หมวด 7
ลำดับเรื่องเฉพาะหมวด สำหรับปฏิจจสมุปบาท จากพระโอษฐ์ หมวดที่ ๗
ว่าด้วย โทษของการไม่รู้ และอานิสงส์ ของการรู้ปฏิจจสมุปบาท
หน้า 374
(มี ๓๐ เรื่อง)
มีเรื่อง :
1) จิตสัตว์ยุ่งเป็นปมเพราะไม่เห็นแจ้งปฏิจจสมุปบาท --
2) ผู้ไม่รู้ปฏิจจสมุปบาท โดยอาการแห่งอริยสัจสี่ ย่อมไม่สามารถก้าวล่วง ปฏิจจสมุปปันนธรรม --
3) สำหรับผู้ที่ไม่สามารถเข้าใจปฏิจจสมุปบาท ยึดถือกายเป็นตัวตน ยังดีกว่ายึดถือจิตเป็นตัวตน --
4) ทิฏฐิและการหยั่งลงแห่งทิฏฐิ เนื่องมาจากการยึดซึ่งขันธ์ทั้งห้า --
5) ไม่ควบคุมรากฐานแห่งปฏิจจสมุปบาทจึงเกิดทุกข์ --
6) คนพาลกับบัณฑิตต่างกันโดยหลักปฏิจจสมุปบาท --
7) เป็นสมณะหรือไม่เป็นสมณะขึ้นอยู่กับการรู้ หรือไม่รู้ปฏิจจสมุปบาทโดยนัยสี่ --
8) เป็นสมณะหรือไม่เป็นสมณะขึ้นอยู่กับการรู้ หรือไม่รู้ชรามรณะโดยนัยสี่ --
9) เป็นสมณะหรือไม่เป็นสมณะขึ้นอยู่กับการรู้ หรือไม่รู้ชาติโดยนัยสี่ --
10) เป็นสมณะหรือไม่เป็นสมณะขึ้นอยู่กับการรู้ หรือไม่รู้ภพโดยนัยสี่ --
11) เป็นสมณะหรือไม่เป็นสมณะขึ้นอยู่กับการรู้ หรือไม่รู้อุปทานโดยนัยสี่ --
12) เป็นสมณะหรือไม่เป็นสมณะขึ้นอยู่กับการรู้ หรือไม่รู้ตัณหาโดยนัยสี่ --
13) เป็นสมณะหรือไม่เป็นสมณะขึ้นอยู่กับการรู้ หรือไม่รู้เวทนาโดยนัยสี่ --
14) เป็นสมณะหรือไม่เป็นสมณะขึ้นอยู่กับการรู้ หรือไม่รู้ ผัสสะโดยนัยสี่ --
15) เป็นสมณะหรือไม่เป็นสมณะขึ้นอยู่กับการรู้ หรือไม่รู้สฬายตนะโดยนัยสี่ --
16) เป็นสมณะหรือไม่เป็นสมณะขึ้นอยู่กับการรู้ หรือไม่รู้นามรูปโดย
นัยสี่ --
17) เป็นสมณะหรือไม่เป็นสมณะขึ้นอยู่กับการรู้ หรือไม่รู้วิญญาณโดยนัยสี่ --
18) เป็นสมณะหรือไม่เป็นสมณะขึ้นอยู่กับการรู้ หรือไม่รู้สังขารโดยนัยสี่ --
19) ควบคุมรากฐาน แห่งปฏิจจสมุปบาทจึงเกิดสุข --
20) ปฏิจจสมุปบาทอาการหนึ่ง ถ้าเห็นแล้วทำให้หยุดความมั่นหมาย ในสิ่งทั้งปวง --
21) พอรู้ปฏิจจสมุปบาทก็หายตาบอดอย่างกระทันหัน --
22) เพราะรู้ปฏิจจสมุปบาทจึงหมดความสงสัย เรื่องตัวตนทั้ง ๓ กาล --
23) การรู้เรื่องปฏิจจสมุปบาททำให้หมดปัญหาเกี่ยวกับ ขันธ์ในอดีตและในอนาคต --
24) ผลอานิสงส์พิเศษ ๘ ประการของการเห็นปฏิจจสมุปบาท
25) ผู้รู้ปฏิจจสมุปบาท โดยอาการแห่งอริยสัจสี่ ย่อมสามารถก้าวล่วง ปฏิจจสมุป ปันนธรรม --
26) อานิสงส์ของการถึงพร้อมด้วยทัสสนทิฏฐิ --
27) ผู้เสร็จกิจในปฏิจจสมุปบาทชื่อว่า ผู้บรรลุนิพพานในปัจจุบัน --
28) อานิสงส์สูงสุด (อนุปาทิเสสนิพพาน) ของการพิจารณาปฏิจจสมุปบาทอย่างถูกวิธี --
29) อุปปริกขีในปฏิจจสมุปบาทเป็นอุดมบุรุษ --
30) บัณฑิตคือผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท.__
หน้า 375
จิตสัตว์ยุ่งเป็นปมเพราะไม่เห็นแจ้งปฏิจจสมุปบาท
พระอานนท์ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า น่าอัศจรรย์ พระเจ้าข้า ไม่เคยมีแล้ว พระเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปฏิจจสมุปบาทนี้ เขาร่ำลือกันว่า เป็นธรรมลึกด้วย ดูท่าทางราว กะว่าเป็นธรรม ลึกด้วย แต่ปรากฎแก่ข้าพระองค์เหมือนกับเป็นธรรมตื้น ๆ
ดูก่อนอานนท์ อย่ากล่าวอย่างนั้น. ดูก่อนอานนท์ อย่ากล่าวอย่างนั้น. ก็ปฏิจจสมุปบาทนี้ ลึกซึ้งด้วย มีลักษณะเป็นธรรมลึกซึ้งด้วย.
ดูก่อนอานนท์ เพราะไม่รู้ เพราะไม่รู้ตามลำ ดับ เพราะไม่แทงตลอด ซึ่งธรรม คือปฏิจจ สมุปบาทนี้ (จิตของ) หมู่สัตว์นี้ จึงเป็นเหมือนกลุ่มด้ายยุ่ง ยุ่งเหยิงเหมือน ความยุ่งของ กลุ่มด้วยที่หนาแน่นไปด้วยปม พันกันยุ่ง เหมือนเซิงหญ้ามุญชะ และหญ้าปัพพชะอย่างนี้ ย่อมไม่ล่วงพ้นซึ่งสงสาร ที่เป็นอบาย ทุคติ วินิบาต ไปได้.
ดูก่อนอานนท์ เมื่อภิกษุเป็นผู้มีปรกติเห็นโดยความเป็นอัสสาทะ (น่ารักน่ายินดี) ในธรรม ทั้งหลายอันเป็นที่ตั้ง แห่งอุปทาน๑อยู่ ตัณหาย่อมเจริญอย่างทั่วถึง.
เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปทาน เพราะมีอุปทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะมีภพเป็น ปัจจัย จึงมีชาติ เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะ-โทมนัสอุปายาส ทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อมแห่ง กองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ย่อมมี ด้วยอาการ อย่างนี้.
ดูก่อนอานนท์ เปรียบเหมือนต้นไม่ใหญ่ มีรากดิ่งลงไปเบื้องล่างด้วยมีรากแผ่ไปรอบ ๆ ด้วย รากทั้งหลาย เหล่านั้น ล้วนแต่ ดูดสิ่งโอชะขึ้นไปเบื้องบน.
ดูก่อนอานนท์ เมื่อเป็นอย่างนี้ ต้นไม้ใหญ่ซึ่งมีอาหารอย่างนั้น มีเครื่องหล่อ เลี้ยง อย่างนั้นพึงตั้ง อยู่ได้ ตลอดกาลยาวนาน ข้อนี้ฉันใด
ดูก่อนอานนท์ เมื่อภิกษุเป็นผู้มีปรกติเห็นโดยความ เป็นอัสสาทะ (น่ารักน่ายินดี) ในธรรม ทั้งหลายอันเป็นที่ตั้ง แห่งอุปทานอยู่ ตัณหาย่อมเจริญอย่างทั่วถึง ฉันนั้น เหมือนกัน. เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมี อุปทาน เพราะมี อุปทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะมีภพเป็น ปัจจัยจึงมี ชาติ เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะ โทมนัสอุปายาส ทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อม แห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่าง นี้.
(ปฏิปักขนัยฝ่ายตรงกันข้าม)
ดูก่อนอานนท์ เมื่อภิกษุเป็นผู้มีปรกติเห็นโดยความเป็นอาทีนวะ (โทษอันต่ำทราม) ในธรรมทั้งหลาย อันเป็น ที่ตั้ง แห่ง อุปทานอยู่ ตัณหาย่อมดับ. เพราะมี
ความดับแห่ง ตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปทาน เพราะมีความดับ แห่งอุปทาน จึงมีความ ดับแห่งภพ เพราะมีความ ดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ เพราะมีความดับแห่ง ชาติ นั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลงแห่ง กองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมม ด้วย อาการอย่างนี้.
ดูก่อนอานนท์ เปรียบเหมือนต้นไม้ใหญ่มีอยู่. ลำดับนั้น บุรุษพึงถือเอาจอบและตะกร้า มาแล้ว บุรุษนั้น พึงตัดต้น ไม้นั้น ที่โคน ครั้นตัดที่โคนแล้ว พึงขุดเซาะ ครั้งขุดเซาะ แล้ว พึงรื้อขึ้น ซึ่งรากทั้งหลายแม้ที่สุด เพียงเท่านก้าน แฝก. บุรุษนั้นตัด ต้นไม้นั้น เป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่ ครั้นตัดเป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่แล้ว พึงผ่า ครั้นผ่าแล้ว พึงกระทำให้เป็นซีกๆ ครั้น กระทำ ให้เป็นซีก ๆ แล้ว พึงผึ่งให้แห้งในลมและแดด ครั้นผึ่งให้แห้งในลม และแดด แล้ว ย่อมเผา ด้วยไฟ ครั้นเผาด้วยไฟ แล้ว พึงกระทำ ให้เป็นขี้เถ้า ครั้นกระทำเป็นขี้เถ้าแล้ว ย่อมโปรยไป ตามลม อันพัดจัด หรือว่าพึงให้ลอยไปในกระแสน้ำอัน เชี่ยว.
ดูก่อนอานนท์ ด้วยการกระทำอย่างนี้แล ต้นไม้ใหญ่นั้น ก็จะพึงเป็นต้นไม้มีราก อันขาดแล้ว เหมือนต้นตาลที่ถูก ทำลายแล้วที่ขั้วแห่งยอดถึงแล้วซึ่งความไม่มีไม่เป็น มีความไม่งอก อีกต่อไปเป็นธรรมดา ข้อนี้ฉันใด ดูก่อนอานนท์ ข้อนี้ ก็ฉันนั้น เมื่อภิกษุ เป็นผู้มีปรกติเห็นโดย ความเป็นอาทีนวะ (โทษอันต่ำทราม) ในธรรม ทั้งหลายอันเป็น ที่ตั้งแห่งอุปทานอยู่ ตัณหาย่อมดับ.
เพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปทาน เพราะมีความดับแห่งอุปทาน จึงมี ความดับแห่งภพ เพราะมีความ ดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ เพราะมี ความดับแห่ง ชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกะ โทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลง แห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้ แล.
หน้า 378
ผู้ไม่รู้ปฏิจจสมุปบาท โดยอาการแห่งอริยสัจสี่
ไม่สามารถก้าวล่วงปฏิจจสมุปปันนธรรม
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมไม่รู้ทั่วถึงซึ่ง ชรามรณะ ไม่รู้ทั่วถึง ซึ่งเหตุ ให้ เกิดขึ้น แห่งชรามรณะ ไม่รู้ทั่วถึง ซึ่งความดับ ไม่เหลือแห่งชรามรณะ ไม่รู้ทั่วถึง ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ ให้ลุถึงความดับ ไม่เหลือแห่งชรามรณะ สมณะหรือ พราหมณ์เหล่านั้นหนา จักก้าวล่วงชรามรณะเสียได้ แล้ว ดำรงอยู่ ดังนั้นหรือ นั่น ไม่ใช่ฐานะที่จักมีได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมไม่รู้ทั่วถึงซึ่งชาติ ไม่รู้ ทั่วถึง ซึ่งเหตุให้ เกิดขึ้นแห่งชาติ ไม่รู้ทั่วถึง ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชาติ ไม่รู้ทั่วถึง ซึ่งข้อ ปฏิบัติ เครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับ ไม่เหลือแห่งชาติ สมณะหรือ พราหมณ์เหล่านั้นหนา จักก้าวล่วงชาติเสียได้ แล้วดำรงอยู่ดังนั้นหรือ นั่นไม่ใช่ ฐานะที่จักมีได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมไม่รู้ทั่วถึงซึ่งภพ ไม่รู้ทั่วถึง ซึ่งเหตุให้เกิด ขึ้น แห่งภพ ไม่รู้ทั่วถึง ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งภพ ไม่รู้ทั่วถึง ซึ่งข้อปฏิบัติ เครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับ ไม่เหลือ แห่งภพ สมณะหรือ พราหมณ์ เหล่านั้นหนา จักก้าวล่วงภพเสียได้แล้วดำรงอยู่ ดังนั้นหรือ นั่นไม่ใช่ฐานะที่จัก มีได้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมไม่รู้ทั่วถึงซึ่ง อุปาทาน ไม่รู้ทั่วถึง ซึ่งเหตุให้ เกิดขึ้น แห่งอุปาทาน ไม่รู้ทั่วถึง ซึ่งความดับไม่เหลือ แห่งอุปาทาน ไม่รู้ทั่วถึง ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ ให้ลุ ถึง ความดับไม่เหลือ แห่ง อุปาทาน สมณะหรือ พราหมณ์เหล่านั้นหนา จักก้าวล่วงอุปาทานเสียได้ แล้วดำรง อยู่ ดังนั้นหรือ นั่นไม่ใช่ฐานะ ที่จักมีได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมไม่รู้ทั่วถึงซึ่งตัณหา ไม่รู้ทั่วถึง ซึ่งเหตุ ให้เกิดขึ้น แห่ง ตัณหา ไม่รู้ทั่วถึง ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งตัณหา ไม่รู้ทั่วถึง ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ ให้ลุถึง ความดับไม่เหลือ แห่ง ตัณหา สมณะหรือ พราหมณ์เหล่านั้นหนา จักก้าวล่วงตัณหาเสียได้ แล้วดำรงอยู่ ดังนั้นหรือ นั่นไม่ใช่ ฐานะ ที่จักมีได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมไม่รู้ทั่วถึงซึ่งเวทนา ไม่รู้ทั่วถึง ซึ่งเหตุให้ เกิด ขึ้น แห่ง เวทนา ไม่รู้ทั่วถึง ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งเวทนา ไม่รู้ทั่วถึง ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ ให้ลุถึง ความดับ ไม่เหลือแห่ง เวทนา สมณะหรือ พราหมณ์เหล่านั้นหนา จักก้าวล่วงเวทนาเสียได้ แล้วดำรงอยู่ ดังนั้น หรือ นั่นไม่ใช่ ฐานะที่จักมีได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมไม่รู้ทั่วถึงซึ่งผัสสะ ไม่รู้ทั่วถึง ซึ่งเหตุให้ เกิดขึ้น แห่ง ผัสสะ ไม่รู้ทั่วถึง ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ ไม่รู้ทั่ว ถึงซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึง ความดับ ไม่เหลือ แห่งผัสสะ สมณะหรือ พราหมณ์ เหล่านั้นหนา จักก้าวล่วงผัสสะเสียได้ แล้วดำรงอยู่ ดังนั้น หรือ นั่นไม่ใช่ ฐานะที่จักมีได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมไม่รู้ทั่วถึงซึ่ง สฬายตนะ ไม่รู้ทั่วถึง ซึ่งเหตุ ให้เกิด ขึ้น แห่ง สฬายตนะ ไม่รู้ทั่วถึง ซึ่งความดับ ไม่เหลือแห่งสฬายตนะ ไม่รู้ทั่วถึง ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ ให้ลุถึง ความดับไม่เหลือ แห่งสฬายตนะ สมณะหรือ พราหมณ์เหล่านั้นหนา จักก้าวล่วงสฬายตนะเสียได้ แล้วดำรงอยู่ ดังนั้นหรือ นั่นไม่ใช่ฐานะ ที่จักมีได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมไม่รู้ทั่วถึงซึ่งนามรูป ไม่รู้ทั่วถึง ซึ่งเหตุ ให้เกิด ขึ้นแห่ง นามรูป ไม่รู้ทั่วถึง ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งนามรูป ไม่รู้ทั่วถึง ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ ให้ลุถึงความดับ ไม่เหลือ แห่ง นามรูป สมณะหรือ พราหมณ์เหล่านั้นหนา จักก้าวล่วงนามรูปเสียได้ แล้ว ดำรงอยู่ ดังนั้นหรือ นั่นไม่ใช่ฐานะที่จักมีได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมไม่รู้ทั่วถึงซึ่ง วิญญาณไม่รู้ทั่วถึงซึ่งเหตุให้ เกิดขึ้น แห่ง วิญญาณ ไม่รู้ทั่วถึง ซึ่งความดับไม่เหลือ แห่งวิญญาณ ไม่รู้ทั่วถึง ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ ให้ลุถึง ความ ดับไม่เหลือ แห่งวิญญาณ สมณะหรือ พราหมณ์เหล่านั้นหนา จักก้าวล่วงวิญญาณเสียได้ แล้วดำรงอยู่ ดังนั้นหรือนั่นไม่ใช่ฐานะ ที่จักมีได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมไม่รู้ทั่วถึงซึ่งสังขารทั้งหลาย ไม่รู้ทั่วถึง ซึ่งเหตุ ให้ เกิดขึ้นแห่งสังขาร ไม่รู้ทั่วถึง ซึ่งความดับไม่เหลือแห่ง สังขาร ไม่รู้ทั่วถึง ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่อง ทำสัตว์ให้ลุ ถึง ความดับ ไม่เหลือแห่งสังขาร สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นหนา จักก้าวล่วงสังขารเสียได้ แล้วดำรงอยู่ ดังนั้น หรือ นั่นไม่ใช่ฐานะ ที่จักมีได้
หน้า 381
สำหรับผู้ที่ไม่สามารถเข้าใจปฏิจจสมุปบาท
ยึดถือกายเป็นตัวตน ยังดีกว่ายึดถือจิตเป็นตัวตน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว จะพึงเบื่อหน่ายได้บ้าง พึงคลายกำหนัด ได้บ้าง พึงปล่อยวาง ได้บ้าง ในกาย อันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้งสี่นี้. ข้อนั้น เพราะเหตุไรเล่า?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนั้นเพราะเหตุว่า การก่อขึ้นก็ดี การ สลายลงก็ดี การถูก ยึดครองก็ดี การทอดทิ้งซาก ไว้ก็ดี แห่งกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้งสี่นี้ ย่อมปรากฎอยู่. เพราะเหตุนั้น ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว จึงเบื่อหน่าย ได้บ้างจึงคลาย กำหนัดได้บ้าง จึงปล่อ ยวาง ได้บ้าง ในกายนั้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสิ่งที่เรียกกันว่า ก็ดี ว่า ก็ดี ว่า วิญญาณ ก็ดี ปุถุชน ผู้มิได้สดับแล้ว ไม่อาจจะเบื่อ หน่าย ไม่อาจจะคลายกำหนัด ไม่อาจจะปล่อยวาง ซึ่งจิตนั้น. ข้อนั้นเพราะ เหตุไรเล่า?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนั้นเพราะเหตุว่า สิ่งที่เรียกว่าจิตเป็นต้นนี้เป็นสิ่งที่ปุถุชน ผู้มิได้สดับ แล้ว ได้ถึงทับแล้ว ตัณหา ได้ยึดถือแล้วด้วยทิฏฐิโดยความเป็นตัวตน มาตลอดกาลช้านาน ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรานั่นเป็นตัวตน ของเรา ดังนี้ เพราะเหตุนั้น ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว จึงไม่อาจจะเบื่อหน่าย ไม่อาจจะคลาย กำหนัด ไม่อาจจะปล่อยวาง ซึ่งสิ่งที่เรียกว่าจิต เป็นต้นนั้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว จะพึงเข้าไปยึดถือเอากาย อันเป็นที่ประชุม แห่งมหาภูต ทั้งสี่นี้ โดยความเป็นตัวตน ยังดีกว่า. แต่จะเข้าไปยึดถือเอาจิต โดยความเป็นตัวตน ไม่ดีเลย. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนั้นเพราะเหตุว่า กายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้งสี่นี้ ดำรงอยู่ปีหนึ่งบ้าง สองปีบ้าง สามปีบ้าง สี่ปีบ้าง ห้าปีบ้าง สิบปีบ้าง ยี่สิบปีบ้าง สามสิบปีบ้าง สี่สิบปีบ้าง ห้าสิบปีบ้าง ร้อยปีบ้าง เกินกว่าร้อยปี บ้าง ปรากฏอยู่. ดูก่อนภิกษุทั้งหลายส่วน สิ่งที่เรียกกันว่าจิตก็ดี ว่า มโน ก็ดี ว่า วิญญาณ ก็ดี นั้น ดวงอื่นเกิด ขึ้น ดวงอื่นดับไป ตลอดวัน ตลอดคืน.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือน วานร เมื่อเที่ยวไปอยู่ในป่าใหญ่ ย่อมจับกิ่งไม้ ปล่อย กิ่งนั้น จับกิ่งอื่น ปล่อยกิ่ง ที่จับเดิม เหนียวกิ่งอื่น เช่นนี้เรื่อย ๆ ไปข้อนี้ฉันใด ดูก่อนภิกษ ุทั้งหลาย สิ่งที่เรียกกันว่า จิตก็ดี ว่า มโนก็ดีว่า วิญญาณ ก็ดี นั้น ดวงอื่นเกิดขึ้น ดวงอื่นดับ ไป ตลอดวัน .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องที่กล่าวนี้ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อมกระทำในใจโดย แยบคาย เป็นอย่างดี ซึ่งปฏิจจ สมุปบาทนั่นเทียว ดังนี้ว่า เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะความเกิดขึ้น แห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น. เพราะสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึง ไม่มี เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึง ดับไป ข้อนี้ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ เพราะมีอวิชชา เป็นปัจจัย จึงมี สังขารทั้งหลาย เพราะมี สังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ...ฯลฯ... ...ฯลฯ... เพราะมีชาติเป็นปัจจัยชรามรณะ โสกะปริเทวะ-
ทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการ อย่างนี้. เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือ แห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว จึงมีความดับแห่งสังขาร เพราะมีความ ดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ ...ฯลฯ ......ฯลฯ... เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริ เทวะทุกขะโทมนัส -อุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น : ความดับลง แห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อม เบื่อหน่าย แม้ใน เวทนา ย่อม เบื่อหน่าย แม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน สังขารทั้งหลาย ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในวิญญาณ.
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลาย กำหนัดเพราะความคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้นเมื่อหลุดพ้น แล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้น แล้ว ดังนี้. เธอย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อันเรา อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่น เพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก ดังนี้ แล.
หน้า 383
ทิฏฐิ และ การหยั่งลงแห่งทิฏฐิ เนื่องมาจากการยึดซึ่งขันธ์ทั้งห้า
หน้า 384
๑. อัตรา-อัตตนิยานุทิฏฐิ (ทิฏฐิ และ การหยั่งลงแห่งทิฏฐิ)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่หนอ เพราะเข้าไปยึดถือซึ่งอะไร เพราะปักใจ เข้าไปสู่อะไร บุคคลจึงตามเห็น ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเราดังนี้?
ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น กราบทูลวิงวอนว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลาย ของพวก ข้าพระองค์ มีพระผู้มี พระภาคเป็น มูล มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่ง. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เป็นการชอบแล้ว หนอ ขอให้อรรถ แห่ง ภาษิตนั้น จงแจ่มแจ้งกะ พระผู้มี พระภาคเองเถิดภิกษุทั้งหลาย ได้ฟังจากพระผู้มี พระภาค แล้ว จักทรงจำไว้ ดังนี้. พระผู้มี พระภาคเจ้า จึงตรัสเตือนให้ภิกษุทั้งหลาย เหล่านั้นตั้งใจฟังด้วยดีแล้ว ได้ตรัส ข้อความ ดังต่อไปนี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อรูปนั่นแลมีอยู่ เพราะเข้าไปยึดถือซึ่งรูป เพราะปักใจเข้าไปสู่ รูปบุคคล จึงตามเห็นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเราดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอทั้งหลาย จะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร? รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง? (ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า) ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือ เป็นสุขเล่า? (เป็นทุกข์พระเจ้าข้า) แม้สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความ แปรปรวน เป็นธรรมดา แต่ถ้าไม่เข้าไปยึดถือซึ่งสิ่งนั้น แล้ว เขาจะตามเห็นได้ไหมว่า นั่นของเรานั่นเป็นเรา นั่น เป็นตัวตนของเรา ดังนี้? (ข้อนั้นหามิได้พระเจ้าข้า).
(ในกรณีแห่งเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็มีถ้อยคำที่ตรัส ตรัสถาม และภิกษุ ทูลตอบ อย่างเดียวกันทุกตัว อักษรกับ ในกรณีแห่งรูปนี้ ต่างกันแต่เพียงชื่อแห่งขันธ์ แตละขันธ์ เท่านั้น.)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในรูป แม้ใน เวทนา แม้ในสัญญา แม้ในสังขารทั้งหลาย แม้ในวิญญาณ. เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะความคลาย กำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้น แล้วย่อมมีญาณเกิดขึ้นแก่ อริยสาวก นั้นว่าหลุดพ้นแล้ว ดังนี้. อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัด ว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อันเราอยู่ จบแล้ว กิจที่ควรทำได้กระทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก ดังนี้.
หน้า 385
๒. สัสสตทิฏฐิ (ธรรมดา) (ทิฏฐิ และ การหยั่งลงแห่งทิฏฐิ)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่หนอ เพราะเข้าไปยึดถือซึ่งอะไร เพราะปักใจ เข้าไปสู่อะไร ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น อย่างนี้ว่า อัตตา (ตน) ก็อันนั้น โลกก็อันนั้นเรานั้นละไปแล้ว จักเป็น ผู้เที่ยง (นิจฺโจ) ยั่งยืน (ธุโว) เที่ยงแท้ (สสฺสโต) มีความ แปรปรวนเป็นธรรมดา (อวิปริฌามธมฺโม) ดังนี้?
ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น กราบทูลวิงวอนว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลาย ของพวก ข้าพระองค์ มีพระผู้มี พระภาค เป็นมูล มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่ง. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เป็นการชอบแล้ว หนอ ขอให้อรรถ แห่งภาษิตนั้น จงแจ่มแจ้งกะ พระผู้มีพระภาคเองเถิด ภิกษุทั้งหลายได้ฟัง จากพระผู้มีพระภาค แล้วจักทรงจำไว้ดังนี้. พระผู้ มีพระภาคเจ้า ตรัสเตือนให้ภิกษุ ทั้งหลายเหล่านั้น ตั้งใจฟังด้วยดีแล้ว ได้ตรัสข้อ ความดังต่อไปนี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อรูปนั่นแล มีอยู่ เพราะเข้าไปยึดถือซึ่งรูป เพราะปักใจ เข้าไปสู่ รูปทิฏฐิ จึงเกิดขึ้น อย่างนี้ ว่า อัตตา ก็อันนั้น โลกก็อันนั้น เรานั้นละไปแล้ว จักเป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน เที่ยงแท้ มีความไม่แปรปรวน เป็นธรรมดาดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอทั้งหลาย จะสำคัญความข้อนี้ ว่าอย่างไร?รูปเที่ยงหรือ ไม่เที่ยง? (ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า) ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า? (เป็นทุกข์พระเจ้าข้า) แม้สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความ แปรปรวน เป็นธรรมดา แต่ถ้าไม่เข้าไป ยึดถือซึ่งสิ่งนั้นแล้ว ทิฏฐิอย่างนี้ จะเกิดขึ้นได้ไหมว่า อัตตาก็อันนั้น โลกก็ อันนั้น เรานั้นละ ไปแล้ว จักเป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน เที่ยงแท้ มีความไม่แปรปรวน เป็นธรรมดา ดังนี้? (ข้อนั้นหามิได้พระเจ้าข้า).
(ในกรณีแห่งเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็มีถ้อยคำที่ตรัส ตรัสถาม และพวกภิกษุ ทูลตอบ อย่างเดียวกัน ทุกตัวอักษร กับในกรณีแห่งรูปนี้ ต่างกันแต่เพียงชื่อแห่งขันธ์ แต่ละขันธ์ เท่านั้น.)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป แม้ใน เวทนา แม้ในสัญญา แม้ใน สังขารทั้งหลาย แม้ในวิญญาณ. เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลาย กำหนัด เพราะความคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้น แล้ว ย่อมมีญาณเกิดขึ้นแก่อริย สาวกนั้นว่าหลุดพ้นแล้วดังนี้. อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดอย่างนี้ ว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ อันเราอยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ได้กระทำเสร็จแล้วกิจอื่น เพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก ดังนี้.
หน้า 386
๓. อุจเฉททิฏฐิ (ธรรมดา) (ทิฏฐิ และ การหยั่งลงแห่งทิฏฐิ)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยูหนอ เพราะเข้าไปยึดถือซึ่งอะไรเพราะปักใจ เข้าไปสู่อะไร ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น อย่างนี้ว่า เราไม่พึงมีด้วย ของเราไม่พึงมีด้วยเรา จักไม่มี ของเราจัก ไม่มี ดังนี้? ...ฯลฯ...
(ข้อความตรงที่ละเปยยาลไว้นี้ เหมือนกับข้อความในทิฏฐิที่ ๑ ที่ ๒ ตั้งแต่คำว่า ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น กราบทูล วิงวอน ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลาย ของพวกข้าพระองค์…ไปจนจบข้อความ ด้วยคำว่า . อริยสาวก นั้นย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อันเราอยู่จบแล้วกิจ ที่ควรทำได้กระทำเสร็จแล้ว กิจอื่น เพื่อความเป็น อย่างนี้ มิได้มีอีก ดังนี้. เป็นข้อความซึ่งเหมือนกันทุกตัวอักษร จนตลอดข้อความ มีแปลกกัน แต่เพียงชื่อแห่งทิฏฐิ แต่ละทิฏฐิ เท่านั้น.)
หน้า 387
๔. มิจฉาทิฏฐิ (ทิฏฐิ และ การหยั่งลงแห่งทิฏฐิ)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่หนอ เพราะเข้าไปยึดถือซึ่งอะไร เพราะปักใจเข้าไป สู่อะไร มิจฉาทิฏฐิ จึงเกิด ขึ้น?... ฯลฯ...
(ข้อความตรงที่ละเปยยาลไว้นี้ เหมือนกับข้อความในทิฏฐิที่ ๑ ที่ ๒ ตั้งแต่คำว่า ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น กราบทูล วิงวอน ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลาย ของพวกข้าพระองค์...ไปจนจบข้อความ ด้วยคำว่า... อริยสาวก นั้นย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อันเราอยู่จบแล้วกิจที่ควรทำได้กระทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อ ความเป็นอย่าง นี้ มิได้มีอีก ดังนี้. เป็นข้อความซึ่งเหมือนกันทุกตัวอักษร จนตลอดข้อความ ต่างกันแต่เพียง ชื่อแห่งทิฏฐิแต่ละ ทิฏฐิ เท่านั้น.)
หน้า 388
๕. สักกายทิฏฐิ (ทิฏฐิ และ การหยั่งลงแห่งทิฏฐิ)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่หนอ เพราะเข้าไปยึดถือซึ่งอะไรเพราะปักใจ เข้าไปสู่อะไร สักกายทิฏฐิ จึงเกิดขึ้น?... ฯลฯ..(ข้อความตรงที่ละเปยยาลไว้นี้ เหมือนกับข้อความใน ทิฏฐิที่ ๑ ที่ ๒ ตั้งแต่คำว่า ภิกษุทั้ง หลายเหล่านั้น กราบทูล วิงวอนว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลาย ของพวกข้าพระองค์... ไปจนจบ ข้อความ ด้วยคำว่า... อริยสาวกนั้น ย่อม รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อันเรา อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ได้กระทำ เสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก ดังนี้. เป็นข้อความซึ่งเหมือนกันทุกตัวอักษร จนตลอดข้อความ ต่างกันแต่ เพียงชื่อแห่ งทิฏฐิแต่ละทิฏฐิ เท่านั้น.)
หน้า 388-1
๖. อัตตานุทิฏฐิ (ทิฏฐิ และ การหยั่งลงแห่งทิฏฐิ)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่หนอ เพราะเข้าไปยึดถือ ซึ่งอะไรเพราะปักใจ เข้าไปสู่อะไร อัตตานุทิฏฐิ จึงเกิดขึ้น? ...ฯลฯ... (ข้อความตรงที่ละเปยยาลไว้นี้ เหมือนกับข้อความใน ทิฏฐิที่ ๑ ที่ ๒ ตั้งแต่คำว่า ภิกษุทั้ง หลายเหล่านั้น กราบทูล วิงวอนว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลาย ของพวกข้าพระองค์... ไปจนจบ ข้อความ ด้วยคำว่า... อริยสาวกนั้น ย่อม รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อันเรา อยู่จบแล้วกิจ ที่ควรทำได้กระทำ เสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก ดังนี้. เป็นข้อความซึ่งเหมือนกันทุกตัวอักษร จนตลอด ข้อความ ต่างกันแต่เพียงชื่อแห่งทิฏฐิ เท่านั้น.)_
หน้า 388-2
๗. สัญโญชนาภินิเวสวินิพันธะ (ทิฏฐิ และ การหยั่งลงแห่งทิฏฐิ)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่หนอ เพราะเข้าไปยึดถือซึ่งอะไร เพราะปักใจเข้าไป สู่อะไร ความผูกพัน ด้วย สังโยชน์ และอภินิเวส (ความผูกพันในอารมณ์ด้วยกิเลส เป็นเครื่องผูก และทิฏฐิเป็นเครื่องตามเห็น) จึงเกิดขึ้น? ...ฯลฯ
...(ข้อความตรงที่ละเปยยาลไว้นี้ เหมือนกับข้อความในทิฏฐิที่ ๑ ที่ ๒ ตั้งแต่คำว่า ภิกษุทั้งหลาย เหล่านั้น กราบ ทูลวิงวอน ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลาย ของพวกข้าพระองค์...ไปจนจบข้อความ ด้วยคำว่า... อริย สาวกนั้นย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อันเราอยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้กระทำเสร็จแล้ว กิจอื่น เพื่อความ เป็น อย่างนี้ มิได้มีอีก ดังนี้. เป็นข้อความซึ่งเหมือนกัน ทุกตัวอักษร จนตลอดข้อความ ต่างกันแต่เพียง ชื่อ แห่งทิฏฐิ เท่านั้น.)
หน้า 388-3
๘. สัญโญชนาภินิเวสวินิพันธาชโฌสานะ (ทิฏฐิ และ การหยั่งลงแห่งทิฏฐิ)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่หนอ เพราะเข้าไปยึดถือซึ่งอะไรเพราะปักใจ เข้าไปสู่อะไร การหยั่งลงสู่ความ ผูกพัน ด้วยสังโยชน์และอภินิเวส จึงเกิดขึ้น?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น กราบทูลวิงวอนว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลาย ของพวกข้าพระองค์ มีพระ ผู้มีพระ ภาคเป็นมูล มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาค เป็นที่พึ่ง. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เป็นการ ชอบแล้ว หนอ ขอให้อรรถ แห่งภาษิตนั้น จงแจ่มแจ้งกะ พระผู้มีพระภาคเองเถิดภิกษุทั้งหลาย ได้ฟังจาก พระผู้มี พระภาคแล้ว จักทรงจำไว้ ดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเตือนให้ภิกษุทั้งหลาย เหล่านั้น ตั้งใจฟัง ด้วยดีแล้ว ได้ตรัสข้อความดัง ต่อไปนี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อรูปนั่นแล มีอยู่ เพราะเข้าไปยึดถือซึ่งรูป พราะปักใจ เข้าไปสู่รูป การหยั่งลงสู่ความ ผูกพันด้วย สังโยชน์และอภินิเวส จึงเกิดขึ้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอทั้งหลาย จะสำคัญความข้อนี้ ว่าอย่างไร? รูปเที่ยง หรือ ไม่เที่ยง? (ไม่เที่ยงพระเจ้า ข้า) ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า? (เป็นทุกข์พระเจ้าข้า) แม้สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความ แปรปรวน เป็นธรรมดา แต่ถ้าไม่เข้าไปยึดถือ ซึ่งสิ่งนั้นแล้ว การหยั่งลงสู่ความผูกพัน ด้วยสังโยชน์ และ อภินิเวส จะเกิดขึ้นได้ไหม? (ข้อนั้นหามิได้พระเจ้าข้า).
(ในกรณีแห่งเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็มีถ้อยคำที่ตรัส ตรัสถาม และพวก ภิกษุทูล ตอบ อย่างเดียวกัน ทุกตัวอักษรกับ ในกรณีแห่งรูปนี้ ต่างกันแต่เพียงชื่อแห่ง ขันธ์แต่ละ ขันธ์เท่านั้น.)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป แม้ใน เวทนา แม้ในสัญญา แม้ใน สังขารทั้งหลาย แม้ในวิญญาณ.เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะความคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณ เกิดขึ้นแก่อริยสาวกนั้นว่า หลุดพ้นแล้วดังนี้. อริยสาวกนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ชาติสิ้น แล้ว พรหมจรรย์อันเรา อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้กระทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี อีก ดังนี้.
………………………………………………………………………………………………………………
หมายเหตุผู้รวบรวม : ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า ทิฏฐิทุกชนิดเกิดขึ้นเพราะปรารภ ขันธ์ ๕ อันเป็นที่ตั้งของ ความ ยึดมั่น ถือมั่น เนื่องมาจากเกิดผัสสะและเวทนาอย่างใด อย่างหนึ่ง ก่อน จึงเกิดการตามเห็น หรือเกิดทิฏฐิ ขึ้น โดย สมควรแก่ความ รู้สึก ที่จะเกิดขึ้นในใจของ บุคคล นั้น ๆ จนสรุปเป็นทิฏฐิได้อย่างหนึ่ง ๆ แม้นี้ก็เป็น อาการแห่งปฏิจจสมุปบาท ที่ซ่อนเร้นอยู่ อย่างครบถ้วน แต่ถูกปิดบังเสียมิดชิด ด้วยทิฏฐินั้น นั่นเองดังนั้น จึงถือว่า ทิฏฐิแต่ละทิฏฐิ ย่อมปิดบังอิทัปปัจจยตา กล่าวคือปฏิจจสมุปบาทอีกนั่นเอง.
หน้า 390
ไม่ควบคุมรากฐานแห่งปฏิจจสมุปบาทจึงเกิดทุกข์
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผัสสายตนะทั้งหลาย ๖ อย่างเหล่านี้ อันบุคคล ไม่ฝึกแล้วไม่คุ้มครองแล้วไม่รักษาแล้ว ไม่สำรวม ระวังแล้ว ย่อม เป็นสิ่งนำมาอย่างยิ่ง ซึ่งทุกข์.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผัสสายตนะทั้งหลาย ๖ อย่าง นั้นเป็นอย่างไรเล่า? หกอย่าง นั้นคือ
ผัสสายตนะคือจักษุ (ตา) …ฯลฯ… … นำมาอย่างยิ่งซึ่งความทุกข์
ผัสสายตนะคือโสตะ (หู) …ฯลฯ… … นำมาอย่างยิ่งซึ่งความทุกข์
ผัสสายตนะคือฆานะ (จมูก) …ฯลฯ… … นำมาอย่างยิ่งซึ่งความทุกข์
ผัสสายตนะคือชิวหา (ลิ้น) …ฯลฯ… … นำมาอย่างยิ่งซึ่งความทุกข์
ผัสสายตนะคือกายะ (กาย) …ฯลฯ… … นำมาอย่างยิ่งซึ่งความทุกข์
ผัสสายตนะคือมนะ (ใจ) …ฯลฯ… … นำมาอย่างยิ่งซึ่งความทุกข์
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผัสสายตนะทั้งหลาย ๖ อย่างเหล่านี้แล อันบุคคลไม่ฝึกแล้ว ไม่คุ้มครองแล้ว ไม่รักษาแล้ว ไม่สำรวม ระวังแล้ว ย่อมเป็นสิ่งนำมาอย่างยิ่งซึ่งทุกข์
……………………………………………………………………………………………………
หมายเหตุผู้รวบรวม : ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า ผัสสายตนะทั้งหลายเหล่านี้ เป็นรากฐาน หรือต้นเงื่อนของ ปฏิจจสมุปบาททางฝ่ายการปฏิบัติ ดังบาลีว่า “เพราะ อาศัยตาด้วย รูปทั้งหลายด้วย จึงเกิดจักขุวิญญาณ การประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ประการนั้น คือ ผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมี เวทนา …ฯลฯ…” ดังนี้เป็นต้น เพราะฉะนั้น การไม่ควบคุม ผัสสายตนะ ก็คือการไม่ควบคุมการเกิด แห่งปฏิจจสมุปบาท นั่นเอง จึงเกิดทุกข์.
หน้า 391
คนพาลกับบัณฑิตต่างกันโดยหลักปฏิจจสมุปบาท
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อคนพาล มีอวิชชาเป็นเครื่องห่อหุ้ม ประกอบพร้อมแล้วด้วย ตัณหา กายนี้ในลักษณะ อย่างนี้ ก็ตั้ง ขึ้นพร้อมแล้ว กล่าวคือ มีกายนี้ด้วย มีนามรูป อันเป็น ภายนอกด้วย (เป็นของคู่กัน). เพราะอาศัย ของเป็นคู่ ๆ อย่างนี้ ย่อมเกิด ผัสสะ เกิด อายตนะ ถึง ๖ ทางนั่นเทียว ซึ่งเมื่อมีการสัมผัสแล้วทั้งหมด หรือแม้เพียง อย่างใด อย่างหนึ่ง คนพาลก็เสวยสุขและทุกข์.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อคนบัณฑิต มีอวิชชาเป็นเครื่องห่อหุ้ม ประกอบพร้อมแล้วด้วย ตัณหา กายนี้ในลักษณะ อย่างนี้ ก็ตั้งขึ้นพร้อมแล้ว กล่าวคือ มีกายนี้ด้วยมีนามรูป อันเป็น ภายนอก ด้วย (เป็นของคู่กัน). เพราะอาศัย ของเป็นคู่ ๆ อย่างนี้ ย่อมเกิด ผัสสะ เกิด อายตนะถึง ๖ ทางนั่นเทียว ซึ่งเมื่อมีการสัมผัสแล้วทั้งหมด หรือแม้ เพียงอย่างใดอย่าง หนึ่ง บัณฑิตก็เสวยสุขและทุกข์.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในระหว่างคนพาลกับบัณฑิต ดังที่กล่าวมานี้ อะไรเป็นความผิด แปลกแตกต่างกัน อะไร เป็นความ มุ่งหมายที่แตกต่างกัน อะไรเป็นเครื่องกระทำ ให้ต่างกัน ระหว่างคนพาลกับบัณฑิต?
ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น กราบทูลวิงวอนว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลาย ของพวก ข้าพระองค์ มีพระผู้มี พระภาค เป็นมูล มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มี พระภาคเป็นที่พึ่ง. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เป็นการชอบแล้ว หนอ ขอให้อรรถแห่ง ภาษิตนั้น จงแจ่มแจ้งกะ พระผู้มีพระภาคเองเถิด ภิกษุทั้งหลายได้ฟังจากพระผู้มี พระภาค แล้ว จักทรงจำไว้ ดังนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น พวกเธอทั้งหลายจงฟัง จงทำในใจให้สำเร็จ ประโยชน์ เราจักกล่าวบัดนี้ ดังนี้.
ครั้นภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น ทูลสนองรับพระพุทธดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัส ถ้อยคำ เหล่านี้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อคนพาล ถูกอวิชชาใดห่อหุ้มแล้ว ประกอบพร้อมแล้วด้วย ตัณหาใด กายนี้จึงตั้งขึ้น พร้อม อวิชชา นั้น เป็นสิ่งที่คนพาลละไม่ได้ด้วยตัณหา นั้นก็ยังไม่สิ้นรอบด้วย. ที่เป็นดังนี้เพราะเหตุไร? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ที่เป็นดังนี้ เพราะเหตุว่า คนพาลไม่ได้ ประพฤติ พรหมจรรย์เพื่อความสิ้นไปแห่ง ทุกข์ โดยชอบ เพราะเหตุนั้น คนพาลจึงเป็นผู้ เข้าถึง กาย เพราะการแตกทำลายแห่งกาย. คนพาลนั้น เป็นผู้ เข้าถึงกายอยู่ ย่อมไม่ พ้นจากชาติชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะ- โทมนัสอุปายาสทั้งหลาย เรากล่าวว่า ย่อมไม่พ้น จากทุกข์ ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบัณฑิต ถูกอวิชชาใดห่อหุ้มแล้ว ประกอบพร้อมแล้วด้วยตัณหา ใด กายนี้จึงตั้งขึ้นพร้อม อวิชชา นั้น เป็นสิ่งที่บัณฑิตละได้แล้วด้วยตัณหานั้น ก็สิ้นรอบ ด้วย. ที่เป็นดังนี้เพราะเหตุไร?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ที่เป็นดังนี้ เพราะ เหตุว่า บัณฑิตไม่ได้ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อความสิ้นไปแห่ง ทุกข์โดยชอบเพราะเหตุนั้น บัณฑิตจึงเป็น ผู้เข้าถึงกาย เพราะการ แตกทำลายแห่งกาย. บัณฑิตนั้นเป็นผู้ เข้าถึงกายอยู่ ย่อมไม่พ้นจากชาติ ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย เรากล่าวว่า ย่อมไม่พ้นจากทุกข์ ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แล เป็นความผิดแปลกแตกต่างกัน เป็นความมุ่งหมาย ที่ แตกต่างกัน เป็นเครื่อง ทำให้ต่าง กันระหว่าง คนพาลกับบัณฑิต กล่าวคือ ระบบ พรหมจริยวาส ที่แตกต่างกัน ดังนี้แล.
หน้า 393
เป็นสมณะหรือไม่เป็นสมณะ
ขึ้นอยู่กับการรู้ หรือไม่รู้ปฏิจจสมุปบาทโดยนัยสี่
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์ก็ตาม เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมไม่รู้ทั่วถึงซึ่ง ชรามรณะ ย่อมไม่รู้ทั่วถึง ซึ่งสาเหตุ ให้เกิดขึ้นแห่งชรามรณะ ย่อมไม่รู้ทั่วถึง ซึ่งความดับ ไม่เหลือแห่งชรามรณะ ทั้งย่อมไม่รู้ทั่วถึงซึ่งข้อ ปฏิบัติ เครื่องทำสัตว์ ให้ลุถึงความดับ ไม่เหลือ แห่งชรามรณ
ย่อมไม่รู้ทั่วถึงซึ่ง ชาติ ย่อมไม่รู้ทั่วถึงซึ่งสาเหตุ ให้เกิดขึ้นแห่งชาติ ย่อมไม่รู้ทั่วถึง ซึ่งความ ดับไม่เหลือ แห่ง ชาติ ทั้งย่อม ไม่รู้ทั่วถึงซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ ให้ลุถึง ความดับ ไม่เหลือ แห่งชาติ
ย่อมไม่รู้ทั่วถึงซึ่ง ภพ ย่อมไม่รู้ทั่วถึงซึ่งสาเหตุ ให้เกิดขึ้นแห่งภพ ย่อมไม่รู้ทั่วถึงซึ่ง ความดับ ไม่เหลือแห่งภพ ทั้งย่อมไม่รู้ ทั่วถึงซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับ ไม่เหลือ แห่งภพ
ย่อมไม่รู้ทั่วถึงซึ่ง อุปทาน ย่อมไม่รู้ทั่วถึงซึ่งสาเหตุ ให้เกิดขึ้นแห่งอุปทาน ย่อมไม่รู้ ทั่วถึง ซึ่งความดับไม่เหลือ แห่ง อุปทาน ทั้งย่อมไม่รู้ทั่วถึงซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ ให้ลุถึงความ ดับ ไม่เหลือแห่งอุปทาน
ย่อมไม่รู้ทั่วถึงซึ่ง ตัณหา ย่อมไม่รู้ทั่วถึงซึ่งสาเหตุ ให้เกิดขึ้นแห่งตัณหา ย่อมไม่รู้ทั่วถึง ซึ่งความดับ ไม่เหลือ แห่ง ตัณหา ทั้งย่อมไม่รู้ทั่วถึงซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ ให้ลุถึง ความดับไม่เหลือแห่ง ตัณหา
ย่อมไม่รู้ทั่วถึงซึ่ง เวทนา ย่อมไม่รู้ทั่วถึงซึ่งสาเหตุ ให้เกิดขึ้นแห่งเวทนา
ย่อมไม่รู้ ทั่วถึงซึ่ง ความดับไม่เหลือ แห่ง เวทนา ทั้งย่อมไม่รู้ทั่วถึงซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ ให้ลุถึงความดับ ไม่เหลือแห่งเวทนา
ย่อมไม่รู้ทั่วถึงซึ่ง ผัสสะ ย่อมไม่รู้ทั่วถึงซึ่งสาเหตุ ให้เกิดขึ้นแห่งผัสสะ ย่อมไม่รู้ ทั่วถึงซึ่ง ความดับ ไม่เหลือแห่ง ผัสสะ ทั้งย่อมไม่รู้ทั่วถึงซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ ให้ลุถึงความดับ ไม่เหลือแห่งผัสสะ
ย่อมไม่รู้ทั่วถึงซึ่ง สฬายตนะ ย่อมไม่รู้ทั่วถึงซึ่งสาเหตุ ให้เกิดขึ้นแห่งสฬายตนะ ย่อมไม่รู้ ทั่วถึง ซึ่งความดับ ไม่เหลือแห่ง สฬายตนะ ทั้งย่อมไม่รู้ทั่วถึง ซึ่งข้อปฏิบัติ เครื่องทำสัตว์ ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งสฬายตนะ
ย่อมไม่รู้ทั่วถึงซึ่ง นามรูป ย่อมไม่รู้ทั่วถึงซึ่งสาเหตุ ให้เกิดขึ้นแห่งนามรูป ย่อมไม่รู้ ทั่วถึงซึ่ง ความ ดับไม่เหลือ แห่ง นามรูป ทั้งย่อมไม่รู้ทั่วถึงซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ ให้ลุถึง ความดับ ไม่เหลือแห่งนามรูป
ย่อมไม่รู้ทั่วถึงซึ่ง วิญญาณ ย่อมไม่รู้ทั่วถึงซึ่งสาเหตุ ให้เกิดขึ้นแห่งวิญญาณ ย่อมไม่รู้ ทั่วถึง ซึ่งความดับไม่ เหลือ แห่ง วิญญาณ ทั้งย่อมไม่รู้ทั่วถึงซึ่งข้อปฏิบัติเครื่อง ทำสัตว์ให้ลุถึง ความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ
ย่อมไม่รู้ทั่วถึงซึ่ง สังขารทั้งหลาย ย่อมไม่รู้ทั่วถึงซึ่งสาเหตุ ให้เกิดขึ้นแห่งสังขาร ย่อมไม่รู้ ทั่วถึงซึ่งความดับ ไม่เหลือแห่ง สังขาร ทั้งย่อมไม่รู้ทั่วถึง ซึ่งข้อปฏิบัติ เครื่องทำสัตว์ให้ลุ ถึงความดับ ไม่เหลือแห่งสังขาร
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น มิใช่ผู้ที่ควรได้รับการสมมติว่า เป็น สมณะ ในหมู่สมณะ มิใช่ ผู้ที่ควร ได้รับการสมมติว่า เป็นพราหมณ์ในหมู่ พราหมณ์.
อีกอย่างหนึ่ง บุคคลผู้ไม่รู้เหล่านั้น จะทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ แห่งความเป็นสมณะ หรือ ประโยชน์แห่งความ เป็น พราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงแล้วแลอยู่ ในทิฏฐิธรรมนี้ หาได้ไม่.
(ปฏิปักขนัย ฝ่ายตรงข้าม)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์ก็ตาม เหล่าใดเหล่าหนึ่งย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง ชรามรณะ ย่อมรู้ทั่วถึง ซึ่ง เหตุให้ เกิดขึ้นแห่งชรามรณะ ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่งความดับ ไม่เหลือ แห่งชรามรณะ ทั้งย่อมรู้ทั่วถึงซึ่งข้อปฏิบัติ เครื่อง ทำสัตว์ให้ลุถึง ความดับ ไม่เหลือ แห่ง ชรามรณะ
ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง ชาติ ย่อมรู้ถึงซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งชาติ ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่งความดับ ไม่เหลือ แห่งชาติ ทั้งย่อมรู้ทั่ว ถึง ซึ่งข้อ ปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึง ความดับ ไม่เหลือแห่งชาติ
ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง ภพ ย่อมรู้ถึงซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งภพ ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่งความดับ ไม่เหลือ แห่ง ภพ ทั้งย่อมรู้ทั่วถึง ซึ่งข้อ ปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งภพ
ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่งอุปทาน ย่อมรู้ถึงซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งอุปทาน ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่งความดับ ไม่เหลือ แห่งอุปทาน ทั้งย่อมรู้ทั่ว ถึงซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึง ความดับ ไม่เหลือ แห่งอุปทาน
ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่งตัณหา ย่อมรู้ถึงซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งตัณหา ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่งความดับ ไม่เหลือ แห่งตัณหา ทั้ง ย่อม รู้ทั่วถึง ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึง ความดับ ไม่เหลือแห่งตัณหา
ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง เวทนา ย่อมรู้ถึงซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งเวทนา ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่งความดับ ไม่เหลือ แห่งเวทนา ทั้งย่อม รู้ทั่วถึง ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึง ความดับ ไม่เหลือ แห่ง เวทนา
ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่งผัสสะ ย่อมรู้ถึงซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งผัสสะ ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่งความดับ ไม่เหลือ แห่ง ผัสสะ ทั้งย่อม รู้ทั่วถึง ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับ ไม่เหลือแห่งผัสสะ
ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่งสฬายตนะ ย่อมรู้ถึงซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งสฬายตนะ ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง ความดับ ไม่เหลือ แห่งสฬายตนะ ทั้งย่อมรู้ทั่วถึง ซึ่งข้อ ปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ ให้ลุถึง ความดับ ไม่เหลือ แห่งสฬายตนะ
ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่งนามรูป ย่อมรู้ถึงซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งนามรูป ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่งความดับ ไม่เหลือ แห่งนามรูป ทั้งย่อม รู้ทั่วถึง ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึง ความดับ ไม่เหลือแห่งนามรูป
ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง วิญญาณ ย่อมรู้ถึงซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งวิญญาณ ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง ความดับ ไม่เหลือ แห่งวิญญาณ ทั้งย่อมรู้ ทั่วถึงซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุ ถึงความดับ ไม่เหลือ แห่งวิญญาณ
ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่งสังขารทั้งหลาย ย่อมรู้ถึงซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งสังขารย่อมรู้ทั่วถึง ซึ่งความดับ ไม่เหลือแห่ง สังขาร ทั้งย่อม รู้ทั่วถึงซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึง ความดับไม่เหลือ แห่งสังขาร
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น
ย่อมเป็นผู้ควรได้รับการสมมติว่า เป็น สมณะในหมู่สมณะ ย่อมเป็นผู้ควรได้รับการสมมติว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์.
อีกอย่างหนึ่ง บุคคลผู้รู้ทั่วถึงเหล่านั้น ย่อมทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์แห่งความเป็น สมณะ หรือประโยชน์ แห่งความ เป็น พราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงแล้วแลอยู่ ในทิฏฐิธรรม นี้ ได้โดยแท้ ดังนี้ แล.
..............................................................................................
ห ม ายเห ตุผู้รวบ รวม : ยังมีสูตรอีกสูตรหนึ่ง (สูตรที่ ๙ ทสพลวรรคนิทานสังยุตต์ นิทาน.สฺ. ๑๖/๕๓/๙๔.) มีเนื้อความเหมือนกับสูตรข้างบนนี้ทุกประการ ผิดกันแต่ เพียงสูตรนี้ ใช้คำว่า ปชานาติ (รู้ทั่วถึง) สูตรโน้นใช้คำว่า ปริชานาติ (รู้รอบคอบ) สำหรับการรู้ปฏิจจ สมุปบาท. และยังมีสูตรอีกสูตรหนึ่ง (สูตรที่ ๔ อาหารวรรค นิทานสังยุตต์ นิทาน.สํ.๑๖/๑๙/๔๐.)มีใจความเหมือนสูตรข้างบนนี้ทุกประการ ผิดกันแต่เพียงว่า ทรงใช้อักษรให้มากขึ้น.
ตัวอย่างเช่นแทนที่จะตรัสว่า ชรามรณะ เหตุเกิดชรามรณะ ความดับชรามรณะ ทางให้ ถึงความ ดับ ชรามรณะ ตรง ๆ ดังนี้ แต่ได้ใช้คำ ว่า ธรรมขึ้นมาก่อน ว่า ธรรมเหตุเกิด ธรรม ความดับธรรม ทางให้ถึงความดับธรรม แล้วจึงขยายความทีหลังให้เห็นได้ว่า สิ่งที่เรียกว่า ธรรมนั้นคือชรามรณ ะ ชาติ ภพ....กระทั่งถึง....วิญ ญ าณ สังขาร โดยตรัสว่า ....ไม่รู้ทั่วถึง ธรรมเหล่านี้ เหตุเกิดธรรมเหล่านี้ ความดับธรรมเหล่านี้ ทางให้ถึงความดับ ธรรมเหล่านี้ ไม่รู้ทั่วถึงธรรมเหล่าไหน เหตุเกิดธรรมเหล่าไหน ความดับธรรมเหล่าไหน ทางให้ถึงความดับ ธรรมเหล่าไหน? ไม่รู้ทั่วถึงชรามรณะ เหตุเกิดชรามรณะ ความดับชรามรณะ ทางให้ถึงความ ดับชรามรณะ ...ฯลฯ...ฯลฯ...
เช่นนี้เรื่อยไปทุกอาการของ ปฏิจจสมุปบาท จึงถึงอาการที่ ๑๑ คือสังขาร แล้วสรุปรวม ด้วยคำว่าธรรมอีกครั้งว่า ไม่รู้ทั่วถึงธรรมเหล่านี้ เหตุเกิดธรรมเหล่านี้ ความดับธรรม เหล่านี้ ทางให้ถึงความดับธรรมเหล่านี้ ส่วนความ นอกนี้ทั้งตอนต้นและตอนท้าย เหมือนกับเนื้อ ความ ของสูตรข้างบนนั้นทุกประการ.
แม้ในฝ่ายปฏิปักขนัย หรือนัยตรงกันข้าม ก็ได้ตรัสโดยนัยะ ดังที่กล่าวมานี้ หากแต่ว่า เป็น ปฏิปักขนัยเท่านั้น. การที่ทรงแสดงโดยยกธรรมขึ้นมาก่อนเช่นนี้ ดูคล้าย ๆ กับว่า ประสงค์จะ ให้เข้าใจว่าทุกสิ่งทุกอย่างไม่ว่าอะไร เรียกว่า ธรรม คำเดียวได้ทั้งนั้น.
หน้า 398
เป็นสมณะหรือไม่เป็นสมณะ
ขึ้นอยู่กับการรู้หรือไม่รู้ ชรามรณะ โดยนัยสี่
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์ก็ตาม เหล่าใดเหล่าหนึ่งย่อมไม่รู้ทั่วถึงซึ่ง ชรามรณะ ย่อมไม่รู้ทั่วถึง ซึ่งเหตุ ให้เกิดขึ้นแห่งชรามรณะ ย่อมไม่รู้ทั่วถึง ซึ่งความดับ ไม่เหลือ แห่งชรามรณะ ย่อมไม่รู้ทั่วถึงซึ่งข้อปฏิบัติ เครื่องทำสัตว์ให้ลุ ถึงความดับ ไม่เหลือ แห่งชรามรณะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะ หรือพราหมณ์เหล่านั้น มิใช่ ผู้ที่ควรได้รับ การสมมติว่า เป็นสมณะในหมู่สมณะ มิใช่ผู้ที่ควรได้รับการ สมมติว่า เป็นพราหมณ์ในหมู่ พราหมณ์. อีกอย่างหนึ่ง บุคคลผู้ไม่รู้เหล่านั้น จะทำให้แจ้งซึ่ง ประโยชน์แห่ง ความเป็น สมณะ หรือประโยชน์ แห่งความเป็น พราหมณ์ ด้วยปัญญา อันยิ่งเอง เข้าถึงแล้วแล อยู่ ในทิฏฐธรรมนี้ หาได้ไม่.
(ปฏิปักขนัย)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนว่าสมณะหรือพราหมณ์ก็ตาม เหล่าใดเหล่าหนึ่งย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง ชรามรณะ ย่อมรู้ ทั่วถึง ซึ่งเหตุ ให้เกิดขึ้นแห่งชรามรณะ ย่อมรู้ทั่วถึง
ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ ย่อมรู้ทั่วถึง ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึง ความดับ ไม่เหลือ แห่งชรา มรณะ ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมเป็น ผู้ควรได้รับการสมมติว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ ย่อมเป็นผู้ควร ได้รับการสมมติว่าเป็น พราหมณ์ในหมู่พราหมณ์. อีกอย่างหนึ่ง บุคคลผู้รู้ทั่วถึง เหล่านั้น ย่อมทำให้ แจ้งซึ่ง ประโยชน แห่ง ความเป็นสมณะ หรือประโยชน์แห่งความ เป็นพราหมณ์ด้วย ปัญญา อันยิ่งเอง เข้าถึงแล้วแล อยู่ในทิฏฐธรรมนี้ ได้โดยแท้ ดังนี้แล
หน้า 399
เป็นสมณะหรือไม่เป็นสมณะ
ขึ้นอยู่กับการรู้หรือไม่รู้ ชาติ โดยนัยสี่
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์ก็ตาม เหล่าใดเหล่าหนึ่งย่อมไม่รู้ทั่วถึง ซึ่ง ชาติ ย่อมไม่รู้ทั่วถึง ซึ่งเหตุ ให้เกิดขึ้น แห่งชาติ ย่อมไม่รู้ทั่วถึง ซึ่งความดับไม่เหลือ แห่งชาติ ย่อมไม่รู้ทั่วถึงซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุ ถึงความดับไม่เหลือ แห่งชาติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายสมณะ หรือพราหมณ์ เหล่านั้น มิใช่ผู้ที่ควรได้รับการ สมมติว่า เป็น สมณะในหมู่สมณะ มิใช่ผู้ที่ควรได้รับการ สมมติว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์. อีกอย่างหนึ่ง บุคคลผู้ไม่รู้เหล่านั้น จะทำให้แจ้งซึ่ง ประโยชน์แห่งความเป็นสมณะ หรือประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ เข้าถึงแล้วแลอยู่ ในทิฏฐธรรมนี้หาได้ไม่.
(ต่อนี้ไป เป็นปฏิปักขนัย ฝ่ายตรงข้าม)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์ก็ตาม เหล่าใดเหล่าหนึ่ง
ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง ชาติ ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่งเหตุ ให้เกิดขึ้น แห่งชาติ ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชาติ ย่อมรู้ทั่วถึง ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึง ความดับไม่เหลือแห่ง ชาติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะ หรือ พราหมณ์เหล่านั้น ย่อมเป็นผู้ควรได้รับการ สมมติ ว่าเป็นสมณะ ในหมู่สมณะ ย่อมเป็นผู้ควรได้รับการสมมติว่าเป็น พราหมณ์ในหมู่ พราหมณ์.
อีกอย่างหนึ่ง บุคคลผู้รู้ ทั่วถึงเหล่านั้น ย่อมทำให้แจ้งซึ่ง ประโยชน์แห่งความเป็น สมณะ หรือประโยชน์แห่ง ความเป็น พราหมณ์ ด้วย ปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงแล้วแลอยู่ ในทิฏฐธรรมนี้ ได้โดยแท้ ดังนี้แล
หน้า 400
เป็นสมณะหรือไม่เป็นสมณะ
ขึ้นอยู่กับการรู้หรือไม่รู้ ภพ โดยนัยสี่
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์ก็ตาม เหล่าใดเหล่าหนึ่งย่อมไม่รู้ทั่วถึง ซึ่งภพ ย่อมไม่รู้ทั่วถึง ซึ่งเหตุ ให้เกิดขึ้น แห่งภพ ย่อมไม่รู้ทั่วถึง ซึ่งความดับ ไม่เหลือแห่งภพ ย่อมไม่รู้ทั่วถึงซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึง ความดับไม่เหลือ แห่งภพ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะ หรือพราหมณ์เหล่านั้น มิใช่ผู้ที่ควรได้รับการ สมมติ ว่าเป็นสมณะ ในหมู่สมณะ มิใช่ผู้ที่ควรได้รับการสมมติว่า เป็นพราหมณ์ในหมู่ พราหมณ์. อีกอย่างหนึ่ง บุคคล ผู้ไม่รู้เหล่านั้น จะทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ แห่ง ความเป็นสมณะ หรือประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ เข้าถึงแล้ว แลอยู่ ในทิฏฐธรรมนี้หาได้ไม่.
(ต่อนี้ไป เป็นปฏิปักขนัย ฝ่ายตรงข้าม)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์ก็ตาม เหล่าใดเหล่าหนึ่งย่อมรู้ทั่วถึง ซึ่งภพ ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่งเหตุ ให้เกิดขึ้น แห่งภพ ย่อมรู้ทั่วถึง ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งภพ ย่อมรู้ ทั่วถึง ซึ่งข้อ ปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึง ความ ดับไม่เหลือแห่งภพ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมเป็นผู้ควรได้รับการสมมติ ว่าเป็น สมณะ ในหมู่สมณะ ย่อมเป็นผู้ ควรได้รับการสมมติว่าเป็นพราหมณ์ ในหมู่ พราหมณ์. อีกอย่างหนึ่ง บุคคลผู้รู้ ทั่วถึง เหล่านั้น ย่อมทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ แห่งความเป็นสมณะ หรือประโยชน์แห่งความ เป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่ง เอง เข้าถึงแล้วแลอยู่ ในทิฏฐธรรมนี้ ได้โดย แท้ ดังนี้แล
หน้า 401
เป็นสมณะหรือไม่เป็นสมณะ
ขึ้นอยู่กับการรู้หรือไม่รู้ อุปาทาน โดยนัยสี่
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์ก็ตาม เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมไม่รู้ทั่วถึง ซึ่ง อุปาทาน ย่อมไม่รู้ทั่วถึง ซึ่งเหตุให้ เกิดขึ้นแห่งอุปาทาน ย่อมไม่รู้ทั่วถึงซึ่ง ความดับ ไม่เหลือ แห่งอุปาทาน ย่อมไม่รู้ทั่วถึง ซึ่งข้อปฏิบัติ เครื่องทำสัตว์ให้ลุถึง ความดับ ไม่เหลือแห่งอุปาทาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น มิใช่ผู้ ที่ควร ได้รับการสมมติว่าเป็น สมณะในหมู่สมณะ มิใช่ผู้ที่ควรได้รับการสมมติว่าเป็น พราหมณ์ ในหมู่พราหมณ์. อีกอย่างหนึ่ง บุคคลผู้ไม่รู้เหล่านั้น จะทำ ให้แจ้งซึ่ง ประโยชน์แห่งความ เป็นสมณะ หรือประโยชน์แห่งความ เป็นพราหมณ์ เข้าถึงแล้วแล อยู่ในทิฏฐธรรมนี้ หาได้ไม่.
(ต่อนี้ไป เป็นปฏิปักขนัย ฝ่ายตรงข้าม)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์ก็ตาม เหล่าใดเหล่าหนึ่งย่อมรู้ทั่วถึง ซึ่ง อุปาทาน ย่อมรู้ทั่วถึง ซึ่งเหตุให้ เกิดขึ้นแห่งอุปาทาน ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่งความดับ ไม่เหลือแห่ง อุปาทาน ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่งข้อปฏิบัติเครื่อง ทำสัตว์ให้ลุถึงความดับ ไม่เหลือแห่งอุปาทาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือ พราหมณ์เหล่านั้นย่อมเป็นผู้ ควรได้รับการสมมติว่า เป็นสมณะ ในหมู่สมณะ ย่อมเป็นผู้ควรได้รับการสมมติว่าเป็น พราหมณ์ในหมู่ พราหมณ์. อีกอย่างหนึ่ง บุคคลผู้รู้ทั่วถึงเหล่านั้น ย่อม ทำให้แจ้ง ซึ่งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะ หรือ ประโยชน์แห่งความ เป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญา อันยิ่งเอง เข้าถึงแล้วแลอยู่ ในทิฏฐธรรมนี้ ได้โดยแท้ ดังนี้แล
หน้า 402
เป็นสมณะหรือไม่เป็นสมณะ
ขึ้นอยู่กับการรู้หรือไม่รู้ ตัณหา โดยนัยสี่
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์ก็ตาม เหล่าใดเหล่าหนึ่งย่อมไม่รู้ทั่วถึง ซึ่ง ตัณหา ย่อมไม่รู้ทั่วถึง ซึ่งเหตุให้เกิด ขึ้นแห่งตัณหา ย่อมไม่รู้ทั่วถึงซึ่งความดับ ไม่เหลือแห่งตัณหา ย่อมไม่รู้ทั่วถึง ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่อง ทำสัตว์ให้ลุถึงความดับ ไม่เหลือแห่งตัณหา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น มิใช่ผู้ที่ควร ได้รับการสมมติว่าเป็น สมณะ ในหมู่สมณะ มิใช่ผู้ที่ควรได้รับการสมมติว่าเป็น พราหมณ์ ในหมู่พราหมณ์. อีกอย่าง หนึ่ง บุคคลผู้ไม่รู้เหล่านั้น จะทำให้ แจ้งซึ่ง
ประโยชน์แห่งความเป็นสมณะ หรือประโยชน์ แห่งความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญา อันยิ่งเองเข้าถึงแล้วแลอยู่ ในทิฏฐธรรมนี้ หาได้ไม่.
(ต่อนี้ไป เป็นปฏิปักขนัย ฝ่ายตรงข้าม)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์ก็ตาม เหล่าใดเหล่าหนึ่งย่อมรู้ทั่วถึง ซึ่ง ตัณหา ย่อมรู้ทั่วถึง ซึ่งเหตุให้เกิด ขึ้นแห่งตัณหา ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่ง ตัณหา ย่อมรู้ทั่วถึง ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่อง ทำสัตว์ ให้ลุถึงความดับ ไม่เหลือแห่งตัณหา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมเป็นผู้ ควรได้รับ การสมมติว่าเป็น สมณะในหมู่สมณะ ย่อมเป็นผู้ควรได้รับการสมมติว่าเป็นพราหมณ์ ในหมู่ พราหมณ์. อีกอย่างหนึ่ง บุคคลผู้รู้ทั่วถึงเหล่านั้น ย่อม ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ แห่งความเป็นสมณะ หรือประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงแล้วแลอยู่ ในทิฏฐธรรมนี้ ได้โดยแท้ ดังนี้แล
หน้า 403
เป็นสมณะหรือไม่เป็นสมณะ
ขึ้นอยู่กับการรู้หรือไม่รู้ เวทนา โดยนัยสี่
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์ก็ตาม เหล่าใดเหล่าหนึ่งย่อมไม่รู้ทั่วถึง ซึ่ง เวทนา ย่อมไม่รู้ทั่วถึง ซึ่งเหตุให้เกิด ขึ้นแห่งเวทนา ย่อมไม่รู้ทั่วถึงซึ่งความดับไม่เหลือ แห่งเวทนา ย่อมไม่รู้ทั่วถึงซึ่งข้อปฏิบัติเครื่อง ทำสัตว์ให้ลุถึงความดับ
.
ไม่เหลือแห่งเวทนา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น มิใช่ผู้ที่ควร ได้รับ การสมมติว่าเป็น สมณะ ในหมู่สมณะ มิใช่ผู้ที่ควรได้รับการสมมติว่าเป็น พราหมณ์ ในหมู่ พราหมณ์. อีกอย่างหนึ่ง บุคคลผู้ไม่รู้ เหล่านั้น จะทำให้แจ้ง ซึ่งประโยชน์แห่งความเป็น สมณะ หรือประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญา อันยิ่ง เอง เข้าถึงแล้วแลอยู่ ในทิฏฐธรรมนี้ หาได้ไม่.
(ต่อนี้ไป เป็นปฏิปักขนัย ฝ่ายตรงข้าม)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์ก็ตาม เหล่าใดเหล่าหนึ่งย่อมรู้ทั่วถึง ซึ่ง เวทนา ย่อมรู้ทั่วถึง ซึ่งเหตุ ให้เกิด ขึ้นแห่งเวทนา ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่ง เวทนา ย่อมรู้ทั่วถึง ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่อง ทำสัตว์ให้ลุถึง ความดับ ไม่เหลือ แห่งเวทนา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมเป็น ผู้ควรได้รับการ สมมติว่า เป็นสมณะในหมู่สมณะ ย่อมเป็นผู้ควรได้รับการสมมติว่าเป็นพราหมณ์ ในหมู่ พราหมณ์. อีกอย่างหนึ่ง บุคคลผู้รู้ทั่วถึงเหล่านั้น ย่อมทำ ให้แจ้งซึ่งประโยชน์แห่ง ความเป็นสมณะ หรือ ประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงแล้ว แลอยู่ ในทิฏฐธรรม นี้ ได้โดยแท้ ดังนี้ แล
หน้า 404
เป็นสมณะหรือไม่เป็นสมณะ
ขึ้นอยู่กับการรู้หรือไม่รู้ ผัสสะ โดยนัยสี่
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์ก็ตาม เหล่าใดเหล่าหนึ่งย่อมไม่รู้ทั่วถึง ซึ่งผัสสะ ย่อมไม่รู้ทั่วถึง ซึ่งเหตุ ให้ เกิดขึ้นแห่งผัสสะ ย่อมไม่รู้ทั่วถึง
ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ ย่อมไม่รู้ทั่วถึง ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึง ความดับ ไม่เหลือแห่งผัสสะ ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น มิใช่ผู้ที่ควรได้ รับการสมมติว่า เป็นสมณะในหมู่สมณะ มิใช่ผู้ที่ควรได้รับการ สมมติว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่ พราหมณ์. อีกอย่างหนึ่ง บุคคลผู้ไม่รู้เหล่านั้น จะทำให้แจ้ง ซึ่งประโยชน์แห่งความเป็น สมณะ หรือประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงแล้วแลอยู่ ในทิฏฐธรรมนี้ หาได้ไม่.
(ต่อนี้ไป เป็นปฏิปักขนัย ฝ่ายตรงข้าม)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์ก็ตาม เหล่าใดเหล่าหนึ่งย่อมรู้ทั่วถึง ซึ่งผัสสะ ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่งเหตุ ให้เกิด ขึ้นแห่งผัสสะ ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่งความดับไม่เหลือ แห่งผัสสะ ย่อมรู้ ทั่วถึง ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ ให้ลุถึง ความดับ ไม่เหลือ แห่งผัสสะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์ เหล่านั้น ย่อมเป็นผู้ควรได้รับ การสมมุติ ว่าเป็นสมณะ ในหมู่สมณะ ย่อมเป็นผู้ควรได้รับการสมมติว่าเป็น พราหมณ์-ในหมู่พราหมณ์. อีกอย่างหนึ่ง
บุคคลผู้รู้ทั่วถึงเหล่านั้น ย่อมทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ แห่งความเป็นสมณะ หรือ ประโยชน์ แห่งความเป็น พราหมณ์ ด้วย ปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงแล้วแลอยู่ ในทิฏฐธรรมนี้ ได้โดยแท้ ดังนี้ แล
หน้า 405
เป็นสมณะหรือไม่เป็นสมณะ
ขึ้นอยู่กับการรู้หรือไม่รู้ สฬายตนะ โดยนัยสี่
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์ก็ตาม เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมไม่รู้ทั่วถึง ซึ่ง สฬายตนะ ย่อมไม่รู้ทั่วถึง ซึ่งเหตุ ให้เกิด ขึ้นแห่งสฬายตนะ ย่อมไม่รู้ทั่วถึง
ซึ่ง ความดับ ไม่เหลือ แห่งสฬายตนะ ย่อมไม่รู้ทั่วถึง ซึ่งข้อ ปฏิบัติ เครื่องทำสัตว์ให้ลุถึง ความดับไม่เหลือ แห่ง สฬายตนะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์ เหล่านั้น มิใช่ ผู้ที่ควรได้รับ การสมมติว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ มิใช่ผู้ที่ควร ได้รับการ สมมติว่าเป็น พราหมณ์ ในหมู่ พราหมณ์.
อีกอย่างหนึ่ง บุคคลผู้ไม่รู้เหล่านั้น จะทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์แห่งความ เป็นสมณะ หรือ ประโยชน์แห่งความ เป็น พราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึง แล้วแลอยู่ ในทิฏฐธรรมนี้ หาได้ไม่.
(ต่อนี้ไป เป็นปฏิปักขนัย ฝ่ายตรงข้าม)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์ก็ตาม เหล่าใดเหล่าหนึ่งย่อมรู้ทั่วถึง ซึ่ง สฬายตนะ ย่อมรู้ทั่วถึง ซึ่งเหตุให้ เกิดขึ้นแห่งสฬายตนะ ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่งความดับ ไม่เหลือ แห่งสฬายตนะ ย่อมรู้ทั่วถึง ซึ่งข้อปฏิบัติ เครื่อง ทำสัตว์ให้ลุถึง ความดับ ไม่เหลือแห่ง ฬายตนะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นย่อม เป็นผู้ ควรได้รับการ สมมติว่า เป็นสมณะในหมู่สมณะ ย่อมเป็นผู้ควรได้รับการสมมติว่าเป็น พราหมณ์ในหมู่ พราหมณ์. อีกอย่างหนึ่ง บุคคลผู้รู้ทั่วถึง เหล่านั้น ย่อมทำให้แจ้ง ซึ่งประโยชน์แห่งความ เป็นสมณะ หรือ ประโยชน์แห่งความ เป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงแล้วแลอยู่ ในทิฏฐธรรมนี้ได้ โดยแท้ ดังนี้ แล
หน้า 406
เป็นสมณะหรือไม่เป็นสมณะ
ขึ้นอยู่กับการรู้หรือไม่รู้ นามรูป โดยนัยสี่
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์ก็ตาม เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมไม่รู้ทั่วถึง ซึ่งนามรูป ย่อมไม่รู้ทั่วถึง ซึ่งเหตุ ให้เกิดขึ้น แห่งนามรูป ย่อมไม่รู้ทั่วถึง
ซึ่งความดับไม่เหลือแห่ง นามรูป ย่อมไม่รู้ทั่วถึง ซึ่งข้อปฏิบัติ เครื่องทำสัตว์ให้ลุถึง ความดับไม่เหลือแห่งนามรูป ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น มิใช่ผู้ที่ ควรได้รับการสมมติว่าเป็น สมณะ ในหมู่สมณะ มิใช่ผู้ที่ควรได้รับ การสมมติว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์. อีกอย่างหนึ่ง บุคคลผู้ไม่รู้เหล่านั้น จะทำให้แจ้ง ซึ่งประโยชน์แห่งความเป็น สมณะ หรือ ประโยชน์แห่งความ เป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงแล้วแลอยู่ ในทิฏฐธรรมนี้ หาได้ไม่.
(ปฏิปักขนัย)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะ หรือพราหมณ์ก็ตาม เหล่าใดเหล่าหนึ่งย่อมรู้ทั่วถึง ซึ่ง นามรูป ย่อมรู้ทั่วถึง ซึ่งเหตุ ให้เกิด ขึ้นแห่งนามรูป ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่งความดับ ไม่เหลือแห่ง นามรูป ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่งข้อปฏิบัติเครื่อง ทำสัตว์ ให้ลุถึง ความดับ ไม่เหลือแห่งนามรูป
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้ นย่อมเป็นผู้ควรได้รับการสมมติว่า เป็น สมณะ ในหมู่สมณะ ย่อม เป็นผู้ควรได้รับการสมมติว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่ พราหมณ์. อีกอย่างหนึ่ง บุคคลผู้รู้ทั่วถึงเหล่านั้น ย่อมทำให้แจ้ง ซึ่งประโยชน์ แห่งความ เป็นสมณะ หรือประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงแล้ว แลอยู่ ในทิฏฐธรรมนี้ ได้โดยแท้ ดังนี้ แล
หน้า 407
เป็นสมณะหรือไม่เป็นสมณะ
ขึ้นอยู่กับการรู้หรือไม่รู้ วิญญาณ โดยนัยสี่
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์ก็ตาม เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมไม่รู้ทั่วถึง ซึ่ง วิญญาณ ย่อมไม่รู้ทั่วถึง ซึ่งเหตุ ให้เกิดขึ้นแห่งวิญญาณ ย่อมไม่รู้ทั่วถึง
ซึ่งความดับ ไม่เหลือแห่งวิญญาณ ย่อมไม่รู้ทั่วถึง ซึ่งข้อปฏิบัติ เครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับ ไม่เหลือ แห่งวิญญาณ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายสมณะหรือ พราหมณ์เหล่า นั้น มิใช่ผู้ที่ ควรได้รับ การสมมติว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ มิใช่ผู้ที่ควรได้รับ การสมมติว่า เป็นพราหมณ์ในหมู่ พราหมณ์. อีกอย่างหนึ่ง บุคคลผู้ไม่รู้เหล่านั้น จะทำให้แจ้งซึ่ง ประโยชน์แห่งความเป็น สมณะ หรือ ประโยชน์แห่ง ความเป็น พราหมณ์ ด้วยปัญญา อันยิ่งเอง เข้าถึงแล้วแลอยู่ ในทิฏฐธรรมนี้ หาได้ไม่.
(ปฏิปักขนัย)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์ก็ตาม เหล่าใดเหล่าหนึ่งย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง วิญญาณ ย่อมรู้ทั่วถึง ซึ่งเหตุให้ เกิดขึ้นแห่งวิญญาณ ย่อมรู้ทั่วถึง
ซึ่งความดับ ไม่เหลือ แห่งวิญญาณ ย่อมรู้ทั่วถึง ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่อง ทำสัตว์ให้ลุถึง ความ ดับ ไม่เหลือแห่ง วิญญาณ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นย่อมเป็นผู้ ควรได้รับการ สมมติว่า เป็นสมณะ ในหมู่สมณะ ย่อมเป็นผู้ควรได้รับการสมมติว่า เป็นพราหมณ์ในหมู่ พราหมณ์. อีกอย่างหนึ่ง บุคคลผู้รู้ทั่วถึง เหล่านั้น ย่อมทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์แห่งความ เป็นสมณะ หรือประโยชน์แห่งความ เป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงแล้วแลอยู่ ในทิฏฐธรรมนี้ได้ โดยแท้ ดังนี้ แล
หน้า 408
เป็นสมณะหรือไม่เป็นสมณะ
ขึ้นอยู่กับการรู้หรือไม่รู้ สังขาร โดยนัยสี่
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์ก็ตาม เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมไม่รู้ทั่วถึงซึ่ง สังขาร ย่อมไม่รู้ทั่วถึง ซึ่งเหตุให้ เกิดขึ้นแห่งสังขาร ย่อมไม่
รู้ทั่วถึง ซึ่งความดับ ไม่เหลือแห่งสังขาร ย่อมไม่รู้ทั่วถึง ซึ่งข้อปฏิบัติ เครื่อง ทำสัตว์ให้ลุถึงความดับ ไม่เหลือแห่ง สังขาร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น มิใช่ ผู้ที่ควร ได้รับการสมมติว่าเป็น สมณะในหมู่ สมณะ มิใช่ผู้ที่ควร ได้รับการสมมติว่าเป็น พราหมณ์ ในหมู่ พราหมณ์. อีกอย่างหนึ่ง บุคคลผู้ไม่รู้เหล่านั้น จะทำให้ แจ้งซึ่ง ประโยชน์แห่งความ เป็นสมณะ หรือ ประโยชน์แห่งความเป็น พราหมณ์ ด้วยปัญญา อันยิ่งเอง เข้าถึงแล้วแล อยู่ ในทิฏฐธรรมนี้ หาได้ไม่.
(ปฏิปักขนัย)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์ก็ตาม เหล่าใดเหล่าหนึ่งย่อมรู้ทั่วถึง ซึ่ง สังขาร ทั้งหลาย ย่อมรู้ทั่ว ถึง ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งสังขาร ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่งความดับ ไม่เหลือ แห่ง สังขาร ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่งข้อ ปฏิบัติ เครื่องทำ สัตว์ให้ลุถึง ความดับ ไม่เหลือแห่งสังขาร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมเป็นผู้ ควรได้รับ การสมมติว่าเป็น สมณะ ในหมู่สมณะ ย่อมเป็นผู้ควรได้รับ การสมมติว่าเป็นพราหมณ์ ในหมู่พราหมณ์. อีกอย่างหนึ่ง บุคคลผู้รู้ทั่วถึงเหล่า นั้น ย่อมทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะ หรือประโยชน์แห่งความ เป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้า ถึงแล้วแลอยู่ ในทิฏฐธรรมนี้ได้ โดยแท้ดังนี้แล
หน้า 409
ควบคุมรากฐานแห่งปฏิจจสมุปบาทจึงเกิดสุข
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผัสสายตนะทั้งหลาย ๖ อย่างเหล่านี้ อันบุคคลฝึกแล้ว คุ้มครองแล้ว รักษาแล้ว สำรวม ระวังแล้ว ย่อมเป็นสิ่งนำมาอย่างยิ่งซึ่งสุข
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผัสสายตนะทั้งหลาย ๖ อย่าง นั้นเป็นอย่างไรเล่า? หกอย่าง นั้นคือ
ผัสสายตนะ คือจักษุ (ตา) ...ฯลฯ... ...นำมาอย่างยิ่งซึ่งสุข
ผัสสายตนะ คือโสตะ (หู) ...ฯลฯ... ...นำมาอย่างยิ่งซึ่งสุข
ผัสสายตนะ คือฆานะ (จมูก)...ฯลฯ... ...นำมาอย่างยิ่งซึ่งสุข
ผัสสายตนะ คือชิวหา (ลิ้น) ...ฯลฯ... ...นำมาอย่างยิ่งซึ่งสุข
ผัสสายตนะ คือกายะ (กาย)...ฯลฯ... ...นำมาอย่างยิ่งซึ่งสุข
ผัสสายตนะ คือมนะ (ใจ) ...ฯลฯ... ...นำมาอย่างยิ่งซึ่งสุข
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผัสสายตนะทั้งหลาย ๖ อย่างเหล่านี้แล อันบุคคลฝึกแล้ว คุ้มครองแล้ว รักษาแล้ว สำรวม ระวัง แล้ว ย่อมเป็นสิ่งนำมาอย่างยิ่งซึ่งสุข.
…………………………………………………………………………………....................................………
หมายเหตุผู้รวบรวม : ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า ผัสสายตนะเหล่านี้เป็นรากฐานหรือ ต้นเงื่อน ของปฏิจจ สมุป บาททาง ฝ่ายการปฏิบัติ ดังพระบาลีว่า เพราะอาศัยตาด้วยรูป ทั้งหลายด้วย จึงเกิดจักขุวิญญาณ การประจวบ พร้อมแห่งธรรม ๓ ประการนั้นคือผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา ...ฯลฯ...ดังนี้เป็นต้น. เพราะฉะนั้นการ ควบคุม ผัสสายตนะ ก็คือการควบคุมการเกิดแห่งปฏิจจสมุปทานนั่นเอง จึงเป็นสุข
หน้า 410
ปฏิจจสมุปบาทอาการหนึ่ง (นันทิให้เกิดทุกข์)
ถ้าเห็นแล้วทำให้หยุด ความมั่นหมาย ในสิ่งทั้งปวง
หน้า 411
(ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในโลกนี้ ปุถุชนผู้ไม่มีการสดับ ไม่เห็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย ไม่ฉลาด ในธรรมของ พระอริยเจ้า ไม่ได้ รับการแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่เห็นสัปบุรุษ ทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ ไม่ได้รับการ แนะนำในธรรม ของสัปบุรุษ. บุถุชน นั้น
(๑) ย่อมรู้สึกซึ่ง ดิน โดยความเป็นดิน ครั้นรู้สึกซึ่งดินโดยความเป็นดินแล้ว ย่อมสำคัญมั่น หมายซึ่งดิน ย่อม สำคัญ มั่น หมายในดิน ย่อมสำคัญมั่นหมาย โดยความเป็นดิน ย่อมสำคัญมั่นหมายว่า ดินของเรา ย่อมเพลิน อย่างยิ่งซึ่งดิน. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า? ข้อนั้นเรากล่าวว่า เพราะดินเป็นสิ่งที่ ปุถุชนนั้น มิได้รู้โดย รอบแล้ว
(๒) ย่อมรู้สึกซึ่ง น้ำ ...ฯลฯ...ปุถุชนนั้น มิได้รู้โดยรอบแล้ว
(๓) ย่อมรู้สึกซึ่ง ไฟ ...ฯลฯ...ปุถุชนนั้น มิได้รู้โดยรอบแล้ว
(๔) ย่อมรู้สึกซึ่ง ลม ...ฯลฯ...ปุถุชนนั้น มิได้รู้โดยรอบแล้ว
(๕) ย่อมรู้สึกซึ่ง ภูตสัตว์ ทั้งหลาย..ฯลฯ..ปุถุชนนั้น มิได้รู้โดยรอบแล้ว
(๖) ย่อมรู้สึกซึ่ง เทพ ทั้งหลาย...ฯลฯ...ปุถุชนนั้น มิได้รู้โดยรอบแล้ว
(๗) ย่อมรู้สึกซึ่ง ปชาบดี ...ฯลฯ....ปุถุชนนั้น มิได้รู้โดยรอบแล้ว
(๘) ย่อมรู้สึกซึ่ง พรหม ...ฯลฯ...ปุถุชนนั้น มิได้รู้โดยรอบแล้ว
(๙) ย่อมรู้สึกซึ่ง อาภัสสรพรหมทั้งหลาย ...ฯลฯ..ปุถุชนนั้น มิได้รู้โดยรอบแล้ว
(๑๐) ย่อมรู้สึกซึ่ง สุภกิณหพรหมทั้งหลาย...ฯลฯ...ปุถุชนนั้น มิได้รู้โดยรอบแล้ว
(๑๑) ย่อมรู้สึกซึ่ง เวหัปผลพรหมทั้งหาลย ...ฯลฯ...ปุถุชนนั้น มิได้รู้โดยรอบแล้ว
(๑๒) ย่อมรู้สึกซึ่ง อภิภู...ฯลฯ...ฯลฯ...ปุถุชนนั้น มิได้รู้โดยรอบแล้ว
(๑๓) ย่อมรู้สึกซึ่ง อากาสานัญจายตนะ ...ฯลฯ....ปุถุชนนั้น มิได้รู้โดยรอบแล้ว
(๑๔) ย่อมรู้สึกซึ่ง วิญญาณณัญจายตนะ...ฯลฯ....ปุถุชนนั้น มิได้รู้โดยรอบแล้ว
(๑๕) ย่อมรู้สึกซึ่ง อากิญจัญญายตนะ ...ฯลฯ...ปุถุชนนั้น มิได้รู้โดยรอบแล้ว
(๑๖) ย่อมรู้สึกซึ่ง เนวสัญญานาสัญญายตนะ...ฯลฯ..ปุถุชนนั้น มิได้รู้โดยรอบแล้ว
(๑๗) ย่อมรู้สึกซึ่ง รูปที่เห็นแล้ว ...ฯลฯ...ปุถุชนนั้น มิได้รู้โดยรอบแล้ว
(๑๘) ย่อมรู้สึกซึ่ง เสียงที่ได้ฟังแล้ว...ฯลฯ...ปุถุชนนั้น มิได้รู้โดยรอบแล้ว
(๑๙) ย่อมรู้สึกซึ่ง สิ่งที่รู้สึกแล้ว(ทางจมูกลิ้นผิวกาย) ฯลฯปุถุชนนั้นมิได้รู้โดยรอบแล้ว
(๒๐) ย่อมรู้สึกซึ่ง สิ่งที่รู้แจ้งแล้ว(ทางมโนวิญญาณ) ฯลฯ.ปุถุชนนั้นมิได้รู้โดยรอบแล้ว
(๒๑) ย่อมรู้สึกซึ่ง เอกภาวะ (เอกตฺตํ) ...ฯลฯ....ปุถุชนนั้น มิได้รู้โดยรอบแล้ว
(๒๒) ย่อมรู้สึกซึ่ง นานาภาวะ (นานตฺตํ)...ฯลฯ....ปุถุชนนั้น มิได้รู้โดยรอบแล้ว
(๒๓) ย่อมรู้สึกซึ่ง สรรพภาวะ (สพฺพํ)...ฯลฯ...ปุถุชนนั้น มิได้รู้โดยรอบแล้ว
(๒๔) ย่อมรู้สึกซึ่ง นิพพาน โดยความเป็นนิพพาน
ครั้นรู้สึกซึ่งนิพพานโดยความเป็นนิพพานแล้ว
......ย่อมสำคัญมั่นหมายซึ่งนิพพาน
......ย่อมสำคัญมั่นหมายในนิพพาน
......ย่อมสำคัญมั่นหมายโดยความเป็นนิพพาน
......ย่อมสำคัญมั่นหมายว่า นิพพานของเรา
..... ย่อมเพลินอย่างยิ่งซึ่งนิพพาน.
ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า?
ข้อนั้นเรากล่าวว่า เพราะนิพพานเป็นสิ่งที่ปุถุชนนั้น มิได้รู้โดยรอบแล้ว.
(เครื่องกำหนดภูมิของปุถุชน เป็นปฐมนัย จบแล้ว)
หน้า 413
(พระเสขะ)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนว่า ภิกษุใดยังเป็นเสขะอยู่ มีความประสงค์แห่งใจ (อรหัตตผล) อันตนยังไม่บรรลุแล้ว ปรารถนา อยู่ซึ่งธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ภิกษุนั้น
(๑) ย่อม จะรู้โดยยิ่งขึ้นไปซึ่งดิน โดยความเป็นดิน ครั้นจะรู้โดยยิ่งขึ้นไปซึ่งดิน โดยความ เป็นดินแล้ว ย่อมจะ ไม่ สำคัญมั่นหมายซึ่งดิน ย่อม จะไม่สำคัญมั่นหมายในดิน ย่อมจะ ไม่สำคัญมั่นหมาย โดยความเป็นดิน ย่อม จะไม่ สำคัญมั่นหมายว่าดินของเรา ย่อมจะไม่เพลินอย่างยิ่งซึ่งดิน. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า? ข้อนั้นเรา กล่าวว่า เพราะดิน เป็นสิ่งที่ พระเสขะนั้น จะพึงรู้ได้โดยรอบ
(๒)๑ย่อมจะรู้โดยยิ่งขึ้นไปซึ่ง น้ำ...ฯลฯ..พระเสขะนั้น จะพึงรู้ได้โดยรอบ
(๓) ย่อมจะรู้โดยยิ่งขึ้นไปซึ่ง ไฟ...ฯลฯ..พระเสขะนั้น จะพึงรู้ได้โดยรอบ
(๔) ย่อมจะรู้โดยยิ่งขึ้นไปซึ่ง ลม...ฯลฯ...พระเสขะนั้น จะพึงรู้ได้โดยรอบ
(๕) ย่อมจะรู้โดยยิ่งขึ้นไปซึ่ง ภูตสัตว์ทั้งหลาย.ฯลฯ..พระเสขะนั้น จะพึงรู้ได้โดยรอบ
(๖) ย่อมจะรู้โดยยิ่งขึ้นไปซึ่ง เทพ ทั้งหลาย...ฯลฯ...พระเสขะนั้น จะพึงรู้ได้โดยรอบ
(๗) ย่อมจะรู้โดยยิ่งขึ้นไปซึ่ง ปชาบดี...ฯลฯ...พระเสขะนั้น จะพึงรู้ได้โดยรอบ
(๘) ย่อมจะรู้โดยยิ่งขึ้นไปซึ่ง พรหม ...ฯลฯ...พระเสขะนั้น จะพึงรู้ได้โดยรอบ
(๙) ย่อมจะรู้โดยยิ่งขึ้นไปซึ่ง อาภัสสรพรหม ทั้งหลาย..ฯลฯ..พระเสขะนั้นจะพึงรู้ได้โดยรอบ
(๑๐) ย่อมจะรู้โดยยิ่งขึ้นไปซึ่ง สุภกิณหพรหม ทั้งหลาย..ฯลฯ..พระเสขะนั้นจะพึงรู้ได้โดยรอบ
(๑๑) ย่อมจะรู้โดยยิ่งขึ้นไปซึ่ง เวหัปผลพรหม ทั้งหลาย..ฯลฯ..พระเสขะนั้นจะพึงรู้ได้โดยรอบ
(๑๒) ย่อมจะรู้โดยยิ่งขึ้นไปซึ่ง อภิภู ...ฯลฯ...พระเสขะนั้น จะพึงรู้ได้โดยรอบ
(๑๓) ย่อมจะรู้โดยยิ่งขึ้นไปซึ่ง อากาสานัญจายตนะ ..ฯลฯ.พระเสขะนั้นจะพึงรู้ได้โดยรอบ
(๑๔) ย่อมจะรู้โดยยิ่งขึ้นไปซึ่ง วิญญาณัญจายตนะ ..ฯลฯ..พระเสขะนั้นจะพึงรู้ได้โดยรอบ
(๑๕) ย่อมจะรู้โดยยิ่งขึ้นไปซึ่ง อากิญจัญญายตนะ..ฯลฯ..พระเสขะนั้นจะพึงรู้ได้โดยรอบ
(๑๖) ย่อมจะรู้โดยยิ่งขึ้นไปซึ่ง เนวสัญญานาสัญญายตนะ..ฯลฯ.พระเสขะนั้นจะพึงรู้ได้โดยรอบ
(๑๗) ย่อมจะรู้โดยยิ่งขึ้นไปซึ่ง รูปที่เห็นแล้ว...ฯลฯ...พระเสขะนั้น จะพึงรู้ได้โดยรอบ
(๑๘) ย่อมจะรู้โดยยิ่งขึ้นไปซึ่ง เสียงที่ได้ฟังแล้ว..ฯลฯ...พระเสขะนั้น จะพึงรู้ได้โดยรอบ
(๑๙) ย่อมจะรู้โดยยิ่งขึ้นไปซึ่ง สิ่งที่รู้สึกแล้ว (ทางจมูกลิ้นผิวกาย) .ฯลฯ.พระเสขะนั้นจะพึงรู้ได้โดยรอบ
(๒๐) ย่อมจะรู้โดยยิ่งขึ้นไปซึ่ง สิ่งที่รู้แจ้งแล้ว (ทางมโนวิญญาณ)..ฯลฯ..พระเสขะนั้นจะพึงรู้ได้โดยรอบ
(๒๑) ย่อมจะรู้โดยยิ่งขึ้นไปซึ่ง เอกภาวะ (เอกตฺตํ)..ฯลฯ..พระเสขะนั้น จะพึงรู้ได้โดยรอบ
(๒๒) ย่อมจะรู้โดยยิ่งขึ้นไปซึ่ง นานาภาวะ (นานตฺตํ)..ฯลฯ..พระเสขะนั้น จะพึงรู้ได้โดยรอบ
(๒๓) ย่อมจะรู้โดยยิ่งขึ้นไปซึ่ง สรรพภาวะ (สพฺพํ)..ฯลฯ..พระเสขะนั้น จะพึงรู้ได้โดยรอบ
(๒๔) ย่อมจะรู้โดยยิ่งขึ้นไปซึ่งนิพพาน โดยความเป็นนิพพาน
ครั้นจะรู้โดยยิ่งขึ้นไปซึ่งนิพพาน โดยความเป็นนิพพานแล้ว
ย่อมจะไม่สำคัญมั่นหมาย ซึ่งนิพพาน
ย่อมจะไม่สำคัญมั่นหมายในนิพพาน
ย่อมจะไม่สำคัญมั่นหมาย โดยความเป็นนิพพาน
ย่อมจะไม่สำคัญมั่นหมาย ว่านิพพานของเรา
ย่อมจะไม่เพลินอย่างยิ่ง ซึ่งนิพพาน.
ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า? ข้อนั้นเรากล่าวว่า เพราะ นิพพานเป็นสิ่งที่พระเสขะนั้น จะพึงรู้ ได้โดยรอบ
(เครื่องกำหนดภูมิ ของเสขบุคคล เป็นทุติยนัย จบแล้ว)
หน้า416
(พระอรหันต์ขีณาสพ)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฝ่ายภิกษุใด เป็น พระอรหันต์ ผู้มีอาสวะสิ้นแล้วอยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ต้องทำสำเร็จ แล้ว มีภาระ อันปลงลงแล้ว มีประโยชน์ของตนอันตามบรรลุ ถึงแล้ว มีสังโยชน์ในภพสิ้นไปรอบแล้ว เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้โดยชอบ
ภิกษุแม้นั้น
(๑) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งดิน โดยความเป็นดิน ครั้นรู้ชัดแจ้งซึ่งดินโดยความเป็นดินแล้ว ย่อมไม่สำคัญมั่นหมาย ซึ่งดิน ย่อมไม่สำคัญมั่นหมายในดิน ย่อมไม่สำคัญ มั่นหมาย โดยความเป็นดิน ย่อมไม่สำคัญมั่นหมาย ว่าดินของเรา ย่อมไม่เพลิน อย่างยิ่งซึ่งดิน. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า? ข้อนั้นเรากล่าวว่า เพราะดินเป็นสิ่งที่ พระขีณาสพนั้น ได้รู้โดย รอบแล้ว ...และเพราะว่า ความเป็นผู้มีราคะไปปราศแล้ว ย่อมมีแก่พระขีณาสพนั้น เพราะความสิ้นไปแห่งราคะ ...ความเป็นผู้มีโทสะไปปราศแล้ว ย่อมมีแก่พระขีณาสพนั้น เพราะความสิ้นไปแห่งโทสะ ...ความเป็นผู้มีโมหะไปปราศแล้ว ย่อมมีแก่พระขีณาสพนั้น เพราะความสิ้นไปแห่งโมหะ
(๒) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่ง น้ำ ...ฯลฯ...เพราะความสิ้นไปแห่งโมหะ
(๓) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่ง ไฟ ...ฯลฯ....เพราะความสิ้นไปแห่งโมหะ
(๔) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่ง ลม ...ฯลฯ....เพราะความสิ้นไปแห่งโมหะ
(๕) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่ง ภูตสัตว์ทั้งหลาย ...ฯลฯ...เพราะความสิ้นไปแห่งโมหะ
(๖) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่ง เทพทั้งหลาย ...ฯลฯ....เพราะความสิ้นไปแห่งโมหะ
(๗) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่ง ปชาบดี ...ฯลฯ...เพราะความสิ้นไปแห่งโมหะ
(๘) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่ง พรหม ...ฯลฯ...เพราะความสิ้นไปแห่งโมหะ
(๙) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่ง อาภัสสรพรหม ทั้งหลาย ...ฯลฯ...เพราะความสิ้นไปแห่งโมหะ
(๑๐) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่ง สุภกิณหพรหมทั้งหลาย ...ฯลฯ...เพราะความสิ้นไปแห่งโมหะ
(๑๑) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่ง เวหัปผลพรหมทั้งหลาย ...ฯลฯ...เพราะความสิ้นไปแห่งโมหะ
(๑๒) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่ง อภิภู ...ฯลฯ...เพราะความสิ้นไปแห่งโมหะ
(๑๓) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่ง อากาสานัญจายตะ ...ฯลฯ...เพราะความสิ้นไปแห่งโมหะ
(๑๔) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่ง วิญญาณัญจายตนะ...ฯลฯ...เพราะความสิ้นไปแห่งโมหะ
(๑๕) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่ง อากิญจัญญายตนะ...ฯลฯ...ฯลฯ...เพราะความสิ้นไปแห่งโมหะ
(๑๖) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่ง เนวสัญญานาสัญญายตนะ ...ฯลฯ...เพราะความสิ้นไปแห่งโมหะ
(๑๗) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่ง รูปที่เห็นแล้ว ...ฯลฯ....เพราะความสิ้นไปแห่งโมหะ
(๑๘) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่ง เสียงที่ได้ฟังแล้ว...ฯลฯ...เพราะความสิ้นไปแห่งโมหะ
(๑๙) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่ง สิ่งที่รู้สึกแล้ว (ทางจมูกลิ้นผิวกาย).ฯลฯ.เพราะความสิ้นไปแห่งโมหะ
(๒๐) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่ง สิ่งที่รู้แจ้งแล้ว (ทางมโนวิญญาณ)..ฯลฯ..เพราะความสิ้นไปแห่งโมหะ
(๒๑) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่ง เอกภาวะ (เอกตฺตํ)...ฯลฯ...เพราะความสิ้นไปแห่งโมหะ
(๒๒) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่ง นานาภาวะ (นานตฺตํ)...ฯลฯ...เพราะความสิ้นไปแห่งโมหะ
(๒๓) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่ง สรรพภาวะ (สพฺพํ) ..ฯลฯ...เพราะความสิ้นไปแห่งโมหะ
(๒๔) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งนิพพาน โดยความเป็นนิพพาน
ครั้งรู้ชัดแจ้งซึ่งนิพพานโดยความเป็นนิพพานแล้ว ย่อม ไม่สำคัญมั่นหมายซึ่ง นิพพาน ย่อมไม่สำคัญ มั่นหมายในนิพพาน ย่อม ไม่สำคัญมั่นหมายโดยความ เป็นนิพพาน ย่อมไม่สำคัญมั่นหมายว่า นิพพานของเรา ย่อมไม่เพลินอย่าง ซึ่งนิพพาน
ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า? ข้อนั้นเรากล่าวว่าเพราะ นิพพานเป็นสิ่งที่ พระขีณาสพนั้น ได้รู้โดยรอบแล้ว ...และเพราะว่า ความเป็นผู้ราคะไปปราศแล้ว ย่อมมีแก่พระ ขีณาสพนั้น เพราะความสิ้นไปแห่งราคะ...ความเป็นผู้มีโทสะไปปราศแล้ว ย่อมมีแก่ พระขีณาสพนั้น เพราะความสิ้นไป แห่งโทสะ ...ความเป็นผู้มีโมหะไปปราศแล้ว ย่อมมีแก่พระขีณาสพนั้น เพราะความสิ้นไปแห่งโมหะ
(เครื่องกำหนดภูมิ ของอเสขบุคคล เป็นตติย-ฉัฏฐนัย จบแล้ว)
หน้า419
(ตถาคต)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ ก็
(๑) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งดิน โดยความเป็นดิน ครั้งรู้ชัดแจ้งซึ่งดิน โดยความเป็นดินแล้ว ย่อม ไม่สำคัญ มั่นหมาย ซึ่งดิน ย่อม ไม่สำคัญมั่นหมายในดินย่อม ไม่สำคัญ มั่นหมายโดย ความ เป็นดิน ย่อม ไม่สำคัญ มั่นหมาย ว่าดินของเรา ย่อม ไม่เพลินอย่างยิ่งซึ่งดิน. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า? ข้อนั้นเรากล่าวว่า เพราะดินนั้นเป็นสิ่ง ที่ ตถาคตได้รู้โดยรอบแล้ว...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย และข้อนั้นเรากล่าวว่าเพราะรู้แจ้ง (โดยนัยแห่งปฏิจจสมุปบาท ข้อนี้) ว่า นันทิ เป็นมูล แห่ง ความ ทุกข์ เพราะมีภพ จึงมีชาติ ชรามรณะ ย่อมมีแก่สัตว์ผู้ เกิดแล้ว ดังนี้ เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ตถาคต จึงชื่อว่า ผู้ตรัสพร้อม เฉพาะแล้ว ซึ่งอนุตต รสัมมสัมโพธิญาณ เพราะความสิ้นไปแห่งตัณหาทั้งหลาย เพราะความ สำรอกไม่เหลือ เพราะความดับไม่เหลือ เพราะความสลัดทิ้ง เพราะความสลัดคืน โดยประการ ทั้งปวง ดังนี้.
(๒) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งน้ำ ...ฯลฯ...ฯลฯ...สลัดคืน โดยประการทั้งปวง ดังนี้
(๓) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งไฟ ...ฯลฯ...ฯลฯ...สลัดคืน โดยประการทั้งปวง ดังนี้
(๔) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งลม ...ฯลฯ...ฯลฯ...สลัดคืน โดยประการทั้งปวง ดังนี้
(๕) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งภูตสัตว์ทั้งหลาย ...ฯลฯ...สลัดคืน โดยประการทั้งปวง ดังนี้
(๖) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งเทพทั้งหลาย ...ฯลฯ...สลัดคืน โดยประการทั้งปวง ดังนี้
(๗) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งปชาบดี ...ฯลฯ...ฯลฯ...สลัดคืน โดยประการทั้งปวง ดังนี้
(๘) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งพรหม ...ฯลฯ...ฯลฯ...สลัดคืน โดยประการทั้งปวง ดังนี้
(๙) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งอาภัสสรพรหมทั้งหลาย...ฯลฯ..สลัดคืน โดยประการทั้งปวงดังนี้
(๑๐) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งสุภกิณหพรหมทั้งหลาย...ฯลฯ...สลัดคืน โดยประการ ทั้งปวงดังนี้
(๑๑) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งเวปัปผลพรหมทั้งหลาย...ฯลฯ...สลัดคืน โดยประการ ทั้งปวงดังนี้
(๑๒) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งอภิภู ...ฯลฯ...ฯลฯ...สลัดคืน โดยประการทั้งปวง ดังนี้
(๑๓) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งอากาสานัญจายตนะ...ฯลฯ...สลัดคืน โดยประการทั้งปวงดังนี้
(๑๔) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งวิญญณัญจายตนะ ...ฯลฯ...สลัดคืน โดยประการทั้งปวงดังนี้
(๑๕) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งอากิญจัญญยตนะ ...ฯลฯ...สลัดคืน โดยประการทั้งปวงดังนี้
(๑๖) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะ..ฯลฯ...สลัดคืน โดยประการ ทั้งปวงดังนี้
(๑๗) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งรูปที่เห็นแล้ว ...ฯลฯ...สลัดคืน โดยประการทั้งปวง ดังนี้
(๑๘) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งเสียงที่ได้ฟังแล้ว ...ฯลฯ...สลัดคืน โดยประการทั้งปวงดังนี้
(๑๙) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งสิ่งที่รู้สึกแล้ว (ทางจมูก ลิ้น ผิวกาย)..ฯลฯ...สลัดคืนโดยประการ ทั้งปวงดังนี้
(๒๐) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งสิ่งที่รู้แจ้งแล้ว (ทางมโนวิญญาณ) ...ฯลฯ...สลัดคืนโดยประการ ทั้งปวงดังนี้
(๒๑) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งเอกภาวะ(เอกตฺตํ)...ฯลฯ...สลัดคืน โดยประการทั้งปวงดังนี้
(๒๒) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งนานาภาวะ (นานตฺตํ) ...ฯลฯ...สลัดคืน โดยประการทั้งปวงดังนี้
(๒๓) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งสรรพภาวะ (สพฺพํ) ...ฯลฯ...สลัดคืน โดยประการทั้งปวงดังนี้
(๒๔) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งนิพพาน โดยความเป็นนิพพาน
ครั้นรู้ชัดแจ้งซึ่งนิพพานโดยความเป็นนิพพานแล้ว
ย่อมไม่สำคัญมั่นหมายซึ่งนิพพาน
ย่อมไม่สำคัญมั่นหมายในนิพพาน
ย่อมไม่สำคัญมั่นหมายโดยความเป็นนิพพาน
ย่อมไม่สำคัญมั่นหมายว่านิพพานของเรา
ย่อมไม่เพลินอย่างยิ่งซึ่งนิพพาน.
ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า? ข้อนั้นเรากล่าวว่า เพราะนิพพานนั้นเป็นสิ่งที่ตถาคตได้รู้ โดยรอบ แล้ว ...ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย และข้อนั้นเรากล่าวว่า เพราะรู้แจ้ง (โดยนัยแห่ง ปฏิจจสมุปบาท ข้อนี้) ว่า นันทิ เป็นมูลแห่งความ ทูกข์ เพราะมีภพ จึงมีชาติ ชรา มรณะ ย่อมมีแก่สัตว์ผู้เกิดแล้ว ดังนี้ เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ ตถาคตจึง ชื่อว่าผู้ตรัสรู้ พร้อมเฉพาะ แล้ว ซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เพราะความสิ้นไป แห่งตัณหา ทั้งหลาย เพราะความ สำรอก ไม่เหลือ เพราะความดับไม่เหลือ เพราะความสลัดทิ้ง เพราะความสลัดคืนโดย ประการทั้งปวง ดังนี้
(เครื่องกำหนดภูมิ ของพระศาสดา เป็นสัตตม-อัฏฐมนัย จบแล้ว)
……………………………………………………………………………………………………………
หมายเหตุผู้รวบรวม : ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า ข้อความตามที่กล่าวมาแล้ว ทั้งหมด ข้างบนนี้ มีความเป็น ปฏิจจ สมุปบาท หรืออิทัปปัจจยตา อยู่ในส่วนลึกต้อง พิจารณาอย่าง สุขุม จึงจะมองเห็น.สิ่งแรกที่สุดก็คือ ธรรมทั้ง ๒๔ ประการ อันเป็น ที่ตั้งแห่งอุปทาน ของ ปุถุชน ดังที่กล่าวไว้ในสูตรนี้นั้น ยกพระนิพพานเสีย อย่างเดียวแล้ว ย่อมกล่าวได้ว่าล้วน แต่เป็น ปฏิจจสมุปปันนธรรม โดยตรง. สำหรับนิพพานนั้น ถ้าหมายถึง
ทุกขนิโรธ ก็ยังคง อยู่ใน ขอบเขตแห่งอิทัปปัจจยตา หรือว่าเป็นปฏิจจสมุปบาทส่วนนิโรธวาระ อยู่นั้นเอง.
ผู้รวบรวม มีเจตนา นำเอาสูตรนี้มาแสดงไว้ในที่นี้ ด้วยความมุ่งหมาย ในการที่จะให้ผู้ ศึกษา ทุกท่าน พิจารณากัน อย่าง ลึกซึ้ง เช่นนี้ อันจะมีผล ทำให้เห็นความลึกซึ้งของ สิ่งที่เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท สืบต่อไปข้าหน้า.
ส่วนข้อความที่ตรัสไว้ โดยเปิดเผย ถึงลักษณะ แห่งปฏิจจสมุปบาทในสูตรนี้ ก็ได้แก่ ข้อความ ตอนท้ายที่ตรัสว่า นันทิ เป็นมูลแห่งความ ทุกข์ เพราะมีภพ จึงมีชาติ นั่นเอง. แม้จะกล่าวแต่โดยชื่อว่านันทิ ก็ย่อมหมายถึง อวิชชา ด้วย เพราะนันทิมาจาก อวิชชา ปราศจากอวิชชาแล้ว นันทิ หรืออุปทานก็ตาม ย่อมมีขึ้นไม่ได้ นันทิหรืออุปทานนั้น ย่อมทำให้มีภพ ซึ่งจะ ต้องมีชาติชรามรณะตามมา โดยไม่มีที่สงสัย.
ด้วยเหตุนี้เอง การนำเอาอาการของปฏิจจ สมุปบาทมากล่าว แม้เพียง อาการเดียว ก็ย่อมเป็นการกล่าวถึง ปฏิจจสมุปทาน ทุกอาการอยู่ในตัว โดยพฤตินัย หรือโดย อัตโนมัติ ดังนั้น การรู้ แจ้งปฏิจจสมุปบาทเพียงอาการ เดียว แม้โดยปริยายว่านันทิ เป็นมูลแห่งทุกข์ เท่านั้น ก็อาจจะสกัดกั้นเสียซึ่งการ เกิดขึ้น แห่งอุปทาน ในธรรมทั้งหลาย ๒๔ ประการ ดังที่กล่าวแล้ว ในสูตรนี้ได้ ตามสมควรแก่ความเป็น ปุถุชน ความเป็นพระเสขะ ความเป็น พระอเสขะ และความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นที่สุด.
ขอให้พิจารณาดูให้ดี ๆ ให้เห็นว่า ความลับแห่งความเป็นปฏิจจสมุปบาท ย่อมซ่อน อยู่ใน กระแส ธรรม ทั้งปวง ทั้งที่เป็นรูปธรรม นาม ธรรม และธรรมเป็นที่ดับแห่งรูป และนาม ทั้งสองนั้น.
หน้า 422
พอรู้ปฏิจจสมุปบาท ก็ หายตาบอดอย่างกะทันหัน
ดูก่อนมาคัณฑิยะ เปรียบเหมือนบุรุษตามืดบอดมาแต่กำเนิด เขาจะมองเห็นรูป ทั้งหลาย ที่มีสีดำหรือขาว เขียวหรือ เหลือง แดงหรือขาว ก็หาไม่ จะได้เห็นที่อัน เสมอหรือขรุขระ ก็หาไม่ จะได้เห็นดวงดาว หรือ ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ ก็หาไม่. เขาได้ฟังคำบอกเล่า จากบุรุษผู้มีตาดีว่า
ดูก่อนท่านผู้เจริญ ผ้าขาวเนื้อดีนั้นเป็นของงดงาม ปราศจากมลทิน เป็นผ้าสะอาด มีอยู่ (ในโลก) ดังนี้. บุรุษตาบอด นั้นจะพึงเที่ยวแสวงหาผ้าขาวอยู่. ยังมีบุรุษผู้หนึ่งลวงเขา ด้วย ผ้าเนื้อเลวเปื้อนเขม่าว่า
ดูก่อนท่านผู้เจริญ นี่เป็นผ้าขาวเนื้อดี เป็นของงดงาม ปราศจาก มลทิน เป็นผ้าสะอาดสำหรับท่าน ดังนี้. บุรุษตาบอด ก็จะพึงรับผ้านั้น ครั้นรับแล้วก็จะห่ม.
ในกาลต่อมา มิตร อมาตย์ ญาติสาโลหิตของเขา เชิญแพทย์ผ่าตัดผู้ชำนาญมารักษา. แพทย์นั้น พึงประกอบ ซึ่งเภสัชอัน ถ่ายโทษในเบื้องบน ถ่ายโทษในเบื้องต่ำยาหยอด ยากัดและยานัตถุ์ เพราะอาศัยยานั้นเอง เขากลายเป็น ผู้มีจักษุดี พร้อมกับการมี จักษุดี ขึ้นนั้น เขาย่อมละความรักใคร่พอใจในผ้าเนื้อเลวเปื้อนเขม่า เสียได้ เขาจะพึงเป็น อมิตร เป็นข้าศึก ผู้หมายมั่น ต่อบุรุษผู้ลวงเขานั้น หรือถึงกับเข้าใจ เลยไปว่า ควรจะปลง ชีวิตเสียด้วยความแค้น โดยกล่าวว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเอ๋ยเรา ถูกบุรุษผู้นี้คดโกง หลอกลวง ปลิ้นปล้อน ด้วยผ้าเนื้อเลว เปื้อน เขม่า มานาน หนักหนา แล้ว โดยหลอกเราว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็น ผ้าขาวเนื้อดี เป็นของงดงามปราศจากมลทิน เป็นผ้าสะอาด สำหรับท่าน' ดังนี้ อุปมานี้ฉันใด
ดูก่อนมาคัณฑิยะ อุปไมยก็ฉันนั้น เราแสดงธรรมแก่ท่านว่า อย่างนี้เป็นความไม่มีโรค อย่างนี้ เป็นนิพพาน ดังนี้. ท่านจะรู้จักความไม่มีโรค จะพึงเห็นนิพพานได้ ก็ต่อเมื่อ ท่านละความ เพลิดเพลิน และความ กำหนัด ในอุปาทาน ขันธ์ห้าเสียได้ พร้อมกับการ เกิดขึ้น แห่งธรรม จักษุของท่านนั้น.
อนึ่ง ความรู้สึกจะพึงเกิดขึ้นแก่ท่านว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลายเอ๋ย นานจริงหนอ ที่เราถูกจิตนี้คดโกง หลอกลวง ปลิ้นปลอก จึงเราเมื่อยึดถือ ก็ยึดถือเอาแล้ว ซึ่งรูปซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร และซึ่งวิญญาณ นั่นเทียวเพราะความยึดถือ (อุปาทาน) ของเรานั้นเป็นปัจจัย จึงมีภพเพราะมีภพ เป็นปัจจัย จึงมีชาติเพราะมีชาติ เป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกข ะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้น ครบถ้วน ความเกิดขึ้น พร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี. ดังนี้.
…………………………………………………………………………………………………..
หมายเหตุผู้รวบรวม : ผู้ศึกษาพึงสังเกตว่า ปฏิจจสมุปบาทในกรณีนี้แสดงอวิชชา ด้วย โวหารว่า เราถูกจิต คดโกง หลอกลวง จนยึดถือรูป เวทนา สัญญาสังขาร และวิญญาณ. การที่จะเกิดการยึดถือในขันธ์เหล่านี้ได้ จะต้องมีอารมณ์ มากระทบ ทางตาหรือหูเป็นต้นก่อน และมี อวิชชาสัมผัสในอารมณ์นั้น จนมีเวทนา ตัณหา อุปาทานเกิดขึ้นยึดมั่น ต่อความรู้สึก ต่าง ๆ ภายในใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งยึดมั่นใน อัสสาทะแห่งเวทนานั้น จึงกลายเป็นยึดมั่น ครบ ทั้งห้า อย่าง คือทั้งรูป เวทนาสัญญา สังขาร วิญญาณดังที่กล่าวแล้ว หลังจากมีการ ยึดมั่น (อุปทาน)แล้ว ก็มีภพ ชาติ จนถึงที่สุด นี้เป็นปฏิจจสมุปบาท ตลอดทั้งสาย แต่ตัวอักษรแสดงไว้เพียง สองสาม อาการ ผู้ไม่มีความเข้าใจอันถูกต้องในเรื่องนี้ จะไม่รู้สึกว่า เป็นปฏิจจสมุปบาททั้งสาย ได้อย่างไร.
ครั้นละอุปาทาน ได้ ทุกข์ดับไป จึงรู้สึกเหมือนกับหายตาบอด ในทันใด นั้นเพราะวิชชา เกิดขึ้น รู้สิ่งทั้งหลาย ทั้งปวง ตามที่เป็นจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ก็คือรู้ปฏิจจ-สมุปบาท ทั้งฝ่ายสมุทยวาระ และนิโรธวาระ ด้วย ยถาภูตสัมมัปปัญญาของตน ในขณะนั้นนั่นเอง.
............................................................................................................
หน้า 424
เพราะรู้ปฏิจจสมุปบาทจึงหมดความสงสัยเรื่องตัวตนทั้ง ๓ กาล
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแล ปฏิจจสมุปบาทนี้ และปฏิจจสมุปปันนธรรมเหล่านี้ เป็นสิ่งที่ อริยสาวก เห็นชัด แล้ว ด้วยดี ด้วยปัญญาอันชอบตามที่เป็นจริง
(ยถาภูตสัมมัปปัญญา) แล้ว ข้อนั้นเป็นฐานะที่จักมี ไม่ได้ว่า ในกาล นั้น อริยสาวกนั้น จัก แล่นไปสู่ ทิฏฐิอันปรารภที่สุดในเบื้องต้น (ปุพพันตทิฏฐิ) ว่า ในกาล ยืดยาวนาน ฝ่ายอดีต
เราได้มีแล้วหรือหนอ เราไม่ได้มีแล้วหรือหนอ
เราได้เป็นอะไรแล้วหนอ เราได้เป็นอย่างไรแล้วหนอ
เราเป็นอะไรแล้วจึงได้เป็นอะไรอีกแล้วหนอ ดังนี้ก็ดี
หรือว่าอริยาสาวกนั้นจักแล่นไป สู่ทิฏฐิอันปรารภที่สุดในเบื้องปลาย (อปรันตทิฏฐิ)ว่า ในกาลยืดยาวนาน ฝ่ายอนาคต
เราจักมีหรือไม่หนอ เราจักไม่มีหรือหนอ
เราจักเป็นอะไรหนอ เราจักเป็นอย่างไรหนอ
เราเป็นอะไร แล้วจักเป็นอะไรต่อไปหนอ ดังนี้ก็ดี
หรือว่า อริยสาวกนั้น จักเป็นผู้มีความสงสัยเกี่ยวกับตน ปรารภ กาลอันเป็นปัจจุบันในกาลนี้ ว่า
เรามีอยู่หรือหนอ เราไม่มีอยู่หรือหนอ
เราเป็นอะไรหนอ เราเป็นอย่างไรหนอ
สัตว์นี้มาจากที่ไหนแล้วจักเป็นผู้ไปสู่ที่ไหนอีกหนอ ดังนี้
ข้อนี้เป็นฐานะที่จักมีไม่ได้. เพราะเหตุไรเล่า? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้เป็นฐานะ ที่จักมี ไม่ได้ เพราะเหตุว่า ปฏิจจสมุปบาทนี้ และ ปฏิจจสมุปปันนธรรมเหล่านี้ เป็นสิ่งที่อริย สาวก นั้นเห็นชัดแล้วด้วยดี ด้วยปัญญา อันชอบ ตามที่เป็นจริง นั่นเอง ดังนี้.
หน้า 425
การรู้เรื่องปฏิจจสมุปบาท ทำให้หมดปัญหาเกี่ยวกับขันธ์ในอดีต และอนาคต
สกุลุทายิปริพพาชก ได้ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยเรื่องที่เขาเคยถามผู้ที่ปฏิญาณ ตัวเองว่า เป็นสัพพัญญสัพพ -ทัสสาวีอยู่ทุกอริยาบถ เมื่อหลาย วันมาแล้ว ถึงเรื่องอันปรารภขันธ์ใน อดีต ผู้ตอบกลับตอบเถลไถลไปเรื่องอื่น แล้วยังพาล โกรธเอาด้วย ทำให้เขาระลึกถึง พระผู้มีพระภาคเจ้าว่าคงทราบเรื่องนี้เป็นแน่นอน เมื่อพระผู้มี พระภาค เจ้า เสด็จมาสู่อาราม ของเขา จึงได้ปรารภเรื่อง นี้ขึ้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า
ดูก่อนอุทายิ ถ้าผู้ใดพึงระลึกถึงขันธ์ที่เคยอยู่อาศัยในภพก่อนได้มีอย่างต่าง ๆเป็นเอนก คือระลึกได้ชาติหนึ่ง บ้าง สองชาติ สามชาติ สี่ชาติ ห้าชาติ สิบชาติยี่สิบชาติ สามสิบชาติ สี่สิบชาติ ห้าสิบชาติ ร้อยชาติ พันชาติ แสน ชาติบ้าง ตลอด หลาย สังวัฏฏกัปป์ หลาย วิวัฏฏกัปป์ หลายสังวัฏฏกัปป์ และวิฏฏกัปป์บ้าง ว่าเมื่อข้าพเจ้าอยู่ ในภพ โน้น มีชื่ออย่างนั้น มีโคตร มีวรรณะ มีอาหารอย่างนั้นๆ เสวยสุขและทุกข์เช่นนั้น ๆ มีอายุสุดลงเท่านั้น
ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้เกิดในภพโน้น มีชื่อโครตวรรณะ อาหาร อย่างนั้น ๆ ได้เสวยสุข และทุกข์เช่นนั้น ๆ มีอายุสุดลง เท่านั้น
ครั้นจุติจากภพนั้น ๆๆๆ แล้ว มาเกิดในภพนี้.
เขาพึงระลึกถึงขันธ์ที่เคยอยู่อาศัยในภพก่อน ได้หลายประการ พร้อม ทั้งอาการและ ลักษณะ ด้วยประการฉะนี้ ดังนี้ไซร้ ผู้นั้นแหละควรถามปัญหาปรารภขันธ์ ส่วนอดีต กะเรา หรือว่าเรา ควรถาม ปัญหาปรารภขันธ์ส่วนอดีต กะผู้นั้น ผู้นั้นจะพึงยังจิตของเรา ให้ได้ยินด้วยการ พยากรณ์ ปัญหาปรารภขันธ์ส่วนอดีต หรือว่า เราพึงยังจิต ของ ผู้นั้น ให้ยินดีได้ด้วยการ พยากรณ์ปัญหา ปรารภขันธ์ ส่วนอนาคต.
ดูก่อนอุทายิ ถ้าผู้ใดพึงมีจักษุอันเป็นทิพย์ บริสุทธิ์กว่าจักษุของสามัญมนุษย์ พึงแล เห็นสัตว์ ทั้งหลายจุติอยู่ บังเกิดอยู่ เลวทราม ประณีต มีวรรณะดี มีวรรณะเลวมีทุกข์ มีสุข รู้แจ้งชัด หมู่สัตว์ผู้เข้าถึงตามกรรมว่า ผู้เจริญทั้งหลาย สัตว์เหล่า นี้หนอ ประกอบกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต พูดติเตียนซึ่งพระอริยเจ้าทั้งหลาย เป็นมิจฉาทิฏฐิประกอบการงาน ด้วย อำนาจ มิจฉาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่กายแตกตายไป ล้วนพากันเข้าสู่อบาย ทุคติวินิบาตนรก.
ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ส่วนสัตว์เหล่านี้หนอ ประกอบกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียน พระอริยเจ้า เป็น สัมมาทิฏฐิ ประกอบการงานด้วยอำนาจสัมมทิฏฐิ เบื้องหน้า แต่กายแตกตาย ไป ล้วนพากันเข้าสู่สุคติโลก สวรรค์.
เขาพึงมีจักษุทิพย์ บริสุทธิ์ล่วงจักษุสามัญมนุษย์ แลเห็นเหล่าสัตว์ผู้จุติอยู่ บังเกิดอยู่เลว ทราม ประณีต มีวรรณะ ดี มีวรรณะทราม มีทุกข์ มีสุข รู้แจ้งชัดหมู่สัตว์ ผู้เข้าถึงตามกรรม ได้ดังนี้ไซร้ ผู้นั้นแหละควรถามปัญหา ปรารภ ขันธ์ ส่วนอนาคตกะเรา หรือว่าเราควรถาม ปัญหา ปรารภขันธ์ ส่วนอนาคตกะ ผู้นั้น ผู้นั้นพึงยังจิตของเรา ให้ยินดี ได้ ด้วยการพยากรณ์ ปัญหาปรารภขันธ์ส่วนอนาคต หรือว่าเราพึงยังจิต ของผู้นั้น ให้ยินดี ได้ ด้วยการพยากรณ์ ปัญหา ปรารภขันธ์ส่วนอนาคต.
ดูก่อนอุทายิ เออก็เรื่อง ขันธ์ในอดีต ยกไว้ก่อน เรื่องขันธ์ในอนาคต ก็ยกไว้ก่อน เราจัก แสดงธรรมแก่ท่าน อย่างนี้ว่าเมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ย่อมมีเพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึง เกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ย่อมไม่มี เพราะ ความ ดับไม่เหลือ แห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับไป ดังนี้.
สกุลทายิปริพพาชก ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้แต่เรื่องที่ได้เกิดแก่ข้า พระองค์ ใน อัตภาพ นี้ มีอยู่ เท่าไร ข้าพระองค์ก็ไม่อาจที่จะระลึกได้ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ (ทั้งโดยรายละเอียดทั้งโดยหัวข้อ) เสียแล้ว ไฉนข้า พระองค์ จะตามระลึกถึงขันธ์ที่เคย อยู่อาศัย ในภพก่อนได้มีอย่างต่าง ๆ เป็นอเนก คือระลึกได้ ชาติ หนึ่งบ้างสองชาติบ้าง ...ฯลฯ... พร้อมทั้งอาการและลักษณะ ด้วยประการฉะนี้ เหมือนพระผู้มีพระภาคเล่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ในกาลบัดนี้ ข้าพระองค์ก็ไม่เห็นแม้แต่ปังสุปิศาจ (ปิศาจเล่นฝุ่น) เสียแล้ว ไฉน ข้าพระองค์ จะเห็น สัตว์ทั้งหลาย... ด้วยจักษุอัน เป็นทิพย์ บริสุทธิ์กว่าจักษุ ของสามัญมนุษย์...ฯลฯ... รู้แจ้งชัด หมู่สัตว์ผู้เข้าถึง ตามกรรม ได้ เหมือนพระผู้มีพระภาค เล่า.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็คำที่พระผู้มีพระภาคตรัสกะข้าพระองค์อย่างนี้ว่า
ดูก่อนอุทายิเออก็ เรื่องขันธ์ในอดีตยกไว้ก่อน เรื่องขันธ์ในอนาคตก็ยกไว้ก่อน เราจัก แสดงธรรม แก่ท่านอย่างนี้ ว่า เมื่อสิ่งนี้ มี สิ่งนี้ย่อมมี เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ย่อมไม่มี เพราะความ ดับไป แห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้ จึงดับไป. ดังนี้นั้น ก็ไม่แจ่มแจ้ง แก่ข้าพระองค์โดยประมาณอันยิ่งเสียแล้ว ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ไฉนเล่าข้าพระองค จะพึง ยังจิตของพระผู้มีพระภาคให้ยินดี ด้วยการพยากรณ์ปัญหา ในลัทธิเป็นของ อาจารย์แห่งตน.
..............................................................................................
หมายเหตุผู้รวบรวม : ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นใจความสำ คัญแห่งเรื่องนี้ว่า ถ้าผู้ใดมี ความ เข้าใจในเรื่อง อิทปปัจจยตา หรือปฏิจจสมุปบาทแล้ว จะไม่รู้สึกว่ามีอดีต หรือ อนาคต มีแต่กระแสแห่งการปรุงแต่งของปัจจัย ที่ทยอยกันไป ตามแบบแห่ง อิทัป-ปัจจยตา การบัญญัติว่า อดีต หรืออนาคตก็เป็นอันยกเลิกเพิกถอนไป เพราะว่าความมี อยู่แห่งขันธ์ ทั้งหลาย เป็นเพียง กระแสแห่งอิทัปปัจจยตาเท่านั้น.
อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบว่า ตามพระบาลีนี้ถือเป็นหลักว่า ปุพเพนิวาสานุสสติญาณย่อม ปรารภขันธ์ในอดีต จุตูปปาตญาณหรือทิพพจักขุญาณ ย่อมปรารภขันธ์ในอนาคต ขอให้ผู้ศึกษาพึงพิจารณาดูด้วยตนเอง โดยละเอียด.
..................................................................................................
หน้า 428
ผลอานิสงส์ พิเศษ ๘ ประการของการเห็นปฏิจจสมุปบาท
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถูกแล้ว เมื่อเป็นอย่างนี้ ก็เป็นอันว่า พวกเธอทั้งหลายก็กล่าว อย่างนั้น แม้เราตถาคต ก็กล่าวอย่างนั้น ว่า เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ย่อมไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ย่อมดับ๒ กล่าวคือ เพราะความดับ แห่งอวิชชา จึงมีความดับแห่งสังขาร เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ เพราะมีความ ดับแห่งวิญญาณ จึงมีความดับแห่งนามรูป เพราะมีความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ เพราะมีความดับแห่งสฬายตนะ จึงมีความดับแห่งผัสสะ เพราะมีความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา เพราะมีความดับแห่งเวทนา จึงมีความดับแห่งตัณหา เพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ
เพราะมีความดับแห่งชาติ นั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาส ทั้งหลายจึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้
(๑) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จะเป็นไปได้ไหมว่า พวกเธอ เมื่อรู้อยู่อย่างนี้เห็นอยู่อย่างนี้ จึงพึงแล่นไปสู่ ทิฏฐิอัน ปรารภที่สุด ในเบื้องต้น (ปุพพันตทิฏฐิ) ว่าในกาล ยืดยาวนานฝ่าย อดีต เราได้มีแล้วหรือหนอ เราไม่ได้มีแล้ว หรือหนอ เราได้เป็น อะไรแล้วหนอ เราได้เป็นอย่าไร แล้วหนอ เราเป็นอะไรแล้วจึงได้เป็นอะไรอีกแล้วหนอ ดังนี้?
ข้อนั้นหามิได้พระเจ้าข้า
(๒) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หรือว่า จะเป็นไปได้ไหมว่า พวกเธอ เมื่อรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ จะพึงแล่นไปสู่ ทิฏฐิอัน ปรารภที่สุดในเบื้องปลาย (อปรันตทิฏฐิ) ว่า ในกาลยืดยาวนาน ฝ่ายอนาคต เราจักมีหรือหนอ เราจัก ไม่มี หรือหนอ เราจักเป็น อะไรหนอ เราจักเป็นอย่างไร หนอ เราเป็นอะไรแล้วจักเป็นอะไรต่อไปหนอ ดังนี้?
ข้อนั้นหามิได้พระเจ้าข้า
(๓) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หรือว่า จะเป็นไปได้ไหมว่า พวกเธอ เมื่อรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ จะพึงเป็นผู้ มีความสงสัย เกี่ยวกับตน ปรารภกาลอันเป็นปัจจุบัน ในกาลนี้ว่า เรามีอยู่ หรือหนอ เราไม่มีอยู่หรือหนอ เราเป็นอะไรหนอ เราเป็น อย่างไรหนอ สัตว์นี้มาจากที่ไหน แล้วจักเป็นผู้ไปสู่ที่ไหนอีกหนอ ดังนี้?
ข้อนั้นหามิได้พระเจ้าข้า
(๔) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จะเป็นไปได้ไหมว่า พวกเธอ เมื่อรู้อย่างนี้เห็นอยู่อย่างนี้ แล้วจะ พึงกล่าวว่า พระศาสดา เป็นครูของพวกเรา ดังนั้น พวกเราต้องกล่าว อย่างที่ท่าน กล่าว เพราะความเคารพใน พระศาสดานั่นเทียว ดังนี้?
ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า
(๕) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จะเป็นไปได้ไหมว่า พวกเธอ เมื่อรู้อยู่อย่างนี้เห็นอยู่อย่างนี้ แล้วจะ พึงกล่าวว่า พระสมณะ (พระพุทธองค์) กล่าวแล้วอย่างนี้ แต่สมณะ ทั้งหลาย และ พวกเรา จะกล่าวอย่างอื่น ดังนี้?
ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า
(๖) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จะเป็นไปได้ไหมว่า พวกเธอ เมื่อรู้อยู่อย่างนี้เห็นอยู่อย่างนี้ จะ พึงประกาศการ นับถือ ศาสดา อื่น?
ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า
(๗) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จะเป็นไปได้ไหมว่า พวกเธอ เมื่อรู้อยู่อย่างนี้เห็นอยู่อย่างนี้ จะพึงเวียนกลับไปสู่การ ประพฤติ ซึ่งวัตตโกตูหลมงคลทั้งหลาย ตามแบบ ของสมณ พราหมณ์ ทั้งหลาย เหล่าอื่นเป็นอันมาก โดยความเป็นสาระ?
ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า
(๘) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะกล่าวแต่สิ่งที่พวกเธอรู้เอง เห็นเองรู้สึกเองแล้ว เท่านั้น มิใช่หรือ?
อย่างนั้น พระเจ้าข้า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถูกแล้ว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอทั้งหลายเป็นผู้ที่เรานำไป แล้ว ด้วยธรรมนี้ อันเป็น ธรรม ที่บุคคล จะพึงเห็นได้ด้วยตนเอง(สนฺทิฏฐิโก) เป็นธรรมให้ผล ไม่จำกัดกาล (อกาลิโก) เป็นธรรมที่ ควร เรียก กัน มาดู (เอหิปสฺสิโก) ควรน้อมเข้ามา ใส่ตัว (โอปนยิโก) อันวิญญูชนจะพึงรู้ได้เฉพาะตน(ปจฺจตฺตํ เวทตพฺโพ วิญฺญูหิ).
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำนี้เรากล่าวแล้ว หมายถึงคำที่เราได้เคยกล่าวไว้แล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ เป็นธรรม ที่บุคคลจะพึงเห็นได้ ด้วยตนเองเป็นธรรม ให้ผลไม่จำกัดกาล เป็นธรรมที่ควรเรียกกันมาดู ควรน้อมเข้ามาใส่ตน อันวิญญูชน จะพึงรู้ได้เฉพาะตน ดังนี้.
...................................................................................
หมายเหตุผู้รวบรวม : ผู้ศึกษาพึงสังเกต ให้เห็นความหมายของอานิสงส์ อันประเสริฐ สูงสุด แห่งการเห็นปฏิจจ สมุปบาท ทั้ง ๘ อนิสงส์จริง ๆ ว่าเมื่อรู้แล้ว จะไม่เกิด ปุพพันตทิฏฐิ ๑ ไม่เกิดอปรันตทิฏฐิ ๑ ไม่เกิดความสงสัย ปรารภในปัจจุบัน ๑ไม่ต้องจำใจกล่าวอะไร ไปตาม ที่พระศาสดากล่าว ๑ไม่ต้องรู้สึกว่าตนกล่าวผิดไป จากที่พระ-ศาสดากล่าว๑ ไม่หันไปถือ ศาสนาอื่น ๑ ไม่เวียนกลับถือวัตร ชนิด สีลัพพัตตปรามาส ๑และกล่าวไปตาม ที่เป็น สันทิฏฐิโก อกาลิโก ปัจจัตตังเวทิ ตัพโพ วิญญูหิ แก่ตัวเองเท่านั้น ๑เมื่อมองเห็น อานิสงส์เหล่านี้ ย่อมสนใจ เพื่อ ทำให้แจ้งปฏิจจสมุปบาทอย่างยิ่ง.
..................................................................................
หน้า 432
ผู้รู้ปฏิจจสมุปบาท โดยอาการแห่งอริยสัจทั้งสี่
ย่อมสามารถก้าวล่วงปฏิจจสมุปปันนธรรม
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์ เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง ชรามรณะ รู้ทั่วถึง ซึ่งเหตุให้ เกิดขึ้น แห่งชรามรณะ รู้ทั่วถึง ซึ่งความดับไม่เหลือแห่ง ชรามรณะ รู้ทั่วถึง ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่อง ทำสัตว์ให้ลุถึง ความ ดับไม่เหลือ แห่งชรา มรณะสมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นหนอ จักก้าวล่วงชรา มรณะเสียได้ แล้วดำรงอยู่ ดังนี้ ข้อนี้เป็นฐานะที่จัก มีได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะ หรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่งชาติ รู้ทั่วถึง ซึ่งเหตุให้ เกิดขึ้น แห่งชาติ รู้ทั่วถึง ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชาติรู้ทั่วถึง ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับ ไม่เหลือแห่ง ชาติ สมณะ หรือ พราหมณ์ เหล่านั้นหนอ จักก้าวล่วงชาติเสียได้ แล้วดำรงอยู่ ดังนี้ ข้อนี้เป็น ฐานะที่จักมีได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง ภพ รู้ทั่วถึงซึ่งเหตุให้เกิดขึ้น แห่งภพ รู้ทั่วถึง ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งภพรู้ทั่วถึง ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับ ไม่เหลือแห่ง ภพ สมณะหรือราหมณ์ เหล่านั้นหนอ จักก้าวล่วงภพเสียได้ แล้วดำรงอยู่ ดังนี้ ข้อนี้เป็นฐานะที่จักมีได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง อุปาทาน รู้ทั่วถึง ซึ่งเหตุให้ เกิดขึ้นแห่ง อุปาทาน รู้ทั่วถึง ซึ่งความดับไม่เหลือ
แห่งอุปาทาน รู้ทั่วถึง ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึง ความดับไม่เหลือแห่ง อุปานทานสมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นหนอ จักก้าวล่วงอุปาทานเสียได้ แล้วดำรงอยู่ ดังนี้ :ข้อนี้เป็นฐานะที่จักมีได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง ตัณหา รู้ทั่วถึง ซึ่งเหตุให้ เกิดขึ้น แห่ง ตัณหา รู้ทั่วถึง ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งตัณหา รู้ทั่วถึง ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึง ความ ดับ ไม่เหลือแห่งตัณหา สมณะหรือ พราหมณ์เหล่านั้นหนอ จักก้าวล่วงตัณหาเสียได้ แล้วดำรงอยู่ ดังนี้ ข้อนี้เป็นฐานะที่จักมีได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมรู้ทั่วถึง ซึ่ง เวทนา รู้ทั่วถึง ซึ่งเหตุ ให้เกิด ขึ้น แห่ง เวทนา รู้ทั่วถึง ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งเวทนา รู้ทั่วถึง ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึง ความ ดับ ไม่เหลือ แห่งเวทนา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นหนอ จักก้าวล่วงเวทนาเสียได้ แล้วดำรงอยู่ ดังนี้ ข้อนี้เป็น ฐานะที่จักมีได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง ผัสสะ รู้ทั่วถึง ซึ่งเหตุให้ เกิดขึ้น แห่ง ผัสสะ รู้ทั่วถึง ซึ่งความดับไม่เหลือแห่ง ผัสสะรู้ทั่วถึง ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับ ไม่เหลือ แห่งผัสสะ สมณะหรือพราหมณ์ เหล่านั้นหนอ จักก้าวล่วงผัสสะเสียได้ แล้วดำรงอยู่ ดังนี้ ข้อนี้เป็น ฐานะที่จักมีได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง สฬายตนะ รู้ทั่วถึงซึ่งเหตุให้ เกิดขึ้น แห่งสฬายตนะ รู้ทั่วถึง ซึ่งความดับไม่เหลือ
แห่งสฬายตนะ รู้ทั่วถึง ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึง ความดับไม่เหลือแห่ง สฬายตนะ สมณะหรือพราหมณ์ เหล่านั้น หนอ จักก้าวล่วงสฬายตนะเสียได้ แล้วดำรงอยู่ ดังนี้ ข้อนี้เป็นฐานะที่จักมีได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์ เหล่าใด เหล่าหนึ่ง ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง นามรูป รู้ทั่วถึง ซึ่งเหตุให้เกิด ขึ้น แห่ง นามรูป รู้ทั่วถึง ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งนามรูป รู้ทั่วถึง ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับ ไม่เหลือ แห่งนามรูป สมณะหรือ พราหมณ์ เหล่านั้นหนอ จักก้าวล่วงนามรูปเสียได้ แล้วดำรงอยู่ ดังนี้ ข้อนี้เป็น ฐานะที่จักมีได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง วิญญาณ รู้ทั่วถึง ซึ่งเหตุให้ เกิดขึ้น แห่ง วิญญาณ รู้ทั่วถึง ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ รู้ทั่วถึง ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึง ความ ดับ ไม่เหลือ แห่ง วิญญาณ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นหนอ จักก้าวล่วงวิญญาณ เสียได้ แล้วดำรงอยู่ ดังนี้ ข้อนี้เป็นฐานะ ที่จักมีได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง สังขาร รู้ทั่วถึง ซึ่งเหตุให้เกิด ขึ้นแห่ง สังขาร รู้ทั่วถึง ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งสังขาร รู้ทั่วถึง ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับ ไม่เหลือ แห่งสังขาร สมณะหรือพราหมณ์ เหล่านั้นหนอ จักก้าวล่วงสังขารเสียได้ แล้วดำ รงอยู่ดังนี้ ข้อนี้เป็น ฐานะ ที่จักมีได้ ดังนี้ แล.
หน้า 435
อานิสงส์ ของการถึงพร้อมด้วยทัสสนทิฏฐิ
อานิสงส์ ของการถึงพร้อมด้วยทัสสนทิฏฐิ (สูตรที่หนึ่ง)
ครั้งหนึ่ง ที่พระเชตวัน พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเอาปลายพระนขา ช้อนฝุ่นขึ้นเล็กน้อย แล้วตรัสกะ ภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอทั้งหลาย จะสำคัญ ความข้อนี้ ว่าอย่างไร? ฝุ่นนิดหนึ่ง ที่เราช้อนขึ้นด้วยปลายเล็บนี้ กับมหา ปฐพีนี้ ข้างไหนจะมากกว่ากัน?
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มหาปฐพีนั่นแหละ เป็นดินที่มากกว่า. ฝุ่นนิดหนึ่ง เท่าที่ทรงช้อนขึ้น ด้วยปลายพระนขา นี้เป็นของ มีประมาณน้อย. ฝุ่นนั้นเมื่อนำเข้าไปเทียบกับมหาปฐพี ย่อมไม่ถึงส่วนหนึ่งในร้อยส่วนหนึ่งใน พันส่วน หนึ่งในแสนของมหาปฐพีนั้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น สำหรับอริยสาวกผู้ถึงพร้อมด้วย (สัมมา) ทิฏฐิ เป็น บุคคล ผู้รู้ พร้อมเฉพาะแล้ว ความทุกข์ของท่านส่วนที่สิ้นไปแล้ว หมดไปแล้วย่อมมากกว่า ความทุกข์ ที่ยังเหลือ อยู่ มีประมาณน้อย เมื่อนำเข้าไป เทียบกับ กองทุกข์ที่สิ้นไปแล้ว หมดไปแล้ว ในกาลก่อน ย่อมไม่เข้าถึงส่วนหนึ่งในร้อย ส่วนหนึ่งในพัน ส่วนหนึ่งในแสน กล่าวคือความสิ้นไปแห่งกองทุกข์ (ของพระโสดาบัน) ผู้เป็นสัตตักขัตตุปรมะ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การรู้พร้อมเฉพาะซึ่งธรรม เป็นไปเพื่อประโยชน์อันใหญ่หลวง อย่างนี้ การได้เฉพาะ ซึ่ง ธรรม จักษุ เป็นไปเพื่อประโยชน์อันใหญ่หลวง อย่างนี้.
หน้า 436
อานิสงส์ ของการถึงพร้อมด้วยทัสสนทิฏฐิ (สูตรที่สอง)
(สูตรที่สองและสูตรต่อ ๆ ไป เป็นสูตรที่ตรัสถึงประโยชน์ของ ความสมบูรณ์ด้วยทัสสน ทิฏฐิแห่ง ความเป็น พระโสดาบัน เหมือนกันทุกตัวอักษรในส่วนที่เป็นอุปไมย ต่างกันแต่อุปมา ซึ่งทรงนำมาใช้เป็นเครื่องเปรียบ เทียบแต่ละ อุปมาเป็น ลำดับไป ในทุก ๆ สูตร ดังต่อไปนี้ )
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนสระโบกขรณียาว ๕๐ โยชน์ กว้าง ๕๐โยชน์ ลึก ๕๐ โยชน์ มีน้ำเต็มเสมอ ขอบ กาดื่ม ได้สะดวก มีอยู่. ลำดับนั้น บุรุษพึงจุ่มแล้วยกขึ้นมา ซึ่งน้ำ ด้วยปลายแห่งใบหญ้าคา.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอทั้งหลาย จะสำคัญ ความข้อนั้นว่าอย่างไร? น้ำที่บุรุษ จุ่มแล้วยกขึ้นมาด้วยปลาย แห่ง ใบหญ้าคา เป็นน้ำ ที่มากกว่า หรือว่าน้ำในสระ โบกขรณีนี้มากกว่า?
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น้ำในสะโบกขรณีนั่นแหละ เป็นน้ำที่มากกว่า. น้ำที่บุรุษจุ่มแล้ว ยกขึ้นมา ด้วยปลาย แห่งใบ หญ้าคา มีประมาณน้อย. น้ำนี้เมื่อนำเข้าไปเทียบกับน้ำ ในสระโบกขรณี ย่อมไม่เข้าถึง ส่วนหนึ่งในร้อย ส่วนหนึ่งในพันส่วนหนึ่ง ในแสนแห่ง น้ำนั้น. ...ฯลฯ...
หน้า 437
อานิสงส์ ของการถึงพร้อมด้วยทัสสนทิฏฐิ (สูตรที่สาม)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่น้ำใหญ่เหล่านี้คือ แม่น้ำคงคาแม่น้ำยมุนา แม่น้ำอจิรวดี แม่น้ำสรภู แม่น้ำมหีไหล มา บรรจบกันในที่ใด ลำดับนั้นบุรุษพึง นำน้ำขึ้นมาสองหรือสามหยด. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอทั้งหลาย จะสำคัญ ความข้อนี้ ว่าอย่างไร? น้ำสองหรือสามหยดที่บุรุษนำขึ้นมา เป็นน้ำที่มากกว่า หรือว่าน้ำตรงที่แม่น้ำบรรจบกัน มากกว่า?
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น้ำตรงที่แม่น้ำบรรจบกันนั่นแหละ เป็นน้ำที่มากกว่า. น้ำสองหรือสามหยดที่บุรุษ นำขึ้นมา มีประมาณ น้อย. น้ำนี้เมื่อนำเข้าไปเทียบกับน้ำ ตรงที่แม่น้ำบรรจบกัน ย่อมไม่เข้าถึงส่วนหนึ่งในร้อย ส่วนหนึ่งใน พันส่วนหนึ่ง ในแสนแห่ง น้ำนั้น. ...ฯลฯ...
หน้า 438
อานิสงส์ ของการถึงพร้อมด้วยทัสสนทิฏฐิ (สูตรที่สี่)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่น้ำเหล่านี้คือ แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา แม่น้ำ อจิรวดีแม่น้ำสรภู แม่น้ำมหี ไหลมา บรรจบกันในที่ใด น้ำนั้น พึงถึงความสิ้นไป หมดไป ยังเหลืออยู่สองหรือสามหยด.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอทั้งหลาย จะสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไร? คือน้ำตรง ที่แม่น้ำบรรจบกัน ซึ่งสิ้นไปแล้วหมดไปแล้ว เป็นน้ำที่มากกว่า หรือว่าน้ำที่ยัง เหลืออยู่สองหรือสามหยดมากกว่า?
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น้ำตรงที่แม่น้ำบรรจบกัน ซึ่งสิ้นไปแล้วหมดไปแล้วนั่นแหละ เป็นน้ำ ที่มากกว่า. น้ำที่ยังเหลือ อยู่สอง หรือ สามหยดมีประมาณหน้อย. น้ำนี้เมื่อนำเข้าไปเทียบกับน้ำตรงที่แม่น้ำบรรจบกัน ซึ่งสิ้นไปแล้วหมดไปแล้ว ย่อมไม่เข้าถึง ส่วนหนึ่งในร้อยส่วน หนึ่งในพันส่วนหนึ่งในแสนแห่งน้ำนั้น. ...ฯลฯ...
หน้า 438_1
อานิสงส์ ของการถึงพร้อมด้วยทัสสนทิฏฐิ (สูตรที่ห้า)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเทียบบุรุษพึงโยนก้อนดิน มีประมาณเท่าเม็ดกระเบา เจ็ดก้อนลงไปบนมหาปฐพี. ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย พวกเธอทั้งหลายจะสำคัญ ความข้อนั้นว่าอย่างไร? ก้อนดินมีประมาณเท่าเม็ดกระเบา เจ็ด ก้อนที่บุรุษโยน ลงไปแล้ว นั้น เป็นดินมากก่า หรือมหาปฐพี มากกว่า?
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มหาปฐพีนั่นแหละเป็นดินที่มากกว่า. ก้อนดินมีประมาณเท่าเม็ด กระเบา เจ็ดก้อน ที่บุรุษ โยนลงไป แล้วนั้นมีประมาณน้อย. ดินนี้เมื่อน้ำเข้าไปเทียบกับ มหาปฐพี ย่อมไม่เข้าถึงส่วนหนึ่งในร้อยส่วน หนึ่งในพันส่วน หนึ่งในแสน แห่ง มหาปฐพีนั้น. ...ฯลฯ...
หน้า 438_2
อานิสงส์ ของการถึงพร้อมด้วยทัสสนทิฏฐิ (สูตรที่หก)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเทียบเหมือนมหาปฐพี ถึงความสิ้นไปหมดไปเหลือก้อนดิน มีประมาณเท่าเม็ด กระเบา เจ็ดก้อน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอทั้งหลายจะสำคัญ ความข้อนั้นว่าอย่างไร? มหาปฐพีที่สิ้นไป แล้ว หมดไปแล้ว เป็นดินที่มาก กว่าหรือว่า ก้อนดินมีประมาณ เท่าเม็ดกระเบาเจ็ดก้อนที่ยังเหลืออยู่มากกว่า?
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มหาปฐพีที่สิ้นไปแล้วหมดไปแล้วนั่นแหละ เป็นดินที่มากกว่า. ก้อนดินมีประมาณ เท่าเม็ด กระเบา เจ็ดก้อน ที่ยังเหลืออยู่มีประมาณน้อย. ดินนี้เมื่อนำเข้าไปเทียบกับมหาปฐพีที่สิ้นไปแล้ว หมดไปแล้วย่อมไม่เข้าถึงส่วน หนึ่ง ในร้อย ส่วนหนึ่งในพันส่วน หนึ่งในแสนแห่งมหาปฐพีนั้น. ...ฯลฯ...
หน้า 438_3
อานิสงส์ ของการถึงพร้อมด้วยทัสสนทิฏฐิ (สูตรที่เจ็ด)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษพึงนำน้ำสอง หรือสามหยดขึ้นจากมหาสมุทร. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอ ทั้งหลาย จะสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไร? น้ำสอง หรือสามหยดที่บุรุษนำขึ้นแล้ว เป็นน้ำที่มากกว่า หรือว่าน้ำในมหาสมุทร มากกว่า?
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น้ำในมหาสมุทรนั่นแหละ เป็นน้ำที่มากกว่า. น้ำสองหรือสามหยด ที่บุรุษ นำขึ้นแล้วมีประมาณน้อย. น้ำนี้เมื่อนำเข้าไปเทียบกับน้ำ ในมหาสมุทร ย่อมไม่เข้าถึงส่วนหนึ่งในร้อยส่วนหนึ่งในพันส่วนหนึ่งในแสนแห่งน้ำนั้น. ...ฯลฯ...
หน้า 439
อานิสงส์ ของการถึงพร้อมด้วยทัสสนทิฏฐิ (สูตรที่แปด)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนมหาสมุทร พึงความสิ้นไปหมดไปยังเหลือน้ำ อยู่สองหรือสามหยด. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอทั้งหลาย จะสำคัญความ ข้อนั้นว่าอย่างไร? คือน้ำในมหาสมุทรซึ่งสิ้นไป แล้วหมดไปแล้ว เป็นน้ำที่มากกว่าหรือ ว่า น้ำที่ยังเหลืออยู่สองหรือสามหยด มากกว่า?
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น้ำในมหาสมุทร ซึ่งสิ้นไปแล้วหมดไปแล้ว นั่นแหละเป็นน้ำที่ มากกว่า. น้ำที่ยังเหลือ อยู่สอง หรือสาม หยดมีประมาณน้อย. น้ำนี้เมื่อนำเข้าไปเทียบ กับ น้ำในมหาสมุทร ซึ่งสิ้นไปแล้วหมดไปแล้วย่อมไม่เข้าถึงส่วนหนึ่งในร้อยส่วน หนึ่งในพันส่วนหนึ่งในแสนแห่งน้ำนั้น....ฯลฯ...
หน้า 439_1
อานิสงส์ ของการถึงพร้อมด้วยทัสสนทิฏฐิ (สูตรที่เก้า)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษพึงโยนกรวดหินมีประมาณ เท่าเม็ดพันธุ์ผักกาด เจ็ดเม็ดเข้าไป ที่เทือกเขาหลวง ชื่อหิมพานต์. ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย พวกเธอทั้งหลาย จะสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไร? กรวดหินมีประมาณเท่าเม็ด พันธุ์ ผักกาด เจ็ดเม็ด ที่บุรุษโยน เข้าไปนั้น เป็นของมากกว่า หรือว่าเทือก เขาหลวง ชื่อหิมพานต์ มากกว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เทือกเขาหลวงชื่อหิมพานต์ นั่นแหละเป็นสิ่งที่มากกว่า. กรวดหินมีประมาณเท่าเม็ดพันธุ์ ผักกาด เจ็ดเม็ดที่ยังเหลืออยู่มีประมาณน้อย. กรวดหินนี้เมื่อนำเข้าไปเทียบกับ เทือกเขาหลวงชื่อหิมพานต์ย่อมไม่เข้าถึง ส่วนหนึ่ง ในร้อยส่วนหนึ่งในพันส่วนหนึ่ง ในแสนแห่งเทือกเขานั้น. …ฯลฯ…
หน้า 440
อานิสงส์ ของการถึงพร้อมด้วยทัสสนทิฏฐิ (สูตรที่สิบ)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเทือกเขาหลวงชื่อหิมพานต์. พึงถึงความสิ้นไป หมดไป เหลือกรวดหิน มีประมาณ เท่าเม็ดพันธุ์ผักกาดเจ็ดเม็ด. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอ ทั้งหลาย จะสำคัญความข้อนั้นว่า อย่างไร? เทือกเขาหลวง ชื่อหิมพานต์ ซึ่งสิ้นไปแล้ว หมดไปแล้ว เป็นสิ่งที่มากว่า หรือว่ากรวดหินมีประมาณ เท่าเม็ดพันธุ์ ผักกาด เจ็ดเม็ด ที่ยังเหลืออยู่ มากกว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เทือกเขาหลวงชื่อหิมพานต์ ซึ่งสิ้นไปแล้วหมดไปแล้ว นั่นแหละ เป็นสิ่ง ที่มากกว่า. กรวดหินมี ประมาณเท่าเม็ดพันธุ์ผักกาดเจ็ดเม็ด ที่ยังเหลืออยู่มี ประมาณน้อย. กรวดหินนี้เมื่อนำเข้าไปเทียบ กับ เทือกเขาหลวง ชื่อหิมพานต์ซึ้งสิ้นไป แล้วหมดแล้ว ย่อมไม่เข้าถึงส่วนหนึ่งในร้อยส่วน หนึ่งในพันส่วน หนึ่ง นแสน แห่งเทือกเขานั้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น สำหรับอริยสาวกผู้ถึงพร้อมด้วย (สัมมา) ทิฏฐิ เป็น บุคคลผู้รู้พร้อมเฉพาะแล้ว ความทุกข์ของท่านส่วนที่สิ้นไปแล้ว หมดไปแล้วย่อมมากกว่า ความทุกข์ที่ยัง เหลือ อยู่ มีประมาณ น้อย เมื่อนำเข้าไป เทียบกับกองทุกข์ที่สิ้นไปแล้ว หมดไปแล้ว ในกาลก่อน ย่อมไม่เข้า ถึงส่วนหนึ่งในร้อย ส่วนหนึ่ง ในพัน ส่วนหนึ่งในแสน กล่าวคือความสิ้นไปแห่ง
กองทุกข์ (ของพระโสดาบัน) ผู้เป็นสัตตักขัตตุปรมะ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การรู้พร้อมเฉพาะซึ่งธรรม เป็นไปเพื่อ ประโยชน์ อันใหญ่หลวง อย่างนี้ การได้เฉพาะ ซึ่งธรรมจักษุ เป็นไปเพื่อประโยชน์อันใหญ่หลวงอย่างนี้ ดังนี้ แล
หน้า 441
ผู้เสร็จกิจในปฏิจจสมุปบาทชื่อว่าผู้บรรลุนิพพาน ในปัจจุบัน
ดูก่อนภิกษุ ถ้าภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะความเบื่อหน่าย เพราะความคลาย กำหนัด เพราะความดับ ไม่เหลือ แห่ง ชราและมรณะ ด้วยความเป็นผู้ไม่ยึดมั่น ถือมั่น อยู่แล้วไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียก ภิกษุนั้นว่า ภิกษุ ผู้บรรลุ แล้ว ซึ่ง นิพพานในทิฏฐธรรม (ทิฏฺฐธมฺมนิพฺพานปฺปตฺโต).
ดูก่อนภิกษุ ถ้าภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะความเบื่อหน่าย เพราะความคลาย กำหนัด เพราะความดับ ไม่เหลือ แห่ง ชาติ ด้วยความเป็นผู้ไม่ยึดมั่นถือมั่น อยู่แล้วไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า ภิกษุผู้บรรลุแล้วซึ่งนิพพาน ในทิฏฐรรม.
ดูก่อนภิกษุ ถ้าภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะความเบื่อหน่าย เพราะความคลาย กำหนัด เพราะความดับ ไม่เหลือ แห่ง ภพ ด้วยความเป็นผู้ไม่ยึดมั่นถือมั่น อยู่แล้วไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า ภิกษุผู้บรรลุแล้วซึ่งนิพพาน ในทิฏฐรรม
ดูก่อนภิกษุ ถ้าภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะความเบื่อหน่าย เพราะความคลายกำหนัด เพราะความดับ ไม่เหลือ แห่ง อุปทาน ด้วยความเป็นผู้ไม่ยึดมั่นถือมั่น อยู่แล้วไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า ภิกษุผู้บรรลุแล้วซึ่ง นิพพานในทิฏฐรรม
ดูก่อนภิกษุ ถ้าภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะความเบื่อหน่าย เพราะความคลาย กำหนัด เพราะความดับ ไม่เหลือแห่ง ตัณหาด้วยความ เป็นผู้ไม่ยึดมั่นถือมั่นอยู่แล้วไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า ภิกษุผู้บรรลุแล้วซึ่งนิพพาน ในทิฏฐรรม
ดูก่อนภิกษุ ถ้าภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะความเบื่อหน่าย เพราะความคลาย กำหนัด เพราะความดับ ไม่เหลือ แห่ง เวทนา ด้วยความเป็นผู้ไม่ยึดมั่นถือมั่น อยู่แล้วไซร้ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า ภิกษุผู้บรรลุแล้วซึ่งนิพพาน ในทิฏฐรรม
ดูก่อนภิกษุ ถ้าภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะความเบื่อหน่าย เพราะความคลาย กำหนัด เพราะความดับ ไม่เหลือ แห่ง ผัสสะ ด้วยความเป็นผู้ไม่ยึดมั่นถือมั่นอยู่แล้วไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า ภิกษุผู้บรรลุแล้วซึ่งนิพพาน ในทิฏฐรรม
ดูก่อนภิกษุ ถ้าภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะความเบื่อหน่าย เพราะความคลาย กำหนัด เพราะความดับ ไม่เหลือ แห่ง สฬายตนะ ด้วยความเป็นผู้ไม่ยึดมั่นถือมั่น อยู่แล้วไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียก ภิกษุนั้นว่า ภิกษุผู้บรรลุแล้ว ซึ่งนิพพานในทิฏฐรรม
ดูก่อนภิกษุ ถ้าภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะความเบื่อหน่าย เพราะความคลาย กำหนัด เพราะความดับ ไม่เหลือ แห่ง นามรูป ด้วยความเป็นผู้ไม่ยึดมั่นถือมั่น อยู่แล้วไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า ภิกษุผู้บรรลุแล้วซึ่ง นิพพาน ในทิฏฐรรม
ดูก่อนภิกษุ ถ้าภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะความเบื่อหน่าย เพราะความคลาย กำหนัด เพราะความดับ ไม่เหลือ แห่ง วิญญาณ ด้วยความเป็นผู้ไม่ยึดมั่นถือมั่น อยู่แล้วไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียก ภิกษุนั้นว่า ภิกษุผู้บรรลุแล้วซึ่ง นิพพาน ในทิฏฐรรม
ดูก่อนภิกษุ ถ้าภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะความเบื่อหน่าย เพราะความคลาย กำหนัด เพราะความดับ ไม่เหลือ แห่ง สังขารทั้งหลาย ด้วยความเป็นผู้ไม่ยึดมั่น ถือมั่น อยู่แล้วไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียก ภิกษุนั้นว่า ภิกษผู้บรรลุ แล้วซึ่งนิพพาน ในทิฏฐรรม
ดูก่อนภิกษุ ถ้าภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะความเบื่อหน่าย เพราะความคลาย กำหนัด เพราะความดับ ไม่เหลือ แห่ง อวิชชา ด้วยความเป็นผู้ไม่ยึดมั่นถือมั่น อยู่แล้วไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า ภิกษุผู้บรรลุแล้วซึ่ง นิพพาน ในทิฏฐรรม ดังนี้ แล.
หน้า 444
อานิสงส์สูงสุด (อนุปาทิเสสนิพพาน)
ของการพิจารณาปฏิจจสมุปบาทอย่างถูกวิธี
ครั้งหนึ่ง ที่พระเชตวัน พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ให้ตั้งใจฟังแล้ว ได้ตรัส ข้อความเหล่านี้ว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ด้วยเหตุเท่าไรหนอ ภิกษุ เมื่อพิจารณาพึงพิจารณาเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ โดยประการ ทั้งปวง?ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น ได้กราบทูลวิงวอนว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลาย ของพวกข้าพระองค์ มีพระผู้มีพระภาค เป็นมูล มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่ง.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เป็นการชอบแล้วหนอ ขอให้อรรถแห่งภาษิตนั้น จงแจ่มแจ้งกะ พระผู้มีพระภาคเอง เถิดภิกษุทั้งหลาย ได้ฟังจากพระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้ ดังนี้.พระผู้มีพระภาเจ้า ได้ตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น เธอทั้งหลายจงฟังซึ่งธรรมนั้น จงทำในใจให้สำเร็จ ประโยชน์ เราจักกล่าว บัดนี้.
ครั้นภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น ทูลสนองรับพระดำรัสนั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสถ้อยคำ เหล่านี้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อพิจารณาย่อมพิจารณาว่าทุกข์ มีอย่างมิใช่น้อย นานาประการ ย่อมเกิดขึ้น ในโลก กล่าวคือ ชรามรณะ ใดแลทุกข์นี้ มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด (นิทาน)? มีอะไรเป็นเครื่องก่อ ให้เกิด (สมุทย)? มีอะไรเป็น เครื่องกำเนิด (ชาติก)? มีอะไรเป็นแดนเกิด (ปภว) หนอ? เพราะอะไรมี ชรามรณะจึงมี เพราะอะไรไม่มี ชรามรณะ จึงไม่มี ดังนี้.
ภิกษุนั้น พิจารณาอยู่ ย่อมรู้ประจักษ์อย่างนี้ว่า ทุกข์ มีอย่างมิใช่น้อยนานาประการ ย่อมเกิดขึ้นในโลก กล่าวคือ
ชรามรณะ ใดแล ทุกข์นี้ มีชาติเป็นเหตุให้เกิด มีชาติ เป็นเครื่องก่อให้เกิด มีชาติเป็นเครื่องกำเนิด มีชาติเป็นแดนเกิด เพราะชาติมี ชรามรณะจึงมี เพราะชาติไม่มี ชรามรณะจึงไม่มี ดังนี้.
ภิกษุนั้น ย่อมรู้ประจักษ์ ซึ่งชรามรณะ ด้วย ย่อมรู้ ประจักษ์ ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งชรา มรณะ ด้วย ย่อมรู้ ประจักษ์ ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ ด้วย ย่อมรู้ ประจักษ์ข้อ ปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงซึ่งธรรมอัน สมควร แก่ความดับ ไม่เหลือแห่งชรามรณะ (ชรามรณนิโรธสารุปฺปคามินี) ด้วย และ เป็นผู้ปฏิบัติแล้ว อย่างสมควรแก่ธรรม ด้วย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้ เราเรียกว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ โดยประการทั้งปวง. กล่าวคือ เพื่อความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเมื่อพิจารณา ย่อมพิจารณาว่าก็ ชาติ นี้ มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด? มีอะไรเป็น เครื่องก่อให้เกิด? มีอะไรเป็นเครื่องกำเนิด? มีอะไรเป็นแดนเกิด? เพราะอะไรมี ชาติจึงมี เพราะอะไร ไม่มี ชาติจึงไม่มี ดังนี้. ภิกษุนั้นพิจารณาอยู่ ย่อมรู้ประจักษ์อย่างนี้ว่า ชาติ มีภพเป็นเหตุให้เกิดมีภพเป็น เครื่องก่อให้เกิด มีภพเป็นเครื่อง กำเนิด มีภพเป็นแดนเกิด เพราะภพมี ชาติจึงมี เพราะภพไม่มี ชาติจึงไม่มี ดังนี้.
ภิกษุนั้น ย่อมรู้ประจักษ์ ซึ่งชาติด้วยย่อมรู้ประจักษ์ ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งชาติ ด้วย ย่อมรู้ประจักษ์ ซึ่งความดับ ไม่เหลือ แห่งชาติ ด้วย ย่อมรู้ประจักษ์ ซึ่งข้อปฏิบัติ เครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงซึ่งธรรม อันสมควรแก่ความดับ ไม่เหลือ แห่งชาติ (ชาตินิโรธ สารุปฺปคามินี) ด้วย และเป็นผู้ปฏิบัติแล้วอย่างสมควรแก่ธรรม ด้วย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้ เราเรียกว่า เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ โดยประการทั้งปวง กล่าวคือ เพื่อความดับไม่เหลือแห่งชาติ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเมื่อพิจารณา ย่อมพิจารณาว่า
ก็ ภพ นี้ มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด?...ฯลฯ...
ก็ อุปาทาน นี้ มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด?...ฯ ล ฯ ...
ก็ ตัณ ห า นี้ มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด ? ...ฯ ล ฯ ...
ก็ เวทนา นี้ มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด? ...ฯลฯ...
ก็ ผัสสะ นี้ มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด? ...ฯลฯ...
ก็ สฬายตนะ นี้ มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด? ...ฯลฯ...
ก็ นามรูป นี้ มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด? ...ฯลฯ...
ก็ วิญญาณ นี้ มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด? ...ฯลฯ...
---- ---- ---- ----
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุเมื่อพิจารณา ย่อมพิจารณาว่า ก็ สังขารทั้งหลาย เหล่านี้ มีอะไรเป็นเหตุ ให้เกิด? มีอะไรเป็นเครื่องก่อให้เกิด? มีอะไรเป็นเครื่องกำเนิด? มีอะไรเป็นแดน เกิด?เพราะอะไรมี สังขารทั้งหลายจึงมี เพราะอะไรไม่มี สังขารทั้งหลายจึงไม่มี ดังนี้.
ภิกษุนั้นพิจารณาอยู่ ย่อมรู้ประจักษ์อย่างนี้ว่า สังขารทั้งหลาย มีอวิชชาเป็นเหตุ ให้เกิด มีอวิชชาเป็นเครื่อง ก่อ ให้เกิดมีอวิชชาเป็นเครื่องกำเนิด มีอวิชชาเป็นแดนเกิด เพราะอวิชชามี สังขารทั้งหลายจึงมีเพราะอวิชชา ไม่มี สังขารทั้งหลายจึงไม่มี ดังนี้.
ภิกษุนั้นย่อมรู้ประจักษ์ ซึ่งสังขารทั้งหลายด้วย ย่อมรู้ประจักษ์ ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้น แห่งสังขาร ด้วย ย่อมรู้ประจักษ์ ซึ่งความดับ ไม่เหลือแห่งสังขารด้วย ย่อมรู้ประจักษ์ ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่อง ทำสัตว์ให้ลุถึงซึ่งธรรม อันสมควรแก่ ความดับ ไม่เหลือแห่งสังขาร ด้วย และเป็นผู้ปฏิบัติแล้ว อย่างสมควรแก่ธรรมด้วย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้ เราเรียกว่า เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ โดยประการทั้งปวง กล่าวคือ เพื่อความดับไม่เหลือแห่งสังขาร.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษบุคคลผู้ เข้าถึงแล้วซึ่งอวิชชา (อวิชฺชาคโต) ถ้าเขาปรุงแต่ง ซึ่งสังขาร อันเป็นบุญ วิญญาณ ก็เข้าถึงซึ่งวิบากอันเป็นบุญ ถ้าเขาปรุงแต่งซึ่งสังขาร อันมิใช่บุญ วิญญาณก็เข้าถึงซึ่งวิบาก อันมิใช่ บุญ ถ้าเขาปรุงแต่ง ซึ่งสังขารอันเป็น อเนญชา วิญญาณก็เข้าถึงซึ่งวิบากอันเป็นอเนญชา.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อวิชชาภิกษุละได้แล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว ในกาลใดในกาลนั้น ภิกษุนั้น เพราะความ สำรอก ออกโดยไม่เหลือแห่งอวิชชา เพราะการเกิดขึ้นแห่งวิชชา ย่อมไม่ปรุงแต่งซึ่งอภิสังขารอันเป็นบุญ ย่อมไม่ปรุงแต่ง ซึ่งอภิสังขารอันมิใช่บุญ ย่อมไม่ปรุงแต่งซึ่งอภิสังขารอันเป็นอเนญชา เมื่อไม่ปรุงแต่ง อยู่ เมื่อไม่ก่อพร้อม อย่าง ยิ่งอยู่ เธอย่อมไม่ถือมั่นสิ่งไร ๆ ในโลก เมื่อไม่ถือมั่นอยู่เธอย่อม ไม่สดุ้งหวาด เสียว เมื่อไม่สะดุ้งหวาดเสียวอยู่ เธอย่อม ปรินิพพานเฉพาะตน นั่นเทียว. เธอย่อมรู้ ประจักษ์ว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อันเราอยู่จบแล้วกิจที่ควรทำ ได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก ดังนี้.
ภิกษุนั้น ถ้าเสวยสุขเวทนา ก็รู้ประจักษ์ว่า เวทนานั้น ไม่เที่ยง อันเราไม่สยบมัวเมาแล้ว อันเราไม่เพลิดเพลิน เฉพาะแล้ว ดังนี้. ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็รู้ประจักษ์ว่า เวทนานั้น ไม่เที่ยง อันเราไม่สยบมัวเมาแล้ว อันเราไม่ เพลิดเพลินเฉพาะ แล้ว ดังนี้.
ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็รู้ประจักษ์ว่า “เวทนานั้น ไม่เที่ยง อันเเราไม่สยบมัวเมาแล้ว อัน
เราไม่เพลิดเพลิน เฉพาะแล้ว” ดังนี้.
ภิกษุนั้น ถ้าเสวยสุขเวทนา ก็เป็นผู้ปราศจากกิเลสเครื่องร้อยรัดแล้ว เสวยเวทนานั้น ถ้าเสวยทุกขเวทนา ก็เป็นผู้ปราศจาก กิเลสเครื่องร้อยรัดแล้ว เสวยเวทนานั้น ถ้าเสวย อทุกขมสุขเวทนา ก็เป็นผู้ปราศจากกิเลส เครื่องร้อยรัดแล้ว เสวยเวทนานั้น.
ภิกษุนั้น เมื่อเสวยเวทนาอันมีกายเป็นที่สุดรอบ ย่อมรู้ประจักษ์ว่า เราเสวยเวทนา อันมีกาย เป็นที่สุดรอบ ดังนี้. เมื่อเธอนั้น เสวยเวทนาอันมีชีวิตเป็นที่สุดรอบ ย่อมรู้ประจักษ์ว่า เราเสวยเวทนาอันมีชีวิตเป็นที่สุดรอบ ดังนี้.
ภิกษุนั้น ย่อมรู้ประจักษ์ว่า เวทนาทั้งหลายทั้งปวง อันเราไม่เพลิดเพลินเฉพาะแล้ว จักเป็นของเย็น ในอัตตภาพ นี้เอง สรีระทั้งหลายจักเหลืออยู่ จนกระทั่งถึงที่สุดรอบ แห่งชีวิต เพราะการแตกทำลาย แห่งกาย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษ ยกหม้อที่ยังร้อน ออกจากเตาเผาหม้อวางไว้ ที่พื้นดิน อันเรียบ ไออุ่น ที่หม้อนั้น พึงระงับหายไป ในที่นั้นเอง กระเบื้องทั้งหลาย ก็เหลืออยู่ นี้ฉันใด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในกรณีนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกันกล่าวคือ เมื่อเสวยเวทนา อันมีกาย เป็นที่สุด รอบ ย่อมรู้ ประจักษ์ว่า เราเสวยเวทนาอันมีกายเป็นที่สุดรอบ ดังนี้.
เมื่อเธอนั้น เสวยเวทนาอันมีชีวิตเป็นที่สุดรอบ ย่อมรู้ประจักษ์ ว่า เราเสวยเวทนาอัน มีชีวิต เป็นที่สุดรอบ ดังนี้. ภิกษุนั้น ย่อมรู้ประจักษ์ว่า เวทนาทั้งหลายทั้งปวง อันเรา ไม่เพลิด เพลิน เฉพาะแล้ว จักเป็นของเย็นใน อัตตภาพนี้เอง สรีระทั้งหลาย จักเหลือ อยู่ จนกระทั่งถึงที่สุดรองแห่งชีวิต เพราะการแตกทำลายแห่งกาย ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จะสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไร คือภิกษุผู้ ขีณาสพ พึงปรุงแต่ง ปุญญาภิสังขาร หรือว่า พึงปรุงแต่งอปุญญาภิสังขารหรือว่า ถึงปรุง แต่ง อเนญชาภิสังขาร บ้างหรือหนอ?
ไม่เป็นอย่างนั้นพระเจ้าข้า
เมื่อสังขารทั้งหลาย ไม่มี เพราะความดับแห่งสังขาร โดยประการทั้งปวงวิญญาณพึงปรากฏ บ้างหรือหนอ?
ไม่เป็นอย่างนั้นพระเจ้าข้า
เมื่อวิญญาณ ไม่มี เพราะความดับแห่งสังขาร โดยประการทั้งปวง นามรูปพึงปรากฏ บ้างหรือหนอ?
ไม่เป็นอย่างนั้นพระเจ้าข้า
เมื่อนามรูป ไม่มี เพราะความดับแห่งนามรูป โดยประการทั้งปวง สฬายตนะพึงปรากฏ บ้างหรือหนอ?
ไม่เป็นอย่างนั้นพระเจ้าข้า
เมื่อสฬายตนะ ไม่มี เพราะความดับแห่งสฬายตนะ โดยประการทั้งปวงผัสสะพึงปรากฏ บ้างหรือหนอ?
ไม่เป็นอย่างนั้นพระเจ้าข้า
เมื่อผัสสะ ไม่มี เพราะความดับแห่งผัสสะ โดยประการทั้งปวง เวทนาพึงปรากฏ บ้างหรือหนอ?
ไม่เป็นอย่างนั้นพระเจ้าข้า
เมื่อเวทนา ไม่มี เพราะความดับแห่งเวทนา โดยประการทั้งปวง ตัณหาพึงปรากฏ บ้างหรือหนอ?
ไม่เป็นอย่างนั้นพระเจ้าข้า
เมื่อตัณหา ไม่มี เพราะความดับแห่งตัณหา โดยประการทั้งปวง อุปาทานพึงปรากฏ บ้างหรือหนอ?
ไม่เป็นอย่างนั้นพระเจ้าข้า
เมื่ออุปาทาน ไม่มี เพราะความดับแห่งอุปาทาน โดยประการทั้งปวง ภพพึงปรากฏ บ้างหรือหนอ?
ไม่เป็นอย่างนั้นพระเจ้าข้า
เมื่อภพ ไม่มี เพราะความดับแห่งภพ โดยประการทั้งปวง ชาติพึงปรากฏบ้างหรือ หนอ?
ไม่เป็นอย่างนั้นพระเจ้าข้า
เมื่อชาติ ไม่มี เพราะความดับแห่งชาติ โดยประการทั้งปวง ชรามรณะพึงปรากฏ บ้างหรือ หนอ?
ไม่เป็นอย่างนั้นพระเจ้าข้า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถูกแล้ว ถูกแล้ว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงสำคัญ จงเชื่อซึ่งข้อนั้น ไว้อย่างนั้นเถิด. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงปลง ซึ่งความเชื่อ ในข้อนั้นอย่างนั้นเถิด จงเป็นผู้ หมดความเคลือบแคลงสงสัยในข้อนั้นเถิด นั่นแหละที่สุดแห่งทุกข์ละ ดังนี้ แล.
หน้า 451
อุปปริกขีในปฏิจจสมุปบาท เป็นอุดมบุรุษ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้พิจารณาใคร่ครวญธรรมโดยวิธี ๓ ประการ เป็นอย่างไรเล่า?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมพิจารณาใคร่ครวญธรรม โดยความเป็น ธาตุ ย่อมพิจารณา ใคร่ครวญธรรม โดยความเป็นอายตนะ ย่อมพิจารณาใคร่ครวญธรรม โดยความ เป็นปฏิจจสมุปบาท. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ พิจารณาใคร่ครวญ ธรรมโดยวิธี ๓ ประการ อย่างนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในฐานะ ๗ ประการ๒ (ของขันธ์ทั้งห้า) เป็นผู้ พิจารณาใคร่ครวญ ธรรม โดยวิธี ๓ ประการ เราเรียกว่าภิกษุผู้ เกพลีอยู่จบพรหมจรรย์ เป็นอุดมบุรุษ ในธรรมวินัยนี้.
๑ สูตรที่ ๕ อุปายวรรค ขนฺธ.สํ. ๑๗/๘๐/๑๒๔ ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่เชตวัน.๒ ฐานะ ๗ ประการ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ๑ สมุทัยแห่งรูปเป็นต้น ๑ นิโรธแห่งรูป เป็นต้น ๑ นิโรธคามินีปฏิปทา แห่งรูป เป็นต้น ๑ อัสสาทะ แห่งรูปเป็นต้น ๑ อาทีนวะแห่งรูปเป็นต้น ๑นิสสรณะแห่งรูปเป็นต้น ๑.
ส่วนรายละเอียดพึงตรวจดูในหัวข้อว่าการพิจารณาสภาวธรรม ตามวิธีปฏิจจสมุปบาท กระทั่งวาระ สุดท้าย ซึ่งอยู่ที่หน้า ๓๓๗ แห่งหนังสือเล่มนี้.
............................................................................................
หมายเหตุผู้รวบรวม ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า มีคำแปลกพิเศษอยู่คำหนึ่ง คือคำว่า เกพลี. คำนี้ถ้าเป็นใน ศาสนา อื่นบางศาสนา หมายถึงผู้บรรลุไกวัลย์หรือปรมาตมัน อันเป็นจุดหมาย ปลายทางของการประพฤติ พรหมจรรย์ แห่ง ศาสนา นั้น ๆ. ในที่นี้เข้าใจว่าเล็งถึงการบรรลุ นิพพาน อันเทียบกันได้กับไกรวัลย์หรือปรมาต มันนั่นเอง คงจะไม่ใช่เป็น เพียงคำ วิเสสนะ ที่เคยแปลกันว่า ทั้งสิ้น สิ้นเชิง ล้วน หรืออย่างเดียว ตาม แบบเรียนไวยากรณ์.
………………………………………………………………………………………………………………………………
หน้า 452
บัณฑิต คือผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัยทั้งหลาย ใด ๆ ก็ตาม ที่จะเกิดขึ้น ทั้งหมดนั้นย่อม เกิดขึ้นจาก คนพาล ย่อม ไม่เกิดขึ้นจาก บัณฑิต. อุปัททวะทั้งหลาย ใด ๆ ก็ตาม ที่จะเกิดขึ้น ทั้งหมดนั้น ย่อมเกิดขึ้นจากคนพาล ย่อม ไม่เกิดขึ้นจาก บัณฑิต. อุปสรรคทั้งหลาย ใด ๆ ก็ตาม ที่จะเกิดขึ้น ทั้งหมดนั้น ย่อมเกิดขึ้นจาก คนพาล ย่อม ไม่เกิดขึ้นจากบัณฑิต.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนไฟอันลุกโพลงขึ้นแล้ว จากเรือนอันทำด้วยไม้อ้อ หรือด้วย หญ้า ก็ตาม ย่อมจะไหม้ ได้แม้ กระทั่งเรือนยอดที่มีปูน อันฉาบแล้ว ทั้งขึ้นและลง มีเครื่องยึด ประตูอันแน่นหนา มีช่องประตู และหน้าต่างอันปิด สนิท ข้อนี้ ฉันใด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน คือ ภัยทั้งหลายใด ๆ ก็ตาม ที่จะเกิดขึ้น
ทั้งหมดนั้น ย่อมเกิดขึ้นจากคนพาล ย่อมไม่เกิดขึ้นจากบัณฑิต.
อุปัททวะ ทั้งหลายใด ๆก็ตาม ที่จะเกิดขึ้น ทั้งหมดนั้น ย่อมเกิดขึ้นจากคนพาล ย่อมไม่เกิดขึ้น จากบัณฑิต.
อุปสรรคทั้งหลายใด ๆ ก็ตาม ที่จะเกิดขึ้น ทั้งหมดนั้น ย่อมเกิดขึ้นจากคนพาล ย่อมไม่เกิด ขึ้น จากบัณฑิต.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนี้แหละ คนพาลจึงชื่อว่า ผู้มีภัยเฉพาะหน้าบัณฑิตจึงชื่อว่า ผู้ไม่มีภัย เฉพาะหน้า คนพาลจึงชื่อว่า ผู้มีอุปัททวะ บัณฑิตจึงชื่อว่าผู้ไม่มีอุปัททวะ คนพาลจึงชื่อว่า ผู้มีอุปสรรค บัณฑิตจึงชื่อว่า ผู้ไม่มีอุปสรรค.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัยย่อมไม่มีจากบัณฑิต อุปัททวะย่อมไม่มีจากบัณฑิตอุปสรรค ย่อมไม่มีจากบัณฑิต. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ พวกเธอทั้งหลาย พึงทำในใจว่า เราทั้งหลาย จักเป็นบัณฑิต ดังนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลายพวกเธอ ทั้งหลาย พึงสำเหนียกไว้อย่างนี้ แล.
ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสพระพุทธวจนะนี้จบลงแล้ว. พระอานนท์ ได้ทูลถามว่า คนจะเป็น วีมังสกบัณฑิต (บัณฑิตผู้ ประกอบไปด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา) ได้ด้วยเหตุเท่าไร? ได้ตรัสตอบว่าด้วยเหตุ ๔ ประการ คือเป็นผู้ฉลาด ในธาตุ ด้วย เป็นผู้ฉลาดในอายตนะด้วย ในปฏิจจสมุปบาทด้วยในฐานะและอฐานะด้วย. สำหรับความเป็นผู้ฉลาดใน ปฏิจจสมุปบาท นั้น พระอานนท์ได้ทูลถามสืบไปดังนี้ว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุควรจะได้นามว่าผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปบาทด้วยเหตุ เพียงเท่าไรพระเจ้าข้า?
ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมรู้อย่างนี้ว่า เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมีเพราะความเกิดขึ้น แห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เพราะสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับไป ข้อนี้ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ
เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย
เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะเทวะทุกขะโทมนัส อุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อม แห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการ อย่างนี้.
เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่ง อวิชชานั้นนั่นเทียว จึงมีความดับแห่งสังขาร
เพราะความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ
เพราะความดับแห่งวิญญาณ จึงมีความดับแห่งนามรูป
เพราะความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ
เพราะความดับแห่งสฬายตนะ จึงมีความดับแห่งผัสสะ
เพราะความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา
เพราะความดับแห่งเวทนา จึงมีความดับแห่งตัณหา
เพราะความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน
เพราะความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ
เพราะความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ
เพราะความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลง แห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้ดังนี้.
ดูก่อนอานนท์ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล ภิกษุควรจะได้นามว่า ผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท.
หมายเหตุผู้รวบรวม : ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า ความเป็นบัณฑิตนั้นเป็นได้ เพราะเหตุ อย่างใด อย่างหนึ่งใน ๔ อย่าง หมายความว่า ทั้ง ๔ อย่างนั้น แม้ต่างกัน แต่ละอย่างทางตัว หนังสือ แต่โดยเนื้อแท้แล้ว ยังแทนกันได้ เพราะ ฉลาดในธาตุ ก็คือรู้ธาตุทั้งหลายอันเป็น ที่ตั้ง แห่งปฏิจจสมุปบาท ทั้งฝ่ายสุมทยวาร และ นิโรธวาร (ดังที่ได้กล่าวไว้ ในหัวข้อที่ว่า แดนเกิด ดับแห่งทุกข์-โรค-ชรามรณะ แห่งหมวดที่ ๕ เป็นต้น) นั่นเอง การฉลาดในอายตนะ ก็คือฉลาด ในการระวังไม่ให้เกิด อวิชชาสัมผัส เพราะการกระทบทางอายตนะ (ดังที่กล่าวไว้ ในหัวข้อที่ว่า ปัญจุปาทานขันธ์ ไม่อาจจะ เกิดเมื่อรู้เท่าทัน เวทนาในปฏิจจสมุปบาท แห่งหมวดที่ ๖ เป็นต้น) ยิ่งการฉลาดในฐานะ และอฐานะด้วยแล้ว ยิ่งหมายถึงฉลาดในปฏิจจ -สมุปบาท ในฐานะที่เป็นทางเกิดทุกข์ และทางดับทุกข์ โดยตรง.
(ดังที่กล่าวไว้ในหัวข้อที่ว่า การพิจารณาปัจจัยใน ภายใน คือการพิจารณา ปฏิจจสมุปบาท แห่งหมวดที่ ๖ เป็นต้น) อีกนั่นเอง ดังนั้นแม้พระองค์จะทรงใช้คำ ปริกัปป์ว่า ด้วย แทนที่จะ ใช้คำว่า หรือ ในเมื่อตรัสถึ งคุณธรรม๔ ประการ ที่ทำความ เป็นวีมังสกบัณฑิต ในตอนต้น ของ เรื่องนี้ ก็ย่อมหมายความว่ารู้อย่างเดียว ย่อมรู้ทั้ง ๔ อย่าง.
สำหรับ ความเป็นผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท เท่าที่ตรัสไว้ในที่นี้ เรียกได้ว่าตรัสไว้ แต่หัวข้อ. ในความพิสดาร ย่อมมีโดย นัยต่าง ๆ ดังที่ได้รวบรวมมาไว้ทั้งหมดแล้ว ในหนังสือเล่มนี้. ยิ่งในอภิธัมมปฏก (ธัมมสังคณี ๓๔/๓๓_/๘๕๗) ด้วยแล้ว อธิบายคำว่า ปฏิจฺจสมุปฺปาทกุสลตา ไว้สั้นนิดเดียว คือไม่มีกล่าวถึงนิโรธวาร และไม่มีคำนำซึ่งเป็นหัวใจ ของปฏิจจ- สมุปบาท ที่เรียกว่ากฏอิทัปปัจจยตา ว่า อิติ อิมสฺมึ สติ อิทํ โหติ...ฯลฯ... อิมสฺส นิโรธา อิทฺ นิรุชฺฌติ เลย.
หมวดที่เจ็ด จบ |