เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
  
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ            

  สัตว์ -พุทธวจน   ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
  6 of 7  
 
  สัตว์ พุทธวจน  ที่มา : http://watnapp.com/book  
       
    สารบัญ หน้า  
       
  50 . ความดับสนิทไม่เหลือของโลก หาพบในกายนี้ 175  
  51 . ยาถ่ายอันเป็นอริยะ 176  
  52 . สิ่งที่ปุถุชนยึดถือ 179  
  53 . ขันธ์ ๕ ไม่ใช่ของเรา 183  
  54 . อายตนะภายใน ๖ ไม่ใช่ของเรา 186  
  55 . อายตนะภายนอก ๖ ไม่ใช่ของเรา 188  
  56 . จิต มโน วิญญาณ ไม่ใช่ของเรา 190  
  57 . อะไรๆ ก็ไม่ใช่ของเรา 194  
  58 . ขันธ์ ๕ ไม่ใช่ตัวตนของเรา (นัยที่ ๑) 201  
  59 . ขันธ์ ๕ ไม่ใช่ตัวตนของเรา (นัยที่ ๒) 205  
       
 
 





หน้า 175

๕๐
ความดับสนิทไม่เหลือของโลกหาพบในกายนี้

-บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๖๓/๔๖.

ภิกษุทั้งหลาย เราได้กล่าวกะโรหิตัสสเทวบุตรนั้นว่าอาวุโส ที่สุดโลกแห่งใด อันสัตว์ไม่เกิด ไม่แก่ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติ เราไม่กล่าวการรู้ การเห็น การถึง ที่สุดโลกนั้น เพราะการไป.

อาวุโส เมื่อยังไม่ถึงที่สุดแห่งโลกแล้ว เราย่อมไม่กล่าวซึ่งการกระทำที่สุด แห่งทุกข์.

อาวุโส ในร่างกายที่ยาวประมาณวาหนึ่งนี้ ที่ยังประกอบด้วยสัญญาและใจนี่เอง เราได้บัญญัติ โลก เหตุให้เกิดโลก ความดับสนิทไม่เหลือของโลก และทางดำเนินให้ถึงความ ดับสนิทไม่เหลือของโลกไว้ ดังนี้.


หน้า 176

๕๑
ยาถ่ายอันเป็นอริยะ

-บาลี ทสก. อํ. ๒๔/๒๓๓/๑๐๘.

ภิกษุทั้งหลาย แพทย์ทั้งหลาย ย่อมให้ยาถ่ายเพื่อกำจัดโรค ที่มีน้ำาดีเป็นเหตุ บ้าง ที่มีเสมหะเป็นเหตุบ้างที่มีลมเป็นเหตุบ้าง ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า ยาถ่ายชนิดนั้นมีอยู่ มิใช่ไม่มี แต่ว่ายาถ่ายชนิดนั้น บางทีก็ได้ผลบางที ก็ไม่ได้ผล.

ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง ยาถ่ายอันเป็นอริยะ(อริย วิเรจนํ) อันเป็นยาถ่าย ที่ได้ผลโดยส่วนเดียว ไม่มีที่จะไม่ได้ผล เป็นยาถ่ายซึ่งอาศัยแล้ว สัตว์ที่มีความเกิดเป็นธรรมดา (ชาติธมฺมา สตฺตา) จะพ้นจากความเกิด สัตว์ที่มีความแก่เป็นธรรมดา (ชราธมฺมา สตฺตา) จะพ้นจากความแก่ สัตว์ที่มีความตายเป็นธรรมดา (มรณธมฺมา สตฺตา) จะพ้นจากความตายสัตว์ที่มีโสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัสอุปายาสะทั้งหลาย เป็นธรรมดา (โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายาสธมฺมา สตฺตา) จะพ้นจากโสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัสอุปายาสะทั้งหลาย พวกเธอจงฟังจงทำ ในใจให้ดี เราจักกล่าว.

ภิกษุทั้งหลาย ยาถ่ายอันเป็นอริยะ ที่ได้ผลโดยส่วนเดียว ไม่มีที่จะไม่ได้ผล เป็นยาถ่ายซึ่งอาศัยแล้ว สัตว์ที่มีความเกิดเป็นธรรมดา จะพ้นจากความเกิด สัตว์ที่มีความแก่เป็นธรรมดา จะพ้นจากความแก่ สัตว์ที่มีความตายเป็นธรรมดา จะพ้นจากความตาย สัตว์ที่มีโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสะทั้งหลาย เป็นธรรมดา จะพ้นจากโสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัสอุปายาสะทั้งหลายได้นั้น เป็นอย่างไร.

ภิกษุทั้งหลาย ผู้มีสัมมาทิฏฐิ ย่อมระบายมิจฉาทิฏฐิออกได้ กล่าวคือ บาปอกุศลธรรมเป็นอเนกเกิดขึ้นเพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัยเหล่าใด บาปอกุศลธรรมเหล่านั้นเป็นสิ่งที่เขาระบายออกได้แล้ว และกุศลธรรมเป็นอเนก ที่มีสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์.

ภิกษุทั้งหลาย ผู้มีสัมมาสังกัปปะ ย่อมระบายมิจฉาสังกัปปะออกได้ …
ภิกษุทั้งหลาย ผู้มีสัมมาวาจา ย่อมระบายมิจฉาวาจาออกได้ …
ภิกษุทั้งหลาย ผู้มีสัมมากัมมันตะ ย่อมระบายมิจฉากัมมันตะออกได้ …
ภิกษุทั้งหลาย ผู้มีสัมมาอาชีวะ ย่อมระบายมิจฉาอาชีวะออกได้ …
ภิกษุทั้งหลาย ผู้มีสัมมาวายามะ ย่อมระบายมิจฉาวายามะออกได้ …
ภิกษุทั้งหลาย ผู้มีสัมมาสติ ย่อมระบายมิจฉาสติออกได้ …
ภิกษุทั้งหลาย ผู้มีสัมมาสมาธิ ย่อมระบายมิจฉาสมาธิออกได้ …
ภิกษุทั้งหลาย ผู้มีสัมมาญาณะ ย่อมระบายมิจฉาญาณะออกได้ …
ภิกษุทั้งหลาย ผู้มีสัมมาวิมุตติ ย่อมระบายมิจฉาวิมุตติออกได้

กล่าวคือ บาปอกุศลธรรมเป็นอเนกเกิดขึ้น

เพราะมิจฉาวิมุตติเป็นปัจจัยเหล่าใด บาปอกุศลธรรมเหล่านั้น เป็นสิ่งที่เขาระบายออกได้แล้ว และกุศลธรรมเป็นอเนก ที่มีสัมมาวิมุตติเป็นปัจจัย ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์.

ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล ยาถ่ายอันเป็นอริยะ อันเป็นยาถ่ายที่ได้ผลโดย ส่วนเดียว ไม่มีที่จะไม่ได้ผล เป็นยาถ่ายซึ่งอาศัยแล้ว สัตว์ที่มีความเกิดเป็น ธรรมดา จะพ้นจากความเกิด สัตว์ที่มีความแก่เป็นธรรมดา จะพ้นจากความ แก่สัตว์ที่มีความตายเป็นธรรมดา จะพ้นจากความตาย สัตว์ที่มีโสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัสอุปายาสะทั้งหลาย เป็นธรรมดาจะพ้นจากโสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัสอุปายาสะทั้งหลาย.

หน้า 179

๕๒
สิ่งที่ปุถุชนยึดถือ

-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๘๓/๒๕๘.

ภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มี อวิชชา เป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ.

ภิกษุทั้งหลาย สุนัขที่เขาผูกไว้ด้วยเชือก ถูกล่ามไว้ที่หลักหรือเสาอันมั่นคง ถ้าแม้มันเดิน มันก็ย่อมเดินใกล้หลักหรือเสานั้นเอง ถ้าแม้มันยืน มันก็ย่อมยืนใกล้ หลักหรือเสานั้นเอง ถ้าแม้มันนั่ง มันก็ย่อมนั่งใกล้หลักหรือเสานั้นเอง ถ้าแม้มันนอน มันก็ย่อมนอนใกล้หลักหรือ เสานั้นเองแม้ฉันใด.

ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ก็ฉันนั้นเหมือนกันย่อมตามเห็นรูปว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ย่อมตามเห็นเวทนา … สัญญา … สังขารทั้งหลาย… วิญญาณว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา.

ปุถุชนนั้น
ถ้าแม้เดินอยู่ เขาก็ย่อมเดินใกล้อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้นั้นเอง
ถ้าแม้ยืนอยู่ เขาก็ย่อมยืนใกล้อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้นั้นเอง
ถ้าแม้นั่งอยู่ เขาก็ย่อมนั่งใกล้อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้นั้นเอง
ถ้าแม้นอนอยู่ เขาย่อมนอนใกล้อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้นั้นเอง.

ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลาย พึงพิจารณาจิตของตนเนืองๆ ว่า จิตนี้เศร้าหมองแล้วด้วยราคะโทสะ โมหะ สิ้นกาลนาน ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย ย่อมเศร้าหมองเพราะจิตเศร้าหมอง สัตว์ทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์ เพราะจิตผ่องแผ้ว (จิตฺตโวทานา) … .

ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนช่างย้อม หรือช่างเขียน เมื่อมีน้ำาย้อมคือครั่ง ขมิ้น คราม หรือสีแดงอ่อนก็จะพึงเขียนรูปสตรี หรือรูปบุรุษ ลงที่แผ่นกระดาษ หรือฝาผนัง หรือผืนผ้า ซึ่งเกลี้ยงเกลา ได้ครบทุกส่วน

ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อจะให้เกิดย่อม ทำรูป นั่นแหละให้เกิด เมื่อจะให้เกิด ย่อมทำเวทนานั่นแหละให้เกิด เมื่อจะให้เกิด ย่อมทำสัญญานั่นแหละ ให้เกิดเมื่อจะให้เกิด ย่อมทำสังขารนั่นแหละให้เกิด เมื่อจะให้เกิดย่อมทำวิญญาณนั่นแหละให้เกิด.

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง.
ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.

เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็น สิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรานั่นเป็นตัวตนของเรา.

ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไร … เวทนา … สัญญา … สังขารทั้งหลาย … วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.

เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็น สิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรานั่นเป็นตัวตนของเรา.

ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขารทั้งหลายย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้วย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว อริยสาวกนั้นย่อมรู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้วกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ไม่ได้มี ดังนี้.

หน้า 183


๕๓
ขันธ์ ๕ ไม่ใช่ของเรา

-บาลี มู. ม. ๑๒/๒๗๙/๒๘๗., -บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๔๒/๗๑.

… ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล ถ้าแม้ว่าชนเหล่าอื่นพึงด่าว่า บริภาษ โกรธเคือง เบียดเบียน กระทบกระเทียบพวกเธอ พวกเธอไม่พึงมีความอาฆาต ไม่พึงมีความขุ่นเคือง ไม่พึงมีความไม่ชอบใจในชนเหล่าอื่นนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล แม้จะมีใครมาสักการะ เคารพ นับถือ บูชาพวกเธอ พวกเธอไม่พึงมีความยินดี ไม่พึงมีความโสมนัส หรือไม่มีความ เคลิ้มใจไปตามสิ่งเหล่านั้น ภิกษุทั้งหลาย ถ้ามีใครมาสักการะเคารพ นับถือ บูชาพวกเธอ พวกเธอพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ก่อนหน้านี้เรามีความรู้สึกตัว ทั่วถึงอย่างไร บัดนี้เราก็ต้องทำความรู้สึกตัวทั่วถึงอย่างนั้น ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล สิ่งใดไม่ใช่ของเธอสิ่งนั้นเธอจงละมันเสีย สิ่งนั้นอันเธอละ ได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล และความสุขแก่เธอ.

ภิกษุทั้งหลาย อะไรเล่า ที่ไม่ใช่ของเธอ.

ภิกษุทั้งหลาย รูปไม่ใช่ของเธอ เธอจงละมันเสียสิ่งนั้นอันเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์ เกื้อกูล และความสุขแก่เธอ.

ภิกษุทั้งหลาย เวทนาไม่ใช่ของเธอ เธอจงละมันเสียสิ่งนั้นอันเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล และความสุขแก่เธอ.

ภิกษุทั้งหลาย สัญญาไม่ใช่ของเธอ เธอจงละมันเสียสิ่งนั้นอันเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์ เกื้อกูลและความสุขแก่เธอ.

ภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายไม่ใช่ของเธอ เธอจงละมันเสีย สิ่งนั้นอันเธอละ ได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล และความสุขแก่เธอ.

ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณไม่ใช่ของเธอ เธอจงละมันเสียสิ่งนั้นอันเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่เธอ.

ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนอะไรๆ ในเชตวันนี้ที่เป็นหญ้า เป็นไม้ เป็นกิ่งไม้ เป็นใบไม้ ที่คนเขาขนไปทิ้งหรือเผาเสีย หรือทำตามสมควรแก่เหตุ พวกเธอรู้สึกอย่างนี้บ้างหรือไม่ว่า คนเขาขนเราไป หรือเผาเรา หรือทำแก่เรา ตามสมควรแก่เหตุ.

ไม่รู้สึกอย่างนั้นเลย พระเจ้าข้า.

ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะเหตุว่า ความรู้สึกว่าตัวตน (อตฺตา)ของตน (อตฺตนิยา) ของข้าพระองค์ไม่มีในสิ่งเหล่านั้น พระเจ้าข้า.

ภิกษุทั้งหลาย ฉันใดก็ฉันนั้น รูปไม่ใช่ของเธอเธอจงละมันเสีย สิ่งนั้นอันเธอละ ได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อ ประโยชน์เกื้อกูล และความสุขแก่เธอ.

ภิกษุทั้งหลาย เวทนาไม่ใช่ของเธอ เธอจงละมันเสียสิ่งนั้นอันเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่เธอ.

ภิกษุทั้งหลาย สัญญาไม่ใช่ของเธอ เธอจงละมันเสียสิ่งนั้นอันเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่เธอ.

ภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายไม่ใช่ของเธอ เธอจงละมันเสีย สิ่งนั้นอันเธอละ ได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล และความสุขแก่เธอ.

ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณไม่ใช่ของเธอ เธอจงละมันเสียสิ่งนั้นอันเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่เธอ.

หน้า 186

๕๔
อายตนะภายใน
6 ไม่ใช่ของเรา
-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๑๖๑/๒๑๙.

ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่ใช่ของเธอ สิ่งนั้นเธอจงละมันเสีย สิ่งนั้นอันเธอละ ได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล และความสุขแก่เธอ.

ภิกษุทั้งหลาย อะไรเล่า ที่ไม่ใช่ของเธอ.

ภิกษุทั้งหลาย จักษุ (ตา) ไม่ใช่ของเธอ เธอจงละมันเสียสิ่งนั้นอันเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล และความสุขแก่เธอ.

ภิกษุทั้งหลาย โสตะ (หู) … ฆานะ (จมูก) … ชิวหา(ลิ้น) … กายะ (กาย) … มโน (ใจ) ไม่ใช่ของเธอ เธอจงละมันเสียสิ่งนั้นอันเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อ ประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่เธอ.

ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือน อะไรๆ ในเชตวันนี้ที่เป็นหญ้า เป็นไม้ เป็นกิ่งไม้ เป็นใบไม้ ที่คนเขาขนไปทิ้งหรือเผาเสีย หรือทำตามสมควรแก่เหตุ พวกเธอรู้สึก อย่างนี้บ้างหรือไม่ว่า คนเขาขนเราไป หรือเผาเรา หรือทำแก่เราตามสมควร แก่เหตุ.

ไม่รู้สึกอย่างนั้นเลย พระเจ้าข้า.

ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะเหตุว่า ความรู้สึกว่าตัวตน (อตฺตา)ของตน (อตฺตนิยา) ของข้าพระองค์ไม่มีในสิ่งเหล่านั้น พระเจ้าข้า.

ภิกษุทั้งหลาย ฉันใดก็ฉันนั้น จักษุไม่ใช่ของเธอเธอจงละมันเสีย สิ่งนั้น อันเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่เธอ … โสตะ … ฆานะ… ชิวหา … กายะ … มโน ไม่ใช่ของเธอ เธอจงละมันเสียสิ่งนั้น อันเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล และความสุขแก่เธอ.

หน้า 188

๕๕
อายตนะภายนอก
6 ไม่ใช่ของเรา
-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๑๖๒/๒๒๐.

ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่ใช่ของเธอ สิ่งนั้นเธอจงละมันเสีย สิ่งนั้นอันเธอละ ได้แล้ว จักเป็นไป เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่เธอ.

ภิกษุทั้งหลาย อะไรเล่า ที่ไม่ใช่ของเธอ.

ภิกษุทั้งหลาย รูปไม่ใช่ของเธอ เธอจงละมันเสียสิ่งนั้นอันเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์ เกื้อกูลและความสุขแก่เธอ.

ภิกษุทั้งหลาย เสียง … กลิ่น … รส … โผฏฐัพพะ …ธรรมไม่ใช่ของเธอ เธอจงละมันเสีย สิ่งนัน้ อันเธอละได้แลว้จักเป็นไป เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและ ความสุขแก่เธอ.

ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนอะไรๆ ในเชตวันนี้ที่เป็นหญ้า เป็นไม้ เป็นกิ่งไม้ เป็นใบไม้ ที่คนเขาขนไปทิ้งหรือเผาเสีย หรือทำตามสมควรแก่เหตุ พวกเธอรู้สึก อย่างนี้บ้างหรือไม่ว่า คนเขาขนเราไป หรือเผาเรา หรือทำแก่เราตามสมควร แก่เหตุ.

ไม่รู้สึกอย่างนั้นเลย พระเจ้าข้า.

ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะเหตุว่า ความรู้สึกว่าตัวตน (อตฺตา)ของตน (อตฺตนิยา) ของข้าพระองค์ไม่มีในสิ่งเหล่านั้น พระเจ้าข้า.

ภิกษุทั้งหลาย ฉันใดก็ฉันนั้น รูปไม่ใช่ของเธอเธอจงละมันเสีย สิ่งนั้น อันเธอละ ได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่เธอ เสียง … กลิ่น … รส …โผฏฐัพพะ … ธรรมไม่ใช่ของเธอ เธอจงละมันเสีย สิ่งนั้นอันเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล และความสุขแก่เธอ.

หน้า 190

๕๖
จิต มโน วิญญ
􀄁ณไม่ใช่ของเรา
-บาลี นิทาน. สํ. ๑๖/๑๑๔/๒๓๐.

... ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ จะพึงเบื่อหน่ายได้บ้าง คลายกำหนัด ได้บ้าง หลุดพ้นได้บ้าง ในร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร

ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุว่า ความเจริญก็ดี ความเสื่อมก็ดีการเกิดก็ดี การตาย ก็ดีของร่างกาย อันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ย่อมปรากฏ เพราะเหตุนั้น ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ จึงเบื่อหน่าย ได้บ้าง คลายกำหนัดได้บ้าง หลุดพ้นได้บ้าง ในร่างกายนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ส่วนสิ่งที่เรียกกันว่า จิตบ้าง มโนบ้างวิญญาณบ้าง1 ปุถุชนผู้ ไม่ได้สดับ ไม่อาจจะเบื่อหน่าย ไม่อาจจะคลายกำหนัด ไม่อาจจะหลุดพ้น จากสิ่งนั้นได้เลย ข้อนั้นเพราะ เหตุอะไร เพราะเหตุว่า สิ่งที่เรียกกันว่า จิต เป็นต้นนี้อันปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ได้รวบรัดถือไว้ด้วย ตัณหา ได้ยึดถือด้วยทิฏฐิว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเราดังนี้มาตลอดกาล ช้านาน เพราะเหตุนั้นปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ

๑. พระไตรปิฎกฉบับหลวง ได้แปลบทนี้ว่า แต่ตถาคตเรียกร่างกายอันเป็น ที่ประชุม แห่ง มหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง. -ผู้รวบรวม


จึงไม่อาจจะเบื่อหน่าย ไม่อาจจะคลายกำหนัด ไม่อาจจะหลุดพ้นในสิ่งที่เรียก กันว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้างนั้นได้เลย.

ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ จะพึงเข้าไปยึดถือเอาร่างกาย อันเป็นที่ ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ โดยความเป็นตัวตนยังดีกว่า แต่จะเข้าไปยึดถือ เอาจิตโดยความเป็นตัวตนไม่ดีเลย ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะเหตุว่า ร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ เมื่อดำรงอยู่ ๑ ปีบ้าง ๒ ปีบ้าง ๓ ปีบ้าง ๔ ปีบ้าง ๕ ปีบ้าง ๑๐ ปีบ้าง ๒๐ ปีบ้าง ๓๐ ปีบ้าง ๔๐ ปีบ้าง ๕๐ ปีบ้าง ๑๐๐ ปีบ้าง เกินกว่า๑๐๐ ปีบ้าง ก็ยังมีปรากฏ ภิกษุทั้งหลาย ส่วนสิ่งที่เรียกกันว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้างนั้น ดวงหนึ่งเกิดขึ้นดวงหนึ่งดับไป ตลอดวัน ตลอดคืน.

ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนวานร เมื่อเที่ยวไปในป่าใหญ่ ย่อมจับกิ่งไม้ ปล่อยกิ่งนั้น จับกิ่งอื่น ปล่อยกิ่งที่จับเดิม เหนี่ยวกิ่งอื่นอีก เช่นนี้เรื่อยๆ ไป ภิกษุทั้งหลายฉันใดก็ฉันนั้นเหมือนกัน สิ่งที่เรียกกันว่าจิตบ้าง มโนบ้างวิญญาณ บ้าง ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ตลอดวันตลอดคืน.

ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อมกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย เป็นอย่างดี ซึ่งปฏิจจสมุปบาทนั่นเทียวดังนี้ว่า

เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ย่อมมี
เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น
เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ย่อมไม่มี
เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับไป


ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ

เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย
เพราะมีสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ
เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะมีชาติเป็นปัจจัยชรามรณะ โสกะปริเทวะ
ทุกขะโทมนัสอุปายาสะทั้งหลายจึงเกิดขึ้น ครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้

เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว
จึงมีความดับแห่งสังขาร
เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ
เพราะมีความดับแห่งวิญญาณ จึงมีความดับแห่งนามรูป
เพราะมีความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ
เพราะมีความดับแห่งสฬายตนะ จึงมีความดับ
แห่งผัสสะเพราะมีความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา
เพราะมีความดับแห่งเวทนา จึงมีความดับแห่งตัณหา
เพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน
เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ
เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ
เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะ
ทุกขะโทมนัสอุปายาสะทั้งหลาย จึงดับสิ้น
ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน สังขารทั้งหลาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ

เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว เธอย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ ไม่ได้มี ดังนี้.

อีกสูตรหนึ่ง -บาลี นิทาน. สํ. ๑๖/๑๑๖/๒๓๕. ได้ตรัสช่วงต้นโดยมีเนื้อความเหมือนกันกับสูตรข้างบนนี้ แต่ต่างกันที่อุปมา ช่วงท้าย ผู้สนใจสามารถ ศึกษาได้จากที่มาของพระสูตร. –ผู้รวบรวม


หน้า 194

๕๗
อะไรๆ ก็ไม่ใช่ของเรา

-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๑๐๐/๑๔๙.

ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่ใช่ของเธอ สิ่งนั้นเธอจงละมันเสีย สิ่งนั้นอันเธอละ ได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่เธอภิกษุทั้งหลาย อะไรเล่า ที่ไม่ใช่ของเธอ.

ภิกษุทั้งหลาย จักษุ (ตา) ไม่ใช่ของเธอ เธอจงละมันเสีย สิ่งนั้นอันเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่เธอ.

ภิกษุทั้งหลาย รูป ไม่ใช่ของเธอ เธอจงละมันเสีย สิ่งนั้นอันเธอละได้แล้ว จักเป็น ไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่เธอ.

ภิกษุทั้งหลาย จักษุวิญญาณ ไม่ใช่ของเธอ เธอจงละมันเสีย สิ่งนั้นอันเธอละ ได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่เธอ.

ภิกษุทั้งหลาย จักษุสัมผัส ไม่ใช่ของเธอ เธอจงละมันเสีย สิ่งนั้นอันเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่เธอ.

ภิกษุทั้งหลาย สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขม-สุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะ จักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่ใช่ของเธอเธอจงละมันเสีย สิ่งนั้นอันเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่เธอ.
............................................................................................................................

ภิกษุทั้งหลาย โสตะ (หู) ไม่ใช่ของเธอ เธอจงละมันเสีย สิ่งนั้นอันเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่เธอ.

ภิกษุทั้งหลาย เสียง ไม่ใช่ของเธอ เธอจงละมันเสีย สิ่งนั้นอันเธอละได้แล้ว จัก เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่เธอ.

ภิกษุทั้งหลาย โสตวิญญาณ ไม่ใช่ของเธอ เธอจงละมันเสีย สิ่งนั้นอันเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่เธอ.

ภิกษุทั้งหลาย โสตสัมผัส ไม่ใช่ของเธอ เธอจงละมันเสีย สิ่งนั้นอันเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่เธอ.

ภิกษุทั้งหลาย สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขม-สุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะโสตสัมผัส เป็นปัจจัย ไม่ใช่ของเธอ เธอจงละมันเสีย สิ่งนั้นอันเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่เธอ.
............................................................................................................................

ภิกษุทั้งหลาย ฆานะ (จมูก) ไม่ใช่ของเธอ เธอจงละมันเสีย สิ่งนั้นอันเธอละ ได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่เธอ.

ภิกษุทั้งหลาย กลิ่น ไม่ใช่ของเธอ เธอจงละมันเสีย สิ่งนั้นอันเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่เธอ.

ภิกษุทั้งหลาย ฆานวิญญาณ ไม่ใช่ของเธอ เธอจงละมันเสีย สิ่งนั้นอันเธอละ ได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่เธอ.

ภิกษุทั้งหลาย ฆานสัมผัส ไม่ใช่ของเธอ เธอจงละมันเสีย สิ่งนั้นอันเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่เธอ.

ภิกษุทั้งหลาย สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขม-สุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะฆานสัมผัส เป็นปัจจัย ไม่ใช่ของเธอเธอจงละมันเสีย สิ่งนั้นอันเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่เธอ.
............................................................................................................................

ภิกษุทั้งหลาย ชิวหา (ลิ้น) ไม่ใช่ของเธอ เธอจงละมันเสีย สิ่งนั้นอันเธอละ ได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่เธอ.

ภิกษุทั้งหลาย รส ไม่ใช่ของเธอ เธอจงละมันเสีย สิ่งนั้นอันเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่เธอ.

ภิกษุทั้งหลาย ชิวหาวิญญาณ ไม่ใช่ของเธอ เธอจงละมันเสีย สิ่งนั้นอันเธอละ ได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่เธอ.

ภิกษุทั้งหลาย ชิวหาสัมผัส ไม่ใช่ของเธอ เธอจงละมันเสีย สิ่งนั้นอันเธอละ ได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่เธอ.

ภิกษุทั้งหลาย สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขม-สุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัส เป็นปัจจัย ไม่ใช่ของเธอเธอจงละมันเสีย สิ่งนั้นอันเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่เธอ.
............................................................................................................................

ภิกษุทั้งหลาย กายะ (กาย) ไม่ใช่ของเธอ เธอจงละมันเสีย สิ่งนั้นอันเธอละ ได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่เธอ.

ภิกษุทั้งหลาย โผฏฐัพพะ ไม่ใช่ของเธอ เธอจงละมันเสีย สิ่งนั้นอันเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่เธอ.

ภิกษุทั้งหลาย กายวิญญาณ ไม่ใช่ของเธอ เธอจงละมันเสีย สิ่งนั้นอันเธอละ ได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่เธอ.

ภิกษุทั้งหลาย กายสัมผัส ไม่ใช่ของเธอ เธอจงละมันเสีย สิ่งนั้นอันเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่เธอ.

ภิกษุทั้งหลาย สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขม-สุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะกายสัมผัส เป็นปัจจัย ไม่ใช่ของเธอเธอจงละมันเสีย สิ่งนั้นอันเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่เธอ.
............................................................................................................................

ภิกษุทั้งหลาย มโน (ใจ) ไม่ใช่ของเธอ เธอจงละมันเสีย สิ่งนั้นอันเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่เธอ.

ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ไม่ใช่ของเธอ เธอจงละมันเสีย สิ่งนั้นอันเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่เธอ.

ภิกษุทั้งหลาย มโนวิญญาณ ไม่ใช่ของเธอ เธอจงละมันเสีย สิ่งนั้นอันเธอละ ได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่เธอ.

ภิกษุทั้งหลาย มโนสัมผัสไม่ใช่ของเธอ เธอจงละมันเสีย สิ่งนั้นอันเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่เธอ.

ภิกษุทั้งหลาย สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขม-สุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัส เป็นปัจจัย ไม่ใช่ของเธอเธอจงละมันเสีย สิ่งนั้นอันเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่เธอ.
............................................................................................................................

ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนอะไรๆ ในเชตวันนี้ที่เป็นหญ้า เป็นไม้ เป็นกิ่งไม้ เป็นใบไม้ ที่คนเขาขนไปทิ้งหรือเผาเสีย หรือทำตามสมควรแก่เหตุ พวกเธอรู้สึก อย่างนี้บ้างหรือไม่ว่า คนเขาขนเราไป หรือเผาเรา หรือทำแก่เราตามสมควร แก่เหตุ.

ไม่รู้สึกอย่างนั้นเลย พระเจ้าข้า.

ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะเหตุว่า ความรู้สึกว่าตัวตน (อตฺตา)ของตน (อตฺตนิยา) ของข้าพระองค์ไม่มีในสิ่งเหล่านั้น พระเจ้าข้า.

ภิกษุทั้งหลาย ฉันใดก็ฉันนั้น

จักษุ ... รูป ...จักษุวิญญาณ ... จักษุสัมผัส … สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่ใช่ของเธอ เธอจงละมันเสีย สิ่งนั้นอันเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล และความสุขแก่เธอ ...

โสตะ ... เสียง... โสตวิญญาณ ... โสตสัมผัส … สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่ใช่ของเธอ เธอจงละมันเสีย สิ่งนั้นอันเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกลู และความสุขแก่เธอ …

ฆานะ ... กลิ่น... ฆานวิญญาณ ... ฆานสัมผัส … สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่ใช่ของเธอ เธอจงละมันเสีย สิ่งนั้นอันเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล และความสุขแก่เธอ …

ชิวหา ... รส... ชิวหาวิญญาณ ... ชิวหาสัมผัส … สุขเวทนา ทุกขเวทนาหรือ อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่ใช่ของเธอ เธอจงละมันเสีย สิ่งนั้นอันเธอละได้แล้วจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล และความสุขแก่เธอ …

กายะ... โผฏฐัพพะ ... กายวิญญาณ ... กายสัมผัส … สุขเวทนาทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่ใช่ของเธอ เธอจงละมันเสีย สิ่งนั้นอันเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล และความสุขแก่เธอ ...

มโน ... ธรรม ... มโนวิญญาณ ... มโนสัมผัส … สุขเวทนาทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่ใช่ของเธอ เธอจงละมันเสีย สิ่งนั้นอันเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล และความสุขแก่เธอ.

หน้า 201

๕๘
ขันธ์ ๕ ไม่ใช่ตัวตนของเรา
(นัยที่ 1)
-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๙-๓๐,๑๐๑/๔๕-๔๗,๑๕๒.

ภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง แม้เหตุปัจจัยที่ให้รูปเกิดขึ้น ก็ไม่เที่ยง รูปที่เกิดจาก สิ่งที่ไม่เที่ยงจะเป็นของเที่ยงได้อย่างไร.

ภิกษุทั้งหลาย เวทนาไม่เที่ยง แม้เหตุปัจจัยที่ให้เวทนาเกิดขึ้น ก็ไม่เที่ยง เวทนาที่เกิดจากสิ่งที่ไม่เที่ยงจะเป็นของเที่ยงได้อย่างไร.

ภิกษุทั้งหลาย สัญญาไม่เที่ยง แม้เหตุปัจจัยที่ให้สัญญาเกิดขึ้น ก็ไม่เที่ยง สัญญาที่เกิดจากสิ่งที่ไม่เที่ยงจะเป็นของเที่ยงได้อย่างไร.

ภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง แม้เหตุปัจจัยที่ให้สังขารทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ไม่เที่ยง สังขารทั้งหลายที่เกิดจากสิ่งที่ไม่เที่ยง จะเป็นของเที่ยงได้อย่างไร.

ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณไม่เที่ยง แม้เหตุปัจจัยที่ให้วิญญาณเกิดขึ้น ก็ไม่เที่ยง วิญญาณที่เกิดจากสิ่งที่ไม่เที่ยงจะเป็นของเที่ยงได้อย่างไร.
............................................................................................................................

ภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นทุกข์ แม้เหตุปัจจัยที่ให้รูปเกิดขึ้น ก็เป็นทุกข์ รูปที่เกิดจาก สิ่งที่เป็นทุกข์ จะเป็นสุขได้อย่างไร.

ภิกษุทั้งหลาย เวทนาเป็นทุกข์ แม้เหตุปัจจัยที่ให้เวทนาเกิดขึ้น ก็เป็นทุกข์ เวทนาที่เกิดจากสิ่งที่เป็นทุกข์จะเป็นสุขได้อย่างไร.

ภิกษุทั้งหลาย สัญญาเป็นทุกข์ แม้เหตุปัจจัยที่ให้สัญญาเกิดขึ้น ก็เป็นทุกข์ สัญญาที่เกิดจากสิ่งที่เป็นทุกข์จะเป็นสุขได้อย่างไร.

ภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์ แม้เหตุปัจจัยที่ให้สังขารทั้งหลาย เกิดขึ้น ก็เป็นทุกข์ สังขารทั้งหลายที่เกิดจากสิ่งที่เป็นทุกข์ จะเป็นสุขได้อย่างไร.

ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณเป็นทุกข์ แม้เหตุปัจจัยที่ให้วิญญาณเกิดขึ้น ก็เป็นทุกข์ วิญญาณที่เกิดจากสิ่งที่เป็นทุกข์จะเป็นสุขได้อย่างไร.
............................................................................................................................

ภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา แม้เหตุปัจจัยที่ให้รูปเกิดขึ้น ก็เป็นอนัตตา รูปที่เกิดจากสิ่งที่เป็นอนัตตาจะเป็นอัตตาได้อย่างไร.

ภิกษุทั้งหลาย เวทนาเป็นอนัตตา แม้เหตุปัจจัยที่ให้เวทนาเกิดขึ้น ก็เป็นอนัตตา เวทนาที่เกิดจากสิ่งที่เป็นอนัตตา จะเป็นอัตตาได้อย่างไร.

ภิกษุทั้งหลาย สัญญาเป็นอนัตตา แม้เหตุปัจจัยที่ให้สัญญาเกิดขึ้น ก็เป็นอนัตตา สัญญาที่เกิดจากสิ่งที่เป็นอนัตตา จะเป็นอัตตาได้อย่างไร.

ภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา แม้เหตุปัจจัยที่ให้สังขารทั้งหลาย เกิดขึ้น ก็เป็นอนัตตา สังขารทั้งหลายที่เกิดจากสิ่งที่เป็นอนัตตา จะเป็นอัตตา ได้อย่างไร.

ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณเป็นอนัตตา แม้เหตุปัจจัยที่ให้วิญญาณเกิดขึ้น ก็เป็นอนัตตา วิญญาณที่เกิดจากสิ่งที่เป็นอนัตตา จะเป็นอัตตาได้อย่างไร.
............................................................................................................................

ภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา(เนตำ มม) ไม่ใช่เป็นเรา (เนโสหมสฺมิ)ไม่ใช่ตัวตนของเรา (น เมโส อตฺตา) ข้อนี้อริยสาวกพึงเห็นด้วย ปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้.

ภิกษุทั้งหลาย เวทนาไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเราข้อนี้อริยสาวกพึงเห็น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้.

ภิกษุทั้งหลาย สัญญาไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเราข้อนี้อริยสาวกพึงเห็น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้.

ภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้อริยสาวกพึงเห็นด้วยปัญญา อันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้.

ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเราข้อนี้อริยสาวกพึงเห็น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง
อย่างนี้.
............................................................................................................................

ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วเห็นอยู่อย่างนี้
ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในรูป
ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในเวทนา
ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในสัญญา
ย่อมเบื่อหน่าย แม้ใน สังขารทั้งหลาย
ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในวิญญาณ

เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้วย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว
อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว
พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ไม่ได้มีดังนี้.


หน้า 205

๕๙
ขันธ์ ๕ ไม่ใช่ตัวตนของเรา
(นัยที่ ๒)
-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๘๒/๑๒๗.

ภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา ก็หากรูปนี้จักเป็นอัตตาแล้วไซร้ รูปก็คงไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ ทั้งสัตว์ย่อมจะได้ตามความปรารถนาในรูปว่า ขอรูปของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิดอย่าได้เป็น อย่างนั้นเลย แต่เพราะรูปเป็นอนัตตา ดังนั้นรูปจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และสัตว์ย่อมไม่ได้ตาม ความปรารถนาในรูปว่า ขอรูปของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

ภิกษุทั้งหลาย เวทนาเป็นอนัตตา ก็หากเวทนานี้จักเป็นอัตตาแล้วไซร้ เวทนาก็คงไม่เป็นไป เพื่ออาพาธทั้งสัตว์ย่อมจะได้ตามความปรารถนา ในเวทนาว่า ขอเวทนาของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย แต่เพราะเวทนาเป็นอนัตตา ดังนั้น เวทนาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และสัตว์ย่อมไม่ได้ตามความปรารถนาในเวทนาว่า ขอเวทนาของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

ภิกษุทั้งหลาย สัญญาเป็นอนัตตา ก็หากสัญญานี้จักเป็นอัตตาแล้วไซร้ สัญญาก็คงไม่เป็นไปเพื่อ อาพาธทั้งสัตว์ย่อมจะได้ตามความปรารถนา ในสัญญาว่า ขอสัญญาของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย แต่เพราะเหตุที่สัญญาเป็นอนัตตา ดังนั้น สัญญาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และสัตว์ย่อมไม่ได้ตามความปรารถนาในสัญญาว่า ขอสัญญาของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

ภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา ก็หากสังขารทั้งหลายนี้จักเป็นอัตตา แล้วไซร้ สังขารทั้งหลายก็คงไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ ทั้งสัตว์ย่อมจะได้ตามความ ปรารถนาในสังขาร ทั้งหลายว่า ขอสังขารทั้งหลายของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย แต่เพราะเหตุ ที่สังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา ดังนั้น สังขารทั้งหลายจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และสัตว์ย่อมไม่ได้ ตามความปรารถนา ในสังขารทั้งหลายว่า ขอสังขารทั้งหลายของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็น อย่างนั้นเลย.

ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณเป็นอนัตตา ก็หากวิญญาณนี้จักเป็นอัตตาแล้วไซร้ วิญญาณก็คงไม่เป็น ไปเพื่ออาพาธทั้งสัตว์ย่อมจะได้ตามความปรารถนา ในวิญญาณว่า ขอวิญญาณของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย แต่เพราะเหตุที่วิญญาณเป็นอนัตตา ดังนั้น วิญญาณจึงเป็นไป เพื่ออาพาธ และสัตว์ย่อมไม่ได้ตามความปรารถนาในวิญญาณว่า ขอวิญญาณของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.

เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็น สิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรานั่นเป็นตัวตนของเรา.

ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร เวทนา … สัญญา … สังขารทั้งหลาย … วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.

เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็น สิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรานั่นเป็นตัวตนของเรา.

ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้

รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต หรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายในหรือภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียด ก็ตาม
เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกล หรือใกล้ก็ตาม
รูปทั้งหมดนั้นเธอ ทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ
ตามความเป็นจริงอย่างนี้ ว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา.

ภิกษุทั้งหลาย เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต หรือปัจจุบัน ก็ตาม เป็นภายใน หรือ ภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีต ก็ตามอยู่ในที่ไกลหรือใกล้ก็ตาม เวทนาทั้งหมดนั้น เธอทั้งหลายพึงเห็นด้วย ปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
นั่นไม่ใช่ ของเรา ไม่ใช่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา.

ภิกษุทั้งหลาย สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต หรือปัจจุบัน ก็ตาม เป็นภายใน หรือภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีต ก็ตามอยู่ในที่ไกลหรือใกล้ก็ตาม สัญญาทั้งหมดนั้น เธอทั้งหลายพึงเห็นด้วย ปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
นั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา.

ภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต หรือปัจจุบันก็ตาม เป็น ภายในหรือภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือใกล้ ก็ตาม สังขารทั้งหลายทั้งหมดนั้น เธอทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา.

ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต หรือปัจจุบัน ก็ตาม เป็นภายใน หรือภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีต ก็ตามอยู่ในที่ไกลหรือใกล้ก็ตาม วิญญาณทั้งหมดนั้น เธอทั้งหลายพึงเห็นด้วย ปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา.

ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน สังขารทั้งหลายย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ

เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว

อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ไม่ได้มี ดังนี้.