเฉพาะ เจริญงอกงามแล้ว การก้าวลง แห่งนามรูป ย่อมมี.
เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะมีปัสสะ เป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะมีตัณหา เป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะ-
โทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าว่า บุคคลย่อมไม่คิดถึงสิ่งใดด้วย ย่อมไม่ดำริถึงสิ่งใดด้วย และทั้ง ย่อมไม่มีใจฝังลงไป (คือไม่มีอนุสัย) ในสิ่งใดด้วย ในกาลใด ในกาลนั้น สิ่งนั้น ย่อมไม่เป็น อารมณ์ เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณได้เลย.
เมื่ออารมณ์ไม่มี ความตั้งขึ้น เฉพาะแห่งวิญญาณ ย่อมไม่มี เมื่อวิญญาณนั้น ไม่ตั้งขึ้น เฉพาะ ไม่เจริญ งอกงามแล้ว การก้าวลงแห่งนามรูป ย่อมไม่มี.
เพราะความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ
เพราะมีความดับแห่งสฬายตนะ จึงมีความ ดับแห่งผัสสะ
เพราะมีความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา เพราะมีความดับแห่งเวทนาจึงมีความดับแห่งตัณหา
เพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน
เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ
เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความ ดับแห่งชาติ
เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะ-โทมนัส
อุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้
ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้ แล.
หน้า 168
ตัณหาเกิดขึ้น เมื่ออนุสัยก่อขึ้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าบุคคลย่อมคิด (เจเตติ) ถึงสิ่งใดอยู่ ย่อมดำริ(ปกปฺเปติ) ถึงสิ่งใดอยู่ และย่อมมีใจฝังลงไป(อนุเสติ)ในสิ่งใดอยู่ สิ่งนั้น ย่อมเป็นอารมณ์เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณ
เมื่ออารมณ์มีอยู่. ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญาณ ย่อมมี
เมื่อวิญญาณนั้นตั้งขึ้นเฉพาะ เจริญงอกงามแล้ว เครื่องนำไปสู่ภพใหม่ (นติ = ตัณหา) ย่อมมี
เมื่อเครื่องนำไปสู่ภพใหม่ มี การมาการไป (อาคติคติ)ย่อมมี
เมื่อการมา การไปมี การเคลื่อนและ การบังเกิด จุติ+อุปะปาตะ) ย่อมมี
เมื่อการเคลื่อน และการ บังเกิด มี ชาติชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะ โทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบ ถ้วน ต่อไป ความเกิดขึ้นพร้อม แห่งกองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าบุคคลย่อมไม่คิดถึงสิ่งใด ย่อมไม่ดำริถึงสิ่งใด แต่เขายังมีใจ ปักลง ไปในสิ่งใดอยู่ สิ่งนั้น ย่อมเป็นอารมณ์ เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณ. เมื่ออารมณ์ มีอยู่ ความตั้งขึ้น เฉพาะแห่งวิญญาณ ย่อมมี เมื่อวิญญาณนั้นตั้งขึ้นเฉพาะ เจริญงอกงาม แล้ว เครื่องนำไปสู่ภพใหม่ (เนติ=ตัณหา) ย่อมมี เมื่อเครื่องนำไปสู่ภพใหม่ มี การมา การไป (อาคติคติ) ย่อมมี เมื่อการ มาการไป มี
การเคลื่อนและการบังเกิด (จุติ+อุปปาตะ) ย่อมมี เมื่อการเคลื่อนและการบังเกิด มี ชาติ ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วนต่อไป ความ เกิด ขึ้นพร้อมแห่ง กองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าว่า บุคคลย่อมไม่คิดถึงสิ่งใดด้วย ย่อมไม่ดำริถึงสิ่งใดด้วย และย่อม ไม่มีใจ ฝังลงไป (คือไม่มีอนุสัย) ในสิ่งใดด้วย ในกาลใด ในกาลนั้น สิ่งนั้น ย่อมไม่เป็นอารมณ์ เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณได้เลย.
เมื่ออารมณ์ไม่มี ความตั้งขึ้นเฉพาะ แห่งวิญญาณ ย่อมไม่มี เมื่อวิญญาณนั้น ไม่ตั้งขึ้น เฉพาะไม่เจริญงอกงามแล้ว เครื่องนำไปสู่ภพใหม่ (เนติ=ตัณหา) ย่อมไม่มี เมื่อเครื่องนำ ไปสู่ภพใหม่ ไม่มี การมาการไป (อาคติคติ) ย่อมไม่มี เมื่อการมาการไป ไม่มี การเคลื่อน และการบังเกิด จุติ+อุปปาตะ) ย่อมไม่มี เมื่อการเคลื่อนและ การบังเกิด ไม่มี ชาติชรา มรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาส ทั้งหลายต่อไป จึงดับสิ้น ความดับลงแห่ง กองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้ แล.
หน้า 169
ภพใหม่เกิดขึ้น เมื่ออนุสัยก่อขึ้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าบุคคลย่อมคิด (เจเตติ) ถึงสิ่งใดอยู่ ย่อมดำริ(ปกปฺเปติ) ถึงสิ่งใดอยู่ และย่อม มีจิตฝังลงไป (อนุเสติ) ในสิ่งใดอยู่ *สิ่งนั้น ย่อมเป็นอารมณ์ เพื่อการตั้งอยู่แห่ง วิญญาณ.
เมื่ออารมณ์ มีอยู่ ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญาณ ย่อมมี เมื่อวิญญาณนั้น ตั้งขึ้นเฉพาะ เจริญงอกงามแล้ว ความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไป ย่อมมี
เมื่อความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไป มี ชาติชรามรณะโสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัสอุปายาส ทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วนต่อไป ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วย อาการอย่างนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าบุคคลย่อมไม่คิด (โน เจเตติ) ถึงสิ่งใด ย่อมไม่ดำริ (โน ปกปฺเปติ) ถึงสิ่งใด แต่เขายังมีใจฝังลงไป (อนุเสติ) ในสิ่งใดอยู่ สิ่งนั้น
ย่อมเป็นอารมณ์ เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณ. เมื่ออารมณ์มีอยู่ ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่ง วิญญาณ ย่อมมี เมื่อวิญญาณนั้น ตั้งขึ้นเฉพาะ เจริญงอกงามแล้ว ความเกิดขึ้นแห่ง ภพใหม่ต่อไป ย่อมมี เมี่อความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไป มี ชาติชรามรณะโสกะ ปริเทวะ ทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้นครบถ้วนต่อไป ความเกิดขึ้น พร้อมแห่ง กองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.
ดูก่อนอภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าว่า บุคคลย่อมไม่คิดถึงสิ่งใดด้วย ย่อมไม่ดำริถึงสิ่งใดด้วย และย่อม ไม่มีใจฝังลงไป (โน อนุเสติ) ในสิ่งใดด้วย ในกาลใด ในกาลนั้น สิ่งนั้น ย่อมไม่เป็นอารมณ์ เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณได้เลย.
เมื่ออารมณ์ไม่มี ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญาณ ย่อมไม่มี เมื่อวิญญาณนั้น ไม่ตั้งขึ้น เฉพาะ ไม่เจริญงอกงามแล้ว ความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไป ย่อมไม่มี เมื่อความ เกิดขึ้น แห่งภพใหม ่ต่อไป ไม่มี ชาติชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส อุปายาส ทั้งหลายต่อไป จึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้ แล.
หน้า 170
การหยั่งลงแห่งวิญญาณเกิดมีขึ้นเมื่อเห็นสัญโญชนิยธรรม โดยความเป็นอัสสาทะ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเป็นผู้มีปรกติ เห็นโดยความเป็นอัสสาทะ(น่ารักน่ายินดี) ในธรรมทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่ง สังโยชน์๒อยู่ การหยั่งลงแห่งวิญญาณ ย่อมมี.
เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัยจึงมีสฬายตนะ
เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะมีชาติ
เป็นปัจจัย, ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส อุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน
ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้ใหญ่ มีรากดิ่งลงไปเบื้องล่างด้วยมีรากแผ่ไปรอบ ๆ ด้วยรากทั้งหลายเหล่านั้น ล้วนแต่ดูดสิ่งโอชะขึ้นไปเบื้องบน.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เมื่อเป็นอย่างนี้ ต้นไม้ใหญ่ซึ่งมีอาหารอย่างนั้น มีเครื่องหล่อเลี้ยง อย่างนั้น พึงตั้งอยู่ได้ตลอดกาลยาวนาน ข้อนี้ฉันใด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้น เมื่อภิกษุเป็นผู้มีปรกติเห็นโดยความเป็นอัสสทะ (น่ารักน่ายินดี) ในธรรมทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์อยู่ การหยั่งลงแห่งวิญญาณย่อมมี.
เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัยจึงมีสฬายตนะ
เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา
เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส
อุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน
ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.
หน้า 171
การหยั่งลงแห่งวิญญาณไม่มี
เพราะเห็นสัญโญชนิยธรรมโดยความเป็นอาทีนวะ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเป็นผู้มีปรกติ เห็นโดยความเป็นอาทีนวะ (โทษอันต่ำทราม) ในธรรมทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์อยู่ การหยั่งลงแห่งวิญญาณ ย่อมไม่มี. เพราะความดับแห่งวิญญาณ จึงมีความดับแห่งนามรูป
เพราะมีความ ดับแห่งนามรูป จึงมีความดับ แห่งสฬายตนะ
เพราะมีความดับแห่ง สฬายตนะ จึงมีความ ดับแห่งผัสสะ
เพราะมีความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา
เพราะมีความดับแห่ง เวทนา จึงมีความดับแห่งตัณหา
เพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน
เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ
เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความ ดับแห่งชาติ
เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะโสกะปริเทวะ
ทุกขะ
โทมนัส อุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น
ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้ใหญ่ มีอยู่.
ลำดับนั้น บุรุษพึงถือเอาจอบและ ตะกร้ามาแล้ว บุรุษนั้นพึงตัดต้นไม้นั้นที่โคน ครั้นตัดที่โคนแล้ว พึงขุดเซาะ ครั้นขุดเซาะแล้ว พึงรื้อขึ้นซึ่งรากทั้งหลาย แม้ที่สุดเพียงเท่าก้านแฝก.
บุรุษนั้น ตัดต้นไม้นั้น เป็นท่อน น้อยท่อนใหญ่ ครั้นตัดเป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่แล้ว พึงผ่า ครั้นผ่า แล้ว พึงกระทำให้เป็น ซีก ๆ ครั้นกระทำให้เป็นซีก ๆ แล้ว พึงผึ่งให้แห้งในลมและแดด ครั้นผึ่งให้ แห้ง ในลม และแดดแล้ว ย่อมเผาดวยไฟ ครั้นเผาด้วยไฟแล้ว พึงกระทำให้ เป็นขี้เถ้า ครั้นกระทำ ให้เป็นขี้เถ้าแล้ว ย่อมโปรยไปตามลมอันพัดจัด หรือว่าพึงให้ลอยไป ในกระแสน้ำอันเชี่ยว.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยการกระทำอย่างนี้แล ต้นไม้ใหญ่นั้น ก็จะพึงเป็นต้นไม้มีราก อันขาดแล้ว เหมือนต้นตาลที่ถูกทำลายแล้ว ที่ขั้วแห่งยอดถึงแล้ว ซึ่งความไม่มีไม่เป็น มีความไม่งอกอีกต่อไป เป็นธรรมดา ข้อนี้ฉันใด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้น เมื่อภิกษุเป็นผู้มีปรกติ เห็นโดยความเป็นอาทีนวะ (โทษอัน ต่ำทราม) ในธรรมทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์อยู่ การหยั่งลงแห่งวิญญาณ ย่อมไม่มี.
เพราะความดับแห่งวิญญาณ จึงมีความดับแห่งนามรูป
เพราะมีความดับแห่ง นามรูป จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ
เพราะมีความดับแห่งสฬายตนะ จึงมีความดับ
แห่งผัสสะ
เพราะมีความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา
เพราะมีความดับแห่ง เวทนา จึงมีความดับแห่งตัณหา
เพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน
เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ
เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีควมดับ แห่งชาติ
เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะโสกะปริเทวะ
ทุกขะ โทมนัสอุปายาส ทั้งหลายจึงดับสิ้น
ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้ แล.
หน้า 173
การเกิดแห่งโลก คือการเกิดแห่งกระแสปฏิจจสมุปบาท
ที่เกิดขึ้นในใจคน ทุกคราวไป๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็การเกิดขึ้น (สมุทโย) แห่งโลก เป็นอย่างไรเล่า(การเกิดขึ้นแห่งโลก เป็นอย่างนี้คือ)
เพราะอาศัยซึ่งจักษุด้วย, ซึ่งรูปทั้งหลายด้วย จึงเกิดจักขุวิญญาณ การประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการ (จักษุ+รูป+จักษุวิญญาณ) นั่นคือผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมี เวทนา เพราะมี เวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะมีอุปาทาน เป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะมีภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะ-โทมนัสอุปายาสทั้งหลาย
จึงเกิดขึ้นครบถ้วน นี้ คือการเกิดขึ้นแห่งโลก
เพราะอาศัยซึ่งโสตะด้วย ซึ่งเสียงทั้งหลายด้วย จึงเกิดโสตวิญญาณ การประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการ (โสตะ+เสียง+โสตวิญญาณ) นั่นคือ ผัสสะเพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะมี เวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา…ฯลฯ...เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขโทมนัส อุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน นี้ คือการเกิดขึ้นแห่งโลก
เพราะอาศัยซึ่งฆานะด้วย ซึ่งกลิ่นทั้งหลายด้วย จึงเกิดฆานวิญญาน การประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการ (ฆานะ + กลิ่น + ฆานวิญญาณ) นั่นคือ ผัสสะเพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา...ฯลฯ...
เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน นี้ คือการเกิดขึ้นแห่งโลก
เพราะอาศัยซึ่งชิวหาด้วย ซึ่งรสทั้งหลาย จึงเกิดชิวหาวิญญาณ การประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการ (ชิวหา + รส + ชิวหาวิญญาณ) นั่นคือผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะมี เวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา...ฯลฯ.. เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะ โมทนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิด ขึ้นครบถ้วน นี้ คือการเกิดขึ้นแห่งโลก
เพราะอาศัยซึ่งกายด้วย ซึ่งโผฏฐัพพะทั้งหลายด้วย จึงเกิดกายวิญญาณ การประจวบ พร้อม แห่ง ธรรม ๓ ประการ (กาย + โผฏฐัพพะ + กายวิญญาณ) นั่นคือผัสสะ เพราะมี ผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา ...ฯลฯ... เพราะมีชาติ เป็น ปัจจัย ชรามรณะ โสกปริเทวะทุกขะโมมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน นี้ คือการเกิดขึ้นแห่งโลก
เพราะอาศัยซึ่งมโนด้วย, ซึ่งธัมมารมณ์ทั้งหลายด้วย จึงเกิด มโนวิญญาณ การประจวบพร้อม แห่งธรรม ๓ ประการ (มโน + ธัมมารมณ์ + มโนวิญญาณ) นั่นคือผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะม ีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส อุปยาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน
นี้คือการเกิดขึ้นแห่งโลก
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล คือการเกิดขึ้นแห่งโลก.
หน้า 175
การดับแก่โลก คือการดับแห่งกระแสปฏิจจสมุปทาท
ที่ดับลงในใจคน ทุกคราวไป
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็การดับลง (อตฺถงฺคโม) แห่งโลก เป็นอย่างไรเล่า?
(การดับลงแห่งโลก เป็นอย่างนี้คือ)
เพราะอาศัยซึ่งจักษุด้วย ซึ่งรูปทั้งหลายด้วย จึงเกิดจักขุวิญญาณ การประจวบพร้อม แห่งธรรม ๓ ประการ (จักษุ + รูป + จักษุวิญญาณ) นั่นคือผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา.
เพราะความจางคลาย ดับไปไม่เหลือแห่งตัณหา นั้นนั่นแหละ จึงมีความดับ
แห่งอุปาทาน เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ
เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับ แห่งชาติ
เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส อุปยาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ นี้ คือการดับลงแห่งโลก
เพราะอาศัยซึ่งโสตะด้วย, ซึ่งเสียงทั้งหลายด้าน จึงเกิดโสตวิญญาณ การประจวบพร้อม แห่งธรรม ๓ ประการ (โสตะ + เสียง + โสตวิญญาณ) นั่นคือผัสสะ
เพราะมีผัสสะเป็น ปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะมี เวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะค ว า ม จ า ง ค ล า ย ดับ ไ ป ไ ม่เห ลือ ตัณ ห า นั้น นั่น แ ห ล ะ จึงมีค วาม ดับอุปาทาน ...ฯลฯ... นี้ คือการดับลงแห่งโลก
เพราะอาศัยซึ่งฆานะด้วย, ซึ่งกลิ่นทั้งหลายด้วย, จึงเกิดฆานวิญญานการประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการ (ฆานะ + กลิ่น + ฆานวิญญาณ) นั่นคือ ผัสสะ;เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา. เพราะค ว า ม จ า ง ค ล า ย ดับ ไ ป ไ ม่เห ลือ ตัณ ห า นั้น นั่น แ ห ล ะ จึงมีค วาม ดับแห่งอุปาทาน ...ฯลฯ... นี้ คือการดับลงแห่งโลก
เพราะอาศัยซี่งชิวหาด้วย ซึ่งรสทั้งหลายด้วย จึงเกิด ชิวหาวิญญาณการประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการ (ชิวหา + รส + ชิวหาวิญญาณ) นั่นคือผัสสะเพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา. เพราะความจางคลาย ดับไปไม่เหลือ แห่งตัณหานั้น นั่นแหละ จึงมีความดับแห่งอุปทาน...ฯลฯ... นี้คือการดับลงแห่งโลก
เพราะอาศัยซึ่งกายด้วย ซึ่งโผฏฐัพพะทั้งหลายด้าน จึงเกิดกายวิญญาณ การประจวบพร้อม แห่งธรรม ๓ ประการ (กาย + โผฏฐัพพะ + กายวิญญาณ) นั่นคือผัสสะ เพราะมีผัสสะ เป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา. เพราะความจางคลาย ดับไปไม่เหลือ แห่ง ตัณหา นั้นนั่นแหละจึงมีความดับแห่งอุปาทาน...ฯลฯ... นี้ คือการดับลงแห่งโลก.
เพราะอาศัยซึ่งมโนด้วย ซึ่งธัมมารมณ์ทั้งหลายด้วย จึงเกิดมโนวิญญาณ การประจวบพร้อมแห่ง ธรรม ๓ ประการ (มโน + ธัมมารมณ์ + มโนวิญญาณ) นั่นคือผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา. เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา.
เพราะความจายคลาย ดับไปไม่เหลือแห่ง ตัณหา นั้นนั่นแหละ จึงมีความดับแห่งอุปาทาน เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับ แห่งภพ
เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแลชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้. นี้ คือการดับลงแห่งโลก.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล คือการดับลงแห่งโลก.
หมวดที่สี่ จบ
หน้า 179
หมวด ๕
ว่าด้วย ปฏิจจสมุปบาท ซึ่งแสดงการเกิดดับ
แห่งกิเลสและความทุกข์
ลำดับเรื่องเฉพาะหมวด
สำหรับปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ หมวดที่ ๕
ว่าด้วย ปฏิจจสมุปบาทซึ่แสดงการเกิดดับแห่งกิเลสและความทุกข์
(มี ๑๕ เรื่อง)
มีเรื่อง
ทรงแสดงอัตตวาทุปาทานในลักษณะแห่งปฏิจจสมุปบาท—
เวทนาในปฏิจจสมุปบาทให้เกิดอนุสัยสาม--
ปฏิจจสมุปบาทแห่งการเกิดสังขาร ๔ ประเภท--
การดับตัณหาเสียได้ก่อนแต่จะเกิดอุปาทาน—
การสิ้นกรรมตามแบบของปฏิจจสมุปบาท--
อายตนะยังไม่ทำหน้าที่ปัญจุปาทานขันธ์ก็ยังไม่เกิด--
ปัญจุปาทานขันธ์เพิ่งจะมี เมื่อเกิดเวทนาในปฏิจจสมุปบาท--
การเกิดแห่งโลกคือการเกิดแห่งปฏิจจสมุปบาท--
ทุกข์เกิดเพราะเห็นอุปาทานิยธรรมโดยความเป็นอัสสาทะ—
ทุกข์เกิดเพราะเห็นสัญโญ-ชนิยธรรมโดยความเป็นอัสสาทะ--
แดนเกิดดับแห่งทุกข์-โรค-ชรามรณะ--
การดับแห่งโลกคือการดับแห่งปฏิจจสมุปบาท--
ปฏิจจสมุปบาทที่ตรัสอย่างเข้าใจง่ายที่สุด--
ทุกข์ดับเพราะเห็นอุปาทานิยธรรมโดยความเป็นอาทีนวะ—
ทุกข์ดับเพราะเห็นสัญโญชนิย-ธรรมโดยความเป็นอาทีนวะ.
หน้า 183
ทรงแสดงอัตตวาทุปาทานในลักษณะแห่งปฏิจจสมุปบาท
(ในธรรมวินัยนี้ มีการบัญญัติอุปาทานสี่ โดยสมบูรณ์)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! อุปาทานทั้งหลาย ๔ อย่างเหล่านี้ มีอยู่, สี่อย่างเหล่าไหนเล่า? สี่อย่างคือ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพัตตุปาทาน อัตตวา-ทุปาทาน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์บางพวก ปฏิญาณว่า เป็นผู้กล่าวความรอบรู้ซึ่ง อุปาทาน ทั้งปวง ปฏิญาณอยู่ แต่สมณพราหมณ์เหล่านั้น หาได้บัญญัติความรอบรู้ ซึ่งอุปาทานทั้งปวง โดยชอบไม่ กล่าวคือ บัญญัติอยู่แต่ความรอบรู้ซึ่งกามุปาทาน หาบัญญัติความรอบรู้ซึ่ง ทิฏฐุปาทาน ซึ่งสีลัพพัตตุปาทาน ซึ่งอัตตวา-ทุปาทานไม่. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ข้อนั้น เพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมไม่รู้ฐานะ (อุปาทาน) ทั้งสามเหล่านี้ตามที่เป็นจริง...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์บางพวก ปฏิญาณตัวว่า เป็นผู้กล่าวความรอบรู้ ซึ่ง อุปาทานทั้งปวง ปฏิญาณอยู่, แต่สมณพราหมณ์เหล่านั้น หาได้บัญญัติ
ความรอบรู้ซึ่ง อุปาทานทั้งปวงโดยชอบไม่ กล่าวคือ บัญญัติอยู่แต่ความรอบรู้ซึ่งกามุปาทาน ซึ่งทิฏฐุปาทาน ...ฯลฯ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์บางพวก ปฏิญาณตัวว่า เป็นผู้กล่าวความรอบรู้ ซึ่งอุปาทาน ทั้งปวง ปฏิญาณอยู่, แต่สมณพราหมณ์เหล่านั้น หาได้บัญญัติความรอบรู้ ซึ่งอุปาทานทั้งปวง โดยชอบไม่ กล่าวคือ บัญญัติอยู่แต่ความรอบรู้ซึ่งกามุปาทาน ซึ่งทิฏฐุปาทาน ซึ่ง สีลัพพัตตุปาทาน ...ฯลฯ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัย (อันมีการบัญญัติอุปาทานไม่ครบถ้วนทั้ง ๔ ประการ) เห็นปานนี้ ความเลื่อมใสในพระศาสดาก็ดี ความเลื่อมใสในธรรมก็ดี การกระทำให้ บริบูรณ์ ในศีลก็ดี ความเป็น ที่รัก ที่พอใจกันในหมู่สหธัมมิกก็ดี เหล่านี้เราตถาคตกล่าวว่า ไม่เป็นไปโดยชอบ. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนั้นเพราะเหตุว่า ความเลื่อมใสเป็นต้น นั้น เป็นไปใน ธรรมวินัย อันบุคคลกล่าวไว้ชั่วแล้ว อันบุคคลให้รู้ทั่วถึงอย่างชั่วแล้วไม่เป็นธรรมนำ
สัตว์ออกจากทุกข์ไม่เป็นไปเพื่อความสงบรำงับ มิใช่เป็นธรรมที่พระสัมมา สัมทธเจ้า ประกาศแล้ว.... ... ... ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้กล่าวความรอบรู้ซึ่งอุปาทาน ทั้งปวง ปฏิญาณอยู่ ย่อมบัญญัติความรอบรู้ซึ่งอุปาทานทั้งปวงโดยชอบคือ ย่อมบัญญัติ ความรอบรู้ ซึ่งกามุปาทาน ซึ่งทิฏฐุปาทาน ซึ่งสัลัพพัตตุปาทานซึ่งอัตตวาทุปาทาน.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัย (ที่มีการบัญญัติอุปาทานครบถ้วนทั้ง ๔ ประการ) เห็นปานนี้ ความเลื่อมใสในพระศาสดาก็ดี ความเลื่อมใสในธรรมก็ดี การกระทำให้ บริบูรณ์ในศีลก็ดี ความเป็นที่รักที่พอใจกันในหมู่สหธัมมิกก็ดี เหล่านี้ เราตถาคตกล่าวว่า เป็นไปโดยชอบ
ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนั้นเพราะเหตุว่า ความเลื่อมใสเป็นต้น นั้น เป็นสิ่งที่เป็นไปในธรรมวินัย อันเรากล่าวดีแล้วอันเรา ให้รู้ทั่ว ถึงแล้ว เป็นธรรมนำสัตว์ ออกจากทุกข์ เป็นไปพร้อมเพื่อความ สงบรำงับ เป็นธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประกาศแล้ว.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็อุปาทาน ๔ อย่างเหล่านี้มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด(นิทาน)? มีอะไรเป็นเครื่องก่อให้เกิด (สมุทย)? มีอะไรเป็นเครื่องกำเนิด (ชาติก)? มีอะไรเป็น แดนเกิด (ปภว) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุปาทาน ๔ อย่างเหล่านี้ มีตัณหาเป็นเหตุ ให้เกิด มีตัณหา เป็นเครื่องก่อให้เกิด มีตัณหาเป็นเครื่องกำเนิด มีตัณหาเป็นแดนเกิด.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ตัณหานี้เล่า มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด มีอะไรเป็นเครื่องก่อ ให้เกิด? มีอะไรเป็นเครื่องกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัณหา มีเวทนาเป็นเหตุให้เกิด มีเวทนาเป็นเครื่องก่อให้เกิด มีเวทนา เป็นเครื่องกำเนิด มีเวทนาเป็นแดนเกิด.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เวทนานี้เล่า มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด มีอะไรเป็นเครื่องก่อให้เกิด? มีอะไรเป็นเครื่องกำเนิด? มีอะไรเป็นแดนเกิด? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เวทนา มีผัสสะเป็น เหตุให้เกิด มีผัสสะเป็นเครื่องก่อให้เกิด มีผัสสะเป็นเครื่องกำเนิด มีผัสสะเป็นแดนเกิด.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ผัสสะนี้เล่า มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด? มีอะไรเป็นเครื่องก่อให้เกิด? มีอะไรเป็นเครื่องกำเนิด? มีอะไรเป็นแดนเกิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผัสสะ มีสฬายตนะ เป็นเหตุให้เกิด มีสฬายตนะ เป็นเครื่องก่อให้เกิดมีสฬายตนะเป็นเครื่องกำเนิด มีสฬายตนะ เป็นแดนเกิด.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สฬายตนะานี้เล่า มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด?อะไรเป็นเครื่อง ก่อให้เกิด? มีอะไรเป็นเครื่องกำเนิด? มีอะไรเป็นแดนเกิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! สฬายตนะ มีนามรูปเป็น เหตุให้เกิด มีนามรูปเป็นเครื่องก่อให้เกิดมีนามรูปเป็น เครื่องกำเนิด มีนามรูปเป็นแดนเกิด.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็นามรูปนี้เล่า มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด มีอะไรเป็นเครื่องก่อ ให้เกิด? มีอะไรเป็นเครื่องกำเนิด? มีอะไรเป็นแดนเกิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นามรูป มีวิญญาณ เป็นเหตุให้เกิด มีวิญญาณเป็นเครื่องก่อให้เกิดมีวิญญาณเป็นเครื่องกำเนิด มีวิญญาณเป็นแดนเกิด.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็วิญญาณนี้เล่า มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด มีอะไรเป็นเครื่อง ก่อให้เกิด? มีอะไรเป็นเครื่องกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิญญาณ มีสังขารเป็นเหต ุให้เกิด มีสังขารเป็นเครื่องก่อให้เกิด มีสังขารเป็นเครื่องกำเนิด มีสังขารเป็นแดนเกิด.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สังขารทั้งหลายเหล่านี้เล่า มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด?มีอะไรเป็น เครื่องก่อให้เกิด มีอะไรเป็นเครื่องกำเนิด? มีอะไรเป็นแดนเกิด?ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลาย มีอวิชชาเป็นเหตุให้เกิด มีอวิชชาเป็นเครื่องก่อให้เกิด มีอวิชชาเป็น เครื่องกำเนิด มีอวิชชาเป็นแดนเกิด.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแล อวิชชาเป็นสิ่งที่ภิกษุละได้แล้ววิชชาเป็นสิ่งที่ เกิดขึ้นแล้ว ในกาลนั้น ภิกษุนั้น ย่อมไม่ยึดมั่นซึ่งกามุปาทาน ย่อมไม่ยึดมั่นซึ่ง ทิฏฐุปาทาน ย่อมไม่ยึดมั่น ซึ่งสีลัพพัตตุปาทาน ย่อมไม่ยึดมั่นซึ่งอัตตวาทุปาทาน(ทั้งนี้) เพราะการสำรอกเสียได้หมดซึ่ง อวิชชา เพราะการเกิดขึ้นแห่งวิชชา เมื่อไม่ยึด มั่น(คือไม่มีอุปาทาน) อยู่ย่อมไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง,ย่อมปรินิพพานเฉพาะ ตนนั่นเทียว.๑ เธอนั้นย่อมรู้ชัดว่า "ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ อันเราได้อยู่จบแล้ว กิจที่ต้องทำได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก" ดังนี้.
ห ม ายเห ตุผู้รวบ รวม ผู้ศึกษาจงสังเกต จนเห็นลึกลงไปถึงว่าการไม่ปรินิพพานเฉพาะ ตน นั้น เพราะยังมีกิเลสที่เป็นเหตุให้สะดุ้ง กล่าวคืออุปาทานข้อที่ ๔โดยเฉพาะนั่นเอง และการละ อุปาทาน ข้อที่ ๔ นี้ ยังมีความสำคัญในส่วนที่จะทำหมู่คณะ๑คำนี้ บาลีว่า ปจฺจตฺตญฺเญว ปรินิพฺพายติ อรรถกถา(ปปัญจสูทนี ภาค ๒ หน้า ๒๕) อธิบายว่า ย่อมปรินิพพาน ด้วยกิเลส ปรินิพพาน ด้วยตนเองนั่นเทียว.
ให้เรียบร้อย มีสรณาคมน์ตั้งมั่น และทำให้พุทธศาสนาแปลกไปจากศาสนาอื่น ที่บัญญัติ อุปาทานไว้เพียง ๓ อย่าง ดังนั้น หลักปฏิจจสมุปบาทในพุทธศาสนา จึงมีความสำคัญ เป็นพิเศษ ในข้อที่ทำให้รู้จักและละเสียได้ ซึ่งอุปทานโดยสมบูรณ์จริง ๆ และมีความ สำคัญที่ต้องสังเกตว่า แม้จะกล่าวเพียงครึ่งท่อน คือตั้งแต่อุปาทานขึ้นไป ก็สมบูรณ์ หรือเป็นปฏิจจสมุปบาท ที่สมบูรณ์ทั้งสายอยู่นั่นเอง เพราะจะละอุปาทาน หรือละอวิชชา ทุกข์ก็ดับหมดเท่ากัน เพราะการละอุปาทานนั้น ละได้ด้วยการละอวิชชา นั่นเอง.
เวทนาในปฏิจจสมุปบาท ให้เกิดอนุสัยสาม๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย (๑) เพราะอาศัยตาด้วย รูปทั้งหลายด้วย จึงเกิดจักขุวิญญาณ การประจวบพร้อมด้วยแห่งธรรม ๓ ประการ (ตา+รูป+ จักขุวิญญาณ)นั่นคือผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา อันเป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขบ้าง.
บุคคลนั้น เมื่อสุขเวทนาถูกต้องอยู่ ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำสรรเสริญเมาหมกอยู่ อนุสัย คือราคะ ย่อมตามนอน (เพิ่มความเคยชินให้) แก่บุคคลนั้น(ตสฺส ราคานุสโย อนุเสติ) เมื่อทุกขเวทนา ถูกต้องอยู่ เขาย่อมเศร้าโศก ย่อมระทมใจ ย่อมคร่ำครวญ ย่อมตีอกร่ำไห้ ย่อมถึงความหลงใหลอยู่ อนุสัยคือปฏิฆะ ย่อมตามนอน (เพิ่มความเคยชินให้) แก่บุคคลนั้น
เมื่อเวทนาอันไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขถูกต้องอยู่ เขาย่อมไม่รู้ตามเป็นจริงซึ่งเหตุให้เกิดเวทนา นั้นด้วย ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งเวทนา นั้นด้วย ซึ่งอัสสาทะ (รสอร่อย)ของเวทนานั้นด้วย ซึ่งอาทีนวะ (โทษ) ของเวทนานั้นด้วย ซึ่งนิสสรณะ (อุบายเครื่องออกพ้นไป) ของเวทนานั้นด้วย อนุสัยคืออวิชชา ย่อมตามนอน (เพิ่มความเคยชินให้) แก่บุคคลนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! บุคคลนั้นหนอ ยังละราคานุสัยอันเกิดจากสุขเวทนาไม่ได้ ยัง บรรเทา ปฏิฆานุสัยอันเกิดจากทุกขเวทนาไม่ได้ ยังถอนอวิชชานุสัยอันเกิดจาก อทุกขมสุขเวทนาไม่ได้ เมื่อยังละอวิชชาไม่ได้ และยังทำวิชชาให้เกิดขึ้นไม่ได้แล้ว เขาจักทำที่สุดแห่งทุกข์ ในทิฏฐธรรม (ปัจจุบัน) นี้ได้ นั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จักมีได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! (๒) เพราะอาศัยหูด้วย เสียงทั้งหลายด้วย จึงเกิดโสตวิญญาณ การประจวบ พร้อมแห่งธรรม ๓ ประการ (หู+เสียง+โสตวิญญาณ)นั่นคือ ผัสสะ...(ข้อความตอน ต่อไปนี้ เหมือนข้อความที่มีอยู่ในข้อ (๑) อันว่าด้วยรูป เรื่อยไปทั้ง ๔
ย่อหน้า จนถึงตอนท้าย ข้อ ที่ว่า )…ฯลฯ...ฯลฯ... จักทำ ที่สุดแห่งทุกข์ ในทิฏฐธรรม (ปัจจุบัน) นี้ได้ นั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะ ที่จักมีได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! (๓) เพราะอาศัยจมูกด้วย กลิ่นทั้งหลายด้วย จึงเกิดฆานวิญญาณการประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการ (จมูก+กลิ่น+ฆานวิญญาณ)นั่นคือ ผัสสะ....(ข้อความตอนต่อไปนี้ เหมือนข้อความที่มีอยู่ในข้อ (๑) อันว่าด้วยรูป เรื่อยไปทั้ง ๔ย่อหน้า จนถึงตอนท้ายข้อ ที่ว่า )…ฯลฯ...ฯลฯ... จักทำ ที่สุดแห่งทุกข์ ในทิฏฐธรรม (ปัจจุบัน) นี้ได้ นั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จักมีได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! (๔) เพราะอาศัยลิ้นด้วย รสทั้งหลายด้วย จึงเกิดชิวหาวิญญาณ การประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการ (ลิ้น+รส+ชิวหาวิญญาณ)นั่นคือ ผัสสะ..(ข้อความตอนต่อไปนี้ เหมือนข้อความที่มีอยู่ในข้อ (๑) อันว่าด้วยรูป เรื่อยไปทั้ง ๔ย่อหน้า จนถึงตอนท้ายข้อ ที่ว่า)…ฯลฯ...ฯลฯ... จักทำ ที่สุดแห่งทุกข์ ในทิฏฐธรรม (ปัจจุบัน) นี้ได้ นั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จักมีได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! (๕) เพราะอาศัยกายด้วย โผฏฐัพพะทั้งหลายด้วยจึงเกิด กายวิญญาณ การประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการ (กาย+โผฏฐัพพะ+กายวิญญาณ) นั่นคือ ผัสสะ...(ข้อความตอนต่อไปนี้ เหมือนข้อความที่มีอยู่ในข้อ (๑) อันว่าด้วยรูป เรื่อยไปทั้ง ๔ ย่อหน้า จนถึงตอนท้ายข้อ ที่ว่า)ฯลฯ...ฯลฯ... จักทำ ที่สุดแห่งทุกข์ ในทิฏฐธรรม (ปัจจุบัน) นี้ได้ นั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จักมีได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย (๖) เพราะอาศัยใจด้วย ธัมมารมณ์ทั้งหลายด้วยจึงเกิด มโนวิญญาณการประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการ (ใจ+ธมมารมณ์+มโนวิญญาณ) นั่นคือ ผัสสะ...เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา อันเป็นสุขบ้างเป็นทุกข์บ้าง ไม่ใช่ ทุกข์ไม่ใช่สุขบ้าง.
บุคคลนั้น เมื่อสุขเวทนาถูกต้องอยู่ ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำสรรเสริญเมาหมกอยู่ อนุสัย คือราคะ ย่อมตามนอน (เพิ่มความเคยชินให้) แก่บุคคลนั้น เมื่อทุกขเวทนา ถูกต้องอยู่ เขาย่อมเศร้าโศก ย่อมระทมใจ ย่อมคร่ำครวญย่อมตีอกร่ำไห้ ย่อมถึงความ หลงใหลอยู่ อนุสัยคือปฏิฆะ ย่อมตามนอน (เพิ่มความเคยชินให้) แก่บุคคลนั้น
เมื่อเวทนาอันไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขถูกต้องอยู่เขาย่อมไม่รู้ตามเป็นจริง ซึ่งเหตุให้เกิด เวทนานั้น ด้วย ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งเวทนา นั้นด้วย ซึ่งอัสสาทะ(รสอร่อย) ของเวทนา นั้นด้วย ซึ่ง อาทีนวะ (โทษ) ของเวทนานั้นด้วย ซึ่งนิสสรณะ(อุบายเครื่องออกพ้นไป) ของเวทนานั้นด้วย อนุสัยคืออวิชชา ย่อมตามนอน (เพิ่มความเคยชินให้) แก่บุคคลนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! บุคคลนั้นหนอ ยังละราคานุสัยอันเกิดจากสุขเวทนาไม่ได้ ยัง บรรเทา ปฏิฆานุสัยอันเกิดจากทุกขเวทนาไม่ได้ ยังถอนอวิชชานุสัยอันเกิดจากอทุก ขมสุข เวทนาไม่ได้ เมื่อยังละอวิชชาไม่ได้ และยังทำวิชชาให้เกิดขึ้นไม่ได้แล้ว เขาจัก ทำที่สุดแห่งทุกข์ ในทิฏฐธรรม (ปัจจุบัน) นี้ได้ นั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จักมีได้.
……………………………………………………………………………………………………….
หมายเหตุผู้รวบรวม ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า เราเคยเข้าใจและสอนกันอยู่ในเวลา นี้ว่า อนุสัยนั้นคือตะกอน นอนอยู่ในสันดานตลอดเวลา พอได้อารมณ์ก็ลุกออกมาเป็นกิเลส โลภะ โทสะ โมหะ แล้วกลับไปนอนรออยู่ต่อไปอีก จนกว่าจะได้อารมณ์อันใหม่อีก (ในลักษณะอาการของ สัสสตทิฏฐิ) เช่นนี้ ดูไม่ตรงตามพระพุทธภาษิตในสูตรนี้ ซึ่งตรัสว่า
เมื่อเสวยเวทนาใด จึงเกิดอนุสัยขึ้นตามนอน (คือเพิ่มความเคยชินในการที่จะเกิดกิเลส ชื่อนั้น ๆ แก่บุคคลนั้น) และทรงระบุชัดว่าบุถุชนธรรมดา
ถ้าเสวยสุข-เวทนา จะเพิ่ม ราคานุสัย (แก่กิเลส ประเภท โลภะ ทุกชนิด)
เมื่อเสวยทุกขเวทนา จะเพิ่ม ปฏิฆานุสัย (แก่กิเลสประเภทโมหะทุกชนิด)
เมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนา จะเพิ่ม อวิชชานุสัย (แก่กิเลส ประเภทโมหะทุกชนิด)
ข้อนี้หมายความว่า จะเพิ่มความเคยชินหรือความง่ายดาย ในการที่ จะเกิดกิเลสชื่อนั้น ๆ ยิ่งขึ้นทุกทีนั่นเอง.
และพึงสังเกตเป็นพิเศษอีกอย่างหนึ่งด้วย ว่าสำหรับ
ราคานุสัย ทรงใช้คำว่า "ละ"
ปฏิฆานุสัย ใช้คำว่า"บรรเทา"
อวิชชานุสัย ใช้คำว่า "ถอน"
ไม่พูดคลุมเครือ เหมือนที่เราพูดกันเพ้อ ๆ ไปจนถึงกับจัดอนุสัยไว้ใน ฐานะเป็นสิ่งตายตัว ไม่มีการเกิดดับ เมื่อเสวยหรือหยุดเสวยเวทนา.
แต่อย่างไรก็ตาม ในบางกรณีที่มีการกล่าว อย่างรวม ๆ ด้วยภาษาธรรมดา ๆ ก็ได้ตรัส ด้วยคำ " "(ป ห าตพฺโพ , ป หีโน ) รวม กัน ทั้ง ๓ อนุสัยก็มี เช่น บ าลี สฬ า. สํ. ๑๘/๒๕๔/๓๖๓;
๑๘/๒๖๒/๓๗๗-๙; และ ๑๘/๒๖๕/๓๘๕.
หน้า 192
ปฏิจจสมุปบาทแห่งการเกิดสังขาร ๔ ประเภท
(สังขารชนิดที่หนึ่ง : ทิฏฐิปรารภขันธ์ห้า)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร อาสวะทั้งหลายจึงสิ้นไป โดยลำดับ ไม่มีระหว่างขั้น? [กรณีแห่งรูปขันธ์]
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย ไม่ฉลาด ในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้รับการแนะนำในธรรม ของพระอริยเจ้า ไม่ได้เห็น สัปบุรุษทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมสำคัญเห็นซึ่งรูป โดยความเป็นตน.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การสำคัญเห็นซึ่งรูปโดยความเป็นตนนั้น อันใดแล การสำคัญเห็น อันนั้น เป็นสังขาร.๒ ก็สังขารนั้น มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด? เป็นเครื่องก่อให้เกิด? เป็นเครื่อง กำเนิด? เป็นแดนเกิด? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! สังขารนั้น เป็นสิ่งที่เกิดจากตัณหาซึ่งเกิดขึ้น แล้วแก่ ปุถุชนผู้มิได้สดับ ผู้อันเวทนาที่เกิดแต่อวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ด้วยเหตุอย่างนี้แล แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง. เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่ง แล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว แม้ตัณหานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัย ปัจจัยเกิดขึ้น แล้ว แม้เวทนานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัย
เกิดขึ้นแล้ว, แม้ผัสสะนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว แม้อวิชชา นั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล อาสวะทั้งหลาย ย่อมสิ้นไป โดยลำดับ ไม่มี ระหว่าง ขั้นปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว จะไม่สำคัญเห็นซึ่งรูปโดยความเป็นตน ก็จริง แต่ว่าเขา ย่อมสำคัญ เห็นซึ่งตนว่ามีรูป.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
การสำคัญเห็นซึ่ง ตนว่ามีรูปนั้น
อันใดแล การสำคัญเห็นอันนั้น เป็นสังขาร. ก็สังขารนั้น มีอะไรเป็นเหตุ ให้เกิด เป็นเครื่องก่อให้เกิด เป็นเครื่องกำเนิด เป็นแดนเกิด?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
สังขารนั้น
เป็นสิ่งที่เกิดจากตัณหา ซึ่งเกิดขึ้นแล้วแก่ ปุถุชนผู้มิได้ สดับ ผู้อันเวทนาที่เกิด แต่อวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยเหตุอย่างนี้แล
แม้สังขารนั้น ก็ไม่เที่ยง. เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว
แม้ตัณหานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว
แม้เวทนานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว
แม้ผัสสะนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่ง แล้วอาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว
แม้อวิชชานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัย ปัจจัย เกิดขึ้นแล้ว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แลอาสวะ ทั้งหลาย ย่อมสิ้นไปโดย ลำดับ ไม่มีระหว่างขั้น.
ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว จะไม่สำคัญเห็นซึ่งรูป โดยความเป็นตน ไม่สำคัญ เห็นซึ่งตนว่ามีรูป ก็จริงแล แต่ว่าเขาย่อมสำคัญเห็นซึ่ง รูปในตน.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การสำคัญเห็นซึ่งรูปในตนนั้น อันใดแล การสำคัญเห็นอันนั้น เป็นสังขาร. ก็สังขารนั้น มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด เป็นเครื่องก่อให้เกิด เป็นเครื่องกำเนิด เป็นแดนเกิด ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย สังขารนั้น เป็นสิ่งที่เกิดจากตัณหา ซึ่งเกิดขึ้นแล้วแก่ปุถุชนผู้มิได้
สดับ ผู้อันเวทนาที่เกิดแต่อวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยเหตุอย่างนี้แล
แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง.
เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว
อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว
แม้ตัณหานั้นก็ไม่เที่ยง
เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว
อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว
แม้เวทนานั้นก็ไม่เที่ยง
เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว
อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว
แม้ผัสสะนั้นก็ไม่เที่ยงเป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว
อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว
แม้อวิชชานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว
อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้เห็นอยู่อย่างนี้แล อาสวะทั้งหลาย ย่อมสิ้นไปโดยลำดับ ไม่มีระหว่างขั้น.
ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว จะไม่สำคัญเห็นซึ่งรูปโดยความเป็นตน ไม่สำคัญเห็นซึ่งตนว่ามีรูป ไม่สำคัญเห็นซึ่งรูปในตน ก็จริงแล แต่ว่าเขา ย่อมสำคัญเห็น ซึ่งตน ในรูป.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การสำคัญเห็น ซึ่งตนว่ามีรูปนั้น อันใดแล การสำคัญเห็นอันนั้น เป็นสังขาร. ก็สังขารนั้น มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด เป็นเครื่องก่อให้เกิด เป็นเครื่องกำเนิด เป็นแดนเกิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขารนั้น เป็นสิ่งที่เกิดจากตัณหา ซึ่งเกิดขึ้นแล้ว แก่ปุถุชนผู้มิได้สดับ ผู้อันเวทนาที่เกิดแต่อวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ด้วยเหตุอย่างนี้แล
แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง. เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว
แม้ตัณหานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้วอาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว
แม้เวทนานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว
แม้ผัสสะนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว
แม้อวิชชานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล อาสวะทั้งหลาย ย่อมสิ้นไปโดยลำดับ ไม่มีระหว่างขั้น.
(กรณีแห่งเวทนา-สัญญา-สังขาร-วิญญาณขันธ์)
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------+-------------------
(ครั้นตรัสข้อความในกรณี แห่งรูปขันธ์ จบลงดังนี้แล้ว ได้ตรัสข้อความที่สืบเนื่องกันต่อไปว่า แม้ปุถุชนนั้นจะไม่สำคัญเห็นรูปขันธ์ โดยอาการทั้ง๔ ก็ตามเขาก็จะสำคัญเห็นอาการทั้ง๔ นั้นในเวทนาขันธ์...สัญญาขันธ์... สังขารขันธ์...วิญญาณ-ขันธ์... ไล่กันไปตามลำดับๆๆ โดยทำนองเดียวกันทุกตัวอักษร กับในกรณีแห่งรูปขันธ์.
ในขันธ์แต่ละขันธ์ มีอาการอันจะพึงเห็นผิดถึง ๔ อาการ คือเห็นขันธ์โดยความเป็นตน ๑, เห็นตนว่ามีขันธ์ ๑, เห็นขันธ์ในตน ๑ เห็นตนในขันธ์ ๑ เมื่ออาการทั้งสี่นี้เป็นไปในขันธ์ทั้ง ๕ จึงรวมกันเป็น ๒๐ อาการ ทั้ง ๒๐ อาการนี้ รวมกันแล้วจัดเป็นสังขารหมวดที่หนึ่ง.
-
ข้อความนี้แสดงให้เห็นว่า ปฏิจจสมุปบาททั้งสาย รวมอยู่ในประโยคสั้นประโยคเดียวว่า "สังขาร เกิดมา จากตัณหา อันเกิดขึ้นแก่บุคคล ผู้ถูกต้องด้วยเวทนาอันเกิดจาก อวิชชา สัมผัส" ผู้ศึกษา พึงทราบได้เองว่า อวิชชามีอยู่ในขณะแห่งการสัมผัส ซึ่งทำให้เกิดสังขาร วิญญาณนามรูปอายตนะ ครบถ้วนอยู่ในสัมผัสนั้น ครั้นเวทนาให้เกิดตัณหาแล้วก็มีการปรุงแต่งสืบต่อไป จนเกิดทุกข์. คำว่าสังขารในกรณีนี้หมายถึงปฏิจจสมุปบาท ทุกอาการก็ได้ เพราะมีความหมาย เพียงแต่ว่า เป็น อาการ ของการปรุงแต่งโดยลักษณะแห่งอิทัปปัจจยตา โดย ตลอดสายแห่งปฏิจจสมุปบาท นั่นเอง.
สังขารประเภทที่ ๑ นี้แจกโดยละเอียด จะเป็นสังขาร ๒๐ ชนิด คือแจกตามขันธ์ห้า แต่ละขันธ์ มี ๔ อาการ คือเห็นขันธ์โดยความเป็นตน๑ เห็นตนว่ามีขันธ์๑ เห็นขันธ์ในตน๑ เห็นตนในขันธ์๑ รวมเป็น๒๐ชนิดแห่งสังขาร.
สูตรนี้มุ่งหมายจะแสดงความสิ้นอาสวะ แต่ได้แสดงลักษณะแห่งสังขาร ชนิดที่เป็นอกุศล อย่างละเอียด แปลกออกไปเป็นความรู้พิเศษกว่าทุกแห่ง สำหรับคำว่าสังขาร จึงนำมา ใส่ไว้ ในกลุ่มอันว่าด้วยการเกิดกิเลส แทนที่จะใส่ในหมวดปฏิบัติ เพื่อดับทุกข์.) - ผู้รวบรวม
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หน้า 196
ปฏิจจสมุปบาทแห่งการเกิดสังขาร ๔ ประเภท
(สังขารชนิดที่ สอง สัสสตทิฏฐิ)
ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว จะไม่สำคัญเห็นซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ โดยความเป็นตน ไม่สำคัญเห็นซึ่งตนว่ามีรูป ว่ามีเวทนา ว่ามีสัญญา ว่ามีสังขาร ว่ามีวิญญาณ ไม่สำคัญเห็นซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ ในตน ไม่สำคัญเห็นซึ่งตน ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ ก็จริงแล แต่ทว่าเขายังเป็นผู้มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า "อัตตา(ตน) ก็อันนั้น โลกก็อันนั้น เรานั้น ครั้นละไปแล้ว จักเป็นผู้เที่ยง (นิจฺโจ) ยั่งยืน(ธุโว) เที่ยงแท้ (สสฺสโต) มีความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา (อวิปริณามธมฺโม)."ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทิฏฐิดังกล่าวนี้ อันใดแล ทิฏฐิอันนั้น ชื่อว่าสัสสตทิฏฐิ.
สัสตทิฏฐินั้น เป็นสังขาร. ก็สังขารนั้น มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด เป็นเครื่องก่อให้เกิดเป็น เครื่องกำเนิด? เป็นแดนเกิด?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขารนั้น เป็นสิ่งที่เกิดจากตัณหา ซึ่งเกิดขึ้นแล้วแก่ปุถุชน ผู้มิได้สดับ ผู้อันเวทนาที่เกิดแต่อวิชชาสัมผัส ถูกต้องแล้ว.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยเหตุอย่างนี้แล
แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง. เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว
แม้ตัณหานั้นก็ไม่เที่ยง
เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว
แม้เวทนานั้นก็ไม่เที่ยง
เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว
แม้ผัสสะนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว
แม้อวิชชานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล อาสวะทั้งหลาย ย่อมสิ้นไปโดยลำดับ ไม่มีระหว่างขั้น.
..................................................................................
หมายเหตุผู้รวบรวม : สังขารหมวดที่สองนี้ มีลักษณะเป็นปฏิจจสมุป -บาท โดยนัยะอันเดียวกัน กับสังขารหมวดที่หนึ่ง คือสรุปความลงเป็นว่า "สังขารเกิดมาจาก ตัณหา อันเกิดขึ้น แก่บุคคล ผู้ถูกต้องด้วยเวทนา อันเกิดจากอวิชชาสัมผัส"
..................................................................................
หน้า 197
ปฏิจจสมุปบาทแห่งการเกิดสังขาร ๔ ประเภท
(สังขารชนิดที่ สาม : อุจเฉททิฏฐิ)
ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว จะไม่สำคัญเห็นซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ โดยความเป็นตน ไม่สำคัญเห็นซึ่งตนว่ามีรูป ว่ามีเวทนา ว่ามีสัญญา ว่ามีสังขาร ว่ามีวิญญาณ ไม่สำคัญเห็นซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ ในตน ไม่สำคัญเห็นซึ่งตน ในรูป ในเวทนา ในสัญญาในสังขาร ในวิญญาณ ก็จริงแล ทั้งเป็นผู้ไม่มีทิฏฐิว่า "อัตตา (ตน) ก็อันนั้น โลกอันนั้นเรานั้น ครั้นละไปแล้ว จักเป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน เที่ยงแท้ มีความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา.
ดังนี้ ก็จริงแล แต่ทว่า เขายังเป็นผู้มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า "เราไม่พึงมีด้วย ของเรา ไม่พึงมีด้วยเราจักไม่มีด้วย ของเราจักไม่มีด้วย" ดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!ทิฏฐิดังกล่าวนี้ อันใดแล ทิฏฐิอันนั้นชื่อว่าอุจเฉททิฏฐิ. อุจเฉททิฏฐินั้นเป็นสังขาร.
ก็สังขารนั้น มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด เป็นเครื่องก่อให้เกิด? เป็นเครื่องกำเนิด เป็นแดนเกิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขารนั้น เป็นสิ่งที่เกิดจากตัณหา ซึ่งเกิดขึ้นแล้วแก่ปุถุชนผู้มิได้ สดับ ผู้อันเวทนาที่เกิดแต่ อวิชชาสัมผัส ถูกต้องแล้ว.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ด้วยเหตุอย่างนี้แล
แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง. เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว
แม้ตัณหานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว
แม้เวทนานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว
แม้ผัสสะนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว
แม้อวิชชานั้นก็ไม่เที่ยง
เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล อาสวะทั้งหลาย ย่อมสิ้นไปโดยลำดับ ไม่มีระหว่างขั้น..
หมายเหตุผู้รวบรวม สังขารหมวดที่สามนี้ มีลักษณ ะเป็นปฏิจจสมุป-บาท โดยนัยะอันเดียว กันกับ สังขารหมวดที่หนึ่ง คือสรุปความลงเป็นว่า "สังขารเกิดมาจาก ตัณหา อันเกิดขึ้นแก่บุคคล ผู้ถูกต้องด้วยเวทนาอันเกิดจากอวิชชาสัมผัส"
หน้า 198
ปฏิจจสมุปบาทแห่งการเกิดสังขาร ๔ ประเภท
(สังขารชนิดที่ สี่ : ลังเลในพระสัทธรรม)
ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว จะไม่สำคัญเห็น ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ โดยความเป็นตน ไม่สำคัญเห็นซึ่งตนว่ามีรูป ว่ามีเวทนา ว่ามีสัญญา ว่ามีสังขาร ว่ามีวิญญาณ ไม่สำคัญเห็นซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ ในตน ไม่สำคัญเห็นซึ่งตน ในรูป ในเวทนา ในสัญญาในสังขาร ในวิญญาณ เป็นผู้ไม่มีทิฏฐิว่า "อัตตาก็อันนั้น โลกก็อันนั้น เรานั้นครั้นละไปแล้ว จักเป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน เที่ยงแท้ มีความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา. ดังนี้ ทั้งผู้ไม่มีทิฏฐิว่า "เราไม่พึงมีด้วย ของเราไม่พึงมีด้วย เราจักไม่มีด้วย ของเราจักไม่มีด้วย" ดังนี้ก็จริงแล แต่ทว่าเขา ยังเป็นผู้มีความสงสัย (กงฺขี) มีความลังเล (วิจิกิจฺฉี) ไม่ถึงความมั่นใจใน พระสัทธรรม (อนิฏฺฐงฺคโต สทฺธมฺเม).
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้มีความสงสัย มีความลังเล ไม่ถึงความมั่นใจ ในพระ สัทธรรมนั้น อันใดแล อันนั้นเป็นสังขาร.
สังขารนั้น มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด เป็นเครื่องก่อให้เกิด เป็นเครื่องกำเนิด เป็นแดนเกิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขารนั้น เป็นสิ่งที่เกิดจากตัณหา ซึ่งเกิดขึ้นแล้วแก่ปุถุชนผู้มิได้ สดับ ผู้อันเวทนาที่เกิดแต่อวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยเหตุอย่างนี้แล แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง. เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว
แม้ตัณหานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัย ปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัย เกิดขึ้นแล้ว
แม้เวทนานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว แม้ผัสสะนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว
แม้อวิชชานั้น ก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล อาสวะทั้งหลาย ย่อมสิ้นไปโดยลำดับ ไม่มีระหว่างขั้น.
หมายเหตุผู้รวบรวม สังขารหมวดที่สี่นี้ มีลักษณะ เป็นปฏิจจสมุปบาทโดยนัยะ อันเดียวกัน กับสังขารหมวดที่หนึ่ง คือสรุปความลงเป็นว่า "สังขารเกิดมาจากตัณหา อันเกิดขึ้นแก่บุคคล ผู้ถูกต้อง ด้วยเวทนาอันเกิดจากอวิชชาสัมผัส"
หน้า 199
การดับตัณหาเสียได้ก่อนแต่จะเกิดปฏิจจสมุปบาท
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!เราจักแสดง ซึ่งความไม่ตั้งอยู่ได้แห่งทุกข์ แก่พวกเธอทั้งหลาย. พวกเธอทั้งหลาย จงฟังข้อความนั้น จงทำในใจให้สำเร็จประโยชน์ เราจักกล่าวบัดนี้.
ครั้นภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น ทูลสนองรับพระพุทธดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัส ถ้อยคำเหล่านี้ว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ความไม่ตั้งอยู่ได้แห่งทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า?
(๑) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยตาด้วย รูปทั้งหลายด้วย จึงเกิด จักขุ-วิญญาณ การประจวบพร้อมแห่งธรรมสามประการ (ตา+รูป+จักขุวิญญาณ) นั่นคือ
ผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะ ความจางคลายดับไปไม่เหลือแห่งตัณหานั้นนั่นแหละ จึงมีความดับแห่ง อุปาทาน เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความ ดับแห่งชาติ เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแลชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส อุปายาส ทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้. นี้คือ ความไม่ตั้งอยู่ได้แห่งทุกข์
(๒) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยหูด้วย เสียงทั้งหลายด้วย จึงเกิดโสตะวิญญาณ การประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการ (โสตะ+เสียง+โสตะวิญญาณ)นั่นคือผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะ ความจางคลายดับไปไม่เหลือแห่งตัณหานั้นนั่นแหละ จึงความดับแห่งอุปาทาน เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับ แห่งชาติ เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแลชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาส ทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้. นี้คือ ความไม่ตั้งอยู่ได้ แห่งทุกข์
(๓)ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยจมูกด้วย กลิ่นทั้งหลายด้วย จึงเกิดฆานวิญญาณการประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการ (จมูก+กลิ่น+ฆานวิญญาณ)นั่นคือผัสสะ เพราะมี ผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะ ความจาง คลายดับไปไม่เหลือแห่งตัณหานั้นนั่นแหละ จึงความดับแห่งอุปาทาน เพราะมีความ ดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ
โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ นี้คือ ความไม่ตั้งอยู่ได้แห่งทุกข์.
(๔) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยลิ้น ด้วยรสทั้งหลายด้วย จึงเกิดชิวหาวิญญาณ การประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการ (ลิ้น+รส+ชิวหาวิญญาณ) นั่นคือ ผัสสะ เพราะมี ผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัยจึงมี ตัณหา เพราะ ความจาง คลายดับไปไม่เหลือแห่งตัณหานั้นนั่นแหละจึงความดับแห่งอุปาทาน เพราะมีความ ดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแลชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลงแห่ง กองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้ นี้คือ ความไม่ตั้งอยู่ได้แห่งทุกข์.
(๕) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะอาศัยกายด้วย โผฏฐัพพะทั้งหลายด้วย จึงเกิด กายวิญญาณ การประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการ (กาย+โผฏฐัพพะ+กายวิญญาณ) นั่นคือผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมี ตัณหา เพราะความจางคลาย ดับไปไม่เหลือแ ห่งตัณหา นั้นนั่นแหละจึงความดับแห่ง อุปาทาน เพราะมีความดับแห่ง อุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ เพราะมีความดับ แห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะ โทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลง แห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการ อย่างนี้ นี้คือ ความไม่ตั้งอยู่ได้แห่งทุกข์.
(๖) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยใจด้วย ธัมมารมณ์ทั้งหลายด้วย จึงเกิด มโนวิญญาณ การประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการ (ใจ+ธัมมารมณ์+มโนวิญญาณ) นั่นคือผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะความจางคลายดับไปไม่เหลือ แห่งตัณหา นั้นแหละ จึงมีความดับแห่งอุปทาน เพราะมีความดับแห่งอุปทาน จึงมีความดับแห่งภพ เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความ ดับแห่งชาติ เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส อุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้. นี้คือ ความไม่ตั้งอยู่ได้แห่งทุกข์.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล คือความไม่ตั้งอยู่ได้แห่งทุกข์.
การสิ้นกรรม ตามแบบของปฏิจจสมุปบาท๑ ดูก่อนวัปปะ! ถ้าท่านจะพึงยินยอม ข้อที่ ควรยินยอม และคัดค้านข้อที่ควรคัดค้านต่อเรา. อนึ่ง ท่านไม่รู้ความแห่งภาษิตของเรา ข้อใด ท่านพึงซักถามเราในข้อนั้น ให้ยิ่งขึ้นไปว่า ข้อนี้เป็นอย่างไร เนื้อความแห่งภาษิต ข้อนี้ เป็นอย่างไรเล่าท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้วไซร้ การสนทนาระหว่างเราทั้งสองก็จะพึง มีได้.
ครั้นวัปปะศากยะ ได้ตกลงยินยอมในข้อนั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัส ข้อความ ดังต่อไปนี้
ดูก่อนวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร? คือ อาสวะทั้งหลายเหล่าใดเกิดขึ้น เพราะ กายสมารัมภะเป็นปัจจัย แล้วทำความคับแค้นเร่าร้อน
เมื่อบุคคลเว้นขาดแล้วจากกายสมารัมภะ อาสวะทั้งหลาย อันทำความคับแค้น เร่าร้อน เหล่านั้น ย่อมไม่มี บุคคลนั้น ย่อมไม่กระทำซึ่งกรรมใหม่ด้วยและย่อม กระทำกรรมเก่า ที่ถูกต้อง แล้ว ๆ ให้สิ้นไปด้วย. ปฏิปทาเป็นเครื่องสิ้นกรรมอย่างนี้ เป็นธรรมอันผู้ปฏิบัติ พึงเห็นเอง ไม่รู้จักเก่า ไม่ประกอบด้วยสากล ควรเรียกกันมาดู พึงน้อมเข้ามาในตน เป็นธรรมที่ผู้รู้ ทั้งหลายพึงรู้ได้เฉพาะตน.
ดูก่อนวัปปะ!อาสวะทั้งหลาย อันเป็นไปเพื่อทุกขเวทนา จะพึงไหลไปตามบุรุษ ในกาลต่อไป เบื้องหน้า เนื่องมาแต่ฐานะใดเป็นเหตุ ท่านย่อมรู้ซึ่งฐานะนั้นหรือไม่ ("ข้อนั้นหามิได้พระเจ้าข้า") ดูก่อนวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร? คือ อาสวะทั้งหลายเหล่าใด เกิดขึ้นเพราะ วจีสมารัมภะเป็นปัจจัย แล้วทำความคับแค้น เร่าร้อนเมื่อบุคคลเว้นขาดแล้วจาก วจีสมารัมภะ อาสวะทั้งหลาย อันทำความ คับแค้นเร่าร้อนเหล่านั้น ย่อมไม่มี บุคคลนั้น ย่อมไม่กระทำซึ่งกรรมใหม่ด้วย และย่อมกระทำกรรมเก่า ที่ถูกต้องแล้ว ๆ ให้สิ้นไปด้วย.
ปฏิปทาเป็นเครื่องสิ้นกรรมอย่างนี้ เป็นธรรมอันผู้ปฏิบัติพึงเห็นเอง ไม่รู้จักเก่า ไม่ประกอบ ด้วยสากล ควรเรียกกันมาดู พึงน้อมเข้ามาในตน เป็นธรรมที่ผู้รู้ทั้งหลายพึงรู้ได้เฉพาะตน. ดูก่อนวัปปะ อาสวะทั้งหลาย อันเป็นไปเพื่อทุกขเวทนา จะพึงไหลไปตามบุรุษ ในกาล ต่อไป เบื้องหน้าเนื่องมาแต่ฐานะใดเป็นเหตุ ท่านย่อมรู้ซึ่งฐานะนั้นหรือไม่? ("ข้อนั้นหามิได้พระเจ้าข้า!")
ดูก่อนวัปปะ! ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร? คือ อาสวะทั้งหลายเหล่าใด เกิดขึ้น เพราะ มโน สมารัมภะเป็นปัจจัย แล้วทำความคับแค้นเร่าร้อน เมื่อบุคคลเว้นขาด แล้วจากมโน สมารัมภะอาสวะทั้งหลาย อันทำความคับแค้นเร่าร้อนเหล่านั้น ย่อมไม่มี บุคคลนั้น ย่อมไม่กระทำซึ่งกรรม ใหม่ด้วยและย่อม กระทำกรรมเก่า ที่ถูกต้องแล้วๆ ให้สิ้นไปด้วย.
ปฏิปทาเป็นเครื่องสิ้นกรรมอย่างนี้เป็นธรรมอันผู้ปฏิบัติพึงเห็นเอง ไม่รู้จักเก่า ไม่ประกอบ ด้วยสากล ควรเรียกกันมาดูพึงน้อมเข้ามาในตน เป็นธรรมที่ผู้รู้ทั้งหลายพึงรู้ได้เฉพาะตน. ดูก่อนวัปปะ! อาสวะทั้งหลาย อันเป็นไปเพื่อทุกขเวทนา จะพึงไหลไปตามบุรุษ ในกาล ต่อไปเบื้องหน้าเนื่อง มาแต่ฐานะใดเป็นเหตุ ท่านย่อมรู้ซึ่งฐานะนั้นหรือไม่? ("ข้อนั้นหามิได้พระเจ้าข้า!")
ดูก่อนวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร? คือ อาสวะทั้งหลายเหล่าใด เกิดขึ้น เพราะ อวิชชาเป็นปัจจัย แล้วทำความดับแค้นเร่าร้อน เพราะการเกิดขึ้นแห่งวิชชา เพราะความ สำรอกออกเสียได้หมดซึ่งอวิชชา อาสวะทั้งหลายอันทำ ความคับแค้น เร่าร้อนเหล่านั้น ย่อมไม่ม บุคคลนั้น ย่อมไม่กระทำซึ่งกรรมใหม่ด้วย และย่อม กระทำ กรรมเก่าที่ถูกต้อง แล้ว ๆ ให้สิ้นไปด้วย. ปฏิปทาเป็นเครื่องสิ้นกรรมอย่างนี้ เป็นธรรมอันผู้ปฏิบัติพึงเห็นเอง ไม่รู้จักเก่า ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกกันมาดู พึงน้อม เข้ามาในตน เป็นธรรมที่ผู้รู้ ทั้งหลายพึงรู้ได้เฉพาะตน.
ดูก่อนวัปปะ อาสวะทั้งหลาย อันเป็นไปเพื่อทุกขเวทนา จะพึงไหลไปตามบุรุษ ในกาล ต่อไป เบื้องหน้า เนื่องมาแต่ฐานะใดเป็นเหตุ ท่านย่อมรู้ซึ่งฐานะนั้นหรือไม่? ("ข้อนั้นหามิได้พระเจ้าข้า!")
ดูก่อนวัปปะ เมื่อภิกษุมีจิตหลุดพ้นโดยชอบอย่างนี้แล้ว สตตวิหารธรรม๑ทั้งหลาย ๖ ประการ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นถึงทับแล้วภิกษุนั้นเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว
ไม่เป็นผู้ดีใจ ไม่เป็นผู้เสียใจ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ ฟังเสียงด้ย โสตะแล้ว ... รู้สึกกลิ่นด้วยฆ านะแล้ว... ลิ้มรสด้วยชิวหาแล้ว... ถูกต้องสัมผัสผิวหนัง ด้วยผิวกายแล้ว... รู้สึก ธัมมารมณ์ด้วยมโนแล้ว ไม่เป็นผู้ดีใจไม่เป็นผู้เสียใจ เป็นผู้อยู่ อุเบกขา มีสติ สัมปชัญญะอยู่.
ภิกษุนั้น เมื่อเสวยด้วยเวทนามีกายเป็นที่สุดรอบอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยซึ่งเวทนา มีกายเป็น ที่สุดรอบอยู่ เมื่อเสวยซึ่งเวทนามีชีวิตเป็นที่สุดรอบอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวย ซึ่งเวทนามีชีวิต เป็นที่สุดรอบอยู่ เธอย่อมรู้ชัดว่า "เวทนาทั้งหลายทั้งปวง อันเราไม่ เพลิดเพลินแล้ว จักเป็น ของเย็นในอัตตภาพนี้นั่นเทียว จนกระทั่งถึงที่สุดรอบแห่ง ชีวิต เพราะการแตก ทำลาย แห่งกาย" ดังนี้.
ดูก่อนวัปปะ เปรียบเหมือนเงาย่อมปรากฏเพราะอาศัยเสาสดมภ์ (ถูณะ)ลำดับนั้น บุรุษถือ เอา มาซึ่งจอบและตะกร้า เขาตัดซึ่งเสานั้นที่โคน ครั้นตัดที่โคนแล้วพึงขุด ครั้นขุดแล้ว พึงรื้อซึ่งราก ทั้งหลาย ไม่ให้เหลือแม้ที่สุดสักแต่ว่าเท่าต้นแฝก.
บุรุษนั้น พึงตัดซึ่งเสานั้น ให้เป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่ ครั้นตัดซึ่งเสานั้นให้เป็นท่อนน้อย ท่อนใหญ่ แล้ว พึงผ่า ครั้นผ่า แล้ว พึงจักให้เป็นซีกเล็ก ๆ ครั้นจักให้เป็นซีกเล็ก ๆ แล้วพึงผึ่งให้แห้งในลม และ แดด ครั้นผึ่งให้แห้งในลมและแดดแล้ว พึงเผาด้วยไฟ ครั้นเผาด้วยไฟแล้วพึง ทำให้เป็นผง เถ้าถ่าน ครั้นทำให้เป็นผลเถ้าถ่านแล้ว พึงโปรย ไปในกระแสลมอันพัดจัด หรือว่าพึงให้ ลอยไป ในกระแสอันเชี่ยวแห่งแม่น้ำ.
ดูก่อนวัปปะ เงาอันใด ที่อาศัยเสาสดมภ์ เงาอันนั้นย่อมถึงซึ่งความมีมูลเหตุอันขาดแล้ว ถูกกระทำ เหมือนตาลมีขั้วยอดอันด้วน กระทำให้ถึงความไม่มี มีอันไม่บังเกิดขึ้นต่อไปเป็น ธรรมดา นี้ฉันใด ดูก่อนวัปปะ! ข้อนี้ก็ฉันนั้น กล่าวคือ เมื่อภิกษุมีจิตหลุดพ้นโดยชอบ อย่างนี้แล้ว สตตวิหารธรรม ทั้งหลาย ๖ ประการ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นถึงทับแล้ว ภิกษุนั้น
เห็นรูปด้วยจักษุแล้วไม่เป็นผู้ดีใจ ไม่เป็นผู้เสียใจ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ ฟังเสียง ด้วยโสตะแล้ว...รู้สึกกลิ่นด้วยฆานะแล้ว..ลิ้มรสด้วยชิวหาแล้ว...ถูกต้อง สัมผัสผิวหนังด้วยผิวกาย แล้ว...รู้สึกธัมมารมณ์ด้วยมโนแล้วไม่เป็นผู้ดีใจ ไม่เป็นผู้เสียใจ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่.
ภิกษุนั้น เมื่อเสวยซึ่งเวทนามีกายเป็นที่สุดรอบอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยซึ่งเวทนามีกาย เป็นที่สุดรอบอยู่ เมื่อเสวยซึ่งเวทนามีชีวิตเป็นที่สุดรอบอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยซึ่งเวทนา มีชีวิตเป็นที่สุดรอบอยู่ เธอย่อมรู้ชัดว่า "เวทนาทั้งหลายทั้งปวง อันเราไม่เพลิดเพลินแล้ว จักเป็นของเย็นในอัตตภาพนี้นั่นเทียว จนกระทั่งถึงที่สุดรอบแห่งชีวิต เพราะการแตก ทำลายแห่งกาย" ดังนี้.
ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว วัปปศากยะผู้เป็นสาวกแห่งนิครนถ์ ได้กราบ ทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เปรียบเหมือนบุรุษผู้ต้องการกำไร พึงเลี้ยง ลูกม้าไว้ขาย เขาไม่ได้กำไร ด้วยเป็นผู้มีส่วนแห่งความลำบากเดือดร้อนอย่างยิ่งด้วย นี้ฉันใด ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ! ข้อนี้ก็ฉันนั้น คือข้าพระองค์ผู้ต้องการด้วยประโยชน์ ได้เข้าไปคบหาซึ่ง นิครนถ์ทั้งหลายผู้อ่อน ด้วยปัญญา.
ข้าพระองค์นั้นไม่ได้กำไรด้วยเป็นผู้มีส่วนแห่งความลำบากเดือดร้อนอย่างยิ่งด้วย. ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ข้าพระองค์ขอโปรยเสียซึ่งความเลื่อมใส ในนิครนถ์ ทั้งหลายผู้อ่อน ด้วยปัญญา ในกระแสลมอันพัดจัด หรือว่าลอยเสียซึ่งความ เลื่อมใสนั้น ในกระแสอันเชี่ยวแห่ง แม่น้ำ.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ!วิเศษนัก
พระเจ้าข้า วิเศษนัก พระเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เปรียบ เหมือน บุคคลหงายของที่คว่ำอยู่หรือว่าเปิดของที่ปิดอยู่ หรือว่าบอกหนทางให่แก่ บุคคล ผู้หลงทาง หรือว่าจุดประทีปอันโพลงขึ้น ด้วยน้ำมัน ไว้ในที่มืด ด้วยความหวังว่า ผู้มีจักษุทั้งหลาย จักได้เห็นรูปทั้งหลาย ฉันใด ธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าประกาศแล้ว โดยปริยายเป็นอเนก ก็ฉันนั้น.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ข้าพระองค์ขอถึงซึ่งพระผู้มีพระภาคด้วย ซึ่งพระธรรมด้วย ซึ่งพระสงฆ์ด้วย ว่าเป็นสรณะ. ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า จงทรงถือว่า ข้าพระองค์เป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะแล้ว จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป จนตลอดชีวิต" ดังนี้ แล.
หน้า 207
อายตนะยังไม่ทำหน้าที่ปัญจุปาทานขันธ์ ก็ยังไม่เกิด
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เปรียบเหมือนอวกาศถูกแวดล้อมปิดกั้นไว้แล้ว (ส่วนหนึ่ง) โดยอาศัยไม้ด้วย เถาวัลย์ด้วย ดินเหนียวด้วย หญ้าด้วย ย่อมถึงซึ่งการนับว่า"เรือน" ดังนี้ฉันใด ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อวกาศถูกแวดล้อมปิดกั้นไว้แล้ว (ส่วนหนึ่ง) โดยอาศัยกระดูกด้วย เอ็นด้วยเนื้อด้วยหนังด้วย ยอมถึงซึ่งการ นับว่า"รูป (กาย)" ดังนี้ ฉันนั้น.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย แม้หากว่า จักษุ (ตา) อันเป็นอายตนะภายใน เป็นของ ไม่แตก ทำลาย และรูป ทั้งหลายอันเป็นอายตนะภายนอกก็ยังไม่มาสู่คลอง (แห่งจักษุ) ทั้งสมันนาหาร จิต๒อันเกิดจาก อายตนะ๒ อย่างนั้นก็ไม่มี
แล้วไซร้ ความปรากฏแห่งส่วนของวิญญาณอันเกิดจากอายตนะ๒อย่างนั้น ก็ยังจะ ไม่มีก่อน.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! แม้หากว่า จักษุอันเป็นอายตนะภายในเป็นของไม่แตก ทำลาย และรูปทั้งหลาย อันเป็นอายตนะภายนอกก็มาสู่คลอง(แห่งจักษุ) แต่ว่า สมันนาหารจิตอันเกิดจาก อายตนะ๒อย่างนั้นก็ไม่มี แล้วไซร้ ความปรากฏแห่งส่วน ของวิญญาณอันเกิดจากอายตนะ๒ อย่างนั้น ก็ยังจะไม่มีอยู่นั่นเอง
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย!ก็แต่ว่าในกาลใดแลจักษุอันเป็นอายตนะภายในนั่นเทียวเป็นของ ไม่แตกทำลาย และ รูปทั้งหลายอันเป็นอายตนะภายนอก ก็มาสู่คลอง (แห่งจักษุ) ทั้งสมันนา หารจิต อันเกิดจาก อายตนะ๒ อย่างนั้นก็มีด้วย แล้วไซร้ เมื่อเป็นดังนี้ความปรากฏแห่งส่วน ของ วิญญาณ อันเกิดจาก
อายตนะ ๒ อย่างนั้น ย่อมมี ในกาลนั้น.
รูปใด (ที่เป็นของเกิดร่วม) แห่งสมันนาหารจิตอันเกิดแล้วอย่างนั้นรูปนั้นย่อมถึงซึ่งการ สังเคราะห์ ในรูปูปาทานขันธ์ เวทนาใด (ที่เป็นของเกิดร่วม)แห่งสมันนาหารจิตอัน เกิดแล้ว อย่างนั้น เวทนา นั้นย่อมถึงซึ่งการสงเคราะห์ใน เวทนูปาทานขันธ์ สัญญาใด (ที่เป็นของเกิดร่วม) แห่ง สมันนาหารจิต อันเกิดแล้วอย่างนั้นสัญญานั้นย่อมถึงซึ่งการ สงเคราะห์ ในสัญญูปาทานขันธ์ สังขารทั้งหลายเหล่าใด (ที่เป็นของเกิดร่วม) แห่ง สมันนาหารจิตอันเกิดแล้วอย่างนั้น สังขาร ทั้งหลาย เหล่านั้นย่อมถึงซึ่งการสงเคราะห์ ในสังขารูปาทานขันธ์ วิญญาณใด (ที่เป็นของเกิด ร่วม) แห่งสมันนาหารจิตอันเกิดแล้วอย่างนั้น วิญญาณนั้นย่อมถึงซึ่ง การสงเคราะห์ ใน วิญญาณูปาทานขันธ์.
ภิกษุย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่าได้ยินว่าการสงเคราะห์การประชุมพร้อมการรวมหมู่กันแห่งอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เหล่านี้ ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้.ก็แลคำนี้เป็นคำที่พระผู้มีพระ ภาคเจ้าได้ตรัสแล้วว่า "ผู้ใดเห็นปฏิจจ-สมุปบาท ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นปฏิจจ สมุปบาท" ดังนี้ธรรมทั้งหลายเหล่านี้ชื่อว่า ปฏิจจสมุปปันนธรรม กล่าวคือปัญจุปาทานขันธ์ ทั้งหลาย. ธรรมใดเป็นความเพลินเป็น ความอาลัยเป็นความ ติดตามเป็นความสยบมัวเมาใน อุปาทานขันธ์ทั้งหลาย๕ประการเหล่านี้ ธรรมนั้นชื่อว่า
ทุกขสมุทัย (เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์) ธรรมใดเป็นความนำออกซึ่งฉันทราคะเป็นความ ละขาด ซึ่งฉันทราคะ ในอุปาทานขันธ์ทั้งหลาย๕ประการเหล่านี้ธรรมนั้นชื่อว่าทุกขนิโรธ (ความดับไม่เหลือ แห่ง ทุกข์) ดังนี้.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ด้วยการปฏิบัติมีประมาณเพียงเท่านี้แล คำสอนของพระผู้มีพระภาค เจ้าชื่อว่าเป็นสิ่ง ที่ภิกษุ ประพฤติกระทำใ ห้มากแล้ว.
.... .... .... ....
(จบข้อความอันเกี่ยวกับอายตนะที่หนึ่ง คือตากับรูป ดังนี้แล้ว ต่อไปนี้ เป็นข้อความที่เกี่ยว กับ อายตนะ ที่สอง เป็นลำดับต่อไป จนถึงอายตนะที่หก ซึ่งในที่นี้จะละไว้ด้วย...ฯลฯ... สำหรับอายตนะที่สอง ถึงอายตนะ ที่ห้า แล้วจะใส่ข้อความเต็มสำหรับอายตนะที่หก อีกครั้งหนึ่ง ขอให้สังเกตจนเข้าใจได้ตามนี้)
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! แม้หากว่า โสต (หู) อันเป็นอายตนะภายในเป็นของไม่แตกทำลาย และเสียงทั้งหลายอันเป็นอายตนะภายนอกก็ยังไม่มาสู่คลอง (แห่งโสต)...ฯลฯ...ฯลฯ ...ฯลฯ... ภิกษุประพฤติกระทำให้มากแล้ว.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! แม้หากว่า ฆาน (จมูก) อันเป็นอายตนะภายในเป็นของ ไม่แตก ทำลาย และกลิ่นทั้งหลายอันเป็นอายตนะภายนอกก็ยังไม่มาสู่คลอง (แห่งฆาน)...ฯลฯ...ฯลฯ ...ฯลฯ... ภิกษุประพฤติกระทำให้มากแล้ว.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! แม้หากว่าชิวหา (ลิ้น) อันเป็นอายตนะภายในเป็นของ ไม่แตก ทำลาย และรสทั้งหลายอันเป็นอายตนะภายนอกก็ยังไม่มาสู่คลอง (แห่งชิวหา),...ฯลฯ...ฯลฯ... ฯลฯ... ภิกษุประพฤติกระทำให้มากแล้ว.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! แม้หากว่า กาย อันเป็นอายตนะภายในเป็นของไม่แตกทำลาย และโผฏฐัพพะ ทั้งหลายอันเป็นอายตนะภายนอกก็ยังไม่มาสู่คลอง (แห่งกาย ..ฯลฯ ...ฯลฯ ...ฯลฯ ... ภิกษุประพฤติกระทำให้มากแล้ว.
.... .... .... ....
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! แม้หากว่า มโน (ใจ) อันเป็นอายตนะภายในเป็นของไม่แตกทำลาย และธัมมารมณ์ ทั้งหลายอันเป็นอายตนะภายนอก
ก็ยังไม่มาสู่คลอง (แห่งมโน) ทั้งสมันนาหารจิตอันเกิดจากอายตนะ๒ อย่างนั้นก็ไม่มีแล้วไซร้ความ ปรากฏ แห่งส่วนของวิญญาณ อันเกิดจากอายตนะ๒อย่างนั้น ก็ยังจะไม่มีก่อน.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! แม้หากว่า มโนอันเป็นอายตนะภายใน เป็นของไม่แตกทำลาย และ ธัมมารมณ์ ทั้งหลายอันเป็นอายตนะภายนอก ก็ยังไม่มาสู่คลอง(แห่งมโน) แต่ว่าสมันนาหารจิต อันเกิดจากอายตนะ๒ อย่างนั้นยังไม่มี แล้วไซร้ความปรากฏแห่งส่วน ของวิญญาณอันเกิดจาก อายตนะ๒อย่างนั้น ก็ยังจะไม่มีอยู่นั่นเอง.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! ก็แต่ว่า ในกาลใดแลมโนอันเป็นอายตนะภายใน นั่นเทียวเป็นของ ไม่แตกทำลาย และธัมมารมณ์ทั้งหลายอันเป็นอายตนะภายนอก ก็มาสู่คลอง (แห่งมโน) ทั้งสมันนาหารจิต อันเกิดจาก อายตนะ๒ อย่างนั้นก็มีด้วย แล้วไซร้เมื่อเป็นดังนี้ความปรากฏ แห่งส่วน ของวิญญาณ อันเกิดจากอายตนะ ๒ อย่างนั้น ย่อมมี ในกาลนั้น.
รูปใด (ที่เป็นของเกิดร่วม) แห่งสมันนาหารจิตอันเกิดแล้วอย่างนั้นรูปนั้น ย่อมถึงซึ่งการ สังเคราะห์ ใน รูปูปาทานขันธ์ เวทนาใด (ที่เป็นของเกิดร่วม)แห่งสมันนาหารจิตอันเกิด แล้วอย่างนั้น เวทนา นั้น ย่อมถึง ซึ่งการสงเคราะห์ในเวทนูปาทานขันธ์สัญญาใด (ที่เป็นของเกิดร่วม) แห่งสมันนาหารจิต อันเกิดแล้วอย่างนั้น สัญญานั้น ย่อมถึงซึ่งการสง เคราะห์ใน สัญญูปาทาน ขันธ์ สังขารทั้งหลายเหล่าใด (ที่เป็นของเกิดร่วม)แห่ง สมันนาหารจิต อันเกิดแล้วอย่างนั้น สังขารทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมถึงซึ่งการ สงเคราะห์ใน สังขารูปาทานขันธ์ วิญญาณใด
(ที่เป็นของที่เกิดร่วม) แห่งสมันนาหารจิตอันเกิดแล้วอย่างนั้น วิญญาณนั้น ย่อมถึงซึ่งการ สงเคราะห์ใน วิญญาณูปาทานขันธ์.
ภิกษุย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ได้ยินว่า การสงเคราะห์ การประชุมพร้อมการรวมหมู่
กันแห่งอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เหล่านี้ ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้.ก็แลคำนี้เป็นคำที่พระผู้มี พระภาคเจ้า ได้ตรัสแล้วว่า"ผู้ใดเห็นปฏิจจ-สมุปบาทผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม ผู้ใดเห็น ธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นปฏิจจ สมุปบาท"ดังนี้ธรรมทั้งหลายเหล่านี้ชื่อว่าปฏิจจสมุปปันน ธรรมกล่าว คือปัญจุปาทาน-ขันธ์ทั้งหลาย.
ธรรมใดเป็นความเพลินเป็นความอาลัยเป็นความติดตามเป็นความสยบมัวเมาใน อุปาทาน ขันธ์ ทั้งหลาย๕ ประการเหล่านี้ ธรรมนั้นชื่อว่าทุกขสมุทัย (เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์)
ธรรมใดเป็นความนำออกซึ่งฉันทราคะเป็นความละขาดซึ่งฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ทั้งหลาย๕ ประการเหล่านี้ ธรรมนั้นชื่อว่าทุกขนิโรธ (ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์) ดังนี้.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ด้วยการปฏิบัติมีประมาณเพียงเท่านี้แล คำสอนของ พระผู้มี พระภาคเจ้า ชื่อว่าเป็นสิ่ง ที่ภิกษุประพฤติกระทำให้มากแล้วดังนี้แล
หน้า 213
ปัญจุปาทานขันธ์เพิ่งจะมีเมื่อเกิดเวทนาในปฏิจจสมุปบาท
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งจักษุ ตามที่เป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งรูปทั้งหลาย ตามที่เป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งจักษุวิญญาณ ตามที่เป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งจักษุสัมผัส ตามที่เป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งเวทนาอันเกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัส เป็น ปัจจัย อันเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ตาม ตามที่เป็นจริง แล้ว เขาย่อม กำหนัดในจักษุ กำหนัดในรูปทั้งหลาย กำหนัดในจักขุวิญญาณ กำหนัดในจักขุ สัมผัส และกำหนัดในเวทนา อันเกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย อันเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ ก็ตาม ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ตาม ตามที่เป็นจริง.
เมื่อบุคคลนั้นกำหนัดแล้ว ติดพันแล้ว ลุ่มหลงแล้ว จ้องมองต่ออัสสาทะอยู่ ปัญจุ-ปาทานขันธ์ทั้งหลาย ย่อมถึงซึ่งความก่อเกิดต่อไป และตัณหาของเขาอันเป็น เครื่องนำ ไปสู่ภพใหม่ อันประกอบอยู่ด้วยความ กำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน เป็นเครื่อง ทำให้เพลิน อย่างยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ ย่อมเจริญถึงที่สุด แก่เขา ความกระวนกระวาย
(ทรถ) แม้นทางกาย ย่อมเจริญถึงที่สุด แก่เขา ความกระวนกระวาย แม้ทางจิตย่อม เจริญถึงที่สุด แก่เขา ความแผดเผา (สนฺตาป) แม้ทางกาย ย่อมเจริญถึงที่สุด แก่เขา ความแผดเผา แม้ทางจิต ย่อมเจริญถึงที่สุด แก่เขา ความเร่าร้อน (ปริฬาห)แม้ทางกาย ย่อมเจริญถึงที่สุด แก่เขา ความเร่าร้อน แม้ทางจิต ย่อมเจริญถึงที่สุด แก่เขา บุคคลนั้น ย่อม เสวยซึ่งความทุกข์ อันเป็นไปทางกาย ด้วย ซึ่งความทุกข์อันเป็นไปทางจิต ด้วย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งโสตะ ตามที่เป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งเสียง ทั้งหลาย ตามที่เป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งโสตวิญญาณตามที่เป็นจริง...ฯลฯ...ฯลฯ...บุคคลนั้น ย่อมเสวย ซึ่งความทุกข์ อันเป็นไปทางกาย ด้วย ซึ่งความทุกข์อันเป็นไปทางจิต ด้วย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งฆานะ ตามที่เป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งกลิ่นทั้งหลาย ตามที่เป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งฆานวิญญาณตาม ที่เป็นจริง ...ฯลฯ...ฯลฯ...บุคคลนั้น ย่อมเสวย ซึ่งความทุกข์อันเป็นไปทางกายด้วย ซึ่งความทุกข์อันเป็นไปทางจิต ด้วย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งชิวหา ตามที่เป็นจริง,เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งรสทั้งหลาย ตามที่เป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งชิวหาวิญญาณตามที่เป็นจริง ...ฯลฯ...ฯลฯ... บุคคลนั้น ย่อมเสวยซึ่ง ความทุกข์อันเป็นไปทางกาย ด้วย ซึ่งความทุกข์อันเป็นไปทางจิต ด้วย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งกาย ตามที่เป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งโผฏฐัพพะทั้งหลาย ตามที่เป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งกายวิญญาณ
ตามที่เป็นจริง...ฯลฯ...ฯลฯ..บุคคลนั้น ย่อมเสวยซึ่งความทุกข์อันเป็นไปทางกาย ด้วย ซึ่งความทุกข์อันเป็นไปทางจิต ด้วย
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งมโน ตามที่เป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งธัมมารมณ์ ทั้งหลาย ตามที่เป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งมโนวิญญาณตามที่เป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งมโนสัมผัส ตามที่เป็นจริง, เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งเวทนาอันเกิดขึ้นเพราะ มโนสัมผัสเป็นปัจจัย อันเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ตาม ตามที่เป็นจริง แล้ว
เขาย่อมกำหนัดในมโน กำหนัดในธัมมารมณ์ทั้งหลาย กำหนัดในมโนสัมผัสและ กำหนัดในเวทนา อันเกิดขึ้น เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย อันเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ ก็ตาม ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ตาม เมื่อบุคคลนั้นกำหนัด แล้ว ติดพันแล้ว ลุ่มหลงแล้ว จ้องมอง ต่ออัสสาทะอยู่ ปัญจุปาทาน ขันธ์ ทั้งหลาย ย่อมถึงซึ่งความก่อเกิด ต่อไป และ ตัณหา ของเขาอันเป็นเครื่องนำไปสู่ ภพใหม่ อันประกอบอยู่ด้วยความกำหนัด ด้วย อำนาจ ความเพลิน เป็นเครื่องทำให้เพลิน อย่างยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ ย่อมเจริญถึงที่สุด แก่เขา
ความกระวนกระวาย (ทรถ)แม้ทางกาย ย่อมเจริญถึงที่สุด แก่เขา ความกระวน กระวาย แม้ทางจิต ย่อมเจริญ ถึงที่สุดแก่เขา ความแผดเผา (สนฺตาป) แม้ทางกาย ย่อมเจริญถึง ที่สุด แก่เขา ความแผดเผาแม้ทางจิต ย่อมเจริญถึงที่สุด แก่เขา ความเร่าร้อน(ปริฬาห) แม้ทางกาย ย่อมเจริญถึงที่สุด แก่เขา ความเร่าร้อน แม้ทางจิต ย่อมเจริญถึงที่สุด แก่เขา บุคคลนั้น ย่อมเสวยซึ่ง ความทุกข์อันเป็นไปทางกาย ด้วย ซึ่งความทุกข์ อันเป็นไป ทางจิต ด้วย.
หน้า 216
การเกิดแห่งโลก คือการเกิดแห่งปฏิจจสมุปบาท
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง ซึ่งความก่อขึ้นแห่งโลก แก่พวกเธอทั้งหลาย. พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความ ข้อนั้น จงทำในใจให้สำเร็จประโยชน์ เราจักกล่าวบัดนี้. ครั้นภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น ทูลสนองรับพระพุทธดำรัส แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัส ถ้อยคำเหล่านี้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ความก่อขึ้นแห่งโลก เป็นอย่างไรเล่า?
(๑) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยตาด้วย รูปทั้งหลายด้วย จึงเกิดจักขุวิญญาณ การประจวบ พร้อมแห่งธรรม ๓ ประการ (ตา+รูป+จักขุวิญญาณ)นั่นคือผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะมีภพเป็นปัจจัยจึง มีชาติ เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วย นี้คือ ความก่อเกิด แห่งโลก.
(๒) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะอาศัยหูด้วย เสียงทั้งหลายด้วย จึงเกิดโสตะวิญญาณ การประจวบพร้อม แห่งธรรม ๓ ประการ (โสตะ+เสียง+โสตะวิญญาณ) นั่นคือผัสสะ ...ฯลฯ...
(๓)ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะอาศัยจมูกด้วย กลิ่นทั้งหลายด้วย จึงเกิดฆานวิญญาณ การประจวบพร้อม แห่งธรรม ๓ ประการ (จมูก+กลิ่น+ฆานวิญญาณ) นั่นคือผัสสะ...ฯลฯ...
(๔) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยลิ้นด้วย รสทั้งหลายด้วย จึงเกิดชิวหาวิญญาณ การประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการ (ลิ้น+รส+ชิวหาวิญญาณ) นั่นคือผัสสะ ...ฯลฯ...
(๕) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยกายด้วย โผฏฐัพพะทั้งหลายด้วย จึงเกิดกาย วิญญาณ การประจวบพร้อม แห่งธรรม ๓ ประการ (กาย+โผฏฐัพพะ+กายวิญญาณ) นั่นคือผัสสะ ...ฯลฯ...
(๖) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยใจด้วย, ธัมมารมณ์ทั้งหลายด้วย จึงเกิดมโน วิญญาณ การประจวบพร้อม แห่งธรรม ๓ ประการ (ใจ+ธัมมารมณ์+มโนวิญญาณ) นั่นคือผัสสะ เพราะมี ผัสสะ เป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะมีภพ เป็นปัจจัยจึงมีชาติ เพราะมีชาติเป็น ปัจจัย ชรามรณะโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส อุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน นี้คือ ความก่อ เกิดขึ้นแห่งโลก.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล คือความก่อขึ้นแห่งโลก.
หน้า 218
ทุกข์เกิดเพราะเห็นอุปาทานิยธรรมโดยความเป็นอัสสทะ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเป็นผู้มีปรกติ เห็นโดยความเป็นอัสสาทะ(น่ารักน่ายินดี) ในธรรมทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน (อุปาทานิยธรรม)๒ อยู่ตัณหา ย่อมเจริญอย่าง ทั่วถึง. เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะ โทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อมแห่ง กองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนไฟกองใหญ่ พึงลุกโพลงด้วยไม้สิบเล่มเกวียนบ้าง ยี่สิบเล่ม เกวียนบ้าง สามสิบเล่มเล่มเกวียนบ้าง สี่สิบเล่มเล่มเกวียนบ้าง. บุรุษพึงเติมหญ้า แห้งบ้าง มูลโคแห้งบ้าง ไม้แห้งบ้าง ลงไปในกองไฟนั้น ตลอดเวลาที่ควรเติมอยู่เป็นระยะ ๆ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยอาการอย่างนี้แล ไฟกองใหญ่ซึ่งมีเครื่องหล่อเลี้ยงอย่างนั้น มีเชื้อเพลิง อย่างนั้น ก็จะลุกโพลงตลอดกาลยาวนาน ข้อนี้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเป็นผู้มีปรกติ เห็นโดยความเป็นอัสสาทะ (น่ารักน่ายินดี)ในธรรมทั้งหลาย อันเป็น ที่ตั้งแห่งอุปาทานอยู่ ตัณหา ย่อมเจริญอย่างทั่วถึง ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะมีตัณหา เป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะมี อุปาทาน เป็นปัจจัยจึงมีภพ เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะมีชาติเป็น ปัจจัย ชรามรณะ
โสกะป ริเท วะทุกขะโท ม นัสอุป ายาสทั้งห ลาย จึงเกิดขึ้น ครบ ถ้วน ความ เกิดขึ้น พร้อมแห่งกองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้ แล.
หน้า 219
ทุกข์เกิด เพราะเห็นสัญโญชนิยธรรมโดยความเป็นอัสสาทะ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เมื่อภิกษุเป็นผู้มีปรกติ เห็นโดยความเป็นอัสสาทะ(น่ารักน่ายินดี) ในธรรม ทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์๒ อยู่, ตัณหาย่อมเจริญอย่างทั่วถึง. เพราะมี ตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะมี อุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะมีชาติเป็น ปัจจัย ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้น พร้อม แห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เปรียบเหมือนประทีปน้ำมัน พึงลุกอยู่ได้เพราะอาศัยซึ่งน้ำมันด้วย ซึ่งไส้ด้วย บุรุษพึง เติมน้ำมัน พึงเปลี่ยนไส้ ให้ใหม่อยู่ ตลอดเวลาที่ควรเติมที่ควรเปลี่ยน อยู่ทุกระยะ ๆ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยอาการอย่างนี้แล ประทีปน้ำมัน ซึ่งมีเครื่องหล่อ เลี้ยง อย่างนั้น มีเชื้อเพลิง อย่างนั้น ก็จะลุกโพลง ตลอดกาลยาวนาน ข้อนี้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุ เป็น ผู้มีปรกติ เห็นโดยความเป็นอัสสาทะ (น่ารักน่ายินดี) ในธรรมทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่ง
สังโยชน์อยู่, ตัณหาย่อมเจริญอย่างทั่วถึง. ฉันนั้นเหมือนกัน. เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมี อุปาทาน เพราะมี อุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะมีภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ เพราะมี ชาติเป็น ปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะ โทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้น ครบถ้วน ความเกิดขึ้น พร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้ แล.
หน้า 220
แดนเกิดดับแห่งทุกข์-โรค-ชรามรณะ
(สูตรที่หนึ่ง อายตนะภายใน หก)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การเกิดขึ้น (อุปฺปาโท) การตั้งอยู่ (ฐิติ) การเกิดโดยยิ่ง (อภินิพพนฺติ) การปรากฏ (ปาตุภาโว) แห่งจักษุ อันใด อันนั้นเป็นการเกิดขึ้นแห่ง
ทุกข์ เป็นการตั้งอยู่แห่งโรค (สิ่งซึ่งมีปรกติเสียบแทง) ทั้งหลาย เป็นการปรากฏออก
แห่งชรา และมรณะ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย และการดับไม่เหลือ (นิโรโธ) การเข้าไปสงบระงับ(วูปสโม) การถึง ซึ่งความตั้งอยู่ไม่ได้ (อตฺถงฺคโม) แห่งจักษุ อันใด อันนั้น เป็นความดับไม่เหลือแห่ง ทุกข์ เป็นการเข้าไปสงบระงับแห่งโรคทั้งหลาย เป็นการถึงซึ่งความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชรา และมรณะ.
(ข้อความในกรณีแห่งจักษุเป็นอย่างไร ข้อความในกรณีแห่งโสตะ ฆานะ ชิวหา กาย มโนก็เป็น อย่างนั้น เหมือนกัน ทุกตัวอักษร ต่างกันแต่ชื่ออายตนะแต่ละอย่าง ๆ เท่านั้น.
ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่าจักษุ โสตะ เป็นต้นเหล่านี้ ดับไปได้โดยที่คนไม่ต้อง ตาย ดังนั้น คำว่าจักษุเป็นต้นนั้นมิได้หมายถึงดวงตา ตามปรกติ แต่หมายถึงดวงตาที่ทำ หน้าที่ของตา แล้วหยุดไปครั้งหนึ่ง ๆ เรียกว่าจักษุเกิดขึ้นจักษุดับไป โดยที่คนไม่ต้อง เกิดใหม่ หรือตายลง โดยร่างกาย และยังจะเห็นได้ชัดต่อไปอีกว่า
ข้อที่ว่าการตั้งอยู่แห่ง จักษุ เป็นการตั้งอยู่ แห่งโรคทั้งหลายนั้น หมายถึงความเสียดแทงของกิเลส ที่เกิดขึ้นจาก การที่ตาเห็นรูป และการปรากฏแห่งจักษุ คือ การปรากฏแห่งชราและมรณะนั้น หมายความ ว่า การเห็นทางตา ทำให้ปัญหาอันเกิดแต่ชราและมรณะ ปรากฏขึ้น ในขณะนั้นนั่นเอง.
ทั้งหมดนี้ มีอาการแห่งปฏิจจสมุปบาท ซ่อนอยู่ในนั้นครบทุกอาการ นับตั้งแต่อวิชชาไป จนถึง กองทุกข์ทั้งสิ้น. ตัวอย่าง เช่น ตาเกิดเป็นตาขึ้นมา เพราะการเห็นรูปแล้วเกิดจักขุ วิญญาณ อันทำให้เกิดการสัมผัสด้วยอำนาจ แห่ง อวิชชา (อวิชชาสัมผัส) ซึ่งย่อมเป็นการปรุงแต่ง (สังขาร) อยู่ในตัวมันเองทุกระยะ จึงได้มีเวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ชรา และความทุกข์ ทุกครั้งที่มีการกระทบทางอายตนะเช่นนี้.)
(สูตรที่สอง : อายตนะภายนอก หก)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การเกิดขึ้น การตั้งอยู่ การเกิดโดยยิ่ง การปรากฏแห่งรูปทั้งหลาย อันใด อันนั้นเป็นการ เกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นการตั้งอยู่แห่งโรคทั้งหลาย เป็นการปรากฏ ออกแห่งชรา และมรณะ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย และการดับไม่เหลือ การเข้าไปสงบระงับ การถึงซึ่งความตั้งอยู่ ไม่ได้ แห่ง รูปทั้งหลาย อันใด อันนั้น เป็น ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นการเข้าไป สงบระงับแห่งโรค ทั้งหลาย เป็นการถึงซึ่งความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชราและมรณะ.
(ข้อความในกรณีแห่งรูป เป็นอย่างไร ข้อความในกรณีแห่งเสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธัมมารมณ์ ก็เป็นอย่างนั้น เหมือนกันทุกตัวอักษร ต่างกันแต่ชื่ออายตนะแต่ละอย่าง ๆ เท่านั้น. ผู้ศึกษาพึง สังเกต ให้เห็นว่า รูป เสียง เป็นต้น เหล่านี้ เกิดดับอยู่ทุกคราวที่ตา เห็นรูป หูได้ยินเสียง เป็นต้น ทุกคราวไปเสร็จกิจครั้งหนึ่ง เรียกว่าดับไป ครั้งหนึ่ง. เพราะทำงานร่วมกันกับอายตนะภายใน จึงมีการเกิดดับพร้อมกัน เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ให้ตั้งอยู่แห่งโรค ให้ชราและมรณะปรากฏ หรือให้มีการดับไปแห่งสิ่งเหล่านั้นในลักษณะ อย่างเดียวกันกับที่กล่าวแล้วในสูตรที่หนึ่ง.)
(สูตรที่ สาม : วิญญาณ หก)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การเกิดขึ้น การตั้งอยู่ การเกิดโดยยิ่ง การปรากฏแห่ง จักขุวิญญาณ อันใด อันนั้น เป็นการ เกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นการตั้งอยู่แห่งโรคทั้งหลาย เป็นการปรากฏออกแห่งชรา และมรณะ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย และการดับไม่เหลือ การเข้าไปสงบระงับ การถึงซึ่งความตั้งอยู่ ไม่ได้ แห่งจักขุวิญญาณ อันใด อันนั้น เป็น ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นการเข้าไป สงบ ระงับแห่งโรค ทั้งหลาย เป็นการถึงซึ่งความตั้ง อยู่ไม่ได้แห่งชราและมรณะ.
(ข้อความในกรณีแห่งจักขุวิญญาณ เป็นอย่างไร ข้อความในกรณีแห่งโสตวิญญาณ ฆาน-วิญญาณ ชิวหา วิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ ก็เป็นอย่างนั้นเหมือนกัน ทุกตัว อักษร ต่างกันแต่ชื่อ ของวิญญาณ ไปตามชื่อ ของทวารอันเป็นที่เกิดของวิญญาณนั้น ๆ. ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า วิญญาณเกิดมาจากการกระทบ ระหว่างอายตนะภายใน และอายตนะภายนอก จนเกิดสัมผัส และเวทนาเป็นต้น จึงเกิดทุกข์ในที่สุด ดังนั้น จึงถือว่าวิญญาณนั้น ๆ ก็เป็นเหตุให้เกิดทุกข์เป็นต้น อย่างเดียวกันกับอายตนะนั่นเอง.)
(สูตรที่ สี่ ผัสสะ หก)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การเกิดขึ้น การตั้งอยู่ การเกิดโดยยิ่ง การปรากฏแห่งจักขุสัมผัส อันใด อันนั้นเป็นการ เกิดขึ้น แห่งทุกข์ เป็นการตั้งอยู่แห่งโรคทั้งหลาย เป็นการปรากฏ ออกแห่งชรา และมรณะ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย และการดับไม่เหลือ การเข้าไปสงบระงับ การถึงซึ่งความตั้งอยู่ ไม่ได้แห่ง จักขุสัมผัส อันใด อันนั้น เป็น ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นการเข้าไป สงบ ระงับแห่งโรค ทั้งหลาย เป็นการถึงซึ่งความ ตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชราและมรณะ.
(ข้อความในกรณีแห่งจักขุสัมผัส เป็นอย่างไร ข้อความในกรณีแห่งโสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหา สัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส ก็เป็นอย่างนั้นเหมือนกัน ทุกตัวอักษร ต่างกันแต่ชื่อ สัมผัสไปตาม ชื่อ ของทวารนั้น ๆ ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า ผัสสะเกิดมาจากการประจวบ พร้อม ของสิ่งทั้งสาม คือ อายตนะภายใน อายตนะ ภายนอก และวิญญาณ เป็นผลให้เกิด เวทนา ตัณหา เป็นต้นจนเกิด ทุกข์ และเป็นที่ตั้งแห่งโรคเป็นต้น โดยนัยะอย่างเดียวกัน กับที่กล่าวแล้วในท้ายสูตรที่หนึ่ง.)
(สูตรที่ ห้า เวทนา หก)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! การเกิดขึ้น การตั้งอยู่ การเกิดโดยยิ่ง การปรากฏแห่ง จักขุ สัมผัสสชา เวทนา อันใด อันนั้นเป็นการเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นการตั้งอยู่แห่งโรค ทั้งหลาย เป็นการปรากฏออกแห่งชราและมรณะ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย และการดับไม่เหลือ การเข้าไปสงบระงับ การถึงซึ่งความตั้งอยู่ ไม่ได้แห่ง จักขุสัมผัสสชาเวทนา อันใด อันนั้น เป็น ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นการเข้าไปสงบระงับ แห่งโรค ทั้งหลาย เป็นการถึงซึ่งความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชรา และมรณะ.
(ข้อความในกรณีแห่งจักขุสัมผัสสชาเวทนา เป็นอย่างไร ข้อความในกรณีแห่งโสต สัมผัสสชา-เวทนา ฆาน สัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชา เวทนา ก็เป็นอย่างนั้น เหมือนกัน ทุกตัวอักษร ต่างกันแต่ชื่อเวทนา ไปตาม ชื่อของทวารนั้นๆ ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่าเวทนาเป็นผล เกิดมาจากผัสสะ แล้วทำให้ เกิดตัณหา อุปาทาน ต่อไปจนถึงกองทุกข์ จึงเป็นที่ตั้งที่ดับแห่งโรคเป็นต้น โดยทำนอง เดียวกัน)
(สูตรที่ หก สัญญา หก)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! การเกิดขึ้น การตั้งอยู่ การเกิดโดยยิ่ง การปรากฏแห่งรูปสัญญา อันใด อันนั้นเป็นการ เกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นการตั้งอยู่แห่งโรคทั้งหลาย เป็นการปรากฏ ออกแห่งชรา และมรณะ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย และการดับไม่เหลือ การเข้าไปสงบระงับ การถึงซึ่งความตั้งอยู่ ไม่ได้ แห่ง รูปสัญญา อันใด อันนั้น เป็น ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นการเข้าไปสงบ ระงับแห่งโรค ทั้งหลาย เป็นการถึงซึ่งความ ตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชราและมรณะ.
(ข้อความ ในกรณี แห่งรูปสัญญา เป็นอย่างไร ข้อความในกรณีแห่งสัททสัญญา คันธสัญญารส สัญญา โผฏฐัพพ สัญญา ธัมมสัญญา ก็เป็นอย่างนั้นเหมือนกัน ทุกตัวอักษร ต่างกันแต่ชื่อ แห่ง สัญญาไปตามชื่อของ อารมณ์นั้น ๆ ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า ความ สำคัญว่ารูป ว่าเสียง เป็นต้นนั่นเอง ทำให้รูปและเสียง เกิดมี ความหมายสำหรับตัณหา และอุปาทาน สัญญาจึงเป็น ที่เกิด แห่งทุกข์และเป็นที่ตั้งแห่ง โรคได้โดยทำนอง เดียวกัน)
(สูตรที่ เจ็ด : สัญเจตนา หก)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การเกิดขึ้น การตั้งอยู่ การเกิดโดยยิ่ง การปรากฏแห่ง รูปสัญเจตนา อันใด อันนั้นเป็นการ เกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นการตั้งอยู่แห่งโรคทั้งหลาย เป็นการปรากฏออกแห่งชรา และมรณะ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย และการดับไม่เหลือ การเข้าไปสงบระงับ การถึงซึ่งความตั้งอยู่ ไม่ได้แห่ง รูปสัญเจตนา อันใด อันนั้น เป็น ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นการเข้าไป สงบ ระงับแห่งโรค ทั้งหลาย เป็นการถึงซึ่งความ ตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชราและมรณะ.
(ข้อความในกรณีแห่งรูปสัญเจตนา เป็นอย่างไร ข้อความในกรณีแห่งสัททสัญเจตนา คันธ- สัญเจตนา รสสัญเจตนา โผฏฐัพพสัญเจตนา ธัมมสัญเจตนา ก็เป็นอย่างนั้น เหมือนกัน ทุกตัว อักษร ต่างกันแต่ชื่อแห่ง สัญญาเจตนาไปตามชื่อของอารมณ์นั้นๆ ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า สัญเจตนาเป็นผลต่อมาจากสัญญากล่าวคือ เมื่อมีความสำคัญ ว่ารูป ว่าเสียงเป็นต้นแล้ว ย่อมเกิด สัญเจตนา คือความคิดอันประกอบด้วยเจตนา อย่างใด อย่างหนึ่ง ในกรณีเกี่ยวกับรูปและเสียง เป็นต้นนั้น จึงเป็นการเกิดแห่งทุกข์และการตั้งอยู่ แห่งโรคทั้งหลาย โดยทำนองเดียวกัน)
(สูตรที่ แปด : ตัณหา หก)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การเกิดขึ้น การตั้งอยู่ การเกิดโดยยิ่ง การปรากฏแห่งรูปตัณหา อันใด อันนั้นเป็นการ เกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นการตั้งอยู่แห่งโรคทั้งหลาย เป็นการปรากฏ ออกแห่งชรา และมรณะ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! และการดับไม่เหลือ การเข้าไปสงบระงับ การถึงซึ่งความตั้งอยู่ ไม่ได้ แห่ง รูปตัณหา อันใด อันนั้น เป็น ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นการเข้าไปสงบ ระงับแห่งโรค ทั้งหลาย เป็นการถึงซึ่งความ ตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชราและมรณะ.
(ข้อความในกรณีแห่งรูปตัณหา เป็นอย่างไร ข้อความในกรณีแห่งสัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพ ตัณหา ธัมมตัณหา ก็เป็นอย่างนั้นเหมือนกัน ทุกตัวอักษร ต่างกันแต่ชื่อ แห่งตัณหาไปตามชื่อของอารมณ์นั้นๆ ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า เมื่อมีสัญเจตนา กล่าวคือ ความคิดอันเกี่ยวกับอารมณ์ทั้งหกแล้ว ย่อมเกิดตัณหา คือความอยาก อย่างใด อย่างหนึ่ง ไปตามความสำคัญหรือสัญญาในอารมณ์เหล่านั้นเป็นกามตัณหาบ้าง ภวตัณหา บ้าง วิภวตัณหาบ้าง เพื่อเกิดอุปาทานต่อไป จนกระทั่งเกิดทุกข์ ดังนั้นการเกิดแห่งตัณหา จึงเป็นการเกิดแห่งทุกข์หรือเป็นที่ตั้งแห่งโรคทั้งหลาย โดยทำนองเดียวกัน)
(สูตรที่ เก้า ธาตุ หก)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! การเกิดขึ้น การตั้งอยู่ การเกิดโดยยิ่ง การปรากฏแห่ง ปฐวีธาตุ อันใด อันนั้นเป็นการเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นการตั้งอยู่แห่งโรคทั้งหลาย เป็นการปรากฏ ออกแห่งชราและมรณะ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! และการดับไม่เหลือ การเข้าไปสงบระงับ การถึงซึ่งความตั้งอยู่ไม่ได้ แห่งปฐวีธาตุอันใด; อันนั้น เป็น ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นการเข้าไปสงบระงับ แห่งโรคทั้งหลาย เป็นการถึงซึ่งความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชราและมรณะ.
(ข้อความในกรณี แห่ง ปฐวีธาตุ เป็นอย่างไร ข้อความในกรณีแห่งอาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ วิญญาณธาตุ ก็เป็นอย่างนั้นเหมือนกัน ทุกตัวอักษร ต่างกันแต่ชื่อแห่งธาตุ แต่ละธาตุ ๆ เท่านั้น. ผู้ศึกษาพึง สังเกตให้เห็นว่าธาตุทั้ง ๖ คือส่วนประกอบต่าง ๆ ที่จะประกอบกันเข้าเป็น นามรูป ที่มีความหมายของคำว่านามรูปอันแท้จริง คือทำหน้าที่ของนามรูป ดังนั้น เป็นอันกล่าว ได้ว่า ธาตุแต่ละ ธาตุ ซึ่งเป็นส่วน ประกอบ ของนามรูปนั้น เพิ่งจะเกิดเมื่ออายตนะภายใน อายตนะ ภายนอก ที่อาศัยอยู่ในนามรูปนั้น ทำหน้าที่ของมัน จนเกิดวิญญาณ ผัสสะ เวทนา ตามลำดับ จนกระทั่งเกิดกองทุกข์ในที่สุด. ทำให้กล่าวได้ว่า การเกิดแห่งธาตุหนึ่ง ๆ ล้วนแต่เป็น การเกิด แห่งทุกข์ หรือเป็นที่ตั้งแห่งโรคทั้งหลาย โดยทำนองเดียวกัน.
อย่าได้เข้าใจไปว่า ธาตุแต่ละธาตุเกิดขึ้น หรือตั้งอยู่ตลอดเวลา ตามความหมายของ ภาษาวัตถุ เหมือนที่พูด กันตามธรรมดานั้นเลย. ในที่นี้เป็นภาษาฝ่ายนามธรรม ซึ่งถือว่า สิ่งใด ๆ ก็ตาม เกิดขึ้นเฉพาะในเมื่อมันทำหน้าที่ ของมันในกรณีอันเกี่ยวกับปฏิจจสมุปบาท เป็นขณะ ๆ ไปเท่านั้น เสร็จแล้วก็ถือว่าดับไป จนกว่าจะมีโอกาส ทำหน้าที่ใหม่ จึงจะถือว่า เกิดขึ้นมาอีก ดังนี้.)
(สูตรที่ สิบ ขันธ์ ห้า)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! การเกิดขึ้น การตั้งอยู่ การเกิดโดยยิ่ง การปรากฏแห่งรูป (ขันธ์) อันใด อันนั้นเป็นการ เกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นการตั้งอยู่แห่งโรคทั้งหลาย เป็นการปรากฏ ออกแห่งชรา และมรณะ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย และการดับไม่เหลือ การเข้าไปสงบระงับ การถึงซึ่งความตั้งอยู่ ไม่ได้ แห่งรูป (ขันธ์) อันใด อันนั้น เป็น ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นการเข้าไปสงบ ระงับแห่ง โรคทั้งหลาย เป็นการถึงซึ่งความ ตั้งอยู่ ไม่ได้แห่งชราและมรณะ. (ข้อความใน กรณีแห่งรูป เป็นอย่างไร ข้อความในกรณีแห่งเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณก็เป็น อย่างนั้น เหมือนกัน ทุกตัวอักษร ต่างกันแต่ชื่อแห่งขันธ์แต่ละขันธ์เท่านั้น
(ผู้ศึกษา พึงสังเกตให้เห็นว่าขันธ์แต่ละขันธ์มีรูปขันธ์เป็นต้น เพิ่งเกิดเป็นคราว ๆ ในเมื่อมีการ กระทบ ทาง อายตนะ จนเกิดวิญญาณ ผัสสะ เวทนา เป็นลำดับ ๆ ไป จนกว่าจะเกิดทุกข์. ร่างกาย ในขณะนั้นโดยเฉพาะ เรียกว่ารูปขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน เวทนาในขณะนั้นเรียกว่า เวทนา ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน สัญญาหรือความสำคัญในขณะนั้น ซึ่งเรียกว่า สัญญาขันธ์ อันเป็น ที่ตั้งแห่งอุปาทน ความคิดต่าง ๆ ในขณะนั้น ชื่อว่าสังขารขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน ความรู้สึกทางตาเป็นต้น ที่เรียกว่า จักขุวิญญาณเป็นต้น อันเกิด ในระยะแรก นั้นก็ดี และความรู้ แจ้งต่อความรู้สึกต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในลำดับต่อมาก็ดี รวมเรียกว่า วิญญาณขันธ์
อันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน. อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ แต่ละอย่าง ๆ เป็นสิ่งที่เพิ่งเกิดมี ต่อเมื่อ มีการกระทบ ทางอายตนะครั้งหนึ่ง ๆ แล้วก็ดับไป. อุปาทานในขันธ์แต่ละขันธ์ ๆ นั้น ล้วนแต ่ให้เกิดภพ เกิดชาติ ชรามรณะ กล่าวคือกองทุกข์ในที่สุด จึงกล่าวว่า การเกิดขันธ์ แต่ละขันธ์ ๆ เป็นการเกิดแห่งทุกข์ เป็นที่ตั้งอยู่แห่งโรค ทั้งหลาย เป็นที่ปรากฏแห่งชรา มรณะ โดยทำนองเดียวกัน.
ส่วนประกอบต่าง ๆ ทุก ๆ หมวด ในสูตรทั้งสิบสูตรนี้ คือสิ่งที่พัวพันกันอยู่ ในกระแสแห่ง ปฏิจจสมุปบาท ระยะใด ระยะหนึ่ง ส่วนใดส่วนหนึ่ง ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสให้ มีลักษณะ อาการ ความหมาย ความเป็นเหตุ ความเป็นผล เหมือนกันทุกอย่าง ทั้ง ๕๙ อย่าง ในสูตรทั้งสิบนี้.) –ผู้รวบรวม
หน้า 227
การดับแห่งโลก คือการดับแห่งปฏิจจสมุปบาท
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เราจักแสดง ซึ่งความไม่ตั้งอยู่ได้แห่งโลก แก่พวกเธอทั้งหลาย. พวกเธอทั้งหลาย จงฟังข้อความนั้น จงทำในใจให้สำเร็จประโยชน์ เราจักกล่าวบัดนี้. ครั้นภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น ทูลสนองรับ พระพุทธดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถ้อยคำ เหล่านี้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ความไม่ตั้งอยู่ได้แห่งโลก เป็นอย่างไรเล่า?ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะอาศัยตาด้วย รูปทั้งหลายด้วย จึงเกิดจักขุ-วิญญาณ การประจวบ พร้อมแห่งธรรมสามประการ (ตา+รูป+จักขุวิญญาณ) นั่นคือผัสสะ เพราะมี ผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะมีเวทนาเป็น ปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะความจางคลาย ดับไป ไม่เหลือแห่งตัณหานั้น นั่นแหละ จึงมีความ ดับแห่ง อุปาทาน เพราะมีความดับ แห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับ แห่งชาติ เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ
โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้น นี้ย่อมมี ด้วยอาการ อย่างนี้. นี้คือ ความไม่ตั้งอยู่ได้แห่งโลก
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยหูด้วย เสียงทั้งหลายด้วย จึงเกิดโสตวิญญาณ การประจวบพร้อม แห่งธรรม ๓ ประการ (หู+เสียง+โสตวิญญาณ) นั่นคือผัสสะ...ฯลฯ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยจมูกด้วย กลิ่นทั้งหลายด้วย จึงเกิดฆาน-วิญญาณ การประจวบ พร้อม แห่งธรรม ๓ ประการ (จมูก+กลิ่น+ฆานวิญญาณ) นั่นคือผัสสะ...ฯลฯ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยลิ้นด้วย รสทั้งหลายด้วย จึงเกิดชิวหา-วิญญาณ การประจวบ พร้อมแห่งธรรม ๓ ประการ (ลิ้น+รส+ชิวหาวิญญาณ) นั่นคือผัสสะ...ฯลฯ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยกายด้วย โผฏฐัพพะทั้งหลายด้วย จึงเกิดกายวิญญาณ การประจวบ พร้อมแห่ง ธรรม ๓ ประการ (กาย+โผฏฐัพพะ+กาย-วิญญาณ) นั่นคือผัสสะ ...ฯลฯ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยใจด้วย ธัมมารมณ์ทั้งหลายด้วย จึงเกิดมโนวิญญาณ การประจวบ พร้อมแห่ง ธรรม ๓ ประการ (ใจ+ธัมมารมณ์+มโน-วิญญาณ) นั่นคือผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะม ีเวทนา เป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะความจางคลายดับไปไม่เหลือแห่งตัณหา
นั่นแหละ จึงความดับแห่งอุปาทาน เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ เพราะมี ความดับแห ง ภพ จึงมีความดับแห่งชาติ เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะโทมนัสอุปายาส ทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้. นี้คือ ความไม่ตั้งอยู่ได้ แห่งโลก
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล คือความไม่ตั้งอยู่ได้แห่งโลก.
หน้า 229
ปฏิจจสมุปบาท (นิโรธวาร)
ที่ตรัสอย่างเข้าใจง่ายที่สุด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ความดับลง (อตฺถงฺคโม) แห่งกองทุกข์ เป็นอย่างไร
เล่า? ความดับลงแห่ง กองทุกข์ เป็นอย่างนี้ คือ)
เพราะอาศัยซึ่งจักษุด้วย ซึ่งรูปทั้งหลายด้วย จึงเกิดจักขุวิญญาณ การประจวบพร้อม แห่งธรรมสาม ประการ (ตา+รูป+จักขุวิญญาณ) นั่นคือผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะมีเวทนา เป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะ ความจางคลายดับไปไม่เหลือ แห่งตัณหานั้นนั่นแหละ จึงความดับแห่งอุปาทาน
เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความ ดับ แห่งชาติ เพราะมีความดับ แห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะ-
โทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการ อย่างนี้. นี้คือความดับลง แห่งกองทุกข์.
เพราะอาศัยซึ่งโสตะด้วย ซึ่งเสียงทั้งหลายด้วย จึงเกิดโสตวิญญาณ การประจวบพร้อม แห่งธรรม ๓ ประการ (โสตะ+เสียง+โสตะวิญญาณ) นั่นคือผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็น ปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะความจาง คลายดับไปไม่ เหลือแห่งตัณหานั้น นั่นแหละ จึงความดับแห่งอุปาทาน…. ฯลฯ... นี้ คือความดับลง แห่งกองทุกข์.
เพราะอาศัยซึ่งฆานะด้วย ซึ่งกลิ่นทั้งหลายด้วย จึงเกิดฆานวิญญาณ การประจวบพร้อม แห่งธรรม ๓ ประการ (ฆานะ+กลิ่น+ฆานวิญญาณ) นั่นคือผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะมี เวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะความจางคลายดับไป ไม่เหลือ แห่งตัณหานั้น นั่นแหละจึงความดับแห่งอุปาทาน ...ฯลฯ...นี้ คือความดับลงแห่ง กองทุกข์.
เพราะอาศัยซึ่งชิวหาด้วย ซึ่งรสทั้งหลายด้วย จึงเกิดชิวหาวิญญาณ การประจวบพร้อม แห่งธรรม ๓ ประการ (ชิวหา+รส+ชิวหาวิญญาณ) นั่นคือผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะมี เวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะความจางคลายดับไปไม่เหลือ แห่งตัณหานั้น นั่นแหละ จึงความดับแห่งอุปาทาน… ฯลฯ...นี้คือความดับลงแห่ง กองทุกข์.
เพราะอาศัยซึ่งกายด้วย ซึ่งโผฏฐัพพะทั้งหลายด้วย จึงเกิดกายวิญญาณ การประจวบ พร้อมแห่ง ธรรม ๓ ประการ (กาย+โผฏฐัพพะ+กายวิญญาณ) นั่นคือผัสสะ
เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะ ความจางคลาย ดับไปไม่เหลือแห่งตัณหานั้นนั่นแหละจึงความดับแห่ง อุปาทาน ...ฯลฯ...นี้คือความดับลง แห่งกองทุกข์.
เพราะอาศัยซึ่งมโนด้วย ซึ่งธัมมารมณ์ทั้งหลายด้วย จึงเกิดมโนวิญญาณ การประจวบ พร้อมแห่ง ธรรม ๓ ประการ (มโน+ธัมมารมณ์+มโนวิญญาณ) นั่นคือผัสสะ เพราะมีผัสสะ เป็น ปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะความจางคลายดับ ไปไม่เหลือแห่ง ตัณหา นั้นนั่นแหละ จึงความดับแห่งอุปาทาน เพราะมีความดับแห่ง อุปาทาน จึงมีความดับ แห่งภพ เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ เพราะมี ความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะ-โทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลงแห่ง กองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้. นี้คือความดับลง แห่งกองทุกข์.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล คือความดับลงแห่งกองทุกข์.
หน้า 231
ทุกข์ดับ เพราะเห็นอุปาทานิยธรรม โดยความเป็นอาทีนวะ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเป็นผู้มีปรกติ เห็นโดยความเป็นอาทีนวะ (โทษอันต่ำทราม) ในธรรมทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทานอยู่ ตัณหาย่อมดับ. เพราะ
มีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน เพราะมีความดับแห่งอุปาทานจึงมี ความดับ แห่งภพ เพราะมี ความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ เพราะมีความดับ แห่งชาติเป็นนั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะ โทมนัส อุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนไฟกองใหญ่ พึงลุกโพลงด้วยไม้สิบเล่มเกวียนบ้าง ยี่สิบ เล่มเกวียนบ้าง สามสิบเล่มเล่มเกวียนบ้าง สี่สิบเล่มเล่มเกวียนบ้าง. บุรุษไม่พึงเติม หญ้าแห้งบ้าง ไม่พึงเติมมูลโคแห้งบ้าง ไม่พึงเติมไม้แห้งบ้าง ลงไปในกองไฟนั้น ตลอดเวลาที่ควรเติม อยู่เป็นระยะ ๆ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยอาการอย่างนี้แล ไฟกอง ใหญ่ นั้นไหม้เชื้อเพลิงเก่าหมดแล้ว ด้วยไม่มี เชื้ออื่นมาเติม ด้วย เป็นไฟหมดเชื้อหล่อ เลี้ยง แล้วดับไป ข้อนี้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ข้อนี้ก็ฉันนั้น เมื่อภิกษุเป็นผู้มีปรกติ เห็นโดย ความเป็นอาทีนวะ (โทษอันต่ำทราม) ในธรรม ทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทานอยู่ ตัณหาย่อมดับ.
เพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน เพราะมีความดับ แห่งอุปาทาน จึงมีควา มดับ แห่งภพเพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ เพราะมีความดับ แห่งชาติ ชรามรณะ โสกะ-ปริเทวะทุกขะ โทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้ แล.
..............................................................................................
หมายเหตุผู้รวบรวม : ยังมีสูตรอีกสูตรหนึ่ง (คือสูตรที่ ๕ แห่งทุกขวรรค อภิสมยสังยุตต์ นิทาน. สํ. ๑๖/๑๐๖/๒๐๘) แสดงข้อธรรมข้อเดียวกัน กับสูตร ข้างบนนี้ต่างกันแต่อุปมา แทนที่จะอุปมา ด้วยไฟกองใหญ ่หมดเชื้อดังในสูตรข้างบนนี้ แต่ทรงอุปมาด้วยต้นไม้ใหญ่ ที่ถูกทำลายหมดสิ้น เหมือนอุปมาในหัวข้อว่า "จิตสัตว์ยุ่งเป็น ปมเพราะไม่เห็นแจ้งปฏิจจ สมุปบาท" อนึ่ง ยังมีสูตร อีกสูตรหนึ่ง (สูตรที่ ๖ ทุกขวรรค อภิสมยสังยุตต์ นิทาน. สํ. ๑๖/๑๐๗/๒๑๑) มีใจความเหมือนสูตร ข้างบน นี้ทุกประการ ผิดกันแต่ว่าทรงเริ่ม ข้อความ ด้วยคำอุปมาก่อน แล้วจึงกล่าวถึงข้อธรรม ซึ่งเป็นตัวอุปไมย.
หน้า 233
ทุกข์ดับ เพราะเห็นสัญโญชนิยธรรม โดยความเป็นอาทีนวะ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเป็นผู้มีปรกติ เห็นโดยความเป็นอทีนวะ (โทษอันต่ำทราม) ในธรรมทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์อยู่ ตัณหาย่อมดับเพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน เพราะมีความดับแห่งอุปาทานจึงมีความดับแห่งภพ เพราะมี ความดับ แห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ เพราะมี
ความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสปริเทวะทุกขะ โทมนัส อุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนประทีปน้ำมัน พึงลุกอยู่ได้เพราะอาศัยน้ำมันด้วย ซึ่งไส้ด้วย บุรุษพึงเติมน้ำมัน พึงเปลี่ยนไส้ ให้ใหม่อย่ ตลอดเวลาที่ควรเติมที่ควรเปลี่ยน อยู่ทุกระยะ ๆ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยอาการ อย่างนี้แล ประทีปน้ำมันนั้น ไหม้เชื้อเพลิง เก่า หมด แล้วด้วย ไม่มีน้ำมันและไส้อื่นมาเติมมาเปลี่ยนด้วย เป็นประทีปหมด เชื้อหล่อ เลี้ยงแล้ว พึงดับไป ข้อนี้ฉันใดข้อนี้ก็ฉันนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้น เมื่อภิกษุเป็นผู้มีปรกติ เห็นโดยความเป็นอาทีนวะ (โทษอันต่ำทราม)ในธรรม ทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์อยู่ ตัณหาย่อมดับ.
เพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ เพราะมีความดับ แห่งชาติ ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลง แห่งกองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้ แล.
ห ม าย เห ตุผู้ร ว บ ร ว ม : ยังมสูต รอีกสูต รห นึ่ง (คือ สูต รที่ ๔ แห่งทุกขวรรค อภิสมยสังยุตต์ นิทาน. สํ. ๑๖/๑๐๕/๒๐๕) มีข้อความเหมือนสูตรข้างบนนี้ทุกประการ ผิดกันแต่ว่าสูตรโน้นทรงเริ่มข้อความ ด้วยคำอุปมา ก่อน แล้วจึงกล่าวถึงข้อธรรม ซึ่งเป็นตัว อุปไมย. อนึ่ง ยังมีสูตรอีกสูตรหนึ่ง (สูตรที่ ๗ ทุกขวรรค อภิสมยสังยุตต์ นิทาน. สํ.๑๖/๑๐๘/๒๑๔) แสดงข้อธรรมข้อเดียวกันกับสูตรข้างบนนี้ ต่างกันแต่อุปมา แทนที่ จะอุปมาด้วย ประทีป หมดน้ำ มันและไส้เหมือนสูตรนี้ แต่ทรงอุปมาด้วยต้นไม่ยังอ่อนถูก ทำลายหมดสิ้น.
หมวดที่ห้า จบ
หน้า 234
หมวด ๖
ว่าด้วย ปฏิจจสมุปบาท ที่ตรัสในรูปของการปฏิบัติ
ลำดับเรื่องเฉพาะหมวด
สำหรับปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ หมวดที่ ๖ ว่าด้วย ปฏิจจสมุปบาท ที่ตรัสในรูปของการปฏิบัติ
(มี ๓๘ เรื่อง)
มีเรื่อง: ตรัสว่าปฏิจจสมุปบาทเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์--
ผู้ไม่รู้ปฏิจจสมุป-บาทยังมีหน้าที่ต้องเที่ยวแสวงหาครู--
ผู้ไม่รู้ปฏิจจสมุปบาทยังมีหน้าที่ต้องทำการศึกษา--
ผู้ไม่รู้ปฏิจจสมุปบาทยังมีหน้าที่ต้องบำเพ็ญโยคะ--
ผู้ไม่รู้ปฏิจจสมุปบาทยังมีหน้าที่ต้องประกอบฉันทะ--
ผู้ไม่รู้ปฏิจจสมุปบาทยังมีหน้าที่ต้องบำเพ็ญอุสโสฬ์หี—
ผู้ไม่รู้ปฏิจจ-สมุปบาทยังมีหน้าที่ต้องบำเพ็ญอัปปฏิวานี--
ผู้ไม่รู้ปฏิจจสมุปบาทยังมีหน้าที่ต้องประกอบความเพียรเผากิเลส--
ผู้ไม่รู้ปฏิจจสมุปบาทยังมีหน้าที่ต้องประกอบวิริยะ—
ผู้ไม่รู้ปฏิจจ-สมุปบาทยังมีหน้าที่ต้องประกอบการกระทำอันติดต่อ—
ผู้ไม่รู้ปฏิจจสมุปบาทยังมีหน้าที่ต้องอบรมสติ--
ผู้ไม่รู้ปฏิจจสมุปบาทยังมีหน้าที่ต้องอบรมสัมปชัญญะ—
ผู้ไม่รู้ปฏิจจสมุป-บาทยังมีหน้าที่ต้องบำเพ็ญความไม่ประมาท--
ทรงมุ่งหมายให้ปฏิจจสมุปบาทเป็นเรื่องของการปฏิบัติ--
การหลีกเร้นทำให้ง่ายแก่การรู้ปฏิจจสมุปบาท—
การคิดค้นปฏิจจสมุปบาทก็คือการเดินตามอริยัฏฐังคิกมรรค--
ปฏิบัติเพื่อการดับปฏิจจสมุปบาทชื่อว่าปฏิบัติธรรม-สมควรแก่ธรรม--
องค์ประกอบที่เป็นบุพพภาคของการดับแห่งปฏิจจสมุปบาท--
ผัสสะคือนิทานสัมภวะส่วนมากของนิพเพนิกธรรม--
ปฏิจจสมุปบาทแห่งการกำจัดอุปสัคขณะเจริญสติปัฏฐาน--
ปฏิจจสมุปบาทเพื่อสามัญญผลในปัจจุบัน--
ปฏิจจสมุปบาทเป็นสิ่งที่ต้องเห็นด้วยยถาภูตสัมมัปปัญญา--
แม้การทำความเพียรในที่สงัดก็ยังต้องปรารภขันธ์ห้า--
แม้สุขทุกข์ภายในก็เกิดขึ้นเพราะปรารภขันธ์ห้า--
ต้นเงื่อนของปฏิจจสมุปบาทละได้ด้วยการเห็นธรรมทั้งปวงว่าไม่ควรยึดมั่น--
ต้นเงื่อนแห่งปฏิจจสมุปบาทละได้ด้วยการเห็นอนิจจัง--
เคล็ดลับในการปิดกั้นทางเกิดของปฏิจจสมุปบาท--
การพิจารณาปัจจัยในภายในคือการพิจารณาปฏิจจสมุปบาท--
ธรรมปฏิบัติในรูปของปฏิจจสมุปบาทแห่งการละองค์สามตามลำดับ--
วิธีปฏิบัติต่ออาหารสี่ในลักษณะที่เป็นปฏิจจสมุปบาท—
ปัญจุปาทาน-ขันธ์ไม่อาจจะเกิดเมื่อรู้เท่าทันเวทนาในปฏิจจสมุปบาท—
การพิจารณาสภาวธรรมตามวิธีปฏิจจสมุปบาทกระทั่งวาระสุดท้าย—
อนุสัยไม่อาจจะเกิดเมื่อรู้เท่าทันเวทนาในปฏิจจ-สมุปบาท--
ปฏิจจสมุปบาทสลายตัวเมื่อรู้แจ้งในธรรมห้าอันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน--
ญาณวัตถุ๔๔ในปฏิจจสมุปบาทเพื่อความเป็นโสดาบัน--
ญาณวัตถุ๗๗ในปฏิจจสมุปบาทเพื่อความเป็นโสดาบัน--
ก
ารรู้ปฏิจจสมุปบาทไม่เกี่ยวกับการบรรลุอภิญญาเลยก็ได้--
ปฏิจจสมุปบาทรอบสุดท้ายของคนเรา.
หน้า 239
ตรัสว่า เรื่องปฏิจจสมุปบาทเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์
ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อเสด็จประทับ อยู่ในที่หลีกเร้นแห่งหนึ่งแล้ว ได้กล่าวธรรมปริยายนี้ (ตามลำพังพระองค์) ว่า
(๑) "เพราะอาศัยตาด้วย รูปทั้งหลายด้วย จึงเกิดจักขุวิญญาณ
การประจวบแห่งธรรมสามประการ (ตา+รูป+จักขุวิญญาณ)
นั่นคือผัสสะ
เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงอุปาทาน
เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะ โทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงมีขึ้น พร้อม
ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ (ข้อความเต็ม ในกรณีแห่งหู ก็มีอย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งตา ทุกตัวอักษร ต่างกันแต่ชื่อ ในกรณีแห่ง จมูก ลิ้น กาย ก็มีนัย เดียวกัน. ในกรณีแห่งมโน จะเขียนเต็มอีกครั้งหนึ่ง.)
(๒) เพราะอาศัยหูด้วย เสียงทั้งหลายด้วย จึงเกิดโสตวิญญาณ
การประจวบแห่งธรรม ๓ ประการ (หู+เสียง+โสตวิญญาณ)
นั้นคือผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
… ฯลฯ... ...ฯลฯ...
….ฯลฯ... ...ฯลฯ... ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้
(๓) เพราะอาศัยจมูกด้วย กลิ่นทั้งหลายด้วย จึงเกิดชิวหาวิญญาณ การประจวบแห่ง ธรรม ๓ ประการ (จมูก+กลิ่น+ฆานวิญญาณ)
นั้นคือผัสสะเพราะมีผัสสะ ป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
...ฯลฯ... ...ฯลฯ......
ฯลฯ... ...ฯลฯ... ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้
(๔) เพราะอาศัยลิ้นด้วย รสทั้งหลายด้วย จึงเกิดชิวหาวิญญาณ การประจวบแห่งธรรม ๓ ประการ (ลิ้น+รส+ชิวหาวิญญาณ)
นั้นคือผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
...ฯลฯ... ...ฯลฯ...
…ฯลฯ... ...ฯลฯ... ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้
(๕) เพราะอาศัยกายด้วย โผฏฐัพพะทั้งหลายด้วย จึงเกิดกายวิญญาณ การประจวบแห่งธรรม ๓ ประการ (กาย+โผฏฐัพพะ+กายวิญญาณ)
นั้นคือผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
...ฯลฯ... ...ฯลฯ......
…ฯลฯ... ...ฯลฯ... ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้
(๖) เพราะอาศัยใจด้วย ธัมมารมณ์ทั้งหลายด้วย จึงเกิดมโนวิญญาณ การประจวบแห่งธรรม ๓ ประการ (ใจ+ธัมมารมณ์+มโนวิญญาณ) นั้นคือผัสสะเพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงอุปาทาน
เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลายจึงมีขึ้นพร้อม
ความความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.
... .... .... ....
(๑) เพราะอาศัยตาด้วย รูปทั้งหลายด้วย จึงเกิดจักขุวิญญาณ การประจวบพร้อมแห่ง ธรรม สามประการ (ตา+รูป+จักขุวิญญาณ) นั้นคือผัสสะ
เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งตัณ หา
นั้น จึงมีความดับแห่งอุปาทาน
เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ
เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ
เพราะมีความดับแห่งชาติ ชรามรณะ โสกะปริเทวะ-ทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น
ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.
(ข้อความเต็มในกรณีแห่งหู ก็มีอย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งตา ทุกตัวอักษร ต่างกันแต่ชื่อ ในกรณีแห่ง จมูก ลิ้น กาย ก็มีนัยเดียวกัน. ในกรณีแห่งมโน จะเขียนเต็มอีกครั้งหนึ่ง.)
(๒) เพราะอาศัยหูด้วย เสียงทั้งหลายด้วย จึงเกิดโสตวิญญาณ การประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการ (หู+เสียง+โสตวิญญาณ)
นั้นคือผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
...ฯลฯ... ...ฯลฯ......
…ฯ ล ฯ ... ...ฯ ล ฯ ... ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.
(๓) เพราะอาศัยจมูกด้วย กลิ่นทั้งหลายด้วย จึงเกิดฆานวิญญาณ การประจวบแห่งธรรม ๓ ประการ (จมูก+กลิ่น+ฆานวิญญาณ)
นั้นคือผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
...ฯลฯ... ...ฯลฯ......
…ฯลฯ... ...ฯลฯ... ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.
(๔) เพราะอาศัยลิ้นด้วย รสทั้งหลายด้วย จึงเกิดชิวหาวิญญาณ
การประจวบแห่งธรรม ๓ ประการ (ลิ้น+รส+ชิวหาวิญญาณ)
นั้นคือผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
...ฯลฯ... ...ฯลฯ...
...ฯลฯ... ...ฯลฯ... ความดับลงแห่งกองทุกข์
ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.
(๕) เพราะอาศัยกายด้วย โผฏฐัพพะทั้งหลายด้วย จึงเกิดกายวิญญาณ
การประจวบแห่งธรรม ๓ ประการ (กาย+โผฏฐัพพะ+กายวิญญาณ)
นั้นคือผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
…ฯลฯ... ...ฯลฯ...
...ฯลฯ... ...ฯลฯ... ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.
(๖) เพราะอาศัยใจด้วย, ธัมมารมณ์ทั้งหลายด้วย จึงเกิดมโนวิญญาณ การประจวบแห่งธรรม ๓ ประการ (ใจ+ธัมมารมณ์+มโนวิญญาณ) นั้นคือ ผัสสะ
เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งตัณ หา
นั้น จึงมีความดับแห่งอุปาทาน
เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ
เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ
เพราะมีความดับแห่งชาติ ชรามรณะ
โสกะปริเทวะ-ทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น
ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้".
สมัยนั้น ภิกษุองค์หนึ่ง ได้ยืนแอบฟังพระผู้มี พระภาคเจ้าอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทอดพระ-เนตรภิกษุผู้ยืน แอบฟังนั้นแล้ว ได้ทรงกล่าวกะ ภิกษุนั้นว่า "ดูก่อนภิกษุ! เธอได้ยินธรรม ปริยายนี้ แล้วมิใช่หรือ?"
"ได้ยินพระเจ้าข้า!"
"ดูก่อนภิกษุ! เธอจงรับเอาธรรมปริยายนี้ไป.
ดูก่อนภิกษุ เธอจงเล่าเรียนธรรมปริยายนี้.
ดูก่อนภิกษุ เธอจงทรงไว้ซึ่งธรรมปริยายนี้.
ดูก่อนภิกษุ ธรรมปริยายนี้ ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์"ดังนี้ แล.
หน้า 245
ผู้ไม่รู้ปฏิจจสมุปบาทยังมีหน้าที่ ต้องเที่ยวแสวงหาครู
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล เมื่อไม่รู้ไม่เห็นซึ่งชรามรณะ ...ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งชรามรณะ...ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ... ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่อง ทำสัตว์ ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ ตามที่เป็นจริง เขาพึงทำการแสวงหาครู เพื่อให้รู้ ในชรามรณะ... ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งชรามรณะ ...ในความดับไม่เหลือ แห่งชรามรณะ... ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับ ไม่เหลือแห่งชรามรณะ ตามที่เป็นจริง ดังนี้.
(ในกรณแห่งบทว่า ชาติ..ภพ..อุปาทาน..ตัณ หา..เวทนา..ผัสสะ.. สฬายตนะ..นามรูป.. วิญญาณ.. ก็มีคำตรัสอย่างเดียวกันกับคำตรัส ของบทว่า ชรามรณะ ข้างบนนี้ ตรงกัน ทุกตัวอักษร ต่างกัน แต่ชื่อของสิ่ง ที่หยิบขึ้น พิจารณา จนกระทั่งถึงบทสุดท้าย อันเกี่ยวกับ สังขาร ดังที่มีอยู่ต่อไป ข้างล่างนี้)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งสังขารทั้งหลาย...ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งสังขาร... ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งสังขาร... ซึ่งข้อปฏิบัติ เครื่องทำสัตว์ ให้ลุ ถึงความดับไม่เหลือแห่ง สังขาร ตามที่เป็นจริง เขาพึงทำการ แสวงหาครูเพื่อให้รู้ ในสังขารทั้งหลาย... ในเหตุให้เกิดขึ้น แห่งสังขาร... ในความดับ ไม่เหลือ แห่งสังขาร... ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับ ไม่เหลือ แห่งสังขาร ตามที่เป็นจริง ดังนี้.
หน้า 246
ผู้ไม่รู้ปฏิจจสมุปบาท ยังมีหน้าที่ ต้องทำการศึกษา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! บุคคล เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งชรามรณะ ...ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งชรามรณะ... ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ... ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุ ถึงความดับไม่เหลือ แห่งชรามรณะ ตามที่เป็นจริง เขาพึง ทำการศึกษา เพื่อให้รู้ ในชรามรณะ... ในเหตุให้ เกิดขึ้นแห่งชรามรณะ... ในความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ... ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์
ให้ลุถึงความดับไม่เหลือ แห่งชรามรณะ ตามที่เป็นจริง ดังนี้.
(ในกรณีแห่งบทว่า ชาติ..ภพ..อุปาทาน..ตัณ หา..เวทนา..ผัสสะ.. สฬายตนะ..นามรูป.. วิญญาณ.. ก็มีคำตรัสอย่างเดียวกันกับคำตรัส ของบทว่า ชรามรณะ ข้างบนนี้ ตรงกันทุก ตัวอักษร ต่างกัน แต่ชื่อ ของสิ่งที่หยิบขึ้นพิจารณา จนกระทั่งถึงบทสุดท้าย อันเกี่ยวกับ สังขาร ดังที่มีอยู่ต่อไป ข้างล่างนี้)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งสังขารทั้งหลาย ...ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งสังขาร ...ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งสังขาร... ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ ให้ลุถึง ความดับไม่เหลือแห่ง สังขาร ตามที่เป็นจริง เขาพึงทำการศึกษาเพื่อให้รู้ ในสังขารทั้งหลาย... ในเหตุให้เกิดขึ้น แห่งสังขาร... ในความดับไม่เหลือแห่ง สังขาร... ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับ ไม่เหลือ แห่งสังขาร ตามที่ เป็นจริง ดังนี้.
หน้า 247
ผู้ไม่รู้ปฏิจจสมุปบาทยังมีหน้าที่ ต้องบำเพ็ญโยคะ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล เมื่อไม่รู้ไม่ เห็นซึ่งชรามรณะ ...ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งชรามรณะ... ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ... ซึ่งข้อปฏิบัติ เครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือ แห่งชรามรณะ ตามที่เป็นจริง เขาพึง บำเพ็ญ โยคะ เพื่อให้รู้ ในชรามรณะ... ในเหตุ ให้เกิดขึ้ นแห่งชรามรณะ... ในความดับไม่เหลือ แห่ง ชรามรณะ... ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุ ถึงความดับไม่เหลือ แห่งชรามรณะ ตามที่ เป็นจริง ดังนี้.
(ในกรณีแห่งบทว่า ชาติ..ภพ..อุปาทาน..ตัณหา..เวทนา..ผัสสะ.. สฬายตนะ...นามรูป.. วิญญาณ.. ก็มีคำตรัสอย่างเดียวกันกับคำตรัส ของบทว่า ชรามรณะ ข้างบนนี้ ตรงกันทุก ตัวอักษร ต่างกัน แต่ชื่อของสิ่งที่หยิบขึ้นพิจารณา จนกระทั่งถึงบทสุดท้าย อันเกี่ยวกับ สังขาร ดังที่มีอยู่ ต่อไปข้างล่างนี้)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งสังขารทั้งหลาย ...ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้น แห่ง สังขาร...ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งสังขาร... ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่อง ทำสัตว์ ให้ลุถึงความดับ ไม่เหลือแห่งสังขาร ตามที่ เป็นจริง เขาพึง บำเพ็ญ โยคะ เพื่อให้รู้ ในสังขารทั้งหลาย... ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งสังขาร... ในความดับไม่เหลือ แห่งสังขาร... ในข้อ ปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่ง สังขาร ตามที่เป็นจริง ดังนี้. |