เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
  
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ            

  สัตว์ -พุทธวจน   ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
  7 of 7  
 
  สัตว์ พุทธวจน  ที่มา : http://watnapp.com/book  
       
    สารบัญ หน้า  
       
  60 . ขันธ์ ๕ ไม่ใช่ตัวตนของเรา (นัยที่ ๓) 210  
  61 . ย่อมทำลาย ย่อมไม่ก่อขึ้น ย่อมละทิ้ง ย่อมไม่ถือเอาซึ่งขันธ์ ๕ 212  
  62 . อายตนะภายใน ๖ ไม่ใช่ตัวตนของเรา 220  
  63 . อายตนะภายนอก ๖ ไม่ใช่ตัวตนของเรา 222  
  64 . วิญญาณ ๖ ไม่ใช่ตัวตนของเรา 224  
  65 . ผัสสะ ๖ ไม่ใช่ตัวตนของเรา 226  
  66 . เวทนา ๖ ไม่ใช่ตัวตนของเรา 228  
  67 . สัญญา ๖ ไม่ใช่ตัวตนของเรา 230  
  68 . สัญเจตนา ๖ ไม่ใช่ตัวตนของเรา 232  
  69 . ตัณหา ๖ ไม่ใช่ตัวตนของเรา 234  
  70 . ธาตุ ๖ ไม่ใช่ตัวตนของเรา 236  
  71 . เมื่อละอวิชชาได้ ความเห็นว่า เรามีอยู่ ย่อมไม่มี 238 238  
       
  เรื่องสัตว์ จบ    
 
 





หน้า 210

๖๐
ขันธ์ ๕ ไม่ใช่ตัวตนของเรา
(นัยที่ 3)
-บาลี นิทาน. สํ. ๑๖/๒๙๒/๖๑๘.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอโอกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรม แก่ข้าพระองค์โดยย่อ ซึ่งเมื่อข้าพระองค์ได้ฟังแล้วจะเป็นผู้หลีกออกผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้วอยู่.

ราหุล เธอจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร รูปเที่ยง หรือไม่เที่ยง.
ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.
เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็น สิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรานั่นเป็นตัวตนของเรา.
ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ราหุล เธอจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร เวทนา …สัญญา … สังขารทั้งหลาย …วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง.
ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.
เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็น สิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรานั่นเป็นตัวตนของเรา.
ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน สังขารทั้งหลาย ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อ หลุดพ้นแล้วย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้วกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ไม่ได้มี ดังนี้.


หน้า 212

๖๑
ย่อมทำลาย ย่อมไม่ก่อขึ้น ย่อมละทิ้งย่อมไม่ถือเอาซึ่งขันธ์ ๕

-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๐๕/๑๕๘.

ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งเมื่อตามระลึก ย่อมตามระลึกถึง ชาติก่อน ได้เป็นอันมาก สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหมดนั้น ก็ย่อมตามระลึกถึงอุปาทานขันธ์ ๕ หรือขันธ์ใดขันธ์หนึ่งแห่งอุปาทานขันธ์ ก็อุปาทานขันธ์ ๕ อะไรบ้าง คือ

ภิกษุทั้งหลาย ย่อมตามระลึกถึงรูปดังนี้ว่า ในอดีตกาล เราเป็นผู้มีรูปอย่างนี้ ย่อมตามระลึกถึงเวทนาดังนี้ว่า ในอดีตกาล เราเป็นผู้มีเวทนาอย่างนี้ ย่อมตามระลึกถึงสัญญาดังนี้ว่า ในอดีตกาล เราเป็นผู้มีสัญญาอย่างนี้ ย่อมตามระลึกถึงสังขารดังนี้ว่า ในอดีตกาล เราเป็นผู้มีสังขารอย่างนี้ ย่อมตามระลึกถึงวิญญาณดังนี้ว่า ในอดีตกาล เราเป็นผู้มีวิญญาณอย่างนี้.

ภิกษุทั้งหลาย เพราะอะไรจึงเรียกว่า รูป เพราะสิ่งนั้นแตกสลาย ดังนั้น จึงเรียกว่ารูป แตกสลายไปเพราะอะไรแตกสลายไปเพราะความหนาวบ้าง
แตกสลายไปเพราะ ความร้อนบ้าง แตกสลายไปเพราะความหิวบ้าง แตกสลายไปเพราะกระหายบ้าง แตกสลายไปเพราะสัมผัสแห่งเหลือบยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานบ้าง (ฑสํ มกสวาตาตปสิรสี ป-สมฺผสฺเสนปิ) บ้าง ภิกษุทั้งหลาย เพราะสิ่งนั้นแตกสลาย ดังนั้นจึงเรียกว่า รูป.

ภิกษุทั้งหลาย เพราะอะไรจึงเรียกว่า เวทนา เพราะสิ่งนั้นรู้สึก ดังนั้นจึงเรียกว่า เวทนา รู้สึกได้ซึ่งอะไร รู้สึกได้ซึ่งสุขบ้าง รู้สึกได้ซึ่งทุกข์บ้าง รู้สึกได้ซึ่งอทุกขมสุขบ้าง

ภิกษุทั้งหลาย เพราะสื่งนั้น รู้สึกดังนั้น จึงเรียกว่าเวทนา.

ภิกษุทั้งหลาย เพราะอะไรจึงเรียกว่า สัญญา เพราะจำได้หมายรู้ จึงเรียกว่าสัญญ จำได้ หมายรู้อะไร จาาได้หมายรู้สีเขียวบ้าง สีเหลืองบ้าง สีแดงบ้าง สีขาวบ้าง ภิกษุทั้งหลาย เพราะจำได้หมายรู้ จึงเรียกว่าสัญญา.

ภิกษุทั้งหลาย เพราะอะไรจึงเรียกว่า สังขาร เพราะปรุงแต่งสังขตธรรม จึงเรียกว่าสังขาร ปรุงแต่งสังขตธรรมอะไร ปรุงแต่งสังขตธรรมคือรูป โดยความเป็นรูป ปรุงแต่ง สังขตธรรม คือเวทนาโดยความเป็นเวทนา ปรุงแต่งสังขตธรรม คือสัญญาโดยความเป็นสัญญา ปรุงแต่ง สังขตธรรม คือสังขารโดยความเป็นสังขาร ปรุงแต่งสังขตธรรม คือวิญญาณโดยความเป็น วิญญาณ ภิกษุทั้งหลาย เพราะปรุงแต่งสังขตธรรม จึงเรียกว่าสังขาร.

ภิกษุทั้งหลาย เพราะอะไรจึงเรียกว่า วิญญาณเพราะรู้แจ้ง จึงเรียกว่าวิญญาณ รู้แจ้ง ซึ่งอะไร รู้อแจ้งรสเปรี้ยวบ้าง รู้แจ้งรสขมบ้าง รู้แจ้งรสเผ็ดบ้าง รู้แจ้งรสหวานบ้าง รู้แจ้ง รสขื่นบ้าง รู้แจ้ง รสไม่ขึ่น บ้าง รู้แจ้ง รสเค็ม บ้าง รู้แจ้งรสไม่เค็ม บ้าง ภิกษุทั้งหลาย เพราะรู้แจ้งจึง เรียกว่าวิญญาณ.

ภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้น อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ในกาลนี้เราถูก รูปเคี้ยวกินอยู่ แม้ในกาลอดีต เราก็ถูกรูปเคี้ยวกินแล้ว เหมือนกับที่ถูกรูปอันเป็นปัจจุบัน เคี้ยวกินอยู่ในบัดนี้ ถ้าเรานี้ พึงยินดีรูปในอนาคต แม้ในกาลอนาคต เราก็จะถูกรูปเคี้ยวกิน เหมือนกับที่ถูกรูปอันเป็นปัจจุบันเคี้ยวกินอยู่ในบัดนี้ เธอพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมไม่มี ความอาลัยในรูปอันเป็นอดีตย่อมไม่ยินดีในรูปอันเป็นอนาคต ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความ เบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งรูปอันเป็นปัจจุบัน.

ภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้น อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ในกาลนี้เราถูก เวทนา … ถูกสัญญา …ถูกสังขาร … ถูกวิญญาณเคี้ยวกินอยู่ แม้ในกาลอดีตเราก็ถูกเวทนา … ถูกสัญญา … ถูกสังขาร … ถูกวิญญาณเคี้ยวกินแล้ว เหมือนกับที่ถูกเวทนา … ถูกสัญญา …ถูกสังขาร … ถูกวิญญาณอันเป็นปัจจุบันเคี้ยวกินอยู่ในบัดนี้ถ้าเรานี้ พึงยินดีเวทนา … สัญญา … สังขาร … วิญญาณอันเป็นอนาคต แม้ในกาลอนาคต เราก็จะถูกเวทนา …ถูกสัญญา … ถูกสังขาร … ถูกวิญญาณเคี้ยวกิน เหมือนกับที่ถูกเวทนา … ถูกสัญญา … ถูกสังขาร … ถูกวิญญาณอันเป็นปัจจุบันเคี้ยวกินอยู่ในบัดนี้ เธอพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมไม่มีความอาลัยในเวทนา … ในสัญญา … ในสังขาร … ในวิญญาณอันเป็นอดีต ย่อมไม่ชื่นชมเวทนา … สัญญา …สังขาร … วิญญาณอันเป็นอนาคต ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อ ความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งเวทนา … แห่งสัญญา … แห่งสังขาร …แห่งวิญญาณอันเป็นปัจจุบัน.

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง.
ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ หรือเป็นสุขเล่า.
เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็น สิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรานั่นเป็นตัวตนของเรา.
ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร เวทนา … สัญญา … สังขาร … วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง.
ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ หรือเป็นสุขเล่า.
เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็น สิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรานั่นเป็นตัวตนของเรา.
ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ภิกษุทั้งหลาย รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีตอนาคต หรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายใน หรือ ภายนอกก็ตามหยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือใกล้ ก็ตาม รูปทั้งหมดนั้น เธอทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญา อันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา (เนตํ มม) ไม่ใช่เป็นเรา (เนโสหมสฺมิ) ไม่ใช่ตัวตนของเรา(น เมโส อตฺตา).

ภิกษุทั้งหลาย เวทนา … สัญญา … สังขาร …วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต หรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายในหรือภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลว หรือ ประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือใกล้ก็ตาม เวทนา สัญญา … สังขาร … วิญญาณทั้งหมดนั้น เธอทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา.

ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกนี้ เราเรียกว่า ย่อมทำลายย่อมไม่ก่อขึ้น ย่อมละทิ้ง ย่อมไม่ถือเอา ย่อมเรี่ยราย ย่อมไม่รวบรวมเข้าไว้ ย่อมทำให้มอด ย่อมไม่ทำให้ ลุกโพลงขึ้น.

อริยสาวกนั้น ย่อมทำลาย ย่อมไม่ก่อขึ้นซึ่งอะไรเธอย่อมทำลาย ย่อมไม่ก่อขึ้น ซึ่งรูป … เวทนา … สัญญา …สังขาร … วิญญาณ.

อริยสาวกนั้น ย่อมละทิ้ง ย่อมไม่ถือเอาซึ่งอะไรเธอย่อมละทิ้ง ย่อมไม่ถือเอา ซึ่งรูป … เวทนา … สัญญา …สังขาร … วิญญาณ.

อริยสาวกนั้น ย่อมเรี่ยราย ย่อมไม่รวบรวมเข้าไว้ซึ่งอะไร เธอย่อมเรี่ยราย ย่อมไม่ รวบรวม เข้าไว้ซึ่งรูป …เวทนา … สัญญา … สังขาร … วิญญาณ.

อริยสาวกนั้น ย่อมทำให้มอด ย่อมไม่ก่อให้ลุกโพลงขึ้นซึ่งอะไร เธอย่อมทำ ให้มอด ย่อมไม่ ก่อให้ลุกโพลงขึ้นซึ่งรูป … เวทนา … สัญญา … สังขาร … วิญญาณ.

ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป … แม้ในเวทนา … แม้ในสัญญา …แม้ในสังขาร … แม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้วพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ไม่ได้มี ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกนี้ เราเรียกว่า ย่อมไม่ก่อขึ้นย่อมไม่ทำลาย แต่เป็นอันว่าทำลาย ได้แล้ว ตั้งอยู่ ย่อมไม่ละทิ้งย่อมไม่ถือเอา แต่เป็นอันว่าละทิ้งได้แล้วตั้งอยู่ ย่อมไม่เรี่ยราย ย่อมไม่รวบรวมเข้าไว้ แต่เป็นอันว่าเรี่ยรายได้แล้วตั้งอยู่ ย่อมไม่ทำให้มอด ย่อมไม่ทำให้ลุก โพลงขึ้น แต่เป็นอันว่าทำให้มอดได้แล้วตั้งอยู่.

อริยสาวก ย่อมไม่ก่อขึ้น ย่อมไม่ทำลายซึ่งอะไร แต่เป็นอันว่าทำลายได้แล้ว ตั้งอยู่ เธอย่อม ไม่ก่อขึ้น ย่อมไม่ทำลายซึ่งรูป … เวทนา … สัญญา … สังขาร … วิญญาณแต่เป็นอันว่า ทำลายได้แล้วตั้งอยู่.

อริยสาวก ย่อมไม่ละทิ้ง ย่อมไม่ถือเอาซึ่งอะไร แต่เป็นอันว่าละทิ้งได้แล้วตั้งอยู่ เธอย่อมไม่ ละทิ้ง ย่อมไม่ถือเอาซึ่งรูป … เวทนา … สัญญา … สังขาร … วิญญาณ แต่เป็นอันว่าละทิ้ง ได้แล้วตั้งอยู่.

อริยสาวก ย่อมไม่เรี่ยราย ย่อมไม่รวบรวมเข้าไว้ซึ่งอะไร แต่เป็นอันว่าเรี่ยราย ได้แล้ว ตั้งอยู่ เธอย่อมไม่เรี่ยรายย่อมไม่รวบรวมเข้าไว้ซึ่งรูป … เวทนา … สัญญา … สังขาร …วิญญาณ แต่เป็นอันว่าเรี่ยรายได้แล้วตั้งอยู่.

อริยสาวก ย่อมไม่ทำให้มอด ย่อมไม่ทำให้ลุกโพลงขึ้นซึ่งอะไร แต่เป็นอันว่า ทำให้มอด ได้แล้วตั้งอยู่ ย่อมไม่ทำให้มอด ย่อมไม่ทำให้ลุกโพลงขึ้นซึ่งรูป … เวทนา … สัญญา …สังขาร … วิญญาณ แต่เป็นอันว่าทำให้มอดได้แล้วตั้งอยู่.

ภิกษุทั้งหลาย เทวดาพร้อมด้วยอินทร์ พรหม และปชาบดีย่อมนมัสการ ภิกษุ ผู้มีจิตหลุดพ้น แล้วอย่างนี้ มาจากที่ไกลทีเดียวว่า ข้าแต่ท่านบุรุษอาชาไนย ข้าแต่ท่านบุรุษผู้สูงสุด ข้าพเจ้าขอนมัสการท่าน เพราะข้าพเจ้าไม่อาจจะทรา บสิ่งซึ่งท่านอาศัยแล้วเพ่งอยู่ ดังนี้.

หน้า 220

๖๒
อายตนะภายใน
6ไม่ใช่ตัวตนของเรา
-บาลี นิทาน. สํ. ๑๖/๒๘๗/๕๙๙.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอโอกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรม แก่ข้า พระองค์โดยย่อ ซึ่งเมื่อข้าพระองค์ได้ฟังแล้วจะเป็นผู้หลีกออกผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้วอยู่.

ราหุล เธอจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร

จักษุ (ตา) เที่ยงหรือไม่เที่ยง.
ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.
เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรานั่นเป็นตัวตนของเรา.
ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ราหุล เธอจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร โสตะ (หู)… ฆานะ (จมูก) … ชิวหา (ลิ้น) … กายะ (กาย) … มโน (ใจ)เที่ยงหรือไม่เที่ยง.
ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.
เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยงเป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรานั่นเป็นตัวตนของเรา.
ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ราหุล อริยสาวก ผู้ได้สดับ แล้วเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ ในโสตะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในฆานะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกายะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโน เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลาย กำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้วย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้วกิจอื่นเพื่อความ เป็นอย่างนี้ ไม่ได้มี ดังนี้.

หน้า 222

๖๓
อายตนะภายนอก
6ไม่ใช่ตัวตนของเรา
-บาลี นิทาน. สํ. ๑๖/๒๘๘/๖๐๒.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอโอกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรม แก่ข้าพระองค์โดยย่อ ซึ่งเมื่อข้าพระองค์ได้ฟังแล้วจะเป็นผู้หลีกออกผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้วอยู่.

ราหุล เธอจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร รูปเที่ยง หรือไม่เที่ยง.
ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.
เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรานั่นเป็นตัวตนของเรา.
ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ราหุล เธอจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร เสียง …กลิ่น … รส … โผฏฐัพพะ … ธรรมเที่ยงหรือไม่เที่ยง.
ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.
เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรานั่นเป็นตัวตนของเรา.
ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน เสียง ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกลิ่น ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโผฏฐัพพะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธรรม เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณ หยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว อริยสาวกนั้นย่อมรู้ชัด ว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้วกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ ไม่ได้มี ดังนี้.

หน้า 224


๖๔
วิญญาณ
6 ไม่ใช่ตัวตนของเรา
-บาลี นิทาน. สํ. ๑๖/๒๘๙/๖๐๔.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอโอกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรม แก่ข้าพระองค์โดยย่อ ซึ่งเมื่อข้าพระองค์ได้ฟังแล้วจะเป็นผู้หลีกออกผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้วอยู่.

ราหุล เธอจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร จักขุวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง.
ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.
เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็น สิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรานั่นเป็นตัวตนของเรา.
ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ราหุล เธอจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร โสตวิญญาณ… ฆานวิญญาณ … ชิวหาวิญญาณ … กายวิญญาณ … มโนวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง.
ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.
เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็น สิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรานั่นเป็นตัวตนของเรา.
ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโสตวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในฆานวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหาวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกายวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโนวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด
เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว อริยสาวกนั้นย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ไม่ได้มี ดังนี้.

หน้า 226

๖๕
ผัสสะ
6 ไม่ใช่ตัวตนของเรา
-บาลี นิทาน. สํ. ๑๖/๒๘๙/๖๐๖.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอโอกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรม แก่ข้าพระองค์โดยย่อ ซึ่งเมื่อข้าพระองค์ได้ฟังแล้วจะเป็นผู้หลีกออกผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้วอยู่.

ราหุล เธอจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร จักขุสัมผัสเที่ยงหรือไม่เที่ยง.
ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.
เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรานั่นเป็นตัวตนของเรา.
ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ราหุล เธอจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร โสตสัมผัส… ฆานสัมผัส … ชิวหาสัมผัส … กายสัมผัส … มโนสัมผัสเที่ยงหรือไม่เที่ยง.
ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.
เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรานั่นเป็นตัวตนของเรา.
ไม่ควรตามเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโสตสัมผัสย่อมเบื่อหน่ายแม้ในฆานสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหาสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกายสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโนสัมผัส เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด
เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว อริยสาวกนั้นย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้วพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ไม่ได้มี ดังนี้.


หน้า 228

๖๖
เวทนา
6 ไม่ใช่ตัวตนของเรา
-บาลี นิทาน. สํ. ๑๖/๒๘๙/๖๐๘.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอโอกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรม แก่ข้าพระองค์โดยย่อ ซึ่งเมื่อข้าพระองค์ได้ฟังแล้วจะเป็นผู้หลีกออกผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้วอยู่.

ราหุล เธอจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร เวทนาที่เกิดจากจักขุสัมผัส เที่ยงหรือไม่เที่ยง.
ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.
เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรานั่นเป็นตัวตนของเรา.
ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ราหุล เธอจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร เวทนาที่เกิดจากโสตสัมผัส … เวทนาที่เกิดจากฆานสัมผัส …เวทนาที่เกิดจากชิวหาสัมผัส … เวทนาที่เกิดจากกายสัมผัส… เวทนาที่เกิดจากมโนสัมผัส เที่ยงหรือไม่เที่ยง.
ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.
เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรานั่นเป็นตัวตนของเรา.
ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนาที่เกิดจากจักขุสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนาที่เกิดจากโสตสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนาที่เกิดจากฆานสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนาที่เกิดจากชิวหาสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนาที่เกิดจากกายสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนาที่เกิดจากมโนสัมผัสเมื่อเบื่อหน่าย
ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น
เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว
อริยสาวกนั้นย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ไม่ได้มี ดังนี้.

(เนื้อ หาในบทที่ ๖๑ (อายตนะภายใน ๖ ไม่ใช่ตัวตนของเรา)จนถึงบทที่ ๖๕ (เวทนา ๖ ไม่ใช่ตัวตนของเรา) รวมทั้งสิ้น ๕ บทในสูตรอื่น -บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๑๖๘/๒๓๕. ตรัสว่า เป็นปฏิปทาที่สัปปายะแก่การบรรลุนิพพาน. -ผู้รวบรวม)


หน้า 230

๖๗
สัญญา
6 ไม่ใช่ตัวตนของเรา
-บาลี นิทาน. สํ. ๑๖/๒๙๐/๖๑๐.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอโอกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรม แก่ข้า พระองค์โดยย่อ ซึ่งเมื่อข้าพระองค์ได้ฟังแล้วจะเป็นผู้หลีกออกผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้วอยู่.

ราหุล เธอจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร รูปสัญญา(ความหมายรู้ในรูป) เที่ยงหรือไม่เที่ยง.
ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.
เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็น สิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรานั่นเป็นตัวตนของเรา.
ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ราหุล เธอจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร สัททสัญญา(ความหมายรู้ในเสียง) … คันธสัญญา (ความหมายรู้ในกลิ่น) …รสสัญญา (ความหมายรู้ในรส) … โผฏฐัพพสัญญา (ความหมายรู้ ในสัมผัสทางกาย) … ธัมมสัญญา (ความหมายรู้ในธรรม) เที่ยงหรือไม่เที่ยง.
ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.
เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็น สิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรานั่นเป็นตัวตนของเรา.
ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูปสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัททสัญญาย่อมเบื่อหน่ายแม้ในคันธสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรสสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโผฏฐัพพสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธัมมสัญญา เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด
เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว อริยสาวกนั้นย่อมรู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้วกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ ไม่ได้มี ดังนี้.

หน้า 232

๖๘
สัญเจตนา
6 ไม่ใช่ตัวตนของเรา
-บาลี นิทาน. สํ. ๑๖/๒๙๐/๖๑๒.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอโอกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรม แก่ข้า พระองค์โดยย่อ ซึ่งเมื่อข้าพระองค์ได้ฟังแล้วจะเป็นผู้หลีกออกผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้วอยู่.

ราหุล เธอจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร รูปสัญเจตนา(เจตนาในรูป) เที่ยงหรือไม่เที่ยง.
ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.
เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็น สิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรานั่นเป็นตัวตนของเรา.
ไม่ควรห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ราหุล เธอจะสำาคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร สัทท-สัญเจตนา (เจตนาในเสียง) … คันธสัญเจตนา (เจตนาในกลิ่น) …รสสัญเจตนา (เจตนาในรส) … โผฏฐัพพสัญเจตนา (เจตนาในสัมผัสทางกาย) … ธัมมสัญเจตนา (เจตนาในธรรม) เที่ยงหรือไม่เที่ยง.
ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.
เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็น สิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรานั่นเป็นตัวตนของเรา.
ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูปสัญเจตนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัททสัญเจตนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในคันธสัญเจตนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรสสัญเจตนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโผฏฐัพพ-สัญเจตนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธัมมสัญเจตนา เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด
เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว
ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว
อริยสาวกนั้นย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ไม่ได้มี ดังนี้.

หน้า 234

๖๙
ตัณหา
6 ไม่ใช่ตัวตนของเรา
-บาลี นิทาน. สํ. ๑๖/๒๙๑/๖๑๔.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอโอกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรม แก่ข้าพระองค์โดยย่อ ซึ่งเมื่อข้าพระองค์ได้ฟังแล้วจะเป็นผู้หลีกออกผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้วอยู่.

ราหุล เธอจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร รูปตัณหา(ความอยากในรูป) เที่ยงหรือไม่เที่ยง.
ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.
เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรานั่นเป็นตัวตนของเรา.
ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ราหุล เธอจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร สัททตัณหา(ความอยากในเสียง) … คันธตัณหา (ความอยากในกลิ่น) … รสตัณหา(ความอยากในรส) … โผฏฐัพพตัณหา (ความอยากในสัมผัสทางกาย) … ธัมมตัณหา (ความอยากในธรรม) เที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.
เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรานั่นเป็นตัวตนของเรา.
ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับ เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูปตัณหา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัททตัณหา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในคันธตัณหา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรสตัณหา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโผฏฐัพพตัณหา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธัมมตัณหา เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด
เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว
ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว อริยสาวกนั้นย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้วพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ไม่ได้มี ดังนี้.


หน้า 236

๗๐
ธาตุ
6 ไม่ใช่ตัวตนของเรา
-บาลี นิทาน. สํ. ๑๖/๒๙๑/๖๑๖.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอโอกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมแก่ข้า พระองค์โดยย่อ ซึ่งเมื่อข้าพระองค์ได้ฟังแล้วจะเป็นผู้หลีกออกผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้วอยู่.

ราหุล เธอจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) เที่ยงหรือไม่เที่ยง.
ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.
เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็น สิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรานั่นเป็นตัวตนของเรา.
ไม่ควรตามเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ราหุล เธอจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร อาโปธาตุ(ธาตุน้ำ) … เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) … วาโยธาตุ (ธาตุลม) …อากาสธาตุ (ธาตุคืออากาศ) … วิญญาณธาตุ (ธาตุคือวิญญาณ)เที่ยงหรือไม่เที่ยง.
ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.
เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรานั่นเป็นตัวตนของเรา.

ไม่ควรตามเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับ เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในปฐวีธาตุ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในอาโปธาตุย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเตโชธาตุ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวาโยธาตุย่อมเบื่อหน่ายแม้ในอากาสธาตุ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณธาตุ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด
เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว
ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว อริยสาวกนั้นย่อมรู้ชัดว่า
ชาติสิ้นแล้วพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ไม่ได้มี ดังนี้.

หน้า 238

๗๑
เมื่อละอวิชชาได้ ความเห็นว่าเรามีอยู่ ย่อมไม่มี

-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๕๗/๙๔.

ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งเมื่อสำคัญเห็น ย่อมสำคัญเห็นซึ่งอัตตา (ตน) มีอย่างต่างๆสมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมสำคัญเห็นซึ่งอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ อย่างบ้าง หรือว่า ย่อมสำคัญเห็นซึ่ง อุปาทานขันธ์ขันธ์ใดขันธ์หนึ่ง ในบรรดาอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เหล่านั้นบ้าง.

ภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ อะไรบ้าง ภิกษุทั้งหลาย ในโลกนี้

ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้ว
ไม่ได้เห็นพระอริยะทั้งหลาย
ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ
ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ
ไม่เห็นสัปบุรุษทั้งหลายไม่ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ
ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัปบุรุษ

เขาย่อมสำคัญ เห็นซึ่ง รูป โดยความเป็นตนบ้าง
ย่อมสำคัญเห็นซึ่งตน ว่ามีรูปบ้าง
ย่อมสำคัญเห็นซึ่งรูป ในตนบ้าง
ย่อมสำคัญเห็นซึ่งตนในรูปบ้าง

เขาย่อมสำคัญ เห็นซึ่งเวทนา โดยความเป็นตนบ้าง
ย่อมสำคัญเห็นซึ่งตนว่ามีเวทนาบ้าง
ย่อมสำคัญเห็นซึ่งเวทนาในตนบ้าง
ย่อมสำคัญเห็นซึ่งตนในเวทนาบ้าง

เขาย่อมสำคัญ เห็นซึ่งสัญญา โดยความเป็นตนบ้าง
ย่อมสำคัญเห็นซึ่งตนว่ามีสัญญาบ้าง
ย่อมสำคัญเห็นซึ่งสัญญาในตนบ้าง
ย่อมสำคัญเห็นซึ่งตนในสัญญาบ้าง

เขาย่อมสำคัญ เห็นซึ่งสังขารทั้งหลาย โดยความเป็นตนบ้าง
ย่อมสำคัญเห็นซึ่งตนว่ามีสังขารบ้าง
ย่อมสำคัญเห็นซึ่งสังขารทั้งหลายในตนบ้าง
ย่อมสำคัญเห็นซึ่งตนในสังขารทั้งหลายบ้าง

เขาย่อมสำคัญ เห็นซึ่งวิญญาณโดยความเป็นตนบ้าง
ย่อมสำคัญเห็นซึ่งตนว่ามีวิญญาณบ้าง
ย่อมสำคัญเห็นซึ่งวิญญาณในตนบ้าง
ย่อมสำคัญเห็นซึ่งตนในวิญญาณบ้าง.

การสำคัญเห็นด้วยอาการอย่างนี้ เป็นอันว่าการถือมั่น(อธิคตำ) ของบุคคลนั้นว่า เรามีอยู่ ย่อมมี ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลนั้นถือมั่นว่า เรามีอยู่(อสฺมีติ) ดังนี้แล้ว ลำดับนั้น การก้าวลงแห่ง อินทรีย์ทั้งหลาย ๕ ประการ ย่อมมีขึ้น (ปญฺจนฺนํ อินฺทฺริยานํ อวกฺกนฺติ) ได้แก่อินทรีย์คือตา อินทรีย์คือหู อินทรีย์คือจมูก อินทรีย์คือลิ้น อินทรีย์คือกาย.

ภิกษุทั้งหลาย มโนมีอยู่ ธรรมทั้งหลายมีอยู่ อวิชชาธาตุมีอยู่.

ภิกษุทั้งหลาย
เมื่อปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้ว ถูกเวทนาอันเกิดจากอวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว
เขาย่อมมีความถือมั่นว่า เรามีอยู่ (อสฺมีติ) ดังนี้บ้าง
ว่านี้เป็นเรา (อยมหมสฺมีติ) ดังนี้บ้าง
ว่าเราจักมี (ภวิสฺสำอิติ) ดังนี้บ้าง
ว่าเราจักไม่มี (น ภวิสฺสำอิติ)ดังนี้บ้าง
ว่าเราจักเป็นสัตว์มีรูป (รูปี ภวิสฺสำอิติ) ดังนี้บ้าง
ว่าเราจักเป็นสัตว์ไม่มีรูป (อรูปี ภวิสฺสำอิติ) ดังนี้บ้าง
ว่าเราจักเป็นสัตว์มีสัญญา (สญฺญีภวิสฺสำอิติ) ดังนี้บ้าง
ว่าเราจักเป็นสัตว์ไม่มีสัญญา(อสญฺญีภวิสฺสำอิติ) ดังนี้บ้าง
ว่าเราจักเป็นสัตว์มีสัญญาก็ไม่ใช่ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ (เนวสญฺญินาสญฺญี ภวิสฺสำอิติ) ดังนี้บ้าง.

ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ทั้งหลาย ๕ ประการ ย่อมตั้งอยู่ เพราะการสำคัญเห็นด้วยอาการ อย่างนี้

เมื่อเป็นเช่นนี้อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อมละอวิชชาเสียได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น เพราะความ จางคลายไปแห่งอวิชชา เพราะความเกิดขึ้นแห่งวิชชา อริยสาวกนั้น ย่อมไม่มีความถือมั่น

ว่าเรามีอยู่ ดังนี้บ้าง ว่านี้เป็นเรา ดังนี้บ้าง
ว่าเราจักมี ดังนี้บ้างว่าเราจักไม่มี ดังนี้บ้าง
ว่าเราจักเป็นสัตว์มีรูป ดังนี้บ้าง
ว่าเราจัก เป็นสัตว์ไม่มีรูป ดังนี้บ้าง
ว่าเราจักเป็นสัตว์มีสัญญาดังนี้บ้าง
ว่าเราจักเป็นสัตว์ไม่มีสัญญา ดังนี้บ้าง
ว่าเราจักเป็นสัตว์มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ ดังนี้บ้าง.

หมายเหตุ นอกจากพระสูตรที่ปรากฏในหนังสือเล่มนี้แล้ว พระศาสดายังได้ตรัส ถึงเรื่องสัตว์ และข้อปฏิบัติเพื่อการหลุดพ้นจากความเป็นสัตว์ไว้อีกมาก คณะงานธัมมะฯ ได้รวบรวมมาไว้ เพียงบางส่วนเท่านั้น ผู้สนใจสามารถศึกษา เพิ่มเติมได้จาก หนังสือพุทธวจน-หมวดธรรม เล่ม 1-๑๘ / แอปพลิเคชัน ตรวจหา และเทียบเคียงพุทธวจนจากพระไตรปิฎก(E-Tipitaka) และจากพระไตรปิฎก.