เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
  
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ            

  สัตว์ -พุทธวจน   ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
  2 of 7  
 
  สัตว์ พุทธวจน  ที่มา : http://watnapp.com/book  
       
    สารบัญ หน้า  
       
  12 . ภพ ๓ (กามภพ รูปภพ อรูปภพ) 28  
  13 . กำเนิด ๔ 29  
  14 . คติ ๕ 30  
  15 . สัตตาวาส ๙ (ที่อยู่ ที่อาศัยของสัตว์) 40  
  16 . วิญญาณฐิติ ๗ (ที่ตั้งอยู่ของวิญญาณ) 43  
  17 . การได้อัตตา ๓ อย่าง 49  
  18 . การก้าวลงสู่ครรภ์ ๔ 53  
  19 . การก้าวลงสู่ครรภ์ของสัตว์ผู้เกิดในครรภ์ 54  
  20 . เมื่อการก้าวลงสู่ครรภ์มีอยู่ นามรูปย่อมมี 57  
       
 
 





หน้า ๒๘


๑๒
ภพ
3 (กามภพ รูปภพ อรูปภพ)
-บาลี นิทาน. สํ. ๑๖/๕๒/๙๒.

ภิกษุทั้งหลาย ภพ1 เป็นอย่างไรเล่า.ภิกษุทั้งหลาย ภพทั้งหลาย ๓ อย่าง เหล่านี้ คือกามภพ รูปภพ อรูปภพ ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ภพ.

ความก่อขึ้นพร้อมแห่งภพ ย่อมมีเพราะความก่อขึ้นพร้อมแห่งอุปาทาน ความดับไม่เหลือแห่งภพ ย่อมมีเพราะความดับไม่เหลือแห่งอุปาทาน มรรคอันประกอบด้วยองค์แปด อันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึง ความดับไม่เหลือแห่งภพ ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ ความเห็นชอบ (สัมมาทิฏฐิ) ความดำริชอบ(สัมมาสังกัปปะ) การพูดจาชอบ (สัมมาวาจา) การทำการงานชอบ(สัมมากัมมันตะ) การเลี้ยงชีวิตชอบ(สัมมาอาชีวะ) ความพากเพียรชอบ (สัมมาวายามะ) ความระลึกชอบ(สัมมาสติ) ความตั้งใจมั่นชอบ (สัมมาสมาธิ).

๑. ภพ = สถานที่อันวิญญาณใช้ตั้งอาศัยเพื่อเกิดขึ้น หรือเจริญงอกงามต่อไป.-ผู้รวบรวม

หน้า ๒๙

๑๓
กำเนิด ๔

-บาลี มู. ม. ๑๒/๑๔๖/๑๖๙.

สารีบุตร กำเนิด ๔ ประการเหล่านี้มีอยู่ ๔ ประการ
อะไรบ้าง คือ
(๑) อัณฑชะกำเนิด (เกิดในไข่)
(๒) ชลาพุชะกำเนิด (เกิดในครรภ์)
(๓) สังเสทชะกำเนิด (เกิดในของสกปรก)
(๔) โอปปาติกะกำเนิด (เกิดผุดขึ้น)

สารีบุตร ก็อัณฑชะกำเนิด เป็นอย่างไรเล่า สัตว์ทั้งหลายเหล่าใด ชำแรกเปลือกแห่งฟองเกิด นี้เราเรียกว่าอัณฑชะกำเนิด.

สารีบุตร ก็ชลาพุชะกำานิด เป็นอย่างไรเล่า สัตว์ทั้งหลายเหล่าใด ชำแรกไส้ (มดลูก) เกิด นี้เราเรียกว่าชลาพุชะกำเนิด.

สารีบุตร ก็สังเสทชะกำเนิด เป็นอย่างไรเล่า สัตว์ทั้งหลายเหล่าใด ย่อมเกิดในปลาเน่า ในซากศพเน่า ในขนมบูดหรือในน้ำาครำ ในของสกปรก นี้เราเรียกว่า สังเสทชะกำเนิด.

สารีบุตร ก็โอปปาติกะกำเนิด เป็นอย่างไรเล่าเทวดาทั้งหลาย สัตว์นรกทั้งหลาย มนุษย์บางพวก และวินิบาตบางพวก นี้เราเรียกว่า โอปปาติกะกำเนิด … .

หน้า๓๐

๑๔
คติ ๕

-บาลี มู. ม. ๑๒/๑๔๘/๑๗๐.

สารีบุตร คติ ๕ ประการเหล่านี้มีอยู่ ๕ ประการ
อะไรบ้าง คือ
(๑) นรก
(๒) กำเนิดเดรัจฉาน
(๓) เปรตวิสัย
(๔) มนุษย์
(๕) เทวดา

สารีบุตร เราย่อมรู้ชัดซึ่งนรก ทางนำสัตว์ให้ถึงนรก และปฏิปทาอันจะนำสัตว์ ให้ถึงนรก อนึ่ง สัตว์ผู้ปฏิบัติประการใด เบื้องหน้าจากการตาย เพราะกายแตก ทำลายย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เราย่อมรู้ชัดซึ่งประการนั้นด้วย.

สารีบุตร เราย่อมรู้ชัดซึ่งกำเนิดเดรัจฉาน ทางนำสัตว์ให้ถึงกำเนิดเดรัจฉาน และปฏิปทาอันจะนำสัตว์ให้ถึงกำเนิดเดรัจฉาน อนึ่ง สัตว์ผู้ปฏิบัติประการใด เบื้องหน้าจากการตายเพราะกายแตกทำลาย ย่อมเข้าถึงกำเนิดเดรัจฉาน เราย่อมรู้ชัดซึ่งประการนั้นด้วย.

สารีบุตร เราย่อมรู้ชัดซึ่งเปรตวิสัย ทางนำสัตว์ให้ถึงเปรตวิสัย และปฏิปทา อันจะนำสัตว์ให้ถึงเปรตวิสัย อนึ่ง สัตว์ผู้ปฏิบัติประการใด เบื้องหน้าจากการตาย เพราะกายแตกทำลาย ย่อมเข้าถึงเปรตวิสัย เราย่อมรู้ชัดซึ่งประการนั้นด้วย.

สารีบุตร เราย่อมรู้ชัดซึ่งเหล่ามนุษย์ ทางนำสัตว์ให้ถึงมนุษย์โลก และปฏิปทา อันจะนำสัตว์ให้ถึงมนุษย์โลกอนึ่ง สัตว์ผู้ปฏิบัติประการใด เบื้องหน้าจากการตาย เพราะกายแตกทำลาย ย่อมบังเกิดในหมู่มนุษย์ เราย่อมรู้ชัดซึ่งประการนั้นด้วย.

สารีบุตร เราย่อมรู้ชัดซึ่งเทวดาทั้งหลาย ทางนำสัตว์ให้ถึงเทวโลก และปฏิปทา อันจะนำสัตว์ให้ถึงเทวโลกอนึ่ง สัตว์ผู้ปฏิบัติประการใด เบื้องหน้าจากการตาย เพราะกายแตกทำลาย ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เราย่อมรู้ชัดซึ่งประการนั้น ด้วย.

สารีบุตร เราย่อมรู้ชัดซึ่งนิพพาน ทางนำสัตว์ให้ถึงนิพพาน และปฏิปทาอัน จะนำ สัตว์ให้ถึงนิพพาน อนึ่งสัตว์ผู้ปฏิบัติประการใด ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่ง เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะไม่ได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญา อันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงแล้วแลอยู่ เราย่อมรู้ชัดซึ่งประการนั้น ด้วย.
........................................................................................

สารีบุตร เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจอย่างนี้ว่า บุคคลนี้ ปฏิบัติอย่างนั้น ดำเนินอย่างนั้นและขึ้นสู่หนทางนั้น เบื้องหน้าจากการตาย เพราะกายแตกทำลาย จักเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก โดยสมัยต่อมา เราได้เห็นบุคคลนั้น เบื้องหน้าจากการตายเพราะกายแตกทำลาย เข้าถึงแล้ว ซึ่งอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เสวยทุกขเวทนาอันแรงกล้า เผ็ดร้อนโดยส่วนเดียว ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์.

สารีบุตร เปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง ลึกยิ่งกว่าชั่วบุรุษ เต็มไปด้วยถ่านเพลิง ปราศจากเปลวปราศจกควัน ลำดับนั้น บุรุษผู้มีตัวอันความร้อนแผดเผา เหน็ดเหนื่อย หิว กระหาย มุ่งมาสู่หลุมถ่านเพลิงนั้นแหละโดยหนทางสายเดียว บุรุษผู้มีจักษุเห็นเขาแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษผู้เจริญนี้ ปฏิบัติอย่างนั้น ดำเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น จักมาถึงหลุมถ่านเพลิงนี้ทีเดียว โดยสมัย ต่อมาบุรุษผู้มีจักษุนั้น พึงเห็นเขาตกลงในหลุมถ่านเพลิงนั้น เสวยทุกขเวทนา อันแรงกล้า เผ็ดร้อนโดยส่วนเดียว.

สารีบุตร ฉันใดก็ฉันนั้น เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ ด้วยใจ อย่างนี้ว่า บุคคลนี้ ปฏิบัติอย่างนั้นดำเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น เบื้องหน้าจากการตายเพราะกายแตกทำลาย จักเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรกโดยสมัยต่อมา เราย่อมเห็นบุคคลนั้น เบื้องหน้าจากการตาย เพราะกาย แตกทำลาย เข้าถึงแล้วซึ่งอบาย ทุคติ วินิบาตนรก เสวยทุกขเวทนาอันแรงกล้า เผ็ดร้อนโดยส่วนเดียวด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์.

สารีบุตร เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจอย่างนี้ว่า บุคคลนี้ ปฏิบัติอย่างนั้น ดำเนินอย่างนั้นและขึ้นสู่หนทางนั้น เบื้องหน้าจากการตาย เพราะกายแตกทำลาย จักเข้าถึงกำเนิดเดรัจฉาน โดยสมัยต่อมา เราย่อมเห็น บุคคลนั้น เบื้องหน้าจากการตายเพราะกายแตกทำลายเข้าถึงแล้ว ซึ่งกำเนิด เดรัจฉาน เสวยทุกขเวทนาอันแรงกล้าเผ็ดร้อน ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์.

สารีบุตร เปรียบเหมือนหลุมคูถ ลึกยิ่งกว่าชั่วบุรุษเต็มไปด้วยคูถ ลำดับนั้น บุรุษผู้มีตัวอันความร้อนแผดเผาเหน็ดเหนื่อย หิว กระหาย มุ่งมาสู่หลุมคูถ นั้นแหละ โดยหนทางสายเดียว บุรุษผู้มีจักษุเห็นเขาแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษผู้เจริญนี้ ปฏิบัติอย่างนั้น ดำเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น จักมาถึงหลุม คูถนี้ทีเดียว โดยสมัยต่อมา บุรุษผู้มีจักษุนั้น พึงเห็นเขาตกลงในหลุมคูถนั้น เสวยทุกขเวทนาอันแรงกล้า เผ็ดร้อน.

สารีบุตร ฉันใดก็ฉันนั้น เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ ด้วยใจ อย่างนี้ว่า บุคคลนี้ ปฏิบัติอย่างนั้นดำเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น เบื้องหน้าจากการตายเพราะกายแตกทำลาย จักเข้าถึงกำเนิดเดรัจฉาน โดยสมัยต่อมา เราย่อมเห็นบุคคลนั้น เบื้องหน้าจากการตายเพราะ กายแตก ทำลาย เข้าถึงแล้วซึ่งกำเนิดเดรัจฉาน เสวยทุกขเวทนาอันแรงกล้า เผ็ดร้อน ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์.

สารีบุตร เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจอย่างนี้ว่า บุคคลนี้ ปฏิบัติอย่างนั้น ดำเนินอย่างนั้นและขึ้นสู่หนทางนั้น เบื้องหน้าจากการตาย เพราะกายแตกทำลาย จักเข้าถึงเปรตวิสัย โดยสมัยต่อมา เราย่อมเห็นบุคคลนั้น เบื้องหน้าจากการตายเพราะกายแตกทำลาย เข้าถึงแล้วซึ่งเปรตวิสัย เสวย ทุกขเวทนาเป็นอันมาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์.

สารีบุตร เปรียบเหมือนต้นไม้เกิดในพื้นที่อันไม่เสมอ มีใบอ่อนและใบแก่ อันเบาบาง มีเงาอันโปร่งลำาดับนั้น บุรุษผู้มีตัวอันความร้อนแผดเผา เหน็ดเหนื่อย หิวกระหาย มุ่งมาสู่ต้นไม้นั้นแหละ โดยหนทางสายเดียว บุรุษผู้มีจักษุเห็นเขาแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษผู้เจริญนี้ ปฏิบัติอย่างนั้น ดำเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น จักมาถึงต้นไม้นี้ทีเดียว โดยสมัยต่อมา บุรุษผู้มีจักษุนั้น พึงเห็นเขานั่งหรือนอนในเงาต้นไม้นั้น เสวยทุกขเวทนา เป็นอันมาก.

สารีบุตร ฉันใดก็ฉันนั้น เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ ด้วยใจอย่างนี้ ว่า บุคคลนี้ ปฏิบัติอย่างนั้นดำเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น เบื้องหน้า จากการตายเพราะกายแตกทำลาย จักเข้าถึงเปรตวิสัย โดยสมัยต่อมา เราย่อมเห็นบุคคลนั้น เบื้องหน้าจากการตายเพราะกายแตกทำลาย เข้าถึงแล้ว ซึ่งเปรตวิสัย เสวยทุกขเวทนาเป็นอันมาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุ ของมนุษย์.

สารีบุตร เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ ด้วยใจอย่างนี้ว่า บุคคลนี้ ปฏิบัติอย่างนั้น ดำเนินอย่างนั้นและขึ้นสู่หนทางนั้น เบื้องหน้าจากการตาย เพราะกายแตกทำลาย จักบังเกิดในหมู่มนุษย์ โดยสมัยต่อมา เราย่อมเห็น
บุคคลนั้น เบื้องหน้าจากการตายเพราะกายแตกทำลาย บังเกิดแล้วในหมู่มนุษย์ เสวยสุขเวทนาเป็นอันมาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์.

สารีบุตร เปรียบเหมือนต้นไม้เกิดในพื้นที่อันเสมอมีใบอ่อน และใบแก่อันหนา มีเงาหนาทึบ ลำดับนั้น บุรุษผู้มีตัวอันความร้อนแผดเผา เหน็ดเหนื่อย หิว กระหาย มุ่งมาสู่ต้นไม้นั้นแหละ โดยหนทางสายเดียว บุรุษผู้มีจักษุเห็นเขาแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษผู้เจริญนี้ ปฏิบัติอย่างนั้น ดำเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่ หนทางนั้น จักมาถึงต้นไม้นี้ทีเดียว โดยสมัยต่อมา บุรุษผู้มีจักษุนั้น พึงเห็นเขานั่ง หรือนอนในเงาต้นไม้นั้นเสวยสุขเวทนาเป็นอันมาก.

สารีบุตร ฉันใดก็ฉันนั้น เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจ อย่างนี้ว่า บุคคลนี้ ปฏิบัติอย่างนั้นดำเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น เบื้องหน้าจากการตายเพราะกายแตกทำลาย จักบังเกิดในหมู่มนุษย์ โดย สมัยต่อมาเราย่อมเห็นบุคคลนั้น เบื้องหน้าจากการตายเพราะกาย แตกทำลาย บังเกิดแล้วในหมู่มนุษย์ เสวยสุขเวทนาเป็นอันมากด้วยทิพย จักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์.

สารีบุตร เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจอย่างนี้ว่า บุคคลนี้ ปฏิบัติอย่างนั้น ดำเนินอย่างนั้นและขึ้นสู่หนทางนั้น เบื้องหน้าจากการตาย เพราะกายแตกทำลาย จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ โดยสมัยต่อมา เราย่อมเห็น บุคคลนั้น เบื้องหน้าจากการตายเพราะกายแตกทำลายเข้า ถึงแล้วซึ่งสุคติโลก สวรรค์ เสวยสุขเวทนาโดยส่วนเดียว ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของ มนุษย์.

สารีบุตร เปรียบเหมือนปราสาท ในปราสาทนั้นมีเรือนยอด ซึ่งฉาบทาแล้ว ทั้งภายในและภายนอกหาช่องลมไม่ได้ มีวงกรอบอันสนิท มีบานประตู และหน้าต่างอันปิดสนิทดี ในเรือนยอดนั้น มีบัลลังก์อันลาดด้วยผ้าโกเชว์ขนยาว ลาดด้วยเครื่องลาดทำด้วยขนแกะสีขาว ลาดด้วยขนเจียมเป็น แผ่นทึบ มีเครื่องลาดอย่างดีทำด้วยหนังชะมด มีเพดานกั้นในเบื้องบน มีหมอนแดงวาง ณ ข้างทั้งสอง ลำดับนั้น บุรุษผู้มีตัวอันความร้อนแผดเผา เหน็ดเหนื่อย หิว กระหาย มุ่งมาสู่ปราสาทนั้นแหละโดยหนทางสายเดียว บุรุษผู้มีจักษุเห็นเขา แล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษผู้เจริญนี้ ปฏิบัติอย่างนั้น ดำเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่ หนทางนั้น จักมาถึงปราสาทนี้ทีเดียว โดยสมัยต่อมาบุรุษ ผู้มีจักษุนั้น พึงเห็นเขานั่ง หรือนอนบนบัลลังก์ในเรือนยอด ณ ปราสาทนั้น เสวยสุขเวทนา โดยส่วนเดียว.

สารีบุตร ฉันใดก็ฉันนั้น เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ ด้วยใจอย่างนี้ว่า บุคคลนี้ ปฏิบัติอย่างนั้นดำเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น เบื้องหน้าจากการตายเพราะกายแตกทำลาย จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ โดยสมัยต่อมา เราย่อมเห็นบุคคลนั้น เบื้องหน้าจากการตายเพราะกายแตกทำลาย เข้าถึงแล้วซึ่งสุคติโลกสวรรค์ เสวยสุขเวทนาโดยส่วนเดียว ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์.

สารีบุตร เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจอย่างนี้ว่า บุคคลนี้ ปฏิบัติอย่างนั้น ดำเนินอย่างนั้นและขึ้นสู่หนทางนั้น จักกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะไม่ได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ โดยสมัยต่อมาเราย่อมเห็นบุรุษนั้น กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะไม่ได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงแล้วแลอยู่ เสวยสุขเวทนาโดยส่วนเดียว.

สารีบุตร เปรียบเหมือนสระโบกขรณี มีน้ำอันเย็นใสสะอาด มีท่าอันดี น่ารื่นรมย์ และในที่ไม่ไกลจากสระโบกขรณีนั้น มีแนวป่าอันทึบ ลำดับนั้น บุรุษผู้มีตัวอัน ความร้อนแผดเผา เหน็ดเหนื่อย หิว กระหาย มุ่งมาสู่สระโบกขรณีนั้นแหละ โดยหนทางสายเดียว บุรุษผู้มีจักษุเห็นเขาแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษผู้เจริญนี้ ปฏิบัติอย่างนั้นดำเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น จักมาถึงสระโบกขรณี นี้ทีเดียว โดยสมัยต่อมา บุรุษผู้มีจักษุนั้น พึงเห็นเขาลงสู่สระโบกขรณีนั้น อาบและดื่ม ระงับความกระวนกระวายความเหน็ดเหนื่อย และความร้อนหมดแล้ว ขึ้นไปนั่งหรือนอนในแนวป่านั้น เสวยสุขเวทนาโดยส่วนเดียว.

สารีบุตร ฉันใดก็ฉันนั้น เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจ อย่างนี้ ว่า บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้นดำเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น จักกระทำให้แจ้ง ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะไม่ได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่โดยสมัยต่อมา เราย่อมเห็นบุรุษนั้น กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะไม่ได้ เพราะอาสวะ ทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงแล้วแลอยู่ เสวย สุขเวทนาโดยส่วนเดียว.

หน้า 40


๑๕
สัตตาวาส ๙ (ที่อยู่ ที่อาศัยของสัตว์)

-บาลี นวก. อํ. ๒๓/๔๑๓/๒๒๘.

ภิกษุทั้งหลาย สัตตาวาส1 ๙ มีอยู่ สัตตาวาส ๙ อะไรบ้าง คือ

ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย (สตฺตา) ที่มีกายต่างกันมีสัญญาต่างกันมีอยู่ ได้แก่ มนุษย์ทั้งหลาย เทวดาบางพวก และวินิบาตบางพวก นี้คือสัตตาวาสที่ ๑.

ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย ที่มีกายต่างกันมีสัญญาอย่างเดียวกันมีอยู่ ได้แก่ พวกเทวดาพรหมกายิกา (เทวดาผู้นับเนื่องในหมู่พรหม) ผู้เกิดในปฐมภูมิ2 (ปฐมานิพฺพตฺตา) นี้คือสัตตาวาสที่ ๒.

ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย ที่มีกายอย่างเดียวกันมีสัญญาต่างกันมีอยู่ ได้แก่ พวกเทวดาอาภัสสระ นี้คือสัตตาวาสที่ ๓.

ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย ที่มีกายอย่างเดียวกันมีสัญญาอย่างเดียวกันมีอยู่ ได้แก่ พวกเทวดาสุภกิณหะ นี้คือสัตตาวาสที่ ๔.

๑. ที่อยู่ ที่อาศัยของสัตว์.

๒. ปฐมภูมิ ภูมิเบื้องต้น สามารถเข้าถึงได้หลายทาง เช่น ผู้ได้ปฐมฌาน, ผู้เจริญ เมตตา, ผู้กระทำกุศลกรรมบท ๑๐, ผู้ประกอบพร้อมด้วย ศรัทธา ศีล สุตตะ จาคะปัญญา เป็นต้น.


ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย ที่ไม่มีสัญญา ไม่เสวยเวทนามีอยู่ ได้แก่ พวกเทวดาอสัญญีสัตว์1 นี้คือสัตตาวาสที่ ๕.

ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่งรูปสัญญา2 โดยประการ ทั้งปวง เพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญา3 เพราะไม่ใส่ใจนานัตตสัญญา4 จึงเข้าถึงอากาสานัญจายตนะ 5 มีการทำในใจว่า อากาศไม่มีที่สุด ดังนี้มีอยู่ นี้คือสัตตาวาสที่ ๖.

ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่งอากาสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึงวิญญา-ณัญจายตนะ 6 มีการทำในใจว่า วิญญาณไม่มีที่สุด ดังนี้ มีอยู่ นี้คือสัตตาวาสที่ ๗.

ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่งวิญญาณัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึง อากิญจัญญายตนะ7 มีการทำในใจว่า อะไรๆ ก็ไม่มี ดังนี้มีอยู่ นี้คือสัตตาวาสที่ ๘.

ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่งอากิญจัญญายตนะ โดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึงเนวสัญญา-นาสัญญายตนะ 8 ดังนี้ มีอยู่ นี้คือสัตตาวาสที่ ๙.

ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล สัตตาวาส ๙.

...............................................................................................
1. สัตว์ผู้ไม่มีสัญญา ไม่เสวยเวทนา เข้าถึงโดยผู้ที่ได้สัญญาเวทยิตนิโรธ เป็นต้น.
2. รูปสัญญา ความหมายรู้ในรูป.
3. ปฏิฆสัญญา ความหมายรู้อันไม่น่ายินดีในส่วนรูป.
4. นานัตตสัญญา ความหมายรู้อันมีประการต่างๆ ในส่วนรูป.
5. ความหมายรู้ในความไม่มีที่สิ้นสุดของอากาศ.
6. ความหมายรู้ในความไม่มีที่สุดของวิญญาณ.
7. ความหมายรู้ในความไม่มีอะไร.
8 . ความหมายรู้ว่า สัญญามีก็ไม่ใช่ สัญญาไม่มีก็ไม่ใช
...............................................................................................

หน้า 43

๑๖ วิญญาณฐิติ ๗ (ที่ตั้งอยู่ของวิญญาณ)
-บาลี มหา. ที. ๑๐/๘๑/๖๕.

อานนท์ วิญญาณฐิติ (ที่ตั้งอยู่ของวิญญาณ) ๗ เหล่านี้และอายตนะ ๒ มีอยู่ วิญญาณฐิติ ๗ อะไรบ้าง คืออานนท์ สัตว์ทั้งหลาย (สตฺตา) ที่มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกันมีอยู่ ได้แก่ มนุษย์ทั้งหลาย เทวดาบางพวกและวินิบาตบางพวก นี้คือวิญญาณฐิติที่ 1.

อานนท์ สัตว์ทั้งหลาย ที่มีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกันมีอยู่ ได้แก่ พวก เทวดาพรหมกายิกา ที่บังเกิดโดยปฐมภูมิ นี้คือวิญญาณฐิติที่ ๒.1 อานนท์ สัตว์ทั้งหลาย ที่มีกายอย่างเดียวกันมีสัญญาต่างกันมีอยู่ ได้แก่ พวกเทวดา ภัสสระ นี้คือวิญญาณฐิติที่ 3.

อานนท์ สัตว์ทั้งหลาย ที่มีกายอย่างเดียวกันมีสัญญาอย่างเดียวกันมีอยู่ ได้แก่ พวกเทวดาสุภกิณหะ นี้คือวิญญณฐิติที่ ๔.

๑. ในพระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ เฉพาะในพระสูตรนี้ วิญญาณฐิติที่ ๒ มีคำว่า อบายทั้ง ๔ อยู่ แต่ไม่ตรงกับพระสูตรอื่นที่กล่าวถึงวิญญาณฐิติ ๗ (คือ ใน ๒ สูตรของพระสารีบุตรที่พระพุทธเจ้ารับรอง ๑ สูตร และพระสารีบุตรทรงจำเอง ๑ สูตร) และไม่ตรงกับพระไตรปิฎกฉบับ ภาษามอญและและภาษายุโรป ดังนั้น คำว่า อบายทั้ง ๔ จึงไม่ได้นำมาใส่ในที่นี้. –ผู้รวบรวม

อานนท์ สัตว์ทั้งหลาย เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่งรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจนานัตตสัญญา จึงเข้าถึง อากาสา-นัญจายตนะ มีการทำในใจว่า อากาศไม่มีที่สุด ดังนี้ มีอยู่ นี้คือวิญญาณฐิติที่ ๕.

อานนท์ สัตว์ทั้งหลาย เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่งอากาสานัญจายตนะ โดยประการ ทั้งปวง จึงเข้าถึงวิญญา-ณัญจายตนะ มีการทำในใจว่า วิญญาณไม่มีที่สุด ดังนี้ มีอยู่ นี้คือวิญญาณฐิติที่ 6.

อานนท์ สัตว์ทั้งหลาย เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่งวิญญาณัญจายตนะโดยประการ ทั้งปวง จึงเข้าถึงอากิญ-จัญญายตนะ มีการทำในใจว่า อะไรๆ ก็ไม่มี ดังนี้ มีอยู่ นี้คือวิญญาณฐิติที่ ๗.

ส่วนอายตนะ ๒ นั้น คือ
อสัญญีสัตตายตนะที่ 1
และ เนวสัญญานาสัญญายตนะที่ ๒
.

อานนท์ ในบรรดาวิญญาณฐิติ ๗ และอายตนะ ๒ นั้นวิญญาณฐิติที่ ๑ อันใดมีอยู่ คือสัตว์ทั้งหลาย ที่มีกายต่างกันมีสัญญาต่างกัน ได้แก่ มนุษย์ทั้งหลาย เทวดาบางพวกและวินิบาตบางพวก

อานนท์ ผู้ใดรู้ชัดวิญญาณฐิติที่ ๑ นั้นรู้ชัดการเกิด (สมุทัย) แห่งสิ่งนั้น รู้ชัดความดับ (อัตถังคมะ) แห่งสิ่งนั้น รู้ชัดรสอร่อย (อัสสาทะ) แห่งสิ่งนั้น รู้ชัดโทษอันต่ำาทราม (อาทีนวะ) แห่งสิ่งนั้น และรู้ชัดอุบายเครื่องสลัดออก (นิสสรณะ) แห่งสิ่งนั้น ดังนี้แล้ว ควรหรือที่ผู้นั้นจะเพลิดเพลินยิ่งซึ่ง วิญญาณฐิติ ที่ ๑ นั้น.

ข้อนั้น เป็นไปไม่ได้ พระเจ้าข้า.

อานนท์ ในบรรดาวิญญาณฐิติ ๗ และอายตนะ ๒ นั้นวิญญาณฐิติที่ ๒ อันใดมีอยู่ … อานนท์ ผู้ใดรู้ชัดวิญญาณฐิติที่ ๒ นั้น รู้ชัดการเกิดแห่งสิ่งนั้น รู้ชัดความดับ แห่งสิ่งนั้นรู้ชัดรสอร่อยแห่งสิ่งนั้น รู้ชัดโทษอันต่ำทรามแห่งสิ่งนั้น และรู้ชัดอุบาย เครื่องสลัดออกแห่งสิ่งนั้น ดังนี้แล้ว ควรหรือที่ผู้นั้นจะเพลิดเพลินยิ่ง ซึ่ง วิญญาณฐิติที่ ๒ นั้น.

ข้อนั้น เป็นไปไม่ได้ พระเจ้าข้า.

อานนท์ ในบรรดาวิญญาณฐิติ ๗ และอายตนะ ๒ นั้นวิญญาณฐิติที่๓ อันใดมีอยู่ … อานนท์ ผู้ใดรู้ชัดวิญญาณฐิติที่ ๓ นั้น รู้ชัดการเกิดแห่งสิ่งนั้น รู้ชัดความดับ แห่งสิ่งนั้นรู้ชัดรสอร่อยแห่งสิ่งนั้น รู้ชัดโทษอันต่ำาทรามแห่งสิ่งนั้น และรู้ชัด อุบายเครื่องสลัดออกแห่งสิ่งนั้น ดังนี้แล้ว ควรหรือที่ผู้นั้นจะเพลิดเพลินยิ่งซึ่ง วิญญาณฐิติที่ ๓ นั้น.

ข้อนั้น เป็นไปไม่ได้ พระเจ้าข้า.

อานนท์ ในบรรดาวิญญาณฐิติ ๗ และอายตนะ ๒ นั้นวิญญาณฐิติที่ ๔ อันใดมีอยู่ … อานนท์ ผู้ใดรู้ชัดวิญญาณฐิติที่ ๔ นั้น รู้ชัดการเกิดแห่งสิ่งนั้น รู้ชัดความดับ แห่งสิ่งนั้นรู้ชัดรสอร่อยแห่งสิ่งนั้น รู้ชัดโทษอันต่ำาทรามแห่งสิ่งนั้น และรู้ชัด อุบายเครื่องสลัดออกแห่งสิ่งนั้น ดังนี้แล้ว ควรหรือที่ผู้นั้นจะเพลิดเพลินยิ่งซึ่ง วิญญาณฐิติที่ ๔ นั้น.

ข้อนั้น เป็นไปไม่ได้ พระเจ้าข้า.

อานนท์ ในบรรดาวิญญาณฐิติ ๗ และอายตนะ ๒ นั้นวิญญาณฐิติที่ ๕ อันใดมีอยู่ … อานนท์ ผู้ใดรู้ชัดวิญญาณฐิติที่ ๕ นั้น รู้ชัดการเกิดแห่งสิ่งนั้น รู้ชัดความดับ แห่งสิ่งนั้นรู้ชัดรสอร่อยแห่งสิ่งนั้น รู้ชัดโทษอันต่ำาทรามแห่งสิ่งนั้น และรู้ชัด อุบายเครื่องสลัดออกแห่งสิ่งนั้น ดังนี้แล้ว ควรหรือที่ผู้นั้นจะเพลิดเพลินยิ่ง ซึ่งวิญญาณฐิติที่ ๕ นั้น.

ข้อนั้น เป็นไปไม่ได้ พระเจ้าข้า.

อานนท์ ในบรรดาวิญญาณฐิติ ๗ และอายตนะ ๒ นั้นวิญญาณฐิติที่ ๖ อันใดมีอยู่ … อานนท์ ผู้ใดรู้ชัดวิญญาณฐิติที่ ๖ นั้น รู้ชัดการเกิดแห่งสิ่งนั้น รู้ชัดความดับ แห่งสิ่งนั้นรู้ชัดรสอร่อยแห่งสิ่งนั้น รู้ชัดโทษอันต่ำทรามแห่งสิ่งนั้น และรู้ชัดอุบาย เครื่องสลัดออกแห่งสิ่งนั้น ดังนี้แล้ว ควรหรือที่ผู้นั้นจะเพลิดเพลินยิ่ง ซึ่งวิญญาณฐิติที่ ๖ นั้น.

ข้อนั้น เป็นไปไม่ได้ พระเจ้าข้า.

อานนท์ ในบรรดาวิญญาณฐิติ ๗ และอายตนะ ๒ นั้นวิญญาณฐิติที่ ๗ อันใดมีอยู่ … อานนท์ ผู้ใดรู้ชัดวิญญาณฐิติที่ ๗ นั้น รู้ชัดการเกิดแห่งสิ่งนั้น รู้ชัดความดับ แห่งสิ่งนั้นรู้ชัดรสอร่อยแห่งสิ่งนั้น รู้ชัดโทษอันต่ำาทรามแห่งสิ่งนั้น และรู้ชัด อุบายเครื่องสลัดออกแห่งสิ่งนั้น ดังนี้แล้ว ควรหรือที่ผู้นั้นจะเพลิดเพลินยิ่ง ซึ่งวิญญาณฐิติที่ ๗ นั้น.

ข้อนั้น เป็นไปไม่ได้ พระเจ้าข้า.

อานนท์ ในบรรดาวิญญาณฐิติ ๗ และอายตนะ ๒ นั้นอสัญญีสัตตายตนะอันใดมีอยู่ อานนท์ ผู้ใดรู้ชัดอสัญญี-สัตตายตนะนั้น รู้ชัดการเกิดแห่งสิ่งนั้น รู้ชัดความดับแห่งสิ่งนั้นรู้ชัดรสอร่อยแห่งสิ่งนั้น รู้ชัดโทษอันต่ำาทรามแห่งสิ่งนั้น และรู้ชัดอุบายเครื่องสลัดออกแห่งสิ่งนั้น ดังนี้แล้ว ควรหรือที่ผู้นั้นจะเพลิดเพลินยิ่งซึ่งอสัญญีสัตตายตนะนั้น.

ข้อนั้น เป็นไปไม่ได้ พระเจ้าข้า.

อานนท์ ในบรรดาวิญญาณฐิติ ๗ และอายตนะ ๒ นั้นเนวสัญญานาสัญญายตนะ อันใดมีอยู่ อานนท์ ผู้ใดรู้ชัดเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น รู้ชัดการเกิดแห่ง สิ่งนั้น รู้ชัดความดับแห่งสิ่งนั้น รู้ชัดรสอร่อยแห่งสิ่งนั้น รู้ชัดโทษอันต่ำทราม แห่งสิ่งนั้น และรู้ชัดอุบายเครื่องสลัดออกแห่งสิ่งนั้น ดังนี้แล้ว ควรหรือที่ผู้นั้น จะเพลิดเพลินยิ่งซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น.

ข้อนั้น เป็นไปไม่ได้ พระเจ้าข้า.

อานนท์ เมื่อใดแล ภิกษุรู้แจ้งชัดตามเป็นจริงซึ่งการเกิด ความดับ รสอร่อย โทษอันต่ำทราม และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งวิญญาณฐิติ ๗ เหล่านี้ และแห่งอายตนะ ๒เหล่านี้ด้วยแล้ว เป็นผู้หลุดพ้นเพราะความไม่ยึดมั่น.

อานนท์ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ผู้เป็นปัญญาวิมุตติ.

หน้า 49

๑๗
การได้อัตตา
3 อย่าง
-บาลี สี. ที. ๙/๒๔๑,๒๔๕/๓๐๒,๓๐๙.

โปฏฐปาทะ ความได้อัตตา ๓ เหล่านี้ คือ ความได้อัตตาที่หยาบ (โอฬาริโก อตฺตปฏิลาโภ) ความได้อัตตาที่สำเร็จด้วยใจ (มโนมโย อตฺตปฏิลาโภ) ความได้อัตตาที่หารูปไม่ได้ (อรูโป อตฺตปฏิลาโภ).

ความได้อัตตาที่หยาบ เป็นอย่างไร คือ อัตตาที่มีรูปประกอบด้วยมหาภูต ๔ บริโภคอาหารคือคำข้าว นี้คือความได้อัตตาที่หยาบ.

ความได้อัตตาที่สำเร็จด้วยใจ เป็นอย่างไร คือ อัตตาที่มีรูปสำเร็จด้วยใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง นี้คือความได้อัตตา ที่สำเร็จด้วยใจ.

ความได้อัตตาที่หารูปไม่ได้ เป็นอย่างไร คือ อัตตาอันหารูปไม่ได้ สำเร็จด้วยสัญญา นี้คือความได้อัตตาที่หารูปไม่ได้ … .

จิตตะ สมัยใด มีการได้อัตตาที่หยาบ สมัยนั้นไม่นับว่าได้อัตตาที่สำเร็จด้วยใจ ไม่นับว่าได้อัตตาที่หารูปไม่ได้ นับว่าได้อัตตาที่หยาบอย่างเดียว.

จิตตะ สมัยใด มีการได้อัตตาที่สำเร็จด้วยใจ สมัยนั้นไม่นับว่าได้อัตตาที่หยาบ ไม่นับว่าได้อัตตาที่หารูปไม่ได้ นับว่าได้อัตตาที่สำเร็จด้วยใจอย่างเดียว.

จิตตะ สมัยใด มีการได้อัตตาที่หารูปไม่ได้ สมัยนั้นไม่นับว่าได้อัตตาที่หยาบ ไม่นับว่าได้อัตตาที่สำเร็จด้วยใจ นับว่าได้อัตตาที่หารูปไม่ได้อย่างเดียว.

จิตตะ ถ้าชนทั้งหลายพึงถามท่านว่า เธอได้มีแล้วในอดีตกาล ไม่ใช่ว่าเธอไม่ได้ มีแล้ว เธอจักมีในอนาคตกาลไม่ใช่ว่าเธอจักไม่มี เธอมีอยู่ในบัดนี้ ไม่ใช่ว่าเธอ ไม่มีอยู่เช่นนั้นหรือ เมื่อท่านถูกถามอย่างนี้ ท่านจะพึงตอบเขาว่าอย่างไร.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าเขาถามข้าพระองค์อย่างนั้นข้าพระองค์พึงตอบเขาว่า ข้าพเจ้าได้มีแล้วในอดีตกาล ไม่ใช่ว่าไม่มีแล้วข้าพเจ้าจักมีในอนาคตกาล ไม่ใช่ว่าจักไม่มี ข้าพเจ้ามีอยู่ในบัดนี้ ไม่ใช่ว่าไม่มีอยู่.

จิตตะ ถ้าเขาพึงถามเธอว่า ท่านได้อัตตภาพที่เป็นอดีตแล้ว การที่ท่านได้ อัตตภาพเช่นนี้เท่านั้น เป็นของเที่ยงแท้การได้อัตตภาพที่เป็นอนาคต และที่เป็น ปัจจุบัน เป็นโมฆะท่านจักได้อัตตภาพที่เป็นอนาคต การได้อัตตภาพเช่นนี้เท่านั้น เป็นของเที่ยงแท้ การได้อัตตภาพที่เป็นอดีตและที่เป็นปัจจุบัน เป็นโมฆะ ท่านได้อัตตภาพที่เป็นปัจจุบันในบัดนี้ การได้อัตตภาพเช่นนี้เท่านั้น เป็นของ เที่ยงแท้ การได้อัตตภาพที่เป็นอดีตและที่เป็นอนาคต เป็นโมฆะ อย่างนั้นหรือ เมื่อเธอถูกถามอย่างนี้แล้ว จะตอบเขาว่าอย่างไร.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าเขาถามข้าพระองค์อย่างนี้ ข้าพระองค์จะตอบเขาว่า ข้าพเจ้าได้อัตตภาพที่เป็นอดีตแล้ว การได้อัตตภาพเช่นนี้เท่านั้น เป็นของเที่ยงแท้ในสมัยนั้น การได้อัตตภาพที่เป็นอนาคตและที่เป็นปัจจุบัน เป็นโมฆะ ข้าพเจ้าจักได้อัตตภาพที่เป็นอนาคต การได้อัตตภาพเช่นนี้เท่านั้น เป็นของเที่ยงแท้ในสมัยนั้น การได้อัตตภาพที่เป็นอดีตและที่เป็นปัจจุบัน เป็นโมฆะ ข้าพเจ้าได้อัตตภาพที่เป็นปัจจุบันในบัดนี้ การได้อัตตภาพเช่นนี้ เท่านั้น เป็นของเที่ยงแท้ในสมัยนั้น การได้อัตตภาพที่เป็นอดีตและที่เป็นอนาคต เป็นโมฆะ.

จิตตะ อย่างนั้นแหละ สมัยใด มีการได้อัตตาที่หยาบ สมัยนั้น ไม่นับว่าได้อัตตา ที่สำเร็จด้วยใจ ไม่นับว่าได้อัตตาที่หารูปไม่ได้ นับว่าได้อัตตาที่หยาบอย่างเดียว.

จิตตะ สมัยใด มีการได้อัตตาที่สำเร็จด้วยใจ สมัยนั้นไม่นับว่าได้อัตตาที่หยาบ ไม่นับว่าได้อัตตาที่หารูปไม่ได้ นับว่าได้อัตตาที่สำเร็จด้วยใจอย่างเดียว.

จิตตะ สมัยใด มีการได้อัตตาที่หารูปไม่ได้ สมัยนั้นไม่นับว่าได้อัตตาที่หยาบ ไม่นับว่าได้อัตตาที่สำเร็จด้วยใจนับว่าได้อัตตาที่หารูปไม่ได้อย่างเดียว.

จิตตะ เหมือนอย่างว่า นมสดเกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจากนมสด เนยข้นเกิดจากนมส้ม เนยใสเกิดจากเนยข้นหัวเนยใสเกิดจากเนยใส

สมัยใดเป็นนมสด สมัยนั้น ไม่นับว่าเป็นนมส้ม เนยข้น เนยใส หรือหัวเนยใส แต่นับว่าเป็นนมสดอย่างเดียวเท่านั้น

สมัยใดเป็นนมส้ม สมัยนั้น ไม่นับว่าเป็นนมสด เนยข้น เนยใส หรือหัวเนยใส แต่นับว่าเป็นนมส้มอย่างเดียวเท่านั้น

สมัยใดเป็นเนยข้น สมัยนั้น ไม่นับว่าเป็นนมสด นมส้ม เนยใส หรือหัวเนยใส แต่นับว่าเป็นเนยข้นอย่างเดียวเท่านั้น

สมัยใดเป็นเนยใส สมัยนั้นไม่นับว่าเป็นนมสด นมส้ม เนยข้น หรือหัวเนยใส แต่นับว่าเป็นเนยใสอย่างเดียวเท่านั้น

สมัยใดเป็นหัวเนยใส สมัยนั้น ไม่นับว่าเป็นนมสด นมส้ม เนยข้น หรือเนยใส แต่นับว่าเป็นหัวเนยใสอย่างเดียวเท่านั้น.

จิตตะ ฉันใดก็ฉันนั้นเหมือนกัน

สมัยใดมีการได้อัตตาที่หยาบ สมัยนั้น ไม่นับว่าได้อัตตาที่สำเร็จด้วยใจ ไม่นับว่าได้อัตตาที่หารูปไม่ได้ แต่นับว่าได้อัตตาที่หยาบอย่างเดียวเท่านั้น

สมัยใดมีการได้อัตตาที่สำเร็จด้วยใจ สมัยนั้น ไม่นับว่าได้อัตตาที่หยาบ ไม่นับว่าได้อัตตาที่หารูปไม่ได้ แต่นับว่าได้อัตตาที่สำเร็จด้วยใจอย่างเดียว เท่านั้น

สมัยใดมีการได้อัตตาที่หารูปไม่ได้ สมัยนั้น ไม่นับว่าได้อัตตาที่หยาบไม่นับว่า ได้อัตตาที่สำเร็จด้วยใจ แต่นับว่าได้อัตตาที่หารูปไม่ได้อย่างเดียวเท่านั้น.

จิตตะ เหล่านี้แลเป็นชื่อตามโลก เป็นภาษาของโลกเป็นโวหารของโลก เป็นบัญญัติของโลก ที่ตถาคตกล่าวอยู่แต่ไม่ได้ยึดถือ.

หน้า ๕๓

๑๘
เปิดธรรมที่ถูกปิด : สัตว์ การก้าวลงสู่ครรภ์ ๔

-บาลี ปา. ที. ๑๑/๑๑๑/๗๗.

… ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อีกประการหนึ่ง ซึ่งเป็นข้อธรรมที่เยี่ยม คือ พระผู้มี พระภาคทรงแสดงธรรมในการก้าวลงสู่ครรภ์ การก้าวลงสู่ครรภ์ ๔ เหล่านี้คือ สัตว์บางชนิดในโลกนี้ ไม่รู้สึกตัวก้าวลงสู่ครรภ์มารดา ไม่รู้สึกตัวอยู่ ในครรภ์ มารดา ไม่รู้สึกตัวคลอดจากครรภ์มารดา นี้เป็นการก้าวลงสู่ครรภ์ข้อที่ 1

ข้ออื่นยัง มีอีก สัตว์บางชนิด ในโลกนี้ รู้สึกตัวก้าวลงสู่ครรภ์มารดาอย่างเดียว แต่ไม่รู้สึกตัวอยู่ในครรภ์มารดาไม่รู้สึกตัวคลอดจากครรภ์มารดา นี้เป็นการก้าว ลงสู่ครรภ์ข้อที่ ๒

ข้ออื่นยังมีอีก สัตว์บางชนิดในโลกนี้ รู้สึกตัวก้าวลงสู่ครรภ์มารดา รู้สึกตัวอยู่ใน ครรภ์มารดา แต่ไม่รู้สึกตัวคลอดจากครรภ์มารดา นี้เป็นการก้าวลงสู่ครรภ์ข้อที่ 3

ข้ออื่นยังมีอีก สัตว์บางชนิดในโลกนี้ รู้สึกตัวก้าวลงสู่ครรภ์มารดา รู้สึกตัวอยู่ใน ครรภ์มารดา รู้สึกตัวคลอดจากครรภ์มารดา นี้เป็นการก้าวลงสู่ครรภ์ข้อที่ ๔

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้ก็เป็นข้อธรรมที่เยี่ยมในการก้าวลงสู่ครรภ์ … .

หน้า 54

๑๙
การก้าวลงสู่ครรภ์ ของสัตว์ผู้เกิดในครรภ์

-บาลี มู. ม. ๑๒/๔๘๗/๔๕๒.

ภิกษุทั้งหลาย เพราะการประจวบพร้อมแห่งปัจจัย ๓ ประการ การก้าวลงสู่ครรภ์ ของสัตว์ผู้เกิดในครรภ์ ย่อมมีขึ้น(ติณฺณํ โข ปน ภิกฺขเว สนฺนิปาตา คพฺภสฺสาวกฺกนฺติ โหติ)

ในกรณีนี้ คือ มารดาบิดอยู่ร่วมกัน แต่มารดาไม่มี ระดู ทั้ง คันธัพพะ (สัตว์ที่จะปฏิสนธิในครรภ์) ก็ยังไม่ได้เข้าไปตั้งอยู่เฉพาะแล้ว การก้าวลงสู่ ครรภ์ของสัตว์ ผู้เกิดในครรภ์ (คพฺภสฺสาวกฺกนฺติ) ก็ยังมีไม่ได้ก่อน.

ในกรณีนี้ แม้มารดาบิดอยู่ร่วมกัน มารดาก็มีระดู แต่คันธัพพะยังไม่เข้าไปตั้งอยู่ เฉพาะแล้ว การก้าวลงสู่ครรภ์ของสัตว์ผู้เกิดในครรภ์ ก็ยังมีไม่ได้ก่อนอยู่นั่นเอง.

ภิกษุทั้งหลาย แต่ในกาลใด

(1) มารดาบิดาอยู่ร่วมกันด้วย
(2) มารดามีระดูด้วย
(3) คันธัพพะเข้าไปตั้งอยู่เฉพาะแล้ว (สะเปิร์ม หรือเชื้ออสุจิ)

ด้วยการก้าวลงสู่ครรภ์ของสัตว์ผู้เกิดในครรภ์ ย่อมมี เพราะการประจวบพร้อม แห่งปัจจัย ๓ ประการ ด้วยอาการอย่างนี้.

ภิกษุทั้งหลาย มารดาย่อมบริหารซึ่งสัตว์ผู้เกิดในครรภ์นั้นด้วยท้อง ตลอดเวลา ๙ เดือนบ้าง ๑๐ เดือนบ้างด้วยความวิตกกังวลอันใหญ่หลวง เป็นภาระหนัก.

ภิกษุทั้งหลาย มารดาย่อมคลอดซึ่งทารกนั้น โดยกาลอันล่วงไป ๙ เดือนบ้าง ๑๐ เดือนบ้าง ด้วยความวิตกกังวลอันใหญ่หลวง เป็นภาระหนัก เลี้ยงแล้วซึ่ง ทารกอันเป็นผู้เกิดแล้วนั้น ด้วยโลหิตแห่งตน

ภิกษุทั้งหลายในอริยวินัย สิ่งที่เรียกว่า โลหิตนั้นหมายถึงน้ำนมแห่งมารดา.

ภิกษุทั้งหลาย กุมารนั้น อาศัยความเจริญและความเติบโตแห่งอินทรีย์ ทั้งหลายแล้ว เล่นอยู่ด้วยของเล่นสำหรับเด็ก กล่าวคือ เล่นไถเล็กๆ เล่นตีไม้หึ่ง เล่นหกคะเมนเล่นกังหัน เล่นตวงทราย เล่นรถเล็กๆ เล่นธนูเล็กๆ.

ภิกษุทั้งหลาย กุมารนั้น อาศัยความเจริญ และความเติบโตแห่งอินทรีย์ ทั้งหลายแล้ว เป็นผู้เอิบอิ่มเพียบพร้อม ถูกปรนเปรอด้วยกามคุณ ๕ คือ รูปที่เห็นได้ด้วยตา เสียงที่ได้ยินด้วยหู กลิ่นที่รู้ได้ด้วยจมูก รสที่รู้ได้ด้วยลิ้น โผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกาย อันน่าปรารถนาน่ารักใคร่น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความหนัด นำมาซึ่ง ความรัก.

กุมารนั้น ครั้นเห็นรูปด้วยตาแล้ว … ได้ยินเสียงด้วยหูแล้ว … ได้กลิ่นด้วยจมูกแล้ว … รู้รสด้วยลิ้นแล้ว …รู้สึกโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว … รู้แจ้งธรรมด้วยใจแล้ว ย่อมกำหนัดยินดีในรูป … เสียง … กลิ่น … รส … โผฏฐัพพะ …ธรรมที่มีลักษณะน่ารัก ย่อมขัดเคืองในรูป … เสียง … กลิ่น …รส … โผฏฐัพพะ … ธรรมที่มีลักษณะน่าชัง

กุมารนั้น ย่อมเป็นผู้มีสติในกายไม่ตั้งมั่น และมีจิตเป็นอกุศลอยู่ เขาย่อมไม่รู้ชัด ตามที่เป็นจริง ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือ แห่งธรรม อันเป็นบาปอกุศลทั้งหลายด้วย.

กุมารนั้น เมื่อประกอบด้วยความยินดี และความยินร้ายอยู่เช่นนี้แล้ว เสวยอยู่ ซึ่งเวทนาใดๆ เป็นสุขก็ตามเป็นทุกข์ก็ตาม ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ตาม เขาย่อมเพลิดเพลินพร่ำาสรรเสริญ เมาหมกอยู่ ซึ่งเวทนานั้นๆ เมื่อเป็นผู้เพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่ ซึ่งเวทนานั้นๆนันทิ (ความเพลิน) ย่อมเกิดขึ้น นันทิใดในเวทนาทั้งหลาย นันทินั้น คืออุปาทาน เพราะอุปาทานของกุมารนั้นเป็นปัจจัยจึงมีภพ เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัสอุปายาสะทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.

หน้า 57


๒๐
เมื่อการก้าวลงสู่ครรภ์มีอยู่ นามรูปย่อมมี

-บาลี ติก. อํ. ๒๐/๒๒๗/๕๐๑.

… ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยซึ่งธาตุทั้ง ๖ ประการการก้าวลงสู่ครรภ์ย่อมมี เมื่อการก้าวลงสู่ครรภ์มีอยู่ นามรูปย่อมมี เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา.

ภิกษุทั้งหลาย เราย่อมบัญญัติว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับไม่เหลือของทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ ดังนี้ แก่ผู้เสวยเวทนาอยู่ ผู้รู้อยู่(เวทิยมานสฺส ปนาหํ).