หมวด6 (ต่อ)
หน้า 248
ผู้ไม่รู้ปฏิจจสมุปบาทยังมีหน้าที่ ต้องประกอบฉันทะ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! บุคคล เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งชรามรณะ ...ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งชรา มรณะ... ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชรา มรณะ... ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึง ความ ดับ ไม่เหลือแห่งชรามรณะ ตามที่เป็นจริง เขาพึงประกอบฉันทะ (ความพอใจ) เพื่อให้รู้ ในชรา มรณะ...ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งชรามรณะ... ในความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ... ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ ให้ลุ ถึงความดับ ไม่เหลือแห่ง ชรามรณะ ตามที่เป็นจริง ดังนี้.
(ในกรณีแห่งบทว่า ชาติ..ภพ..อุปาทาน..ตัณ หา..เวทนา..ผัสสะ.. สฬายตนะ...นามรูป.. วิญญาณ.. ก็มีคำตรัสอย่างเดียวกันกับ คำตรัส ของบทว่า ชรามรณะ ข้างบนนี้ ตรงกัน ทุกตัวอักษร ต่างกันแต่ชื่อของสิ่งที่หยิบขึ้นพิจารณา จนกระทั่งถึงบทสุดท้าย อันเกี่ยวกับ สังขาร ดังที่มีอยู่ ต่อไปข้างล่างนี้)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! บุคคล เมื่อ ไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งสังขารทั้งหลาย ...ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้น แห่งสังขาร... ซึ่งความดับไม่เหลือแห่ง สังขาร... ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความ ดับไม่เหลือแห่งสังขาร ตามที่เป็นจริง เขาพึงประกอบฉันทะเพื่อให้รู้ ในสังขาร ทั้งหลาย ... ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งสังขาร... ในความดับไม่เหลือแห่ง สังขาร... ในข้อปฏิบัติเครื่อง ทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือ แห่งสังขาร ตามที่ เป็นจริง ดังนี้.
หน้า 249
ผู้ไม่รู้ปฏิจจสมุปบาทยังมีหน้าที่ ต้องบำเพ็ญอุสโสฬ์หี
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งชรามรณะ ...ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้น แห่ง ชรามรณะ... ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ... ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ ให้ลุถึง ความดับไม่เหลือ แห่งชรามรณะ ตามที่เป็นจริง เขาพึงบำเพ็ญอุสโสฬ์หี (อุสสาหะ) เพื่อให้รู้ ในชรา มรณะ... ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งชรามรณะ... ในความดับไม่เหลือแห่ง ชรามรณะ... ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือ แห่งชรามรณะ ตามที่เป็น จริง ดังนี้.
(ในกรณีแห่งบทว่า ชาติ..ภพ..อุปาทาน..ตัณ หา..เวทนา..ผัสสะ.. สฬายตนะ.. นามรูป.. วิญญาณ.. ก็มีคำตรัสอย่างเดียวกันกับคำ ตรัส ของบทว่า ชรามรณะ ข้างบนนี้ ตรงกัน ทุกตัวอักษร ต่างกันแต่ชื่อของสิ่งที่หยิบขึ้นพิจารณา จนกระทั่งถึงบทสุดท้าย อันเกี่ยว กับ สังขาร ดังที่มีอยู่ ต่อไปข้างล่างนี้)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งสังขารทั้งหลาย ...ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่ง สังขาร ...ซึ่งความดับไม่เหลือ แห่งสังขาร... ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุ ถึงความดับ ไม่เหลือแห่ง สังขาร ตามที่เป็นจริง เขาพึงบำเพ็ญอุสโสฬ์หีเพื่อให้รู้ ในสังขารทั้งหลาย.. ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งสังขาร.. ในความดับ ไม่เหลือ แห่งสังขาร.. ในข้อปฏิบัติเครื่องทำ สัตว์ให้ลุ ถึงความดับไม่เหลือ แห่งสังขาร ตามที่เป็นจริงดังนี้.
หน้า 250
ผู้ไม่รู้ปฏิจจสมุปบาทยังมีหน้าที่ ต้องบำเพ็ญอัปปฏิวานี
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งชรามรณะ... ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่ง ชรา มรณะ.. ซึ่งความดับไม่เหลือแห่ง ชรามรณะ... ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ ให้ลุถึงความดับ ไม่เหลือแห่ง ชรามรณ ตามที่เป็นจริง เขาพึงบำเพ็ญอัปปฏิวาณี (ความไม่ถอยหลัง) เพื่อให้รู้ ในชรามรณะ...ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งชรามรณะ... ในความดับไม่เหลือแห่ง ชรา มรณะ... ในข้อปฏิบัติ เครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือ แห่งชรามรณะ ตามที่เป็นจริง ดังนี้.
(ในกรณีแห่งบทว่า ชาติ..ภพ..อุปาทาน..ตัณ หา..เวทนา..ผัสสะ.. สฬายตนะ.. นามรูป.. วิญญาณ..ก็มีคำตรัสอย่างเดียวกันกับคำตรัส ของบทว่า ชรามรณะ ข้างบนนี้ ตรงกันทุกตัว อักษร ต่างกันแต่ชื่อของสิ่งที่หยิบขึ้นพิจารณา จนกระทั่งถึงบทสุดท้าย อันเกี่ยวกับ สังขาร ดังที่มีอยู่ ต่อไปข้างล่างนี้)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!บุคคล เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งสังขารทั้งหลาย ...ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้น แห่งสังขาร ...ซึ่งความดับไม่เหลือแห่ง สังขาร...ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึง ความดับไม่เหลือแห่งสังขารตามที่ เป็นจริง เขาพึงบำเพ็ญ อัปปฏิวาณีเพื่อให้รู้ ใน สังขารทั้งหลาย...ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งสังขาร... ในความดับไม่เหลือ แห่งสังขาร... ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ ให้ลุถึงความดับไม่เหลือ แห่งสังขาร ตามที่เป็นจริง ดังนี้.
หน้า 251
ผู้ไม่รู้ปฏิจจสมุปบาทยังมีหน้าที่ ต้องประกอบความเพียรแผดเผากิเลส
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งชรามรณะ ..ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่ง ชรา มรณะ.. ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชรา มรณะ... ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึง ความดับ ไม่เหลือแห่งชรามรณะ ตามที่เป็นจริง เขาพึง ประกอบความเพียรแผด เผากิเลส เพื่อให้รู้ ในชรามรณะ...ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งชรามรณะ... ในความดับไม่เหลือ แห่งชรา มรณะ... ในข้อปฏิบัติเครื่อง ทำสัตว์ให้ลุ ถึงความดับ ไม่เหลือ แห่งชรามรณะ ตามที่เป็น จริง ดังนี้.
(ในกรณีแห่งบทว่า ชาติ..ภพ..อุปาทาน..ตัณ หา..เวทนา..ผัสสะ.. สฬายตนะ.. นามรูป.. วิญญาณ.. ก็มีคำตรัสอย่างเดียวกัน กับคำตรัส ของบทว่า ชรามรณะ ข้างบนนี้ ตรงกันทุก ตัว อักษร ต่างกันแต่ชื่อของสิ่งที่หยิบขึ้นพิจารณา จนกระทั่งถึงบทสุดท้าย อันเกี่ยวกับ สังขาร ดังที่มีอยู่ ต่อไปข้างล่างนี้)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งสังขารทั้งหลาย ...ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้น แห่งสังขาร..ซึ่งความดับไม่เหลือแห่ง สังขาร.. ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ ให้ลุถึงความ ดับไม่เหลือแห่งสังขาร ตามที่เป็นจริง เขาพึงประกอบความเพียรแผดเผา กิเลส เพื่อให้รู้ ในสังขารทั้งหลาย..ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งสังขาร... ในความดับไม่เหลือ แห่ง สังขาร.. ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ ให้ลุถึงความดับไม่เหลือ แห่งสังขารตาม ที่เป็นจริง ดังนี้.
หน้า 252
ผู้ไม่รู้ปฏิจจสมุปบาท ยังมีหน้าที่ ต้องประกอบวิริยะ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งชรามรณะ ...ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่ง ชรามรณะ ...ซึ่งความดับไม่เหลือแห่ง ชรามรณะ.. ซึ่งข้อปฏิบัติ เครื่องทำสัตว์ ให้ลุถึง ความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ ตามที่เป็นจริง เขาพึงประกอบ วิริยะ เพื่อให้รู้ ในชรา มรณะ. ในเหตุ ให้เกิดขึ้นแห่งชรามรณะ..ในความดับไม่เหลือ แห่งชรามรณะ.. ในข้อปฏิบัติ เครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับ ไม่เหลือแห่งชรามรณะ ตามที่เป็นจริง ดังนี้.
(ในกรณีแห่งบทว่า ชาติ..ภพ..อุปาทาน..ตัณหา..เวทนา..ผัสสะ.. สฬายตนะ..นามรูป.. วิญญาณ.. ก็มีคำตรัสอย่างเดียวกันกับคำตรัส ของบทว่า ชรามรณะ ข้างบนนี้ ตรงกัน ทุกตัวอักษร ต่างกันแต่ชื่อของสิ่งที่หยิบขึ้นพิจารณา จนกระทั่งถึงบทสุดท้าย อันเกี่ยวกับ สังขาร ดังที่มีอยู่ ต่อไปข้างล่างนี้)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งสังขารทั้งหลาย ...ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้น แห่งสังขาร ...ซึ่งความดับไม่เหลือแห่ง สังขาร... ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ ให้ลุถึง ความดับ ไม่เหลือแห่งสังขาร ตามที่เป็นจริง เขาพึงประกอบวิริยะ เพื่อให้รู้ ในสังขาร ทั้งหลาย... ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งสังขาร... ในความดับไม่เหลือแห่งสังขาร.. ในข้อปฏิบัติ เครื่องทำสัตว์ให้ลุ ถึงความดับไม่เหลือแห่งสังขาร ตามที่เป็นจริง ดังนี้.
หน้า 253
ผู้ไม่รู้ปฏิจจสมุปบาท ยังมีหน้าที่ ต้องประกอบการกระทำอันติดต่อ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! บุคคล เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งชรามรณะ ...ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งชรา มรณะ ...ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชรา มรณะ... ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ ให้ลุถึงความ ดับ ไม่เหลือแห่งชรามรณะ ตามที่เป็นจริง เขาพึงประกอบการกระทำอันติดต่อ เพื่อให้รู้ ในชรามรณะ...ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งชรามรณะ... ในความดับ ไม่เหลือแห่งชรามรณะ ...ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึง ความดับ ไม่เหลือ แห่งชรามรณะ ตามที่เป็นจริง ดังนี้.
(ในกรณีแห่งบทว่า ชาติ..ภพ..อุปาทาน..ตัณ หา..เวทนา..ผัสสะ.. สฬายตนะ.. นามรูป.. วิญญาณ.. ก็มีคำตรัสอย่างเดียวกัน กับคำตรัส ของบทว่า ชรามรณะ ข้างบนนี้ ตรงกัน ทุกตัวอักษร ต่างกันแต่ชื่อของสิ่งที่หยิบขึ้นพิจารณา จนกระทั่งถึงบทสุดท้าย อันเกี่ยวกับ สังขาร ดังที่มีอยู่ ต่อไปข้างล่างนี้)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! บุคคล เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งสังขารทั้งหลาย ...ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้น แห่ง สังขาร ...ซึ่งความดับไม่เหลือแห่ง สังขาร.. ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ ให้ลุถึง ความดับไม่เหลือแห่งสังขาร ตามที่เป็นจริง เขาพึงประกอบการกระทำอันติดต่อ เพื่อให้รู้ ในสังขาร ทั้งหลาย..ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่ง สังขาร.. ในความดับ ไม่เหลือ แห่ง สังขาร.. ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุ ถึงความดับไม่เหลือแห่ง สังขาร ตามที่เป็นจริง ดังนี้.
หน้า 254
ผู้ไม่รู้ปฏิจจสมุปบาท ยังมีหน้าที่ ต้องอบรมสติ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งชรามรณ ...ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่ง ชรามรณะ ...ซึ่งความดับ ไม่เหลือแห่ง ชรา มรณะ... ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ ตามที่เป็นจริง เขาพึงอบรมสติ เพื่อให้รู้ ในชรา มรณะ ... ในเหตุให้ เกิดขึ้น แห่งชรามรณะ... ในความดับไม่เหลือแห่ง ชรามรณะ... ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับ ไม่เหลือแห่งชรามรณะตามที่ เป็นจริง ดังนี้.
(ในกรณีแห่งบทว่า ชาติ..ภพ..อุปาทาน..ตัณ หา..เวทนา..ผัสสะ.. สฬายตนะ..นามรูป.. วิญญาณ.. ก็มีคำตรัส อย่างเดียวกัน กับคำตรัส ของบทว่า ชรามรณะ ข้างบนนี้ ตรงกัน ทุกตัวอักษร ต่างกันแต่ชื่อของสิ่งที่หยิบขึ้น พิจารณา จนกระทั่งถึงบทสุดท้าย อันเกี่ยวกับ สังขารดังที่มีอยู่ต่อไปข้างล่างนี้)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งสังขารทั้งหลาย ...ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้น แห่งสังขาร ...ซึ่งความดับ ไม่เหลือแห่ง สังขาร... ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่อง ทำสัตว์ ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งสังขาร ตามที่เป็นจริง เขาพึงอบรมสติ เพื่อให้รู้ในสังขาร ทั้งหลาย.. ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งสังขา.. ในความดับไม่เหลือแห่ง สังขาร. ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับ ไม่เหลือแห่งสังขาร ตามที่เป็นจริง ดังนี้.
หน้า 255
ผู้ไม่รู้ปฏิจจสมุปบาท ยังมีหน้าที่ ต้องอบรมสัมปชัญญะ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! บุคคล เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งชรามรณะ ...ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่ง ชรามรณะ ...ซึ่งความดับไม่เหลือแห่ง ชรามรณะ... ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ ตามที่เป็นจริง เขาพึง อบรมสัมปชัญญะ เพื่อให้รู้ ในชรามรณะ ..ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งชรามรณะ.. ในความดับไม่เหลือ แห่งชรามรณะ.. ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความ ดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ ตามที่เป็นจริง ดังนี้.
(ในกรณีแห่งบทว่า ชาติ..ภพ..อุปาทาน..ตัณหา..เวทนา..ผัสสะ.. สฬายตนะ..นามรูป.. วิญญาณ.. ก็มีคำตรัสอย่างเดียวกัน กับคำตรัส ของบทว่า ชรามรณะ ข้างบนนี้ ตรงกัน ทุกตัวอักษร ต่างกันแต่ชื่อของสิ่งที่หยิบขึ้นพิจารณา จนกระทั่งถึงบทสุดท้าย อันเกี่ยวกับสังขาร ดังที่มีอยู่ ต่อไปข้างล่างนี้)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! บุคคล เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งสังขารทั้งหลาย ...ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้น แห่งสังขาร ...ซึ่งความดับไม่เหลือแห่ง สังขาร... ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ ให้ลุถึง ความดับไม่เหลือแห่งสังขาร ตามที่เป็นจริง เขาพึงอบรมมปชัญญะเพื่อให้รู้ ในสังขาร ทั้งหลาย... ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งสังขาร ...ในความดับไม่เหลือแห่ง สังขาร... ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึง ความดับไม่เหลือแห่งสังขาร ตามที่เป็นจริง ดังนี้.
หน้า 256
ผู้ไม่รู้ปฏิจจสมุปบาทยังมีหน้าที่ ต้องบำเพ็ญความไม่ประมาท
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! บุคคล เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งชรามรณะ...ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่ง ชรามรณะ ...ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชรา มรณะ... ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ ให้ลุถึง ความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ ตามที่เป็นจริง เขาพึงบำเพ็ญความไม่ประมาท เพื่อให้รู้ ในชรามรณะ... ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งชรามรณะ... ในความดับ ไม่เหลือแห่งชรามรณะ... ในข้อปฏิบัติ เครื่องทำสัตว์ให้ลุถึง ความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ ตามที่เป็นจริง ดังนี้.
(ในกรณีแห่งบทว่า ชาติ..ภพ..อุปาทาน..ตัณ หา..เวทนา..ผัสสะ.. สฬายตนะ..นามรูป.. วิญญาณ.. ก็มีคำตรัสอย่างเดียวกัน กับคำตรัส ของบทว่า ชรามรณะ ข้างบนนี้ ตรงกัน ทุกตัวอักษร ต่างกันแต่ชื่อของสิ่งที่หยิบขึ้นพิจารณา จนกระทั่งถึงบทสุดท้าย อันเกี่ยวกับ สังขาร ดังที่มีอยู่ ต่อไปข้างล่างนี้)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! บุคคล เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งสังขารทั้งหลาย ...ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้น แห่ง สังขาร ...ซึ่งความดับไม่เหลือแห่ง สังขาร... ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ ให้ลุถึง ความดับไม่เหลือแห่งสังขาร ตามที่เป็นจริง เขาพึงบำเพ็ญความไม่ประมาท เพื่อให้รู้ ในสังขาร ทั้งหลาย ...ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งสังขาร ...ในความดับ ไม่เหลือแห่งสังขาร... ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่ง สังขารตามที่เป็นจริง ดังนี้.
หน้า 257
ทรงมุ่งหมายให้ปฏิจจสมุปบาทเป็นเรื่องการปฏิบัติ๑
(มิใช่เป็นเพียงทฤษฎี)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เราจักแสดง มิจฉาปฏิปทาและสัมมาปฏิปทา แก่พวกเธอทั้งหลาย พวกเธอทั้งหลายจงฟังซึ่งธรรมนั้น จงทำใน ใจให้สำเร็จประโยชน์ เราจักกล่าวบัดนี้. ครั้นภิกษุทั้งหลาย เหล่านั้น ทูลสนองรับพระพุทธดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสถ้อยคำ เหล่านี้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็มิจฉาปฏิปทา เป็นอย่างไรเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะมี อวิชชา เป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย เพราะมี สังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ ...ฯลฯ ...ฯลฯ...ฯลฯ... เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะโสกะปริเทวะทุกขะ โทมนัส อุปายาส ทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อมแห่ง กองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการ อย่างนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้ เรียกว่า มิจฉาปฏิปทา.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็สัมมาปฏิปทา เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะความจางคลาย ดับไป โดยไม่เหลือแห่งอวิชชา นั้นนั่นเทียว จึงมีความดับแห่ง สังขาร เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับ แห่งวิญญาณ ...ฯลฯ...ฯลฯ...ฯลฯ... เพราะมี ความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะ-โทมนัส อุปายาส ทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้ เรียกว่า สัมมาปฏิปทา ดังนี้ แล.
......................................................................................................
หมายเหตุผู้รวบรวม : มิจฉาปฏิปทา คือบุคคลเผลอหรือปล่อยสติ เมื่อตากระทบรูปเป็นต้น จนกระทั่งความเผลอ สติ (ซึ่งในที่นี้ เรียกว่า อวิชชา) นั้น ได้ทำให้เกิด อาการต่าง ๆ ขึ้น อย่างครบถ้วนตามที่กล่าวไว้ในพระบาลีนี้ และได้รับผลเป็นความทุกข์ในที่สุด.
ส่วนสัมมาปฏิปทา มีนัยะตรงกันข้าม คือมีสติสมบูรณ์ในเมื่อตาเห็นรูป เป็นต้นอวิชชา ก็ไม่เกิดขึ้น แต่มีสติ สัมปชัญญะ หรือปัญญา อยู่แทน ดังนั้น อาการต่าง ๆ ก็ไม่เกิดขึ้น ในลักษณะที่จะมีความทุกข์ ในที่สุด. สรุปความได้อย่างสั้น ๆ ว่าความมีสตินั่นแหละ เป็นตัวปฏิปทา ที่เกี่ยวกับปฏิจจสมุปบาท ในชีวิตประจำวัน เช่นการเห็นรูปด้วยตาเป็นต้น ดังที่กล่าวแล้ว.
หน้า 258
การหลีกเร้นทำให้ง่ายแก่การรู้ปฏิจจสมุปบาท
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เธอทั้งหลาย จงประกอบความเพียร ในการหลีกเร้นเถิด. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุผู้หลีกเร้นแล้ว ย่อมรู้ชัดตาม ที่เป็นจริง.
ก็ภิกษุนั้น ย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริง ซึ่งอะไรเล่า? ภิกษุผู้หลีกเร้นแล้ว ย่อมรู้ชัดตามที่เป็น จริง ซึ่งความเกิดขึ้น และความดับ ไปแห่งรูป...แห่งเวทนา...แห่งสัญญาแห่ง สังขาร ทั้งหลาย...แห่งวิญญาณ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็ความเกิดขึ้นแห่งรูป..แห่งเวทนา... แห่งสัญญา... แห่งสังขาร ทั้งหลาย ...แห่งวิญญาณ. เป็นอย่างไรเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำสรรเสริญย่อมเมาหมกอยู่. ภิกษุนั้นย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำสรรเสริญ ย่อมเมาหมกอยู่ ซึ่งอะไรเล่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุนั้น ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำสรรเสริญ ย่อมเมาหมกอยู่ซึ่งรูป. เมื่อภิกษุนั้น เพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่ซึ่งรูป นันทิ(ความเพลิน) ย่อมเกิดขึ้น ความเพลินใด ในรูป ความเพลินนั้น คืออุปาทาน. เพราะอุปาทาน. เพราะอุปาทาน ของภิกษุนั้นเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติเพราะมีชาติ เป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส-อุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุนั้น ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำสรรเสริญ ย่อมเมาหมกอยู่ซึ่ง เวทนา. ...ฯลฯ...ฯลฯ...๑ ความเกิดขึ้นพร้อม แห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ย่อมมีด้วยอาการ อย่างนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุนั้น ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำสรรเสริญ ย่อมเมาหมกอยู่ซึ่ง สัญญา. ...ฯลฯ...ฯลฯ... ความเกิดขึ้นพร้อม แห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการ อย่างนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุนั้น ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำสรรเสริญ ย่อมเมาหมกอยู่ซึ่ง สังขาร. ...ฯลฯ...ฯลฯ...
ความเกิดขึ้นพร้อม แห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการ อย่างนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุนั้น ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำสรรเสริญ ย่อมเมาหมกอยู่ซึ่ง วิญญาณ. เมื่อภิกษุนั้น เพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่ซึ่งวิญญาณ นันทิ (ความเพลิน) ย่อมเกิดขึ้น. ความเพลินใด ในรูป ความเพลินนั้นคืออุปาทาน.
เพราะอุปาทานของภิกษุนั้นเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติเพราะมี ชาติเป็นปัจจัยชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส-อุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อม แห่งกองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้คือ ความเกิดขึ้นแห่งรูป..แห่งเวทนา..แห่งสัญญา.. แห่งสังขาร ทั้งหลาย..แห่งวิญญาณ .... ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็ความดับแห่งรูป..แห่งเวทนา.. แห่งสัญญา.. แห่งสังขาร ทั้งหลาย ..แห่งวิญญาณ เป็นอย่างไรเล่า?.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำสรรเสริญ ย่อมไม่เมาหมกอยู่. ภิกษุนั้น ย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำสรรเสริญ ย่อมไม่เมาหมกอยู่ ซึ่งอะไรเล่า?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุนั้น ย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำสรรเสริญย่อมไม่เมาหมกอยู่ ซึ่งรูป. เมื่อภิกษุนั้น ไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่เมาหมกอยู่ซึ่งรูป นันทิ (ความเพลิน) ใด ในรูป นันทินั้น ย่อมดับไป
เพราะความดับแห่งนันทิของ ภิกษุนั้น จึงมีความดับแห่งอุปาทานเพราะมีความดับ แห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพเพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส-อุปายาส ทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกอง ทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุนั้น ย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่สรรเสริญ ย่อมไม่เมาหมกอยู่ ซึ่งเวทนา. ...ฯลฯ...ฯลฯ...ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการ อย่างนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุนั้น ย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำสรรเสริญย่อมไม่เมาหมกอยู่ ซึ่งสัญญา. ...ฯลฯ...ฯลฯ...ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ย่อมมี ด้วย อาการอย่างนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุนั้น ย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำสรรเสริญย่อมไม่เมาหมกอยู่ ซึ่งสังขารทั้งหลาย...ฯลฯ...ฯลฯ...ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการ อย่างนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุนั้น ย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำสรรเสริญย่อมไม่เมาหมก อยู่ซึ่งวิญญาณ.. เมื่อภิกษุนั้น ไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่เมาหมกอยู่ ซึ่งวิญญาณ นันทิใด ในวิญญาณ นันทินั้น ย่อมดับไป. เพราะความดับแห่ง นันทิ ของภิกษุนั้น จึงมีความดับแห่งอุปาทานเพราะมีความดับ แห่งอุปาทาน จึงมีความ ดับแห่งภพ เพราะมีความดับแห่ง ภพ จึงมีความดับแห่งชาติเพราะมีความดับ แห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส-อุปายาส ทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้คือ ความดับแห่งรูป...แห่งเวทนา...แห่งสัญญา... แห่งสังขาร ทั้งหลาย... แห่งวิญญาณ ดังนี้ แล.
หน้า 262
การคิดค้นปฏิจจสมุปบาทก็คือการเดินตามอริยอัฏฐังคิกมรรค
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เปรียบเหมือนบุรุษเที่ยวไปในป่าทึบ เกิดพบรอยทางซึ่งเคยเป็น หนทางเก่า ที่มนุษย์แต่กาลก่อนเคยใช้เดิน แล้ว บุรุษนั้น จึงเดินตามทางนั้น ไปเมื่อเดิน ไป ตามทางนั้นอยู่ ได้พบทรากนครซึ่งเป็นราชธานีโบราณ อันมนุษย์ทั้งหลายแต่กาล ก่อน เคยอยู่ อาศัยแล้ว เป็นที่อันสมบูรณ์ด้วยสวน สมบูรณ์ด้วยป่าไม้ สมบูรณ์ด้วยสระ โบกขรณี มีทรากกำแพงล้อม มีภูมิภาคน่า รื่นรมย์
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ลำดับนั้น บุรุษนั้นเข้าไปกราบทูลแจ้งข่าวนี้แก่พระราชา หรือแก่ มหาอำมาตย์ ของพระราชาว่า "ขอท้าวพระ กรุณา จงทราบเถิด ข้าพระเจ้าเมื่อเที่ยวไป ในป่าทึบ ได้เห็นรอยทาง
ซึ่งเคยเป็นหนทางเก่า ที่มนุษย์แต่กาลก่อนเคยใช้เดินแล้ว ข้าพระเจ้า ได้เดินตามทาง นั้นไป เมื่อเดินไปตาม ทางนั้นอยู่ ได้พบ ทรากนคร ซึ่งเป็นราชธานีโบราณ อันมนุษย์ ทั้งหลาย แต่กาลก่อนเคยอยู่อาศัยแล้ว เป็นที่อันสมบูรณ์ด้วยสวน สมบูรณ์ด้วยป่าไม้ สมบูรณ์ด้วยสระโบกขรณี มีทรากกำแพงล้อม มีภูมิภาคน่ารื่นรมย์. ขอพระองค์จงตบแต่ง สถาน ที่นั้นให้เป็นนครเถิด พระเจ้าข้า!" ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น พระราชาหรือมหาอำมาตย์ของพระราชานั้น จึงตบแต่ง สถานที่ นั้นขึ้นเป็นนคร. สมัยต่อมา นครนั้น ได้กลาย เป็นนครที่มั่งคั่งและรุ่งเรือง มีประชาชนมาก เกลื่อนกล่นด้วยมนุษย์ ถึงแล้วซึ่งความเจริญไพบูลย์ นี้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ข้อนี้ก็ฉัน นั้น เราได้เห็นแล้วซึ่งรอยทางเก่า ที่เคยเป็นหนทางเก่า อันพระสัมมาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ในกาลก่อนเคยทรงดำเนินแล้ว.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็รอยทางเก่า ที่เคยเป็นหนทางเก่า อันพระสัมมา-พระพุทธเจ้า ทั้งหลายในกาลก่อน เคยทรงดำเนินแล้ว นั้นเป็น อย่างไรเล่า? นั่นคือ อริยอัฏ-ฐังคิกมรรค นี้นั่นเทียว ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้แล รอยทางเก่า ที่เป็นหนทางเก่า อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้งหลายในกาลก่อน เคยทรงดำเนินแล้ว. เรานั้น ได้ดำเนินไปตามแล้วซึ่ง หนทางนั้นเมื่อดำเนินตามอยู่ ซึ่งหนทางนั้น เรา ได้รู้ยิ่งเฉพาะแล้วซึ่งชรามรณะ ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้น แห่ง ชรามรณะ ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึง ความดับ ไม่เหลือแห่ง ชรามรณะ
...ได้รู้ยิ่งเฉพาะแล้วซึ่งชาติ ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งชาติ ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชาติ ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งชาติ
...ได้รู้ยิ่งเฉพาะแล้วซึ่งภพ ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งภพ ซึ่งความดับ
ไม่เหลือแห่งภพ ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งภพ
...ได้รู้ยิ่งเฉพาะแล้วซึ่งอุปาทาน ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งอุปาทาน ซึ่งความดับไม่เหลือ แห่ง อุปาทาน ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งอุปาทาน
...ได้รู้ยิ่งเฉพาะแล้วซึ่งตัณหา ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งตัณหา ซึ่งความดับไม่เหลือแห่ง ตัณหา ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งตัณหา
...ได้รู้ยิ่งเฉพาะแล้วซึ่งเวทนา ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งเวทนา ซึ่งความดับไม่เหลือแห่ง เวทนา ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งเวทนา
...ได้รู้ยิ่งเฉพาะแล้วซึ่งผัสสะซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งผัสสะ ซึ่งความดับไม่เหลือแห่ง ผัสสะ ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ
...ได้รู้ยิ่งเฉพาะแล้วซึ่งสฬายตนะซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งสฬายตนะ ซึ่งความดับไม่เหลือ แห่ง สฬายตนะ ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งสฬายตนะ
...ได้รู้ยิ่งเฉพาะแล้วซึ่งนามรูปซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งนามรูป ซึ่งความดับไม่เหลือ แห่ง นามรูป ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งนามรูป
...ได้รู้ยิ่งเฉพาะแล้วซึ่งวิญญาณซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งวิญญาณ ซึ่งความดับไม่เหลือ แห่ง วิญญาณ ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ
เราได้ดำเนินไปตามแล้ว ซึ่งหนทางนั้น เมื่อดำเนินตามอยู่ ซึ่งหนทางนั้น
เรา ได้รู้ยิ่งเฉพาะแล้วซึ่งสังขารทั้งหลาย ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งสังขาร ซึ่งความดับ ไม่เหลือแห่งสังขาร ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุ ถึงความดับไม่เหลือ แห่งสังขาร
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เรานั้น ครั้นรู้ยิ่งเฉพาะแล้วซึ่งหนทางนั้น ได้บอกแล้วแก่ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ทั้งหลาย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! พรหมจรรย์นี้ ที่เรากล่าวบอกแล้วนั้น ได้เป็นพรหมจรรย์ตั้งมั่นและ รุ่งเรืองแล้ว เป็นพรหมจรรย์ที่แผ่ ไพศาล เป็นที่รู้แห่งชนมากเป็นปึกแผ่นแน่นหนา จนกระทั่งเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย สามารถประกาศได้ด้วยดีแล้ว.
......................................................................................................
หมายเหตุผู้รวบรวม : ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า ตามข้อความข้างบนนี้แสดง อยู่ในตัว แล้วว่า เมื่อดำเนินตาม อริยมรรคมีองค์ ๘ ประการ ย่อมเป็นการรู้ปฏิจจสมุป-บาทไปตาม ลำดับ พร้อมกับไปในตัว ดังนั้น จึงถือเป็นหลักได้ว่าการคิดค้นปฏิจจสมุปบาท อยู่ อย่าง ขะมักเขม้นขึ้น คือการที่กำลังดำเนินอยู่ ในอริยอัฏฐังคิกมรรค นั่นเอง. ขออย่าได้ข้ามไป เห็นเป็น คนละเรื่อง เหมือนดังที่ เป็นกันอยู่โดยมาก ในที่ทั่ว ๆ ไป
หน้า 266
ปฏิบัติเพื่อการดับปฏิจจสมุปบาทชื่อว่าปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
ดูก่อนภิกษุ! ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติแล้ว เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือ แห่งชรามรณะ อยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า "ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรมแล้ว"
ดูก่อนภิกษุ! ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติแล้ว เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือ แห่งชาติ อยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า "ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรมแล้ว"
ดูก่อนภิกษุ! ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติแล้ว เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือ แห่งภพ อยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า "ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรมแล้ว"
ดูก่อนภิกษุ! ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติแล้ว เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือ แห่งอุปาทาน อยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า "ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรมแล้ว"
ดูก่อนภิกษุ! ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติแล้ว เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือ แห่งตัณหา อยู่ไซร ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า "ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรมแล้ว"
ดูก่อนภิกษุ! ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติแล้ว เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือ แห่งเวทนา อยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า "ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรมแล้ว"
ดูก่อนภิกษุ! ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติแล้ว เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือ แห่งผัสสะ อยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า "ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรมแล้ว"
ดูก่อนภิกษุ! ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติแล้ว เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือ แห่งสฬายตนะ อยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า "ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรมแล้ว"
ดูก่อนภิกษุ! ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติแล้ว เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือ แห่งนามรูป อยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า "ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรมแล้ว"
ดูก่อนภิกษุ! ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติแล้ว เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือ แห่งวิญญาณ อยู่ไซร ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า "ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรมแล้ว"
ดูก่อนภิกษุ! ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติแล้ว เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือ แห่งสังขารทั้งหลาย อยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียก ภิกษุนั้นว่า "ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรมแล้ว"
ดูก่อนภิกษุ! ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติแล้ว เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือ แห่งอวิชชา อยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า "ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรมแล้ว" ดังนี้ แล
องค์ประกอบที่เป็นบุพพภาคของการดับแห่งปฏิจจสมุปบาท๑
(มาคัณฑิยปริพพาชก ได้กราบทูลว่า "ข้าพเจ้าเลื่อมใสต่อพระโคดมอย่างนี้แล้ว ท่านพระโคดมจะสามารถ เพื่อแสดงธรรม แก่ข้าพเจ้า โดยประการที่ข้าพเจ้า จะลุกขึ้นจาก อาสนะนี้ ในลักษณะแห่งผู้หายตาบอดได้ไหม พระเจ้าข้า?". พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสว่า)
ดูก่อนมาคัณฑิยะ! ถ้าอย่างนั้น ท่านควรคบสัตบุรุษ. ดูก่อนมาคัณฑิยะ! เมื่อใดท่านคบ สัตบุรุษ เมื่อนั้นท่าน จักได้ ฟังธรรม ของสัตบุรุษ.
ดูก่อนมาคัณฑิยะ! เมื่อใดท่านได้ฟังธรรมของสัตบุรุษ เมื่อนั้น ท่านจักปฏิบัติธรรมสมควร แก่ธรรม.
ดูก่อนมาคัณฑิยะ! เมื่อใดท่านปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมแล้ว เมื่อนั้นท่านจักรู้เอง เห็นเอง โดยแท้ ว่า นี้คือโรค นี้คือหัวฝีนี้คือลูกศร
โรค หัวฝี ลูกศร ทั้งหลาย ในกรณีนี้ ย่อมดับไปโดยไม่มีส่วนเหลือ (ในลักษณะเดียวกัน กับข้อที่ว่า) เพราะความดับแห่งอุปาทาน ของเรานั้น จึงมีความดับแห่งภพ เพราะมีความ ดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ เพราะมีความดับแห่งชาตินั้นแล ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะทุกขะโทมนัส-อุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น. ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้" ดังนี้.
....................................................................................................
หมายเหตุผู้รวบรวม : ผู้ศึกษาพึงทราบว่า โรค หัวผี ลูกศร ในที่นี้คือทุกข์ อันเกิดจาก ตัณหา. ตัณหาใด ๆ ล้วนแต่ต้องมาจาก เวทนา ซึ่งออกมาจากการสัมผัสอารมณ์ด้วย อวิชชา ด้วยกันทั้งนั้น และตัณหานั้น ย่อมส่งต่อไปให้เกิดอุปทาน ภพ ชาติชรามรณะ อันเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์.
การที่จะรู้จักหัวฝี ลูกศร เป็นต้น แล้วกำจัดเสียให้ได้นั้น ต้องอาศัยการปฏิบัติธรรม โดยสมควรแก่ธรรมของ สัตบุรุษ ดังนั้น การที่ทุกคนคบสัตบุรุษ ฟังธรรมเข้าใจแล้ว ปฏิบัติอยู่อย่างถูกต้อง ไม่ว่าในรูปลักษณะใด ย่อมเป็นการกระทำชนิด ที่เป็นบุรพภาค แห่งการ ทำลายกระแสแห่ง ปฏิจจสมุปบาท เพื่อการดับทุกข์ ด้วยกันทั้งนั้น.
ถ้าผิดไปจากนี้ ย่อมไม่มีความหมายอะไร และมิใช่การปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนา.
หน้า 269
ผัสสะ คือนิทานสัมภวะส่วนมากของนิพเพธิกธรรม
(เรื่องนี้ใส่เข้ามาในฐานะที่เป็นหลักธรรมที่ช่วยปฏิบัติ)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เราจักแสดงซึ่งธรรมปริยายชื่อ นิพเพธิกปริยาย แก่พวกเธอ ทั้งหลาย. พวกเธอทั้งหลายจงฟังซึ่งข้อความนั้น. จงทำในใจให้สำเร็จประโยชน์ เราจักกล่าวบัดนี้.
ครั้นภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น ทูลสนองรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัส ถ้อยคำเหล่านี้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ธรรมปริยายชื่อ นิพเพธิกปริยาย นั้นเป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!
(๑) กามทั้งหลาย อันบุคคลพึงรู้แจ้งนิทานสัมภวะ (เหตุเป็นแดนเกิดพร้อม) แห่งกาม ทั้งหลาย เวมัตตตา (ประมาณต่าง ๆ ) แห่งกามทั้งหลาย วิบาก (ผลสุกวิเศษ) แห่งกาม ทั้งหลาย นิโรธ (ความดับไม่เหลือ) แห่งกาม นิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึง ความดับ ไม่เหลือ) แห่งกาม (นี้ แต่ละอย่าง ๆ) เป็นธรรมที่บุคคลพึงรู้แจ้ง.
(๒) เวทนาทั้งหลาย อันบุคคลพึงรู้แจ้ง นิทานสัมภวะแห่งเวทนาทั้งหลาย เวมัตตตา แห่ง เวทนาทั้งหลาย วิบากแห่งเวทนาทั้งหลาย นิโรธแห่งเวทนา นิโรธคามินีปฏิปทาแห่ง เวทนา (นี้ แต่ละอย่าง ๆ) เป็นธรรมที่บุคคลพึงรู้แจ้ง.
(๓) สัญญาทั้งหลาย อันบุคคลพึงรู้แจ้ง นิทานสัมภวะแห่งสัญญาทั้งหลาย เวมัตตตา แห่ง สัญญาทั้งหลาย วิบากแห่งสัญญาทั้งหลาย นิโรธแห่งสัญญา นิโรธคามินี-ปฏิปทาแห่งสัญญา (นี้ แต่ละอย่าง ๆ) เป็นธรรมที่บุคคลพึงรู้แจ้ง.
(๔) อาสวะทั้งหลาย อันบุคคลพึงรู้แจ้ง นิทานสัมภวะแห่งอาสวะทั้งหลาย เวมัตตตา แห่งอาสวะทั้งหลาย วิบากแห่งอาสวะทั้งหลาย นิโรธแห่งอาสวะ นิโรธคามินีปฏิปทา แห่งอาสวะ (นี้ แต่ละอย่าง ๆ) เป็นธรรมที่บุคคลพึงรู้แจ้ง.
(๕) กรรม อันบุคคลพึงรู้แจ้ง นิทานสัมภวะแห่งกรรม เวมัตตตาแห่งกรรม วิบากแห่ง กรรม ทั้งหลาย นิโรธแห่งกรรม นิโรธคามินีปฏิปทาแห่งกรรม (นี้ แต่ละอย่าง ๆ) เป็นธรรมที่บุคคลพึงรู้แจ้ง.
(๖) ทุกข์ อันบุคคลพึงรู้แจ้ง นิทานสัมภวะแห่งทุกข์ เวมัตตตาแห่งทุกข วิบากแห่งทุกข์ นิโรธแห่งทุกข์ นิโรธคามินีปฏิปทาแห่งทุกข์ (นี้ แต่ละอย่างๆ) เป็นธรรมที่บุคคลพึงรู้แจ้ง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! กามทั้งหลาย อันบุคคลพึงรู้แจ้ง เป็นอย่างไรเล่า?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! กามคุณทั้งหลาย ๕ ประการ เหล่านี้
คือ
...รูปทั้งหลาย อันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ..
...เสียงทั้งหลาย อันจะพึงรู้แจ้งด้วยโสตะ..
...กลิ่นทั้งหลาย อันจะ
พึงรู้แจ้งด้วยจมูก..
...รสทั้งหลาย อันจะพึงรู้แจ้งด้วยลิ้น..
...สัมผัสผิวหนัง อันจะพึงสัมผัสด้วยกาย อันเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา (อิฏฐา) น่าใคร่ (กนฺตา) น่าพอใจ (มนาปา) มีลักษณะอันน่ารัก (ปิยะรูปา) เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยแห่ง ความใคร่ (กามูปสญฺหิตา) เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด (รชนิยา) มีอยู่.
(๑) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! อารมณ์ทั้งหลาย ๕ ประการเหล่านี้หาใช่กามไม่ ในอริยวินัย เรียกอารมณ์ทั้งหลาย ๕ ประการเหล่านี้ว่า "กามคุณ"(หาเรียกว่ากามไม่) แต่ว่า ความ กำหนัดไปตามอำนาจ ความตริตรึก (สงฺกปฺปราค) นั่นและคือกามของคนเรา
หน้า 271
อารมณ์อันวิจิตรทั้งหลายในโลกนั้น หาใช่กามไม่
ความกำหนัด ไปตามอำนาจความตริตรึก นั่นและคือกามของคนเรา
อารมณ์อันวิจิตร ก็มีอยู่ในโลก ตามประสาของมันเท่านั้น ดังนั้น ผู้มีปัญญาจึงนำออกเสีย ซึ่งฉันทะ ในอารมณ์ อันวิจิตรเหล่านั้น ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็นิทานแห่งสัมภวะ (เหตุเป็นแดนเกิดพร้อม) แห่งกามทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นิทานสัมภวะแห่งกาม ทั้งหลาย คือผัสสะ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เวมัตตตา (ประมาณต่าง ๆ ) แห่งกามทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เวมัตตตาแห่งกาม ทั้งหลาย คือ
ความใคร่ (กาม)ใน รูปารมณ์ ก็อย่างหนึ่ง ๆ
ความใคร่ใน สัททารมณ์ ก็อย่างหนึ่ง ๆ
ความใคร่ใน คันธารมณ์ ก็อย่าง หนึ่ง ๆ
ความใคร่ใน รสารมณ์ ก็อย่างหนึ่ง ๆ
ความใคร่ใน โผฏฐัพพารมณ์ ก็อย่างหนึ่ง ๆ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้เราเรียกว่า เวมัตตตาแห่งกามทั้งหลาย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็วิบากแห่งกามทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลมีความใคร่ ในอารมณ์ใดอยู่ ย่อมยัง อัตตภาพอันเกิดจากกามในอารมณ์นั้น ๆ ให้เกิดขึ้น เป็นอัตตภาพมีส่วนแห่งบุญบ้าง มีส่วนแห่งบุญหามิได้บ้าง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรากล่าวว่า วิบากแห่งกามทั้งหลาย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิโรธแห่งกาม เป็นอย่างไรเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความดับแห่งกามมี เพราะความดับแห่งผัสสะ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็นิโรธคามินีปฏิปทาแห่งกาม เป็นอย่างไรเล่า?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยอัฏฐังคิกมรรคนี้แล คือ นิโรธคา มินีปฏิปทาแห่งกามข้อนั้นได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ สัมมทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแล อริยสาวกย่อมรู้ชัดซึ่งกามทั้งหลายอย่างนี้ ซึ่งนิทานสัมภวะแห่งกาม ทั้งหลายอย่างนี้ ซึ่งเวมัตตตาแห่งกามทั้งหลายอย่างนี้ ซึ่งวิบาก แห่งกามทั้งหลายอย่างนี้ ซึ่งนิโรธแห่งกาม อย่างนี้ ซึ่งนิโรธคามินี ปฏิปทา แห่งกาม อย่างนี้ ในกาลนั้น อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดซึ่งพรหมจรรย์ อันเป็นเครื่องเจาะแทงกิเลส นี้ว่า เป็นที่ดับแห่งกาม (กามนิโรธ).
(๒) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เวทนาทั้งหลาย อันบุคคลพึงรู้แจ้ง เป็นอย่างไรเล่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนาทั้งหลาย ๓ ประการเหล่านี้ คือ สุขเวทนาทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็นิทานสัมภวะแห่งเวทนาทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิทานสัมภาวะแห่งเวทนาทั้งหลาย คือผัสสะ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เวมัตตตาแห่งเวทนาทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุขเวทนา อันเป็นไปด้วยอามิส (เหยื่อ) ก็มีอยู่ สุขเวทนา อันปราศจากอามิส ก็มีอยู่ ทุกขเวทนา อันเป็น ไปกับด้วยอามิส ก็มีอยู่ ทุกขเวทนา อันปราศจากอามิส ก็มีอยู่ อทุกขมสุขเวทนา อันเป็นไปกับด้วยอามิส ก็มีอยู่ อทุกขมสุข เวทนาอันปราศจากอามิส ก็มีอยู่
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรากล่าวว่า เวมัตตตาแห่งเวทนา ทั้งหลาย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็วิบากแห่งเวทนาทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเสวยเวทนาใดอยู่ ย่อมยังอัตตภาพ อันเกิดจากเวทนานั้น ให้เกิดขึ้นเป็นอัตตภาพ มีส่วนแห่งบุญบ้าง เป็นอัตตถาพ มีส่วนแห่งบุญหามิได้บ้าง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรากล่าวว่า วิบากแห่งเวทนาทั้งหลาย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิโรธแห่งเวทนา เป็นอย่างไรเล่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความดับแห่งเวทนามี เพราะความดับแห่งผัสสะ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็นิโรธคามินีปฏิปทาแห่งเวทนา เป็นอย่างไรเล่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยอัฎฐังคิกมรรคนี้แล คือนิโรธคามินีปฏิปทาแห่งเวทนาข้อนั้นได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ สัมมทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแล อริยสาวกย่อมรู้ชัดซึ่งเวทนา ทั้งหลายอย่างนี้ ซึ่งนิทานสัมภวะ แห่งเวทนาทั้งหลายอย่างนี้ ซึ่งเวมัตตตาแห่งเวทนา ทั้งหลายอย่างนี้ ซึ่งวิบากแห่งเวทนาทั้งหลายอย่างนี้ ซึ่งนิโรธแห่งเวทนา อย่างนี้ ซึ่งนิโรธคามินีปฏิปทา แห่งเวทนาอย่างนี้ ในกาลนั้น อริยสาวกนั้นย่อมรู้ชัด ซึ่งพรหมจรรย์ อันเป็นเครื่อง เจาะแทงกิเลสนี้ว่า เป็นที่ดับแห่งเวทนา (เวทนานิโรธ).
(๓) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัญญาทั้งหลาย อันบุคคลพึงรู้แจ้ง เป็นอย่างไรเล่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัญญาทั้งหลาย ๖ ประการเหล่านี้ คือ รูปสัญญาสัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธัมมสัญญา.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็นิทานสัมภวะแห่ง สัญญาทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิทานสัมภาวะแห่ง สัญญาทั้งหลาย คือผัสสะ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เวมัตตตาแห่งสัญญาทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัญญาในอารมณ์คือรูปทั้งหลาย ก็อย่างหนึ่ง ๆ สัญญาใน
อารมณ์คือเสียงทั้งหลาย ก็อย่างหนึ่ง ๆ สัญญาในอารมณ์คือกลิ่นทั้งหลาย ก็อย่างหนึ่ง ๆ สัญญาใน อารมณ์คือรสทั้งหลาย ก็อย่างหนึ่ง ๆ สัญญาในอารมณ์โผฏฐัพพทั้งหลาย ก็อย่างหนึ่ง ๆ สัญญาในอารมณ์ธัมมารมณ์ ทั้งหลาย ก็อย่างหนึ่ง ๆ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรากล่าวว่า เวมัตตตาแห่งสัญญาทั้งหลาย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็วิบากแห่งสัญญาทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวซึ่งสัญญา ทั้งหลาย ว่าเป็นสิ่ง ที่มีผลออกมาเป็นโวหารพูดอย่างหนึ่ง ๆ (โวหารเวปกฺกา) เพราะว่าบุคคลกระทำ ซึ่ง สัญญาในสิ่งนั้น ๆ ว่าอย่างไร เขาย่อมกล่าว ออกมาอย่างนั้น ๆ เช่นว่า เราเป็นผู้มีสัญญาอย่างนี้ ๆ ๑ เป็นต้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรากล่าวว่า วิบากแห่งสัญญาทั้งหลาย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิโรธแห่งสัญญา เป็นอย่างไรเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ความดับแห่งสัญญามี เพราะความดับแห่ง ผัสสะ . ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็นิโรธคามินี ปฏิปทาแห่งสัญญา เป็นอย่างไรเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยอัฏฐังคิกมรรค นี้แล คือ นิโรธคามินีปฏิปทาแห่งสัญญา ข้อนี้ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ สัมมทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะสัมมา วายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.
………………………………………………………………………………………………..
๑พึงเข้าใจว่า คำว่า "สัญญา" ในกรณีอย่างนี้ มิได้หมายถึงความจำล้วน ๆ แต่หมายถึง ความรู้สึก จนมี ความสำคัญว่ามันเป็นอะไร หรืออย่างไรเป็นต้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ในกาลใดแล อริยสาวกย่อมรู้ชัดซึ่งสัญญาทั้งหลายอย่างนี้ซึ่งเวมัตตตาแห่ง สัญญาทั้งหลายอย่างนี้ ซึ่งวิบากแห่งสัญญาทั้งหลายอย่างนี้ ซึ่งนิโรธ แห่งสัญญาอย่างนี้ ซึ่งนิโรธคามินี ปฏิปทาแห่งสัญญาอย่างนี้ ในกาลนั้น อริยสาวก นั้น ย่อม รู้ชัดซึ่งพรหมจรรย์ อันเป็นเครื่องเจาะแทง กิเลสนี้ว่า เป็นที่ดับแห่งสัญญา (สัญญานิโรธ).
(๔) ...ฯลฯ... (ข้อความตอนที่ละไว้นี้ เป็นตอนที่กล่าวถึงอาสวะ จักเว้นเสียไม่นำมาใส่ไว้ ในที่นี้ เพราะไม่ได้ ตรัสไว้เกี่ยวกับผัสสะ โดยตรง)...ฯลฯ...
(๕) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!ก็กรรม อันบุคคลพึงรู้แจ้ง เป็นอย่างไรเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เรากล่าวซึ่งเจตนา ว่าเป็นกรรม เพราะว่าบุคคลมีเจตนาแล้ว ย่อมกระทำกรรม ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็นิทานสัมภวะแห่งกรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิทานสัมภาวะ แห่งกรรม ทั้งหลาย คือผัสสะ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เวมัตตตาแห่งกรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กรรมอันทำสัตว์ ให้เสวย เวทนา เป็นสัตว์นรก มีอยู่ กรรมอันทำสัตว์ให้เสวยเวทนา เป็นกำเนิดเดรัจฉาน มีอยู่ กรรมอันทำสัตว์ให้เสวยเวทนา เป็นเปรตวิสัยมีอยู่ กรรมอันทำสัตว์ให้เสวยเวทนา ในมนุษยโลก มีอยู่ กรรมอันทำสัตว์ให้เสวยเวทนาในเทวโลก มีอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้เรากล่าวว่า เวมัตตตาแห่งเวทนาทั้งหลาย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็วิบากแห่งกรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวซึ่งวิบากแห่ง กรรมว่า มีอยู่ ๓ อย่าง คือ วิบากในทิฏฐิธรรม (คือทันควัน) หรือว่าวิบากในอุปะปัชชะ (คือในเวลาต่อมา) หรือว่าวิบากในอปรปริยายะ (คือในเวลาต่อมาอีก) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้เรากล่าวว่า วิบากแห่งกรรมทั้งหลาย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็นิโรธแห่งกรรม เป็นอย่างไรเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความดับ แห่ง กรรมทั้งหลายมี เพราะความดับแห่ง ผัสสะ. ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็นิโรธคามินี ปฏิปทาแห่งกรรม เป็นอย่างไรเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! อริยอัฎฐังคิกมรรค นี้แล คือ นิโรธคามินีปฏิปทาแห่งกรรม ข้อนี้ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ สัมมทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะสัมมาอาชีวะ สัมมา วายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแล อริยสาวกย่อมรู้ชัดซึ่งกรรม อย่างนี้ซึ่งเวมัตตตา แห่งกรรมทั้งหลาย อย่างน้, ซึ่งวิบาก แห่งกรรมทั้งหลายอย่างนี้ ซึ่งนิโรธแห่งกรรมอย่างนี้ ซึ่งนิโรธคามินีปฏิปทาแห่งกรรมอย่างนี้ ในกาลนั้น อริยสาวกนั้น ย่อม รู้ชัด ซึ่ง พรหมจรรย์อันเป็นเครื่องเจาะแทงกิเลสนี้ว่า เป็นที่ดับแห่งกรรม(กัมมนิโรธ).
……………………………………………………………………………………………………..
๑ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นใจความสำคัญที่สุด ในตอนนี้ ที่ตรัสว่า แดนเกิดแห่งกรรม คือผัสสะ แดนดับแห่ง กรรม ก็คือผัสสะ ซึ่งแสดงว่า กรรมเกิดและดับ ในอัตตภาพนี้ อยู่อย่างซ้ำ ซาก ๆ ดังนั้น วิบากแห่งกรรม จึงมีได้ในอัตตภาพนี้ อย่างซ้ำ ๆ ซาก ๆ ไม่ว่าจะเป็นชนิดทิฏฐธรรมหรืออุปปัชชะ หรืออปร ปริยายะ ซึ่งมักจะเข้าใจกันไปว่า สองชนิดหลังนั้น จะมีต่อตายเข้าโลงไปแล้ว เท่านั้น ความถูกต้องในเรื่องนี้ จะเป็นอย่างไร ขอจงพิจารณาดูเถิด.
(๖) ...ฯลฯ... (ข้อความตอนที่ละไว้นี้ เป็นตอนที่กล่าวถึงอาสวะ จักเว้นเสียไม่นำมาใส่ไว้ ในที่นี้ เพราะไม่ได้ ตรัสไว้เกี่ยวกับผัสสะ โดยตรง)...ฯลฯ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้แล คือธรรมปริยายอันชื่อว่านิพเพธิกปริยาย นั้น.
หมายเหตุผู้รวบรวม : ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่าสิ่งที่ เรียกว่าผัสสะนั้น มีความสำคัญมาก น้อย เพียงใด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือข้อที่ผัสสะเป็นที่เกิดและที่ดับแห่งกาม แห่งเวทนา แห่ง สัญญา และแห่งกรรม. พวกเรายังมีความรู้เรื่องผัสสะกันน้อยเกินไป จึงไม่สามารถ จะปฏิบัติ ให้ประสบความสำเร็จในการเอาชนะกาม ในการควบคุมเวทนา ในการละเสียซึ่ง สัญญา และในการทำความสิ้นสุดแห่งกรรมทั้งหลาย.
ผัสสะเป็นตัวการสำคัญในกระแสแห่งปฏิจจสมุปบาท ดังที่ทราบกันอยู่แล้ว เมื่อมีการกล่าว ถึงผัสสะในที่ใด ก็พึงทราบเถิดว่า ย่อมมี กระแสแห่ง ปฏิจจสมุปบาทซ่อนอยู่ครบถ้วน ในที่นั้น ไม่ว่าจะเรียกว่ากาม หรือเวทนา หรือสัญญา หรือกรรม อันเป็นนิพเพธิกธรรม ดังที่กล่าวแล้วในพระบาลีนี้ ดังนั้น ควรจะถือว่า ผัสสะทั้งหลาย เป็นนิทานสัมภวะ ส่วนมาก ของนิพเพธิกธรรม ที่บุคคลพึงรู้แจ้งแทง ตลอด เพื่อความสิ้นสุดแห่งความทุกข์ ในที่สุด.
หน้า 278
ปฏิจจสมุปบาทแห่งการกำจัดอุปสรรค ขณะเจริญสติปัฏฐาน
ดูก่อนอานนท์! ข้อนั้นเป็นอย่างนั้น ข้อนั้นเป็นอย่างนั้น คือภิกษุหรือภิกษุณีใดก็ตาม มีจิตตั้งมั่นดีแล้วใน สติปัฏฐาน ๔ อยู่ข้อนี้เป็นสิ่งที่ภิกษุ หรือภิกษุณีนั้นพึงหวังได้ว่า จักรู้พร้อมซึ่งคุณวิเศษอันโอฬาร อื่นจากคุณวิเศษที่มีแล้ว ในก่อน. ภิกษุหรือภิกษุณี มีจิตตั้งมั่นด้วยดีในสติปัฏฐาน ๔ อย่างไหนเล่า?
ดูก่อนอานนท์! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ มีความเพียร เผากิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ พึงกำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลก เสียได้. เมื่อเธอพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ความเร่าร้อน (ปริฬาห) ในกายอันมีกายเป็น อารมณ์ เกิดขึ้นก็ดี หรือว่าความหดหู่แห่งจิตเกิดขึ้นก็ดี หรือว่าจิตฟุ้งไปในภายนอกก็ดี
ดูก่อนอานนท์! ภิกษุนั้น พึง ตึงจิตในนิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส.
เมื่อตั้งจิตในนิมิตเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส ปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้น
เมื่อมีปราโมทย์แล้ว ปีติ ย่อมเกิดขึ้น
เมื่อมีใจปีติแล้ว กาย ย่อมรำงับ
ผู้มีกายรำงับแล้ว ย่อมรู้สึกเป็นสุข
เมื่อรู้สึกเป็นสุข จิตย่อมตั้งมั่น.
ภิกษุนั้นย่อมพิจารณาอย่างนี้ว่า "เราตั้งจิตไว้เพื่อประโยชน์แก่ธรรมใดประโยชน์นั้น สำเร็จแล้วแก่เรา. เอาละ บัดนี้เราจะนำจิตเฉพาะ ต่ออารมณ์นั้น". ภิกษุนั้นย่อมนำจิต เฉพาะต่ออารมณ์นั้นด้วย ไม่กระทำซึ่งวิตกด้วย ไม่กระทำซึ่งวิจารด้วย.
เธอนั้นย่อมรู้ชัดว่า "เราเป็นผู้ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เป็นผู้มีสติ มีสุขในภายใน"ดังนี้. (ในกรณีเวทนา-จิต-และธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ก็ทรงแสดงไว้โดยนัยเดียวกัน)
ดูก่อนอานนท์ ภาวนา ย่อมมีเพราะการตั้งจิตไว้ อย่างนี้ แล.
หมายเหตุผู้รวบรวม : ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า แม้การแก้ไขอุปสรรคแห่งการเจริญ สติปัฏฐาน ซึ่งเป็นธรรมอันเอกอันสูงสุด ก็ยังต้องใช้วิธีการที่เรียกว่า ปฏิจจ-สมุปบาท ดังที่ปรากฏอยู่ในพระบาลีนี้ ซึ่งมีใจความสำคัญว่า นิมิตอันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส นั้น สามารถกำจัด นิวรณ์หรืออุปสรรคของสมาธิได้ ข้อนี้เป็นการชี้ให้เห็นวิธีการกำจัดนิวรณ์ โดยวิธีที่ละเอียด ลึกซึ้งเกินกว่าที่ทราบ หรือสอน ๆ กันอยู่.
หน้า 280
ปฏิจจสมุปบาท เพื่อ สามัญญผลในปัจจุบัน
(๗ ประการ อรหันต์ ๒ อนาคามี ๕)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การได้เห็น..การได้ฟัง.. การได้เข้าไปหา.. การได้นั่งใกล้.. การระลึกถึง ..การบวชตาม.. (แต่ละอย่างๆ) ในภิกษุทั้งหลาย ผู้สมบูรณ์ด้วยศีล-สมาธิ-ปัญญา-วิมุตติ-วิมุตติญาณทัสสนะ-นั้น เรากล่าว (แต่ละอย่างๆ) ว่าเป็นธรรม มีอุปการะมาก. ....
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนั้นเพราะเหตุว่า เมื่อผู้ใดฟังธรรมของภิกษุเช่นนั้นแล้ว เป็นผู้หลีก ออกทั้งทางกาย และทางจิตอยู่ ย่อมตาม ระลึกตริตรึกซึ่งธรรมนั้น... สติสัมโพชฌงค์ ของเธอนั้น ย่อมถึงซึ่งความเจริญบริบูรณ์.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีสติสัมโพชฌงค์เจริญบริบูรณ์อยู่เช่นนั้นแล้ว ย่อมเลือกเฟ้น ย่อมพิจารณา ถึงการใคร่ครวญ ซึ่งธรรมนั้น ด้วยปัญญา...ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ของเธอนั้น ย่อมถึงซึ่งความเจริญบริบูรณ์.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เมื่อภิกษุ มีธัมมวิจยสัมโพชฌงค์เจริญ บริบูรณ์อยู่ เช่นนั้น (ก็เป็นอันว่า) เธอเป็นผู้ปรารภ ความเพียรแล้วไม่ย่อ หย่อน...วิริยสัมโพชฌงค์ของเธอนั้น ย่อมถึงซึ่งความเจริญบริบูรณ์.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นิรามิสปีติ (ปีติอิงธรรม ไม่อิงอามิส) ย่อมเกิดแก่ภิกษุผู้มีความเพียร อันปรารภแล้ว เช่นนั้น... ปีติสัมโพชฌงค์ของเธอนั้น ย่อมถึงซึ่งความเจริญบริบูรณ์.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! กายก็ดี จิตก็ดี ของภิกษุผู้มีใจปีติ ย่อมสงบรำงับ… ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ของเธอนั้น ย่อมถึงซึ่งความเจริญ บริบูรณ์.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!จิตของภิกษุผู้มีกายสงบและเป็นสุข ย่อมตั้งมั่นเป็นสมาธิ... สมาธิสัมโพชฌงค์ ของเธอนั้น ย่อมถึงซึ่ง ความเจริญ บริบูรณ์.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!ภิกษุ (ผู้มีสมาธิสัมโพชฌงค์) ย่อมเป็นผู้เพ่งซึ่งจิตอันตั้งมั่นดีแล้ว อย่างนั้น..(เป็นอันว่า) อุเบกขา สัมโพชฌงค์ ของเธอนั้น ย่อมถึงซึ่งความเจริญบริบูรณ์.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เมื่อโพชฌงค์ทั้ง ๗ เป็นธรรมที่ภิกษุนั้นเจริญ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ผลเป็นอานิสงส์ ๗ ประการ ย่อมเป็นสิ่งที่เธอหวังได้. ๗ ประการอย่างไรเล่า? ๗ ประการ คือ:-
(๑) ย่อมบรรลุอรหันตตผลโดยพลันในทิฏฐิธรรม (ทันควัน) นั่นเทียว
(๒) ถ้าไม่เช่นนั้น... ก็ย่อมบรรลุอรหันตตผลในมรณกาล (เวลาที่กำลังจะตาย)
(๓) ถ้าไม่เช่นนั้น... ก็ย่อมเป็นอันตราปรินิพพายี (อนาคามี) เพราะสิ้นโอรัมภาคย สัญโญชน์๕
(๔) ถ้าไม่เช่นนั้น... ก็ย่อมเป็นอุปหัจจปรินิพพายี (อนาคามี) เพราะสิ้นโอรัมภาคย สัญโญชน์๕
(๕) ถ้าไม่เช่นนั้น... ก็ย่อมเป็นอสังขารปรินิพพายี (อนาคามี) เพราะสิ้นโอรัมภาคย สัญโญชน์๕
(๖) ถ้าไม่เช่นนั้น... ก็ย่อมเป็นสสังขารปรินิพพายี (อนาคามี) เพราะสิ้นโอรัมภาคย สัญโญชน์๕
(๗) ถ้าไม่เช่นนั้น... ก็ย่อมเป็นอุทธังโสโตอกนิฏฐคามี (อนาคามี) เพราะสิ้นโอรัมภาคย สัญโญชน์๕
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เมื่อโพชฌงค์ทั้ง ๗ เป็นธรรมที่ภิกษุนั้นเจริญ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ผลเป็นอานิสงส์ ๗ ประการ ย่อมเป็นสิ่ง ที่เธอหวังได้ อย่างนี้ แล.
.........................................................................................................
หมายเหตุผู้รวบรวม : ขอให้ผู้ศึกษาสังเกตว่า ในกรณีที่เกี่ยวกับอานิ-สงส์ทั้ง ๗ ประการนี้ ไม่มีพระบาลีคำ ใดที่แสดงว่าเป็นเรื่อง ภายหลังจากการตายแล้ว (กายสฺส เภทา ปรํ มรณา) ดังที่เราพูดหรือสอนกันอยู่ทั่วไป ๆ โดยไม่ยอมให้มีการวิพากย์ วิจารณ์ ดังนั้น ในที่นี้จึงให้ชื่อว่า "สามัญญผลในปัจจุบัน".
หน้า 282
ปฏิจจสมุปบาท เป็นสิ่งที่ต้องเห็นด้วยยถาภูตสัมมัปปัญญา
แม้ที่ยังเป็นเสขะเป็นอย่างน้อย
ครั้งหนึ่ง พระมุสิละ พระปวิฏฐะ พระนารทะและพระอานนท์ อยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้เมือง โกสัมพี. ครั้งนั้น พระปวิฏฐะได้กล่าวกับ พระมุสิละว่า
"ดูก่อนทานมุสิละ ถ้าเว้นความเชื่อ (ตามที่ได้ฟังจากพระผู้มีพระภาคเจ้า) เสีย เว้นความ ชอบใจ (ตามที่บุคคลบางคนกล่าว) เสีย เว้นการฟังตาม ๆ กันมาเสีย เว้นการ ตริตรึกไป ตาม อาการ (ของสิ่งแวดล้อมภายนอก) เสีย เว้นการเห็นว่ามันเข้ากันได้ กับทิฏฐิ ของตน เสีย ญาณเป็นเครื่องรู้เฉพาะตนจริง ๆ จะมีแก่ท่านมุสิละว่า เพราะมีชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ'ดังนี้ ได้หรือ?"
"ดูก่อนท่านปวิฏฐะ!แม้เว้นความเชื่อ (ตามที่ได้ฟังจากพระผู้มีพระภาคเจ้า) เสีย เว้นความ ชอบใจ (ตามที่บุคคลบางคนกล่าว) เสีย เว้นการฟังตาม ๆ กันมาเสีย เว้นการตริตรึกไป ตาม อาการ (ของสิ่งแวดล้อมภายนอก) เสีย เว้นการเห็นว่ามัน เข้ากันได้กับ ทิฏฐิ ของตนเสีย กระผมก็ย่อมรู้ย่อมเห็นซึ่งธรรม ข้อนั้นได้ว่า '’เพราะมีชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรามรณะ' ดังนี้.
(พระปวิฏฐะได้ถามเป็นลำดับไปถึงข้อที่เกี่ยวกับชาติ เกี่ยวกับภพ เกี่ยวกับอุปาทาน เกี่ยวกับตัณหา เกี่ยวกับเวทนา เกี่ยวกับผัสสะ เกี่ยวกับสฬายตนะ เกี่ยวกับนามรูป เกี่ยวกับวิญญาณ ด้วยคำถามอย่างเดียวกัน พระมุสิละก็ได้ตอบยืนยันด้วยคำตอบ อย่างเดียวกัน จนถึงข้อสุดท้าย)
"ดูก่อนท่านมุสิละ! ถ้าเว้นความเชื่อ (ตามที่ได้ฟังจากพระผู้มีพระภาคเจ้า) เสีย เว้นความ ชอบใจ (ตามที่บุคคล บางคนกล่าว) เสีย เว้นการฟังตาม ๆ กันมาเสีย
เว้นการตริตรึกไปตามอาการ (ของสิ่งแวดล้อมภายนอก) เสีย เว้นการเห็นว่ามันเข้ากันได้ กับทิฏฐิของตนเสีย ญาณเป็นเครื่องรู้ เฉพาะตนจริง ๆ จะมีแก่ท่านมุสิละว่า เพราะมี อวิชชา เป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย ดังนี้ ได้หรือ
"ดูก่อนท่านปวิฏฐะ! แม้เว้นความเชื่อ (ตามที่ได้ฟังจากพระผู้มีพระภาคเจ้า) เสียเว้นความ ชอบใจ (ตามที่บุคคลบางคนกล่าว) เสีย เว้นการฟังตาม ๆ กันมาเสีย เว้นการตริตรึกไป ตาม อาการ (ของสิ่งแวดล้อม ภายนอก) เสีย เว้นการเห็นว่ามันเข้ากันได้กับทิฏฐิ ของตนเสีย กระผมก็ย่อมรู้ย่อมเห็น ซึ่งธรรมข้อนั้นได้ว่า เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย ดังนี้ ได้หรือ?" (พระปวิฏฐะได้ถามพระมุสิละต่อไปถึง อาการปฏิจจ สมุปบาท ฝ่ายนิโรธวาร เป็นลำดับ ๆ ไปจนกระทั่งข้อสุดท้าย)
"ดูก่อนท่านมุสิละ! ถ้าเว้นความเชื่อ (ตามที่ได้ฟังจากพระผู้มีพระภาคเจ้า) เสีย เว้นความ ชอบใจ (ตามที่บุคคล บางคนกล่าว) เสีย เว้นการฟังตาม ๆ กันมาเสีย เว้นการตริตรึกไป ตาม อาการ (ของสิ่งแวดล้อมภายนอก) เสีย เว้นการเห็นว่ามันเข้ากันได้กับทิฏฐิ ของตน เสีย ญาณเป็นเครื่องรู้เฉพาะตนจริง ๆ จะมีแก่ท่านมุสิละว่า 'พราะมีความดับแห่งอวิชชา จึงมีความดับแห่งสังขาร' ดังนี้ ได้หรือ?" "ดูก่อนท่านปวิฏฐะ! แม้เว้นความเชื่อ (ตามที่ได้ฟัง จากพระผู้มีพระภาคเจ้า) เสีย
เว้นความชอบใจ (ตามที่บุคคลบางคนกล่าว) เสีย, เว้นการฟังตามๆกันมาเสีย เว้นการ ตริตรึกไปตามอาการ (ของสิ่งแวดล้อม ภายนอก) เสียเว้นการเห็นว่ามันเข้ากันได้กับ ทิฏฐิของตนเสียกระผมก็ย่อมรู้ย่อมเห็น ซึ่งธรรมข้อนั้นได้ว่า 'เพราะมีความดับแห่ง อวิชชา จึงมีความดับแห่งสังขาร' ดังนี้".
"ดูก่อนท่านมุสิละ! ถ้าเว้นความเชื่อ (ตามที่ได้ฟังจากพระผู้มีพระภาคเจ้า) เสีย เว้นความชอบใจ (ตามที่บุคคลบ างคนกล่าว) เสีย เว้นการฟังตามๆกันมาเสีย เว้นการ ตริตรึกไปตามอาการ (ของสิ่งแวดล้อมภายนอก) เสีย เว้นการเห็นว่ามันเข้ากันได้กับทิฏฐิ ของตนเสียญาณเป็นเครื่องรู้เฉพาะตนจริงๆ จะมีแก่ท่านมุสิละว่า 'การดับแห่งภพ คือ นิพพาน' ดังนี้ได้หรือ?"
"ดูก่อนท่านปวิฏฐะ! แม้เว้นความเชื่อ (ตามที่ได้ฟังจากพระผู้มี-พระภาคเจ้า) เสีย เว้นความชอบใจ (ตามที่บุคคล บางคนกล่าว) เสีย เว้นการฟังตามๆกันมาเสีย เว้นการ ตริตรึกไปตามอาการ (ของสิ่งแวดล้อม ภายนอก) เสียเว้นการเห็นว่ามันเข้ากันได้กับทิฏฐิ ของตนเสีย กระผมก็ย่อมรู้ย่อมเห็นซึ่งธรรมข้อนั้นได้ว่า 'การดับแห่งภพ คือนิพพาน' ดังนี้"
ดูก่อนท่านมุสิละ! ถ้าอย่างนั้น ท่านเป็นพระอรหันตขีณาสพหรือ?" เมื่อถูกถามอย่างนี้ พระมุสิละได้นิ่งเสีย. (ลำดับนั้น พระนารทะ ได้เสนอ ตัวเข้ามาให้พระปวิฏฐะ ถามปัญหา อย่างเดียวกันนั้นบ้าง เมื่อพระปวิฏฐะถาม พระนารทะก็ตอบอย่างเดียวกันกับ ที่พระ มุสิละได้ตอบแล้ว ทั้งในส่วน สมุทยวาร และนิโรธวาร จนกระทั้งถึงคำถามและ คำตอบ คู่สุดท้าย)
"ดูก่อนท่านนารทะ! ถ้าเว้นความเชื่อ (ตามที่ได้ฟังจากพระผู้มีพระภาคเจ้า)เสีย เว้น ความชอบใจ (ตามที่บุคคล บางคนกล่าว) เสีย เว้นการฟังตามๆกันมาเสีย เว้นการตริตรึก ไปตามอาการ (ของสิ่งแวดล้อมภายนอก) เสีย เว้นการเห็นว่ามันเข้ากันได้กับทิฏฐิ ของตนเสีย ญาณเป็นเครื่องรู้เฉพาะตนจริงๆจ ะมีแก่ท่านมุสิละว่า การดับแห่งภพ คือนิพพาน ดังนี้ได้หรือ?"
"ดูก่อนท่านปวิฏฐะ! แม้เว้นความเชื่อ (ตามที่ได้ฟังจากพระผู้มีพระภาคเจ้า) เสีย เว้นความ ชอบใจ (ตามที่บุคคล บางคนกล่าว) เสีย เว้นการฟังตามๆกันมาเสีย เว้นการตริตรึกไปตาม อาการ (ของสิ่งแวดล้อม ภายนอก) เสีย เว้นการเห็นว่ามันเข้ากันได้กับทิฏฐิ ของตนเสีย กระผมก็ย่อมรู้ย่อมเห็นซึ่งธรรมข้อนั้น ได้ว่า 'การดับแห่งภพคือนิพพาน ดังนี้
"ดูก่อนท่านนารทะ! ถ้าอย่างนั้นท่านเป็นพระอรหันต ขีณาสพหรือ?" "ดูก่อนท่าน ธรรมที่ว่า ความดับแห่งภพคือนิพพาน นั้นเป็นธรรมที่กระผมเห็นแล้วด้วยดี ด้วยยถาภูต สัมมัปปัญญา๑ จริงๆแต่กระผมก็หาเป็นพระอรหันต ขีณาสพไม่. ดูก่อนท่าน! เปรียบ เหมือนบ่อน้ำมีอยู่ริมหนทางอันกันดาร ที่บ่อนั้นเชือกก็ไม่มีครุสำหรับตักน้ำก็ไม่มี.
ลำดับนั้นมีบุรุษผู้ถูก ความร้อนแผดเผาแล้วถูก ความร้อนครอบงำแล้ว อ่อนเพลียอยู่หิว กระหายอยู่มาถึงบ่อนั้น แล้ว บุรุษนั้นมองลงในบ่อนั้นเขามีความรู้สึกว่า น้ำในบ่อนั้นมีอยู่ แต่เขาไม่อาจจะทำให้น้ำนั้น ถูกต้องกายเขาได้ ฉันใด ดูก่อนท่าน! ข้อนี้ก็ฉันนั้น ธรรมที่ว่า 'การดับแห่งภพคือนิพพาน' นั้นเป็นธรรมที่กระผมเห็นแล้วด้วยดี ด้วยยถาภูตสัมมัปปัญญา จริงๆ แต่กระผมก็หาเป็นอรหันตขีณาสพไม่".
ครั้นพระนารทะกล่าวอย่างนี้แล้ว พระอานนท์ได้หันไปกล่าวกะพระปวิฏฐะว่า "ดูก่อนท่านปวิฏฐะ! ท่านเป็นผู้ ขี้มักถามอย่างนี้ ได้กล่าวอะไรแก่ท่านนารทะบ้าง?". พระปวิฏฐะได้ตอบว่า "ดูก่อนท่านอานนท์ ผมซึ่งเป็น ผู้ขี้มักถามอย่างนี้ไม่ได้กล่าวเรื่อง อะไรๆก ะพระนารทะเลยนอกจากเรื่องที่ งดงาม และเรื่องที่ เป็นกุศล" ดังนี้แล.
หมายเหตุผู้รวบรวม : การที่นำเอาเรื่องของพระสาวกมากล่าวไว้ในที่นี้ (ซึ่งล้วนแต่เป็น พุทธภาสิต) ก็เพื่อจะให้ผู้ศึกษาได้เข้าใจ ความหมายของคำว่า "ยถาภูตสัมมัปปัญญา" โดยชัดเจน จากถ้อยคำที่พระสาวก เหล่านั้นโต้ตอบกัน เนื่องจากว่า ไม่มีที่ใดจะ แสดงให้เห็นลักษณะของสิ่งที่เรียกว่า "ยถาภูตสัมมัปปัญญา" ได้ดีกว่าข้อความในเรื่องนี้.
หน้า 286
แม้การทำความเพียรในที่สงัดก็ยังต้องปรารภขันธ์ห้า
ตามวิธีการของปฏิจจสมุปบาท
พระอานนท์ ได้กราบทูลถามว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ดังข้าพระองค์ขอโอกาส ขอพระผู้มีพระภาค จงทรงแสดงธรรมแก้ข้า พระองค์โดยย่อ ซึ่งข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว จะเป็นผู้หลีกออกผู้เดียวเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียรเผากิเลส มีตนส่งไปแล้ว (ในธรรมปฏิบัติ) อยู่เถิด พระเจ้าข้า!".
พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสว่า:-ดูก่อนอานนท์! เธอจะสำคัญความข้อนี้ ว่าอย่างไร รูปเที่ยง หรือไม่เที่ยง? ("ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า!") ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า? ("เป็นทุกข์พระเจ้าข้า!") ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า "นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา" ดังนี้?
("ข้อนั้นหามิได้พระเจ้าข้า!").
ดูก่อนอานนท์! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน อันมีอยู่ใน ภายใน หรือภายนอก ก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือ ปราณีตก็ตาม รูปทั้งหมดนั้นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของ เรา เธอพึง เห็นซึ่งข้อนนั้น ด้วยยถาภูตสัมมัปปัญญา (ความรู้ทั่วถึงถูกต้อง ตามเป็นจริง) อย่างนี้ ด้วยประการดังนี้.
(ในกรณีแห่งเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็มีการตรัสถาม ทูลตอบ. และตรัส อย่างเดียวกันทุกตัวอักษร กับในกรณีแห่งรูป ต่างกันแต่เพียงชื่อแห่งขันธ์ เท่านั้น).
ดูก่อนอานนท์ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป แม้ใน เวทนา แม้ในสัญญา แม้ในสังขารทั้งหลาย แม้ในวิญญาณ. เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลาย กำหนัด เพราะความคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้วย่อมมีญาณเกิดขึ้น แก่ อริยสาวกนั้นว่า "หลุดพ้นแล้ว" ดังนี้. อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดว่า "ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ อันเราอยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้กระทำ เสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อทำความเป็นอย่างนี้ มิได้อีก". ดังนี้ แล.
............................................................................................
ห ม าย เห ตุผู้รวบ รวม : ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า "การเห็นชอบตามที่เป็นจริง" นั้นมิได้มีความสำคัญ เพียงใดเรื่องราวอัน เกี่ยวกับการพิจารณาเห็นปฏิจจ-สมุปบาท แม้ในการทำความเพียรใด ๆ ก็ตาม ย่อมปรารภ ยถาภูตสัมมัปปัญญาคือการเห็นชอบตาม ที่เป็นจริงด้วยกันทั้งนั้น ดังที่ได้ยกมาให้เห็นเป็นตัวอย่างเรื่องหนึ่ง คือเรื่องนี้. ผู้ศึกษา พึงเห็นความสำคัญ ของการเห็นชอบตาม ที่เป็นจริง เกี่ยวกับอุปาทานขันธ์ห้าดังนี้เถิด.
หน้า 287
แม้สุขทุกข์ในภายใน ก็เกิดขึ้นเพราะปรารภขันธ์ห้า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่หนอ เพราะเข้าไปยึดถือซึ่งอะไร เพราะปักใจเข้าไป สู่อะไร สุขและทุกข์ ในภายใน จึงเกิดขึ้น? ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น กราบทูลวิงวอนว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลาย ของพวกข้าพระองค์ มีพระผู้มีพระภาค เป็นมูล มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่ง. ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ เป็นการชอบ แล้วหนอ ขอให้อรรถแห่งภาษิตนั้น จงแจ่มแจ้งกะพระผู้มีพระภาคเองเถิด ภิกษุทั้งหลาย ได้ฟังจาก พระผู้มีพระภาคแล้วจักทรงจำไว้" ดังนี้. พระผู้มีพระภาค ตรัสเตือนให้ ภิกษุทั้งหลาย เหล่านั้นตั้งใจฟังด้วยดีแล้ว ได้ตรัสข้อความ ดังต่อไปนี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อรูปนั่นแล มีอยู่ เพราะเข้าไปยึดถือซึ่งรูป เพราะปักใจเข้าไป สู่รูป สุขและทุกข์ ในภายใน จึงเกิดขึ้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! พวกเธอทั้งหลาย จะสำคัญความข้อนี้ ว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือ ไม่เที่ยง?
("ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า!")
ก็สิ่งใด ไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
("เป็นทุกข์พระเจ้าข้า!")
ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา แต่ถ้าไม่ เข้าไปยึดถือสิ่งนั้นแล้ว สุขและทุกข์ ในภายใน จะเกิดขึ้นได้ไหม?
("ข้อนั้นหามิได้พระเจ้าข้า!").
(ในกรณีแห่งเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็มีการตรัส ตรัสถาม ทูลตอบ. อย่างเดียวกันทุกตัวอักษร กับในกรณีแห่งรูป ต่างกันแต่เพียงชื่อแห่งขันธ์ เท่านั้น).
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป แม้ในเวทนา แม้ในสัญญา แม้ในสังขาร ทั้งหลาย แม้ในวิญญาณ. เมื่อเบื่อหน่าย ย่อม คลายกำหนัด เพราะความคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้วย่อมมีญาณ เกิดขึ้น แก่อริยสาวกว่า "หลุดพ้นแล้ว" ดังนี้. อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดว่า"ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ อันเราอยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ กระทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อทำความเป็นอย่างนี้ มิได้อีก". ดังนี้ แล
หน้า 289
ต้นเงื่อนของปฏิจจสมุปบาท
ละได้ด้วยการเห็นธรรมทั้งปวงว่าไม่ควรยึดมั่น
ภิกษุรูปหนึ่ง ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ธรรมอย่างหนึ่งมีอยู่หรือไม่หนอซึ่งเมื่อภิกษุ ละได้แล้วอวิชชาย่อมละไปวิชชา ย่อมเกิดขึ้นพระเจ้าข้า?"
ดูก่อนภิกษุ! ธรรมอย่างหนึ่ง มีอยู่แล ...ฯลฯ...
"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ธรรมอย่างหนึ่งนั้นคืออะไรเล่าหนอ .ฯลฯ...?"
ดูก่อนภิกษุ! อวิชชานั่นแล เป็นธรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งเมื่อภิกษุละได้แล้ว อวิชชาย่อมละไป วิชชาย่อมเกิดขึ้น.
"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! เมื่อภิกษุรู้อยู่อย่างไรเห็นอยู่อย่างไรอวิชชา จึงจะละไปวิชชาจึงจะ เกิดขึ้นพระเจ้าข้า?"
ดูก่อนภิกษุ! หลักธรรมอันภิกษุในกรณีนี้ได้สดับแล้วย่อมมีอยู่ว่า"สิ่งทั้งหลายทั้งปวงอันใคร ๆไม่ควรยึดมั่นถือมั่น(ว่าเป็น ตัวเรา-ของเรา)" ดังนี้
ดูก่อนภิกษุ! ถ้าภิกษุได้สดับหลักธรรมข้อนั้นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งหลายทั้งปวง อันใคร ๆ ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น ดังนี้แล้วไซร้ ภิกษุนั้นย่อม รู้ยิ่งซึ่งธรรมทั้งปวง
ครั้นรู้ยิ่งซึ่งธรรมทั้งปวงแล้ว ย่อมรอบรู้ซึ่งธรรมทั้งปวง ครั้นรอบรู้ซึ่งธรรมทั้งปวงแล้ว ภิกษุนั้น ย่อมเห็นซึ่ง นิมิตทั้งหลายของ สิ่งทั้งปวงโดยประการอื่น ๑ ย่อมเห็นซึ่ง จักษุโดยประการอื่น ย่อมเห็นรูปทั้งหลาย โดยประการอื่น ย่อมเห็นซึ่ง จักขุวิญญาณโดยประการอื่น ย่อมเห็นซึ่งจักขุสัมผัสโดยประการอื่น ย่อมเห็น ซึ่งเวทนา อันเป็นสุข ก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย โดยประการอื่น.
(ในกรณีแห่งโสตะก็ดี ฆานะก็ดี ชิวหาก็ดี กายก็ดี มโนก็ดี และธรรมทั้งหลาย ที่สัมปยุตต์ ด้วยโสตะ ฆานะ ชิวหา กาย และมโน นั้น ๆ ก็ดี พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ มีนัยอย่าง เดียวกันกับในกรณีแห่งการเห็น จักษุและธรรม ทั้งหลายที่สัมปยุตต์ด้วยจักษุ).
ดูก่อนภิกษุ! เมื่อภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล อวิชชาจึงจะละไปวิชชาจึงจะเกิดขึ้น.
หมายเหตุผู้รวบรวม : ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า อวิชชาซึ่งเป็นต้นเงื่อนของ ปฏิจจสมุปบาท จะละไปได้ เพราะการเห็นแจ้งในข้อ ที่ว่า ธรรมทั้งหลายทั้งปวง อันบุคคล ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น ซึ่งมีอยู่เป็นภาษาบาลีว่า "สพฺเพ ธมฺมา นาลํอภินิเวสาย" ซึ่งควรถือว่า เป็น หัวใจ ของพระพุทธศาสนา. ๑เมื่อบุคคลรู้แจ้งสิ่งทั้งปวง โดยถูกต้องแล้ว ย่อมเห็นสิ่ง ทั้งปวงโดยประการอื่น จากที่เขาเคยเห็น เมื่อยัง ไม่รู้แจ้ง เช่นเมื่อก่อนเห็นว่า สังขาร เป็นของเที่ยง บัดนี้ย่อมเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นต้นนี้เรียกว่า เห็นโดย ประการอื่น. คำว่า นิมิต หมายถึงลักษณะ หนึ่งๆ ของสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นเครื่องสังเกตหรือรู้สึก หรือยึดถือ หรือสำคัญมั่นหมาย.
หน้า 291
ต้นเงื่อน แห่งปฏิจจสมุปบาทละได้ด้วยการเห็นอนิจจัง
(ภิกษุองค์หนึ่ง ได้ทูลถามอย่างเดียวกันกับคำถามในเรื่องที่แล้วมา ต่อไปนี้เป็นคำตอบ)ดูก่อนภิกษุ! เมื่อภิกษุ รู้อยู่เห็นอยู่ซึ่งจักษุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง อวิชชาจึงจะละไป วิชชาจึงเกิดขึ้น
เมื่อภิกษุรู้อยู่เห็นอยู่ซึ่งรูปทั้งหลาย ...ฯลฯ...
เมื่อภิกษุรู้อยู่เห็นอยู่ซึ่งจักขุวิญญาณ ...ฯลฯ...
เมื่อภิกษุรู้อยู่เห็นอยู่ซึ่งจักขุสัมผัส ...ฯลฯ...
เมื่อภิกษุ รู้อยู่เห็นอยู่ซึ่งเวทนา อันเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุ สัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นของไม่เที่ยงอวิชชาจึงจะละไป วิชชาจึงเกิดขึ้น
(ในกรณีแห่งโสตะ ฆานะ ชิวหา กาย และมโน ทุกหมวด มีข้อความอย่าง เดียวกัน).
ดูก่อนภิกษุ! เมื่อภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ อวิชชาจึงจะละไปวิชชาจึงจะเกิดขึ้น.
หน้า 292
อาการแห่งอนิจจัง โดยละเอียด
(เรื่องนี้ มีความประสงค์เพื่อขยายความเรื่องที่แล้วมาให้ชัดเจนยิ่งขึ้น) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! วิญญาณย่อมมีขึ้น เพราะอาศัยธรรม ๒ อย่างสองอย่างอะไรเล่า? สองอย่างคือ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยซึ่งจักษุด้วยซึ่งรูปทั้งหลายด้วย จักขุวิญญาณ จึงเกิดขึ้น.
จักษุเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น รูปทั้งหลายเป็น สิ่งที่ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็น ไป โดยประการอื่น ธรรมทั้งสอง (จักษุ+รูป) อย่างนี้แล เป็นสิ่งที่หวั่นไหวด้วย อาพาธด้วย ไม่เที่ยงมีความแปรปรวน มีความเป็น ไปโดยประการอื่น
จักษุวิญญาณ เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น เหตุอันใดก็ตาม ปัจจัยอันใดก็ตาม เพื่อความ เกิดขึ้น แห่งจักขุวิญญาณ แม้เหตุ อันนั้น แม้ปัจจัย อันนั้น ก็ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! จักขุวิญญาณเกิดขึ้นแล้ว เพราะอาศัยปัจจัยที่ไม่เที่ยงดังนี้ จักขุวิญญาณเป็นของเที่ยงมาแต่ไหน.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ความประจวบพร้อม ความประชุมพร้อม ความมาพร้อมกัน แห่งธรรม ทั้งหลาย (จักษุ+รูป+จักขุวิญญาณ) ๓ อย่างเหล่านี้ อันใดแล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้ เราเรียกว่าจักขุสัมผัส.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้จักขุสัมผัสก็เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นไป โดยประการอื่น.
เหตุอันใดก็ตาม ปัจจัยอันใดก็ตาม เพื่อความเกิดขึ้นแห่งจักขุสัมผัส แม้เหตุ อันนั้น แม้ปัจจัย อันนั้น ก็ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง มีความ แปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักขุสัมผัสเกิดขึ้นแล้ว เพราะอาศัยปัจจัยที่ไม่เที่ยงดังนี้ จักขุสัมผัส จักเป็นของเที่ยงมาแต่ไหน.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลที่ผัสสะกระทบแล้วย่อมรู้สึก (เวเทติ) ผัสสะกระทบแล้วย่อม คิด (เจเตติ) ผัสสะกระทบแล้วย่อม จำได้หมายรู้ (สญฺชานาติ) แม้ธรรมทั้งหลาย (เวทนา เจตนา สัญญา๑) อย่างนี้เหล่านี้ ก็ล้วนเป็นสิ่งที่หวั่นไหวด้วย อาพาธ ด้วย ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น
(ในกรณีแห่งโสตวิญญาณก็ดี ฆานวิญญาณก็ดี ชิวหาวิญญาณก็ด กายวิญญาณก็ดี ก็มีนัยเดียวกัน).
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยซึ่งมโนด้วย ซึ่งธัมมารมณ์ทั้งหลายด้วย มโนวิญญาณ จึงเกิดขึ้น. มโนเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น ธัมมารมณ์ทั้งหลายเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดย ประการอื่น ธรรมทั้งสอง (มโน+ธัมมารมณ์) อย่างนี้แล เป็นสิ่งที่หวั่นไหวด้วยอาพาธด้วย ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็น ไปโดย ประการอื่น มโนวิญญาณเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น
………………………………………………………………………………………….
๑ เวทนา คือความรู้สึก เป็นผลของ เวเทติ เจตนา คือความคิด เป็นผลของ เจเตติ สัญญา คือความจำได้หมายรู้ เป็นผลของ สญฺชานาติ.
เหตุอันใดก็ตาม ปัจจัยอันใดก็ตาม เพื่อความเกิดขึ้นแห่งมโนวิญญาณ แม้เหตุ อันนั้น แม้ปัจจัย อันนั้น ก็ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! มโนวิญญาณเกิดขึ้นแล้ว เพราะอาศัยปัจจัยที่ไม่เที่ยงดังนี้ มโนวิญญาณเป็นของเที่ยงมาแต่ไหน.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความประจวบพร้อม ความประชุมพร้อม ความมาพร้อมกัน แห่งธรรม ทั้งหลาย (มโน+ธัมมารมณ์+ มโนวิญญาณ) ๓ อย่างเหล่านี้อันใดแล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้เราเรียกว่า มโนสัมผัส. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ มโนสัมผัส ก็เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น.
เหตุอันใดก็ตาม ปัจจัยอันใดก็ตาม เพื่อความเกิดขึ้นแห่งมโนสัมผัส แม้เหตุ อันนั้น แม้ปัจจัย อันนั้น ก็ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดย ประการอื่น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! มโนสัมผัสเกิดขึ้นแล้ว เพราะอาศัยปัจจัยที่ไม่เที่ยงดังนี้ มโนสัมผัสจักเป็นของเที่ยงมาแต่ไหน.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลที่ผัสสะกระทบแล้วย่อมรู้สึก (เวเทติ) ผัสสะกระทบแล้ว ย่อมคิด (เจเตติ) ผัสสะกระทบแล้วย่อม จำได้หมายรู้ (สญฺชานาติ) แม้ธรรมทั้งหลาย (เวทนา เจตนา สัญญา) อย่างนี้เหล่านี้ ก็ล้วนเป็นสิ่งที่หวั่นไหวด้วย อาพาธ ด้วย ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น.
หน้า 294
เคล็ดลับในการปิดกั้นทางเกิดแห่งปฏิจจสมุปบาท
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุพึงพิจารณาใคร่ครวญ โดยประการที่เมื่อพิจารณา ใคร่ครวญ อยู่แล้ว วิญญาณ (จิต) ของเธอนั้นอันไม่ฟุ้ง ไป ไม่ซ่านไปในภายนอกด้วย
อันไม่ตั้ง สยบอยู่ในภายในด้วย ก็จะไม่พึงสะดุ้ง เพราะเหตุไม่มีความยึดมั่นถือมั่น ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย! เมื่อวิญญาณ ไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปในภายนอก ไม่ตั้งสยบอยู่ในภายในอยู่ เป็นจิตไม่สะดุ้ง เพราะเหต ไม่มี ความยึดมั่นถือมั่น ดังนี้แล้ว
การก่อตั้งขึ้นแห่งกองทุกข์ กล่าวคือ ชาติ ชรา มรณะ ย่อมไม่มีอีกต่อไป. ๑
ครั้นตรัสดังนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้เสด็จเข้าสู่ที่ประทับเสีย. ภิกษุเหล่านั้นไม่เขาใจ ในเนื้อความแห่ง พระพุทธวจนะนี้โดยพิสดาร จึงพากันไปหาพระมหากัจจานะ ได้รับ คำอธิบายจาก พระมหากัจจานะโดยพิสดาร ดังต่อไปนี้
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! ข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงอุเทสไว้แต่โดยย่อ แก่เราทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงพิจารณาใคร่ครวญ โดยประการ ที่เมื่อ พิจารณาใคร่ครวญ อยู่แล้ว วิญญาณ (จิต) ของเธอนั้น อันไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไป ในภายนอกด้วย อันไม่ตั้งสยบอยู่ในภายใน ด้วยก็จะไม่พึงสะดุ้ง เพราะเหตุไม่มีความยึดมั่นถือมั่น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อวิญญาณไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปในภายนอก ไม่ตั้งสยบอยู่ใน ภายในอยู่ เป็นจิตไม่สะดุ้งเพราะเหตุ ไม่มีความยึดมั่นถือมั่นแล้ว การก่อตั้งขึ้นแห่ง กองทุกข์ กล่าวคือชาติ ชรา มรณะ ย่อมไม่มีอีกต่อไป ดังนี้แล้วมิได้ทรง จำแนก เนื้อความโดยพิสดาร เสด็จลุกจากอาสนะเข้าสู่ที่ประทับ เสียนั้น ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ทั้งหลาย! สำหรับอุเทสซึ่งพระผู้มีพระ ภาคเจ้า ทรงแสดงแต่โดยย่อไม่ทรงจำแนก เนื้อความโดยพิสดารนี้ ข้าพเจ้ารู้เนื้อความแห่งอุเทสนั้นโดยพิสดารดังต่อไปนี้
……………………………………………………………………………………
๑ เคล็ดลับในการปิดกั้นทางเกิดแห่งปฏิจจสมุปบาทในที่นี้ ก็คือคำกล่าวในประโยคที่ว่า "พึงใคร่ครวญ โดยประการที่เมื่อ ใคร่ครวญ อยู่ จิตไม่อาจฟุ้งซ่านไปภายนอก และไม่สยบ อยู่ในภายใน และไม่สะดุ้งเพราะความยึดมั่นใด ๆ" โดยวิธีปฏิบัติตามคำอธิบายโดย พิสดารของพระมหากัจจานะ นั่นเอง และเพราะเป็นคำอธิบายที่พระองค์ทรงรับรอง ว่าแม้พระองค์จะทรงอธิบายเอง ก็จะทรงอธิบาย อย่างเดียวกัน จึงนำเภรภาษิตนี้มา ต่อท้ายถ้อยคำจากพระโอษฐ์ เพื่อความแจ่มแจ้งและสะดวกแก่ผู้ศึกษา.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! ก็คำที่กล่าวว่า "วิญญาณอันฟุ้งไป ซ่านไปในภายนอก" ดังนี้นั้นมีเนื้อความ โดยพิสดาร อย่างไรเล่า? ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! ในกรณีที่กล่าว นี้ วิญญาณ (จิต) ของภิกษุผู้เห็นรูป ด้วยตา แล้วเป็นวิญญาณที่แล่นไป ตามนิมิตแห่ง รูป เป็นวิญญาณที่หยั่งลงในอัสสาทะ (รสอร่อย)ของนิมิต แห่งรูป ผูกพันอยู่ในอัสสาทะ ของนิมิตแห่งรูป ประกอบ พร้อมแล้วด้วย ความผูกพัน อยู่ในอัสสาทะของ นิมิตแห่ งรูปนี้แหละคือข้อความที่กล่าวโดยย่อว่า "วิญญาณอันฟุ้งไป ซ่านไป ในภายนอก" ดังนี้. (ในกรณีแห่งการได้ยินเสียงด้วยหู การรู้สึก ลิ่นด้วยจมูก การลิ้มรสด้วยลิ้น การสัมผัส ทางผิวหนังด้วยผิวกาย และการรู้แจ้ง ธัมมารมณ์ด้วยใจก็ มีข้อความเหมือนกับข้อความ ที่กล่าว ในกรณีแห่งการเห็นรูปด้วยตา ข้างบนนี้ทุกตัวอักษร ต่างกัน แต่ชื่อของ อายตนะ นั้น ๆ เท่านั้น.)
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! คำที่กล่าวว่า "วิญญาณอันฟุ้งไปซ่านไปในภายนอก" ดังนี้ นั้น มีเนื้อความโดย พิสดารอย่างนี้แล.ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! ก็คำอันพระผู้มี พระภาค ตรัสแล้วว่า"วิญญาณอันไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไป ในภายนอก" ดังนี้นั้นมีเนื้อ ความโดยพิสดารอย่างไรเล่า? ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! วิญญาณ (จิต) ของภิกษุผู้ เห็นรูปด้วยตาแล้วไม่เป็น วิญญาณที่แล่นไปตามนิมิตแห่งรูป ไม่เป็นวิญญาณที่หยั่งลง ในอัสสาทะ (รสอร่อย)ของนิมิตแห่งรูปไม่ผูกพันอยู่ในอัสสาทะ ของนิมิตแห่งรูป ไม่ประกอบ พร้อมแล้ว ด้วยความผูกพัน อยู่ในอัสสาทะ ของนิมิตแห่งรูป
นี้แหละคือข้อความอันพระผู้มีพระภาค ตรัสแล้วโดยย่อว่า "วิญญาณอันไม่ฟุ้งไปไม่ซ่าน ไปในภายนอก" ดังนี้.(ในกรณีแห่งการ ได้ยินเสียงด้วยหู การรู้สึกกลิ่นด้วยจมูก การลิ้มรส ด้วยลิ้น การสัมผัสทางผิวหนัง ด้วยผิวกาย และการรู้แจ้งธัมมารมณ์ด้วยใจ ก็มีข้อความ เหมือนกับข้อความที่กล่าว
ในกรณีแห่งการเห็นรูป ด้วยตา ข้างบนนี้ทุกตัวอักษร ต่างกันแต่ชื่อของอายตนะนั้น ๆ เท่านั้น.)
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! คำอันพระผู้มีพระภาคตรัสที่กล่าวว่า "วิญญาณอันไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่าน ไปในภายนอก" ดังนี้นั้นมีเนื้อความ โดยพิสดารอย่างนี้แล.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! ก็คำที่กล่าวว่า"จิต ตั้งสยบอยู่ในภายใน"ดังนี้นั้นมี เนื้อความ โดยพิสดารอย่างไร เล่า? ดูก่อนท่าน ผู้มีอายุทั้งหลาย! ในกรณีที่กล่าวนี้ภิกษุ เพราะสงัดจากกาม และอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงบรรลุ ฌานที่ ๑อันมีวิตกวิจารมีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวกแล้วแลอยู่.
วิญญาณ (จิต) ของภิกษุนั้นเป็นวิญญาณที่แล่นไปตามปีติ และสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็น วิญญาณที่หยั่ง ลงในอัสสาทะของปีติ และสุขอันเกิดแต่วิเวก ผูกพันอยู่ในอัสสาทะของ ปีติ และสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นวิญญาณที่ประกอบ พร้อมแล้วด้วยความผูกพัน ในอัสสาทะของปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวก นี้แหละคือข้อความที่กล่าวโดยย่อว่า "จิตตั้งสยบ อยู่ในภายใน" ดังนี้.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุ เพราะความที่วิตกและวิจารสงบระงับลง จึงบรรลุ ฌานที่ ๒ อันเป็นเครื่อง ผ่องใสแห่งใจในภายใน ทำให้สมาธิอันเป็นธรรมอันเอก ผุดมีขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปีติและสุข อันเกิดแต่สมาธิแล้วแลอยู่. วิญญาณ ของภิกษุ นั้น เป็นวิญญาณที่แล่นไปตามปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ เป็นวิญญาณที่หยั่งลงใน อัสสาทะ ของปีติ และสุขอันเกิดแต่สมาธ ผูกพันอยู่ในอัสสาทะของปีติ และสุขอันเกิด แต่สมาธิ เป็นวิญญาณที่ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยความผูกพันใน อัสสาทะ ของปีติ และสุข อันเกิดแต่สมาธิ นี้แหละคือข้อความที่กล่าวโดยย่อว่า " จิตตั้งสยบอยู่ในภายใน" ดังนี้.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุ เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ ย่อมเป็น ผู้อยู่อุเบกข มีสติ และสัมปชัญญะ และย่อมเสวยความสุขด้วนนามกาย ชนิดที่พระอริยเจ้า ทั้งหลาย ย่อมกล่าวสรรเสริญ ผู้นั้นว่า"เป็นผู้อยู่อุเบกขามีสติอยู่เป็นปรกติสุข" ดังนี้ จึงบรรลุฌานที่ ๓ แล้วแลอยู่.
วิญญาณของภิกษุนั้นเป็นวิญญาณที่แล่นไปตามอุเบกขา เป็นวิญญาณที่หยั่งลงใน อัสสาทะ ของสุขอันเกิดแต่ อุเบกขา ผูกพันอยู่ใน อัสสาทะของสุขอันเกิดแต่อุเบกขา เป็นวิญญาณที่ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยความผูกพัน ในอัสสาทะ ของสุขอันเกิดแต่ อุเบกขา นี้แหละคือข้อความที่กล่าวโดยย่อว่า "จิตตั้งสยบอยู่ในภายใน" ดังนี้.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุ เพราะความ ละสุขและทุกข์เสียได้เพราะ ความดับไปแห่ง โสมนัสและ โทมนัส ในกาลก่อน จึงบรรลุฌานที่ ๔ อันไม่มีทุกข์และสุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขาแล้วแลอยู่. วิญญาณ ของภิกษุนั้น เป็น วิญญาณที่แล่นไปตามอทุกขมสุข เป็นวิญญาณที่หยั่งลง ในอัสสาทะของอทุกขมสุข ผูกพันอยู่ในอัสสาทะ ของอทุกขมสุข เป็นวิญญาณ ที่ประกอบพร้อมแล้วด้วย ความ ผูกพันในอัสสาทะของอทุกขมสุข นี้แหละคือข้อความที่กล่าว โดยย่อว่า "จิตตั้งสยบ อยู่ใน ภายใน" ดังนี้.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! คำที่กล่าวว่า "จิตตั้งสยบอยู่ในภายใน" ดังนี้นั้นมีเนื้อความ โดยพิสดารอย่างนี้แล.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! ก็คำอันพระผู้มีพระภาคตรัสที่กล่าวว่า "จิตอันไม่ตั้งสยบ อยู่ในภายใน" ดังนี้นั้น มีเนื้อความโดย พิสดารอย่างไรเล่า? ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ในกรณีที่กล่าวนี้ภิกษุ เพราะสงัด จากกาม และอกุศลธรรมทั้งหลายจึงบรรลุ ฌานที่ ๑ อันมีวิตกวิจารมีปีติ และสุขอันเกิดแต่วิเวกแล้วแลอยู่. วิญญาณ (จิต) ของภิกษุนั้นไม่เป็น วิญญาณที่แล่นไปตามปีติ และสุขอันเกิดแต่วิเวก ไม่เป็นวิญญาณที่หยั่งลง ใน อัสสาทะ ของปีติ และสุขอันเกิดแต่วิเวก ไม่ผูกพันอยู่ในอัสสาทะของปีติ และสุขอันเกิดแต่วิเวก ไม่เป็น วิญญาณ ที่ประกอบพร้อมแล้วด้วยความผูกพัน ในอัสสาทะของปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวก นี้แหละคือ
ข้อความอันพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วโดยย่อว่า "จิตอันไม่ตั้งสยบอยู่ในภายใน"ดังนี้. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ทั้งหลาย! ข้ออื่นยังมีอีกภิกษุเพราะความที่วิตกและ วิจารสงบระงับลง จึงบรรลุฌานที่ ๒ อันเป็นเครื่องผ่องใส แห่งใจ ในภายใน ทำให้สมาธิอันเป็นธรรม อันเอกผุดมีขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่ สมาธิ แล้วแลอยู่. วิญญาณของภิกษุนั้นไม่เป็นวิญญาณที่แล่นไปตามปีติ และ สุขอันเกิดแต่สมาธิ ไม่เป็นวิญญาณ ที่หยั่งลงใน อัสสาทะของปีติและสุข อันเกิดแต่สมาธิ ไม่ผูกพันอยู่ในอัสสาทะของปีติ และสุข อันเกิดแต่สมาธิ ไม่เป็นวิญญาณที่ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยความผูกพัน ในอัสสาทะของปีติและสุข อันเกิดแต่สมาธิ
นี้แหละ คือ ข้อความอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว โดยย่อว่า "จิต อันไม่ตั้งสยบอยู่ใน ภายใน" ดังนี้.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษ เพราะความจางคลายไปแห่งปีต ย่อมเป็น ผู้อยู่อุเบกขา มีสติและสัมปชัญญะ และย่อมเสวยความสุขด้วนนามกาย ชนิดที่พระอริยเจ้า ทั้งหลาย ย่อมกล่าวสรรเสริญ ผู้นั้นว่า"เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติอยู่เป็นปรกติ สุข" ดังนี้ จึงบรรลุฌานที่ ๓ แล้วแลอยู่. วิญญาณของภิกษุนั้น ไม่เป็นวิญญาณที่แล่นไปตาม อุเบกขา ไม่เป็นวิญญาณที่หยั่งลง ในอัสสาทะของสุขอันเกิดแต่อุเบกขา ไม่ผูกพันอยู่ใน อัสสาทะของสุขอันเกิดแต่อุเบกขา ไม่เป็นวิญญาณ ที่ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยความ ผูกพัน ในอัสสาทะของสุขอันเกิดแต่อุเบกขา นี้แหละคือข้อความอันพระผู้มี พระภาค ตรัสแล้ว โดยย่อว่า "จิต อันไม่ ตั้งสยบอยู่ในภายใน" ดังนี้.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุ เพราะความละสุขและทุกข์เสียได้ เพราะความดับไป แห่งโสมนัส และโทมนัส ในกาลก่อน จึงบรรลุฌานที่ ๔ อันไม่มีทุกข์ และสุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติ บริสุทธิ์เพราะอุเบกขาแล้วแลอยู่. วิญญาณของ ภิกษุนั้นไม่เป็นวิญญาณที่แล่นไปตามอทุกขมสุข ไม่เป็น วิญญาณ ที่หยั่งลง ในอัสสาทะ ของอทุกขมสุข ไม่ผูกพันอยู่ในอัสสาทะ ของอทุกขมสุข ไม่เป็นวิญญาณ ที่ประกอบ พร้อมแล้ว ด้วยความผูกพันใน อทุกขมสุข นี้แหละ คือข้อความอันพระผู้มีพระภาค ตรัสแล้ว โดยย่อว่า "จิต อันไม่ตั้งสยบอยู่ในภายใน" ดังนี้.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย คำอันพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วว่า "จิตอันไม่ตั้งสยบอยู่ใน ภายใน" ดังนี้นั้น มีเนื้อความโดยพิสดาร อย่างนี้แล.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ ความสะดุ้ง ย่อมมี เพราะเหตุมีความยึดมั่นถือมั่น เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ในกรณีที่กล่าวมานี้ ปุถุชนผู้ไม่มีการสดับ ไม่เห็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย ไม่ฉลาด ในธรรมของพระ-อริยเจ้า ไม่ได้รับการแนะนำ ในธรรม ของพระอริยเจ้า ไม่เห็นสัปบุรุษทั้งหลาย ไม่ฉลาด ในธรรมของสัปบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำ ในธรรมของสัปบุรุษ
(๑) เขาย่อมตามเห็นซึ่งรูป โดยความเป็นตนบ้าง ย่อมตามเห็นซึ่งตนว่ามีรูปบ้าง ย่อมตามเห็นซึ่งรูป ในตนบ้าง ย่อมตามเห็น ซึ่งตนในรูปบ้าง ครั้นรูปนั้นแปรปรวนไป เป็นความมีโดยประการอื่น แก่เขาวิญญาณ ของเขาย่อมเป็นวิญญาณที่เปลี่ยนแปลงไป ตามความแปรปรวนของรูป เพราะความแปรปรวนของรูป ได้มีโดย ประการอื่น.
ความสะดุ้งอันเกิดจากความเปลี่ยนแปลง ไปตามความ แปรปรวนของรูป ย่อมครอบงำจิต ของเขาตั้งอยู่ เพราะ ความเกิดขึ้นแห่งธรรม(เป็นเครื่องทำความสะดุ้ง). เพราะความ ยึดมั่น แห่งจิต เขาย่อมเป็นผู้มีความ หวาดเสียว มีความคับแค้น มีความพะว้าพะวง และสะดุ้งอยู่ เพราะความยึดมั่น.
(๒) เขาย่อมตามเห็นซึ่งเวทนา โดยความเป็นตนบ้าง ย่อมตามเห็นซึ่งตนว่ามีเวทนา บ้าง ย่อมตามเห็นซึ่ง เวทนาในตนบ้าง ย่อมตามเห็นซึ่งตน ในเวทนาบ้าง ครั้นเวทนานั้น แปรปรวนไป เป็นความมีโดยประการอื่น แก่เขา วิญญาณ ของเขาย่อมเป็น วิญญาณ ที่เปลี่ยนแปลงไปตามความแปรปรวน ของเวทนา เพราะความ แปร ปรวนของเวทนาได้มี โดย ประการอื่น. ความสะดุ้ง อันเกิดจากความเปลี่ยนแปลง ไปตามความแปรปรวนของ เวทนา ย่อมครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่ เพราะความเกิดขึ้นแห่ง ธรรม (เป็นเครื่องทำ ความสะดุ้ง). เพราะความ ยึดมั่นแห่งจิต เขาย่อมเป็น ผู้มีความ หวาดเสียว มีความคับแค้นมีความพะว้าพะวงและสะดุ้งอยู่ เพราะ ความยึดมั่น.
(๓) เขา ย่อมตามเห็นซึ่งสัญญา โดยความเป็นตนบ้าง ย่อมตามเห็นซึ่งตนว่ามีสัญญาบ้าง ย่อมตามเห็นซึ่ง สัญญาในตนบ้าง ย่อมตามเห็นซึ่งตน ในสัญญาบ้าง ครั้นสัญญานั้นแปรปรวนไปเป็นความ มีโดยประการอื่น แก่เขา วิญญาณ ของเขาย่อมเป็นวิญญาณที่เปลี่ยนแปลงไปตามความแปรปรวน ของสัญญาเพราะความ แปรปรวน ของสัญญาได้มีโดยประการอื่น. ความสะดุ้งอันเกิดจากความเปลี่ยนแปลง ไปตามความแปรปรวนของ สัญญา ย่อมครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่เพราะความเกิดขึ้น แห่งธรรม (เป็นเครื่องทำความสะดุ้ง). เพราะความ ยึดมั่น แห่งจิต เขาย่อมเป็นผู้มี ความ หวาดเสียว มีความคับแค้นมีความพะว้าพะวง และสะดุ้งอยู่เพราะ ความยึดมั่น.
(๔) เขา ย่อมตามเห็นซึ่งสังขารทั้งหลาย โดยความเป็นตนบ้าง ย่อมตามเห็นซึ่งตน ว่า มี สังขารบ้าง ย่อมตามเห็นซึ่งสังขาร ทั้งหลายในตนบ้าง ย่อมตามเห็นซึ่งตนในสังขาร ทั้งหลายบ้าง ครั้นสังขารทั้งหลาย เหล่านั้นแปรปรวนไป เป็นความมีโดย ประการ อื่น แก่เขา วิญญาณของเขา ย่อมเป็นวิญญาณที่เปลี่ยนแปลง ไปตามความแปรปรวน ของสังขารทั้งหลายเพราะความแปรปรวนของ สังขารทั้งหลายได้มีโดยประการอื่น. ความสะดุ้งอันเกิดจากความเปลี่ยนแปลงไปตาม ความแปรปรวน ของสังขารทั้งหลายย่อม ครอบงำจิตของเขา ตั้งอยู่เพราะความเกิดขึ้นแห่งธรรม (เป็นเครื่องทำความสะดุ้ง). เพราะความยึดมั่นแห่งจิต เขาย่อมเป็นผู้มี ความหวาดเสียว มีความคับแค้นมีความ พะว้าพะวงและสะดุ้งอยู่เพราะความยึดมั่น.
(๕) เขา ย่อมตามเห็นซึ่งวิญญาณ โดยความเป็นตนบ้าง ย่อมตามเห็นซึ่งตนว่ามี วิญญาณ บ้าง ย่อมตามเห็น ซึ่งวิญญาณในตน บ้าง ย่อมตามเห็นซึ่งตนในวิญญาณบ้าง ครั้นวิญญาณนั้นแปรปรวนไป เป็นความมีโดย ประการอื่น แก่เขา วิญญาณของเขาย่อม เป็น วิญญาณที่เปลี่ยนแปลงไปตามความแปรปรวน ของวิญญาณ เพราะความแปรปรวน ของ วิญญาณได้มีโดยประการอื่น. ความสะดุ้ง อันเกิดจากความเปลี่ยนแปลง ไปตาม ความ แปรปรวนของวิญญาณ ย่อมรอบงำจิตของเขาตั้งอยู่เพราะความเกิดขึ้นแห่งธรรม (เป็นเครื่องทำ ความสะดุ้ง). เพราะความยึดมั่นแห่งจิต เขาย่อมเป็นผู้มีความหวาด เสียว มีความคับแค้น มีความพะว้า พะวงและ สะดุ้ง อยู่เพราะความยึดมั่น. ดูก่อนท่าน ผู้มีอายุทั้งหลาย! อย่างนี้แลคือความสะดุ้งย่อมมีเพราะเหตุ มีความยึดมั่น ถือมั่น.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! ก็ ความไม่สะดุ้ง ย่อมมี เพราะเหตุไม่มีความยึดมั่น ถือมั่น เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ทั้งหลาย! ในกรณีที่กล่าวมานี้อริยสาวก ผู้มีการสดับ ได้เห็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย เป็นผู้ฉลาด ในธรรมของพระอริยเจ้า เป็นผู้ได้ รับการ แนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า ได้เห็นสัปบุรุษทั้งหลายเป็นผู้ฉลาด ในธรรม ของสัปบุรุษ เป็นผู้ได้รับการแนะนำ ในธรรมของสัปบุรุษ
(๑) ท่านย่อม ไม่ตามเห็นซึ่งรูป โดยความเป็นตนบ้าง ย่อมไม่ตามเห็นซึ่งตนว่ามีรูปบ้าง ย่อมไม่ตามเห็น ซึ่งรูปในตนบ้าง ย่อมไม่ ตามเห็นซึ่งตนในรูปบ้าง ครั้นรูปนั้นแปรปรวนไป เป็นความมีโดยประการอื่น แก่ท่าน แต่วิญญาณของท่านย่อมไม่เป็น วิญญาณที่เปลี่ยน แปลงไป ตามความแปรปรวนของรูป เพราะความแปรปรวน ของรูปได้มีโดยประการอื่น. ความสะดุ้ง อันเกิดจากความ เปลี่ยนแปลงไปตามความแปรปรวนของรูป เพราะความ เกิดขึ้น แห่งธรรม (เป็นเครื่องทำความสะดุ้ง). ย่อมไม่ครอบงำจิตของท่านตั้ง อยู่ เพราะ ความไม่ ยึดมั่น แห่งจิต ท่านย่อมเป็นผู้มีความหวาดเสียว ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความพะว้าพะวง และไม่สะดุ้งอยู่ เพราะความไม่ยึดมั่น.
(๒) ท่านย่อม ไม่ตามเห็นซึ่งเวทนา โดยความเป็นตนบ้าง ย่อมไม่ตามเห็นซึ่งตนว่ามี เวทนา บ้าง ย่อมไม่ตามเห็นซึ่งเวทนา ในตนบ้าง ย่อมไม่ตามเห็นซึ่งตนในเวทนาบ้าง ครั้นเวทนานั้น แปรปรวนไป เป็นความมีโดยประการอื่นแก่ท่าน แต่วิญญาณของ ท่าน ย่อมไม่เป็นวิญญาณที่เปลี่ยนแปลงไปตาม ความแปรปรวนของเวทนา เพราะความแปร ปรวน ของ เวทนาได้มีโดยประการอื่น. ความสะดุ้งอันเกิดจาก ความเปลี่ยนแปลงไปตาม ความ แปรปรวนของเวทนา เพราะความเกิดขึ้นแห่งธรรม (เป็นเครื่องทำความสะดุ้ง). ย่อมไม่ครอบงำจิตของท่านตั้งอยู่. เพราะความยึดมั่นแห่งจิต ท่านย่อมไม่เป็นผู้มี ความหวาดเสียว ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความพะว้าพะวง และไม่สะดุ้งอยู่ เพราะความไม่ยึดมั่น.
(๓) ท่านย่อม ไม่ตามเห็นซึ่งสัญญา โดยความเป็นตนบ้าง ย่อมไม่ตามเห็นซึ่งตนว่า มีสัญญาบ้าง ย่อมไม่ตามเห็นซึ่งสัญญา ในตนบ้าง ย่อมไม่ตามเห็นซึ่งตนในสัญญาบ้าง ครั้นสัญญานั้น แปรปรวนไป เป็นความมีโดยประการอื่น แก่ท่าน แต่วิญญาณ ของท่าน ย่อม ไม่เป็นวิญญาณที่เปลี่ยนแปลงไป ตามความแปรปรวนของสัญญา เพราะความแปร ปรวนของสัญญา ได้มีโดยประการ อื่น.ความสะดุ้ง อันเกิดจากความเปลี่ยนแปลง ไปตามความแปรปรวนของสัญญา เพราะความเกิดขึ้นแห่งธรรม (เป็นเครื่องทำความ สะดุ้ง). ย่อมไม่ครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่ เพราะความไม่ยึดมั่นแห่งจิต ท่านย่อม ไม่เป็น ผู้มีความหวาดเสียว ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความพะว้าพะวง และไม่สะดุ้งอยู่ เพราะความไม่ยึดมั่น.
(๔) เขาย่อม ไม่ตามเห็นซึ่งสังขารทั้งหลาย โดยความเป็นตนบ้าง ย่อมไม่ตามเห็นซึ่งตน ว่า มีสังขารบ้าง ย่อมไม่ตามเห็น ซึ่งสังขารทั้งหลายในตนบ้าง ย่อมไม่ตามเห็นซึ่งตนใน สังขาร ทั้งหลายบ้าง ครั้นสังขาร ทั้งหลายนั้น แปรปรวนไป เป็นความมีโดย ประการอื่น แก่ท่าน แต่วิญญาณของท่านย่อมไม่เป็น วิญญาณ ที่เปลี่ยนแปลงไป ตามความแปรปรวน ของสังขารทั้งหลาย เพราะความแปรปรวนของสังขาร ได้มีโดยประการ อื่น. ความสะดุ้ง อันเกิดจากความเปลี่ยนแปลง ไปตามความแปรปรวน ของสังขาร ทั้งหลาย เพราะความ เกิดขึ้น แห่งธรรม (เป็นเครื่องทำความสะดุ้ง). ย่อมไม่ครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่ เพราะความไม่ยึดมั่น แห่งจิต ท่านย่อม ไม่เป็นผู้มีความหวาดเสียว ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความพะว้าพะวง และไม่สะดุ้งอยู่เพราะความไม่ยึดมั่น.
(๕) ท่านย่อม ไม่ตามเห็นซึ่งวิญญาณ โดยความเป็นตนบ้าง ย่อมไม่ตามเห็นซึ่งตนว่า มีวิญญาณบ้าง ย่อมไม่ตามเห็นซึ่ง วิญญาณในตนบ้าง ย่อมไม่ตามเห็นซึ่งตนในวิญญาณ บ้าง ครั้นวิญญาณนั้น แปรปรวนไป เป็นความมีโดยประการอื่น แก่ท่าน แต่วิญญาณ ของท่าน ย่อมไม่เป็นวิญญาณที่เปลี่ยนแปลงไปตามความ แปรปรวนของวิญญาณ เพราะความแปรปรวน ของวิญญาณ ได้มีโดยประการอื่น.
ความสะดุ้งอันเกิดจากความเปลี่ยนแปลงไป ตามความแปรปรวนของวิญญาณ เพราะความ เกิดขึ้น แห่งธรรม (เป็นเครื่องทำความสะดุ้ง). ย่อมไม่ครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่ เพราะความ ไม่ยึดมั่นแห่งจิต ท่านย่อมไม่เป็น ผู้มีความหวาดเสียว ไม่มีความ คับแค้น ไม่มีความพะว้าพะวง และไม่สะดุ้งอยู่ เพราะความไม่ยึดมั่น.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! อย่างนี้แล คือความไม่สะดุ้ง ย่อมมีเพราะเหตุไม่มีความ ยึดมั่นถือมั่น.
หมายเหตุผู้รวบรวม : เนื่องจากข้อความตอนนี้ยืดยาวมาก เกรงจะฟันเฝือ จึงขอย้ำอีก ครั้งหนึ่งว่า แม้ถ้อยคำ เหล่านี้ จะเป็นคำ อธิบายของพระมหากัจจานะ แต่ได้รับการรับรอง จาก พระพุทธองค์ว่า ตรงตามที่จะทรงอธิบาย เอง ดังนั้น เพื่อความสะดวกจึงนำ มาใส่ไว้ ต่อท้ายพระพุทธภาษิตข้างต้นนั้น. เคล็ดของการปฏิบัติในที่นี้อยู่ที่ การใคร่ครวญ ชนิด ที่จิตจะไม่แล่น ไปข้างนอก และไม่สยบ อยู่ใน ภายใน ตามวิธีที่ได้อธิบายไว้ในสูตรนี้แล้ว ปฏิจจสุมปบาท ซึ่งเป็นการก่อขึ้นแห่งทุกข์ ก็ก่อขึ้น ไม่ได้ ดังที่ ตรัสไว้นั้น.
หน้า 306
การพิจารณาปัจจัยในภายใน
คือการพิจารณาปฏิจจสมุปบาท
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เธอทั้งหลาย เมื่อพิจารณา ย่อมพิจารณาซึ่งปัจจัยในภายในบ้างหรือไม่? เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถาม อย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่ง ได้กราบทูลคำนี้ กะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ข้าพระองค์ เมื่อพิจารณา ย่อมพิจารณา ซึ่งปัจจัยภายในพระเจ้าข้า!" พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสถามว่า "ดูก่อนภิกษุ ก็เธอเมื่อ พิจารณาย่อมพิจารณา ซึ่งปัจจัยใน ภายใน อย่างไรเล่า?" ภิกษุนั้นได้กราบทูลเล่า เรื่องการพิจารณาปัจจัยในภายในของตนแล้ว โดยประการใดๆ ก็ล้วนไม่เป็นที่ถูก พระทัย ของพระผู้มีพระภาคเจ้า. เมื่อภิกษุนั้นกราบทูลอย่างนั้นแล้ว
ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลคำนี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ถึงเวลา ที่จะแสดงเรื่องนี้แล้ว. ข้าแต่พระสุคต! ถึงเวลาที่จะแสดงเรื่องนี้แล้ว. พระผู้มีพระภาคตรัส การ พิจารณาซึ่งปัจจัยในภายในข้อใด ภิกษุทั้งหลายฟังการพิจารณา ซึ่งปัจจัย ภายใน ข้อนั้น จากพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว จักทรงจำไว้"ดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสว่า "ดูก่อนอานนท์ ถ้าอย่างนั้น พวกเธอทั้งหลาย จงฟังจงทำในใจ ให้สำเร็จประโยชน์ เราจักกล่าวบัดนี้"
ครั้นภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น ทูลสนองรับพระพุทธดำรัสนั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัส ถ้อยคำเหล่านี้ ว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อพิจารณา ย่อมพิจารณาซึ่ง ปัจจัย ในภายในอย่างนี้ว่า "ทุกข์มีอย่างมิใช่น้อย นานาประการ ย่อมเกิดขึ้นในโลก กล่าวคือชรามรณะ ใดแล ทุกข์นี้ มีอะไรเป็น เหตุให้เกิด? มีอะไรเป็นเครื่องก่อให้เกิด? มีอะไรเป็นเครื่องกำเนิด? มีอะไรเป็นแดน เกิด? เพราะอะไรมี ชรามรณะจึงมี (เพราะอะไร ไม่มี ชรามรณะจึงไม่มี)" ดังนี้. ภิกษุนั้น พิจารณาอยู่ ย่อมรู้อย่างนี้ว่า "ทุกข์มี
อย่างมิใช่น้อย นานาประการ ย่อมเกิดขึ้นในโลก กล่าคือชรามรณะ ใดแล ทุกข์นี้มีอุปธิ เป็นเหตุให้เกิด มีอุปธิเป็นเครื่องก่อให้เกิด มีอุปธิเป็นเครื่องกำเนิด มีอุปธิเป็นแดนเกิด เพราะอุปธิมี ชรามรณะจึงมี เพราะอุปธิไม่มี ชรามรณะจึงไม่มี" ดังนี้.
ภิกษุนั้นย่อมรู้ประจักษ์ซึ่งชรามรณะด้วย ย่อมรู้ประจักษ์ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งชรา-มรณะด้วย ย่อมรู้ประจักษ์ซึ่งความดับไม่ เหลือแห่งชรามรณะด้วย ย่อมรู้ประจักษ์ซึ่ง ข้อปฏิบัติ เครื่องทำสัตว์ให้ลุถึง ซึ่งธรรมอันสมควรแก่ความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ ด้วย และเป็นผู้ปฏิบัติแล้วอย่างสมควรแก่ธรรมด้วย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุนี้เราเรียกว่า เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความสิ้นทุกข์ โดยชอบ โดยประการทั้งปวง กล่าวคือ เพื่อความดับ ไม่เหลือ แห่งชรามรณะ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุ เมื่อพิจารณา ย่อมพิจารณาซึ่งปัจจัยในภายใน อย่างนี้ว่า "ก็อุปธินี้ มีอะไรเป็นเหตุ ให้เกิด? มีอะไรเป็นเครื่องก่อให้เกิด? มีอะไรเป็น เครื่อง กำเนิด? มีอะไรเป็นแดนเกิด? เพราะอะไรมี อุปธิจึงมี เพราะอะไรไม่มี อุปธิ จึงไม่มี" ดังนี้.
ภิกษุนั้น พิจารณาอยู่ ย่อมรู้อย่างนี้ว่า "อุปธิ มีตัณหาเป็นเหตุให้เกิด มีตัณหาเป็นเครื่อง ก่อให้เกิด มีตัณหาเป็น เครื่อง กำเนิด มีตัณหาเป็นแดนเกิด เพราะตัณหามี อุปธิจึงมี เพราะตัณหาไม่มี อุปธิจึงไม่มี" ดังนี้.
ภิกษุนั้นย่อมรู้ประจักษ์ซึ่ง อุปธิด้วย ย่อมรู้ประจักษ์ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งอุปธิด้วย ย่อมรู้ ประจักษ์ซึ่งความดับไม่เหลือ แห่งอุปธิด้วย ย่อมรู้ประจักษ์ซึ่งข้อ ปฏิบัติเครื่อง ทำสัตว์ ให้ลุถึง ซึ่งธรรมอันสมควร แก่ความดับ ไม่เหลือ แห่งอุปธิด้วย และเป็นผู้ปฏิบัติ แล้ว อย่างสมควรแก่ธรรมด้วย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุนี้ เราเรียกว่า เป็น ผู้ปฏิบัติเพื่อความสิ้น ทุกข์ โดยชอบ โดยประการทั้งปวง กล่าวคือ เพื่อความดับ ไม่เหลือแห่งอุปธิ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุ เมื่อพิจารณา ย่อมพิจารณาซึ่งปัจจัยในภายใน อย่างนี้ว่า "ก็ตัณหานั้น เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดขึ้น ณ ที่ไหน? เมื่อ
เข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ ณ ที่ไหน?" ดังนี้ ภิกษุนั้นพิจารณาอยู่ ย่อมรู้ อย่างนี้ว่า "สิ่งใด มีภาวะเป็นที่รักเป็นที่ยินดี (ปิยรูป สาตรูป) ในโลก ตัณหานั้นเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดขึ้น ในสิ่งนั้น เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ ในสิ่งนั้น.ก็สิ่งใดเล่า มีภาวะ เป็นที่รักเป็นที่ยินดี ในโลก?
(หมวดที่หนึ่ง) ตา..รูปทั้งหลาย..จักขุวิญญาณ..จักขุสัมผัส..จักขุสัม-ผัสสชาเวทนา.. รูปสัญญา.. รูปสัญ เจตนา..รูปตัณหา.. รูปวิตก.. รูปวิจาร.. (แต่ละอย่างทุกอย่าง) มีภาวะเป็นที่รักเป็นที่ยินดี ในโลก. ตัณหานั้น เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดขึ้นในตาเป็นต้นนั้น ๆ เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ ในตาเป็นต้นนั้น ๆ.
(หมวดที่สอง) หู..เสียงทั้งหลาย..โสตวิญญาณ..โสตสัมผัส..โสตสัม-ผัสสชาเวทนา.. สัททสัญญา.. สัททสัญเจตนา.. สัททตัณหา.. สัททวิตก..สัททวิจาร-...(แต่ละอย่าง ทุกอย่าง) มีภาวะเป็นที่รักเป็นที่ยินดี ในโลก. ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดย่อมเกิดขึ้นในหู เป็นต้นนั้น ๆ เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ ในหูเป็นต้นนั้น ๆ.
(หมวดที่สาม) จมูก..กลิ่นทั้งหลาย.. ฆานวิญญาณ..ฆานสัมผัส.. ฆาน-สัมผัสสชา เวทนา. .คันธสัญญ า..คันธสัญ เจตนา…คันธตัณ หา.. คันธวิตก.. คันธวิจาร.. (แต่ละอย่าง ทุกอย่าง) มีภาวะเป็นที่รักเป็นที่ยินดี ในโลก. ตัณหานั้นเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดขึ้นในจมูก เป็นต้น นั้น ๆ เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ในจมูกเป็นต้นนั้น ๆ.
(หมวดที่สี่) ลิ้น..รสทั้งหลาย.. ชิวหาวิญญาณ.. ชิวหาสัมผัส.. ชิวหา-สัมผัสสชา เวทนา.. รสสัญญา.. รสสัญเจตนา.. รสตัณหา.. รสวิตก.. รสวิจาร..
(แต่ละอย่างทุกอย่าง) มีภาวะเป็นที่รักเป็นที่ยินดี ในโลก. ตัณหานั้น เมื่อจะเกิด ย่อม เกิดขึ้น ในลิ้นเป็นต้นนั้น ๆ เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ ในลิ้นเป็นต้นนั้น ๆ.
(หมวดที่ห้า) กาย..โผฏฐัพพะทั้งหลาย..กายวิญญาณ.. กายสัมผัส.. กายสัมผัสสชา เวทนา.. โผฏฐัพพสัญญา.. โผฏฐัพพสัญเจตนา.. โผฏฐัพพตัณหา..โผฏฐัพพวิตก.. โผฏฐัพพวิจาร.. (แต่ละอย่างทุกอย่าง) มีภาวะเป็นที่รักเป็นที่ยินดีในโลก. ตัณหานั้น เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดขึ้นในกายเป็นต้นนั้น ๆ เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ ในกายเป็นต้นนั้น ๆ.
(หมวดที่หก) ใจ..ธัมมารมณ์ทั้งหลาย..มโนวิญญาณ ..มโนสัมผัสมโนสัมผัสสชาเวทนา.. ธัมมสัญญา.. ธัมมสัญเจตนา.. ธัมมตัณหา .. ธัมมวิตก..ธัมมวิจาร.. (แต่ละอย่างทุกอย่าง) มีภาวะเป็นที่รักเป็นที่ยินดี ในโลก. ตัณหานั้นเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดขึ้นในใจ เป็นต้นนั้น ๆ เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ ในใจเป็นต้นนั้น ๆ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีต สมณะหรือพราหมณ์ก็ตามเหล่าใด เหล่าหนึ่ง ได้เห็นแล้ว ซึ่งสิ่งที่มีภาวะ เป็นที่รัก เป็นที่ยินดีในโลก โดยความเป็นของ เที่ยง ได้เห็นแล้ว โดยความเป็นสุข ได้เห็นแล้ว โดยความเป็นตัวตน ได้เห็นแล้ว โดยความเป็นของไม่เสียบแทง ได้เห็นแล้ว โดยความเป็นของเกษม สมณะหรือ พราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่า ทำตัณหา ให้เจริญ แล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด ทำตัณหาให้เจริญแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าทำอุปธิให้เจริญแล้ว สมณะ หรือ พราหมณ์เหล่าใด ทำอุปธิให้เจริญแล้ว สมณะหรือ พราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่า ทำทุกข์ให้เจริญแล้ว "สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด ทำทุกข์ให้เจริญแล้ว สมณะหรือ พราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่า ไม่หลุดพ้นแล้ว จากชาติ ชรามรณะ โสกะ-ปริเทวะทุกขะ โทมนัส อุปายาสทั้งหลาย เรากล่าวว่า สมณะหรือ พราหมณ์เหล่านั้น ไม่หลุดพ้นแล้ว จากทุกข์ ดังนี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคต สมณะหรือพราหมณ์ก็ตาม เหล่าใด เหล่าหนึ่ง จักเห็นสิ่งซึ่งมีภาวะ เป็นที่รัก เป็นที่ยินดีในโลก โดยความเป็นของ เที่ยง จักเห็นโดยความเป็นสุข จักเห็นโดยความเป็นตัวตน จักเห็นโดยความเป็นของ เสียบแทง จักเห็นโดยความเป็นของเกษม
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่า จักทำ ตัณหาให้เจริญ
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด จักทำตัณหาให้เจริญ สมณะหรือพราหมณ์ เหล่านั้น ชื่อว่า จักทำอุปธิให้เจริญ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดจักทำอุปธิให้เจริญ
สมณะหรือพราหมณ์ เหล่านั้น ชื่อว่าจักทำทุกข์ให้เจริญ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด จักทำทุกข์ให้เจริญ
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าจักไม่หลุดพ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย เรากล่าวว่า สมณะหรือพราหมณ์ เหล่านั้น จักไม่หลุดพ้นจากทุกข์ ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ในกาลอันเป็นปัจจุบันบัดนี้ สมณะหรือพราหมณ์ก็ตามเหล่าใด เหล่าหนึ่ง เห็นอยู่ ซึ่งสิ่งที่มีภาวะเป็นที่รัก เป็นที่ยินดีในโลกโดยความเป็นของเที่ยง เห็นอยู่ โดยความเป็นสุข เห็นอยู่ โดยความเป็นตัวตน เห็นอยู่ โดยความเป็นของ ไม่เสียบแทง เห็นอยู่ โดยความเป็นของเกษม
สมณะหรือพราหมณ์ เหล่านั้น ชื่อว่า ทำตัณหาให้เจริญอยู่ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดทำตัณหาให้เจริญอยู่
สมณะหรือ พราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่า ทำ อุปธิให้เจริญอยู่ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด ทำอุปธิ ให้เจริญ อยู่
สมณะหรือพราหมณ์ เหล่านั้นชื่อว่าทำ ทุกข์ให้เจริญอยู่ สมณะหรือ พราหมณ์ เหล่าใด ทำ ทุกข์ให้เจริญอยู่ สมณะหรือพราหมณ์
เหล่านั้น ย่อมไม่หลุดพ้น จากชาติ ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะ โทมนัสอุปายาสทั้งหลาย เรากล่าวว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมไม่หลุดพ้นจากทุกข์ ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เปรียบเหมือน ภาชนะสำริดใส่เครื่องดื่มที่ถึงพร้อมด้วยสี กลิ่นและ รส แต่เจือด้วยยาพิษ. ครั้นนั้น บุรุษผู้หนึ่ง ถูกแดดแผดเผา ร้อนอบอ้าวเพราะแดด เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า หิวกระหายน้ำ เดินมา. คนทั้งหลายได้พูดแก่เขาว่า "แน่ะบุรุษผู้เจริญ! ภาชนะสำริดใส่น้ำดื่มนี้ ถึงพร้อมด้วยสี กลิ่น และรส แต่เจือด้วย ยาพิษ ถ้าท่านประสงค์ก็จงดื่มเถิด. อันน้ำนั้น เมื่อดื่มเข้าไปแล้ว จักแผ่ซาบซ่านไป ด้วยสีบ้าง กลิ่นบ้าง รสบ้าง และครั้นท่านดื่มเข้าไปแล้ว ท่านจะถึงซึ่งความตาย หรือได้รับทุกข์เจียนตาย เพราะข้อนั้นเป็นเหตุ" ดังนี้.
บุรุษนั้น ไม่พินิจพิจารณา ได้ดื่มน้ำนั้นเข้าไปโดยทันที ไม่ทิ้งเลย บุรุษนั้นจะพึงถึงซึ่งความตาย หรือได้รับทุกข์ เจียน ตาย เพราะข้อนั้นเป็นเหตุโดยแท้ ข้อนี้มีอุปมาฉันใด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน กล่าวคือ ในกาลยืดยาวนาน ฝ่ายอดีต สมณะหรือพราหมณ์ ก็ตามเหล่าใด เหล่าหนึ่ง ได้เห็นแล้ว ซึ่งสิ่งที่มีภาวะเป็นที่รักเป็น ที่ยินดี ในโลก โดยความเป็นของเที่ยง โดย ความเป็นสุขโดยความเป็นตัวตน โดยความ เป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นของเกษม สมณะหรือพราหมณ์ เหล่านั้น ชื่อว่า ทำตัณหาให้เจริญแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด ทำตัณหาให้เจริญแล้ว
สมณะหรือ พราหมณ์ เหล่านั้น ชื่อว่าทำอุปธิให้เจริญแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด ทำอุปธิให้ เจริญ แล้ว
สมณะหรือ พราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าทำทุกข์ให้เจริญแล้ว
สมณะหรือ พราหมณ์เหล่าใด ทำทุกข์ให้เจริญแล้ว
สมณะหรือ พราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าไม่หลุดพ้น แล้ว จากชาติ ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาส ทั้งหลาย
เรากล่าวว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ไม่หลุดพ้นแล้วจากทุกข์ ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคต สมณะหรือพราหมณ์ก็ตาม เหล่าใดเหล่าหนึ่ง จักเห็นสิ่งซึ่งมีภาวะเป็น ที่รักเป็นที่ยินดีในโลก โดยความเป็นของเที่ยง โดยความเป็นสุข โดยความเป็น ตัวตนโดยความเป็นของเสียบแทง โดยความ เป็นของ เกษม สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าจักทำ ตัณหาให้เจริญ สมณะหรือ พราหมณ์ เหล่าใด จักทำตัณหาให้เจริญ
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าจักทำ อุปธิให้เจริญ
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด จักทำอุปธิให้เจริญ
สมณะหรือพราหมณ์เหล่า นั้น ชื่อว่าจักทำทุกข์ให้ เจริญ
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด จักทำทุกข์ให้เจริญ
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่า จักไม่หลุดพ้นจาก ชาติ ชรามรณะ โสกะปริเทวะ-ทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย
เรากล่าวว่า "สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น จักไม่หลุดพ้นจากทุกข์" ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกาลอันเป็นปัจจุบันบัดนี้ สมณะหรือพราหมณ์ก็ตามเหล่าใด เหล่าหนึ่ง เห็นอยู่ ซึ่งสิ่งที่มี ภาวะเป็นที่รักเป็นที่ยินดีในโลก โดยความเป็นของเที่ยง โดยความเป็นสุข โดยความเป็นตัวตน โดยความเป็นของ ไม่เสียบแทง โดยความเป็นของ เกษมสมณะหรือพราหมณ์เหล่า นั้น ชื่อว่าทำตัณหาให้ เจริญอยู่ สมณะหรือพราหมณ์ เหล่าใด ทำตัณหาให้เจริญอยู่ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าทำอุปธิ ให้เจริญอยู่
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด ทำอุปธิให้เจริญอยู่
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าทำ ทุกข์ ให้เจริญอย
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด ทำทุกข์ให้เจริญอยู่
สมณะหรือพราหมณ์ เหล่านั้น ย่อมไม่หลุดพ้น จากชาติ ชรามรณะ โสกะปริเทวะ-ทุกขะโทมนัสอุปายาส ทั้งหลาย
เรากล่าวว่า "สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมไม่หลุดพ้นจากทุกข์" ดังนี้.
(ต่อไปนี้ เป็นปฏิปักขนัย ฝ่ายตรงข้าม)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์ก็ตามเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในกาลยืดยาว นาน ฝ่ายอดีต ได้เห็นแล้ว ซึ่งสิ่งที่มีภาวะเป็นที่รักเป็นที่ยินดีในโลก โดยความเป็นของ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นสภาพมิใช่ ตัวตน เป็นของเสียบแทง เป็นภัยน่ากลัว แล้วสมณะ หรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่า ละตัณหาได้แล้ว สมณะหรือพราหมณ์ เหล่าใด ละตัณหา ได้แล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าละอุปธิได้แล้ว สมณะหรือ พราหมณ์เหล่าใด ละอุปธิได้แล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าละ-ทุกข์ได้แล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด ละทุกข์ได้แล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่า หลุดพ้นแล้ว จากชาติ ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส อุปายาสทั้งหลาย เรากล่าวว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น หลุดพ้นแล้วจากทุกข์ ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! อนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์ก็ตามเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในกาลยืดยาว นาน ฝ่ายอนาคต จักเห็นสิ่ง ซึ่งมีภาวะ เป็นที่รักเป็นที่ยินดีในโลก โดยความเป็นของ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นสภาพ มิใช่ตัวตน เป็นของเสียบแทง เป็นภัยน่ากลัว แล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่า จักละตัณหาเสียได้
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด จักละตัณหาเสียได้ สมณะหรือ พราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าจักละอุปธิเสียได้ สมณะหรือ พราหมณ์เหล่าใด จักละอุปธิเสียได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าจักละทุกข์เสียได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด จักละทุกข์เสียได้
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่า จักหลุดพ้น จากชาติ ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส อุปายาสทั้งหลาย เรากล่าวว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่า นั้น จักหลุดพ้นจากทุกข์ได้ ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! อนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์ก็ตามเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในกาลอันเป็น ปัจจุบันบัดนี้ เห็นอยู่ ซึ่งสิ่งที่มีภาวะเป็นที่รักเป็นที่ยินดีในโลก โดยความ
เป็นของ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นสภาพมิใช่ตัวตน เป็นของเสียบแทง เป็นภัยน่ากลัว แล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าละตัณหาได้
สมณะหรือราหมณ์เหล่าใด ละตัณหาได้
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าละอุปธิได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด ละอุปธิได้
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าละทุกข์ได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด ละทุกข์ได้
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าย่อมหลุดพ้น จากชาติ ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส อุปายาสทั้งหลาย เรากล่าวว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เปรียบเหมือน ภาชนะสำริดใส่เครื่องดื่ม ที่ถึงพร้อมด้วยสี กลิ่นและรส แต่เจือด้วย ยาพิษ. ครั้งนั้น บุรุษผู้หนึ่ง ถูกแดดแผดเผา ร้อนอบอ้าวเพราะ แดด เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า หิวกระหายน้ำ เดินมา. คนทั้งหลายได้พูดแก่เขาว่า "แน่ะบุรุษผู้เจริญ! ภาชนะใส่น้ำ สุรานี้ ถึงพร้อมด้วยสี กลิ่น และรสแต่เจือด้วย ยาพิษ ถ้าท่านประสงค์ก็จงดื่มเถิด.
ก็น้ำสุรานั้น เมื่อดื่มเข้าไปแล้วจักแผ่ ซาบซ่านไปด้วย สีบ้าง กลิ่นบ้าง รสบ้าง และครั้นท่านดื่มเข้าไปแล้ว ท่านจะถึงซึ่งความตาย หรือได้รับทุกข์เจียน ตาย เพราะข้อนั้น เป็นเหตุ" ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ครั้งนั้น บุรุษนั้นพึงคิดอย่างนี้ว่า "สุรานี้เราดื่มแล้วเราอาจจะบรรเทา ด้วยน้ำเย็นบ้าง ด้วยหัวนม ส้มบ้าง ด้วยน้ำข้าวสัตตุเค็มบ้าง หรือด้วยน้ำโลณโสจิรกะบ้าง แต่เราจะไม่ดื่มสุรานั้นเลย เพราะไม่เป็นประโยชน์ มีแต่เป็นไปเพื่อทุกข์โทษแก่เราตลอด กาลนาน" บุรุษนั้นพิจารณาดูภาชนะใส่สุรานั้นแล้ว ไม่พึงดื่มพึงทิ้งเสีย บุรุษนั้นก็จะ ไม่พึงถึง ซึ่งความตายหรือได้รับทุกข์เจียนตาย เพราะข้อนั้นเป็นเหตุ อุปมานี้ฉันใด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน กล่าวคือ สมณะหรือพราหมณ์ก็ตาม เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีต ได้เห็นแล้ว ซึ่งสิ่งที่มีภาวะเป็นที่รัก เป็นที่ยินดีในโลก โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นสภาพมิใช่ตัวตน เป็นของ เสียบแทง เป็นภัยน่ากลัว แล้วสมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าละตัณหาได้แล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด ละตัณหาได้แล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าละอุปธิ ได้แล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด ละอุปธิได้แล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าละทุกข์ ได้แล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด ละทุกข์ได้แล้ว
สมณะหรือพราหมณ์ เหล่านั้น ชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว จากชาติ ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะ-โทมนัสอุปายาส ทั้งหลาย
เรากล่าวว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น หลุดพ้นแล้วจากทุกข์ ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! อนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์ก็ตามเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในกาลยืดยาว นานฝ่ายอนาคต จักเห็นสิ่งซึ่งมีภาวะเป็นที่รักเป็นที่ยินดีในโลก โดยความเป็นของ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นสภาพมิใช่ตัวตน เป็นของเสียบแทง เป็นภัยน่ากลัว แล้วสมณะ หรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าจักละตัณหาเสียได สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด จักละ ตัณหาเสียได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าจักละอุปธิเสียได้
สมณะหรือพราหมณ์ เหล่าใด จักละอุปธิเสียได
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าจักละทุกข์เสียได้
สมณะ หรือ พราหมณ์เหล่าใด จักละทุกข์เสียได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าจักหลุดพ้น จากชาติ ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย
เรากล่าวว่า สมณะหรือ พราหมณ์เหล่านั้น จักหลุดพ้นจากทุกข์ ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! อนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์ก็ตามเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในกาลอันเป็น ปัจจุบัน บัดนี้เห็นอยู่ ซึ่งสิ่งที่มีภาวะ เป็นที่รักเป็นที่ยินดีในโลก โดยความ
เป็นของ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นสภาพมิใช่ตัวตน เป็นของเสียบแทง เป็นภัยน่ากลัวแล้ว สมณะ หรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าละตัณหาได้
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดละตัณหาได้
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าละอุปธิได้
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดละอุปธิได้
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าละทุกข์ได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด ละทุกข์ได้
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่า ย่อมหลุดพ้น จากชาติ ชรามรณะโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย
เรากล่าวว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เปรียบเหมือน ภาชนะสำริดใส่เครื่องดื่ม ที่ถึงพร้อมด้วยสี กลิ่นและรส แต่เจือด้วยยาพิษ. ครั้งนั้น บุรุษผู้หนึ่ง ถูกแดดแผดเผา ร้อนอบอ้าวเพราะแดด เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า หิวกระหายน้ำ เดินมา. คนทั้งหลายได้พูดแก่เขาว่า "แน่ะบุรุษผู้เจริญ! ภาชนะใส่น้ำ สุรานี้ ถึงพร้อมด้วยสี กลิ่น และรสแต่เจือด้วยยาพิษ ถ้าท่านประสงค์ก็จงดื่มเถิด.
ก็น้ำสุรานั้น เมื่อดื่มเข้าไปแล้วจักแผ่ ซาบซ่านไปด้วยสีบ้าง กลิ่นบ้าง รสบ้าง และครั้นท่านดื่มเข้าไปแล้ว ท่านจะถึงซึ่งความตาย หรือได้รับทุกข์ เจียนตาย เพราะข้อนั้น เป็นเหตุ" ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ครั้งนั้น บุรุษนั้นพึงคิดอย่างนี้ว่า "สุรานี้เราดื่มแล้วเราอาจจะบรรเทา ด้วยน้ำเย็นบ้าง ด้วยหัวนมส้มบ้าง ด้วยน้ำข้าวสัตตุเค็มบ้าง หรือด้วยน้ำโลณโสจิรกะบ้าง แต่เราจะไม่ดื่มสุรานั้นเลย เพราะไม่เป็นประโยชน์ มีแต่เป็นไปเพื่อทุกข์โทษแก่เรา ตลอดกาลนาน" บุรุษนั้นพิจารณาดูภาชนะใส่สุรานั้นแล้ว ไม่พึงดื่มพึงทิ้งเสีย บุรุษนั้นก็จะ ไม่พึงถึงซึ่งความตายหรือได้รับทุกข์เจียนตาย เพราะข้อนั้นเป็นเหต อุปมานี้ฉันใด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน กล่าวคือ สมณะหรือพราหมณ์ก็ตาม เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีต ได้เห็นแล้ว ซึ่งสิ่งที่มีภาวะเป็นที่รัก เป็นที่ยินดีในโลก โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นสภาพมิใช่ตัวตนเป็นของ เสียบแทง เป็นภัยน่ากลัว แล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าละตัณหาได้แล้ว
สมณะหรือพราหมณ์ เหล่าใด ละตัณหาได้แล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าละอุปธิได้แล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด ละอุปธิได้แล้ว
สมณะหรือพราหมณ์ เหล่านั้น ชื่อว่าละทุกข์ได้แล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด ละทุกข์ได้แล้ว
สมณะหรือ พราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว จากชาติ ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะ-โทมนัสอุปายาสทั้งหลาย
เรากล่าวว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น หลุดพ้นแล้วจาก ทุกข์ ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! อนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์ก็ตามเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในกาลยืดยาว นานฝ่ายอนาคต จักเห็นสิ่งซึ่งมีภาวะเป็นที่รักเป็นที่ยินดีในโลก โดยความเป็นของ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นสภาพมิใช่ตัวตน เป็นของเสียบแทง เป็นภัยน่ากลัว แล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าจักละตัณหาเสียได้
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดจักละ ตัณหาเสียได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าจักละ อุปธิเสียได้
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด จักละอุปธิเสียได้
สมณะหรือ พราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าจักละทุกข์เสียได้
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด จักละทุกข์เสียได้ สมณะหรือ พราหมณ์ เหล่านั้นชื่อว่าจักหลุดพ้น จากชาติ ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะ โทมนัส อุปายาสทั้งหลาย
เรากล่าวว่า"สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น จักหลุดพ้นจาก ทุกข์" ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! อนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์ก็ตามเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในกาลอัน เป็นปัจจุบันบัดนี้เห็นอยู่ ซึ่งสิ่งที่มีภาวะ เป็นที่รักเป็นที่ยินดีในโลก โดยความ
เป็นของ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นสภาพมิใช่ตัวตน เป็นของเสียบแทง เป็นภัยน่ากลัวแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าละตัณหาได้
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดละตัณหาได้
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าละอุปธิได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดละอุปธิได้
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าละทุกข์ได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด ละทุกข์ได้
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่า ย่อมหลุดพ้น จากชาติ ชรามรณะโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย
เรากล่าวว่า "สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นย่อมหลุดพ้นจากทุกข์" ดังนี้.
หน้า 316
ธรรมปฏิบัติในรูปของปฏิจจสมุปบาท แห่งการละองค์สามตามลำดับ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ถ้าธรรมทั้งหลาย ๓ ประการเหล่านี้ ไม่พึงมีอยู่ในโลกแล้วไซร์ ตถาคตก็ไม่ต้องเกิดขึ้นในโลก เป็นอรหันตสัมมามัมพุทธะ และธรรมวินัยที่ตถาคต ประกาศแล้ว ก็ไม่ต้องรุ่งเรืองในโลก.
ธรรมทั้งหลาย ๓ ประการ คืออะไรเล่า ธรรมทั้งหลาย ๓ ประการ คือ ชาติด้วย ชราด้วย มรณะด้วย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ธรรมทั้งหลาย ๓ ประการเหล่านี้แล ถ้าไม่มีในโลกแล้ว ไซร้ ตถาคตก็ไม่ต้องเกิดขึ้นในโลกเป็นอรหันต สัมมาสัมพุทธะ และธรรมวินัยที่ตถาคต ประกาศ แล้วก็ไม่ต้องรุ่งเรืองในโลก.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุใดแล ที่ธรรมทั้งหลาย ๓ ประการเหล่านี้มีอยู่ในโลก เพราะเหตุนั้น ตถาคตจึงต้องเกิดขึ้นในโลกเป็นอรหันต สัมมาสัมพุทธะ และธรรมวินัย ที่ตถาคต ประกาศแล้ว จึงต้องรุ่งเรืองในโลก.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! บุคคล เมื่อไม่ละซึ่งธรรมสาม คือ ราคะ ๑ โทสะ ๑โมหะ ๑ ก็ไม่อาจเพื่อละซึ่งธรรมสาม คือ ชาติ ๑ ชรา ๑ มรณะ ๑.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! บุคคล เมื่อไม่ละซึ่งธรรมสาม คือ สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่ากาย ของตน) ๑ วิจิกิจฉา (ความลังเลในธรรมที่ไม่ควรลังเล) ๑ สีลัพพัตต-ปรามาส (การลูบคลำศีลและวัตร อย่างปราศจากเหตุผล) ๑ ก็ไม่อาจเพื่อละซึ่งธรรมสามคือ ราคะ ๑ โทสะ ๑ โมหะ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล เมื่อไม่ละซึ่งธรรมสาม คือ อโยนิโส มนสิการ(ความทำ ในใจไม่แยบคาย) ๑ กุมมัคคเสวนา (การพัวพันอยู่ในทิฏฐิอันชั่ว) ๑ เจตโสลีนัตตา (ความมีจิตหดหู่) ๑ ก็ไม่อาจเพื่อละซึ่งธรรมสาม คือ สักกายทิฏฐิ ๑ วิจิกิจฉา ๑ สีลัพพัตตปรามาส ๑ .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล เมื่อไม่ละซึ่งธรรมสาม คือ มุฏฐสัจจะ (ความมีสติอันลืมหลง) ๑ อสัมปชัญญะ (ความปราศจากสัมปชัญญะ) ๑ เจตโส วิกเขปะ(ความส่ายแห่งจิต) ๑ ก็ไม่อาจเพื่อละซึ่งธรรมสาม คือ อโยนิโส มนสิการ ๑ กุมมัคค-เสวนา ๑ เจตโสลีนัตตา ๑.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล เมื่อไม่ละซึ่งธรรมสาม คืออริยานัง อทัสสน-กัมยตา (ความไม่อยากเห็นพระอริยเจ้า) ๑ อริยธัมมัง อโสตุกัมยตา (ความไม่อยากฟังธรรม ของ พระอริยเจ้า) ๑ อุปารัมภจิตตตา (ความมีจิตเที่ยวเกาะเกี่ยว) ๑ ก็ไม่อาจเพื่อละซึ่ง ธรรมสาม คือ มุฏฐสัจจะ ๑ อสัมปชัญญะ ๑ เจตโส วิกเขปะ ๑.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล เมื่อไม่ละซึ่งธรรมสาม คือ อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน) ๑ อสังวระ (ความไม่สำรวม) ๑ ทุสสีลยะ (ความทุศีล) ๑ ก็ไม่อาจเพื่อละซึ่งธรรมสาม คือ อริยานัง อทัสสนกัมยตา ๑ อริยธัมมัง อโสตุกัมยตา ๑ อุปารัมภ-จิตตตา ๑.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล เมื่อไม่ละซึ่งธรรมสาม คือ อสัทธิยะ (ความไม่มีสัทธา) ๑ อวทัญญุตา (ความไม่เป็นวทัญญู) ๑ โกสัชชะ (ความเกียจคร้าน) ๑
ก็ไม่อาจเพื่อละ ซึ่งธรรมสาม คือ อุทธัจจะ ๑ อสังวระ ๑ ทุสสีลยะ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล เมื่อไม่ละซึ่งธรรมสาม คือ อนาทริยะ (ความไม่เอื้อเฟื้อใน บุคคลและธรรมอันควรเอื้อเฟื้อ) ๑ โทวจัสสตา (ความเป็นคนว่ายาก) ๑ ปาปมิตตา (ความมีมิตรชั่ว) ๑
ก็ไม่อาจเพื่อละซึ่งธรรมสาม คือ อสัทธิยะ๑อวทัญญุตา ๑ โกสัชชะ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล เมื่อไม่ละซึ่งธรรมสาม คืออหิริกะ (ความไม่ละอาย ในสิ่ง ที่ควรละอาย) ๑ อโนตตัปปะ (ความไม่กลัวในสิ่งที่ควรกลัว) ๑ ปมาทะ (ความประมาท) ๑
ก็ไม่อาจเพื่อละซึ่งธรรมสาม คือ อนาทริยะ ๑ โทวจัสสตา ๑ปาปมิตตา ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้ เป็นผู้มีอหิริกะ มีอโนตตัปปะ มีปมาทะแล้ว เขาเมื่อ เป็นผู้มีปมาทะอยู่แล้ว ก็ไม่อาจเพื่อละซึ่ง
อนาทริยะ ๑
โทวจัสสตา ๑
ปาปมิตตา ๑
เขาเมื่อเป็นผู้มี ปาปมิตตตา ก็ไม่อาจเพื่อละซึ่ง
อสัทธิยะ๑
อวทัญญุตา ๑
โกสัชชะ ๑
เขาเมื่อเป็นผู้มีโกสัชชะ ก็ไม่อาจเพื่อละซึ่ง
อุทธัจจะ ๑
อสังวระ ๑
ทุสสีลยะ ๑
เขาเมื่อเป็นผู้มีทุสสีลยะ ก็ไม่อาจเพื่อละซึ่ง
อริยานัง อทัสสนกัมยตา ๑
อริยธัมมัง อโสตุกัมยตา ๑
อุปารัมภจิตตตา ๑
เขาเมื่อเป็นผู้มี อุปารัมภจิตตตา ก็ไม่อาจเพื่อละซึ่ง
มุฏฐสัจจะ ๑
อสัมป-ชัญญะ ๑
เจตโส วิกเขปะ ๑
เขาเมื่อเป็นผู้มี เจตโส วิกเขปะ ก็ไม่อาจเพื่อละซึ่ง
อโยนิโส มนสิการ ๑
กุมมัคคเสวนา ๑
เจตโส ลีนัตตา ๑
เขาเมื่อเป็นผู้มี เจตโส ลีนัตตา ก็ไม่อาจเพื่อละซึ่ง
สักกายทิฏฐิ ๑
วิจิกิจฉา ๑
สีลัพพัตต ปรามาส ๑
เขาเมื่อเป็นผู้มี วิจิกิจฉา ก็ไม่อาจเพื่อละซึ่ง
ราคะ ๑
โทสะ ๑
โมหะ ๑
เขาเมื่อไม่ละซึ่ง ราคะ ๑ โทสะ ๑ โมหะ ๑ ก็ไม่อาจเพื่อละซึ่ง
ชาติ ๑ ชรา ๑ มรณะ ๑
(ปฏิปักขนัย)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! บุคคล เมื่อละซึ่งธรรมสาม คือ ราคะ ๑ โทสะ ๑โมหะ ๑ ก็อาจเพื่อละซึ่งธรรมสาม คือ ชาติ ๑ ชรา ๑ มรณะ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! บุคคล เมื่อละซึ่งธรรมสาม คือ สักกายทิฏฐิ ๑ วิจิกิจฉา ๑ สีลัพพัตตปรามาส ๑ ก็อาจเพื่อละซึ่งธรรมสาม คือ ราคะ ๑ โทสะ ๑ โมหะ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! บุคคล เมื่อละซึ่งธรรมสาม คือ อโยนิโส มน-สิการ ๑ กุมมัคคเสวนา ๑ เจตโส ลีนัตตา ๑ ก็อาจเพื่อละซึ่งธรรมสาม คือสักกายทิฏฐิ ๑ วิจิกิจฉา ๑ สีลัพพัตตปรามาส ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล เมื่อละซึ่งธรรมสาม คือ มุฏฐสัจจะ ๑อสัปชัญญะ๑ เจตโส วิกเขปะ ๑ ก็อาจเพื่อละซึ่งธรรมสาม คือ อโยนิโส มนสิการ ๑ กุมมัคคเสวนา ๑ เจตโส ลีนัตตา ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล เมื่อละซึ่งธรรมสาม คือ อริยานังอทัสสนกัมยตา ๑ อริยนัง อโสตุกัมยตา ๑ อุปารัมภจิตตตา ๑ ก็อาจเพื่อละซึ่งธรรมสาม คือ มุฏฐสัจจะ ๑ อสัปชัญญะ ๑ เจตโส วิกเขปะ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล เมื่อละซึ่งธรรมสาม คือ อุทธัจจะ ๑อสังวระ ๑ ทุสสีลยะ ๑ ก็อาจเพื่อละซึ่งธรรมสาม คือ อริยานัง อทัสสนกัมยตา ๑อริยธัมมัง อโสตุกัมยตา ๑ อุปารัมภจิตตตา ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล เมื่อละซึ่งธรรมสาม คือ อสัทธิยะ๑อวทัญญุตา ๑ โกสัชชะ ๑ ก็อาจเพื่อละซึ่งธรรมสาม คือ อุทธัจจะ ๑ อสังวระ ๑ทุสสีลยะ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล เมื่อละซึ่งธรรมสาม คือ อนาทริยะ ๑ โทวจัสสตา ๑ ปาปมิตตา ๑ ก็อาจเพื่อละซึ่งธรรมสาม คือ อสัทธิยะ๑ อวทัญญุตา ๑โกสัชชะ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล เมื่อละซึ่งธรรมสาม คือ อหิริกะ ๑ อโนตตัปปะ ๑ ปมาทะ ๑ ก็อาจเพื่อละซึ่งธรรมสาม คือ อนาทริยะ ๑ โทวจัสสตา ๑ปาปมิตตา ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้ เป็นผู้มีหิริ มีโอตตัปปะ มีอัปปมาทะ (ความไม่ประมาท) แล้ว. เขาเมื่อเป็นผู้มี อัปปมาทะ อยู่แล้ว ก็อาจเพื่อละซึ่ง อนาทริยะ ๑ โทวจัสสตา ๑ ปาปมิตตา ๑
เขาเมื่อ เป็นผู้มี กัลยาณมิตตะ ก็อาจเพื่อละซึ่งอสัทธิยะ๑อวทัญญุตา ๑ โกสัชชะ ๑
เขาเมื่อเป็นผู้มี อารัทธวิริยะ (ความเพียรอันปรารภแล้ว) ก็อาจเพื่อละซึ่งอุทธัจจะ ๑ อสังวระ ๑ ทุสสีลยะ๑
เขาเมื่อเป็นผู้มี ศีล ก็อาจเพื่อละซึ่ง อริยานัง อทัสสนกัมยตา ๑ อริยธัมมังอโสตุกัมยตา ๑ อุปารัมภจิตตตา ๑.
เขาเมื่อเป็นผู้มี อนุปารัมภจิตตะ (จิตไม่เที่ยวไปเกาะเกี่ยวแล้ว) ก็อาจเพื่อละซึ่งมุฏฐสัจจะ ๑ อสัปชัญญะ ๑ เจตโส วิกเขปะ ๑.
เขาเมื่อเป็นผู้มี อวิกขิตตจิตตะ (จิตไม่ส่ายแล้ว) ก็อาจเพื่อละซึ่ง อโยนิโส-มนสิการ ๑ กุมมัคคเสวนา ๑ เจตโสลีนัตตา ๑
เขาเมื่อเป็นผู้มี อลีนจิตตะ (จิตไม่หดหู่แล้ว) ก็อาจเพื่อละซึ่ง สักกายทิฏฐิ ๑วิจิกิจฉา ๑ สีลัพพัตตปรามาส ๑
เขาเมื่อเป็นผู้ไม่มี วิจิกิจฉา ก็อาจเพื่อละซึ่ง ราคะ ๑ โทสะ ๑ โมหะ ๑
เขาเมื่อเป็นผู้ละ ได้แล้วซึ่ง ราคะ ๑ โทสะ ๑ โมหะ ๑ ก็อาจเพื่อละซึ่งชาติ ๑ ชรา ๑ มรณะ ๑ ดังนี้ แล
------------------------------------------------------------------------------------------------
หมายเหตุผู้รวบรวม : ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า คำ ว่า "ปฏิจจ-สมุปบาท" มีความหมาย กว้าง คือ มิได้หมายถึงหลักธรรมที่กล่าวว่า อวิชฺชาปจฺจยาสงฺขารา เป็นต้น เพียงอย่างเดียว. แต่หมายถึงหลักธรรมใด ๆ ก็ได้ ที่เนื่องกันเป็นสายในฐานะเป็นปัจจัย แก่กัน และกันสืบต่อ ๆ กันไป ตามหลักที่เรียกว่า อิทัปปัจยตา ดังเช่นข้อความในเรื่องนี้ ซึ่งลักษณะอาการของปฏิจจสมุปบาทแสดงให้เห็นชัดอยู่ หากแต่ว่าแสดงไปในลักษณะ ของ การปฏิบัติ ดังนั้น จึงนำมาแสดงให้เห็น เพื่อประโยชน์ทั้งแก่การศึกษาและการปฏิบัติ และเพื่อให้เข้าใจความหมายของคำว่า "ปฏิจจสมุปบาท" หรือ"อิทัปปัจจยตา" ยิ่งขึ้นไป. หลักธรรมปฏิบัติที่อยู่ในรูปของปฏิจจสมุปบาท เช่นนี้ ยังมีอีกมาก ล้วนแต่ควรแก่การสนใจ.
หน้า 323
วิธีปฏิบัติต่ออาหารที่สี่ ในลักษณะที่เป็นปฏิจจสมุปบาท
ก. ว่าด้วยลักษณะอาหารสี่ โดยอุปมา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาหาร ๔ อย่างเหล่านี้ ย่อมเป็นไป เพื่อความดำรงอยู่ของภูต สัตว์ทั้หลาย หรือว่า เพื่ออนุเคราะห์แก่สัมภเวสีสัตว์ทั้งหลาย.
อาหาร๔ อย่าง เป็นอย่างไรเล่า สี่อย่างคือ
(๑) กพฬีการาหาร ที่หยาบบ้าง ละเอียดบ้าง
(๒) ผัสสะ
(๓) มโนสัญเจตนา
(๔) วิญญาณ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! อาหาร ๔ อย่างเหล่านี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อ ความดำรงอยู่ของ ภูตสัตว์ทั้งหลาย หรือว่า เพื่ออนุเคราะห์แก่สัมภเวสีทั้งหลาย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ กพฬีการาหาร จะพึงเห็นได้อย่างไร? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เปรียบเหมือนภรรยาสามี สองคน ถือเอาสะเบียง สำหรับเดินทางเล็กน้อย เดินไปสู่หนทาง อันกันดาร สองสามีภรรยานั้น มีบุตรน้อย คนเดียว ผู้น่ารักน่าเอ็นดู อยู่คนหนึ่งเมื่อขณะเขา ทั้งสองกำลังเดินไปตามทางอันกันดารอยู่นั้น สะเบียงสำหรับ เดินทางที่เขามีอยู่เพียง เล็กน้อย นั้น ได้หมดสิ้นไป หนทางอันกันดารนั้น ยังเหลืออยู่ เขาทั้งสองนั้นยังไม่เดินข้าม หนทาง อันกันดารนั้นไปได้
ครั้งนั้นแล สองภรรยาสามีนั้นได้มาคิดกันว่า สะเบียงสำหรับเดินทางของเราทั้งสอง ที่มีอยู่ เพียงเล็กน้อยนี้ ได้หมดสิ้นลงแล้ว หนทางอันกันดารนี้ยังเหลืออยู่ ทั้งเราก็ยัง ไม่เดินข้าม หนทาง อันกันดารนี้ไปได้ อย่ากระนั้นเลยเรา ทั้งสองคน พึงฆ่าบุตรน้อย คนเดียวผู้น่ารัก น่าเอ็นดูนี้เสีย แล้วทำให้เป็นเนื้อเค็ม และเนื้ออย่าง บริโภคเนื้อบุตรนี้ แหละ เดินข้าม หนทาง อันกันดาร ที่ยังเหลืออยู่นี้กันเถิด เพราะถ้าไม่ทำ เช่นนี้ พวกเรา ทั้งสามคนจะต้อง พากันพินาศหมดแน่ ดังนี้.
ครั้งนั้นแลภรรยาสามีทั้งสองนั้น จึงฆ่าบุตรน้อยคนเดียว ผู้น่ารักน่าเอ็นดูนั้น แล้วทำให้เป็น เนื้อเค็ม และเนื้อย่าง บริโภคเนื้อบุตร นั้นเทียว เดินข้ามหนทางอันกันดารที่ยังเหลือ อยู่นั้นสองภรรยาสามีนั้น บริโภคเนื้อบุตร ไปพลาง พร้อมกับค่อนอกไปพลาง รำพันว่า บุตรน้อยคนเดียวของเราไปไหนเสีย บุตรน้อยคนเดียว ของเรา ไปไหนเสีย ดังนี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร สองภรรยาสามีนั้น จะพึง บริโภคเนื้อบุตร เป็นอาหาร เพื่อความ เพลิดเพลินสนุกสนานบ้าง เพื่อความมัวเมา บ้าง เพื่อความประดับประดาบ้าง หรือเพื่อตบแต่ง (ร่างกาย)บ้าง หรือหนอ ภิกษุทั้งหลาย เหล่านั้นกราบทูลว่า ข้อนั้นหาเป็นเช่นนั้นไม่พระเจ้าข้า แล้วตรัสต่อไปว่า "ถ้าอย่างนั้น สองภรรยาสามีนั้น จะพึงบริโภคเนื้อบุตรเป็นอาหาร เพียงเพื่อ (อาศัย) เดินข้ามหนทาง อันกันดารเท่านั้น ใช่ไหม ใช่พระเจ้าข้า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ข้อนี้มีอุปมาฉันใด เราย่อมกล่าวว่า กพฬีการาหาร อันอริยสาวก พึงเห็น (ว่ามีอุปมาเหมือนเนื้อบุตร) ฉันนั้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อกพฬีการาหารอันอริยสาวกกำหนดรู้ได้แล้ว ราคะ (ความกำหนัด) ที่มีเบญจกามคุณ เป็นแดนเกิด ย่อมเป็นสิ่งที่อริยสาวกนั้น กำหนดรู้ ได้แล้วด้วย เมื่อราคะ ที่มีเบญจกามคุณ เป็นแดนเกิด เป็นสิ่งที่อริยสาวก นั้น กำหนดรู้ ได้แล้วสังโยชน์ชนิดที่อริยสาวก ประกอบเข้าแล้ว จะพึงเป็นเหตุให้มา สู่โลกนี้ได้อีก ย่อมไม่มี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ ผัสสาหาร จะพึงเห็นได้อย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบ เหมือน แม่โคนม ที่ปราศจาก หนังห่อหุ้ม ถ้าแม่โคนมนั้นพึงยืนพิงฝาอยู่ไซร้ มันก็จะพึงถูก พวกสัตว์ที่อาศัยฝาเจาะกิน ถ้าแม่โคนมนั้นพึงยืนพิงต้นไม้อยู่ไซร้
มันก็จะพึงถูกพวกสัตว์ที่อาศัยต้นไม้ไชกิน ถ้าหากแม่โคนมนั้นจะพึงลงไปแช่น้ำอยู่ไซร้ มันก็พึงถูกพวกสัตว์ที่อาศัยน้ำ ตอดกัดกิน ถ้าหากแม่โคนมนั้นจะพึงยัน อาศัยอยู่ในที่โล่ง แจ้ง ไซร้ มันก็จะพึงถูกพวกสัตว์ที่อาศัยอยู่ในอากาศเกาะกัด จิกกิน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! แม่โคนมที่ปราศจากหนังหุ้มนั้น จะพึงไปอาศัยอยู่ในสถานที่ใด ๆก็ตาม มันก็จะพึงถูกจำพวกสัตว์ที่อาศัย อยู่ในสถานที่นั้น ๆ กัดกินอยู่ร่ำไป ข้อนี้มีอุปมา ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เราย่อมกล่าวว่า ผัสสาหาร อันอริยสาวกพึงเห็น (ว่ามีอุปมา เหมือนแม่โคนมที่ปราศจากหนังห่อหุ้ม) ฉันนั้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อผัสสาหาร อันอริยสาวกกำหนดรู้ได้แล้ว เวทนาทั้งสาม ย่อมเป็นสิ่งที่อริยสาวก นั้นกำหนดรู้ ได้แล้วด้วย เมื่อเวทนาทั้งสาม เป็นสิ่งที่ อริยสาวก กำหนดรู้ได้แล้ว เราย่อมกล่าวว่า สิ่งไร ๆ ที่ควรกระทำให้ยิ่งขึ้นไป (กว่านี้) ย่อมไม่มีแก่อริยสาวกนั้น ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ มโนสัญเจตนาหาร จะพึงเห็นได้อย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเสมือนหลุม ถ่านเพลิง ลึกเกินกว่า ชั่วบุรุษหนึ่ง เต็มด้วยถ่านเพลิงที่ปราศจาก เปลวและปราศจากควันมีอยู่. ครั้งนั้น บุรุษหนึ่ง ผู้ต้องการเป็นอยู่ไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์ มาสู่ที่นั้น. และมีบุรุษที่มีกำลังกล้าแข็งอีกสองคนจับบุรุษนั้น ที่แขนแต่ละข้าง แล้วฉุดคร่าพาไปยังหลุมถ่านเพลิงนั้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!ครั้งนั้นแล บุรุษนั้น มีความคิด ความปรารถนา ความตั้งใจ ที่จะให้ ห่างไกลหลุมถ่านเพลิง นั้น. ข้อนั้น เพราะเหตุไรเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนั้นเพราะเหตุว่า บุรุษนั้นย่อมรู้ว่า "ถ้าเราจักตกลงไปยัง หลุม ถ่านเพลิงนี้ไซร้ เราก็จะพึง ถึงความตาย หรือได้รับทุกข์เจียนตาย เพราะข้อนั้นเป็นเหตุ ดังนี้ ข้อนี้มีอุปมา ฉันใด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวว่า มโนสัญเจตนาหาร อันอริยสาวกพึงเห็น (ว่ามีอุปมา เหมือนหลุมถ่าน-เพลิง) ฉันนั้น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อมโนสัญเจตนาหาร อันอริยสาวก กำหนด รู้ได้แล้ว ตัณหาทั้งสาม ย่อมเป็นสิ่งที่อริยสาวกนั้น กำหนดรู้ ได้แล้วด้วย เมื่อตัณหาทั้งสามเป็นสิ่งที่อริยสาวก กำหนดรู้ได้แล้ว เราย่อมกล่าวว่า สิ่งไร ๆ ที่ควรกระทำให้ยิ่งขึ้นไป (กว่านี้) ย่อมไม่มีแก่อริยสาวกนั้น ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ วิญญาณณาหาร จะพึงเห็นได้อย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนพวก เจ้าหน้าที่ จับโจร ผู้กระทำผิดได้แล้ว แสดงแก่พระราชาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ โจรผู้นี้เป็นผู้กระทำผิด ต่อใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ขอใต้ฝาละอองธุลีพระบาท จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ลงโทษโจรผู้นี้ ตามที่ทรงเห็น สมควรเถิด พระพุทธเจ้าข้า
พระราชามีพระกระแสรับสั่งอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงไป จงประหารชีวิตบุรุษนี้เสีย ด้วยหอก ร้อยเล่ม ในเวลาเช้านี้ เจ้าหน้าที่เหล่านั้น จึงประหาร นักโทษด้วยหอกร้อยเล่ม ในเวลาเช้า ต่อมา ในเวลา เที่ยงวัน พระราชาทรงซักถาม เจ้าหน้าที่เหล่านั้นอย่างนี้ว่า "ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย! นักโทษคนนั้น เป็นอย่างไร บ้าง
พวกเขาพากันกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ นักโทษนั้นยังมีชีวิตอยู่ตามเดิม พระพุทธเจ้าข้า พระราชา ทรงมี พระกระแสรับสั่งอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ ทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงไปจงประหาร นักโทษ นั้นเสีย ด้วยหอกร้อยเล่มในเวลา เที่ยงวัน"ดังนี้. พวกเจ้าหน้าที่เหล่านั้นจึงได้ประหารนักโทษนั้นด้วย หอก ร้อยเล่ม ในเวลาเที่ยงวัน.
ต่อมา ในเวลาเย็นพระราชาทรงซักถามเจ้าหน้าที่เหล่านั้นอีกว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ ทั้งหลาย นักโทษนั้นเป็น อย่างไรบ้าง เขาพากันกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ สมมติเทพ นักโทษนั้นยังมีชีวิตอยู่ตามเดิม พระพุทธเจ้าข้า พระราชาทรงมีพระกระแส รับสั่งอีกว่า ดูก่อนท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงไป จงประหาร นักโทษนั้นเสียด้วยหอก ร้อยเล่ม ในเวลาเย็น ดังนี้. เจ้าหน้าที่เหล่านั้น จึงได้ประหารนักโทษนั้นด้วยหอก ร้อยเล่ม ในเวลาเย็น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้น ว่าอย่างไร บุรุษนักโทษนั้น ถูกพวกเจ้าหน้าที่ประหาร อยู่ด้วยหอก สามร้อยเล่ม ตลอดทั้งวัน เขาจะพึงเสวยแต่ทุกข-โทมนัสที่มีข้อนั้นเป็นเหตุ เท่านั้นมิใช่หรือ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษนักโทษนั้น ถูกพวกเจ้าหน้าที่ประหารด้วยหอกแม้ (เล่มเดียว) นั่น ก็พิงเสวยทุกข โทมนัส ที่มีข้อนั้น เป็นเหตุ (มากอยู่แล้ว) ก็จะกล่าวไปไย ถึงการที่บุรุษนักโทษนั้น ถูกประหารด้วยหอก สามร้อยเล่มเล่า ข้อนี้มีอุปมาฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวว่า วิญญาณาหาร อันอริยสาวกพึงเห็น (ว่ามีอุปมาเหมือนนักโทษถูกประหารนั้น) ฉันนั้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อวิญญาณาหาร อันอริยสาวกกำหนดรู้ได้แล้ว นามรูป ย่อม เป็นสิ่งที่อริยสาวกนั้น กำหนดรู้ได้ แล้วด้วย เมื่อนามรูปเป็นสิ่งที่อริยสาวกกำหนดรู้ ได้แล้ว เราย่อมกล่าวว่า สิ่งไร ๆ ที่ควรกระทำให้ยิ่งขึ้นไป (กว่านี้) ย่อมไม่มีแก่ อริยสาวกนั้น ดังนี้ แล
หน้า 327
ข. ว่าด้วยอาการเกิดดับแห่งอาหารสี่
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาหาร ๔ อย่างเหล่านี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงอยู่ของ ภูตสัตว์ ทั้งหลาย หรือว่าเพื่ออนุเคราะห์แก่ สัมภเวสีสัตว์ ทั้งหลาย. อาหาร ๔ อย่างเป็นอย่างไร เล่า?
สี่อย่างคือ (๑) กพฬีการาหาร ที่หยาบบ้าง ละเอียดบ้าง (๒) ผัสสะ (๓) มโนสัญเจตนา (๔) วิญญาณ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาหาร ๔ อย่างเหล่านี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงอยู่ของภูตสัตว์ ทั้งหลาย หรือว่า เพื่ออนุเคราะห์แก่ สัมภเวสี สัตว์ทั้งหลาย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้ามี ราคะ (ความกำหนัด) มีนันทิ (ความเพลิน) มีตัณหา (ความอยาก) ในกพฬีการาหาร ไซร้ วิญญาณ ก็เป็นสิ่งที่ตั้งอยู่ได้ เจริญ
งอกงามอยู่ได้ ในกพฬีการาหารนั้น. วิญญาณที่ตั้งอยู่ได้ เจริญงอกงามอยู่ได้ มีอยู่ในที่ใด. การหยั่งลง แห่งนามรูป ก็มีอยู่ในที่นั้น. การหยั่งลงแห่งนามรูปมีอยู่ ในที่ใด ความเจริญแห่งสังขาร ทั้งหลาย ก็มีอยู่ในที่นั้น.
ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย มีอยู่ในที่ใด การบังเกิดในภพใหม่ต่อไป ก็มีอยู่ในที่นั้น.
การบังเกิดในภพใหม่ต่อไปมีอยู่ ในที่ใด ชาติรามรณะต่อไป ก็มีอยู่ในที่นั้น. ชาติรามรณะ ต่อไป มีอยู่ ในที่ใด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราเรียกที่นั้นว่า เป็นที่มีโศก มีธุลี มีความคับแค้น ดังนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ถ้ามีราคะ(ความกำหนัด) มีนันทิ(ความเพลิน) มีตัณหา (ความอยาก) ในผัสสาหาร ไซร้ วิญญาณ ก็เป็นสิ่งที่ตั้งอยู่ได้ เจริญงอกงามอยู่ได้ ในผัสสาหาร นั้น. วิญญาณที่ตั้งอยู่ได้ เจริญงอกงามอยู่ได้ มีอยู่ในที่ใด การหยั่งลงแห่ง นามรูป ก็มีอยู่ในที่นั้น.
การหยั่งลงแห่งนามรูปมีอยู่ ในที่ใด ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ก็มีอยู่ในที่นั้น.
ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย มีอยู่ในที่ใด การบังเกิดในภพใหม่ต่อไป ก็มีอยู่ในที่นั้น. การบังเกิดในภพใหม่ต่อไป มีอยู่ ในที่ใดชาติชรามรณะต่อไป ก็มีอยู่ในที่นั้น.
ชาติชรามรณะต่อไป มีอยู่ ในที่ใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!เราเรียกที่นั้นว่า "เป็นที่มีโศก มีธุลี มีความคับแค้น" ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้ามีราคะ มีนันทิ มีตัณหา ในมโนสัญเจตนา-หาร ไซร้ วิญญาณ ก็เป็นสิ่งที่ตั้งอยู่ได้ เจริญงอกงามอยู่ได้ ในมโนสัญเจตนาหารนั้น.วิญญาณที่ตั้งอยู่ได้ เจริญงอกงามอยู่ได้ มีอยู่ ในที่ใด การหยั่งลงแห่งนามรูป ก็มีอยู่ในที่นั้น.
การหยั่งลงแห่งนามรูป มีอยู่ ในที่ใด ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ก็มีอยู่ในที่นั้น. ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย มีอยู่ ในที่ใด การบังเกิดในภพใหม่ต่อไปก็มีอยู่ในที่นั้น. การบังเกิดในภพใหม่ต่อไป มีอยู่ในที่ใด ชาติรามรณะต่อไป ก็มีอยู่ในที่นั้น.
ชาติชรามรณะต่อไป มีอยู่ ในที่ใด. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราเรียกที่นั้นว่า "เป็นที่มีโศก มีธุลี มีความคับแค้น" ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้า มีราคะ มีนันทิ มีตัณหา ในวิญญาณาหาร ไซร้ วิญญาณก็เป็น สิ่งที่ตั้งอยู่ได้ เจริญงอกงามอยู่ได้ ในวิญญาณาหารนั้น. วิญญาณ ที่ตั้งอยู่ได้เจริญงอกงาม อยู่ได้ มีอยู่ ในที่ใด การหยั่งลงแห่งนามรูป ก็มีอยู่ในที่นั้น.
การหยั่งลงแห่งนามรูป มีอยู่ ในที่ใด ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ก็มีอยู่ในที่นั้น. ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย มีอยู่ในที่ใด การบังเกิดในภพใหม่ต่อไป ก็มีอยู่ในที่นั้น. การบังเกิดในภพใหม่ต่อไป มีอยู่ ในที่ใด ชาติรามรณะต่อไป ก็มีอยู่ในที่นั้น.
ชาติราชมรณะต่อไป มีอยู่ในที่ใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราเรียกที่นั้นว่า "เป็นที่มีโศก มีธุลีมีความคับแค้น" ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนช่างย้อม หรือช่างเขียน เมื่อมีน้ำย้อมคือครั่ง ขมิ้น คราม หรือสีแดงอ่อน ก็จะพึงเขียนรูปสตรี หรือรูปบุรุษ ลงที่แผ่นกระดาษ หรือฝาผนัง หรือผืนผ้า ซึ่งเกลี้ยงเกลา ได้ครบทุกส่วน อุปมานี้ฉันใด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุปไมยก็ฉันนั้น คือ ถ้ามีราคะ มีนันทิมีตัณหา ในกพฬการาหารไซร้ วิญญาณ ก็เป็นสิ่งที่ตั้งอยู่ได้ เจริญ งอกงามอยู่ได้ ในกพฬีการาหารนั้น. วิญญาณที่ตั้ง อยู่ได้ เจริญงอกงามอยู่ได้ มีอยู่ ในที่ใด การหยั่งลงแห่งนามรูป ก็มีอยู่ในที่นั้น.
การหยั่งลงแห่งนามรูป มีอยู่ ในที่ใด ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ก็มีอยู่ในที่นั้น. ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย มีอยู่ ในที่ใด การบังเกิดในภพใหม่ต่อไป ก็มีอยู่ในที่นั้น. การบังเกิดในภพใหม่ต่อไป มีอยู่ ในที่ใด ชาติชรามรณะต่อไป ก็มีอยู่ในที่นั้น.
ชาติชรามรณะต่อไป มีอยู่ ในที่ใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราเรียกที่นั้นว่า เป็นที่มีโศก มีธุลี มีความคับแค้น ดังนี้.
ดูก่อนภิกษ ทั้งหลาย ถ้ามีราคะ มีนันทิ มีตัณหาในผัสสาหาร ไซร้ วิญญาณ ก็เป็นสิ่งที่ตั้ง อยู่ได้ เจริญงอกงามอยู่ได้ ในผัสสาหาร นั้นวิญญาณ ที่ตั้งอยู่ได้ เจริญงอกงามอยู่ได้ มีอยู่ ในที่ใด
การหยั่งลงแห่งนามรูป ก็มีอยู่ในที่นั้น. การหยั่งลงแห่ง นามรูป มีอยู่ ในที่นั้น. ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ก็มีอยู่ใน
ที่นั้น.
ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย มีอยู่ ในที่ใด การบังเกิดในภพใหม่ต่อไป ก็มีอยู่ในที่นั้น. การบังเกิดในภพใหม่ต่อไป มีอยู่ ในที่ใด ชาติชรามรณะต่อไป ก็มีอยู่ในที่นั้น.
ชาติชรามรณะต่อไป มีอยู่ ในที่ใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เราเรียกที่นั้นว่า "เป็นที่มีโศกมีธุลี มีความคับแค้น"ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้ามีราคะ มีนันทิ มีตัณหา ในมโนสัญ-เจตนาหาร ไซร้ วิญญาณ ก็เป็นสิ่งที่ตั้งอยู่ได้ เจริญงอกงามอยู่ได้ ในมในสัญเจตนาหารนั้น วิญญาณ ที่ตั้งอยู่ได้ เจริญงอกงามอยู่ได้ มีอยู่ ในที่ใด
การหยั่งลงแห่งนามรูป ก็มีอยู่ในที่นั้น การหยั่งลงแห่งนามรูป มีอยู่ ในที่ใด ความเจริญ แห่ง สังขารทั้งหลาย ก็มีอยู่ในที่นั้น ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย มีอยู่ ในที่ใด การบังเกิดในภพใหม่ต่อไป ก็มีอยู่ในที่นั้น. การบังเกิดในภพใหม่ต่อไป มีอยู่ ในที่ใด ชาติชรามรณะต่อไป ก็มีอยู่ในทีนั้น ชาติชรามรณะต่อไป มีอยู่ ในทีใด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราเรียกที่นั้นว่า เป็นที่มีโศก มีธุลี มีความคับแค้น ดังนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้ามีราคะมีนันทิ มีตัณหาใน วิญญาณหารไซร้ วิญญาณ ก็เป็นสิ่งที่ตั้งอยู่ได้ เจริญงอกงามอยู่ได้ในวิญญาณหารนั้น วิญญาณ ที่ตั้งอยู่ได้ เจริญงอกงามอยู่ได้ มีอยู่ ในที่ใด การหยั่งลงแห่งนามรูป ก็มีอยู่ในที่นั้น. การหยั่งลงแห่ง นามรูป มีอยู่ ในที่ใด ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ก็มีอยู่ในที่นั้น.
ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย มีอยู่ ในที่ใด การบังเกิดในภพใหม่ต่อไป ก็มีอยู่ในที่นั้น. การบังเกิดในภพใหม่ต่อไป มีอยู่ ในที่ใด ชาติชรามรณะต่อไป ก็มีอยู่ ในที่นั้น. ชาติชรา มรณะ ต่อไป มีอยู่ ในที่ใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราเรียกที่นั้นว่า เป็นที่มีโศกมีธุลี มีความคับแค้น ดังนี้.
(ข้อความต่อไปนี้ เป็นข้อความฝ่ายปฏิปักขนัย คือ ตรงกันข้าม)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าไม่มีราคะ (ความกำหนัด) ไม่มีนันทิ (ความเพลิน) ไม่มีตัณหา(ความอยาก) ในกพฬีการาหาร แล้วไซร้ วิญญาณ ก็เป็นสิ่งที่ตั้งอยู่ไม่ได้ เจริญงอกงาม อยู่ไม่ได้ ในกพฬีการาหารนั้น. วิญญาณ ตั้งอยู่ไม่ได้ เจริญงอกงามอยู่ไม่ได้ ในที่ใด การหยั่งลงแห่งนามรูป ย่อมไม่มีในที่นั้น. การหยั่งลงแห่งนามรูป
ไม่มีในที่ใด ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ย่อมไม่มี ในที่นั้น. ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ไม่มีในที่ใด การบังเกิดในภพใหม่ ต่อไป ย่อมไม่มี ในที่นั้น. การบังเกิดในภพใหม่ต่อไป ไม่มีในที่ใด ชาติชรามรณะต่อไป ย่อมไม่มี ในที่นั้น. ชาติชรามรณะต่อไป ไม่มีในที่ใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราเรียก ที่ นั้นว่าเป็น "ที่ไม่มีโศกไม่มีธุลี ไม่มีความคับแค้น" ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าไม่มีราคะ ไม่มีนันทิ ไม่มีตัณหา ในผัสสา-หาร แล้วไซร้ วิญญาณ ก็เป็นสิ่งที่ตั้งอยู่ไม่ได้ เจริญงอกงาม อยู่ไม่ได้ ในผัสสาหารนั้น.วิญญาณ ตั้งอยู่ไม่ได้ เจริญงอกงามอยู่ไม่ได้ ในที่ใด การหยั่งลงแห่งนามรูป ย่อมไม่มี ในที่นั้น. การหยั่งลงแห่งนามรูป ไม่มี ในที่ใด ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลายย่อมไม่มี ในที่นั้น.
ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ไม่มี ในที่ใด การบังเกิดในภพใหม่ต่อไป ย่อมไม่มี ในที่นั้น. การบังเกิดในภพใหม่ต่อไป ไม่มี ในที่ใด ชาติชรามรณะต่อไป ย่อมไม่มี ในที่นั้น. ชาติชรามรณะต่อไป ไม่มี ในที่ใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!เราเรียก ที่ นั้นว่าเป็น ที่ไม่มีโศก ไม่มีธุลี ไม่มีความคับแค้นดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าไม่มีราคะ ไม่มีนันทิ ไม่มีตัณหา ในมโนสัญ-เจตนาหาร แล้วไซร้ วิญญาณ ก็เป็นสิ่งที่ตั้งอยู่ไม่ได้ เจริญงอกงามอยู่ไม่ได้ ในมโนสัญเจตนาหารนั้น. วิญญาณ ตั้งอยู่ไม่ได้ เจริญงอกงามอยู่ไม่ได้ ในที่ใด การหยั่งลงแห่งนามรูป ย่อมไม่มี ในที่นั้น. การหยั่งลงแห่งนามรูป ไม่มี ในที่ใด ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ย่อมไม่มี ในที่นั้น.
ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ไม่มี ในที่ใด การบังเกิดในภพใหม่ต่อไป ย่อมไม่มี ในที่นั้น. การบังเกิดในภพใหม่ต่อไป ไม่มีใน ที่ใด, ชาติชรามรณะต่อไป ย่อมไม่มี ในที่นั้น. ชาติชรามรณะต่อไป ไม่มี ในที่ใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราเรียก "ที่" นั้นว่าเป็น "ที่ไม่มีโศก ไม่มีธุลี ไม่มีความคับแค้น" ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าไม่มีราคะ ไม่มีนันทิ ไม่มีตัณหา ในวิญญาณา-หาร แล้วไซร้ วิญญาณก็เป็นสิ่งที่ตั้งอยู่ไม่ได้เจริญ งอกงามอยู่ไม่ได้ ในวิญญาณาหารนั้น.
วิญญาณ ตั้งอยู่ไม่ได้ เจริญงอกงามอยู่ไม่ได้ ในที่ใด การหยั่งลงแห่งนามรูปย่อมไม่มี ในที่นั้น. การหยั่งลงแห่งนามรูป ไม่มีในที่ใด ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลายย่อมไม่มี ในที่นั้น. ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ไม่มีในที่ใด, การบังเกิดในภพใหม่ต่อไป ย่อมไม่มี ในที่นั้น. การบังเกิดในภพใหม่ต่อไป ไม่มีในที่ใด ชาติชรามรณะต่อไป ย่อมไม่มี ในที่นั้น. ชาติชรามรณะต่อไปไม่มีใน ที่ใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!เราเรียก ที่ นั้นว่าเป็น ที่ไม่มีโศก ไม่มีธุลี ไม่มีความคับแค้นดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เปรียบเหมือนเรือนยอด หรือศาลาเรือนยอดที่ตั้งอยู่ทางทิศเหนือ หรือใต้ก็ตาม เป็นเรือนมีหน้าต่างทางทิศ ตะวันออก. ครั้นพระอาทิตย์ขึ้นมาแสงสว่างแห่ง พระอาทิตย์ส่องเข้าไปทางหน้าต่างแล้ว จักตั้งอยู่ที่ส่วนไหนแห่งเรือนนั้นเล่า?
"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! แสงสว่างแห่งพระอาทิตย์จักปรากฏที่ฝาเรือนข้างในทิศตะวันตก พระเจ้าข้า".
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าฝาเรือนทางทิศตะวันตกไม่มีเล่า แสงสว่างแห่งพระอาทิตย์นั้นจัก ปรากฏอยู่ ณ ที่ไหน?
"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญแสงสว่างแห่งพระอาทิตย์นั้นจักปรากฏที่พื้นดินพระเจ้าข้า". ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ถ้าพื้นดินไม่มีเล่า แสงสว่างแห่งพระอาทิตย์นั้น จักปรากฏที่ไหน?
"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แสงสว่างแห่งพระอาทิตย์นั้นจักปรากฏในน้ำพระเจ้าข้า".
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ถ้าน้ำไม่มีเล่า แสงสว่างแห่งพระอาทิตย์นั้น จักปรากฏที่ไหนอีก?
"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แสงสว่างแห่งพระอาทิตย์นั้นย่อมเป็นสิ่งที่ไม่ปรากฏแล้ว พระเจ้าข้า".
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันใดก็ฉันนั้นแล ถ้าไม่มีราคะ ไม่มีนันทิ ไม่มีตัณหา ในกพฬีการาหาร แล้ว ไซร้ วิญญาณ ก็เป็นสิ่ง ที่ตั้งอยู่ไม่ได้ เจริญงอกงามอยู่ไม่ได้ ในกพฬีการาหารนั้น. วิญญาณ ตั้งอยูไม่ได้ เจริญงอกงามอยู่ไม่ได้ในที่ใด การหยั่งลงแห่ง นามรูป ย่อมไม่มี ในที่นั้น.
การหยั่งลงแห่งนามรูปไม่มีในที่ใด ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ย่อมไม่มีในที่นั้น. ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลายไม่มีในที่ใด การบังเกิดในภพใหม่ต่อไป ย่อมไม่มี ในที่นั้น. การบังเกิดในภพใหม่ต่อไปไม่มีในที่ใด ชาติชรามรณะต่อไป ย่อมไม่มี ในที่นั้น. ชาติชรา มรณะต่อไปไม่มีในที่ใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เราเรียก "ที่" นั้นว่าเป็น "ที่ไม่มีโศก ไม่มีธุลี ไม่มีความคับแค้น" ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ถ้าไม่มีราคะ ไม่มีนันทิ ไม่มีตัณหา ในผัสสาหารแล้ว ไซร้, วิญญาณ ก็เป็นสิ่งที่ตั้งอยู่ไม่ได้ เจริญงอกงาม อยู่ไม่ได้ ในผัสสาหารนั้น.วิญญาณ ตั้งอยู่ไม่ได้ เจริญงอกงามอยู่ไม่ได้ในที่ใด การหยั่งลงแห่งนามรูปย่อมไม่มีในที่นั้น.
การหยั่งลงแห่งนามรูปไม่มีในที่ใด ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ย่อมไม่มีในที่นั้น. ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลายไม่มี่ในที่ใด การบังเกิดในภพใหม่ต่อไป ย่อมไม่มีในที่นั้น. การบังเกิดในภพใหม่ต่อไป ไม่มีในที่ใด, ชาติชรามรณะต่อไป ย่อมไม่มีในที่นั้น. ชาติชรา มรณะต่อไป ไม่มีในที่ใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราเรียก "ที่" นั้นว่าเป็น "ที่ไม่มีโศก ไม่มีธุลี ไม่มีความคับแค้น" ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าไม่มีราคะ ไม่มีนันทิ ไม่มีตัณหา ในมโนสัญ-เจตนาหาร แล้วไซร้ วิญญาณ ก็เป็นสิ่งที่ตั้งอยู่ไม่ได้ เจริญงอกงามอยู่ไม่ได้ ในมโนสัญเจตนาหารนั้น. วิญญาณ ตั้งอยู่ไม่ได้ เจริญงอกงามไม่ได้ ในที่ใด การหยั่งลงแห่งนามรูป ย่อมไม่มี ในที่นั้น. การหยั่งลงแห่งนามรูปไม่มีในที่ใด ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ย่อมไม่มี ในที่นั้น.
ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ไม่มีในที่ใดการบังเกิดในภพใหม่ต่อไป ย่อมไม่มี ในที่นั้น. การบังเกิดในภพใหม่ต่อไป ไม่มีในที่ใด ชาติชรามรณะต่อไป ย่อมไม่มี ในที่นั้น. ชาติชรา มรณะต่อไป ไม่มีในที่ใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เราเรียก"ที่" นั้นว่าเป็น"ที่ไม่มีโศก ไม่มีธุลี ไม่มีความคับแค้น" ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ถ้าไม่มีราคะ ไม่มีนันทิ ไม่มีตัณหา ในวิญญาณาหารแล้วไซร้ วิญญาณก็เป็นสิ่งที่ตั้งอยู่ไม่ได้ เจริญงอกงามอยู่ไม่ได้ ในวิญญาณาหารนั้น.
วิญญาณ ตั้งอยู่ไม่ได้ เจริญงอกงามอยู่ไม่ได้ ในที่ใด การหยั่งลงแห่งนามรูป ย่อมไม่มีใน ที่นั้น. การหยั่งลงแห่งนามรูป ไม่มีในที่ใด ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ย่อมไม่มี ในที่นั้น. ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ไม่มีในที่ใด การบังเกิดในภพใหม่ ต่อไปย่อม ไม่มี ในที่นั้น. การบังเกิดในภพใหม่ต่อไป ไม่มีในที่ใด ชาติ ชรา มรณะ ต่อไปย่อมไม่มี ในที่นั้น. ชาติ ชรา มรณะ ต่อไป ไม่มีใน ที่ใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราเรียก "ที่" นั้นว่าเป็น "ที่ไม่มีโศก ไม่มีธุลี ไม่มีความคับแค้น" ดังนี้ แล.
หน้า 335
ปัญจุปาทานขันธ์ไม่อาจจะเกิด เมื่อรู้เท่าทันเวทนาในปฎิจจสมุปบาท
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย...ส่วนบุคคล เมื่อรู้เมื่อเห็น ซึ่ง จักษุ ตามที่เป็นจริง,เมื่อรู้เมื่อเห็น ซึ่งรูปทั้งหลาย ตามที่เป็นจริง เมื่อรู้เมื่อ เห็นซึ่งจักขุวิญญาณ ตามที่เป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็น ซึ่งจักขุสัมผัส ตามที่เป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็น ซึ่งเวทนาอันเกิดขึ้น
เพราะจักขุ สัมผัส เป็นปัจจัย อันเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ตามตามที่เป็นจริง แล้ว เขาย่อมไม่กำหนัดในจักษ ไม่กำหนัดในรูปทั้งหลาย ไม่กำหนัดในจักขุวิญญาณ ไม่กำหนัดในจักขุสัมผัส และไม่กำหนัดในเวทนาอันเกิดขึ้นเพราะจักขุ-สัมผัสเป็นปัจจัย อันเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม ไม่ใช้ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ตาม.
เมื่อบุคคลนั้นไม่กำหนัดแล้ว ไม่ติดพันแล้ว ไม่ลุ่มหลงแล้ว ตามเห็นอาทีนวะ (โทษของสิ่งเหล่านั้น) อยู่เนืองๆ, ปัญจุปา ทานขันธ์ทั้งหลาย ย่อมถึงซึ่งความ ไม่ก่อเกิดต่อไป และตัญหาอันเป็นเครื่องนำไปสู่ภพใหม่ อันประกอบอยู่ด้วย ความกำหนัด ด้วยอำนาจความเพลินเป็นเครื่องทำให้เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ นั้นอันเขาย่อมละเสียได้ ความกระวนกระวาย(ทรถ) แม้ทางกาย อันเขาย่อมละเสียได้ ความกระวนกระวาย แม้ทางจิตอันเขาย่อมละเสียได้
ความแผดเผา (สนฺตาป) แม้ทางกาย อันเขาย่อมละเสียได้ ความแผดเผา แม้ทางจิต อันเขาย่อมละเสียได้ ความเร่ารอน (ปริฬาห) แม้ทางกาย อันเขาย่อมละเสียได้ ความเร่ารอน แม้ทางจิต อันเขาย่อมละเสียได้. บุคคลนั้น ย่อมเสวยซึ่งความสุขอันเป็น ไป ทางกาย ด้วย ซึ่งความสุขอันเป็นไปทางจิต ด้วย. เมื่อบุคคลเป็นเช่นนั้นแล้ว ทิฏฐิ
ของเขา ย่อมเป็นสัมมาทิฏฐิ; ความดำริของเขา ย่อมเป็นสัมมา-สังกัปปะความพยายาม ของเขา ย่อมเป็นสัมมาวายะมะสติของเขา ย่อมเป็น
สัมมาสติ; สมาธิของเขา ย่อมเป็นสัมมาสมาธิ ส่วนกายกรรม วจีกรรม และอาชีวะ ของเขา เป็นธรรม บริสุทธิ์มาแล้วแต่เดิม นั่นเทียว.
ด้วยอาการอย่างนี้แลอัฎฐังคิกมรรค อันเป็นอริยะ ของเขานั้น ย่อมถึงซึ่งความเต็มรอบ แห่งความเจริญ เมื่อเขาทำอัฎฐังคิกมรรค อันเป็นอริยะ ให้เจริญด้วยอาการอย่างนี้อยู่. สติปัฎฐานทั้งหลาย แม้ทั้ง ๔ ย่อมถึงซึ่งความเต็มรอบแห่งความเจริญ; สัมมัปปธาน ทั้งหลายแม้ทั้ง ๔ ย่อมถึงซึ่งความเต็มรอบแห่งความเจริญ อิทธิบาททั้งหลาย แม้ทั้ง ๔ ย่อมถึงซึ่งความเต็มรอบแห่งความเจริญ อินทรีย์ทั้งหลาย แม้ทั้ง ๕ ย่อมถึงซึ่งความเต็มรอบแห่งความเจริญ พละทั้งหลาย แม้ทั้ง ๕ ย่อมถึงซึ่งความรอบแห่งความเจริญ โพชฌงค์ทั้งหลาย แม้ทั้ง ๗ ย่อมถึงซึ่งความเต็มรอบแห่งความเจริญ.
ธรรมทั้งสองคือสมถะและวิปัสสนา ของเขานั้น ย่อมเป็น ธรรมเคียงคู่กันไป. บุคคลนั้น ย่อมกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรม ทั้งหลายอันบุคคลพึงกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ย่อมละด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมทั้งหลายอันบุคคลพึงละด้วยปัญญาอันยิ่ง ย่อม ทำให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมทั้งหลายอันบุคคล พึงละด้วยปัญญาอันยิ่ง ย่อมทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมทั้งหลายอันบุคคลพึงทำให้เจริญด้วยปัญญา อันยิ่ง;
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็ธรรมเหล่าไหนเล่า เป็นธรรมอันบุคคลพึงกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง คำตอบ พึงมีว่า ปัญจุปาทานขันธ์ทั้งหลาย กล่าวคือ อุปาทาน-ขันธ์คือรูป อุปาทานขันธ์คือเวทนา อุปาทานขันธ์คือสัญญา อุปาทานขันธ์คือสังขารอุปาทานขันธ์ คือวิญญาณ ธรรมทั้งหลายเหล่านี้แล ชื่อว่าเป็นธรรมอันบุคคลพึงกำหนดรู้ด้วยปัญยาอันยิ่ง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ก็ธรรมเหล่าไหนเล่า
เป็นธรรมอันบุคคลพึงละด้วยปัญญาอันยิ่ง ! คำตอบ พึงมีว่า อวิชชาด้วย ภวตัณหาด้วย ธรรมทั้งหลายเหล่านี้แลชื่อว่าเป็นธรรมอันบุคคลพึงละด้วยปัญยาอันยิ่ง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ก็ธรรมเหล่าไหนเล่า เป็นธรรมอันบุคคลพึงทำให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง! คำตอบ พึงมีว่า สมถะด้วย วิปัสสนาด้วย : ธรรมทั้งหลายเหล่านี้แล ชื่อว่าเป็นธรรมอันบุคคลพึงทำให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็ธรรมเหล่าไหนเล่า เป็นธรรมอันบุคคลพึงทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง! คำตอบพึงมีว่า วิชชาด้วย วิมุตติด้วย ธรรมทั้งหลายเหล่านี้แล ชื่อว่าเป็นธรรมอันบุคคลพึงทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง.
(ในกรณีเกี่ยวกับ โสต ฆาน ชิวหา กาย มโน และสหคตธรรมแห่งอายตนะมีโสต เป็นตัน ก็มีเนื่อความเหมือนกับ ที่กล่าวแล้ว ในกรณีแห่ง จักษุและสหคตธรรมของจักษุ ดังที่กล่าวข้างบนนี้ทุกประการพึงขยายความเอาเองให้เต็มตามนั้น.)
หน้า 338
การพิจารณาสภาวธรรมตามวิธีปฎิจจสมุปบาท กระทั่งวาระสุดท้าย
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุผู้ฉลาดในฐานะ ๗ ประการ (สตฺตฏฐานกุสโล) ผู้พิจารณาใคร่ครวญธรรมโดยวิธี ๓ ประการ (ติวิธูปปริกฺขี) เราเรียกว่า ภิกษุผู้เกพลี๒ อยู่จบกิจแห่งพรหมจรรย์ ในธรรมวินัยนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ก็ภิกษุผู้ฉลาดในฐานะ ๗ ประการ เป็นอย่างไรเล่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมรู้ชัดซึ่งรูป .. ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งรูป . ซึ่งความดับ ไม่เหลือแห่งรูป ... ซึ่งข้อปฏิบัติ เครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับ ไม่เหลือ แห่งรูป... ซึ่งอัสสาทะ (รสอร่อย) แห่งรูป ... ซึ่งอาทีนวะ (โทษอันต่ำ ทราม) แห่งรูป ... ซึ่งนิสสรณะ (อุบายเป็นเครื่องออกไปพ้น) จากรูป (รวม๗ ประการ).
(ในกรณีแห่งเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็ได้ตรัสด้วยข้อความอย่างเดียวกัน ทุกตัวอักษร กับข้อความที่กล่าวในกรณีแห่งรูป ผิดกันแต่ชื่อแห่งขันธ์ ทีละขันธ์ ๆ เท่านั้น.)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็รูปเป็นอย่างไรเล่า? มหาภูตรูปทั้งหลาย ๔ อย่างด้วย รูปที่อาศัย มหาภูตรรูปทั้งหลายอย่างด้วย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้เราเรียกว่ารูป การเกิดขึ้นแห่งรูป ย่อมมี เพราะการเกิดขึ้นแห่งอาหารความดับไม่เหลือแห่งรูป ย่อมมี เพราะความดับ ไม่เหลือแห่งอาหาร มรรคอันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึง ความดับ ไม่เหลือ แห่งรูป ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบความพยายามชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ สุข โสมนัสใด ๆ อาศัยรูปเกิดขึ้น นี้เป็น อัสสาทะแห่งรูป รูปใด ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความ แปรปรวนเป็นธรรมดานี้ เป็นอาทีนวะแห่งรูป การนำออก เสียได้ซึ่งความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ กล่าวคือ การละเสียได้ ซึ่งความกำหนัด ด้วยอำนาจความพอใจ ในรูป อันใด นี้ เป็นนิสสรณะเครื่องออกจากรูป (รวมเป็นสิ่งที่ต้องรู้ ๗ อย่าง).
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!สมณะหรือ พราหมณ์ก็ตามเหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่งรูป ว่า
อย่างนี้คือรูป...
อย่างนี้คือเหตุให้เกิด ขึ้นแห่งรูป...
อย่างนี้คือความดับไม่เหลือแห่งรูป ...
อย่างนี้คือข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งรูป ...
อย่างนี้คืออัสสาทะแห่งรูป...
อย่างนี้คืออาทีนวะแห่งรูป ...
อย่างนี้คือ นิสสรณะเครื่องออกจากรูป ดังนี้แล้ว
เป็นผู้ปฏิบัติแล้ว เพื่อความเบื่อหน่าย (นิพฺพิทา) เพื่อความ สำรอก (วิราค)เพื่อความดับ ไม่เหลือ (นิโรธ) แห่งรูป สมณพราหมณ์เหล่านั้น เป็นผู้ปฎิบัติแล้วบุคคลเหล่าใด ปฏิบัติดีแล้ว. บุคคลเหล่านั้นชื่อว่าหยั่งลงในธรรมวินัยนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! สมณะหรือพราหมณ์ก็ตามเหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งรูปว่า อย่างนี้คือรูป ...อย่างนี้คือเหตุ ให้เกิดขึ้นแห่งรูป ...อย่างนี้คือความดับไม่เหลือ แห่งรูป ...อย่างนี้คือข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับ ไม่เหลือแห่งรูป ...อย่างนี้คือ อัสสาทะแห่งรูป...อย่างนี้คืออาทีนวะแห่งรูป ...อย่างนี้คือนิสสรณะเครื่องออกจากรูป ดังนี้แล้ว เป็นผู้ พ้นวิเศษแล้ว เพราะความเบื่อหน่าย เพราะความสำรอก เพราะความดับ ไม่เหลือ เพราะความไม่ยืดมั่น ซึ่งรูป สมณพราหมณ์เหล่านั้น เป็นผู้พ้น วิเศษ แล้วด้วยดี (สุวิมุตฺตา) บุคคลเหล่าใดเป็นผู้พ้นวิเศษแล้วด้วยดี บุคคลเหล่านั้นชื่อว่าเป็น เกพลี ผู้จบกิจอันบุคคลพึงกระทำ บุคคลเหล่าใดจบกิจ อันบุคคลพึงกระทำ วัฎฎะย่อมไม่มีเพื่อจะ บัญญัติ แก่บุคคลเหล่านั้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็เวทนา เป็นอย่างไรเล่า ?
ดูก่อนกิกษุทั้งหลาย!หมู่แห่งเวทนา (เวทนากายา) ทั้งหลาย ๖ หมู่เหล่านี้ คือ เวทนา อันเกิดแต่จักขุสัมผัสเวทนาอันเกิดแต่ โสตสัมผัส เวทนาอันเกิดแต่ฆานสัมผัส เวทนาอัน เกิดแต่ชีวหาสัมผัสเวทนาอันเกิดแต่กายสัมผัส เวทนาอันเกิดแต่มโนสัมผัส
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้เราเรียกว่า เวทนาการเกิดขึ้นแห่งเวทนา ย่อมมี เพราะ การเกิด ขึ้น แห่งผัสสะ ความดับไม่เหลือแห่งเวทนา ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งผัสสะมรรค อันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือ แห่งเวทนา ได้แก่
สิ่งเหล่านี้คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยง ชีวิต ชอบ ความพยายามชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ สุขโสมนัสใด ๆ อาศัยเวทนาเกิดขึ้น นี้เป็น อัสสาทะแห่งเวทนา ...ฯลฯ...ฯลฯ...
(ข้อความต่อไปนี้ มีการตรัสเหมือนกับที่ตรัสแล้วในกรณีแห่งรูปทกตัวอักษร ต่างกัน แต่เพียงชื่อว่าเวทนาแทนคำว่ารูป ดังนี้เรื่อยไปจนกระทั่งถึง) ...วัฎฎะ ย่อมไม่มีเพื่อการ บัญญัติแก่บุคคลเหล่านั้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัญญาเป็นอย่างไรเล่า?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!หมู่แห่งสัญญา (สญฺญากายา) ทั้งหลาย ๖ หมู่เหล่านี้ คือ สัญญาในรูป สัญญาในเสียง สัญญาในกลิ่น สัญญาในรส สัญญาในโผฏฐัพพะ สัญญาในธัมมรมณ์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้ เราเรียกว่าสัญญาการเกิดขึ้นแห่งสัญญา ย่อมมี เพราะการเกิดขึ้นแห่งผัสสะความดับไม่เหลือแห่งสัญญา ย่อมมี เพราะความดับ ไม่เหลือแห่งผัสสะมรรคอันประกอบด้วย องค์แปดอันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึง ความ ดับ ไม่เหลือแห่งสัญญา ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพยายามชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ สุข โสมนัสใด ๆ อาศัยสัญญาเกิดขึ้น นี้เป็นอัสสาทะแห่งสัญญา ...ฯลฯ...ฯลฯ...วัฏฏะ ย่อมไม่มีเพื่อการบัญญัติแก่บุคคลเหล่านั้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็สังขารทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุ-ทั้งหลาย!
หมู่แห่งเจตนา (เจตนากายา) ทั้งหลาย ๖ หมู่เหล่านี้ คือ ความคิดนึกในรูปความคิด นึกในเสียง ความคิดนึกในกลิ่น ความคิดนึกในรส ความคิดนึกในโผฏฐัพพะความคิดนึก ในธัมมารมณ์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เหล่านี้เราเรียกว่า สังขารทั้งหลายการเกิดขึ้น แห่งสังขาร ย่อมมี เพราะการเกิดขึ้นแห่งผัสสะความดับไม่เหลือแห่งสังขารย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งผัสสะมรรคอันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งสังขารได้แก่สิ่งเหล่านี้
คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพยายามชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ สุข โสมนัสใด ๆ อาศัยสังขาร ทั้งหลาย เกิดขึ้น นี้ เป็นอัสสาทะแห่งสังขารทั้งหลาย...ฯลฯ...ฯลฯ...วัฏฏะ ย่อมไม่มี เพื่อการบัญญัติ แก่บุคคลเหล่านั้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ วิญญาณ เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
หมู่แห่ง วิญญาณ (วิญญาณกายา) ทั้งหลาย ๖ หมู่เหล่านี้ คือ วิญญาณทางตา วิญญาณทางหู วิญญาณทางจมูก วิญญาณทางลิ้น วิญญาณทางกาย วิญญาณทางใจ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้ เราเรียกว่า วิญญาณ การเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ ย่อมมี เพราะ การเกิดขึ้นแห่งนามรูปความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือ แห่ง นามรูปมรรคอันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนั่นเอง เป็น ปฏิปทาให้ถึงความ ดับ ไม่เหลือแห่งวิญญาณ ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบการพูดจา ชอบ การทำการงาน ชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพยายามชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจ มั่นชอบ สุข โสมนัส ใด ๆ อาศัยวิญญาณเกิดขึ้น นี้เป็นอัสสาทะแห่งวิญญาณ วิญญาณใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นอาทีนวะแห่งวิญญาณ การนำ ออกเสีย ได้ซึ่งความกำหนัดด้วยอำนาจ ความพอใจ กล่าวคือ การละเสียได้ซึ่ง ความ กำหนัดด้วยอำนาจแห่งความพอใจ ในวิญญาณ อันใด นี้เป็น นิสสรณะเครื่องออก จากวิญญาณ (รวมเป็นสิ่งที่ต้องรู้ ๗ อย่าง).
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! สมณะหรือพราหมณ์ก็ตามเหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่งวิญญาณว่าอย่างนี้คือวิญญาณ... อย่างนี้คือเหตุให้เกิดขึ้นแห่งวิญญาณ ...อย่างนี้คือ ความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ... อย่างนี้คือข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุ ถึงความดับ ไม่เหลือแห่งวิญญาณ ...อย่างนี้ คืออัสสาทะแห่งวิญญาณ ...อย่างนี้คือ อาทีนวะแห่ง วิญญาณ ...อย่างนี้คือนิสสรณะเครื่องออกจากวิญญาณ ดังนี้แล้วเป็นผู้ปฏิบัติแล้ว เพื่อความเบื่อหน่าย (นิพฺพิทา)
2
เพื่อความสำรอก (วิราค) เพื่อความดับไม่เหลือ(นิโรธ) แห่งวิญญาณ สมณพราหมณ์ เหล่านั้น เป็นผู้ ปฏิบัติดีแล้วบุคคลเหล่าใดปฏิบัติดีแล้ว บุคคลเหล่านั้น ชื่อว่า หยั่งลงในธรรมวินัยนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! สมณะหรือพราหมณ์ก็ตาม เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่งวิญญาณ ว่า อย่างนี้คือวิญญาณ ...อย่างนี้คือเหตุให้เกิดขึ้นแห่งวิญญาณ ...อย่างนี้คือความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ ...อย่างนี้คือข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ ...อย่างนี้คืออัสสาทะแห่งวิญญาณ ...อย่างนี้คืออาทีนวะแห่งวิญญาณ ...อย่างนี้คือนิสสรณะเครื่องออกจากวิญญาณ ดังนี้แล้วเป็นผู้ พ้นวิเศษแล้ว เพราะความเบื่อหน่าย เพราะความสำรอก เพราะความดับไม่เหลือ เพราะความไม่ยึดมั่น ซึ่งวิญญาณ สมณพราหมณ์เหล่านั้น เป็นผู้ พ้นวิเศษแล้วด้วยดี(สุวิมุตฺตา) บุคคลเหล่าใด เป็นผู้พ้นวิเศษแล้วด้วยดี บุคคลเหล่านั้น ชื่อว่าเป็น เกพลี ผู้จบกิจอันบุคคลพึงกระทำ บุคคลเหล่าใดจบกิจอันบุคคลพึงกระทำ วัฏฏะย่อมไม่มี เพื่อจะบัญญัติ แก่บุคคลเหล่านั้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในฐานะ ๗ ประการ อย่างนี้แล.ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้พิจารณาใคร่ครวญธรรม โดยวิธี ๓ ประการเป็นอย่างไรเล่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมพิจารณาใคร่ครวญธรรมโดยความเป็นธาตุย่อม พิจารณาใคร่ครวญธรรมโดยความเป็นอายตนะย่อมพิจารณาใคร่ครวญธรรมโดยความเป็น ปฏิจจสมุปบาท. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุเป็นผู้พิจารณาใคร่ครวญธรรมโดยวิธี ๓ ประการ อย่างนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในฐานะ ๗ ประการ เป็นผู้พิจารณาใคร่ครวญธรรม โดยวิธี ๓ ประการ เราเรียกว่า ภิกษุผู้เกพลี อยู่จบกิจแห่งพรหมจรรย์ในธรรมวินัยนี้ ดังนี้ แล.
หน้า 343
อนุสัยไม่อาจจะเกิด เมื่อรู้เท่าทันเวทนา ในปฏิจจสมุปบาท
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย (๑) เพราะอาศัยตาด้วย รูปทั้งหลายด้วย จึงเกิด จักขุวิญญาณ
การประจวบพร้อมแห่งธรรมสามประการ (ตา+รูป + จักขุวิญญาณ)นั่นคือผัสสะเพราะมี ผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา อันเป็น สุขบ้าง เป็นทุกข์บ้างไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขบ้าง บุคคลนั้น เมื่อสุขเวทนาถูกต้องอยู่ ย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่เมา หมกอยู่ อนุสัยคือราคะ ย่อมไม่ตามนอน (ไม่เพิ่มความเคยชินให้) แก่บุคคลนั้น
เมื่อทุกขเวทนาถูกต้องอยู่ เขาย่อมไม่เศร้าโศก ย่อมไม่ระทมใจ ย่อมไม่คร่ำครวญ ย่อมไมตือกร่ำไห้ ย่อมไม่ถึงความหลงใหลอยู่ อนุสัยคือปฏิฆะ ย่อมไม่ตามนอน (ไม่เพิ่มความเคยชินให้แก่บุคคลนั้น เมื่อเวทนาอันไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขถูกต้องอยู่ เขาย่อมรู้ตามเป็นจริง ซึ่งเหตุให้เกิดเวทนานั้นด้วย ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งเวทนา นั้นด้วย ซึ่งอัสสาทะ (รสอร่อย)ของเวทนา นั้นด้วย ซึ่งอาทีนวะ (โทษ) ของเวทนานั้น ด้วย ซึ่งนิสสรณะ (อุบายเครื่องออกพ้นไป) ของเวทนานั้นด้วย อนุสัยคืออวิชชา ย่อมไม่ตามนอน (ไม่เพิ่มความเคยชินให้) แก่บุคคลนั้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลนั้นหนอ ละราคานุสัย อันเกิดจากสุขเวทนาเสียได้แล้ว บรรเทาปฏิฆานุสัยอันเกิดจากทุกขเวทนาเสียได้แล้ว ถอนอวิชชานุสัยอันเกิดจาก อทุกขสุขเวทนาเสียได้แล้ว เมื่อละอวิชชาเสียได้แล้ว และทำวิชชาให้เกิดขึ้นได้แล้ว เขาจักทำที่สุดแห่งทุกข์ ในทิฏฐธรรม (ปัจจุบัน) นี้ได้ นั้น ข้อนี้เป็นฐานะที่จักมีได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย (๒) เพราะอาศัยหูด้วย เสียงทั้งหลายด้วย จึงเกิดโสตวิญญาณ
การประจวบพร้อมแห่งธรรมสามประการ (หู + เสียง + โสตวิญญาณ) นั่นคือผัสสะ ...ฯลฯ...ฯลฯ...จักทำ ที่สุดแห่งทุกข์ ในทิฏฐธรรม (ปัจจุบัน)นี้ได้ นั้น ข้อนี้เป็นฐานะ ที่จักมีได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย (๓) เพราะอาศัยจมูกด้วย กลิ่นทั้งหลายด้วย จึงเกิด ฆานวิญญาณ
การประจวบพร้อมแห่งธรรมสามประการ (จมูก + กลิ่น +ฆานวิญญาณ)นั่นคือผัสสะ...ฯลฯ...ฯลฯ...จักทำ ที่สุดแห่งทุกข์ ในทิฏฐธรรม (ปัจจุบัน)นี้ได้ นั้น ข้อนี้เป็นฐานะ ที่จักมีได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย (๔) เพราะอาศัยลิ้นด้วย รสทั้งหลายด้วย จึงเกิดชิวหาวิญญาณ
การประจวบพร้อมแห่งธรรมสามประการ (ลิ้น + รส + ชิวหาวิญญาณ)นั่นคือผัสสะ...ฯลฯ...ฯลฯ... จักทำ ที่สุดแห่งทุกข์ ในทิฏฐธรรม (ปัจจุบัน)นี้ได้ นั้น ข้อนี้เป็นฐานะ ที่จักมีได้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! (๕) เพราะอาศัยกายด้วย โผฏฐัพพะทั้งหลายด้วยจึงเกิด กายวิญญาณ การประจวบพร้อมแห่งธรรมสามประการ (กาย + โผฏฐัพพะ +
กายวิญญาณ) นั่นคือผัสสะ...ฯลฯ...ฯลฯ... จักทำที่สุดแห่งทุกข์ ในทิฏฐธรรม(ปัจจุบัน) นี้ได้ นั้น ข้อนี้เป็นฐานะที่จักมีได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย (๖) เพราะอาศัยใจด้วย ธัมมารมณ์ทั้งหลายด้วยจึงเกิด มโนวิญญาณ การประจวบพร้อมแห่งธรรมสามประการ (ใจ + ธัมมารมณ์ +มโนวิญญาณ) นั่นคือผัสสะเพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนาอันเป็นสุขบ้างเป็นทุกข์บ้าง ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขบ้าง.
บุคคลนั้น เมื่อสุขเวทนาถูกต้องอยู่ ย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่เมาหมก อยู่ อนุสัยคือราคะ ย่อมไม่ตามนอน (ไม่เพิ่มความเคยชินให้แก่บุคคลนั้น เมื่อทุกขเวทนาถูกต้องอยู่ เขาย่อมไม่เศร้าโศก ย่อมไม่ระทมใจ ย่อมไม่คร่ำครวญ ย่อมไม่ ตีอกร่ำไห้ ย่อมไม่ถึงความหลงใหลอยู่ อนุสัยคือปฏิฆะ ย่อมไม่ตามนอน (ไม่เพิ่มความเคยชินให้) แก่บุคคลนั้น เมื่อเวทนาอัน ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขถูกต้องอยู่ เขาย่อมรู้ตามเป็นจริงซึ่งเหตุให้เกิดเวทนานั้นด้วย ซึ่งความดับไม่เหลือแห่ง เวทนานั้น ด้วยซึ่ง อัสสาทะ (รสอร่อย) ของเวทนานั้นด้วย ซึ่งอาทีนวะ (โทษ) ของเวทนานั้นด้วย ซึ่งนิสสรณะ (อุบายเครื่อง ออกพ้นไป)ของเวทนา นั้นด้วย อนุสัยคืออวิชชา ย่อมไม่ ตามนอน (ไม่เพิ่มความเคยชินให้) แก่บุคคลนั้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลนั้นหนอ ละราคานุสัยอันเกิดจากสุขเวทนาเสียได้แล้ว บรรเทาปฏิฆานุสัยอันเกิดจากทุกขเวทนาเสียได้แล้ว ถนอนอวิชชานุสัย อันเกิดจาก อทุกขมสุขเวทนาเสียได้แล้ว เมื่อละอวิชชาเสียได้แล้ว และทำวิชชาให้เกิดขึ้นได้แล้ว เขาจักทำที่สุดแห่งทุกข์ ในทิฏฐธรรม (ปัจจุบัน) นี้ได้ นั้น ข้อนี้เป็นฐานะที่จักมีได้ ดังนี้.
หน้า 346
ปฎิจจสมุปบาทสลายตัว เมื่อรู้แจ้งธรรมห้า อันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมแก่พวกเธอทั้งหลาย เพื่อความรอบรู้ซึ่งอุปาทาน ทั้งปวง. พวกเธอทั้งหลายจงฟังซึ่งธรรมนั้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมเป็นไปเพื่อความรอบรู้ซึ่งอุปาทานทั้งปวงเป็นอย่างไร เล่า? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะอาศัย ซึ่งตา ด้วย, ซึ่งรูปทั้งหลายด้วย, จึงเกิด จักขุวิญญาณ การประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการ (ตา + รูป + จักขุวิญญาณ) นั่นคือ ผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! อริย-สาวกผู้มีการสดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในตา ๑. ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูปทั้งหลาย ๑. ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุวิญญาณ ๑. ย่อม เบื่อหน่าย แม้ในจักขุสัมผัส ๑ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ๑. เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลาย กำหนัด เพราะความคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น. อริยสาวกนั้นย่อมรู้ชัดว่า "อุปาทาน๑ เป็นสิ่งที่เรารอบรู้แล้วเพื่อความหลุดพ้น (วิโมกฺข)" ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยซึ่งหูด้วย ซึ่งเสียงทั้งหลายด้วย จึงเกิดโสตวิญญาณ การประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการ (หู + เสียง + โสตวิญญาณ)นั่นคือ ผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! อริยสาวกผู้มีการสดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในหู ๑ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเสียงทั้งหลาย ๑ ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในโสตวิญญาณ ๑ ย่อมเบื่อ หน่ายแม้ในโสตสัมผัส ๑ ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในเวทนา ๑ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลาย กำหนัด เพราะความคลายกำหนัด ย่อม หลุดพ้น. อริยสาวกนั้นย่อมรู้ชัดว่า "อุปาทาน เป็นสิ่งที่เรารอบรู้แล้วเพื่อความหลุดพ้น" ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยซึ่งจมูกด้วย, ซึ่งกลิ่นทั้งหลายด้วย จึงเกิด ฆานวิญญาณ การประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการ (จมูก + กลิ่น + ฆานวิญญาณ )นั่นคือผัสสะเพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้มีการสดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจมูก ๑ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกลิ่นทั้งหลาย ๑ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในฆานวิญญาณ๑ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในฆานสัมผัส ๑ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ๑ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลาย กำหนัด เพราะความคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น. อริยสาวกนั้นย่อมรู้ชัดว่า "อุปทาน เป็นสิ่งที่เรารอบรู้แล้วเพื่อความหลุดพ้น "ดังนี้.
………………………………………………………………………………………..
๑ ตา รูป จักขุวิญญาณ ผัสสะ เวทนา รวม ๕ อย่างนี้ คือสิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งของอุปทาน เมื่อรู้จักสิ่งเหล่านี้จนถึงกับเบื่อหน่าย คลายกำหนัด จากสิ่งเหล่านี้ และหลุดพ้นแล้ว เรียกว่ารอบรู้ในเรื่องอันเกี่ยวกับอุปทานทั้งปวง ซึ่งตามปกติหมายถึง กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพัตตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยซึ่งลิ้นด้วย ซึ่งรสทั้งหลายด้วย จึงเกิดชิวหาวิญญาณ; การประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการ (ลิ้น + รส + ชิวหาวิญญาณ)นั่นคือ ผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้มีการสดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในลิ้น ๑ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรสทั้งหลาย ๑ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหาวิญญาณ ๑ ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในชิวหาสัมผัส ๑ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ๑ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะความคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น.
อริยสาวกนั้นย่อมรู้ชัดว่า "อุปทานเป็นสิ่งที่เรารอบรู้แล้ว เพื่อความหลุดพ้น"ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะอาศัยซึ่งกายด้วย ซึ่งโผฏฐัพพะทั้งหลายด้วย จึงเกิด กายวิญญาณการประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการ (กาย + โผฏฐัพพะ +กายวิญญาณ) นั่นคือ ผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! อริยสาวกผู้มีการสดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในการ ๑, ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน โผฏฐัพพะ ทั้งหลาย ๑ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกายวิญญาณ ๑ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในการสัมผัส ๑ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ๑ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อม คลาย กำหนัด เพราะความคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น. อริยสาวกนั้นย่อมรู้ชัด ว่า"อุปทาน เป็นสิ่งที่เรารอบรู้แล้วเพื่อความ หลุดพ้น" ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะอาศัยซึ่งใจด้วย ซึ่งธัมมารมณ์ทั้งหลายด้วย จึงเกิด มโนวิญญาณการประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการ (ใจ + ธัมมารมณ์ +มโนวิญญาณ) นั่นคือ ผัสสะเพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! อริยสาวกผู้มีการสดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในใจ ๑
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธัมมารมณ์ทั้งหลาย ๑
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโนวิญญาณ ๑
ย่อม
เบื่อหน่ายแม้ในมโนสัมผัส ๑
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ๑
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลาย กำหนัด เพราะความคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น อริยสาวกนั้นย่อมรู้ชัดว่า"อุปทาน เป็นสิ่งที่เรารอบรู้แล้ว เพื่อความหลุดพ้น" ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ธรรมนี้แล. เป็นไปเพื่อความรอบรู้ซึ่งอุปทานทั้งปวง.
หมายเหตุผู้รวบรวม : ยังมีสูตรอีกสูตรหนึ่ง คือสูตรถัดไป (สูตรที่ ๙อวิชชาวรรค สฬายตน สังยุตต์ สฬา.สํ. ๑๘/๔๐/๖๔) มีข้อความอย่างเดียวกับสูตรที่กล่าวแล้วนี้ ทุกตัวอักษร ผิดกันแต่คำพูดเพียงสองคำ คือแทนที่จะตรัสว่า "เพื่อความรอบรู้ซึ่ง อุปทานทั้งปวง" และ "เป็นสิ่งที่เรารอบรู้แล้ว" เหมือนสูตรที่แล้วมา แต่ได้ตรัสว่า "เพื่อการ ครอบงำซึ่งอุปทานทั้งปวง" และ "เป็นสิ่งที่เราครอบงำแล้ว" เท่านเอง. ใจความแห่งสูตร ทั้งสองนี้ แสดงว่า เมื่อใดมีความรู้สึกอยู่ว่า ธรรมทั้งห้า มีเวทนาเป็นที่สุดนี้ เป็นเพียง อิทัปปัจจยตา ของปฏิจจสมุปปันนธรรม กล่าวคือ อาศัยกันเกิดขึ้น ดังที่กล่าวไว้ชัดใน สูตรนั้น ๆ แล้ว เมื่อนั้นปฏิจจ สมุปบาทย่อมสลายตัว ในขณะแห่งเวทนานั้น หรือไม่อาจ จะเกิด ขึ้นได้เลย มาตั้งแต่แรก ดังนี้.
หน้า 349
ญาณวัตถุ ๔๔ ในปฏิจจสมุปบาท เพื่อความเป็นโสดาบัน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง ซึ่งญาณวัตถุ๒ ๔๔ อย่าง แก่พวกเธอทั้งหลาย. พวกเธอทั้งหลายจงฟังข้อความนั้น จงกระทำในใจให้สำเร็จประโยชน์ เราจักกล่าวบัดนี้. ครั้นภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น ทูลรับสนองพระพุทธดำรัสแล้ว พระผู้มี พระภาคเจ้าได้ตรัส ถ้อยคำเหล่านี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็ญาณวัตถุ ๔๔ อย่าง เป็นอย่างไรเล่า?
ญาณวัตถุ๔๔ อย่างคือ
(หมวด ๑)
๑.ญาณ คือความรู้ในชรามรณะ
๒. ญาณ คือความรู้ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่ง ชรา มรณะ
๓. ญาณ คือความรู้ ในความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ
๔. ญาณ คือความรู้ ในข้อปฏิบัติเครื่องสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือ แห่งชรามรณะ
(หมวด ๒)
๑.
ญาณ คือความรู้ ในชาติ
๒. ญาณคือความรู้ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งชาติ
๓.ญาณ คือความรู้ในความดับไม่เหลือแห่งชาติ
๔. ญาณคือความรู้ ในข้อปฏิบัติเครื่องทำ สัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งชาติ
(หมวด ๓)
๑. ญาณ คือความรู้ในภพ
๒.
ญาณ คือความรู้ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งภพ
๓.
ญาณ คือความรู้ในความดับไม่เหลือแห่งภพ
๔.
ญาณ คือความรู้ในข้อปฏิบัติเครื่องสัตว์ ให้ลุถึง ความดับไม่เหลือแห่งภพ
(หมวด ๔)
๑. ญาณ คือความรู้ในอุปาทาน
๒.
ญาณ คือความรู้ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งอุปาทาน
๓.
ญาณ คือความรู้ในความดับไม่เหลือแห่งอุปาทาน
๔.
ญาณ คือความรู้ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งอุปาทาน
(หมวด ๕)
๑. ญาณ คือความรู้ในตัณหา
๒. ญาณ คือความรู้ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งตัณหา
๓. ญาณ คือความรู้ในความดับไม่เหลือแห่งตัณหา
๔. ญาณคือความรู้ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งตัณหา
(หมวด ๖)
๑. ญาณ คือความรู้ในเวทนา
๒. ญาณ คือความรู้ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งเวทนา
๓. ญาณ คือความรู้ในความดับไม่เหลือแห่งเวทนา
๔. ญาณคือความรู้ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งเวทนา
(หมวด ๗)
๑. ญาณ คือความรู้ในผัสสะ
๒. ญาณ คือความรู้ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งผัสสะ
๓. ญาณ คือความรู้ในความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ
๔. ญาณคือความรู้ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งผัสะ
(หมวด ๘)
๑. ญาณ คือความรู้ในสฬายตนะ
๒. ญาณ คือความรู้ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งสฬายตนะ
๓. ญาณ คือความรู้ในความดับไม่เหลือแห่งสฬายตนะ
๔. ญาณ คือความรู้ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งสฬายตนะ
(หมวด ๙)
๑. ญาณ คือความรู้ในนามรูป
๒. ญาณ คือความรู้ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งนามรูป
๓. ญาณ คือความรู้ในความดับไม่เหลือแห่งนามรูป
๔. ญาณ คือความรู้ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งนามรูป
(หมวด ๑๐)
๑. ญาณ คือความรู้ในวิญญาณ
๒. ญาณ คือความรู้ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งวิญญาณ
๓. ญาณ คือความรู้ในความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ
๔. ญาณ คือความรู้ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ
(หมวด ๑๑)
๑. ญาณ คือความรู้ในสังขารทั้งหลาย
๒. ญาณ คือความรู้ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งสังขาร
๓. ญาณ คือความรู้ในความดับไม่เหลือแห่งสังขาร
๔. ญาณ คือความรู้ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งสังขาร
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เรียกว่า ญาณวัตถุ ๔๔ อย่าง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ ชรามรณะเป็นอย่างไรเล่า? ความแก่ ความคร่ำคร่า ความมี ฟันหลุด ความมีผมหงอก ความมีหนังเหี่ยว ความสิ้นไปๆ แห่งอายุความแก่ รอบแห่ง อินทรีย์ทั้งหลายในสัตว์นิกายนั้นๆ ของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นๆ นี้เรียกว่าชรา
การจุติความเคลื่อน การแตกสลาย การหายไป การวายชีพ การตาย การทำกาละ การแตกแห่งขันธ์ทั้งหลาย การทอดทิ้งร่าง การขาดแห่งอินทรีย์ คือชีวิตจากสัตว์นิกาย นั้นๆ ของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นๆ นี้เรียกว่ามรณะ .ชรานี้ด้วยมรณะนี้ด้วยย่อมมีอยู่ดังนี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้เรียกว่าชรามรณะ . ความก่อขึ้นพร้อมแห่งชรามรณะ ย่อมมีเพราะ ความ ก่อขึ้น พร้อมแห่งชาติ ความ ดับไม่เหลือแห่งชรามรณะย่อมมี เพราะความดับ ไม่เหลือ แห่งชาติ มรรคอันประกอบด้วยองค์แปด อันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึง ความดับ ไม่เหลือแห่งชรามรณะ ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงาน ชอบการเลี้ยงชีวิตชอบ ความพากเพียรชอบ ความระลึก ชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวก ย่อมมารู้ทั่วถึงซึ่งชรามรณะว่าเป็นอย่างนี้ๆมารู้ทั่วถึงซึ่งเหตุให้เกิดขึ้น แห่งชรามรณะว่าเป็น อย่างนี้ๆ มารู้ทั่วถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะว่าเป็นอย่างนี้ ๆ มารู้ทั่วถึงซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับ ไม่เหลือแห่งชรามรณะ ว่าเป็นอย่างนี้ ๆ ในกาลใด ในกาลนั้นความรู้นี้ของอริยสาวกนั้น ชื่อว่า ญาณในธรรม (ธมฺมญาณ ).
ด้วยธรรมนี้อันอริยสาวกนั้นเห็นแล้ว รู้แล้ว บรรลุแล้ว หยั่งลงแล้ว และเป็นธรรม อันใช้ได้ ไม่จำ กัดกาล
อริยสาวกนั้น ย่อม นำความ รู้นั้น ไป สู่นัยะอัน เป็นอดีตและอนาคต (ต่อไปอีก) ว่า "สมณะ หรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในกาลยืดยาวนาน ฝ่ายอดีตได้รู้ อย่างยิ่งแล้ว ซึ่งชรามรณะ
ได้รู้อย่างยิ่งแล้ว ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งมรณะ ได้รู้อย่างยิ่งแล้ว ซึ่งความดับไม่เหลือแห่ง ชรามรณะ ได้รู้อย่างยิ่งแล้ว ซึ่งข้อปฏิบัติ เครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่ง ชรา มรณะ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทุกท่าน ก็ได้รู้อย่างยิ่งแล้ว เหมือนอย่างที่เราเอง ได้รู้อย่างยิ่งแล้วในบัดนี้.
ถึงแม้สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคต จักรู้อย่างยิ่ง ซึ่งชรามรณะ จักรู้อย่างยิ่ง ซึ่งเหตุให้ เกิดขึ้นแห่งชรามรณะ จักรู้อย่างยิ่ง ซึ่งความดับ ไม่เหลือ แห่งชรามรณะ จักรู้อย่างยิ่ง ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับ ไม่เหลือ แห่งชรามรณะ ก็ตาม สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทุกท่าน ก็รู้จักอย่างยิ่ง เหมือนอย่าง ที่เราเอง ได้รู้อย่างยิ่งแล้วในบัดนี้" ดังนี้.
ความรู้นี้ของอริยสาวกนั้น ชื่อว่า ญาณในการรู้ตาม (อนฺวยญาณ).
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ญาณทั้งสอง คือธัมมญาณและอันวยญาณ เหล่านี้ของอริย สาวก เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ ผ่องใส ในกาลใด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!ในกาลนั้น เราเรียกอริยสาวกนั้น
ว่า "ผู้สมบูรณ์แล้วด้วยทิฏฐิ" ดังนี้บ้าง
ว่า "ผู้สมบูรณ์แล้วด้วยทัสสนะ" ดังนี้บ้าง
ว่า "ผู้มาถึงพระสัทธรรมนี้แล้ว" ดังนี้บ้าง
ว่า"ได้เห็นอยู่ซึ่งพระสัทธรรมนี้" ดังนี้บ้าง
ว่า "ผู้ประกอบแล้วด้วยญาณอันเป็นเสขะ" ดังนี้บ้าง
ว่า "ผู้ประกอบแล้วด้วยวิชชาอันเป็นเสขะ" ดังนี้บ้าง
ว่า "ผู้ถึงซึ่งกระแสแห่งธรรมแล้ว" ดังนี้บ้าง
ว่า "ผู้ประเสริฐ มีปัญญาเครื่องชำแรกกิเลส" ดังนี้บ้าง
ว่า "ยืนอยู่จนประตูแห่งอมตะ" ดังนี้บ้าง ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ชาติ เป็นอย่างไรเล่า? การเกิด การกำเนิด การก้าวลง(สู่ครรภ์) การบังเกิด การบังเกิดโดยยิ่ง ความปรากฏ ของขันธ์ทั้งหลายการที่สัตว์ได้ซึ่งอายตนะ ทั้งหลาย ในสัตว์นิการนั้น ๆ ของสัตว์ทั้งหลาย เหล่านั้น ๆ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้ เรียกว่า ชาติ. ความก่อขึ้นพร้อมแห่งชาติ ย่อมมี เพราะ
ความก่อขึ้นพร้อมแห่งภพ ความดับไม่เหลือแห่งชาติ ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือ แห่งภพ มรรคอันประกอบด้วยองค์แปดอัน ประเสริฐนั่นเอง เป็นปฎิปทาให้ถึงความดับ ไม่เหลือแห่งชาติ ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบความตั้งใจ มั่นชอบ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! อริยสาวกย่อมมารู้ทั่วถึง ซึ่งชาติ ว่าเป็นอย่างนี้ ๆมารู้ทั่วถึง ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งชาติ ว่าเป็นอย่างนี้ ๆ มารู้ทั่วถึง ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชาติ ว่าเป็นอย่างนี้ ๆ มารู้ทั่วถึง ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งชาติ ว่าเป็นอย่างนี้ ๆ
ในกาลใด ในกาลนั้น ความรู้นี้ ของอริยสาวกนั้น ชื่อว่าญาณในธรรม (ธมฺมญาณ) ด้วยธรรมนี้อันอริยสาวกนั้นเห็นแล้ว รู้แล้ว บรรลุแล้วหยั่งลงแล้ว และเป็นธรรมอันใช้ได้ ไม่จำกัดกาล อริยสาวกนั้น ย่อมนำความรู้นั้นไปสู่นัยะอันเป็นอดีตและอนาคต (ต่อไปอีก) ว่า "สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีต ได้รู้อย่างยิ่งแล้ว ซึ่งชาติ ได้รู้อย่างยิ่งแล้ว ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งชาติ ได้รู้อย่างยิ่งแล้ว ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชาติ ได้รู้อย่างยิ่งแล้ว ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึง ความดับไม่เหลือแห่งชาติ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทุกท่าน ก็ได้รู้อย่างยิ่งแล้ว เหมือนอย่างที่เราเองได้รู้อย่างยิ่งแล้วในบัดนี้.
ถึงแม้สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคต จักรู้อย่างยิ่ง ซึ่งชาติ จักรู้อย่างยิ่งซึ่งเหตุให้เกิดขึ้น แห่งชาติ จักรู้อย่างยิ่ง ซึ่งความดับไม่เหลือ แห่งชาติ จักรู้อย่างยิ่งซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งชาติ ก็ตาม สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทุกท่านก็จักรู้อย่างยิ่ง เหมือนอย่างที่เราเองได้รู้อย่างยิ่งแล้ว ในบัดนี้" ดังนี้.
ความรู้นี้ ของอริยสาวกนั้น ชื่อว่า ญาณในการรู้ตาม (อนฺวยญาณ)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ญาณทั้งสอง คือธัมมญาณและอันวยญาณ เหล่านี้ของ อริยสาวก เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ ผ่องใส ในกาลใด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!ในกาลนั้น เราเรียกอริยสาวกนั้น
ว่า "ผู้สมบูรณ์แล้วด้วยทิฏฐิ" ดังนี้บ้าง
ว่า"ผู้สมบูรณ์แล้วด้วยทัสสนะ" ดังนี้บ้าง
ว่า "ผู้มาถึงพระสัทธรรมนี้แล้ว" ดังนี้บ้าง
ว่า "ได้เห็นพระสัทธรรมนี้" ดังนี้บ้าง
ว่า "ผู้ประกอบแล้วด้วยญาณอันเป็นเสขะ" ดังนี้บ้าง
ว่า "ผู้ประกอบแล้วด้วยวิชชาอันเป็นเสขะ" ดังนี้บ้าง
ว่า "ผู้ถึงซึ่งกระแสแห่งธรรมแล้ว" ดังนี้บ้าง
ว่า "ผู้ประเสริฐ มีปัญญาเครื่องชำแรกกิเลส" ดังนี้บ้าง
ว่า "ยืนอยู่จดประดูแห่งอมตะ" ดังนี้บ้าง ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็ ภพ เป็นอย่างไรเล่า? ...ฯลฯ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็ อุปทาน เป็นอย่างไรเล่า? ...ฯลฯ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็ ตัณหา เป็นอย่างไรเล่า? ...ฯลฯ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็ เวทนา เป็นอย่างไรเล่า? ...ฯลฯ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็ ผัสสะ เป็นอย่างไรเล่า? ...ฯลฯ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็ สฬายตนะ เป็นอย่างไรเล่า? ...ฯลฯ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็ นามรูป เป็นอย่างไรเล่า? ...ฯลฯ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็ วิญญาณ เป็นอย่างไรเล่า? ...ฯลฯ...
(ข้อความนี้ที่ละไว้ด้วย...ฯลฯ...ดังข้างบนนี้ มีข้อความเต็มดังในข้ออันว่าด้วย ชรามรณะและชาติ ข้างต้นทุกประการ ต่างกันแต่ชื่อ หัวข้อธรรม).
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็สังขารทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! สังขารทั้งหลาย สามอย่างเหล่านี้ คือ
กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เหล่านี้เรียกว่า สังขารทั้งหลาย. ความก่อขึ้นพร้อมแห่งสังขาร
ย่อมมี เพราะความก่อขึ้นพร้อมแห่งอวิชชา ความดับไม่เหลือแห่งสังขาร ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งอวิชชา มรรคอัน ประกอบ ด้วยองค์แปดอันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งสังขาร ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงาน ชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพากเพียรชอบความระลึกชอบ ความตั้งใจชอบ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! อริยสาวก ย่อมมารู้ทั่วถึง ซึ่งสังขารทั้งหลายว่าเป็นอย่างนิ้ ๆมารู้ทั่วถึง ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งสังขาร ว่าเป็นอย่างนี้ ๆ มารู้ทั่วถึงซึ่งความดับไม่เหลือ แห่งสังขาร ว่าเป็นอย่างนี้ ๆ มารู้ทั่วถึง ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุ ถึงความดับ ไม่เหลือแห่งสังขาร ว่าเป็นอย่างนี้ ๆ
ในกาลใด ในกาลนี้ ความรู้นี้
ของอริยสาวกนั้น ชื่อว่า ญาณในธรรม (ธมฺมญาณ). ด้วยธรรมนี้อันอริยสาวกนั้นเห็นแล้ว รู้แล้ว บรรลุแล้ว หยั่งลงแล้ว และเป็นธรรมอันใช้ได้ ไม่จำกัดกาล อริยสาวกนั้น ย่อมนำความรู้นั้นไปสู่นัยะอันเป็นอดีตและอนาคต (ต่อไปอีก) ว่า "สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีต ได้รู้อย่างยิ่งแล้ว ซึ่งสังขารทั้งหลาย ได้รู้อย่างยิ่งแล้ว ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งสังขาร ได้รู้อย่างยิ่งแล้ว ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งสังขาร ได้รู้อย่างยิ่งแล้ว ซึ่งข้อปฏิบัติ เครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งสังขาร สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทุกท่าน ก็ได้รู้อย่างยิ่งแล้ว เหมือนอย่างที่เราเอง ได้รู้อย่างยิ่งแล้วในบัดนี้.
ถึงแม้สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคต จักรู้อย่างยิ่ง ซึ่งสังขารทั้งหลาย จักรู้อย่างยิ่ง ซึ่งเหตุ ให้เกิดขึ้นแห่งสังขาร จักรู้อย่างยิ่ง ซึ่งความดับ ไม่เหลือ แห่งสังขาร จักรู้อย่างยิ่ง ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุ ถึงความดับ ไม่เหลือ แห่ง สังขาร ก็ตาม สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทุกท่าน ก็จักรู้อย่างยิ่ง เหมือนอย่าง ที่เราเองได้รู้อย่างยิ่งแล้ว ในบัดนี้" ดังนี้. ความรู้นี้ของอริยสาวกนั้น ชื่อว่า ญาณในการรู้ ตาม (อนฺวยญาณ).
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ญาณทั้งสอง คือธัมมญาณ และ อันวยญาณ เหล่านี้ ของอริย สาวก เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ ผ่องใส ในกาลใด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ในกาลนั้น เราเรียกอริยสาวกนั้น ว่า "ผู้สมบูรณ์แล้วด้วยทิฏฐิ" ดังนี้บ้าง ว่า
"ผู้สมบูรณ์แล้วด้วยทัสสนะ" ดังนี้บ้าง ว่า "ผู้มาถึงพระสัทธรรมนี้แล้ว ดังนี้บ้าง ว่า "ได้เห็น พระสัทธรรมนี้" ดังนี้บ้างว่า "ผู้ประกอบแล้วด้วยญาณอันเป็นเสขะ" ดังนี้บ้าง ว่า
"ผู้ประกอบแล้ว ด้วยวิชชาอันเป็นเสขะ" ดังนี้บ้างว่า "ผู้ถึงซึ่งกระแสแห่งธรรมแล้ว" ดังนี้บ้าง ว่า "ผู้ประเสริฐ มีปัญญาเครื่องชำแรกกิเลส" ดังนี้
บ้าง ว่า
"ยืนอยู่จดประตูแห่งอมตะ" ดังนี้บ้าง ดังนี้แล.
หน้า 357
ญาณวัตถุ ๗๗ ในปฏิจจสมุปบาท เพื่อความเป็นโสดาบัน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เราจักแสดง ซึ่งญาณวัตถุ ๗๗ อย่าง แก่พวกเธอ
ทั้งหลาย. พวกเธอทั้งหลายจงฟังความข้อนั้น จงทำ ในใจให้สำเร็จประโยชน เราจัก
กล่าวบัดนี้. ครั้นภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นทูลรับสนองพระพุทธดำรัสนั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัส
ถ้อยคำเหล่านี้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็ ญาณวัตถุ ๗๗ อย่าง เป็นอย่างไรเล่า?
ญาณ
วัตถุ ๗๗ อย่างนั้นคือ
(หมวด ๑)
๑. ญาณ คือความรู้ว่า เพราะมีชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรามรณะ
๒. ญาณ คือความรู้ว่า เมื่อชาติไม่มี ชรามรณะย่อมไม่มี
๓.ญาณ คือความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีต เพราะมีชาติเป็จปัจจัย จึงมีชรามรณะ
๔. ญาณ คือ
ความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีต เมื่อชาติไม่มี ชรามรณะย่อมไม่มี
๕. ญาณ
คือความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคต เพราะมีชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรามรณะ
๖. ญาณ คือความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคต เมื่อชาติไม่มี ชรามรณะย่อม
ไม่มี;
๗. ญาณ คือความรู้ว่า แม้ธัมมัฏฐิติญาณ๑ ในกรณีนี้ ก็มีความสิ้นไป เลื่อมไป จางไป ดับไป เป็นธรรมดา
(หมวด ๒)
๑. ญาณ คือความรู้ว่า เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
๒. ญาณ คือความรู้ว่า เมื่อภพไม่มี ชาติย่อมไม่มี
๓. ญาณ คือความรู้ว่า แม้ใน กาลยืดยาวนานฝ่ายอดีต เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
๔. ญาณ คือความรู้ว่า แม้
ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีต เมื่อภพไม่มี ชาติย่อมไม่มี
๕. ญาณ คือความรู้ว่า แม้ใน กาลยืดยาวนายฝ่ายอนาคต เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
๖. ญาณคือความรู้ว่า
แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคต เมื่อภพไม่มี ชาติย่อมไม่มี
๗. ญาณ คือความรู้ว่า แม้ ธัมมัฏฐิติญาณ ในกรณีนี้ ก็มีความสิ้นไป เสื่อมไป จางไป ดับไปเป็นธรรมดา
(หมวด ๓)
๑. ญาณ คือความรู้ว่า เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
๒. ญาณ คือความรู้ว่า เมื่ออุปาทานไม่มี ภพย่อมไม่มี
๓. ญาณ คือความรู้ว่า แม้ใน กาลยืดยาวนานฝ่ายอดีต เพราะมีอุปาทานเป็นปัจัย จึงมีภพ
๔. ญาณ คือความรู้
ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีต เมื่ออุปาทานไม่มี ภพย่อมไม่มี
๕. ญาณ คือความรู้
ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคต เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
๖. ญาณ
คือความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคต เมื่ออุปาทานไม่มี ภพย่อมไม่มี;
๗. ญาณ
คือความรู้ว่า แม้ธัมมัฏฐิติญาณ ในกรณีนี้ ก็มีความสิ้นไป เสื่อมไป จางไป ดับไป เป็นธรรมดา
(หมวด ๔)
๑. ญาณ คือความรู้ว่า เพราะมีตัญหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
๒. ญาณ คือความรู้ว่า เมื่อตัญหาไม่มี อุปาทานย่อมไม่มี
๓.ญาณ คือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนายฝ่ายอดีต เพราะมีตัญหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปทาน
๔. ญาณ
คือความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีต เมื่อตัญหาไม่มี อุปาทานย่อมไม่มี
๕. ญาณ
คือความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนายฝ่ายอนาคต เพราะมีตัญหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
๖. ญาณ คือความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคต เมื่อตัญหาไม่มี อุปาทานย่อม
ไม่มี
๗. ญาณ คือความรู้ว่า แม้ธัมมัฏฐิติญาณ ในกรณีนี้ ก็มีความสิ้นไป เสื่อมไป จางไป ดับไป เป็นธรรมดา
(หมวด ๕)
๑. ญาณ คือความรู้ว่า เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัญหา
๒. ญาณ คือความรู้ว่า เมื่อเวทนาไม่มี ตัญหาย่อมไม่มี
๓. ญาณ คือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนายฝ่ายอดีต เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัญหา
๔. ญาณ
คือความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนายฝ่ายอดีต เมื่อเวทนาไม่มี ตัญหาย่อมไม่ม;
๕. ญาณ
คือความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนายฝ่ายอนาคต เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัญหา
๖. ญาณ คือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคต เมื่อเวทนาไม่มี ตัญหาย่อมไม่มี
๗. ญาณ คือความรู้ว่า แม้ธัมมัฏฐิติญาณ ในกรณีนี้ ก็มีความสิ้นไป เสื่อมไป จางไป ดับไป เป็นธรรมดา
(หมวด ๖)
๑. ญาณ คือความรู้ว่า เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
๒. ญาณ คือความรู้ว่า เมื่อผัสสะไม่มี เวทนาย่อมไม่มี
๓. ญาณ คือความรู้ว่า แม้ ในกาลยืดยาวนายฝ่ายอดีต เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
๔. ญาณ คือความ
รู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีต เมื่อผัสสะไม่มี เวทนาย่อมไม่มี
๕. ญาณ คือ
ความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคต เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
๖. ญาณ คือความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคต เมื่อผัสสะไม่มี เวทนาย่อมไม่มี
๗. ญาณ คือความรู้ว่า แม้ธัมมัฏฐิติญาณ ในกรณีนี้ ก็มีความสิ้นไป เสื่อมไป จางไป ดับไป เป็นธรรมดา
(หมวด ๗)
๑. ญาณ คือความรู้ว่า เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงมีผัสสะ
๒. ญาณ คือความรู้ว่า เมื่อสฬายตนะไม่มี ผัสสะย่อมไม่มี
๓. ญาณ คือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนายฝ่ายอดีต เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
๔. ญาณคือความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีต เมื่อสฬายตนะไม่มี ผัสสะย่อมไม่มี
๕. ญาณคือความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคต เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
๖. ญาณ คือความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนายฝ่ายอนาคต เมื่อสฬายตนะไม่มีผัสสะย่อมไม่มี
๗. ญาณ คือความรู้ว่า แม้ธัมมัฏฐิติญาณ ในกรณีนี้ ก็มีความสิ้นไป เสื่อมไป จางไป ดับไป เป็นธรรมดา
(หมวด ๘)
๑. ญาณ คือความรู้ว่า เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
๒. ญาณ คือความรู้ว่า เมื่อนามรูปไม่มี สฬายตนะย่อมไม่มี
๓. ญาณคือความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมี สฬายตนะ
๔. ญาณ คือความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีต เมื่อนามรูปไม่มี สฬายตนะย่อมไม่ม
๕. ญาณ คือความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคต เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
๖. ญาณ คือความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคต เมื่อนามรูปไม่มี สฬายตนะย่อม ไม่มี
๗.ญาณ คือความรู้ว่า แม้ธัมมัฏฐิติ-ญาณ ในกรณีนี้ ก็มีความสิ้นไป เสื่อมไป จางไป ดับไป เป็นธรรมดา
(หมวด ๙)
๑. ญาณ คือความรู้ว่า เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
๒. ญาณ คือความรู้ว่า เมื่อวิญญาณไม่มี นามรูปย่อมไม่มี
๓. ญาณคือความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีต เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
๔. ญาณ คือความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีต เมื่อวิญญาณไม่มี นามรูปย่อมไม่มี
๕. ญาณ คือความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคต เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
๖. ญาณ คือความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคต เมื่อวิญญาณไม่มีนามรูปย่อมไม่มี
๗. ญาณ คือความรู้ว่า แม้ธัมมัฏฐิติญาณ ในกรณีนี้ ก็มีความสิ้นไปเสื่อมไป จางไป ดับไป เป็นธรรมดา
(หมวด ๑๐)
๑. ญาณ คือความรู้ว่า เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
๒. ญาณ คือความรู้ว่า เมื่อสังขารทั้งหลายไม่มี วิญญาณย่อมไม่มี
๓. ญาณ คือความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีต เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมี วิญญาณ
๔. ญาณ
คือความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีต เมื่อสังขารทั้งหลายไม่มี วิญญาณ ย่อมไม่มี
๕. ญาณ คือความรู้ว่า แม่ในกาลบืดยาวนานฝ่ายอนาคต เพราะมีสังขารเป็นปัจจัยจึง มีวิญญาณ
๖. ญาณ คือความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคต เมื่อสังขารทั้งหลายไม่มี วิญญาณย่อมไม่มี
๗. ญาณ คือความรู้ว่า แม้ธัมมัฏฐิติญาณ ในกรณีนี้ก็มีความสิ้นไป เสื่อมไป จางไป ดับไป เป็นธรรมดา
(หมวดที่ ๑๑)
๑. ญาณ คือความรู้ว่า เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย
๒. ญาณ คือความรู้ว่า เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารทั้งหลายย่อมไม่มี
๓. ญาณ คือความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีต เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย
๔. ญาณ คือความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีต เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารทั้งหลาย ย่อมไม่มี
๕. ญาณ คือความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคต เพราะ
มีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย
๖. ญาณ คือความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคต เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารทั้งหลาย ย่อมไม่มี
๗. ญาณ คือความรู้ว่า แม้ธัมมัฏฐิติญาณ ในกรณีนี้ ก็มีความสิ้นไป เสื่อมไป จางไป ดับไป เป็นธรรมดา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เหล่านี้ เรียกว่า ญาณวัตถุ ๗๗ อย่าง ดังนี้ แล.
หน้า 362
การรู้ปฏิจจสมุปบาทไม่เกี่ยวกับการบรรลุอภิญญาเลยก็ได้
ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ที่เวฬุวัน อันเป็นที่ให้เหยื่อแก่กระแต.
ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์ มีประชาชน เคารพ นับถือ บูชา สมบูรณ์ด้วย จีวรบิณฑบาตเสนาสนะคิลานเภสัช. ส่วนพวกปริพพาชกผู้เป็นอัญญเดียรถีย์อื่น ไม่มี ประชาชน เคารพนับถือบูชา.
ปริพพาชกผู้หนึ่งชื่อสุสิมะ ได้รับคำแนะนำจากศิษย์ให้เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา เพื่อเรียนธรรมมาสอนประชาชนโดยหวัง จะให้พวกตน มีประชาชนเคารพนับถือและ สมบูรณ์ด้วย ลาภสักการะบ้าง. สุสิมปริพพาชกนั้น จึงเข้าไปขอบวชกะพระอานนท์ พระอานนท์ได้พาไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ทรงรับสั่งให้บวชให้แล้ว.
สมัยนั้นภิกษุจำนวนมาก พากันพยากรณ์อรหัตตผลในสำนักพระพุทธเจ้า. พระสุสิมาะ ได้ยินข่าว จึงเข้า ไปถามพวกภิกษุเหล่านั้น ถึงเรื่องการพยากรณ์ความเป็นพระอรหันต์ เมื่อภิกษุเหล่านั้นรับแล้ว จึงได้ถามภิกษุเหล่านั้นต่อไปถึงการบรรลุอภิญญาต่าง ๆ คือ อิทธิวิธี ทิพพโสต เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติ ทิพพจักขุ และอารุปปวิโมกข์ เมื่อภิกษุเหล่านั้นกล่าวว่า ไม่ต้องบรรลุ อภิญญาเหล่านี้ด้วย ก็บรรลุความเป็นพระอรหันต์ ได้ ด้วยปัญญาวิมุตต พระสุสิมะจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วทูลเล่าเรื่อง ที่ตนสนทนา กับภิกษุทั้งหลายให้ทรงสดับ.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสว่า:-
"ดูก่อนสุสิมะ ธัมมัฏฐิติญาณ เป็นสิ่งที่เกิดก่อน ญาณในนิพพานเป็นสิ่งที่เกิด ภายหลัง"
พระสุสิมะกราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ข้าพระองค์ยังไม่รู้อย่างทั่วถึงซึ่งเนื้อความ แห่งภาษิต ที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว โดยย่อนี้. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ข้าพระองค์ ขอประทานโอกาสขอพระผู้มีพระภาคจงตรัสซึ่งเนื้อความนั้น โดยประการที่ข้าพระองค์ จะพึงรู้อย่างทั่วถึง ซึ่งเนื้อความแห่งภาษิตที่พระผู้มีพระภาครัสโดยย่อนี้เถิด พระเจ้าข้า "
ดูก่อนสุสิมา เธอจะรู้อย่างทั่วถึงหรือไม่ก็ตาม ธัมมัฏฐิติญาณก็ยังเป็นสิ่งที่เกิดก่อน และญาณในนิพพานเป็นสิ่งที่เกิดภายหลัง อยู่นั่นเอง. ดูก่อนสุสิมะ! เธอจะสำคัญความ ข้อนี้ ว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
"ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า!"
ก็สิ่งใด ไม่เที่ยง สิ่งนั้น เป็นทุกข์ หรือเป็นสุขเล่า?
"เป็นทุกข์พระเจ้าข้า!"
ก็สิ่งใด ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรแลหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า "นั่น เป็นของเรา นั่น เป็นเรา นั่น เป็นตัวตนของเรา".
"ข้อนั้นไม่สมควรเห็นเช่นนั้นพระเจ้าข้า!"
(ในกรณีแห่งเวทนา สัญญา สังขารทั้งหลาย วิญญาณ มีการถามและตอบอย่างเดียวกัน).
ดูก่อนสุสิมะ เพราะเหตุนั้นแหละ ในเรื่องนี้ รูปชนิดใดชนิดหนึ่งมีอยู่จะเป็นอดีตอนาคต หรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายในหรือภายนอก ก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือ ประณีต ก็ตาม มีอยู่ในที่ไกลหรือที่ใกล้ก็ตาม รูปทั้งหมดนั้น อันเธอพึงเห็นด้วยปัญญา อันชอบตามที่เป็นจริง อย่างนี้ว่า "นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา" ดังนี้.
(ในกรณีแห่งเวทนา สัญญา สังขารทั้งหลาย วิญญาณ ก็ได้ตรัสทำนองเดียวกันกับกรณี แห่งรูปนี้ ต่างกันเพียงชื่อเท่านั้น.)
ดูก่อนสุสิมะ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่าย แม้ใน สัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขาร ทั้งหลาย ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในวิญญาณ. เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายหนัด เพราะความ คลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า "หลุดพ้นแล้ว" ดังนี้.
อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดว่า "ชาติสิ้นแล้ว, พรหมจรรย์ อันเราอยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำ สำเร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก" ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอเห็นว่า "เพราะมีชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรามรณะ" ดังนี้ใช่ไหม?
"อย่างนั้นพระเจ้าข้า!"
ดูก่อนสุสิมะ! เธอเห็นว่า "เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ" ดังนี้ใช่ไหม?
"อย่างนั้นพระเจ้าข้า!"
(ในกรณีแห่งอาการต่อ ๆ ไป ก็ได้ตรัสถามเช่นเดียวกันนี้ จนตลอดปฏิจจสมุปบาท ทั้งฝ่ายสมุทยวาร และ นิโรธวาร ล้วนแต่ได้รับคำตอบว่า "อย่างนั้น พระเจ้าข้า!" จนตลอดทั้งยี่สิบสอง).
ดูก่อนสุสิมะ เมื่อเธอรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมบรรลุอิทธิวิธีมีประการต่าง ๆ เหล่านี้บ้างหรือ คือผู้เดียวแปลงรูปเป็น หลายคน หลายคนเป็นคนเดียว ทำที่กำบังให้เป็น ที่แจ้ง ทำที่แจ้งให้เป็นที่กำบัง ไปได้ไม่ขัดข้อง ผ่านทะลุฝา ทะลุกำแพงทะลุ ภูเขา ดุจไปในอากาศว่าง ๆ ผุดขึ้นและดำลงในแผ่นดินได้ เหมือนในน้ำ เดินได้เหนือน้ำ เหมือนเดินบนแผ่นดิน ไปได้ในอากาศ เหมือนนกมีปีก ทั้งที่ยังนั่งขัดสมาธิ
คู้บัลลังก์ ลูบคลำพระจันทร์และพระอาทิตย์ อันมีฤทธิ์อนุภาพมากอย่างนี้ได้ ด้วยฝ่ามือ และแสดงอำนาจทางกาย เป็นไปตลอด ถึงพรหมโลกได้?
"ข้อนั้นหามิได้พระเจ้าข้า!"
ดูก่อนสุสิมะ เมื่อเธอรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อม ได้ยินเสียงสองชนิดคือเสียงทิพย์ และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและอยู่ใกล้ ด้วยทิพพโสตธาตุอันบริสุทธิ์ เกินกว่าโสตของ มนุษย์บ้างหรือ?
"ข้อนั้นหามิได้พระเจ้าข้า!"
ดูก่อนสุสิมะ เมื่อเธอรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น ของบุคคล อื่น ได้ด้วยใจว่า "จิตของเขามีราคะ หรือว่าไม่มีราคะ ...ฯลฯ...จิตพ้นวิเศษ หรือไม่พ้น วิเศษ" ดังนี้ บ้างหรือ?
"ข้อนั้นหามิได้พระเจ้าข้า!"
ดูก่อนสุสิมะ เมื่อเธอรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมระลึกถึงขันธ์ที่เคยอยู่ในภพก่อน มีอย่างต่าง ๆ คือระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ...ฯลฯ... คือระลึกถึงขันธ์ที่เคย อยู่ในภพ ก่อนมีอย่างต่าง ๆ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ บ้างหรือ?
"ข้อนั้นหามิได้พระเจ้าข้า!"
ดูก่อนสุสิมะ เมื่อเธอรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อม เห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติอยู่...ฯลฯ... ซึ่งกำลังเป็นไปตามกรรม ด้วยจักษุอันเป็น ทิพย์อันบริสุทธิ์ เกินกว่าจักษุ ของมนุษย์ บ้างหรือ?
"ข้อนั้นหามิได้พระเจ้าข้า!"
ดูก่อนสุสิมะ เมื่อเธอรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ เธอย่อม ถูกต้องด้วยนามกาย ซึ่งอารุปปวิโมกข์ อันสงบ อันก้าวล่วงซึ่งรูป ทั้งหลายเสียได้ บ้างหรือ?
"ข้อนั้นหามิได้พระเจ้าข้า!"
ดูก่อนสุสิมะ คราวนี้ คำพูดอย่งโน้นของเธอกับการที่ (เธอกล่าวบัดนี้ว่า) ไม่ต้องมีการ บรรลุ ถึงอภิญญาธรรมทั้งหลายเหล่านี้ก็ได้ ในกรณีนี้ นี้เราจะว่าอย่างไรกัน.
ลำดับนั้นเอง ท่านสุสิมิหมอบลงแทบพระบาททั้งสองของพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยเศียรเกล้าแล้ว ได้กล่าวถ้อยคำนี้ กะพระผู้มี พระภาคเจ้า
"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โทษได้ท่วมทับข้าพระองค์แล้ว ตามที่เป็นคนพาลอย่างไร ตามที่เป็นคนหลง อย่างไร ตามที่มีความคิด เป็นอกุศลอย่างไร คือข้อที่ข้าพระองค์ บวชแล้ว เพื่อขโมยธรรมวินัยที่พระองค์ตรัสดีแล้วอย่างนี้. ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ! ขอพระ ผู้มีพระภาคจงทรงรับซึ่งโทษ โดยความเป็นโทษของข้าพระองค์ เพื่อความสำรวมระวัง ต่อไป เถิด พระเจ้าข้า!"
เอาละ สุสิมะ โทษได้ท่วมทับเธอ ผู้เป็นคนพาลอย่างไร ผู้เป็นคนหลงอย่างไร ผู้มีความคิด เป็นอกุศลอย่างไร คือข้อที่ เธอบวช แล้วเพื่อขโมยธรรม ในธรรมวินัย ที่ตถาคต กล่าวดีแล้วอย่างนี้.
ดูก่อนสุสิมะ เปรียบเหมือนราชบุรุษจับโจรผู้ประพฤติผิดมาแสดงแก่พระราชาแล้ว กราบทูล ว่า "ข้าแต่เทวะ! โจรนี้ประพฤติผิด แด่พระองค์ ขอพระองค์จงทรงลงอาชญา แก่โจรนี้ ตามที่พระองค์ทรงพระประสงค์เถิด" ดังนี้.
พระราชาทรงรับสั่งกะราชบุรุษเหล่านั้นดังนี้ว่า "ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ! ท่านทั้งหลายจงไป จงมัดบุรุษนี้ให้มีแขนในเบื้องหลังให้มีการ ผูกมัดที่แน่นหนาด้วยเชือกอันเหนียว แล้วโกน ศรีษะเสีย
พาเที่ยวตระเวนตามถนนต่าง ๆ ตามทางแยกต่าง ๆ ด้วยกลองปณวะเสียงแข็ง พาออก ทางประตูด้านทักษิณ แล้วจงตัดศีรษะ เสียทางด้านทักษิณของนคร". ราชบุรุษมัดโจรนั้น กระทำตามที่พระราชาได้รับสั่งแล้วอย่างไร.
ดูก่อนสุสิมะ! เธอจะสำคัญความข้อนี้ ว่าอย่างไร? บุรุษนั้นต้องเสวยทุกขโทมนัส เพราะ ข้อนั้น เป็นเหตุ ไหนหนอ?
"อย่างนั้น พระเจ้าข้า!"
ดูก่อนสุสิมะ บุรุษนั้นต้องเสวยทุกขโทมนัสเพราะข้อนั้นเป็นเหตุเพียงใด แต่การบวช ของเธอเพื่อ ขโมยธรรม ในธรรมวินัย ที่ตถาคตกล่าวดีแล้วอย่างนี้ นี้ยังมิวิบากเป็นทุกข์ ยิ่งกว่า มีวิบากเผ็ดร้อนยิ่งกว่า แล้วยังแถมเป็นไปเพื่อวินิบาต (ความฉิบหาย) อีกด้วย.
ดูก่อนสุสิมะ แต่เพราะเธอเห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้วทำคืนตามธรรม เราจึงรับโทษ นั้นของเธอ. ผู้ใดเห็นโทษโดยความ เป็นโทษแล้วทำคืนตามธรรม ถึงความสำรวจต่อไป ข้อนี้เป็นความเจริญในอริยวินัยของผู้นั้น ดังนี้ แล.
หน้า 367
ปฏิจจสมุปบาทรอบสุดท้ายของคนเรา
(ในสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสถึงการที่พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เกิดขึ้น ในโลก ได้ทรงแสดงธรรม ประกาศ พรหมจรรย์ งามในเบื้องต้น ท่ามกลาง และเบื้องปลาย คหบดีหรือคหบดีบุตร เป็นต้น ได้ฟังธรรมแล้ว เกิดสัทธา พิจารณาเห็นว่า ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาเป็นโอกาสว่าง จะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์ใน เพศ ฆราวาส นั้น ยากเกินไป จึงละจึงละฆราวาสวิสัยออกบวช แล้วกระทำเต็มที่ในศีลอัน เป็น สิกขา สาชีพของภิกษุ เป็นผู้สันโดษ มีความประพฤติเบาพร้อม
เหมือนนกมีภาระแต่ปีกสำหรับบินไป สำรวมอินทรีย์ทั้งหก ในลักษณะที่อภิชฌา และ โทมนัส ไม่เกิดขึ้นครอบงำจิต มีสติสัมป ชัญญะสมบูรณ์ ในทุกอิริยาบถ เสพเสนาสนะ อันสงัด บำเพ็ญความเพียรในอธิจิต กำจัดนิวรณ์ทั้งห้าเสียได้แล้ว บรรลุรูปฌาน ในอันดับ ที่สี่ อยู่เป็นปรกติ แล้วกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ ถึงความดับซึ่งกระแส แห่งปฏิจจสมุปบาท อันเป็นรอบ สุดท้าย ในชีวิตแห่งตนได้ตามข้อความที่กล่าวไว้ ในตอนต่อไปข้างล่างนี้)
(๑) ภิกษุนั้น เห็นรูปด้วยตาแล้ว ย่อมไม่กำหนัดยินดีในรูป อันลักษณะเป็นที่ตั้ง แห่งความรัก ย่อม ไม่ขัด เคืองใน รูป อันมีลักษณ ะเป็นที่ตั้งแห่งความเกลียดชัง เป็นผู้อยู่ด้วยสติเป็นไปในกายอันตนเข้าไปตั้งไว้แล้ว มีจิตหาประมาณมิได้ ด้วย ย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริง ซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่ง ธรรมอันเป็นบาปอกุศลทั้งหลาย ด้วย.
ภิกษุนั้น เป็น ผู้ละเสียได้แล้วซึ่งความยินดีและความยินร้าย อย่างนี้แล้วเสวยเวทนา ใด ๆ อันเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่เมาหมกอยู่ในเวทนานั้น ๆ.
เมื่อภิกษุนั้น ไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่เมาหมกอยู่ ในเวทนานั้น ๆ นันทิ (ความกำหนัดยินดีเพราะได้ตามใจอยาก) ในเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมดับไป.
เพราะความดับแห่งนันทิของภิกษุนั้น จึงมีความดับแห่งอุปาทาน เพราะมีความ ดับแห่งอุปทาน จึงมีความดับแห่งภพ เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะ-ทุกขะโทมนัส อุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการ อย่างนี้.
(๒) ภิกษุนั้น ได้ยินเสียงด้วยหูแล้ว ย่อมไม่กำหนัดยินดีในเสียง อันมีลักษณะเป็นที่ตั้ง แห่งความรัก ...ฯลฯ๑ ... นินทิ ในเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมดับไป ...ฯลฯ... ความดับลง แห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.
(๓) ภิกษุนั้น รู้สึกกลิ่นด้วยจมูกแล้ว ย่อมไม่กำหนัดยินดีในกลิ่น อันมีลักษณะเป็นที่ตั้ง แห่ง ความรัก ...ฯลฯ... นันทิ ในเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมดับไป...ฯลฯ... ความดับลงแห่ง กองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.
(๔) ภิกษุนั้น ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว ย่อมไม่กำหนัดยินดีในรส อันมีลักษณะเป็นที่ตั้ง แห่งความรัก ...ฯลฯ... นันทิ ในเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมดับไป…ฯลฯ... ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.
(๕) ภิกษุนั้น ถูกต้องสัมผัสทางผิวหนังด้วยผิวกายแล้ว ย่อมไม่กำหนัดยินดีในสัมผัส ทางผิวหนัง อันมีลักษณะเป็นที่ตั้ง แห่งความรัก...ฯลฯ... นันทิในเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมดับไป ...ฯลฯ... ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.
(๖) ภิกษุนั้น รู้แจ้งธัมมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมไม่กำหนัดยินดีในธัมมารมณ์ อันมี ลักษณะเป็นที่ตั้งแห่งความรัก ย่อมไม่ขัดเคืองในธัมมารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความ เกลียดชัง เป็นผู้อยู่ด้วยสติเป็นไปในกายอันตนเข้าไปตั้ง
…………………………………………………………………………………………………
๑การละเปยยาล ...ฯลฯ... เช่นนี้ หมายความว่า ข้อความในข้อที่(๒) นี้ ซ้ำกันเป็น ส่วนมาก กับ ในข้อที่ (๑)จะพิมพ์เต็มตามข้อที่(๑) ก็เป็นการเสียเวลาอ่านและรกตา กำหนดหัวข้อยาก จึงได้ละไว้ด้วยเปยยาลสำหรับคำที่ซ้ำกัน คงไว้แต่ข้อความที่ไม่ซ้ำกัน และข้อความเชื่อมสัมพันธ์กัน พอให้เป็นเครื่องสังเกตได้เท่านั้น ข้อถัดไปก็ทำอย่างนี้ จนกระทั่งข้อสุดท้าย จึงจะพิมพ์ไว้เต็ม เหมือนข้อที่(๑) อีกครั้งหนึ่ง.
ไว้แล้ว มีจิตหาประมาณมิได้ ด้วย ย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริงซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งธรรม อันเป็นบาปอกุศลทั้งหลาย ด้วย.
ภิกษุนั้น เป็นผู้ละเสียได้แล้ว ซึ่งความยินดีและความยินร้าย อย่างนี้แล้ว เสวยเวทนาใด ๆ อันเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตามย่อมไม่เพลิดเพลินไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่เมาหมกอยู่ในเวทนานั้น ๆ.
เมื่อ ภิก ษุนั้น ไม่เพ ลิด เพ ลิน ไม่เม าห ม ก อ ยู่ใน เวท น า นั้น ๆ นันทิ (ความกำหนัด ยินดีเพราะได้ตามใจอยาก) ในเวทนาทั้งหลายเหล่านั้นย่อมดับไป. เพราะความดับแห่ง นันทิของ ภิกษุนั้น จึงมีความดับแห่งอุปาทาน เพราะมีความดับ แห่งอุปาทาน จึงมีความดับ แห่งภพ เพราะมีความดับแห่งภพจึงมีความดับแห่งชาติ เพราะมีความดับ แห่ง ชาติ นั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้ แล.
…………………………………………………………………………………………………
หมายเหตุผู้รวบรวม : ผู้ศึกษาพึงสังเกตในข้อที่ว่า ผู้ที่ประพฤติพรหมจรรย์จบโดย แท้จริง นั้น คือผู้ที่หยุดกระแสแห่ง ปฏิจจสมุปบาท เสียได้เป็นครั้งสุดท้าย หรือรอบ สุดท้าย ต่อจากนั้นจะรับอารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ชนิดใดอีกก็ตาม ย่อมไม่มี ทางที่จเกิด กระแสแห่งปฏิจจสมุปบาท เช่นนั้นอีกได้.
ขอให้พิจารณาดูลักษณะอาการและเหตุผลต่าง ๆ ที่แสดงอยู่ในข้อความ เหล่านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในข้อที่ว่า "ความดับลงแห่งกองทุกข์ ทั้งสิ้น นี้ มิได้ด้วยอาการ อย่างนี้" นี้นั้น มิได้หมายความว่าผู้นั้นจะต้องตาย (อย่างเข้าโลง) ไปเสียก่อน จึงจะดับทุกข์ได้ การดับของนันทิ ในเวทนาทั้งหลายนั้น ดับกันที่นี่ เดี๋ยวนี้ ด้วยอำนาจ เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ ซึ่งดับอวิชชาที่นี่ เดี๋ยวนี้ ด้วยเหมือนกัน ปฏิจจสมุปบาท รอบสุดท้ายของคนมีได้ด้วยอาการอย่างนี้ ทั้งๆที่ในตอน ต้นๆ แห่งชีวิต ของเขา นั้น เต็มไปด้วยปฏิจจสมุปบาท นับสาย หรือนับรอบไม่ถ้วน. ศึกษากันให้ชัดเจน ใน ข้อเท็จจริงอันนี้ ก็จะได้รับ ประโยชน์จากความรู้เรื่องนี้ โดยสมบูรณ์ และไม่เหลือวิสัย.
|