เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
  
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ            

  สัตว์ -พุทธวจน   ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
  4 of 7  
 
  สัตว์ พุทธวจน  ที่มา : http://watnapp.com/book  
       
    สารบัญ หน้า  
       
  32 . สิ่งที่ควรพิจารณาเนืองๆ 103  
  33 . สัตว์กลับมาเกิดเป็นมนุษย์มีน้อย เพราะไม่รู้อริยสัจ 110  
       
  ปัญหาที่ไม่ควรถาม    
  34 . ถ้ามัวรอให้รู้เรื่องที่ไม่จำเป็นเสียก่อน ก็ตายเปล่า 114  
  35 . ตถาคตสอนเรื่องทุกข์ และความดับไม่เหลือของทุกข์ 117  
  36 . ปัญหาที่ไม่ควรถาม (นัยที่ ๑) 119  
  37 . ปัญหาที่ไม่ควรถาม (นัยที่ ๒) 123  
  38 . พระอรหันต์ไปเกิดหรือไม่ไปเกิด 136  
  39 . ตถาคตพ้นแล้วจากอุปาทานขันธ์ ๕ 140  
       
 
 






หน้า 103

๓๒
สิ่งที่ควรพิจารณาเนืองๆ

-บาลี ปญฺจก. อํ. ๒๒/๘๑/๕๗.

ภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๕ ประการนี้ อันสตรี บุรุษคฤหัสถ์ หรือบรรพชิต ควรพิจารณาเนืองๆ ๕ ประการเป็นอย่างไร คือ สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า
(๑) เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้
(๒) เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้
(๓) เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้
(๔) เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น
(๕) เรามีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรมมีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งทำกรรมใดไว้ ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เราจะเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น

ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำานาจประโยชน์อะไรสตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆ ว่าเรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้
ภิกษุทั้งหลาย ความมัวเมาในความเป็นหนุ่มสาวมีอยู่แก่สัตว์ทั้งหลาย ซึ่งเป็นเหตุให้ สัตว์ทั้งหลาย ประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต เมื่อเขาพิจารณา ฐานะนั้น อยู่เนืองๆ ย่อมละความมัวเมาในความเป็นหนุ่มสาวนั้นได้ โดยสิ้นเชิง หรือว่า ทำให้เบาบางลงได้

ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำานาจประโยชน์นี้แล สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้.

ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไรสตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆ ว่าเรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ ไปได้ ภิกษุทั้งหลาย ความมัวเมาในความไม่มีโรคมีอยู่ แก่สัตว์ทั้งหลาย ซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ ทั้งหลาย ประพฤติกายทุจริตวจีทุจริต มโนทุจริต เมื่อเขาพิจารณา ฐานะนั้นอยู่เนืองๆ ย่อมละความมัวเมาในความไม่มีโรคนั้นได้ โดยสิ้นเชิง หรือว่า ทำให้เบาบางลงได้ ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แล สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้.

ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไรสตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆ ว่าเรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ ภิกษุทั้งหลาย ความมัวเมาในชีวิตมีอยู่แก่สัตว์ทั้งหลาย ซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลาย ประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริตเมื่อเขาพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนืองๆ ย่อมละความมัวเมาในชีวิตนั้นได้โดยสิ้นเชิง หรือว่าทำให้เบาบางลงได้ ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์ นี้แล สตรี บุรุษ คฤหัสถ์หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณา เนืองๆ ว่า เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้.

ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำานาจประโยชน์อะไรสตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆ ว่าเราจะต้องพลัดพรากจากของรัก ของชอบใจทั้งสิ้น ภิกษุทั้งหลาย ความพอใจ ความรักใคร่ในของรักมีอยู่แก่สัตว์ทั้งหลาย ซึ่งเป็นเหตุ ให้สัตว์ทั้งหลาย ประพฤติกายทุจริตวจีทุจริต มโนทุจริต เมื่อเขาพิจารณา ฐานะนั้น อยู่เนืองๆย่อมละความพอใจ ความรักใคร่นั้นได้โดยสิ้นเชิง หรือว่าทำให้เบาบางลงได้ ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำานาจประโยชน์นี้แล สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น.

ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไรสตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆ ว่าเรามีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิดมีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง ทำกรรมใดไว้ ดีก็ตามชั่วก็ตาม เราจะเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น ภิกษุทั้งหลายกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต มีอยู่แก่สัตว์ทั้งหลาย เมื่อเขาพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนืองๆ ย่อมละทุจริตเหล่านั้น ได้โดยสิ้นเชิง หรือว่าทำให้เบาบางลงได้

ภิกษุทั้งหลายเพราะอาศัยอำานาจประโยชน์นี้แล สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีกรรมเป็นของตนเป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง ทำกรรมใดไว้ ดีก็ตาม ชั่วก็ตามเราจะเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ไม่ใช่เราแต่ผู้เดียวเท่านั้น ที่มีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ โดยที่แท้ สัตว์ทั้งปวงที่มีการมา การไปการจุติ การอุบัติ ล้วนมีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ เมื่ออริยสาวกนั้น พิจารณาฐานะนั้นอยู่เนืองๆมรรคย่อ มเกิดขึ้นอริยสาวกนั้นย่อมเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป.

อริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ไม่ใช่เราแต่ผู้เดียวเท่านั้นที่มีความเจ็บไข้ เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้ โดยที่แท้ สัตว์ทั้งปวงที่มีการมา การไป การจุติการอุบัติ ล้วนมีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความ

เจ็บไข้ไปได้ เมื่ออริยสาวกนั้นพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนืองๆมรรคย่อมเกิดขึ้น อริยสาวกนั้น ย่อมเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป.

อริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ไม่ใช่เราแต่ผู้เดียวเท่านั้นที่มีความตาย เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ โดยที่แท้ สัตว์ทั้งปวงที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติล้วนมีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้เมื่ออริยสาวกนั้น พิจารณาฐานะนั้นอยู่เนืองๆ มรรคย่อมเกิดขึ้นอริยสาวกนั้น ย่อมเสพ อบรม ทำให้มาก ซึ่งมรรคนั้น เมื่อเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้อนุสัย ย่อมสิ้นไป.

อริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ไม่ใช่เราแต่ผู้เดียวเท่านั้น ที่จะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น โดยที่แท้ สัตว์ทั้งปวงที่มีการมา การไป การจุติการอุบัติ ล้วนจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น เมื่ออริยสาวกนั้นพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนืองๆ มรรคย่อมเกิดขึ้น อริยสาวกนั้น ย่อมเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นเมื่อเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้อนุสัยย่อมสิ้นไป.

อริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ไม่ใช่เราแต่ผู้เดียวเท่านั้นที่มีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรมมีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งทำกรรมใดไว้ ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เราจักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้นโดยที่แท้ สัตว์ทั้งปวงที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติล้วนมีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง ทำกรรมใดไว้ ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม จะเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น เมื่ออริยสาวกนั้นพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนืองๆ มรรคย่อมเกิดขึ้นอริยสาวกนั้น ย่อมเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นเมื่อเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้อนุสัยย่อมสิ้นไป.

สัตว์ทั้งหลาย ย่อมมีความแก่เป็นธรรมดา มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา มีความตายเป็นธรรมดา สัตว์ทั้งหลายย่อมเป็นไปตามธรรมดา พวกปุถุชนย่อมเกลียด ถ้าเราพึงเกลียดธรรมนั้น ในพวกสัตว์ผู้มีอย่างนั้นเป็นธรรมดา ข้อนั้นไม่สมควรแก่เราผู้เป็นอยู่อย่างนี้ เรานั้นเป็นอยู่อย่างนี้ ทราบธรรมที่หาอุปธิไม่ได้ เห็นการออกบวชโดยเป็นธรรมเกษมครอบงำความมัวเมาทั้งปวง ในความไม่มีโรค ในความเป็นหนุ่มสาวและในชีวิต ความอุตสาหะได้มีแล้วแก่เราผู้เห็นเฉพาะซึ่งนิพพาน บัดนี้ เราไม่ควรเพื่อเสพกามทั้งหลาย จักเป็นผู้ประพฤติไม่ถอยหลัง ตั้งหน้าประพฤติพรหมจรรย์.

หน้า 110

๓๓
สัตว์กลับมาเกิดเป็นมนุษย์มีน้อยเพราะไม่รู้อริยสัจ

-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๗๘/๑๗๕๗.

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร ฝุ่นนิดหนึ่งที่เราช้อนขึ้นด้วยปลายเล็บนี้กับมหาปฐพีนี้ ข้างไหนจะมากกว่ากัน.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มหาปฐพีนั่นแหละเป็นดินที่มากกว่าฝุ่นนิดหนึ่ง เท่าที่ทรงช้อนขึ้นด้วยปลายพระนขานี้ เป็นของมีประมาณน้อยฝุ่นนั้นเมื่อนำเข้าไปเทียบกับมหาปฐพี ย่อมไม่ถึงซึ่งการคำนวณได้เปรียบเทียบได้ ไม่เข้าถึงแม้ซึ่งส่วนเสี้ยว.

ภิกษุทั้งหลาย ฉันใดก็ฉันนั้น สัตว์ (สตฺตา) ที่กลับมาเกิดสู่หมู่มนุษย์มีน้อย สัตว์ที่กลับมาเกิดเป็นอย่างอื่นจากหมู่มนุษย์ มีมากกว่าโดยแท้ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไรเล่าภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่สัตว์เหล่านั้นไม่เห็นอริยสัจทั้งสี่.

อริยสัจทั้งสี่ อะไรบ้าง คือ อริยสัจคือทุกข์ อริยสัจคือเหตุให้เกิดทุกข์ อริยสัจคือความดับไม่เหลือของทุกข์อริยสัจ คือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์.

ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ เธอพึงประกอบโยคกรรม อันเป็นเครื่องกระทำให้รู้ว่า ทุกข์เป็น อย่างนี้เหตุให้เกิดทุกข์เป็นอย่างนี้ ความดับไม่เหลือของทุกข์เป็นอย่างนี้ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์
เป็นอย่างนี้ ดังนี้.

ในสูตรอื่นๆ ได้ตรัสไว้โดยนัยอื่นอีก ได้แก่สัตว์ที่จุติจากมนุษย์ไปแล้ว จะกลับมาเกิดในหมู่มนุษย์มีน้อย สัตว์ที่จุติจากมนุษย์ไปแล้ว จะกลับมาเกิดในหมู่เทวดา มีน้อยโดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจากมนุษย์ไปแล้ว กลับไปเกิดในนรก ในกำเนิดเดรัจฉาน ในเปรติวิสัย มีมากกว่า ดังนี้ก็มี.

สัตว์ที่จุติจากเทวดาแล้ว จะกลับมาเกิดในหมู่เทวดามีน้อย สัตว์ที่จุติจากเทวดาแล้ว จะกลับไปเกิดในหมู่มนุษย์ มีน้อยโดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจากเทวดาไปแล้ว กลับไปเกิดในนรก ในกำเนิดเดรัจฉาน ในเปรตวิสัย มีมากกว่า ดังนี้ก็มี.

สัตว์ที่จุติจากนรกไปแล้ว จะกลับไปเกิดในหมู่มนุษย์มีน้อย สัตว์ที่จุติจากนรกไปแล้ว จะกลับไปเกิดในหมู่ทวดา มีน้อยโดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจากนรกไปแล้ว กลับไปเกิดในนรก ในกำเนิดเดรัจฉาน ในเปรตวิสัย มีมากกว่า ดังนี้ก็มี.

สัตว์ที่จุติจากกำเนิดเดรัจฉานไปแล้ว จะกลับไปเกิดในหมู่มนุษย์มีน้อย สัตว์ที่จุติจากกำเนิดเดรัจฉานไปแล้ว จะกลับไปเกิดในหมู่เทวดา มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจากกำเนิดเดรัจฉานไปแล้ว กลับไปเกิดในนรก ในกำเนิดเดรัจฉาน ในเปรตวิสัย มีมากกว่าดังนี้ก็มี.

สัตว์ที่จุติจากเปรตวิสัยไปแล้ว จะกลับไปเกิดในหมู่มนุษย์มีน้อย สัตว์ที่จุติจากเปรตวิสัยไปแล้ว จะกลับไปเกิดในหมู่เทวดามีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจากเปรตวิสัยไปแล้ว กลับไปเกิดในนรกในกำเนิดเดรัจฉาน ในเปรตวิสัย มีมากกว่า ดังนี้ก็มี เป็นต้น. ทั้งนี้เป็นเพราะความที่สัตว์เหล่านั้นไม่เห็นอริยสัจทั้งสี่.


ปัญหาที่ไม่ควรถาม


หน้า 114

๓๔
ถ้ามัวรอให้รู้เรื่องที่ไม่จำเป็นเสียก่อน ก็ตายเปล่า

-บาลี ม. ม. ๑๓/๑๔๗/๑๕๐.

… มาลุงก๎ยบุตร เปรียบเหมือนบุรุษผู้หนึ่ง ถูกยิงด้วยลูกศรที่อาบด้วยยาพิษ อย่างแรงกล้า มิตรอำมาตย์ญาติสาโลหิต จัดการเรียกแพทย์ผ่าตัดผู้ชำนาญ มารักษา บุรุษผู้ถูกยิงด้วยลูกศรนั้น กล่าวอย่างนี้ว่า ถ้าเรายังไม่รู้จักตัวบุรุษผู้ยิงเรา ว่าเป็นกษัตริย์ พราหมณ์ เวสส์ สูทท์เสียก่อนแล้ว เรายังไม่ต้องการจะถอนลูกศรอยู่เพียงนั้นบุรุษ ผู้ถูกยิงด้วยลูกศรนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า

ถ้าเรายังไม่รู้จักตัวบุรุษผู้ยิงเรา ว่าชื่ออะไร โคตรไหน … เป็นคนสูง ต่ำา หรือปานกลาง … เป็นคนผิวดำ ผิวคล้ำ หรือผิวสองสี … อยู่ในบ้านนิคม หรือนครชื่อโน้น …ธนูที่ใช้ยิงเรา เป็นชนิดหน้าไม้ หรือเกาทัณฑ์ … สายธนูที่ใช้ยิงเรา ทำจากปอ ผิวไม้ไผ่ เอ็น ป่านหรือเยื่อไม้ … ลูกธนูที่ใช้ยิงเรา ทำด้วยไม้ที่เกิดเอง หรือไม้ปลูก … หางธนูที่ใช้ยิงเรา เขาเสียบด้วยขนปีก นกแร้ง นกตะกรุม เหยี่ยว นกยูง หรือนกสิถิลหนุ …

เกาทัณฑ์ที่เขาใช้ยิงเรา เขาพันด้วยเอ็นวัว เอ็นควาย เอ็นค่าง หรือเอ็นลิงเสียก่อนแล้ว เรายังไม่ต้องการจะถอนลูกศรอยู่เพียงนั้น บุรุษผู้ถูกยิงด้วยลูกศรนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ถ้าเรายังไม่รู้จักลูกธนูที่ใช้ยิงเรา ว่าเป็นลูกศร ธรรมดา ลูกศรคม ลูกศรหัวเกาทัณฑ์ ลูกศรหัวโลหะ ลูกศรหัวเขี้ยวสัตว์ หรือลูกศร พิเศษเสียก่อนแล้ว เรายังไม่ต้องการจะถอนลูกศรอยู่เพียงนั้นมาลุงก๎ยบุตร เขาไม่อาจรู้ข้อความที่เขาอยากรู้นั้นได้เลยต้องตายเป็นแท้.

อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน บุคคลผู้นั้นกล่าวว่า เราจักยังไม่ประพฤติพรหมจรรย์ ในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า จนกว่าพระองค์จักแก้ปัญหาทิฏฐิ ๑๐ ประการแก่เราเสียก่อน และตถาคตก็ไม่พยากรณ์ปัญหานั้นแก่เขา เขาก็ตายเปล่าโดยแท้ … .

มาลุงก๎ยบุตร ท่านจงรู้ซึ่งสิ่งที่เราไม่พยากรณ์ไว้ โดยความเป็นสิ่งที่เราไม่พยากรณ์ รู้ซึ่งสิ่งที่เราพยากรณ์ไว้ โดยความเป็นสิ่งที่เราพยากรณ์.

อะไรเล่าที่เราไม่พยากรณ์ คือความเห็น ๑๐ ประการว่า โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สิ้นสุด โลกไม่มีที่สิ้นสุดชีวะก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น ชีวะก็อันอื่น สรีระก็อันอื่น ตถาคตภายหลังจากตายแล้ว ย่อมมีอีก ตถาคตภายหลังจากตายแล้ว ย่อมไม่มีอีก ตถาคตภายหลังจากตายแล้ว ย่อมมีอีกก็มี ไม่มีอีกก็มี ตถาคตภายหลังจากตายแล้ว ย่อมมีอีกก็หามิได้ ไม่มีอีกก็หามิได้ เป็นสิ่งที่เราไม่พยากรณ์.

มาลุงก๎ยบุตร อะไรเล่าที่เราพยากรณ์ คือสัจจะว่านี้เป็นทุกข์ นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ นี้เป็นความดับไม่เหลือของทุกข์ และนี้ เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ ดังนี้ นี้เป็นสิ่งที่เราพยากรณ์.

เหตุใดเราจึงพยากรณ์เล่า เพราะสิ่งๆ นี้ ย่อมประกอบอยู่ด้วยประโยชน์ เป็นเงื่อนต้นของพรหมจรรย์ เป็นไปพร้อมเพื่อความเบื่อหน่าย ความคลายกำหนัด ความดับ ความสงบระงับ ความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม และนิพพาน.


หน้า 117

๓๕
ตถคตสอนเรื่องทุกข์และคว
ามดับไม่เหลือของทุกข์
-บาลี มู. ม. ๑๒/๒๗๘/๒๘๖.

ภิกษุทั้งหลาย ทั้งที่เรามีถ้อยคำาอย่างนี้ มีการกล่าวอย่างนี้ สมณะและพราหมณ์บางพวก ยังกล่าวตู่เราด้วยคำเท็จเปล่าๆ อันไม่มีจริง ไม่เป็นจริงว่า พระสมณโคดมเป็นผู้กำจัด ย่อมบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความไม่มีของสัตว์ที่มีอยู่ขึ้นสั่งสอน ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย เราจะกล่าวอย่างใด หรือไม่กล่าวอย่างใดก็ตาม สมณะและพราหมณ์บางพวกเหล่านั้น ก็ยังกล่าวตู่เราด้วยคำาเท็จเปล่าๆ อันไม่มีจริง ไม่เป็นจริงว่า พระสมณโคดมเป็นผู้กำจัด ย่อมบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความไม่มีของสัตว์ที่มีอยู่ขึ้นสั่งสอน ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ในกาลก่อนก็ตาม ในบัดนี้ก็ตามเราบัญญัติขึ้นสอนแต่เรื่องของทุกข์ และความดับของทุกข์เท่านั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ในการกล่าวแต่เรื่องของทุกข์และความดับของทุกข์เช่นนี้ แม้จะมีใครด่าว่า บริภาษ โกรธเคืองเบียดเบียน กระทบกระเทียบ ตถาคตก็ไม่มีความอาฆาตไม่มีความขุ่นเคือง ไม่มีความไม่ชอบใจเพราะเหตุนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องเดียวกันนั้นเอง แม้จะมีใครมาสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ตถาคตก็ไม่มีความยินดี ไม่มีความโสมนัส หรือเคลิ้มใจไปตาม ภิกษุทั้งหลาย ถ้ามีใครมาสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ตถาคตย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า ก่อนหน้านี้เรามีความรู้สึกตัวทั่วถึงอย่างไร บัดนี้เราก็ต้องทำความรู้สึกตัวทั่วถึงอย่างนั้น ดังนี้.

หน้า 119

๓๖
ปัญหาที่ไม่ควรถาม (นัยที่
1)
-บาลี นิทาน. สํ. ๑๖/๑๕/๓๑.

ภิกษุทั้งหลาย อาหาร ๔ เหล่านี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงอยู่ของหมู่สัตว์ผู้เกิดมาแล้ว หรือเพื่ออนุเคราะห์หมู่สัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด (จตฺตาโรเม ภิกฺขเว อาหารา ภูตานํ วาสตฺตานํ ฐิติยา สมฺภเวสีนํ วา อนุคฺคหาย) อาหาร ๔ อะไรบ้าง คือ
(๑) กวรีการาหาร ที่หยาบหรือละเอียด
(๒) ผัสสาหาร
(๓) มโนสัญเจตนาหาร
(๔) วิญญาณาหาร
ภิกษุทั้งหลาย อาหาร ๔ เหล่านี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงอยู่ของหมู่สัตว์ผู้เกิดมาแล้ว หรือเพื่ออนุเคราะห์หมู่สัตว์ ผู้แสวงหาที่เกิด.

ท่านโมลิยผัคคุนะได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ใครหนอย่อมกลืนกินวิญญาณาหาร.

นั่นเป็นปัญหาที่ไม่ควรถ􀄁ม เราไม่ได้กล่าวว่า ย่อมกลืนกิน ถ้าเรากล่าวว่าย่อมกลืนกิน ก็ควรตั้งปัญหาในข้อนั้นได้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ใครหนอย่อมกลืนกิน แต่เราไม่ได้กล่าวอย่างนั้น ผู้ใดพึงถามเราผู้ไม่ได้กล่าวอย่างนั้นเช่นนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วิญญาณาหารย่อมมีเพื่ออะไรหนออันนี้เป็นปัญหาที่ควรถาม ในปัญหานั้น ควรชี้แจงให้กระจ่างว่า วิญญาณาหารย่อมมี เพื่อความบังเกิดในภพใหม่ต่อไป(ปุนพฺภวาภินิพฺพตฺติ) เมื่อวิญญาณาหารนั้นมีอยู่ สฬายตนะย่อมมี เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ใครหนอย่อมสัมผัส.

นั่นเป็นปัญหาที่ไม่ควรถาม เราไม่ได้กล่าวว่า ย่อมสัมผัส ถ้าเรากล่าวว่าย่อมสัมผัส ก็ควรตั้งปัญหาในข้อนั้นได้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ใครหนอย่อมสัมผัส แต่เราไม่ได้กล่าวอย่างนั้น ผู้ใดพึงถามเราผู้ไม่ได้กล่าวอย่างนั้น เช่นนี้ว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะอะไรเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะอันนี้ปัญหาที่ควรถาม ในปัญหานั้น ควรชี้แจงให้กระจ่างว่าเพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา (ความรู้สึกต่ออารมณ์).

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ใครหนอย่อมรู้สึกต่ออารมณ์.

นั่นเป็นปัญหาที่ไม่ควรถาม เราไม่ได้กล่าวว่า ย่อมรู้สึกต่ออารมณ์ ถ้าเรากล่าวว่า ย่อมรู้สึกต่ออารมณ์ ก็ควรตั้งปัญหาในข้อนั้นได้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ใครหนอย่อมรู้สึกต่ออารมณ์ แต่เราไม่ได้กล่าวอย่างนั้น ผู้ใดพึงถามเราผู้ไม่ได้กล่าวอย่างนั้นเช่นนี้ว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญเพราะอะไรเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา อันนี้เป็นปัญหาที่ควรถามในปัญหานั้น ควรชี้แจงให้กระจ่างว่า เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา (ความอยาก).

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ใครหนอย่อมอยาก.

นั่นเป็นปัญหาที่ไม่ควรถ􀄁ม เราไม่ได้กล่าวว่า ย่อมอยาก ถ้าเรากล่าวว่า ย่อมอยาก ก็ควรตั้งปัญหาในข้อนั้นได้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ใครหนอย่อมอยาก แต่เราไม่ได้กล่าวอย่างนั้น ผู้ใดพึงถามเราผู้ไม่ได้กล่าวอย่างนั้นเช่นนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะอะไรเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา อันนี้เป็นปัญหาที่ควรถาม ในปัญหานั้น ควรชี้แจงให้กระจ่างว่า เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน (ความยึดมั่น).

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ใครหนอย่อมยึดมั่น.

นั่นเป็นปัญหาที่ไม่ควรถ􀄁ม เราไม่ได้กล่าวว่า ย่อมยึดมั่น ถ้าเรากล่าวว่า ย่อมยึดมั่น ก็ควรตั้งปัญหาในข้อนั้นได้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ใครหนอย่อมยึดมั่น แต่เราไม่ได้กล่าวอย่างนั้น ผู้ใดพึงถามเราผู้ไม่ได้กล่าวอย่างนั้นเช่นนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะอะไรเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน อันนี้เป็นปัญหาที่ควรถาม ในปัญหานั้น ควรชี้แจงให้กระจ่างว่า เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัสอุปายาสะทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.

ผัคคุนะ เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือ แห่งผัสสายตนะทั้ง ๖ (บ่อเกิดแห่งผัสสะทั้ง ๖) นั้นนั่นเทียว จึงมีความดับแห่งผัสสะ
เพราะมีความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา
เพราะมีความดับแห่งเวทนา จึงมีความดับแห่งตัณหา
เพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน
เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ
เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ
เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะ
ทุกขะโทมนัสอุปายาสะทั้งหลาย จึงดับสิ้น
ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.

(พระสูตรนี้ แสดงให้เห็นว่า แท้จริงแล้ว ไม่มีบุคคลที่กลืนกินวิญญาณาหาร ไม่มีบุคคลที่เป็นเจ้าของอายตนะ ไม่มีบุคคลที่กระทำผัสสะไม่มีบุคคลที่เสวยเวทนา ไม่มีบุคคลที่อยากด้วยตัณหา ไม่มีบุคคลที่ยึดมั่นถือมั่น มีแต่ธรรมชาติ ที่เป็นปฏิจจสมุปปันนธรรมอย่างหนึ่งๆเป็นปัจจัย สืบต่อแก่กันและกันต่อไปเท่านั้น)

หน้า 123

๓๗
ปัญหาที่ไม่ควรถาม (นัยที่ ๒)

-บาลี นิทาน. สํ. ๑๖/๗๒/๑๒๘.

ภิกษุทั้งหลาย
เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย
เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัยจึงมีสฬายตนะ
เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา
เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะ
ทุกขะโทมนัสอุปายาสะทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน
ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชรามรณะเป็นอย่างไร และชรามรณะนี้เป็นของใคร.

นั่นเป็นปัญหาที่ไม่ควรถาม ภิกษุ บุคคลใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ชรามรณะเป็นอย่างไร และชรามรณะนี้เป็นของใคร ดังนี้ หรือว่าบุคคลใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ชรามรณะเป็นอย่างอื่น และชรามรณะนี้เป็นของผู้อื่น ดังนี้คำากล่าวของบุคคลทั้งสองนั้น มีอรรถ (เนื้อความ) อย่างเดียวกันต่างกันแต่เพียงพยัญชนะเท่านั้น.

ภิกษุ เมื่อมีทิฏฐิว่า ชีวะก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น ดังนี้ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ย่อมไม่มี ภิกษุ หรือว่าเมื่อมีทิฏฐิว่า ชีวะก็อันอื่น สรีระก็อันอื่น ดังนี้ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ย่อมไม่มี ภิกษุ ตถาคต ย่อมแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่เข้าไปหาส่วนสุดทั้งสองนั้น คือ ตถาคตย่อมแสดงดังนี้ว่า เพราะมีชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรามรณะ ดังนี้.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชาติเป็นอย่างไร และชาตินี้เป็นของใคร.

นั่นเป็นปัญหาที่ไม่ควรถาม ภิกษุ บุคคลใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ชาติเป็นอย่างไร และชาตินี้เป็นของใคร ดังนี้หรือว่าบุคคลใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ชาติเป็นอย่างอื่น และชาตินี้เป็นของผู้อื่น ดังนี้ คำกล่าวของบุคคลทั้งสองนั้น มีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่เพียงพยัญชนะเท่านั้น.

ภิกษุ เมื่อมีทิฏฐิว่า ชีวะก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น ดังนี้การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ย่อมไม่มี ภิกษุ หรือว่าเมื่อมีทิฏฐิว่า ชีวะก็อันอื่น สรีระก็อันอื่น ดังนี้ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ย่อมไม่มี ภิกษุ ตถาคตย่อมแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่เข้าไปหาส่วนสุดทั้งสองนั้น คือ ตถาคตย่อมแสดงดังนี้ว่า เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ ดังนี้.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภพเป็นอย่างไร และภพนี้ เป็นของใคร.

นั่นเป็นปัญหที่ไม่ควรถม ภิกษุ บุคคลใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ภพเป็นอย่างไร และภพนี้เป็นของใคร ดังนี้หรือว่าบุคคลใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ภพเป็นอย่างอื่น และภพนี้เป็นของผู้อื่น ดังนี้ คำกล่าวของบุคคลทั้งสองนั้น มีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่เพียงพยัญชนะเท่านั้น.

ภิกษุ เมื่อมีทิฏฐิว่า ชีวะก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น ดังนี้การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ย่อมไม่มี ภิกษุ หรือว่า เมื่อมีทิฏฐิว่า ชีวะก็อันอื่น สรีระก็อันอื่น ดังนี้ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ย่อมไม่มี ภิกษุ ตถาคตย่อมแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่เข้าไปหาส่วนสุดทั้งสองนั้น คือ ตถาคตย่อมแสดงดังนี้ว่า เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ ดังนี้.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุปาทานเป็นอย่างไร และอุปาทานนี้เป็นของใคร.

นั่นเป็นปัญห􀄁ที่ไม่ควรถาม ภิกษุ บุคคลใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า อุปาทานเป็นอย่างไร และอุปาทานนี้เป็นของใคร ดังนี้ หรือว่าบุคคลใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า อุปาทานเป็นอย่างอื่น และอุปาทานนี้เป็นของผู้อื่น ดังนี้ คำกล่าวของบุคคลทั้งสองนั้น มีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่เพียงพยัญชนะเท่านั้น.

ภิกษุ เมื่อมีทิฏฐิว่า ชีวะก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น ดังนี้ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ย่อมไม่มี ภิกษุ หรือว่า เมื่อมีทิฏฐิว่า ชีวะก็อันอื่น สรีระก็อันอื่น ดังนี้ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ย่อมไม่มี ภิกษุ ตถาคตย่อมแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่เข้าไปหาส่วนสุดทั้งสองนั้น คือ ตถาคตย่อมแสดงดังนี้ว่า เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน ดังนี้.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ตัณหาเป็นอย่างไร และตัณหานี้เป็นของใคร.

นั่นเป็นปัญห􀄁ที่ไม่ควรถาม ภิกษุ บุคคลใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ตัณหาเป็นอย่างไร และตัณหานี้เป็นของใครดังนี้ หรือว่าบุคคลใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ตัณหาเป็นอย่างอื่น และตัณหานี้เป็นของผู้อื่น ดังนี้ คำากล่าวของบุคคลทั้งสองนั้น มีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่เพียงพยัญชนะเท่านั้น.

ภิกษุ เมื่อมีทิฏฐิว่า ชีวะก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น ดังนี้การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ย่อมไม่มี ภิกษุ หรือว่า เมื่อมีทิฏฐิว่า ชีวะก็อันอื่น สรีระก็อันอื่น ดังนี้ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ย่อมไม่มี ภิกษุ ตถาคต ย่อมแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่เข้าไปหาส่วนสุดทั้งสองนั้น คือตถาคตย่อมแสดงดังนี้ว่า เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา ดังนี้.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เวทนาเป็นอย่างไร และเวทนานี้เป็นของใคร.

นั่นเป็นปัญหาที่ไม่ควรถาม ภิกษุ บุคคลใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เวทนาเป็นอย่างไร และเวทนานี้เป็นของใครดังนี้ หรือว่าบุคคลใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เวทนาเป็นอย่างอื่น และเวทนานี้เป็นของผู้อื่น ดังนี้ คำากล่าวของบุคคลทั้งสองนั้น มีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่เพียงพยัญชนะเท่านั้น.

ภิกษุ เมื่อมีทิฏฐิว่า ชีวะก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น ดังนี้การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ย่อมไม่มี ภิกษุ หรือว่า เมื่อมีทิฏฐิว่า ชีวะก็อันอื่น สรีระก็อันอื่น ดังนี้ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ย่อมไม่มี ภิกษุ ตถาคตย่อมแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่เข้าไปหา ส่วนสุดทั้งสองนั้น คือ ตถาคตย่อมแสดงดังนี้ว่า เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา ดังนี้.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ผัสสะเป็นอย่างไร และผัสสะนี้เป็นของใคร.

นั่นเป็นปัญห􀄁ที่ไม่ควรถาม ภิกษุ บุคคลใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ผัสสะเป็นอย่างไร และผัสสะนี้เป็นของใครดังนี้ หรือว่าบุคคลใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ผัสสะเป็นอย่างอื่น และผัสสะนี้เป็นของผู้อื่น ดังนี้ คำากล่าวของบุคคลทั้งสองนั้นมีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่เพียงพยัญชนะเท่านั้น.

ภิกษุ เมื่อมีทิฏฐิว่า ชีวะก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น ดังนี้การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ย่อมไม่มี ภิกษุ หรือว่าเมื่อมีทิฏฐิว่า ชีวะก็อันอื่น สรีระก็อันอื่น ดังนี้ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ย่อมไม่มี ภิกษุ ตถาคตย่อมแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่เข้าไปหาส่วนสุดทั้งสองนั้น คือ ตถาคตย่อมแสดงดังนี้ว่า เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ ดังนี้.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สฬายตนะเป็นอย่างไร และสฬายตนะนี้เป็นของใคร.

นั่นเป็นปัญห􀄁ที่ไม่ควรถาม ภิกษุ บุคคลใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า สฬายตนะเป็นอย่างไร และสฬายตนะนี้เป็นของใคร ดังนี้ หรือว่าบุคคลใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า สฬายตนะ เป็นอย่างอื่น และสฬายตนะนี้เป็นของผู้อื่น ดังนี้ คำากล่าวของบุคคลทั้งสองนั้น มีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่เพียงพยัญชนะเท่านั้น.

ภิกษุ เมื่อมีทิฏฐิว่า ชีวะก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น ดังนี้การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ย่อมไม่มี ภิกษุ หรือว่าเมื่อมีทิฏฐิว่า ชีวะก็อันอื่น สรีระก็อันอื่น ดังนี้ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ย่อมไม่มี ภิกษุ ตถาคต ย่อมแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่เข้าไปหาส่วนสุดทั้งสองนั้น คือ ตถาคตย่อมแสดงดังนี้ว่า เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ ดังนี้.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นามรูปเป็นอย่างไร และนามรูปนี้เป็นของใคร.

นั่นเป็นปัญห􀄁ที่ไม่ควรถ􀄁ม ภิกษุ บุคคลใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า นามรูปเป็นอย่างไร และนามรูปนี้เป็นของใครดังนี้ หรือว่าบุคคลใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า นามรูปเป็นอย่างอื่น และนามรูปนี้เป็นของผู้อื่น ดังนี้ คำากล่าวของบุคคลทั้งสองนั้น มีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่เพียงพยัญชนะเท่านั้น.

ภิกษุ เมื่อมีทิฏฐิว่า ชีวะก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น ดังนี้การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ย่อมไม่มี ภิกษุ หรือว่าเมื่อมีทิฏฐิว่า ชีวะก็อันอื่น สรีระก็อันอื่น ดังนี้ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ย่อมไม่มี ภิกษุ ตถาคตย่อมแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่เข้าไปหาส่วนสุดทั้งสองนั้น คือ ตถาคตย่อมแสดงดังนี้ว่า เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป ดังนี้.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วิญญาณเป็นอย่างไร และวิญญาณนี้เป็นของใคร.

นั่นเป็นปัญหาที่ไม่ควรถาม ภิกษุ บุคคลใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า วิญญาณเป็นอย่างไร และวิญญาณนี้เป็นของใคร ดังนี้ หรือว่าบุคคลใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า วิญญาณเป็นอย่างอื่น และวิญญาณนี้เป็นของผู้อื่น ดังนี้ คำกล่าวของบุคคลทั้งสองนั้น มีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่เพียงพยัญชนะเท่านั้น.

ภิกษุ เมื่อมีทิฏฐิว่า ชีวะก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น ดังนี้การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ย่อมไม่มี ภิกษุ หรือว่าเมื่อมีทิฏฐิว่า ชีวะก็อันอื่น สรีระก็อันอื่น ดังนี้ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ย่อมไม่มี ภิกษุ ตถาคต ย่อมแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่เข้าไปหาส่วนสุดทั้งสองนั้น คือ ตถาคตย่อมแสดงดังนี้ว่า เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ดังนี้.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สังขารทั้งหลายเป็นอย่างไร และสังขารทั้งหลายเหล่านี้เป็นของ ใคร.

นั่นเป็นปัญห􀄁ที่ไม่ควรถาม ภิกษุ บุคคลใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า สังขารทั้งหลาย เป็นอย่างไร และสังขารทั้งหลายเหล่านี้เป็นของใคร ดังนี้ หรือว่าบุคคลใดจะพึงกล่าว อย่างนี้ว่า สังขารทั้งหลายเป็นอย่างอื่น และสังขารทั้งหลายเหล่านี้เป็นของผู้อื่น ดังนี้ คำากล่าวของบุคคลทั้งสองนั้นมีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่เพียงพยัญชนะเท่านั้น.

ภิกษุ เมื่อมีทิฏฐิว่า ชีวะก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น ดังนี้การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ย่อมไม่มี ภิกษุ หรือว่าเมื่อมีทิฏฐิว่า ชีวะก็อันอื่น สรีระก็อันอื่น ดังนี้ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ย่อมไม่มี ภิกษุ ตถาคตย่อมแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่เข้าไปหาส่วนสุดทั้งสองนั้น คือ ตถาคตย่อมแสดงดังนี้ว่า เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลายดังนี้.

ภิกษุ เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเอง ทิฏฐิทั้งหลาย อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่ดำเนินไปผิดทาง อันบุคคลเสพผิดแล้ว ดิ้นรนไปผิดแล้วว่า ชรามรณะเป็นอย่างไร และชรามรณะนี้เป็นของใคร ดังนี้ หรือว่าชรามรณะเป็นอย่างอื่น และชรามรณะนี้เป็นของผู้อื่น ดังนี้หรือว่า ชีวะก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น ดังนี้ หรือว่า ชีวะก็อันอื่นสรีระก็อันอื่น ดังนี้ ทิฏฐิทั้งหมดนั้น เป็นสิ่งที่บุคคลนั้นละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วนแล้ว ถึงซึ่งความไม่มีแล้ว มีอันไม่เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา.

ภิกษุ เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเอง ทิฏฐิทั้งหลาย อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่ดำเนินไปผิดทาง อันบุคคลเสพผิดแล้ว ดิ้นรนไปผิดแล้วว่า ชาติเป็นอย่างไร และชาตินี้เป็นของใคร ดังนี้ หรือว่า ชาติเป็นอย่างอื่น และชาตินี้ เป็นของผู้อื่น ดังนี้ หรือว่า ชีวะก็อันนั้นสรีระก็อันนั้น ดังนี้ หรือว่า ชีวะก็อันอื่น สรีระก็อันอื่น ดังนี้

ทิฏฐิทั้งหมดนั้น เป็นสิ่งที่บุคคลนั้นละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้วทำให้เป็นเหมือน ตาลยอดด้วนแล้ว ถึงซึ่งความไม่มีแล้ว มีอันไม่เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา.

ภิกษุ เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเอง ทิฏฐิทั้งหลาย อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่ดำเนินไปผิดทาง อันบุคคลเสพผิดแล้ว ดิ้นรนไปผิดแล้วว่า ภพเป็นอย่างไร และภพนี้เป็นของใคร … เป็นสิ่งที่บุคคลนั้นละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วนแล้วถึงซึ่งความไม่มีแล้ว มีอันไม่เกิดขึ้นอีกต่อไป เป็นธรรมดา.

ภิกษุ เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเอง ทิฏฐิทั้งหลาย อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่ดำเนินไปผิดทาง อันบุคคลเสพผิดแล้ว ดิ้นรนไปผิดแล้วว่า อุปาทานเป็นอย่างไร และอุปาทานนี้เป็นของใคร … เป็นสิ่งที่บุคคลนั้นละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วนแล้ว ถึงซึ่งความไม่มีแล้ว มีอันไม่เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา.

ภิกษุ เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเอง ทิฏฐิทั้งหลาย อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่ดำเนินไปผิดทาง อันบุคคลเสพผิดแล้ว ดิ้นรนไปผิดแล้วว่า ตัณหาเป็นอย่างไร และตัณหานี้เป็นของใคร … เป็นสิ่งที่บุคคลนั้นละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วนแล้วถึงซึ่งความไม่มีแล้ว มีอันไม่เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา.

ภิกษุ เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเอง ทิฏฐิทั้งหลาย อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่ดำเนินไปผิดทาง อันบุคคลเสพผิดแล้ว ดิ้นรนไปผิดแล้วว่า เวทนาเป็นอย่างไร และเวทนานี้เป็นของใคร … เป็นสิ่งที่บุคคลนั้นละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วนแล้วถึงซึ่งความไม่มีแล้ว มีอันไม่เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา.

ภิกษุ เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเอง ทิฏฐิทั้งหลาย อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่ดำเนินไปผิดทาง อันบุคคลเสพผิดแล้ว ดิ้นรนไปผิดแล้วว่า ผัสสะเป็นอย่างไร และผัสสะนี้เป็นของใคร … เป็นสิ่งที่บุคคลนั้นละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วนแล้วถึงซึ่งความไม่มีแล้ว มีอันไม่เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา.

ภิกษุ เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเอง ทิฏฐิทั้งหลาย อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่ดำเนินไปผิดทาง อันบุคคลเสพผิดแล้ว ดิ้นรนไปผิดแล้วว่า สฬายตนะเป็นอย่างไร และสฬายตนะนี้เป็นของใคร … เป็นสิ่งที่บุคคลนั้นละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วนแล้วถึงซึ่งความไม่มีแล้ว มีอันไม่เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา.

ภิกษุ เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเอง ทิฏฐิทั้งหลาย อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่ดำเนินไปผิดทาง อันบุคคลเสพผิดแล้ว ดิ้นรนไปผิดแล้วว่า นามรูปเป็นอย่างไร และนามรูปนี้เป็นของใคร … เป็นสิ่งที่บุคคลนั้นละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วนแล้วถึงซึ่งความไม่มีแล้ว มีอันไม่เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา.

ภิกษุ เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเอง ทิฏฐิทั้งหลาย อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่ดำเนินไปผิดทาง อันบุคคลเสพผิดแล้ว ดิ้นรนไปผิดแล้วว่า วิญญาณเป็นอย่างไร และวิญญาณนี้เป็นของใคร … เป็นสิ่งที่บุคคลนั้นละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วนแล้ว ถึงซึ่งความไม่มีแล้ว มีอันไม่เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา.

ภิกษุ เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเอง ทิฏฐิทั้งหลาย อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่ดำเนินไปผิดทาง อันบุคคลเสพผิดแล้ว ดิ้นรนไปผิดแล้วว่า สังขารทั้งหลายเป็นอย่างไร และสังขารทั้งหลายเหล่านี้เป็นของใครดังนี้ หรือว่า สังขารทั้งหลายเป็นอย่างอื่น และสังขารทั้งหลาย

เหล่านี้เป็นของผู้อื่น ดังนี้ หรือว่า ชีวะก็อันนั้น สรีระก็อันนั้นดังนี้ หรือว่า ชีวะก็อันอื่น สรีระก็อันอื่น ดังนี้ ทิฏฐิทั้งหมดนั้น เป็นสิ่งที่บุคคลนั้น ละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วนแล้ว ถึงซึ่งความไม่มีแล้ว มีอันไม่เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา ดังนี้.

หน้า 136


๓๘
พระอรหันต์ไปเกิดหรือไม่ไปเกิด

-บาลี ม. ม. ๑๓/๒๔๕/๒๔๘.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุผู้มีจิตพ้นวิเศษแล้ว จะไปเกิดในที่ใด พระเจ้าข้า.

วัจฉะ ที่ใช้คำาพูดว่า จะไปเกิด นั้นไม่ควรเลย.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าเช่นนั้น จะไม่ไปเกิดหรือ.

วัจฉะ ที่ใช้คำาพูดว่า จะไม่ไปเกิด นั้นก็ไม่ควร.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าเช่นนั้น บางทีเกิด บางทีไม่เกิดกระนั้นหรือ.

วัจฉะ ที่ใช้คำาพูดว่า บางทีเกิด บางทีไม่เกิด นั้นก็ไม่ควร.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าเช่นนั้น ภิกษุผู้มีจิตพ้นวิเศษแล้วจะว่าไปเกิดก็ไม่ใช่ ไม่ไปเกิดก็ไม่ใช่ กระนั้นหรือ.

วัจฉะ ที่ใช้คำาพูดว่า จะไปเกิดก็ไม่ใช่ ไม่ไปเกิดก็ไม่ใช่ แม้ดังนี้ก็ไม่ควร.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อที่พระองค์ตรัสตอบนี้ ข้าพเจ้าไม่รู้เรื่องเสียแล้ว ทำให้ข้าพเจ้าวนเวียนเสียแล้ว แม้ความเลื่อมใสที่ข้าพเจ้ามีแล้ว ต่อพระองค์ในการตรัสไว้ตอนต้นๆ บัดนี้ก็ได้ลางเลือนไปเสียแล้ว.

วัจฉะ ที่ท่านไม่รู้เรื่องนั้น ก็สมควรแล้ว ที่ท่านเกิดรู้สึกวนเวียนนั้น ก็สมควรแล้ว เพราะธรรมนี้เป็นของลุ่มลึกยากที่จะเห็น ยากที่จะรู้ตาม ธรรมนี้เป็นของสงบระงับ ประณีต ไม่เป็นวิสัยที่จะหยั่งถึงได้ด้วยการตรึก ธรรมนี้เป็นของละเอียด บัณฑิตจึงจะรู้ได้ ธรรมนี้ ตัวท่านมีความเห็นมาก่อนหน้านี้ เป็นอย่างอื่น มีความพอใจที่จะฟังให้เป็น อย่างอื่น มีความชอบใจจะให้พยากรณ์เป็นอย่างอื่น เคยปฏิบัติทำความเพียรเพื่อได้ผล เป็นอย่างอื่น ท่านเองได้มีครูบาอาจารย์เป็นอย่างอื่น ฉะนั้นท่านจึงรู้ได้ยาก วัจฉะถ้าเช่นนั้น เราจักย้อนถามท่านดู ท่านเห็นควรอย่างใดจงกล่าวแก้อย่างนั้น.

วัจฉะ ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร ถ้าไฟลุกโพลงอยู่ต่อหน้าท่าน ท่านจะพึงรู้ได้ หรือไม่ว่า ไฟนี้ลุกโพลงๆ อยู่ต่อหน้าเรา.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าพึงรู้ได้ พระเจ้าข้า.

วัจฉะ หากมีคนถามท่านว่า ไฟที่ลุกโพลงอยู่ต่อหน้าท่านนี้ มันอาศัยอะไรจึงลุกได้ เมื่อถูกถามอย่างนี้ท่านจะกล่าวแก้เขาว่าอย่างไร.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ไฟที่ลุกโพลงๆ อยู่ต่อหน้านี้ มันอาศัยหญ้าหรือไม้เป็นเชื้อ มันจึงลุกอยู่ได้ พระเจ้าข้า.

วัจฉะ หากไฟนั้นดับไปต่อหน้าท่าน ท่านจะพึงรู้หรือไม่ว่า ไฟได้ดับไปต่อหน้าเรา.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าพึงรู้ได้ พระเจ้าข้า.

วัจฉะ หากมีคนถามท่านว่า ไฟที่ดับไปต่อหน้าท่านนั้น มันไปทางทิศไหนเสีย ทิศตะวันออก หรือตะวันตกทิศเหนือหรือใต้ เมื่อถูกถามอย่างนี้ ท่านจะกล่าวแก้เขา ว่าอย่างไร.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อนั้นไม่ควรกล่าวอย่างนั้น เพราะไฟนั้นอาศัยเชื้อคือหญ้า หรือไม้จึงลุกขึ้นได้ แต่ถ้าเชื้อนั้นมันสิ้นไปแล้ว ทั้งไม่มีอะไรอื่นเป็นเชื้ออีก ไฟนั้นก็ควรนับว่าไม่มีเชื้อ ดับไปแล้ว.

วัจฉะ ฉันใดก็ฉันนั้น เมื่อไปบัญญัติอะไรขึ้นมาให้เป็นตถาคต โดยถือเอารูปใดขึ้นมา รูปนั้นตถาคตละได้แล้วตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วนแล้ว ถึงซึ่งความไม่มีแล้ว มีอันไม่เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา.

วัจฉะ ตถาคตอยู่นอกเหนือการนับว่าเป็นรูปเสียแล้วมันเป็นเรื่องลึกซึ้ง ที่ใครๆ ไม่พึงประมาณได้ หยั่งถึงได้ยาก เหมือนดั่งห้วงมหาสมุทรฉะนั้น วัจฉะ ข้อนี้จึงไม่ควรจะ กล่าวว่าเกิด ไม่ควรจะกล่าวว่าไม่เกิด ไม่ควรจะกล่าวว่าบางทีก็เกิด บางทีก็ไม่เกิด และไม่ควรจะกล่าวว่าเกิดก็ไม่ใช่ ไม่เกิดก็ไม่ใช่วัจฉะ เมื่อไปบัญญัติอะไรขึ้นมาให้เป็น ตถาคต โดยถือเอาเวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณใดขึ้นมาวิญญาณนั้น ตถาคตละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วนแล้ว ถึงซึ่งความ ไม่มีแล้ว มีอันไม่เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา.

วัจฉะ ตถาคตอยู่นอกเหนือการนับว่าเป็นวิญญาณเสียแล้ว มันเป็นเรื่องลึกซึ้ง ที่ใครๆ ไม่พึงประมาณได้ หยั่งถึงได้ยาก เหมือนดั่งห้วงมหาสมุทรฉะนั้น วัจฉะ ข้อนี้จึงไม่ควร จะกล่าวว่าเกิด ไม่ควรจะกล่าวว่าไม่เกิด ไม่ควรจะกล่าวว่าบางทีก็เกิด บางทีก็ไม่เกิด และไม่ควรจะกล่าวว่าเกิดก็ไม่ใช่ ไม่เกิดก็ไม่ใช่ ดังนี้แล.

หน้า 140

๓๙
ตถาคตพ้นแล้วจากอุปาทานขันธ์ ๕

-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๑๒/๒๑๐.

… อนุราธะ เธอจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง.
ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.
เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรานั่นเป็นตัวตนของเรา.
ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

อนุราธะ เธอจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร เวทนา... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง.
ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.
เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา.
ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

อนุราธะ เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ รูปอย่างใดอย่างหนึ่งทั้งที่เป็นอดีต อนาคตหรือปัจจุบัน ก็ตาม เป็นภายในหรือภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือใกล้ก็ตาม รูปทั้งหมดนั้นเธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความ เป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา.

อนุราธะ เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง … สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง … สังขารเหล่าใด เหล่าหนึ่ง … วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต หรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายในหรือภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือใกล้ก็ตาม วิญญาณทั้งหมดนั้น เธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตน ของเรา.

อนุราธะ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขารทั้ง หลาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้วย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว อริยสาวกนั้นย่อมรู้ชัด ว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้วกิจอื่นเพื่อความเป็น อย่างนี้ไม่ได้มี ดังนี้.

อนุราธะ เธอจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร เธอพิจารณาเห็นรูปว่าเป็นตถาคตหรือ.
ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

อนุราธะ เธอจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร เธอพิจารณาเห็นเวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณว่าเป็นตถาคตหรือ.
ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

อนุราธะ เธอจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร เธอพิจารณาเห็นว่า ตถาคตมีในรูปหรือ.
ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

อนุราธะ เธอจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร เธอพิจารณาเห็นว่า ตถาคตมีนอกจากรูป หรือ.
ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

อนุราธะ เธอจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร เธอพิจารณาเห็นว่า ตถาคตมีในเวทนา … มีนอกจากเวทนา …มีในสัญญา ... มีนอกจากสัญญา … มีในสังขาร ... มีนอกจากสังขาร ... มีในวิญญาณ … มีนอกจากวิญญาณ หรือ.
ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

อนุราธะ เธอจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร เธอพิจารณาเห็นว่า ตถาคตมีรูป ... มีเวทนา ... มีสัญญา ...มีสังขาร ... มีวิญญาณ หรือ.
ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

อนุราธะ เธอจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร เธอพิจารณาเห็นว่า ตถาคตไม่มีรูป ... ไม่มีเวทนา ... ไม่มีสัญญา... ไม่มีสังขาร … ไม่มีวิญญาณ หรือ.
ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

อนุราธะ โดยที่แท้แล้วเธอจะค้นหาตถาคตในขันธ์ทั้ง ๕ นี้ในปัจจุบันไม่ได้เลย ควรหรือที่เธอจะตอบว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย พระตถาคตเป็นอุดมบุรุษ เป็นบรมบุรุษ ทรงบรรลุธรรมที่ควรบรรลุอย่างยอดเยี่ยม เมื่อจะทรงบัญญัติข้อนั้นย่อมทรงบัญญัติ เว้นจากฐานะ ๔ ประการนี้ คือ.

หลังจkกตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก (โหติ ตถาคโต ปรมฺมรณาติ).

หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีก (น โหติ ตถาคโตปรมฺมรณาติ).

หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก (โหติ จ น จ โหติ ตถาคโต ปรมฺมรณาติ).

หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ (เนว โหติ น น โหติ ตถาคโต ปรมฺมรณาติ) หรือ.
ข้อนั้นไม่ควรเลย พระเจ้าข้า.

ดีละ ดีละ อนุราธะ ทั้งในกาลก่อนและในบัดนี้เราย่อมบัญญัติทุกข์ และความดับทุกข์เท่านั้น.