เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
  
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ                    

  ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์   (ที่มา เว็บไซต์ พุทธทาสศึกษา : www.buddhadasa.org) ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
  06 of 8  
  ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ (แปลโดยท่านพุทธทาส)  
     
    หมวด ๑๐ หน้า  
    : ว่าด้วย ปฏิจจสมุปบาท นานาแบบ    
    ปฏิจจสมุปบาท นานาแบบ (มี ๓๗ เรื่อง) 548  
    ว่าด้วย ปฏิจจ- นานาแบบ ที่ซ้อนอยู่ในปฏิจจสมุปบาท 549  
    ปฏิจจสมุปบาทที่ตรัสโดยพระพุทธเจ้าวิปัสสี 559  
    ปฏิจจสมุปบาทแบบที่ตรัสเหมือนแบบของพระพุทธเจ้าวิปัสสี 564  
    ปฏิจจสมุปบาทแบบที่ตั้งต้นด้วย อารัมมณเจตน - ปกัปปน – อนุสยะ 569  
    ปฏิจจสมุปบาท (สมุทยวาร)ที่ตรัสอย่างย่อที่สุด 572  
    ปฏิจจสมุปบาท (ทั้งสมุทยะและนิโรธวาร)ที่ตรัสอย่างสั้นที่สุด 573  
    ปฏิจจสมุปบาทแห่งอาหารสี่ 575  
    ปฏิจจสมุปบาทแห่งอาหารสี่เพื่อภูตสัตว์ และ สัมภเวสีสัตว์ 577  
    ปฏิจจสมุปบาท แห่ง อภัททกาลกิริยา(ตายชั่ว) 579  
    หมวด ๑๐ ว่าด้วย ปฏิจจสมุปบาท นานาแบบ    
    ปฏิจจสมุปบาท แห่งทุพพลภาวะ ของมนุษย์ 580  
    ปฏิจจสมุปบาท แห่ง มิคสัญญีสัตถันตรกัป
581  
    ปฏิจจสมุปบาทแห่งอารัมมณลาภนานัตตะ(การได้อารมณ์ หก)  585  
    ปฏิจจสมุปบาท แห่งการปฏิบัติผิดโดยไตรทวาร 587  
    ปฏิจจสมุปบาท แห่งกามปฏิบัติชอบโดยไตรทวาร
588  
    ปฏิจจสมุปบาท แห่ง การรบราฆ่าฟันกัน (ซึ่งน่าอัศจรรย์) 589  
    ปฏิจจสมุปบาท แห่งกลวิวาทนิโรธ 595  
    ปฏิจจสมุปบาท แห่งการอยู่อย่างมี "เพื่อนสอง" 598  
    ปฏิจจสมุปบาท แห่งการอยู่อย่างมี "เพื่อนคนเดียว" 599  
    ปฏิจจสมุปบาท แห่ง การอยู่ด้วยความประมาท 600  
    หมวด ๑๐ ว่าด้วย ปฏิจจสมุปบาท นานาแบบ    
    ปฏิจจสมุปบาท แห่ง ปปัญจสัญญาสังขาสมุทาจรณะ 601  
    ปฏิจจสมุปบาทแห่งปปัญจสัญญา อันทำความเนิ่นช้า แก่การละอนุสัย 604  
    ปฏิจจสมุปบาท แห่ง การดับปปัญจสัญญาสังขา 612  
    ปฏิจจสมุปบาท ที่ยิ่งกว่า ปฏิจจสมุปบาท ( มี ๒๔ อาการ) 615  
   (หมวด 10 ยังมีต่อ)    
 

 

   
 
 






หมวด ๑๐
ว่าด้วย ปฏิจจสมุปบาท นานาแบบ


ลำดับเรื่องเฉพาะหมวด


หน้า 548
สำหรับปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ หมวดที่ ๑๐
ว่าด้วย ปฏิจจสมุปบาท นานาแบบ (มี ๓๗ เรื่อง
)

มีเรื่อง
ปฏิจจสมุปบาทที่ซ้อนอยู่ในปฏิจจสมุปบาท--
ปฏิจจสมุปบาทแบบที่ตรัสโดยพระพุทธเจ้าวิปัสสี—
ปฏิจจสมุปบาทแบบที่ตรัสเหมือนแบบของพระพุทธเจ้าวิปัสสี--
ปฏิจจสมุปบาทแบบที่ตั้งต้นด้วยอารัมมณเจตน-ปกัปปน-อนุสยะ—
ปฏิจจสมุปบาทที่ตรัสอย่างย่อที่สุด--
ปฏิจจสมุปบาทที่ตรัสอย่างสั้นที่สุด—
ปฏิจจสมุปบาทแห่งอาหารสี่--
ปฏิจจสมุปบาทแห่งอาหารสี่เพื่อภูตสัตว์และสัมภเวสีสัตว์—
ปฏิจจสมุปบาทแห่งอภัทท-=กาลกิริยา--
ปฏิจจสมุปบาทแห่งทุพพลภาวะแห่งมนุษย์--
ปฏิจจสมุปบาทแห่งมิคสัญญีสัตถันตรกัปป์--
ปฏิจจสมุปบาทแห่งอารัมมณลาภนานัตตะ--
ปฏิจจสมุปบาทแห่งการปฏิบัติผิดโดยไตรทวาร--
ปฏิจจสมุปบาทแห่งการปฏิบัติชอบโดยไตรทวาร—
ปฏิจจสมุป-บาทแห่งการรบราฆ่าฟันกัน--
ปฏิจจสมุปบาทแห่งกลหวิวาทนิโรธ—
ปฏิจจสมุปบาทแห่งการอยู่อย่างมี เพื่อนสอง—
ปฏิจจสมุปบาทแห่งการอยู่อย่าง คนเดียว—
ปฏิจจสมุป-บาทแห่งการอยู่ด้วยความประมาท—
ปฏิจจสมุปบาทแห่งปปัญจสัญญาสังขาสมุทาจรณะ--
ปฏิจจสมุปบาทแห่งปปัญจสัญญาอันทำความเนิ่นช้าแก่การละอนุสัย--
ปฏิจจสมุปบาทแห่งการดับปปัญจสัญญาสังขา--
ปฏิจจสมุปบาทที่ยิ่งกว่าปฏิจจสมุปบาท—
ปฏิจจสมุป-บาทแห่งอาหารของอวิชชา--
ปฏิจจสมุปบาทแห่งอาหารของภวตัณหา--
ปฏิจจสมุปบาทแห่งอาหารของวิชชาและวิมุตติ--
ปฏิจจสมุปบาทแห่งวิชชาและวิมุตติ—
ปฏิจจสมุป-บาทแห่งการปฏิสรณาการ--
ปฏิจจสมุปบาทแห่งสัจจานุโพธและผลถัดไป—
ปฏิจจ-สมุปบาทแห่งการอยู่ด้วยความประมาทของอริยสาวก--
ปฏิจจสมุปบาทแห่งการขาดที่อิงอาศัยสำหรับวิมุตติญาณทัสสนะ--
ปฏิจจสมุปบาทเพื่อความสมบูรณ์แห่งอรหัตตผล--
ปฏิจจสมุปบาทแห่งบรมสัจจะ--
ปฏิจจสมุปบาท แห่งสุวิมุตตจิต--
ปฏิจจสมุปบาทแห่งการปรินิพพานเฉพาะตน--
ปฏิจจสมุปบาทแห่งการดับอุปาทานสี่--
ปฏิจจสมุปบาทแห่งความสิ้นสุดของโลก.



หน้า 549
ว่าด้วย ปฏิจจสมุปบาท นานาแบบปฏิจจสมุปบาท
ที่ซ้อนอยู่ในปฏิจจสมุปบาท


(๑) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายอันเป็นกุศลเหล่าใด ซึ่งเป็นอริยะเป็นเครื่องนำออก จากทุกข์ เป็นเครื่องยังสัตว์ให้ลุถึงความตรัสรู้พร้อม ที่อยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าหากว่า บุคคลผู้ชอบถามทั้งหลาย จะพึงถามพวกเธออย่างนี้ว่า ประโยชน์ที่มุ่งหมายแห่งการฟัง ซึ่งธรรม อันเป็นกุศลเหล่านั้น มีอยู่อย่างไรเล่า? ดังนี้ไซร้ คำที่ควรตอบแก่พวกเขา พึงมีอย่างนี้ ว่า ประโยชน์ที่มุ่งหมายแห่งการฟังธรรม เหล่านั้น ย่อมมีเพื่อความรู้ ตามความเป็นจริง ซึ่งธรรมทั้งหลาย ตามที่กำหนดไว้เป็นสองฝ่ายสองฝ่าย อย่างไรกัน เล่า? จงบอกเขาว่า สองฝ่ายคือ
นี้คือทุกข์ นี้คือทุกขสมุทัย ดังนี้ นี้เป็นอนุปัสสนา (การตามเห็น) ฝ่ายที่หนึ่ง และ นี้ คือทุกขนิโรธ นี้คือทุกขนิโรธคามินี ปฏิปทา ดังนี้ นี้เป็นอนุปัสสนาฝ่ายที่สอง

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุตามเห็นอยู่ซึ่งธรรมตามที่กำหนดไว้เป็นสองฝ่ายโดยชอบอย่างนี้ เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีตนส่งไปแล้วในธรรมอยู่ ผลที่เธอพึงหวังได้อย่างใดอย่างหนึ่ง ในสองอย่าง คือการบรรลุอรหัตตผลในทิฏฐธรรมนั่นเทียว หรือว่า ถ้าอุปาทาน ยังเหลืออยู่ ก็ย่อมเป็นอนาคามี. .....

(๒) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าหากว่าบุคคลผู้ชอบถามทั้งหลาย จะพึงถามต่อไปอีก ดังนี้ว่า การตามเห็นซึ่งธรรม ตามที่กำหนดไว้เป็นสองฝ่ายโดยชอบ โดยปริยายแม้อย่างอื่น มีอยู่หรือ? คำ ทีควรตอบพึงมีว่า มีอยู่มีอยู่อย่างไรเล่า? มีอยู่สองฝ่ายคือ
ทุกข์ใดๆเกิดขึ้น ทุกข์ทั้งหมดนั้น เกิดขึ้นเพราะมีอุปธิเป็นปัจจัย ดังนี้ นี้เป็นอนุปัสสนาฝ่ายที่หนึ่ง และ เพราะความดับโดยสำรอกไม่เหลือแห่งอุปธิทั้งหลายนั่นเทียว ความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ ย่อมไม่มีดังนี้ นี้เป็นอนุปัสสนาฝ่ายที่สอง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุตามเห็นอยู่ซึ่งธรรม ตามที่กำหนดไว้เป็นสองฝ่ายโดยชอบ อย่างนี้ เป็นผู้ไม่ ประมาท มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีตนส่งไปแล้วในธรรมอยู่ ผลที่เธอ พึงหวังได้อย่างใดอย่างหนึ่ง ใน สองอย่าง คือการบรรลุอรหัตตผล ในทิฏฐธรรมนั่นเทียว หรือว่าถ้าอุปาทานยังเหลืออยู่ ก็ย่อมเป็นอนาคามี.

(ครั้นตรัสข้อความนี้แล้ว ได้ตรัสคำที่เป็นคาถา ต่อไปนี้อีกว่า)

ทุกข์ทั้งหลาย ย่อมมีขึ้นมา เพราะมีอุปธิเป็นแดนเกิด  
นั่นคือทุกข์ทั้งหลาย ที่มีลักษณะ ต่างกันเป็นเอนก ในโลกนี้

ผู้ใด เป็นผู้ไม่รู้ และย่อมกระทำซึ่งอุปธิ ผู้นั้นเป็นคนเขลา ย่อมเข้าถึงทุกข์อยู่ร่ำไป
เพราะเหตุนั้นผู้รู้อยู่ ไม่พึงกระทำ ซึ่งอุปธิเป็นผู้เห็นอยู่ ซึ่งแดนเกิด แห่งความทุกข์.


(๓) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าหากว่าบุคคลผู้ชอบถามทั้งหลาย จะพึงถามต่อไปนี้ ดังนี้ว่า การตามเห็นซึ่ง ธรรมตามที่กำหนดไว้เป็นสองฝ่ายโดยชอบ โดยปริยายแม้อย่างอื่น มีอยู่หรือ? คำที่ควรตอบ พึงมีว่า มีอยู่ มีอยู่อย่างไรเล่า? มีอยู่สองฝ่ายคือ ทุกข์ใดๆเกิดขึ้น ทุกข์ทั้งหมด นั้น เกิดขึ้นเพราะมีอวิชชา เป็นปัจจัย. ดังนี้ นี้เป็นอนุปัสสนาฝ่ายที่หนึ่ง และ เพราะความดับ โดยสำรอกไม่เหลือแห่ง อวิชชา นั่นเทียว ความ เกิดขึ้นแห่งทุกข์ ย่อมไม่มี . ดังนี้ นี้เป็นอนุปัสสนาฝ่ายที่สอง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุตามเห็นอยู่ซึ่งธรรมตามที่กำหนดไว้ เป็นสองฝ่ายโดยชอบ อย่างนี้...ฯลฯ... ...ฯลฯ..๑ ก็ย่อมเป็นอนาคามี.

(ครั้นตรัสข้อความนี้แล้ว ได้ตรัสคำที่เป็นคาถา ต่อไปนี้อีกว่า)

สัตว์เหล่าใด ไปสู่สังสาระแห่งชาติและมรณะร่ำไป ประเดี๋ยวอย่างนั้นประเดี๋ยวอย่างอื่น
อวิชชานั่นแหละเป็นคติ (เครื่องไป)ของสัตว์เหล่านั้น. อวิชชานี้แลเป็นความมืดอันใหญ่หลวง คือทำให้สัตว์ต้องท่องเที่ยวไป ในวัฏฏสงสารตลอดกาลนานสัตว์เหล่าใด เป็นผู้ไปด้วยวิชชา.
สัตว์เหล่านั้นย่อมไม่ไปสู่ภพใหม่.


(๔) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าหากว่าบุคคล...ฯลฯ...ฯลฯ...๑ มีอยู่สองฝ่ายคือ
ทุกข์ใดๆเกิดขึ้น ทุกข์ทั้งหมดนั้น เกิดขึ้นเพราะมีสังขารเป็นปัจจัย ดังนี้ นี้เป็นอนุปัสสนาฝ่ายที่หนึ่ง และ เพราะความดับโดย สำรอกไม่เหลือแห่งสังขารทั้งหลายนั่นเทียว ความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ ย่อมไม่มี ดังนี้ นี้เป็นอนุปัสสนา ฝ่ายที่สอง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุตามเห็นอยู่ซึ่งธรรม ตามที่กำหนดไว้เป็นสองฝ่ายโดยชอบ อย่างนี้...ฯลฯ... ...ฯลฯ... ก็ย่อมเป็นอนาคามี

(ครั้นตรัสข้อความนี้แล้ว ได้ตรัสคำที่เป็นคาถา ต่อไปอีกว่า)

ทุกข์ใด ๆ เกิดขึ้น ทุกข์ทั้งหมดนั้น มีเพราะสังขารเป็นปัจจัย เพราะความดับแห่ง สังขาร ทั้งหลาย ความเกิดขึ้นแห่งความทุกข์ ย่อมไม่มี. ครั้นรู้โทษนั้นแห่งสังขารว่า ทุกข์มีเพราะ สังขารเป็นปัจจัย และว่าเพราะความดับแห่งสังขาร ทั้งปวง ความดับ แห่งสัญญาย่อมมี ความสิ้นไปแห่งทุกข์ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ เพราะรู้ธรรมนั้น อย่างถูกต้องถ่องแท้. เพราะรู้ ด้วยปัญญาโดยชอบ บัณฑิตผู้ถึงเวท เห็นสิ่งต่าง ๆ อยู่ อย่างถูกต้อง ครอบงำเครื่อง ผูกพัน แห่งมาร แล้ว ย่อมไม่ไปสู่ภพใหม่.

(๕) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าหากว่าบุคคล...ฯลฯ...ฯลฯ... มีอยู่สองฝ่ายคือ
ทุกข์ใดๆเกิดขึ้น ทุกข์ทั้งหมด นั้น เกิดขึ้นเพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย ดังนี้ นี้เป็นอนุปัสสนาฝ่ายที่หนึ่ง และเพราะความดับ โดยสำ รอกไม่เหลือแห่งวิญญาณนั่นเทียว ความเกิดขึ้นแห่ง ทุกข์ย่อมไม่มี ดังนี้ นี้เป็นอนุปัสสนา ฝ่ายที่สอง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุตามเห็นอยู่ซึ่งธรรมตามที่กำหนดไว้ เป็นธรรมองฝ่าย โดยชอบ อย่างนี้ ...ฯลฯ... ...ฯลฯ... ก็ย่อมเป็นอนาคามี.


(ครั้นตรัสข้อความนี้แล้ว ได้ตรัสคำที่เป็นคาถา ต่อไปอีกว่า)

ทุกข์ใดๆ เกิดขึ้น ทุกข์ทั้งหมดนั้น มีเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย เพราะความดับแห่ง วิญญาณ ความเกิดขึ้น แห่งทุกข์ ย่อม ไม่มี. เพราะรู้โทษนั่นแห่งวิญญาณว่า ทุกข์มีเพราะวิญญาณเป็น ปัจจัย ภิกษุจึงหมดสิ่งปรารถน ดับสนิท ไม่มีส่วน เหลือ เพราะความเข้าไปสงบรำงับแห่ง วิญญาณ.

(๖) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าหากว่าบุคคล ...ฯลฯ...ฯลฯ... มีอยู่ สองฝ่ายคือ
ทุกข์ใดๆเกิดขึ้น ทุกข์ทั้ง หมด นั้นเกิดขึ้นเพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย ดังนี้ นี้เป็นอนุปัสสนาฝ่ายที่หนึ่ง และ เพราะความดับโดย สำรอกไม่เหลือแห่งผัสสะนั่นเทียว ความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ ย่อมไม่มี ดังนี้ นี้เป็นอนุปัสสนาฝ่ายที่สอง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุตามเห็นอยู่ซึ่งธรรม ตามที่กำหนดไว้เป็นสองฝ่ายโดยชอบอย่างนี้ ...ฯลฯ... ...ฯลฯ... ก็ย่อมเป็นอนาคามี.

(ครั้นตรัสข้อความนี้แล้ว ได้ตรัสคำที่เป็นคาถา ต่อไปอีกว่า)

สำหรับสัตว์ผู้มีผัสสะบังหน้า แล่นไปตามกระแสแห่งภพอยู่ เดินไปผิดทางนั้น ความสิ้นไปแห่ง สัญโยชน์ ของเขายังอยู่ไกล ส่วนชนเหล่าใด รอบรู้แล้วซึ่งผัสสะ ยินดีแล้วในธรรม เป็นที่สงบ รำงับ ด้วยปัญญา ชนเหล่านั้น ย่อมเป็นผู้หมดสิ่งปรารถนาดับสนิท ไม่มีส่วนเหลือ เพราะรู้ พร้อม เฉพาะซึ่งผัสสะ

(๗) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าหากว่าบุคคล...ฯลฯ...มีอยู่สองฝ่ายคือ ทุกข์ใดๆเกิดขึ้น ทุกข์ทั้งหมดนั้น เกิดขึ้นเพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย ดังนี้ นี้เป็นอนุปัสสนาฝ่ายที่หนึ่ง และ เพราะความดับโดยสำรอก ไม่เหลือแห่งเวทนานั่นเทียว ความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ ย่อมไม่มี ดังนี้ นี้เป็นอนุปัสสนาฝ่ายที่สอง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุตามเห็นอยู่ซึ่งธรรมตามที่กำหนดไว้เป็นสองฝ่าย โดยชอบอย่างนี้...ฯบฯ... ...ฯลฯ... ก็ย่อมเป็นอนาคามี.

(ครั้นตรัสข้อความนี้แล้ว ได้ตรัสคำที่เป็นคาถา ต่อไปอีกว่า)

วทนาอันเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม รวมทั้งอทุกขมสุขเวทนา เป็นภายในด้วย เป็นภายนอก ด้วยชนิดใดๆ เป็นเวทนามีอยู่ ครั้นรู้ว่าเวทนานั้น ๆเป็นทุกข์ เป็นสิ่งหลอดลวง เป็นสิ่งแตก สลาย สัมผัสแล้วๆ เห็นอยู่ว่า เสื่อมไปๆ ย่อมรู้ชัดในเวทนานั้นๆ ด้วยอาการอย่างนี้ เพราะ ความสิ้นไปแห่ง (อุปาทานใน) เวทนาทั้งหลาย นั่นแหละ ความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ ย่อมไม่มี.

(๘) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าหากว่าบุคคล ...ฯลฯ...ฯลฯ... มีอยู่สองฝ่ายคือ ทุกข์ใดๆเกิดขึ้น ทุกข์ทั้งหมด นั้นเกิดขึ้นเพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย ดังนี้นี้เป็นอนุปัสสนาฝ่ายที่หนึ่ง และ เพราะความดับโดยสำรอก ไม่เหลือแห่งตัณหานั่นเทียว ความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ ย่อมไม่มี ดังนี้ นี้เป็นอนุปัสสนาฝ่ายที่สอง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุตามเห็นอยู่ซึ่งธรรม ตามที่กำหนดไว้เป็นสองฝ่าย โดยชอบอย่างนี้ ...ฯลฯ... ...ฯลฯ... ก็ย่อมเป็นอนาคามี.

(ครั้นตรัสข้อความนี้แล้ว ได้ตรัสคำที่เป็นคาถา ต่อไปอีกว่า)

บุรุษ มีตัณหาเป็นเพื่อนสอง แล่นไปอยู่สู่สังสารวัฏฏ์อันยาวนาน เดี๋ยวเป็นอย่างนั้น เดี๋ยวเป็น อย่างนี้ ย่อมไม่ ล่วงพ้นสังสารวัฏฏ์ไปได้. ภิกษุ ครั้นรู้โทษนั่นแห่งตัณหา ว่าตัณหาเป็น แดนเกิด แห่งทุกข์ ย่อมเป็นผู้ปราศจากตัณหา ไม่มีอุปทาน มีสติ ก็เว้นขาดจากความทุกข์.


(๙) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าหากว่าบุคคล ...ฯลฯ...ฯลฯ... มีอยู่สองฝ่ายคือ ทุกข์ใด เกิดขึ้น ทุกข์ทั้งหมดนั้น เกิดขึ้นเพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย ดังนี้ นี้เป็นอนุปัสสนาฝ่ายที่หนึ่ง และ เพราะความดับ โดยสำรอกไม่เหลือแห่งอุปาทานนั่นเทียว ความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ ย่อมไม่มี ดังนี้ นี้เป็นอนุปัสสนา ฝ่ายที่สอง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุตามเห็นอยู่ซึ่งธรรม ตามที่กำหนดไว้เป็นสองฝ่ายโดยชอบอย่างนี้ ...ฯลฯ... ...ฯลฯ... ก็ย่อมเป็นอนาคามี.

(ครั้นตรัสข้อความนี้แล้ว ได้ตรัสคำที่เป็นคาถา ต่อไปอีกว่า)

เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ ผู้มีภพแล้วย่อมถึงซึ่งทุกข์ ความตาย ย่อมมีแก่ผู้ที่เกิดแล้ว นั่นแหละ คือ ความมีพร้อมแห่งทุกข์. เหตุนั้นเพราะ ความสิ้นไปแห่ง อุปาทาน บัณฑิต ทั้งหลาย เป็นผู้รู้แล้วด้วยปัญญาอันชอบ รู้เฉพาะซึ่งความสิ้นไปแห่งชาติย่อมไม่ไป สู่ภพใหม่.

(๑๐) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าหากว่าบุคคล ...ฯลฯ...ฯลฯ... มีอยู่สองฝ่ายคือ ทุกข์ใด เกิดขึ้น ทุกข์ทั้ง หมดนั้น เกิดขึ้นเพราะมีอารัมภะเป็นปัจจัย ดังนี้ นี้เป็นอนุปัสสนา ฝ่ายที่หนึ่ง และ เพราะความดับ โดยสำรอกไม่เหลือแห่งอารัมภะนั่นเทียว ความเกิดขึ้น แห่งทุกข์ ย่อมไม่มี ดังนี้ นี้เป็นอนุปัสสนาฝ่าย ที่สอง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุตามเห็นอยู่ ซึ่งธรรมตามที่กำ หนดไว้เป็นสองฝ่ายโดยชอบอย่างนี้ ...ฯลฯ...ฯลฯ... ก็ย่อมเป็นอนาคามี.

(ครั้งตรัสข้อความนี้แล้ว ได้ตรัสคำที่เป็นคาถา ต่อไปอีกว่า)

ทุกข์ใดๆเกิดขึ้น ทุกข์ทั้งหมดนั้น มีเพราะอารัมภะเป็นปัจจัย เพราะความดับแห่ง อารัมภะ ทั้งหลาย ความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ ย่อมไม่มี. ครั้นรู้โทษนั้นแห่งอารัมภะ๒ ว่าทุกข์มีเพราะอารัมภะ เป็นปัจจัย ก็สลัดเสียซึ่งอารัมภะทั้งปวง เป็นผู้พ้นพิเศษแล้ว เพราะอนารัมภะ. เมื่อภิกษุมี ภวตัณหาอันตัดขาดแล้ว มีจิตรำงับแล้ว ชาติสังสาระของเธอก็สิ้นไป. ภพใหม่ย่อมไม่มี แก่เธอนั้น.

(๑๑) ดูก่อนภิกษุทั้งหลายถ้าหากว่าบุคคล...ฯ ล ฯ ..มีอยู่สองฝ่ายคือ ทุกข์ใด เกิดขึ้น ทุกข์ทั้งหมดนั้น เกิดขึ้นเพราะมีอาหารเป็นปัจจัย ดังนี้ นี้เป็นอนุปัสสนาฝ่ายที่หนึ่ง และ เพราะความดับโดย สำรอก ไม่เหลือแห่งอาหารนั่นเทียว ความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ ย่อมไม่มี ดังนี้ นี้เป็นอนุปัสสนาฝ่ายที่สอง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุตามเห็นอยู่ซึ่ง ธรรมตามที่กำหนดไว้เป็นสองฝ่ายโดยชอบอย่างนี้ ...ฯลฯ... ...ฯลฯ... ก็ย่อมเป็นอนาคามี.

(ครั้งตรัสข้อความนี้แล้ว ได้ตรัสคำที่เป็นคาถา ต่อไปอีกว่า )

ทุกข์ใด ๆ เกิดขึ้น ทุกข์ทั้งหมดนั้น มีเพราะอาหารเป็นปัจจัย เพราะความดับแห่งอาหาร การเกิดขึ้นแห่งทุกข์ ย่อมไม่มี. ครั้นรู้โทษนั้นแห่งอาหาร ว่าทุกข์มี เพราะอาหารเป็นปัจจัยรอบรู้ ซึ่งอาหารทั้งปวง ก็เป็นผู้อันตัณหาอาศัยไม่ได้แล้ว ในอาหารทั้งปวง เพราะรู้โดยชอบซึ่ง พระนิพพาน อันหาโรคมิได้ เพราะสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ชื่อว่าผู้ตั้งอยู่ในธรรม รู้ทั่วถึงแล้ว จึงเสพ เป็นผู้จบเวทย่อมไม่เข้าถึง ซึ่งการถูกนับว่าเป็นอะไร.
…………………………………………………………………………………………
๑ คือไม่ควรแก่การที่จะเรียกว่ามนุษย์ เทวดา มาร พรหม นาค คันธัพพ์ อสูร หรืออะไรทั้งสิ้น ตามที่เขาบัญญัติกันอยู่ในโลก. หมายเหตุผู้รวบรวม ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า ข้อความ เป็นตอน ๆที่เนื่องกันอยู่อย่างนี้ ก็แสดงว่าลักษณะแห่งปฏิจจสมุปบาท อย่างที่เห็นได้ว่า เนื่องกัน แต่ถึงกระนั้นก็ดี เมื่อพิจารณาดูในตอนหนึ่ง ๆ ก็ยังมีลักษณะเป็นปฏิจจสมุปบาทเป็นคู่ ๆ แฝงอยู่ทุกตอน ดังนั้น จึงเห็นว่า ควรจะเรียกว่าปฏิจจสมุปบาท ที่ซ้อนอยู่ในปฏิจจสมุปบาท หรือซ่อนอยู่ในปฏิจจสมุปบาท ก็ยังได้ นับว่าเป็นวิธีกล่าวเป็นพิเศษวิธีหนึ่ง.


หน้า 559
ปฏิจจสมุปบาทที่ตรัสโดยพระพุทธเจ้าวิปัสสี
( สุดลงเพียงแค่วิญญาณ)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ความปริวิตกแห่งใจ ได้เกิดขึ้นแก่พระวิปัสสีโพธิสัตว์ ผู้เสด็จเข้าประทับ อยู่ในที่หลีกเร้น ทรงหลีกเร้นอยู่ อย่างนี้ว่าสัตว์โลกนี้หนอถึงทั่วแล้ว ซึ่งความยากเข็ญ ย่อมเกิด ย่อมแก่ ย่อมตาย ย่อมจุติ และย่อมอุบัติ ก็เมื่อสัตว์โลก ไม่รู้จักอุบายเครื่องออกไปพ้น จากทุกข์คือชรามรณะแล้ว การออกจากทุกข์ คือชรามรณะนี้ จักปรากฏขึ้นได้อย่างไร?.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้นแล ความฉงนนี้ได้เกิดขึ้นแก่พระวิปัสสี-โพธิสัตว์นั้นว่า เมื่ออะไรมีอยู่หนอ ชรามรณะจึงได้มี เพราะมีอะไรเป็นปัจจัย จึงมีชรามรณะ ดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้นแล ความรู้แจ้งอย่างยิ่งด้วยปัญญา เพราะการทำในใจโดย แยบคาย ได้เกิดขึ้น แก่พระวิปัสสีโพธิสัตว์นั้นว่า เพราะชาตินั่นแลมีอยู่ ชรามรณะ จึงได้มี เพราะมีชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรามรณะ ดังนี้.

... เพราะภพนั่นแล มีอยู่ ชาติ จึงได้มี เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติดังนี้.
... เพราะอุปาทานนั่นแล มีอยู่ ภพ จึงได้มี เพราะมีอุปทาน เป็นปัจจัย จึงมีภพดังนี้.
... เพราะตัณหานั่นแล มีอยู่ อุปาทาน จึงได้มี เพราะมีตัณหา เป็นปัจจัย จึงมีอุปาทานดังนี้.
... เพราะเวทนานั่นแล มีอยู่ ตัณหา จึงได้มี เพราะมีเวทนา เป็นปัจจัย จึงมีตัณหาดังนี้.
... เพราะผัสสะนั่นแล มีอยู่ เวทนา จึงได้มี เพราะมีผัสสะ เป็นปัจจัย จึงมีเวทนาดังนี้.
... เพราะสฬายตนะนั่นแล มีอยู่ ผัสสะ จึงได้มี เพราะมีสฬายตนะ เป็นปัจจัย จึงมีผัสสะดังนี้.
... เพราะนามรูปนั่นแล มีอยู่ สฬายตนะ จึงได้มี เพราะมีนามรูป เป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ ดังนี้.
... เพราะวิญญาณนั่นแล มีอยู่ นามรูป จึงได้มี เพราะมีวิญญาณ เป็นปัจจัย จึงมีนามรูป ดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้นแล ความฉงนนี้ได้เกิดขึ้นแก่พระวิปัสสี-โพธิสัตว์นั้นว่า เมื่ออะไร มีอยู่หนอ วิญญาณจึงได้มี เพราะมีอะไรเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณดังนี้.

………………………………………………………………………………….
๑ ข้อความตามที่ละ....ไว้นั้น หมายความว่า ได้มีความฉงนเกิดขึ้นทุก ๆ ตอน แล้วทรงทำ ในใจโดยแยบคาย จนความรู้แจ้งเกิดขึ้นทุก ๆ ตอน เป็นลำดับไป จนถึงที่สุด. ในที่นี้ละไว้ โดยนัยที่ผู้อ่านอาจจะเข้าใจเอาเองได้ เป็นการตัดความรำคาญในการอ่าน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้นแล ความรู้แจ้งอย่างยิ่งด้วยปัญญา เพราะการทำในใจโดย แยบคาย ได้เกิดขึ้น แก่ภระวิปัสสีโพธิสัตว์นั้นว่า เพราะนามรูปนั่นแลมีอยู่ วิญญาณจึงได้มี เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมี วิญญาณ ดังนี้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้นแล ความรู้แจ้งนี้ ได้มีแก่พระวิปัสสีโพธิสัตว์นั้นว่า วิญญาณนี้ ย่อมเวียน กลับจากนามรูป ย่อมไม่เลยไปอื่น. ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ สัตว์โลกนี้พึงเกิดบ้าง พึงแก่บ้าง พึงตายบ้าง พึงจุติบ้าง พึงอุบัติบ้าง.

ข้อนี้ได้แก่การที่ เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัยจึงมีนามรูป
เพราะมีนาม รูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงมีผัสสะ
เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขุโทมนัส อุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อม แห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตาเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้น แล้ว แสงสว่าง เกิดขึ้นแล้ว แก่พระวิปัสสีโพธิสัตว์นั้น ในธรรมทั้งหลาย ที่พระองค์ไม่เคยฟังมา แต่ก่อนว่า ความเกิดขึ้น พร้อม(สมุทัย) ความเกิดขึ้นพร้อม (สมุทัย) ดังนี้

(ปฏิปักขนัย)


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้นแล ความฉงนนี้ได้เกิดขึ้นแก่พระวิปัสสี-โพธิสัตว์นั้นต่อไปว่า เมื่ออะไร ไม่มีหนอ ชรามรณะ จึงไม่มี เพราะความดับแห่งอะไร จึงมีความดับแห่ง ชรามรณะ ดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้นนั้นแล ความรู้แจ้ง อย่างยิ่งด้วยปัญญา เพราะการทำในใจ โดยแยบคาย ได้เกิดขึ้น แก่พระวิปัสสีโพธิสัตว์นั้นว่า เพราะชาตินั่นแล ไม่มีชรามรณะ จึงไม่มี เพราะความดับแห่งชาติ จึงมี ความดับแห่งชรามรณะ ดังนี้.
...เพราะภพนั่นแล ไม่มี ชาติ จึงไม่มี เพราะความดับแห่งภพจึงมีความดับแห่งชาติ. ดังนี้.
...เพราะอุปาทานนั่นแล ไม่มี ภพ จึงไม่มี เพราะความดับแห่งอุปทาน จึงมีความดับแห่งภพ ดังนี้.
...เพราะตัณหานั่นแล ไม่มี อุปาทานจึงไม่มี เพราะความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่ง อุปาทาน ดังนี้.
...เพราะเวทนานั่นแล ไม่มี ตัณหา จึงไม่มี เพราะความดับแห่งเวทนา จึงมีความดับแห่ง ตัณหา ดังนี้.
...เพราะผัสสะนั่นแล ไม่มี เวทนา จึงไม่มี เพราะความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่ง เวทนา ดังนี้.
...เพราะสฬายตนะนั่นแล ไม่มีผัสสะจึงไม่มีเพราะความดับแห่งสฬายตนะ จึงมีความดับแห่ง ผัสสะดังนี้.
...เพราะนามรูปนั่นแล ไม่มี สฬายตนะจึงไม่มี เพราะความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่ง สฬายตนะ ดังนี้.
...เพราะวิญญาณนั่นแล ไม่มี นามรูป จึงไม่มี เพราะความดับแห่งวิญญาณ จึงมีความดับ แห่ง นามรูปดังนี้.


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้นแล ความฉงนนี้ได้เกิดขึ้นแก่พระวิปัสสี-โพธิสัตว์นั้นว่า เมื่ออะไร ไม่มีหนอ วิญญาณจึงไม่มี เพราะความดับแห่งอะไร จึงมีความดับแห่งวิญญาณดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้นแล ความรู้แจ้งอย่างยิ่งด้วยปัญญา เพราะการทำในใจโดย แยบคาย ได้เกิดขึ้น แก่พระวิปัสสีโพธิสัตว์นั้นว่า เพราะนามรูปนั่นแลไม่มี วิญญาณจึงไม่มี เพราะความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งวิญญาณ. ดังนี้.


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้นแล ความรู้แจ้งนี้ ได้เกิดขึ้นแก่พระวิปัสสี-โพธิสัตว์นั้นว่า หนทางเพื่อการ ตรัสรู้นี้ อันเราถึงทับแล้วแล ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ
เพราะความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งวิญญาณ
เพราะมีความดับแห่งวิญญาณจึงมีความดับแห่งนามรูป
เพราะมีความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ
เพราะมีความดับแห่งสฬายตนะ จึงมีความดับแห่งผัสสะ
เพราะมีความดับแห่งผัสสะจึงมีความดับแห่งเวทนา
เพราะมีความดับแห่งเวทนา จึงมีความดับแห่งตัณหา
เพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน
เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ
เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ เพราะมีความ
ดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส อุปายาสทั้งหลายจึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตาเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่าง เกิดขึ้นแล้ว แก่พระวิปัสสีโพธิสัตว์นั้น ในธรรมทั้งหลาย ที่พระองค์ไม่เคยฟังมาแต่ก่อน่า ความดับไม่เหลือ (นิโรธ) ความดับไม่เหลือ (นิโรธ)ดังนี้.



หน้า 564
ปฏิจจสมุปบาทแบบที่ตรัสเหมือนแบบ ของพระพุทธเจ้าวิปัสสี
( สุดลงเพียงแค่วิญญาณ )


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ ความปริวิตก นี้ได้เกิด ขึ้นแก่เราว่า สัตว์โลกนี้หนอ ถึงแล้วซึ่งความยากเข็ญ ย่อมเกิด ย่อมแก่ ย่อมตายย่อมจุติ และย่อมอุบัติ ก็เมื่อสัตว์โลกไม่รู้จักอุบายเครื่องออกไปพ้นจากทุกข์ คือชรามรณะ แล้ว การออกจากทุกข์คือชรามรณะนี้จักปรากฎขึ้นได้อย่างไร?.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความฉงนนี้เกิดขึ้นแก่เราว่า เมื่ออะไรมีอยู่หนอชรามรณะ จึงได้มี เพราะมีอะไรเป็น ปัจจัย จึงมีชรามรณะ ดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความรู้แจ้งอย่างยิ่งด้วยปัญญา เพราะการทำในใจโดยแยบคาย ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า เพราะชาตินั่นแล มีอยู่ ชรามรณะ จึงได้มี เพราะมีชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรามรณะ ดังนี้.
...เพราะภพนั่นแล มีอยู่ ชาติ จึงได้มี เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ ดังนี้.
...เพราะอุปาทานนั่นแล มีอยู่ ภพ จึงได้มี เพราะมีอุปทานเป็นปัจจัยจึงมีภพ ดังนี้.
...เพราะตัณหานั่นแล มีอยู่ อุปาทาน จึงได้มี เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัยจึงมีอุปาทาน ดังนี้.
...เพราะเวทนานั่นแล มีอยู่ ตัณหา จึงได้มี เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา ดังนี้.
...เพราะผัสสะนั่นแล มีอยู่ เวทนา จึงได้มี เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา ดังนี้.
...เพราะสฬายตนะนั่นแล มีอยู่ ผัสสะ จึงได้มี เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ ดังนี้.
...เพราะนามรูปนั่นแล มีอยู่ สฬายตนะ จึงได้มี เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ ดังนี้.
...เพราะวิญญาณนั่นแล มีอยู่ นามรูป จึงได้มี เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป ดังนี้

ดูก่อนภิกษุภิกษุทั้งหลาย ความฉงนนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า เมื่ออะไรมีอยู่หนอวิญญาณจึงได้มี เพราะมีอะไร เป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ดังนี้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความรู้แจ้งอย่างยิ่งด้วยปัญญา เพราะการทำในใจโดยแยบคาย ได้เกิดขึ้น แก่เราว่า เพราะนามรูปนั่นแล มีอยู่ วิญญาณ จึงได้มี เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ดังนี้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความรู้แจ้งนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่าวิญญาณนี้ ย่อมเวียนกลับจากนามรูป ย่อมไม่ เลยไปอื่น. ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ สัตว์โลกนี้ พึงเกิดบ้าง พึงแก่บ้าง พึงตายบ้าง พึงจุติบ้าง พึงอุบัติบ้าง

ข้อนี้ได้แก่การที่ เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
เพราะมี นามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายาตนะ
เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
เพราะมีอุปาทานเป็น ปัจจัยจึงมีภพ
เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส อุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตาเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชา เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว แก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาแต่ก่อน ว่าความเกิดขึ้นพร้อม (สมุทัย) ความเกิดขึ้นพร้อม(สมุทัย) ดังนี้.

(ต่อนี้ไปเป็นปฏิปักขนัย)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความฉงนนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราต่อไปว่า เมื่ออะไรไม่มีหนอ ชรามรณะจึงไม่มี เพราะ ความดับแห่งอะไร จึงมีความดับแห่งชรามรณะ ดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความรู้แจ้งอย่างยิ่งด้วยปัญญา เพราะการทำในใจโดยแยบคาย ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า เพราะชาตินั่นแล ไม่มีชรามรณะ จึงไม่มี เพราะความดับแห่งชาติ จึงมีความดับแห่งชรามรณะ ดังนี้.

...เพราะภพนั่นแล ไม่มีชาติ จึงไม่มี
เพราะความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ ดังนี้.
...เพราะอุปาทานนั่นแล ไม่มีภพ จึงไม่มี
เพราะความดับแห่งอุปทาน จึงมีความดับแห่งภพ ดังนี้.
...เพราะตัณหานั่นแล ไม่มีอุปาทาน จึงไม่มี
เพราะความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่ง อุปาทานดังนี้.
...เพราะเวทนานั่นแล ไม่ม ตัณหา จึงไม่มี
เพราะความดับแห่งเวทนา จึงมีความดับแห่ง ตัณหา ดังนี้.
...เพราะผัสสะนั่นแล ไม่มีเวทนา จึงไม่มี
เพราะความดับแห่งผัสสะจึงมีความดับแห่งเวทนา ดังนี้.
...เพราะสฬายตนะนั่นแล ไม่มีผัสสะ จึงไม่มี เพราะความดับแห่งสฬายตนะจึงมีความดับแห่งผัสสะ ดังนี้.
...เพราะนามรูปนั่นแล ไม่มีสฬายตนะ จึงไม่มี เพราะความดับแห่งนามรูปจึงมีความดับแห่งสฬายตนะ ดังนี้
...เพราะวิญญาณนั่นแล ไม่มี นามรูป จึงไม่มีเพราะความดับแห่งวิญญาณจึงมีความดับแห่งนามรูปดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความฉงนนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า เมื่ออะไรไม่มีหนอวิญญาณ จึงไม่มี เพราะความดับแห่งวิญญาณ ดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความรู้แจ้งอย่างยิ่งด้วยปัญญา เพราะการทำในใจโดยแยบคาย ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า เพราะชาตินั่นแล ไม่มี ชรามรณะ จึงไม่มี เพราะความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งวิญญาณ ดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความรู้แจ้งนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า หนทางเพื่อการตรัสรู้นี้ อันเราได้ถึงทับแล้วแล ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ
เพราะความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งวิญญาณ
เพราะมีความดับแห่งวิญญาณ จึงมีความดับแห่งนามรูป
เพราะมีความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ
เพราะมีความดับแห่งสฬายตนะจึงมีความดับแห่งผัสสะ
เพราะมีความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา
เพราะมีความดับแห่งเวทนา จึงมีความดับแห่งตัณหา
เพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน
เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ
เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ
เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขุโทมนัส อุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตาเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ววิชชา เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่าง เกิดขึ้นแล้ว แก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาแต่ก่อนว่า ความดับไม่เหลือ (นิโรธ) ความดับไม่ เหลือ (นิโรธ) ดังนี้.



หน้า 569
ปฏิจจสมุปบาทแบบที่ตั้งต้นด้วย
อารัมมณเจตน - ปกัปปน – อนุสยะ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าบุคคลย่อมคิด (เจเตติ) ถึงสิ่งใดอยู่ ย่อมดำริ(ปกปฺเปติ) ถึงสิ่งใดอยู่ และ ย่อมมีจิตปักลงไป(อนุเสติ)ในสิ่งใดอยู่ สิ่งนั้น ย่อมเป็นอารมณ์ เพื่อการตั้งอยู่แห่ง วิญญาณ.
เมื่ออารมณ์ มีอยู่ ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญาณ ย่อมมี
เมื่อวิญญาณนั้น ตั้งขึ้นเฉพาะ เจริญงอกงามแล้ว
การก้าวลงแห่งนามรูปย่อมมี
เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส อุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.

---- ---- ---- ----
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าบุคคลย่อมไม่คิดถึงสิ่งใด ย่อมไม่ดำริ ถึงสิ่งใดแต่เขายัง มีใจฝังลงไป (คือมีอนุสัย) ในสิ่งใดอยู่ สิ่งนั้นย่อมเป็นอารมณ์ เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณ.

เมื่ออารมณ์มีอยู่ ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญาณ ย่อมมี
เมื่อวิญญาณนั้น ตั้งขึ้นเฉพาะ เจริญงอกงามแล้ว การก้าวลงแห่งนามรูป ย่อมมี
เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ
โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน
ความเกิดขึ้นพร้อม แห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.
---- ---- ---- ----
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าว่า บุคคลย่อมไม่คิดถึงสิ่งใด ด้วย
ย่อมไม่ดำริถึงสิ่งใด ด้วย และทั้งย่อม ไม่มีใจฝั่งลงไป (คือไม่มีอนุสัย)ในสิ่งใด ด้วย ในกาลใดในกาลนั้น สิ่งนั้น ย่อม ไม่ เป็นอารมณ์ เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณได้เลย.

เมื่ออารมณ์ไม่มี ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญาณ ย่อมไม่มี
เมื่อวิญญาณนั้น ไม่ตั้งขึ้นเฉพาะ ไม่เจริญงอกงามแล้ว
การก้าวลง แห่งนามรูป ย่อมไม่มี

เพราะมีความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ
เพราะมีความดับแห่งสฬายตนะ จึงมีความดับแห่งผัสสะ
เพราะมีความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา
เพราะมีความดับแห่งเวทนา จึงมีความดับแห่งตัณหา
เพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน
เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ
เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ
เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ
โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส-อุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น
ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้ดังนี้ แล.


หน้า 572

ปฏิจจสมุปบาท (สมุทยวาร)ที่ตรัสอย่างย่อที่สุด

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ความตั้งขึ้นพร้อม (สมุทโย) แห่งกองทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า? (ความตั้งขึ้นพร้อม แห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ คือ )

เพราะอาศัยซึ่งจักษุด้วย ซึ่งรูปทั้งหลายด้วย จึงเกิด จักขุวิญญาณ การประจวบพร้อมแห่ง ธรรม ๓ ประการ (จักษุ + รูป + จักขุวิญญาณ) นั่นคือ ผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา นี้คือความตั้งขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์.

เพราะอาศัยซึ่งโสตะด้วย ซึ่งเสียงทั้งหลายด้วย จึงเกิด โสตวิญญาณ การประจวบพร้อม แห่งธรรม ๓ ประการ (โสตะ + เสียง + โสตวิญญาณ) นั่นคือ ผัสสะเพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมี ตัณหา นี้ คือความตั้งขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์.

เพราะอาศัยซึ่งฆานะด้วย ซึ่งกลิ่นทั้งหลายด้วย จึงเกิด ฆานวิญญาณ การประจวบพร้อม แห่งธรรม ๓ ประการ (ฆานะ + กลิ่น + ฆานวิญญาณ) นั่นคือ ผัสสะเพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงม ีตัณหา นี้ คือ ความตั้งขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์.

เพราะอาศัยซึ่งชิวหาด้วย ซึ่งรสทั้งหลายด้วย จึงเกิด ชิวหาวิญญาณ การประจวบพร้อม แห่งธรรม ๓ ประการ (ชิวหา + รส + ชิวหาวิญญาณ) นั่นคือ ผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา นี้ คือ ความตั้งขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์.

เพราะอาศัยซึ่งกายด้วย ซึ่งโผฏฐัพพะทั้งหลายด้วย จึงเกิด กายวิญญาณการประจวบพร้อม แห่งธรรม ๓ ประการ ( กาย + โผฏฐัพพะ + กายวิญญาณ) นั่นคือ ผัสสะ เพราะมีผัสสะ เป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงม ีตัณหา นี้คือ ความตั้งขึ้นพร้อม แห่งกองทุกข์.

เพราะอาศัยซึ่งมโนด้วย ซึ่งธัมมมารมณ์ทั้งหลายด้วย จึงเกิด มโนวิญญาณการประจวบพร้อม แห่งธรรม ๓ ประการ (มโน + ธัมมารมณ์ + มโนวิญญาณ) นั่นคือ ผัสสะ เพราะมีผัสสะ เป็นปัจจัย จึงมี เวทนา เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมี ตัณหา นี้ คือ ความตั้งขึ้นพร้อม แห่งกองทุกข์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล คือความตั้งขึ้นพร้อมแห่งทุกข์.


หน้า 573
ปฏิจจสมุปบาท (ทั้งสมุทยะและนิโรธวาร)ที่ตรัสอย่างสั้นที่สุด

ดูก่อนปุณณะ รูปทั้งหลายที่เห็นด้วยตา อันเป็นรูปที่น่าปรารถนาน่ารักใคร่ น่าพอใจ เป็นที่ยั่วยวนชวนให้รัก เป็นที่เขาไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ย้อมใจ มีอยู่ ถ้าภิกษุย่อมเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญสยบมัวเมาในรูปนั้น ไซร้ เมื่อภิกษุนั้น เพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ สยบมัวเมาในรูปนั้นอยู่ นันทิ (ความเพลิน) ย่อมเกิดขึ้น

ดูก่อนปุณณะ เรากล่าวว่า ความเกิดขึ้นแห่งทุกข์มีได้ เพราะความเกิดขึ้นแห่งนันทิ ดังนี้.

ดูก่อนปุณณะ เสียง ทั้งหลายที่ได้ยินด้วยหู ...ฯลฯ... ...ฯลฯ...
ดูก่อนปุณณะ กลิ่น ทั้งหลายที่ดมด้วยจมูก ...ฯลฯ... ...ฯลฯ...
ดูก่อนปุณณะ รส ทั้งหลายที่ลิ้มด้วยลิ้น ...ฯลฯ... ...ฯลฯ...
ดูก่อนปุณณะ โผฏรัพพะ ทั้งหลายที่ถูกต้องด้วยกาย ...ฯลฯ... ...ฯลฯ...
ดูก่อนปุณณะ ธัมมารมณ์ ทั้งหลายที่รู้แจ้งด้วยใจ อันเป็นธัมมารมณ์ที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่น่าพอใจ เป็นที่ยั่วยวนชวนให้รัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดย้อมใจ มีอยู่

เมื่อภิกษุนั้นเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ สยบมัวเมาในธัมมารมณ์นั้นไซร้ เมื่อภิกษุนั้นเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ สยบมัวเมาในธัมมารมณ์นั้นอยู่ นันทิ(ความเพลิน) ย่อมเกิดขึ้น

ดูก่อนปุณณะ เรากล่าวว่าความเกิดขึ้นแห่งทุกข์มีได้ เพราะความเกิดขึ้นแห่งนันทิ ดังนี้.

---- (ปฏิปักขนัย) ----

ดูก่อนปุณณะ รูป ทั้งหลายที่เห็นด้วยตา อันเป็นรูปที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่น่าพอใจ เป็นที่ยั่วยวน ชวนให้รัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ย้อมใจ มีอยู่

ถ้าภิกษุนั้นไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่สยบมัวเมาในรูปนั้น ไซร้ เมื่อภิกษุนั้นไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำ สรรเสริญ ไม่สยบมัวเมาในรูปนั้นอยู่ นันทิ ย่อมดับไป.

ดูก่อนปุณณะ เรากล่าวว่า
ความดับไปไม่มีเหลือของทุกข์มีได้
เพราะความดับไปไม่เหลือของนันทิ
ดังนี้.

(ในกรณีแห่งเสียงก็ดี กลิ่นก็ดี รสก็ดี โผฏฐัพพะก็ดี และธัมมารมณ์ก็ดี พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสไว้ มีนัยะ อย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งรูป).


หน้า 575
ปฏิจจสมุปบาทแห่งอาหารสี่


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อาหารทั้งหลาย ๔ อย่างเหล่านี้ มีอะไรเป็นต้นเหตุ (นิทาน) มีอะไรเป็นเครื่องก่อขึ้น (สมุทย) มีอะไรเป็นเครื่องทำให้เกิด(ชาติก) มีอะไรเป็นแดนเกิด(ปภว)?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาหารทั้งหลาย อย่างเหล่านี้ มีตัณหาเป็นต้นเหตุ ...ฯลฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ตัณหานี้ มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเครื่องก่อขึ้น มีอะไรเป็นเครื่องทำให้เกิด มีอะไรเป็นแดนเกิด?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัณหา มีเวทนาเป็นต้นเหตุ ...ฯลฯ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เวทนานี้ มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเครื่องก่อขึ้น มีอะไรเป็นเครื่องทำให้เกิด มีอะไรเป็นแดนเกิด?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนา มีผัสสะเป็นต้นเหตุ ...ฯลฯ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ผัสสะนี้ มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเครื่องก่อขึ้น มีอะไรเป็นเครื่องทำให้เกิด มีอะไรเป็นแดนเกิด?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผัสสะ มีสฬายตนะเป็นต้นเหตุ ...ฯลฯ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สฬายตนะนี้ มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเครื่องก่อขึ้น มีอะไรเป็นเครื่องทำให้เกิด มีอะไรเป็นแดนเกิด?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สฬายตนะ มีนามรูปเป็นต้นเหตุ ...ฯลฯ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็นามรูปนี้ มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเครื่องก่อขึ้น มีอะไรเป็นเครื่องทำให้เกิด มีอะไรเป็นแดนเกิด?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นามรูป มีวิญญาณเป็นต้นเหตุ ...ฯลฯ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็วิญญาณนี้ มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเครื่องก่อขึ้น มีอะไรเป็นเครื่องทำให้เกิด มีอะไรเป็นแดนเกิด?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิญญาณ มีสังขารเป็นต้นเหตุ ...ฯลฯ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สังขารทั้งหลายเหล่านี้ มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเครื่องก่อขึ้น มีอะไรเป็นเครื่อง ทำให้เกิด มีอะไรเป็นแดนเกิด?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายเหล่านี้ มีอฺวิชชาเป็นต้นเหตุ มีอวิชชาเป็นเครื่องก่อขึ้น มีอวิชชา เป็นเครื่อง ทำให้เกิด มีอวิชชาเป็นแดนเกิด?



หน้า 577
ปฏิจจสมุปบาทแห่งอาหารสี่เพื่อภูตสัตว์
และ สัมภเวสีสัตว์

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาหาร ๔ อย่างเหล่านี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงอยู่ของ ภูตสัตว์ทั้งหลาย หรือว่า เพื่ออนุเคราะห์แก่ สัมภเวสีสัตว์ทั้งหลาย.

อาหาร ๔ อย่างเป็นอย่างไรเล่า? สี่อย่างคือ
(๑) กพฬีการาหาร ที่หยาบบ้าง ละเอียดบ้าง
(๒) ผัสสะ
(๓) มโนสัญเจตนา
(๔) วิญญาณ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาหาร ๔ อย่าง เหล่านี้แลย่อมเป็นไป เพื่อความดำรงอยู่ของ ภูตสัตว์ทั้งหลาย หรือว่า เพื่ออนุเคราะห์แก่ สัมภเวสีสัตว์ทั้งหลาย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อาหาร ๔ อย่างเหล่านี้ มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด (นิทาน)? มีอะไรเป็นเครื่องก่อให้เกิด (สมุทย)? มีอะไรเป็นเครื่องกำเนิด(ชาติก)? มีอะไรเป็นแดนเกิด(ปภว)?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาหาร อย่างเหล่านี้ มีตัณหาเป็นเหตุให้เกิด มีตัณหาเป็นเครื่องก่อให้เกิด มีตัณหาเป็นเครื่องกำเนิด มีตัณหาเป็นแดนเกิด.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ตัณหานี้เล่า มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด เป็นเครื่องก่อให้เกิด เป็นเครื่องกำเนิด เป็นแดน เกิด?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัณหา มีเวทนาเป็นเหตุให้เกิด เป็นเครื่องก่อให้เกิด เป็นเครื่องกำเนิด เป็นแดนเกิด.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เวทนานี้เล่า มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด เป็นเครื่องก่อให้เกิด เป็นเครื่องกำเนิด เป็นแดนเกิด? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนา มีผัสสะเป็นเหตุให้เกิด เป็นเครื่องก่อให้เกิด เป็นเครื่องกำเนิด เป็นแดนเกิด.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ผัสสะนี้เล่า มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด เป็นเครื่องก่อให้เกิด เป็นเครื่องกำเนิด เป็นแดน เกิด? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผัสสะ มีสฬายตนะเป็นเหตุให้เกิด เป็นเครื่องก่อให้เกิด เป็นเครื่องกำเนิด เป็นแดนเกิด.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สฬายตนะนี้เล่า มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด เป็นเครื่องก่อให้เกิด เป็นเครื่องกำเนิดเป็น แดน เกิด? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สฬายตนะมีนามรูปเป็นเหตุให้เกิด เป็นเครื่องก่อให้เกิด เป็นเครื่องกำเนิด เป็นแดนเกิด.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็นามรูปนี้เล่า มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด เป็นเครื่องก่อให้เกิด เป็นเครื่องกำเนิด เป็นแดน เกิด? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นามรูป มีวิญญาณเป็นเหตุให้เกิด เป็นเครื่องก่อให้เกิด เป็นเครื่องกำเนิด เป็นแดนเกิด.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็วิญญาณนี้เล่า มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด เป็นเครื่องก่อให้เกิด เป็นเครื่องกำเนิด เป็นแดน เกิด? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิญญาณ มีสังขารเป็นเหตุให้เกิด เป็นเครื่องก่อให้เกิด เป็นเครื่องกำเนิด เป็นแดนเกิด.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สังขารนี้เล่า มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด เป็นเครื่องก่อให้เกิด เป็นเครื่องกำเนิด เป็นแดน เกิด? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลาย มีอวิชชา เป็นเหตุให้เกิด เป็นเครื่องก่อให้เกิด เป็นเครื่อง กำเนิด เป็นแดนเกิด.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยอาการอย่างนี้แล เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย เพราะมีสังขาร เป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ....ฯลฯ....ฯลฯ....ฯลฯ.... เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเวทะทุกขะ โทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อม แห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการ อย่างนี้.

เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว จึงมีความดับแห่งสังขาร เพราะมีความดับ แห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ ....ฯลฯ....ฯลฯ....ฯลฯ.... เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขุ- โทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับ แห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการ อย่างนี้ ดังนี้ แล.

หมายเหตุผู้รวบรวม เรื่องอาหารอย่างเดียวกันนี้ ได้มีกล่าวถึงในสูตรชื่อมหาตัณหาสังขยสูตร มู.ม. ๑๒/๔๗๙/๔๔๖ ผิดกันแต่ว่าตอนท้าย มีเรื่องอื่นแทรกแล้วจึงกล่าวถึงนิโรธวาร.



หน้า 579
ปฏิจจสมุปบาท แห่ง อภัททกาลกิริยา(ตายชั่ว)


ดูก่อนคหบดี เมื่อจิตไม่ได้รับการรักษา กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ก็เป็นอันไม่ได้รับ การรักษา

เมื่อกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ไม่ได้รับการรักษา กายกรรม วจีกรรมมโนกรรม ก็มีสภาพเปียกแฉะ (กิเลสรั่วรด)

เมื่อกายกรรม
วจีกรรม มโนกรรมเปียกแฉะ กายกรรม วจีกรรม มโน-กรรม ก็มีสภาพบูดเน่า

เมื่อกายกรรม
วีจีกรรม มโนกรรมบูดเน่า ก็มี การตายที่ไม่งดงามมีกาลกิริยาที่ไม่งดงาม
เปรียบเหมือนเมื่อ เรือนหลังคาแหลม (กูฎาคาร) มุงไม่ดี ยอดหลังคา (อกไก่) ก็เป็นอันไม่ได้รับการรักษา กลอนหลังคาก็เป็นอันไม่ได้รับการรักษา ฝาเรือนก็เป็นอันไม่ได้รับการรักษา (เมื่อเป็นดังนี้) อกไก่ก็เปียกชื้น กลอนหลังคาก็เปียกชื้น ฝาเรือนก็เปียกชื้น อกไก่ก็ผุเปื่อย กลอนหลังคาก็ผุเปื่อย ฉันใดก็ฉันนั้น.

(ข้อความต่อไป ได้ตรัสถึงเรื่องจิต ที่ตรงกันข้าม ผู้ศึกษาพึงทราบโดยปฏิปักขนัย โดยตลอดสายกล่าวคือ มี กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่ได้รับการรักษา ไม่เปียกแฉะ ตายงดงาม.)



หน้า 580
ฏิจจสมุปบาท
แห่งทุพพลภาวะ ของมนุษย์

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ราชา (ผู้ปกครอง) ทั้งหลาย ไม่ตั้งอยู่ในธรรม สมัยนั้น ราชยุตต์ (ข้าราชการ) ทั้งหลาย ก็ไม่ตั้งอยู่ในธรรม
เมื่อ ราชยุตต์ทั้งหลาย ไม่ตั้งอยู่ในธรรม พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย ก็ไม่ตั้งอยู่ในธรรม
เมื่อ พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย ไม่ตั้งอยู่ในธรรม ชาวเมืองและชาวชนบททั้งหลาย ก็ไม่ตั้งอยู่ในธรรม
เมื่อ ชาวเมืองและชาวชนบททั้งหลาย ไม่ตั้งอยู่ในธรรม ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ ก็มีปริวรรตไม่สม่ำเสมอ
เมื่อ ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ มีปริวรรตไม่สม่ำเสมอ ดาวนักษัตรและดาวทั้งหลาย ก็มีปริวรรตไม่สม่ำเสมอ
เมื่อ ดาวนักษัตรและดาวทั้งหลาย มีปริวรรตไม่สม่ำเสมอ คืนและวัน ก็มีปริวรรตไม่สม่ำเสมอ
เมื่อ คืนและวัน มีปริวรรต ไม่สม่ำเสมอ เดือนและปักษ์ ก็มีปริวรรตไม่สม่ำเสมอ
เมื่อ เดือนและปักษ์ มีปริวรรตไม่สม่ำเสมอ ฤดูและปี ก็มีปริวรรตไม่สม่ำเสมอ
เมื่อ ฤดูและปี มีปริวรรตไม่สม่ำเสมอ ลม(ทุกชนิด) ก็พัดไปไม่สม่ำเสมอ
เมื่อ ลม (ทุกชนิด)พัดไปไม่สม่ำเสมอ ปัญชสา (ระบบแห่งทิศทางลมอันถูกต้อง) ก็แปรปรวน
เมื่อ ปัญชสา แปรปรวน เทวดาทั้งหลาย ก็ระส่ำระสาย
เมื่อ เทวดาทั้งหลาย ระส่ำระสาย ฝน ก็ตกลงมาอย่างไม่เหมาะสม
เมื่อ ฝนตก ลงมาอย่างไม่เหมาะสม พืชพรรณข้าวทั้งหลาย ก็แก่และสุกไม่สม่ำเสมอ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อมนุษย์ทั้งหลาย บริโภคพืชพรรณข้าวทั้งหลาย อันมีความแก่และสุกไม่สม่ำเสมอ ก็กลายเป็นผู้มีอายุสั้น ผิดพรรณทราม ทุพพลภาพและมีโรคภัยไข้เจ็บมาก



P581
ปฏิจจสมุปบาท
แห่ง มิคสัญญีสัตถันตรกัป

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระราชา
(ชนชั้นปกครอง ในสมัยที่ท่านกล่าวว่า มนุษย์มีอายุขัย ๘ หมื่นปี ซึ่งข้อนี้ ป็นการคำนวณเทียบส่วนแห่งความต้องการของกิเลสกับ ความเป็นอยู่ของมนุษย์) มีการกระทำชนิดที่เป็นไปแต่เพียง เพื่อการคุ้มครอง อารักขา แต่มิได้เป็นไป เพื่อการกระทำ ให้เกิดทรัพย์ แก่บุคคลผู้ไม่มีทรัพย์ทั้งหลาย ดังนั้นแล้ว ความยากจนขัดสนก็เป็นไป อย่างกว้าง ขวางแรงกล้าถึงที่สุด

เพราะความยากจนขันสน
เป็นไปอย่างกว้างขวาง แรงกล้าถึงที่สุด อทินนาทาน ก็เป็นไป อย่างกว้างขวางแรง กล้าถึงที่สุด

เพราะอทินนาทาน
เป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด การใช้ศัสตราวุธโดยวิธีการต่าง ๆ ก็เป็นไป อย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด

เพราะการใช้ศัสตราวุธ
โดยวิธีการต่าง ๆ เป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด ปาณาติบาต (ซึ่งหมาย ถึงการฆ่ามนุษย์ด้วยกัน) ก็เป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด

เพราะปาณาติบาต
เป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้า ถึงที่สุด มุสวาท (การหลอกลวงคดโกง) ก็เป็นไปอย่าง กว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด (สมัยนี้ มนุษย์มีอายุขัยถอยลงมาเหลือเพียง ๔ หมื่นปี)

เพราะมุสาวาท
เป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด ปิสุณาวาท (การพูดจายุแหย่เพื่อการ แตกกันเป็นก๊ก เป็นหมู่ ทำลายความสามัคคี) ก็เป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด (สมัยนี้ มนุษย์มีอายุขัยถอยลงมา เหลือเพียง ๒ หมื่นปี)

เพราะปิสุณาวาท
เป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด กาเมสุมิจฉาจาร (การทำชู้ การละเมิด ของรัก ของบุคคลอื่น) ก็เป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด (สมัยนี้ มนุษย์ มีอายุขัย ถอย ลงมาเหลือเพียง ๑ หมื่นปี)

เพราะกาเมสุมิจฉาจาร เป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด ผรุสวาท และ สัมผัปปลาปวาท (การใช้ คำหยาบ และคำพูดเพ้อเจ้อเพื่อความสำราญ) ก็เป็นไปอย่าง กว้างขวาง แรงกล้าถึงที่สุด(สมัยนี้มนุษย์มีอายุ ขัย ถอยลงมาเหลือเพียง ๕ พันปี)

เพราะผรุสวาท
และสัมผัปปลาปวาท เป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด อภิชฌา และพยาบาท (แผนกการกอบโกย และการทำลายล้าง) ก็เป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้า ถึงที่สุด (สมัยนี้ มนุษย์มีอายุขัย ถอยลงมา เหลือเพียง ๒๕๐๐-๒๐๐๐ ปี)

เพราะอภิชฌาและพยาบาท
เป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด มิจฉาทิฏฐิ(ความเห็นผิดชนิดเห็น กงจักรเป็นดอกบัว นิยมความชั่ว) ก็เป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้า ถึงที่สุด (สมัยนี้ มนุษย์มีอายุขัยถอยลงมา เหลือเพียง ๑๐๐๐ ปี)

เพราะมิจฉาทิฏฐิ
เป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด(อกุศล) ธรรมทั้งสามคือ อธัมมราคะ (ความยินดี ที่ไม่เป็นธรรม) วิสมโลภะ (ความโลภไม่สิ้นสุด) มิจฉา-ธรรม (การประพฤติตามอำนาจกิเลส) ก็เป็นไปอย่าง กว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด(อย่างไม่แยกกัน) (สมัยนี้ มนุษย์มีอายุขัยถอยลงมาเหลือเพียง ๕๐๐ ปี)

เพราะ(อกุศล)ธรรม
ทั้งสาม...นั้นเป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด(อกุศล) ธรรมทั้งหลายคือ ไม่ ปฏิบัติอย่างถูกต้องในมารดา -บิดา -สมณะ -พราหมณ์ และ ไม่มีกุลเชฏธาปจายนธรรม (ความ อ่อนน้อมตามฐานะสูงต่ำ) ก็เป็นไปอย่างกว้างขวาง แรงกล้าถึงที่สุด. (สมัยนี้ มนุษย์มีอายุขัยถอยลงมาเหลือ เพียง ๒๕๐-๒๐๐-๑๐๐ ปี)

สมัยนั้น จักมีสมัยที่มนุษย์มีอายุขัยลดลงมาเหลือเพียง ๑๐ ปี
(จักมีลักษณะแห่งความเสื่อมเสียมีประการต่าง ๆ ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า)
- หญิงอายุ ๕ ปี ก็มีบุตร รสทั้งห้า คือเนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย และ รสเค็ม ก็ไม่ปรากฎ
- มนุษย์ทั้งหลายกินหญ้า ที่เรียกว่า กุทรุสกะ (ซึ่งนิยมแปลกันว่าหญ้ากับแก้) แทนการกินข้าว
- กุศลกรรมบถ หายไปไม่มีร่องรอย อกุศลกรรมบถรุ่งเรืองถึงที่สุดในหมู่มนุษย์ไม่มีคำพูดว่ากุศล จึงไม่มีการ ทำกุศล

- มนุษย์สมัยนั้น จักไม่ยกย่อง สรรเสริญ มัตเตยยธรรม (ความเคารพเกื้อกูลต่อมารดา) เปตเตยยธรรม (ความเคารพเกื้อกูลต่อบิดา) สามัญญธรรม (ความเคารพเกื้อกูลต่อสมณะ) พรหมัญญธรรม (ความเคารพ เกื้อกูลต่อชีพราหมณ์) และกุลเชฏฐาปจายนธรรม เหมือนอย่างท ี่มนุษย์ยกย่องกันอยู่ในสมัยนี้

- ไม่มีคำพูดว่า แม่น้าชาย น้าหญิง พ่อ อาลุง ป้า ภรรยา ของอาจารย์ และ คำพูดว่า เมียของครู- สัตว์โลก จักกระทำการ สัมเภท(สมสู่ สำส่อน) เช่นเดียวกันกับ แพะ แกะ ไก่ สุกร สุนัขสุนัขจิ้งจอก

- ความอาฆาตความพยาบาท ความคิดร้ายความคิด ฆ่าเป็นไปอย่างแรงกล้า แม้ในระหว่าง มารดากับบุตร บุตรกับมารดา บิดากับบุตร บุตรกับบิดา พี่กับน้อง น้องกับพี่ ทั้งชายและหญิง เหมือนกับที่นายพราน มีความรู้สึกต่อเนื้อทั้งหลาย.

-
ในสมัยนั้น จักมี สัตถันตรกัปป์ (การใช้ศัสตราวุธติดต่อกันไม่หยุดหย่อน) ตลอดเวลา ๗ วัน- สัตว์ทั้ง หลายเหล่านั้น จักมีความสำคัญแก่กันและกันราวกะว่าเนื้อแต่ละคนมีศัสตราวุธในมือ ปลง ชีวติ ซึ่งกันและ กันราวกะว่าฆ่าปลาฆ่าเนื้อ.

(มีมนุษย์หลายคน ไม่เข้าร่วมวงสัตถันตรกัปป์ ด้วยความกลัว หนีไปซ่อนตัวอยู่ในที่ ที่พอ จะซ่อนตัวได้ตลอด ๗ วัน แล้วกลับออกมาพบกันและกัน ยินดีสวมกอดกัน กล่าวกะกันและกัน ในที่นั้น ว่ามีโชคดีที่รอดมาได้ แล้วก็ ตกลงกันในการตั้งต้นประพฤติธรรม กันใหม่ต่อไป ชีวติมนุษย์ก็ค่อยเจริญขึ้น จาก ๑๐ ปีตามลำดับ ๆ จนถึง สมัย ๘ หมื่นปี อีกครั้งหนึ่ง จนกระทั่งเป็นสมัยแห่งศาสนา ของพระพุทธเจ้า มีพระนามว่า เมตเตยยสัมมาสัม พุทธะ).


หน้า 585
ปฏิจจสมุปบาทแห่งอารัมมณลาภนานัตตะ (การได้อารมณ์
หก)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัย ธาตุนานัตตะ (ธาตุนานาชนิด) จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง สัญญานานัตตะ (สัญญานานาชนิด)

เพราะอาศัย สัญญานานัตตะ จึงมีความเกิดขึ้นแห่งสังกัปปนานัตตะ(ความตริตึกนานาชนิด)
เพราะอาศัย สังกัปปนานัตตะ จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง ผัสสนานัตตะ(ผัสสะนานาชนิด)
เพราะอาศัย ผัสสนานัตตะ จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง เวทนานัตตะ (เวทนานานาชนิด)
เพราะอาศัย เวทนานัตตะ จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง ฉันทนานัตตะ (ความพอใจนานาชนิด)
เพราะอาศัย ฉันทนาตันนะ จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง ปริฬาหนานัตตะ (ความเร่าร้อนนานาชนิด)
เพราะอาศัย ปริฬาหนานัตตะ จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง ปริเยสนานานัตตะ (การแสวงหานานาชนิด)
เพราะอาศัย ปริเยสนานานัตตะ จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง ลาภนานัตตะ(การได้รับนานาชนิด)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธาตุนัตตะ เป็นอย่างไรเล่า? ธาตุนานัตตะคือรูปธาตุ สัททธาตุ คันธธาตุ รสธาตุ โผฏฐัพพธาตุ ธัมมธาตุ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ธาตุนานัตตะ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัย ธาตุนานัตตะ จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง สัญญานานัตตะ เพราะอาศัย สัญญานา นัตตะ จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง สังกัปปนานัตตะ...ฯลฯ... เพราะอาศัย ปริฬาหนานัตตะ จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง ปริเยส นานา นัตตะเพราะอาศัย ปริเยสนานานัตตะ จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง ลาภนานัตต ะเป็นอย่างไรเล่า?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัย รูปธาตุ จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง รูปสัญญา (สัญญาในรูป) เพราะอาศัยรูป สัญญา จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง รูปสังกัปปะ (ความตริตรึกในรูป) เพราะอาศัย รูปสัปปะ จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง รูปสัมผัสสะ (การสัมผัสซึ่งรูป)เพราะอาศัย รูปสัมผัสสะ จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง รูปสัมผัสสชาเวทนา (เวทนา ที่เกิดขึ้นจากการสัมผัสซึ่งรูป) เพราะอาศัย รูปสัมผัสสชาเวทนา จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง รูปฉันทะ

(ความพอใจในรูป)เพราะอาศัยรูปฉันทะ จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง รูปปริฬาหะ (ความเร่าร้อน เพราะรูป)เพราะ อาศัยรูปริฬาหะ จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง รูปปริเยสนา (การแสวงหาซึ่งรูป) เพราะอาศัยรูปปริเยสนา จึงมีการเกิด ขึ้นแห่งรูปลาภะ(การได้รับซึ่งรูป).

(หมวดเกี่ยวกับธาตุอื่น ๆ อีก ๕ ธาตุ สัททธาตุ คันธธาตุ รสธาตุ โผฏฐัพพธาตุ และธัมมธาตุ ก็มีการจำแนก โดยนัยะอย่างเดียวกันกับหมวดรูปธาตุ ดังที่กล่าวแล้วข้างบนนี้).

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล(ที่เรากล่าวว่า) เพราะอาศัยธาตุนานัตตะ จึงมีการเกิดขึ้น แห่ง สัญญานา นัตตะเพราะอาศัยสัญญานานานัตตะ จึงมีการเกิดขึ้น แห่งสังกัปปนานัตตะ...ฯลฯ... เพราะอาศัยปริฬาหนา นัตตะ จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง ปริเยสนานานัตตะเพราะ อาศัยปริเยส นานานัตตะ จึงมีการเกิดขึ้นแห่งลาภนา นัตตะ.


[ยังมีสูตรอีกสูตรหนึ่ง ซึ่งลักษณะอย่างเดียวกันกับสูตร ข้างบนนี้ทุกประการ ต่างแต่ตรัสไว้ โดยย่อ คือเว้น ผัสสนานัตตะ และเวทนานานัตตะ แล้วเว้นลาภนานัตตะ ซึ่งเป็นอันดับสุดท้ายเสีย คงตรัสเพียงแค่ ปริเยสนานา นัตตะ เท่านั้น (- สูตรที่ ๗ ธาตุสังยุตต์ นิทาน.สํ. ๑๖/๑๗๓/๓๔๔).]


หน้า 587
ปฏิจจสมุปบาท
แห่งการปฏิบัติผิดโดยไตรทวาร

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กามวิตก (ความครุ่นคิดในกาม) เป็นธรรมมีนิทาน (เหตุให้เกิด) ไม่ใช่เป็นธรรมไม่มี นิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้เป็นอย่างไรเล่า?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยกามธาตุ (ธาตุเป็นที่ตั้งแห่งความรู้สึกทางกาม)
จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง กามสัญญา (ความหมายมั่นในกาม)

เพราะอาศัยกามสัญญา จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง กามสังกัปปะ (ความตริตรึกในกาม)
เพราะอาศัยกามสังกัปปะ จึงมีการเกิดขึ้นแห่งกามฉันทะ (ความพอใจในกาม)

เพราะอาศัยกามฉันทะ จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง กามปริฬาหะ (ความเร่าร้อนเพื่อกาม)
เพราะอาศัยกามปริฬหะ จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง กามปริเยสนา (การแสวงหากาม).

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่มีการสดับ เมื่อแสวงหาอยู่ซึ่งกาม ย่อม ปฏิบัติผิดโดย ฐานะสาม คือ โดยกาย โดยวาจา โดยใจ.

(ข้อความต่อไปนี้ มีการตรัสถึง พยาปาทวิตก และวิหิงสาวิตก โดยนัยะอย่างเดียวกัน กับการแสดงนัยะ แห่งกามวิตกนี้).


หน้า 588
ปฏิจจสมุปบาท
แห่งกามปฏิบัติชอบโดยไตรทวาร

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เนกขัมม๒ วิตก เป็นธรรมมีนิทาน (เหตุให้เกิด) ไม่ใช่เป็นธรรมไม่มีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ เป็นอย่างไรเล่า?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เพราะอาศัยเนกขัมมธาตุ (ธาตุเป็นที่ตั้งแห่งความรู้สึกในการหลีกออกจากกาม) จึงมีการเกิดขึ้นแห่งเนกขัมมสัญญา (ความหมายมั่นในเนกขัมมะ)
เพราะอาศัยเนกขัมมสัญญา จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง เนกขัมมสังกัปปะ (ความตริตรึกในเนกขัมมะ)
เพราะอาศัยเนกขัมมสังกัปปะ จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง เนกขัมมฉันทะ (ความพอใจในเนก ขัมมะ)
เพราะอาศัยเนกขัมมฉันทะ จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง เนกขัมมปริฬาหะ (ความเร่าร้อนเพื่อเนกขัมมะ)
เพราะอาศัยเนกขัมมปริฬาหะ จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง เนกขัมมปริเยสนา (การแสวงหาซึ่งเนกขัมมะ)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้มีการสดับ เมื่อแสวงหาอยู่ซึ่งเนกขัมมะย่อม ปฏิบัติชอบ โดยฐานะสาม คือ โดยกาย โดยวาจา โดยใจ.


(ข้อความต่อไปนี้ มีการตรัสถึงอัพยาปาทวิตก และอวิหิงสาวิตก โดยนัยะอย่างเดียวกันกับ การแสดงนัยะแห่ง เนกขัมมวิตกนี้).


หน้า 589
ปฏิจจสมุปบาท
แห่ง การรบราฆ่าฟันกัน (ซึ่งน่าอัศจรรย์)

ดูก่อนอานนท์ ก็ด้วยอาการดังนี้แล (เป็นอันกล่าวได้ว่า) เพราะอาศัยเวทนา จึงมีตัณหา

เพราะอาศัยตัณหา จึงมี การแสวงหา๒ (ปริเยสนา)
เพราะอาศัยการแสวงหา จึงมีการได้ (ลาโภ)
เพราะอาศัยการได้ จึงมี ความปลงใจรัก (วินิจฺฉโย)
เพราะอาศัยความปลงใจรัก จึงมี ความกำหนัดด้วยความพอใจ (ฉนฺทราโค)
เพราะอาศัยความกำหนัดด้วยความพอใจ จึงมีความสยบมัวเมา (อชฺโฌสานํ)
เพราะอาศัยความสยบมัวเมา จึงมี ความจับอกจับใจ(ปริคฺคโห)
เพราะอาศัยความจับอกจับใจ จึงมี ความตระหนี่ (มจฺฉริยํ)
เพราะอาศัยความตระหนี่ จึงมี การหวงกั้น (อารกฺโข)
เพราะอาศัยการหวงกั้น จึงมี เรื่องราวอันเกิดจากการหวงกั้น (อารกฺขา-ธิกรณํ) กล่าวคือ การใช้อาวุธ ไม่มีคม การใช้อาวุธมีคม การทะเลาะ การแก่งแย่งการวิวาท การกล่าวคำหยาบว่า มึง มึงการพูดคำ ส่อเสียด และการพูดเท็จทั้งหลาย

ธรรมอันเป็นบาปอกุศลเป็นอเนก ย่อมเกิดขึ้นพร้อมด้วยอาการอย่างนี้(เป็นอันว่า)ข้อความเช่นนี้ เป็นข้อความ ที่เราได้กล่าวไว้แล้ว.

ดูก่อนอานนท์ ความข้อนี้ เธอต้องทราบอธิบาย โดยปริยาย ดังต่อไปนี้ ที่ตรงกับหัวข้อ ที่เรากล่าว ไว้แล้ว ว่า ธรรมเป็นบาปอกุศลเป็นเอนก กล่าวคือ การใช้อาวุธไม่มีคม การใช้อาวุธ มีคม การทะเลาะ การแก่งแย่ง การวิวาท การกล่าวคำหยาบว่ามึง มึง การพูดคำส่อเสียด และการพูดเท็จทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้นพร้อม เพราะเรื่องราวอันเกิดจากการหวงกั้นเป็นเหตุ ดังนี้

ดูก่อนอานนท์ ถ้าหากว่าการหวงกั้น จักไม่ได้มีแก่ใคร ๆ ในที่ไหน ๆ โดยทุกชนิด โดยทุกอาการ แล้วไซร้ เมื่อการหวงกั้นไม่มี เพราะความดับไปแห่งการหวงกั้น โดยประการ ทั้งปวงแล้วธรรม เป็นบาปอกุศลเป็นอเนก กล่าวคือ การใช้อาวุธไม่มีคม การใช้อาวุธมีคม การทะเลาะการแก่งแย่ง การวิวาท การกล่าวคำหยาบว่า มึง มึงการพูดคำส่อเสียด และ การพูดเท็จทั้งหลาย จะพึงเกิดขึ้นพร้อมได้ไหมหนอ? (ข้อนั้นหามิได้ พระเจ้าข้า 
ดูก่อนอานนท์ เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ นั่นแหละคือเหตุ นั่นแหละคือนิทาน นั่นแหละคือสมุทัย นั่นแหละ คือ ปัจจัย ของความเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรม เป็นบาปอกุศล เป็นอเนกเหล่านี้ กล่าว คือ การใช้อาวุธ ไม่มีคม การใช้อาวุธมีคม การทะเลาะการแก่งแย่ง การวิวาท การกล่าวคำ หยาบว่า มึง มึงการพูดคำส่อเสียด และการ พูดเท็จนั้นคือ การหวงกั้น.

ดูก่อนอานนท์ ก็คำนี้ว่า เพราะอาศัยความตระหนี่ จึงมีการหวงกั้นดังนี้ เช่นนี้แล เป็นคำ ที่เรากล่าว แล้ว. ดูก่อนอานนท์ ความข้อนี้ เธอต้องทราบอธิบายโดยปริยายดังต่อไปนี้ ที่ตรงกับหัวข้อที่เรากล่าวไว้ แล้วว่า เพราะอาศัยความตระหนี่จึงมีการหวงกั้น

ดูก่อนอานนท์ ถ้าหากว่าความตระหนี่ จักไม่ได้มีแก่ใครๆ ในที่ไหน ๆ โดยทุกชนิด โดยทุกอาการ แล้วไซร้เมื่อความตระหนี่ไม่มี เพราะความดับไปแห่งความตระหนี่ โดยประการทั้งปวงแล้วการหวงกั้น จะมีขึ้นมาให้ เห็นได้ ไหมหนอ? (ข้อนั้นหามิได้พระเจ้าข้า

ดูก่อนอานนท์ เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้นั่นแหละคือเหตุ นั้นแหละคือนิทาน นั่นแหละคือสมุทัย นั่นแหละคือ ปัจจัย ของการหวงกั้นนั้นคือ ความตระหนี่.

ดูก่อนอานนท์ ก็คำนี้ว่า เพราะอาศัยความจับอกจับใจ จึงมีความตระหนี่ดังนี้ เช่นนี้แล เป็นคำที่เรา กล่าวแล้ว. ดูก่อนอานนท์ ความข้อนี้ เธอต้องทราบอธิบายโดยปริยายดังต่อไปนี้ ที่ตรงกับหัวข้อที่เรากล่าว ไว้แล้วว่า เพราะอาศัยความจับอกจับใจ จึงมีความตระหนี่

ดูก่อนอานนท์ ถ้าหากว่าความจับอกจับใจ จักไม่ได้มีแก่ใคร ๆ ในที่ไหน ๆ โดยทุกชนิด โดยทุกอาการ แล้ว ไซร้เมื่อความจับอกจับใจไม่มี เพราะความดับไปแห่งความจับอกจับใจ โดยประการทั้งปวงแล้วความตระ หนี่ จะมีขึ้นมาให้เห็นได้ไหมหนอ? (ข้อนั้นหามิได้พระเจ้าข้า

ก่อนอานนท์เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ นั่นแหละคือเหตุ นั่นแหละคือนิทาน นั่นแหละคือสมุทัย นั่นแหละคือ ปัจจัย ของความตระหนี่นั้นคือ ความจับอกจับใจ.

ดูก่อนอานนท์ ก็คำนี้ว่า เพราะอาศัยความสยบมัวเมา จึงมีความจับอกจับใจดังนี้ เช่นนี้แล เป็นคำที่ เรากล่าวแล้ว. ดูก่อนอานนท์ ความข้อนี้เธอต้องทราบอธิบาย โดยปริยายดังต่อไปนี้ ที่ตรงกับหัวข้อที่เรากล่าว ไว้แล้วว่า เพราะอาศัยความสยบมัวเมา จึงมีความจับอกจับใจ

ดูก่อนอานนท์ ถ้าหากว่าความสยบมัวเมา จักไม่ได้มีแก่ใคร ๆ ในที่ไหน ๆ โดยทุกชนิด โดยทุกอาการแล้ว ไซร้เมื่อความสยบมัวเมาไม่มี เพราะความดับไปแห่ง ความสยบมัวเมา โดยประการทั้งปวง แล้วความจับอก จับใจ จะมีขึ้นมาให้เห็นได้ไหมหนอ? (ข้อนั้นหามิได้พระเจ้าข้า)

ดูก่อนอานนท์ เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ นั่นแหละคือเหตุ นั่นแหละคือนิทาน นั่นแหละคือสมุทัย นั่นแหละคือ ปัจจัย ของความจับอกจับใจนั้นคือ ความสยบมัวเมา.

ดูก่อนอานนท์ ก็คำนี้ว่า เพราะอาศัยความกำหนัดด้วยความพอใจจึงมีความสยบมัวเมาดังนี้ เช่นนี้ แล เป็นคำที่เรากล่าวแล้ว. ดูก่อนอานนท์ความข้อนี้ เธอต้องทราบอธิบาย โดย ปริยายดังต่อไปนี้ ที่ตรงกับหัว ข้อที่เรากล่าวไว้แล้ว่าเพราะอาศัยความกำหนด ด้วยความพอใจ จึงมีความสยบมัวเมา

ดูก่อนอานนท์ถ้าหากว่าความกำหนัดด้วยความพอใจ จักไม่ได้มีแก่ใคร ๆ ในที่ไหน ๆ โดย ทุกชนิดโดยทุก อาการ แล้วไซร้เมื่อความกำหนัดด้วยความพอใจไม่มี เพราะความดับไปแห่ง ความกำหนัดด้วยความพอใจ โดยประการทั้งปวงแล้วความสยบมัวเมา จะมีขึ้นมาให้เห็นได้ ไหมหนอ? (ข้อนั้นหามิได้พระเจ้าข้า

ดูก่อนอานนท์ เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ นั่นแหละคือเหตุ นั่นแหละคือนิทาน นั่นแหละคือสมุทัย นั่นแหละคือ ปัจจัยของความสยบมัวเมานั้นคือ ความกำหนัดด้วยความพอใจ.

ดูก่อนอานนท์ ก็คำนี้ว่า เพราะอาศัยความปลงใจรัก จึงมีความกำหนัด ด้วยความพอใจดังนี้เช่นนี้ แล เป็นคำที่เรากล่าวแล้ว. ดูก่อนอานนท์ความข้อนี้ เธอต้องทราบอธิบายโดย ปริยายดังต่อไปนี้ ที่ตรงกับหัว ข้อที่เรากล่าวไว้แล้วว่า

เพราะอาศัยความปลงใจรัก จึงมีความกำหนัดด้วยความพอใจ ดูก่อนอานนท์ถ้าหากว่า ความปลงใจรัก จักไม่ได้มีแก่ใคร ๆ ในที่ไหน ๆ โดยทุกชนิด โดยทุกอาการแล้วไซร้ เมื่อความปลงใจรักไม่มี เพราะความดับ ไปแห่งความปลงใจรัก โดยประการทั้งปวง แล้วความกำหนัดด้วยความพอใจ จะมีขึ้นมาให้เห็นได้ไหมหนอ? (ข้อนั้นหามิได้พระเจ้าข้า

ดูก่อนอานนท์ เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ นั่นแหละคือ เหตุนั่นแหละคือนิทาน นั่นแหละคือสมุทัย นั่นแหละคือ ปัจจัย ของความกำหนัดด้วยความพอใจ นั้นคือ ความปลงใจรัก

ดูก่อนอานนท์ ก็คำนี้ว่า เพราะอาศัยการได้ จึงมีความปลงใจรักดังนี้ เช่นนี้แล เป็นคำที่เรากล่าวแล้ว. ดูก่อนอานนท์ ความข้อนี้ เธอต้องทราบอธิบายโดยปริยายดังต่อไปนี้ ที่ตรงกับหัวข้อที่เรากล่าวไว้แล้วว่า เพราะอาศัยการได้จึงมีความปลงใจรัก

ดูก่อนอานนท์ ถ้าหากว่าการได้ จักไม่ได้มีแก่ใคร ๆ ในที่ไหน ๆ โดยทุกชนิด โดยทุกอาการ แล้วไซร้ เมื่อการได้ไม่มี เพราะความดับไปแห่งการได้ โดยประการทั้งปวงแล้วความปลงใจรัก จะมีขึ้นมาให้เห็นได้ ไหมหนอ? (ข้อนั้นหามิได้พระเจ้าข้า

ดูก่อนอานนท์ เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ นั่นแหละคือเหตุ นั่นแหละคือนิทาน นั่นแหละคือสมุทัย นั่นแหละ คือปัจจัย ของความปลงใจรักนั้นคือการได้ ดูก่อนอานนท์ ก็คำนี้ว่า เพราะอาศัย การแสวงหา จึงมีการได้ ดังนี้เช่นนี้แล เป็นคำที่เรากล่าวแล้ว.

ดูก่อนอานนท์ ความข้อนี้ เธอต้องทราบอธิบายโดยปริยายดังต่อไปนี้ ที่ตรงกับหัวข้อที่เรา กล่าวไว้แล้วว่า เพราะอาศัยการแสวงหา จึงมีการได้

ดูก่อนอานนท์ ถ้าหากว่าการแสวงหา จักไม่ได้มีแก่ใคร ๆ ในที่ไหน ๆโดยทุกชนิด โดยทุก อาการ แล้วไซร้ เมื่อความปลงใจรักไม่มี เพราะความดับไปแห่ง การแสวงหา โดยประการ ทั้งปวงแล้วการได้จะมีขึ้นมา ให้ได้ ไหมหนอ? (ข้อนั้นหามิได้พระเจ้าข้า

ดูก่อนอานนท์ เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ นั่นแหละคือเหตุนั่นแหละ คือนิทาน นั่นแหละคือสมุทัย นั่นแหละคือ ปัจจัย ของการได้นั้นคือการแสวงหา.

ดูก่อนอานนท์ ก็คำนี้ว่า เพราะอาศัยตัณหา จึงมีการแสวงหาดังนี้เช่นนี้แล เป็นคำที่เรากล่าวแล้ว.

ดูก่อนอานนท์ ความข้อนี้ เธอต้องทราบอธิบาย โดยปริยายดังต่อไปนี้ ที่ตรงกับหัวข้อที่เรา กล่าวไว้แล้วว่า เพราะอาศัยตัณหา จึงมีการ แสวง

ดูก่อนอานนท์ ถ้าหากว่าตัณหา จักไม่ได้มีแก่ใคร ๆ ในที่ไหนๆโดยทุกชนิด โดยทุกอาการ กล่าวคือ กามตัณ หา ภวตัณหา วิภวตัณหา แล้วไซร้เมื่อตัณหาไม่มี เพราะความดับไป แห่งตัณหา โดยประการทั้งปวงแล้ว การแสวงหา จะมีขึ้นมาให้เห็นได้ไหมหนอ? (ข้อนั้นหามิได้พระเจ้าข้า

ดูก่อนอานนท์ เพราะเหตุนั้น ใน เรื่องนี้ นั่นแหละคือเหตุ นั่นแหละคือนิทาน นั่นแหละคือสมุทัย นั่นแหละคื อปัจจัย ของการแสวงหานั้นคือ ตัณหา.

………………………………………………………………………………………………………
หมายเหตุผู้รวบรวม ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า ข้อความข้างบนนี้มีลักษณะ เป็นอิทัปปัจจยตา กล่าวคือ เป็นปฏิจจสมุปบาท อย่างเต็มตัว ตั้งต้นที่เวทนาอันทำให้มีตัณหา การแสวงหา การได้ การปลงใจรัก การกำหนัดพอใจ การสยับมัวเมาการจับอกจับใจ การตระหนี่ การหวงกั้น และเรื่องราวอันเกิดจากการหวง กั้นรวมเป็น๑๑ อย่าง และเป็น ๑๒ อย่างทั้งผล ของมัน กล่าวคือการทะเลาะวิวาท. ปฏิจจสมุปบาทสายนี้ เป็นส่วนหนึ่งของ ปฏิจจสมุปบาท สายปรกติ คือแทรกอยู่ตรงที่เวทนา ให้เกิดตัณหานั่นเอง.

การที่ยกมาแสดง ให้เห็นชัดในตอนนี้ ก็เพื่อจะให้ผู้ศึกษาเข้าใจความหมายอันกว้างขวาง ของคำว่า ปฏิจจสมุปบาท ในทุกแง่ ทุกมุม อันจะเป็นเหตุให้เข้าใจปฏิจจสมุปบาท สายปรกติได้ดีขึ้น ว่าคำว่า ปฏิจจสมุปบาทนี้ มีขอบเขตแห่ง ความหมายเพียงไหน. ขอให้เปรียบเทียบดูกันกับปฏิจจสมุปบาทในรูปอื่น อีกทุกแบบด้วย เสมอไป. ที่สำคัญที่ สุดก็คือ เรื่องนี้จะแสดงให้เห็นว่า พุทธศาสนาได้ชี้ให้เห็นมูลเหตุ แห่งการทะเลาะวิวาท การรบราฆ่าฟัน กระทั่งถึงการทำสงคราม มหาสงคราม ของโลก ไว้อย่างชัดแจ้งแล้ว ทั้งโดยส่วนปัจเจกชน และโดยหมู่คณะ หรือสังคมใหญ่ ๆ ในโลกนี้ ในแง่ของจิตตวิทยาที่เป็นสัจจธรรม.



หน้า 595
ปฏิจจสมุปบาท แห่งกลวิวาทนิโรธ

(ข้อความเหล่านี้ แปลมาตามรูปคาถา บรรทัดต่อบรรทัด และในการอ่าน ต้องอ่านคำถาม ให้จบตอน เสียก่อน แล้วจึงอ่านซีกคำตอบ แล้วจึงเหลือบดูอย่างเทียบกันเป็นคู่ ๆ อีกครั้ง -ผู้รวบรวม)


1
(คำถาม)
(๑) การทะเลาะวิวาท มีขึ้นมาจากเหตุอะไร?
แม้กระทั่งความร่ำไรรำพัน เศร้าโศก ความตระหนี่ ความถือตัว ความดูหมิ่นผู้อื่น และการยุให้แตกกันนี้ด้วย ขอจงตรัสบอก ว่าสิ่งเหล่านี้ มีขึ้นมาจากเหตุอะไร?

(คำตอบ)
(๒) การทะเลาะวิวาท มีขึ้นมาจากสิ่ง เป็นที่รัก
แม้กระทั่งความร่ำไรรำพัน เศร้าโศก และความตระหนี่
ความถือตัว ความดูหมิ่นผู้อื่น การยุให้แตกกัน
ก็เช่น เดียวกันรวมทั้งการยุให้แตกกัน
ซึ่งเกิดมาจากการทะเลาะวิวาทนั้น.

..................................................................................................................................................................................
2
(คำถาม)
(๒) สิ่งเป็นที่รักเล่ามีอะไรเป็นแดนเกิดในโลกนี้?
ซึ่งเป็นเหตุให้พวกคนโลภ ท่องเที่ยวไป ในโลก
ความหวัง และสมหวังเล่า มีอะไรเป็นแดนเกิด?
ซึ่งทำให้คนสามัญ เขาหวังกันเพื่อสัมปรายภพ?

(คำตอบ)
(๒) สิ่งเป็นที่รัก ในโลกนี้ มีฉันทะ เป็นแดนเกิด
ซึ่งเป็นเหตุให้พวกคนโลภ ท่องเที่ยวไป ในโลก
ความหวัง และสมหวัง มีฉันทะนี้เอง เป็นแดนเกิด
ซึ่งทำให้คนสามัญ เขาหวังกัน เพื่อสัมปรายภพ.


..................................................................................................................................................................................
3
(คำถาม)
(๓) ฉันทะเล่า ในโลกนี้ มีอะไรเป็นแดนเกิด?
หรือว่า ความตกลงใจต่าง ๆ มีขึ้นมาจากเหตุอะไร?
รวมทั้งความโกรธ การพูดเท็จ และความสงสัย-
ซึ่งล้วนแต่เป็นสิ่ง ที่สมณะกล่าวถึงกันอยู่ ด้วย?

(คำตอบ)
ความยินดี ความไม่ยินดี ที่กล่าวกันอยู่ในโลกนั่นแหละ
ฉันทะ ย่อมมีขึ้นมา เพราะอาศัยซึ่ง สิ่งทั้งสอง นั้น
เพราะเห็นความฉิบหายความเจริญ กันที่วัตถุธรรมทั้งหลาย
สัตว์โลก จึงทำความตกลงใจต่าง ๆ (ไปตามนั้น)
แม้ความโกรธ การพูดเท็จ และความสงสัยเหล่านี้ ก็จักมี
ในเมื่อความยินดี ความไม่ยินดี ทั้งสองอย่างนั้น มีอยู่
ซึ่งผู้สงสัยอยากรู้ พึงศึกษา เพื่อนำไปสู่ญาณ
ให้รู้ซึ่งสิ่งเหล่านั้น อันสมณะกล่าวถึง กันอยู่.


..................................................................................................................................................................................
4
(คำถาม)
(๔) ความยินดีและไม่ยินดี มีอะไรเป็นแดนเกิด?
เมื่ออะไรไม่มี สิ่งทั้งสองนั้น จึงไม่มี?
แม้ความรู้สึกว่าความฉิบหายและเจริญ นั้นเล่า
ขอจงตรัสบอก ว่าสิ่งทั้งสองนั้น มีอะไรเป็นแดนเกิด?

(คำตอบ)
ความยินดีและความไม่ยินดี มีผัสสะเป็นแดนเกิด
เมื่อผัสสะ ไม่มี สิ่งทั้งสองนั้นก็ไม่มี. แม้ความรู้สึกว่า
ความฉิบหาย และความเจริญนั้นเล่า
เราบอกท่านว่า มีผัสสะนี้เอง เป็นแดนเกิด.


..................................................................................................................................................................................
5
(คำถาม)
(๕) ผัสสะเล่า ในโลกนี้ มีอะไรเป็นแดนเกิด?
แม้ความคิดยึดครองก็ตาม มีขึ้นมาแต่เหตุอะไร?
เมื่ออะไรไม่มี ความยึดถือว่าของเรา จึงไม่มี?
เมื่ออะไรไม่มี ผัสสะจึงจะไม่เกิดการกระทบ?

(คำตอบ)
ผัสสะ ในโลกนี้ ย่อมเกิด เพราะอาศัยซึ่งนามและรูป
ความคิดยึดครองทั้งหลาย มีความอยากเป็นแดนเกิด
เมื่อความอยากไม่มี ความยืดถือว่าของเรา ก็ไม่มี
เมื่อรูปธรรมไม่มี ผัสสะก็จะไม่เกิดการกระทบ.


..................................................................................................................................................................................
6
(คำถาม)
(๖) รูปจะไม่มี เมื่อดำรงอัตตภาพไว้ อย่างไร?
สุขหรือทุกข์ก็ตาม จะไม่มีได้อย่างไร?
ขอจงตรัสบอกโดยประการที่สิ่งนั้นจะไม่มี
ใจของข้าพระองค์ หวังอยู่ว่าจักได้ทราบซึ่งข้อนั้น.

(คำตอบ)
ไม่เป็นผู้ สัญญสัญญี ๑ไม่เป็น ผู้วิสัญญสัญญี ๒
ไม่เป็น ผู้อสัญญี๓ ไม่เป็น ผู้วิภูตสัญญี๔
ดำรงอัตตภาพอยู่ในสถานะอย่างนี้ รูปจึงไม่มี
เพราะว่าปปัญจสังขา๕ มีสัญญา เป็นแดนเกิด.


..................................................................................................................................................................................
7
(คำถาม)
(๗) ทูลถามข้อใด ได้ทรงอธิบายข้อนั้นแล้ว
ขอทูลถามข้ออื่นอีก ขอจงบอก ซึ่งข้อนั้น
พวกบัณฑิตที่กล่าวความบริสุทธิ์ของคนในโลก
พวกหนึ่งกล่าวความบริสุทธิ์ว่าสูงสุดเพียงเท่านั้น๖
หรือว่ายังมีพวกที่กล่าวสิ่งอื่น ที่สูงสุดกว่าสิ่งนั้น?

(คำตอบ)
แม้พวกหนึ่งกล่าวความบริสุทธิ์ ว่าสูงสุดเพียงเท่านั้น
อ้างตนเป็นบัณฑิต กล่าวความบริสุทธิ์ของคนในโลกอยู่
แต่ก็ยังมีอีกพวกหนึ่ง กล่าวลัทธิสมัยแห่งตน
เป็นพวกฉลาดพูดกล่าวถึงชั้น อนุปาทิเสส
ส่วนมุนี รู้จักทั้งสองพวกนั้น ว่ายังถูกทิฏฐิอาศัยอยู่
พิจารณาเห็นอยู่ว่า มีนิสัยของทิฏฐิอาศัยทั้งสองพวก.
มุนีรู้เช่นนั้นแล้ว จึงหลุดพ้นไม่ถึงซึ่งการวิวาท
เป็นปราชญ์ ไม่ไปสู่ความมีและความไม่มี อีกต่อไป

..................................................................................................................................................................................

๑. ไม่ใช่ผู้มีสัญญาด้วยสัญญาปรกติ.
๒. ไม่ใช่ผู้มีสัญญา ด้วยสัญญาวิปริต (คือไม่ใช่เมาหรือบ้า ฯลฯ).
๓. ไม่ใช่ผู้ไม่มีสัญญา (คือไม่ใช่อยู่ในนิโรธสมาบัติหรืออสัญญีสัตว์).
๔. ไม่ใช่ ผู้ปราศจากสัญญา (คือไม่ใช่กำลังอยู่ในอรูปฌาน).
๕. ปปัญจสังขา คือธรรมเป็นเหตุให้เนิ่นช้าแก่การหลุดพ้น ได้แก่ ตัณหา มานะ ทิฎฐิ.
๖. พวกนี้ถือว่า ความบริสุทธิ์ของบุคคลชั้นเลิศ สูงสุดอยู่ที่ความไม่มีรูป ของผู้ที่ไม่ประกอบอยู่ด้วยสัญญา ๔ ประการ ดังที่กล่าวแล้ว ในคำตรัสตอบ ตอนที่ (๖) ข้างบน.
๗. อนุปาทิเสสในที่นี้ ได้ใส่เครื่องหมายอัญ ประกาศไว้ เพราะเป็นเรื่องของอุจเฉททิฎฐิ กล่าวคือความ ที่ตายแล้วขาดสูญไม่มีอะไร โดยประการทั้งปวง อันเป็นผลของอุจเฉททิฏฐิ นั่นเอง.


หมายเหตุผู้รวบรวม ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า การทะเลาะวิวาทนั้น จะสิ้นสุดลงโดยสิ้นเชิงไม่ได้ ตลอด เวลาที่ยังไม่หลุดพ้นเป็นพระอรหันต์ เพราะยังมีรูปและอรูป อันเป็นที่ตั้งของสัญญาที่เป็นแดนเกิดของ ปปัญจสังขา กล่าวคือ ยังไม่บรรลุความเป็นพระอรหันต์นั่นเอง. พระบาลีนี้ แสดงไว้ในลักษณะของปฏิจจ สมุปบาท อย่างน่าสนใจยิ่ง.

หน้า 598
ปฏิจจสมุปบาท แห่งการอยู่อย่างมี เพื่อนสอง

พระมิคชาละ ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้มีการ อยู่ อย่างมีเพื่อนสอง พระเจ้าข้า?.

ดูก่อนมิคชาละ รูปทั้งหลายอันจะพึงเห็นได้ด้วยจักษุ เป็นรูปที่น่าปรารถนาน่ารักใคร่ น่าพอใจ มีรูปน่ารัก เป็นที่ เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดย้อมใจ มีอยู่ ถ้าหากว่าภิกษุย่อมเพลิดเพลินพร่ำ สรรเสริญ สยบมัวเมาซึ่งรูปนั้นไซร้ แก่ภิกษุผู้เพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญสยบมัวเมา ซึ่งรูปนั้นอยู่นั่นแหละ นันทิ (ความเพลิดเพลิน) ย่อมเกิดขึ้น เมื่อนันทิ มีอยู่ สาราคะ (ความกำหนัดกล้า) ย่อมมีเมื่อ สาราคะ มีอยู่ สัญโญคะ (ความผูกจิตติดกับอารมณ์) ย่อมมี

ดูก่อนมิคชาละ ภิกษุผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยการผูกจิตติดกับอารมณ์-ด้วยอำนาจ แห่งความเพลิน นั่นแล เราเรียกว่า ผู้มีการอยู่อย่างมีเพื่อนสอง.


(ในกรณีแห่งเสียงทั้งหลาย อันจะพึงได้ยินด้วยหูก็ดี กลิ่นทั้งหลาย อันจะพึงดมด้วยจมูกก็ดี รสทั้งหลายอันจะ พึงลิ้มด้วยลิ้นก็ดี โผฏฐัพพะทั้งหลาย อันจะพึงสัมผัสด้วยผิวกายก็ดี และธัมมารมณ์ทั้งหลายอันจะพึงรู้แจ้ง ด้วยใจก็ดี พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสไว้ มีนัยอย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งรูปทั้งหลาย อันจะพึงเห็นได้ด้วย จักษุ).

ดูก่อนมิคชาละ ภิกษุผู้มีการอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ แม้จะส้องเสพเสนาสนะ อันเป็นป่าและป่าชัฏ ซึ่งเงียบสงัด มีเสียงรบกวนน้อย มีเสียงกึกก้องครึกโครมน้อย ปราศจากลมจากผิวกายคน เป็นที่ทำการลับของมนุษย์ เป็นที่ สมควรแก่การหลีกเร้น เช่นนี้แล้วก็ตาม ถึงกระนั้น ภิกษุนั้นเราก็ยังคงเรียกว่า ผู้มีการอยู่อย่างมีเพื่อนสองอยู่ นั่นเอง ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า? ข้อนั้นเพราะเหตุว่า ตัณหานั่นแล เป็นเพื่อนสองของภิกษุนั้น ตัณหานั้น อันภิกษุนั้นยังละไม่ได้แล้ว เพราะเหตุนั้น ภิกษุนั้นเราจึงเรียกว่าผู้มีการอยู่อย่างมีเพื่อนสอง ดังนี้

หมายเหตุผู้รวบรวม ผู้ศึกษ าพึงสังเกตให้เห็นว่า พ ระพุทธภาษิตนี้แสดงให้เห็นความหมาย และความ แตกต่างของภาษาคน และภาษาธรรม. เพื่อนสองในภาษาธรรม หมายถึงตัณหา ที่กำ ลังเกิดอยู่ในอารามนั้น ๆ เป็นเพื่อนสองที่มีความรุนแรงมากกว่าเพื่อนสอง ในภาษาคน เพราะว่าเข้าไปอยู่ถึงภายในจิต


หน้า 599

ปฏิจจสมุปบาท
แห่งการอยู่อย่างมี เพื่อนคนเดียว

พระมิคชาละได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ แลภิกษุจึง ชื่อว่าเป็นผู้มีการอยู่อย่างผู้เดียวพระเจ้าข้า?.

ดูก่อนมิคชาละ รูปทั้งหลายอันจะพึงเห็นได้ด้วยจักษุ เป็นรูปที่น่าปรารถนาน่ารักใคร่ น่าพอใจ มีรูปน่ารัก เป็นที่ เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดย้อมใจ มีอยู่ถ้าหากว่าภิกษุย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่สยบ มัวเมา ซึ่งรูปนั้นไซร้ แก่ภิกษุผู้ไม่เพลิด เพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่สยบมัวเมา ซึ่งรูป นั้นอยู่นั่นแหละนันทิ ย่อมดับเมื่อนันทิ ไม่มีอยู่ สาราคะ (ความกำหนัดกล้า) ย่อมไม่มีเมื่อสาราคะ ไม่มีอยู่ สัญโญคะ (ความผูกจิตติดกับอารมณ์) ย่อมไม่มี

ดูก่อนมิคชาละ ภิกษุผู้ไม่ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยการผูกจิตติดกับอารมณ์ ด้วยอำนาจแห่ง ความเพลิดเพลิน นั่นแล เราเรียกว่า ผู้มีการอยู่อย่างอยู่ผู้เดียว.


(ในกรณีแห่งเสียงทั้งหลายอันจะพึงได้ยินด้วยหูก็ดี กลิ่นทั้งหลาย อันจะพึงดมด้วยจมูกก็ดี รสทั้งหลายอันจะ พึงลิ้มด้วยลิ้นก็ดี โผฏฐัพพะทั้งหลาย อันจะพึงสัมผัสด้วยผิวกายก็ดี และธัมมารมณ์ทั้งหลายอันจะพึงรู้แจ้ง ด้วยใจก็ดี พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ มีนัยอย่างเดียวกันกับ ในกรณีแห่งรูปทั้งหลายอันจะพึง เห็นได้ด้วย จักษุ).

ดูก่อนมิคชาละ ภิกษุผู้มีการ อยู่ด้วยอาการอย่างนี้ แม้อยู่ในหมู่บ้าน อันเกลื่อนกล่นไปด้วยภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย ด้วยพระราชามหาอำมาตย์ ของพระราชาทั้งหลาย ด้วยเดียรถีย์ สาวกของ เดียรถีย์ทั้งหลาย ก็ตามถึงกระนั้น ภิกษุนั้นเราก็เรียกว่า ผู้มีการอยู่ อย่างอยู่ผู้เดียวโดยแท้.

ข้อนั้นเพราะเหตุ ไรเล่า? ข้อนั้นเพราะเหตุว่าตัณหานั่นแล เป็นเพื่อนสองของภิกษุนั้น ตัณหานั้น อันภิกษุนั้น ละเสียได้แล้ว เพราะเหตุนั้น ภิกษุนั้นเราจึงเรียกว่า ผู้มีการอยู่ อย่างอยู่ผู้เดียว ดังนี้ แล.



หน้า 600
ปฏิจจสมุปบาท แห่ง การอยู่ด้วยความประมาท

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงซึ่งอาการของภิกษุ ผู้มีปรกติอยู่ด้วยความประมาท และของภิกษุผู้มีปรกติอยู่ ด้วยความไม่ประมาท แก่พวกเธอทั้งหลาย. พวกเธอทั้งหลาย จงฟังซึ่งความข้อนั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีปรกติอยู่ด้วยความประมาท เป็นอย่างไรเล่า?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไม่สำรวมระวัง ซึ่งอินทรีย์คือตาอยู่ จิตย่อมเกลือกกลั้ว ในรูปทั้งหลาย อันเป็น วิสัยแห่งการรู้สึกด้วยตา

เมื่อภิกษุนั้นมีจิตเกลือกกลั้วแล้ว ปราโมทย์ ย่อมไม่มี
เมื่อ ปราโมทย์ ไม่มี ปีติ ก็ไม่มี
เมื่อ ปีติ ไม่มี ปัสสัทธิ ก็ไม่มี
เมื่อ ปัสสัทธิ ไม่มี ภิกษุนั้นย่อม อยู่เป็นทุกข์
เมื่อ มีทุกข์ จิตย่อมไม่ตั้งมั่น
เมื่อ จิตไม่ตั้งมั่น ธรรม ทั้งหลายย่อม ไม่ปรากฏ
เพราะธรรมทั้งหลายไม่ปรากฏ ภิกษุนั้นย่อมถึงซึ่งการถูกนับว่า เป็นผู้มีปรกติอยู่ด้วยความประมาท โดยแท้.

(ในกรณีแห่งอินทรีย์ คือ หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ก็มีนัยะอย่างเดียวกัน)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้มีปรกติอยู่ด้วยความประมาท.
(ในกรณีแห่งภิกษุผู้มี ปรกติอยู่ด้วยความไม่ประมาท ได้ทรงแสดงไว้โดย ปฏิปักขนัยผู้ศึกษา พึง เทียบเคียงเอาเอง).

หมายเหตุผู้รวบรวม
ผู้ศึกษาพึงสังเกตุให้เห็นว่า สูตรนี้ เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่า สิ่งที่เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาทนั้น มีอยู่ในรูปต่าง ๆ กัน ไม่จำเป็นจะต้องขึ้นต้นด้วยคำว่า อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา ...ฯลฯ...เสมอไป.



หน้า 601
ปฏิจจสมุปบาท
แห่ง ปปัญจสัญญาสังขาสมุทาจรณะ

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะอาศัย ตา ด้วย รูป ทั้งหลายด้วย จึงเกิดจักขุวิญญาณการประจวบพร้อม แห่งธรรมสามประการ (ตา + รูป + จักขุวิญญาณ)นั่นคือ ผัสสะเพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา บุคคลเสวยซึ่งเวทนาใดย่อม รู้สึก (สัญญา) ซึ่งเวทนานั้น บุคคลรู้สึกซึ่งเวทนาใดย่อม ตริตรึก (วิตก) อยู่กะเวทนานั้น บุคคลตริตรึก อยู่กะเวทนาใด ย่อมประพฤติซึ่งความเนิ่นช้า(ปปัญจะ) อยู่กะเวทนานั้น บุคคลประพฤติ ซึ่งความเนิ่นช้าอยู่กะเวทนาใด สัญญา(กล่าวคืออนุสัย) ชนิดต่าง อันเป็นเครื่องทำ ความเนิ่นช้า (ปปัญจสัญญาสังขา) ย่อมกลุ้มรุมซึ่งบุรุษนั้น โดยมีเวทนานั้นเป็นเหตุ ในรูปทั้งหลาย อันจะพึงรู้แจ้งได้ด้วยตาทั้งที่เป็นอดีตอนาคตและปัจจุบัน.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะอาศัยหู ด้วย เสียง ทั้งหลายด้วย จึงเกิด โสตวิญญาณ การประจวบ พร้อมแห่งธรรมสามประการ (หู+เสียง+โสตวิญญาณ)นั่นคือ ผัสสะ...ฯลฯ... ...ฯลฯ... ในเสียงทั้งหลาย อันจะพึงรู้แจ้งได้ด้วยหูทั้งที่เป็นอดีตอนาคตและปัจจุบัน.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะอาศัยจมูก ด้วย กลิ่น ทั้งหลายด้วย จึงเกิด ฆานวิญญาณการประจวบ พร้อมแห่งธรรมสามประการ (จมูก+กลิ่น+ฆานวิญญาณ)นั่นคือ ผัสสะ...ฯลฯ... ...ฯลฯ... ในกลิ่นทั้งหลาย อันจะพึงรู้แจ้งได้ด้วยจมูกทั้งที่เป็นอดีตอนาคตและปัจจุบัน.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะอาศัยลิ้น ด้วย รส ทั้งหลายด้วย จึงเกิดชิวหาวิญญาณการประจวบ พร้อมแห่งธรรมสามประการ (ลิ้น+รส+ชิวหาวิญญาณ)นั่นคือผัส ...ฯลฯ... ...ฯลฯ... ในรสทั้งหลาย อันจะพึงรู้แจ้งได้ด้วยลิ้นทั้งที่เป็นอดีตอนาคตและปัจจุบัน.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะอาศัยกาย ด้วยโผฏฐัพพะ ทั้งหลายด้วยจึงเกิด กายวิญญาณการประจวบ พร้อมแห่งธรรมสามประการ(กาย+โผฏฐัพพะ+กายวิญ ญ าณ ) นั่นคือผัสส ..ฯลฯ... ...ฯลฯ... ในโผฏ ฐัพ พ ะทั้งหลายอันจะพึงรู้แจ้งได้ด้วยกาย ทั้งที่เป็นอดีตอนาคตและปัจจุบัน.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะอาศัย ใจ ด้วย ธัมมารมณ์ ทั้งหลายด้วยจึงเกิด มโนวิญญาณการประจวบ พร้อมแห่งธรรมสามประการ (ใจ+ธัมมารมณ์+มโนวิญญาณ) นั่นคือผัสสะ

เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนาบุคคลเสวยซึ่งเวทนาใด ย่อมรู้สึก(สัญญา) ซึ่งเวทนานั้นบุคคล รู้สึกซึ่งเวทนาใด ย่อมตริตรึก(วิตก) อยู่กะเวทนานั้นบุคคลตริตรึก อยู่กะเวทนาใด ย่อมประพฤติซึ่งความ เนิ่นช้า(ปปัญจะ) อยู่กะเวทนานั้น

บุคคลประพฤติซึ่งความเนิ่นช้าอยู่กะเวทนาใดสัญญา (กล่าวคืออนุสัย) ชนิดต่าง อันเป็นเครื่องทำ ความเนิ่นช้า (ปปัญจสัญญา-สังขา) ย่อมกลุ้มรุมซึ่งบุรุษนั้น โดยมีเวทนานั้นเป็นเหตุ ในธัมมารมณ์ ทั้งหลาย อันจะพึงรู้แจ้งได้ด้วยใจ ทั้งที่เป็นอดีตอนาคตและปัจจุบัน.
---- ---- ---- ----
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุรุษนั้นหนอ เมื่อตามีอยู่ เมื่อรูปมีอยู่เมื่อจักขุวิญญาณมีอยู่เขาก็จัก บัญญัติ ซึ่ง ผัสสบัญญัติ ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้
เมื่อการบัญญัติซึ่งผัสสะมีอยู่ เขาก็จักบัญญัติซึ่ง เวทนา บัญญัติ ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้
เมื่อการบัญญัติซึ่งเวทนามีอยู่ เขาก็จักบัญญัติซึ่ง สัญญาบัญญัติ ข้อนี้ เป็นฐานะ ที่มีได้
เมื่อการบัญญัติซึ่งสัญญามีอยู่ เขาก็จักบัญญัติซึ่ง วิตกบัญญัติ ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้
เมื่อการบัญญัิ ซึ่งวิตกมีอยู่ เขาก็จักบัญญัติซึ่ง ปปัญจสัญญาสังขาสมุทาจรณบัญญัติ
ข้อนี้เป็นฐานะที่ มีได้

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุรุษนั้นหนอ เมื่อหูมีอยู่ เมื่อเสียงมีอยู่เมื่อโสตวิญญาณมีอยู่ เขาจักบัญญัติ ซึ่งผัสสบัญญัติ ...ฯลฯ... ...ฯลฯ... ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุรุษนั้นหนอ เมื่อจมูกมีอยู่ เมื่อกลิ่นมีอยู่เมื่อฆานวิญญาณมีอยู่ เขาจักบัญญัติ ซึ่งผัสสบัญญัติ ...ฯลฯ... ...ฯลฯ... ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุรุษนั้นหนอ เมื่อลิ้นมีอยู่ เมื่อรสมีอยู่เมื่อชิวหาวิญญาณ มีอยู่ เขาจักบัญญติ ซึ่ง ผัสสบัญญติ ...ฯลฯ... ...ฯลฯ...ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อกายมีอยู่ เมื่อโผฏฐัพพะมีอยู่ เมื่อกาย-วิญญาณ มีอยู่เขาจัก บัญญติ ซึ่ง ผัสสบัญญติ ...ฯลฯ... ...ฯล ฯ...ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุรุษนั้นหนอ
เมื่อใจมีอยู่ เมื่อธัมมารมณ์มีอยู่ เมื่อมโนวิญญาณมีอยู่เขาก็จัก บัญญัติซึ่ง ผัสสบัญญัติ ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้
เมื่อการบัญญัติซึ่งผัสสะมีอยู่ เขาก็จัก บัญญัติซึ่ง เวทนา บัญญัติ ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้
เมื่อการบัญญัติซึ่งเวทนามีอยู่ เขาก็จักบัญญัติซึ่ง สัญญาบัญญัติ ข้อนี้เป็น ฐานะที่มีได้
เมื่อการบัญญัติซึ่งสัญญามีอยู่ เขาก็จักบัญญัติซึ่ง วิตกบัญญัติ ข้อนี้เป็น ฐานะที่มีได้
เมื่อการ บัญญัติซึ่งวิตกมีอยู่ เขาก็จักบัญญัติซึ่ง ปปัญจสัญญาสังขาสมุทาจรณบัญญัติ ข้อนี้ เป็นฐานะที่มีได้



หน้า 604
ปฏิจจสมุปบาทแห่งปปัญจสัญญา อันทำความเนิ่นช้า แก่การละอนุสัย


(เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเล่าเรื่องการสนทนากับทัณฑปาณิศากยะจบลงแล้ว ภิกษุรูปหนึ่ง ได้ทูลถามขึ้นว่า )

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาค ทรงมีปรกติตรัสอย่างไร จึงไม่โต้เถียงกับผู้ใดผู้หนึ่ง ในโลกพร้อม ทั้งเทวโลกมารโลก พรหมโลกในหมู่สัตว์พร้อม ทั้งสมณพราหมณ์พร้อมทั้งเทวดา และมนุษย์ ดำรงอยู่ในโลกอนึ่งจะเป็นไปได้โดย วิธีใด ที่สัญญาทั้งหลาย จะไม่นอนตาม ซึ่งบุคคลผู้เป็นพราหมณ์ ผู้ปราศจากกาม ทั้งหลายอยู่ ผู้หมดความสงสัย อันเป็นเหตุให้ถามว่าอะไรเป็นอย่างไร ผู้มีความรำคาญอันตัดขาดแล้ว ผู้ปราศจาก ตัณหาในภพน้อย และภพใหญ่พระเจ้าข้า

ดูก่อนภิกษุ สัญญา (ความสำคัญมั่นหมายซึ่งเป็นอนุสัย)๑ ชนิดต่าง ๆอันเป็น เครื่องทำความเนิ่นช้า (ปปัญจสัญญา) ย่อมกลุ้มรุมบุรุษ เพราะมีอารมณ์ใดเป็นต้นเหตุ ถ้าสิ่งใด ๆเพื่อความเป็นอารมณ์นั้น มีไม่ได้ (ด้วยเหตุใดก็ตาม) เพื่อบุรุษนั้นจะพึงเพลิดเพลิน พร่าสรรเสริญ เมาหมก แล้วไซร้

นั่นแหละคือที่สุดแห่งราคานุสัย แห่งปฏิฆานุสัย แห่งทิฏฐานุสัย แห่งวิจิกิจฉานุสัย แห่งมานานุสัย แห่งภวราคานุสัย แห่งอวิชชานุสัย และนั่นแหละคือที่สุด แห่งการใช้ อาวุธไม่มีคม การใช้อาวุธมีคม การทะเลาะ การแก่งแย่ง การวิวาท การกล่าวคำหยาบว่า มึง มึงการพูดคำส่อเสียด และการพูดเท็จ ทั้งหลาย ธรรมอันเป็นบาปอกุศล เหล่านั้น ในเพราะเหตุนั้น ย่อมดับไปโดยไม่มีส่วนเหลือ ดังนี้.๒

(ครั้นพระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้แล้ว เสด็จเข้าสู่ที่ประทับ พวกภิกษุที่ฟังอยู่ยังไม่เข้าใจ ในเนื้อความ แห่ง พุทธพจน์นี้ จึงพากันไปหาพระมหากัจจานะ ให้ช่วยขยายความ. พระมหากัจจานะกล่าวขยายความ

………………………………..................................................……………………..
๑ สัญญาในที่นี้ มิใช่เป็นเพียงความจำแต่เป็นความสำคัญมั่นหมาย เช่น สุขสัญญา = สัญญาว่าสุข อัตตสัญญา = สัญญาว่าตัวตน เป็นต้น เกิดขึ้นด้วยอุปาทานเกิดเมื่อใด ย่อมก่ออนุสัย และเพิ่มความ เป็นอนุสัย (ความเคยชิน) ยิ่งขึ้นทุกทีก็ทำความเนิ่นช้า หรือความยากแก่การดับทุกข์ ยิ่งขึ้นทุกที.

๒ การที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ตรัสตอบคำถามที่หนึ่งโดยตรง เพราะตอบรวมกันได้กับคำตอบ ของคำถาม ที่สองนั่นเอง ถ้าพิจารณาดูให้ดีก็จะเห็นได้ ไม่ต้องฉงน ข้อความตอนที่ว่า นั่นคือที่สุดแห่งการใช้อาวุธ ไม่มีคม...นั่นเองเป็นคำตอบของปัญหา ที่หนึ่ง ที่ถามว่า มีปรกติตรัสอย่างไร?


ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงอุเทศไว้แต่โดยย่อว่า ดูก่อนภิกษุ สัญญาชนิดต่าง ๆ อันเป็นเครื่องทำความเนิ่นช้าย่อมกลุ้มรุมบุรุษ เพราะมีอารมณ์ใด เป็นต้นเหตุ ถ้าสิ่งใด ๆ เพื่อความเป็นอารมณ์นั้นมีไม่ได้ (ด้วยเหตุใดก็ตาม) เพื่อบุรุษนั้น จะพึงเพลิดเพลิน ...ฯลฯ...ฯลฯ... ธรรมอัน เป็นบาป อกุศลเหล่านั้น ในเพราะเหตุนั้น ย่อมดับไปโดยไม่มีส่วนเหลือ ดังนี้แล้วไม่ทรงจำแนก เนื้อความ โดยพิสดาร และเสด็จ ลุกจากอาสนะเข้าสู่ที่ประทับเสียนั้น

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เราย่อมรู้เนื้อความแห่งอุเทศ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงไว้แต่โดยย่อ ไม่ทรงชี้แจงเนื้อความไว้โดยพิสดารนี้ ได้โดยพิสดารอย่างนี้คือ

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะอาศัยตาด้วย รูปทั้งหลายด้วยจึงเกิดจักขุวิญญาณ การประจวบพร้อม แห่งธรรม ๓ ประการ (ตา+รูป+จักขุ-วิญญาณ) นั่นคือ ผัสสะเพราะมี ผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา

บุคคลเสวยซึ่งเวทนาใด ย่อมรู้สึกซึ่งเวทนานั้น
บุคคลรู้สึกซึ่งเวทนาใด ย่อมมีวิตกอยู่กะเวทนานั้น
บุคคลมีวิตกอยู่กะเวทนาใด ย่อมประพฤติซึ่งความเนิ่นช้าอยู่กะเวทนานั้น ๑
บุคคลประพฤติซึ่งความเนิ่นช้าอยู่กะเวทนาใด สัญญา(ความมั่นหมาย)
ชนิดต่าง ๆ อันเป็นเครื่องทำความเนิ่นช้า ย่อมกลุ้มรุมซึ่งบุรุษนั้น โดยมีเวทนานั้นเป็นเหตุ เป็นไปในรูปทั้งหลาย อันพึงรู้แจ้งได้ด้วยตา ทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะอาศัยหูด้วย ...ฯลฯ...๑ และปัจจุบัน.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะอาศัยจมูกด้วย ...ฯลฯ... และปัจจุบัน.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะอาศัยลิ้นด้วย ...ฯลฯ... และปัจจุบัน.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะอาศัยกายด้วย ...ฯลฯ... และปัจจุบัน.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะอาศัยใจด้วย ธัมมารมณ์ทั้งหลายด้วย
จึงเกิดมโนวิญญาณการประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการ (ใจ+ธัมมารมณ์+มโนวิญญาณ) นั่นคือ ผัสสะเพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
บุคคลเสวยซึ่งเวทนาใด ย่อมรู้สึกซึ่งเวทนานั้น
บุคคลรู้สึกซึ่งเวทนาใด ย่อมมีวิตกอยู่กะเวทนานั้น
บุคคลมีวิตกอยู่กะเวทนาใด ย่อมประพฤติซึ่งความเนิ่นช้าอยู่กะเวทนานั้น
บุคคลประพฤติซึ่งความเนิ่นช้าอยู่กะเวทนาใด สัญญา (ความมั่นหมาย)
ชนิดต่าง ๆ อันเป็นเครื่องทำความเนิ่นช้า ย่อมกลุ้มรุมซึ่งบุรุษนั้น โดยมีเวทนานั้นเป็นเหตุ เป็นไปในธัมมารมณ์ทั้งหลาย อันพึงรู้แจ้งได้ด้วยใจ ทั้งที่เป็นอดีตอนาคต และปัจจุบัน.

.....................................................................................
ในกรณีแห่งตากับรูป มีข้อความพิสดารอย่างไร ในกรณีแห่งหูกับเสียง จมูกกับกลิ่น ลิ้นกับรส กายกับโผฏฐัพพะ ซึ่งละ...ฯลฯ...ไว้ ก็พึงทราบว่ามีข้อความเต็มอย่างเดียวกัน ทุกตัวอักษร ต่างกันแต่เพียงชื่อแห่งอายตนะ แต่ละอายตนะเท่านั้น.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุรุษนั้นหนอ
เมื่อตามีอยู่
เมื่อรูปมีอยู่ เมื่อจักขุวิญญาณมีอยู่ เขาก็จักบัญญัติซึ่ง ผัสสบัญญัติ
ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้
เมื่อการบัญญัติซึ่งผัสสะมีอยู่ เขาก็จักบัญญัติซึ่ง เวทนาบัญญัติ ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้
เมื่อการบัญญัติซึ่งเวทนามีอยู่ เขาก็จักบัญญัติซึ่ง สัญญาบัญญัติ ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้
เมื่อการบัญญัติซึ่งสัญญามีอยู่ เขาก็จักบัญญัติซึ่ง วิตกบัญญัติข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้
เมื่อการบัญญัติซึ่งวิตกมีอยู่ เขาก็จักบัญญัติซึ่ง  ปปัญจสัญญา-สังขาสมุทาจรณบัญญัติ ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุรุษนั้นหนอ เมื่อกายมีอยู่ เมื่อโผฏ-ฐัพพะมีอยู่ เมื่อกาย วิญญาณ มีอยู่เขาก็จักบัญญัติซึ่งผัสสบัญญัติ...ฯลฯ...ฯลฯ...ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุรุษนั้นหนอ
เมื่อใจมีอยู่
เมื่อธัมมารมณ์มีอยู่ เมื่อมโนวิญญาณมีอยู่ เขาก็จักบัญญัติซึ่ง ผัสสบัญญัติ ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้
เมื่อการบัญญัติซึ่งผัสสะมีอยู่ เขาก็จักบัญญัติ ซึ่งเวทนาบัญญัติ ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้
เมื่อการบัญญัติซึ่งเวทนามีอยู่ เขาก็จักบัญญัติซึ่งสัญญาบัญญัติ ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้
เมื่อการบัญญัติซึ่งสัญญามีอยู่ เขาก็จักบัญญัติซึ่งวิตก-บัญญัติ ข้อนี้เป็นฐานะ ที่มีได้ เมื่อการบัญญัติซึ่งวิตกมีอยู่ เขาก็จักบัญญัติซึ่ง ปปัญจสัญญาสังขาสมุทาจรณบัญญัติ ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้.

---- (ปฎิปกขนัย) ----

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุรุษนั้นหนอ เมื่อตาไม่มีอยู่ เมื่อรูปไม่มีอยู่ เมื่อจักขุวิญญาณไม่มีอยู่เขาจัก บัญญัติซึ่งผัสสบัญญัติ ข้อนี้เป็นฐานะที่มีไม่ได้ เมื่อการบัญญัติซึ่งผัสสะไม่มีอยู่ เขาจักบัญญัติซึ่งเวทนา บัญญัติ

ข้อนี้เป็นฐานะที่มีไม่ได้เมื่อการบัญญัต ิซึ่งเวทนาไม่มีอยู่ เขาจักบัญญัติซึ่งสัญญาบัญญัติ ข้อนี้เป็นฐานะ ที่มีไม่ได้เมื่อการบัญญัติซึ่งสัญญาไม่มีอยู่ เขาจักบัญญัติซึ่งวิตกบัญญัติ ข้อนี้เป็นฐานะที่มีไม่ได้เมื่อการ บัญญัติซึ่งวิตกไม่มีอยู่ เขาจักบัญญัติซึ่ง ปปัญจสัญญา สังขาสมุทาจรณบัญญัติ ข้อนี้เป็นฐานะที่มีไม่ได้.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุรุษนั้นหนอ เมื่อหูมีอยู่ เมื่อเสียงมีอยู่เมื่อโสตวิญญาณมีอยู่เขา ก็จัก บัญญัติซึ่ง ผัสสบัญญัติ ...ฯลฯ...ฯลฯ...๓ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย| บุรุษนั้นหนอ เมื่อจมูกมีอยู่ เมื่อกลิ่นมีอยู่ เมื่อฆานวิญญาณมีอยู่เขาก็จักบัญญัติ ซึ่งสัมผัสสบัญญัติ...ฯลฯ...ฯลฯ...ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย| บุรุษนั้นหนอ เมื่อลิ้นมีอยู่ เมื่อรสมีอยู่เมื่อชิวหาวิญญาณมีอยู่เขาก็จักบัญญัติ ซึ่งสัมผัสสบัญญัติ...ฯลฯ...ฯลฯ... ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้

………………………………………………………………………………………………………………..
๑ ผัสสบัญญัติ คือการกล่าวไปตามความรู้สึกของเขา เกี่ยวกับผัสสะ ว่า มีอยู่โดยชนิด โดยอาการเป็นต้น ว่ามีอยู่อย่างนั้น ๆ ไม่มีอะไรอื่นมากไปกว่านั้น. แม้ในการบัญญัติข้ออื่น ๆ มีเวทนา-บัญญัติเป็นต้นก็มีนัย อย่างเดียวกัน.
๒ ปปัญจสัญญาสังขาสมุทาจรณบัญญัติ คือการบัญญัติซึ่งการกลุ้มรุมของสัญญา กล่าวคือความสำคัญ ซึ่งเป็นอนุสัยมีชนิดต่าง ๆ ล้วนแต่ทำความเนิ่นช้า.
๓ ในกรณีแห่งตากับรูป มีข้อความพิสดารอย่างไรในกรณีแห่งหูกับเสียง จมูกกับกลิ่น ลิ้นกับรสกายกับ โผฏฐัพพะ ซึ่งละ...ฯลฯ...ไว้พึงทราบว่า มีข้อความเต็มอย่างเดียวกัน.


ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุรุษนั้นหนอ เมื่อหูไม่มีอยู่ เมื่อเสียงไม่มีอยู่ เมื่อโสตวิญญาณ ไม่มีอยู่เขาจักบัญ ญัติซึ่งผัสสบัญ ญัติ ...ฯลฯ...ฯลฯ... ๑ ข้อนี้เป็นฐานะที่มีไม่ได้.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุรุษนั้นหนอ เมื่อจมูกไม่มีอยู่ เมื่อกลิ่นไม่มีอยู่ เมื่อฆาน- วิญญาณไม่มีอยู่ เขาจักบัญญัติซึ่งผัสสบัญญัติ ...ฯลฯ...ฯลฯ... ข้อนี้เป็นฐานะที่มีไม่ได้.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุรุษนั้นหนอ เมื่อลิ้นไม่มีอยู่ เมื่อรสไม่มีอยู่ เมื่อชิวหาวิญญาณ ไม่มีอยู่ เขาจักบัญญัติซึ่งผัสสบัญญัติ ...ฯลฯ ...ฯลฯ... ข้อนี้เป็นฐานะที่มีไม่ได้.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุรุษนั้นหนอ เมื่อกายไม่มีอยู่ เมื่อโผฏฐัพพะไม่มีอยู่ เมื่อกายวิญญาณไม่มีอยู่ เขาจักบัญญัติซึ่งผัสสบัญญัติ...ฯลฯ...ฯลฯ... ข้อนี้เป็นฐานะที่มีไม่ได้.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุรุษนั้นหนอ เมื่อใจไม่มีอยู่ เมื่อธัมมารมณ์ไม่มีอยู่ เมื่อมโนวิญญาณไม่มีอยู่ เขาจักบัญญัติซึ่งผัสสบัญญัติ

ข้อนี้เป็นฐานะที่มีไม่ได้เมื่อการบัญญัติ ซึ่งผัสสะไม่มีอยู่ เขาจักบัญญัติซึ่งเวทนาบัญญัติ ข้อนี้เป็นฐานะที่มีไม่ได้เมื่อการบัญญัติ ซึ่งเวทนาไม่มีอยู่ เขาจักบัญญัติซึ่งสัญญาบัญญัติ ข้อนี้เป็นฐานะที่มีไม่ได้เมื่อการบัญญัติ ซึ่งสัญญาไม่มีอยู่ เขาจักบัญญัติซึ่งวิตกบัญญัติ ข้อนี้เป็นฐานะที่มีไม่ได้เมื่อการบัญญัติ ซึ่งวิตกไม่มีอยู่ เขาจักบัญญัติซึ่งปปัญจสัญญาสังขาสมุทาจรณบัญญัติ ข้อนี้เป็นฐานะที่มีไม่ได้.
---- ---- ---- ---- ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงอุเทศไว้แต่โดยย่อว่า ดูก่อนภิกษุ สัญญา (ความมั่นหมาย) ชนิดต่าง ๆ อันเป็นเครื่องทำความเนิ่นช้า ย่อมกลุ้มรุมบุรษ เพราะมี อารมณ์ใดเป็นต้นเหตุ ถ้าสิ่งใด ๆ เพื่อความเป็นอารมณ์นั้นมีไม่ได้ (ด้วยเหตุใดก็ตาม) เพื่อบุรุษนั้นจะ พึงเพลิดเพลิน ...ฯลฯ...ฯลฯ... ธรรมอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้น ในเพราะเหตุนั้น ย่อมดับไปโดยไม่มี ส่วนเหลือดังนี้ แล้วไม่ทรงจำแนกเนื้อความโดยพิสดาร และเสด็จลุกจากอาสนะเข้าสู่ที่ประทับเสียนั้น

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เราย่อมรู้เนื้อความแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงไว้ แต่โดยย่อ ไม่ทรงชี้แจงเนื้อความโดยพิสดารนี้ ได้โดยพิสดาร อย่างนี้แล.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ถ้าท่านทั้งหลายหวังอยู่ ก็จงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วทูลถาม ซึ่งความข้อนั้นเถิด พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ แก่ท่านทั้งหลายอย่างไร ท่านทั้งหลาย จงทรงจำไว้อย่างนั้น เถิด.

(ภิกษุเหล่านั้น ได้เข้าไปกราบทูลเรื่องนี้ แต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสรับรองข้อความนั้นว่า ถูกต้อง ตาม ที่พระองค์จะตรัสเอง และได้ตรัสสรรเสริญ พระมหากัจจานะว่า เป็นบัณฑิต มีปัญญามาก).

………………………………………………………………………………………….
หมายเหตุผู้รวบรวม ผู้ศึกษาพึงสังเกตอาการแห่งปฏิจจสมุปบาทเพียงอาการเดียว ซึ่งในที่นี้ได้แก่เวทนา อันเกิดมาจากอวิชชาสัมผัสนั่นแหละ ไม่ว่าจะเป็นทางตา หู จมูก ลิ้น กาย หรือใจก็ตาม เป็นสิ่งทำความ เนิ่นช้า แก่การละเสียซึ่งอนุสัย คือความเคยชิน ในการสยบ มัวเมาในเวทนาแต่กาลก่อน ยิ่งเสวยเวทนาอีก ก็ยิ่งเพิ่มอนุสัยยิ่งขึ้นไปอีก สุขเวทนา เพิ่มกำลัง แก่อนุสัยประเภทราคะ ทุกขเวทนา เพิ่มกำลังแก่อนุสัย ประเภทโทสะ อทุกขมสุขเวทนา เพิ่มกำลังแก่อนุสัยประเภทโมหะ. มันเพิ่มกำลังแก่อนุสัยอย่างไร รู้ได้ที่อาการแห่ง ปฏิจจสมุปบาท ทั้งหลาย นั่นเองกล่าวคือ ทำ ความเคยชินเพิ่มขึ้น ในการสร้างภพ-ชาติ-ตามแบบ ปฏิจจสมุปบาทดังนั้น จงระวังแม้แต่ปฏิจจ-สมุปบาท เพียงอาการเดียว คือ เวทนาในลักษณะ ที่กล่าวไว้ในสูตรนี้แล้ว ซ่อนตัวอยู่ในนามของ สัญญาซึ่งในที่นี้หมาย ถึงความสำคัญมั่นหมายในเวทนานั้น.


หน้า 612
ปฏิจจสมุปบาท แห่ง การดับปปัญจสัญญาสังขา

ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ อะไรเป็นเครื่องผูกพันเทวดา มนุษย์ อสูร นาคคันธัพพ์ทั้งหลาย อันมีอยู่เป็นหมู่ ๆ (ซึ่งแต่ละหมู่) ปรารถนาอยู่ว่า เราจักเป็นคนไม่มีเวรไม่มีอาชญา ไม่มีข้าศึก ไม่มีการเบียดเบียนแก่กันและกัน แต่แล้วก็ไม่สามารถจัก เป็นผู้อยู่อย่างผู้ไม่มีเวร ไม่มีอาชญา ไม่มีข้าศึก ไม่มีเบียดเบียนแก่กันและกันเล่า พระเจ้าข้า?

ดูก่อนจอมเทพ อิสสาและมัจฉริยะ นั่นแล เป็นเครื่องผูกพัน...ฯลฯ...ข้าแต่พระสุคต ความสงสัยของ ข้าพระองค์ในเรื่องนั้นสิ้นแล้ว เรื่องที่จะต้องถามใครว่า อย่างไรในเรื่องนั้น ก็ปราศจากไปแล้ว เพราะได้ฟัง ปัญหาพยากรณ์ของพระผู้มีพระ-ภาคเจ้า. ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ก็อิสสาและมัจฉริยะนั้น มีอะไรเป็นนิทาน (ต้นเหตุ)มีอะไรเป็นสมุทัย (เครื่องก่อขึ้น) มีอะไรเป็นชาติกะ (เครื่องทำให้เกิด) มีอะไร

เป็นปภวะ(แดนเกิด)? เมื่ออะไรมีอยู่ อิสสาและมัจฉริยะจึงมี? เมื่ออะไรไม่มีอยู่ อิสสาและ มัจฉริยะ จึงไม่มี พระเจ้าข้า?

ดูก่อนจอมเทพ อิสสาและมัจฉริยะนั้น มีสิ่งเป็นที่รักและสิ่งไม่เป็นที่รัก (ปิยาปฺปิย) นั่นแล เป็นนิทาน ...ฯลฯ... เมื่อสิ่งเป็นที่รัก และสิ่งไม่เป็นที่รักไม่มีอยู่ อิสสาและมัจฉริยะ ก็ไม่มี.

ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ก็สิ่งเป็นที่รักและสิ่งไม่เป็นที่รักนั้นเล่า มีอะไรเป็นนิทาน เป็นสมุทัย เป็นชาติกะ เป็นปภวะ? เมื่ออะไรมีอยู่ สิ่งเป็นที่รัก และสิ่งไม่เป็นที่รักจึงมี? เมื่ออะไรไม่มีอยู่ สิ่งเป็นที่รักและสิ่งไม่เป็น ที่รักจึงไม่มี พระเจ้าข้า?

ดูก่อนจอมเทพ สิ่งเป็นที่รักและสิ่งไม่เป็นที่รักนั้น มีฉันทะ(ความพอใจ)เป็นนิทาน ...ฯลฯ... เมื่อฉันทะ ไม่มีอยู่ สิ่งเป็นที่รักและสิ่งไม่เป็นที่รักก็ไม่มี.

ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ก็ฉันทะนั้นเล่า มีอะไรเป็นนิทาน เป็นสมุทัยเป็นชาติกะ เป็นปภวะ? เมื่ออะไรมีอยู่ ฉันทะจึงมี? เมื่ออะไรไม่มีอยู่ ฉันทะจึงไม่มีพระเจ้าข้า?

ดูก่อนจอมเทพ ฉันทะนั้นมีวิตก (ความตริตรึก)เป็นนิทาน...ฯลฯ...เมื่อวิตกไม่มีอยู่ ฉันทะก็ไม่มี

ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ก็วิตกนั้นเล่า มีอะไรเป็นนิทาน เป็นสมุทัย เป็นชาติกะ เป็นปภวะ? เมื่ออะไรมีอยู่ วิตกจึงมี? เมื่ออะไรไม่มีอยู่ วิตกจึงไม่มี พระเจ้าข้า?

ดูก่อนจอมเทพ วิตกนั้น มีปปัญจสัญญาสังขา เป็นนิทาน ...ฯลฯ... เมื่อปปัญจสัญญาสังขา ไม่มีอยู่ วิตกก็ไม่มี.

ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ก็ภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติอย่างไรเล่า จึงชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติ ข้อปฏิบัติเครื่อง ยังสัตว์ให้ถึง ซึ่งสมควรแก่การดับไม่เหลือ แห่งปปัญจ-สัญญาสังขา พระเจ้าข้า?

ดูก่อนจอมเทพ เราตคถาคตย่อมกล่าว ซึ่งโสมนัส ไว้เป็น ๒ อย่าง คือโสมนัส-ที่ควรเสพ อย่างหนึ่ง โสมนัส ที่ไม่ควรเสพ อย่างหนึ่ง (ต่อไปได้ตรัสถึงโทมนัส และอุเบกขา ซึ่งแต่ละอย่าง ๆ ได้ตรัสไว้โดยแยกเป็นสอง อย่างเช่นเดียวกัน).

ดูก่อนจอมเทพ คำนี้ว่า เราตถาคตย่อมกล่าว ซึ่งโสมนัส ไว้เป็น ๒ อย่างคือโสมนัสที่ควรเสพ อย่างหนึ่ง โสมนัสที่ไม่ควรเสพอย่างหนึ่งดังนี้ เป็นคำที่เรากล่าวแล้ว ก็คำนั้น เราอาศัยเหตุผล อะไรกล่าวเล่า?

ดูก่อนจอมเทพ ในบรรดาโสมนัส ๒ อย่างนั้น บุคคลพึงรู้จัก ซ่ึงโสมนัสอันใดว่า เมื่อเราเสพ โสมนัสนี้ แลอยู่ ธรรมอันเป็นอกุศลทั้งหลาย ย่อมเจริญยิ่งขึ้นธรรม อันเป็นกุศลทั้งหลาย ย่อมเสื่อมสิ้นไปดังนี้โสมนัสอันมี ลักษณะอย่างนี้เป็นโสมนัสที่ไม่ควรเสพ

ดูก่อนจอมเทพ ในบรรดาโสมนัส อย่างนั้น บุคคลพึงรู้จักซึ่งโสมนัสอันใดว่า เมื่อเราเสพ โสมนัสนี้ แลอยู่ ธรรมอันเป็นอกุศลทั้งหลาย ย่อมเสื่อมสิ้นไป ธรรมอันเป็นกุศลทั้งหลาย ย่อมเจริญขึ้นดังนี้โสมนัสอันมี ลักษณะอย่างนี้ เป็นโสมนัสที่ควรเสพ.

ดูก่อนจอมเทพ ในบรรดาโสมนัสทั้ง ๒ อย่างนั้นโสมนัสใดแล มีวิตกมีวิจาร โสมนัสใดแล ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร โสมนัสที่ไม่มีวิตกไม่มีวิจารนั่น เป็นโสมนัสที่ประณีตกว่าโสมนัสที่มีวิตก มีวิจารนั้น.

ดูก่อนจอมเทพ คำใดที่เรากล่าวแล้วว่า โสมนัสมีสองอย่าง คือโสมนัสที่ควรเสพอย่างหนึ่ง โสมนัสที่ไม่ควร เสพอย่างหนึ่งดังนี้นั้น คำนั้น เรากล่าวแล้วอาศัยเหตุผลเหล่านี้แล.

(ต่อไปนี้ก็ได้ตรัสคำอธิบายเกี่ยวกับโทมนัส และอุเบกขา โดยนัยอย่างเดียวกันทุกประการ) ดูก่อนจอมเทพ ภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติแล้ว (ในลักษณะที่ทำให้รู้จักโสมนัส โทมนัสและอุเบกขา ดังที่กล่าวแล้ว) อย่างนี้แล ชื่อว่า เป็นผู้ปฏิบัติข้อปฏิบัติเครื่องยังสัตว์ให้ถึงซึ่ง ความสมควรแก่การดับไม่เหลือแห่ง ปปัญจสัญญาสังขา



หน้า 615
ปฏิจจสมุปบาท
 ที่ยิ่งกว่า ปฏิจจสมุปบาท ( มี ๒๔ อาการ)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย สำหรับบุคคลผู้รู้อยู่ เห็นอยู่ มิใช่ สำหรับบุคคลผู้ไม่รู้อยู่ ไม่เห็นอยู่.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ย่อมมีแก่บุคคลผู้รู้อยู่ เห็นอยู่ ซึ่งอะไรเล่า?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ย่อมมีแก่บุคคลผู้รู้อยู่เห็นอยู่ว่า รูป คืออย่างนี้ ๆ เหตุให้เกิดรูป คือย่างนี้ ๆ ความไม่ตั้งอยู่ได้แห่งรูปคืออย่างนี้ๆและว่า เวทนา คืออย่างนี้ๆ เหตุให้เกิดเวทนา คืออย่างนี้ ๆ ความไม่ตั้งอยู่ได้แห่งเวทนา คืออย่างนี้ ๆและว่า สัญญา คืออย่างนี้ ๆ เหตุให้เกิดสัญญา คือย่างนี้ ๆ ความไม่ตั้งอยู่ได้แห่งสัญญา คืออย่างนี้ ๆและว่า สังขารทั้งหลาย คืออย่างนี้ๆ เหตุให้เกิดสังขาร ทั้งหลาย คืออย่างนี้ๆ ความ ไม่ตั้งอยู่ได้ แห่งสังขารทั้งหลาย คืออย่างนี้ ๆและว่า วิญญาณ คืออย่างนี้ ๆ เหตุให้เกิด วิญญาณ คืออย่างนี้ ๆ ความไม่ตั้งอยู่ได้แห่งวิญญาณ คืออย่างนี้ ๆดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลายความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ย่อมมีแก่บุคคลผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างนี้ ๆ แล.

(๑) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อ ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย มีอยู่ญาณในความสิ้นไป แห่ง อาสวะ นั้นย่อมมี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวญาณแม้นั้นว่า เป็นญาณมีที่เข้าไปตั้ง อาศัย หาใช่ไม่มีที่เข้าไป ตั้งอาศัยไม่.

(๒) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยของ ญาณในความสิ้นไป
คำตอบพึงมีว่า วิมุตติ คือ ธรรมเป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยของญาณในความสิ้นไป
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า แม้วิมุตติ ก็เป็นธรรมมีที่เข้าไปตั้งอาศัยหาใช่เป็นธรรม ไม่มีที่เข้าไป ตั้งอาศัยไม่.

(๓) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นที่เข้าไปอาศัยของ วิมุตติ ?
คำตอบ พึงมีว่า วิราคะ คือธรรม เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยของวิมุตติ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า แม้วิราคะ ก็เป็นธรรมมีที่เข้าไปตั้งอาศัย หาใช่เป็นธรรมไม่มี ที่เข้าไป ตั้งอาศัยไม่.

(๔) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นที่เข้าไปอาศัยของ วิราคะ ?
คำตอบ พึงมีว่า นิพพิทา คือธรรม เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยของวิราคะ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า แม้นิพพิทา ก็เป็นธรรมมีที่เข้าไปตั้งอาศัย หาใช่เป็นธรรมไม่มี ที่เข้าไป ตั้งอาศัยไม่.

(๕) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยของนิพพิทา ?
คำตอบ พิงมีว่า ยถาภูต ญาณทัสสทะ คือธรรมเป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยของนิพพิทา.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า แม้ยถาภูต ทัสสนะ ก็เป็นธรรมมีที่เข้าไปตั้งอาศัยหาใช่ เป็นธรรมไม่มี ที่เข้าไปตั้งอาศัยไม่.

(๖) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยของ ยถาตภูตญาณ-ทัสสนะ ?
คำตอบ พึงมีว่า สมาธิ คือธรรมเป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยของยถาภูตญาณทัสสนะ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่าแม้สมาธิ ก็เป็นธรรมมีที่เข้าไปตั้งอาศัย หาใช่เป็นธรรมไม่มี ที่เข้าไป ตั้งอาศัยไม่.

(๗) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยของ สมาธิ ?
คำตอบ พึงมีว่า สุข คือธรรม เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยของสมาธิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่าแม้สุข ก็เป็นธรรมมีที่เข้าไปตั้งอาศัย หาใช่เป็นธรรมไม่มี ที่เข้าไปตั้งอาศัยไม่.

(๘) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยของ สุข ?
คำตอบ พึงมีว่า ปัสสัทธิ คือธรรม เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยของสุข
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า แม้ปัสสัทธิ ก็เป็นธรรมมีที่เข้าไปตั้งอาศัย หาใช่เป็นธรรมไม่มี ที่เข้าไป ตั้งอาศัยไม่.

(๙) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยของ ปัสสัทธิ ?
คำตอบ พึงมีว่า ปีติ คือธรรม เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยของปัสสัทธิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเรากล่าวว่า แม้ปีติ ก็เป็นธรรมมีที่เข้าไปตั้งอาศัย หาใช่เป็นธรรมไม่มี ที่เข้าไปตั้งอาศัยไม่.

(๑๐) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยของ ปีติ ?
คำตอบ พึงมีว่าปราโมทย์ คือธรรม เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยของปีติ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า แม้ปราโมทย์ ก็เป็นธรรมมีที่เข้าไปตั้งอาศัย หาใช่เป็นธรรมไม่มี ที่เข้าไป ตั้งอาศัยไม่.

(๑๑) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยของ ปราโมทย์ ?
คำตอบพึงมีว่าสัทธา คือธรรม เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยของปราโมทย์.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า แม้สัทธา ก็เป็นธรรมมีที่ เข้าไปตั้งอาศัย หาใช่เป็นธรรมไม่มีที่เข้าไป ตั้งอาศัยไม่.

(๑๒) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยของ สัทธา?
คำตอบ พึงมีว่า ทุกข์ คือธรรม เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยของสัทธา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า แม้ทุกข์ ก็เป็นธรรมมีที่เข้าไปตั้งอาศัย หาใช่เป็นธรรมไม่มี ที่เข้าไป ตั้งอาศัยไม่.

(๑๓) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยของ ทุกข์ ?
คำตอบ พึงมีว่า ชาติ คือธรรม เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยของทุกข์
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า แม้ชาติ ก็เป็นธรรมมีที่เข้าไปตั้งอาศัย หาใช่เป็นธรรมไม่มี ที่เข้าไป ตั้งอาศัยไม่.

(๑๔) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยของ ชาติ ?
คำตอบ พึงมีว่า ภพ คือธรรม เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยของชาติ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเรากล่าวว่า แม้ภพ ก็เป็นธรรมมีที่เข้าไปตั้งอาศัย หาใช่เป็นธรรมไม่มีที่เข้าไปตั้งอาศัยไม่.

(๑๕) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยของ ภพ?
คำตอบ พึงมีว่า อุปาทาน คือธรรม เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยของภพ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า แม้อุปาทาน ก็เป็นธรรมมีที่เข้าไปตั้งอาศัย หาใช่เป็นธรรมไม่ม ีที่เข้าไป ตั้งอาศัยไม่.

(๑๖) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยของ อุปาทาน?
คำตอบ พึงมีว่า ตัณหา คือธรรม เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยของอุปาทาน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า แม้ตัณหาก็เป็นธรรมมีที่ เข้าไปตั้งอาศัย หาใช่เป็นธรรมไม่มี ที่เข้าไป ตั้งอาศัยไม่.

(๑๗) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยของ ตัณหา?
คำตอบ
พึงมีว่า เวทนา คือธรรม เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยของตัณหา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเรากล่าวว่า แม้เวทนา ก็เป็นธรรมมีที่เข้าไปตั้งอาศัย หาใช่เป็นธรรมไม่มีที่เข้าไป ตั้งอาศัยไม่.

(๑๘) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยของ เวทนา?
คำตอบ พึงมีว่า ผัสสะ คือธรรม เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยของเวทนา ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเรากล่าวว่า แม้ผัสสะ ก็เป็นธรรมมีที่เข้าไปตั้งอาศัย หาใช่เป็นธรรมไม่มี ที่เข้าไปตั้งอาศัยไม่.

(๑๙) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยของ ผัสสะ?
คำตอบ พึงมีว่า สฬายตนะ คือธรรมเป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยของผัสสะ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า แม้สฬายตนะ ก็เป็นธรรมมีที่ เข้าไปตั้งอาศัย หาใช่เป็นธรรม ไม่มีที่เข้าไป ตั้งอาศัยไม่.

(๒๐) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยของ สฬายตนะ ?
คำตอบ พึงมีว่า นามรูป คือธรรม เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยของสฬายตนะ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า แม้นามรูป ก็เป็นธรรม มีที่เข้าไปตั้ง อาศัย หาใช่เป็นธรรม ไม่มีที่เข้าไป ตั้งอาศัยไม่.

(๒๑) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยของ นามรูป ?
คำตอบ พึงมีว่า วิญญาณ คือธรรม เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยของนามรูป
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า แม้วิญญาณ ก็เป็นธรรม มีที่เข้าไปตั้งอาศัย หาใช่เป็นธรรม ไม่มีที่เข้าไป ตั้งอาศัยไม่.

(๒๒) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยของ วิญญาณ ?
คำตอบ พึงมีว่า สังขาร ทั้งหลาย คือธรรมเป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยของวิญญาณ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า แม้สังขารทั้งหลายก็เป็นธรรม มีที่เข้าไปตั้งอาศัย หาใช่เป็นธรรม ไม่มีที่เข้าไปตั้งอาศัยไม่.

(๒๓) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยของ สังขาร ? ทั้งหลาย
คำตอบ พึงมีว่า อวิชชา คือธรรมเป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยของสังขารทั้งหลาย.


[เมื่อนับความสิ้นอาสวะเข้าด้วย ก็เป็น ๒๔ พอดี ]

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้แล

สังขารทั้งหลาย ชื่อว่ามี อวิชชา เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
วิญญาณ ชื่อว่ามี สังขาร เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
นามรูป ชื่อว่ามี วิญญาณ เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
สฬายตนะ ชื่อว่ามี นามรูป เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
ผัสสะ ชื่อว่ามี สฬายตนะ เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
เวทนา ชื่อว่ามี ผัสสะ เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
ตัณหา ชื่อว่ามี เวทนา เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
อุปาทาน ชื่อว่ามี ตัณหา เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
ภพ ชื่อว่ามี อุปาทาน เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
ชาติ ชื่อว่ามี ภพ เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
ทุกข์ ชื่อว่ามี ชาติ เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
สัทธา ชื่อว่ามี ทุกข์ เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
ปราโมทย์ ชื่อว่ามี สัทธา เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
ปีติ ชื่อว่ามี ปราโมทย์ เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
ปัสสทธิ ชื่อว่ามี ปีติ เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
สุข ชื่อว่ามี ปัสสัทธิ เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
สมาธิ ชื่อว่ามี สุข เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
ยถาภูตญาณทัสสนะ ชื่อว่ามี สมาธิ เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
นิพพิทา ชื่อว่ามี ยถาภูตญาณทัสสนะ เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
วิราคะ ชื่อว่ามี นิพพิทา เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
วิมุตติ ชื่อว่ามี วิราคะ เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
ญาณในความสิ้นไป ชื่อว่า วิมุตติ เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเมื่อฝนหนัก ๆ ตกลงบนภูเขา น้ำฝนนั้นไหลไปตามที่ลุ่ม ย่อมทำซอกเขา ซอกผา และลำห้วยทั้งหลาย ให้เต็มครั้นซอกเขา

ซอกผา และลำห้วยทั้งหลาย เต็มแล้ว ย่อมทำบึงน้อยทั้งหลาย ให้เต็มบึงน้อยทั้งหลาย เต็มแล้ว ย่อมทำบึง ใหญ่ทั้งหลายให้เต็มบึงใหญ่ทั้งหลายเต็มแล้ว ย่อมทำแม่น้ำน้อยทั้งหลาย ให้เต็มแม่น้ำน้อยทั้งหลายเต็ม แล้ว ย่อมทำแม่น้ำใหญ่ทั้งหลาย ให้เต็มแม่น้ำใหญ่ทั้งหลาย เต็มแล้ว ย่อมทำมหาสมุทรให้เต็ม นี้ฉันใด

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันเดียวกันนั้นแล คือ
สังขารทั้งหลาย ชื่อว่ามีอวิชชาเป็น ที่เข้าไปตั้งอาศัย
วิญญาณ ชื่อว่ามีสังขารเป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
นามรูป ชื่อว่ามีวิญญาณ เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
สฬายตนะ ชื่อว่ามีนามรูปเป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
ผัสสะ ชื่อว่ามีสฬายตนะ เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
เวทนา ชื่อว่ามีผัสสะเป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
ตัณหา ชื่อว่ามีสฬายตนะ เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
อุปาทาน ชื่อว่ามีตัณหาเข้าไปตั้งอาศัย
ภพ ชื่อว่ามีอุปาทานเป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
ชาติ ชื่อว่ามีภพ เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
ทุกข์ ชื่อว่ามีชาติเป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
สัทธา ชื่อว่ามีทุกข์ เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
ปราโมทย์ ชื่อว่ามีสัทธาเป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
ปีติ ชื่อว่ามีปราโมทย์ เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
ปัสสัทธิ ชื่อว่ามีปีติเป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
สุข ชื่อว่ามีปัสสัทธิเป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
สมาธิ ชื่อว่ามีสุข เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
ยถาภูตญาณทัสสนะ ชื่อว่ามีสมาธิเป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
นิพพิทา ชื่อว่ามียถาภูตญาณสัททนะ เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
วิราคะ ชื่อว่ามีนิพพิทาเป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
วิมุตติ ชื่อว่ามีวิราคะ เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
ญาณในความสิ้นไป ชื่อว่ามีวิมุตติเป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย ดังนี้ แล.