หน้า457
หมวด ๘
ว่าด้วย ปฏิจจสมุปบาท เกี่ยวกับความเป็นพระพุทธเจ้า
ลำดับเรื่องเฉพาะหมวด
สำหรับปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ หมวดที่ ๘ ว่าด้วยปฏิจจสมุปบาทเกี่ยวกับ ความเป็น พระพุทธเจ้า (มี ๘ เรื่อง)
มีเรื่อง
1) ทรงเดินตามรอยพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ --
2) การคิดค้นปฏิจจสมุปบาทก่อนการตรัสรู้ --
3) การคิดค้นปฏิจจสมุปบาทของพระพุทธเจ้าในอดีต ๖ พระองค์ ---
4) ทรงบันลือสีหนาทเพราะทรงรู้ปัจจัยแห่งความเกิดและความดับ --
5) ทรงพยากรณ์แต่อริย-ญายธรรมเท่านั้น –
6) ทรงชักชวนวิงวอนเหลือประมาณในความเพียร เพื่อกิจเกี่ยวกับปฏิจจสมุปบาท --
7) ทรงแสดงธรรมเนื่องด้วยปฏิจจสมุปบาทมีความงามเบื้องต้น-ท่ามกลาง-เบื้องปลาย --
8) ศาสดาและสาวกย่อมมีความเห็นตรงกันในเรื่องปฏิจจสมุปบาท.
หน้า461
ทรงเดินตามรอย แห่งพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ
(ในกรณีของการค้นเรื่องปฏิจจสมุปบาท)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ ความปริวิตกอันนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า สัตว์โลกนี้หนอ ถึงแล้วซึ่งความยากเข็ญ ย่อมเกิด ย่อมแก่ ย่อมตาย ย่อมจุติ และย่อมอุบัติ ก็เมื่อสัตว์โลกไม่รู้จักอุบาย เครื่องออกไปพ้นจากทุกข์ คือชรามรณะแล้ว การออกจากทุกข์คือชรามรณะ นี้จักปรากฏขึ้นได้อย่างไร?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความฉงนนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า เมื่ออะไรมีอยู่หนอ ชรามรณะ จึงได้มี เพราะมีอะไรเป็นปัจจัย จึงมีชรามรณะ ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความรู้แจ้งอย่างยิ่งด้วยปัญญา เพราะการทำในใจโดยแยบคาย ได้เกิดขึ้น แก่เราว่าเพราะ ชาติ นั่นแล มีอยู่ ชรามรณะ จึงได้มี เพราะมีชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรามรณะ ดังนี้.
๑ เพราะ ภพ นั่นแลมีอยู่ ชาติ จึงได้มี เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ ดังนี้
เพราะ อุปาทาน นั่นแลมีอยู่ ภพจึงได้มี เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัยจึงมีภพ ดังนี้
เพราะ ตัณหา นั่นแลมีอยู่อุปาทานจึงได้มี เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัยจึงมีอุปาทานดังนี้
เพราะ เวทนา นั่นแลมีอยู่ ตัณหาจึงได้มี เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา ดังนี้
เพราะ ผัสสะ นั่นแลมีอยู่ เวทนาจึงได้มี เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา ดังนี้
เพราะ สฬายตนะ นั่นแลมีอยู่ ผัสสะจึงได้มี เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงมีผัสสะดังนี้
เพราะ นามรูป นั่นแลมีอยู่สฬายตนะจึงได้มีเพราะมีนามรูปเป็นปัจจัยจึงมีสฬายตนะดังนี้
เพราะ วิญญาณ นั่นแลมีอยู่นามรูปจึงได้มี เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัยจึงมีนามรูปดังนี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉงนนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า “เมื่ออะไรมีอยู่หนอ วิญญาณจึงได้มี เพราะมีอะไรเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ” ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความรู้แจ้งอย่างยิ่งด้วยปัญญา เพราะการทำในใจโดยแยบคาย ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า “ เพราะนามรูปนั่นแล มีอยู่ วิญญาณ จึงได้มี เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ” ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความรู้แจ้งนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า “วิญญาณนี้ ย่อมเวียนกลับจากนามรูป ย่อมไม่เลยไปอื่น ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ สัตว์โลกนี้ พึงเกิดบ้าง พึงแก่บ้าง พึงตายบ้าง พึงจุติบ้าง พึงอุบัติบ้าง ข้อนี้ได้แก่การที่ เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัส อุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการ อย่างนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตา เกิดขึ้นแล้ว ญาณ เกิดขึ้นแล้ว ปัญญา เกิดขึ้นแล้ว วิชชา เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่าง เกิดขึ้นแล้ว แก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาแต่ก่อนว่า ความเกิดขึ้นพร้อม (สมุทโย) ความเกิดขึ้นพร้อม (สมุทโย)ดังนี้ .…………………………………………………………………………………
๑ ความข้อตามที่ละ...ไว้นั้น หมายความว่า ได้มีความฉงนเกิดขึ้นทุก ๆ ตอน แล้วทรง ทำในใจ โดยแยบคาย จนความรู้แจ้งเกิดขึ้นทุก ๆ ตอนเป็นลำดับไป จนถึงที่สุด ทั้งฝ่ายสมุทยวารและ นิโรธวาร ในที่นี้ละไว้โดยนัยะที่ผู้อ่านอาจจะเข้าใจเอาเองได้ เป็นการตัดความรำคาญในการ อ่าน
…………………………………………………………………………………
(ปฏิปักขนัย)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความฉงนนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราต่อไปว่า เมื่ออะไรไม่มีหนอ ชรามรณะ จึงไม่มี : เพราะความดับแห่งอะไร จึงมีความดับแห่งชรามรณะ ดังนี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความรู้แจ้งอย่างยิ่งด้วยปัญญา เพราะการทำในใจโดยแยบคาย ได้เกิดขึ้น แก่เราว่า
เพราะ ชาติ นั่นแล ไม่มี ชรามรณะจึงไม่มี เพราะความดับแห่งชาติ จึงมีความดับแห่ง ชรามรณะ ดังนี้
....เพราะภพ นั่นแล ไม่มี ชาติ จึงไม่มี เพราะความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ ดังนี้
....เพราะอุปาทาน นั่นแล ไม่มี ภพ จึงไม่มี เพราะความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ ดังนี้
....เพราะตัณหา นั่นแล ไม่มีอุปาทาน จึงไม่มี เพราะความดับแห่ง
ตัณหา จึงมีความดับ แห่ง อุปทาน ดังนี้
....เพราะเวทนา นั่นแล ไม่มี ตัณหา จึงไม่มี เพราะความดับแห่งเวทนา จึงมีความดับแห่ง ตัณหา ดังนี้
....เพราะผัสสะ นั่นแล ไม่มี เวทนา จึงไม่มี เพราะความดับแห่งผัสสะจึงมีความดับแห่งเวทนา ดังนี้
....เพราะสฬายตนะ นั่นแล ไม่มี ผัสสะ จึงไม่มี เพราะความดับแห่งสฬายตนะ จึงมีความดับ แห่ง ผัสสะ ดังนี้
....เพราะนามรูป นั่นแล ไม่มีสฬายตนะ จึงไม่มี เพราะความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่ง สฬายตนะ ดังนี้
....เพราะวิญญาณ นั่นแล ไม่มี นามรูป จึงไม่มี เพราะความดับแห่งวิญญาณ จึงมีความดับแห่ง วิญญาณ ดังนี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความฉงนนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า เมื่ออะไรไม่มีหนอวิญญาณ จึงไม่มี เพราะความดับแห่งอะไร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ ดังนี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความรู้แจ้งอย่างยิ่งด้วยปัญญา เพราะการทำในใจโดยแยบคาย ได้เกิดขึ้น แก่เราว่า เพราะ นามรูป นั่นแล ไม่มี วิญญาณ จึงไม่มี เพราะความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับ แห่งวิญญาณ ดังนี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความรู้แจ้งนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า หนทาง เพื่อการตรัสรู้นี้ อันเราได้ถึงทับ แล้วแล ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ เพราะความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่ง วิญญาณ เพราะมี ความดับแห่งวิญญาณ จึงมีความดับแห่งนามรูป
เพราะมีความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ
เพราะมีความดับแห่งสฬายตนะ จึงมีความดับแห่งผัสสะ
เพราะมีความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา
เพราะมีความดับแห่งเวทนา จึงมีความดับแห่งตัณหา
เพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน
เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ
เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ
เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตา เกิดขึ้นแล้ว ญาณ เกิดขึ้นแล้ว ปัญหา เกิดขึ้นแล้ว วิชชา เกิดขึ้น แล้ว แสงสว่าง เกิดขึ้นแล้ว แก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาแต่ก่อน ว่า ความดับไม่ เหลือ (นิโรโธ) ความดับไม่เหลือ (นิโรโธ) ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษเที่ยวไปในป่าทึบ เกิดพบรอยทาง ซึ่งเคยเป็นหนทาง เก่า ที่มนุษย์แต่กาลก่อนเคยใช้เดินแล้ว. บุรุษนั้น จึงเดินตามทางนั้นไปเมื่อเดินไป ตามทางนั้นอยู่ ได้พบทรากนครซึ่งเป็นราชธานีโบราณ อันมนุษย์ทั้งหลาย แต่กาลก่อน เคยอยู่อาศัยแล้ว เป็นที่อัน สมบูรณ์ด้วยสวน สมบูรณ์ด้วยป่าไม้ สมบูรณ์ด้วยสระโบกขรณี มีทรากกำแพงล้อม มีภูมิภาคน่า รื่นรมย์.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้นบุรุษนั้นเข้าไปกราบทูล แจ้งข่าวนี้แก่พระราชา หรือแก่มหา อำมาตย์ ของพระราชาว่าข้อท้าวพระกรุณา จงทรงทราบเถิด ข้าพระเจ้าเมื่อเที่ยวไปในป่าทึบ ได้เห็นรอย ทางซึ่งเคยเป็นหนทางเก่า ที่มนุษย์แต่กาลก่อนเคยใช้เดินแล้ว ข้าพระเจ้าได้เดิน ตามทางนั้นไป เมื่อเดินไปตามทางนั้นอยู่ ได้พบทรากนครซึ่งเป็นราชธานีโบราณ อันมนุษย์ ทั้งหลายแต่กาล ก่อนเคยอยู่อาศัยแล้ว เป็นที่อันสมบูรณ์ด้วยสวน สมบูรณ์ด้วยป่าไม้ สมบูรณ์ ด้วยสระโบกขรณี มีทรากกำแพงล้อม มีภูมิภาคน่ารื่นรมย์. ขอพระองค์จงปรับปรุงสถานที่นั้น ให้เป็นนครเถิด พระเจ้าข้า ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น พระราชาหรือมหาอำมาตย์ ของพระราชานั้น จึงตบแต่ง สถานที่นั้น ขึ้นเป็นนคร. สมัยต่อมา นครนั้น ได้กลายเป็นนครที่มั่งคั่ง และรุ่งเรือง มีประชาชนมาก เกลื่อนกล่น ด้วยมนุษย์ ถึงแล้วซึ่งความเจริญไพบูลย์ นี้ฉันใด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้น เราได้เห็นแล้วซึ่งรอยทางเก่า ที่เคยเป็นหนทางเก่า อัน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ในกาลก่อนเคยทรงดำเนินแล้ว.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็รอยทางเก่า ที่เคยเป็นหนทางเก่า อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ในกาลก่อนเคยทรงดำเนินแล้ว นั้นเป็นอย่างไรเล่า? นั่นคืออริย-อัฏฐังคิกมรรคนี้นั่นเทียว ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจาสัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติสัมมาสมาธิ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายนี้แลรอยทางเก่า ที่เป็นหนทางเก่า อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ในกาล ก่อนเคยทรงดำเนินแล้ว. เรานั้น ก็ได้ดำเนินไปตามแล้ว ซึ่งหนทางนั้น เมื่อดำเนินไป ตามอยู่ซึ่งหนทางนั้น เรา
ได้รู้ยิ่งเฉพาะแล้วซึ่งชรามรณะ ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งชรามรณะ ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชรา มรณะ ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ
...ได้รู้ยิ่งเฉพาะแล้วซึ่งชาติ ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งชาติ ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชาติ ซึ่งข้อ ปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งชาติ
……………..........................................................................
๑ ที่ละ...ไว้ตรงนี้ และต่อ ๆ ไปมีข้อความเต็มว่า เรานั้น ได้ดำเนินไปตามแล้วซึ่งหนทาง เมื่อดำเนินไปตามอยู่ซึ่งหนทางนั้น เรา.
...ได้รู้ยิ่งเฉพาะแล้วซึ่งภพ ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งภพ ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งภพ ซึ่งข้อปฏิบัติ เครื่องทำสัตว์ ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งภพ
...ได้รู้ยิ่งเฉพาะแล้วซึ่งอุปาทาน ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งอุปาทาน ซึ่งความดับไม่เหลือ แห่งอุปาทาน ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งอุปาทาน
...ได้รู้ยิ่งเฉพาะแล้วซึ่งตัณหา ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งตัณหา ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งตัณหา ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งตัณหา
...ได้รู้ยิ่งเฉพาะแล้วซึ่งเวทนา ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งเวทนา ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งเวทนา ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งเวทนา
...ได้รู้ยิ่งเฉพาะแล้วซึ่งผัสสะ ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งผัสสะ ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ
...ได้รู้ยิ่งเฉพาะแล้วซึ่งสฬายตนะ ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งสฬายตนะ ซึ่งความดับไม่เหลือแห่ง สฬายตนะ ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งสฬายตนะ
...ได้รู้ยิ่งเฉพาะแล้วซึ่งนามรูป ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งนามรูป ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งนามรูป ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งนามรูป
...ได้รู้ยิ่งเฉพาะแล้วซึ่งวิญญาณ ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งวิญญาณ ซึ่งความดับไม่เหลือแห่ง วิญญาณ ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุ ถึงความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ
เราได้ดำเนินไปตามแล้วซึ่งหนทางนั้น เมื่อดำเนินไปตามอยู่ ซึ่งหนทางนั้นเราได้รู้ยิ่ง เฉพาะแล้ว ซึ่ง สังขาร ทั้งหลาย ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งสังขาร ซึ่งความดับไม่เหลือแห่ง สังขารซึ่งข้อ ปฏิบัติ เครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งสังขาร.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรานั้น ครั้นรู้ยิ่งเฉพาะแล้วซึ่งหนทางนั้น ได้บอกแล้วแก่ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ทั้งหลายดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์นี้ ที่เรากล่าวบอกแล้วนั้น ได้เป็น พรหมจรรย์ตั้งมั่นและรุ่งเรืองแล้ว เป็นพรหมจรรย์แผ่ไพศาล เป็นที่รู้แห่งชนมาก เป็นปึก แผ่นแน่นหนา จนกระทั่งเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย สามารถประกาศได้ ด้วยดี แล้ว
หน้า 469
การคิดค้นปฏิจจสมุปบาท ก่อนการตรัสรู้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ ความ ปริ วิตก อันนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า สัตว์โลกนี้หนอ ถึงทั่วแล้วซึ่งความยากเข็ญ ย่อมเกิด ย่อมแก่ ย่อม ตาย ย่อมจุติ และย่อมอุบัติ ก็เมื่อสัตว์โลกไม่รู้จักอุบาย เครื่องออกไปพันจาก ทุกข์คือ ชรา มรณะแล้ว การออกจากทุกข์คือชรามรณะนี้จักปรากฏขึ้นได้อย่างไร?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความรู้แจ้งอย่างยิ่งด้วยปัญญา เพราะการทำในใจโดยแยบคาย ได้เกิดขึ้น แก่เราว่า เพราะชาตินั่นแล มีอยู่ ชรามรณะจึงได้มี เพราะมีชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรามรณะ ดังนี้.
..เพราะภพนั่นแลมีอยู่ ชาติจึงได้มี เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติดังนี้.
..เพราะอุปาทานนั่นแล มีอยู่ ภพจึงได้มี เพราะมีอุปทานเป็นปัจจัยจึงมีภพ ดังนี้.
..เพราะตัณหานั่นแลมีอยู่ อุปาทานจึงได้มี เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัยจึงมีอุปาทานดังนี้
..เพราะเวทนานั่นแลมีอยู่ ตัณหาจึงได้มี เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา ดังนี้.
..เพราะผัสสะนั่นแลมีอยู่ เวทนาจึงได้มี เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนาดังนี้.
..เพราะสฬายตนะนั่นแลมีอยู่ ผัสสะจึงได้ม เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงมีผัสสะดังนี้
..เพราะนามรูปนั่นแลมีอยู่สฬายตนะจึงได้มี เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัยจึงมีสฬายตนะดังนี้
..เพราะวิญญาณนั่นแลมีอยู่นามรูปจึงได้มี เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูปดังนี้
..เพราะสังขารนั่นแลมีอยู่วิญญาณจึงได้มี เพราะมีสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ ดังนี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความฉงนนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า เมื่ออะไรมีอยู่หนอสังขารทั้งหลายจึงได้มี เพราะมีอะไรเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความรู้แจ้งอย่างยิ่งด้วยปัญญา เพราะการทำในใจโดยแยบคาย ได้เกิดขึ้น แก่เราว่า เพราะอวิชชานั่นแล มีอยู่ สังขารทั้งหลายจึงได้มี เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย ดังนี้.
เพราะเหตุนั้น ข้อนี้จึงมีว่า เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย เพราะมีสังขารเป็น ปัจจัย จึงมีวิญญาณ ...ฯลฯ...ฯลฯ...ฯลฯ... เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะ โทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ ทั้งสิ้น นี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตา เกิดขึ้นแล้ว ญาณ เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชา เกิดขึ้น แล้ว แสงสว่าง เกิดขึ้น แก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เรา
ไม่เคยฟังมาแต่ก่อนว่า ความเกิดขึ้น พร้อม (สมุทัย)ความเกิดขึ้นพร้อม (สมุทัย) ดังนี้.
(ปฏิปักขนัย)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความฉงนนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า เมื่ออะไรไม่มีอยู่หนอชรามรณะจึงไม่มี เพราะความดับแห่งอะไร จึงมีความดับแห่งชรามรณะ ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความรู้แจ้งอย่างยิ่งด้วยปัญญา เพราะการทำในใจโดยแยบคาย ได้เกิดขึ้น แก่เราว่า เพราะชาตินั่นแล ไม่มี ชรามรณะจึงไม่มี เพราะความดับแห่งชาติ จึงมีความดับ แห่งชรามรณะ ดังนี้.
....เพราะภพนั่นแล ไม่มี ชาติจึงไม่มี เพราะความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ ดังนี้.
....เพราะอุปาทานนั่นแลไม่มี ภพจึงไม่มี เพราะความดับแห่งอุปทาน จึงมีความดับแห่งภพ ดังนี้.
....เพราะตัณหานั่นแล ไม่มี อุปาทานจึงไม่มี เพราะความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่ง อุปาทาน ดังนี้.
....เพราะเวทนานั่นแล ไม่มี ตัณหาจึงไม่มี เพราะความดับแห่งเวทนา จึงมีความดับแห่ง ตัณหา ดังนี้.
....เพราะผัสสะนั่นแล ไม่มี เวทนาจึงไม่มี เพราะความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่ง เวทนา ดังนี้.
....เพราะสฬายตนะนั่นแล ไม่มี ผัสสะจึงไม่มี เพราะความดับแห่งสฬายตนะ จึงมีความดับ แห่งผัสสะ ดังนี้.
....เพราะนามรูปนั่นแล ไม่มี สฬายตนะจึงไม่มี เพราะความดับ แห่งนามรูป จึงมีความดับ แห่งสฬายตนะ ดังนี้.
....เพราะวิญญาณนั่นแล ไม่มี นามรูปจึงไม่มี เพราะความดับแห่งวิญญาณ จึงมีความดับ แห่ง นามรูป ดังนี้.
....เพราะสังขารนั่นแล ไม่มี วิญญาณจึงไม่มี เพราะความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่ง วิญญาณ ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความฉงนนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า เมื่ออะไรไม่มีอยู่หนอสังขารทั้งหลาย จึงไม่มี เพราะความดับแห่งอะไร จึงมีความดับแห่งสังขารทั้งหลาย ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความรู้แจ้งอย่างยิ่งด้วยปัญญา เพราะการทำในใจโดยแยบคาย ได้เกิดขึ้น แก่เราว่า เพราะอวิชชานั่นแล ไม่มี สังขารทั้งหลายจึงไม่มี เพราะความดับแห่งอวิชชา จึงมีความดับแห่งสังขาร ดังนี้.
เพราะเหตุนั้น ข้อนี้จึงมีว่า เพราะความดับแห่งอวิชชา จึงมีความดับแห่งสังขาร เพราะมีความ ดับ แห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ ...ฯลฯ
…ฯลฯ...ฯลฯ...เพราะมีความดับแห่งชาติ นั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะ โทมนัสอุปายาสทั้งหลายจึงดับสิ้น ความดับลงแห่ง กองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตา เกิดขึ้นแล้ว ญาณ เกิดขึ้นแล้ว ปัญญา เกิดขึ้นแล้ว วิชชา เกิดขึ้น แล้ว แสงสว่าง เกิดขึ้นแล้ว แก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาแต่ก่อนว่า ความดับ ไม่เหลือ(นิโรธ) ความดับไม่เหลือ (นิโรธ) ดังนี้ดังนี้. แล.
หน้า 474
การคิดค้นปฏิจจสมุปบาท ของพระพุทธเจ้าในอดีต ๖ พระองค์
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ยังไม่ได้ ตรัสรู้ ก่อนแต่ที่ท่านตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่
ความปริวิตกอันนี้ได้เกิดขึ้นแก่ท่านว่า สัตว์โลกนี้หนอ ถึงทั่วแล้วซึ่งความยากเข็ญ ย่อมเกิด ย่อมแก่ย่อมตาย ย่อมจุติ และย่อมอุบัติ ก็เมื่อสัตว์โลกไม่รู้จักอุบายเครื่องออกไป พ้นจากทุกข์ คือชรามรณะแล้ว การออกจากทุกข์คือชรามรณะ นี้ จักปรากฎขึ้นได้อย่างไร?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้นแล ความฉงนนี้ได้เกิดขึ้นแก่พระวิปัสสีโพธิสัตว์นั้นว่า เมื่ออะไร มีอยู่หนอ ชรามรณะ จึงได้มี เพราะมีอะไรเป็นปัจจัย จึงมีชรามรณะ ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้นแล ความรู้แจ้งอย่างยิ่งด้วยปัญญา เพราะการทำในใจ โดยแยบคาย ได้เกิดขึ้นแก่พระวิปัสสีโพธิสัตว์นั้นว่า เพราะ ชาตินั่นแล มีอยู่ชรามรณะจึงได้มี เพราะมีชาติ เป็นปัจจัย จึงมีชรามรณะ ดังนี้
....เพราะภพนั่นแล มีอยู่ ชาติจึงได้มี เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติดังนี้.
....เพราะอุปาทานนั่นแล มีอยู่ ภพจึงได้มี เพราะมีอุปทานเป็นปัจจัยจึงมีภพ ดังนี้.
....เพราะตัณหานั่นแล มีอยู่ อุปาทานจึงได้มี เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัยจึงมีอุปาทาน ดังนี้.
....เพราะเวทนานั่นแล มีอยู่ ตัณหาจึงได้มี เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา ดังนี้.
....เพราะผัสสะนั่นแล มีอยู่ เวทนาจึงได้มี เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา ดังนี้.
....เพราะสฬายตนะนั่นแล มีอยู่ ผัสสะจึงได้มี เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงมีผัสสะ ดังนี้.
....เพราะนามรูปนั่นแล มีอยู่ สฬายตนะจึงได้มี เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัยจึงมีสฬายตนะ ดังนี้.
....เพราะวิญญาณนั่นแล มีอยู่ นามรูปจึงได้มี เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัยจึงมีนามรูป ดังนี้.
....เพราะสังขารนั่นแล มีอยู่ วิญญาณจึงได้มี เพราะมีสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้นแล ความฉงนนี้ ได้เกิดขึ้นแก่พระวิปัสสีโพธิสัตว์นั้นว่า เมื่อะไรมี อยู่หนอ สังขาร ทั้งหลายจึงได้มี เพราะมีอะไรเป็นปัจจัยจึงมีสังขารทั้งหลาย ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้นแล ความรู้แจ้งอย่างยิ่งด้วยปัญญา เพราะการทำในใจโดย แยบคาย ได้เกิดขึ้นแก่พระวิปัสสีโพธิสัตว์นั้นว่า เพราะอวิชชานั่นแลมีอยู่ สังขารทั้งหลาย จึงได้มี เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย ดังนี้.
เพราะเหตุนั้น ข้อนี้จึงมีว่า เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย เพราะมีสังขาร เป็นปัจจัย จึงมีวิญ ญาณ ...ฯลฯ...ฯลฯ...ฯลฯ
... เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะ โทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้น ครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อม แห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตา เกิดขึ้นแล้ว ญาณ เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชา เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่าง เกิดขึ้นแล้ว แก่พระวิปัสสีโพธิสัตว์นั้น
ในธรรมทั้งหลาย ที่เรา ไม่เคยฟัง มาแต่ก่อนว่า ความเกิดขึ้น พร้อม ความเกิดขึ้นพร้อม ดังนี้.
--- --- --- ---
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้นแล ความฉงนนี้ได้มีแก่พระวิปัสสีโพธิสัตว์ต่อไปว่า เมื่ออะไรไม่มี หนอ ชรามรณะจึงไม่มี เพราะความดับแห่งอะไร จึงมีความดับแห่งชรามรณะ ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้นแล ความรู้แจ้งอย่างยิ่งด้วยปัญญา เพราะการทำในใจโดย แยบ คาย ได้เกิดขึ้นแก่พระวิปัสสีโพธิสัตว์นั้นว่า
เพราะ ชาติ นั่นแล ไม่มีชรามรณะจึงไม่มี เพราะความดับแห่งชาติ จึงมีความดับ แห่งชรารณะ ดังนี้.
....เพราะ ภพ นั่นแล ไม่มี ชาติจึงไม่มี เพราะความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ ดังนี้.
....เพราะ อุปาทาน นั่นแลไม่มี ภพจึงไม่มี เพราะความดับแห่งอุปทานจึงมีความดับแห่งภพ ดังนี้.
....เพราะ ตัณหา นั่นแล ไม่มี อุปาทานจึงไม่มี เพราะความดับแห่งตัณหาจึงมีความดับ แห่ง อุปาทาน ดังนี้.
....เพราะ เวทนา นั่นแล ไม่มี ตัณหาจึงไม่มี เพราะความดับแห่งเวทนาจึงมีความดับแห่งตัณหา ดังนี้.
....เพราะ ผัสสะ นั่นแล ไม่มี เวทนาจึงไม่มี เพราะความดับแห่งผัสสะ
จึงมีความดับแห่ง เวทนา ดังนี้.
....เพราะสฬายตนะ นั่นแล ไม่มี ผัสสะจึงไม่มี เพราะความดับแห่งสฬายตนะ จึงมีความดับ แห่ง ผัสสะ ดังนี้.
....เพราะ นามรูป นั่นแล ไม่มี สฬายตนะจึงไม่มี เพราะความดับแห่งนามรูป จึงมี ความดับแห่ง สฬายตนะ ดังนี้.
....เพราะ วิญญาณ นั่นแล ไม่มี นามรูปจึงไม่มี เพราะความดับแห่งวิญญาณ จึงมีความดับแห่ง นามรูป ดังนี้.
....เพราะ สังขาร นั่นแล ไม่มี วิญญาณจึงไม่มี เพราะความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่ง วิญญาณ ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้นแล ความฉงนนี้ได้เกิดขึ้น แก่พระวิปัสสีโพธิสัตว์นั้นว่า เมื่ออะไร ไม่มีหนอ สังขารทั้งหลายจึงไม่มี เพราะความดับแห่งอะไร จึงมีความดับแห่งสังขาร ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้นแล ความรู้แจ้งอย่างยิ่งด้วยปัญญา เพราะการทำในใจ โดยแยบ คาย ได้เกิดขึ้นแก่ พระวิปัสสีโพธิสัตว์นั้นว่า เพราะอวิชชานั่นแลไม่มีสังขารทั้งหลายจึงไม่มี เพราะความดับแห่งอวิชชา จึงมีความดับแห่งสังขาร ดังนี้.
เพราะเหตุนั้น ข้อนี้จึงมีว่า เพราะความดับแห่งอวิชชา จึงมีความดับแห่งสังขาร เพราะมีความดับ แห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณวิญญาณ ...ฯลฯ...
…ฯลฯ...ฯลฯ... เพราะมีความดับ แห่งชาตินั้นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะ-ทุกขะโทมนัส อุปายาส ทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลง แห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตา เกิดขึ้นแล้ว ญาณ เกิดขึ้นแล้ว ปัญญา เกิดขึ้นแล้ว วิชชา เกิดขึ้น แล้ว แสงสว่าง เกิดขึ้นแล้ว แก่พระวิปัสสีโพธิสัตว์นั้นในธรรมทั้งหลาย ที่พระองค์ ไม่เคยฟังมาแต่ ก่อนว่า ความดับไม่เหลือ ความดับไม่เหลือ ดังนี้ แล.
…………………........................................................................
หมายเหตุผู้รวบรวม: แม้การคิดค้นปฏิจจสมุปบาท ของอดีตพระพุทธิเจ้า ๕ พระองค์ นอกจากนี้ คือพระสิขี พระเวสสภู พระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ และพระกัสสปะ ก็มีเนื้อความ ตรงกันกับ เรื่องราวอันเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าวิปัสสีนี้ ทุก ๆ ประการทุกตัวอักษร เว้นแต่ชื่อ พระพุทธเจ้า เท่านั้น.
อนึ่ง ข้อความเกี่ยวกับการคิดค้น ปฏิจจสมุปบาท ของพระพุทธเจ้าวิปัสสี ที่กล่าวไว้ใน คัมภีร์สังยุตตนิกาย ตามที่ได้นำมากล่าวไว้ ในข้อความแห่งหัวข้อข้างบนนี้นั้น มีข้อความบาง อย่างไม่ตรงกันแท้ กับข้อความเรื่องเดียวกัน ที่กล่าวอยู่ในคัมภีร์ที่ฆนิกาย คือในคัมภีร์ทีฆนิกาย นั้น กล่าวกระแสแห่งปฏิจจ ไปหยุดเสียเพียงแค่วิญญาณ กับนามรูป ไม่เลยขึ้นไปถึง อวิชชา ซึ่งได้ยก ข้อความนั้นมากล่าวไว้ในหมวดที่ ๑๐ ภายใต้หัวข้อว่า ปฏิจจสมุป-บาทแบบ ที่ตรัสโดย พระพุทธ เจ้าวิปัสสี ผู้สนใจพึงทำการเปรียบเทียบกันดู และ จะพบข้อแตกต่าง อยู่บางอย่าง ดังที่กล่าว มานี้ ซึ่งจะเป็นเพราะเหตุใดก็ยาก ที่จะทราบได้.
หน้า 479
ทรงบันลือสีหนาทเพราะทรงรู้ปัจจัยแห่งความเกิดและความดับ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคต เป็นผู้ประกอบด้วยพลญาณ ๑๐ อย่าง และประกอบด้วย เวสารัชช ญาณ ๔ อย่าง จึงปฏิญญาตำแหน่งจอมโลก บันลือสีหนาทประกาศพรหมจักร ในท่าม กลาง บริษัททั้งหลาย
ว่า รูป คือย่างนี้ ๆ. เหตุให้เกิดรูปคืออย่างนี้ ๆ ความไม่ตั้งอยู่ได้แห่งรูป คืออย่างนี้ๆ
และว่า เวทนา คืออย่างนี้ๆเหตุให้เกิดเวทนา คืออย่างนี้ ๆ ความไม่ตั้งอยู่ให้แห่งเวทนา คืออย่างนี้ ๆ
และว่าสัญญา คืออย่างนี้ ๆ เหตุให้เกิดสัญญา คืออย่างนี้ ๆ ความไม่ตั้งอยู่ได้แห่งสัญญา คืออย่างนี้ ๆ
และว่า สังขาร ทั้งหลาย คืออย่างนี้ ๆ เหตุให้เกิดสังขารทั้งหลายคืออย่างนี้ ๆ ความไม่ตั้ง อยู่ได้แห่งสังขารทั้งหลาย คืออย่างนี้ ๆ
และว่า วิญญาณคืออย่างนี้ ๆ เหตุให้เกิดวิญญาณ คืออย่างนี้ ๆ ความไม่ตั้งอยู่ได้แห่ง วิญญาณคืออย่างนี้ ๆ
และว่า เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เพราะสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จ ึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับด้วยอาการอย่างนี้ นี้ได้แก่ความที่เพราะมีอวิชชา เป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย
เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
...ฯลฯ ... ฯลฯ... ฯลฯ...ฯลฯ...
เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกข์โทมนัส อุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้น ครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อม แห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.
เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือ แห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว จึงมีความดับแห่ง สังขาร
เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ...ฯลฯ... ฯลฯ...ฯลฯ... ฯลฯ...เพราะมี ความดับ แห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส-อุปายาส ทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลง แห่งกอบทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี วยอาการอย่างนี้ ดังนี้ แล.
หน้า481
ทรงพยากรณ์แต่อริยญายธรรมเท่านั้น
อุตติยปริพพาชก ได้ทูลถามว่า ข้าแต่ท่านโคดมผู้เจริญ คำนี้ว่า โลกเที่ยงเท่านั้นเป็นคำจริง คำอื่นเป็นโมฆะ ดังนั้นหรือ?
ดูก่อนอุตติยะ ข้อที่ว่า โลกเที่ยง เท่านั้นเป็นคำจริง คำอื่นเป็นโมฆะดังนี้นั้น เป็นสัจจะ ที่เราไม่พยากรณ์
ข้าแต่ท่านโคดมผู้เจริญ คำนี้ว่า โลกไม่เที่ยง เท่านั้นเป็นคำจริง คำอื่นเป็นโมฆะ ดังนั้น หรือ?
ดูก่อนอุตติยะ ข้อที่ว่า โลกไม่เที่ยง เท่านั้นเป็นคำจริง คำอื่นเป็นโมฆะดังนี้นั้น เป็นสัจจะ ที่เราไม่พยากรณ์
ข้าแต่ท่านโคดมผู้เจริญ คำนี้ว่า โลกมีที่สุด เท่านั้นเป็นคำจริง คำอื่นเป็นโมฆะดังนั้นหรือ?
ดูก่อนอุตติยะ ข้อที่ว่า โลกมีที่สุดเท่านั้นเป็นคำจริง คำอื่นเป็นโมฆะดังนี้นั้น เป็นสัจจะ ที่เราไม่พยากรณ์
ข้าแต่ท่านโคดมผู้เจริญ คำนี้ว่าโลกไม่มีที่สุดเท่านั้นเป็นคำจริงคำอื่นเป็นโมฆะ ดังนั้น หรือ?
ดูก่อนอุตติยะ ข้อที่ว่า โลกไม่มีที่สุดเท่านั้นเป็นคำจริง คำอื่นเป็นโมฆะดังนี้นั้น เป็นสัจจะ ที่เรา ไม่พยากรณ์
ข้าแต่ท่านโคดมผู้เจริญ คำนี้ว่าชีวะก็อันนั้น สรีระก็อันนั้นเท่านั้น เป็นคำจริงคำอื่นเป็น โมฆะดังนั้นหรือ?
ดูก่อนอุตติยะ ข้อที่ว่า ชีวะก็อันนั้นสรีระก็อันนั้นเท่านั้นเป็นคำจริงคำอื่นเป็นโมฆะ ดังนี้นั้น เป็นสัจจะที่เราไม่พยากรณ์
ข้าแต่ท่านโคดมผู้เจริญ คำนี้ว่าชีวะก็อันอื่นสรีระก็อันอื่นเท่านั้น เป็นคำจริงคำอื่นเป็นโมฆะ ดังนั้นหรือ?
ดูก่อนอุตติยะ ข้อที่ว่า ชีวะก็อันอื่นสรีระก็อันอื่นเท่านั้นเป็นคำจริงคำอื่นเป็นโมฆะ ดังนี้นั้น เป็นสัจจะที่เราไม่พยากรณ์
ข้าแต่ท่านโคดมผู้เจริญ คำนี้ว่าตถาคตภายหลังแต่ตายแล้ว ย่อมมีอีกเท่านั้นเป็นคำจริง คำอื่นเป็นโมฆะดังนั้นหรือ?
ดูก่อนอุตติยะ ข้อที่ว่า ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้วย่อมมีอีก เท่านั้นเป็นคำจริง คำอื่นเป็น โมฆะ ดังนี้นั้น เป็นสัจจะที่เราไม่พยากรณ์
ข้าแต่ท่านโคดมผู้เจริญ คำนี้ว่าตถาคตภายหลังแต่ตายแล้ว ย่อมไม่มีอีกเท่านั้นเป็นคำ จริง คำอื่นเป็นโมฆะดังนั้นหรือ?
ดูก่อนอุตติยะ ข้อที่ว่า ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้วย่อมไม่มีอีก เท่านั้นเป็นคำจริง คำอื่น เป็นโมฆะ ดังนี้นั้น เป็นสัจจะที่เราไม่พยากรณ์
ข้าแต่ท่านโคดมผู้เจริญ คำนี้ว่าตถาคตภายหลังแต่ตายแล้ว ย่อมมีอีกก็มีย่อมไม่มีอีก ก็มีเท่านั้นเป็นคำจริงคำ อื่นเป็นโมฆะดังนั้นหรือ?
ดูก่อนอุตติยะ ข้อที่ว่า ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้วย่อมมีอีกก็มีย่อมไม่มีอีกก็มี เท่านั้น เป็นคำจริง คำอื่นเป็นโมฆะ ดังนี้นั้น เป็นสัจจะที่เราไม่พยากรณ์
ข้าแต่ท่านโคดมผู้เจริญ คำนี้ว่าตถาคตภายหลังแต่ตายแล้วย่อมมีอีก ก็หามิได้ย่อมไม่มี อีกก็หามิได้เท่านั้นเป็นคำจริงคำอื่นเป็นโมฆะดังนั้นหรือ?
ดูก่อนอุตติยะ ข้อที่ว่า ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้วย่อมมีอีก ก็หามิได้ย่อมไม่มีอีก ก็หา มิได้ เท่านั้นเป็นคำจริง คำอื่นเป็นโมฆะ ดังนี้นั้น เป็นสัจจะที่เราไม่พยากรณ์
ข้าแต่ท่านโคดมผู้เจริญ เมื่อท่านถูกเขาถามว่าคำว่าโลกเที่ยง เท่านั้นเป็นคำจริงคำอื่น เป็นโมฆะ ดังนั้นหรือ? ท่านก็ตอบว่า นั่นเราไม่พยากรณฺ์
เมื่อท่านถูกเขาถามว่า คำว่าโลก ไม่เที่ยงเท่านั้นเป็นคำจริงคำอื่นเป็นโมฆะดังนั้นหรือ? ดังนี้ก็ดี หรือเมื่อถูกเขาถามว่าคำว่าโลกมีที่สุดเท่านั้นเป็นคำจริงคำอื่นเป็นโมฆะดังนั้นหรือ?เท่านั้นเป็น คำจริง คำอื่นเป็นโมฆะ ดังนั้นหรือ? ดังนี้ก็ดี
หรือเมื่อถูกเขาถามว่าคำว่าชีวะก็อันอื่น สรีระก็อันอื่นเท่านั้น เป็นคำจริงคำอื่น เป็นโมฆะดังนั้น หรือ? ดังนี้ก็ดี หรือเมื่อถูกเขาถามว่าคำว่า ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้วย่อมมีอีกเท่านั้น เป็น คำจริงคำอื่น เป็นโมฆะดังนั้นหรือ? ดังนี้ก็ดี
หรือเมื่อถูกเขาถามว่าคำว่าตถาคตภ ายหลังแต่ตายแล้ว ย่อมไม่มีอีกเท่านั้น เป็นคำจริงคำอื่น เป็น โมฆะดังนั้นหรือ? ดังนี้ก็ดี
หรือเมื่อถูกเขาถามว่าคำว่า ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้ว ย่อมมีอีก ก็มีย่อมไม่มีอีกก็มีเท่านั้นเป็นคำจริง คำอื่นเป็นโมฆะดังนั้นหรือ? ดังนี้ก็ดี
หรือว่าท่านเมื่อถูกเขาถามว่าคำว่าตถาคต ภายหลังแต่ตายแล้วย่อมมีอีก ก็หามิได้ย่อมไม่มีอีก ก็หา มิได้เท่านั้นเป็นคำจริง คำอื่นเป็นโมฆะดังนั้นหรือ? ดังนี้ก็ดี ท่านก็ล้วนแต่ ตอบว่า ข้อนั้นเราไม่ พยากรณ์ เมื่อเป็นดังนั้น ข้อที่ท่านยอมพยากรณ์นั้นเป็นอย่างไรเล่า?
ดูก่อนอุตติยะ เราย่อมแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งเพื่อความหมดจดแห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงเสียซึ่งโสกะปริเทวะ เพื่อความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งทุกข์โทมนัส เพื่อการบรรลุซึ่งญายธรรม เพื่อ กระทำให้แจ้งซึ่ง นิพพาน
(นั่นแหละ คือข้อที่เรา พยากรณ์)
ดูก่อนท่านโคดมผู้เจริญ ข้อที่ท่านแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่ง เพื่อความ หมดจดแห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงเสียซึ่งโสกะปริเทวะ เพื่อความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งทุกข์ โทมนัส เพื่อการบรรลุซึ่งญายธรรม เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งนิพพานนั้นสัตว์โลกทั้งโลก หรือว่า สัตว์โลก ครึ่งโลก หรือว่าสัตว์หนึ่งในสามของโลก เล่าที่ออกไปจากทุกข์ได้ด้วยการ แสดงธรรมนั้น.
เมื่ออุตติยปริพพาชก ได้กล่าวอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงนิ่งเสีย
หมายเหตุผู้รวบรวม ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า เรื่องปฏิจจสมุปบาทเป็นเรื่องอริยญายธรรม (ดังที่ปรากฏอยู่ในบทนำแห่งหนังสือเล่มนี้ ภายใต้หัวข้อว่า ปฏิจจสมุปบาทคืออริยญายธรรม) ซึ่งเมื่อบุคคลรู้แล้ว ย่อมไม่มีหนทางที่จะเกิดทิฏฐิ ๑๐ประการ ดังที่อุตติยปริพพาชกได้นำมา ทูลถาม และพระองค์ไม่ทรงพยากรณ์ เพราะจะทรงพยากรณ์แต่ในเรื่องญายธรรม เช่น ปฏิจจสมุปบาท เป็นต้น อันจะป้องกันหรือทำลายเสียซึ่งทิฏฐิ ๑๐ ประการนั้น. ขอให้เห็นโดย ประจักษ์ อยู่เสมอไปว่า มิจฉาทิฏฐิทุกชนิด เกิดขึ้นเพราะไม่เห็นอิทัปปัจจยตา กล่าวคือ ปฏิจจสมุปบาท. การแสดงปฏิจจสมุปบาทซึ่งมุ่งตรงไปยังการบรรลุนิพพาน จึงเป็นสิ่งที่เรา พยากรณ์ เสมอไป. อนึ่งขอให้สังเกตเป็นพิเศษในตอนท้ายแห่งเรื่องนี้ว่า ถ้ามีผู้กล่าวล้อเลียน ประชดแดกดัน พระองค์จะทรงนิ่งเสีย ซึ่งควรถือว่าเป็น พระพุทธจริยาโดยแท้.
..........................................................................................
หน้า 485
ทรงชักชวนวิงวอนเหลือประมาณ
ในความเพียรเพื่อกิจเกี่ยวกับปฏิจจสมุปบาท
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคต เป็นผู้ประกอบด้วย พลญาณ ๑๐ อย่าง และประกอบด้วย เวสา รัชชญาณ ๔ อย่าง จึงปฏิญญาตำแหน่งจอมโลก บันลือสีหนาท ประกาศพรหมจักร ในท่ามกลาง บริษัททั้งหลาย
ว่า รูป คืออย่างนี้ๆ เหตุให้เกิดรูปคืออย่างนี้ๆ ความไม่ตั้งอยู่ได้แห่งรูป คืออย่างนี้ๆ
และว่า เวทนา คืออย่างนี้ๆเหตุให้เกิดเวทนา คืออย่างนี้ๆ ความไม่ตั้งอยู่ได้แห่งเวทนา คืออย่างนี้ ๆ
และว่าสัญญา คืออย่างนี้ ๆ เหตุให้เกิดสัญญา คืออย่างนี้ ๆ ความไม่ตั้งอยู่ได้แห่ง สัญญาคืออย่างนี้ๆ
และว่า สังขาร ทั้งหลาย คืออย่างนี้ๆ เหตุให้เกิดสังขารทั้งหลาย คืออย่างนี้ ๆ ความ ไม่ได้ตั้งอยู่แห่งสังขารทั้งหลาย คืออย่างนี้ๆ
และว่า วิญญาณ คืออย่างนี้ๆ เหตุให้เกิดวิญญาณ คืออย่างนี้ๆ ความไม่ตั้งอยู่ได้แห่ง วิญญาณ คืออย่างนี้ๆ
และว่า เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เพราะสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ ด้วยอาการอย่างนี้ นี้ได้แก่ความที่เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย
เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
...ฯลฯ... ฯลฯ...ฯลฯ...ฯลฯ...
เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขุโทมนัส อุปายาส ทั้ง หลาย จึงเกิดขึ้นครบ ถ้วน: ความเกิดขึ้นพร้อม แห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้
เพราะความจางคลาย ดับไปโดยไม่เหลือ แห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว จึงมีความดับแห่ง สังขาร
เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ
...ฯลฯ... ฯลฯ...
เพราะมีความดับ แห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส อุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลง แห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเรากล่าวดีแล้วอย่างนี้ เป็นธรรมที่ทำให้ตื้นแล้ว เปิดเผยแล้ว ประกาศแล้ว มีส่วนขี้ริ้วอันเราเฉือนออกสิ้นแล้ว (ฉินฺนปิโลติโก)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้ เป็นธรรมที่ทำให้ตื้นแล้วเปิดเผยแล้ว ประกาศแล้ว มีส่วนขี้ริ้ว อันเราเฉือนออกสิ้นแล้ว อย่างนี้ ย่อมเป็นการสมควรแท้ที่กุลบุตร ผู้บวช แล้วด้วยสัทธา จะปรารภความเพียร (ด้วยการอธิษฐานจิต) ว่า
หนัง เอ็น กระดูก จักเหลืออยู่ เนื้อและเลือดในสรีระ จะเหือดแห้งไปก็ตามที เมื่อยังไม่ลุถึง ประโยชน์ อันบุคคล จะลุได้ด้วยกำลังของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของ บุรุษแล้ว จักหยุด ความเพียรนั้นเสีย เป็นไม่มีเลย ดังนี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความเกียจคร้าน เกลื่อนกล่นไปด้วยธรรมที่เป็นบาปอกุศล ทั้งหลาย ย่อมอยู่เป็นทุกข์ และย่อมทำประโยชน์ตนอันใหญ่หลวงให้เสื่อมสิ้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนภิกษุผู้มีความเพียรอันปรารภแล้ว ย่อมอยู่เป็นสุข สงัดแล้วจาก ธรรม ที่เป็นบาปอกุศลทั้งหลาย เป็นอยู่ด้วย และย่อมทำประโยชน์ตนอันใหญ่หลวงให้บริบูรณ์ ด้วย
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การบรรลุธรรมอันเลิศ ด้วยการกระทำอันเลวนั้นย่อมมีไม่ได้ แต่ว่าการ บรรลุธรรมอันเลิศ ด้วยการกระทำอันเลิศนั้น ย่อมมีได้ แล
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์นี้ มีลักษณะ น่าดื่มเหมือนมัณฑะทั้งพระศาสดาก็ อยู่ที่นี่แล้ว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ พวกเธอทั้งหลาย พึงปรารภความเพียร เพื่อบรรลุ ธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อเข้าถึงธรรมที่ยังไม่ได้เข้าถึงเพื่อทำให้แจ้งธรรม ที่ยังไม่ได้ ทำให้แจ้ง เถิด.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอทั้งหลาย พึงทำความสำเหนียกอย่างนี้ ว่าด้วยการกระทำอย่างนี้ บรรพชาของเราทั้งหลาย นี้ จักเป็นบรรพชาไม่ต่ำทราม ไม่เป็นหมัน แต่จักเป็นบรรพชา มีผลกำไร.
อนึ่ง เราทั้งหลายบริโภคจีวร บิณฑบาตเสนาสนะ คิลานปัจจยเภสัชชบริขาร ของชนทั้งหลาย เหล่าใด การบริโภคทั้งหลายนั้นจักเป็น การบริโภค ที่มีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ แก่ชน ทั้งหลายเหล่านั้น ดังนี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะว่า เมื่อบุคคลเห็นอยู่ ซึ่งประโยชน์ตน ย่อมควรแท้ที่จะทำ ประโยชน์ นั้นให้ถึงพร้อม ด้วยความไม่ประมาท หรือว่า เมื่อเห็นอยู่ซึ่งประโยชน์เพื่อผู้อื่น ย่อมควรแท้ ที่จะทำประโยชน์นั้นให้ถึงพร้อม ด้วยความไม่ประมาท หรือว่า เมื่อเห็นอยู่ซึ่ง ประโยชน์ ทั้งสอง ฝ่าย ย่อมควรแท้ที่จะทำประโยชน์นั้นให้ถึงพร้อม ด้วยความไม่ประมาท ดังนี้ แล
หน้า488
ทรงแสดงธรรมเนื่องด้วยปฏิจจสมุปบาท
มีความงามเบื้องต้น - ท่ามกลาง – เบื้องปลาย
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันมีความ ไพเราะในเบื้องต้นไพเราะในท่ามกลาง ไพเราะในเบื้องปลาย แก่พวกเธอทั้งหลาย จักประกาศ
พรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้ง พยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง กล่าวคือ ธรรมหมวดละหก ๖ หมวด. พวกเธอทั้งหลายจง ฟังซึ่งธรรมนั้น จงทำในใจให้สำเร็จประโยชน์ เราจักกล่าวบัดนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
(๑) อายตนะ ทั้งหลายหก อันเป็นภายใน เป็นสิ่งที่ควรรู้
(๒) อายตนะ ทั้งหลายหก อันเป็นภายนอก เป็นสิ่งที่ควรรู้
(๓) หมู่แห่งวิญญาณ ทั้งหลายหก เป็นสิ่งที่ควรรู้
(๔) หมู่แห่งผัสสะ ทั้งหลายหกเป็นสิ่งที่ควรรู้
(๕) หมู่แห่งเวทนา ทั้งหลายหก เป็นสิ่งที่ควรรู้
(๖) หมู่แห่งตัณหา ทั้งหลายหก เป็นสิ่งที่ควรรู้
(๑) คำอันเรากล่าวแล้วอย่างนี้ว่า อายตนะทั้งหลายหกอันเป็นภายใน เป็นสิ่งที่ควรรู้ ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวเล่า? อายตนะคือ ตา มีอยู่ อายตนะ คือ หู มีอยู่ อายตนะ คือ จมูก มีอยู่ อายตนะ คือ ลิ้น มีอยู่ อายตนะคือ กาย มีอยู่ อายตนะคือใจ มีอยู่. ข้อที่เรากล่าวว่า อายตนะ ทั้งหลายหก อันเป็นภายใน เป็นสิ่งที่ควรรู้ ดังนี้นั้นเราอาศัยสิ่งเหล่านี้เองกล่าว. นี้คือ ธรรม หมวดละหก หมวดที่หนึ่ง.
(๒) คำอันเรากล่าวแล้วอย่างนี้ว่า อายตนะทั้งหลายหกอันเป็นภายนอกเป็นสิ่งที่ควรรู้ ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวเล่า? อายตนะคือ รูป มีอยู่ อายตนะคือ เสียง มีอยู่ อายตนะคือ กลิ่น มีอยู่ อายตนะคือ รส มีอยู่ อายตนะคือ โผฏฐัพพะ มีอยู่ อายตนะคือ ธัมมารมณ์ มีอยู่. ข้อที่เรากล่าวว่า อายตนะทั้งหลายหก อันเป็นภายนอก เป็นสิ่งที่ควรรู้ ดังนี้นั้น เราอาศัย สิ่งเหล่านี้เองกล่าว. นี้คือ
หน้า489
ธรรมหมวดละหก หมวดที่สอง
(๓) คำอันเรากล่าวแล้วอย่างนี้ว่า หมู่แห่งวิญญาณทั้งหลายหก เป็นสิ่งที่ควรรู้ ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวเล่า? เพราะอาศัยซึ่งจักษุด้วย รูปทั้งหลายด้วย จึงเกิดจักขุวิญญาณ (ในกรณีแห่งโสตะที่จะให้เกิดโสตวิญญาณก็ดี ฆานะที่จะให้เกิดฆานวิญญาณก็ดี ชิวหาที่จะให้ เกิดชิวหาวิญญาณก็ดี กายะที่จะให้เกิดกายวิญญาณก็ดี และมนะที่จะให้เกิดมโนวิญญาณก็ดี ก็มีข้อความอย่างเดียวกัน). ข้อที่เรากล่าวว่า หมู่แห่งวิญญาณทั้งหลายหก เป็นสิ่งที่ควรรู้ ดังนี้ นั้นเราอาศัยสิ่งเหล่านี้เองกล่าว. นี้คือ ธรรมหมวดละหก หมวดที่สาม.
(๔) คำอันเรากล่าวแล้วอย่างนี้ว่า หมู่แห่งผัสสะทั้งหลายหก เป็นสิ่งที่ควรรู้ดังนี้นั้น เราอาศัย อะไรกล่าวเล่า? เพราะอาศัยซึ่งจักษุด้วย รูปทั้งหลายด้วย จึงเกิด จักขุวิญญาณ การประจวบ พร้อมแห่งธรรม ๓ ประการ (จักษุ + รูป + จักขุวิญญาณ) นั่นคือ ผัสสะ(ในกรณีแห่งโสตะ ที่จะให้ เกิดโสตสัมผัสก็ดี ฆานะที่จะให้เกิดฆานสัมผัสก็ดี เป็นต้นจนกระทั่งถึงมโนที่จะให้เกิด มโนสัมผัส ก็ดี ก็มีข้อความอย่างเดียวกัน). ข้อที่เรากล่าวว่า หมู่แห่งผัสสะทั้งหลายหก เป็นสิ่งที่ควรรู้ดังนี้ นั้น เราอาศัยสิ่งเหล่านี้เองกล่าว. นี้คือ ธรรมหมวดละหก หมวดที่สี่
(๕) คำที่เรากล่าวแล้วอย่างนี้ว่า หมู่แห่งเวทนาทั้งหลายหก เป็นสิ่งที่ควรรู้ ดังนี้นั้น เราอาศัย อะไรกล่าวเล่า? เพราะอาศัยซึ่งจักษุด้วย รูปทั้งหลายด้วย จึงเกิดจักขุวิญญาณ การประจวบ พร้อมแห่งธรรม ๓ ประการ (จักษุ + รูป + จักขุวิญญาณ)นั่นคือ ผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา (ในกรณีแห่งโสตะที่จะให้เกิดโสตสัมผัสสชาเวทนาก็ดี ฆานะที่จะให้เกิด ฆานสัมผัสสชาเวทนาก็ดี เป็นต้น จนกระทั่งถึงมนะ ที่จะให้เกิด มโนสัมผัสสชา เวทนาก็ดี ก็มีข้อความ อย่างเดียวกัน).
ข้อที่เรากล่าวว่า หมู่แห่งเวทนาทั้งหลายหก เป็นสิ่งที่ควรรู้ ดังนี้นั้นเราอาศัยสิ่งเหล่านี้เองกล่าว นี้คือ ธรรมหมวดกละหก หมวดที่ห้า.
(๖) คำที่เรากล่าวแล้วอย่างนี้ว่า หมู่แห่งตัณหาทั้งหลายหก เป็นสิ่งที่ควรรู้ดังนี้นั้น เราอาศัย อะไรกล่าวเล่า? เพราะอาศัยซึ่งจักษุด้วย รูปทั้งหลายด้วย จึงเกิด จักขุ-วิญญาณ การประจวบ พร้อมแห่งธรรม ๓ ประการ (จักษุ + รูป + จักขุวิญญาณ) นั่นคือ ผัสสะ เพราะมีผัสสะ เป็นปัจจัย จึงมี เวทนา เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมี ตัณหา
(ในกรณีแห่งการเกิดสัททตัณหาก็ดี คันธตัณหาก็ดี รสตัณหาก็ดี โผฏฐัพพตัณหาก็ดี ธัมมตัณหา ก็ดี ก็มีข้อความอย่างเดียวกัน).
ข้อที่เรากล่าวว่า หมู่แห่งตัณหาทั้งหลายหก เป็นสิ่งที่ควรรู้ ดังนี้นั้นเราอาศัยสิ่งเหล่านี้เอง กล่าว. นี้ คือ ธรรมหมวดละหก หมวดที่หก. ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า จักษุเป็นอัตตา คำกล่าว เช่นนั้น ย่อม ไม่เข้าถึง (ซึ่งฐานะแห่งเหตุผล) เพราะว่าความเกิดก็ดี ความเสื่อมก็ดี ของจักษุ ปรากฏอยู่
ก็เมื่อความเกิดก็ดี ความเสื่อมก็ดี ของสิ่งใด ปรากฏอยู่ คำที่ควรกล่าวสำหรับสิ่ง (จักษุ) นั้น ก็ควรจะต้องเป็นอย่างนี้ว่า อัตตา ของเรา ย่อมเกิดขึ้นด้วย ย่อมเสื่อมไปด้วยดังนี้ เพราะฉะนั้น คำกล่าวของผู้ที่กล่าวว่า จักษุ เป็นอัตตา ดังนี้นั้น จึงไม่เข้าถึง(ซึ่งฐานะแห่งเหตุผล) เพราะเหตุนั้น จักษุจึงเป็นอนัตตา
(ในกรณีแห่งรูปก็ดี จักขุวิญญาณก็ดี จักขุสัมผัสก็ดี จักขุสัมผัสสชาเวทนาก็ดี รูปตัณหาก็ดี มีข้อความอย่างเดียวกัน กับในกรณีแห่งจักษุ ต่างกันแต่เพียงประโยคสุดท้าย คือจะเอาธรรม และ สหคตธรรมที่กล่าวแล้วในกรณีก่อน มากล่าวเพิ่มข้างหน้า ในกรณีหลังอีกตามลำดับ กันไปแห่ง กรณีนั้น ๆ เช่นในกรณีแห่งจักขุสัมผัส
ประโยคสุดท้ายจะมีว่า เพราะเหตุนั้น จักษุจึงเป็น อนัตตา รูปทั้งหลายจึงเป็นอนัตตา จักขุ วิญญาณ จึงเป็นอนัตตา จักขุสัมผัสจึงเป็น อนัตตา.
หรือเช่นในกรณีแห่งรูปตัณหา อันเป็นกรณี สุดท้ายแห่งหมวดจักษุ ประโยคสุดท้าย จะมีว่า เพราะเหตุนั้น จักษุจึงเป็นอนัตตา รูปทั้งหลาย จึงเป็นอนัตตา จักขุวิญญาณจึงเป็น อนัตตา จักขุสัมผัสจึงเป็นอนัตตา เวทนาจึงเป็นอนัตตา ตัณหาจึงเป็นอนัตตา.. ข้อความใน หมวด โสตะก็ดี-ฆานะก็ดี-ชิวหาก็ดี-กายะก็ดี-มนะก็ดี ที่ถูกยืดถือเป็นอัตตา ก็มีนัยแห่งการตรัส อย่าง เดียวกัน กับข้อความที่ตรัสแล้วในหมวดแห่งจักษุ ที่ถูกยืดถือเป็นอัตตา ต่างกันแต่เพียง ชื่อธรรม ประจำหมวดแต่ละหมวดเท่านั้น.)
[ข้างบนนี้ เป็นการแสดงความงามเบื้องต้น]
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิปทาอันให้ถึงความเกิดขึ้นพร้อม แห่งสักกายะมีอยู่อย่างนี้ คือบุคคล ย่อมสำคัญเห็นซึ่งจักษุว่า นั่น ของเรา นั่น เป็นเรา นั่นเป็นอัตตาของเรา
(ในกรณีแห่งรูปทั้งหลาย จักขุวิญญาณ จักขุสัมผัส เวทนา และตัณหา ก็ตรัสมีนัยดุจเดียวกัน กับในกรณีแห่งจักษุ. ในกรณีแห่งหมวดโสตะก็ดี -ฆานะก็ดี -ชิวหาก็ดี -กายะก็ดี -มนะก็ดี ได้ตรัส ไว้มีนัยเดียวกันกับในกรณีแห่งหมวดจักษุนั้นทุกประการ ต่างกันแต่เพียงชื่อซึ่งต้อง เปลี่ยนไป ตามหมวดนั้น ๆ เท่านั้น.)
[ข้างบนนี้ เป็นการแสดงความงามท่ามกลาง]
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิปทาอันให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งสักกายะมีอยู่อย่างนี้ คือ:-บุคคล ย่อมตามเห็นด้วยดีซึ่งจักษุว่า นั่น ไม่ใช่ของเรา (เนตํ มม) นั่น ไม่เป็นเรา (เนโสหมสฺมิ) นั่น ไม่ใช่อัตตาของเรา (น เมโส อตฺตา) (ในกรณีแห่งรูปทั้งหลาย จักขวิญญาณ จักขุสัมผัส เวทนา และตัณหา ก็ตรัสมีนัยดุจเดียวกันกับกรณีแห่งจักษุ.
กรณีแห่ง หมวดโสตะ - ฆานะ ไปจนกระทั่ง หมวดมนะ ก็ได้ตรัสไว้มีนัยะอย่างเดียวกันกับ ที่ตรัส ไว้ในกรณี แห่งหมวดจักษุนั้น ทุกประการ ต่างกันแต่เพียงชื่อซึ่งต้องเปลี่ยนไป ตามหมวดนั้น ๆ เท่านั้น).
[ข้างบนนี้เป็นการแสดงความงามเบื้องปลาย]
.....................................................................................
(ต่อไปได้ทรงแสดงอายตนะภายใน อายตนะภายนอก วิญญาณ ผัสสะ ทำหน้าที่กันจนเกิด
เวทนา ปฏิบัติผิดต่อเวทนา ๓ มีสุขเวทนาเป็นต้น ก็เป็นเหตุให้เพิ่มอนุสัยนั้นๆ ไปตามเวทนา เมื่อยังละบรรเทา ถนอมอนุสัยไม่ได้ ไม่ทำวิชชาให้เกิดขึ้นแล้ว ก็ไม่เป็นฐานะที่จะทำที่สุดแห่ง ทุกข์ได้ในทิฏฐิะรรม ซึ่งเนื้อความที่ทรงแสดงนี้ ได้นำใส่ไว้ในหมวดที่ ๕ ภายใต้หัวข้อว่า เวทนาในปฏิจจสมุปบาท ให้เกิดอนุสัย แล้วได้ตรัสโดยนัยที่ตรงกันข้าม หรือปฏิกขนัย อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเนื้อความที่ทรงแสดงนี้ ก็ได้นำมาใส่ไว้แล้วในหมวดที่ ๖ โดยหัวข้อว่า อนุสัยไม่ อาจจะเกิดเมื่อรู้เท่าทันเวทนา ในปฏิจจสมุปบาท ผู้ศึกษาต้องการทราบ รายละเอียดใน ถ้อยคำ ที่ตรัสทั้งสองนัยะนี้ ก็ดูได้จากหัวข้อนั้น ๆแห่งหมวดนั้น ๆ. ต่อจากนั้น ได้ตรัสว่า อริย สาวกเมื่อเห็นอยู่อย่างนั้น จะเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นในอายตนะ ภายใน ทั้งหก และ สหคตธรรมที่เนื่องด้วยอายตนะนั้น ๆ ซึ่งมีจำนวน ๖ หมวด ๆ ละ ๖. ในที่สุดแห่งธรรมเทศนานี้ มีผลทำให้ภิกษุ ๖๐ รูป บรรลุอรหัตตผล.)
หน้า 492
ศาสดาและสาวกย่อมมีการกล่าวตรงกันในเรื่องปฏิจจสมุปบาท
ก็คำนี้ว่า ชรามรณะมี เพราะปัจจัยคือชาติ ดังนี้ เช่นนี้แลเป็นคำที่เรากล่าวแล้ว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชรามรณะมี เพราะปัจจัยคือชาติ ใช่ไหม? เป็นอย่างนี้หรือเป็นอย่างไร ในข้อนี้?
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชรามรณะมีเพราะปัจจัยคือชาติ ในข้อนี้ต้องมีว่าชรามรณะมีเพราะปัจจัย คือชาติอย่างนี้เป็นแน่นอนพระเจ้าข้า
(ตรัสบอกแล้วทรงซักถาม และภิกษุทั้งหลายทูลตอบ ในลักษณะอย่างเดียวกันนี้เป็นลำดับไป ทุกอาการของปฏิจจสมุปบาท ซึ่งในที่นี้จะละไว้ด้วย...ฯลฯ...จนกระทั่งถึงอาการสุดท้าย คือสังขาร จึงจะเขียนเต็มรูปความอีกครั้งหนึ่ง)
---- ---- ---- ----
ก็คำนี้ว่า ชาติมี เพราะปัจจัยคือภพ...ฯลฯ...ฯลฯ...อย่างนี้แน่นอนพระเจ้าข้า
ก็คำนี้ว่า ภพมี เพราะปัจจัยคืออุปาทาน...ฯลฯ...ฯลฯ...อย่างนี้แน่นอนพระเจ้าข้า
ก็คำนี้ว่า อุปาทานมี เพราะปัจจัยคือตัณหา..ฯลฯ..ฯลฯ..อย่างนี้แน่นอนพระเจ้าข้า
ก็คำนี้ว่า ตัณหามี เพราะปัจจัยคือเวทนา...ฯลฯ...ฯลฯ...อย่างนี้แน่นอนพระเจ้าข้า
ก็คำนี้ว่า เวทนามี เพราะปัจจัยคือผัสสะ...ฯลฯ...ฯลฯ...อย่างนี้แน่นอนพระเจ้าข้า
ก็คำนี้ว่า ผัสสะมี เพราะปัจจัยคือสฬายตนะ..ฯลฯ..ฯลฯ..อย่างนี้แน่นอนพระเจ้าข้า
ก็คำนี้ว่า สฬายตนะมี เพราะปัจจัยคือนามรูป..ฯลฯ..ฯลฯ..อย่างนี้แน่นอนพระเจ้าข้า
ก็คำนี้ว่า นามรูปมี เพราะปัจจัยคือวิญญาณ..ฯลฯ..ฯลฯ..อย่างนี้แน่นอนพระเจ้าข้า
ก็คำนี้ว่า วิญญาณมี เพราะปัจจัยคือสังขาร..ฯลฯ..ฯลฯ..อย่างนี้แน่นอนพระเจ้าข้า
---- ---- ---- ----
ก็คำนี้ว่า สังขารทั้งหลายมี เพราะปัจจัยคืออวิชชา ดังนี้ เช่นนี้แลเป็นคำที่เรากล่าวแล้ว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายมี เพราะปัจจัยคืออวิชชาใช่ไหม? เป็นอย่างนี้หรือ เป็นอย่างไร ในข้อนี้?
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สังขารทั้งหลายมีเพราะปัจจัยคืออวิชชา ในข้อนี้ต้องมีว่าสังขารทั้งหลาย มีเพราะปัจจัย คืออวิชชาอย่างนี้เป็นแน่นอนพระเจ้าข้า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถูกแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เป็นอันว่า แม้พวกเธอก็กล่าวอย่างนี้ แม้เราก็กล่าวอย่างนี้ว่า เมื่อสิ่งนี้มีอยู่สิ่งนี้ก็มี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้นสิ่งนี้ก็เกิดขึ้น๑ กล่าวคือ เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย
เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส อุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.
เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือ แห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว จึงมีความดับแห่งสังขาร เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ
เพราะมีความดับแห่งวิญญาณ จึงมีความดับแห่งนามรูป
เพราะมีความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ
เพราะมีความดับแห่งสฬายตนะจึงมีความดับแห่งผัสสะ
เพราะมีความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา
เพราะมีความดับแห่งเวทนา จึงมีความดับแห่งตัณหา
เพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน
เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ
เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ
เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขุโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.
ก็คำว่า ความดับแห่งชรามรณะมี เพราะความดับแห่งชาติ ดังนี้เช่นนี้แลเป็นคำที่เรากล่าว แล้ว.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความดับแห่งชรามรณะ มีเพราะความดับแห่งชาติ ใช่ไหม่? เป็นอย่างนี้ หรือเป็นอย่างไร ในข้อนี้?
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความดับแห่งชาติชรามรณะ มีเพราะความดับแห่งชาติในข้อนี้ต้องมีว่าความดับแห่งชรามรณะ มีเพราะความดับแห่งชาติอย่างนี้เป็นแน่นอนพระเจ้าข้า
(ตรัสบอกแล้วทรงซักถาม และภิกษุทั้งหลายทูลตอบ ในลักษณะอย่างเดียวกันนี้ ทุกอาการ ของ ปฏิจจสมุปบาท ซึ่งในที่นี้จะละไว้ด้วย...ฯลฯ...จนกระทั่งถึงอาการสุดท้าย คือสังขาร จึงจะเขียนเต็มอีกครั้งหนึ่ง.)
---- ---- ---- ----
ก็คำนี้ว่า ความดับแห่งชาติมี เพราะความดับแห่งภพ...ฯลฯ...อย่างนี้แน่นอนพระเจ้าข้าคำนี้ว่า ความดับแห่งภพมี เพราะความดับแห่งอุปาทาน...ฯลฯ..
ก็คำนี้ว่า ความดับแห่งอุปาทานมี เพราะความดับแห่งตัณหา...ฯลฯ...อย่างนี้แน่นอนพระเจ้าข้า
ก็คำนี้ว่า ความดับแห่งตัณหามี เพราะความดับแห่งเวทนา...ฯลฯ...อย่างนี้แน่นอนพระเจ้าข้า
ก็คำนี้ว่า ความดับแห่งเวทนามี เพราะความดับแห่งผัสสะ...ฯลฯ...อย่างนี้แน่นอนพระเจ้าข้า
ก็คำนี้ว่า ความดับแห่งผัสสะมี เพราะความดับแห่งสฬายตนะ...ฯลฯ...อย่างนี้แน่นอนพระเจ้าข้า
ก็คำนี้ว่า ความดับแห่งสฬายตนะมี เพราะความดับแห่งนามรูป...ฯลฯ...อย่างนี้แน่นอนพระเจ้าข้า
ก็คำนี้ว่า ความดับแห่งนามรูปมี เพราะความดับแห่งวิญญาณ...ฯลฯ...อย่างนี้แน่นอนพระเจ้าข้า
ก็คำนี้ว่า ความดับแห่งวิญญาณมี เพราะความดับแห่งสังขาร...ฯลฯ...อย่างนี้แน่นอนพระเจ้าข้า
---- ---- ---- ----
ก็คำนี้ว่า ความดับแห่งสังขารมี เพราะความดับแห่งอวิชชา ดังนี้ เช่นนี้แล เป็นคำ ที่เรา กล่าวแล้ว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความดับแห่งสังขารมี เพราะความดับแห่งอวิชชาใช่ไหม? เป็น อย่างนี้หรือเป็นอย่างไร ในข้อนี้?
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความดับแห่งสังขารมี เพราะความดับแห่งอวิชชา ในข้อนี้ต้องมีว่าความดับแห่งสังขาร มีเพราะความดับแห่งอวิชชา อย่างนี้เป็นแน่นอนพระเจ้าข้า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถูกแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เป็นอันว่า แม้พวกเธอก็กล่าวอย่างนี้ แม้เราก็กล่าวอย่างนี้ว่า เมื่อสิ่งนี้ไม่มีอยู่สิ่งนี้ก็ไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับไปสิ่งนี้ก็ดับไป
กล่าวคือ เพราะความดับแห่งอวิชชา จึงมีความดับแห่งสังขาร
เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ
เพราะมีความดับแห่งวิญญาณจึงมีความดับแห่งนามรูป
เพราะมีความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ
เพราะมีความดับแห่งสฬายตนะ จึงมีความดับแห่งผัสสะ เพราะมีความดับแห่งผัสสะจึงมีความดับแห่งเวทนา
เพราะมีความดับแห่งเวทนา จึงมีความดับแห่งตัณหา
เพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน
เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ
เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ
เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขุโทมนัส อุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้นความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วย อาการอย่างนี้.
หมายเหตุผู้รวบรวม ผู้ศึกษาพึงสังเกต ในข้อที่ว่า พระศาสดากับพระสาวก ย่อมจะมี ความรู้เห็น ตรงกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีแห่งปฏิจจสมุปบาท โดยไม่เพียงแต่ปากว่า หรือกล่าวไป เพราะ ความเคารพในพระศาสดา แต่หมายความว่า พระสาวกรู้จักสิ่งที่เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท นั้นดีทุกอาการ และมองเห็นความเป็นอทิปปัจจยตาคือเป็นปัจจัยอาศัยกันเกิด ทุกอาการ จริงๆ.
หมวดที่แปด จบ
หน้า 502
หมวด ๙
ว่าด้วย ปฏิจจสมุปบาท กับอริยสาวก
ลำดับเรื่องเฉพาะหมวดสำหรับปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ หมวดที่ ๙ว่าด้วย ปฏิจจสมุปบาท กับอริยสาวก
(มี ๑๐ เรื่อง)
มีเรื่อง
1) ทรงกำชับสาวกให้เล่าเรียนปฏิจจสมุปบาท - -
2) ไม่รู้เรื่องรากฐานแห่งปฏิจจสมุปบาท ก็ยังไม่ใช่สาวกในศาสนานี้ --
3) อริยสาวกย่อมรู้ปฏิจจสมุปบาทโดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่น - -
4) อริยญายธรรมคือการรู้เรื่องปฏิจจสมุปบาท –
5) การสนทนาของพระมหาสาวก --
6) เวทนาของปุถุชนต่างจากของอริยสาวก --
7) อริยสาวกรู้ความเกิดและความดับของโลกอย่างไม่มีที่สงสัย --
8) พระโสดาบันคือผู้เห็นชัดปฏิจจสมุปบาทโดยวิธีแห่งอริยสัจสี่ --
9) โสตาปัตติยังคะขึ้นอยู่กับการรู้ปฏิจจสมุปบาทของอริยสาวก –
10) สามัญญผลในพุทธศาสนาเทียบกันไม่ได้กับลัทธิอื่น.
หน้า 503
ทรงกำชับสาวกให้เล่าเรียนปฏิจจสมุปบาท
ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อเสด็จประทับอยู่ในที่หลีกเร้นแหน่งหนึ่งแล้ว ได้ทรงกล่าวธรรม ปริยายนี้ (ตามลำพังพระองค์) ว่า เพราะอาศัย ตา ด้วย รูป ทั้งหลายด้วย จึงเกิด จักขุวิญญาณ การประจวบแห่งธรรม ๓ ประการ (ตา + รูป + จักขุวิญญาณ) นั่นคือ ผัสสะ
เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขุโทมนัส อุปายาสทั้งหลายจึงมีขึ้นพร้อม ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.
เพราะอาศัย หู ด้วย เสียง ทั้งหลายด้วย จึงเกิดโสตวิญญาณ การประจวบแห่งธรรม ๓ ประการ
(หู + เสียง + โสตวิญญาณ) นั้นคือ ผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา...ฯลฯ... ...ฯลฯ...
(ข้อความเต็มในกรณีแห่ง หู ก็มีอย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งตา ทุกตัวอักษร ต่างกัน แต่ชื่อ. ในกรณีแห่งจมูก ลิ้น กาย ก็มีนัยเดียวกัน. ในกรณีแห่งมโน จะเขียนเต็มอีกครั้งหนึ่ง)
...ฯลฯ ... ...ฯล ฯ... ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.
เพราะอาศัย จมูก ด้วย กลิ่น ทั้งหลายด้วย จึงเกิด ฆานวิญญาณ การประจวบแห่งธรรม ๓ ประการ (จมูก + กลิ่น + ฆานวิญญาณ) นั้นคือ ผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
...ฯลฯ... ...ฯลฯ...
...ฯลฯ... ...ฯลฯ... ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการ อย่างนี้.
เพราะอาศัย ลิ้น ด้วย รส ทั้งหลายด้วย จึงเกิด ชิวหาวิญญาณ การประจวบแห่งธรรม ๓ ประการ (ลิ้น + รส + ชิวหาวิญญาณ) นั้นคือ ผัสสะเพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
...ฯลฯ... ...ฯลฯ...
...ฯลฯ... ...ฯลฯ... ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการ อย่างนี้.
เพราะอาศัย กาย ด้วย โผฏฐัพพะ ทั้งหลายด้วย จึงเกิด กายวิญญาณการประจวบแห่งธรรม ๓ ประการ (กาย + โผฏฐัพพะ + กายวิญญาณ) นั้นคือ ผัสสะเพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
...ฯลฯ... ...ฯลฯ...
...ฯลฯ... ...ฯลฯ... ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.
เพราะอาศัยใจ ด้วย ธัมมารมณ์ ทั้งหลายด้วย จึงเกิดมโนวิญญาณ การประจวบแห่งธรรม ๓ ประการ (ใจ + ธัมมารมณ์ + มโนวิญญาณ) นั้นคือ ผัสสะ
เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขุโทมนัส อุปายาสทั้งหลายจึงมีขึ้นพร้อม ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.
(ปฏิปักขนัย)
เพราะอาศัย ตา ด้วย รูป ทั้งหลายด้วย จึงเกิด จักขุวิญญาณ การประจวบแห่งธรรม ๓ ประการ (ตา + รูป + จักขุวิญญาณ) นั้นคือ ผัสสะ
เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา.
เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งตัณหา นั้น จึงมีความดับแห่งอุปทาน
เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ
เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ
เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขุโทมนัส อุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.
เพราะอาศัย หู ด้วย เสียง ทั้งหลายด้วย จึงเกิดโสตวิญญาณ การประจวบแห่งธรรม ๓ ประการ (หู + เสียง + โสตวิญญาณ) นั้นคือ ผัสสะเพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
...ฯลฯ... ...ฯลฯ...
(ข้อความเต็มในกรณีแห่ง หู ก็มีอย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งตา ทุกตัวอักษร ต่างกัน แต่ชื่อในกรณีแห่งจมูก ลิ้น กาย ก็มีนัยเดียวกัน. ในกรณีแห่งมโน จะเขียนเต็มอีกครั้งหนึ่ง).
...ฯลฯ... ...ฯลฯ... ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.
เพราะอาศัย จมูก ด้วย กลิ่น ทั้งหลายด้วย จึงเกิด ฆานวิญญาณ การประจวบแห่งธรรม ๓ ประการ (จมูก + กลิ่น + ฆานวิญญาณ) นั้นคือ ผัสสะเพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
...ฯลฯ... ...ฯลฯ...
...ฯลฯ... ...ฯลฯ... ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.
เพราะอาศัย ลิ้น ด้วย รส ทั้งหลายด้วย จึงเกิด ชิวหาวิญญาณ การประจวบแห่งธรรม ๓ ประการ (ลิ้น + รส + ชิวหาวิญญาณ) นั้นคือ ผัสสะเพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
...ฯลฯ... ...ฯลฯ...
...ฯลฯ... ...ฯลฯ... ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.
เพราะอาศัย กาย ด้วย โผฏฐัพพะ ทั้งหลายด้วย จึงเกิด กายวิญญาณ การประจวบแห่ง ธรรม ๓ ประการ (กาย + โผฏฐัพพะ + กายวิญญาณ) นั้นคือ ผัสสะ
เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
...ฯลฯ... ...ฯลฯ...
...ฯลฯ... ...ฯลฯ... ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.
เพราะอาศัยใจ ด้วย ธัมมารมณ์ ทั้งหลายด้วย จึงเกิดมโนวิญญาณ การประจวบแห่งธรรม ๓ ประการ (ใจ + ธัมมารมณ์ + มโนวิญญาณ) นั้นคือ ผัสสะ
เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งตัณหา นั้น จึงมีความดับแห่งอุปทาน
เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ
เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ
เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขุโทมนัส-อุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.
สมัยนั้น ภิกษุองค์หนึ่ง ได้ยืนแอบฟังพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทอดพระเนตร เห็นภิกษุผู้ยืนแอบฟังนั้นแล้ว ได้ทรงกล่าวกะภิกษุนั้นว่า
ดูก่อนภิกษุ เธอได้ยิน ธรรมปริยายนี้ แล้วมิใช่หรือ?
ได้ยินแล้วพระเจ้าข้า
ดูก่อนภิกษุ เธอจงรับเอาธรรมปริยายนี้ไป.
ดูก่อนภิกษุ เธอจงเล่าเรียนธรรมปริยายนี้
ดูก่อนภิกษุ เธอจง ทรงไว้ซึ่งธรรมปริยายนี้.
ดูก่อนภิกษุ ธรรมปริยายนี้ ประกอบด้วย ประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ดังนี้ แล.
หน้า509
ไม่รู้เรื่องรากฐานแห่งปฏิจจสมุปบาท ก็ยังไม่ใช่สาวกในศาสนานี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปใดก็ตาม ยังไม่รู้ชัดซึ่ง สมุทัย อัตถังคมะอัสสาทะ อาทีนวะ และนิสสรณะ แห่งผัสสายตนะทั้งหลาย ๖ ประการ ตามความเป็นจริง ก็เป็นอันว่า พรหมจรรย์นี้อันภิกษุนั้น ไม่ได้อยู่ประพฤติเธออยู่ห่างไกลออกไปจากธรรมวินัยนี้.
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่ง ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ยังไม่โล่งใจในกรณีนี้ เพราะว่าข้าพระองค์ยังไม่รู้ชัดซึ่งสมุทัย อัตถังคมะอัสสาทะ อาทีนวะ และนิสสรณะ แห่งผัสสายตนะทั้งหลาย ๖ ประการตามความ เป็น จริง
ดูก่อนภิกษุ เธอจะสำคัญความข้อนี้ ว่าอย่างไร เธอย่อมตามเห็นซึ่งจักษุว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ดังนี้หรือ?
ข้อนั้นหามิได้พระเจ้าข้า
ถูกแล้ว ภิกษุ ในข้อนี้ การที่เธอตามเห็นซึ่งจักษุด้วยอาการอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ดังนี้ จักเป็นอันเธอเห็นดีแล้ว ด้วยปัญญาโดยชอบ ตาม ความจริง นี้แล เป็นที่สุดแห่งทุกข์.
……………………………………………………………………………………….
[ในกรณีแห่ง โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ และมโน ก็ทรงถาม ภิกษุทูลตอบ และตรัสอย่างเดียว กันกับในกรณีแห่งจักษุ ทุกประการ...ในสูตรถัดไปและในที่อื่นอีก (สูตรที่ ๑๐ มิคชาลวรรค สฬา.สํ ๑๘/๕๓/๘๖ และ สูตรที่ ๕ ฉันนวรรค สฬา.สํ ๑๘/๗๖/๑๑๔) ทรงแสดงอานิสงส์ ของการเห็นผัสสายตนะ ๖ โดยอาการ ๕ ในตอนท้ายแห่งเรื่องอย่างเดียวกันนี้ แปลกออกไป คือแทนที่จะทรงแสดงว่า นั่นเป็นที่สุดแห่งทุกข์ แต่ทรงแสดงว่า จักละผัสสายตนะได้ ไม่เป็นไป เพื่อการเกิดใหม่แห่งผัสสายตนะนั้น อีกต่อไป อีก สูตรหนึ่ง (สูตรที่ ๑๑ มิคชาลวรรค สฬา.สํ ๑๘/๕๔/๘๗) ทรงแสดงข้อความอย่างเดียวกัน แต่ทรงซัก ถามในภิกษุนั้นตอบ ยืนยันการเห็น อนัตตา อย่างละเอียดลออตามนัยแห่งอนัตตลักขณสูตร และประสบผล อย่างเดียวกันกับใน อนัตตลักขณสูตรนั้น].
…………………………………………………………………………………………………
หมายเหตุผู้รวบรวม : ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า ผัสสายตนะ ๖ คือ ตา
หู จมูก ลิ้น กาย และใจ นั่นเป็นรากฐานของปฏิจจสมุปบาท ถ้ารู้ทุกสิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับรากฐานอันนี้ ก็ย่อมตัด กระแส แห่งปฏิจจสมุปบาทได้เป็นแน่นอน.
…………………………………………………………………………………………………
หน้า510
อริยสาวก ย่อมรู้ปฏิจจสมุปบาทโดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกได้สดับแล้ว ย่อมไม่มีความสงสัยอย่างนี้ว่า เพราะอะไรมี อะไรจึงมีหนอ เพราะความเกิดขึ้นแห่งอะไร อะไรจึงเกิดขึ้น
เพราะอะไรมี สังขารทั้งหลายจึงมี เพราะอะไรมี วิญญาณจึงมี เพราะอะไรมีนามรูปจึงมี เพราะอะไรมี สฬายตนะจึงมี เพราะอะไรมี ผัสสะจึงมี เพราะอะไรมีเวทนาจึงมี เพราะอะไรมี ตัณหาจึงมี เพราะอะไรมี อุปาทาน จึงมี เพราะอะไรมีภพจึงมี เพราะอะไรมี ชาติจึงมี เพราะอะไรมี ชรามรณะจึงมี ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โดยที่แท้ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ในเรื่องนี้ โดยไม่ ต้องเชื่อผู้อื่นว่าเพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะความเกิดขึ้นของสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เพราะ อวิชชามี สังขารทั้งหลายจึงมี เพราะสังขารทั้งหลายมีวิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณมี นามรูปจึงมี เพราะนามรูปมี สฬายตนะจึงมีเพราะสฬายตนะมี ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะมี เวทนา จึงมี เพราะเวทนามี ตัณหาจึงมี เพราะตัณหามี อุปาทานจึงมี เพราะอุปาทานมี ภพจึงมี เพราะ ภพมีชาติจึงมี เพราะ ชาติมี ชรามรณะจึงมี ดังนี้.
อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ประจักษ์อย่างนี้ ว่า โลกนี้ ย่อมเกิดขึ้น ด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อมไม่มีความสงสัยอย่างนี้ ว่า
เพราะอะไรไม่มี อะไรจึงไม่มีหนอ เพราะความดับแห่งอะไร อะไรจึงดับ เพราะอะไรไม่มี สังขารทั้งหลาย จึงไม่มี เพราะอะไรไม่มี วิญญาณจึงไม่มี เพราะอะไรไม่มี นามรูปจึงไม่มี เพราะอะไรไม่มี สฬายตนะ จึงไม่มี
เพราะอะไรไม่มีผัสสะจึงไม่มี เพราะอะไรไม่มี เวทนาจึงไม่มี เพราะอะไร ไม่มี ตัณหาจึงไม่มี เพราะอะไรไม่มี อุปาทานจึงไม่มี เพราะอะไรไม่มี ภพจึงไม่มี เพราะอะไร ไม่มีชาติจึงไม่มี เพราะอะไรไม่มี ชรามรณะจึงไม่มี ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โดยที่แท้ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อม มีญาณหยั่งรู้ในเรื่องนี้ โดยไม่ ต้องเชื่อผู้อื่น ว่า เพราะสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะความดับแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับ
เพราะ อวิชชาไม่มี สังขารทั้งหลายจึงไม่มี
เพราะสังขารทั้งหลายไม่มี วิญญาณจึงไม่มี
เพราะวิญญาณไม่มี นามรูปจึงไม่มี
เพราะนามรูปไม่มีสฬายตนะจึงไม่มี
เพราะ สฬายตนะไม่มี ผัสสะจึงไม่มี
เพราะผัสสะไม่มี เวทนาจึงไม่มี
เพราะเวทนาไม่มี ตัณหาจึงไม่มี
เพราะตัณหาไม่มี อุปาทานจึงไม่มี
เพราะอุปาทานไม่มี ภพจึงไม่มี
เพราะภพไม่มี ชาติจึงไม่มี
เพราะชาติไม่มีชรามรณะจึงไม่มี ดังนี้.
อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ประจักษ์อย่างนี้ว่า โลกนี้ย่อมดับลงด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวก ย่อมมารู้ทั่วถึงเหตุเกิดและความดับแห่งโลก ตามที่เป็น จริงอย่างนี้ ในกาลใด ในกาลนั้น เราเรียกอริยสาวกนี้ว่าผู้สมบูรณ์แล้วด้วยทิฏฐิ ดังนี้บ้า ว่า ผู้สมบูรณ์แล้วด้วยทัสสนะ ดังนี้บ้างว่า ผู้มาถึงพระสัทธรรมนี้แล้ว ดังนี้บ้าง ว่า ได้เห็นพระ สัทธรรมนี้ ดังนี้บ้างว่า ผู้มาถึงพระสัทธรรมนี้แล้ว ดังนี้บ้าง ว่า ได้เห็นพระสัทธรรมนี้ ดังนี้บ้างว่า ผู้ประกอบแล้วด้วยญาณอันเป็นเสขะ ดังนี้บ้าง ว่าประกอบแล้วด้วยวิชชาอันเป็นเสขะ ดังนี้บ้าง ว่า ผู้ถึงซึ่งกระแสแห่งธรรมแล้ว ดังนี้บ้าง ว่า ผู้ประเสริฐมีปัญญาเครื่องชำแรกกิเลส ดังนี้บ้าง ว่า ยืนอยู่จดประตูแห่งอมตะ ดังนี้บ้างดังนี้ แล.
หน้า512
อริยญายธรรมคือการรู้เรื่องปฏิจจสมุปบาท
ดูก่อนคหบดี ก็อริยญายธรรม เป็นสิ่งที่อริยสาวกเห็นแล้วด้วยดี แทงตลอดแล้วด้วยดี ด้วยปัญญา เป็นอย่างไรเล่า?
ดูก่อนคหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นโดยประจักษ์ ดังนี้ว่า ด้วยอาการอย่างนี้ เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น.
เพราะสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้สิ่งนี้จึงดับไป
ข้อนี้ ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ
เพราะมีอวิชชา เป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย
เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
เพราะมีอุปาทานปัจจัย จึงมีภพ
เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะมีชาติ เป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะ-โทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิด ขึ้นพร้อมแห่งก่องทุกข์ทั้งสิ้นนี้ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.
เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว
จึงมีความดับแห่งสังขาร
เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ
เพราะมีความดับแห่งวิญญาณ จึงมีความดับ แห่งนามรูป
เพราะมีความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ
เพราะมีความดับแห่งสฬายตนะ จึงมีความดับแห่งผัสสะ
เพราะมีความแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา เพราะมีความดับแห่งเวทนาจึงมีความดับแห่งตัณหา
เพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน
เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ
เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ
เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขุ-โทมนัส
อุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.
ดูก่อนคหบดี อริยญายธรรมนี้แล เป็นสิ่งที่อริยสาวกเห็นแล้วด้วยดีแทงตลอดแล้วด้วยดี ด้วยปัญญา.
………………………………………………………………………………………….
หมายเหตุผู้รวบรวม ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า ตัวบทของปฏิจจสมุปบาทที่แสดงไว้ ตามที่รู้ กันอยู่ทั่วไป ฟังดูคล้ายกับว่า เป็นเพียงหลักสำหรับเรียน หรือสำหรับคิด ต่อเมื่อสังเกตอย่าง ละเอียด จึงจะมองเห็นว่า เป็นสิ่งที่ยิ่งกว่าหลักสำหรับเรียนหรือสำหรับคิดเท่านั้น แต่ทรง ประสงค์ ให้ เป็นตัวธรรมสำหรับการรู้แจ้งแทงตลอด หรือเป็นเครื่องนำสัตว์ออกไป จากกองทุกข์ ด้วยปัญญา ในตัวปัญญาที่เรียกว่า ยถาภูตสัมมัปปัญญา นั้นเองเป็นตัวการปฏิบัติ และในที่นี้ ตรัสเรียกว่า เป็นการรู้แจ้งแทงตลอดซึ่งอริยญายธรรม. ตัวการปฏิบัติโดยตรง ตั้งต้นด้วยการ มีสติระวัง เมื่อมี การกระทบทางอายตนะ เช่นตาเห็นรูปเป็นต้น อย่าให้เกิดม ีสิ่งที่เรียกว่า อวิชชาสัมผัส ขึ้นมา ได้ แล้วกระแสแห่งปฏิจจสมุปบาท ก็จะไม่เกิดขึ้นหรือ ดำเนินไป. สำหรับสิ่งที่เรียกว่าอวิชชา สัมผัสนั้น มีแจ้งอยู่ในหัวข้อชื่อนั้น ในหนังสือเล่มนี้แล้ว.
หน้า514
การสนทนาของพระมหาสาวก (เรื่องปฏิจจสมุปบาท)
ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตร กับท่าน พระมหาโกฏฐิตะ อยู่ ณ ป่าอิสะปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี. ครั้งนั้น ท่านพระมหาโกฏฐิตะออกจากที่หลีกเร้น ในเวลาเย็น เข้าไปหา พระสารีบุตร ถึงที่อยู่แล้วได้กล่าวคำนี้กะท่านพระสารีบุตรว่า ดูก่อนท่านสารีบุตร ชรามรณะ เป็นสิ่งที่บุคคล กระทำเองหรือหนอ? หรือว่าชรามรณะ เป็นสิ่งที่บุคคลอื่นกระทำ? ชรามรณะ เป็นสิ่งที่บุคคล กระทำ เองด้วยบุคคลอื่นกระทำด้วยหรือ? หรือว่าชรามรณะ เป็นสิ่งที่ไม่ใช่ บุคคลกระทำ เองหรือบุคคลอื่น กระทำก็เกิดขึ้นได้เล่า?
ท่านพระสารีบุตร ได้ตอบว่า ดูก่อนท่านโกฏฐิตะ ชรามรณะเป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเองก็ไม่ใช่ ชรามรณะเป็นสิ่งที่บุคคลกระทำก็ไม่ใช่ ชรามรณะเป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเอง ด้วยบุคคลอื่น กระทำ ด้วยก็ไม่ใช่ ทั้งชรามรณะจะเป็นสิ่งที่ไม่ใช่บุคคลกระทำเอง หรือบุคคลอื่นกระทำ ก็เกิดขึ้นได้ก็ ไม่ใช่ แต่ว่า เพราะมีชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรามรณะ
ท่านพระมหาโกฏฐิตะ ได้ถามอีกว่า ดูก่อนท่านสารีบุตร ชาติเป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเอง หรือ หนอ? หรือว่าชาติเป็นสิ่งที่บุคคลอื่นกระทำ? ชาติเป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเองด้วย บุคคลอื่น กระทำ ด้วยหรือ? หรือว่าชาติเป็นสิ่งที่ไม่ใช่บุคคลกระทำเอง หรือบุคคลอื่นกระทำก็เกิดขึ้น ได้เล่า?
ท่านพระสารีบุตร ได้ตอบว่า ดูก่อนท่านโกฏฐิตะ ชาติเป็นสิ่งที่บุคคลกระทำ เอง ก็ไม่ใช่ ชาติ เป็นสิ่งที่บุคคลอื่นกระทำ ก็ไม่ใช่ ชาติ เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเองด้วย บุคคลอื่นกระทำด้วย ก็ไม่ใช่ ทั้งชาติ จะเป็นสิ่งที่ไม่ใช่บุคคลกระทำเอง หรือบุคคลอื่นกระทำก็เกิดขึ้นได้ ก็ไม่ใช่ แต่ว่า เพราะมีภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ
ท่านพระมหาโกฏฐิตะ ได้ถามอีกว่า ดูก่อนท่านสารีบุตร ภพ เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเอง หรือ หนอ? หรือว่าภพ เป็นสิ่งที่บุคคลอื่นกระทำ? ภพ เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเองด้วยบุคคลอื่นกระทำ ด้วยหรือ? หรือว่าภพ เป็นสิ่งที่ไม่ใช่บุคคลกระทำเอง หรือบุคคลอื่นกระทำ ก็เกิดขึ้นได้ เล่า?
ท่านพระสารีบุตร ได้ตอบว่า ดูก่อนท่านโกฏฐิตะ ภพเป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเอง ก็ไม่ใช่ ภพ เป็นสิ่งที่บุคคลอื่นกระทำ ก็ไม่ใช่ ภพ เป็นสิ่งที่บุคคล
กระทำเองด้วย บุคคลอื่นกระทำด้วย ก็ไม่ใช่ ทั้งภพ จะเป็นสิ่งที่ไม่ใช่บุคคลกระทำเองหรือ บุคคลอื่นกระทำก็เกิดขึ้นได้ ก็ไม่ใช่ แต่ว่า เพราะมีอุปทานเป็นปัจจัยจึงมีภพ
ท่านพระมหาโกฏฐิตะ ได้ถามอีกว่า ดูก่อนท่านสารีบุตร อุปาทาน เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเอง หรือ? หรือว่า เป็นสิ่งที่บุคคลอื่นกระทำ? อุปาทาน เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเองด้วย บุคคลอื่น กระทำด้วยหรือ? หรือว่าเป็นสิ่งที่ไม่ใช่บุคคลกระทำเอง หรือบุคคลอื่นกระทำก็เกิดขึ้นได้ เล่า?
ท่านพระสารีบุตร ได้ตอบว่า ดูก่อนท่านโกฏฐิตะ อุปาทานเป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเอง ก็ไม่ใช่เป็นสิ่งที่บุคคลอื่นกระทำ ก็ไม่ใช่ อุปาทาน เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเองด้วย บุคคลอื่นกระ ทำด้วย ก็ไม่ใช่ ทั้งจะเป็นสิ่งที่ไม่ใช่บุคคลกระทำเอง หรือบุคคลอื่นกระทำก็เกิดขึ้นได้ ก็ไม่ใช่ แต่ว่า เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัยจึงมีอุปาทาน
ท่านพระมหาโกฏฐิตะ ได้ถามอีกว่า ดูก่อนท่านสารีบุตร ตัณหา เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเองหรือ? หรือว่า เป็นสิ่งที่บุคคลอื่นกระทำ? ตัณหา เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเองด้วยบุคคลอื่นกระทำ ด้วย หรือ? หรือว่าเป็นสิ่งที่ไม่ใช่บุคคลกระทำเอง หรือบุคคลอื่นกระทำ ก็เกิดขึ้นได้ เล่า?
ท่านพระสารีบุตร ได้ตอบว่า ดูก่อนท่านโกฏฐิตะ ตัณหาเป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเอง ก็ไม่ใช่ เป็นสิ่ง ที่บุคคลอื่นกระทำ ก็ไม่ใช่ ตัณหา เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเองด้วย บุคคลอื่นกระทำด้วย ก็ไม่ใช่ ทั้งจะเป็นสิ่งที่ไม่ใช่บุคคลกระทำเอง หรือบุคคลอื่นกระทำ ก็เกิดขึ้นได้ ก็ไม่ใช่ แต่ว่า เพราะมี เวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา
พระมหาโกฏฐิตะ ได้ถามอีกว่า ดูก่อนท่านสารีบุตร เวทนา เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเองหรือ? หรือว่า เป็นสิ่งที่บุคคลอื่นกระทำ? เวทนา เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเองด้วยบุคคลอื่นกระทำ ด้วยหรือ? หรือว่าเป็นสิ่งที่ไม่ใช่บุคคลกระทำเอง หรือบุคคลอื่นกระทำ ก็เกิดขึ้นได้ เล่า?
พระสารีบุตร ได้ตอบว่า ดูก่อนท่านโกฏฐิตะ เวทนา เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเอง ก็ไม่ใช่ เป็นสิ่ง ที่บุคคลอื่นกระทำ ก็ไม่ใช่ เวทนา เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเองด้วย บุคคลอื่นกระทำด้วย ก็ไม่ใช่ ทั้งจะเป็นสิ่งที่ไม่ใช่บุคคลกระทำเอง หรือบุคคลอื่นกระทำก็เกิดขึ้นได้ ก็ไม่ใช่ แต่ว่าเพราะมี ผัสสะเป็นปัจจัย จึงมี เวทนา
พระมหาโกฏฐิตะ ได้ถามอีกว่า ดูก่อนท่านสารีบุตร ผัสสะ เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเองหรือ? หรือว่า เป็นสิ่งที่บุคคลอื่นกระทำ? เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเองด้วยบุคคลอื่นกระทำด้วยหรือ? หรือว่าเป็นสิ่งที่ไม่ใช่บุคคลกระทำเอง หรือกระทำ ก็เกิดขึ้นได้ เล่า?
พระสารีบุตร ได้ตอบว่า ดูก่อนท่านโกฏฐิตะ ผัสสะเป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเอง ก็ไม่ใช่ เป็นสิ่ง ที่บุคคลอื่นกระทำ ก็ไม่ใช่ เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเองด้วย บุคคลอื่นกระทำด้วย ก็ไม่ใช่ ทั้งจะ เป็นสิ่งที่ไม่ใช่บุคคลกระทำเองห รือบุคคลอื่นกระทำก็เกิดขึ้นได้ ก็ไม่ใช่แต่ว่า เพราะมี สฬายตนะ เป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
พระมหาโกฏฐิตะ ได้ถามอีกว่า ดูก่อนท่านสารีบุตร สฬายตนะ เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเองหรือ? หรือว่า เป็นสิ่งที่บุคคลอื่นกระทำ? เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเอง ด้วยบุคคลอื่นกระทำด้วย หรือ? หรือว่าเป็นสิ่งที่ไม่ใช่บุคคลกระทำเอง หรือบุคคลอื่นกระทำ ก็เกิดขึ้นได้ เล่า?
พระสารีบุตร ได้ตอบว่า ดูก่อนท่านโกฏฐิตะ สฬายตนะเป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเอง ก็ไม่ใช่เป็นสิ่งที่บุคคลอื่นกระทำ ก็ไม่ใช่ เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเอง ด้วยบุคคลอื่นกระทำด้วย ก็ไม่ใช่ ทั้งจะเป็นสิ่งที่ไม่ใช่บุคคลกระทำเอง หรือบุคคลอื่นกระทำก็เกิดขึ้นได้ ก็ไม่ใช่แต่ว่า เพราะมีนานรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
พระมหาโกฏฐิตะ ได้ถามอีกว่า ดูก่อนท่านสารีบุตร นามรูป เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเองหรือ? หรือว่า เป็นสิ่งที่บุคคลอื่นกระทำ? เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเองด้วย บุคคลอื่นกระทำด้วยหรือ? หรือว่าเป็นสิ่งที่ไม่ใช่บุคคลกระทำเอง หรือบุคคลอื่นกระทำ ก็เกิดขึ้นได้ เล่า?
พระสารีบุตร ได้ตอบว่า ดูก่อนท่านโกฏฐิตะ นามรูปเป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเอง ก็ไม่ใช่ เป็นสิ่งที่บุคคลอื่นกระทำ ก็ไม่ใช่ เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเองด้วยบุคคลอื่นกระทำด้วย ก็ ไม่ใช่ ทั้งจะเป็นสิ่งที่ไม่ใช่บุคคลกระทำเอง หรือบุคคลอื่นกระทำก็เกิดขึ้นได้ ก็ไม่ใช่ แต่ว่า เพราะมีวิญญาณ เป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
พระมหาโกฏฐิตะ ได้ถามอีกว่า ดูก่อนท่านสารีบุตร วิญญาณ เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเองหรือ? หรือว่าเป็นสิ่งที่บุคคลอื่นกระทำ? เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเองด้วยบุคคลอื่นกระทำด้วยหรือ? หรือว่าเป็นสิ่งที่ไม่ใช่บุคคลกระทำเองหรือบุคคลอื่นกระทำก็เกิดขึ้นได้เล่า?
พระสารีบุตร ได้ตอบว่า ดูก่อนท่านโกฏฐิตะ วิญญาณเป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเองก็ไม่ใช่ เป็นสิ่งที่บุคคลอื่นกระทำก็ไม่ใช่ เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเองด้วยบุคคลอื่น กระทำด้วยก็ไม่ใช่ ทั้งจะเป็นสิ่งที่ไม่ใช่บุคคลกระทำเอง หรือบุคคลอื่นกระทำก็เกิดขึ้นได้ก็ไม่ใช่ แต่ว่า เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
ท่านพระมหาโกฏฐิตะ ได้กล่าวกะท่านพระสารีบุตรต่อไปว่า เราทั้งหลายย่อมรู้ทั่วถึงภาษิตของ ท่าน สารีบุตรเดี๋ยวนี้เองอย่างนี้ว่าดูก่อนท่านโกฏฐิตะ นามรูปเป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเอง ก็ไม่ใช่ เป็นสิ่งที่บุคคลอื่นกระทำก็ไม่ใช่ เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเอง ด้วยบุคคลอื่นกระทำด้วยก็ไม่ใช่ ทั้งจะเป็นสิ่งที่ไม่ใช่บุคคลกระทำเอง หรือบุคคลอื่นกระทำก็เกิดขึ้นได้ก็ไม่ใช่ แต่ว่าเพราะมี วิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป. อนึ่งเราทั้งหลายย่อมรู้ทั่วถึงภาษิตของ ท่านสารีบุตรเดี๋ยวนี้ อีกเหมือนกันอย่างนี้ว่า
ดูก่อนท่านโกฏฐิตะ วิญญาณเป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเอง ก็ไม่ใช่ เป็นสิ่งที่บุคคลอื่นกระทำ ก็ไม่ใช่ เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเองด้วยบุคคลอื่น กระทำด้วยก็ไม่ใช่ ทั้งจะเป็นสิ่งที่ไม่ใช่ บุคคลกระทำเอง หรือ บุคคลอื่นกระทำก็เกิดขึ้นได้ก็ไม่ใช่ แต่ว่าเพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ'
ดูก่อนท่านสารีบุตร ก็เนื้อความแห่งภาษิตนี้อันเราทั้งหลายจะพึงเห็นได้อย่างไร?
ท่านพระสารีบุตร ได้กล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าอย่างนั้นผมจักกระทำอุปมาให้ท่านฟัง. วิญญูชนทั้งหลายบางพวกในโลกนี้ ย่อมรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิต ได้แม้ด้วยอุปมา. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เปรียบเหมือนไม้อ้อสองกำจะพึงตั้งอยู่ได้ก็เพราะอาศัยซึ่งกันและกัน ข้อนี้ฉันใด
ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกันกล่าวคือ
เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ
เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัยจึงมีนามรูป
เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัยจึงมีสฬายตนะ
เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงมีผัสสะ
เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา
เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา
เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัยจึงมีอุปาทาน
เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัยจึงมีภพ
เพราะมีภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ
เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะโสกะปริเหาะ ทุกขะโทมนัส อุปายาสทั้งหลายจึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ไม้อ้อสองกำนั้นถ้าบุคคล ดึงเอาออกเสียกำหนึ่งไซร้ อีกกำหนึ่งก็พึงล้มไป ถ้าบุคคลดึงเอากำอื่นอีกออกไปไซร้กำอื่นอีก ก็พึงล้มไปข้อนี้ฉันใด ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ข้อนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกันคือ
เพราะความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งวิญญาณ
เพราะมีความดับ แห่งวิญญาณจึงมีความดับแห่งนามรูป
เพราะมีความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ
เพราะมีความดับแห่งสฬายตนะ จึงมีความดับแห่งผัสสะ
เพราะมีความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา
เพราะมีความดับแห่งเวทนา จึงมีความดับ แห่งตัณหา
เพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน
เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ
เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ
มีความดับแห่งชาตินั้นแล ชรามรณะโสกะปริเทวะทุกขะ
โทมนัสอุปายาส
ทั้งหลายจึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้
ท่านพระมหาโกฏฐิตะ ได้กล่าวว่า น่าอัศจรรย์ท่านสารีบุตร ไม่เคยมีแล้วท่านสารีบุตร เท่าที่ท่านสารีบุตรกล่าวมานี้นับว่าเป็นการกล่าวดีแล้ว. ก็แลเราทั้งหลายขออนุโมทนายินดี ต่อคำเป็นสุภาษิตของท่านสารีบุตร นี้ด้วยวัตถุ ๓๖ เรื่อง เหล่านี้คือ
(๑) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุแสดงธรรม เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งชราและมรณะอยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า ภิกษุธรรมกถึก
(๒) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบิตแล้ว เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งชราและมรณะอยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า ภิกษุผู้ปฏิบัติสมควรแก่ธรรมแล้ว
(๓) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะความเบื่อหน่าย เพราะความคลาย กำหนัด เพราะความดับไม่เหลือแห่งชราและมรณะ ด้วยความเป็นผู้ไม่ยึดมั่นถือมั่นอยู่แล้วไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า ภิกษุผู้บรรลุแล้วซึ่งนิพพานในทิฏฐธรรม
(๔) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ ไม่เหลือแห่งชาติอยู่แล้วไซร้ ก็เป็นการสมควร เพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า ภิกษุธรรมกถึก
(๕) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติแล้วเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งชาติอยู่แล้วไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า ภิกษุผู้ปฏิบัติ ธรรมสมควรแก่ธรรมแล้ว
(๖) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะความเบื่อหน่าย เพราะความคลาย กำหนัด เพราะความดับไม่เหลือแห่งชาติ ด้วยความเป็นผู้ไม่ยึดมั่นถือมั่นอยู่แล้วไซร้ ก็เป็นการ สมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า ภิกษุผู้บรรลุแล้วซึ่งนิพพานในทิฏฐธรรม.
(๗) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือ แห่งภพอยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า ภิกษุธรรมกถึก
(๘) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติแล้วเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งภพอยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรมแล้ว
(๙) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะความเบื่อหน่าย เพราะความคลาย กำหนัด เพราะความดับไม่เหลือแห่งภพ ด้วยความเป็นผู้ไม่ยึดมั่นถือมั่นอยู่แล้วไซร้ ก็เป็นการสมควร เพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า ภิกษุผู้บรรลุแล้วซึ่งนิพพานในทิฏฐธรรม
(๑๐) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุแสดงธรรม เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งอุปาทานอยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า ภิกษุธรรมกถึก
(๑๑) ดูก่อนท่านผู้มีอายุถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติแล้ว เพื่อความเบื่อหน่ายเพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือ แห่งอุปาทานอยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า ภิกษุผู้ปฏิบัติ ธรรมสมควรแก่ธรรมแล้ว
(๑๒) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะความเบื่อหน่าย เพราะความคลาย กำหนัดเพราะความดับไม่เหลือ แห่งอุปาทาน ด้วยความเป็นผู้ไม่มีความยึดมั่นถือมั่น อยู่แล้ว ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า ภิกษุผู้บรรลุแล้วซึ่งนิพพานในทิฏฐธรรม
(๑๓) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งตัณหาอยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่าภิกษุธรรมกถึก.
(๑๔) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติแล้ว เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งตัณหาอยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า ภิกษุผู้ปฏิบัติ ธรรม สมควรแก่ธรรมแล้ว
(๑๕) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะความเบื่อหน่าย เพราะความคลาย กำหนัด เพราะความดับไม่เหลือแห่งตัณหา ด้วยความเป็นผู้ไม่มีความยึดมั่นถือมั่น อยู่แล้วไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า ภิกษุผู้บรรลุแล้วซึ่งนิพพานในทิฏฐธรรม.
(๑๖) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุแสดงธรรม เพื่อความเบื่อหน่ายเพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งเวทนาอยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า ภิกษุธรรมกถึก
(๑๗) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติแล้ว เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งเวทนาอยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า ภิกษุผู้ปฏิบัติ ธรรม สมควรแก่ธรรมแล้ว
(๑๘) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะความเบื่อหน่าย เพราะความคลาย กำหนัด เพราะความดับไม่เหลือแห่งเวทนา ด้วยความเป็นผู้ไม่ยึดมั่นถือมั่นอยู่แล้วไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า ภิกษุผู้บบรรลุแล้วซึ่งนิพพานในทิฏฐธรรม
(๑๙) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งผัสสะอยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า ภิกษุธรรมกถึก
(๒๐) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติแล้วเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งผัสสะอยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า ภิกษุผู้ปฏิบัติ ธรรมสมควรแก่ธรรมแล้ว
(๒๑) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะความเบื่อหน่าย เพราะความคลาย กำหนัด เพราะความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ ด้วยความเป็นผู้ไม่มีความยึดมั่นถือมั่น อยู่แล้วไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า ภิกษุผู้บรรลุแล้วซึ่งนิพพานในทิฏฐธรรม
(๒๒) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่ายเพื่อ
ความคลายกำหนัดเพื่อ ความดับไม่เหลือแห่งสฬายตนะอยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่าภิกษุธรรมกถึก
(๒๓) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติแล้วเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งสฬายตนะอยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมแล้ว
(๒๔) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะความเบื่อหน่าย เพราะความคลาย กำหนัดเพราะความดับไม่เหลือ แห่งสฬายตนะ ด้วยความไม่ยึดมั่นถือมั่นอยู่แล้วไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า ภิกษุผู้บรรลุแล้วซึ่งนิพพานในทิฏฐธรรม
(๒๕) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อ ความดับไม่เหลือแห่งนามรูปอยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่าภิกษุธรรมกถึก.
(๒๖) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติแล้ว เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งนามรูปอยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า ภิกษุผู้ปฏิบัติ ธรรมสมควรแก่ธรรมแล้ว
(๒๗) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะความเบื่อหน่าย เพราะความคลาย กำหนัด เพราะความดับไม่เหลือแห่งนามรูป ด้วยความไม่ยึดมั่นถือมั่นอยู่แล้วไซร้ ก็เป็นการ สมควร พื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า ภิกษุผู้บรรลุแล้วซึ่งนิพพานในทิฏฐธรรม
(๒๘) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุแสดงธรรม เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัดเพื่อ ความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณอยู่ไซร้ก็เป็นการสมควร เพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า ภิกษุธรรมกถึก.
(๒๙) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติแล้วเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณอยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควร เพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า ภิกษุผู้ ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมแล้ว
(๓๐) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะความเบื่อหน่าย เพราะความ คลายกำหนัด เพราะความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ ด้วยความไม่ยึดมั่นถือมั่นอยู่แล้วไซร้ ก็เป็นการสมควร เพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า ภิกษุผู้บรรลุแล้วซึ่งนิพพานในทิฏฐธรรม
(๓๑) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุแสดงธรรม เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัดเพื่อ ความดับไม่เหลือแห่งสังขารอยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควร เพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า ภิกษุธรรมกถึก.
(๓๒) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติแล้ว เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือ แห่งสังขารอยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า ภิกษุผู้ปฏิบัติ ธรรมสมควรแก่ธรรมแล้ว
(๓๓) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะความเบื่อหน่าย เพราะความคลาย กำหนัด เพราะความดับไม่เหลือแห่งสังขาร ด้วยความไม่ยึดมั่นถือมั่นอยู่แล้วไซร้ ก็เป็นการ สมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า ภิกษุผู้บรรลุแล้วซึ่งนิพพานในทิฏฐธรรม
(๓๔) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุแสดงธรรม เพื่อความเบื่อหน่ายเพื่อความคลายกำหนัดเพื่อ ความดับไม่เหลือ แห่งอวิชชาอยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่าภิกษุธรรมกถึก
(๓๕) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติแล้ว เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่ง อวิชชาอยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่าภิกษุผู้ปฏิบัติ ธรรมสมควรแก่ธรรมแล้ว
(๓๖) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะความเบื่อหน่าย เพราะความคลาย กำหนัด เพราะความดับไม่เหลือแห่งอวิชชา ด้วยความไม่ยึดมั่นถือมั่นอยู่แล้วไซร้ ก็เป็นการ สมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า ภิกษุผู้บรรลุแล้วซึ่งนิพพานในทิฏฐธรรม ดังนี้แล
หน้า526
เวทนาของปุถุชน ต่างจากของอริยสาวก
(ในแง่ของปฏิจจสมุปบาท)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่มีการสดับแล้ว ย่อมเสวยซึ่งเวทนา อันเป็นสุขบ้าง อันเป็น ทุกข์บ้าง อันมิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อริยสาวก
ผู้มีการสดับแล้ว ก็ย่อมเสวยซึ่งเวทนา อันเป็นสุขบ้าง. อันเป็นทุกข์บ้าง อันมิใช่ทุกข์มิใช่ สุขบ้าง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเป็นเช่นนั้น ในระหว่างอริยสาวกผู้มีการสดับ กับปุถุชน ผู้ไม่มีการสดับ ดังที่กล่าวมานี้ อะไรเป็นความผิดแผกแตกต่างกัน อะไรเป็นความมุ่งหมาย ที่แตกต่างกัน อะไรเป็นเหตุที่แตกต่างกัน ระหว่างอริยสาวกผู้มีการสดับ จากปุถุชนผู้ไม่มี การสดับ?
ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น กราบทูลวิงวอนว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลายของพวกข้า พระองค์ มีพระผู้มีพระภาคเป็นมูล มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึง. ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ เป็นการชอบแล้วหนอ ขอให้อรรถแห่งภาษิตนั้น จงแจ่มแจ้งกะพระผู้มีพระภาค เองเถิดภิกษุทั้งหลายได้ฟังจากพระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้ ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่มีการสดับแล้ว อันทุกขเวทนาถูกต้องอยู่ย่อมเศร้าโศก ย่อมกระวนกระวาย ย่อมร่ำไรรำพัน เป็นผู้ทุบอกร่ำไห้ ถึงความมีสติฟั่นเฟือน เขาย่อม เสวยซึ่งเวทนาทั้ง เวทนาทั้ง ๒ ฝ่าย คือ เวทนาทั้งทางกายและทางจิต
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษพึงยิงบุรุษด้วยลูกศร แล้วพึงยิงซ้ำซึ่งบุรุษนั้นด้วย ลูกศรที่สองอีก บุรุษผู้ถูกยิงด้วยลูกศรสองลูกอย่างนี้ ย่อมเสวยเวทนาทางกายด้วยทางจิต ด้วยแม้ฉันใด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่มีการสดับแล้วก็เป็นฉันนั้น คือ เมื่อทุกขเวทนาถูกต้องอยู่ย่อมเศร้าโศก ย่อมกระวนกระวาย ย่อมร่ำไรรำพัน เป็นผู้ทุกอกร่ำไห้ ถึงความมีสติ ฟั่นเฟือนอยู่ ชื่อว่าเขาย่อมเสวยซึ่งเวทนาทั้งสองอย่าง คือทั้งทางกายและทางจิต.
เขาเป็นผู้มีปฏิฆะเพราะทุกขเวทนานั้นนั่นเอง. ปฏิฆานุสัย อันใด อันเกิดจากทุกขเวทนา ปฏิฆานุสัยอันนั้น ก็ย่อมนอนตามซึ่งบุคคลนั้นผู้มีปฏิฆะด้วยทุกขเวทนา. บุคคลนั้นอัน ทุกขเวทนาถูกต้องอยู่ ย่อมจะพอใจซึ่งกามสุข. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนั้นเพราะ
เหตุว่า ปุถุชนผู้ไม่มีการสดับแล้ว ย่อมไม่รู้ชัดอุบายเครื่องปลดเปลื้อง ซึ่งทุกขเวทนาเว้นแต่กามสุขเท่านั้น (ที่เขาคิดว่าจะระงับทุกขเวทนาได้). เมื่อปุถุชนนั้นพอใจยิ่งอยู่ ซึ่งความสุข ราคานุสัยอันใด อันเกิดจากสุขเวทนา ราคานุสัยอันนั้นย่อมนอนตามซึ่งปุถุชนนั้น. ปุถุชนนั้น ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งเวทนา ซึ่งความตั้งอยู่ไม่ได้ซึ่ง รสอร่อย ซึ่งโทษอันต่ำทราม และซึ่งอุบายเป็นเครื่องออกไปพ้น แห่งเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น ตามที่เป็นจริง.
เมื่อปุถุชนนั้นไม่รู้ชัดอยู่ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้น ซึ่งความตั้งอยู่ไม่ได้ ซึ่งรสอร่อย ซึ่งโทษอันต่ำทราม และ ซี่งอุบายเป็นเครื่องออกไปพ้น แห่งเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น ตามที่เป็นจริง ดังนี้แล้ว อวิชชานุสัย อันใด อันเกิดจากอทุกขมสุขเวทนา อวิชชานุสัยอันนั้น ย่อมนอนตามซึ่งปุถุชนนั้น.
ปุถุชนนั้น ถ้าเสวยสุขเวทนา ย่อมเป็นผู้ติดพัน (ในเวทนา) เสวยเวทนานั้นถ้าเสวยทุกขเวทนา ก็เป็นผู้ติดพันเสวยเวทนานั้น ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็ยังเป็นผู้ติดพันเสวยเวทนานั้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่มีการสดับนี้ เรากล่าวว่า เป็นผู้ติดพันแล้วด้วยชาติชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส อุปายาสทั้งหลาย เรากล่าวว่า เป็นผู้ติดพันแล้วด้วยทุกข์ ดังนี้
(ปฏิปักขนัย)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนอริยสาวกผู้มีการสดับแล้ว อันทุกขเวทนาถูกต้องอยู่ ย่อมไม่เศร้าโศก ย่อมไม่กระวนกระวาย ย่อมไม่ร่ำไรรำพัน ไม่เป็นผู้ทุบอกร่ำไห้ไม่ถึงความมีสติฟั่นเฟือน ย่อม เสวยเวทนาเพียงอย่างเดียว คือเวทนาทางกายหามีเวทนาทางจิตไม่
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษพึงยิงบุรุษด้วยลูกศรแล้ว ไม่พึงยิงซ้ำซึ่งบุรุษนั้นด้วย ลูกศรที่สอง เมื่อเป็นอย่างนี้ บุรุษนั้นย่อมเสวยเวทนาจากลูกศรเพียง
ลูกเดียว แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้มีการสดับแล้ว ก็ฉันนั้นคือ เมื่อทุกข เวทนาถูกต้องอยู่ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่กระวนกระวาย ไม่ร่ำไรรำพันไม่เป็นผู้ทุบอกร่ำไห้ ไม่ถึงซึ่งความมีสติฟั่นเฟือน อริยสาวกนั้น ชื่อว่าย่อมเสวยเวทนาเพียงอย่างเดียว คือเวทนา ทางกาย หามีเวทนาทางจิตไม่ อริยสาวกนั้น หาเป็นผู้มีปฏิฆะ เพราะทุกขเวทนานั้นไม่. ปฏิฆานุสัย อันใด อันเกิดจากทุกขเวทนา ปฏิฆานุสัยอันนั้น. ก็ย่อมไม่นอนตามซึ่งอริยสาวก นั้นผู้ไม่มีปฏิฆะเพราะทุกขเวทนา.
อริยสาวกนั้นอันทุกขเวทนาถูกต้องอยู่ ก็ไม่พอใจซึ่งกามสุข. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนั้นเพราะเหตุว่า อริยสาวกผู้มีการสดับแล้ว ย่อม รู้ชัดอุบายเครื่อง ปลดเปลื้องซึ่งทุกขเวทนา ซึ่งเป็นอุบายอื่นนอกจากกามสุข. เมื่ออริยสาวกนั้นมิได้พอใจ ซึ่งกามสุขอยู่ ราคานุสัยอันใด อันเกิดจากสุขเวทนา ราคานุสัยอันนั้นก็ไม่นอนตามซึ่งอริยสาวกนั้น. อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งเวทนา ซึ่งความตั้งอยู่ไม่ได้ ซึ่งรสอร่อยซึ่งโทษอันต่ำทราม และซึ่งอุบายเป็นเครื่องออกไปพ้น แห่งเวทนาทั้งหลาย เหล่านั้น ตามที่เป็นจริง.
เมื่ออริยสาวกนั้น รู้ชัดอยู่ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้น ซึ่งความตั้งอยู่ไม่ได้ ซึ่งรสอร่อย ซึ่งโทษ อันต่ำทราม และซี่งอุบายเครื่องออกไปพ้น แห่งเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น ตามที่เป็นจริง ดังนี้แล้ว อวิชชานุสัย อันใดอันเกิดจากอทุกขมสุข-เวทนา อวิชชานุสัยอันนั้น ก็ย่อม ไม่นอนตามซึ่งอริยสาวกนั้น.อริยสาวกนั้น ถ้าเสวยสุขเวทนา ย่อมไม่เป็นผู้ติดพัน (ในเวทนา) เสวยเวทนานั้น ถ้าเสวยทุกขเวทนา ก็ไม่เป็นผู้ติดพันเสวยเวทนานั้น ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็ไม่เป็นผู้ติดพันเสวยเวทนานั้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้มีการสดับนี้ เรากล่าวว่า เป็นผู้ไม่ติดพันแล้วด้วยชาติชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย เรากล่าวว่า เป็นผู้ไม่ติดพันแล้วด้วยทุกข์ ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แล เป็นความผิดแผกแตกต่างกัน เป็นความมุ่งหมายที่แตกต่างกัน เป็นเหตุ ที่แตกต่างกัน ระหว่างอริยสาวกผู้มีการสดับ จากปุถุชนผู้ไม่มีการสดับ ดังนี้.
………………………………………………………………………………
หมายเหตุผู้รวบรวม เวทนา ๓ ชนิด ของปุถุชนผู้ไม่มีการสดับ ย่อมก่อให้เกิดอนุสัย ๓ ชนิด ซึ่งเป็นอาการของการเกิดปฏิจจสมุปบาทโดยสมบูรณ์ คือเกิดทุกข์ในที่สุด. ส่วนเวทนาของ อริยสาวก ผู้มีการสดับ ย่อมไม่ก่อให้เกิดอนุสัย นั้นคือการไม่เกิดขึ้นแห่งปฏิจจสมุปบาท คือไม่ เกิดทุกข์ในที่สุด. เวทนาชนิดที่ก่อให้เกิดอนุสัยหรือปฏิจจ-สมุปบาทนั้น ย่อมหมายความว่า เป็น เวทนาที่ตั้งต้นหรือเกี่ยวข้องอยู่กับอวิชชา ตามนัยแห่งกระแสของปฏิจจสมุปบาท โดยสมบูรณ์ ดังนั้น การกล่าวถึงเวทนาเพียงอย่างเดียว เช่นในกรณีนี้ ก็พอแล้ว ย่อม หมายความถึงเหตุ ปัจจัย ทั้งหลายของเวทนา ซึ่งย้อนขึ้นไปถึงอวิชชา อันเข้ามาเกี่ยวข้อง ในกรณีที่มีการกระทบ ทางอายตนะ มีตากับรูป เป็นต้น.
หน้า530
อริยสาวกรู้ความเกิดและความดับของโลกอย่างไม่มีที่สงสัย
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อมไม่มีความสงสัยอย่างนี้ว่า เพราะอะไร มีอะไรจึงมีหนอ เพราะอะไรเกิดขึ้น อะไรจึงเกิดขึ้น เพราะอะไรมี นามรูปจึงมี เพราะอะไรมี สฬายตนะจึงมี เพราะอะไรมี ผัสสะจึงมี เพราะอะไรมี เวทนาจึงมี เพราะอะไรมี ตัณหาจึงมี เพราะอะไรมี อุปาทานจึงมีเพราะอะไรมี ภพจึงมี เพราะอะไรมี ชาติจึงมี เพราะอะไรมี ชรา มรณะจึงมี ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โดยที่แท้ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อม มีญาณหยั่งรู้ในเรื่องนี้โดย ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น ว่า เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เพราะ วิญญาณมี นามรูป จึงมี เพราะนามรูปมี สฬายตนะจึงมีเพราะสฬายตนะมี ผัสสะจึงมี เพราะ ผัสสะมี เวทนาจึงมี เพราะเวทนามี ตัณหาจึงมี เพราะตัณหามี อุปาทานจึงมี เพราะอุปาทานมี ภพจึงมี เพราะภพมีชาติจึงมี เพราะชาติมี ชรามรณะจึงมี ดังนี้. อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ประจักษ์ อย่างนี้ว่า โลกนี้ ย่อมเกิดขึ้น ด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อมไม่มีความสงสัยอย่างนี้ว่า เพราะอะไรไม่มี อะไรจึงไม่มีหนอ เพราะอะไรดับ อะไรจึงดับ เพราะอะไรไม่มี นามรูปจึงไม่มี เพราะอะไรไม่มี สฬายตนะจึงไม่มี เพราะอะไรไม่มี ผัสสะจึงไม่มี เพราะอะไรไม่มี เวทนาจึงไม่มี เพราะอะไร ไม่มี ตัณหาจึงไม่มี เพราะอะไรไม่มี อุปาทานจึงไม่มี เพราะอะไรไม่มี ภพจึงไม่มี เพราะอะไร ไม่มี ชาติจึงไม่มี เพราะอะไรไม่มี ชรามรณะจึงไม่มี ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โดยที่แท้ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ในเรื่องนี้ โดยไม่ ต้องเชื่อผู้อื่น ว่า เพราะสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับสิ่งนี้จึงดับ : เพราะวิญญาณไม่มี นามรูปจึงไม่มี เพราะนามรูปไม่มี สฬายตนะจึงไม่มี เพราะสฬายตนะไม่มี ผัสสะจึงไม่มี เพราะ ผัสสะไม่มี เวทนาจึงไม่มีเพราะเวทนาไม่มี ตัณหาจึงไม่มี เพราะตัณหาไม่มี อุปาทานจึงไม่มี เพราะอุปาทานไม่มี ภพจึงไม่มี เพราะภพไม่มี ชาติจึงไม่มี เพราะชาติไม่มี ชรามรณะจึงไม่มี ดังนี้. อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ประจักษ์อย่างนี้ว่า โลกนี้ ย่อมดับ ด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวก ย่อมมารู้ประจักษ์ถึงเหตุเกิดและความดับแห่งโลก ตามที่ เป็นจริงอย่างนี้ ในกาลใด ในกาลนั้น เราเรียกอริยสาวกนี้ว่า ผู้สมบูรณ์แล้ว ด้วยทิฏฐิ ดังนี้บ้าง ว่า ผู้สมบูรณ์แล้วด้วยทัสสนะ ดังนี้บ้างว่า ผู้มาถึงพระสัทธรรมนี้แล้ว ดังนี้บ้าง ว่า ได้เห็นพระสัทธรรมนี้ ดังนี้บ้างว่า ผู้ประกอบแล้วด้วยญาณอันเป็นเสขะ ดังนี้บ้าง ว่า ผู้ประกอบแล้วด้วยวิชชาอันเป็นเสขะ ดังนี้บ้าง ว่า ผู้ถึงซึ่งกระแสแห่งธรรมะ แล้วดังนี้บ้าง ว่า ผู้ประเสริฐมีปัญญาเครื่องชำแรกกิเลสดังนี้บ้าง ว่า ยืนอยู่จดประตูแห่งอมตะ ดังนี้บ้างดังนี้ แล.
หน้า 532
พระโสดาบัน คือผู้เห็นชัดปฏิจจสมุปบาท โดยวิธีแห่งอริยสัจสี่
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะมีเวทนา เป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมี ภพ เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะ โทมนัส อุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ชรามรณะ เป็นอย่างไรเล่า?
(๑) ความแก่ความคร่ำคร่า ความมีฟันหลุด ความมีผมหงอก ความมีหนังเหี่ยว ความสิ้นไป แห่งอายุความแก่รอบแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย ในสัตว์นิกายนั้นๆ ของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นๆ : นี้เรียกว่า ชรา. การจุติ ความเคลื่อน การแตกสลาย การหายไป การวายชีพ การตายการทำ กาละ การแตกแห่งขันธ์ทั้งหลาย การทอดทิ้งร่าง การขาดแห่งอินทรีย์คือชีวิตจากสัตว์นิกาย นั้นๆ ของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นๆ นี้เรียกว่า มรณะ. ชรานี้ด้วยมรณะนี้ด้วย ย่อมมีอยู่ดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ชรามรณะ
(๒) ความก่อขึ้นพร้อมแห่งชรามรณะ ย่อมมี เพราะความก่อขึ้นพร้อมแห่งชาติ
(๓) ความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งชาติ
(๔)มรรคอันประกอบด้วยองค์แปด อันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทา ให้ถึงความดับไม่เหลือแห่ง ชรามรณะได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ชาติ เป็นอย่างไรเล่า? การเกิด การกำเนิด การก้าวลง (สู่ครรภ์) การบังเกิด การบังเกิดโดยยิ่ง ความปรากฏของขันธ์ทั้งหลาย การที่สัตว์ได้ซึ่งอายตนะ ทั้งหลาย ในสัตว์นิกายนั้นๆ ของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นๆ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ชาติ ความก่อขึ้นพร้อมแห่งชาติ ย่อมมี เพราะความก่อขึ้นพร้อมทั้งภพ ความดับไม่เหลือแห่งชาติ ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งภพมรรคอันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนั้นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งชาติ ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ
.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภพ เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุทั้งหลายภพทั้งหลาย ๓ อย่าง เหล่านี้ คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้ เรียกว่าภพ. ความก่อขึ้น พร้อมแห่งภพ ย่อมมี เพราะความก่อขึ้นพร้อมแห่งอุปาทานความดับไม่เหลือแห่งภพ ย่อมมี เพราะความดับ ไม่เหลือ แห่งอุปาทาน มรรคอันประกอบด้วยองค์แปด อันประเสริฐนั้นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึง ความดับไม่เหลือแห่งภพ ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบการเลี้ยงชีวิตชอบ ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อุปาทาน เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอุปาทานทั้งหลาย ๔ อย่างเหล่านี้ คือ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพัตตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน : ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย นี้ เรียกว่าอุปาทาน ความก่อขึ้นพร้อมแห่งอุปาทาน ย่อมมี เพราะความก่อขึ้นพร้อม แห่งตัณหา ความดับไม่เหลือ แห่งอุปาทานย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งตัณหา มรรคอัน ประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐ นั้นเองเป็นปฏิปทา ให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งอุปาทาน ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ ความเห็นชอบความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยง ชีวิตชอบ ความพากเพียรชอบความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ตัณหา เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุทั้งหลายหมู่แห่งตัณหาทั้งหลาย ๖ หมู่เหล่านี้ คือ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหาโผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้ เรียกว่าตัณหา ความก่อขึ้นพร้อมแห่งตัณหา ย่อมมี เพราะความ ก่อขึ้นพร้อมแห่งเวทนา ความดับไม่เหลือแห่งตัณหา ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่ง เวทนา มรรคอันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนั้นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือ แห่งตัณหา ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงาน ชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เวทนา เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุทั้งหลายหมู่แห่งเวทนาทั้ง หลาย ๖ หมู่เหล่านี้ คือ จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนาฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัม ผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้ เรียกว่า เวทนา. ความก่อขึ้นพร้อมแห่งเวทนา ย่อมมี เพราะความก่อขึ้นพร้อมแห่งผัสสะ ความดับไม่ เหลือ แห่ง เวทนา ย่อมมีเพราะความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ มรรคอันประกอบด้วยองค์แปด อันประเสริฐนั้นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งเวทนา ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ ความ เห็นชอบ ความดำริชอบการพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพาก เพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ผัสสะ เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หมู่แห่งผัสสะทั้งหลาย ๖ หมู่เหล่านี้ คือ จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัสกายสัมผัส มโนสัมผัส : ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย นี้ เรียกว่าผัสสะ. ความก่อขึ้นพร้อมแห่งผัสสะ ย่อมมี เพราะความก่อขึ้น พร้อม แห่งสฬายตนะ ความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ ย่อมมีเพราะความดับไม่เหลือแห่งสฬายตนะ มรรคอันประกอบด้วยองค์แปด อันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยง ชีวิตชอบความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สฬายตนะ เป็นอย่างไรเล่า? จักขวายตนะโสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ มนายตนะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้ เรียกว่าสฬายตนะ ความก่อขึ้น พร้อมแห่งสฬายตนะ ย่อมมี เพราะความก่อขึ้นพร้อมแห่งนามรูป ความดับไม่เหลือแห่ง สฬายตนะ ย่อมมีเพราะความดับไม่เหลือแห่ง
นามรูป มรรคอันประกอบด้วย องค์แปด อันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งสฬายตนะ ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบความตั้งใจมั่นชอบ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็นามรูป เป็นอย่างไรเล่า? เวทนา สัญญา เจตนาผัสสะ มนสิการ นี้เรียกว่า นาม. มหาภูตทั้งสี่ด้วย รูปที่อาศัยมหาภูตทั้งสี่ด้วย นี้ เรียกว่า รูป. นามนี้ด้วย รูปนี้ด้วย ย่อมมีอยู่อย่างนี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้ เรียกว่านามรูป ความก่อขึ้นพร้อม แห่งนามรูป ย่อมมี เพราะความก่อขึ้นพร้อมแห่งวิญญาณ ความดับไม่เหลือแห่งนามรูป ย่อมมีเพราะความดับไม่เหลือ แห่งวิญญาณมรรค อันประกอบด้วยองค์แปด อันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับ ไม่เหลือ แห่งนามรูป ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบการทำ การงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความ พากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็วิญญาณ เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุทั้งหลายหมู่แห่งวิญญาณ ทั้งหลาย ๖ หมู่เหล่านี้ คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหา-วิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้ เรียกว่าวิญญาณ . ความก่อขึ้นพร้อม แห่งวิญญาณ ย่อมมี เพราะความก่อขึ้นพร้อมแห่งสังขาร ความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ ย่อมมีเพราะความดับไม่เหลือแห่งสังขาร มรรคอันประกอบด้วย องค์แปดอันประเสริฐนั้นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือ แห่งวิญญาณได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบการทำการงานชอบการเลี้ยงชีวิตชอบ ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สังขารทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลาย ๓ อย่างเหล่านี้ คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เรียกว่า สังขารทั้งหลาย. ความก่อขึ้นพร้อมแห่งสังขาร ย่อมมีเพราะความก่อขึ้น พร้อมแห่งอวิชชา ความดับไม่เหลือแห่งสังขาร ย่อมมีเพราะความดับไม่เหลือแห่งอวิชชา มรรคอันประกอบด้วย องค์แปดอันประเสริฐนั่นเองเป็นปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งสังขาร ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพากเพียรชอบความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแล อริยสาวก ย่อมมารู้ทั่วถึงซึ่งธรรมอันเป็นปัจจัย (ปัจจัย ธรรมดา) ว่าเป็นอย่างนี้ๆ มารู้ทั่วถึงซึ่งเหตุแห่งธรรม อันเป็นปัจจัย ว่าเป็นอย่างนี้ๆ มารู้ทั่วถึง ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งธรรมอันเป็นปัจจัย ว่าเป็นอย่างนี้ๆ มารู้ทั่วถึงซึ่งข้อปฏิบัติเครื่อง ทำสัตว์ ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งธรรมอันเป็นปัจจัย ว่าเป็นอย่างนี้ๆ ดังนี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลนั้น เราเรียกอริยสาวกนั้นว่า ผู้สมบูรณ์แล้วด้วยทิฏฐิ ดังนี้บ้าง ว่า ผู้สมบูรณ์แล้วด้วยทัสสนะดังนี้บ้างว่า ผู้มาถึงพระสัทธรรมนี้แล้ว ดังนี้บ้าง ว่า ได้เห็น พระสัทธรรมนี้ ดังนี้บ้างว่า ผู้ประกอบแล้วด้วยญาณอันเป็นเสขะ ดังนี้บ้าง ว่า ผู้ประกอบ แล้วด้วยวิชชาอันเป็นเสขะ ดังนี้บ้าง ว่า ผู้ถึงซึ่งกระแสแห่งธรรมแล้ว ดังนี้บ้าง ว่าผู้ประเสริฐ มีปัญญาเครื่องชำแรกกิเลส ดังนี้บ้าง ว่า ยืนอยู่จดประตูแห่งอมตะดังนี้บ้าง ดังนี้ แล.
หน้า 538
โสตาปัตติยังคะขึ้นอยู่กับ การรู้ปฏิจจสมุปบาทของอริยสาวก
ดูก่อนคหบดี ภยเวร ๕ ประการ อันอริยสาวกทำให้สงบระงับได้แล้วในกาลใด ในกาลนั้น อริยสาวกนั้น ย่อมเป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยองค์แห่งโสดาบัน ๔ ประการ ด้วย และ อริยญายธรรม ย่อมเป็นสิ่งที่อริยสาวกนั้นเห็นแล้วด้วยดี แทงตลอดแล้วด้วยดี ด้วยปัญญา ด้วย อริยสาวกนั้น เมื่อหวังจะพยากรณ์ ก็พึงพยากรณ์ตนเองด้วยตนเองได้ ว่า เราเป็นผู้มีนรก สิ้นแล้ว มี กำเนิดเดรัจฉานสิ้นแล้วมีเปรตวิสัยสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ วินิบาตสิ้นแล้วเรา เป็นผู้ถึงแล้ว ซึ่งกระแส(แห่งนิพพาน) มีธรรมอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ต่อ นิพพาน มีการตรัสรู้ธรรม เป็นเบื้องหน้า ดังนี้.
ดูก่อนคหบดี ภัยเวร ๕ ประการ เหล่าไหนเล่า อันอริยสาวกทำให้สงบรำงับได้แล้ว?
(๑)ดูก่อนคหบดี บุคคลผู้ฆ่าสัตว์อยู่เป็นปรกติ ย่อมประสบภยเวรใดในทิฏฐธรรมบ้าง ย่อมประสบภยเวรใด ในสัมปรายิกบ้าง ย่อมเสวยทุกขโทมนัสแห่งจิตบ้าง เพราะปาณาติบาต เป็นปัจจัย ภยเวรนั้นๆเป็นสิ่งที่อริยสาวกผู้เว้นขาดแล้วจากปาณาติบาต ทำให้สงบรำงับได้แล้ว.
(๒)ดูก่อนคหบดี บุคคลผู้ถือเอาสิ่งของที่เขาไม่ได้ให้อยู่เป็นปรกติย่อมประสบภัยเวรใดใน ทิฏฐธรรมบ้าง ย่อมประสบภัยเวรใด ในสัมปรายิกบ้าง ย่อมเสวยทุกขโทมนัสแห่งจิตบ้าง เพราะอทินนาทานเป็นปัจจัย ภัยเวรนั้นๆ เป็นสิ่งที่อริย-สาวกผู้เว้นขาดแล้วจากอทินนาทาน ทำให้สงบรำงับได้แล้ว.
(๓)ดูก่อนคหบดี บุคคลผู้ประพฤติผิดในกามทั้งหลายอยู่เป็นปรกติย่อมประสบภยเวรใด ในทิฏฐธรรมบ้าง ย่อมประสบภัยเวรใด ในสัมปรายิกบ้าง ย่อมเสวยทุกขโทมนัสแห่งจิตบ้าง เพราะกาเมสุมิจฉาจารเป็นปัจจัย ภัยเวรนั้นๆ เป็นสิ่งที่อริยสาวกผู้เว้นขาดแล้ว จากกาเมสุมิจฉาจาร ทำให้สงบรำงับได้แล้ว.
(๔)ดูก่อนคหบดี บุคคลผู้กล่าวคำเท็จอยู่เป็นปรกติ ย่อมประสบภัยเวรใดในทิฏฐธรรมบ้าง ย่อมประสบภัยเวรใด ในสัมปรายิกบ้างย่อมเสวยทุกขโทมนัสแห่งจิตบ้าง เพราะมุสาวาท เป็นปัจจัย ภัยเวรนั้นๆเป็นสิ่งที่อริยสาวกผู้เว้นขาดแล้วจากมุสาวาท ทำให้สงบรำงับได้แล้ว.
(๕)ดูก่อนคหบดี บุคคลผู้ดื่มสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งของความระมาทอยู่เป็นปรกติ ย่อมประสบภยเวรใด ในทิฏฐธรรมบ้าง ย่อมประสบภยเวรใด ในสัม-ปรายิกบ้าง ย่อมเสวย ทุกขโทมนัสแห่งจิตบ้าง เพราะสุราเมรยปานะเป็นปัจจัย ภยเวรนั้นๆ เป็นสิ่งที่อริยสาวก ผู้เว้นขาด แล้วสุราเมรยปานะ ทำให้สงบรำงับได้แล้ว.ดูก่อนคหบดี ภยเวร ๕ ประการเหล่านี้แล อันอริยสาวก ทำให้สงบรำงับได้แล้ว.
… … … …
ดูก่อนคหบดี อริยสาวก เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยองค์แห่งโสดาบัน๔ ประการ เหล่าไหนเล่า?
(๑)ดูก่อนคหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยความเลื่อมใสอัน หยั่งลงมั่น ไม่หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้า (พุทธอเวจจัปปสาท)ว่า เพราะเหตุอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วย วิชชา และจรณะ เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง เป็นผู้สามารถฝึกคนที่ควรฝึก อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ด้วยธรรม เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรม
สั่งสอนสัตว์ดังนี้.
(๒)ดูก่อนคหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยความเลื่อมใสอัน หยั่งลงมั่น ไม่หวั่นไหว ในพระธรรม (ธัมมอเวจจัปปสาท) ว่าพระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้ม ีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดีแล้ว เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษา และปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง เป็นสิ่งที่ปฏิบัติ ได้ และให้ผลได้ ไม่จำกัดกาล เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด เป็นสิ่งที่ควรน้อม เข้ามาใส่ตัว เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน ดังนี้.
(๓)ดูก่อนคหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยความเลื่อมใส อันหยั่ง ลง มั่น ไม่หวั่นไหว ในพระสงฆ์ (สังฆอเวจจัปปสาท) ว่าสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์ เป็นผู้ปฏิบัติสมควรแล้ว ได้แก่บุคคลเหล่านี้คือ คู่แห่งบุรุษสี่คู่ นับเรียงตัวได้แปดบุรุษ นั่นแหละคือ สงฆ์สาวก ของ พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา เป็นสงฆ์ควรแก่ สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ เป็นสงฆ์ควรรับทักษิณาทาน เป็นสงฆ์ที่บุคคล ทั่วไป จะพึงทำอัญชลี เป็นสงฆ์ที่เป็นนาบุญของโลกไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้.
(๔)ดูก่อนคหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยศีลทั้งหลายใน ลักษณะ เป็นที่พอใจของพระอริยเจ้า (อริยกันตศีล) เป็นศีลที่ไม่ขาดไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นศีล ที่เป็นไทจากตัณหา วิญญูชนสรรเสริญ ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิลูบคลำ เป็นศีลที่เป็นไปพร้อมเพื่อ สมาธิ ดังนี้. ดูก่อนคหบดี อริยสาวก เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยองค์แห่งโสดาบัน ๔ ประการ เหล่านี้แล.
... ... ...
ดูก่อนคหบดี ก็ อริยญายธรรม เป็นสิ่งที่อริยสาวกเห็นแล้วด้วยดี แทงตลอดแล้วด้วยดีด้วย ปัญญา เป็นอย่างไรเล่า?
ดูก่อนคหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมทำไว้ในใจโดยแยบคายเป็นอย่างดี ซึ่งปฏิจจ สมุปบาทนั่นเทียว ดังนี้ว่า เพราะสิ่งนี้มีสิ่งนี้จึงมี เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น. เพราะสิ่งนี้ไม่มีสิ่งนี้จึงไม่มี เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้สิ่งนี้จึงดับไป ข้อนี้ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ...ฯลฯ...ฯลฯ...ฯลฯ...เพราะมีชาติเป็นปัจจัยชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาส ทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการ อย่างนี้.
เพราะความจางคลายดับไปไม่เหลือ แห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว จึงมีความดับแห่งสังขาร เพราะมี ความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ ...ฯลฯ...ฯลฯ...ฯลฯ...เพราะมีความดับ แห่งชาติ นั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลง แห่ง กองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.
ดูก่อนคหบดี อริยญายธรรมนี้แล เป็นสิ่งที่อริยสาวกเห็นแล้วด้วยดี แทงตลอดแล้วด้วยดีด้วย ปัญญา.
ดูก่อนคหบดี ภยเวร ๕ ประการเหล่านี้ อันอริยสาวกทำให้สงบรำงับได้แล้วในกาลใด ในกาลนั้น อริยสาวกนั้น ย่อมเป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยองค์แห่งโสดาบัน ๔ ประการ เหล่านี้ด้วย และ อริยญาธรรมนี้ ย่อมเป็นสิ่งที่อริยสาวกนั้นเห็นแล้วด้วยดี แทงตลอดแล้ว ด้วยดีด้วย ปัญญาด้วย อริยสาวกนั้น เมื่อหวังจะพยากรณ์ก็พึงพยากรณ์ตนเอง ด้วยตนเองได้ ว่าเราเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดเดรัจฉานสิ้นแล้ว มีเปรตวิสัยสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ วินิบาต สิ้นแล้วเราเป็นผู้ถึงแล้วซึ่ งกระแส (แห่งนิพพาน) มีธรรมอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ ต่อนิพพาน มีการตรัสรู้ธรรม เป็นเบื้องหน้า ดังนี้ แล.
…………………………………………………………...............................................……………………..
หมายเหตุผู้รวบรวม : ยังมีสูตรอีกสูตรหนึ่ง ข้อความอย่างเดียวกันกับสูตรนี้ ผิดกันแต่เพียงตรัส แก่ ภิกษุทั้งหลาย แทนที่จะตรัสกับอนาถปิณฑิกคหบดี คือสูตรที่ ๒ แห่งคหปติวรรค อภิสมยสังยุตต์ นิทาน .สํ.๑๖/๘๕/๑๕๖ และยังมีสูตรอีกสูตรหนึ่ง (เวรสูตรที่ ๒ อุปาสกวรรค ทสก.อํ. ๒๔/๑๙๕/๙๒) มีเค้าโครงและใจความของสูตรเหมือนกัน กับสูตร ข้างบนนี้ ต่างกัน แต่เพียงในสูตรนั้นมีคำว่า ย่อมพิจารณาเห็นโดยประจักษ์แทนคำว่า ย่อมกระทำไว้ในใจ โดยแยบคายเป็นอย่างดี ซึ่งปฏิจจสมุปบาทนั่นเทียว แห่งสูตรข้างบนนี้ เท่านั้น.
หน้า542
สามัญญผลในพุทธศาสนาเทียบกันไม่ได้ กับในลัทธิอื่น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษพึงโยนกรวดหิน มีประมาณเท่าเม็ดถั่วเขียวเจ็ดเม็ด เข้าไปที่เทือกเขาหลวงชื่อสิเนรุ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอทั้งหลาย
จะพึงสำคัญ ความข้อนี้ ว่าอย่างไร กรวดหินมีประมาณเท่าเม็ดถั่วเขียวเจ็ดเม็ด ที่บุรุษ
โยนเข้าไป (ที่เทือกเขาหลวง ชื่อสิเนรุ)เป็นสิ่งที่มากกว่า หรือว่าเทือกเขาหลวงชื่อสิเนรุ
มากกว่า?
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เทือกเขาหลวงชื่อสิเนรุนั้น แหละเป็นสิ่งที่มากกว่า. กรวดหิน มีประมาณ เท่าเม็ดถั่วเขียวเจ็ดเม็ด ที่บุรุษโยนเข้าไป (ที่เทือกเขาหลวงชื่อสิเนรุ) มีประมาณน้อย. กรวดหินนี้เมื่อนำเข้าไปเที่ยวกับเทือกเขาหลวงชื่อสิเนรุ ย่อมไม่เข้าถึงส่วนหนึ่งในร้อยส่วน หนึ่งในพันส่วนหนึ่งในแสน.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น การบรรลุคุณวิเศษแห่งสมณพราหมณ์ และปริพพาชกผู้เป็นเดียรถีย์เหล่าอื่น เมื่อนำเข้าไปเทียบกับ การบรรลุคุณวิเศษ ของอริยสาวก ซึ่งเป็นบุคคล ผู้ถึงพร้อมด้วย (สัมมา) ทิฏฐิ ย่อมไม่เข้าถึงส่วนหนึ่งในร้อย ส่วนหนึ่งในพัน ส่วนหนึ่งในแสน.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วย(สัมมา) ทิฏฐิ (ทิฏฺฐิสมฺปนฺโน)เป็นผู้มีการบรรลุ อันใหญ่หลวงอย่างนี้ (มหาธิคโม) เป็นผู้มีความรู้ยิ่ง อันใหญ่หลวง อย่างนี้ (มหาภิญฺโญ)ดังนี้ แล.
หมวดที่เก้า จบ |