อนาคามี Page 3
ข้อควรรู้เกี่ยวกับ “กาม”
หน้า 106
35
กามคุณ ๕ คือ โลกในอริยวินัย
-บาลี นวก. อํ. ๒๓/๔๔๖/๒๔๒.
ครั้งหนึ่ง พราหมณ์ผู้ชำนาญในคัมภีร์โลกายตะ ๒ คน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค และได้ทูลถามว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ปูรณกัสสปะเป็นผู้รู้สิ่งทั้งปวง เห็นสิ่งทั้งปวง ปฏิญาณการรู้การเห็น อันไม่มีส่วนเหลือว่าเมื่อเราเดิน ยืน หลับ และตื่นอยู่ ญาณทัสสนะปรากฏติดต่อเนื่องกันไป ปูรณกัสสปะนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า เรารู้เราเห็นโลกอันไม่มีที่สุด ด้วยญาณอันไม่มีที่สุด ข้าแต่พระโคดม ผู้เจริญ แม้นิครณฐนาฏบุตรก็เป็นผู้รู้สิ่งทั้งปวงเห็นสิ่งทั้งปวง ปฏิญาณการรู้การเห็นไม่มีส่วนเหลือว่า เมื่อเราเดิน ยืน หลับและตื่นอยู่ ญาณทัสสนะปรากฏติดต่อเนื่องกันไป นิครณฐนาฏบุตรนั้นกล่าว อย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็นโลกอันไม่มีที่สุด ด้วยญาณอันไม่มีที่สุดข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ คนทั้ง ๒ ต่างก็พูดอวดรู้กัน มีคำพูดขัดแย้งกันใครพูดจริง ใครพูดเท็จ.
พราหมณ์ อย่าเลย ข้อที่คนทั้ง ๒ นี้ต่างพูดอวดรู้กันมีคำพูดขัดแย้งกัน ใครพูดจริง ใครพูดเท็จนั้น พักไว้ก่อนเถิดพราหมณ์ เราจักแสดงธรรมแก่ท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย
จงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว.
พราหมณ์ เปรียบเหมือนชาย ๔ คน ยืนอยู่ใน ๔ ทิศต่างก็มีฝีเท้าในการเดิน และการวิ่งที่เยียม พอๆ กัน ความเร็วในการวิ่ง ของเขา ประดุจลูกธนูชนิดเบาที่ถูกยิงผ่านเงาต้นตาลตามขวางได้โดยง่าย ของนายขมังธนูที่ถือธนูไว้อย่างมั่นคงผู้ที่ศึกษามา เจนฝีมือแล้วผ่าน การประลองฝีมือแล้ว ในการก้าวของเขา ประดุจก้าวจากมหาสมุทรด้านทิศตะวันออกถึงมหาสมุทร ด้านทิศตะวันตก1 ครั้งนั้น ชายผู้ยืนอยู่ด้านทิศตะวันออก
กล่าวอย่างนี้ว่า เราจะเดินไปให้ถึงที่สุดโลกเขาเว้นการดื่ม การกิน การลิ้ม เว้นการถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ และเว้นจากการหลับ และการพัก เขามีอายุ ๑๐๐ ปี มีชีวิตอยู่ ๑๐๐ ปี เดินไปตลอด ๑๐๐ ปี ยังไม่ทันถึงที่สุดโลกเลยก็ตายเสียก่อน ถ้าชายผู้ยืนอยู่ ด้านทิศตะวันตก …
ถ้าชายผู้ยืนอยู่ด้านทิศเหนือ … ถ้าชายผู้ยืนอยู่ด้านทิศใต้ กล่าวอย่างนี้ว่า เราจะเดินไปให้ถึงที่สุด โลก โดยเขาเว้นจากการดื่ม การกิน การลิ้ม เว้นจากการถ่ายอุจจาระและปัสสาวะเว้นจากการหลับ และการพัก เขามีอายุ ๑๐๐ ปี มีชีวิตอยู่๑๐๐ ปี เดินไปตลอด ๑๐๐ ปี ยังไม่ถึงที่สุดโลกเลย ก็ตายเสียก่อน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะเราไม่กล่าวว่า บุคคลจะพึงรู้พึงเห็น จะพึงถึงที่สุด ของโลกด้วยการวิ่งเห็นปานนั้นและเราไม่กล่าวว่า บุคคลยังไม่ถึงที่สุดแห่งโลก จะกระทำที่สุดแห่ง ทุกข์ได้.
1. สำ นวนแปลมีความแตกต่างจากพระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวงบ้าง เพื่อ ให้สามารถเข้าใน เนื้อความได้ดีขึ้น จึงได้นำ สำนวนของโรหิตสัสสูตร และฉบับแปลภาษาอังกฤษของ ภิกขุโพธิมาปรับใช้บางส่วน -ผู้รวบรวม
พราหมณ์ กามคุณ ๕ ประการนี้ เรียกว่าโลกในอริยวินัย กามคุณ ๕ ประการเป็นไฉน คือ รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รักยั่วยวน ชวนให้กำหนัด เสียงที่จะพึงรู้แจ้งด้วยหู … กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจมูก … รสที่จะพึงรู้แจ้ง ด้วยลิ้น … โผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้งด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจเป็นที่รัก ยั่วยวนชวนให้กำหนัด พราหมณ์ กามคุณ ๕ประการนี้แล เรียกว่าโลกในอริยวินัย.
พราหมณ์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌานมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ภิกษุนี้เรียกว่า ได้ถึงที่สุดแห่งโลกแล้วและอยู่ในที่สุดแห่งโลก คนเหล่าอื่นกล่าวภิกษุนั้นอย่างนี้ว่าแม้ภิกษุนี้ก็ยังนับเนื่อง อยู่ในโลก ยังสลัดตนไม่พ้นไปจากโลก
พราหมณ์ เป็นความจริง แม้เราก็กล่าวอย่างนี้ว่า แม้ภิกษุนี้ก็ยังนับเนื่องอยู่ในโลก ยังสลัดตนไม่พ้น ไปจากโลก.
พราหมณ์ อีกประการหนึ่ง ภิกษุ บรรลุทุติยฌาน …บรรลุตติยฌาน … บรรลุจตุตถฌาน … ภิกษุนี้เรียกว่า ได้ถึงที่สุดแห่งโลกแล้ว และอยู่ในที่สุดแห่งโลก แต่ชนเหล่าอื่นกล่าวภิกษุนั้น อย่างนี้ว่า แม้ภิกษุนี้ก็ยังนับเนื่องอยู่ในโลก
ยังสลัดตนไม่พ้นไปจากโลก พราหมณ์ เป็นความจริงแม้เราก็กล่าวอย่างนี้ว่า แม้ภิกษุนี้ก็ยังนับเนื่อง อยู่ในโลกยังสลัดตน ไม่พ้นไปจากโลก.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุ เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง ... บรรลุอากาสานัญจายตนะ ... ภิกษุนี้เรียกว่า ได้ถึงที่สุดแห่ง โลกแล้ว และอยู่ในที่สุดแห่งโลกแต่ชนเหล่าอื่นกล่าวภิกษุนั้น อย่างนี้ว่า แม้ภิกษุนี้ก็ยังนับเนื่องอยู่ในโลก ยังสลัดตนไม่พ้นไป จากโลก พราหมณ์ เป็นความจริง แม้เราก็กล่าวอย่างนี้ว่า แม้ภิกษุนี้ยังนับเนื่องอยู่ในโลก ยังสลัดตนไม่พ้นไปจากโลก.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุ เพราะล่วงอากาสา-นัญจายตนะโดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนะ … เพราะล่วงวิญญาณัญ จายตนะโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนะ … เพราะล่วงอากิญ จัญญายตนะโดยประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานา สัญญายตนะ … ภิกษุนี้เรียกว่าได้ถึงที่สุด โลกแล้ว และอยู่ในที่สุดแห่งโลก แต่ชนเหล่าอื่นกล่าวภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ภิกษุนี้ยังนับ เนื่องอยู่ ในโลก ยังสลัดตนไม่พ้นไปจากโลก พราหมณ์ เป็นความจริงแม้เราก็กล่าวอย่างนี้ว่า แม้ภิกษุนี้ยังนับ เนื่องอยู่ในโลก ยังสลัดตนไม่พ้นไปจากโลก.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุ เพราะล่วงเนวสัญญานา-สัญญายตนะโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิต นิโรธ อาสวะของเธอสิ้นรอบ แล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญาพราหมณ์ ภิกษุนี้เรียกว่า ได้ถึงที่สุดแห่งโลกแล้ว และอยู่ในที่สุดแห่งโลก ข้ามพ้นตัณหาเครื่องข้อง ในโลกได้แล้ว.
หน้า 111
36
กามคุณ คือ เครื่องจองจำในอริยวินัย
-บาลี สี. ที. ๙/๓๐๕/๓๗๗.
วาเสฏฐะ เปรียบเหมือนแม่น้ำอจิรวดี น้ำเต็มเปี่ยมเสมอฝั่ง กาดื่มกินได้ ครั้งนั้น บุรุษผู้ต้องการฝั่ง แสวงหาฝั่งไปยังฝั่ง ประสงค์จะข้ามฝั่งไป เขามัดแขนไพร่หลังอย่างแน่น ด้วยเชือกอย่างเหนียว ที่ริมฝั่งนี้ วาเสฏฐะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้น เป็นอย่างไร บุรุษนั้นพึงไปสู่ฝั่งโน้นจากฝั่งนี้แห่ง แม่น้ำอจิรวดีได้หรือไม่.
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ไม่ได้.
วาเสฏฐะ ฉันนั้นเหมือนกัน กามคุณ ๕ เหล่านี้ในอริยวินัย เรียกว่าขื่อคาบ้าง เรียกว่าเครื่องจองจำบ้าง กามคุณ ๕ เป็นอย่างไร คือ รูปที่พึงรู้ด้วยจักษุ เสียงที่พึงรู้ด้วยโสตะ กลิ่นที่พึงรู้ด้วยฆานะ รสที่พึงรู้ด้วยชิวหา โผฏฐัพพะที่พึงรู้ด้วยกาย น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจน่ารัก เกี่ยวด้วยกามเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด กามคุณ ๕เหล่านี้ ในอริยวินัย เรียกว่าขื่อคาบ้าง เรียกว่าเครื่องจองจำบ้าง
พราหมณ์ผู้ได้ไตรวิชชา กำหนัด สยบ หมกมุ่น ไม่แลเห็นโทษ ไม่มีปัญญาคิดสลัดออก บริโภค กามคุณ ๕ เหล่านี้ อยู่ ก็พราหมณ์ผู้ได้ไตรวิชชาเหล่านั้น ละธรรมที่ทำบุคคลให้เป็น พราหมณ์เสีย สมาทานธรรมที่มิใช่ทำบุคคลให้เป็นพราหมณ์ ประพฤติอยู่ กำหนัด สยบ หมกมุ่น ไม่แลเห็นโทษ ไม่มีปัญญาคิดสลัดออก บริโภคกามคุณ ๕ พัวพันในกามฉันทะอยู่ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก จักเข้าถึงความเป็นสหายแห่งพรหม ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.
วาเสฏฐะ เปรียบเหมือนแม่น้ำอจิรวดี น้ำเต็มเปี่ยมเสมอขอบฝั่ง กาก้มลงดื่มได้ ครั้งนั้น บุรุษผู้ต้องการฝั่งแสวงหาฝั่ง ไปยังฝั่ง ประสงค์จะข้ามฝั่งไป เขากลับนอนคลุมตลอดศีรษะเสียที่ฝั่ง วาเสฏฐะ ท่านจะสำคัญความ ข้อนั้นเป็นอย่างไร บุรุษนั้นพึงไปสู่ ฝั่งโน้นจากฝั่งนี้แห่งแม่น้ำ อจิรวดีได้หรือไม่.
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ไม่ได้.
วาเสฏฐะ ฉันนั้นเหมือนกัน นิวรณ์ ๕ อย่างเหล่านี้ในอริยวินัยเรียกว่า เครื่องหน่วงเหนี่ยวบ้าง เครื่องกางกั้นบ้างเครื่องรัดรึงบ้าง เครื่องตรึงตราบ้าง นิวรณ์ ๕ เป็นอย่างไรคือ กามฉันทนิวรณ์ พยาบาทนิวรณ์ ถีนมิทธนิวรณ์อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ วิจิกิจฉานิวรณ์ นิวรณ์ ๕ เหล่านี้แลในอริยวินัย เรียกว่าเครื่องหน่วงเหนี่ยวบ้าง เครื่องกางกั้นบ้าง เครื่องรัดรึงบ้าง เครื่องตรึงตราบ้าง.
วาเสฏฐะ พวกพราหมณ์ผู้ได้ไตรวิชชา ถูกนิวรณ์ ๕เหล่านี้ ปกคลุม หุ้มห่อ รัดรึง ตรึงตราแล้ว ก็พราหมณ์ผู้ได้ไตรวิชชาเหล่านั้น ละธรรมที่ทำบุคคลให้เป็นพราหมณ์เสียสมาทาน ธรรมที่มิใช่ทำ บุคคลให้เป็นพราหมณ์ ประพฤติอยู่ถูกนิวรณ์ ๕ ปกคลุม หุ้มห่อรัดรึง ตรึงตราแล้ว เบื้องหน้าแต่ตาย เพราะกายแตก จักเข้าถึงความเป็นสหายแห่งพรหมข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.
หน้า 114
37
เครื่องจองจำที่มั่นคง
-บาลี สคาถ. สํ. ๑๕/๑๑๑/๓๕๒.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วันนี้หมู่มหาชนถูกพระเจ้าปเสนทิโกศลให้จองจำไว้แล้ว บางพวกถูกจองจำ ด้วยเชือก บางพวกถูกจองจำ ด้วยขื่อคาบางพวกถูกจองจำด้วยโซ่ตรวน.
ผู้มีปัญญาทั้งหลาย ไม่กล่าวเครื่องจองจำที่ทำด้วยเหล็ก ทำด้วยไม้ และทำด้วยหญ้า (เชือก) ว่าเป็นเครื่องจองจำที่มั่นคง.
ผู้มีปัญญาทั้งหลาย ย่อมกล่าวความรักใคร่พอใจในตุ้มหู แก้วมณี และความห่วงอาลัยในบุตร และภรรยานั่นแหละว่า เป็นเครื่อง จองจำที่มั่นคง ฉุดให้สัตว์ลงต่ำซึ่งเป็นเครื่องจองจำ ที่ผูกไว้หย่อนๆ แต่แก้ได้ยาก.
ผู้มีปัญญาทั้งหลาย ตัดเครื่องจองจำแม้เช่นนั้นออกบวช เป็นผู้ไม่มีความห่วงอาลัย ละกามสุข เสียแล้ว.
หน้า 115
38
ความหมายของกามและกามคุณ
-บาลี ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๕๙/๓๓๔.
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบกาม เหตุเกิดแห่งกาม ความต่างแห่งกาม วิบากแห่งกาม ความดับแห่งกามปฏิปทาที่ให้ถึง ความดับแห่งกาม.
ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่เรากล่าวนี้ว่า เธอทั้งหลายพึงทราบกาม เหตุเกิดแห่งกาม ความต่างแห่งกาม วิบากแห่งกามความดับ แห่งกาม ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งกามนั้น เราอาศัยอะไรกล่าว.
ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการนี้คือ รูปที่พึงรู้แจ้งด้วยตาอันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารักเป็นที่ตั้ง อาศัยแห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เสียงที่พึ งึ รู้แจ้งด้วยหู ... กลิ่น ที่พึง รู้แจ้ง ด้วยจมูก ... รสที่พึง รู้แจ้งด้วยลิ้น ... สัมผัสทางผิวที่พึงรู้แจ้งด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่ตั้งอาศัยแห่งความใคร่เป็นที่ตั้งแห่ง ความกำหนัด ภิกษุทั้งหลาย ก็แต่ว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ชื่อว่ากาม สิ่งเหล่านี้เรียกว่า กามคุณในอริยวินัย.
ความกำหนัดไปตามอำนาจความตริตรึก (สงฺกปฺปราค)นั่นแหละคือกามของคนเรา อารมณ์อันวิจิตรทั้งหลายในโลกไม่ชื่อว่ากาม ความกำหนัดไปตามอำนาจความตริตรึก นั่นแหละคือกามของคนเรา อารมณ์อันวิจิตร ทั้งหลายในโลก ย่อมตั้งอยู่ตามสภาพ ของมันเท่านั้น ผู้มีปัญญาทั้งหลายย่อมกำจัดความพอใจในอารมณ์อันวิจิตรเหล่านั้น.
ภิกษุทั้งหลาย เหตุเกิดแห่งกามเป็นอย่างไร คือผัสสะเป็นเหตุเกิดแห่งกามทั้งหลาย.
ภิกษุทั้งหลาย ก็ความต่างกันแห่งกามเป็นอย่างไรคือ กามในรูปเป็นอย่างหนึ่ง กามในเสียง เป็นอย่างหนึ่ง กามในกลิ่น เป็นอย่างหนึ่ง กามในรสเป็นอย่างหนึ่ง กามในโผฏฐัพพะเป็นอย่างหนึ่ง นี้เรียกว่า ความต่างกันแห่งกาม.
ภิกษุทั้งหลาย วิบากแห่ง กามเป็น อย่างไร คือ การที่บุคคลผู้ใคร่อยู่ซึ่งอารมณ์ใด ย่อมยังอัตภาพ ที่เกิดขึ้นจากความใคร่นั้นๆ ให้เกิดขึ้น เป็นส่วนบุญหรือเป็นส่วนมิใช่บุญนี้เรียกว่า วิบากแห่งกาม.
ภิกษุทั้งหลาย ความดับแห่งกามเป็นอย่างไร คือความดับแห่งกาม ย่อมมี เพราะความดับแห่ง ผัสสะอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้ คือ สัมมาทิฏฐิสัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ เป็นปฏิปทาให้ถึงความ ดับแห่งกาม.
หน้า 117
39
คุณของกามและโทษของกาม
-บาลี มู. ม. ๑๒/๑๗๙/๒๐๙.
เจ้าศากยะทรงพระนามว่า มหานาม ได้กราบทูลถามพระผู้มี-พระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เข้าใจข้อธรรม ที่พระผู้มี-พระภาคทรงแสดงมานานแล้วอย่างนี้ว่า โลภะ โทสะ โมหะ ต่างเป็นอุปกิเลสแห่งจิต ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น เหตุใด โลภธรรมก็ดี โทสธรรมก็ดีโมหธรรมก็ดี ยังครอบงำจิตของข้าพระองค์ไว้ได้เป็นบางครั้งบางคราว ข้าพระองค์เกิดความคิดเห็น อย่างนี้ว่า ธรรมชื่ออะไรเล่า ที่ข้าพระองค์ยังละไม่ได้เด็ดขาดในภายใน อันเป็นเหตุให้ โลภธรรมก็ดี โทสธรรมก็ดีโมหธรรมก็ดี ยังครอบงำจิตของข้าพระองค์ไว้ได้เป็นบางครั้งบางคราว.
มหานาม ธรรมนั้นนั่นแหละ (ราคะ โทสะ โมหะ) ที่ท่านยังละไม่ได้เด็ดขาดในภายใน อันเป็นเหตุ ให้โลภธรรมก็ดี โทสธรรมก็ดี โมหธรรมก็ดี ยังครอบงำจิตของท่านไว้ได้เป็นบางครั้งบางคราว.
มหานาม ถ้าธรรมนั้นเป็นอันท่านละได้เด็ดขาดในภายในแล้ว ท่านก็จะไม่อยู่ครองเรือน ไม่บริโภค กามแต่เพราะท่านละธรรม เช่นนั้น ยังไม่ได้เด็ดขาดในภายใน ฉะนั้นท่านจึงยังอยู่ครองเรือน จึงยังบริโภคกาม.
มหานาม ถ้าแม้ว่าอริยสาวกเล็งเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามเป็นจริงว่า กามให้ความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามนั้นยิ่งนัก ดังนี้ ถึงแม้อริยสาวกนั้นเว้น จากกาม เว้นจากอกศุลธรรม แต่ยัง ไม่บรรลุปีติและสุข หรือกุศลธรรมอื่น ที่สงบกว่านั้น เธอก็จะยังเป็นผู้ เวียนกลับมาในกามได้ แต่เมื่อใด อริยสาวกได้เล็งเห็นด้วยปัญญาโดยชอบ ตามความเป็นจริง อย่างนี้ว่า กามให้ความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามนั้นยิ่งนัก ดังนี้ และเธอก็เว้นจากกาม เว้นจาก อกุศลธรรม บรรลุปีติและสุข หรือกุศลธรรมอื่นที่สงบกว่านั้น เมื่อนั้น เธอย่อมเป็นผู้ไม่เวียนกลับมาในกามได้เป็นแท้.
มหานาม แม้เราเมื่อยังเป็นโพธิสัตว์ ยังไม่ได้ตรัสรู้ก่อนการตรัสรู้ ก็เล็งเห็นด้วยปัญญาโดยชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า กามให้ความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามนั้นยิ่งนัก ดังนี้ และเราก็เว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม แต่ยังไม่บรรลุปีติและสุข หรือกุศลธรรมอื่นที่สงบกว่า นั้น เราจึงปฏิญาณไม่ได้ว่า เราเป็นผู้ไม่เวียนมาในกาม แต่เมื่อใด เราเล็งเห็นด้วยปัญญาโดยชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า กามให้ความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามนั้นยิ่งนัก ดังนี้ และเราก็เว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม บรรลุปีติและสุข และกุศลอื่นที่สงบกว่านั้นเมื่อนั้น เราจึงปฏิญาณได้ว่า เราเป็นผู้ไม่เวียนมาในกาม.
มหานาม ก็อะไรเล่าเป็นคุณของกามทั้งหลายมหานาม กามคุณ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นอย่างไร คือ รูปที่รู้ได้ด้วยตา อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่ตั้งอาศัยแห่งความ ใคร่ เป็นที่ตั้งแห่ง ความกำหนัด เสียงที่รู้ได้ด้วยหู … กลิ่นที่รู้ได้ด้วยจมูก… รสที่รู้ได้ด้วยลิ้น … สัมผัสทางผิวที่รู้ได้ด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่ตั้งอาศัยแห่ง ความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด มหานามเหล่านี้แลกามคุณ ๕ ประการ ความสุข ความโสมนัส ใดอาศัยกามคุณ ๕ เหล่านี้เกิดขึ้น นี้เป็นคุณของกามทั้งหลาย.
มหานาม ก็อะไรเล่าเป็นโทษของกามทั้งหลายกุลบุตรในโลกนี้ เลี้ยงชีวิตด้วยความขยัน ในการประกอบศิลปะ คือ ด้วยการนับ คะแนนก็ดี ด้วยการคำนวณก็ดี ด้วยการนับจำนวนก็ดี ด้วยการไถก็ดี ด้วยการค้าขายก็ดี ด้วยการเลี้ยงโคก็ดี ด้วยการยิงธนูก็ดี ด้วยการเป็นราชบุรุษก็ดี ด้วยศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่งก็ดี ต้องตรากตรำกับความหนาวต้องตรากตรำกับความร้อน ต้องลำบากอยู่ ด้วยสัมผัสอันเกิดจากเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน หรือต้องตาย เพราะความหิว ความกระหาย มหานาม แม้นี้ก็เป็น โทษของกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่เห็นได้เอง ว่า มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็นตัวบังคับ เกิดเพราะเหตุแห่งกาม ทั้งหลายทั้งนั้น.
มหานาม ถ้าเมื่อกุลบุตรนัน้ ขยัน สืบต่อ พยายามอยู่อย่างนั้น โภคะเหล่านั้นก็ไม่สำเร็จผล เขาย่อม เศร้าโศกลำบาก ร่ำไรรำพัน ทุบอก คร่ำครวญ ถึงความหลงเลือนว่าความขยันของเราเป็นโมฆะหนอ ความพยายาม ของเราไม่มีผลหนอ มหานาม แม้นี้ก็เป็นโทษของกามทั้งหลายเป็นกองทุกข์ ที่เห็นได้เองว่า มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้ามีกามเป็นตัวบังคับ เกิดเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลาย ทั้งนั้น.
มหานาม ถ้าเมื่อกุลบุตรนั้น ขยัน สืบต่อ พยายามอยู่อย่างนั้น โภคะเหล่านั้นก็สำเร็จผล เขาก็ยัง เสวยทุกขโทมนัส เพราะการ คอยรักษาโภคะเหล่านั้นเป็นตัวบังคับว่าทำอย่างไร พระราชาทั้งหลาย ไม่พึงริบโภคะเหล่านั้นไปได้ พวกโจรไม่พึงปล้นไปได้ ไฟไม่พึงไหม้ น้ำไม่พึงพัดไปทายาทอัน ไม่เป็นที่รักไม่พึงนำไปได้ เมื่อกุลบุตรนั้นคอยรักษาคุ้มครองอยู่อย่างนี้
พระราชาทั้งหลายริบโภคะเหล่านั้นไปก็ดี โจรปล้นเอาไปก็ดี ไฟไหม้ก็ดี น้ำพัดไปก็ดี ทายาทอัน ไม่เป็นที่รักนำไปก็ดี เขาย่อมเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไรรำพันทุบอก คร่ำครวญ ถึงความหลงเลือนว่า สิ่งใดเคยเป็นของเราแม้สิ่งนั้นก็ไม่เป็นของเรา มหานาม แม้นี้ก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่เห็นได้เองว่า มีกามเป็นเหตุมีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็นตัวบังคับ เกิดเพราะเหตุแห่ง กามทั้งหลายทั้งนั้น.
มหานาม โทษอื่นยังมีอีก ที่มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็นตัวบังคับ เกิดเพราะเหตุแห่ง กามทั้งหลายนั่นเอง คือ ข้อที่พวกพระราชาก็วิวาทกันกับพวกพระราชา พวกกษัตริย์ก็วิวาทกัน กับพวกกษัตริย์ พวกพราหมณ์ก็วิวาทกันกับพวกพราหมณ์ พวกคหบดีก็วิวาทกันกับพวกคหบดี มารดาก็วิวาทกันกับบุตร บุตรก็วิวาทกันกับมารดา บิดา ก็วิวาทกันกับบุตร บุตรก็วิวาทกัน กับบิดา พี่ชายน้องชายก็วิวาทกันกับพี่ชายน้องชาย พี่ชายน้องชายก็วิวาทกันกับพี่สาวน้องสาว พี่สาวน้องสาวก็วิวาทกัน กับพี่ชายน้องชาย สหายก็วิวาทกันกับสหาย
เขาเหล่านั้นต่างถึงการทะเลาะ แก่งแย่งวิวาทกัน ทำร้ายซึ่งกันและกัน ด้วยฝ่ามือบ้าง ด้วยก้อนดิน บ้าง ด้วยท่อนไม้บ้าง ด้วยศาสตราบ้าง ถึงความตายไปบ้างได้รับทุกข์ปางตายบ้างอยู่ในที่นั้นๆ มหานาม แม้นี้ก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่เห็นได้เองว่า มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็น ต้นเค้า มีกามเป็นตัวบังคับ เกิดเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายทั้งนั้น.
มหานาม โทษอื่นยังมีอีก ที่มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็นตัวบังคับ เกิดเพราะเหตุแห่ง กามทั้งหลายนั่นเอง คือ คนทั้งหลายต่างถือดาบและโล่ห์ สอดแล่งธนูวิ่งเข้าสู่สงคราม ปะทะกันทั้ง ๒ ฝ่าย เมื่อลูกศรทั้งหลายถูกยิงไปบ้าง เมื่อหอกทั้งหลายถูกพุ่งไปบ้าง เมื่อดาบทั้งหลายถูกกวัด แกว่งอยู่บ้าง คนเหล่านั้นต่าง ก็ถูกลูกศรแทงบ้างถูกหอกแทง บ้าง ถูกดาบตัดศีรษะบ้าง ถึงความตายไปบ้างได้รับทุกข์ปาง ตายบ้าง อยู่ในที่นั้นๆ
มหานาม แม้นี้ก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่เห็นได้เองว่า มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้น เค้า มีกามเป็นตัวบังคับ เกิดเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายทั้งนั้น.
มหานาม โทษอื่นยังมีอีก ที่มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็นตัวบังคับ เกิดเพราะเหตุแห่ง กามทั้งหลายนั่นเอง คือ คนทั้งหลายต่างถือดาบและโล่ห์ สอดแล่งธนูกรูกันเข้าไปสู่เชิงกำแพง ที่ฉาบด้วยเปือกตมร้อน เมื่อลูกศรถูกยิงไปบ้าง เมื่อหอกถูกพุ่งไปบ้าง เมื่อดาบถูกกวัดแกว่งอยู่บ้าง คนเหล่านั้นต่างถูกลูกศรแทงบ้าง ถูกหอกแทงบ้างถูกราดด้วยโคมัยร้อนๆ บ้าง ถูกสับด้วยคราดบ้าง ถูกตัดศีรษะด้วยดาบบ้าง ถึงความตายไปบ้าง ได้รับทุกข์ปางตายบ้างอยู่ในที่นั้นๆ
มหานาม แม้นี้ก็เป็นโทษของกามทั้งหลายเป็นกองทุกข์ที่เห็นได้เองว่า มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็น ต้นเค้ามีกามเป็นตัวบังคับ เกิดเพราะเหตุ แห่งกามทั้งหลายทั้งนั้น.
มหานาม โทษอื่นยังมีอีก ที่มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็นตัวบังคับ เกิดเพราะเหตุแห่ง กามทั้งหลายนั่นเอง คือ คนทั้งหลายตัดช่องย่องเบาบ้าง ปล้นอย่างกวาดล้างบ้าง ปล้นในเรือน หลังเดียวบ้าง ดักปล้นในทาง เปลี่ยวบ้าง สมสู่ภรรยา คนอื่นบ้าง พระราชาทั้งหลายจับคนๆ นั้นได้แล้ว ให้ทำการลงโทษแบบต่างๆ คือ เฆี่ยนด้วยแส้บ้าง เฆี่ยนด้วยหวายบ้าง ทุบด้วยท่อนไม้บ้าง ตัดมือบ้างตัดเท้าบ้าง ตัดทั้งมือ และเท้าบ้าง ตัดหูบ้าง ตัดจมูกบ้าง ตัดทั้งหูและ จมูกบ้าง ลงโทษด้วยวิธี หม้อเคี่ยวน้ำส้มบ้าง ด้วยวิธีขอดสังข์บ้าง ด้วยวิธีปากราหูบ้าง ด้วยวิธีพุ่มเพลิงบ้าง ด้วยวิธีมือไฟบ้าง ด้วยวิธีนุ่งหนังช้างบ้าง ด้วยวิธีนุ่งเปลือกไม้บ้าง
ด้วยวิธียืนกวางบ้าง ด้วยวิธีกระชากเนื้อด้วยเบ็ดบ้าง ด้วยวิธีควักเนื้อทีละกหาปณะบ้าง ด้วยวิธีแปรงแสบ บ้าง ด้วยวิธีกางเวียนบ้าง ด้วยวิธีตั่งฟางบ้าง ราดด้วยน้ำมันร้อนๆ บ้างให้สุนัขกัดกินบ้าง เสียบด้วยหลาวทั้งเป็นๆ บ้าง ใช้ดาบ ตัดศีรษะบ้าง1
คนเหล่านั้นถึงความตายไปบ้าง ได้รับทุกข์ปางตายบ้างอยู่ในที่นั้นๆ
มหานาม แม้นี้ก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่เห็นได้เองว่า มีกามเป็นเหตุมีกามเป็น ต้นเค้า มีกามเป็นตัวบังคับ เกิดเพราะเหตุแห่ง กามทั้งหลายทั้งนั้น.
1. รายละเอียดวิธีการลงโทษนั้น สามารถดูเพิ่มเติมได้จากกฎหมายตรา ๓ ดวง หมวดพระไอยการกระบดศึก -ผู้รวบรวม
หน้า 124
40
สุขที่ควรกลัวและไม่ควรกลัว
-บาลี อุปริ. ม. ๑๔/๔๒๗/๖๕๙.
... ก็ข้อนั้น อันเรากล่าวแล้วว่า บุคคลควรรู้จักการวินิจฉัยในความสุข เมื่อรู้จักการวินิจฉัย ความสุข แล้ว ควรประกอบความสุขชนิด ที่เป็นภายใน ข้อนั้นเรากล่าวเพราะอาศัยเหตุผลอะไรเล่า
ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ อย่างเหล่านี้ ๕ อย่างเป็นอย่างไร คือ รูป ที่เห็นด้วยตา เสียง ที่ฟังด้วยหู กลิ่น ที่ดมด้วยจมูก รส ที่ลิ้มด้วยลิ้น และโผฏฐัพพะที่สัมผัสด้วยกาย (แต่ละอย่าง) เป็นสิ่งที่น่า ปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ เป็นสิ่งที่ยวนตายวนใจให้รัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยซึ่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความ กำหนัดย้อมใจภิกษุทั้งหลาย สุข โสมนัสอันใดอาศัยกามคุณ ๕ เหล่านี้เกิดขึ้น สุข โสมนัสนั้น เราเรียกว่ากามสุข อันเป็นสุขของ ปุถุชน เป็นสุขทางเมถุน ไม่ใช่สุขอันประเสริฐ เรากล่าวว่าสุขนั้น บุคคลไม่ควรเสพ ไม่ควรเจริญ ไม่ควรทำให้มากควรกลัว.
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าถึงซึ่งปฐมฌาน ... ทุติยฌาน ... ตติยฌาน ... จตุตถฌาน ...แล้วแลอยู่ นี้เราเรียกว่า สุขอาศัยเนกขัมมะ เป็นสุขเกิดแต่ ความสงัดเงียบ สุขเกิดแต่ความเข้าไป สงบรำงับ สุขเกิดแต่ความรู้พร้อม เรากล่าวว่า สุขนั้น บุคคลควรเสพให้ทั่วถึงควรทำให้เจริญ ควรทำให้มาก ไม่ควรกลัว.
คำใดที่เรากล่าวแล้วว่า บุคคลควรรู้จักการวินิจฉัยในความสุข เมื่อรู้จักการวินิจฉัยความสุขแล้ว ควรประกอบความสุขชนิด ที่เป็นภายในนั้น คำนั้น เรากล่าวแล้ว เพราะอาศัยเหตุผลนี้.
หน้า 126
41
บ่วงแห่งมาร
- บาลี อุปริ. ม. ๑๔/๗๔/๘๑.
ภิกษุทั้งหลาย กามทั้งหลาย เป็นของไม่เที่ยง เป็นของว่างเปล่า เป็นของเท็จ มีความเลือนหายไป เป็นธรรมดาลักษณะของกามนี้ เป็นความล่อลวง เป็นที่พร่ำบ่นหาของคนพาล กามและกามสัญญา ทั้งที่มีในภพนี้ และทั้งที่มีในภพหน้า ทั้ง ๒ อย่างนี้ เป็นบ่วงแห่งมาร (มารเธยฺยํ) เป็นแดนแห่งมาร (มารสฺเสส วิสโย) เป็นเหยื่อแห่งมาร (มารสฺเสสนิวาโป) เป็นที่เที่ยวไปของมาร (มารสฺเสส โคจโร) บาปอกุศลทางใจเหล่านี้ คือ อภิชฌาบ้าง พยาบาทบ้าง สารัมภะ(การแข่งดี) บ้าง ย่อมเป็นไปในบ่วงแห่งมาร นั้น อนึ่งอกุศลธรรมเหล่านั้น ย่อมเกิดเพื่อเป็นอันตรายแก่อริยสาวกผู้ตามศึกษาอยู่ในธรรมวินัยนี้ได้… .
หน้า 127
42
การรู้สึกตัวในเรื่องกามคุณ ๕
-บาลี อุปริ. ม. ๑๔/๒๔๐/๓๔๙.
อานนท์ กามคุณนี้มี ๕ อย่างแล ๕ อย่างเป็นอย่างไรคือ รูปที่เห็นด้วยตา อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจมีลักษณะน่ารัก เป็นที่ตั้งอาศัยแห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เสียงที่ได้ยินด้วยหู … กลิ่นที่ดมด้วยจมูก… รสที่ลิ้มด้วยลิ้น … สัมผัสทางผิวที่รู้ได้ด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่ตั้งอาศัยแห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่ง ความกำหนัด
อานนท์เหล่านี้แล กามคุณ ๕ อย่าง ภิกษุพึงพิจารณาจิตของตนเนืองๆ ว่า มีอยู่หรือไม่หนอ ที่ความฟุ้งซ่านแห่งใจเกิดขึ้น แก่เรา เพราะกามคุณ ๕ นี้ อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเพราะอายตนะใด อายตนะหนึ่ง เมื่อภิกษุพิจารณาอยู่ รู้ชัดอย่างนี้ว่า มีอยู่แก่เราแล ที่ความฟุ้งซ่านแห่งใจเกิดขึ้น เพราะกามคุณ ๕ นี้ อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเพราะอายตนะใดอายตนะหนึ่ง
เมื่อเป็นเช่นนี้ ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่าฉันทราคะในกามคุณ ๕ เรายังละไม่ได้ ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุนั้นชื่อว่าเป็นผู้รู้สึกตัว ต่อฉันทราคะในกามคุณ ๕ ที่ตนยังละไม่ได้.
แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้ชัดอย่างนี้ว่า ไม่มีอยู่แก่เราเลย ที่ความฟุ้งซ่านแห่งใจเกิดขึ้นเพราะกามคุณ ๕ นี้ อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเพราะอายตนะใดอายตนะหนึ่ง เมื่อเป็นเช่นนี้ ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัด อย่างนี้ว่า ฉันทราคะ ในกามคุณ ๕เราละได้แล้ว ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุนั้นชื่อว่าเป็นผู้รู้สึกตัวต่อ ฉันทราคะในกามคุณ ๕ ที่ตนละได้แล้ว.
หน้า 129
43
เหตุเกิดของวิตกที่เป็นอกุศล
-บาลี นิทาน. สํ. ๑๖/๑๘๑/๓๕๕.
ภิกษุทั้งหลาย กามวิตกย่อมเกิดอย่างมีเหตุ ไม่เกิดอย่างไม่มีเหตุ พยาบาทวิตกย่อมเกิดอย่างมีเหตุ ไม่เกิดอย่างไม่มีเหตุ วิหิงสาวิตกย่อมเกิดอย่างมีเหตุ ไม่เกิดอย่างไม่มีเหตุ.
ภิกษุทั้งหลาย ก็กามวิตกย่อมเกิดอย่างมีเหตุ ไม่เกิดอย่างไม่มีเหตุ พยาบาทวิตกย่อมเกิดอย่างมีเหตุ ไม่เกิดอย่างไม่มีเหตุ วิหิงสาวิตกย่อมเกิดอย่างมีเหตุ ไม่เกิดอย่างไม่มีเหตุ เป็นอย่างไร.
ภิกษุทั้งหลาย
เพราะอาศัยกามธาตุ
จึงเกิดความหมายรู้ในกาม (กามธาตุํ ภิกฺขเว ปฏิจฺจ อุปฺปชฺชติ กามสญฺญา)1
เพราะอาศัยความหมายรู้ในกาม
จึงเกิดความดำริในกาม (กามสญฺญํ ปฏิจฺจ อุปฺปชฺชติ กามสงฺกปฺโป)
เพราะอาศัยความดำริในกาม
จึงเกิดความพอใจในกาม (กามสงฺกปฺปํ ปฏิจฺจ อุปฺปชฺชติ กามจฺฉนฺโท)
เพราะอาศัยความพอใจในกาม
จึงเกิดความเร่าร้อนเพราะกาม (กามจฺฉนฺทํ ปฏิจฺจ อุปฺปชฺชติ กามปริฬาโห)
เพราะอาศัยความเร่าร้อนในกาม
จึงเกิดการแสวงหากาม (กามปริฬาหํ ปฏิจฺจ อุปฺปชฺชติ กามปริเยสนา).
1. ได้ปรับสำนวนแปลให้เป็นแบบปฏิจจฯ ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษของคำ พระศาสดา อันเป็นสุคตวินโย. -ผู้รวบรวม
ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เมื่อแสวงหากามย่อมปฏิบัติผิดโดยฐานะ ๓ คือ ทางกาย ทางวาจา และทางใจ.
ภิกษุทั้งหลาย
เพราะอาศัยพยาบาทธาตุ จึงเกิดความหมายรู้ในพยาบาท
เพราะอาศัย ความหมายรู้ ในพยาบาท จงึเกิดความดำริในพยาบาท
เพราะอาศัย ความดำริในพยาบาทจึงเกิดความพอใจ ในพยาบาท
เพราะอาศัยความพอใจในพยาบาท จึงเกิดความเร่าร้อนเพราะพยาบาท
เพราะ เพราะอาศัยความเร่าร้อน เพราะพยาบาท จึงเกิดการแสวงหาพยาบาท
ภิกษุท้้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เมื่อแสวงหาพยาบาท ย่อมปฏิบัติผิดโดยฐานะ ๓ คือ ทางกาย ทางวาจาและทางใจ.
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยวิหิงสาธาตุ จึงเกิดความหมายรู้ในวิหิงสา
เพราะอาศัยความหมายรู้ ในวิหิงสา จึงเกิดความดำริในวิหิงสา
เพราะอาศัยความดำริในวิหิงสา จึงเกิดความพอใจในวิหิงสา
เพราะอาศัยความ พอใจในวิหิงสา จึงเกิดความเร่าร้อนเพราะวิหิงสา
เพราะอาศัยความเร่าร้อนเพราะ วิหิงสา จึงเกิดการแสวงหาวิหิงสา
ภิกษุทั้งหลายปุถุชน ผู้ไม่ได้สดับ เมื่อแสวงหาวิหิงสา ย่อมปฏิบัติผิดโดยฐานะ ๓ คือ ทางกาย ทางวาจา และทางใจ.
ภิกษุทั้งหลาย บุรุษวางคบหญ้าที่ไฟติดแล้วในป่าหญ้าแห้ง ถ้าหากเขาไม่รีบดับด้วยมือและเท้าไซร้ ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ สัตว์มีชีวิต ทั้งหลายบรรดาที่อาศัยหญ้าและไม้อยู่พึงถึงความพินาศฉิบหาย แม้ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์คนใดคนหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่รีบละไม่รีบบรรเทา ไม่รีบทำ ให้สิ้นสุด ไม่รีบทำให้ไม่มีซึ่งอกุศล-สัญญาที่ก่อกวนอันบังเกิดขึ้นแล้ว สมณะหรือพราหมณ์นั้น ย่อมอยู่เป็นทุกข์ มีความอึดอัด คับแค้น เร่าร้อนในปัจจุบันเบื้องหน้าแต่มรณะ เพราะกายแตก พึงหวังทุคติได้.
ภิกษุทั้งหลาย เนกขัมมวิตกย่อมเกิดอย่างมีเหตุไม่เกิดอย่างไม่มีเหตุ อัพยาบาทวิตกย่อมเกิดอย่างมี เหตุไม่เกิดอย่างไม่มีเหตุ อวิหิงสาวิตกย่อมเกิดอย่างมีเหตุไม่เกิดอย่างไม่มีเหตุ.
ภิกษุทั้งหลาย ก็เนกขัมมวิตกย่อมเกิดอย่างมีเหตุไม่เกิดอย่างไม่มีเหตุ อัพยาบาทวิตกย่อมเกิดอย่าง มีเหตุไม่เกิดอย่างไม่มีเหตุ อวิหิงสาวิตกย่อมเกิดอย่างมีเหตุไม่เกิดอย่างไม่มีเหตุ เป็นอย่างไร.
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยเนกขัมมธาตุ จึงเกิดความหมายรู้ในเนกขัมมะ (เนกฺขมฺมธาตุํ ภิกฺขเว ปฏิจฺจ อุปฺปชฺชติเนกฺขมฺมสญฺญา)
เพราะอาศัยความหมายรู้ในเนกขัมมะ จึงเกิดความดำริในเนกขัมมะ (เนกฺขมฺมสญฺญํ ปฏิจฺจ อุปฺปชฺชติ เนกฺขมฺมสงฺกปฺโป)
เพราะอาศัยความดำริในเนกขัมมะ จึงเกิดความพอใจในเนกขัมมะ (เนกฺขมฺมสงฺกปฺปํ ปฏิจฺจ อุปฺปชฺชติ เนกฺขมฺมจฺฉนฺโท)
เพราะอาศัยความพอใจในเนกขัมมะ จึงเกิดความเร่าร้อนเพราะเนกขัมมะ (เนกฺขมฺมจฺฉนฺทํ ปฏิจฺจ อุปฺปชฺชติ เนกฺขมฺม-ปริฬาโห)
เพราะอาศัยความเร่าร้อนเพราะเนกขัมมะ จึงเกิดการแสวงหาเนกขัมมะ (เนกฺขมฺมปริฬาหํ ปฏิจฺจ อุปฺปชฺชติ เนกฺขมฺม-ปริเยสนา)
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ เมื่อแสวงหาเนกขัมมะ ย่อมปฏิบัติชอบโดยฐานะ ๓ คือ ทางกายทางวาจา และทางใจ.
ภิกษุทั้งหลาย
เพราะอาศัยอัพยาบาทธาตุ
จึงเกิดความหมายรู้ในอัพยาบาท
เพราะอาศัยความหมายรู้ในอัพยาบาท
จึงเกิดความ ดำริในอัพยาบาท
เพราะอาศัยความดำริในอัพยาบาท
จึงเกิดความพอใจในอัพยาบาท
เพราะอาศัยความพอใจในอัพยาบาท
จึงเกิดความเร่าร้อนเพราะอัพยาบาท
เพราะเพราะอาศัยความเร่าร้อน เพราะอัพยาบาท
จึงเกิดการแสวงหาอัพยาบาท
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ เมื่อแสวงหาอัพยาบาท ย่อมปฏิบัติชอบโดยฐานะ๓ คือ ทางกาย ทางวาจา และทางใจ.
ภิกษุทั้งหลาย
เพราะอาศัยอวิหิงสาธาตุ
จึงเกิดความหมายรู้ในอวิหิงสา
เพราะอาศัยความหมายรู้ในอวิหิงสา
จึงเกิดความดำริ ในอวิหิงสา
เพราะอาศัยความดำริในอวิหิงสา
จึงเกิดความพอใจในอวิหิงสา
เพราะอาศัยความพอใจในอวิหิงสา
จึงเกิดความ เร่าร้อนเพราะอวิหิงสา
เพราะอาศัยความเร่าร้อนเพราะอวิหิงสา
จึงเกิดการแสวงหาอวิหิงสาภิกษุทั้งหลาย
อริยสาวกผู้ได้สดับ เมื่อแสวงหาอวิหิงสา
ย่อมปฏิบัติชอบโดยฐานะ ๓ คือ ทางกาย ทางวาจา และทางใจ.
ภิกษุทั้งหลาย บุรุษพึงวางคบหญ้าที่ไฟติดแล้วในป่าหญ้าแห้ง เขาจึงรีบดับคบนั้นเสียด้วยมือ และเท้า ก็เมื่อเป็นเช่นนี้สัตว์มีชีวิต ทั้งหลายบรรดาที่อาศัยหญ้าและไม้อยู่ไม่พึงถึง ความพินาศ ฉิบหาย แม้ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์คนใดคนหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกัน รีบละรีบ บรรเทา รีบทำให้หมด รีบทำให้ไม่มีซึ่งอกุศลสัญญาที่ก่อกวนอันบังเกิดขึ้นแล้ว เขาย่อมอยู่เป็นสุข ไม่มีความอึดอัด ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความเร่าร้อนในปัจจุบัน เบื้องหน้าแต่การตาย เพราะการทำลายแห่งกาย พึงหวังสุคติได้.
(ดูเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการละ หรือวิธีการดับอกุศลวิตกได้ที่หน้า 465 - 468 ของหนังสือเล่มนี้. -ผู้รวบรวม)
หน้า 134
44
เหตุเกิดของกามฉันทะ ในนิวรณ์ ๕
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๑๒๐/๔๓๘.
ภิกษุทั้งหลาย กามฉันทะที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้นและที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญ ไพบูลย์ยิ่งเพราะกระทำในใจมาก ถึงธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งกามราคะ.
ภิกษุทั้งหลาย พยาบาทที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้นและที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญ ไพบูลย์ยิ่งเพราะกระทำในใจมาก ถึงธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งพยาบาท.
ภิกษุทั้งหลาย ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้นและที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญ ไพบูลย์ยิ่งเพราะกระทำในใจมาก ถึงธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งถีนมิทธะ.
ภิกษุทั้งหลาย อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้นและที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญ ไพบูลย์ยิ่ง เพราะกระทำในใจ มากถึงธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุทธัจจกุกกุจจะ.
ภิกษุทั้งหลาย วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญ ไพบูลย์ยิ่ง เพราะกระทำในใจมาก ถึงธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งวิจิกิจฉา.
(ในสูตรอื่นตรัสว่าเพราะกระทำในใจโดยไม่แยบคาย จึง เป็นเหตุให้นิวรณ์ทั้ง ๕ ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความไพบูลย์ยิ่งขึ้น -บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๑๓๒/๔๘๒. -ผู้รวบรวม)
หน้า 135
45
อาหารของกามฉันทะ ในนิวรณ์ ๕
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๙๔/๓๕๗.
ภิกษุทั้งหลาย กายนี้มีอาหารเป็นที่ตั้ง ดำรงอยู่ได้เพราะอาศัยอาหาร ไม่มีอาหารดำรงอยู่ไม่ได้ แม้ฉันใดนิวรณ์ ๕ ก็มีอาหารเป็นที่ตั้ง ดำรงอยู่ได้เพราะอาศัยอาหารไม่มีอาหารดำรงอยู่ไม่ได้ ฉันนั้นเหมือนกัน.
ภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหารให้กามฉันทะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญ ไพบูลย์ยิ่งขึ้นภิกษุทั้งหลาย ศุภนิมิตมีอยู่ การกระทำให้มากซึ่งอโยนิโส-มนสิการในศุภนิมิตนั้น นี้เป็นอาหารให้กามฉันทะที่ยังไม่เกิดเกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้น แล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น.
ภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหารให้พยาบาทที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญ ไพบูลย์ยิ่งขึ้นภิกษุทั้งหลาย ปฏิฆนิมิตมีอยู่ การกระทำให้มากซึ่งอโยนิโส-มนสิการในปฏิฆนิมิตนั้น นี้เป็นอาหารให้พยาบาทที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น.
ภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหารให้ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นหรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญ ไพบูลย์ยิ่งขึ้นภิกษุทั้งหลาย ความไม่ยินดี ความเกียจคร้าน ความบิดขี้เกียจ ความเมาอาหาร ความที่ใจหดหู่มีอยู่ การกระทำ ให้มากซึ่งอโยนิโสมนสิการ ในสิ่งเหล่านั้น นี้เป็นอาหารให้ถีนมิทธะ ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น.
ภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหารให้อุทธัจจ-กุกกุจจะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้ เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น ภิกษุทั้งหลาย ความไม่สงบใจมีอยู่ การกระทำให้มากซึ่งอโยนิโสมนสิการ ในความไม่สงบใจนั้น นี้เป็นอาหารให้อุทธัจจ กุกกุจจะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญ ไพบูลย์ยิ่งขึ้น.
ภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหารให้วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญ ไพบูลย์ยิ่งขึ้นภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งวิจิกิจฉามีอยู่ การกระทำให้มาก ซึ่งอโยนิโสมนสิการในธรรมเหล่านั้น นี้เป็นอาหารให้วิจิกิจฉา ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นหรือที่เกิดขึ้นแล้ว ให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น.
ภิกษุทั้งหลาย กายนี้มีอาหารเป็นที่ตั้ง ดำรงอยู่ได้เพราะอาศัยอาหารไม่มีอาหารดำรงอยู่ไม่ได้ แม้ฉันใด นิวรณ์ ๕เหล่านี้ ก็มีอาหารเป็นที่ตั้ง ดำรงอยู่ได้เพราะอาศัยอาหารไม่มีอาหาร ดำรงอยู่ไม่ได้ ฉันนั้นเหมือนกัน.
หน้า 137
46
นิวรณ์ ๕ คือ กองอกุศล สติปัฏฐาน ๔ คือ กองกุศล
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๑๙๖/๖๙๖.
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อจะกล่าวว่ากองอกุศล จะกล่าวให้ถูก ต้องกล่าวถึงนิวรณ์ ๕ เพราะว่ากองอกุศล ทั้งสิ้นนี้ได้แก่นิวรณ์ ๕ นิวรณ์ ๕ เป็นอย่างไร คือ กามฉันทนิวรณ์พยาบาทนิวรณ์ ถีนมิทธนิวรณ์ อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์วิจิกิจฉานิวรณ์.
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อจะกล่าวว่ากองอกุศล จะกล่าวให้ถูก ต้องกล่าวถึงนิวรณ์ ๕ เหล่านี้ เพราะกองอกุศลทั้งสิ้นนี้ได้แก่นิวรณ์ ๕.
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อจะกล่าวว่ากองกุศล จะกล่าวให้ถูก ต้องกล่าวถึงสติปัฏฐาน ๔ เพราะว่ากอง กุศลทั้งสิ้นนี้ได้แก่สติปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐาน ๔ เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียรมีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสีย
ย่อมพิจารณา เห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ...
ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ...
ย่อมพิจารณาเห็นธรรม ในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย.
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อจะกล่าวว่ากองกุศล จะกล่าวให้ถูก ต้องกล่าวถึงสติปัฏฐาน ๔ เพราะว่ากองกุศล ทั้งสิ้นนี้ได้แก่สติปัฏฐาน.
หน้า 139
47
นิวรณ์ ๕ ทำปัญญาให้ถอยกำลัง
-บาลี ปญฺจก. อํ. ๒๒/๗๒/๕๑.
ภิกษุทั้งหลาย นิวรณ์เครื่องกางกั้น ๕ ประการนี้ครอบงำจิตแล้ว ทำปัญญาให้ถอยกำลัง ๕ ประการเป็นอย่างไร.
(1) นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ กามฉันทะ
(2) นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ พยาบาท
(3) นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ ถีนมิทธะ
(4) นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ อุทธัจจกุกกุจจะ
(5) นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ วิจิกิจฉา
ภิกษุทั้งหลาย นิวรณ์เครื่องกางกั้น ๕ ประการนี้แลครอบงำจิตแล้ว ทำปัญญาให้ถอยกำลัง.
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นไม่ละนิวรณ์เครื่องกางกั้น๕ ประการนี้ อันครอบงำจิต ทำปัญญาให้ถอยกำลังแล้วจักรู้จักประโยชน์ของตน ประโยชน์ของผู้อื่น ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย หรือจักทำให้แจ้งซึ่งญาณทัสสนะอันวิเศษ สามารถกระทำความเป็นอริยะยิ่งกว่าธรรม ของมนุษย์ด้วยปัญญาที่ไม่มีกำลังถอยกำลัง ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้
เปรียบเหมือนแม่น้ำที่ไหลลงจากภูเขา ไปสู่ที่ไกล มีกระแสเชี่ยว พัดสิ่งที่ จะพัดไปได้ บุรุษพึงเปิดปากเหมืองแห่งแม่น้ำนั้น ทั้งสองข้าง เมื่อเป็นเช่นนี้ กระแสน้ำในท่ามกลางแห่ง แม่น้ำนั้น ก็ซัดส่าย ไหลผิดทาง ไม่พึงไหลไปสู่ที่ไกล ไม่มีกระแสเชี่ยวไม่พัดสิ่งที่พอจะพัดไปได้ ฉันใด
ภิกษุนั้นก็ฉันนั้น เหมือนกันแลหนอ ไม่ละนิวรณ์ เครื่องกางกั้น ๕ ประการนี้ อันครอบงำจิตทำปัญญา ให้ถอยกำลังแล้ว จักรู้ประโยชน์ตนประโยชน์ ผู้อื่น ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย หรือจักทำให้แจ้งซึ่งญาณ ทัสสนะอันวิเศษ สามารถกระทำความเป็นอริยะยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ด้วยปัญญาอันไม่มีกำลังถอย กำลัง ข้อนั้นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นละนิวรณ์เครื่องกางกั้น ๕ประการนี้ อันครอบงำจิต ทำปัญญาให้ถอยกำลัง แล้ว จักรู้ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย หรือจักทำให้แจ้งซึ่งญาณทัสสน อันวิเศษ สามารถกระทำความเป็นอริยะ ยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ด้วยปัญญาอันมีกำลัง ข้อนี้เป็นฐานะ ที่จะมีได้
เปรียบเหมือนแม่น้ำที่ไหลลงจากภูเขาไปสู่ที่ไกล พัดสิ่งที่พอจะพัด ไปได้ บุรุษพึงปิดปากเหมือง แห่งแม่น้ำนั้นทั้งสองข้าง เมื่อเป็นเช่นนี้ กระแสน้ำ ในท่ามกลางแม่น้ำนั้น ก็จักไม่ซัดส่าย ไม่ไหล ผิดทาง พึงไหลไปสู่ ที่ไกลได้ มีกระแสเชี่ยว และพัดในสิ่งที่พอพัดไปได้ฉันใด
ภิกษุนั้น ก็ฉันนั้น เหมือนกันแลหนอ ละนิวรณ์ เครื่องกางกั้น๕ ประการนี้ อันครอบงำจิตทำปัญญา ให้ถอยกำลัง แล้วจักรู้ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น ประโยชน์ทั้งสองฝ่ายหรือ จักทำให้แจ้งซึ่งญาณ ทัสสนะ อันวิเศษ สามารถกระทำความเป็นอริยะยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ด้วยปัญญาอันมีกำลังข้อนี้ เป็นฐานะ ที่จะมีได้.
หน้า 142
48
นิวรณ์ ๕ ที่ตั้งแห่งความดับปัญญา โพชฌงค์ ๗ ที่ตั้งแห่งความเจริญปัญญา
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๑๓๖/๕๐๑.
ภิกษุทั้งหลาย นิวรณ์ ๕ เหล่านี้ กระทำให้มืดกระทำไม่ให้มีจักษุ กระทำไม่ให้มีญาณ เป็นที่ตั้งแห่ง ความดับปัญญา เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน นิวรณ์ ๕ เป็นอย่างไร คือกามฉันทนิวรณ์ กระทำให้มืด กระทำไม่ให้มีจักษุกระทำไม่ให้มีญาณ เป็นที่ตั้งแห่งความดับ ปัญญา เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน
พยาบาท-นิวรณ์ ... ถีนมิทธ-นิวรณ์ ... อุทธัจจกุกกุจจ-นิวรณ์ ...วิจิกิจฉา-นิวรณ์ กระทำให้มืด กระทำไม่ให้มีจักษุ กระทำไม่ให้มีญาณ เป็นที่ตั้งแห่งความดับปัญญา เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความ คับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน.
ภิกษุทั้งหลาย นิวรณ์ ๕ เหล่านี้แล กระทำให้มืดกระทำไม่ให้มีจักษุ กระทำไม่ให้มีญาณ เป็นที่ตั้งแห่งความดับปัญญา เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน.
ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ กระทำให้มีจักษุกระทำให้มีญาณ เป็นที่ตั้งแห่งความเจริญ ปัญญา ไม่เป็นไปในฝักฝ่าย แห่งความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน โพชฌงค์ ๗ เป็นอย่างไร
คือสติสัมโพชฌงค์ กระทำให้มีจักษุ กระทำให้มีญาณเป็นที่ตั้ง แห่งความเจริญปัญญา ไม่เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์... วิริยสัมโพชฌงค์… ปีติสัมโพชฌงค์... ปัสสัทธิ-สัมโพชฌงค์... สมาธิสัมโพชฌงค์... อุเบกขาสัมโพชฌงค์ กระทำให้มีจักษุ กระทำให้มีญาณ เป็นที่ตั้งแห่งความเจริญปัญญา ไม่เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน.
ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้แล กระทำให้มีจักษุ กระทำให้มีญาณ เป็นที่ตั้งแห่งความเจริญ ปัญญาไม่เป็นไปในฝักฝ่าย แห่งความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน.
หน้า 144
49
เหตุปัจจัยเพื่อ ความไม่รู้ ความไม่เห็น และเหตุปัจจัยเพื่อ ความรู้ ความเห็น
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๑๗๕/๖๒๘.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ปุรณกัสสปกล่าวอย่างนี้ว่า เหตุไม่มีปัจจัยไม่มี เพื่อความไม่รู้ เพื่อความไม่เห็น ความไม่รู้ ความไม่เห็น ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย เหตุไม่มี ปัจจัยไม่มี เพื่อความรู้ เพื่อความเห็น ความรู้ความเห็น ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ดังนี้ ในเรื่องนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้อย่างไร.
ราชกุมาร เหตุมี ปัจจัยมี เพื่อความไม่รู้ เพื่อความไม่เห็น ความไม่รู้ ความไม่เห็น มีเหตุ มีปัจจัย เหตุมี ปัจจัยมีเพื่อความรู้ เพื่อความเห็น ความรู้ ความเห็น มีเหตุ มีปัจจัย.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เหตุเป็นอย่างไร ปัจจัยเป็นอย่างไรเพื่อความไม่รู้ เพื่อความไม่เห็น ความไม่รู้ ความไม่เห็น มีเหตุ มีปัจจัยอย่างไร.
ราชกุมาร สมัยใด บุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วยกามราคะอันกามราคะเหนี่ยวรั้งไป และย่อมไม่รู้ ไม่เห็น อุบายเป็นเครื่องสลัดออก ซึ่งกามราคะที่บังเกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริงแม้ข้อนี้แล ก็เป็นเหตุ เป็นปัจจัย เพื่อความไม่รู้ เพื่อความไม่เห็นความไม่รู้ ความไม่เห็น มีเหตุ มีปัจจัย แม้ด้วยประการฉะนี้.
ราชกุมาร อีกประการหนึ่ง สมัยใด บุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วยพยาบาท ... .
ราชกุมาร อีกประการหนึ่ง สมัยใด บุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วยถีนมิทธะ ... .
ราชกุมาร อีกประการหนึ่ง สมัยใด บุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วยอุทธัจจกุกกุจจะ ... .
ราชกุมาร อีกประการหนึ่ง สมัยใด บุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วยวิจิกิจฉา อันวิจิกิจฉาเหนี่ยวรั้งไป และย่อมไม่รู้ไม่เห็นอุบายเป็นเครื่อง สลัดออกซึ่งวิจิกิจฉาที่บังเกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง แม้ข้อนี้แล ก็เป็นเหตุ เป็นปัจจัย เพื่อความไม่รู้ เพื่อความไม่เห็น ความไม่รู้ ความไม่เห็น มีเหตุมีปัจจัย ด้วยประการฉะนี้.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมปริยายนี้ชื่ออะไร.
ราชกุมาร ธรรมเหล่านี้ชื่อนิวรณ์.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นิวรณ์เป็นอย่างนี้ ข้าแต่พระสุคตนิวรณ์เป็นอย่างนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลถูกนิวรณ์แม้อย่างเดียว ครอบงำแล้ว ไม่พึงรู้ ไม่พึงเห็นตามความเป็นจริงได้ จะกล่าวไปไยถึงการถูกนิวรณ์ทั้ง ๕ ครอบงำเล่า.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เหตุเป็นอย่างไร ปัจจัยเป็นอย่างไรเพื่อความรู้ เพื่อความเห็น ความรู้ ความเห็น มีเหตุ มีปัจจัยอย่างไร.
ราชกุมาร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติ-สัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ เธอเจริญสติสัมโพชฌงค์อยู่ ย่อมรู้ ย่อมเห็นตามความเป็นจริงด้วยจิตนั้น แม้ข้อนี้แล ก็เป็นเหตุ เป็นปัจจัย เพื่อความรู้ เพื่อความเห็น ความรู้ ความเห็น มีเหตุมีปัจจัย ด้วยประการฉะนี้.
ราชกุมาร อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์... วิริยสัมโพชฌงค์... ปีติสัมโพชฌงค์...ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์... สมาธิสัมโพชฌงค์...
ภิกษุย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธน้อมไปในการสละ เธอเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อยู่ ย่อมรู้ย่อมเห็นตามความเป็นจริงด้วยจิตนั้น แม้ข้อนี้แล ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัย เพื่อความรู้ เพื่อความเห็น ความรู้ ความเห็นมีเหตุ มีปัจจัย ด้วยประการนี้.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมปริยายนี้ชื่ออะไร.
ราชกุมาร ธรรมเหล่านี้ชื่อโพชฌงค์.
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค โพชฌงค์เป็นอย่างนี้ ข้าแต่พระสุคตโพชฌงค์เป็นอย่างนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลผู้ประกอบด้วย โพชฌงค์แม้อย่างเดียว พึงรู้ พึงเห็นตามความเป็นจริงได้ จะกล่าวไปไยถึงการที่ประกอบด้วย โพชฌงค์ทั้ง ๗ เล่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อข้าพระองค์ขึ้นภูเขาคิชฌกูฏ แม้ความเหน็ดเหนื่อยกาย ความเหน็ดเหนื่อยใจของข้าพระองค์ ก็สงบระงับแล้ว และธรรมอันข้าพระองค์ก็ได้บรรลุแล้ว.
หน้า 148
50
สิ่งที่ทำให้จิตหม่นหมอง
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๑๓๐/๔๖๗.
ภิกษุทั้งหลาย อุปกิเลส (สิ่งทำให้หม่นหมอง) ของทอง ๕ อย่างเหล่านี้ เป็นเครื่องทำทอง ไม่ให้อ่อน ไม่ให้ควรแก่การงาน ไม่ให้มีสีสุก ให้เปราะ และให้ใช้การไม่ได้ดีอุปกิเลส ๕ อย่างเป็นอย่างไร.
ภิกษุทั้งหลาย เหล็กเป็นอุปกิเลสของทอง ทำทองไม่ให้อ่อน ไม่ให้ควรแก่การงาน ไม่ให้มีสีสุก ให้เปราะและให้ใช้การไม่ได้ดี โลหะ … ดีบุก … ตะกั่ว … เงินเป็นอุปกิเลสของทอง ทำทองไม่ให้อ่อน ไม่ให้ควรแก่การงานไม่ให้มีสีสุก ให้เปราะ และให้ใช้การไม่ได้ดี.
ภิกษุทั้งหลาย อุปกิเลสของทอง ๕ อย่างนี้เหล่านี้แลเป็นเครื่องทำทองไม่ให้อ่อน ไม่ให้ควร แก่การงาน ไม่ให้มีสีสุก ให้เปราะ และให้ใช้การไม่ได้ดี.
ภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นก็เหมือนกัน อุปกิเลสของจิต๕ อย่างเหล่านี้ เป็นเครื่องทำจิตไม่ให้อ่อน ไม่ให้ควรแก่การงาน ไม่ให้ผุดผ่อง ให้เสียไป และไม่ให้ตั้งมั่นด้วยดีเพื่อความสิ้นอาสวะ อุปกิเลส ๕ อย่างเป็นอย่างไร.
ภิกษุทั้งหลาย กามฉันทะ เป็นอุปกิเลสของจิตเป็นเครื่องทำจิตไม่ให้่อ่อน ไม่ให้ควรแก่การงาน ไม่ให้ผุดผ่อง ให้เสียไป และไม่ให้ตั้งมั่นด้วยดีเพื่อความสิ้นอาสวะพยาบาท … ถีนมิทธะ … อุทธัจจกุกกุจจะ … วิจิกิจฉาเป็นอุปกิเลสแห่งจิต เป็นเครื่องทำจิตไม่ให้อ่อน ไม่ให้ควรแก่การงาน ไม่ให้ผุดผ่อง ให้เสียไป และไม่ให้ตั้งมั่นด้วยดีเพื่อความสิ้นอาสวะ.
ภิกษุทั้งหลาย อุปกิเลสของจิต ๕ อย่างเหล่านี้แลเป็นเครื่องทำจิตไม่ให้อ่อน ไม่ให้ควรแก่การงาน ไม่ให้ผุดผ่อง ให้เสียไป และไม่ให้ตั้งมั่นด้วยดีเพื่อความสิ้นอาสวะ.
ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ ไม่เป็นธรรมกั้นไม่เป็นธรรมห้าม ไม่เป็นอุปกิเลสของจิต อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งผลคือ วิชชาและวิมุตติ โพชฌงค์ ๗ เป็นอย่างไร.
ภิกษุทั้งหลาย สติสัมโพชฌงค์ไม่เป็นธรรมกั้นไม่เป็นธรรมห้าม ไม่เป็นอุปกิเลสของจิต อันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งผล คือวิชชาและวิมุตติ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ … วิริยสัมโพชฌงค์ … ปีติสัมโพชฌงค์ … ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ … สมาธิ-สัมโพชฌงค์ … อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ไม่เป็นธรรมกั้น ไม่เป็นธรรมห้าม ไม่เป็นอุปกิเลสของจิต อันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งผล คือวิชชาและวิมุตติ.
ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้แล ไม่เป็นธรรมกั้นไม่เป็นธรรมห้าม ไม่เป็นอุปกิเลสของจิต อันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มาก แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งผล คือวิชชาและวิมุตติ.
(ในสูตรอื่น ตรัสว่า เมื่อละอุปกิเลสแห่งจิต ๕ อย่างเหล่านี้ได้ ภิกษุหวังจะแสดงอิทธิวิธี, ได้ทิพพโสต, บรรลุเจโตปริยญาณ, บรรลุปุพเพนิวาสานุสสติญาณ, บรรลุจุตูปปาตญาณ หรือกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ ก็สามารถทำได้ -บาลี ปญฺจก. อํ.๒๒/๑๗/๒๓. -ผู้รวบรวม)
หน้า 151
51
เหตุให้สาธยายธรรมได้แจ่มแจ้ง
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๑๖๖/๖๐๑.
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้มนต์แม้ที่บุคคลกระทำการสาธยายไว้นาน ไม่แจ่มแจ้งในบางคราว ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่มิได้กระทำการสาธยาย ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้มนต์ แม้ที่มิได้กระทำการ สาธยายเป็นเวลานาน ก็ยังแจ่มแจ้งในบางคราว ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่กระทำการสาธยาย.
พราหมณ์ สมัยใดแล บุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วยกามราคะ อันกามราคะเหนี่ยวรั้งไป และไม่รู้ ไม่เห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออกซึ่ง กามราคะที่บังเกิดแล้วตามความเป็นจริงสมัยนั้น เขาไม่รู้ ไม่เห็นแม้ซึ่งประโยชน์ตนตามความเป็นจริง แม้ซึ่งประโยชน์บุคคลอื่น ตามความเป็นจริง แม้ซึ่งประโยชน์ทั้งสองอย่างตามความเป็นจริง มนต์แม้ที่กระทำการสาธยายไว้นาน ก็ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ ที่มิได้กระทำการสาธยาย.
พราหมณ์ เปรียบเหมือนภาชนะใส่น้ำซึ่งระคนด้วยสีครั่ง สีเหลือง สีเขียว สีแดงอ่อน บุรุษผู้มีจักษุ เมื่อมองดูเงาหน้าของตนในน้ำ นั้น ไม่พึงรู้ ไม่พึงเห็นตามความเป็นจริงได้ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน สมัยใด บุคคลมีใจ ฟุ้งซ่านด้วยกามราคะ อันกามราคะเหนี่ยว รั้งไป และไม่รู้ไม่เห็นอุบาย เป็นเครื่องสลัดออก ซึ่งกามราคะที่บังเกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง ในสมัยนั้น เขาย่อมไม่รู้ ไม่เห็น แม้ซึ่งประโยชน์ตนตามความเป็นจริง แม้ซึ่งประโยชน์บุคคลอื่น ตามความเป็นจริง แม้ซึ่งประโยชน์ ทั้งสองนั้นตามความเปน็ จริง มนต์แม้ที่กระทำการสาธยายไว้นาน ก็ไม่แจ่มแจ้ง ได้ไม่ต้องกล่าวถึง มนต์ที่มิได้กระทำการสาธยาย.
พราหมณ์ อีกประการหนึ่ง สมัยใด บุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วยพยาบาท อันพยาบาทเหนี่ยวรั้งไป และย่อมไม่รู้ไม่เห็นอุบาย เป็นเครื่องสลัดออก ซึ่งพยาบาทที่บังเกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง … .
พราหมณ์ เปรียบเหมือนภาชนะใส่น้ำซึ่งร้อนเพราะไฟ เดือดพล่าน มีไอพลุ่งขึ้น บุรุษผู้มีจักษุ เมื่อมองดูเงาหน้าของตนในน้ำนั้น ไม่พึงรู้ ไม่พึงเห็นตามความเป็นจริงฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน สมัยใด บุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วยพยาบาท อันพยาบาทเหนี่ยวรั้งไป และย่อมไม่รู้ ไม่เห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออกซึ่งพยาบาทที่บังเกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง … .
พราหมณ์ อีกประการหนึ่ง สมัยใด บุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วยถีนมิทธะ อันถีนมิทธะเหนี่ยวรั้งไป ย่อมไม่รู้ไม่เห็นอุบายเป็นเครื่อง สลัดออก ซึ่งถีนมิทธะที่บังเกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง … .
พราหมณ์ เปรียบเหมือนภาชนะใส่น้ำอันสาหร่ายและจอกแหนปกคลุมไว้ บุรุษผู้มีจักษุ เมื่อมองดูเงาหน้าของตนในน้ำนั้น ไม่พึงรู้ ไม่พึงเห็นตามความเป็นจริง ฉันใดฉันนั้นเหมือนกัน สมัยใด บุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วยถีนมิทธะ อันถีนมิทธะเหนี่ยวรั้งไป และย่อมไม่รู้ ไม่เห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก ซึ่งถีนมิทธะที่บังเกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง … .
พราหมณ์ อีกประการหนึ่ง สมัยใด บุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วยอุทธัจจกุกกุจจะ อันอุทธัจจกุกกุจจะ เหนี่ยวรั้งไป และย่อมไม่รู้ ไม่เห็น อุบายเป็นเครื่องสลัดออกซึ่งอุทธัจจกุกกุจจะที่บังเกิดขึ้น แล้วตามความเป็นจริง … .
พราหมณ์ เปรียบเหมือนภาชนะใส่น้ำอันลมพัดต้องแล้ว หวั่นไหวกระเพื่อม เกิดเป็นคลื่น บุรุษผู้มีจักษุเมื่อมองดูเงาหน้าของตน ในน้ำนั้น ไม่พึงรู้ ไม่พึงเห็นตามความเป็นจริง ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน สมัยใด บุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วยอุทธัจจกุกกุจจะ อันอุทธัจจกุกกุจจะเหนี่ยวรั้งไป และย่อมไม่รู้ ไม่เห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก ซึ่งอุทธัจจ-กุกกุจจะที่บังเกิดขึ้นแล้วตามความ เป็นจริง … .
พราหมณ์ อีกประการหนึ่ง สมัยใด บุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วยวิจิกิจฉา อันวิจิกิจฉาเหนี่ยวรั้งไป และไม่รู้ไม่เห็นอุบายเป็นเครื่อง สลัดออก ซึ่งวิจิกิจฉาที่บังเกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง สมัยนั้น เขาย่อมไม่รู้ ไม่เห็นแม้ซึ่งประโยชน์ตนตามความเป็นจริง แม้ซึ่งประโยชน์บุคคลอื่นตามความเป็นจริง แม้ซึ่งประโยชน์ทั้งสองอย่างตามความเป็นจริง มนต์แม้ที่กระทำการสาธยายไว้นาน ก็ไม่แจ่ม แจ้ง ได้ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่มิได้กระทำการสาธยาย.
พราหมณ์ เปรียบเหมือนภาชนะใส่น้ำที่ขุ่นมัวเป็นเปือกตมอันบุคคลวางไว้ในที่มืด บุรุษผู้มีจักษุ เมื่อมองดูเงาหน้าของตนในน้ำนั้น ไม่พึงรู้ ไม่พึงเห็นตามความเป็นจริงฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน สมัยใด บุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วยวิจิกิจฉา อันวิจิกิจฉาเหนี่ยวรั้งไป และย่อมไม่รู้ ไม่เห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก ซึ่งวิจิกิจฉาที่บังเกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง สมัยนั้น เขาย่อมไม่รู้ ไม่เห็นแม้ ซึ่งประโยชน์ตนตามความเป็นจริง แม้ซึ่งประโยชน์บุคคลอื่นตามความเป็นจริง แม้ซึ่งประโยชน์ทั้งสองอย่างตามความเป็นจริง มนต์ที่กระทำการสาธยายไว้นาน ก็ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่มิได้กระทำการสาธยาย.
พราหมณ์ นี้แลเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้มนต์แม้ที่กระทำการสาธยายไว้นาน ไม่แจ่มแจ้งในบางคราว ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่มิได้ กระทำการสาธยาย.
(ถัดจากนี้ได้ตรัสโดยนัยตรงกันข้ามถึง เมื่อจิตปราศจากนิวรณ์ เป็นเหตุให้มนต์แม้ที่มิได้กระทำการ สาธยาย เป็นเวลานาน ย่อมแจ่มแจ้งได้ ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่กระทำการสาธยาย ผู้ศึกษาพึง เทียบเคียงได้เอง ในสูตรอื่น ก็ได้ตรัสไว้โดยทำนอง เดียวกันนี้-บาลี ปญฺจก. อํ. ๒๒/๒๕๗/๑๙๓. -ผู้รวบรวม)
หน้า 156
52
นิวรณ์ ๕ อีกนัยหนึ่ง
-บาลี สี. ที. ๙/๙๔/๑๒๔.
มหาราช อย่างไร ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้สันโดษ มหาราชภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง เธอจะไปทางทิสาภาคใดๆ ก็ถือไปได้เอง มหาราช นกมีปีกจะบินไปทางทิสาภาคใดๆ ก็มีแต่ปีกของตัวเป็นภาระบินไปฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่อง บริหารท้อง เธอจะไปทางทิสาภาคใดๆก็ถือไปได้เอง มหาราช ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้สันโดษ.
ภิกษุนั้นประกอบด้วยศีลขันธ์ อินทรียสังวรสติสัมปชัญญะ และสันโดษอันเป็นอริยะเช่น นี้แล้ว ย่อมเสพเสนาสนะ อันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้าป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง ในกาลภายหลังภัต เธอกลับจากบิณฑบาตแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้าเธอละความเพ่งเล็งในโลก (อภิชฺฌํ โลเก ปหาย) มีใจปราศจากความเพ่งเล็งอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความเพ่งเล็งได้ ละความประทุษร้ายคือพยาบาท ไม่คิดพยาบาท มีความกรุณา หวังประโยชน์แก่สัตว์ ทั้งปวงอยู่
ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความประทุษร้ายคือพยาบาทได้ ละถีนมิทธะแล้วเป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ มีความกำหนดหมายอยู่ที่ แสงสว่างมีสติสัมปชัญญะอยู่
ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะได้ละอุทธัจจะกุกกุจจะแล้ว เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบ ณภายในอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจะกุกกุจจะ ได้ละวิจิกิจฉาแล้วเป็นผู้ข้ามวิจิกิจฉา ไม่มีความคลางแคลงในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉาได้.
มหาราช ภิกษุพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ ประการเหล่านี้ที่ยังละไม่ได้ในตนเหมือนหนี้ เหมือนโรค เหมือนเรือนจำ เหมือนความเป็นทาส เหมือนทางไกลกันดารและเธอพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ ประการที่ละได้แล้วในตนเหมือนความไม่มีหนี้ เหมือนความไม่มีโรค เหมือนการพ้นจากเรือนจำ เหมือนความเป็นไทยแก่ตน เหมือนภูมิสถานอันเกษม ฉันนั้นแล.
หน้า 159
53
อวิชชา คือ นิวรณ์
-บาลี อิติวุ. ขุ. ๒๕/๒๓๕/๑๙๒.
ภิกษุทั้งหลาย เราไม่พิจารณาเห็นแม้นิวรณ์อันหนึ่งอย่างอื่น ซึ่งเป็นเหตุให้หมู่สัตว์ถูกนิวรณ์หุ้มห่อแล้วแล่นไป ท่องเที่ยวไป สิ้นกาลนาน เหมือนนิวรณ์คืออวิชชานี้เลย.
ภิกษุทั้งหลาย หมู่สัตว์ผู้ถูกนิวรณ์ คือ อวิชชาหุ้มห่อแล้วย่อมแล่นไป ท่องเที่ยวไปสิ้นกาลนาน.
ธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุให้หมู่สัตว์ถูกธรรมนั้นหุ้มห่อแล้ว ท่องเที่ยวไปสิ้นกาลนาน เหมือนหมู่สัตว์ผู้ถูกโมหะหุ้มห่อแล้ว ไม่มีเลย ส่วนพระอริยสาวกเหล่าใดละโมหะแล้ว ทำลายกองแห่งความมืดได้แล้ว พระอริยสาวกเหล่านั้น ย่อมไม่ท่องเที่ยวไปอีก เพราะอวิชชาอันเป็นต้นเหตุ(แห่งสงสาร) ย่อมไม่มีแก่พระอริยสาวกเหล่านั้น.
หน้า 160
54
เมื่อตั้งใจฟังธรรม นิวรณ์ ๕ ย่อมไม่มี
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๑๓๔/๔๙๒.
ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกตั้งใจ ใส่ใจ รวมเข้าไว้ด้วยใจทั้งหมด เงี่ยโสตลงฟังธรรม สมัยนั้น นิวรณ์ ๕ ย่อมไม่มีแก่เธอ โพชฌงค์ ๗ ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์.
ในสมัยนั้น นิวรณ์ ๕ ย่อมไม่มีแก่เธอ เป็นอย่างไรคือ กามฉันทนิวรณ์ ย่อมไม่มี พยาบาทนิวรณ์… ถีนมิทธ-นิวรณ์…อุทธัจจกุกุกจ จนิวรณ์…วิจิกิจฉานิวรณ์ ย่อมไม่มีภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น นิวรณ์ ๕ เหล่านี้ ย่อมไม่มีแก่เธอ.
ในสมัยนั้น โพชฌงค์ ๗ ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เป็นอย่างไร คือ สติสัมโพชฌงค์ ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์... ปีติสัมโพชฌงค์...ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์... สมาธิสัมโพชฌงค์... อุเบกขา-สัมโพชฌงค์ ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ ภิกษุทั้งหลายในสมัยนั้น โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์.
ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกตั้งใจ ใส่ใจรวมเข้าไว้ด้วยใจทั้งหมด เงี่ยโสตลงฟังธรรม สมัยนั้นนิวรณ์ ๕ ย่อมไม่มีแก่เธอ โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์.
หน้า 161
55
การพิจารณาเห็นธรรมในธรรม ในแง่มุมของนิวรณ์
-บาลี มหา. ที. ๑๐/๓๓๕/๒๙๐.
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นธรรมในธรรมคือ นิวรณ์ ๕ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคือนิวรณ์ ๕อย่างไรเล่า.
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อกามฉันทะมีอยู่ ณ ภายในจิตย่อมรู้ชัดว่ากามฉันทะมีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อกามฉันทะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่ากามฉันทะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง กามฉันทะที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัด ประการนั้นด้วยกามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้วจะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย กามฉันทะที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้น ต่อไป ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย.
อีกอย่างหนึ่ง เมื่อพยาบาทมีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่าพยาบาทมีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อพยาบาทไม่มีอยู่ ณ ภายใน จิต ย่อมรู้ชัดว่าพยาบาทไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง พยาบาทที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใดย่อมรู้ชัด ประการนั้นด้วย พยาบาทที่เกิด ขึ้น แล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย พยาบาทที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้น ต่อไปด้วย ประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย.
อีกอย่างหนึ่ง เมื่อถีนมิทธะมีอยู่ ณ ภายในจิตย่อมรู้ชัดว่า ถีนมิทธะมีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อถีนมิทธะไม่มีอยู่ ณ ภายใน จิต ย่อมรู้ชัดว่าถีนมิทธะไม่มีอยู่ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการ นั้นด้วย ถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้วจะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย ถีนมิทธะที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
อีกอย่างหนึ่ง เมื่ออุทธัจจกุกกุจจะมีอยู่ ณ ภายในจิตย่อมรู้ชัดว่า อุทธัจจกุกกุจจะมีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่ออุทธัจจ กุกกุจจะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่าอุทธัจจ-กุกกุจจะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง อุทธัจจกุกกุจจะ ที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วยอุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้วจะละเสียได้ด้วยประการใดย่อมรู้ชัดประการนั้น ด้วย อุทธัจจกุกกุจจะที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย.
อีกอย่างหนึ่ง เมื่อวิจิกิจฉามีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่าวิจิกิจฉามีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อวิจิกิจฉาไม่มีอยู่ ณภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่าวิจิกิจฉาไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้น ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการ นั้นด้วย วิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้วจะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย วิจิกิจฉาที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วยดังพรรณนามาฉะนี้ภิกษุย่อมพิจารณา เห็นธรรมในธรรมภายในบ้างพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมใน ธรรมบ้างพิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้าง อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ก็เพียง สักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆในโลก.
ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ นิวรณ์ ๕ อยู่.
หน้า 164
56
จิตที่หลุดพ้นดีแล้ว
-บาลี ปญฺจก. อํ. ๒๒/๒๗๒/๒๐๐.
ภิกษุทั้งหลาย ธาตุที่พึงพรากได้ (นิสฺสารณิยธาตุ)๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นอย่างไร คือภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้ มนสิการถึงกามทั้งหลาย
จิตของเธอย่อมไม่แล่นไป ย่อมไม่เลื่อมใส ย่อมไม่ตั้งอยู่
ย่อมไม่น้อมไปในกามทั้งหลาย
แต่เมื่อเธอมนสิการถึงเนกขัมมะ จิตของเธอย่อมแล่นไป ย่อมเลื่อมใสย่อมตั้งอยู่ ย่อมน้อมไปในเนกขัมมะ จิตของเธอนั้นชื่อว่า เป็นจิตดำเนินไปแล้ว อบรมดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้วจากกามทั้งหลาย อาสวะ ทุกข์และความเร่าร้อน เหล่าใด ย่อมเกิดเพราะกามเป็นปัจจัย เธอหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ ทุกข์ และความเร่าร้อนเหล่านั้น เธอย่อมไม่เสวยเวทนา ที่เกิดเพราะเหตุนั้น นี้เรากล่าวว่าเป็นการพรากออกแห่งกามทั้งหลาย.
ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง เมื่อภิกษุมนสิการถึงพยาบาท จิตของเธอย่อมไม่แล่นไป ย่อมไม่เลื่อมใส ย่อมไม่ตั้งอยู่ ย่อมไม่น้อมไปในพยาบาท แต่เมื่อเธอมนสิการถึงความไม่พยาบาท จิตของเธอย่อมแล่นไป ย่อมเลื่อมใสย่อมตั้งอยู่ ย่อมน้อมไปในความไม่พยาบาท จิตของเธอนั้นชื่อว่าเป็นจิตดำเนินไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้วพรากออกดีแล้ว จากพยาบาท อาสวะ ทุกข์ และความเร่าร้อนเหล่าใด ย่อมเกิดเพราะพยาบาทเป็นปัจจัย เธอหลุดพ้นแล้ว จากอาสวะ ทุกข์ และความเร่าร้อนเหล่านั้น เธอย่อมไม่เสวยเวทนาที่เกิดเพราะเหตุนั้น นี้เรากล่าวว่า เป็นการพรากออกแห่งพยาบาท.
ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง เมื่อภิกษุมนสิการถึงวิหิงสา จิตของเธอย่อมไม่แล่นไป ย่อมไม่เลื่อมใส ย่อมไม่ตั้งอยู่ ย่อมไม่น้อมไปในวิหิงสา แต่เมื่อเธอมนสิการถึงอวิหิงสา จิตของเธอย่อมแล่นไป ย่อมเลื่อมใส ย่อมตั้งอยู่ย่อมน้อมไปในอวิหิงสา จิตของเธอนั้นชื่อว่าเป็นจิตดำเนินไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้วจากวิหิงสา อาสวะ ทุกข์ และความเร่าร้อนเหล่าใด ย่อมเกิดเพราะวิหิงสาเป็นปัจจัย เธอหลุดพ้นแล้ว จากอาสวะ ทุกข์และความเร่าร้อนเหล่านั้น เธอย่อมไม่เสวยเวทนาที่เกิดเพราะเหตุนั้น นี้เรากล่าวว่า เป็นการพรากออกแห่งวิหิงสา.
ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง เมื่อภิกษุมนสิการถึงรูปทั้งหลาย จิตของเธอย่อมไม่แล่นไป ย่อมไม่เลื่อมใสย่อมไม่ตั้งอยู่ ย่อมไม่น้อมไปในรูปทั้งหลาย แต่เมื่อเธอมนสิการถึงอรูป จิตของเธอย่อมแล่นไป ย่อมเลื่อมใส ย่อมตั้งอยู่ ย่อมน้อมไปในอรูป จิตของเธอนั้นชื่อว่าเป็นจิตดำเนินไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้วพรากออกดีแล้วจากรูปทั้งหลาย อาสวะ ทุกข์ และความเร่าร้อนเหล่าใด ย่อมเกิดเพราะรูปเป็นปัจจัย เธอหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ ทุกข์ และความเร่าร้อนเหล่านั้น เธอย่อมไม่เสวยเวทนาที่เกิดเพราะเหตุนั้น นี้เรากล่าวว่า เป็นการพรากออกแห่งรูปทั้งหลาย.
ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง เมื่อภิกษุมนสิการถึงสักกายะ จิตของเธอย่อมไม่แล่นไป ย่อมไม่เลื่อมใส ย่อมไม่ตั้งอยู่ ย่อมไม่น้อมไปในสักกายะ แต่เมื่อเธอมนสิการถึงความดับแห่งสักกายะ จิตของเธอย่อมแล่นไป ย่อมเลื่อมใสย่อมตั้งอยู่ ย่อมน้อมไปในความดับแห่งสักกายะ จิตของเธอนั้นชื่อว่าเป็นจิตดำเนินไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้วหลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้วจากสักกายะ อาสวะ ทุกข์และความเร่าร้อนเหล่าใด ย่อมเกิดเพราะสักกายะเป็น ปัจจัยเธอหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ ทุกข์ และความเร่าร้อนเหล่านั้นเธอ ย่อมไม่เสวยเวทนาที่เกิดเพราะเหตุนั้น นี้เรากล่าวว่าเป็นการพรากออกแห่งสักกายะ.
ภิกษุทั้งหลาย ความเพลินในกามก็ดี ความเพลินในพยาบาทก็ดี ความเพลินในวิหิงสาก็ดี ความเพลินในรูปก็ดี ความเพลินใน สักกายะก็ดี ย่อมไม่บังเกิดขึ้นแก่เธอ เพราะความเพลินในกามก็ดี ความเพลินในพยาบาทก็ดี ความเพลินในวิหิงสาก็ดี ความเพลินในรูปก็ดี ความเพลินในสักกายะก็ดี ไม่บังเกิดขึ้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่าเป็นผู้ไม่มีอาลัย ตัดตัณหาได้แล้ว คลายสังโยชน์ได้แล้ว ทำที่สุดทุกข์ได้แล้วเพราะละมานะได้โดยชอบ.
ภิกษุทั้งหลาย ธาตุที่พึงพรากได้ ๕ ประการนี้แล. |