หมวด 10 (ต่อ)
หน้า 622
ปฏิจจสมุปบาท แห่ง อาหารของอวิชชา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ที่สุดในเบื้องต้นของอวิชชา ย่อมไม่ปรากฏ ก่อนแต่นี้ อวิชชามิได้มี แต่ว่า อวิชชาเพิ่งมีต่อภายหลัง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายคำกล่าวอย่างนี้แหละ เป็นคำที่ใครๆ๑ ควรกล่าว และควรกล่าวด้วยว่า อวิชชาย่อม ปรากฏเพราะมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า ถึงแม้อวิชชานั้น ก็เป็นธรรมชาติมีอาหารหาใช่เป็นธรรมชาติที่ไม่มีอาหารไม่. ก็อะไรเล่า เป็นอาหารของอวิชชา? คำตอบพึงมีว่า นิวรณ์ทั้งหลาย ๕ ประการเป็นอาหารของอวิชชา ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า ถึงแม้นิวรณ์ทั้งหลาย ๕ ประการ ก็เป็นธรรมชาติมีอาหารหาใช่เป็น ธรรมชาติที่ไม่มีอาหารไม่. ก็อะไรเล่า เป็นอาหารของนิวรณ์ทั้งหลาย ๕ ประการ? คำตอบพึงมีว่า ทุจริตทั้งหลาย ๓ ประการ ดังนี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า ถึงแม้ทุจริตทั้งหลาย ๓ ประการ ก็เป็นธรรมชาติมีอาหาร หาใช่เป็น ธรรมชาติ ที่ไม่มีอาหารไม่. ก็อะไรเล่า เป็นอาหารของทุจริตทั้งหลาย ๓ ประการ? คำตอบพึงมีว่า การไม่สำรวมอินทรีย์ ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า ถึงแม้การไม่สำรวมอินทรีย์ ก็เป็นธรรมชาติอาหาร หาใช่เป็นธรรมชาติ ที่ไม่มีอาหาไม่. ก็อะไรเล่า เป็นอาหารของการไม่สำรวมอินทรีย์? คำตอบพึงมีว่า ความเป็นผู้ไม่มีสติ สัมปชัญญะ ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า ถึงแม้ความเป็นผู้ไม่มีสติสัมปชัญญะ ก็เป็นธรรมชาติมีอาหาร หาใช่เป็น ธรรมชาติ ที่ไม่มีอาหารไม่. ก็อะไรเล่า เป็นอาหารของความเป็นผู้ไม่มีสติสัมปชัญญะ? คำตอบพึงมีว่า อโยนิโสมนสิการ ดังนี้.
...........................................................................................................................................
๑ คำว่า วุจฺจติ คำนี้ เคยแปลกันแต่ว่า อันตถาคตย่อมกล่าว กันจนเป็นธรรมเนียมไปเสีย ในที่นี้ พิจารณาดูแล้ว เห็นได้ว่าควรจะแปลว่าใคร ๆ ทุกคนที่เป็นผู้รู้ รวมทั้งพระองค์เองด้วยควรจะกล่าว หาใช่เป็นการผูกขาด เฉพาะไว้แต่พระองค์ผู้เดียวไม่.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า ถึงแม้อโยนิโสมนสิการ ก็เป็นธรรมชาติมีอาหาร หาใช่เป็นธรรมชาติ ที่ไม่มีอาหารไม่. ก็อะไรเล่า เป็นอาหารของอโยนิโสมนสิการ? คำตอบพึงมีว่า ความไม่มีสัทธา ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า ถึงแม้ความไม่มีสัทธา ก็เป็นธรรมชาติมีอาหาร หาใช่เป็นธรรมชาติ ที่ไม่มี อาหารไม่. ก็อะไรเล่า เป็นอาหารของความไม่มีสัทธา? คำตอบพึงมีว่า การไม่ได้ฟังพระสัทธรรม ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าว่า ถึงแม้การไม่ได้ฟังพระสัทธรรม ก็เป็นธรรมชาติมีอาหาร หาใช่เป็นธรรมชาติ ที่ไม่มีอาหารไม่. ก็อะไรเล่า เป็นอาหารของการไม่ได้ฟังพระสัทธรรม? คำตอบพึงมีว่า การไม่คบสัตบุรุษ ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยอาการอย่างนี้แล ที่เมื่อการไม่คบสัตบุรุษเป็นไปบริบูรณ์แล้ว ย่อมทำการไม่ได้ ฟังพระสัทธรรมให้บริบูรณ์
- การไม่ได้ฟังพระสัทธรรมบริบูรณ์แล้ว ย่อมทำความไม่มีสัทธาให้บริบูรณ์
- ความไม่มีสัทธาบริบูรณ์แล้ว ย่อมทำอโยนิโสมนสิการให้บริบูรณ์
- อโยนิโสมนสิการบริบูรณ์แล้ว ย่อมทำความเป็นผู้ไม่มีสติสัมปชัญญะให้บริบูรณ์
- ความเป็นผู้ไม่มีสติสัมปชัญญะบริบูรณ์แล้ว ย่อมทำการไม่สำรวมอินทรีย์ให้บริบูรณ์
- การไม่สำรวมอินทรีย์บริบูรณ์แล้ว ย่อมทำทุจริตทั้งหลาย ๓ ประการให้บริบูรณ์
- ทุจริตทั้งหลาย ๓ ประการบริบูรณ์แล้ว ย่อมทำนิวรณ์ทั้งหลาย ๕ประการให้บริบูรณ์
- นิวรณ์ทั้งหลาย ๕ ประการบริบูรณ์แล้ว ย่อมทำอวิชชาให้บริบูรณ์.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาหารแห่งอวิชชานี้ ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้ และบริบูรณ์แล้วด้วยอาการอย่างนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเมื่อฝนหนัก ๆ ตกลงบนภูเขา น้ำฝนนั้นไหลไปตามที่ลุ่ม ย่อมทำซอกเขา ซอกผา และลำห้วยทั้งหลายให้เต็ม ครั้นซอกเขา ซอกผา และลำห้วยทั้งหลาย เต็มแล้ว ย่อมทำบึงน้อย ทั้งหลาย ให้เต็ม บึงน้อยทั้งหลายเต็มแล้ว ย่อมทำบึงใหญ่ทั้งหลายให้เต็ม บึงใหญ่ทั้งหลายเต็มแล้ว ย่อม ทำแม่น้ำน้อยทั้งหลายให้เต็ม แม่น้ำน้อยทั้งหลายเต็มแล้ว ย่อมทำแม่น้ำใหญ่ทั้งหลายให้เต็ม แม่น้ำ ใหญ ทั้งหลายเต็มแล้ว ย่อมทำมหาสมุทรสาครให้เต็ม. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาหารแห่งมหาสมุทรสาครนั้น ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้ และเต็มแล้วด้วยอาการอย่างนี้ นี้ฉันใด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้น กล่าวคือ การไม่คบสัตบุรุษเป็นไปบริบูรณ์แล้ว ย่อมทำการไม่ได้ฟังพระ สัทธรรมให้บริบูรณ์ การไม่ได้ฟังพระสัทธรรมบริบูรณ์แล้ว ย่อมทำความไม่มีสัทธาให้บริบูรณ์ ความไม่มีสัทธา บริบูรณ์แล้ว ย่อมทำ
อโยนิโสมนสิการให้บริบูรณ์ อโยนิโสมนสิการบริบูรณ์แล้ว ย่อมทำความเป็นผู้ไม่มีสติสัมปชัญญะให้บริบูรณ์ ความเป็นผู้ไม่มีสติสัมปชัญญะบริบูรณ์แล้ว ย่อมทำการไม่สำรวมอินทรีย์ให้บริบูรณ์ การไม่สำรวมอินทรีย์ บริบูรณ์แล้ว ย่อมทำทุจริตทั้งหลาย๓ ประการให้บริบูรณ์
ทุจริตทั้งหลาย ๓ ประการบริบูรณ์แล้ว ย่อมทำนิวรณ์ทั้งหลาย๕ ประการให้บริบูรณ์ นิวรณ์ทั้งหลาย ๕ ประการบริบูรณ์แล้ว ย่อมทำอวิชชาให้บริบูรณ์.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาหารแห่งอวิชชานี้ ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้ และบริบูรณ์ด้วยอาการอย่างนี้.
.................................................................................
หมายเหตุผู้รวบรวม ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า ข้อความทั้งหมดนี้
ก็มีลักษณะแห่ง อิทัปปัจจยตา คือเป็นอาการแห่งกระแสปฏิจจสมุปบาทของอวิชชาโดยตรงเกิดแก่อวิชชา ก่อนหน้าแต่อวิชชาจะทำหน้าที่ ปรุงแต่งปฏิจจสมุปบาทสายที่เป็นใหญ่ เป็นประธาน ของการเกิดแก่งกองทุกข์.
หน้า 626
ปฏิจจสมุปบาท แห่งอาหารของภวตัณหา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ที่สุดในเบื้องต้นของภวตัณหา ย่อมไม่ปรากฏ ก่อนแต่นี้ ภวตัณหามิได้มี แต่ว่า ภวตัณหาเพิ่มมีต่อภายหลัง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลายคำกล่าวอย่างนี้แหละเป็นคำที่ใครๆ ควรกล่าวและ ควรกล่าวด้วยว่า ภวตัณหาย่อมปรากฏ เพราะมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า ถึงแม้ภวตัณหานั้น ก็เป็นธรรมชาติมีอาหาร หาใช่เป็นธรรมชาติที่ไม่มี อาหารไม่. ก็อะไรเล่า เป็นอาหารของภวตัณหา?คำตอบพึงมีว่า อวิชชา เป็นอาหารของภวตัณหา ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า ถึงแม้อวิชชา ก็เป็นธรรมชาติมีอาหารหาใช่เป็นธรรมชาติที่ไม่มีอาหารไม่. ก็อะไรเล่า เป็นอาหารของอวิชชา? คำตอบพึงมีว่า นิวรณ์ทั้งหลาย ๕ ประการ เป็นอาหารของอวิชชา ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า ถึงแม้นิวรณ์ทั้งหลาย ๕ ประการ ก็เป็นธรรมชาติมีอาหาร หาใช่เป็น ธรรมชาติ ที่ไม่มีอาหารไม่. ก็อะไรเล่า เป็นอาหารของนิวรณ์ทั้งหลาย ๕ ประการ? คำตอบพึงมีว่า ทุจริตทั้งหลาย ๓ ประการ ดังนี้.
(คำต่อไปนี้เหมือนกับข้อความในหัวข้อว่า ปฏิจจสมุปบาทแห่งอาหารของอวิชชาคือหัวข้อที่แล้วมาตั้งแต่ คำว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า ถึงแม้ทุจริตทั้งหลาย ๓ ประการ ก็เป็นธรรมชาติ มีอาหาร ...ไปจน กระทั่งถึงคำว่า...การไม่สำรวมอินทรีย์บริบูรณ์แล้ว ย่อมทำทุจริตทั้งหลาย ๓ ประการให้บริบูรณ์ เป็นข้อ ความ ๒๙ บรรทัด ผู้ศึกษาพึงเติมเอาเองให้เต็ม)
(ภวตัณหา คือ ความอยากในภพ อยากมี อยากเป็น)
หน้า 627
ทุจริตทั้งหลาย ๓ ประการบริบูรณ์แล้ว
ย่อมทำนิวรณ์ทั้งหลาย ๕ ประการให้บริบูรณ์
...นิวรณ์ทั้งหลาย ๕ ประการบริบูรณ์แล้ว ย่อมทำอวิชชาให้บริบูรณ์
...อวิชชาบริบูรณ์แล้ว ย่อมทำภวตัณหาให้บริบูรณ์.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาหารแห่งภวตัณหานี้ ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้และบริบูรณ์แล้วด้วยอาการอย่างนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเมื่อฝนหนัก ๆ ตกลงบนภูเขา น้ำฝนนั้นไหลไปตามที่ลุ่ม ย่อมทำซอกเขา ซอกผา และลำห้วย ทั้งหลาย ให้เต็ม
ครั้นซอกเขา ซอกผา และลำห้วย ทั้งหลาย เต็มแล้ว (ข้อความต่อไปนี้เหมือนกับข้อความที่เป็นอุปมาในหัว ข้อว่า ปฏิจจฯ แห่งอาหารของอวิชชา จนกระทั่งถึง คำว่า ....ทุจริตทั้งหลาย ๓ ประการบริบูรณ์แล้ว ย่อม ทำนิวรณ์ทั้งหลาย ๕ ประการให้บริบูรณ์) นิวรณ์ ทั้งหลาย ๕ ประการบริบูรณ์แล้ว ย่อมทำอวิชชาให้บริบูรณ์ อวิชชาบริบูรณ์แล้ว ย่อมทำภวตัณหาให้บริบูรณ์.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาหารแห่งภวตัณหานี้ ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้ และบริบูรณ์แล้วด้วยอาการอย่างนี้.
หน้า 628
ปฏิจจสมุปบาท แห่ง อาหารของวิชชาและวิมุตติ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า แม้วิชชาและวิมุตติ ก็เป็นธรรมชาติมีอาหาร หาใช่เป็นธรรมชาติ ที่ไม่มีอาหารไม่. ก็อะไรเล่า เป็นอาหารของวิชชาและวิมุตติ? คำตอบพึงมีว่า โพชฌงค์ทั้งหลาย ๗ ประการ ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า ถึงแม้โพชฌงค์ทั้งหลาย ๗ ประการก็เป็นธรรมชาติมีอาหาร หาใช่เป็น ธรรมชาติที่ไม่มีอาหารไม่. ก็อะไรเล่า เป็นอาหารของโพชฌงค์ทั้ง ๗ ประการ? คำตอบพึงมีว่า สติปัฏฐานทั้งหลาย ๔ ประการดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า ถึงแม้สติปัฏฐานทั้งหลาย ๔ ประการ ก็เป็นธรรมชาติมีอาหาร หาใช่เป็น ธรรมชาติที่ไม่มีอาหารไม่. ก็อะไรเล่า เป็นอาหารของสติปัฏฐานทั้งหลาย ๔ ประการ? คำตอบพึงมีว่า สุจริตทั้งหลาย ๓ ประการ ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า ถึงแม้สุจริตทั้งหลาย ๓ ประการ ก็เป็นธรรมชาติมีอาหารหาใช่เป็น ธรรมชาติที่ไม่มีอาหารไม่. ก็อะไรเล่า เป็นอาหารของสุจริตทั้งหลาย ๓ ประการ? คำตอบพึงมีว่า การสำรวมอินทรีย์ ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า ถึงแม้การสำรวมอินทรีย์ ก็เป็นธรรมชาติมีอาหาร หาใช่เป็นธรรมชาติที่ไม่มี อาหารไม่. ก็อะไรเล่า เป็นอาหารของการสำรวมอินทรีย์? คำตอบพึงมีว่า ความเป็นผู้สีสติสัมปชัญญะ ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า ถึงแม้ความเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ ก็เป็นธรรมชาติมีอาหาร หาใช่เป็น ธรรมชาติ ที่ไม่มี อาหาไม่. ก็อะไรเล่า เป็นอาหารของความเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ? คำตอบพึงมีว่า โยนิโสมนสิการ ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า ถึงแม้โยนิโสมนสิการ ก็เป็นธรรมชาติมีอาหาร หาใช่เป็น ธรรมชาติ ที่ไม่มี อาหารไม่. ก็อะไรเล่า เป็นอาหารของโยนิโสมนสิการ?คำตอบพึงมีว่า สัทธา ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า ถึงแม้สัทธา ก็เป็นธรรมชาติมีอาหารหาใช่เป็นธรรมชาติที่ไม่มี อาหารไม่. ก็อะไรเล่า เป็นอาหารของสัทธา? คำตอบพึงมีว่าการได้ฟังพระสัทธรรม ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถึงแม้การได้ฟังพระสัทธรรม ก็เป็นธรรมชาติมีอาหารหาใช่เป็นธรรมชาติที่ไม่มีอาหารไม่. ก็อะไรเล่า เป็นอาหารของการได้ฟังพระสัทธรรม?คำตอบพึงมีว่า การคบสัปบุรุษ ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยอาการอย่างนี้แล
- ที่เมื่อการคบสัปบุรุษเป็นไปบริบูรณ์แล้ว ย่อมทำการได้ฟังพระสัทธรรมให้บริบูรณ์
- การได้ฟังพระสัทธรรมบริบูรณ์แล้ว ย่อมทำสัทธาให้บริบูรณ์
- สัทธาบริบูรณ์แล้ว ย่อมทำโยนิโสมนสิการให้บริบูรณ์
- โยนิโสมนสิการบริบูรณ์แล้ว ย่อมทำความเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะให้บริบูรณ์
- ความเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะบริบูรณ์แล้ว ย่อมทำการสำรวมอินทรีย์ให้บริบูรณ์ -
- การสำรวมอินทรีย์บริบูรณ์แล้ว ย่อมทำสุจริตทั้งหลาย ๓ ประการให้บริบูรณ์
- สุจริตทั้งหลาย๓ ประการบริบูรณ์แล้ว ย่อมทำสติปัฏฐานทั้งหลาย ๔ ประการให้บริบูรณ์
- สติปัฏฐานทั้งหลาย ๔ ประการบริบูรณ์แล้ว ย่อมทำโพชฌงค์ทั้งหลาย ๗ ประการให้บริบูรณ์
- โพชฌงค์ทั้งหลาย ๗ ประการบริบูรณ์แล้ว ย่อมทำวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาหารแห่งวิชชาและวิมุตตินี้ ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้ และบริบูรณ์แล้วด้วย อาการอย่างนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเมื่อฝนหนัก ๆ ตกลงบนภูเขา น้ำฝนนั้นไหลไปตามที่ลุ่ม ย่อมทำซอกเขา ซอกผา และลำห้วยทั้งหลายให้เต็ม ครั้นซอกเขาซอกผา และลำห้วยทั้งหลาย เต็มแล้ว ย่อมทำบึงน้อย ทั้งหลายให้เต็ม บึงน้อยทั้งหลายเต็มแล้ว ย่อมทำบึงใหญ่ทั้งหลายให้เต็ม บึงใหญ่ทั้งหลายเต็มแล้วย่อมทำ แม่น้ำน้อยทั้งหลายให้เต็ม แม่น้ำน้อยทั้งหลายเต็มแล้ว ย่อมทำแม่น้ำใหญ่ทั้งหลายให้เต็ม แม่น้ำใหญ่ ทั้งหลาย เต็มแล้ว ย่อมทำมหาสมุทรสาครให้เต็ม. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาหารแห่งมหาสมุทรสาครนั้น ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้ และเต็มแล้วด้วยอาการอย่างนี้นี้ฉันใด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้น กล่าวคือ
- การคบ สัปบุรุษ บริบูรณ์แล้วย่อมทำการได้ฟังพระสัทธรรมให้บริบูรณ์
- การได้ฟังพระสัทธรรมบริบูรณ์แล้ว ย่อมทำ สัทธาให้บริบูรณ์
- สัทธาบริบูรณ์แล้ว ย่อมทำโยนิโสมนสิการให้บริบูรณ์
- โยนิโสมนสิการบริบูรณ์แล้ว ย่อมทำความเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะให้บริบูรณ์
- ความเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะบริบูรณ์แล้ว ย่อมทำการสำรวมอินทรีย์ให้บริบูรณ์
- การสำรวมอินทรีย์บริบูรณ์แล้วย่อมทำสุจริตทั้งหลาย ๓ ประการให้บริบูรณ์
- สุจริตทั้งหลาย ๓ ประการบริบูรณ์แล้วย่อมทำสติปัฏฐานทั้งหลาย ๔ ประการให้บริบูรณ์
- สติปัฏฐานทั้งหลาย ๔ ประการบริบูรณ์แล้ว ย่อมทำโพชฌงค์ทั้งหลาย ๗ ประการให้บริบูรณ์
- โพชฌงค์ทั้งหลาย๗ ประการบริบูรณ์แล้ว ย่อมทำวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอาหารแห่ง วิชชา และ วิมุตต นี้ ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้ และบริบูรณ์แล้วด้วย อาการอย่างนี้ ดังนี้ แล.
หน้า 631
ปฏิจจสมุปบาทแห่งวิชชาและวิมุตติ(โดยสังเขป)
กุณฑลิยปริพพาชก ได้ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพเจ้าเป็นผู้ชอบ เที่ยว ไปตาม หมู่บริษัทในอารามต่างๆ. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ เมื่อข้าพเจ้าเสร็จภัตตกิจในเวลาเช้าแล้ว หลังจากเวลาแห่งภัตแล้ว กิจเป็นประจำวันของข้าพเจ้า คือ เที่ยวไปจากอารามนั้นสู่อารามนี้จาก อุทยานนั้นสู่อุทยานนี้. ในที่นั้น ข้าพเจ้าได้เห็นสมณพราหมณ์พวกหนึ่งๆ เป็นผู้มีการเปลื้องวาทะ แก่กันและกันว่าอย่างนี้ ๆ เป็นเครื่องสนุกสนานชอบใจ (อานิสงส์) ก็มี มีการติเตียนกันเมื่อกล่าวกถา นั้น ๆ อยู่ เป็นเครื่องสนุกสนานชอบใจก็มี ก็พระสมณะโคดมเล่าเป็นผู้อยู่ด้วยการมีอะไรเป็นเครื่อง สนุกสนาน ชอบใจ?
ดูก่อนกุณฑลิยะ ตถาคตอยู่ด้วยการมีผลแห่งวิชชาและวิมุตติ เป็นเครื่องสนุกสนานชอบใจ
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็ธรรมเหล่าไหนเล่าที่บุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้วย่อมทำวิชชา และ วิมุตติให้บริบูรณ์?
ดูก่อนกุณฑลิยะ โพชฌงค์ ๗ ประการ แล....
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็ธรรมเหล่าไหนเล่าที่บุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้วย่อมทำโพชฌงค์๗ประการให้บริบูรณ์?
ดูก่อนกุณฑลิยะ สติปัฏฐาน ๔ ประการ แล....
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็ธรรมเหล่าไหนเล่า ที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมทำสติปัฏฐาน๔ประการให้บริบูรณ์?
ดูก่อนกุณฑลิยะ สุจริต ๓ ประการ แล....
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็ธรรมเหล่าไหนเล่าที่บุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้วย่อมทำสุจริต๓ประการให้บริบูรณ์?
ดูก่อนกุณฑลิยะ อินทรีย์สังวรแล ที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วย่อมทำสุจริต ๓ ประการให้ บริบูรณ์.
ดูก่อนกุณฑลิยะ อินทรีย์สังวร ที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างไรเล่าจึงจะทำสุจริต ๓ ประการให้บริบูรณ์?
ดูก่อนกุณฑลยะ ภิกษุในกรณีนี้เห็นรูปที่น่าพอใจด้วยจักษุแล้ว ย่อมไม่เพ่งเล็ง ด้วยความโลภ ไม่หวังจะเอามาทะนุถนอม
ไม่ทำราคะให้เกิดขึ้น กายของเธอก็คงที่ จิตก็คงที่ตั้งมั่นดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้วในภายใน. อนึ่งเธอ เห็นรูปที่ไม่น่าพอใจด้วยจักษุแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่เงอะงะ ไม่มีจิตตั้งอยู่ด้วยโทสะ มีใจอันความ โกรธไม่ครอบงำแล้ว มีจิตไม่มาดร้ายแล้ว กายของเธอก็คงที่จิตก็คงที่ ตั้งมั่นดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว ในภายใน. (ในกรณีแห่งเสียง กลิ่น รสโผฏฐัพพะ ธัมมารมณ์ ก็ตรัสไว้มีนัยเดียวกัน).
ดูก่อนกุณฑลิยะ เพราะเหตุที่ภิกษุเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว เป็นผู้คงที่ มีจิตอันกิเลสไม่ครอบงำแล้วไม่มี จิตถึงความผิดปรกติแล้ว ในรูปทั้งหลายทั้งที่น่าพอใจและไม่น่าพอใจ กายของเธอจึงคงที่ จิตของ เธอจึงคงที่ เป็นจิตตั้งมั่นดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้วในภายใน. (ในกรณีแห่งเสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธัมมารมณ์ ก็ตรัสไว้มีนัยเดียวกัน).
ดูก่อนกุณฑลิยะ อินทรียสังวร อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล จึงจะทำสุจริต ๓ ประการให้บริบูรณ์.
ดูก่อนกุณฑลิยะ สุจริต ๓ ประการ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างไรเล่า จึงจะทำสติ ปัฏฐาน ๔ ประการให้บริบูรณ์?
ดูก่อนกุณฑลิยะ ภิกษุในกรณีนี้
(๑) ย่อมเจริญกายสุจริตเพื่อละกายทุจริต
(๒) ย่อมเจริญวจีสุจริตเพื่อละวจีทุจริต
(๓) ย่อมเจริญมโนสุจริตเพื่อละมโนทุจริต. ดูก่อนกุณฑลิยะ สุจริต๓ ประการ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล จึงจะทำสติปัฏฐาน๔ ประการให้บริบูรณ์
ดูก่อนกุณฑลิยะ สติปัฏฐาน ๔ ประการ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างไรเล่าจึงจะทำ โพชฌงค์ ๗ ประการให้บริบูรณ์?
ดูก่อนกุณฑลิยะ ภิกษุในกรณีนี้
(๑) ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้
(๒) ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ ...ฯลฯ...
(๓)ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ ...ฯลฯ...
(๔) ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมป ชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.
ดูก่อนกุณฑลิยะ สติปัฏฐาน ๔ ประการอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล จึงจะทำโพชฌงค์ ๗ ประการให้บริบูรณ์
ดูก่อนกุณฑลิยะ โพชฌงค์ ๗ ประการ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างไรเล่า จึงจะทำ วิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์?
ดูก่อนกุณทลิยะ ภิกษุในกรณีนี้
(๑) ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธะน้อมไปเพื่อความปล่อยวาง
(๒) ย่อมเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์...ฯลฯ...
(๓)ย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ ...ฯลฯ...
(๔) ย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ...ฯลฯ...
(๕) ย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ...ฯลฯ...
(๖) ย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์...ฯลฯ...
(๗) ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธะ น้อมไปเพื่อความปล่อยวาง.
ดูก่อนกุณฑลิยะ โพชฌงค์ ๗ ประการ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำไปมากแล้ว อย่างนี้แล จึงจะทำ วิชชา และ วิมุตติให้บริบูรณ์.
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดังนี้แล้ว กุณฑลิยปริพพาชก ยกย่องชมเชยในพระธรรมเทศนาแล้ว แสดง ตนเป็นอุบาสก รับนับถือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ จนตลอดชีวิต.
…………………………………………………………………...................................…………………………..
หมายเหตุผู้รวบรวม ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า ปฏิจจสมุปบาทสายนี้ เป็นการแสดงโดยสังเขป เพียงไม่กี่อาการ มีลำดับคืออินทรีย์สังวร สุจริต ๓ สติปัฏฐาน ๔โพชฌงค์ ๗ และวิชชาวิมุตติ ถึง กระนั้นก็พึงทราบว่า อาจจะขยายออกให้มีมากครบทุกประการ ดังที่ได้แสดงไว้แล้วในหัวข้อเรื่องที่ แล้วมา.
หน้า 635
ปฏิจจสมุปบาท แห่ง ปฏิสรณาการ
อุณณาภพราหมณ์ ทูลถามว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อินทรีย์ ๕ อย่างเหล่านี้ มีวิสัยต่างกันมีโคจร ต่างกัน ไม่เสวยโคจรและวิสัยของกันและกัน. ห้าอย่างคือจักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรเป็นปฏิสรณะ(ที่แล่นไปสู่) ของอินทรีย์เหล่านั้น? อะไรย่อมเสวยซึ่งโคจร และ วิสัย ของอินทรีย์เหล่านั้น?
ดูก่อนพราหมณ์ ...ใจ เป็นปฏิสรณะของอินทรีย์เหล่านั้น ใจ ย่อมเสวยซึ่งโคจรและวิสัยของอินทรีย์เหล่านั้น.
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรเป็นปฏิสรณะของใจ?
ดูก่อนพราหมณ์ สติแล เป็นปฏิสรณะของใจ.
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรเป็นปฏิสรณะของสติ?
ดูก่อนพราหมณ์ วิมุตติแล เป็นปฏิสรณะของสติ.
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรเป็นปฏิสรณะของวิมุตติ?
ดูก่อนพราหมณ์ นิพพานแล เป็นปฏิสรณะของวิมุตติ.
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรเป็นปฏิสรณะของนิพพาน?
ดูก่อนพราหมณ์ แล่นเตลิดเลยไปเสียแล้ว ไม่อาจถือเอาที่สุดแห่งปัญหาเสียแล้ว เพราะว่า พรหม จรรย์ นั้น เขาอยู่ประพฤติกัน มีนิพพานเป็นที่หยั่งลงมีนิพพานเป็นเบื้องหน้า มีนิพพานเป็นที่สุด..
ห มายเห ตุผู้รวบ รวม ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า สิ่งที่ควรสังเกตในสูตรนี้ คือคำว่าปฏิสรณะ ซึ่งตามธรรมดาเราแปลกันว่า ที่พึ่งอาศัย เช่นคำว่า กมฺมปฏิสรโณซึ่งแปลว่า มีกรรมเป็นที่พึงอาศัย ส่วนในกรณีนี้ หมายถึงที่เป็นที่แล่นไปสู่ ของมโนเป็นต้นขอให้ถือเอาความตามที่มีอยู่ในวงเล็บนั้น.
อีกอย่างหนึ่ง ข้อความในสูตรนี้ กล่าวได้ว่าได้เป็นที่แสดงให้เห็นหลักธรรมที่แปลกเป็นพิเศษ อีกแนว หนึ่ง ซึ่งไม่ค่อยจะได้ผ่านการได้ยินได้ฟังกันนัก กล่าวคือ อินทรีย์แล่นไปสู่ใจ ใจแล่นไปสู่สติ สติ แล่นไปสู่วิมุตติวิมุตติแล่นไปสู่นิพพาน ซึ่งถ้าเข้าใจกันดีแล้ว จะมีประโยชน์เป็นอันมาก.
หน้า 636
ปฏิจจสมุปบาท แห่ง สัจจานุโพธ และผลถัดไป
กาปทิกมาณพผู้ภารทวาชโคตร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า..พระโคดมผู้เจริญ สัจจานุโพธ* (การรู้ตามซึ่งสัจจธรรม) ย่อมมีได้ด้วยเหตุเพียงเท่าไร? บุคคลย่อมรู้ตาม ซึ่งสัจจธรรม ได้ด้วยเหตุ เพียงเท่าไร? พวกเราถามซึ่งการรู้ตาม ซึ่งสัจจธรรมกะพระ โคดมผู้เจริญแล้วละ ดังนี้
*(สจฺจานุโพโธ)
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสตอบแก่มาณพนั้นด้วยข้อความ ต่อไปข้างล่างนี้ว่า
ดูก่อนภารทวาชะ ได้ยินว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ได้เข้าไปอาศัยอยู่ในบ้าน หรือในนิคม แห่งใด แห่งหนึ่ง. คหบดีหรือคหบดีบุตร ได้เข้าไปใกล้ภิกษุนั้นแล้วใคร่ครวญ ดูอยู่ในใจ เกี่ยวกับธรรม ๓ ประการ คือ ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโลภะ ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโมหะ ทั้งหลาย (โดยนัยเป็นต้นว่า) ท่านผู้มีอายุผู้นี้จะมีธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโลภะ หรือไม่หนอ อันเป็นธรรม ที่เมื่อครอบงำจิต ของท่านแล้วจะทำให้ท่าน เป็นบุคคลที่เมื่อไม่รู้ก็กล่าวว่ารู้ เมื่อไม่เห็น ก็กล่าวว่าเห็น หรือว่าจะชักชวนผู้อื่นใน ธรรมอันเป็นไปเพื่อความทุกข์ ไม่เป็นประโยชน์ เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งหลายเหล่าอื่นตลอดกาลนาน ดังนี้
เมื่อเขาใคร่ครวญดูอยู่ในใจ ซึ่งภิกษุนั้น ก็รู้ว่า ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโลภะชนิดนั้น มิได้มีแก่ท่าน ผู้มีอายนี้ อนึ่ง กายสมาจาร วีสมาจาร ของท่านผู้มีอายุผู้นี้ ก็เป็นไปใน ลักษณะแห่ง สมาจาร ของบุคคล ผู้ไม่โลภแล้ว อนึ่ง ท่านผู้มีอายุนี้แสดงซึ่งธรรมใด ธรรมนั้นเป็นธรรมที่ลึก เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยากเป็นธรรม ที่รำงับประณีต ไม่เป็นวิสัย ที่จะหยั่งลงง่ายแห่งความตรึก เป็นธรรมละเอียดอ่อน รู้ได้เฉพาะบัณฑิต วิสัยธรรมนั้น มิใช่ธรรมที่คนผู้มีความโลภ จะแสดง ให้ถูกต้องไดดังนี้
เมื่อเขาใคร่ครวญดูอยู่ซึ่งภิกษุนั้น ย่อมเล็งเห็นว่า เป็นผู้บริสุทธิ์จากธรรม อันเป็นที่ตั้ง แห่งโลภะ. ต่อแต่ นั้น เขาจะพิจารณาใคร่ครวญภิกษุนั้นให้ยิ่งขึ้นไป ในธรรมทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ ..ในธรรมทั้งหลายอัน เป็นที่ตั้งแห่งโมหะ... (ก็ได้เห็นประจักษ์ ในลักษณะอย่างเดียวกัน กับในกรณีแห่ง โลภะ ตรงเป็นอันเดียวกัน ทุกตัวอักษร ไปจน ถึงคำว่า เมื่อเขาใคร่ครวญดูอยู่ ซึ่งภิกษุนี้ ย่อมเล็งเห็นว่า เป็นผู้บริสุทธิ์จากธรรมเป็น ที่ตั้งแห่งโมหะ)
ลำดับนั้น เขา
(๑) ปลูกฝังศรัทธาลงไปในภิกษุนั้น ครั้นมีสัทธาเกิดแล้ว
(๒) ย่อมเข้าไปหา ครั้นเข้าไปหาแล้ว
(๓) ย่อมเข้าไปนั่งใกล้ ครั้นเข้าไปนั่งใกล้แล้ว
(๔) ย่อมเงี่ยโสตลง ครั้นเงี่ยโสตลง
(๕) ย่อมฟังซึ่งธรรม ครั้งฟังซึ่งธรรมแล้ว
(๖) ย่อมทรงไว้ซึ่งธรรม
(๗) ย่อมใคร่ครวญซึ่งเนื้อความแห่งธรรม ทั้งหลาย อันตนทรงไว้แล้วเมื่อใคร่ครวญ ซึ่งเนื้อความแห่ง ธรรมอยู่
(๘) ธรรมทั้งหลายย่อมทนต่อความเพ่งพินิจ เมื่อการทนต่อการเพิ่งพินิจของ ธรรมมีอยู่
(๙) ฉันทะย่อมเกิดขึ้น ผู้มีฉันทะเกิดขึ้นแล้ว
(๑๐) ย่อมมีอุสสาหะครั้นมีอุสสาหะแล้ว
(๑๑) ย่อมพิจารณาหาความสมดุลย์แห่งธรรม ครั้นมีความสมดุลย์แห่งธรรมแล้ว
(๑๒) ธรรมเป็นเครื่องตั้งมั่น ย่อมตั้งมั่น เขาผู้มีตนส่งไปแล้วอย่างนี้อยู่
ย่อม กระทำให้แจ้งซึ่งปรมัตถสัจจะ ด้วย (นาม) กายด้วย
ย่อม แทงตลอดซึ่งธรรมนั้นแล้วเห็นอยู่ด้วยปัญญาด้วย
ดูก่อนภารทวาชะ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล สัจจานุโพธ (การรู้ตามซึ่งสัจจธรรม) ย่อมมีได้ บุคคล ย่อมรู้ตาม ซึ่งสัจจธรรมได้ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ พวกเราบัญญัติซึ่งสัจจานุโพธ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ แต่ว่า สัจจานุปัตติ (การบรรลุซึ่งสัจจธรรม) ยังมิได้มี ดังนี้
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ถ้าสัจจานุโพธ มีได้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ บุคคลย่อมรู้ตาม ซึ่งสัจจธรรมได้ ด้วยเหตุ เพียงเท่านี้ และพวกเราก็หวังได้ซึ่งสัจจธรรม ด้วยเหตุเพียง เท่านี้ ดังนี้แล้ว ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ สัจจานุปัตติ (การบรรลุซึ่งสัจจธรรม) จะมี ได้ด้วยเหตุเพียงเท่าไรเล่า? บุคคลจะบรรลุซึ่งสัจจธรรม ได้ด้วยเหตุ เพียงเท่าไรเล่า? และพวกเราถามซึ่งสัจจานุปัตติ กะพระโคดมผู้เจริญแล้วละ
ดูก่อนภารทวาชะ การเสพคบ การทำให้เจริญ การกระทำให้มาก ซึ่งธรรมทั้งหลาย เหล่านั้นแหละ เป็นตัวสัจจานุปัตติ ดูก่อนภารทวาชะ สัจจานุ-ปัตติย่อม มีได้ด้วยเหตุเพียง เท่านั้น แหละ บุคคลย่อมบรรลุ ซึ่งสัจจธรรม ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ แหละ และพวกเราก็บัญญัติ ซึ่งสัจจานุปัตติ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แหละ
(๑) ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ...(ถ้าเป็นดังนี้แล้ว) ธรรมชื่ออะไรเล่าเป็นธรรมมีอุปการะ มากแก่ สัจจานุปัตติ? พวกเราถามซึ่งธรรมมีอุปการะมาก แก่สัจจานุปัตติกะพระโคดม ผู้เจริญแล้วละ
ดูก่อนภารทวาชะ ธรรมเครื่องตั้งมั่น(ปธาน) เป็นธรรมมีอุปการะมากแก่สัจจานุปัตติ ถ้าบุคคลไม่ตั้งไว้ ซึ่งธรรมเป็นเครื่องตั้งมั่น (ปธาน) แล้วไซร้ เขาก็ไม่พึงบรรลุซึ่งสัจจธรรม. เพราะเหตุที่เขาตั้งไว้ซึ่ง ธรรมเป็น เครื่องตั้งมั่น เขาจึงบรรลุซึ่ง สัจจธรรม เพราะเหตุนั้น ธรรมเป็นเครื่องตั้งมั่น จึงชื่อว่าเป็นธรรม มีอุปการะมากแก่ สัจจานุปัตติ
(๒) ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็ธรรมชื่ออะไรเล่าเป็นธรรมมีอุปการะมาก แก่ธรรมเป็น เครื่องตั้งมั่น? พวกเรา ถามซึ่งธรรม มีอุปการะมากแก่ธรรมเป็นเครื่องตั้งมั่นกะพระโคดมผู้เจริญแล้วละ
ดูก่อนภารทวาชะ การพิจารณาหาความสมดุลย์แห่งธรรม (ตุลนา)เป็นธรรม มีอุปการะมาก แก่ธรรม เป็นเครื่องตั้งมั่น ถ้าบุคคลไม่พึงพบ ซึ่งความสมดุลย์ แห่งธรรมนั้นแล้วไซร้ ธรรมเป็นเครื่องตั้งมั่น ก็ไม่พึง ตั้งมั่น.เพราะเหตุที่เขาพบซึ่งความสมดุลย์แห่งธรรม ธรรมเป็นเครื่องตั้งมั่น จึงตั้ง เพราะเหตุนั้นการพิจารณา หาความ สมดุลย์แห่งธรรม จึงเป็นธรรม มีอุปการะมากแก่ธรรมเป็นเครื่องตั้งมั่น
(๓) ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็ธรรมชื่อไรเล่าเป็นธรรมมีอุปการะมาก แก่การพิจารณา หาความ สมดุลย์แห่งธรรม? พวกเราถามซึ่งธรรมมีอุปการะมากแก่การพิจารณา หาความสมดุลย์แห่งธรรม กะพระโคดม ผู้เจริญแล้วละ
ดูก่อนภารทวาชะ อุสสาหะ เป็น ธรรมมีอุปการะมากแก่การพิจารณาหาความ สมดุลย์แห่ง ธรรม ถ้าบุคคลไม่พึงมีอุสสาหะแล้วไซร้ ก็ไม่พึงพบซึ่งความสมดุลย์ แห่งธรรม. เพราะเหตุที่เขา มีอุสสาหะ เขาจึง พบความสมดุลย์แห่งธรรม เพราะเหตุนั้น อุสสาหะ จึงเป็นธรรมมีอุปการะมาก แก่ การพิจารณาหาความ สมดุลย์ แห่งธรรม
(๔) ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็ธรรมชื่อไรเล่าเป็นธรรมมีอุปการะมากแก่อุสสาหะ? พวกเราถาม ซึ่งธรรม มีอุปการะแก่อุสสาหะกะพระโคดมผู้เจริญแล้วละ
ดูก่อนภารทวาชะ ฉันทะ เป็น ธรรมมีอุปการะมากแก่อุสสาหะ ถ้าบุคคลไม่พึงยัง ฉันทะให้เกิด แล้วไซร้ ก็ไม่พึงมีอุสสาหะ. เพราะเหตุที่ฉันทะเกิดขึ้น เขาจึงมีอุสสาหะ เพราะเหตุนั้น ฉันทะ จึงเป็น ธรรมมีอุปการะมากแก่อุสสาหะ
(๕) ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็ธรรมชื่อไรเล่าเป็นธรรมมีอุปการะมากแก่ฉันทะ? พวกเราถามซึ่ง ธรรม มีอุปการะมาก แก่ฉันทะกะพระโคดมผู้เจริญแล้วละ
ดูก่อนภารทวาชะ ความที่ธรรมทั้งหลายทนได้ต่อการเพ่งพินิจ (ธมฺม-นิชฺฌานกฺ ขนฺติ) เป็นธรรมมีอุปการะมากแก่ฉันทะ ถ้าธรรมทั้งหลายไม่พึงทน ต่อการเพ่ง พินิจแล้วไซร้ ฉันทะก็ไม่พึงเกิด. เพราะเหตุที่ธรรมทั้งหลายทนต่อการเพ่งพินิจ ฉันทะ จึงเกิด เพราะเหตุนั้น ความที่ธรรมทั้งหลายทนต่อการเพ่งพินิจ จึงเป็นธรรมมีอุปการะ มากแก่ฉันทะ
(๖) ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็ธรรมชื่ออะไรเล่าเป็นธรรมมีอุปการะมาก แก่ความที่ ธรรมทั้งหลาย ทนต่อ การเพ่งพินิจ? พวกเราถามซึ่งธรรมมีอุปการะมาก แก่ความ ที่ธรรมทั้งหลายทนต่อการเพ่ง พินิจกะพระโคดม ผู้เจริญแล้วละ
ดูก่อนภารทวาชะ ความเข้าไปใคร่ครวญซึ่งอรรถะ (อตฺถุปปริกฺขา) เป็น ธรรมมีอุปการะมาก แก่ ความ ที่ธรรมทั้งหลายทนต่อการเพ่งพินิจ ถ้าบุคคลไม่เข้าไป ใคร่ครวญซึ่งอรรถะแล้วไซร้ ธรรมทั้งหลายก็ไม่ พึงทนต่อการเพ่งพินิจ. เพราะเหตุที่ บุคคล
เข้าไปใคร่ครวญซึ่งอรรถะ ธรรมทั้งหลายจึงทนต่อการเพ่งพินิจ เพราะเหตุนั้นการเข้าไปใคร่ครวญซึ่งอรรถะ จึงเป็นธรรม มีอุปการะมากแก่ความที่ธรรม ท.ทนต่อการเพ่งพินิจ
(๗) ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็ธรรมชื่อไรเล่าเป็นธรรมมีอุปการะมาก แก่ความเข้าไป ใคร่ครวญ ซึ่ง อรรถะ? พวกเราถามซึ่งธรรมมีอุปการะมากแก่ความเข้าไปใคร่ครวญซึ่ง อรรถะ กะพระโคดม ผู้เจริญแล้วละ
ดูก่อนภารทวาชะ การทรงไว้ซึ่งธรรม (ธมฺมธารณา) เป็นธรรมมีอุปการะมากแก่ ความเข้าไป ใคร่ครวญซึ่งอรรถะ. ถ้าบุคคลไม่ทรงไว้ ซึ่งธรรมะแล้วไซร้ เขาก็ไม่ อาจเข้าไปใคร่ครวญ ซึ่งอรรถะ เพราะเห ตุที่เขาทรงธรรมไว้ได้ เขาจึงเข้าไปใคร่ครวญ ซึ่งอรรถะได้. เพราะเหตุนั้น การทรงไว้ซึ่งธรรม จึงเป็นธรรม มีอุปการะมากแก่ความ เข้าไปใคร่ครวญซึ่งอรรถะ
(๘) ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็ธรรมชื่อไรเล่าเป็นธรรมมีอุปการะมาก แก่การทรงไว้ ซึ่งธรรม? พวกเราถาม ซึ่งธรรมมีอุปการะมากแก่การทรงไว้ซึ่งธรรมกะพระโคดมผู้เจริญ แล้วละ
ดูก่อนภารทวาชะ การฟังซึ่งธรรม (ธมฺมสฺสวน) เป็นธรรมมีอุปการะมากแก่การ ทรงไว้ซึ่ง ธรรม. ถ้าบุคคลไม่พึงฟังซึ่งธรรมแล้วไซร้ เขาก็ไม่พึงทรงธรรมไว้ได้ เพราะเหตุที่เขาฟังธรรม ซึ่งธรรม เขาจึงทรงธรรมไว้ได้. เพราะเหตุนั้น การฟังซึ่งธรรม จึงเป็นธรรมมีอุปการะมากแก่การ ทรงไว้ซึ่งธรรม
(๙) ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็ธรรมชื่อไรเล่าเป็นธรรมมีอุปการะมากแก่การฟังซึ่งธรรม? พวกเราถาม ซึ่งธรรมมีอุปการะมากแก่การฟังซึ่งธรรมกะพระโคดมผู้เจริญแล้วละ
ดูก่อนภารทวาชะ การเงี่ยลงซึ่งโสตะ (โสตาวธาน) เป็นธรรม มีอุปการะมากแก่ การฟัง ซึ่งธรรม. ถ้าบุคคลไม่เงี่ยลงซึ่งโสตะแล้วไซร้ เขาก็ไม่พึงฟังซึ่งธรรมได้ เพราะเหตุที่เขาเงี่ยลง ซึ่ง โสตะเขาจึงฟังซึ่งธรรมได้.เพราะเหตุนั้นการเงี่ยลงซึ่งโสตะ จึง เป็นธรรมมีอุปการะมาก แก่การฟังซึ่งธรรม
(๑๐) ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็ธรรมชื่ออะไรเล่าเป็นธรรมมีอุปการะมาก แก่การเงี่ย ลงซึ่งโสตะ? พวกเราถามซึ่งธรรมมีอุปการะมากแก่การเงี่ยลง ซึ่งโสตะกะ พระโคดม ผู้เจริญ แล้วละ
ดูก่อนภารทวาชะ การเข้าไปนั่งใกล้ (ปยิรุปาสนา) เป็นธรรมมีอุปการะมากแก่ การเงี่ยลง ซึ่งโสตะ. ถ้าบุคคลไม่พึงเข้าไปนั่งใกล้แล้วไซร้ เขาก็ไม่พึงเงี่ยลงซึ่ง โสตะ เพราะเหตุที่เขา เข้าไปนั่งใกล้ เขาจึงเงี่ยลงซึ่งโสตะได้ เพราะเหตุนั้น การเข้า ไปนั่งใกล้ จึงเป็นธรรมมีอุปการะ มากกว่า การเงี่ยลงซึ่งโสตะ
(๑๑) ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็ธรรมชื่อไรเล่าเป็นธรรมมีอุปการะมาก แก่การเข้าไป นั่งใกล้? พวกเราถามซึ่งธรรมมีอุปการะมากแก่การเข้าไปนั่งใกล้กะพระโคดมผู้เจริญ แล้วละ
ดูก่อนภารทวาชะ การเข้าไปหา (อุปสงฺกมน) เป็นธรรมมีอุปการะมากแก่การเข้า ไปนั่งใกล้. ถ้าบุคคลไม่เข้าไปหาแล้วไซร้ เขาก็ไม่พึงเข้าไปนั่งใกล้ได้เพรา เหตุที่ เขาเข้าไปหา เขาจึงเข้าไป นั่งใกล้ได้. เพราะเหตุนั้น การเข้าไปหาจึงเป็นธรรมมี อุปการะมากแก่การเข้าไป นั่งใกล้
(๑๒) ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็ธรรมชื่อไรเล่าเป็นธรรมมีอุปการะมาก แก่การเข้าไป หา. ? พวกเราถามซึ่งธรรมมีอุปการะมากแก่การเข้าไปหากะพระโคดมผู้เจริญแล้วละ
ดูก่อนภารทวาชะ สัทธา เป็น ธรรมมีอุปการะมากแก่การเข้าไปหา. ถ้าสัทธาไม่พึงเกิด แล้วไซร้ เข้าก็จะไม่เข้าไปหา เพราะเหตุที่สัทธาเกิดขึ้น เข้าจึงเข้าไปหา เพราะเหตุนั้น สัทธา จึงเป็นธรรมมีอุปการระมากแก่การเข้าไปหา
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพเจ้าได้ทูลถามพระสมณโคดมด้วยเรื่องสัจจานุ-รักขณา ...ด้วยเรื่อง สัจจานุโพธ ...ด้วยเรื่องสัจจานุปัตติ ...และเรื่องใด ๆ ดังที่กล่าวแล้วนั้น ก็ตาม พระโคดมผู้เจริญ ได้ พยากรณ์ซึ่งเรื่องนั้น ๆ นั่นเทียว
ก็คำพยากรณ์นั้นเป็นที่ชอบใจด้วย เหมาะสมด้วย แก่พวกข้าพระองค์ทั้งหลาย ข้าพระองค์ ทั้งหลาย พอใจด้วยคำพยากรณ์นั้น
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ในกาลก่อนแต่นี้ พวกข้าพระองค์รู้สึกว่าจะเอาอะไรกะมัน กะ พวกสมณะ หัวโล้นทั้งหลาย ซึ่งเป็นเชื้อไพร่กุฎุมพีกัณหโคตร เกิดแต่เท้าแห่งพรหม (วรรณศทร) อะไรกะมัน ที่จะเป็นผู้รู้ธรรมได้
บัดนี้พระโคดมผู้เจริญได้ทำความรักของสมณะให้เกิดแล้วในสมณะทั้งหลาย ทำความเลื่อมใสใน สมณะให้เกิดแล้วในสมณะทั้งหลาย ทำความเคารพในสมณะให้เกิดขึ้น แล้วในสมณะทั้งหลาย
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญวิเศษนัก พระเจ้าข้า วิเศษนัก พระเจ้าข้า พระโคดมผู้เจริญ เปรียบเหมือน บุคคลหงายของที่คว่ำอยู่ หรือว่าเปิดของที่ปิดอยู่ หรือว่าบอกหนทางให้ แก่บุคคลที่หลงทาง หรือว่าจุดประทีป อันโพลงขึ้นด้วยน้ำมันไว้ในที่มืด ด้วยความหวัง ว่า ผู้มีจักษุทั้งหลาย จัดได้ เห็นรูปทั้งหลายฉันใด ธรรมอันพระผู้มีพระภาคประกาศแล้ว โดยปริยายเป็นอเนก ก็ฉันนั้น
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอถึงซึ่งพระผู้มีพระภาคด้วย ซึ่งพระธรรมด้วยซึ่ง พระสงฆ์ ด้วยว่าเป็น สรณะ. ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า จงทรงถือว่า ข้าพระองค์เป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะแล้ว จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป จนตลอดชีวิต ดังนี้ แล
…………………………………………………………..................................................……………………….
หมายเหตุผู้รวบรวม ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า ลักษณะของสิ่งที่เรียกว่าปฏิจจ สมุปบาท อาจจะมีได้ในแบบต่าง ๆ กัน ดังเช่นในสูตรนี้ แสดงลักษณะแห่งปฏิจจ สมุปบาท ของการ บรรลุธรรม เช่นเดียวกับข้อความในเรื่องที่แล้วมา โดยหัวข้อว่า ปฏิจจสมุปบาท ที่ยิ่งกว่า ปฏิจจสมุปบาท ควรแก่การสนใจ.
หน้า 644
ปฏิจจสมุปบาทแห่งการอยู่ ด้วยความประมาทของอริยสาวก
พระเจ้านันทิยสักกะ ได้ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โสตาปัตติ-ยังคะ ทั้งหลาย ๔ ประการ ของอริยสาวก ใดย่อมไม่มีเสียเลยโดยประการทั้งปวง อริยสาวกนั้นหรือ หนอ ที่พระองค์ตรัสว่าเป็นผู้อยู่ด้วยความประมาท?
ดูก่อนนันทิยะ โสตาปัตติยังคะทั้งหลาย ๔ ประการ ของบุคคลใด ย่อมไม่มีเลยโดยประการ ทั้งปวง เราเรียกบุคคลนั้นว่า เป็นคนนอกวง ตั้งอยู่ในฝ่ายแห่งปุถุชน
ดูก่อนนันทิยะ อริยสาวก เป็นผู้อยู่ด้วยความประมาท และ เป็นผู้อยู่ด้วยความ ไม่ประมาท มีอยู่อย่างไรนั้น เราจักแสดงแก่เธอ เธอจงฟังให้สำเร็จประโยชน์....
ดูก่อนนันทิยะ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้วด้วย พุทธอเวจจัปปสาทะ (ความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าอย่างไม่หวั่นไหวอีกต่อไป) ดังนี้ว่า แม้ เพราะเหตุอย่างนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดย พระองค์เอง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วย วิชชาและจรณะ เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี เป็นผู้รู้โลกอย่าง แจ่มแจ้ง เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึก ได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูผู้สอนของ เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน เป็นผู้มีความจำเริญจำแนกธรรม สั่งสอนสัตว์
อริยสาวกนั้น ยินดีอยู่แต่ในธรรมเพียงเท่านั้น ไม่พยายามให้ยิ่งขึ้นไป เพื่อปวิเวก(ที่สงัด) ในกลางวัน เพื่อปฏิสัลลาณะ (ผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท) ในกลางคืน
เมื่ออริยสาวกนั้น เป็นผู้ประมาทแล้วอย่างนี้อยู่ ปราโมทย์ย่อมไม่มี
เมื่อปราโมทย์ไม่มี ปีติก็ไม่มี (ปามุชฺเช อสติ ปีติ น โหติ)
เมื่อปีติไม่มี ปัสสัทธิก็ไม่มี (ปีติยา อสติ ปสฺสทฺธิยา น โหติ)
เมื่อปัสสัทธิไม่มี ย่อมอยู่เป็นทุกข์ (ปสฺสทฺธิยา อสติ ทุกฺขํ วิหรติ)
ผู้มีทุกข์ จิตย่อมไม่ตั้งมั่น (ทุกฺขิโน จิตฺตํ น สมาธิยติ)
เมื่อจิตไม่ตั้งมั่น ธรรมทั้งหลายย่อมไม่ปรากฏ (อสมาหิเต จิตฺเต ธมฺมาน ปาติภวนฺติ)
เพราะธรรมทั้งหลายไม่ปรากฏ อริยสาวกนั้น ย่อมถึงซึ่งการถูกนับว่า เป็นผู้อยู่ด้วยความประมาท
(ในกรณีแห่งโสตาปัตติยังคะที่สอง คือธัมมอเวจจัปปสาทะ (ความเลื่อมใสในพระ ธรรมอย่างไม่ หวั่นไหวอีกต่อไป) ก็ดี ที่สามคือสังฆอเวจจัปปสาทะ (ความเลื่อมใสในพระสงฆ์อย่างไม่หวั่นไหว อีกต่อไป) ก็ดี ที่สี่ คืออริยกันตศีล (ศีลที่พระอริยเจ้าพอใจ ก็ดี ได้ตรัสไว้มีนัยะอย่างเดียวกัน)
ดูก่อนนันทิยะ อย่างนี้แล อริยสาวกเป็นผู้อยู่ด้วยความประมาท. (สำหรับอริยสาวก ผู้อยู่ด้วยความ ไม่ประมาทนั้น ได้ทรงแสดงไว้โดยปฏิปักขนัย ผู้ศึกษาพึงเทียบเคียง เอาเอง). สิ่งที่เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาทมีอยู่หลายนัย ไม่จำเป็นต้องขึ้นต้นด้วยคำว่า อวิชฺชา ปจฺจยาสงฺขารา..ฯ ล ฯ ...เสมอไปดังเช่นในสูตรนี้เป็นตัวอย่างซึ่งได้แสดงอาการแห่งอิทัปปัจจยตาสำหรับความเป็นผู้อย่ ด้วยความ ประมาท ไว้อย่าง ชัดแจ้งแล้ว.
...........................................................................................................................................
หมายเหตุผู้รวบรวม ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่านันทิยสักกะได้ใช้คำว่าอริยสาวก แก่ผู้ไม่ ประกอบด้วยโสตาปัตติยังคะสี่ ซึ่งเป็นการผิดหลักธรรมตาม ที่ถือกันอยู่ใน ธรรมวินัยนี้. ส่วนพระพุทธองค์ได้ทรงแยกบุคคลชนิดนั้น ออกไปจากวงของอริยสาวก และยังได้ตรัสต่อไปว่า แม้เป็นอริยบุคคลที่หนึ่ง คือพระโสดาบันแล้ว ถ้าไม่พยายาม สืบต่อในการบรรลุธรรมให้สูงขึ้นไป จนกว่าจะถึงความเป็นพระอรหันต์เสียก่อน ก็ยัง ตกอยู่ในฐานะแห่งบุคคลผู้อยู่ด้วยความประมาท อยู่นั่นเอง. สิ่งที่น่าสนใจในสูตรนี้อีก อย่างหนึ่งก็คือได้ตรัสปวิเวกว่าเป็นสิ่งที่เป็นไปในกลางวัน และปฏิสัลลาณะว่าเป็นสิ่ง ที่เป็นไปในกลางคืนเป็นสิ่งที่ยังเข้าใจได้ยากอยู่ ของฝากผู้รู้ ไว้พิจารณาด้วย. อนึ่ง ข้อความนี้แสดงให้เห็นว่า
หน้า 646
ปฏิจจสมุปบาท แห่งการขาดที่อิงอาศัยสำหรับวิมุตติญาณทัสสนะ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
- เมื่อทุศีล มีศีลอันวิบัติแล้ว อวิปปฏิสาร (ความไม่ร้อนใจ) ก็ขาดที่ตั้งอาศัย
- เมื่ออวิปปฏิสารไม่มี ความปราโมทย์ของผู้มีอวิปปฏิสารอันวิบัติแล้ว ก็ขาดที่ตั้งอาศัย
- เมื่อความปราโมทย์ไม่มี ปีติของผู้มีความปราโมทย์อันวิบัติแล้ว ก็ขาดที่ตั้งอาศัย
- เมื่อปีติไม่มี ปัสสัทธิ ของผู้มีปีติอันวิบัติแล้ว ก็ขาดที่ตั้งอาศัย
- เมื่อ ปัสสัทธิไม่มี สุข ของผู้มีปัสสัทธิอันวิบัติแล้ว ก็ขาดที่ตั้งอาศัย
- เมื่อสุขไม่มี สัมมาสมาธิ ของผู้มีสุขอันวิบัติแล้ว ก็ขาดที่ตั้งอาศัย
- เมื่อสัมมาสมาธิไม่มี ยถาภูตญาณทัสสนะ ของผู้มีสัมมาสมาธิอันวิบัติแล้ว ก็ขาดที่ตั้งอาศัย
- เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะไม่มี นิพพิทาของผู้มียถาภูตญาณทัสสนะอันวิบัติแล้ว ก็ขาดที่ตั้งอาศัย
- เมื่อนิพพิทาไม่มี วิราคะ ของผู้มีนิพพิทาอันวิบัติแล้ว ก็ขาดที่ตั้งอาศัย
- เมื่อวิราคะไม่มี วิมุตติญาณทัสสนะ ของผู้มีวิราคะอันวิบัติแล้ว ก็ขาดที่ตั้งอาศัย
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้ ซึ่งมีกิ่งและใบอันวิบัติแล้วสะเก็ดเปลือกนอก ของมัน ก็ไม่บริบูรณ์ เปลือกชั้นในก็ไม่บริบูรณ์ กระพี้ก็ไม่บริบูรณ์แก่นก็ไม่บริบูรณ์ด้วย นี้ฉันใด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อทุศีล มีศีลอันวิบัติแล้วอวิปปฏิสาร ก็ขาดที่อาศัย ...ฯลฯ... ...ฯลฯ... เมื่อวิราคะไม่มี วิมุตติ-ญาณทัสสนะของผู้มีวิราคะอันวิบัติแล้ว ก็ขาดที่ตั้งอาศัย ฉันนั้นเหมือนกัน
...............................................................................................................................................
๑ เอกาท สก.อฺ. ๒๔/๓๓๘/๒๑๐ และใน ที่อื่น ๆ อีกห ลายสูตร (ป ญฺจก.อํ.๒๒/๒๑/๒๔ ท สก.อํ.๒๔/๔/๓ฯลฯ) อันมีทั้งที่เป็นพุทธภาษิตและสารีปุตตเถรภาษิตเป็นต้น ที่เป็นพุทธภาษิต ได้ตรัสไว้โดยย่อกว่าสูตรข้างบนนี้ ที่เป็นเถรภาษิตได้กล่าวไว้โดยพิสดารอย่างสูตรข้างบนนี้ก็มี ย่อกว่าก็มีซึ่งล้วนแต่กล่าวไว้โดยนัยะเดียวกับที่ทรงแสดงทุกประการ ต่างกันแต่อาลปนะที่ใช้ เรียก ภิกษุทั้งหลายเท่านั้น กล่าวคือที่เป็นพุทธภาษิตทรงใช้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ที่เป็นเถรภาษิต ท่านใช้ว่าดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย.
...............................................................................................................................................
(ต่อไปนี้ มีข้อความที่ทรงแสดงโดยปฏิปักขนัย คือเป็นเรื่องของฝ่ายที่มีศีลสมบูรณ์ มีที่ตั้งอาศัย สมบูรณ์ มีผลตรงกันข้ามจากฝ่ายทุศีล จนตลอดสาย โดยทำนองเดียวกัน หากแต่เป็นปฏิปักขนัย คือ ตรงกันข้าม ทั้งในส่วนที่เป็นอุปมัย (ตัวเรื่อง)และส่วนที่เป็นอุปมาที่นำมาเปรียบเทียบ).
(อีกนัยหนึ่งซึ่งตรัสไว้ในที่อื่น)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
- เมื่อสติสัมปชัญญะไม่มี หิริและโอตตัปปะ ของผู้มีสติสัมปชัญญะอันวิบัติแล้วก็ขาดที่ตั้งอาศัย
- เมื่อหิริและโอตตัปปะไม่มี อินทรีย์สัง วร ของผู้มีหิริและโอตตัปปะอันวิบัติแล้ว ก็ขาดที่ตั้งอาศัย
- เมื่ออินทรียสังวรไม่มี ศีล ของผู้มีอินทรีย์สังวรอันวิบัติแล้ว ก็ ขาดที่ตั้งอาศัย
- เมื่อศีลไม่มี สัมมาสมาธิ ของผู้มีศีลอันวิบัติแล้ว ก็ ขาดที่ตั้งอาศัย
- เมื่อสัมมาสมาธิไม่มี ยถาภูตญาณทัสสนะ ของผู้มีสัมมาสมาธิอันวิบัติแล้วก็ ขาดที่ตั้งอาศัย
- เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะไม่มีนิพพิทาวิราคะ ของผู้มียถาภูตญาณทัสสนะอันวิบัติแล้ว ก็ ขาดที่ตั้งอาศัย
- เมื่อนิพพิทาวิราคะไม่มี วิมุตติญาณทัสสนะ ของผู้มีนิพพิทาวิราคะอันวิบัติแล้ว ก็ ขาดที่ตั้งอาศัย
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้ ซึ่งมีกิ่งและใบอันวิบัติแล้วสะเก็ดเปลือกนอกของมัน ก็ไม่บริบูรณ์ เปลือกชั้นในก็ไม่บริบูรณ์ กระพี้ก็ไม่บริบูรณ์แก่นก็ไม่บริบูรณ์ด้วย นี้ฉันใด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสติสัมปชัญญะไม่มี หิริและโอตตัปปะของผู้มีสติสัมปชัญญะอันวิบัติแล้ว ก็ขาดที่ตั้งอาศัย ...ฯลฯ...ฯลฯ...เมื่อนิพพิทาวิราคะไม่มี วิมุตติญาณทัสสนะของผู้มีนิพพิทา วิราคะอันวิบัติแล้ว ก็ขาดที่ตั้งอาศัย ฉันนั้นเหมือนกัน.
(ต่อไปนี้ มีข้อความที่ทรงแสดงโดยปฏิปักขนัย คือเป็นเรื่องของฝ่ายที่มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ มีที่ตั้งอาศัย สมบูรณ์ มีผลตรงกันข้ามจากฝ่ายมีสติ สัมปชัญญะอันวิบัติ จนตลอดสาย โดยทำนองเดียวกัน หากแต่เป็น ปฏิปักขนัย คือตรงกันข้าม ทั้งในส่วนที่เป็นอุปไมย และส่วนที่เป็นอุปมา).
หน้า 649
ปฏิจจสมุปบาทเพื่อความสมบูรณ์แห่งอรหัตตผล
พระอานนท์ได้ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ศีลอันเป็นกุศลมีอะไรเป็น ประโยชน์ที่ มุ่งหมายมีอะไรเป็นอานิสงส์?
ดูก่อนอานนท์ ศีลอันเป็นกุศล มีอวิปปฏิสาร (ความไม่ร้อนใจ) เป็นอานิสงส์ ที่มุ่งหมาย.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็อวิปปฏิสารเล่ามีอะไรเป็นอานิสงส์ที่มุ่งหมาย?
ดูก่อนอานนท์ อวิปปฎิสาร มีความปราโมทย์ เป็นอานิสงส์ ที่มุ่งหมาย
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ความปราโมทย์มีอะไรเป็นอานิสงส์ที่มุ่งหมาย?
ดูก่อนอานนท์ ความปราโมทย์ มีปีติ เป็นอานิสงส์ ที่มุ่งหมาย
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปีติเล่ามีอะไรเป็นอานิสงส์ที่มุ่งหมาย?
ดูก่อนอานนท์ ปีติ มีปัสสัทธิ เป็นอานิสงส์ ที่มุ่งหมาย
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปัสสัทธิเล่ามีอะไรเป็นอานิสงส์ที่มุ่งหมาย?
ดูก่อนอานนท์ ปัสสัทธิ มีสุข เป็นอานิสงส์ ที่มุ่งหมาย
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็สุขเล่ามีอะไรเป็นอานิสงส์ที่มุ่งหมาย?
ดูก่อนอานนท์ สุข มีสมาธิ เป็นอานิสงส์ ที่มุ่งหมาย
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็สมาธิเล่ามีอะไรเป็นอานิสงส์ที่มุ่งหมาย?
ดูก่อนอานนท์ สมาธิ มียถาภูตญาณทัสสนะ เป็นอานิสงส์ ที่มุ่งหมาย
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ยถาภูตญาณทัสสนะเล่ามีอะไรเป็นอานิสงส์ที่มุ่งหมาย?
ดูก่อนอานนท์ ยถาภูตญาณทัสสนะ มีนิพพิทา เป็นอานิสงส์ ที่มุ่งหมาย
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็นิพพิทามีอะไรเป็นอานิสงส์ที่มุ่งหมาย?
ดูก่อนอานนท์ นิพพิทา มีวิราคะ เป็นอานิสงส์ ที่มุ่งหมาย
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็วิราคะเล่ามีอะไรเป็นอานิสงส์ที่มุ่งหมาย?
ดูก่อนอานนท์ วิราคะ มีวิมุตติญาณทัสสนะ เป็นอานิสงส์ ที่มุ่งหมาย
ดูก่อนอานนท์ ด้วยอาการอย่างนี้แล
ศีลอันเป็นกุศล มีอวิปปฏิสารเป็นอานิสงส์ ที่มุ่งหมาย
อวิปปฏิสาร มีความปราโมทย์เป็นอานิสงส์ ที่มุ่งหมาย
ความปราโมทย์ มีปีติเป็นอานิสงส์ ที่มุ่งหมาย
ปีติ มีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์ ที่มุ่งหมาย
ปัสสัทธิ มีสุขเป็นอานิสงส์ ที่มุ่งหมาย
สุข มีสมาธิเป็นอานิสงส์ ที่มุ่งหมาย
สมาธิ มียถาภูตญาณทัสสนะ เป็นอานิสงส์ ที่มุ่งหมาย
ยถาภูตญาณทัสสนะ มีนิพพิทาเป็นอานิสงส์ ที่มุ่งหมาย
นิพพิทา มีวิราคะเป็นอานิสงส์ ที่มุ่งหมาย
วิราคะ มีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์ ที่มุ่งหมาย
ดูก่อนอานนท์ ศีลอันเป็นกุศล ย่อมยังความเป็นพระอรหันต์ให้เต็มได้โดยลำดับ ด้วยอาการอย่างนี้แล.
..........................................................................................................................................
หมายเหตุผู้รวบรวม ผู้ศึกษาพังสังเกตให้เห็น ลักษณะอันสำคัญอย่างหนึ่งว่า เป็นหลักเกณฑ์ อันตายตัวอย่างไร กล่าวคือลำดับแห่งธรรม ที่แสดงไว้ในสูตรนี้และที่มาแห่งอื่น ๆ อีกเป็นอันมาก อย่างที่จะกล่าวได้ว่า ตรงเป็นแบบเดียวกัน.
ลำดับที่กล่าวนี้คือ ศีล - อ วิป ป ฏิส าร - ป รา โม ท ย์ - ปีติ- ปัส สัท ธิ - สุข - ส ม า ธิ-ยถาภูตญาณทัสสนะ - นิพพิทา - วิราคะ - วิมุตติญาณ ทัสสนะ และควรสังเกตเป็นพิเศษ อีกอย่างหนึ่งว่า ปราโมทย์เป็นสิ่งที่ จะขาดไม่ได้ ในตอนต้น แห่งกระแส และสุขกับสมาธิเป็นสิ่งที่แยกกันไม่ได้. และควรถือว่าธรรม ๑๑ อย่างนี้แล คือ คำขยายความของคำว่าศีลสมาธิ ปัญญา นั่นเอง. ศีลเป็นกุศล คือมิได้รักษาเพื่อลาภ เพื่อสวรรค์ หากแต่เพื่อวิมุตติ.
หน้า 651
ปฏิจจสมุปบาท แห่ง บรมสัจจะ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่กล่าว การประสพความพอใจในอรหัตตผล ด้วยการกระทำ อันดับแรก เพียงอันดับเดียว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แต่ว่า การประสบความพอใจในอรหัตตผล ย่อมมีได้เพราะ การศึกษาโดยลำดับ เพราะการกระทำ โดยลำดับ เพราะการปฏิบัติ โดยลำดับ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็การประสบความพอใจในอรหัตตผล ย่อมมีได้เพราะการศึกษาโดยลำดับ เพราะการ กระทำโดยลำดับ เพราะการปฏิบัติโดยลำดับ เป็นอย่างไรเล่า?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษบุคคลในกรณีนี้
เป็นผู้มีสัทธาเกิดขึ้นแล้ว ย่อมเข้าไปหา
เมื่อเข้าไปหา ย่อมเข้าไปนั่งใกล้
เมื่อเข้าไปนั่งใกล้ ย่อมเงี่ยโสตลงสดับ
ผู้เงี่ยโสตลงสดับ ย่อมได้ฟังธรรม
ครั้นฟังแล้ว ย่อมทรงจำธรรมไว้
ย่อมใคร่ครวญพิจารณาซึ่งเนื้อความแห่งธรรมทั้งหลาย ที่ตนทรงจำไว้
เมื่อเขาใคร่ครวญพิจารณา ซึ่งเนื้อความแห่งธรรมนั้นอยู่ธรรมทั้งหลายย่อมทน ต่อการเพ่งพิสูจน์
เมื่อธรรมทนต่อการเพ่งพิสูจน์มีอยู่ ฉันทะ (ความพอใจ) ย่อมเกิด
ผู้เกิดฉันทะแล้ว ย่อมมีอุตสาหะ
ครั้นมีอุตสาหะแล้ว ย่อมใช้ดุลยพินิจ (เพื่อหาความจริง)
ครั้นใช้ดุลยพินิจ (พบ)แล้ว ย่อมตั้งตนไว้ในธรรมนั้น
ผู้มีตนส่งไปแล้วในธรรมนั้นอยู่ ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่ง บรมสัจจ์ ด้วยกายด้วย ย่อมเห็นแจ้งแทง ตลอดซึ่ง บรมสัจจ์ นั้นด้วยปัญญาด้วย.
หน้า 653
ปฏิจจสมุปบาท แห่ง สุวิมุตตจิต
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเห็นจักษุอันไม่เที่ยงนั่นแล ว่าไม่เที่ยง ความเห็น เช่นนั้น เป็น สัมมาทิฏฐิ (การเห็นอยู่โดยถูกต้อง) ของเธอนั้น.
เมื่อเห็นอยู่โดยถูกต้อง ย่อมเบื่อหน่าย (สมฺมา ปสฺสํ นิพฺพินฺทติ)
เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิ จึงมีความสิ้นไปแห่งราคะ (นนฺทิกฺขยา ราคกฺขโย)
เพราะความสิ้นไปแห่งราคะ จึงมีความสิ้นไปแห่งนันทิ (ราคกฺขยา นนฺทิกฺขโย)
เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิและราคะ กล่าวได้ว่า จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี ดังนี้
(นนฺทิราคกฺขยา จิตฺตํ สุวิมุตฺตนฺติ วุจฺจติ)
(ในกรณีแห่งอายตนะภายในที่เหลืออีก ๕ คือ โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ มโน และในกรณีแห่ง อายตนะ ภายนอก ๖ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธัมมารมณ์ ก็ตรัสอย่างเดียวกันกับ ในกรณี แห่งจักษุ ทุกประการ).
(อีกนัยหนึ่งซึ่งตรัสไว้ในที่อื่น)๒
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจง กระทำโยนิโสมนสิการซึ่งจักษุ และจงพิจารณาเห็น ความที่จักษุ เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง ตามที่เป็นจริง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ เมื่อกระทำโยนิโสมนสิการซึ่งจักษุ และพิจารณาเห็นความที่จักษุ เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง ตามที่เป็นจริงอยู่ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุ.
เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิ จึงมีความสิ้นไปแห่งราคะ
เพราะความสิ้นไปแห่งราคะ จึงมีความสิ้นไปแห่งนันทะ
เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิและราคะ กล่าวได้ว่า จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี ดังนี้.
(ในกรณีแห่งอายตนะภายในที่เหลืออีก ๕ และในกรณีแห่งอายตนะภายนอก ๖ ก็ตรัสอย่างเดียวกันกับ ในกรณีแห่งอายตนะภายในคือจักษุ ที่กล่าวมาแล้วนี้ ทุกประการ.)
หมายเหตุผู้รวบรวม ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า ปฏิจจสมุปบาทฝ่ายวิมุตติ จักต้องตั้งต้นขึ้นมา ด้วยวิชชา ซึ่งตรงกันข้ามจากอวิชชา. ในที่นี้ใช้คำว่าสัมมาทิฏฐิแทนคำ ว่าวิชชา เพราะทำ หน้าที่ได้อย่างเดียวกัน. อีกอย่างหนึ่ง น่าจะถือเป็นหลักว่าวิมุตติที่ตั้งต้นขึ้นมา จาก สัมมาทิฏฐิ เติมคำนำหน้าว่า สุ เข้าไปอีกพยางค์หนึ่ง นั่นเป็นการถูกต้องแท้.โดยหลักใหญ่ๆ แล้วแนว แห่งวิมุตติก็ตรงกันหมดคือตั้งต้นด้วยความรู้ ความเห็นที่ถูกต้อง แล้วเบื่อหน่าย คลายกำหนัด แล้ว ก็ถึงความ หลุดพ้น เป็นแนวเดียวกันหมด การเพิ่มจำนวนชื่อของข้อธรรมให้มากขึ้น เป็นเพียงการขยายออกไปในส่วน ที่เป็นบทประกอบอยู่รอบ ๆ ใจความสำคัญเพียง ๓ อย่าง ดังที่กล่าวมาแล้วนั่นเอง.
หน้า 654
ปฏิจจสมุปบาท แห่ง การปรินิพพานเฉพาะตน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง. สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นนั้น ไม่ใช่ของเรา
ไม่ใช่เป็นเรา ไม่ใช่เป็นตัวตนของเรา เธอทั้งหลายพึงเห็นข้อนั้น ด้วยปัญญาโดยชอบ ตรงตามที่เป็นจริง อย่างนี้ ด้วยประการดังนี้.
(ในกรณีแห่งเวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ก็ตรัสอย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งรูป ทุกประการ).
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เมื่อบุคคลเห็นข้อนั้นด้วยปัญญาโดยชอบ ตรงตามที่เป็นจริงอยู่อย่างนี้
ปุพพันตานุทิฏฐิ ทั้งหลาย ย่อมไม่มี
เมื่อปุพพันตานุทิฏฐิทั้งหลายไม่มี อปรันตานุทิฏฐิ ทั้งหลาย ย่อมไม่มี
เมื่ออปรันตานุทิฏฐิทั้งหลายไม่มี ความยึดมั่นลูบคลำอย่างแรงกล้าย่อมไม่มี
เมื่อความยึดมั่นลูบคลำอย่างแรงกล้าไม่มี จิตย่อมจางคลายกำหนัดในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขารทั้งหลาย ในวิญญาณ ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่มีความยึดมั่นถือมั่น
เพราะจิตหลุดพ้นแล้ว จิตจึงดำรงอยู่ (ตามสภาพของจิต)
เพราะเป็นจิตที่ดำรงอยู่ จิตจึงยินดีร่าเริงด้วยดี
เพราะเป็นจิตที่ยินดีร่าเริงด้วยดี จิตจึงไม่หวาดสะดุ้ง
เมื่อไม่หวาดสุดุ้ง ย่อมปรินิพพาน(ดับรอบ) เฉพาะตนนั่นเทียว.
เธอนั้นย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก ดังนี้.
......................................................................................................................................
ปุพพันตานุทิฏฐิ และ อปรันตานุทิฏฐิ คืออะไร
หมายเหตุผู้รวบรวม ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า คำ ว่า ปรินิพพาน หรือ ปรินิพฺพายติ ก็ตาม ไม่ใช่เป็นสิ่งที่มีขึ้นเมื่อตายลงไป หรือหลังจากตายแล้ว แต่เป็นสิ่งที่มีได้แก่จิตที่ยังมีความรู้สึกอยู่ หรือยังเป็นๆ อยู่ โดยไม่สำคัญผิดไปว่า ปรินิพพานั้น จะมีต่อตายแล้ว หรือแม้กำลัง ตายลง ในขณะนั้น ซึ่งไม่มีประโยชน์อะไร หรือเป็นความเข้าใจที่งมงายอย่างยิ่ง.
ผู้ศึกษาทุกท่านจงให้ความสนใจในเรื่องนี้เป็นพิเศษ และควรจะเห็นว่าปรินิพพาน หรือการดับ รอบนั้น คือเย็นสนิทปราศจากกิเลสที่เผาลน หรือแม้แต่ความรบกวนใด ๆ ของเวทนาภายหลัง จาก การสิ้นกิเลสแล้วทั้งสิ้น. และยิ่งเมื่อมีคำ ว่าปจฺจตฺตํ(เฉพาะตน) เอว ประกอบเข้ามาด้วยแล้ว ย่อมเป็นการยืนยันถึงที่สุดว่าเป็นความรู้สึกในใจที่ผู้นั้นกำลังรู้สึกอยู่จริง ๆ จะไปมีต่อตายแล้ว ได้อย่างไรกันเล่า.
......................................................................................................................................
หน้า 656
ปฏิจจสมุปบาท แห่ง การดับอุปาทานสี่
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุปาทานทั้งหลาย ๔ อย่างเหล่านี้ มีอยู่. สี่อย่างเป็นอย่างไรเล่า? สี่อย่างคือ กามุปาทาน ๑ ทิฏฐุปาทาน ๑ สีลัพพัตตุปาทาน ๑ อัตตวาทุปาทาน ๑. ....
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อุปาทานทั้งหลาย ๔ อย่างเหล่านี้ มีอะไรเป็นนิทาน (ต้นเหตุ) มีอะไรเป็นสมุทัย (เครื่องก่อขึ้น) มีอะไรเป็นชาติกะ(เครื่องทำให้เกิด) มีอะไรเป็นปภวะ(แดนเกิด)?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุปาทานทั้งหลาย ๔ อย่างเหล่านี้ มีตัณหาเป็นนิทาน ...ฯลฯ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ตัณหานี้ มีอะไรเป็นนิทาน เป็นสมุทัย เป็นชาติกะเป็นปภวะ?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัณหา มีเวทนาเป็นนิทาน ...ฯลฯ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เวทนานี้ มีอะไรเป็นนิทาน เป็นสมุทัย เป็นชาติกะเป็นปภวะ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนา มีผัสสะเป็นนิทาน ...ฯลฯ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ผัสสะนี้ มีอะไรเป็นนิทาน เป็นสมุทัย เป็นชาติกะเป็นปภวะ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผัสสะ มีสฬายตนะเป็นนิทาน ...ฯลฯ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สฬายตนะนี้ มีอะไรเป็นนิทาน เป็นสมุทัย เป็นชาติกะเป็นปภวะ?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สฬายตนะ มีนามรูปเป็นนิทาน ...ฯลฯ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็นามรูปนี้ มีอะไรเป็นนิทาน เป็นสมุทัย เป็นชาติกะเป็นปภวะ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นามรูป มีวิญญาณเป็นนิทาน ...ฯลฯ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็วิญญาณนี้ มีอะไรเป็นนิทาน เป็นสมุทัย เป็นชาติกะ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิญญาณ มีสังขารเป็นนิทาน ...ฯลฯ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สังขารทั้งหลายเหล่านี้ มีอะไรเป็นนิทานเป็นสมุทัยเป็นชาติกะ เป็นปภวะ?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลาย มีอวิชชาเป็นนิทาน เป็นสมุทัยเป็นชาติกะ เป็นปภวะ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแล อวิชชา ภิกษุละได้แล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว ในกาลนั้น
ภิกษุนั้น เพราะความสำรอกออกโดยไม่เหลือแห่งอวิชชาเพราะวิชชาเกิดขึ้น
เธอย่อมไม่ยึดมั่น ซึ่งกามุปาทาน
เธอย่อมไม่ยึดมั่นซึ่งทิฏฐุปาทาน
เธอย่อมไม่ยึดมั่นซึ่งสีลัพพัตตุปาทาน
ย่อมไม่ยึดมั่นถือมั่นซึ่งอัตตวาทุปาทาน.
เมื่อไม่ยึดมั่นถือมั่น เธอย่อมไม่สะดุ้ง
เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมปรินิพพาน (ดับรอบ) เฉพาะตนนั่นเทียว
ภิกษุนั้น ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้วพรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก ดังนี้.
หน้า 658
ปฏิจจสมุปบาท แห่ง ความสิ้นสุดของโลก
พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงชักชวนภิกษุทั้งหลายด้วยธัมมิกถาอันเนื่องเฉพาะด้วยนิพพาน ได้ทรงเห็นว่าภิกษุทั้งหลายสนใจฟังอย่างยิ่ง จึงได้ตรัสพระพุทธอุทานนี้ขึ้น ในเวลานั้น ว่า -
ความหวั่นไหว ย่อมมีแก่บุคคลผู้อันตัณหาและ ทิฏฐิ อาศัยแล้ว
(นิสฺสิตสฺส จลิตํ).
ความหวั่นไหว ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้อันตัณหาและ ทิฏฐิ ไม่อาศัยแล้ว
(อนิสฺสิตสฺส จลิตํ นตฺถิ)
เมื่อความหวั่นไหวไม่มี ปัสสัทธิ(ความสงบจากกิเลส) ย่อมมี
(จลิเต อสติ ปสฺสทฺธิ)
เมื่อปัสสัทธิมี นติ(ความน้อมไป) ย่อมไม่มี
(ปสฺสทฺธิยา สติ นติ น โหติ)
เมื่อนติไม่มี อาคติคติ (การมาและการไป) ย่อมไม่มี
(นติยา อสติ อาคติคติ น โหติ)
เมื่ออาคติคติไม่มี จุตูปปาตะ (การเคลื่อนและการเกิดขึ้น) ย่อมไม่มี
(อาคติคติยา อสติ จุตูปปาโต น โหติ)
เมื่อจุตูปปาตะไม่มี อะไรๆ ก็ไม่มีในโลกนี้ ไม่มีในโลกอื่น ไม่มีในระหว่างแห่งโลกทั้งสอง (จุตูปปาเต อสติ เนวิธ น หุรํ น อุภยมนฺตเร)
นั่นแหละ คือที่สุดแห่งทุกข์ละ
(เอเสวนฺโต ทุกฺขสฺส) ดังนี้ แล.
หมวดที่สิบ จบ
หน้า 661
หมวด ๑๑
ว่าด้วยลัทธิ หรือทิฏฐิ ที่ขัดกับปฏิจจสมุปบาท
( มิจฉาทิฏฐิ)
หน้า 664
ลำดับเรื่องเฉพาะหมวด (มี ๑๔ เรื่อง)
มีเรื่อง
1) สัมมาทิฏฐิ คือทิฏฐิที่ปราศจาก อัตถิตา และ นัตถิตา
2) ปฏิจจสมุปบาท มีหลักว่า ไม่มีตนเอง ไม่มีผู้อื่นที่ก่อทุกข
3) แม้ทุกข์ในลัทธิทั้งหลายอื่น ก็มีผัสสะเป็นจุดตั้งต้น
4) พวกกรรมวาทีทุกพวก กับ หลักปฏิจจสมุปบาท
5) เงื่อนงำที่อาจนำไปสู่ สัสสตทิฏฐิ หรืออุจเฉททิฏฐิ ในอาการหนึ่งๆของปฏิจจสมุปบาท
6) โลกายตะ ๔ ชนิด ที่ทรงปฏิเสธ
7) ทิฏฐิชั้นหัวหน้า ๑๘ อย่าง ล้วนแต่ปรารภธรรมที่เป็นฐานะ ๖ อย่าง
8) ทิฏฐิ ๒๖ อย่างล้วนแต่ปรารภขันธ์ห้า
9) อันตคาหิกทิฏฐิสิบ ๒๒๐๐ นัย ล้วนแต่เป็นไปในขันธ์ห้าล้วนแต่ปิดบังการเห็นปฏิจจสมุปบาท
10) ผัสสะคือปัจจัยแห่งทิฏฐิ ๖๒
11) ทิฏฐิ ๖๒ เป็นเพียงความรู้สึกผิดๆของผู้ไม่รู้ปฏิจจสมุปบาท
12) ผัสสะคือที่มาของทิฏฐิ ๖๒
13) ทิฏฐิ ๖๒ เป็นผลของการไม่รู้ปฏิจจสมุปบาท
14) ถ้ารู้ปฏิจจสมุปบาทก็จะไม่เกิดทิฏฐิอย่างพวกตาบอดคลำช้าง
หน้า 665
สัมมาทิฏฐิ คือทิฏฐิที่ปราศจาก
อัตถิตา(ความมี) และนัตถิตา(ความไม่มี)
ครั้งหนึ่งที่เชตวัน ท่านพระกัจจานโคตต์ ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถึงที่ประทับ แล้วทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่กล่าวๆกันว่าสัมมาทิฏฐิ-สัมมาทิฏฐิดังนี้ สัมมาทิฏฐิ ย่อมมีได้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอพระเจ้าข้า?
ดูก่อนกัจจานะ สัตว์โลกนี้ อาศัยแล้วซึ่ง ส่วนสุดทั้งสอง โดยมาก คือส่วนสุดว่า อัตถิตา (ความมี) และส่วนสุดว่า นัตถิตา (ความไม่มี)
ดูก่อนกัจจานะ ส่วนสุดว่า นัตถิตา ย่อมไม่มี แก่บุคคลผู้เห็นอยู่ด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริง ซึ่งธรรมอันเป็นเหตุให้เกิดขึ้นแห่งโลก
ดูก่อนกัจจานะ ส่วนสุดว่า อัตถิตา ย่อมไม่มี แก่บุคคลผู้เห็นอยู่ด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริง ซึ่งธรรมคือความดับไม่เหลือแห่งโลก
ดูก่อนกัจจานะ สัตว์โลกนี้โดยมาก ถูกผูกพันแล้ว ด้วยตัณหา ด้วยอุปาทาน ด้วยทิฏฐิ (อุปายุปาทานาภินิเวสวินิพนฺโธ). แต่ อริยสาวกนี้ ไม่เข้าถึง ไม่ถือเอา ไม่ถึงทับ ซึ่งตัณหา และ อุปาทาน อันเป็นเครื่องถึงทับแห่งใจ อันเป็นอนุสัยแห่งทิฏฐิว่า อัตตาของเรา ดังนี้ ย่อม ไม่สงสัย ย่อมไม่ลังเล ในข้อที่ว่า เมื่อจะเกิด ทุกข์เท่านั้นย่อมเกิดขึ้น เมื่อจะดับ ทุกข์เท่านั้น ย่อมดับ ดังนี้. ญาณในข้อนี้ ย่อมมีแก่อริยสาวกนั้น โดยไม่ต้องเชื่อตามผู้อื่น
ดูก่อนกัจจานะ สัมมาทิฏฐิ ย่อมมีได้ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล
ดูก่อนกัจจานะ คำกล่าวที่ยืนยันลงไปด้วยทิฏฐิว่า สิ่งทั้งปวงมีอยู่ ดังนี้นี้ เป็นส่วนสุดที่หนึ่ง (ไม่ใช่ทางสายกลาง) คำกล่าวที่ยืนยันลงไปด้วยทิฏฐิว่า
สิ่งทั้งปวงไม่มีอยู่ ดังนี้ เป็นส่วนสุดที่สอง(ไม่ใช่ทางสายกลาง) ดูก่อนกัจจานะตถาคต ย่อมแสดงธรรม โดยสายกลาง ไม่เข้าไปหาส่วนสุดทั้งสองนั้น คือตถาคตย่อมแสดงดังนี้ว่า เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย เพราะมีสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ ...ฯลฯ... ...ฯลฯ... เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส อุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.
เพราะความจางคลายดับไป โดยไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว จึงมีความดับแห่งสังขาร เพราะความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ ...ฯลฯ......ฯลฯ... เพราะมีความดับ แห่งชาติ นั่นแหละ ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้ แล.
หน้า 667
ปฏิจจสมุปบาท มีหลักว่าไม่มีตนเอง ไม่มีผู้อื่นที่ก่อทุกข์
ครั้นอเจลกัสสปะ ได้รับพุทธานุญาตให้ทูลถามปัญหาได้ จากพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ได้ทูลถามปัญหาพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ความทุกข์เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำ เอง หรือพระเจ้าข้า? ดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสตอบว่า
อย่ากล่าวอย่างนั้นเลย กัสสปะ ดังนี้.
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ความทุกข์เป็นสิ่งที่บุคคลอื่นกระทำให้หรือพระเจ้าข้า?
อย่ากล่าวอย่างนั้นเลย กัสสปะ
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ความทุกข์เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเองด้วยและบุคคลอื่นกระทำให้ด้วย หรือพระเจ้าข้า?
อย่ากล่าวอย่างนั้นเลย กัสสปะ
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ความทุกข์เป็นสิ่งที่ไม่ใช่ทำเองหรือใครทำให้เกิดขึ้นได้หรือพระเจ้าข้า? อย่ากล่าวอย่างนั้นเลย กัสสปะ
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ความทุกข์ไม่มีหรือพระเจ้าข้า?
ดูก่อนกัสสปะ มิใช่ความทุกข์ไม่มี ที่แท้ ความทุกข์มีอยู่
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้นพระโคดมผู้เจริญ ย่อมไม่รู้ไม่เห็นความทุกข์กระมัง?
ดูก่อนกัสสปะ เราจะไม่รู้ ไม่เห็นความทุกข์ ก็หามิได้. เราแล ย่อมรู้ย่อมเห็น ซึ่งความทุกข์
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระองค์ เมื่อข้าพระองค์ทูลถามว่า `ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ความทุกข์ เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเองหรือพระเจ้าข้า?' ดังนี้ ทรงตอบว่าอย่ากล่าวอย่างนั้นเลย กัสสปะ' ดังนี้
เมื่อข้าพระองค์ทูลถามว่า `ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ความทุกข์เป็นสิ่งที่บุคคลอื่นกระทำให้ หรือ พระเจ้าข้า?' ดังนี้ ทรงตอบว่าอย่ากล่าวอย่างนั้นเลยกัสสปะ' ดังนี้
เมื่อข้าพระองค์ทูลถามว่า `ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ความทุกข์เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเองด้วย และบุคคลอื่นกระทำให้ด้วยหรือ พระเจ้าข้า?' ดังนี้ทรงตอบว่า `อย่ากล่าวอย่างนั้นเลยกัสสปะ' ดังนี้
เมื่อข้าพระองค์ทูลถามว่าข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ความทุกข์เป็นสิ่งที่ไม่ใช่ทำเองหรือใครทำให้ ก็เกิดขึ้นได้หรือพระเจ้าข้า?' ดังนี้ ทรงตอบว่า `อย่ากล่าวอย่างนั้นเลยกัสสปะ' ดังนี้ เมื่อ
ข้าพระองค์ทูลถามว่าข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ความทุกข์ไม่มีหรือพระเจ้าข้า?' ดังนี้ทรงตอบว่าดูก่อนกัสสปะ มิใช่ความทุกข์ไม่มี ที่แท้ความทุกข์มีอยู่' ดังนี้
ครั้นข้าพระองค์ทูลถามว่าข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้นพระโคดมผู้เจริญย่อมไม่รู้ไม่เห็น ความทุกข์กระมัง?' ดังนี้ ก็ยังทรงตอบว่า `ดูก่อนกัสสปะ เราจะไม่รู้ไม่เห็นความทุกข์ก็หามิได้ เราแลย่อมรู้ย่อมเห็นซึ่งความทุกข์' ดังนี้.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงตรัสบอกซึ่ง (เรื่องราวแห่ง) ความทุกข์ และจงทรงแสดงซึ่ง (เรื่องราวแห่ง) ความทุกข์แก่ข้าพระองค์เถิด.
ดูก่อนกัสสปะ เมื่อบุคคลมีความสำคัญมั่นหมายมาแต่ต้นว่า ผู้นั้นกระทำผู้นั้นเสวย (ผล) ดังนี้เสียแล้ว เขามีวาทะ (คือลัทธิยืนยันอยู่) ว่า ความทุกข์เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเอง ดังนี้ นั่นย่อมแล่นไปสู่ (คลองแห่ง) สัสสตะ (ทิฏฐิที่ถือว่าเที่ยง)
ดูก่อนกัสสปะ เมื่อบุคคลถูกเวทนากระทบให้มีความสำคัญมั่นหมายว่า ผู้อื่นกระทำ ผู้อื่นเสวย (ผล) ดังนี้เสียแล้ว เขามีวาทะ(คือลัทธิยืนยันอยู่) ว่า ความทุกข์เป็นสิ่งที่ บุคคลอื่น กระทำให้ ดังนี้ นั่นย่อมแล่นไปสู่ (คลองแห่ง) อุจเฉทะ (ทิฏฐิ ที่ถือว่าขาดสูญ)
ดูก่อนกัสสปะ ตถาคตย่อมแสดงธรรม โดยสายกลาง ไม่เข้าไปหาส่วนสุดทั้งสองนั้น คือตถาคต ย่อมแสดงดังนี้ว่า
เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย
เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ...ฯลฯ...ฯลฯ...ฯลฯ...
เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้น ครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้
เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว จึงมีความดับแห่งสังขาร เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ ...ฯลฯ...ฯลฯ...ฯลฯ... เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะ-โทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้
อเจลกัสสปะนั้น กล่าวสรรเสริญพระธรรมโอวาทนั้นแล้ว ทูลขอบรรพชาอุปสมบท กะพระผู้มี พระภาคเจ้า ครั้นได้อุปสมบทแล้ว ไม่นานนัก ก็ทำให้แจ้งซึ่ง อรหัตตผลอันเป็นที่สุดแห่ง พรหมจรรย์ ได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย ดังนี้ แล
หน้า 670
แม้ทุกข์ในลัทธิทั้งหลายอื่นก็มีผัสสะเป็นจุดตั้งต้น
ดูก่อนอานนท์ คราวหนึ่ง เราอยู่ที่ป่าไผ่ เป็นที่ให้เหยื่อแก่กระแต ใกล้กรุงราชคฤห์ นี่เอง.ครั้งนั้น เวลาเช้า เราครองจีวรถือบาตร เพื่อไปบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ คิดขึ้นมาว่า ยังเช้าเกินไป สำหรับ การบิณฑบาต ในกรุงราชคฤห์ ถ้าไฉนเราเข้าไปสู่อารามของปริพพาชก ผู้เป็นเดียรถีย์ เหล่าอื่น เถิด.
ดูก่อนอานนท์ เราได้เข้าไปสู่อารามของปริพพาชก ผู้เป็นเดียรถีย์เหล่าอื่นกระทำ สัมโมทยียกถา แก่กันและกัน นั่งลง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง
ดูก่อนอานนท์ ปริพพาชกผู้เป็นเดียรถีย์อื่นเหล่านั้น ได้กล่าวแก่เราผู้นั่งแล้วอย่างนี้ว่า ท่านโคตมะ
มีสมณ-พราหมณ์บางพวกที่กล่าวสอนเรื่องกรรม ย่อม บัญญัติความทุกข์ ว่าเป็นสิ่งที่ตนทำเอา ด้วตนเอง
มีสมณพราหมณ์อีกบางพวกที่กล่าวสอนเรื่องกรรม ย่อม บัญญัติความทุกข์ว่า เป็นสิ่งที่ผู้อื่น กระทำให้
มีสมณพราหมณ์อีกบางพวกที่กล่าวสอนเรื่องกรรม ย่อม
บัญญัติความทุกข์ว่า เป็นสิ่งที่ตนทำเอา ด้วยตนเองด้วย ผู้อื่นทำให้ด้วย
มีสมณพราหมณ์อีกบางพวก ที่กล่าวสอนเรื่องกรรม ย่อม บัญญัติความทุกข์ว่า เป็นสิ่งที่ไม่ใช่ ทำเอง หรือ ใครทำให้ก็เกิดขึ้นได้
ในเรื่องนี้ ท่านโคตมะของพวกเรา จะพูดว่าอย่างไร จะกล่าวว่าอย่างไร และพวกเรากล่าวอยู่ อย่างไร จึงจะเป็นอันกล่าวตามคำที่ท่านโคตมะกล่าวแล้ว ไม่เป็นการกล่าวตู่ด้วยคำไม่จริง แต่เป็นการกล่าว โดยถูกต้อง และสหธรรมิกบางคนที่กล่าวตามจะไม่พลอยเป็นผู้ควร ถูกติเตียน ไปด้วย? ดังนี้.
ดูก่อนอานนท์ เราเมื่อถูกถามอย่างนี้แล้ว ได้ตอบแก่ปริพพาชกเหล่านั้นว่าดูก่อนท่านทั้งหลาย ทุกข์นั้นเรากล่าวว่า เป็นเพียงสิ่งที่อาศัยปัจจัยอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วเกิดขึ้น (เรียกว่า ปฏิจจสมุปปันธรรม). ทุกข์นั้น อาศัยปัจจัยอะไรเล่า? ทุกข์นั้น อาศัยปัจจัยคือผัสสะ
ผู้กล่าวอย่างนี้แลชื่อว่ากล่าวตรงตามที่เรากล่าวไม่เป็นการกล่าวตู่เราด้วยคำไม่จริง แต่เป็นการ กล่าวโดยถูกต้อง และสหธรรมิกบางคนที่กล่าวตาม ก็จะไม่พลอยกลายเป็นผู้ควรถูกติไปด้วย.
ดูก่อนท่านทั้งหลาย ในบรรดาสมณพราหมณ์ที่กล่าวสอนเรื่องกรรม ทั้งสี่พวก นั้น
สมณพราหมณ์ ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด บัญญัติความทุกข์ ว่าเป็นสิ่งที่ตนทำเอาด้วยตนเอง แม้ความทุกข์ ที่พวกเขาบัญญัตินั้น ก็ยังต้องอาศัยผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมีได้
สมณพราหมณ์ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด บัญญัติความทุกข์ ว่าเป็นสิ่งที่ผู้อื่นทำให้ แม้ความทุกข์ ที่พวกเขาบัญญัตินั้น ก็ยังต้องอาศัยผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมีได้
สมณพราหมณ์ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด บัญญัติความทุกข์ ว่าเป็นสิ่งที่ตนทำเอาด้วยตนเอง ด้วย ผู้อื่นทำให้ด้วย แม้ความทุกข์ที่พวกเขาบัญญัตินั้น ก็ยังต้องอาศัยผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมีได้
ถึงแม้สมณพรามหณ์ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด บัญญัติความทุกข์ ว่าเป็นสิ่งที่ไม่ใช่ทำเองหรือ ใครทำให้เกิดขึ้นได้ ก็ตาม แม้ความทุกข์ที่พวกเขาบัญญัตินั้น ก็ยังต้องอาศัยผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมีได้ อยู่นั่นเอง.
ดูก่อนท่านทั้งหลาย ในบรรดาสมณพราหมณ์ที่กล่าวสอนเรื่องกรรม ทั้งสี่พวกนั้น
สมณพราหมณ์ ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด บัญญัติความทุกข์ ว่าเป็นสิ่งที่ตนทำเอาด้วยตนเอง สมณพราหมณ์ พวกนั้นหนา เว้นผัสสะเสียแล้ว จะรู้สึกต่อความทุกข์นั้นได้ ดังนั้นหรือ นั่นไม่ใช่ฐานะที่จักมีได้
ถึงแม้สมณพราหมณ์ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด บัญญัติความทุกข์ ว่าเป็นสิ่งที่ผู้อื่นทำให้ ก็ตาม สมณพราหมณ์พวกนั้นหนา เว้นผัสสะเสียแล้ว จะรู้สึกต่อความทุกข์นั้นได้ ดังนั้นหรือ
นั่นไม่ใช่ฐานะที่จักมีได้
ถึงแม้สมณพราหมณ์ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด บัญญัติความทุกข์ว่า เป็นสิ่งที่ตนทำเอาด้วย ตนเอง ด้วย ผู้อื่นทำให้ด้วย ก็ตาม สมณพราหมณ์พวกนั้นหนา เว้นผัสสะ เสียแล้ว จะรู้สึกต่อ ความทุกข์นั้นได้ดังนั้นหรือ
นั่นไม่ใช่ฐานะที่จักมีได้
ถึงแม้สมณพราหมณ์ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด บัญญัติความทุกข์ ว่าที่ไม่ใช่ทำเองหรือใคร ทำให้ก็เกิดขึ้นได้ ก็ตาม สมณพราหมณ์พวกนั้นหนาเว้นผัสสะเสียแล้ว จะรู้สึกต่อความทุกข์นั้นได้ ดังนั้นหรือ นั่นไม่ใช่ฐานะที่จักมีได้ ดังนี้.
หน้า 672
พวกกัมมวาทีทุกพวก กับหลักปฏิจจสมุปบาท
ดูก่อนอานนท์ คราวหนึ่ง เราอยู่ที่ป่าไผ่ เป็นที่ให้เหยื่อแก่กระแต ใกล้กรุงราชคฤห์ นี่เอง.ครั้งนั้น เวลาเช้า เราครองจีวรถือบาตร เพื่อไปบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ คิดขึ้นมาว่า ยังเช้าเกินไป สำหรับการบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ ถ้าไฉนเราเข้าไปสู่อารามของปริพพาชก ผู้เป็นเดียรถีย์เหล่าอื่นเถิด
ดูก่อนอานนท์ เราได้เข้าไปสู่อารามของปริพพาชก ผู้เป็นเดียรถีย์เหล่าอื่นกระทำสัมโมท ยียกถา แก่กันและ กัน นั่งลง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง. ดูก่อนอานนท์ ปริพพาชกผู้เป็นเดียรถีย์อื่นเหล่านั้น ได้กล่าวแก่เราผู้นั่งแล้ว อย่างนี้ว่า ท่านโคตมะ มีสมณ-พราหมณ์บางพวกที่กล่าวสอนเรื่องกรรม ย่อมบัญญัติความทุกข์ว่าเป็นสิ่ง ที่ตนทำเอาด้วยตนเอง มีสมณพราหมณ์อีกบางพวกที่กล่าวสอน เรื่องกรรม ย่อมบัญญัติความทุกข์ว่าเป็น สิ่งที่ผู้อื่นกระทำให้ มีสมณพราหมณ์อีกบางพวกที่ กล่าวสอน เรื่องกรรม ย่อมบัญญัติความทุกข์ว่าเป็นสิ่งที่ตน ทำเอาด้วยตนเองด้วยผู้อื่นทำให้ด้วย
มีสมณพราหมณ์อีกบางพวกที่กล่าวสอนเรื่องกรรม ย่อมบัญญัติความทุกข์ว่าไม่ใช่ทำเอง หรือ ใครทำให้ ก็เกิดขึ้นได้. ในเรื่องนี้ ท่านโคตมะของพวกเราจะพูดว่าอย่างไร จะกล่าวว่าอย่างไร และพวกเรากล่าวอยู่ อย่างไร จึงจะเป็นอันกล่าวตามคำที่ท่านโคตมะกล่าวแล้ว ไม่เป็นการ กล่าวตู่ ด้วยคำไม่จริง แต่เป็นการ กล่าวโดยถูกต้อง และสหธรรมิกบางคนที่กล่าวตาม จะไม่พลอย เป็นผู้ควรถูกติเตียนไปด้วย? ดังนี้.
ดูก่อนอานนท์ เราเมื่อถูกถามอย่างนี้แล้ว ได้ตอบแก่ปริพพาชกเหล่านั้นว่าดูก่อนท่านทั้งหลาย ทุกข์นั้นเรากล่าวว่า เป็นเพียงสิ่งที่อาศัยปัจจัยอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วเกิดขึ้น (เรียกว่า ปฏิจจสมุปปันธรรม). ทุกข์นั้น อาศัยปัจจัยอะไรเล่า? ทุกข์นั้นอาศัยปัจจัยคือผัสสะผู้กล่าวอย่างนี้แล ชื่อว่า กล่าวตรงตามที่เรากล่าว ไม่เป็นการกล่าวตู่เราด้วยคำไม่จริง แต่เป็นการกล่าวโดยถูกต้อง และสหธรรมิกบางคนที่กล่าวตามก็จะไม่พลอย กลายเป็นผู้ควร ถูกติไปด้วย.
ดูก่อนท่านทั้งหลาย ในบรรดาสมณพราหมณ์ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมทั้งสี่พวกนั้นสมณพราหมณ์ ที่กล่าวสอน เรื่องกรรมพวกใด บัญญัติความทุกข์ว่าเป็นสิ่งที่ตนทำเอาด้วยตนเอง แม้ความทุกข์ ที่พวกเขาบัญญัตินั้น ก็ยัง ต้องอาศัยผัสสะเป็นปัจจัยจึงเกิดมีได้
สมณพราหมณ์ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด บัญญัติความ ทุกข์ ว่าเป็นสิ่งที่ผู้อื่นทำให้ แม้ความทุกข์ที่พวกเขาบัญญัตินั้น ก็ยังต้องอาศัยผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิด มีได้
สมณพราหมณ์ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด บัญญัติความทุกข์ว่าเป็นสิ่งที่ตนทำเอา ด้วยตนเอง ด้วยผู้อื่น ทำให้ด้วย แม้ความทุกข์ที่พวกเขาบัญญัตินั้น ก็ยังต้องอาศัยผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมีได้
ถึงแม้สมณ พรามหณ์ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด บัญญัติความทุกข์ว่าเป็นสิ่งที่ไม่ใช่ทำเอง หรือใครทำ ให้เกิดขึ้นได้ก็ตาม แม้ความทุกข์ที่พวกเขาบัญญัตินั้น ก็ยังต้องอาศัยผัสสะ เป็นปัจจัย จึงเกิดมีได้ อยู่นั่นเอง
ดูก่อนท่านทั้งหลาย ในบรรดาสมณพราหมณ์ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมทั้งสี่พวกนั้น สมณพราหมณ์ ที่กล่าว สอนเรื่องกรรมพวกใด บัญญัติความทุกข์ ว่าเป็นสิ่งที่ตนทำเอาด้วยตนเอง สมณพราหมณ์พวกนั้นหนา เว้นผัสสะเสียแล้ว จะรู้สึกต่อความทุกข์นั้นได้ ดังนั้นหรือ นั่นไม่ใช่ฐานะ ที่จักมีได้
ถึงแม้สมณพราหมณ์ ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด บัญญัติความทุกข์ ว่าเป็นสิ่งที่ผู้อื่นทำให้ ก็ตาม หมณพราหมณ์พวกนั้นหนา เว้นผัสสะเสียแล้ว จะรู้สึกต่อความทุกข์นั้นได้ ดังนั้นหรือ นั่นไม่ใช่ฐานะ ที่จักมีได้
ถึงแม้สมณพราหมณ์ ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด บัญญัติความทุกข์ว่าเป็นสิ่งที่ตนทำเอา ด้วยตนเองด้วย ผู้อื่นทำให้ด้วย ก็ตาม สมณพราหมณ์พวกนั้นหนาเว้นผัสสะเสียแล้ว จะรู้สึกต่อความทุกข์นั้นได้ดังนั้นหรือ นั่นไม่ใช่ฐานะ ที่จักมีได้
ถึงแม้สมณพราหมณ์ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด บัญญัติความทุกข์ว่าไม่ใช่ทำเอง หรือ ใครทำให้ ก็เกิดขึ้น ได้ ก็ตาม สมณพราหมณ์พวกนั้นหนาเว้นผัสสะเสียแล้ว จะรู้สึกต่อความทุกข์นั้นได้ ดังนั้นหรือ นั่นไม่ใช่ฐานะ ที่จักมีได้
น่าอัศจรรย์พระเจ้าข้า ไม่เคยมีแล้วพระเจ้าข้า คือข้อที่ในกาลใดอรรถะทั้งปวง จักเป็นอรรถะ ที่พระผู้มี พระ ภาคตรัสแล้วด้วยบทเพียงบทเดียว (ว่าผัสสะ) และอรรถะนั้นจึงพึงเป็นอรรถะ ที่เมื่อกล่าวโดยพิสดารแล้วจะพึงเป็นของลึกซึ้งด้วยมีลักษณะดูลึกซึ้งด้วยไหมพระเจ้าข้า?
ดูก่อนอานนท์ ถ้าอย่างนั้น คำตอบในกรณีนี้ จงแจ่มแจ้งกะเธอเองเถิด.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าคนทั้งหลายจะพึงถามข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านอานนท์ ชรามรณะมีอะไรเป็นเหตุให้เกิด? มีอะไรเป็นเครื่องก่อให้เกิด? มีอะไรเป็นเครื่องกำเนิด? มีอะไรเป็นแดนเกิด?' ดังนี้.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้จะตอบแก่เขาอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านทั้งหลาย ชรามรณะ มีชาติเป็นเหตุให้เกิด มีชาติเป็นเครื่องก่อให้เกิดมีชาติเป็นเครื่องกำเนิด มีชาติ เป็นแดนเกิด ดังนี้. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้แล้วจะตอบแก่เขาอย่างนี้.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าคนทั้งหลายจะพึงถามข้าพระองค์อย่างนี้ว่า
ข้าแต่ท่านอานนท์ ชรามรณะมีอะไรเป็นเหตุให้เกิด? มีอะไรเป็นเครื่องก่อให้เกิด? มีอะไรเป็นเครื่องกำเนิด? มีอะไรเป็นแดนเกิด?' ดังนี้. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ถูกถาม อย่างนี้จะตอบแก่เขาอย่างนี้ว่าดูก่อนท่านทั้งหลาย ชาติ มีภพเป็นเหตุให้เกิด มีภพเป็นเครื่อง ก่อ ให้เกิดมีภพเป็นเครื่องกำเนิดมีภพเป็นแดนเกิด' ดังนี้.ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้แล้วจะตอบแก่เขาอย่างนี้.
...ฯลฯ... ภพมีอุปาทานเป็นเหตุให้เกิด ...ฯลฯ...ฯลฯ...
...ฯลฯ... อุปาทานมีตัณหาเป็นเหตุให้เกิด ...ฯลฯ...ฯลฯ...
...ฯลฯ... ตัณหามีเวทนาเป็นเหตุให้เกิด ...ฯลฯ...ฯลฯ...
...ฯลฯ... เวทนาผัสสะเป็นเหตุให้เกิด ...ฯลฯ...ฯลฯ...
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าคนทั้งหลายจะพึงถามข้าพระองค์(ต่อไปอีก) อย่างนี้ว่าข้าแต่ท่านอานนท์ ก็ผัสสะเล่ามีอะไรเป็นเหตุให้เกิด? มีอะไรเป็นเครื่องก่อให้เกิด?
มีอะไรเป็นเครื่องกำเนิด? มีอะไรเป็นแดนเกิด?' ดังนี้. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ถูกถาม อย่างนี้จะตอบแก่เขาอย่างนี้ว่า `ดูก่อนท่านทั้งหลาย ผัสสะ มีสฬายตนะเป็นเหตุให้เกิด มสฬายตนะเป็นเครื่องก่อให้เกิดมีสฬายตนะเป็นเครื่องกำเนิดมีสฬายตนะเป็นแดนเกิด.
ดูก่อนท่านทั้งหลาย
เพราะ ความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งผัสสา-ยตนะทั้งหกนั่นแหละ จึงมีความดับแห่งผัสสะ
เพราะมีความดับแห่งผัสสะจึงมีความดับแห่งเวทนา เพราะมีความดับแห่งเวทนาจึงมีความดับแห่งตัณหา เพราะมีความดับแห่งตัณหาจึงมีความดับแห่งอุปาทาน
เพราะมีความดับแห่ง อุปาทานจึงมีความดับแห่งภพ เพราะมีความดับแห่งภพจึงมีความดับแห่งชาติ
เพราะมีความดับแห่งชาติ นั่นแลชรามรณะโสกะปริเทวะ
ทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลายจึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้แล้วจะตอบแก่เขาอย่างนี้ ดังนี้.
หน้า 676
เงื่อนงำที่อาจนำไปสู่สัสสตทิฏฐิ
หรือ อุจเฉททิฏฐิในอาการหนึ่ง ๆ ของปฏิจจสมุปบาท
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญ ญ าณ ฯลฯ..ฯลฯ..ฯลฯ...เพราะมีชาติเป็นปัจจัย
ชรามรณะ โสกะปริเทวะโทมนัส อุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค เจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชรามรณะเป็นอย่างไรหนอ? และชรามรณะนี้เป็นของใคร? พระเจ้าข้า
พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสว่า นั่นเป็นปัญหาที่ไม่ควรจะเป็นปัญหาเลย ดูก่อนภิกษุบุคคล ใดจะพึงกล่าว เช่นนี้ว่า `ชรามรณะ เป็นอย่างไร และชรามรณะนี้ เป็นของใคร'ดังนี้ก็ดี หรือว่า บุคคลใดจะพึงกล่าวเช่นนี้ว่า `ชรามรณะเป็นอย่างอื่น ( ตรงกันข้ามจากที่กล่าวว่า เป็นอย่างไร ตามนัยแรก)และชรามรณะนี้ เป็นของผู้อื่น ( ตรงกันข้ามจากที่กล่าวว่าเป็นของใครตามนัยแรก) ดังนี้ก็ดี คำกล่าวของบุคคลทั้งสองนั้น มี อรรถ (ความหมาย เพื่อการยึดมั่นถือมั่น) อย่างเดียวกัน ต่างกันแต่เพียงพยัญชนะ (เสียงที่กล่าว) เท่านั้น.
ดูก่อนภิกษุ เมื่อทิฏฐิว่า `ชีวะก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น' ดังนี้ก็ดี มีอยู่ การอยู่อย่างประพฤติ พรหมจรรย์ ก็ไม่มี. ดูก่อนภิกษุ หรือว่า เมื่อทิฏฐิว่า ชีวะก็อันอื่นสรีระก็อันอื่นดังนี้ก็ดี มีอยู่ การอยู่อย่างประพฤติพรหมจรรย์ ก็ไม่มี.๒ ดูก่อนภิกษุ
ตถาคต ย่อมแสดงธรรม โดยสายกลาง ไม่เข้าไปหาส่วนทั้งสองนั้น คือตถาคต ย่อมแสดง ดังนี้ว่า เพราะมี ชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรามรณะ' ดังนี้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชาติเป็นอย่างไรหนอ? และชาตินี้ เป็นของใคร? พระเจ้าข้า
นั่นเป็นปัญหาที่ไม่ควรจะเป็นปัญหาเลย ดูก่อนภิกษุ บุคคลใดจะพึงกล่าวเช่นนี้ว่า ชาติเป็น อย่างไร และชาตินี้เป็นของใคร ดังนี้ก็ดี หรือว่าบุคคลใดจะพึงกล่าวเช่นนี้ว่า ชาติเป็นอย่างอื่น
ดูก่อนภิกษุ เมื่อทิฏฐิว่า ชีวะก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น ดังนี้ก็ดี มีอยู่การอยู่อย่างประพฤติ พรหมจรรย์ ก็ไม่มี. ดูก่อนภิกษุ หรือว่า เมื่อทิฏฐิว่า ชีวะก็อันอื่นสรีระก็อันอื่น ดังนี้ก็ดี มีอยู่ การอยู่อย่าง ประพฤติพรหมจรรย์ ก็ไม่มี.
ดูก่อนภิกษุตถาคตย่อมแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่เข้าไปหาส่วนสุดทั้งสองนั้น คือ ตถาคต ย่อม แสดง ดังนี้ว่า เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ ดังนี้.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภพเป็นอย่างไรหนอ? และภพนี้ เป็นของใคร? พระเจ้าข้า นั่นเป็น ปัญหาที่ไม่ควร จะเป็นปัญหาเลย
ดูก่อนภิกษุ บุคคลใดจะพึงกล่าวเช่นนี้ว่า ภพเป็นอย่างไร และภพนี้เป็นของใคร ดังนี้ก็ดี หรือว่าบุคคลใด
จะพึงกล่าวเช่นนี้ว่า ภพเป็นอย่างอื่น (ตรงกันข้ามจากที่กล่าวว่าเป็นอย่างไร ตามนัยแรก) และภพนี้ เป็นของผู้อื่น
ดูก่อนภิกษุ เมื่อทิฏฐิว่า ชีวะก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น ดังนี้ก็ดี มีอยู่การอยู่อย่างประพฤติ พรหมจรรย์ ก็ไม่มี. ดูก่อนภิกษุ หรือว่า เมื่อทิฏฐิว่า ชีวะก็อันอื่นสรีระก็อันอื่น ดังนี้ก็ดี มีอยู่ การอยู่อย่าง ประพฤติ พรหมจรรย์ ก็ไม่มี
ดูก่อนภิกษุตถาคตย่อมแสดงธรรม โดยสายกลาง ไม่เข้าไปหาส่วนสุดทั้งสองนั้น คือตถาคต ย่อมแสดง ดังนี้ว่า เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ ดังนี้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุปาทานเป็นอย่างไรหนอ? และอุปาทานนี้เป็นของใคร? พระเจ้าข้า
นั่นเป็นปัญหาที่ไม่ควรจะเป็นปัญหาเลย ดูก่อนภิกษุ บุคคลใดจะพึงกล่าวเช่นนี้ว่า อุปาทาน เป็นอย่างไร และอุปาทานนี้เป็นของใคร ดังนี้ก็ดี หรือว่าบุคคลใดจะพึงกล่าวเช่นนี้ว่าอุปาทาน เป็นอย่างอื่น (ตรงกัน ข้ามจากที่กล่าวว่าเป็นอย่างไรตามนัยแรก) และ อุปาทานนี้เป็นของผู้อื่น ( ตรงกันข้ามจาก ที่กล่าวว่าเป็น ของใครตามนัยแรก) ดังนี้ก็ดี คำกล่าวของบุคคลทั้งสองนั้น มี อรรถ (ความหมายเพื่อการยึดมั่น ถือมั่น) อย่างเดียวกัน ต่างกันแต่เพียงพยัญชนะ (เสียงที่กล่าว) เท่านั้น
ดูก่อนภิกษุ เมื่อทิฏฐิว่า ชีวะก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น ดังนี้ก็ดี มีอยู่การอยู่อย่างประพฤติ พรหมจรรย์ ก็ไม่มี. ดูก่อนภิกษุ หรือว่า เมื่อทิฏฐิว่า ชีวะก็ อันอื่น สรีระก็อันอื่น ดังนี้ก็ดี มีอยู่ การอยู่อย่าง ประพฤติพรหมจรรย์ ก็ไม่มี. ดูก่อนภิกษุตถาคต ย่อม แสดง ธรรมโดยสายกลาง ไม่เข้าไปหา ส่วนสุดทั้งสองนั้น คือ ตถาคตย่อมแสดง ดังนี้ว่า เพราะมีตัณหาเป็น ปัจจัย จึงมีอุปาทาน ดังนี้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ตัณหาเป็นอย่างไรหนอ? และตัณหานี้เป็นของใคร? พระเจ้าข้า
นั่นเป็นปัญหาที่ไม่ควรจะเป็นปัญหาเลย ดูก่อนภิกษุ บุคคลใดจะพึงกล่าวเช่นนี้ว่าตัณหา เป็นอย่างไร และตัณหานี้เป็นของใคร ดังนี้ก็ดี หรือว่าบุคคลใดจะพึงกล่าวเช่นนี้ว่าตัณหา เป็นอย่างอื่น (ตรงกันข้าม จากที่กล่าวว่าเป็นอย่างไร ตามนัยแรก) และตัณหานี้เป็นของผู้อื่น ( ตรงกันข้ามจากที่กล่าวว่าเป็นของใครตามนัยแรก) ดังนี้ก็ดี คำกล่าวของบุคคลทั้งสองนั้นมี อรรถ (ความหมายเพื่อการยึดมั่นถือมั่น) อย่างเดียวกัน ต่างกันแต่เพียงพยัญชนะ (เสียงที่กล่าว) เท่านั้น
ดูก่อนภิกษุ เมื่อทิฏฐิว่า ชีวะก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น ดังนี้ก็ดี มีอยู่การอยู่อย่างประพฤติพรหมจรรย์ ก็ไม่มี. ดูก่อนภิกษุ หรือว่า เมื่อทิฏฐิว่า ชีวะก็อันอื่นสรีระก็อันอื่น ดังนี้ก็ดี มีอยู่ การอยู่อย่าง ประพฤติพรหมจรรย์ ก็ไม่มี. ดูก่อนภิกษุ ตถาคตย่อมแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่เข้าไปหา ส่วนสุด ทั้งสองนั้น คือ ตถาคตย่อม แสดงดังนี้ว่า เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา ดังนี้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เวทนาเป็นอย่างไรหนอ? และเวทนานี้เป็นของใคร? พระเจ้าข้า
ดูก่อนภิกษุ เมื่อทิฏฐิว่า ชีวะก็อันนั้นสรีระก็อันนั้น ดังนี้ก็ดี มีอยู่การอยู่อย่างประพฤติพรหมจรรย์ ก็ไม่มี. ดูก่อนภิกษุ หรือว่า เมื่อทิฏฐิว่า ชีวะก็อันอื่นสรีระก็อันอื่น ดังนี้ก็ดี มีอยู่การอยู่อย่าง ประพฤติพรหมจรรย์ ก็ไม่มี
ดูก่อนภิกษุ ตถาคตย่อมแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่เข้าไปหาส่วนสุดทั้งสองนั้นคือตถาคต ย่อมแสดง ดังนี้ว่า เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ ดังนี้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สฬายตนะเป็นอย่างไรหนอ? และสฬายตนะนี้เป็นของใคร? พระเจ้าข้า
นั่นเป็นปัญหาที่ไม่ควรจะเป็นปัญหาเลย ดูก่อนภิกษุ บุคคลใดจะพึงกล่าวเช่นนี้ว่า สฬายตนะ เป็นอย่างไรและสฬายตนะนี้เป็นของใคร ดังนี้ก็ดีหรือว่าบุคคลใดจะพึงกล่าวเช่นนี้ว่า สฬายตนะ เป็นอย่างอื่น(ตรงกัน ข้ามจากที่กล่าวว่าเป็นอย่างไร ตามนัยแรก) และสฬายตนะนี้เป็นของผู้อื่น
(ตรงกันข้ามจากที่กล่าวว่าเป็น ของใคร ตามนัยแรก) ดังนี้ก็ดี คำกล่าวของบุคคลทั้งสองนั้น มี อรรถ (ความหมายเพื่อการยึดมั่น ถือมั่น) อย่างเดียวกัน ต่างกันแต่เพียงพยัญชนะ (เสียงที่กล่าว) เท่านั้น
ดูก่อนภิกษุ เมื่อทิฏฐิว่า ชีวะก็อันนั้นสรีระก็อันนั้น ดังนี้ก็ดี มีอยู่การอยู่อย่างประพฤติพรหมจรรย์ ก็ไม่มี. ดูก่อนภิกษุ หรือว่า เมื่อทิฏฐิว่า ชีวะก็อันอื่นสรีระก็อันอื่น ดังนี้ก็ดี มีอยู่การอยู่อย่าง ประพฤติ พรหมจรรย์ ก็ไม่มี
ดูก่อนภิกษุ ตถาคตย่อมแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่เข้าไปหาส่วนสุดทั้งสองนั้นคือตถาคต ย่อมแสดง ดังนี้ว่า เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ ดังนี้.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นามรูปเป็นอย่างไรหนอ? และนามรูปนี้เป็นของใคร?พระเจ้าข้านั่นเป็น ปัญหา ที่ไม่ควรจะเป็นปัญหาเลย ดูก่อนภิกษุ บุคคลใดจะพึงกล่าวเช่นนี้ว่า นามรูปเป็นอย่างไร และนามรูปนี้เป็นของใคร ดังนี้ก็ดี หรือว่าบุคคลใดจะพึงกล่าวเช่นนี้ว่า นามรูปเป็นอย่างอื่น ( ตรงกันข้ามจาก ที่กล่าวว่าเป็นอย่างไร ตามนัยแรก) และนามรูปนี้เป็นของผู้อื่น ( ตรงกันข้ามจาก ที่กล่าวว่าเป็นของใคร ตามนัยแรก) ดังนี้ก็ดี คำกล่าวของบุคคลทั้งสองนั้นมี อรรถ (ความหมาย เพื่อการยึดมั่นถือมั่น) อย่างเดียวกัน ต่างกันแต่เพียงพยัญชนะ (เสียงที่กล่าว) เท่านั้น
ดูก่อนภิกษุ เมื่อทิฏฐิว่า ชีวะก็อันนั้นสรีระก็อันนั้น ดังนี้ก็ดี มีอยู่ การอยู่อย่างประพฤติพรหม จรรย์ก็ไม่มี. ดูก่อนภิกษุ หรือว่า เมื่อทิฏฐิว่า ชีวะก็อันอื่นสรีระก็อันอื่น ดังนี้ก็ดี มีอยู่การอยู่อย่าง ประพฤติพรหมจรรย์ ก็ไม่มี
ดูก่อนภิกษุตถาคตย่อมแสดงธรรม โดยสายกลาง ไม่เข้าไปหาส่วนสุดทั้งสองนั้นคือ ตถาคต ย่อมแสดง ดังนี้ว่า เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป ดังนี้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วิญญาณเป็นอย่างไรหนอ? และวิญญาณนี้เป็นของใคร? พระเจ้าข้า นั่นเป็น ปัญหา ที่ไม่ควรจะเป็นปัญหาเลย ดูก่อนภิกษุ บุคคลใดจะพึงกล่าวเช่นนี้ว่า วิญญาณเป็นอย่างไร และวิญญาณนี้เป็นของใคร ดังนี้ก็ดี หรือว่าบุคคลใดจะพึงกล่าวเช่นนี้ว่าวิญญาณ เป็นอย่างอื่น ( ตรงกันข้ามจากที่กล่าวว่าเป็นอย่างไรตามนัยแรก) และวิญญาณนี้เป็นของผู้อื่น( ตรงกันข้ามจาก ที่กล่าวว่าเป็นของใครตามนัยแรก) ดังนี้ก็ดี คำกล่าวของบุคคลทั้งสองนั้น มี อรรถ (ความหมาย เพื่อการยึดมั่นถือมั่น) อย่างเดียวกัน ต่างกันแต่เพียงพยัญชนะ(เสียงที่กล่าว) เท่านั้น
ดูก่อนภิกษุ เมื่อทิฏฐิว่า ชีวะก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น ดังนี้ก็ดี มีอยู่การอยู่อย่างประพฤติ พรหม จรรย์ ก็ไม่มี. ดูก่อนภิกษุ หรือว่า เมื่อทิฏฐิว่า ชีวะก็อันอื่น สรีระก็อันอื่น ดังนี้ก็ดี มีอยู่ การอยู่ อย่าง ประพฤติพรหมจรรย์ ก็ไม่มี. ดูก่อนภิกษุ ตถาคตย่อมแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่เข้าไปหา ส่วนสุดทั้งสองนั้น คือตถาคตย่อม แสดงดังนี้ว่า เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมี วิญญาณ ดังนี้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สังขารทั้งหลายเป็นอย่างไรหนอ? และสังขารทั้งหลายเหล่านี้ เป็นของใคร? พระเจ้าข้า
นั่นเป็นปัญหาที่ไม่ควรจะเป็นปัญหาเลย ดูก่อนภิกษุ บุคคลใดจะพึงกล่าวเช่นนี้ว่าสังขาร ทั้งหลายเป็นอย่างไรและสังขารทั้งหลายเหล่านี้เป็นของใครดังนี้ก็ดี หรือว่าบุคคลใดจะพึง กล่าวเช่นนี้ว่า สังขาร ทั้งหลายเป็นอย่างอื่น
ดูก่อนภิกษุ เมื่อทิฏฐิว่า ชีวะก็อันนั้นสรีระก็อันนั้น ดังนี้ก็ดี มีอยู่การอยู่อย่างประพฤติพรหมจรรย์ ก็ไม่มี. ดูก่อนภิกษุ หรือว่า เมื่อทิฏฐิว่า ชีวะก็อันอื่นสรีระก็อันอื่น ดังนี้ก็ดี มีอยู่การอยู่อย่าง ประพฤติพรหมจรรย์ ก็ไม่มี.
ดูก่อนภิกษุตถาคตย่อมแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่เข้าไปหาส่วนสุดทั้งสองนั้น คือตถาคต ย่อม แสดง ดังนี้ว่า เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย ดังนี้
ดูก่อนภิกษุ เพราะความจางคลายดับไปไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเองทิฏฐิทั้งหลาย บรรดามี มิว่าชนิดใด ชนิดหนึ่ง ที่ดำเนินไปผิดทาง อันบุคคลเสพผิดแล้วดิ้นรนไปผิดแล้วว่า ชรามรณะ เป็นอย่างไรและชรา มรณะนี้เป็นของใคร ดังนี้ก็ดีหรือว่า ชรามรณะเป็นอย่างอื่น ( ตรงกันข้าม จากที่กล่าวว่าเป็นอย่างไร ตามนัยแรก)และชรามรณะนี้เป็นของผู้อื่น ( ตรงกันข้ามจากที่กล่าว ว่าเป็นของใคร ตามนัยแรก)
ดังนี้ก็ดี หรือว่า ชีวะก็อันนั้นสรีระก็อันนั้น ดังนี้ก็ดี หรือว่า ชีวะก็อันอื่นสรีระก็อันอื่น ดังนี้ก็ดี ทิฏฐิ ทั้งหมดนั้น เป็นธรรมอันบุคคลนั้นละได้แล้ว มีรากเง่าอันเขาตัดขาดแล้ว อันเขาทำให้ เหมือนตาล มีขั้วยอดอันเน่าแล้ว ถึงซึ่งความมีไม่ได้แล้ว ทำให้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ได้อีก ต่อไป
ดูก่อนภิกษุ เพราะความจางคลายดับไปไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเองทิฏฐิทั้งหลาย บรรดามี มิว่าชนิด ใดชนิดหนึ่ง ที่ดำเนินไปผิดทาง อันบุคคลเสพผิดแล้วดิ้นรนไปผิดแล้วว่า ชาติ เป็น อย่างไร และชาตินี้ เป็นของใคร ดังนี้ก็ดี หรือว่าชาติเป็นอย่างอื่น
ทิฏฐิทั้งหมดนั้น เป็นธรรมอันบุคคลนั้นละได้แล้ว มีรากเง่าอันเขาตัดขาดแล้วอันเขา ทำให้ เหมือน ตาลมีขั้วยอดอันเน่าแล้ว ถึงซึ่งความมีไม่ได้แล้ว ทำให้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ได้อีกต่อไป
ดูก่อนภิกษุ เพราะความจางคลายดับไปไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเอง ทิฏฐิทั้งหลาย บรรดามี มิว่าชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่ดำเนินไปผิดทาง อันบุคคลเสพผิดแล้วดิ้นรนไปผิดแล้วว่า ภพเป็นอย่างไร...ฯลฯ...ฯลฯ... เขาทำให้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ได้อีกต่อไป (คำที่ละเปยยาลนี้ พึงเทียบดูกับข้อที่แล้วมา)
ดูก่อนภิกษุ เพราะความจางคลายดับไปไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเองทิฏฐิทั้งหลาย บรรดามี มิว่าชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่ดำเนินไปผิดทาง อันบุคคลเสพผิดแล้วดิ้นรนไปผิดแล้วว่า อุปาทานเป็นอย่างไร...ฯลฯ...ฯลฯ... เขาทำให้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ได้อีกต่อไป
ดูก่อนภิกษุ เพราะความจางคลายดับไปไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเองทิฏฐิทั้งหลาย บรรดามี มิว่าชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่ดำเนินไปผิดทาง อันบุคคลเสพผิดแล้วดิ้นรนไปผิดแล้วว่า ตัณหา เป็นอย่างไร ...ฯลฯ...ฯลฯ... เขาทำให้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ได้อีกต่อไป
ดูก่อนภิกษุ เพราะความจางคลายดับไปไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเองทิฏฐิทั้งหลาย บรรดามี มิว่าชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่ดำเนินไปผิดทาง อันบุคคลเสพผิดแล้วดิ้นรนไปผิดแล้วว่า เวทนา เป็นอย่างไร ...ฯลฯ...ฯลฯ... เขาทำให้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ได้อีกต่อไป
ดูก่อนภิกษุ เพราะความจางคลายดับไปไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเองทิฏฐิทั้งหลาย บรรดามี มิว่าชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่ดำเนินไปผิดทาง อันบุคคลเสพผิดแล้วดิ้นรนไปผิดแล้วว่า ผัสสะ เป็นอย่างไร ...ฯลฯ...ฯลฯ... เขาทำให้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ได้อีกต่อไป
ดูก่อนภิกษุ เพราะความจางคลายดับไปไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเองทิฏฐิทั้งหลาย บรรดามี มิว่าชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่ดำเนินไปผิดทาง อันบุคคลเสพผิดแล้วดิ้นรนไปผิดแล้วว่า สฬายตนะ เป็นอย่างไร ...ฯลฯ...ฯลฯ... เขาทำให้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ได้อีกต่อไป
ดูก่อนภิกษุ เพราะความจางคลายดับไปไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเองทิฏฐิทั้งหลาย บรรดามี มิว่าชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่ดำเนินไปผิดทาง อันบุคคลเสพผิดแล้วดิ้นรนไปผิดแล้วว่า นามรูป เป็นอย่างไร ...ฯลฯ...ฯลฯ... เขาทำให้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ได้อีกต่อไป
ดูก่อนภิกษุ เพราะความจางคลายดับไปไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเองทิฏฐิทั้งหลาย บรรดามี มิว่าชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่ดำเนินไปผิดทาง อันบุคคลเสพผิดแล้วดิ้นรนไปผิดแล้วว่า วิญญาณเป็นอย่างไร...ฯลฯ...ฯลฯ... เขาทำให้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ได้อีกต่อไป
ดูก่อนภิกษุ เพราะความจางคลายดับไปไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเองทิฏฐิทั้งหลาย บรรดามี มิว่าชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่ดำเนินไปผิดทาง อันบุคคลเสพผิดแล้วดิ้นรนไปผิดแล้วว่า
สังขารทั้งหลายเป็นอย่างไรและสังขารทั้งหลายเหล่านี้เป็นของใครดังนี้ก็ดี หรือว่า สังขาร ทั้งหลาย เป็นอย่างอื่น ( ตรงกันข้ามจากที่กล่าวว่าเป็นอย่างไรตามนัยแรก) และสังขารนี้เป็นของ ผู้อื่น (ตรงกันข้าม จากที่กล่าวว่าเป็นของใคร ตามนัยแรก) ดังนี้ก็ดี หรือว่า ชีวะก็อันนั้นสรีระ ก็อันนั้น ดังนี้ก็ดี หรือว่า
ชีวะก็อันอื่นสรีระก็อันอื่น ดังนี้ก็ดี ทิฏฐิทั้งหมดนั้น เป็นธรรมอันบุคคลนั้นละได้แล้ว มีรากเง่า อันเขา ตัด ขาดแล้ว อันเขาทำให้เหมือนตาลมีขั้วยอดอันเน่าแล้ว ถึงซึ่ง ความมีไม่ได ้แล้ว ทำให้เป็นสิ่งที่ เกิดขึ้นไม่ได้อีกต่อไป ดังนี้ แล
หน้า 688
โลกายตะ ๔ ชนิด ที่ทรงปฏิเสธ
โลกายติกพราหมณ์ ได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วทูลถามว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ สิ่งทั้งปวงมีอยู่หรือหนอ?
พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสตอบว่า ดูก่อนพราหมณ์ คำกล่าวที่ยืนยันลงไปด้วยทิฏฐิว่า สิ่งทั้งปวงมีอยู่' ดังนี้ นี้ เป็น ลัทธิโลกายตะ ชั้นสุดยอด
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็สิ่งทั้งปวงไม่มีอยู่หรือ?
ดูก่อนพราหมณ์ คำกล่าวที่ยืนยันลงไปด้วยทิฏฐิว่า `สิ่งทั้งปวง ไม่มีอยู่' ดังนี้ นี้ เป็น ลัทธิโลกายตะ อย่างที่สอง
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ สิ่งทั้งปวงมีสภาพเป็นอย่างเดียวกันหรือ?
ดูก่อนพราหมณ์ คำกล่าวที่ยืนยันลงไปด้วยทิฏฐิว่า สิ่งทั้งปวงมีสภาพต่างกัน' ดังนี้ นี้ เป็น ลัทธิโลกายตะ อย่างที่สาม
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ สิ่งทั้งปวงมีสภาพเป็นต่างกันหรือ?
ดูก่อนพราหมณ์ คำกล่าวที่ยืนยันลงไปด้วยทิฏฐิว่าสิ่งทั้งปวงมีสภาพต่างกัน' ดังนี้ นี้ เป็นลัทธิโลกายตะอย่างที่สี่
ดูก่อนพราหมณ์ ตถาคต ย่อมแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่เข้าไปหาส่วนสุดทั้งสองนั้น คือตถาคต ย่อมแสดงดังนี้ว่า เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย เพราะมีสังขาร เป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ...ฯลฯ...ฯลฯ...ฯลฯ... เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน
ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.
เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว จึงมีความดับแห่งสังขาร เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ ...ฯลฯ...ฯลฯ...ฯลฯ... เพราะมีความดับ แห่งชาตินั่นแหละ ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะ-โทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลง แห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้.
พราหมณ์นั้น กล่าวสรรเสริญพระธรรมโอวาทนั้นแล้ว ประกาศตนเป็นผู้รับนับถือพระพุทธศาสนา จนตลอดชีวิต ดังนี้ แล.
หน้า 690
ทิฏฐิชั้นหัวหน้า ๑๘ อย่างล้วนแต่ปรารภธรรมที่เป็นฐานะ ๖ อย่าง
ทิฏฐิที่ ๑ เอสิกัฏฐายิฏฐิตสัสสตทิฏฐิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่หนอ เพราะเข้าไปยึดถือซึ่งอะไร เพราะปักใจเข้าไปสู่อะไร ทิฏฐิ จึงเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ลมก็ไม่พัด แม่น้ำก็ไม่ไหล สตรีมีครรภ์ก็ไม่คลอด พระจันทร์และ พระอาทิตย์ ก็ไม่ขึ้นไม่ตก แต่ละอย่าง ๆ เป็นของตั้งอยู่อย่างมั่นคง ดุจการตั้งอยู่ของ เสาระเนียด ดังนี้ ?
ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น กราบทูลวิงวอนว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลายของพวก ข้าพระองค์ มีพระผู้มีพระภาคเป็นมูล มีพระผู้พระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึง. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เป็นการชอบแล้วหนอ ขอให้อรรถแห่งภาษิตนั้น จงแจ่มแจ้งกะพระผู้มี พระภาค เองเถิด ภิกษุทั้งหลายได้ฟัง จากพระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้ ดังนี้. พระผู้มี พระภาคเจ้า จึงตรัสเตือนให้ภิกษุ ทั้งหลายเหล่านั้น ตั้งใจฟังด้วยดีแล้ว ได้ตรัสข้อความดัง ต่อไปนี้ -
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อรูปนั่นแล มีอยู่ เพราะเข้าไปยึดถือซึ่งรูปเพราะปักใจเข้าไปสู่รูป ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น อย่างนี้ว่า ลมไม่พัด แม่น้ำก็ไม่ไหล สตรีมีครรภ์ก็ไม่คลอด พระจันทร์และ พระอาทิตย์ ก็ไม่ขึ้นไม่ตก แต่ละ อย่าง ๆ เป็นของตั้งอยู่อย่างมั่นคงดุจการตั้งอยู่ของเสาระเสียด ดังนี้. (ในกรณีแห่งเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็มีถ้อยคำที่ตรัสอย่างเดียวกันทุกตัวอักษรกับ ในกรณีแห่งรูปนี้ต่างกันแต่เพียงชื่อแห่งขันธ์ แต่ละ ขันธ์เท่านั้น).
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้น ว่าอย่างไร? รูปเที่ยงหรือไม่
เที่ยง? (ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า) ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า? (เป็นทุกข์พระเจ้าข้า) แม้สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา แต่ถ้า ไม่เข้าไปยึดถือ ซึ่งสิ่งนั้นแล้วไซร้ ทิฏฐิอย่างนี้ จะเกิดขึ้นได้ไหมว่า ลมก็ไม่พัด แม่น้ำก็ไม่ไหล สตรีมีครรภ์ ก็ไม่คลอด พระจันทร์และพระอาทิตย์ก็ไม่ขึ้น ไม่ตก แต่ละอย่าง ๆเป็นของตั้งอยู่ อย่างมั่นคง ดุจการตั้งอยู่ของเสาระเนียด ดังนี้? (ข้อนั้นหามิได้พระเจ้าข้า) (ในกรณีแห่งเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็มีถ้อยคำที่ตรัสถามและพวกภิกษุทูลตอบ อย่างเดียวกันทุกตัวอักษร กับใน กรณีแห่งรูปนี้ ต่างกันแต่เพียงชื่อแห่งขันธ์แต่ละขันธ์ เท่านั้น).
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้สิ่งใดที่บุคคลได้เห็นแล้ว ฟังแล้ว รู้สึกแล้วรู้แจ้งแล้ว บรรลุแล้ว แสวง หาแล้ว ครุ่น คิดอยู่ด้วยใจแล้ว เหล่านี้เป็นของเที่ยงหรือไม่เที่ยง?(ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า) ก็สิ่งใด ไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ หรือเป็นสุขเล่า? (เป็นทุกข์พระเจ้าข้า) แม้สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์มี ความแปรปรวนเป็นธรรมดา แต่ถ้าไม่ เข้าไปยึดถือ ซึ่งสิ่งนั้นแล้วไซร้ ทิฏฐิอย่างนี้ จะเกิดขึ้นได้ ไหมว่า ลมก็ไม่พัด แม่น้ำก็ไม่ไหล สตรีมีครรภ์ก็ไม่คลอดพระจันทร์และ พระอาทิตย์ ก็ไม่ขึ้นไม่ตก แต่ละอย่าง ๆเป็นของตั้งอยู่อย่างมั่นคงดุจกา ตั้งอยู่ของ เสาระเนียด ดังนี้? (ข้อนั้นหามิได้พระ-เจ้าข้า)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแล ความสงสัย (กงฺขา) ในฐานะทั้งหลาย ๖ ประการเหล่านี้ เป็นสิ่งที่ อริยสาวกละขาดแล้ว ในกาลนั้น ก็เป็นอันว่า ความสงสัยแม้ในทุกข์ แม้ในเหตุให้เกิด ขึ้นแห่งทุกข์ แม้ใน ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ แม้ในทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ก็เป็นสิ่งที่อริยสาวกนั้น ละขาดแล้ว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกนี้ เราเรียกว่า เป็นอริยสาวกผู้เป็นโสดาบันมีอันไม่ตกต่ำเป็น ธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ (ต่อนิพพาน) มีการตรัสรู้พร้อมในเบื้องหน้าดังนี้
ทิฏฐิที่ ๒ อัตตา - อัตตนิยานุทิฏฐิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่หนอ เพราะเข้าไปยึดถือซึ่งอะไร เพราะปักใจเข้าไปสู่อะไร ทิฏฐิจึงเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ดังนี้? ...ฯลฯ...
ทิฏฐิที่ ๓ สัสสตทิฏฐิ (ทั่วไป)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่หนอ เพราะเข้าไปยึดถือซึ่งอะไร เพราะปักใจเข้าไปสู่อะไร ทิฏฐิจึงเกิด ขึ้นอย่างนี้ว่า อัตรา (ตน) ก็อันนั้น โลกก็อันนั้นเรานั้น ละไปแล้ว จักเป็นผู้ เที่ยง ยั่งยืน เที่ยงแท้ มีความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดาดังนี้? ...ฯลฯ...(ข้อความตรงที่ละ เปยยาล ไว้นี้ มีการตรัส การถาม การตอบ เหมือนกับข้อความในทิฏฐิที่๑ตั้งแต่คำว่า ภิกษุทั้งหลาย เหล่านั้น กราบทูลวิงวอนว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลาย ของพวก
ข้าพระองค์ ...ไปจนจบข้อความด้วยคำว่า... เป็นโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง แท้ (ต่อนิพพาน) มีการตรัสรู้พร้อมในเบื้องหน้า ดังนี้. เป็นข้อความซึ่งเหมือนกันทุกตัวอักษรจน ตลอดข้อความ ต่างกันแต่เพียงชื่อแห่งทิฏฐิ เท่านั้น)
ทิฏฐิที่ ๔ อุจเฉททิฏฐิ(ทั่วไป)]
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่หนอ เพราะเข้าไปยึดถือซึ่งอะไรเพราะปักใจเข้าไปสู่อะไร ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น อย่างนี้ว่า เราไม่พึงมีด้วย ของเราไม่พึงมีด้วย เราจักไม่มี ของเราจัก ไม่มี ดังนี้? ...ฯลฯ... (ข้อความตรงที่ละเปยยาลไว้นี้ มีการตรัส การถาม การตอบ เหมือนกับ ข้อความในทิฏฐิที่๑ ตั้งแต่คำ ว่า ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น กราบทูลวิงวอนว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลายของ พวกข้าพระองค์ ...ไปจนจบข้อความด้วยคำ ว่า... เป็นโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำ เป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ (ต่อนิพพาน) มีการตรัสรู้พร้อมในเบื้องหน้า ดังนี้. เป็นข้อความซึ่งเหมือนกันทุกตัวอักษร จนตลอดข้อความ ต่างกันแต่เพียงชื่อแห่งทิฏฐิ เท่านั้น.)
ทิฏฐิที่ ๕ นัตถิกทิฏฐิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่หนอ เพราะเข้าไปยึดถือซึ่งอะไร เพราะปักใจเข้าไปสู่อะไร ทิฏฐิจึงเกิด ขึ้นอย่างนี้ว่า ไม่มีทางอันบุคคลบริจาคแล้ว ไม่มียัญญะอันบุคคลประกอบแล้วไม่มี โหตระอันบุคคลบูชา แล้ว ไม่มีผลวิบากแห่งกรรมอันบุคคกระทำดีแล้วกระทำชั่วแล้ว ไม่มี โลกนี้ ไม่มีโลกอื่น ไม่มีมารดา ไม่มีบิดา ไม่มีสัตว์ทั้งหลายอันเป็นโอปปาติกะ ไม่มีสมณะและ พราหมณ์ ผู้ไปแล้วถูกต้อง ผู้ปฏิบัติแล้ว ถูกต้อง ผู้ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้ และโลกอื่น ด้วยปัญญา
อันยิ่งเองแล้วประกาศอยู่ในโลกคนเรานี้เป็นแต่การประชุมของมหาภูตทั้ง๔ เมื่อ ใดทำกาละ เมื่อนั้น ดินย่อมเข้าไปสู่หมู่แห่งดิน น้ำย่อมเข้าไปสู่หมู่แห่งน้ำไฟย่อม เข้าไปสู่หมู่แห่งไฟ ลม ย่อมเข้าไปสู่ หมู่แห่งลม อินทรีย์ทั้งหลาย ย่อมหายไปในอากาศ บุรุษทั้งหลายมีเตียงวางศพ เป็น ที่ครบห้าจะพาเขา ผู้ตายแล้วไปร่องรอย ทั้งหลายปรากฏอยู่เพียงแค่ป่าช้าเป็นเพียงกระดูก ทั้งหลายมีสีเพียงดังสีแห่งนก พิลาป การบูชา เซ่น สรวงมีขี้เถ้าเป็นที่สุด สิ่งที่เรียกว่าทานนั้น เป็นบทบัญญัติของคนเขลา คำของพวก ที่กล่าวว่า อะไรๆมีอยู่นั้นเป็นคำเปล่า(จากความหมาย) เป็นคำเท็จ เป็น คำเพ้อเจ้อ ทั้งคนพาลและบัณฑิต ครั้นกายแตก ทำลายแล้วย่อมขาดสูญพินาศ ไปมิได้มีอยู่ภายหลังแต่การตาย ดังนี้? ...ฯลฯ...
ทิฏฐิที่ ๖ อกิริยทิฏฐิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่หนอ เพราะเข้าไปยึดถือซึ่งอะไร เพราะปักใจเข้าไปสู่อะไร ทิฏฐิจึง เกิดขึ้น อย่างนี้ว่า เมื่อกระทำเองหรือยังบุคคลอื่นให้กระทำก็ดี เมื่อตัดเองหรือยัง บุคคลอื่นให้ตัดก็ดี เมื่อ กำจัดเองหรือยังบุคคลอื่นให้กำจัดก็ดี เมื่อทำสัตว์ให้เศร้าโศกเอง หรือยังบุคคลอื่น ให้ทำสัตว์ให้เศร้าโศก ก็ดี
เมื่อทำสัตว์ให้ลำบากเองหรือยังบุคคลอื่นให้ทำสัตว์ให้ลำบากก็ดี เมื่อทำสัตว์ให้ดิ้นรนเอง หรือยังบุคคลอื่น ให้ทำสัตว์ให้ดิ้นรนก็ดี เมื่อยังสัตว์มีปราณให้ตกล่วงไปก็ดี เมื่อถือเอา สิ่งของที่บุคคลไม่ได้ให้แล้วก็ดี เมื่อ ตัดซึ่งที่ต่อ(ตัดข่องย่องเบา)ก็ดี เมื่อปล้นทั้งหมู่บ้านก็ดี เมื่อปล้นเฉพาะเรือนก็ดี เมื่อซุ่มปล้นอยู่ตาม หนทางก็ดี เมื่อล่วงเกินภรรยาของผู้อื่นก็ดี เมื่อกล่าวเท็จก็ดี บาปย่อมไม่เป็นอันกระทำสำหรับผู้กระทำ.
แม้ว่าผู้ใดจะกระทำซึ่งสัตว์ทั้งหลายในแผ่นดินนี้ด้วยจักรอันคมดังมีดโกน ให้กลายเป็นลานเนื้อ ลานหนึ่งก็ดี บาปเพราะการกระทำอย่างนั้น ย่อมไม่มี การมาแห่งบาป ย่อมไม่มี. แม้ว่าบุรุษจะไป ที่ฝั่งขวาแห่งแม่น้ำคงคา ฆ่าเองอยู่ ใช้ผู้อื่นฆ่าอยู่ ตัดเองอยู่ ใช้ผู้อื่นตัดอยู่ กำจัดเองอยู่ใช้ผู้อื่น กำจัดอยู่ บาปเพราะการกระทำ อย่างนั้น ย่อมไม่มี การมาแห่งบาป ย่อมไม่มี.
แม้ว่าบุรุษจะไปที่ฝั่งซ้ายแห่งแม่น้ำคงคา ให้ทานเองอยู่ ก็ดียังบุคคลอื่นให้ให้ทานอยู่ก็ดีบูชา เองอยู่ก็ดี ยังบุคคลอื่นให้บูชาอยู่ก็ดี บุญเพราะการกระทำอย่างนั้น ย่อมไม่มี การมาแห่งบุญ ย่อมไม่มี. เพราะการให้ ทานก็ตาม เพราะการฝึกจิตก็ตาม เพราะการสำรวมก็ตาม เพราะการกล่าว คำสัจก็ตาม บุญย่อมไม่มีการมา แห่งบุญ ย่อมไม่มี ดังนี้? ...ฯลฯ...
ทิฏฐิที่ ๗ อเหตุกทิฏฐิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่หนอ เพราะเข้าไปยึดถือซึ่งอะไร เพราะปักใจเข้าไป สู่อะไร ทิฏฐิจึงเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า เหตุไม่มี ปัจจัยไม่มี เพื่อความเศร้าหมองแห่งสัตว์ทั้งหลาย. ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย สัตว์ทั้งหลายก็เศร้าหมอง. เหตุไม่มี ปัจจัยไม่มี เพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ ทั้งหลาย.
ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย สัตว์ทั้งหลายก็บริสุทธิ์. กำลังไม่มี ความเพียรไม่มี เรี่ยวแรงแห่งบุรุษไม่มี ความบากบั่นของบุรุษไม่มี.
สัตว์ทั้งปวง ปาณะทั้งปวง ภูตทั้งปวง ชีวะทั้งปวงไม่มีอำนาจ ไม่มีกำลัง ไม่มีความเพียร ย่อมแปรปรวนไปตามสภาวะ นิยติและสังคติ ย่อมเสวยซึ่งสุขและทุกข์ในอภิชาติทั้งหลาย ๖ ประการ นั่นเอง. ดังนี้ ? ...ฯลฯ...
ทิฏฐิที่ ๘ สัตตกายทิฏฐิ]
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่หนอ เพราะเข้าไปยึดถือซึ่งอะไร เพราะปักใจเข้าไปสู่อะไร ทิฏฐิจึงเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า กาย (หมู่แห่งธรรมชาติ) ทั้งหลาย ๗ หมู่เหล่านี้ ไม่มีใครทำ ไม่มีใคร จัดระเบียบ ไม่มีใครนฤมิตร ไม่มีระเบียบอันใครนฤมิตร ไม่คลอดผลใด ๆ ตั้งอยู่อย่างยอดภูเขา ตั้งอยู่อย่างมั่นคงดุจการตั้งอยู่ของเสาระเนียด. กายทั้งหลายเหล่านั้น ไม่หวั่นไหว ไม่แปรปรวน ไม่กระทบกระทั่งซึ่งกันและกัน ไม่อาจกระทำซึ่งสุขและทุกข์แก่กันและกัน.
กายทั้งหลาย ๗ หมู่เป็นอย่างไรเล่า ? กาย ๗ หมู่ คือ ปฐวีกาย อาโปกาย เตโชกาย วาโยกาย สุข (กาย) ทุกข (กาย) ชีวะ (กาย). กาย ๗ หมู่เหล่านี้เป็นกายที่ไม่มีใครทำไม่มีใครจัดระเบียบ ไม่มีใคร นฤมิตร ไม่มีระเบียบอันใครนฤมิตร ไม่คลอดผลใด ๆ ตั้งอยู่อย่างยอดภูเขา ตั้งอยู่อย่าง มั่นคง ดุจการตั้งอยู่ของเสาระเนียด.
กายทั้งหลายเหล่านั้น ไม่หวั่นไหว ไม่แปรปรวน ไม่กระทบกระทั่งซึ่งกันและกัน ไม่อาจกระทำ ซึ่งสุขและทุกข์แก่กัน และกัน. แม้ผู้ใดจะตัดศีรษะใครด้วยศาสตราอันคม ก็ไม่ชื่อว่าใครปลง ชีวิตใคร เป็นแต่เพียงศาสตราผ่านไปตามช่องในระหว่างแห่งกายทั้งหลาย ๗ หมู่เหล่านั้น เท่านั้น.
ก็โยนีประมุขทั้งหลาย เหล่านี้แล มีอยู่ ๑๔๐๐๐๐๐ มีอยู่ ๖๐๐๐ มีอยู่
๖๐๐ กรรม ๕๐๐ กรรม ๕ กรรม ๓ กรรม เต็มกรรมด้วย กรรมกึ่งกรรมด้วย
ปฏิปทา ๖๒ อันตรกัปป์ ๖๒ อภิชาติ ๖ ปุริสภูมิ ๘ อาชีวก ๔๙๐๐ ปริพพาชก ๔๙๐๐ นาควาส ๔๙๐๐ อินทรีย์ ๒๐๐๐ นรก ๓๐๐๐ รโชธาตุ ๓๖ สัญญีครรภ์ ๗ อสัญญีครรภ์ ๗ นิครนถครรภ์ ๗ เทพ ๗ มนุษย์ ๗ ปีศาจ ๗ สระ ๗ ปวุฎะ ๗ ด้วย ๗๐๐ ด้วย ปปาตะ ๗ ด้วย ๗๐๐ ด้วย สุปีนะ ๗ ด้วย ๗๐๐ ด้วย มหากัปป์ ๘๔๐๐๐๐๐ เหล่านี้ เป็นสังสารวัฏซึ่งทั้งคนพาล และบัณฑิตแล่นไป แล้ว ท่องเที่ยวไปแล้ว จักกระทำที่สุดแห่ง ทุกข์ได้ ในสังสารวัฏนั้น ไม่มีกฎเกณฑ์ที่ใครจะหวัง ได้ว่า กรรมที่ยังไม่แก่รอบ เราจักกระทำ ให้แก่รอบ หรือว่า จักเสวยผลแห่งกรรมที่แก่รอบแล้ว กระทำซึ่ง ที่สุด แห่งทุกข์ได้ ด้วยข้อปฏิบัติ คือ ด้วยศีลหรือด้วยวัตร ด้วยตบะ ด้วยพรหมจรรย์ สุขและทุกข์ ที่หมดไปสิ้นไป ราวกะว่า ตวงของ ด้วยทะนาน จึงไม่มี ในสังสารวัฏนั้น ไม่มีอะไรที่ชื่อว่าความเสื่อม หรือความเจริญ ความดีขึ้นหรือความเลวลง เปรียบเหมือนกลุ่มด้ายอันบุคคลซัดให้กลิ้งไป ย่อมคลี่ออกๆ จนหมดกลุ่มแล้วก็หยุดเอง ฉันใด ทั้งคนพาลและบัณฑิต แล่นไปในสงสาร ย่อมมีสุขและ ทุกข์อันคลี่คลายจนหมดไปเอง ฉันนั้น ดังนี้ ? ...ฯลฯ...
ทิฏฐิที่ ๙ สัสสตโลกทิฏฐิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่หนอ เพราะเข้าไปยึดถือซึ่งอะไร เพราะปักใจเข้าไปสู่อะไร ทิฏฐิจึงเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า โลกเที่ยง ดังนี้ ? ...ฯลฯ...
ทิฏฐิที่ ๑๐ อสัสสตโลกทิฏฐิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่หนอ เพราะเข้าไปยึดถือซึ่งอะไร เพราะปักใจเข้าไป สู่อะไร ทิฏฐิจึงเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า โลกเที่ยง ดังนี้ ? ...ฯลฯ...
ทิฏฐิที่ ๑๑ อันตวันตโลกทิฏฐิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่หนอ เพราะเข้าไปยึดถือซึ่งอะไรเพราะปักใจ เข้าไปสู่ อะไร ทิฏฐิจึงเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า โลกมีที่สุด ดังนี้ ? ...ฯลฯ...
ทิฏฐิที่ ๑๒ อนันตวันตโลกทิฏฐิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่หนอ เพราะเข้าไปยึดถือซึ่งอะไรเพราะปักใจเข้าไปสู่อะไร ทิฏฐิจึงเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า โลกไม่มีที่สุด ดังนี้ ? ...ฯลฯ...
ทิฏฐิที่ ๑๓ ตังชีวตังสรีรทิฏฐิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่หนอ เพราะเข้าไปยึดถือซึ่งอะไร เพราะปักใจเข้าไปสู่อะไร ทิฏฐิจึงเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ชีวะก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น ดังนี้ ? ...ฯลฯ...
ทิฏฐิที่ ๑๔ อัญญังชีวอัญญังสรีรทิฏฐิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่หนอ เพราะเข้าไปยึดถือซึ่งอะไรเพราะปักใจ เข้าไปสู่ อะไร ทิฏฐิจึงเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ชีวะก็อันอื่น สรีระก็อันอื่น ดังนี้ ? ...ฯลฯ...
ทิฏฐิที่ ๑๕ โหติตถาคโตทิฏฐิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่หนอ เพราะเข้าไปยึดถือซึ่งอะไร เพราะปักใจเข้าไปสู่ อะไร ทิฏฐิจึงเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้ว ย่อมมีอีก ดังนี้ ? ...ฯลฯ...
ทิฏฐิที่ ๑๖ นโหติตถาคโตทิฏฐิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่หนอ เพราะเข้าไปยึดถือซึ่งอะไรเพราะปักใจเข้าไปสู่อะไร ทิฏฐิจึงเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้ว ย่อมไม่มีอีก ดังนี้ ? ...ฯลฯ...
ทิฏฐิที่ ๑๗ โหติจนจโหติทิฏฐิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่หนอ เพราะเข้าไปยึดถือซึ่งอะไร เพราะปักใจเข้าไปสู่อะไร ทิฏฐิจึง เกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้ว ย่อมมีอีกก็มี ย่อมไม่มีอีกก็มี ดังนี้? ...ฯลฯ...
ทิฏฐิที่ ๑๘ เนวโหตินนโหติทิฏฐิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่หนอ เพราะเข้าไปยึดถือซึ่งอะไร เพราะปักใจเข้าไปสู่อะไร ทิฏฐิจึงเกิด ขึ้นอย่างนี้ว่า ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้ว ย่อมมีอีกก็มี ก็หามิได้ ย่อมไม่มีอีก ก็หา มิได้ดังนี้?
ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น กราบทูลวิงวอนว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้ง หลาย
ของพวกข้าพระองค์ มีพระผู้มีพระภาคเป็นมูล มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาค เป็นที่พึ่ง. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เป็นการชอบแล้วหนอ ขอให้อรรถแห่งภาษิตนั้นจงแจ่มแจ้ง กะ พระผู้มีพระภาค เองเถิดภิกษุทั้งหลายได้ฟัง จาก พระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้ ดังนี้ พระผู้มี พระ ภาคเจ้า จึงตรัส เตือนให้ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น ตั้งใจฟังด้วยดีแล้ว ได้ตรัสข้อความดัง ต่อไปนี้ -
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อรูปนั้นแล มีอยู่ เพราะเข้าไปยึดถือซึ่งรูป เพราะปักใจเข้าไปสู่รูป ทิฏฐิ จึงเกิดขึ้น อย่างนี้ว่า ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้ว ย่อมมีอีกก็หามิได้ ย่อมไม่มีอีกก็หามิได้ ดังนี้. (ในกรณีแห่งเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็มีถ้อยคำที่ตรัสอย่างเดียวกัน ทุกตัวอักษรกับใน กรณีแห่งรูปนี้ ต่างกันแต่เพียงชื่อ แห่งขันธ์แต่ละขันธ์ เท่านั้น.)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนี้ ว่าอย่างไร?
รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง? (ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า) ก็สิ่งใดไม่เที่ยง
สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า? (เป็นทุกข์พระเจ้าข้า)
แม้สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
แต่ถ้าไม่เข้าไปยึดถือ ซึ่งสิ่งนั้นแล้วไซร้ ทิฏฐิอย่างนี้ จะเกิดขึ้นได้ไหมว่า
ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้ว ย่อมมีอีกก็หามิได้ ย่อมไม่มีอีกก็หา มิได้ ดังนี้?(ข้อนั้นหามิได้พระเจ้าข้า) (แม้ในกรณีแห่งเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณก็มีถ้อยคำ ที่ ตรัสถาม และพวกภิกษุทูลตอบ อย่างเดียว อันทุกตัวอักษรกับในกรณีแห่งรูปนี้ ต่างกันแต่เพียง ชื่อ แห่งขันธ์แต่ละขันธ์ เท่านั้น.)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้สิ่งใดที่บุคคลได้เห็นแล้ว ฟังแล้ว รู้สึกแล้วรู้แจ้งแล้ว บรรลุแล้ว แสวงหา แล้ว ครุ่นคิดอยู่ด้วยใจแล้ว เหล่านี้เป็นของเที่ยงหรือไม่เที่ยง? (ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า) ก็สิ่งใด ไม่เที่ยง สิ่งนั้น เป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า? (เป็นทุกข์พระเจ้าข้า) แม้สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวน เป็นธรรมดา แต่ถ้าไม่เข้าไปยึดถือซึ่งสิ่งนั้นแล้วไซร้ ทิฏฐิอย่างนี้ จะเกิดขึ้นได้ ไหมว่า ตถาคตภายหลังแต่ ตายแล้วย่อม มีอีกก็หามิได้ ย่อมไม่มีอีกก็หากมิได้ ดังนี้?(ข้อนั้นหา มิได้พระเจ้าข้า)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแล ความสงสัย (กงฺขา) ในฐานะทั้งหลาย ๖ ประการเหล่านี้ เป็นสิ่ง ที่อริยสาวกละขาดแล้ว ในกาลนั้น ก็เป็นอันว่า ความสงสัยแม้ในทุกข์ แม้ในเหตุให้เกิด ขึ้น แห่งทุกข์ แม้ในความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ แม้ในทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ก็เป็นสิ่งที่อริยสาวก นั้นละขาดแล้ว.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกนี้ เราเรียกว่า เป็น อริยสาวกผู้เป็นโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็น ธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ (ต่อนิพพาน) มีการตรัสรู้พร้อมในเบื้องหน้าดังนี้ แล.
หน้า 704
ทิฏฐิ ๒๖ อย่าง ล้วนแต่ปรารภขันธ์ห้า
[ทิฏฐิที่ ๑ เอสิกัฏฐายิฏฐิตทิฏฐิ]
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่หนอ เพราะเข้าไปยึดถือซึ่งอะไร เพราะปักใจเข้าไปสู่อะไร ทิฏฐิจึงเกิด ขึ้น อย่างนี้ว่า ลมก็ไม่พัด น้ำ ก็ไมไหล สตรีมีครรภ์ก็ไม่คลอด พระจันทร์และ พระอาทิตย์ก็ไม่ขึ้น ไม่ตก แต่ละอย่าง ๆ เป็นของตั้งอยู่อย่างมั่นคงดุจการ ตั้งอยู่ของเสา ระเนียด ดังนี้?
ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น กราบทูลวิงวอนว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลาย ของพวกข้า พระองค์ มีพระผู้มีพระภาคเป็นมูล มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่ง. ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ เป็นการชอบแล้วหนอ ขอให้อรรถแห่งภาษิตนั้น จงแจ่มแจ้งกะพระผู้มีพระภาค เองเถิดภิกษุทั้งหลาย ได้ฟัง จากพระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้ ดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสเตือนให้ภิกษุทั้งหลาย เหล่านั้น ตั้งใจฟังด้วยดีแล้ว ได้ตรัสข้อความดังต่อไปนี้-
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย (๑) เมื่อรูปนั่นแล มีอยู่ เพราะเข้าไปยึดถือซึ่งรูปเพราะปักใจเข้าไปสู่รูป ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น อย่างนี้ว่า ลมก็ไม่พัด แม่น้ำก็ไม่ไหล สตรีมีครรภ์ก็ไม่คลอด พระจันทร์และ พระอาทิตย์ก็ไม่ขึ้นไม่ตก แต่ละ อย่างๆ เป็นของตั้งอยู่อย่างมั่นคงดุจการตั้งอยู่ของเสาระเนียด ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอทั้งหลาย จะสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไร?รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง? (ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า) ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า? (เป็นทุกข์พระเจ้าข้า) แม้สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา แต่ถ้าไม่เข้าไปยึดถือ ซึ่งสิ่งนั้นแล้ว ทิฏฐิอย่างนี้ จะเกิดขึ้นได้ ไหมว่า ลมก็
ไม่พัด แม่น้ำก็ไม่ไหล สตรีมีครรภ์ก็ไม่คลอด พระจันทร์และพระอาทิตย์ก็ไม่ขึ้นไม่ตกแต่ละอย่าง ๆ เป็นของ ตั้งอยู่อย่างมั่นคงดุจการตั้งอยู่ของเสาระเนียด ดังนี้? (ข้อนั้นหามิได้พระเจ้าข้า).
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยอาการอย่างนี้แล เมื่อทุกข์มีอยู่ เพราะเข้าไปยึดถือซึ่งทุกข์ เพราะปักใจเข้าไป สู่ทุกข์ ทิฏฐิจึงเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ลมก็ไม่พัด แม่น้ำก็ไม่ไหล สตรีมีครรภ์ ก็ไม่คลอด พระจันทร์และ พระ อาทิตย์ ก็ไม่ขึ้น ไม่ตก แต่ละอย่าง ๆเป็นของตั้งอยู่อย่างมั่นคง ดุจการตั้งอยู่ของเสาระเนียด ดังนี้.
(ในกรณีแห่งเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็มีการตรัส การตรัสถาม และการทูลตอบอย่าง เดียวกันกับ ในกรณีแห่งรูปนี้ ซึ่งเริ่มตั้งแต่คำว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อรูปนั่นแล มีอยู่... ไปจนจบข้อความด้วยคำว่า... แต่ละอย่าง ๆ เป็นของตั้งอยู่อย่างมั่นคงดุจการตั้งอยู่ของ สาระเนียด ดังนี้. ซึ่งตรัสเป็นคำสุดท้ายในกรณี แห่งรูป เป็นข้อความที่เหมือนกันทุกตัวอักษร จนตลอดข้อความ ต่างกันแต่เพียงชื่อแห่งขันธ์แต่ละขันธ์ เท่านั้น.
[ทิฏฐิที่ ๒ อัตตา - อัตตนิยานุทิฏฐิ]
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย (๒) เมื่อรูปนั่นแลมีอยู่ เพราะเข้าไปยึดถือซึ่งรูปเพราะปักใจเข้าไปสู่รูป ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น อย่างนี้ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ดังนี้. ...
[ทิฏฐิที่ ๓ สัสสตทิฏฐิ (ทั่วไป)]
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย (๓) เมื่อรูปนั่นแลมีอยู่ เพราะเข้าไปยึดถือซึ่งรูปเพราะปักใจเข้าไปสู่รูป ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น อย่างนี้ว่า อัตตา (ตน) ก็อันนั้น โลกก็อันนั้นเรานั้นละไปแล้ว จักเป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน เที่ยงแท้ มีความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดาดังนี้. ...
[ทิฏฐิที่ ๔ อุจเฉททิฏฐิ (ทั่วไป)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย (๔) เมื่อรูปนั่นแลมีอยู่ เพราะเข้าไปยึดถือซึ่งรูปเพราะปักใจเข้าไปสู่รูป ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น อย่างนี้ว่า เราไม่พึงมีด้วย ของเราไม่พึงมีด้วย เราจักไม่มี ของเราจักไม่มี ดังนี้. ...
[ทิฏฐิที่ ๕ นัตถิกทิฏฐิ (ทั่วไป)
...ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย (๕)เมื่อรูปนั่นแลมีอยู่ เพราะเข้าไปยึดถือซึ่งรูปเพราะปักใจเข้าไปสู่รูป ทิฏฐิจึงเกิด ขึ้น อย่างนี้ว่า ไม่มีทางอันบุคคลบริจาคแล้ว ไม่มี
ยัญญะอันบุคคลประกอบแล้ว ไม่มีโหตระอันบุคคลบูชาแล้ว ไม่มีผลวิบากแห่งกรรมอันบุคคล กระทำดีแล้ว กระทำชั่วแล้ว ไม่มีโลกนี้ ไม่มีโลกอื่น ไม่มีมารดา ไม่มีบิดา ไม่มีสัตว์ทั้งหลาย อันเป็นโอปปาติกะ ไม่มีสมณะและพราหมณ์ผู้ไปแล้วถูกต้อง ผู้ปฏิบัติแล้วถูกต้อง ผู้ทำให้แจ้งซึ่ง โลกนี้และโลกอื่น ด้วยปัญญา อันยิ่งเอง แล้วประกาศอยู่ในโลก
คนเรานี้เป็นการประชุมของมหาภูตทั้ง ๔ เมื่อใดทำกาละ เมื่อนั้นดินย่อมเข้าไปสู่หมู่ แห่งดิน น้ำย่อม เข้าไปสู่หมู่แห่งน้ำไฟย่อมเข้าไปสู่หมู่แห่งไฟ ลมย่อมเข้าไปสู่หมู่แห่งลม อินทรีย์ทั้งหลาย ย่อมหายไปใน อากาศ บุรุษทั้งหลายมีเตียงวางศพเป็นที่ครบ ๕ จะพาเขา ผู้ตายแล้วไป ร่องรอยทั้งหลายปรากฎอยู่เพียง แค่ป่าช้า เป็นเพียงกระดูกทั้งหลายมีสีเพียง ดังสีแห่งนกพิลาป การบูชาเซ่นสรวง มีขี้เถ้าเป็นที่สุด
สิ่งที่เรียกว่าทานนั้น เป็นบทบัญญัติ ของคนเขลา คำของพวกที่กล่าวว่า อะไรๆ มีอยู่นั้นเป็นคำเปล่า (จากความหมาย) เป็นคำเท็จ เป็นคำเพ้อเจ้อ ทั้งคนพาลและบัณฑิต ครั้นกายแตกทำลายแล้ว ย่อมขาด สูญพินาศไป มิได้อยู่ ภายหลังแต่ตายแล้ว. ดังนี้...
[ทิฏฐิที่ ๖ อกิริยทิฏฐิ]
...ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย (๖) เมื่อรูปนั่นแลมีอยู่ เพราะเข้าไปยึดถือซึ่งรูปเพราะปักใจเข้าไปสู่รูป ทิฏฐิจึงเกิด ขึ้น อย่างนี้ว่า เมื่อกระทำเองหรือยังบุคคลอื่นให้กระทำก็ดี เมื่อตัดเองหรือ ยัง บุคคลอื่นให้ตัดก็ดี เมื่อกำจัด เองหรือยังบุคคลอื่นให้กำจัดก็ดี เมื่อทำสัตว์ให้เศร้าหมองเอง หรือยังบุคคลอื่น ให้ทำสัตว์ให้เศร้าหมองเอง ก็ดี เมื่อทำสัตว์ให้ลำบากเองหรือยังบุคคลอื่น ให้ทำสัตว์ให้ลำบากก็ดี เมื่อทำสัตว์
ให้ดิ้นรนเองหรือยังบุคคลอื่นให้ทำสัตว์ ให้ดิ้นรน ก็ดี เมื่อยังสัตว์มีปราณให้ตกล่วงไปก็ดี เมื่อถือเอาสิ่งของ ที่บุคคลไม่ได้ให้แล้วก็ดี เมื่อตัดซึ่งที่ต่อ (ตัดช่องย่องเบา) ก็ดี เมื่อปล้นทั้งหมู่บ้านก็ดี เมื่อปล้นเฉพาะ เรือนก็ดี เมื่อซุ่มปล้นอยู่ตาม หนทาง ก็ดี เมื่อล่วงเกินภรรยาของผู้อื่นก็ดี เมื่อกล่าวเท็จก็ดี บาปย่อมไม่ เป็นอันกระทำ สำหรับผู้กระทำ.
แม้ว่าผู้ใดจะกระทำซึ่งสัตว์ทั้งหลายในแผ่นดินนี้ด้วยจักรอันคมดังมีดโกน ให้กลายเป็นลาน เนื้อลานหนึ่งก็ดี บาปเพราะการกระทำอย่างนั้น ย่อมไม่มี การมาแห่งบาป ย่อมไม่มี.
แม้ว่าบุรุษจะไปที่ฝั่งขวาแห่งแม่น้ำคงคา ฆ่าเองอยู่ ใช้ผู้อื่นฆ่าอยู่ ตัดเองอยู่ ใช้ผู้อื่นตัดอยู่ กำจัดเองอยู่ ใช้ผู้อื่นกำจัดอยู่ บาปเพราะการกระทำอย่างนั้น ย่อมไม่มี การมาแห่งบาป ย่อมไม่มี.
แม้ว่าบุรุษจะไปที่ฝั่งซ้ายแห่งแม่น้ำคงคา ให้ทานเองอยู่ก็ดียังบุคคลอื่นให้ให้ทานอยู่ก็ดี บูชาเองอยู่ก็ดี ยังบุคคลอื่นให้บูชาอยู่ก็ดี บุญเพราะการกระทำ อย่างนั้นย่อมไม่มี การมาแห่ง บุญย่อมไม่มี.
เพราะการให้ทานก็ตาม เพราะการฝึกจิตก็ตาม เพราะการสำรวจก็ตาม เพราะการกล่าวคำสัตย์ ก็ตามบุญ ย่อม ไม่มี การมาแห่งบุญย่อมไม่มี. ดังนี้. ...
[ทิฏฐิที่ ๗ อเหตุกทิฏฐิ]
...ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย (๗) เมื่อรูปนั่นแลมีอยู่ เพราะเข้าไปยึดถือซึ่งรูปเพราะปักใจเข้าไปสู่รูป ทิฏฐิจึง เกิดขึ้นอย่างนี้ว่า เหตุไม่มี ปัจจัยไม่มี เพื่อความเศร้าหมองแห่งสัตว์ทั้งหลาย. ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย สัตว์ ทั้งหลายก็เศร้าหมอง.เหตุไม่มี ปัจจัยไม่มี เพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย. ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย สัตว์ทั้ง หลายก็บริสุทธิ์. กำลังไม่มี ความเพียรไม่มี เรี่ยวแรงแห่ง
บุรุษไม่มี ความบากบั่นของบุรุษไม่มี. สัตว์ทั้งปวง ปาณะทั้งปวง ภูตทั้งปวงชีวะทั้งปวง ไม่มีอำนาจ ไม่มี กำลัง ไม่มีความเพียร ย่อมแปรปรวนไปตามสภาวะ นิยติ และสังคติ ย่อมเสวย ซึ่งสุขและทุกข์ในอภิชาติ ทั้งหลาย ๖ ประการนั่นเอง ดังนี้. ....
[ทิฏฐิที่ ๘ สัตตกายทิฏฐิ]
...ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย (๘) เมื่อรูปนั่นแลมีอยู่ เพราะเข้าไปยึดถือซึ่งรูปเพราะปักใจเข้าไปสู่รูป ทิฏฐิจึง เกิดขึ้นอย่างนี้ว่า กาย (หมู่แห่งธรรมชาติ) ทั้งหลาย ๗ หมู่เหล่านี้ ไม่มีใครทำ ไม่มีใคร จัดระเบียบ ไม่มีใคร นฤมิตร ไม่มีระเบียบอันใครนฤมิตร ไม่คลอดผลใดๆ ตั้งอยู่อย่างยอดภูเขา ตั้งอยู่อย่างมั่นคง ดุจการตั้งอยู่ของ สาระเนียด.
กายทั้งหลายเหล่านั้น ไม่หวั่นไหว ไม่แปรปรวน ไม่กระทบกระทั่งซึ่งกันและกัน ไม่อาจกระทำซึ่ง สุข และ ทุกข์แก่กันและกัน. กายทั้งหลาย ๗ หมู่ เป็นอย่างไรเล่า? กาย ๗ หมู่ คือ ปฐวีกาย อาโปกาย เตโชกาย วาโยกาย สุช(กาย) ทุกข(กาย) ชีว(กาย).
กาย ๗ หมู่เหล่านี้ เป็นกายที่ไมีมีใครทำ ไม่มีใครจัดระเบียบ ไม่มีใครนฤมิตร ไม่มีระเบียบ อันใครนฤมิตร ไม่คลอดผลใดๆ ตั้งอยู่อย่างยอดภูเขา ตั้งอยู่อย่างมั่นคง ดุจการตั้งอยู่ของเสา ระเนียด.
กายทั้งหลายเหล่านั้นไม่หวั่นไหว ไม่แปรปรวน ไม่กระทบกระทั่งซึ่งกันและกัน ไม่อาจกระทำ ซึ่งสุข และ ทุกข์แก่กันและกัน.
แม้ผู้ใดจะตัดศีรษะใครด้วยศาสตราอันคม ก็ไม่ชื่อว่าใครปลงชีวิตใคร เป็นแต่เพียงศาสตรา ผ่าน ไปตามช่อง ในระหว่างแห่งกายทั้งหลาย ๗ หมู่เหล่านั้นเท่านั้น.
ก็โยนีประมุข ทั้งหลายเหล่านี้ แลมีอยู่ ๑๔๐๐๐๐๐ มีอยู่ ๖๐๐๐ มีอยู่ ๖๐๐ กรรม ๕๐๐ กรรม ๕ กรรม ๓ กรรมเต็ม
กรรมด้วย กรรมกึ่งกรรมด้วย ปฏิปทา ๖๒ อันตรกัปป์ ๖๒ อภิชาติ ๖ปุริสภูมิ ๘ อาชีวก ๔๙๐๐ ปริพพาชก ๔๙๐๐ นาควาส ๔๙๐๐อินทรีย์ ๒๐๐๐ นรก ๓๐๐๐ รโชธาตุ ๓๖ สัญญีครรภ์ ๗ อสัญญีครรภ์ นิครนถครรภ์ ๗ เทพ ๗ มนุษย์ ๗ ปิศาจ ๗ สระ ๗ ปวุฏะ ๗ ด้วย ๗๐๐ ด้วย ปปาตะ ๗ ด้วย ๗๐๐ ด้วย สุปีนะ ๗ ด้วย ๗๐๐ ด้วย มหากัปป์๘๔๐๐๐๐๐ เหล่านี้ เป็นสังสารวัฎซึ่งทั้งคนพาล และ บัณฑิต แล่นไปแล้วท่องเที่ยวไปแล้ว จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
ในสังสารวัฏนั้น ไม่มีกฎเกณฑ์ที่ใครจะหวังได้ว่า กรรมที่ยังไม่แก่รอบ เราจักกระทำให้แก่รอบ หรือว่าจัก เสวยผลแห่งกรรมที่แก่รอบแล้ว กระทำซึ่งที่สุดแห่งทุกข์ได้ ด้วยข้อปฏิบัตินี้คือ ด้วยศีล หรือด้วยวัตรด้วย ตบะ ด้วยพรหมจรรย์ สุขและทุกข์ที่หมดไปสิ้นไป ราวกะว่าตวง ของด้วย ทะนาน จึงไม่มี.
ในสังสารวัฎฎ์นั้น ไม่มีอะไรที่ชื่อว่าความเสื่อม หรือความเจริญ ความดีขึ้น หรือความเลวลง เปรียบ เหมือน กลุ่มด้ายอันบุคคล ซัดให้กลิ้งไป ย่อมคลี่ออก ๆ จนหมดกลุ่ม แล้วก็หยุดเอง ฉันใด ทั้ง คนพาล และบัณฑิต แล่นไปในสงสาร ย่อมมีสุขและทุกข์อันคลี่คลาย จนหมดไปเอง
ฉันนั้น ดังนี้.
[ทิฏฐิที่ ๙ สัสสตโลกทิฏฐิ]
...ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย (๙) เมื่อรูปนั่นแลมีอยู่ เพราะเข้าไปยึดถือซึ่งรูปเพราะปักใจเข้าไปสู่รูป ทิฏฐิจึงเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า โลกเที่ยง ดังนี้. ...
[ทิฏฐิที่ ๑๐ อสัสสตโลกทิฏฐิ]
...ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย (๑๐) เมื่อรูปนั่นแลมีอยู่ เพราะเข้าไปยึดถือซึ่งรูป เพราะปักใจเข้าไปสู่รูป ทิฏฐิจึงเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า โลกไม่เที่ยง ดังนี้. ...
[ทิฏฐิที่ ๑๑ อันตวันตโลกทิฏฐิ]
...ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย (๑๑) เมื่อรูปนั่นแลมีอยู่ เพราะเข้าไปยึดถือซึ่งรูป เพราะปักใจเข้าไปสู่รูป ทิฏฐิจึงเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า โลกมีที่สุด ดังนี้. ...
[ทิฏฐิที่ ๑๒ อันตวันตโลกทิฏฐิ]
...ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย (๑๒) เมื่อรูปนั่นแลมีอยู่ เพราะเข้าไปยึดถือซึ่งรูปเพราะปักใจเข้าไปสู่รูป ทิฏฐิจึงเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า โลกไม่มีที่สุด ดังนี้. ...
[ทิฏฐิที่ ๑๓ อันตวันตโลกทิฏฐิ]
...ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย (๑๓) เมื่อรูปนั่นแลมีอยู่ เพราะเข้าไปยึดถือซึ่งรูปเพราะปักใจเข้าไปสู่รูป ทิฏฐิจึงเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ชีวะก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น ดังนี้. ...
[ ทิฏฐิที่ ๑๔ อัญญังชีวอัญญังสรีรทิฏฐิ]
...ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย (๑๔) เมื่อรูปนั่นแลมีอยู่ เพราะเข้าไปยึดถือซึ่งรูปเพราะปักใจเข้าไปสู่รูป ทิฏฐิจึงเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ชีวะก็อันนั้น สรีระก็อันอื่นดังนี้. ...
[ทิฏฐิที่ ๑๕ โหติตถาคโตทิฏฐิ]
...ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย (๑๕) เมื่อรูปนั่นแลมีอยู่ เพราะเข้าไปยึดถือซึ่งรูปเพราะปักใจเข้าไปสู่รูป ทิฏฐิจึงเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้วย่อมมีอีก ดังนี้.
[ทิฏฐิที่ ๑๖ นโหติตถาคโตทิฏฐิ]
...ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย (๑๖) เมื่อรูปนั่นแลมีอยู่ เพราะเข้าไปยึดถือซึ่งรูปเพราะปักใจเข้าไปสู่รูป ทิฏฐิจึงเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้ว ย่อมไม่มีอีก ดังนี้. ...
[ทิฏฐิที่ ๑๗ โหติจนจโหติทิฏฐิ]
...ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย (๑๗) เมื่อรูปนั่นแลมีอยู่ เพราะเข้าไปยึดถือซึ่งรูปเพราะปักใจเข้าไปสู่รูป ทิฏฐิจึงเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้ว ย่อมมีอีกก็มี ย่อมไม่มีอีกก็มี ดังนี้.
[ทิฏฐิที่ ๑๘ เนวโหตินนโหติทิฏฐิ]
...ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย (๑๘) เมื่อรูปนั่นแลมีอยู่ เพราะเข้าไปยึดถือซึ่งรูปเพราะปักใจเข้าไปสู่รูป ทิฏฐิจึงเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้ว ย่อมมีอีกก็หามิได้ ย่อมไม่มีอีกก็หามิได้ ดังนี้. ...
[ทิฏฐิที่ ๑๙ รูปิอัตตาทิฏฐิ]
...ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย (๑๙) เมื่อรูปนั่นแลมีอยู่ เพราะเข้าไปยึดถือซึ่งรูปเพราะปักใจเข้าไปสู่รูป ทิฏฐิจึงเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า (ต้องเป็น) อัตตามีรูป ๓ (เท่านั้นจึงจะ) เป็นอัตตาหาโรคมิได้ (อโรโค)๔ หลังจากตายแล้ว ดังนี้. ...
[ทิฏฐิที่ ๒๐ นโหติตถาคโตทิฏฐิ]
...ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย (๒๐) เมื่อรูปนั่นแลมีอยู่ เพราะเข้าไปยึดถือซึ่งรูปเพราะปักใจเข้าไปสู่รูป ทิฏฐิจึงเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า (ต้องเป็น) อัตตาไม่มีรูป๖ (เท่านั้นจึงจะ) เป็นอัตตาหาโรคมิได้ หลังจากตายแล้ว ดังนี้. ...
[ทิฏฐิที่ ๒๑ รูปีจอรูปีจอัตตาทิฏฐิ]
...ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย(๒๑)เมื่อรูปนั่นแลมีอยู่ เพราะเข้าไปยึดถือซึ่งรูป เพราะปักใจเข้าไปสู่รูป ทิฏฐิจึงเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า อัตตามีรูปก็ได้ไม่มีรูปก็ได้เป็นอัตตาหาโรคมิได้หลังจากตายแล้ว ดังนี้. ฅ
[ทิฏฐิที่ ๒๒ เนวรูปีนารูปีจอัตตาทิฏฐิ]
...ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย(๒๒)เมื่อรูปนั่นแลมีอยู่ เพราะเข้าไปยึดถือซึ่งรูปเพราะปักใจเข้าไปสู่รูป ทิฏฐิจึงเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า (ต้องเป็น) อัตตามีรูปก็มิใช่ไม่มีรูปก็มิใช่(เท่านั้น จึงจะ) เป็นอัตตา หาโรคมิได้ หลังจากตายแล้ว ดังนี้. ...
[ทิฏฐิที่ ๒๓ เอกันตสุขีอัตตาทิฏฐิ]
...ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย(๒๓)เมื่อรูปนั่นแลมีอยู่ เพราะเข้าไปยึดถือซึ่งรูปเพราะปักใจเข้าไปสู่รูป ทิฏฐิจึงเกิด ขึ้นอย่างนี้ว่า (ต้องเป็น) อัตตามีสุขโดยส่วนเดียว(เท่านั้น จึงจะ) เป็นอัตตา หาโรคมิได้ หลังจากตายแล้ว ดังนี้. ...
[ทิฏฐิที่ ๒๔ เอกันตทุกขีอัตตาทิฏฐิ]
...ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย(๒๔)เมื่อรูปนั่นแลมีอยู่ เพราะเข้าไปยึดถือซึ่งรูปเพราะปักใจเข้าไปสู่รูป ทิฏฐิจึงเกิด ขึ้นอย่างนี้ว่า (ต้องเป็น) อัตตามีทุกข์โดยส่วนเดียว(เท่านั้น จึงจะ) เป็นอัตตา หาโรคมิได้ หลังจากตายแล้ว ดังนี้. ...
[ทิฏฐิที่ ๒๕ สุขทุกขีอัตตาทิฏฐิ]
...ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย(๒๕)เมื่อรูปนั่นแลมีอยู่ เพราะเข้าไปยึดถือซึ่งรูปเพราะปักใจเข้าไปสู่รูป ทิฏฐิจึงเกิด ขึ้นอย่างนี้ว่า (ต้องเป็น) อัตตามีทั้งสุขและทุกข์(เท่านั้น จึงจะ) เป็นอัตตาหา โรคมิได้ หลังจากตายแล้ว ดังนี้. ...
[ทิฏฐิที่ ๒๖ เอกันตทุกขีอัตตาทิฏฐิ]
...ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่หนอ เพราะเข้าไปยึดถือซึ่งรูป เพราะปักใจเข้าไปสู่รูป ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น อย่างนี้ว่า (ต้องเป็น) อัตตาไม่มีทั้งทุกข์และสุข(เท่านั้น จึงจะ) เป็นอัตตาหา โรคมิได้ หลังจากตาย แล้ว ดังนี้...ภิกษุทั้งหลายเท่านั้น กราบทูลวิงวอนว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลาย ของพวกข้า พระองค์ มีพระผู้มีพระภาคเป็นมูล มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่ง.
ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ เป็นการชอบแล้วหนอ ขอให้อรรถแห่งภาษิตนั้นจงแจ่มแจ้ง กะ พระผู้มีพระภาคเองเถิด ภิกษุทั้งหลายได้ฟังจากพระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้ ดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสเตือนให้ภิกษุ ทั้งหลาย เหล่านั้นตั้งใจฟังด้วยดีแล้ว ได้ตรัส ข้อความดังต่อไปนี้ -
...ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย(๒๖)เมื่อรูปนั่นแลมีอยู่ เพราะเข้าไปยึดถือซึ่งรูปเพราะปักใจเข้าไปสู่รูป ทิฏฐิจึงเกิด ขึ้นอย่างนี้ว่า (ต้องเป็น) อัตตาไม่มีทั้งทุกข์และสุข(เท่านั้น จึงจะ) เป็นอัตตาหา โรคมิได้ หลังจากตายแล้ว ดังนี้. ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอทั้งหลาย จะสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไร? รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง? (ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า) ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า? (เป็นทุกข์พระเจ้าข้า) แม้สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา แต่ถ้าไม่เข้าไปยึดถือ ซึ่งสิ่งนั้นแล้ว ทิฏฐิอย่างนี้ จะเกิดขึ้นได้ไหม ว่า(ต้องเป็น) อัตตาไม่มีทั้งทุกข์และสุข (เท่านั้น จึงจะ) เป็นอัตตา หาโรคมิได้ หลังจากตายแล้ว ดังนี้? (ข้อนั้นหามิได้พระเจ้าข้า)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยอาการอย่างนี้แล เมื่อทุกข์มีอยู่ เพราะเข้าไปยึดถือซึ่งทุกข์ เพราะปักใจ เข้าไปสู่ ทุกข์ ทิฏฐิจึงเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า (ต้องเป็น) อัตตาไม่มีทั้งทุกข์และสุข (เท่านั้นจึงจะ) เป็นอัตตา หาโรคมิได้ หลังจากตายแล้ว ดังนี้.
(ในกรณีแห่งเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็มีการตรัส การตรัสถาม และการทูลตอบ อย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งรูปนี้ ซึ่งเริ่มตั้งแต่คำว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อรูปนั่นแลมีอยู่ ...ไปจนจบ ข้อความด้วย คำว่า... อัตตาไม่มีทั้งทุกข์และสุข หาโรคมิได้หลังจากตายแล้ว ดังนี้. ซึ่งตรัสเป็นคำ สุดท้ายในกรณี แห่งรูป เป็นข้อความที่เหมือนกันทุกตัวอักษร จนตลอดข้อความ ต่างกันแต่เพียงชื่อแห่งขันธ์แต่ละขันธ์ เท่านั้น).
หน้า 717
อันตคาหิกทิฏฐิ สิบ ๒๒๐๐ นัย ล้วนแต่เป็นไปในขันธ์ห้า
ล้วนแต่ปิดบังการเห็นปฏิจจสมุปบาท
ปริพพาชกชื่อวัจฉโคตต์ ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วทูลถามว่า
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุอะไรหนอเป็นปัจจัยทิฏฐิทั้งหลาย มีประการต่างๆเป็นอเนก เหล่านี้จึงเกิดขึ้น
(๑) ว่า โลกเที่ยง ดังนี้บ้าง
(๒) ว่า โลกไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง
(๓) ว่า โลกมีที่สุด ดังนี้บ้าง
(๔) ว่า โลกไม่มีที่สุด ดังนี้บ้าง
(๕) ว่า ชีวะก็อันนั้นสรีระก็อันนั้นดังนี้ บ้าง
(๖) ว่า ชีวะก็อันอื่นสรีระก็อันอื่นดังนี้บ้าง
(๗) ว่า ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้วย่อมมีอีก ดังนี้บ้าง
(๘) ว่า ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้วย่อมไม่มีอีก ดังนี้บ้าง
(๙) ว่า ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้วย่อมมีอีกก็มีย่อมไม่มีอีกก็มี ดังนี้บ้าง
(๑๐) ว่า ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้วย่อมมีอีกก็หามิได้ย่อมไม่มีอีกก็หามิได้ ดังนี้บ้าง?
(๑) ดูก่อนท่านผู้วัจฉโคตต์ เพราะความไม่รู้ (อญฺญาณ) ...ฯลฯ...
(๒) ดูก่อนท่านผู้วัจฉโคตต์ เพราะความไม่เห็น (อทสฺสน) ...ฯลฯ...
(๓) ดูก่อนท่านผู้วัจฉโคตต์ เพราะความไม่ถึงพร้อมเฉพาะ(อนภิสมย) ...ฯลฯ...
(๔) ดูก่อนท่านผู้วัจฉโคตต์ เพราะความไม่รู้โดยลำดับ (อนนุโพธ) ...ฯลฯ...
(๕) ดูก่อนท่านผู้วัจฉโคตต์ เพราะความไม่แทงตลอด(อปฺปฏิเวธ) ...ฯลฯ...
(๖) ดูก่อนท่านผู้วัจฉโคตต์ เพราะความไม่กำหนดทั่วถึง(อสลฺลกฺขณ) ...ฯลฯ...
(๗) ดูก่อนท่านผู้วัจฉโคตต์ เพราะความไม่เข้าไปกำหนด(อนุปลกฺขณ) ...ฯลฯ...
(๘) ดูก่อนท่านผู้วัจฉโคตต์ เพราะความไม่เพ่งพินิจอย่างสม่ำเสมอ (อสมเปกฺขณ) ...ฯลฯ...
(๙) ดูก่อนท่านผู้วัจฉโคตต์ เพราะความไม่พิจารณาโดยเจาะจง (อปฺปจฺจเวกฺขณ) ...ฯลฯ...
(๑๐) ดูก่อนท่านผู้วัจฉโคตต์ เพราะความไม่เข้าไปกำหนดโดยเฉพาะ (อปฺปจฺจุปลกฺขณ) ..ฯลฯ..
(๑๑) ดูก่อนท่านผู้วัจฉโคตต์ เพราะการไม่ทำให้ประจักษ์ (อปฺปจฺจกฺขกมฺม)
(๑) ในรูป (๒) ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งรูป (๓) ในความดับไม่เหลือแห่งรูป (๔) ในข้อปฏิบัต ิเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งรูป ทิฏฐิทั้งหลายมีประการต่าง ๆ เป็นอเนกเหล่านี้ จึงเกิดขึ้นว่า โลกเที่ยง ดังนี้บ้าง ว่า โลกไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ว่า โลกมีที่สุด ดังนี้บ้าง ว่าโลก ไม่มีที่สุด ดังนี้บ้าง ว่า ชีวะก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น ดังนี้บ้าง ว่า ชีวะก็อันอื่น สรีระก็อันอื่น ดังนี้บ้าง ว่า ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้ว ย่อมมีอีก ดังนี้บ้าง ว่าตถาคตภายหลังแต่ ตายแล้ว ย่อมไม่มีอีก ดังนี้บ้าง ว่า ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้ว ย่อมมีอีกก็มีย่อมไม่มีอีกก็มี ดังนี้บ้าง ว่า ตถาคต ภายหลังแต่ตายแล้ว ย่อมมีอีกก็หามิได้ย่อมไม่มีอีกก็หามิได้ ดังนี้บ้าง.
ดูก่อนท่านผู้วัจฉโคตต์ อันนี้แลเป็นเหตุ อันนี้เป็นปัจจัย ทิฏฐิทั้งหลายมีประการต่าง ๆ เป็นอเนกเหล่านี้ จึงเกิดขึ้นว่า โลกเที่ยง ดังนี้บ้าง ว่า โลกไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ว่า โลกมีที่สุด ดังนี้บ้าง ว่า โลกไม่มีที่สุด ดังนี้บ้าง...ฯลฯ...ฯลฯ... ว่า ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้ว ย่อมมีอีกก็หามิได้ ย่อมไม่มีอีกก็หามิได้ ดังนี้บ้าง ดังนี้ แล.
|