เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
  
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ           

  สัตว์ -พุทธวจน   ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
  3 of 7  
 
  สัตว์ พุทธวจน  ที่มา : http://watnapp.com/book  
       
    สารบัญ หน้า  
       
  21 . การก่อตัวของนามรูปในท้องมารดา 58  
  22 . สัตว์ตั้งอยู่ในครรภ์ได้อย่างไร 61  
  23 . เหตุให้ได้ความเป็นหญิงหรือชาย 62  
  24 . พัฒนาการของสัตว์ที่มาเกิดเป็นมนุษย์ สมัยโลกกลับเจริญขึ้น 65  
  25 . เพราะระลึกย้อนหลังได้จำกัด จึงมีความเห็นที่ต่างกัน 78  
  26 . สัตว์ทั้งหลาย เป็นทายาทแห่งกรรม 84  
  27 . หมู่สัตว์ ผู้เป็นไปตามกรรม (นัยที่ ๑) 90  
  28 . หมู่สัตว์ ผู้เป็นไปตามกรรม (นัยที่ ๒) 92  
  29 . โรคสองอย่าง 95  
  30 . เบ็ด ๖ ตัว เพื่อฆ่าสัตว์ทั้งหลาย 96  
  31 . สิ่งที่ใครๆ ในโลกไม่ได้ตามปรารถนา 98  
       
 
 





หน้า 58


๒๑
การก่อตัวของนามรูปในท้องมารดา

-บาลี มหา. ที. ๑๐/๗๔/๖๐.

… อานนท์ ก็คำนี้ว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงมีนามรูป ดังนี้ เป็นคำที่เรากล่าวแล้ว.

อานนท์ เธอต้องทราบความข้อนี้ โดยปริยายดังต่อไปนี้ เหมือนที่เรากล่าวไว้แล้ว ว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป.

อานนท์ ถ้าหากว่าวิญญาณไม่ก้าวลงในท้องแห่งมารดา นามรูปจะก่อตัวขึ้นมา ในท้อง แห่งมารดาได้ไหม.

ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า.

อานนท์ ถ้าหากว่าวิญญาณก้าวลงในท้องแห่งมารดาแล้ว สลายลงเสีย นามรูป จะบังเกิดขึ้นเพื่อความเป็นอย่างนี้ได้ไหม.

ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า.

อานนท์ ถ้าหากว่าวิญญาณของเด็กอ่อนที่เป็นชาย หรือเป็นหญิงก็ตาม ขาดความสืบต่อ นามรูปจะถึงซึ่งความเจริญ ความงอกงาม ความไพบูลย์ได้ไหม.

ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า.

อานนท์ เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ นั่นแหละคือเหตุนั่นแหละคือ นิทาน นั่นแหละ คือสมุทัย นั่นแหละคือปัจจัยของนามรูป นั้นคือวิญญาณ.

อานนท์ ก็คำนี้ว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ดังนี้ เป็นคำที่เรากล่าว แล้ว.

อานนท์ เธอต้องทราบความข้อนี้ โดยปริยายดังต่อไปนี้ เหมือนที่เรากล่าวไว้แล้ว ว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ.

อานนท์ ถ้าหากว่าวิญญาณ ไม่ได้มีที่ตั้งอาศัยในนามรูปแล้ว ความเกิดขึ้นพร้อม แห่ง ทุกข์ คือ ชาติ ชรา มรณะต่อไป จะปรากฏได้ไหม.

ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า.

อานนท์ เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ นั่นแหละคือเหตุนั่นแหละคือนิทาน นั่นแหละ คือสมุทัย นั่นแหละคือปัจจัยของวิญญาณ นั้นคือนามรูป.

อานนท์ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ สัตว์โลกจึงเกิดบ้างจึงแก่บ้าง จึงตายบ้าง จึงจุติบ้าง จึงอุบัติบ้าง ทางแห่งการเรียก (อธิวจน) ก็มีเพียงเท่านี้ ทางแห่งการพูดจา (นิรุตฺติ)

ก็มีเพียงเท่านี้ ทางแห่งการบัญญัติ (ปญฺญตฺติ) ก็มีเพียงเท่านี้เรื่องที่จะต้องรู้ด้วย ปัญญา (ปญฺญาวจร) ก็มีเพียงเท่านี้ ความเวียนว่ายในวัฏฏะก็มีเพียงเท่านี้ นามรูป พร้อมทั้งวิญญาณตั้งอยู่ เพื่อการบัญญัติซึ่งความเป็นอย่างนี้.

หน้า 61


๒๒
สัตว์ตั้งอยู่ในครรภ์ได้อย่างไร

-บาลี สคาถ. สํ. ๑๕/๓๐๓/๘๐๒.

อินทกยักษ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วได้กราบทูล ด้วยคาถาว่า.

ท่านผู้รู้ทั้งหลายกล่าวว่า รูปหาใช่ชีพไม่ สัตว์นี้จะประสพร่างกายนี้ ได้อย่างไรหนอ กระดูกและก้อนเนื้อจะมาแต่ไหน สัตว์นี้จะติดอยู่ในครรภ์ ได้อย่างไร.

รูปนี้เป็นกลละ1 จากกลละ เป็นอัพพุทะ2 จากอัพพุทะเกิดเป็นเปสิ (ชิ้นเนื้อ) จากเปสิเกิดเป็นฆนะ (ก้อน)จากฆนะเกิดเป็นปัญจสาขา3 ต่อจากนั้น มีผม ขน และเล็บ (เป็นต้น)เกิดขึ้น มารดาของสัตว์ในครรภ์บริโภคข้าว น้ำ โภชนาหาร อย่างใด สัตว์ผู้อยู่ในครรภ์มารดา ก็ยังอัตตภาพให้เป็นไปด้วยอาหารอย่างนั้น ในครรภ์นั้น.
๑. กลละ รูปเริ่มแรกที่ปฏิสนธิในครรภ์มารดา.
๒. ยังไม่พบความหมายโดยนัยแห่งพุทธวจน.
๓. ปัญจสาขา กิ่งห้า คือ แขน ๒ ขา ๒ หัว ๑ ของทารกที่อยู่ในครรภ์.


หน้า 62


๒๓
เหตุให้ได้ความเป็นหญิงหรือชาย

-บาลี สตฺตก. อํ. ๒๓/๕๘/๔๘.

ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมปริยายอันเป็นความเกี่ยวข้อง (สญฺโญค) และความไม่เกี่ยวข้อง (วิสญฺโญค)แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว.

ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมปริยายอันเป็นความเกี่ยวข้อง และความไม่เกี่ยวข้อง เป็นอย่างไร.

ภิกษุทั้งหลาย หญิงย่อมสนใจสภาพแห่งหญิงในภายใน ทั้งกิริยา ท่าทาง ความไว้ตัว ความพอใจ เสียงและเครื่องประดับของหญิง เธอย่อมยินดี พอใจใน สภาพนั้นๆของตน เมื่อเธอยินดี พอใจในสภาพนั้นๆ ของตนแล้วย่อมสนใจถึง สภาพของชายในภายนอก ทั้งกิริยา ท่าทางความไว้ตัว ความพอใจ เสียง และเครื่องประดับของชายเธอย่อมยินดี พอใจในสภาพนั้นๆ ของชาย เมื่อเธอยินดี พอใจในสภาพนั้นๆ ของชายแล้ว ย่อมมุ่งหวังการสมาคม กับชายและสุขโสมนัสที่เกิดขึ้น เพราะการสมาคมกับชายเป็นเหตุ.

ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย (สตฺตา) ผู้พอใจในความเป็นหญิงก็ถึงความ เกี่ยวข้อง กับชาย ด้วยอาการอย่างนี้แล หญิงจึงไม่ล่วงพ้นความเป็นหญิงไปได้.

ภิกษุทั้งหลาย ชายย่อมสนใจสภาพแห่งชายในภายใน ทั้งกิริยา ท่าทาง ความไว้ตัว ความพอใจ เสียงและเครื่องประดับของชาย เขาย่อมยินดี พอใจใน สภาพนั้นๆของตน เมื่อเขายินดี พอใจในสภาพนั้นๆ ของตนแล้วย่อมสนใจ ถึงสภาพของหญิงในภายนอก ทั้งกิริยา ท่าทางความไว้ตัว ความพอใจ เสียง และเครื่องประดับของหญิงเขาย่อม ยินดี พอใจในสภาพนั้นๆ ของหญิง เมื่อเขายินดี พอใจในสภาพนั้นๆ ของหญิงแล้ว ย่อมมุ่งหวังการสมาคมกับหญิง และสุขโสมนัสที่เกิดขึ้น เพราะการสมาคมกับหญิงเป็นเหตุ.

ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายผู้พอใจในความเป็นชาย ก็ถึงความเกี่ยวข้องกับ หญิง ด้วยอาการอย่างนี้แลชายจึงไม่ล่วงพ้นความเป็นชายไปได้.

ภิกษุทั้งหลาย ความเกี่ยวข้อง ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้แล.

ภิกษุทั้งหลาย ความไม่เกี่ยวข้อง เป็นอย่างไร.

ภิกษุทั้งหลาย หญิงย่อมไม่สนใจในสภาพแห่งหญิงในภายใน ทั้งกิริยา ท่าทาง ความไว้ตัว ความพอใจ เสียงและเครื่องประดับของหญิง เมื่อเธอไม่ยินดี ไม่พอใจใน สภาพนั้นๆ แห่งหญิงแล้ว ย่อมไม่สนใจถึงสภาพแห่งชายใน ภายนอก ทั้งกิริยา ท่าทาง ความไว้ตัว ความพอใจ เสียงและเครื่องประดับ แห่งชาย เมื่อเธอไม่ยินดี ไม่พอใจในสภาพแห่งชายนั้นๆ แล้ว ย่อมไม่มุ่งหวังการ สมาคมกับชาย และสุขโสมนัส ที่เกิดขึ้น เพราะการสมาคมกับชายเป็นเหตุ.

ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่พอใจในความเป็นหญิง ก็ถึงความไม่เกี่ยวข้อง กับชาย ด้วยอาการอย่างนี้แลหญิงจึงล่วงพ้นความเป็นหญิงไปได้.

ภิกษุทั้งหลาย ชายย่อมไม่สนใจในสภาพแห่งชายในภายใน ทั้งกิริยา ท่าทาง ความไว้ตัว ความพอใจ เสียงและเครื่องประดับของชาย เมื่อเขาไม่ยินดี ไม่พอใจ ในสภาพนั้นๆ แห่งชายแล้ว ย่อมไม่สนใจถึงสภาพแห่งหญิงใน ภายนอก ทั้งกิริยา ท่าทาง ความไว้ตัว ความพอใจ เสียงและเครื่องประดับของ หญิง เมื่อเขาไม่ยินดี ไม่พอใจในสภาพนั้นๆ แห่งหญิงแล้ว ย่อมไม่มุ่งหวังการ สมาคมกับหญิง และสุข โสมนัสที่เกิดขึ้น เพราะการสมาคมกับหญิงเป็นเหตุ.

ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่พอใจในความเป็นชาย ก็ถึงความไม่เกี่ยวข้อง กับหญิง ด้วยอาการอย่างนี้แล ชายจึงล่วงพ้นความเป็นชายไปได้.

ภิกษุทั้งหลาย ความไม่เกี่ยวข้อง ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้แล.

ภิกษุทั้งหลาย นี้แล ชื่อว่า ธรรมปริยายอันเป็นความเกี่ยวข้อง และความไม่ เกี่ยวข้อง.

หน้า 65

๒๔
พัฒนาการของสัตว์ที่มาเกิด เป็นมนุษย์ สมัยที่โลกกลับเจริญขึ้น

-บาลี ปา. ที. ๑๑/๙๒/๕๖.

วาเสฏฐะและภารทวาชะ มีสมัยซึ่งในกาลบางครั้งบางคราวโดยการล่วงไป แห่งกาล นานไกล ที่โลกนี้จะพินาศเมื่อโลกกำลังพินาศอยู่ โดยมาก เหล่าสัตว์ (สตฺตา) ย่อมเกิดในอาภัสสระ (อาภสฺสร) สัตว์เหล่านั้น ได้สำเร็จทางใจ มีปีติเป็นอาหาร มีรัศมีซ่านออกจากกายตนเอง สัญจรไปได้ในอากาศ อยู่ในวิมานอันงาม สถิตอยู่ในภพนั้นสิ้นกาลยืดยาวช้านาน.

วาเสฏฐะและภารทวาชะ มีสมัยซึ่งในกาลบางครั้งบางคราวโดยการล่วงไป แห่งกาลนานไกล ที่โลกนี้จะกลับเจริญขึ้น เมื่อโลกกำลังเจริญขึ้นอยู่ โดยมาก เหล่าสัตว์พากัน จุติ (เคลื่อน) จากอาภัสสระ (อาภสฺสรกายา) มาสู่ความเป็น อย่างนี้ และสัตว์เหล่านั้น ได้สำเร็จทางใจ มีปีติเป็นอาหาร มีรัศมีซ่านออกจาก กายตนเอง สัญจรไปได้ในอากาศ อยู่ในวิมานอันงามสถิตอยู่ในภพนั้น สิ้นกาล ยืดยาวช้านาน

ก็ในสมัยนั้นจักรวาลทั้งสิ้นนี้ เป็นน้ำาทั้งนั้น มืดมนมองไม่เห็นอะไร ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ก็ยังไม่ปรากฏ ดาวนักษัตรและดาวทั้งหลายก็ยังไม่ปรากฏ กลางคืน และ กลางวันก็ยังไม่ปรากฏ เดือนและปักษ์ก็ยังไม่ปรากฏ ฤดูและปี ก็ยังไม่ปรากฏ เพศชาย และเพศหญิงก็ยัง ไม่ปรากฏ สัตว์ทั้งหลาย ถึงซึ่งการนับ เพียงว่าสัตว์ (สตฺต) เท่านั้น.

วาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้นต่อมา โดยการล่วงไปแห่งกาลนานไกล ได้เกิดมี ง้วนดิน (รสปฐวี) ขึ้นปรากฏแก่สัตว์เหล่านั้น ง้วนดินนี้ลอยอยู่ทั่วไปบนน้ำ เหมือนนมสด ที่บุคคลเคี่ยวให้งวด แล้วตั้งไว้ให้เย็น จับเป็นฝาอยู่ข้างบนง้วนดิน นั้น ถึงพร้อมด้วยสี กลิ่น รส มีสีคล้ายเนยใส หรือเนยข้นอย่างดี มีรสอร่อยดุจ รวงผึ้งเล็ก อันหาโทษไม่ได้.

เมื่อสัตว์เหล่านั้น พากันเอานิ้วช้อนง้วนดินขึ้นลองลิ้มดูอยู่ รสของง้วนดินได้ ซาบซ่านไปแล้ว สัตว์เหล่านั้นจึงเกิดความอยากขึ้น ต่อมาก็ได้พากันพยายาม เพื่อจะปั้น ง้วนดินให้เป็นคำาๆ ด้วยมือแล้วบริโภค ในคราวที่พากันบริโภค ง้วนดินอยู่ รัศมีกายของสัตว์เหล่านั้นก็ได้หายไป เมื่อรัศมีกายหายไป ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ ย่อมปรากฏ

เมื่อดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ปรากฏ ดาวนักษัตรและดาวทั้งหลาย ย่อม ปรากฏ เมื่อดาวนักษัตรและดาวทั้งหลายปรากฏกลางคืนและกลางวันย่อมปรากฏ เมื่อ กลางคืนและกลางวันปรากฏ เดือนและปักษ์ย่อมปรากฏ เมื่อเดือน และปักษ์ปรากฏ ฤดูและปีย่อมปรากฏ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล โลกนี้จึงกลับเจริญขึ้นอีก.

ครั้นต่อมา สัตว์เหล่านั้น พากันบริโภคง้วนดินรับประทานง้วนดิน มีง้วนดินเป็นอาหาร ดำรงอยู่ได้สิ้นกาลช้านาน ด้วยเหตุที่สัตว์เหล่านั้น มัวเพลิดเพลินบริโภคง้วนดิน รับประทานง้วนดิน มีง้วนดินเป็นอาหาร ดำรงอยู่ได้สิ้นกาลช้านาน สัตว์เหล่านั้นจึงมี ร่างกายแข็งกล้าขึ้นทุกที ทั้งผิวพรรณก็ปรากฏว่าแตกต่างกันออกไป

สัตว์บางพวกมี ผิวพรรณงามสัตว์บางพวกมีผิวพรรณไม่งาม ในสัตว์ทั้งสองพวกนั้น สัตว์พวกที่มีผิว พรรณงาม ได้พากันดูหมิ่นสัตว์ พวกที่มีผิวพรรณไม่งาม เมื่อสัตว์ ทั้งสองพวกนั้น เกิดมีการไว้ตัวดูหมิ่นกันเ พราะทะนงตัวปรารภผิวพรรณเป็นปัจจัย ง้วนดินจึงหายไป.

เมื่อง้วนดินหายไปแล้ว ก็ได้เกิดมีกระบิดิน (ภูมิปปฺ-ปฏิก) ขึ้น สัตว์เหล่านั้น ได้ใช้กระบิ ดินเป็นอาหาร ดำรงอยู่สิ้นกาลช้านาน ผิวพรรณก็ปรากฏว่าแตกต่าง กันออกไป ด้วย เพราะมีการไว้ตัวดูหมิ่นกัน เพราะทะนงตัวปรารภผิวพรรณ เป็นปัจจัย กระบิดินจึง หายไป

เมื่อกระบิดินหายไปแล้ว ก็ได้เกิดมีเครือดิน (ปทาลตา)ขึ้น สัตว์เหล่านั้น ได้ใช้ เครือดินเป็นอาหาร ดำรงอยู่สิ้นกาลช้านาน ผิวพรรณก็ปรากฏว่าแตกต่างกัน ออกไป ด้วยเพราะมีการไว้ตัวดูหมิ่นกันเพราะทะนงตัวปรารถผิวพรรณเป็นปัจจัย เครือดิน จึงหายไป

เมื่อเครือดินหายไปแล้ว ก็ได้มีข้าวสาลีเกิดขึ้น ในที่ที่ไม่ต้องไถ เป็นข้าวไม่มีรำ ไม่มีแกลบ ขาวสะอาด มีกลิ่นหอม มีเมล็ดเป็นข้าวสาร ตอนเย็นสัตว์เหล่านั้น นำเอา ข้าวสาลีใดมาเพื่อบริโภคในเวลาเย็น ตอนเช้าข้าวสาลีนั้น ก็มีเมล็ดสุก แล้วงอกขึ้น แทนที่ ตอนเช้าสัตว์เหล่านั้น นำเอาข้าวสาลีใดมาเพื่อบริโภค ในเวลาเช้า ตอนเย็น ข้าวสาลีนั้น ก็มีเมล็ดสุกแล้วงอกขึ้นแทนที่ ไม่ปรากฏว่า พร่องไปเลย สัตว์เหล่านั้น จึงได้บริโภคข้าวสาลีนั้นเป็นอาหาร ดำรงอยู่สิ้นกาล ช้านาน

ด้วยประการที่สัตว์ เหล่านั้นมีข้าวสาลีเป็นอาหาร ดำรงอยู่สิ้นกาลช้านาน สัตว์เหล่านั้น จึงมีร่างกายแข็งกล้าขึ้นทุกที ทั้งผิวพรรณก็ปรากฏว่าแตกต่างกัน ออกไป สตรีก็มีเพศหญิงปรากฏ และบุรุษก็มีเพศชายปรากฏ ด้วยว่า สตรีก็เพ่งดู บุรุษอยู่เสมอ และบุรุษก็เพ่งดูสตรีอยู่เสมอ เมื่อคนทั้งสองเพศต่างก็เพ่งดูกัน และกันอยู่เสมอ ก็เกิดความกำหนัด เกิดความเร่าร้อนขึ้นในกาย เพราะความ เร่าร้อนเหล่านั้นเป็นปัจจัย เขาทั้งสองจึงเสพเมถุนธรรมกัน.

ในสมัยนั้น สัตว์พวกใด เห็นสัตว์พวกอื่นเสพเมถุน-ธรรมกันอยู่ ย่อมโปรย ฝุ่นใส่บ้าง โปรยเถ้าใส่บ้าง โยนมูลโคใส่บ้าง พร้อมกับพูดว่า คนชาติชั่ว จงฉิบหาย คนชาติชั่วจง ฉิบหาย ดังนี้ แล้วพูดต่อไปว่า ก็ทำไมขึ้นชื่อว่าสัตว์ จึงทำแก่สัตว์เช่นนี้เล่า

ข้อที่ว่า มานั้น จึงได้เป็นธรรมเนียมมาจนถึงทุกวันนี้ว่า ในชนบทบางแห่ง คนทั้งหลาย โปรยฝุ่นใส่บ้างโปรยเถ้าใส่บ้าง โยนมูลโคใส่บ้าง ในระหว่างที่เขา จะนำสัตว์ ผู้ประพฤติชั่วร้ายไปสู่ที่ประหาร พวกพราหมณ์มาระลึกถึงอักขระ ที่รู้กันว่าเป็นของดี อันเป็นของโบราณนั้นเท่านั้น แต่พวกเขาไม่รู้ชัดถึงเนื้อความ แห่งอักขระนั้นเลย.

ในสมัยนั้น การโปรยฝุ่นใส่กันเป็นต้นนั้น สมมติกันว่าไม่เป็นธรรม มาในบัดนี้ กลับ สมมติกันว่าเป็นธรรมก็สมัยนั้น สัตว์พวกใดเสพเมถุนธรรมกัน สัตว์พวกนั้น เข้าบ้าน หรือนิคมไม่ได้ สิ้นสองเดือนบ้าง สามเดือนบ้าง เมื่อใดสัตว์ทั้งหลาย พากัน เสพ อสัทธรรม นั่นอยู่เสมอ เมื่อนั้นจึงพยายามสร้างบ้านเรือนกันขึ้น เพื่อเป็นที่กำบัง อสัทธรรมนั้น.

ครั้งนั้น สัตว์ผู้หนึ่งเกิดความเกียจคร้าน จึงได้เก็บข้าวสาลีมาไว้ เพื่อบริโภค เสียคราว เดียว ทั้งเวลาเช้าและเวลาเย็นต่อมาสัตว์พวกอื่น ก็ถือเอาแบบอย่าง ของสัตว์ผู้นั้น โดยเก็บข้าวสาลีมาไว้เพื่อบริโภคเสียคราวเดียว ทั้งเวลาเช้าและ เวลาเย็นบ้าง เก็บไว้เพื่อบริโภคสิ้น ๒ วันบ้าง เก็บไว้เพื่อบริโภคสิ้น ๔ วันบ้าง เก็บไว้เพื่อบริโภคสิ้น ๘ วันบ้าง.

เมื่อใด สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น พยายามเก็บสะสมข้าวสาลีไว้เพื่อบริโภค เมื่อนั้น ข้าวสาลีนั้นจึงกลายเป็นข้าวที่มีรำาห่อเมล็ดบ้าง มีแกลบหุ้มเมล็ดบ้าง ต้นที่ถูก เกี่ยว แล้วก็ไม่กลับงอกขึ้นแทนที่ ปรากฏความพร่องให้เห็น จึงได้มีข้าวสาลี เป็นหย่อมๆ.

(ต่อมาสัตว์เหล่านั้นพากันจับกลุ่มและได้ปรับทุกข์แก่กันและกัน ถึงเรื่องที่มีการ ปรากฏ ของอกุศลธรรมอันเป็นบาป ทำให้สัตว์เหล่านี้จากที่เคยเป็นผู้ได้ สำเร็จ ทางใจ มีปีติ เป็นอาหาร มีรัศมีซ่านออกจากกายตน แล้วก็ได้มีการเปลี่ยนแปลง มาเรื่อยๆ จนกระทั่ง มาถึงในสมัยที่ดำรงอยู่ด้วยการบริโภคข้าวสาลี ที่มีรำ ห่อเมล็ด มีแกลบหุ้มเมล็ด ต้นที่ถูกเกี่ยวแล้วก็ไม่กลับงอกขึ้นแทนที่ ปรากฏความ บกพร่องให้เห็น จากนั้นจึงได้ มีการแบ่งส่วนข้าวสาลีและปักปันเขตแดนกัน)

วาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้งนั้นแล สัตว์ผู้หนึ่งเป็นคนโลภ สงวนส่วนของตนไว้ ไปเก็บเอาส่วนอื่นที่เขาไม่ได้ให้มาบริโภค สัตว์เหล่านั้นจึงช่วยกันจับสัตว์ผู้นั้น ครั้นแล้วได้ตักเตือนอย่างนี้ว่า แน่ะสัตว์ผู้เจริญ ก็ท่านกระทำกรรมอันชั่วช้านัก ที่สงวน ส่วนของตนไว้ ไปเก็บเอาส่วนอื่น ที่เขาไม่ได้ให้มาบริโภค ท่านอย่าได้ กระทำ กรรม อันชั่วช้าเห็นปานนี้อีกเลย สัตว์ผู้นั้นได้รับคำของสัตว์เหล่านั้นแล้ว.

แม้ครั้งที่ ๒ สัตว์ผู้นั้นก็ยังขืนทำเช่นเดิมและรับคำสัตว์ทั้งหลายว่าจะไม่ทำอีก แม้ครั้งที่ ๓ สัตว์ผู้นั้นก็ยังขืนทำเช่นเดิมอีก สัตว์เหล่านั้นจึงช่วยกันจับสัตว์ผู้นั้น

ครั้นแล้วได้ตักเตือนว่า แน่ะสัตว์ผู้เจริญ ท่านทำกระกรรมอันชั่วช้านักที่สงวนส่วน ของตนไว้ ไปเก็บเอาส่วนอื่น ที่เขาไม่ได้ให้มาบริโภค ท่านอย่าได้กระทำกรรม อันชั่วช้า เห็นปานนี้อีกเลยสัตว์พวกหนึ่งประหารด้วยฝ่ามือบ้าง สัตว์พวกหนึ่ง ประหารด้วยก้อนดินบ้าง พวกหนึ่งประหารด้วยท่อนไม้บ้างใน เพราะมีเหตุเช่นนี้ เป็นต้นมา การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้จึงปรากฏ การติเตียนจึงปรากฏ การกล่าวเท็จจึงปรากฏ การถือท่อนไม้จึงปรากฏ.

ครั้งนั้นแล พวกสัตว์ที่เป็นผู้ใหญ่จึงประชุมกันครั้นแล้ว ต่างก็ปรับทุกข์กันว่า ท่านผู้เจริญเอ๋ย การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้จักปรากฏ การติเตียน จักปรากฏ การพูดเท็จจักปรากฏ การถือท่อนไม้จักปรากฏ ในเพราะอกุศลธรรม อันเป็นบาป เหล่าใด อกุศลธรรมอันเป็นบาปเหล่านั้น เกิดขึ้นแล้วในสัตว์ ทั้งหลาย อย่ากระนั้นเลย พวกเราจักสมมติ (แต่งตั้ง) สัตว์ผู้หนึ่งให้เป็นผู้ว่ากล่าว ผู้ที่ควรว่ากล่าว ให้เป็นผู้ ติเตียนผู้ที่ควรติเตียน ให้เป็นผู้ขับไล่ผู้ที่ควรขับไล่ โดยชอบ ส่วนพวกเราจักแบ่งส่วน ข้าวสาลีให้แก่ผู้นั้น ดังนี้

ครั้นแล้ว สัตว์เหล่านั้นพากันเข้าไปหาสัตว์ที่สวยงามกว่า น่าดูน่าชมกว่า น่าเลื่อมใส กว่า และน่าเกรงขามกว่าแล้วจึงแจ้งเรื่องนี้ว่า มาเถิดท่านผู้เจริญ ขอท่านจงว่ากล่าว ผู้ที่ควรว่ากล่าว จงติเตียนผู้ที่ควรติเตียน จงขับไล่ผู้ที่ควร ขับไล่โดยชอบเถิด ส่วน พวกข้าพเจ้าจักแบ่งส่วนข้าวสาลีให้แก่ท่าน.

สัตว์ผู้นั้นรับคำาแล้ว จึงว่ากล่าวผู้ที่ควรว่ากล่าว ติเตียนผู้ที่ควรติเตียน ขับไล่ ผู้ที่ควร ขับไล่โดยชอบ ส่วนสัตว์เหล่านั้นก็แบ่งส่วนข้าวสาลีให้แก่สัตว์ ที่เป็น หัวหน้านั้น เพราะเหตุผู้ที่เป็นหัวหน้า อันมหาชนสมมติ (แต่งตั้ง) นั้น อักขระว่า มหาชนสมมติ มหาชนสมมติ (มหาสมฺมต) จึงเกิดขึ้นเป็นอันดับแรก พราะเหตุผู้ที่ เป็นหัวหน้า เป็นใหญ่ยิ่งแห่งเขตทั้งหลายนั้น อักขระว่า กษัตริย์ กษัตริย์ (ขตฺติย) จึงเกิดขึ้นเป็น อันดับที่ ๒ เพราะเหตุที่ผู้เป็นหัวหน้า ยังชนเหล่าอื่นให้ สุขใจ ได้โดยธรรม อักขระว่า ราชา ราชา (ราช) จึงเกิดขึ้นเป็นอันดับที่ ๓.

ด้วยเหตุดังที่กล่าวมานี้ การบังเกิดขึ้นแห่งพวกกษัตริย์นั้นจึงมีขึ้นได้ เพราะ อักขระ ที่รู้กันว่าเป็นของดี เป็นของโบราณอย่างนี้ เรื่องของสัตว์เหล่านั้น จะต่างกันหรือ เหมือนกัน จะไม่ต่างกันหรือไม่เหมือนกัน ก็ด้วยธรรมเท่านั้น ไม่ใช่นอกไปจากธรรม ความจริง ธรรมเท่านั้นเป็นของประเสริฐสุดในหมู่มหาชน ทั้งในปัจจุบัน (ทิฐธรรม) และภายหน้า (อภิสมฺปราย)

ครั้งนั้นแล สัตว์บางจำพวก ได้มีความคิดขึ้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญเอ๋ย การถือ เอา สิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้จักปรากฏ การติเตียนจักปรากฏ การกล่าวเท็จ จักปรากฏ การถือท่อนไม้จักปรากฏ การขับไล่จักปรากฏ ในเพราะอกุศลธรรมอัน เป็นบาปเหล่าใด อกุศลธรรมอันเป็นบาปเหล่านั้นเกิดขึ้นแล้ว ในสัตว์ทั้งหลาย อย่ากระนั้นเลย พวกเราควรไปลอยอกุศลธรรมอันเป็นบาปนี้เถิด ดังนี้

ครั้นแล้วสัตว์เหล่านั้นจึงได้พากันลอยอกุศลธรรม อันเป็นบาปทิ้งไปเพราะเหตุ ที่สัตว์ เหล่านั้น พากันลอยอกุศลธรรมอันเป็นบาปอยู่ดังนี้ อักขระว่า พวกพราหมณ์ พวกพราหมณ์ (พฺราหฺมณ)จึงเกิดขึ้นเป็นอันดับแรก.

พราหมณ์เหล่านั้น พากันสร้างกระท่อม ซึ่งมุงและบังด้วยใบไม้ในราวป่า เพ่งอยู่ ในกระท่อม ซึ่งมุงและบังด้วยใบไม้นั้น พวกเขาไม่มีการหุงต้ม ไม่มีการตำข้าว
ทั้งในเวลาเย็นและเวลาเช้า จึงได้พากันเที่ยวแสวงหาอาหารตามหมู่บ้าน นิคม และเมืองหลวง เพื่อบริโภคในเวลาเย็นและเวลาเช้า

เขาเหล่านั้น ครั้นได้อาหารล้วจึงพากันกลับไปเพ่งอยู่ในกระท่อม ซึ่งมุงและ บังด้วย ใบไม้ในราวป่าอีกคนทั้งหลาย เห็นการกระทำของพวกพราหมณ์นั้นแล้ว จึงพากันพูด อย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญเอ๋ย สัตว์พวกนี้พากันมาสร้างกระท่อม ซึ่งมุง และบังด้วยใบไม้ ในราวป่า แล้วเพ่งอยู่ในกระท่อม ซึ่งมุงและบังด้วยใบไม้นั้น ไม่มีการหุงต้ม ไม่มีการ ตำข้าว ทั้งในเวลาเย็นและเวลาเช้า จึงพากันเที่ยวแสวง หาอาหารตามหมู่บ้าน นิคม และเมืองหลวง เพื่อบริโภคในเวลาเย็นและเวลาเช้า

เขาเหล่านั้นครั้นได้อาหารแล้ว จึงพากันกลับไปเพ่งอยู่ในกระท่อม ซึ่งมุงและ บังด้วย ใบไม้ในราวป่าอีก ดังนี้ เพราะเหตุนั้น อักขระว่า พวกเจริญฌาน พวกเจริญฌาน (ฌายิกา)จึงเกิดขึ้นเป็นอันดับที่ ๒.

บรรดาสัตว์เหล่านั้น สัตว์บางพวกเมื่อไม่อาจสำเร็จฌานได้ที่กระท่อม ซึ่งมุงและ บัง ด้วยใบไม้ในราวป่า จึงเที่ยวไปยังหมู่บ้านและนิคมที่ใกล้เคียง แล้วก็จัดทำ คัมภีร์ อยู่ คนทั้งหลาย เห็นการกระทำของพวกพราหมณ์นั้นแล้วจึงพูดอย่างนี้ว่า

ท่านผู้เจริญเอ๋ย ก็สัตว์เหล่านี้ ไม่อาจสำเร็จฌานได้ที่กระท่อม ซึ่งมุงและบังด้วย ใบไม้ ในราวป่า จึงเที่ยวไปยังหมู่บ้านและนิคมที่ใกล้เคียง จัดทำคัมภีร์อยู่ บัดนี้พวกชนเหล่านี้ไม่เพ่งอยู่ บัดนี้พวกชนเหล่านี้ไม่เพ่งอยู่ ดังนี้ เพราะเหตุนั้น อักขระว่า อัชฌายิกา อัชฌายิกา (อชฺฌายิกา) จึงเกิดขึ้นเป็นอันดับที่ ๓ ก็สมัยนั้น การทรงจำ การสอน การบอกมนต์ถูกสมมติว่าเลว มาในบัดนี้ สมมติกันว่า ประเสริฐ ด้วยเหตุดังที่ กล่าวมานี้

การเกิดขึ้นแห่งพวกพราหมณ์นั้นจึงมีขึ้นได้บรรดาสัตว์เหล่านั้น สัตว์บางจำพวก ยึดมั่น เมถุนธรรมแล้ว ประกอบการงานเป็นแผนกๆ เพราะเหตุที่สัตว์เหล่านั้น ยึดมั่นเมถุนธรรม แล้วประกอบการงานเป็นแผนกๆ นั้นแล อักขระว่า เวสสา เวสสา (เวสฺสา) จึงเกิดขึ้น ด้วยเหตุดังที่กล่าวมานี้ การเกิดขึ้นของเวสส์นั้น จึงมีขึ้นได้.

บรรดาสัตว์เหล่านั้น สัตว์บางจำพวกประพฤติตนโหดร้าย ทำงานต่ำต้อย เพราะเหตุที่สัตว์เหล่านั้นประพฤติตนโหดร้าย ทำงานต่ำต้อยนั้นแล อักขระว่า สุททา สุททา (สุทฺทา)จึงเกิดขึ้น ด้วยเหตุดังที่กล่าวมานี้ การเกิดขึ้นแห่ง พวกสูทท์ นั้นจึงมีขึ้นได้.

มีสมัยที่กษัตริย์บ้าง พราหมณ์บ้าง เวสส์บ้าง สูทท์บ้างตำาหนิธรรมของตน จึงได้ออก จากเรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วยประสงค์ว่า เราจักเป็นสมณะ ด้วยประการดังที่กล่าว มานี้พวกสมณะจึงเกิดมีขึ้นได้ จากวรรณะทั้งสี่ เหล่านี้.

กษัตริย์ก็ดี พราหมณ์ก็ดี เวสส์ก็ดี สูทท์ก็ดี สมณะก็ดีประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต เป็นมิจฉาทิฏฐิย่อมยึดถือการกระทำ ด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เพราะยึดถือ การกระทำ ด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิเป็นเหตุ เบื้องหน้าจากการตาย เพราะกายแตก ทำลาย ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติวินิบาต นรก ทั้งสิ้น.

กษัตริย์ก็ดี พราหมณ์ก็ดี เวสส์ก็ดี สูทท์ก็ดี สมณะก็ดีประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต เป็นสัมมาทิฏฐิย่อมยึดถือการกระทำ ด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ เพราะยึดถือ การกระทำด้ วยอำานาจสัมมาทิฏฐิเป็นเหตุ เบื้องหน้าจากการตาย เพราะกายแตก ทำลาย ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์.

กษัตริย์ก็ดี พราหมณ์ก็ดี เวสส์ก็ดี สูทท์ก็ดี สมณะก็ดีมีปกติกระทำกรรมทั้งสอง (คือสุจริตและทุจริต) ด้วยกายมีปกติกระทำกรรมทั้งสองด้วยวาจา มีปกติกระทำกรรม ทั้งสองด้วยใจ มีความเห็นปนกัน ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจ ความเห็นปนกัน เพราะยึดถือการกระทำ ด้วยอำานาจความเห็นปนกันเป็นเหตุ เบื้องหน้าจากการตาย เพราะกายแตกทำลาย ย่อมเสวยสุขบ้าง ทุกข์บ้าง.

กษัตริย์ก็ดี พราหมณ์ก็ดี เวสส์ก็ดี สูทท์ก็ดี สำรวมกายสำรวมวาจา สำรวมใจ อาศัยการเจริญโพธิปักขิยธรรมทั้ง ๗ แล้ว ย่อมปรินิพพานในปัจจุบันนี้ทีเดียว.

ก็บรรดาวรรณะทั้งสี่นี้ วรรณะใด เป็นภิกษุ สิ้นอาสวะแล้ว มีพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว มีกิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ววางภาระเสียได้แล้ว บรรลุถึงประโยชน์ของตนแล้ว หมดเครื่องเกาะเกี่ยวในภพแล้ว หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้โดยชอบวรรณะนั้น ปรากฏว่า เป็นผู้เลิศกว่าคนทั้งหลายโดยธรรมแท้จริง มิใช่นอกไปจากธรรมเลย ความจริงธรรม เท่านั้น เป็นของประเสริฐที่สุดในหมู่มหาชน ทั้งในปัจจุบัน และ
ภายหน้า.

กษัตริย์เป็นผู้ประเสริฐที่สุดในหมู่ชนผู้รังเกียจด้วยโคตร ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชา และจรณะ เป็นผู้ประเสริฐที่สุดในหมู่เทวดาและมนุษย์ … .

หน้า 78

25
เพราะระลึกย้อนหลังได้จำกัดจึงมีความเห็นที่ต่
างกัน
-บาลี สี. ที. ๙/๒๒/๓๑.

ภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีทิฏฐิว่าบางอย่างเที่ยง บางอย่าง ไม่เที่ยง จึงบัญญัติอัตตาและโลกว่าบางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ด้วยเหตุ ๔ ประการ.

(๑) ภิกษุทั้งหลาย เมื่อโลกกำลังพินาศอยู่ โดยมากเหล่าสัตว์ (สตฺตา) ย่อมเกิดใน อาภัสสระ สัตว์เหล่านั้นได้สำเร็จทางใจ มีปีติเป็นอาหาร มีรัศมีซ่านออกจากกาย ตนเอง สัญจรไปได้ในอากาศ อยู่ในวิมานอันงาม สถิตอยู่ในภพนั้นสิ้นกาลยืดยาว ช้านาน

ภิกษุทั้งหลาย มีสมัยบางครั้งบางคราว โดยระยะกาลยืดยาวช้านาน ที่โลกนี้กลับ เจริญขึ้น เมื่อโลกกำลังเจริญอยู่ วิมานของพรหมปรากฏว่าว่างเปล่า ครั้งนั้น สัตว์ผู้ใดผู้หนึ่ง จุติจากชั้นอาภัสสระเพราะสิ้นอายุหรือเพราะสิ้นบุญ ย่อมเข้าถึง วิมานพรหมที่ว่างเปล่า … เพราะสัตว์ผู้นั้นอยู่ในวิมานนั้นแต่ผู้เดียวเป็นเวลานาน จึงเกิดความกระสัน ความดิ้นรนขึ้นว่า โอหนอแม้สัตว์เหล่าอื่น ก็พึงมาเป็นอย่างนี้ บ้าง ต่อมาสัตว์เหล่าอื่นก็จุติ จากชั้นอาภัสสระ เพราะสิ้นอายุ หรือเพราะสิ้นบุญ ย่อมเข้าถึงวิมานพรหม เป็นสหาย ของสัตว์ผู้นั้น.

ภิกษุทั้งหลาย บรรดาสัตว์จำพวกนั้น ผู้ใดเกิดก่อนผู้นั้นย่อมมีความคิดเห็น อย่างนี้ว่า เราเป็นพรหม เราเป็นมหาพรหม เป็นใหญ่ ไม่มีใครข่มได้ เห็นถ่องแท้ เป็นผู้กุมอำนาจ เป็นอิสระ เป็นผู้สร้าง เป็นผู้นิรมิต เป็นผู้ประเสริฐเป็นผู้บงการ เป็นผู้ทรงอำนาจ เป็นบิดาของหมู่สัตว์ผู้เป็นแล้วและกำลังเป็น สัตว์เหล่านี้ เรานิรมิต แม้พวกสัตว์ที่เกิด ภายหลัง ก็มีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า

ท่านผู้เจริญนี้แลเป็นพรหม เป็นมหาพรหม เป็นใหญ่ ไม่มีใครข่มได้เห็นถ่องแท้ เป็นผู้กุมอำนาจ เป็นอิสระ เป็นผู้สร้าง เป็นผู้นิรมิต เป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้บงการ เป็นผู้ทรงอำนาจ เป็นบิดาของหมู่สัตว์ผู้เป็นแล้วและกำลังเป็น (ปิตา ภูตภพฺยานํ) พวกเราอันพระพรหมผู้เจริญนี้นิรมิตแล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย บรรดาสัตว์จำพวกนั้น ผู้ใดเกิดก่อนผู้นั้นมีอายุยืนกว่า มีผิวพรรณ กว่า มีศักดิ์มากกว่า ส่วนผู้ที่เกิดภายหลังมีอายุน้อยกว่า มีผิวพรรณทรามกว่า มีศักดิ์น้อยกว่า.

ภิกษุทั้งหลาย ก็เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่สัตว์ผู้ใดผู้หนึ่งจุติจากชั้นนั้นแล้วมา เป็นอย่างนี้ เมื่อมาเป็นอย่างนี้แล้วจึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เมื่อบวชแล้ว อาศัยความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบเนืองๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิ อันเป็นเครื่องตั้งมั่นแห่งจิต ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ ในกาลก่อนนั้นได้หลังแต่นั้นไประลึกไม่ได้ เขาจึงกล่าวอย่างนี้ว่า พระพรหม ผู้เจริญั้นเป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน คงทน มีความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่เที่ยง เสมอไปเช่นนั้นทีเดียว ส่วนพวกเราที่พระพรหมผู้เจริญนั้นนิรมิตแล้ว เป็นผู้ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืนมีอายุน้อย ยังต้องจุติมาเป็นอย่างนี้เช่นนี้.

ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ 1 ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงมีทิฏฐิว่า บางอย่างเที่ยงบางอย่างไม่เที่ยง ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยงบางอย่างไม่เที่ยง.

(๒) ภิกษุทั้งหลาย พวกเทวดาชื่อว่าขิฑฑาปโทสิกะมีอยู่ พวกนั้นพากันหมกมุ่น อยู่แต่ในความรื่นรมย์ คือการสรวลเสและการเล่นหัวจนเกินเวลา สติก็ย่อมหลง ลืม เพราะสติหลงลืม จึงพากันจุติจากชั้นนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ก็เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่สัตว์ผู้ใดผู้หนึ่งจุติจากชั้นนั้น แล้วมาเป็น อย่างนี้ เมื่อมาเป็นอย่างนี้แล้วจึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต … แล้วบรรลุเจโต สมาธิอันเป็นเครื่องตั้งมั่นแห่งจิต ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ ในกาลก่อนนั้นได้ หลังแต่นั้นไประลึกไม่ได้ เขาจึงกล่าวอย่างนี้ว่า

ท่านพวกเทวดา ผู้มิใช่เหล่าขิฑฑาปโทสิกะ ย่อมไม่พากันหมกมุ่นอยู่ แต่ในความรื่นรมย์ พวกเหล่านั้นจึงไม่จุติจากชั้นนั้น เป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน คงทน มีความไม่แปรปรวน เป็นธรรมดา จักตั้งอยู่เที่ยงเสมอไปเช่นนั้นทีเดียว ส่วน พวกเราเหล่า ขิฑฑาปโทสิกะ หมกมุ่นอยู่แต่ในความรื่นรมย์ พวกเราจึงพากัน จุติจากชั้นนั้น เป็นผู้ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน มีอายุน้อยยังต้องจุติมาเป็นอย่างนี้เช่นนี้.

ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๒ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่งอาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงมีทิฏฐิว่า บางอย่างเที่ยงบางอย่างไม่เที่ยง ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยงบางอย่างไม่เที่ยง.

(๓) ภิกษุทั้งหลาย พวกเทวดาชื่อว่ามโนปโทสิกะมีอยู่ พวกนั้นมักเพ่งโทษกัน และกันเกินควร เมื่อมัวเพ่งโทษกันและกันเกินควร ย่อมคิดมุ่งร้ายกันและกัน เมื่อต่างคิดมุ่งร้ายกันและกัน จึงลำบากกาย และลำบากใจ พากันจุติจากชั้นนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ก็เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่สัตว์ผู้ใดผู้หนึ่งจุติจากชั้นนั้นแล้ว มาเป็น อย่างนี้ เมื่อมาเป็นอย่างนี้แล้วจึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เมื่อบวชแล้ว อาศัยความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความ ประกอบเนืองๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วบรรลุ เจโตสมาธิ อันเป็นเครื่องตั้งมั่นแห่งจิต ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัย อยู่ในกาล ก่อนนั้นได้หลังแต่นั้นไประลึกไม่ได้

เขาจึงกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านพวกเทวดาผู้มิใช่ เหล่ามโนปโทสิกะ ย่อมไม่มัวเพ่ง โทษกันและกันเกินควร จึงไม่จุติจากชั้นนั้น เป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน คงทน มีความไม่ แปรปรวนเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่เที่ยงเสมอไป เช่นนั้นทีเดียว ส่วนพวกเราได้เป็น พวกมโนปโทสิกะ มัวเพ่งโทษกันและกันเกินควร พวกเราจึงพากันจุติจากชั้นนั้น เป็นผู้ไม่เที่ยงไม่ยั่งยืน มีอายุน้อยยังต้องจุติมาเป็นอย่างนี้เช่นนี้.

ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ 3 ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงมีทิฏฐิว่า บางอย่างเที่ยงบางอย่างไม่เที่ยง ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยงบางอย่างไม่เที่ยง.

(๔) อนึ่ง ในฐานะที่ ๔ สมณพราหมณ์ผู้เจริญอาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีทิฏฐิว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง.

ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้เป็นนักตรึก เป็นนักค้นคิด กล่าวแสดงปฏิภาณของตน ตามที่ตรึกได้ ตามที่ค้นคิดได้อย่างนี้ว่า สิ่งที่เรียกว่า ตาก็ดี หูก็ดีจมูกก็ดี ลิ้นก็ดี กายก็ดี นี้ได้ชื่อว่าอัตตา เป็นของไม่เที่ยง
ไม่ยั่งยืน ไม่คงทน มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ส่วนสิ่งที่เรียกว่าจิต หรือใจ หรือวิญญาณ นี้ชื่อว่าอัตตาเป็นของเที่ยง ยั่งยืน คงทน มีความไม่แปรปรวน เป็นธรรมดาจักตั้งอยู่เที่ยงเสมอไปเช่นนั้นทีเดียว.

ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๔ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงมีทิฏฐิว่า บางอย่างเที่ยงบางอย่างไม่เที่ยง ย่อมบัญญัติอัตตา และโลกว่า บางอย่างเที่ยงบางอย่างไม่เที่ยง.

หน้า 84

๒๖
สัตว์ทั้งหลาย เป็นทายาทแห่งกรรม

-บาลี ทสก. อํ. ๒๔/๓๐๙/๑๙๓.

ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมปริยาย อันเป็นเหตุแห่งความกระเสือกกระสน ไปตามกรรม แก่เธอทั้งหลายเธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ก็ธรรมปริยาย อันแสดงความกระเสือกกระสนไปตามกรรมนั้นเป็นอย่างไร.

ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้มีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กระทำกรรมใดไว้ ดีก็ตามชั่วก็ตาม จักเป็นผู้รับผลกรรมนั้น (กมฺมสฺสกา ภิกฺขเว สตฺตา กมฺมทายาทา กมฺมโยนี กมฺมพนฺธู กมฺมปฏิสรณา ยํ กมฺมํ กโรนฺติ กลฺยาณํ วาปาปกํ วา ตสฺส ทายาทา ภวนฺติ).

ภิกษุทั้งหลาย คนบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ฆ่าสัตว์หยาบช้า มีฝ่ามือเปื้อนด้วย โลหิต มีแต่การฆ่าและการทุบตีไม่มีความเอ็นดูในสัตว์มีชีวิต เขากระเสือกกระสน ด้วยกายกระเสือกกระสนด้วยวาจา กระเสือกกระสนด้วยใจ กายกรรมของเขาคด วจีกรรมของเขาคด มโนกรรมของเขาคด คติของเขาคด อุปบัติ (การเข้าถึงภพ) ของเขาคด.

ภิกษุทั้งหลาย สำหรับผู้มีคติคด มีอุปบัติคดนั้นเรากล่าวคติอย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดาคติสองอย่างแก่เขาคือ เหล่าสัตว์นรก ผู้มีทุกข์โดยส่วนเดียว หรือว่า สัตว์เดรัจฉานผู้มีกำเนิดกระเสือกกระสน ได้แก่ งู แมลงป่องตะขาบ พังพอน แมว หนู นกเค้า หรือสัตว์เดรัจฉานเหล่าอื่นที่เห็นมนุษย์ แล้วกระเสือกกระสน.

ภิกษุทั้งหลาย ภูตสัตว์ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้คือ อุปบัติย่อมมีแก่ภูตสัตว์ เขาทำกรรมใดไว้ เขาย่อมอุปบัติด้วยกรรมนั้น ผัสสะทั้งหลายย่อมถูกต้อง ภูตสัตว์นั้นผู้อุปบัติแล้ว ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่าสัตว์ทั้งหลายเป็นทายาท แห่งกรรม ด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย คนบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ลักทรัพย์... เป็นผู้ประพฤติผิดในกาม ... เป็นผู้พูดเท็จ ... เป็นผู้พูดยุยงให้แตกกัน ... เป็นผู้พูดคำหยาบ ... เป็นผู้พูดเพ้อเจ้อ... เป็นผู้โลภเพ่งเล็งทรัพย์ของผู้อื่น ... เป็นผู้มีจิตพยาบาท... เป็นผู้มีความเห็นผิด (มิจฉาทิฏฐิ) มีทัสสนะวิปริตว่า ทานที่ให้แล้วไม่มี (ผล) ยัญที่บชูาแล้วไม่มี (ผล) การบูชาที่บูชาแล้วไม่มี (ผล) ผลวิบากแห่งกรรมที่สัตว์ ทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกอื่นไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี โอปปาติกะสัตว์ไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ดำเนินไปโดยชอบ ปฏิบัติโดยชอบถึงกับกระทำให้แจ้ง โลกนี้ และ โลกอื่น ด้วยปัญญาโดยชอบเองแล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ก็ไม่มี ดังนี้ เขากระเสือกกระสนด้วยกาย กระเสือกกระสนด้วยวาจา กระเสือกกระสนด้วยใจ กายกรรมของเขาคด วจีกรรมของเขาคด มโนกรรมของเขาคด คติของเขาคด อุปบัติของเขาคด.

ภิกษุทั้งหลาย สำหรับผู้มีคติคด มีอุปบัติคดนั้นเรากล่าวคติอย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดาคติสองอย่างแก่เขาคือ เหล่าสัตว์นรก ผู้มีทุกข์โดยส่วนเดียว หรือว่า สัตว์เดรัจฉานผู้มีกำเนิดกระเสือกกระสน ได้แก่ งู แมลงป่องตะขาบ พังพอน แมว หนู นกเค้า หรือสัตว์เดรัจฉานเหล่าอื่นที่เห็นมนุษย์ แล้วกระเสือกกระสน

ภิกษุทั้งหลาย ภูตสัตว์ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้คือ อุปบัติย่อมมีแก่ภูตสัตว์ เขาทำกรรมใดไว้ เขาย่อมอุปบัติด้วยกรรมนั้น ผัสสะทั้งหลายย่อมถูกต้อง ภูตสัตว์นั้นผู้อุปบัติแล้ว

ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่าสัตว์ทั้งหลายเป็นทายาทแห่งกรรม ด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้มีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กระทำกรรมใดไว้ ดีก็ตามชั่วก็ตาม จักเป็นผู้รับผลแห่งกรรมนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในกรณีนี้ ละการฆ่าสัตว์เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางท่อนไม้ วางศัสตรา มีความละอายถึงความเอ็นดูกรุณาเกื้อกูล แก่สัตว์ ทั้งหลาย (สพฺพปาณภูเตสุ) เขาไม่กระเสือกกระสนด้วยกาย ไม่กระเสือกกระสน ด้วยวาจาไม่กระเสือกกระสนด้วยใจ กายกรรมของเขาตรง วจีกรรมของเขาตรง มโนกรรมของเขาตรง คติของเขาตรง อุปบัติของเขาตรง.

ภิกษุทั้งหลาย สำหรับผู้มีคติตรง มีอุปบัติตรงนั้นเรากล่าวคติอย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดาคติสองอย่างแก่เขาคือ เหล่าสัตว์ผู้มีสุขโดยส่วนเดียว (เอกนฺตสุขา สตฺตา) หรือว่าตระกูลอันสูง คือ ตระกูลขัตติยมหาศาล ตระกูลพราหมณ์มหาศาล หรือตระกูลคหบดีมหาศาล อันมั่งคั่ง มีทรัพย์มากมีโภคะมาก มีทองและเงินมาก มีอุปกรณ์แห่งทรัพย์มาก.

ภิกษุทั้งหลาย ภูตสัตว์ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้คือ อุปบัติย่อมมีแก่ภูตสัตว์ เขาทำกรรมใดไว้ เขาย่อมอุปบัติด้วยกรรมนั้น ผัสสะทั้งหลายย่อมถูกต้อง ภูตสัตว์นั้นผู้อุปบัติแล้ว

ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่าสัตว์ทั้งหลายเป็นทายาทแห่งกรรม ด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในกรณีนี้ ละการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ ... ละการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม ... ละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ ... ละการพูดยุยงให้แตกกัน เว้นขาดจากการพูดยุยงให้แตกกัน ... ละการพูดคำาหยาบ เว้นขาดจากการพูด คำหยาบ ... ละการพูดเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ... เป็นผู้ไม่โลภ เพ่งเล็งทรัพย์ของผู้อื่น ...เป็นผู้ไม่มีจิตพยาบาท ... เป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง (สัมมาทิฏฐิ)มีทัสสนะไม่วิปริตว่า ทานที่ให้แล้วมี (ผล) ยัญที่บูชาแล้วมี(ผล) การบูชาที่บูชาแล้วมี (ผล)

ผลวิบากแห่งกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วมี โลกนี้มี โลกอื่นมี มารดามี บิดามี โอปปาติกะสัตว์มี สมณพราหมณ์ผู้ดำเนินไปโดยชอบ ปฏิบัติโดยชอบ ถึงกับ กระทำให้แจ้งโลกนี้ และโลกอื่น ด้วยปัญญาโดยชอบเองแล้ว ประกาศให้ ผู้อื่นรู้ก็มี ดังนี้ เขาไม่กระเสือกกระสนด้วยกายไม่กระเสือกกระสนด้วยวาจา ไม่กระเสือกกระสนด้วยใจกายกรรมของเขาตรง วจีกรรมของเขาตรง มโนกรรมของเขาตรง คติของเขาตรง อุปบัติของเขาตรง.

ภิกษุทั้งหลาย สำหรับผู้มีคติตรง มีอุปบัติตรงนั้นเรากล่าวคติอย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดาคติสองอย่างแก่เขาคือ เหล่าสัตว์ผู้มีสุขโดยส่วนเดียว หรือว่าตระกูล อันสูงคือ ตระกูลขัตติยมหาศาล ตระกูลพราหมณ์มหาศาล หรือตระกูลคหบดี มหาศาล อันมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมากมีทองและเงินมาก มีอุปกรณ์แห่ง ทรัพย์มาก.

ภิกษุทั้งหลาย ภูตสัตว์ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้คือ อุปบัติย่อมมีแก่ภูตสัตว์ เขาทำกรรมใดไว้ เขาย่อมอุปบัติด้วยกรรมนั้น ผัสสะทั้งหลาย ย่อมถูกต้อง ภูตสัตว์นั้น ผู้อุปบัติแล้ว

ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่าสัตว์ทั้งหลายเป็นทายาทแห่งกรรม ด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้มีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กระทำกรรมใดไว้ ดีก็ตามชั่วก็ตาม จักเป็นผู้รับผลแห่งกรรมนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย นี้แหละคือธรรมปริยาย อันเป็นเหตุแห่งความกระเสือกกระสน ไปตามกรรม.

หน้า 90

๒๗
หมู่สัตว์ ผู้เป็นไปตามกรรม (นัยที่
1)
-บาลี อุปริ. ม. ๑๔/๓๓๔/๕๐๕.

ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเรือน ๒ หลังมีประตูตรงกัน บุรุษผู้มีตาดียืนอยู่ ระหว่างกลางเรือน ๒ หลังนั้นพึงเห็นมนุษย์กำลังเข้าเรือนบ้าง กำลังออกจาก เรือนบ้างกำลังเดินมาบ้าง กำลังเดินไปบ้าง ฉันใด.

ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เราย่อมมองเห็นหมู่สัตว์กำาลังจุติ กำลังอุบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดีมีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุ อันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมทราบชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมได้ว่า สัตว์ผู้กำลังเป็นอยู่เหล่านี้ ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียน พระอริยะ เป็นสัมมาทิฏฐิเชื่อมั่นกรรมด้วยอำานาจสัมมาทิฏฐิ เมื่อตายไปแล้ว เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ก็มี.

สัตว์ผู้กำลังเป็นอยู่เหล่านี้ ประกอบด้วยกายสุจริตวจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียน พระอริยะ เป็นสัมมาทิฏฐิเชื่อมั่นกรรมด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ เมื่อตายไปแล้ว บังเกิดในหมู่มนุษย์ก็มี.

สัตว์ผู้กำลังเป็นอยู่เหล่านี้ ประกอบด้วยกายทุจริตวจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียน พระอริยะ เป็นมิจฉาทิฏฐิเชื่อมั่นกรรมด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เมื่อตายไปแล้ว เข้าถึงเปรตวิสัยก็มี.

สัตว์ผู้กำลังเป็นอยู่เหล่านี้ ประกอบด้วยกายทุจริตวจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียน พระอริยะ เป็นมิจฉาทิฏฐิเชื่อมั่นกรรมด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เมื่อตายไปแล้ว เข้าถึงกำเนิดเดรัจฉานก็มี.

สัตว์ผู้กำลังเป็นอยู่เหล่านี้ ประกอบด้วยกายทุจริตวจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียน พระอริยะ เป็นมิจฉาทิฏฐิเชื่อมั่นกรรมด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เมื่อตายไปแล้ว เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรกก็มี … .

หน้า 92


๒๘
หมู่สัตว์ ผู้เป็นไปต
􀄁มกรรม (นัยที่ ๒)
-บาลี สุ. ขุ. ๒๕/๔๕๓/๓๘๒., -บาลี ทสก. อํ. ๒๔/๓๑๓/๑๙๓.

วาเสฏฐะ ก็ในหมู่มนุษย์ ผู้ใดอาศัยการรักษาโคเลี้ยงชีวิต ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า ผู้นั้นเป็นชาวนาไม่ใช่พราหมณ์.

วาเสฏฐะ อนึ่ง ในหมู่มนุษย์ ผู้ใดเลี้ยงชีวิตด้วยศิลปะมากอย่าง ท่านจงรู้อย่างนี้ ว่า ผู้นั้นเป็นศิลปินไม่ใช่พราหมณ์.

วาเสฏฐะ อนึ่ง ในหมู่มนุษย์ ผู้ใดอาศัยการค้าขายเลี้ยงชีวิต ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า ผู้นั้นเป็นพ่อค้าไม่ใช่พราหมณ์.

วาเสฏฐะ อนึ่ง ในหมู่มนุษย์ ผู้ใดเลี้ยงชีวิตด้วยการรับใช้ผู้อื่น ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า ผู้นั้นเป็นคนรับใช้ไม่ใช่พราหมณ์.

วาเสฏฐะ อนึ่ง ในหมู่มนุษย์ ผู้ใดอาศัยของที่เขาไม่ให้เลี้ยงชีวิต ท่านจงรู้อย่างนี้ ว่า ผู้นั้นเป็นโจรไม่ใช่พราหมณ์.

วาเสฏฐะ อนึ่ง ในหมู่มนุษย์ ผู้ใดอาศัยศาตราวุธเลี้ยงชีวิต ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า ผู้นั้นเป็นนักรบไม่ใช่พราหมณ์.

วาเสฏฐะ อนึ่ง ในหมู่มนุษย์ ผู้ใดเลี้ยงชีวิตด้วยการงานของปุโรหิต ท่านจงรู้ อย่างนี้ว่า ผู้นั้นเป็นปุโรหิตไม่ใช่พราหมณ์.

วาเสฏฐะ อนึ่ง ในหมู่มนุษย์ ผู้ใดปกครองบ้านและเมือง ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า ผู้นี้เป็นพระราชาไม่ใช่พราหมณ์.

และเราก็ไม่เรียกบุคคลผู้เกิดในกำเนิดไหนๆ หรือเกิดจากมารดาว่าเป็นพราหมณ์ บุคคลถึงจะเรียกกันว่าท่านผู้เจริญ ผู้นั้นก็ยังเป็นผู้มีกิเลสเครื่องกังวลอยู่นั่นเอง เราเรียก บุคคลผู้ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล ผู้ไม่ยึดมั่นนั้นว่าเป็นพราหมณ์

เราเรียกผู้ที่ตัดสังโยชน์ทั้งหมดได้เด็ดขาดแล้ว ไม่หวาดสะดุ้ง พ้นจากกิเลสที่ ทำให้ขัดข้องได้แล้ว ปลอดจากกิเลสทุกอย่างแล้ว ว่าเป็นพราหมณ์ … .
บุคคลเป็นพราหมณ์เพราะชาติ (กำเนิด) ก็หามิได้
จะมิใช่พราหมณ์เพราะชาติ (กำเนิด) ก็หามิได้
บุคคลเป็นพราหมณ์เพราะกรรม ไม่เป็นพราหมณ์ ก็เพราะกรรม
บุคคลเป็นชาวนา ก็เพราะกรรม เป็นศิลปิน ก็เพราะกรรม
บุคคลเป็นพ่อค้า ก็เพราะกรรม เป็นคนรับใช้ ก็เพราะกรรม
บุคคลเป็นโจร ก็เพราะกรรม เป็นนักรบ ก็เพราะกรรม
บุคคลเป็นปุโรหิต ก็เพราะกรรม เป็นพระราชา ก็เพราะกรรม.

บัณฑิตทั้งหลายย่อมเห็นซึ่งกรรมนั้น ตามที่เป็นจริงอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้เห็นซึ่ง ปฏิจจสมุปบาท เป็นผู้ฉลาดในเรื่องวิบากแห่งกรรม.

โลกย่อมเป็นไปตามกรรม (กมฺมุนา วตฺตตี โลโก) หมู่สัตว์ย่อมเป็นไปตามกรรม (กมฺมุนา วตฺตตี ปชา).

สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นเครื่องรึงรัด (กมฺมนิพนฺธนาสตฺตา) เหมือนลิ่มสลักขันยึด รถที่กำลังแล่นไปอยู่.

สัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้มีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กระทำกรรมใดไว้ ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม จักเป็นผู้รับผลแห่งกรรมนั้น (กมฺมสฺสกา ภิกฺขเว สตฺตา กมฺมทายาทา กมฺมโยนี กมฺมพนฺธู กมฺมปฏิสรณา ยํ กมฺมํ กโรนฺติ กลฺยาณํ วา ปาปกํ วา ตสฺส ทายาทา ภวนฺติ).

หน้า 95

๒๙
โรคสองอย่
าง
-บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๙๑/๑๕๗.

ภิกษุทั้งหลาย โรคสองอย่างเหล่านี้มีอยู่ สองอย่างอะไรบ้าง คือ โรคทางกาย และโรคทางใจ.

ภิกษุทั้งหลาย ย่อมเห็นกันอยู่แล้วว่า สัตว์ทั้งหลาย(สตฺตา) ที่ยืนยันถึงความ ไม่มีโรคทางกายตลอด ๑ ปีบ้าง ๒ ปีบ้าง ๓ ปีบ้าง ๔ ปีบ้าง ๕ ปีบ้าง ๑๐ ปีบ้าง ๒๐ ปีบ้าง ๓๐ ปีบ้าง ๔๐ ปีบ้าง ๕๐ ปีบ้าง และที่ยืนยันถึงความไม่มีโรค ทางกายแม้ยิ่งกว่า ๑๐๐ ปีบ้าง ก็ยังพอมีปรากฏ.

ภิกษุทั้งหลาย แต่หมู่สัตว์ (สตฺตา) ที่จะกล้ายืนยันถึงความไม่มีโรคทางใจ แม้ชั่วเวลาเพียงครู่เดียว (มุหุตฺต) เว้นแต่ผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว นับว่าหาได้แสนยาก ในโลก.

หน้า 96

๓๐
เบ็ด
6 ตัว เพื่อฆ่าสัตว์ทั้งหลาย
-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๑๙๗/๒๘๙.

ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนพรานเบ็ด ซัดเบ็ดที่เกี่ยวเหยื่อลงไปในห้วงน้ำาลึก ปลาที่เห็นแก่เหยื่อตัวใดตัวหนึ่ง จะพึงกลืนเบ็ดนั้นเข้าไป

ภิกษุทั้งหลาย ด้วยอาการอย่างนี้แหละ ปลาที่กลืนเบ็ดตัวนั้น ถึงแล้วซึ่งความ พินาศถึงแล้วซึ่งความฉิบหายเพราะพรานเบ็ด ถูกพรานเบ็ดนั้นทำได้ตามความ ชอบใจ.

ภิกษุทั้งหลาย ฉันใดก็ฉันนั้น เบ็ด ๖ ตัวเหล่านี้ มีอยู่ในโลก เพื่อความฉิบหาย ของสัตว์ทั้งหลาย (สตฺตานํํ) เพื่อฆ่าสัตว์ทั้งหลาย เบ็ด ๖ ตัวนั้นอะไรบ้าง คือรูป ที่เห็นด้วยตมีอยู่ ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าปรารถนาน่ารักใคร่ น่าพอใจ เป็นที่ยวนตา ยวนใจ ให้รัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่ และเป็นที่ตั้งแห่งความ กำหนัด ย้อมใจ ถ้าภิกษุเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่ซึ่งรูปนั้น

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้ เราเรียกว่า ผู้กลืนเบ็ดของมาร ถึงแล้วซึ่งความพินาศ ถึงแล้วซึ่งความฉิบหายถูกมารผู้มีบาปทำได้ตามความชอบใจ.

เสียงที่ได้ยินด้วยหูมีอยู่ … กลิ่นรู้ได้ด้วยจมูกมีอยู่ …รสที่รู้ได้ด้วยลิ้นมีอยู่ … โผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกายมีอยู่ …ธรรมที่รู้แจ้งด้วยใจมีอยู่ ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่น่าพอใจ เป็นที่ยวนตายวนใจให้รัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่ง ความใคร่ และเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดย้อมใจถ้าภิกษุเพลิดเพลิน พร่าสรรเสริญ เมาหมกอยู่ซึ่งธรรมนั้น

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้ เราเรียกว่า ผู้กลืนเบ็ดของมาร ถึงแล้วซึ่งความพินาศ ถึงแล้วซึ่งความฉิบหาย ถูกมารผู้มีบาปทำได้ตามความชอบใจ.

หน้า 98


๓๑
สิ่งที่ใครๆ ในโลกไม่ได้ตา
มปรารถนา
-บาลี ปญฺจก. อํ. ๒๒/๕๙/๔๘.

ภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๕ ประการเหล่านี้ อันสมณะพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก ไม่พึงได้ตามปรารถนา ๕ ประการอะไรบ้าง คือ สมณะ พราหมณ์เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก ไม่อาจได้ตามปรารถนาว่า
(๑) สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา อย่าแก่เลย
(๒) สิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา อย่าเจ็บไข้เลย
(๓) สิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดา อย่าตายเลย
(๔) สิ่งที่มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา อย่าสิ้นไปเลย
(๕) สิ่งที่มีความวินาศเป็นธรรมดา อย่าวินาศเลย

ภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา ก็ย่อมแก่สำหรับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เมื่อสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาแก่แล้ว เขาก็ไม่พิจารณาเห็นโดยประจักษ์ว่า ไม่ใช่สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา จะแก่สำหรับเราผู้เดียวเท่านั้น โดยที่แท้แล้ว สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา ย่อมแก่สำหรับสัตว์ทั้งปวง (สตฺตานำ) ที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติก็เมื่อสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา แก่แล้ว

เราจะมามัวเศร้าโศก กระวนกระวาย ร่ำไรรำาพัน ทุบอกร่ำาไห้ ถึงความหลงใหล แม้อาหารก็ไม่ย่อย กายก็เศร้าหมอง การงานก็หยุดชะงัก พวกอมิตรก็ดีใจ มิตรสหายก็เศร้าใจ ดังนี้ ปุถุชนนั้นเมื่อสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา แก่แล้ว ย่อมเศร้าโศกกระวนกระวาย ร่ำาไรรำพัน เป็นผู้ทุบอกร่ำาไห้ ย่อมถึงความ หลงใหล

ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับนี้ถูกลูกศรแห่งความโศก อันมีพิษเสียบแทงแล้ว ทำตนเองให้เดือดร้อนอยู่.

ภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก สิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ก็ย่อมเจ็บไข้สำหรับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ … สิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดา ก็ย่อมตายสำหรับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ… สิ่งที่มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา ก็ย่อมสิ้นไปสำหรับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ … สิ่งที่มีความวินาศเป็นธรรมดา ก็ย่อมวินาศสำหรับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ

เมื่อสิ่งที่มีความวินาศเป็นธรรมดาวินาศแล้ว เขาก็ไม่พิจารณาเห็นโดยประจักษ์ว่า ไม่ใช่สิ่งที่มีความวินาศเป็นธรรมดา จะวินาศสำหรับเราผู้เดียวเท่านั้น โดยที่แท้แล้ว สิ่งที่มีความวินาศเป็นธรรมดา ย่อมวินาศสำหรับสัตว์ทั้งปวง ที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติก็เมื่อสิ่งที่มีความวินาศเป็นธรรมดา วินาศแล้ว เราจะมามัวเศร้าโศก กระวนกระวาย ร่ำาไรรำพัน ทุบอกร่ำาไห้ ถึงความหลงใหล แม้อาหารก็ไม่ย่อย กายก็เศร้าหมอง การงานก็หยุดชะงัก พวกอมิตรก็ดีใจ มิตรสหายก็เศร้าใจ ดังนี้

ปุถุชนนั้นเมื่อสิ่งที่มีความวินาศเป็นธรรมดา วินาศแล้ว ย่อมเศร้าโศกกระวน กระวาย ร่ำาไรรำาพัน เป็นผู้ทุบอกร่ำาไห้ ย่อมถึงความหลงใหล ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับนี้ถูกลูกศรแห่งความโศก อันมีพิษเสียบแทงแล้ว ทำาตนเองให้เดือดร้อนอยู่.

ภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา ก็ย่อมแก่สำหรับอริยสาวกผู้ได้สดับ เมื่อสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาแก่แล้ว อริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ไม่ใช่สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา จะแก่สำหรับเราผู้เดียวเท่านั้น โดยที่แท้แล้ว สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา ย่อมแก่สำหรับสัตว์ทั้งปวง ที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ ก็เมื่อสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา แก่แล้ว

เราจะมามัวเศร้าโศก กระวนกระวายร่ำาไรรำาพัน ทุบอกร่ำาไห้ ถึงความหลงใหล แม้อาหารก็ไม่ย่อย กายก็เศร้าหมอง การงานก็หยุดชะงัก พวกอมิตรก็ดีใจ มิตรสหาย ก็เศร้าใจ ดังนี้ อริยสาวกนั้น เมื่อสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา แก่แล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่กระวนกระวายไม่ร่ำาไรรำพัน ไม่เป็นผู้ทุบอกร่ำาไห้ ไม่ถึงความหลงใหล

ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า อริยสาวกผู้ได้สดับนี้ ถอนลูกศรแห่งความโศก อันมี พิษเสียบแทงปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้วทำตนเองให้เดือดร้อนอยู่ อริยสาวกผู้ไม่มี ความโศก ถอนลูกศรได้แล้ว ย่อมปรินิพพานด้วยตน.

ภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก สิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ก็ย่อมเจ็บไข้สำหรับอริยสาวกผู้ได้สดับ … สิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดา ก็ย่อมตายสำหรับอริยสาวกผู้ได้สดับ … สิ่งที่มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา ก็ย่อมสิ้นไปสำหรับอริยสาวกผู้ได้สดับ … สิ่งที่มีความวินาศเป็นธรรมดา ก็ย่อมวินาศสำหรับอริยสาวกผู้ได้สดับ เมื่อสิ่งที่มีความวินาศเป็นธรรมดา วินาศแล้ว

อริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ไม่ใช่สิ่งที่มีความวินาศเป็นธรรมดา จะวินาศสำหรับเราผู้เดียวเท่านั้น โดยที่แท้แล้ว สิ่งที่มีความวินาศเป็นธรรมดา ย่อมวินาศสำหรับสัตว์ทั้งปวง ที่มีการมา การไป การจุติการอุบัติ ก็เมื่อสิ่งที่มี ความวินาศเป็นธรรมดา วินาศแล้วเราจะมามัวเศร้าโศก กระวนกระวาย ร่ำาไรรำพัน ทุบอกร่ำไห้ถึงความหลงใหล แม้อาหารก็ไม่ย่อย กายก็เศร้าหมอง การงานก็หยุดชะงัก พวกอมิตรก็ดีใจ มิตรสหายก็เศร้าใจ ดังนี้อริยสาวกนั้น เมื่อสิ่งที่มีความวินาศเป็นธรรมดา วินาศแล้วย่อมไม่เศร้าโศก ไม่กระวนกระวาย ไม่ร่ำาไรรำาพัน ไม่เป็นผู้ทุบอกร่ำาไห้ ไม่ถึงความหลงใหล

ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่าอริยสาวกผู้ได้สดับนี้ ถอนลูกศรแห่งความโศก อันมีพิษเสียบแทงปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้ว ทำตนเองให้เดือดร้อนอยู่ อริยสาวก ผู้ไม่มีความโศก ถอนลูกศรได้แล้วย่อมปรินิพพานเฉพาะตน.

ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล ฐานะ ๕ ประการ อันสมณะพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกไม่พึงได้ตามปรารถนา.