เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
  
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ            

  อนาคามี-พุทธวจน   ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
    2 of 8  
 
  อนาคามี พุทธวจน  ที่มา : http://watnapp.com/book  
       
    สารบัญ หน้า  
  15.ความเป็นอริยบุคคลกับอินทรีย์ ๕ (นัยที่ ๑) 44  
  16.ความเป็นอริยบุคคลกับอินทรีย์ ๕ (นัยที่ ๒) 45  
  17.ความเป็นอริยบุคคลกับอินทรีย์ ๕ (นัยที่ ๓) 46  
  18.อนาคามีในภพมนุษย์ (นัยที่ ๑) 48  
  19.อนาคามีในภพมนุษย์ (นัยที่ ๒) 51  
  20.ผู้สิ้นสังโยชน์ในภพมนุษย์ (นัยที่ ๑) 55  
  21.ผู้สิ้นสังโยชน์ในภพมนุษย์ (นัยที่ ๒) 57  
  22.ผู้สิ้นสังโยชน์ในภพมนุษย์ (นัยที่ ๓) 60  
  23.ผู้สิ้นสังโยชน์ในภพมนุษย์ (นัยที่ ๔) 62  
  24.ผู้สิ้นสังโยชน์ในภพมนุษย์ (นัยที่ ๕) 65  
  25.ผู้สิ้นสังโยชน์ในภพมนุษย์ (นัยที่ ๖) 68  
  26.ผู้สิ้นสังโยชน์ในภพมนุษย์ (นัยที่ ๗) 70  
  27.ข้อแตกต่างระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เมื่อได้สมาธิ (นัยที่ ๑) 74  
  28.ข้อแตกต่างระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เมื่อได้สมาธิ (นัยที่ ๒) 79  
  29.ข้อแตกต่างระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เมื่อเจริญพรหมวิหาร 83  
  30.ผลของการได้สมาธิ แล้วเห็นความไม่เที่ยง (นัยที่ ๑) 88  
  31.ผลของการได้สมาธิ แล้วเห็นความไม่เที่ยง (นัยที่ ๒) 91  
  32.เหตุได้ความเป็นอนาคามี หรืออาคามี 98  
  33.ผลของการเจริญพรหมวิหาร แล้วเห็นความไม่เที่ยง 100  
  34.โลก คือ สิ่งที่แตกสลายได้ 102  
       
       
 
 




อนาคามี Page 2

หน้า 44


15
ความเป็นอริยบุคคลกับอินทรีย์ ๕ (นัยที่ ๑)

-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๖๗/๘๘๘.

ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการเหล่านี้ ๕ ประการเป็นอย่างไร คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ปัญญินทรีย์ ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล อินทรีย์ ๕ ประการ.

(1) ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเป็นอรหันต์ เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้เต็มบริบูรณ์

(2) เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อทำอรหัตตผลให้แจ้ง เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ ของอรหันต์

(3) เป็นอนาคามี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของผู้ปฏิบัติเพื่อทำ อรหัตตผลให้แจ้ง

(4) เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้งเพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ ของอนาคามี

(5) เป็นสกทาคามี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของผู้ปฏิบัติเพื่อทำ อนาคามิผล ให้แจ้ง

(6) เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้งเพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ ของสกทาคามี

(7) เป็นโสดาบัน เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของผู้ปฏิบัติเพื่อทำ สกทาคามิผลให้แจ้ง

(8) เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้งเพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ ของโสดาบัน.

หน้า 45

16
ความเป็นอริยบุคคลกับอินทรีย์ ๕ (นัยที่ ๒)
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๖๔/๘๗๖.

ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการเหล่านี้ ๕ ประการเป็นอย่างไร คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล
อินทรีย์ ๕ ประการ.
(1) ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเป็นอรหันต์ เพราะอินทรีย์ ๕ เต็มบริบูรณ์
(2) เป็นอนาคามี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของอรหันต์
(3) เป็นสกทาคามี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของอนาคามี
(4) เป็นโสดาบัน เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของสกทาคามี
(5) เป็นธัมมานุสารี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของโสดาบัน
(6) เป็นสัทธานุสารี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของธัมมานุสารี.

หน้า 46

17
ความเป็นอริยบุคคลกับอินทรีย์ ๕ (นัยที่ ๓)

-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๖๖/๘๘๓.

ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการเหล่านี้ ๕ ประการเป็นอย่างไร คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ปัญญินทรีย์ ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล อินทรีย์ ๕ ประการ.

(1) ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเป็นอรหันต์ เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้เต็มบริบูรณ์
(2) เป็นอันตราปรินิพพายี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของอรหันต์
(3) เป็นอุปหัจจปรินิพพายี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของ อันตรา ปรินิพพายี
(4) เป็นอสังขารปรินิพพายี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของ อุปหัจจปรินิพพายี
(5) เป็นสสังขารปรินิพพายี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของอสังขาร ปรินิพพายี
(6) เป็นอุทธังโสโตอกนฏิฐคามี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของสสังขาร ปรินิพพายี
(7) เป็นสกทาคามี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของอุทธังโสโต อกนิฏฐคามี
(8) เป็นเอกพีชี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของสกทาคามี
(9) เป็นโกลังโกละ เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของเอกพีชี
(10 ) เป็นสัตตักขัตตุปรมะ เพราะอินทรีย์ ๕ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของโกลังโกละ
(11 ) เป็นธัมมานุสารี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าสัตตักขัตตุปรมะ
(12 ) เป็นสัทธานุสารี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของธัมมานุสารี.

(ในสูตรอื่นๆ มีตรัสช่วงท้ายต่างกันออกไป ได้แก่ ด้วยอาการอย่างนี้ ความต่าง แห่งผล ย่อมมีได้ เพราะความต่าง แห่งอินทรีย์ ความต่างแห่งบุคคลย่อมมีได้ เพราะ ความต่าง แห่งผล, หรือ อินทรีย์๕ ประการนี้ ไม่มีแก่ผู้ใดเสียเลย โดยประการทั้งปวง เราเรียกผู้นั้น ว่า เป็นคนภายนอก ตั้งอยู่ในฝ่ายปุถุชน, หรือ บุคคลผู้กระทำให้บริบูรณ์ ย่อมให้สำเร็จได้ บริบูรณ์ (ความเป็นอรหันต์) บุคคลผู้กระทำได้บางส่วน ย่อมให้สำเร็จได้บางส่วน เรากล่าวอินทรีย์ ๕ว่าไม่เป็นหมันเลย. -ผู้รวบรวม)

หน้า 48

18
อนาคามีในภพมนุษย์ (นัยที่ ๑)

-บาลี อุปริ. ม. ๑๔/๔๕๙/๗๑๑.

อานนท์ ในทักษิณาปาฏิปุคคลิกทั้ง ๑๔ ประการนั้นบุคคลให้ทานในสัตว์ เดรัจฉาน พึงหวังผลทักษิณาได้ร้อยเท่า ให้ทานในปุถุชนผู้ทุศีล พึงหวังผล ทักษิณาได้พันเท่า ให้ทานในปุถุชนผู้มีศีล พึงหวังผลทักษิณาได้แสนเท่า ให้ทานในบุคคลภายนอก ผู้ปราศจากความ กำหนัดในกาม พึงหวังผลทักษิณา ได้แสนโกฏิเท่า ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำโสดาปัตติผล ให้แจ้งพึงหวังผล ทักษิณานับไม่ได้ ประมาณไม่ได้ ไม่ต้องกล่าวถึงการ ให้ทานในโสดาบัน ในท่านผู้ปฏิบัติพื่อทำสกทาคามิผล ให้แจ้งในสกทาคามี ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำ อนาคามิผลให้แจ้ง ในอนาคามี ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอรหัตตผล ให้แจ้งในสาวก ของตถาคต ผู้เป็นอรหันต์ ในพระปัจเจกพุทธะ และในตถาคตอรหันต สัมมาสัมพุทธะ.

อานนท์ ก็ทักษิณาที่ให้แล้วในสงฆ์มี ๗ อย่าง คือให้ทานในสงฆ์ ๒ ฝ่าย มีพระพุทธเจ้า เป็นประมุข นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ ประการที่ ๑

ให้ทานในสงฆ์ ๒ ฝ่าย ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้ว ในสงฆ์ ประการที่ ๒ ให้ทานในภิกษุสงฆ์ นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์

ประการที่ ๓ให้ทานในภิกษุณีสงฆ์ นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์

ประการที่ ๔ แจ้งต่อสงฆ์ (เผดียงสงฆ์) ว่า ขอได้โปรดจัดภิกษุ และภิกษุณี จำนวน เท่านี้ ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้า แล้วให้ทานนี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์

ประการที่ ๕ แจ้งต่อสงฆ์ว่า ขอได้โปรดจัดภิกษุจำนวนเท่านี้ขึ้นเป็นสงฆ์ แก่ข้าพเจ้า แล้วให้ทาน นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์

ประการที่ ๖ แจ้งต่อสงฆ์ว่า ขอได้โปรดจัดภิกษุณีจำนวนเท่านี้ขึ้นเป็นสงฆ์ แก่ข้าพเจ้า แล้วให้ทาน นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้ว ในสงฆ์

ประการที่ ๗ อานนท์ ก็ในอนาคตกาล จักมีแต่เหล่าภิกษุโคตรภูมีผ้ากาสาวะ (จีวร) พันคอ เป็นคนทุศีล มีบาปธรรม คนทั้งหลายจักถวายทานเฉพาะสงฆ์ได้ ในเหล่าภิกษุทุศีลนั้น.


อานนท์ ทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์แม้ในเวลานั้นเราก็กล่าวว่า มีผลนับไม่ได้ ประมาณไม่ได้ แต่ว่าเราไม่กล่าวปาฏิปุคคลิกทาน (การถวายเจาะจงบุคคล) ว่ามีผลมากกว่าทักษิณา ที่ถึงแล้วในสงฆ์ โดยปริยายไรๆ เลย … .

หน้า 51

19
อนาคามีในภพมนุษย์ (นัยที่ ๒)

-บาลี นวก. อํ. ๒๓/๔๐๕/๒๒๔.

คหบดี เรื่องเคยมีมาแล้ว มีพราหมณ์ชื่อเวลามะพราหมณ์ผู้นั้น ได้ให้ทานเป็น มหาทานอย่างนี้ คือ ได้ให้ ถาดทองเต็มด้วยรูปิยะ ๘๔,๐๐๐ ถาด ถาดรูปิยะ เต็มด้วย ทอง ๘๔,๐๐๐ ถาด ถาดสำริดเต็มด้วยเงิน ๘๔,๐๐๐ ถาด

ให้ช้าง ๘๔,๐๐๐ เชือก มีเครื่องประดับล้วนเป็นทอง มีธงทองคลุมด้วยข่ายทอง
ให้รถ ๘๔,๐๐๐ คัน หุ้มด้วยหนังราชสีห์ หนังเสือโคร่ง หนังเสือเหลือง

ผ้ากัมพลเหลืองมีเครื่องประดับล้วนเป็นทอง มีธงทอง คลุมด้วยข่ายทอง ให้แม่โคนม ๘๔,๐๐๐ ตัว มีน้ำนมไหลสะดวก ใช้ภาชนะเงินรองน้ำนม ให้หญิงสาว ๘๔,๐๐๐ คน ประดับด้วยแก้วมณีและแก้วกุณฑล

ให้บัลลังก์ ๘๔,๐๐๐ ที่ ลาดด้วยผ้าโกเชาว์ลาดด้วยขนแกะสีขาว เครื่องลาด มีสัณฐาน เป็นช่อดอกไม้มีเครื่องลาดอย่างดีทำด้วยหนังชะมด มีเครื่องลาด เพดานมีหมอนข้างแดง ทั้งสอง

ให้ผ้า ๘๔,๐๐๐ โกฏิ เป็นผ้าเปลือกไม้ผ้าแพร ผ้าฝ้าย เนื้อละเอียด จะป่วยการ กล่าวไป ไยถึงข้าวน้ำ ของเคี้ยว ของบริโภค เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่ให้ดุจไหล ไปเหมือนแม่น้ำ.

คหบดี ท่านพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า สมัยนั้น ผู้อื่นเป็นเวลามพราหมณ์ ผู้ที่ให้ทานเป็น มหาทานนั้น.

คหบดี แต่ท่านไม่ควรเห็นอย่างนี้ สมัยนั้น เราเป็นเวลามพราหมณ์ เราได้ให้ทานนั้น เป็นมหาทาน ก็ในทานนั้นไม่มีใครเป็นทักขิเณยยบุคคล ไม่มีใครชำระทักขิณานั้น ให้หมดจด.

คหบดี ทานที่บุคคลถวายให้ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ (โสดาบัน) ผู้เดียวบริโภค มีผลมากกว่า ทานที่เวลาม-พราหมณ์ให้แล้ว.

ทานที่บุคคลถวายให้สกทาคามีผู้เดียวบริโภคมีผลมากกว่า ทานที่บุคคลถวายให้ผู้ถึง พร้อมด้วยทิฏฐิ ๑๐๐ ท่านบริโภค.

ทานที่บุคคลถวายให้อนาคามีผู้เดียวบริโภคมีผลมากกว่า ทานที่บุคคลถวายให้สกทาคามี ๑๐๐ ท่านบริโภค.

ทานที่บุคคลถวายให้อรหันต์ผู้เดียวบริโภคมีผลมากกว่า ทานที่บุคคลถวายให้อนาคามี ๑๐๐ ท่านบริโภค.

ทานที่บุคคลถวายให้พระปัจเจกพุทธะรูปเดียวบริโภค มีผลมากกว่า ทานที่บุคคลถวายให้ อรหันต์ ๑๐๐ รูปบริโภค.

ทานที่บุคคลถวายให้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธะบริโภค มีผลมากกว่า ทานที่บุคคลถวายให้ พระปัจเจกพุทธะ๑๐๐ รูปบริโภค.

ทานที่บุคคลถวายให้ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขบริโภค มีผลมากกว่า ทานที่บุคคล ถวายให้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธะบริโภค.

การที่บุคคลสร้างวิหารถวายสงฆ์ผู้มาจากทิศทั้ง ๔ มีผลมากกว่า ทานที่บุคคลถวายให้ ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข บริโภค.

การที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ (พุทฺธญฺจ ธมฺมญฺจ สงฺฆญฺจ สรณํ คจฺเฉยฺย) มีผลมากกว่า ทานที่บุคคลสร้างวิหารถวายสงฆ์ อันมาจากทิศทั้ง ๔.

การที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสสมาทานสิกขาบท คืองดเว้นจากการฆ่าสัตว์ งดเว้นจากการ ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม งดเว้นจากการ

พูดเท็จ งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท มีผลมากกว่าการที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสถึง พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นสรณะ.

การที่บุคคลเจริญเมตตาจิตโดยที่สุดแม้เพียงเวลาสูดดมของหอม
มีผลมากกว่าการที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสสมาทานสิกขาบท คือ งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ งดเว้นจากการถือเอา สิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม งดเว้นจากการพูดเท็จ งดเว้น จากการดื่มน้ำเมา คือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท และการที่บุคคลเจริญ อนิจจสัญญาแม้เพียงเวลา ลัดนิ้วมือ มีผลมากกว่า การที่บุคคลเจริญเมตตาจิต โดยที่สุด แม้เพียงเวลาสูดดมของหอม.

หน้า 55

20
ผู้สิ้นสังโยชน์ในภพมนุษย์ (นัยที่ ๑)

-บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๑๖/๘๘.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้1 มีปรากฏอยู่ในโลก ๔ จำพวกเป็นอย่างไร คือ
(1) สมณะผู้ไม่หวั่นไหว
(2) สมณะบุณฑริก (บัวขาว)
(3) สมณะปทุมะ (บัวชมพู)
(4) สมณะสุขุมาล (ผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ)

ภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะผู้ไม่หวั่นไหวเป็นอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นโสดาบัน เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป เป็นผู้มีอันไม่ตกต่ำ เป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า บุคคลเป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหวเป็นอย่างนี้แล.

ภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะบุณฑริกเป็นอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็น สกทาคามี เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป และเพราะราคะ โทสะ โมหะเบาบาง จะมาสู่โลกนี้อีกครั้งเดียวเท่านั้น แล้วจะกระทำที่สุดทุกข์ได้ บุคคลเป็นสมณะบุณฑริก เป็นอย่างนี้แล.

ภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะปทุมะเป็นอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นโอปปาติกะ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ประการสิ้นไป (อนาคามี) จะปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้น เป็นธรรมดา บุคคลเป็นสมณะปทุมเป็นอย่างนี้แล.

ภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะสุขุมาล (ผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ) เป็นอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ (อรหันต์) เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ บุคคลเป็นสุขุมาลเป็นอย่างนี้แล.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกเหล่านี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก.

หน้า 57

21
ผู้สิ้นสังโยชน์ในภพมนุษย์ (นัยที่ ๒
)

-บาลี อุปริ. ม. ๑๔/๑๙๑/๒๘๔.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบริษัทนี้ ไม่เหลวไหลเลย ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบริษัทนี้ ไม่เหลวแหลกเลย ภิกษุบริษัทนี้ตั้งอยู่แล้วในธรรม ที่เป็นสาระล้วน.

ภิกษุทั้งหลาย บริษัทเช่นใด มีลักษณะเป็นผู้ควรแก่ของคำนับ ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ของทำญ ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า หมู่ภิกษุนี้ ก็มีลักษณะเช่นนั้น ภิกษุบริษัทนี้ ก็มีลักษณะเช่นนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย บริษัทเช่นใด มีลักษณะที่ทานอันบุคคลให้น้อย แต่กลับมีผลมาก ทานที่ให้มาก ก็มีผลมากทวียิ่งขึ้น หมู่ภิกษุนี้ก็มีลักษณะเช่นนั้น ภิกษุบริษัทนี้ ก็มีลักษณะเช่นนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย บริษัทเช่นใด มีลักษณะยากที่ชาวโลกจะได้เห็น หมู่ภิกษุนี้ ก็มีรูปลักษณะเช่นนั้น ภิกษุบริษัทนี้ก็มีลักษณะเช่นนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย บริษัทเช่นใด มีลักษณะที่ควรจะไปดูไปเห็น แม้จะต้องเดิน สิ้นหนทางนับด้วยโยชน์ๆ ถึงกับต้องเอาห่อสะเบียงไป ด้วยก็ตาม หมู่ภิกษุนี้ ก็มีลักษณะเช่นนั้นภิกษุบริษัทนี้ก็มีลักษณะเช่นนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ในหมู่ภิกษุนี้ มีพวกภิกษุซึ่งเป็นอรหันต์ ผู้สิ้นอาสวะแล้ว ผู้อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว มีกิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว มีภาระปลงลงได้แล้ว มีประโยชน์ของตนเองบรรลุแล้วโดยลำดับ มีสังโยชน์ในภพสิ้นแล้วหลุดพ้นแล้ว เพราะรู้ทั่วถึงโดยชอบ พวกภิกษุแม้เห็นปานนี้ก็มีอยู่ในหมู่ภิกษุนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ในหมู่ภิกษุนี้ มีพวกภิกษุซึ่งสิ้นโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เป็นโอปปาติกะแล้ว จะปรินิพพานในที่นั้น ไม่เวียนกลับมา จากโลกนั้น เป็นธรรมดา พวกภิกษุแม้เห็นปานนี้ ก็มีอยู่ในหมู่ภิกษุนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ในหมู่ภิกษุนี้ มีพวกภิกษุซึ่งสิ้นสังโยชน์ ๓ และเพราะราคะ โทสะ โมหะเบาบาง เป็นสกทาคามี มาสู่โลกนี้อีกครั้งเดียวเท่านั้น แล้วจักกระทำที่สุด แห่งทุกข์ได้ พวกภิกษุแม้เห็นปานนี้ ก็มีอยู่ในหมู่ภิกษุนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ในหมู่ภิกษุนี้ มีพวกภิกษุซึ่งสิ้นสังโยชน์ ๓ เป็นโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา ผู้เที่ยงแท้ต่อนิพพาน จักตรัสรู้ได้ในกาลเบื้องหน้า พวกภิกษุแม้เห็นปานนี้ ก็มีอยู่ในหมู่ภิกษุนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ในหมู่ภิกษุนี้ มีพวกภิกษุซึ่งประกอบความเพียร เป็นเครื่องต้อง ทำเนืองๆ ในการอบรมสติปัฏฐานสี่สัมมัปปธานสี่ อิทธิบาทสี่ อินทรีย์ห้า พละห้า โพชฌงค์เจ็ดอริยมรรคมีองค์แปด เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา อสุภะอนิจจ สัญญา และอานาปานสติ พวกภิกษุแม้เห็นปานนี้ก็มีอยู่ในหมู่ภิกษุนี้.

(เนื้อความของพระสูตรนี้ได้นำมาใส่ไว้โดยย่อ ด้วยเพื่อให้เห็นการกล่าวถึง ผู้สิ้น สังโยชน์ ๕ ที่ยังมีชีวิตอยู่ ผู้ที่สนใจสามารถอ่านเนื้อความเต็มได้จากพระสูตร. -ผู้รวบรวม)

หน้า 60

22
ผู้สิ้นสังโยชน์ในภพมนุษย์ (นัยที่ ๓)

-บาลี ม. ม. ๑๓/๓๘๒/๔๑๗.

… ครั้งนั้น พระเจ้ากิกิกาสิราช ทรงเสียพระทัย ทรงโทมนัสว่า พระผู้มีพระภาค ทรงพระนามว่า กัสสป อรหันตสัมมาสัมพุทธะ ไม่ทรงรับการอยู่จำพรรษา ณ เมืองพาราณสีของเราเสียแล้ว ดังนี้ แล้วได้ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีใครอื่น ที่เป็นอุปัฏฐาก ยิ่งกว่าหม่อมฉันหรือ.

มีอยู่ มหาราชนิคมชื่อเวภิฬคะ ช่างหม้อชื่อ ฆฏิาระ อยู่ในนิคมนั้น เขาเป็น อุปัฏฐากของเรา นับเป็นอุปัฏฐากชั้นเลิศพระองค์แล ทรงเสียพระทัย มีความโทมนัส ว่า พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่ากัสสป อรหันตสัมมา สัมพุทธะไม่ทรงรับการอยู่จำพรรษาในเมืองพาราณสีของเราเสียแล้ว ความเสียใจและความโทมนัสนี้นั้น ย่อมไม่มี และจักไม่มีในช่างหม้อฆฏิการะ.

มหาราช ช่างหม้อฆฏิการะ ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมพระสงฆ์เป็นสรณะ เว้นขาดจากปาณาติบาต เว้นขาดจากอทินนาทาน เว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร เว้นขาดจากมุสาวาท เว้นขาดจากน้ำเมา คือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่ง ความประมาท.

มหาราช ช่างหม้อฆฏิการะ เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้า ในพระธรรมใน พระสงฆ์ ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้ารักใคร่.

มหาราช ช่างหม้อฆฏิการะ เป็นผู้หมดสงสัยในทุกข์ในทุกขสมุทัย ในทุกขนิโรธ ในทุกขนิโรธคามินี ปฏิปทา บริโภคภัตมื้อเดียว ประพฤติพรหมจรรย์ มีศีล มีกัลยาณธรรมปล่อยวางแก้วมณีและทองคำ ปราศจากการใช้ทองและเงิน.

มหาราช ช่างหม้อฆฏิการะ ไม่ขุดแผ่นดินด้วยสากและด้วยมือของตน นำมาแต่ ดินตลิ่งพังหรือขุยหนู ซึ่งมีอยู่ด้วยหาบ ทำเป็นภาชนะแล้ว กล่าวอย่างนี้ว่า ในภาชนะนี้ ผู้ใดต้องการ ผู้นั้นจงวางถุงใส่ข้าวสาร ถุงใส่ถั่วเขียว หรือถุงใส่ ถั่วดำไว้ แล้วนำภาชนะที่ต้องการนั้นไปเถิด.

มหาราช ช่างหม้อฆฏิการะ เลี้ยงมารดาบิดาผู้ชราตาบอด ช่างหม้อฆฏิการะ เป็นโอปปาติกะ จะปรินิพพานในภพนั้น มีการไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ หมดสิ้นไป … .

หน้า 62

23
ผู้สิ้นสังโยชน์ในภพมนุษย์ (นัยที่ ๔)

-บาลี สตฺตก. อํ. ๒๓/๑๔๗/๘๕.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๗ จำพวกนี้ เป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรกระทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ๗ จำพวกเป็นอย่างไร คือ

(1) ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ พิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง มีความสำคัญว่าไม่เที่ยง ตระหนักชัดว่าไม่เที่ยงในตา น้อมไปด้วยใจ หยั่งลง ด้วยปัญญา ติดต่อสม่ำเสมอไม่ขาดสาย เธอกระทำให้แจ้งซึ่ง เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญา อันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ นี้เป็นบุคคลที่ ๑ เป็นผู้ควรของคำนับ … เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

(2) ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ พิจารณาเห็นว่า ไม่เที่ยง มีความสำคัญว่า ไม่เที่ยงตระหนักชัดว่าไม่เที่ยงในตา น้อมไปด้วยใจ หยั่งลงด้วยปัญญาติด ต่อสม่ำเสมอไม่ขาดสาย บุคคลน้ัน มีการสิ้นอาสวะ และ การสิ้นชีวิตไม่ก่อนไม่หลังกัน (อปุพฺพํ อจริมํ อาสวปริยาทานญฺจ โหติ ชีวิตปริยาทานญฺจ) นี้เป็นบุคคลที่ ๒ เป็นผู้ควรของคำนับ … เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

(3) ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ พิจารณาเห็นว่า ไม่เที่ยง … ติดต่อสม่ำเสมอ ไม่ขาดสาย บุคคลนั้นเป็น อันตราปรินิพพายี เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป นี้เป็นบุคคลที่ ๓ เป็นผู้ควรของคำนับ …. เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

(4) ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ พิจารณาเห็นว่า ไม่เที่ยง … ติดต่อสม่ำเสมอ ไม่ขาดสาย บุคคลนั้นเป็น อุปหัจจปรินิพพายี เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป นี้เป็นบุคคลที่ ๔ เป็นผู้ควรของคำนับ …. เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

(5) ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ พิจารณาเห็นว่า ไม่เที่ยง … ติดต่อสม่ำเสมอ ไม่ขาดสาย บุคคลนั้นเป็น อสังขารปรินิพพายี เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป นี้เป็นบุคคลที่ ๕ เป็นผู้ควรของคำนับ …. เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

(6) ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ พิจารณาเห็นว่า ไม่เที่ยง … ติดต่อสม่ำเสมอ ไม่ขาดสาย บุคคลนั้นเป็น สสังขารปรินิพพายี เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป นี้เป็นบุคคลที่ ๖ เป็นผู้ควรของคำนับ …. เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

(7) ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ พิจารณาเห็นว่า ไม่เที่ยง … ติดต่อสม่ำเสมอ ไม่ขาดสาย บุคคลนั้นเป็น อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป นี้เป็นบุคคลที่ ๗ เป็นผู้ควรของคำนับ … เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๗ จำพวกนี้แล เป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

(ในสูตรอื่น ได้ตรัสนัยที่ต่างกันออกไป คือ
พิจารณาเห็นว่าเป็นทุกข์ พิจารณาเห็นว่าเป็นอนัตตา
พิจารณาเห็นความสิ้นไป พิจารณาเห็นความเสื่อมไป พิจารณาเห็นความคลายกำหนัด พิจารณาเห็นความดับ พิจารณาเห็นความสลัดคืน ในอายตนะภายใน อายตนะภายนอก๖ วิญญาณ๖ ผัสสะ๖ เวทนา๖ สัญญา๖ สัญเจตนา๖ ตัณหา๖ วิตก๖ วิจาร๖ และขันธ์ทั้ง๕ ผู้ศึกษาพึงเทียบเคียงเอง หรืออ่านได้จากเนื้อความเต็มของพระสูตร.-ผู้รวบรวม)


หน้า 65

24
ผู้สิ้นสังโยชน์ในภพมนุษย์ (นัยที่ ๕)

-บาลี สตฺตก. อํ. ๒๓/๑๓/๑๖.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๗ จำพวกนี้ เป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรกระทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลกไม่มีนาบุญอื่น ยิ่งกว่า๗ จำพวกเป็นอย่างไร คือ

(1) ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง มีความสำคัญว่าไม่เที่ยง ทั้งรู้ว่าเป็นของไม่เที่ยง ในสังขารทั้งปวง ตั้งใจมั่น ติดต่อกันไปไม่ขาดสาย มีปัญญาหยั่งทราบ ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญา อันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ นี้เป็นบุคคลที่ ๑ เป็นผู้ควรของคำนับ … เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

(2) ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ พิจารณาเห็นความ ไม่เที่ยง … มีปัญญาหยั่งทราบ ความสิ้นอาสวะ และความสิ้นชีวิตของเขา ไม่ก่อนไม่หลังกัน(อปุพฺพํ อจริมํ อาสวปริยาทานญฺจ โหติ ชีวิตปริยาทานญฺจ) นี้เป็นบุคคลที่ ๒ เป็นผู้ควรของคำนับ … เป็นนาบุญของโลกไม่มีนาบุญอื่น ยิ่งกว่า.

(3) ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ พิจารณาเห็นความ ไม่เที่ยง … มีปัญญาหยั่งทราบ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป เป็นอันตรา-ปรินิพพายี นี้เป็นบุคคลที่ ๓ เป็นผู้ควรของคำนับ … เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

(4) ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ พิจารณาเห็นความ ไม่เที่ยง … มีปัญญาหยั่งทราบ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป เขาจักเป็น อุปหัจจ-ปรินิพพายี นี้เป็นบุคคลที่ ๔ เป็นผู้ควรของคำนับ …เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

(5) ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ พิจารณาเห็นความ ไม่เที่ยง …มีปัญญาหยั่งทราบ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไปเขาจักเป็น อสังขาร-ปรินิพพายี นี้เป็นบุคคลที่ ๕ เป็นผู้ควรของคำนับ …เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

(6) ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ พิจารณาเห็นความ ไม่เที่ยง … มีปัญญาหยั่งทราบ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป เขาจักเป็น สสังขาร-ปรินิพพายี นี้เป็นบุคคลที่ ๖ เป็นผู้ควรของคำนับ …เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

(7) ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ พิจารณาเห็นความ ไม่เที่ยง มีความสำคัญว่า ไม่เที่ยงทั้งรู้ว่าเป็นของไม่เที่ยง ในสังขารทั้งปวง ตั้งใจมั่นติดต่อกันไปไม่ขาดสาย มีปัญญาหยั่งทราบ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป เขาเป็น อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี (ผู้มีกระแสในเบื้องบนไปสู่ อกนิฏฐภพ) นี้เป็นบุคคลที่ ๗ เป็นผู้ควรของคำนับ …เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๗ จำพวกนี้แล เป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรกระทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

(ในสูตรถัดไป ได้ตรัสนัยที่ต่างกันออกไป คือ พิจารณาเห็นความเป็นทุกข์ ในสังขารทั้งปวง พิจารณาเห็น ว่าเป็น อนัตตาในธรรมทั้งปวง ผู้ศึกษาพึง เทียบเคียงเอง หรืออ่านได้จากเนื้อความเต็มของพระสูตร. -ผู้รวบรวม)

หน้า 68

25
ผู้สิ้นสังโยชน์ในภพมนุษย์ (นัยที่ ๖
)

-บาลี ติก. อํ. ๒๐/๓๑๕/๕๓๗.

ภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยตัวเจริญของพระราชาประกอบด้วยองค์ ๓ ประการ ย่อมควรแก่พระราชา เป็นม้าต้น นับว่าเป็นราชพาหนะโดยแท้ องค์ ๓ ประการ เป็นอย่างไร คือม้าอาชาไนยตัวเจริญของ พระราชาในโลกนี้ เป็นสัตว์สมบูรณ์ ด้วยสี เป็นสัตว์สมบูรณ์ด้วยกำลัง เป็นสัตว์สมบูรณ์ด้วยฝีเท้าวิ่งเร็ว

ภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยตัวเจริญของพระราชา ประกอบด้วยองค์ ๓ ประการ นี้แล ย่อมควรแก่พระราชาเป็นม้าต้น นับว่าเป็นราชพาหนะโดยแท้ฉันใด.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเป็นผู้ ควรของคำนับ … เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า องค์ ๓ ประการ เป็นอย่างไรคือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
(1) เป็นผู้สมบูรณ์ด้วย วรรณะ (วณฺณสมฺปนฺโน)
(2) เป็นผู้สมบูรณ์ด้วย กำลัง (พลสมฺปนฺโน)
(3) เป็นผู้สมบูรณ์ด้วย เชาวน์ (ชวสมฺปนฺโน)

ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวรรณะอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมแล้วด้วย ความสำรวมในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมารยาท และโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท ทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวรรณะอย่างนี้แล.

ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยกำลังอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อม มีเรี่ยวแรงมีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดทิ้งธุระในกุศลธรรม ทั้งหลายอยู่ ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยกำลังอย่างนี้แล.

ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยเชาวน์อย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นโอปปาติกะ จะปรินิพพาน ในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัม-ภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้สมบูรณ์ด้วย เชาวน์อย่างนี้แล.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ … เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

(ใน -บาลี ติก. อํ. ๒๐/๓๑๔/๕๓๖. ทรงแสดงความเป็น ผู้สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ อันเป็นลักษณะของโสดาบัน ใน-บาลี ติก. อํ. ๒๐/๓๑๖/๕๓๘. ทรงแสดงความ เป็น ผู้สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ อันเป็นลักษณะของอรหันต์ ซึ่งสามารถดูเพิ่มเติมเพื่อ เทียบเคียง ได้ที่หมายเหตุ หน้า ๗๓ หรืออ่านได้จากเนื้อความเต็มของพระสูตร. -ผู้รวบรวม)

หน้า 70

26
ผู้สิ้นสังโยชน์ในภพมนุษย์ (นัยที่ ๗)

-บาลี ติก. อํ. ๒๐/๓๗๒/๕๘๑.

ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงม้าดี ๓ จำพวก และบุรุษดี ๓ จำพวก เธอทั้งหลาย จงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวภิกษุทั้งหลาย ก็ม้าดี ๓ จำพวกเป็นอย่างไร คือ

(1) ม้าดีบางตัวในโลกนี้ เป็นสัตว์สมบูรณ์ด้วยกำลังเครื่องวิ่งเร็ว แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยสี ไม่สมบูรณ์ด้วย ความสูงและความใหญ่

(2) ม้าดีบางตัวในโลกนี้ เป็นสัตว์สมบูรณ์ด้วยกำลังเครื่องวิ่งเร็ว และสมบูรณ์ด้วยสี แต่ไม่ สมบูรณ์ ด้วยความสูงและความใหญ่

(3) ม้าดีบางตัวในโลกนี้ เป็นสัตว์สมบูรณ์ด้วยกำลังเครื่องวิ่งเร็ว สมบูรณ์ด้วยสี และสมบูรณ์ ด้วยความสูง และความใหญ่ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แลม้าดี ๓ จำพวก.

ภิกษุทั้งหลาย ก็บุรุษดี ๓ จำพวกเป็นอย่างไร คือ

(1) บุรุษบางคนในโลกนี้ เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยวรรณะ ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูง และความใหญ่ (ชวสมฺปนฺโน โหติ น วณฺณสมฺปนฺโน น อาโรหปริณาห-สมฺปนฺโน)

(2) บุรุษดีบางคนในโลกนี้ เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูงและ ความใหญ่(ชวสมฺปนฺโน จ โหติ วณฺณสมฺปนฺโน จ น อาโรหปริณาหสมฺปนฺโน)

(3) บุรุษดีบางคนในโลกนี้ เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยเชาวน์สมบูรณ์ด้วยวรรณะ และ สมบูรณ์ด้วยความสูง และ ความใหญ่ (ชวสมฺปนฺโน จ โหติ วณฺณสมฺปนฺโน จ อาโรหปริณาหสมฺปนฺโน)

ภิกษุทั้งหลาย ก็บุรุษดีเป็นผู้ สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยวรรณะ ไม่สมบูรณ์ด้วย ความสูงและความใหญ่เป็นอย่างไร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้โอปปาติกะ จะปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับ จากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป เรากล่าวว่านี้ เป็นเชาวน์ของเขา แต่เมื่อเขาถูกถามปัญหา ในอภิธรรม อภิวินัย ก็จนปัญญา ตอบไม่ได้ เรากล่าวว่านี้ไม่ใช่วรรณะของเขา และเขาไม่ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เรากล่าวว่านี้ไม่ใช่ความสูง และ ความใหญ่ของเขา ภิกษุทั้งหลาย บุรุษดี เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ แต่ไม่ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูง และความใหญ่ เป็นอย่างนี้แล.
(สำเร็จอรหันต์ แต่ไม่เชียวชาญเรื่อง อภิธรรมอภิวินัย เมื่อถูกถามก็ตอบไม่ได้)

ภิกษุทั้งหลาย ก็บุรุษดีเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ แต่ไม่สมบูรณ์ด้วย ความสูงและความใหญ่ เป็นอย่างไร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นโอปปาติกะ จะปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับ จากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไปเรากล่าวว่า นี้เป็นเชาวน์ของเขา และเมื่อเขาถูกถามปัญหาใน อภิธรรม อภิวินัย ก็แก้ได้ ไม่จนปัญญา เรากล่าวว่า นี้เป็นวรรณะของเขา แต่เขาไม่ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย เภสัชบริขาร เรากล่าวว่านี้ไม่ใช่ความสูงและ ความใหญ่ของเขา ภิกษุทั้งหลาย บุรุษดี เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ และสมบูรณ์ ด้วย วรรณะ แต่ไม่สมบูรณ์ ด้วยความสูงและความ ใหญ่อย่างนี้แล.
(สำเร็จอรหันต์ แต่เชียวชาญเรื่อง อภิธรรม อภิวินัย เมื่อถูกถามก็ตอบได้ แต่คนศรัทธาน้อย มีคนเข้าหาน้อย จึงไม่ได้รับคิลานปัจจัยมาก)

ภิกษุทั้งหลาย ก็บุรุษดีเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยเชาวน์สมบูรณ์ด้วยวรรณะ และสมบูรณ์ ด้วยความสูง และความใหญ่ เป็นอย่างไร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นโอปปาติกะ จะปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจาก โลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป เรากล่าวว่านี้เป็นเชาวน์ ของเขา เมื่อถูกถามปัญหา ในอภิธรรม อภิวินัย ก็วิสัชนาได้ ไม่จนปัญญา เรากล่าวว่า นี้เป็นวรรณะของเขาและเขา มักได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ คิลานปัจจัย เภสัชบริขาร เรากล่าวว่านี้เป็นความสูง และความใหญ่ ของเขา
(สำเร็จอรหันต์ แต่เชียวชาญเรื่อง อภิธรรม อภิวินัย เมื่อถูกถามก็ตอบได้ และมีคนศรัทธามาก ได้รับคิลานปัจจัยมาก มีคนเข้าหามาก)

ภิกษุทั้งหลาย บุรุษดี เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ และสมบูรณ์ ด้วยความสูง และความใหญ่อย่างนี้แล.

ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แลบุรุษดี ๓ จำพวก.

(ใน-บาลี ติก. อํ. ๒๐/๓๗๐/๕๘๐. ทรงแสดงลักษณะความ เป็นผู้สมบูรณ์ด้วย เชาวน์ว่าเป็น ผู้รู้ชัดตามเป็นจริงว่านี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ และนี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความ ดับทุกข์ โดยเปรียบกับ ม้ากระจอกและบุรุษกระจอก ๓ จำพวก ใน -บาลี ติก. อํ. ๒๐/๓๗๔/๕๘๒.

ทรงแสดงลักษณะความเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ว่า เป็นผู้กระทำให้แจ้ง ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะไม่ได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้น ไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน โดยเปรียบกับ ม้าอาชาไนยตัวจริญและ บุรุษอาชาไนยผู้เจริญ ๓ จำพวก นอกจากนี้ ใน -บาลี นวก. อํ. ๒๓/๔๐๙/๒๒๖.

ก็ได้ตรัสไว้โดยนัยเดียวกันนี้.ใน -บาลี ติก. อํ. ๒๐/๓๑๕/๕๓๗. ทรงแสดงความสมบูรณ์ ด้วยวรรณะ ว่าเปรียบกับ ความเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วย ปาติโมกขสังวร สมบูรณ์ด้วยมารยาท และโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษทั้งหลาย แม้มี ประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท ทั้งหลาย. -ผู้รวบรวม)


หน้า 74

27
ข้อแตกต่างระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับ กับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เมื่อได้สมาธิ (นัยที่ ๑)

-บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๖๘/๑๒๓.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีอยู่ในโลกหาได้ในโลก ๔ จำพวกเป็นอย่างไร คือ

(1) บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน อันมีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุข เกิดจากวิเวกแล้ว แลอยู่ เขาย่อมชอบใจธรรมนั้นปรารถนา ธรรมนั้น และถึงความยินดีด้วยธรรมนั้น เขาดำรงอยู่ในธรรมนั้น น้อมใจไปในธรรมนั้น อยู่มากด้วยธรรมนั้นไม่เสื่อมจาก ธรรมนั้น เมื่อทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดา เหล่าพรหมกายิกา ภิกษุทั้งหลายกัปหนึ่ง เป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าพรหมกายิกาปุถุชน ดำรงอยู่ในชั้นพรหมกายิกานั้น ตราบเท่าตลอดอายุยงั ประมาณอายุของ เทวดา เหล่านั้น ให้สิ้นไปแล้วย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดเดรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง ส่วนสาวกของพระผู้มี พระภาค (ภควโต สาวโก) ดำรงอยู่ในชั้นพรหมกายิกานั้น ตราบเท่าสิ้นอายุ ยังประมาณอายุ ของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมปรินิพพาน ในภพนั้นเอง.

ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความผิดแผกแตกต่างกัน เป็นความมุ่งหมาย ที่แตกต่างกัน เป็นเครื่อง กระทำให้แตกต่างกัน ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับ กับปุถุชนผู้มิได้ สดับ ในเมื่อคติอุบัติยังมีอยู่ (อิทํ นานากรณํ สุตวโต อริยสาวกสฺส อสฺสุตวตา ปุถุชฺชเนน ยทิทํ คติยา อุปปตฺติยา สติ).

(2) อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้เพราะสงบวิตกวิจารเสียได้ จึงบรรลุทุติยฌาน อันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งจิตในภายใน สมาธิเป็นธรรมอันเอก ผุดขึ้นไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปีติ และสุข อันเกิดจากสมาธิแล้วแลอยู่เขาย่อมชอบใจ ธรรมนั้น ปรารถนาธรรมนั้น และถึงความ ยินดีด้วยธรรมนั้น เขาดำรงอยู่ใน ธรรมนั้น น้อมใจไปในธรรมนั้น อยู่มากด้วยธรรมนั้น ไม่เสื่อมจากธรรมนั้นเมื่อทำ กาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดา เหล่าอาภัสสระ ภิกษุทั้งหลาย ๒ กัปเป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าอาภัสสระ ปุถุชนดำรงอยู่ในชั้นอาภัสสระ ตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณอายุของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อม เข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดเดรัจฉานบ้างเปรตวิสัยบ้าง ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาค ดำรงอยู่ในชั้นอาภัสสระนั้น ตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณอายุ ของเทวดา เหล่านั้น ให้สิ้นไปแล้ว ย่อมปรินิพพานในภพ นั้นเอง.

ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความผิดแผกแตกต่างกัน เป็นความมุ่งหมายที่แตกต่างกัน เป็นเครื่องกระทำให้แตกต่างกัน ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับ กับปุถุชนผู้มิได้สดับ ในเมื่อ คติอุบัติยังมีอยู่.

(3) อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้เพราะความจางไปแห่งปีติ จึงอยู่ อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และย่อมเสวยสุขด้วยกาย จึงบรรลุ ตติยฌาน อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้า กล่าวว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข เขาย่อมชอบใจธรรมนั้น ปรารถนาธรรม นั้น และถึงความยินดีด้วยธรรมนั้น เขาดำรงอยู่ในธรรมนั้น น้อมใจไปในธรรมนั้น อยู่มาก ด้วยธรรมนั้น ไม่เสื่อมจาก ธรรมนั้น เมื่อทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดา เหล่าสุภกิณหะ ภิกษุทั้งหลาย ๔ กัปเป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าสุภกิณหะ ปุถุชนดำรงอยู่ ในชั้นสุภกิณหะนั้นตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณอายุของเทวดาเหล่านั้น ให้สิ้นไปแล้ว ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดเดรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง ส่วนสาวก ของพระผู้มีพระภาคดำรง อยู่ในชั้นสุภกิณหะนั้น ตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณอายุของเทวดาเหล่านั้น ให้สิ้นไปแล้ว ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง.

ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความผิดแผกแตกต่างกันเป็นความมุ่งหมายที่แตกต่างกัน เป็นเครื่อง กระทำให้แตกต่างกัน ระหว่างอริยสาวกผู้ได้ สดับกับปุถุชนผู้ มิได้สดับ ในเมื่อคติอุบัติยังมีอยู่.

(4) อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้เพราะละสุข และทุกข์เสียได้ เพราะความดับหายไป แห่งโสมนัส และโทมนัสท้งหลายในกาล ก่อน จึงบรรลุ จตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีแต่ความที่มีสติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ เพราะ อุเบกขาแล้วแลอยู่ เขาย่อมชอบใจธรรมนั้น ปรารถนาธรรมนั้น และถึงความยินดี ด้วยธรรมนั้น เขาดำรงอยู่ในธรรมนั้นน้อมใจไปในธรรมนั้น อยู่มากด้วยธรรมนั้น ไม่เสื่อมจากธรรมนั้น เมื่อทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดา เหล่าเวหัปผละ ภิกษุทั้งหลาย ๕๐๐ กัปเป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่า เวหัปผละ ปุถุชนดำรงอยู่ในชั้นเวหัปผละนั้น ตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณ อายุของเทวดาเหล่านั้น ให้สิ้นไปแล้ว ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดเดรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง ส่วนสาวกของพระผู้มี พระภาคดำรงอยู่ในชั้นเวหัปผละนั้น ตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณอายุของเทวดาเหล่านั้น ให้สิ้นไปแล้ว ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง.

ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความผิดแผกแตกต่างกัน เป็นความมุ่งหมายที่แตกต่างกัน เป็นเครื่อง กระทำให้แตกต่างกัน ระหว่างอริยสาวก ผู้ได้สดับ กับปุถุชนผู้มิได้ สดับในเมื่อคติอุบัติยังมีอยู่.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แล มีอยู่ในโลกหาได้ในโลก.

หน้า 79

28
ข้อแตกต่างระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับ

กับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เมื่อได้สมาธิ (นัยที่ ๒)

-บาลี ติก. อํ. ๒๐/๓๔๓/๕๕๖.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำ􀄁พวกนี้ มีอยู่ในโลกหาได้ในโลก ๓ จำพวกเป็นอย่างไร คือ

(1) บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะก้าวล่วงรูปสัญญาเสียได้โดยประการท้งปวง เพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญา เพราะการไม่ใส่ใจซึ่ง นานัตตสัญญา จึงเข้าถึงอากาสานัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า อากาศไม่มีที่สุด ดังนี้แล้ว แลอยู่ เขาย่อมชอบใจธรรมนั้น ปรารถนาธรรมนั้น และถึงความยินดีด้วยธรรมน้นั เขาดำรงอยู่ในธรรมนั้นน้อมใจไปในธรรมนั้น อยู่มากด้วยธรรมนั้น ไม่เสื่อมจาก ธรรมนั้น เมื่อทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเหล่าเทวดา ที่เข้าถึงชั้น อากาสานัญจายตนะ ภิกษุทั้งหลาย เหล่าเทวดาที่เข้าถึงชั้น อากาสานัญจายตนะ มีอายุประมาณสองหมื่นกัป ปุถุชนดำรงอยู่ในชั้น อากาสา นัญจายตนะนั้น ตราบเท่าสิ้นอายุยังประมาณอายุ ของเทวดาเหล่านั้น ให้สิ้นไปแล้ว ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดเดรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง ส่วนสาวก ของพระผู้มีพระภาคดำรงอยู่ในชั้น อากาสานัญจายตนะนั้น ตราบเท่าสิ้นอายุ ยังประมาณอายุของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง.

ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความผิดแผกแตกต่างกัน เป็นความมุ่งหมายที่แตกต่างกัน เป็นเครื่องกระทำให้แตกต่างกัน ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับ กับปุถุชนผู้มิได้สดับ ในเมื่อคติอุบัติยังมีอยู่.

(2) อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้เพราะผ่านพ้น อากาสานัญจายตนะ เสียได้ โดยประการทั้ง ปวงจึงเข้าถึงวิญญาณัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า “วิญญาณไม่มีที่สิ้นสุด” เขาย่อมชอบใจธรรมนั้น ปรารถนาธรรมนั้น และถึงความยินดีด้วยธรรมนั้น เขาดำรงอยู่ ในธรรมนั้น น้อมใจไปในธรรมนั้น อยู่มากด้วยธรรมนั้น ไม่เสื่อมจากธรรมนั้นเมื่อทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็น สหายของเหล่าเทวดา ที่เข้าถึงชั้นวิญญาณัญจายตนะ ภิกษุทั้งหลาย เหล่าเทวดา ที่เข้าถึงชั้นวิญญาณัญจายตนะ มีอายุประมาณสี่หมื่นกัป ปุถุชนดำรงอยู่ในชั้น วิญญาณัญจายตนะนั้น ตราบเท่าสิ้น อายุยังประมาณอายุ ของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดเดรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง ส่วนสาวกของพระผมู้ พี ระภาคดำรงอยู่ในชั้นวิญญานัญจายตนะ นั้น ตราบเท่าสิ้นอายุ ยังประมาณอายุของ เทวดาเหล่านั้น ให้สิ้นไปแล้วย่อม ปรินิพพาน ในภพนั้นเอง.

ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความผิดแผกแตกต่างกันเป็นความมุ่งหมายที่แตกต่างกัน เป็นเครื่องกระทำให้แตกต่างกัน ระหว่างอริยสาวก ผู้ได้สดับ กับปุถุชนผู้มิได้ สดับ ในเมื่อคติอุบัติยังมีอยู่.

(3) อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะผ่านพ้นวิญญา ณัญจายตนะ เสียได้ โดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึงอากิญจัญญายตนะ อันมีการทำในใจว่า “อะไรๆ ไม่มี”เขาย่อมชอบใจธรรมนั้น ปรารถนาธรรมนั้น และถึงความยินดีด้วย ธรรมนั้น เขาดำรงอยู่ในธรรมนั้น น้อมใจไปในธรรมนั้น อยู่มากด้วยธรรมนั้น ไม่เสื่อมจากธรรมนั้น เมื่อทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเหล่าเทวดา ที่เข้าถึงชั้น อากิญจัญญายตนะ ภิกษุทั้งหลาย เหล่าเทวดาที่เข้าถึงชั้น อากิญจัญญายตนะ มีอายุประมาณหกหมื่นกัป ปุถุชนดำรงอยู่ในชั้น อากิญจัญญายตนะนั้น ตราบเท่าสิ้นอายุ ยังประมาณอายุของเทวดาเหล่านั้น ให้สิ้นไปแล้ว ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดเดรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง ส่วนสาวก ของพระผู้มีพระภาคดำรงอยู่ในชั้น อากิญจัญญายตนะนั้นตราบเท่าสิ้นอายุ ยังประมาณอายุของเทวดาเหล่านั้น ให้สิ้นไปแล้วย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง.

ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความผิดแผกแตกต่างกัน เป็นความมุ่งหมายที่แตกต่างกัน เป็นเครื่องกระทำให้แตกต่างกัน ระหว่างอริยสาวก ผู้ได้สดับ กับปุถุชน ผู้มิได้สดับ ในเมื่อคติอุบัติยังมีอยู่.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้แล มีอยู่ในโลก หาได้ในโลก.

หน้า 83

29
ข้อแตกต่างระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับ

กับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เมื่อเจริญพรหมวิหาร

-บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๗๒/๑๒๕.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีอยู่ในโลกหาได้ในโลก ๔ จำพวกเป็นอย่างไร คือ

(1) บุคคลบางคนในโลกนี้ มีจิตประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปสู่ทิศที่หนึ่ง ทิศที่สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่ ก็เหมือนอย่างนั้น ทั้งเบื้องบน เบื้องล่างและ เบื้องขวาง เธอแผ่ไปตลอดโลกทั้งสิ้น ในที่ทั้งปวง แก่สัตว์ทั้งหลายทั่วหน้า เสมอกัน ด้วยจิตอันประกอบด้วยเมตตา เป็นจิตไพบูลย์ ใหญ่หลวงไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาทแล้วแลอยู่ เขาย่อมชอบใจธรรมนั้น ปรารถนาธรรมนั้น และถึงความยินดี ด้วยธรรมนั้น เขาดำรงอยู่ในธรรมนั้น น้อมใจไปในธรรมนั้น อยู่มากด้วยธรรมนั้น ไม่เสื่อมจากธรรมนั้น เมื่อทำกาละย่อมเข้าถึงความเป็น สหายของเทวดา เหล่าพรหมกายิกา ภิกษุทั้งหลาย กัปหนึ่งเป็นประมาณอายุ ของเทวดาเหล่าพรหมกายิกา ปุถุชนดำรงอยู่ในชั้น พรหมกายิกานั้นตราบเท่า ตลอดอายุ ยังประมาณอายุของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดเดรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาค ดำรงอยู่ใน ชั้นพรหมกายิกานั้น ตราบเท่าสิ้นอายุ ยังประมาณอายุของเทวดาเหล่านั้น ให้สิ้นไปแล้ว ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง.ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความผิดแผก แตกต่างกันเป็นความมุ่งหมาย ที่แตกต่างกัน เป็นเครื่องกระทำ ให้แตกต่างกัน ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับ กับปุถุชนผู้มิได้สดับในเมื่อคติอุบัติยังมีอยู่.

(2) อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้มีจิตประกอบด้วยกรุณา แผ่ไปสู่ทิศที่หนึ่ง ทิศที่สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่ ก็เหมือนอย่างนั้น ทั้งเบื้องบน เบื้องล่างและเบื้องขวาง เธอแผ่ไปตลอดโลก ทั้งสิ้น ในที่ทั้งปวง แก่สัตว์ทั้งหลาย ทั่วหน้าเสมอกัน ด้วยจิตอันประกอบด้วย กรุณา เป็นจิต ไพบูลย์ ใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาทแล้วแลอยู่ เขาย่อมชอบใจ ธรรมนั้น ปรารถนาธรรมนั้น และถึงความยินดีด้วยธรรมนั้น เขาดำรงอยู่ใน ธรรมนั้น น้อมใจไปในธรรมนั้น อยู่มากด้วยธรรมนั้น ไม่เสื่อมจากธรรมนั้น เมื่อทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดา เหล่าอาภัสสระ ภิกษุทั้งหลาย ๒ กัปเป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าอาภัสสระ ปุถุชนดำรงอยู่ ในชั้นอาภัสสระนั้น ตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณอายุของเทวดาเหล่านั้น ให้สิ้นไปแล้ว ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดเดรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาคดำรง อยู่ใน ชั้นอาภัสสระนั้น ตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณอายุของเทวดาเหล่านั้น ให้สิ้นไปแล้ว ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง.

ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความผิดแผกแตกต่างกัน เป็นความมุ่งหมายที่แตกต่างกัน เป็นเครื่อง กระทำให้แตกต่างกัน ระหว่างอริยสาวก ผู้ได้สดับ กับปุถุชนผู้มิได้ สดับ ในเมื่อคติอุบัติยังมีอยู่.

(3) อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้มีจิตประกอบด้วยมุทิตา แผ่ไปสู่ทิศที่หนึ่ง ทิศที่สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่ ก็เหมือนอย่างนั้น ทั้งเบื้องบน เบื้องล่างและเบื้องขวาง เธอแผ่ไปตลอดโลก ทั้งสิ้น ในที่ทั้งปวงแก่สัตว์ ทั้งหลาย ทั่วหน้าเสมอกัน ด้วยจิตอันประกอบด้วย มุทิตาเป็นจิต ไพบูลย์ ใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาทแล้วแลอยู่ เขาย่อมชอบใจธรรม นั้น ปรารถนาธรรมนั้น และถึงความยินดีด้วยธรรมนั้น เขาดำรงอยู่ในธรรมนั้น น้อมใจไปในธรรมนั้น อยู่มากด้วยธรรมนั้น ไม่เสื่อมจากธรรมนั้น เมื่อทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดา เหล่าสุภกิณหะ ภิกษุทั้งหลาย ๔ กัป เป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าสุภกิณหะ ปุถุชนดำรงอยู่ ในชั้นสุภกิณหะนั้น ตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณอายุของเทวดาเหล่านั้น ให้สิ้นไปแล้ว ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดเดรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง ส่วนสาวกของพระผู้มี พระภาคดำรงอยู่ในชั้นสุภกิณหะนั้นตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณอายุของ เทวดาเหล่านั้น ให้สิ้นไป แล้ว ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง.

ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความผิดแผกแตกต่างกัน เป็นความมุ่งหมายที่แตกต่างกัน เป็นเครื่อง กระทำให้ แตกต่างกัน ระหว่างอริยสาวก ผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้มิได้ สดับในเมื่อ คติอุบัติยังมีอยู่.

(4) อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้มีจิตประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไปสู่ทิศที่หนึ่ง ทิศที่สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่ ก็เหมือนอย่างนั้น ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง และเบื้องขวาง เธอแผ่ไปตลอดโลกทั้งสิ้น ในที่ทั้งปวง แก่สัตว์ทั้งหลายทั่วหน้าเสมอกัน ด้วยจิตอันประกอบ ด้วย อุเบกขาเป็นจิต ไพบูลย์ ใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาทแล้วแลอยู่ เขาย่อมชอบใจธรรมนั้น ปรารถนาธรรมนั้น และถึงความยินดีด้วยธรรมนั้น เขาดำรงอยู่ในธรรม นั้น น้อมใจไปในธรรมนั้น อยู่มากด้วยธรรมนั้น ไม่เสื่อม จากธรรมนั้น เมื่อทำกาละ ย่อมเข้าถึง ความเป็นสหายของเทวดาเหล่าเวหัปผละ ภิกษุทั้งหลาย ๕๐๐ กัป เป็น ประมาณอายุของ เทวดาเหล่าเวหัปผละ ปุถุชนดำรงอยู่ในชั้น เวหัปผละ นั้นตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณอายุ ของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดเดรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาค ดำรงอยู่ในชั้นเวหัปผละนั้น ตราบเท่าสิ้นอายุ ยังประมาณอายุ ของเทวดา เหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมปรินิพพาน ในภพนั้นเอง.

ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความผิดแผกแตกต่างกัน เป็นความมุ่งหมายที่แตกต่างกัน เป็นเครื่อง กระทำให้แตกต่างกัน ระหว่างอริยสาวก ผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้มิได้ สดับในเมื่อคติอุบัติยังมีอยู่.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำ พวกนี้แล มีอยู่ในโลกหาได้ในโลก.

หน้า 88

30
ผลของการได้สมาธิ
แล้วเห็นความไม่เที่ยง (นัยที่ ๑)

-บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๗๑/๑๒๔.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำ􀄁พวกนี้ มีอยู่ในโลกหาได้ในโลก ๔ จำพวกเป็นอย่างไร คือ

(1) บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะสงัดจากกาม และอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน อันมีวิตก มีวิจารมีปีติและสุข เกิดจากวิเวกแล้วแลอยู่ รูป เวทนา สัญญาสังขาร และวิญญาณ อันใด ที่มีอยู่ในปฐมฌานนั้น บุคคลนั้นพิจารณาเห็น ธรรมเหล่านั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง (อนิจฺจโต) เป็นทุกข์ (ทุกฺขโต) เป็นดังโรค (โรคโต) เป็นดังหัวฝี(คณฺฑโต) เป็นดังลูกศร (สลฺลโต) เป็นของทน ได้ยาก(อฆโต) เป็นของเบียดเบียน (อาพาธโต) เป็นของผู้อื่น (ปรโต) เป็นของ ต้องแตกสลาย (ปโลกโต) เป็นของว่างเปล่า (สุญฺญโต) เป็นอนัตตา (อนตฺตโต) บุคคลนั้น เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าสุทธาวาส ภิกษุทั้งหลาย ความอุบัตินี้แล ไม่ทั่วไปด้วยปุถุชน.

(2) อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้เพราะสงบวิตกวิจารเสียได้ จึงบรรลุทุติยฌาน รูป เวทนาสัญญา สังขาร และวิญญาณอันใด ที่มีอยู่ใน ทุติยฌานนั้นบุคคลนั้นพิจารณา เห็นธรรม เหล่านั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง … บุคคลนั้น เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็น สหายของ เทวดาเหล่าสุทธาวาส ภิกษุทั้งหลาย ความอุบัตินี้แล ไม่ทั่วไปด้วยปุถุชน.

(3) อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้เพราะความจางไปแห่งปีติ จึงอยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และย่อมเสวยสุขด้วยกาย จึงบรรลุตติยฌาน … รูป เวทนาสัญญา สังขาร และวิญญาณอันใด ที่มีอยู่ในตติยฌานนั้นบุคคลนั้น พิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้น โดยความเป็น ของไม่เที่ยง … บุคคลนั้น เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าสุทธาวาส ภิกษุทั้งหลายความ อุบัตินี้แล ไม่ทั่วไปด้วยปุถุชน.

(4) อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้เพราะละสุขและทุกข์เสียได้ เพราะความดับหายไป แห่งโสมนัส และโทมนัสทั้งหลาย ในกาลก่อน จึงบรรลุ จตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีแต่ความที่มีสติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ เพราะ อุเบกขาแล้วแลอยู่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณอันใด ที่มีอยู่ใน จตุตถฌานนั้น บุคคลนั้นพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้น โดยความ เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์เป็นดังโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นของทนได้ยากเป็นของ เบียดเบียน เป็นของผู้อื่น เป็นของแตกสลาย เป็นของว่างเปล่า เป็นอนัตตา บุคคลนั้นเมื่อ ตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าสุทธาวาส ภิกษุทั้งหลายความอุบัตินี้แล ไม่ทั่วไปด้วยปุถุชน.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แล มีอยู่ในโลกหาได้ในโลก.

หน้า 91

31
ผลของการได้สมาธิแล้วเห็นความไม่เที่ยง (นัยที่ ๒
)

-บาลี นวก. อํ. ๒๓/๔๓๘/๒๔๐.

ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะ เพราะอาศัยปฐมฌานบ้าง เพราะอาศัยทุติยฌานบ้าง เพราะอาศัยตติยฌานบ้าง เพราะอาศัยจตุตถฌานบ้าง เพราะอาศัยอากาสานัญจายตนะบ้าง เพราะอาศัยวิญญาณณัญจายตนะบ้าง เพราะอาศัยอากิญจัญญายตนะบ้าง เพราะอาศัยเนวสัญญา-นาสัญญายตนะบ้าง เพราะอาศัยสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง.1

ภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ภิกษุทั้งหลายเรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะ เพราะอาศัยปฐมฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวเล่า ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ภิกษุสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าถึงปฐมฌานอันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก แล้วแลอยู่รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณอันใด ที่มีอยู่ในปฐมฌานนั้น บุคคลนั้นพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง (อนิจฺจโต) เป็นทุกข์ (ทุกฺขโต) เป็นดังโรค (โรคโต)เป็นดังหัวฝี (คณฺฑโต) เป็นดังลูกศร (สลฺลโต) เป็นของทนได้ยาก

1. พระไตรปิฎกฉบับมอญ มีระบุเลยไปถึง “เพราะอาศัยสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง” แต่พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ มีถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะเท่านั้น. -ผู้รวบรวม

(อฆโต) เป็นของเบียดเบียน (อาพาธโต) เป็นของผู้อื่น (ปรโต)เป็นของต้องแตก สลาย (ปโลกโต) เป็นของว่างเปล่า(สุญฺญโต) เป็นอนัตตา (อนตฺตโต) เธอดำรงจิตด้วยธรรมเหล่านั้น แล้วจึงน้อมจิต ไปสู่อมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นระงับนั่นประณีต นั่นคือธรรมเป็นที่สงบระงับแห่งสังขาร ทั้งปวงเป็นที่สลัดคืน ซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นความจางคลาย เป็นความดับ เป็นนิพพาน ดังนี้

เธอดำรง อยู่ในปฐมฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้าไม่ถึง ความสิ้นไป แห่งอาสวะ ทั้งหลาย ก็เป็นโอปปาติกะผู้ปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้น เป็นธรรมดาเพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป (ปญฺจนฺนํ โอรมฺภาคิยานํสํโยชนานํ ปริกฺขยา) และเพราะอำนาจแห่งธัมมราคะ ธัมมนันทินั้นๆ นั่นเอง.

ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนายขมังธนูหรือลูกมือของเขา ประกอบการฝึก ยิงรูปหุ่น ที่ทำด้วยหญ้า หรือก้อนดิน สมัยต่อมา เขาก็เป็นนายขมังธนูผู้ยิง ได้ไกล ยิงได้เร็วทำลาย หมู่พลอันใหญ่ได้ ภิกษุทั้งหลาย ฉันใดก็ฉันนั้นที่ภิกษุ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าถึงปฐมฌานอันมีวิตกวิจาร มีปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกแล้วแลอยู่ เธอย่อมพิจารณา เห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญาสังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในปฐมฌานนั้น โดยความเป็นของ ไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศรเป็นความ ยากลำบาก เป็นอาพาธ เป็นของผู้อื่น เป็นของแตกสลาย เป็นของว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอดำรงจิตด้วยธรรมเหล่านั้น แล้วจึงน้อมจิตไปสู่อมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นระงับนั่นประณีต นั่นคือธรรมเป็นที่สงบระงับแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นความจางคลาย เป็นความดับ เป็นนิพพาน ดังนี้

เธอดำรงอยู่ในปฐมฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่ง อาสวะ ทั้งหลายถ้าไม่ถึง ความสิ้นไป แห่งอาสวะ ทั้งหลาย ก็เป็นโอปปาติกะผู้ปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็น ธรรมดาเพราะโอรัมภา คิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป และเพราะอำนาจแห่งธัมมราคะ ธัมมนันทินั้นๆ นั่นเอง ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่เรา กล่าวแล้วว่า ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะ เพราะอาศัย ปฐมฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยความข้อนี้กล่าวแล้ว.

(ในกรณีแห่งการสิ้นอาสวะ เพราะอาศัยทุติยฌานบ้าง เพราะอาศัยตติยฌานบ้าง เพราะอาศัยจตุตถฌาน บ้าง ก็มีคำอธิบายที่ตรัสไว้โดยทำนองเดียวกันกับ ในกรณีแห่ง ปฐมฌานข้างบนนี้ ทั้งในส่วนอุปไมยและ ส่วนอุปมา ผิดกันแต่ชื่อ แห่งฌานเท่านั้น)

ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่เรากล่าวแล้วว่า ภิกษุทั้งหลายเรากล่าวความสิ้นไปแห่ง อาสวะ เพราะอาศัย อากาสานัญ-จายตนะบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวเล่า ภิกษุทั้งหลายในกรณีนี้ ภิกษุเพราะก้าวล่วง รูปสัญญาเสียได้โดยประการทั้งปวง เพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญา เพราะการไม่ใส่ใจ ซึ่งนานัตตสัญญา จึงเข้าถึง อากาสานัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า อากาศไม่มีที่สิ้นสุด ดังนี้แล้วแลอยู่ เวทนาสัญญา สังขาร และวิญญาณอันใด ที่มีอยู่ในอากาสา นัญจายตนะนั้นบุคคลนั้น

พิจารณาเห็นธรรม เหล่านั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นของทนได้ยาก เป็นของเบียดเบียน เป็นของผู้อื่น เป็นของต้องแตกสลาย เป็นของว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอดำรงจิตด้วย ธรรมเหล่านั้น แล้วจึงน้อมจิตไปสู่ อมตธาตุ ว่านั่นสงบนั่นระงับ นั่นประณีต นั่นคือธรรมเป็นที่สงบระงับ แห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดคืน ซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหาเป็นความจางคลาย เป็นความดับ เป็นนิพพาน ดังนี้

เธอดำรงอยู่ในอากาสานัญจายตนะนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้าไม่ถึง ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายก็เป็นโอปปาติกะ ผู้ปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจาก โลกนั้น เป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป และเพราะอำนาจ แห่งธัมมราคะ ธัมมนันทินั้นๆ นั่นเอง.

ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนายขมังธนูหรือลูกมือของเขา ประกอบการฝึกยิง รูปหุ่น ที่ทำด้วยหญ้าหรือ ก้อนดินสมัยต่อมา เขาก็เป็นนายขมังธนูผู้ยิงได้ไกล ยิงได้เร็ว ทำลายหมู่พลอันใหญ่ได้

ภิกษุทั้งหลาย ฉันใดก็ฉันนั้น ที่ภิกษุเพราะก้าวล่วงซึ่งรูปสัญญาเสียได้ โดยประการทั้งปวง เพราะความดับ ไปแห่งปฏิฆสัญญา เพราะการไม่ใส่ใจ ซึ่งนานัตต-สัญญา จึงเข้าถึง อากาสานัญจายตนะ อันมีการทำในใจ ว่าอากาศ ไม่มีที่สิ้นสุด ดังนี้แล้วแลอยู่

เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในอากาสานัญจายตนะนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความ เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดัง หัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความยากลำบาก เป็นอาพาธ เป็นของผู้อื่น เป็นของแตกสลาย เป็นของว่าง เป็นอนัตตา

เธอดำรงจิตด้วยธรรมเหล่านั้นแล้วจึงน้อมจิตไปสู่อมตธาตุว่า นั่นสงบระงับ นั่นประณีตนั่นคือ ธรรมเป็นที่สงบระงับแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิ ทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่ง ตัณหา เป็นความ จางคลายเป็นความดับ เป็นนิพพาน ดังนี้

เธอดำรงอยู่ในอากาสานัญ-จายตนะนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้าไม่ถึง ความสิ้นไปแห่ง อาสวะทั้งหลาย ก็เป็นโอปปาติกะผู้ปริพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจาก โลกนั้นเป็นธรรมดา

เพราะ โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป และเพราะอำนาจแห่งธัมมราคะ ธัมมนันทิ นั้นๆ นั่นเอง ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่เรากล่าวแล้วว่า ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความ สิ้นอาสวะเพราะอาศัย อากาสานัญจายตนะบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยความ ข้อนี้กล่าวแล้ว.

(
ในกรณีแห่งการสิ้นอาสวะ เพราะอาศัยวิญญาณัญจายตนะบ้าง เพราะอาศัย อากิญจัญญายตนะบ้าง ก็มีคำอธิบายที่ตรัสไว้ โดยทำนองเดียวกันกับ ในกรณี แห่งอากาสานัญจายตนะข้างบนนี้ ทุกตัวคำพูด ทั้งในส่วนอุปไมยและส่วนอุปมา ผิดกันแต่ชื่อแห่งสมาธิเท่านั้น ผู้ศึกษาพึงเทียบเคียงได้เอง ครั้นตรัสข้อความใน กรณีแห่งอากิญจัญญายตนะจบแล้ว ได้ตรัสข้อความนี้ ต่อไปว่า)

ภิกษุทั้งหลาย ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้แล เป็นอันกล่าวได้ว่า สัญญาสมาบัติ มีประมาณเท่าใด อัญญาปฏิเวธ (การบรรลุอรหัตตผล) ก็มีประมาณเท่านั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ส่วนว่า อายตนะอีก ๒ ประการกล่าวคือ เนวสัญญานาสัญญายตน สมาบัติ และ สัญญา-เวทยิตนิโรธ ซึ่งอาศัยสัญญาสมาบัติเหล่านั้น เรากล่าวว่า เป็นสิ่งที่ฌายีภิกษุ1 ผู้ฉลาดในการเข้าสมาบัติ ฉลาดในการออกจากสมาบัติ จะพึงเข้าสมาบัติ ออกจากสมาบัติแล้วกล่าวว่าเป็นอะไรได้เองโดยชอบ ดังนี้.

1. ฌายีภิกษุ คือภิกษุผู้เพ่งอยู่. -ผู้รวบรวม
(ในสูตรอื่น เป็นคำกล่าวของพระอานนท์ ที่อ้างถึงว่าเป็นคำตรัส ของพระผู้มีพระภาค โดยกล่าวถึงการทำ สมาธิตั้งแต่ระดับปฐมฌาน จนถึงอากิญจัญญายตนะ และการเจริญ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา (อย่างใด อย่างหนึ่ง) โดยให้พิจารณาว่าธรรมแต่ละอย่างนี้ มีเหตุปัจจัย ปรุงแต่งขึ้น (อภิสงฺขต) มีเหตุปัจจัยทำให้เกิดความรู้สึกขึ้น (อภิสญฺเจตยิต) ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่ง อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น อันเหตุปัจจัย ทำให้เกิดความรู้สึกขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา

เมื่อดำรงอยู่ในธรรมนั้นก็จะเป็นเหตุให้ถึง ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้าไม่ถึงความ สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จะเป็นโอปปาติกะ ผู้ปรินิพพาน ในภพนั้น มีอันไม่ กลับจากโลก นั้นเป็นธรรมดาเพราะ โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป และ เพราะอำนาจแห่งธัมมราคะ ธัมมนันทินั้นๆ นั่นเอง -บาลี ม. ม. ๑๓/๑๙/๑๙.

จากพระสูตรในบทที่ ๒๗ - ๓๑, ๑๗๔ และพระสูตรอื่นๆ ในหนังสือเล่มนี้ พอสรุปได้ว่า ผู้ที่ได้ฌาน ๑ - ๔
แล้วเห็นขันธ์ทั้ง ๕ ที่อยู่ ในธรรมนั้น โดยความ เป็นของไม่เที่ยง … เป็นอนัตตา สามารถเข้าถึง ความเป็นสหายของ เทวดา เหล่าอวิหา อตัปปา สุสัสสา สุทัสสี และ อกนิฏฐา

ส่วนผู้ได้สมาธิในระดับ อรูปสัญญา (อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญ จายตนะ และอากิญจัญญายตนะ) แล้วเห็นขันธ์ทั้ง ๔ ที่อยู่ในธรรมนั้น โดยความเป็นของ ไม่เที่ยง เป็นอนัตตา พระองค์จะชี้ว่าเพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป
จึงส่งผลให้เข้าถึง ความเป็นสหายของเทวดาเหล่าอกนิฏฐา. -ผู้รวบรวม)

หน้า 98

32
เหตุได้ความเป็นอนาคามีหรืออาคามี

-บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๒๑๓/๑๗๑.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอแลเป็นเหตุเป็นปัจจัย เครื่องให้สัตว์บางจำพวก ในโลกนี้ จุติจากกายนั้น แล้ว เป็นอาคามีกลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้ อนึ่ง อะไรเป็นปัจจัยเครื่อง ให้สัตว์บางจำพวกในโลกนี้ จุติจากกายนั้นแล้ว เป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้ พระเจ้าข้า. สารีบุตร บุคคลบางคน ในโลกนี้ ยังละโอรัมภา-คิยสังโยชน์ไม่ได้ แต่เขาบรรลุ เนวสัญญานา สัญญายตนะ ในปัจจุบัน

บุคคลนั้นชอบใจ ยินดี และถึงความปลื้มใจด้วย เนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น ดำรงอยู่ใน เนวสัญญา-นาสัญญายตนะนั้น น้อมใจไป อยู่มากด้วยเนวสัญญา-นาสัญญายตนะนั้น ไม่เสื่อมเมื่อทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหาย ของเหล่าเทวดาผู้เข้าถึงชั้นเนวสัญญา นาสัญญายตนภพเขาจุติจากชั้นนั้นแล้ว ย่อมเป็นอาคามี กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้.

สารีบุตร อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ ละโอรัมภาคิย-สังโยชน์ได้แล้ว เขาบรรลุ เนวสัญญา นาสัญญายตนะ ในปัจจุบันบุคคลนั้นชอบใจ ยินดี และถึงความปลื้มใจ ด้วยเนวสัญญา-นาสัญญายตนะนั้น ยับยั้งใน เนวสัญญานาสัญญายตนะนั้นน้อมใจไป อยู่จนคุ้นใน เนวสัญญานา สัญญายตนะนั้น ไม่เสื่อมเมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของ เหล่าเทวดาผู้เข้าถึงชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนภพ เขาจุติจาก ชั้นนั้นแล้ว ย่อมเป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้.

สารีบุตร นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้สัตว์บางจำพวกในโลกนี้ จุติจากกายนั้น แล้วเป็น อาคามี กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้ อนึ่ง นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้ สัตว์บางจำพวก ในโลกนี้ จุติจากกายนั้น แล้วเป็นอนาคามีไม่กลับมา สู่ความ เป็นอย่างนี้.

หน้า 100

33
ผลของการเจริญพรหมวิหารแล้วเห็นความไม่เที่ยง

-บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๗๕/๑๒๖.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีอยู่ในโลกหาได้ในโลก ๔ จำพวกเป็นอย่างไร คือ

(1) บุคคลบางคนในโลกนี้ มีจิตประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปสู่ทิศที่หนึ่ง ทิศที่สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่ ก็เหมือนอย่างนั้น ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง และเบื้องขวาง เธอแผ่ไปตลอดโลกทั้งสิ้น ในที่ทั้งปวง แก่สัตว์ทั้งหลายทั่วหน้าเสมอกัน ด้วยจิตอันประกอบด้วยเมตตา เป็นจิตไพบูลย์ ใหญ่หลวงไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาทแล้วแลอยู่ รูป เวทนาสัญญา สังขาร และ วิญญาณอันใด มีอยู่ในธรรมนั้น บุคคลนั้นพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้น โดยความเป็นของ
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศรเป็นของทนได้ยาก เป็นของ เบียดเบียน เป็นของไม่เชื่อฟังเป็นของต้องทำลายไป เป็นของว่างเปล่า เป็นของไม่ใช่ตน บุคคลนั้นเมื่อตายไปย่อมเข้าถึงความเป็นสหาย ของเทวดา เหล่าสุทธาวาส ภิกษุทั้งหลาย ความอุบัตินี้แลไม่ทั่วไปด้วยปุถุชน.

(2) อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้มีจิตประกอบด้วยกรุณา … .

(3) อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้มีจิตประกอบด้วยมุทิตา … .

(4) อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้มีจิตประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไปสู่ทิศที่หนึ่ง ทิศที่สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่ ก็เหมือนอย่างนั้น ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง และเบื้องขวาง เธอแผ่ไปตลอดโลกทั้งสิ้น ในที่ทั้งปวง แก่สัตว์ทั้งหลายทั่วหน้าเสมอกัน ด้วยจิตอันประกอบด้วยเมตตาเป็นจิตไพบูลย์ ใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาทแล้วแลอยู่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณอันใด มีอยู่ในธรรมนั้น

บุคคลนั้นพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรคเป็น ดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นของทนได้ยาก เป็นของเบียดเบียน เป็นของไม่เชื่อฟัง เป็นของ ต้องทำลายไป เป็นของว่างเปล่า เป็นของไม่ใช่ตน บุคคลนั้นเมื่อตายไปย่อมเข้าถึงความ เป็นสหายของเทวดาเหล่าสุทธาวาส ภิกษุทั้งหลาย ความอุบัตินี้แล ไม่ทั่วไปด้วยปุถุชน.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวก นี้แล มีอยู่ในโลก หาได้ในโลก.

หน้า 102

34
โลก คือ สิ่งที่แตกสลายได้

-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๖๔/๙๘.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่กล่าวกันว่า โลก โลก ดังนี้ อันว่าโลกมีได้ด้วยเหตุเพียงเท่าไร พระเจ้าข้า.

ภิกษุ เพราะจะต้องแตกสลาย เราจึงกล่าวว่าโลกก็อะไรเล่าจะต้องแตกสลาย.

ภิกษุ ตาแตกสลาย รูปแตกสลาย จักษุวิญญาณแตกสลาย จักษุสัมผัสแตกสลาย แม้สุข เวทนาก็ดี ทุกขเวทนาก็ดี หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะ จักษุสัมผัส เป็นปัจจัย ก็แตกสลาย.

ภิกษุ หูแตกสลาย เสียงแตกสลาย โสตวิญญาณแตกสลาย โสตสัมผัส แตกสลาย แม้สุข เวทนาก็ดี ทุกขเวทนาก็ดี หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะ โสตสัมผัสเป็นปัจจัย ก็แตกสลาย.

ภิกษุ จมูกแตกสลาย กลิ่นแตกสลาย ฆานวิญญาณแตกสลาย ฆานสัมผัส แตกสลาย แม้สุขเวทนาก็ดี ทุกขเวทนาก็ดี หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะฆานสัมผัส เป็นปัจจัยก็แตกสลาย.

ภิกษุ ลิ้นแตกสลาย รสแตกสลาย ชิวหาวิญญาณแตกสลาย ชิวหาสัมผัสแตกสลาย แม้สุข เวทนาก็ดี ทุกขเวทนาก็ดี หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหา สัมผัสเป็นปัจจัย ก็แตกสลาย.

ภิกษุ กายแตกสลาย โผฎฐัพพะแตกสลาย กาย-วิญญาณแตกสลาย กายสัมผัสแตกสลาย แม้สุขเวทนาก็ดีทุกขเวทนาก็ดี หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย ก็แตกสลาย.

ภิกษุ ใจแตกสลาย ธรรมแตกสลาย มโนวิญญาณแตกสลาย มโนสัมผัสแตกสลาย แม้สุข เวทนาก็ดี ทุกขเวทนาก็ดี หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็แตกสลาย.

ภิกษุ เพราะจะต้องแตกสลาย เราจึงกล่าวว่า โลก ดังนี้.