เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
  
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ           

  อนาคามี-พุทธวจน   ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
    8 of 8  
 
  อนาคามี พุทธวจน  ที่มา : http://watnapp.com/book  
       
    สารบัญ หน้า  
  163.เจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อละอาสวะ ๓   423  
  164.เจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อละภพ ๓ 424  
  165.เจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อละตัณหา ๓ 425  
  166.เจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อละโยคะ ๔ 426  
  167.เจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อละอนุสัย ๗ 427  
  168.เจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อละอุปาทานขันธ์ ๕ 428  
  169.เจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘เพื่อละ โอรัมภาคิยสังโยชน์ 429  
  170.เจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘เพื่อละ อุทธัมภาคิยสังโยชน์ 431  
  171.เจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ละสังโยชน์ได้ไม่ยาก 433  
  172.การละสังโยชน์ ที่เป็นเหตุให้กลับมายังโลกนี้อีก (นัยที่ ๑) 434  
  173.การละสังโยชน์ ที่เป็นเหตุใหกลับมายังโลกนี้อีก (นัยที่ ๒) 436  
  174.ปฏิปทาเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ 437  
  175.การน้อมใจเพื่อตัดโอรัมภาคิยสังโยชน์ 443  
  176.สิ่งที่ควรพิจารณาเนืองๆ เพื่อละสังโยชน์ 448  
  177.ปริหานธรรม อปริหานธรรม และอภิภายตนะ ๖ 455  
  178.ผลของความไม่ประมาท ในผัสสายตนะ ๖ 459  
  179.ผลของการมีสังวร และไม่มีสังวร 462 462  
  180.ข้อปฏิบัติเพื่อดับ ความดำริอันเป็นอกุศล 465  
  181.ผลของการละอกุศลวิตก 468  
  182.สมัยที่ควรเข้าไปพบ ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ 475  
  183.ผลของการมีมิตรดี 479  
  184.ผู้มีกุศลสมบูรณ์ 480  
  185.ผู้มีสังโยชน์ในภายใน และในภายนอก 481  
  186.ผู้มีสิกขาเป็นอานิสงส์ 484  
  187.ผู้มีความเพียรเป็นเครื่องตื่น 485  
  188.ผู้มีความหลีกเร้นเป็นที่มายินดี 486  
  189.การอบรมจิต ด้วยสิ่งสมควรแก่บรรพชา 487  
       
       
 
 





อนาคามี
Page 8

หน้า 423

163
เจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อละอาสวะ ๓
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๘๔/๓๑๕.

ภิกษุทั้งหลาย อาสวะ ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นอย่างไร คือ
อาสวะคือ กาม
อาสวะคือ ภพ อาสวะคือ อวิชชา

ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล อาสวะ ๓ อย่าง.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอาสวะ ๓ อย่างนี้

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธน้อมไป ในการสละ ย่อมเจริญสัมมาสังกัปปะ … ย่อมเจริญสัมมาวาจา … ย่อมเจริญสัมมากัมมันตะ … ย่อมเจริญสัมมาอาชีวะ … ย่อมเจริญสัมมาวายามะ … ย่อมเจริญสัมมาสติ… ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

ภิกษุควรเจริญ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอาสวะ ๓ อย่างเหล่านี้.

หน้า 424

164

เจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อละภพ ๓
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๘๔/๓๑๗.

ภิกษุทั้งหลาย ภพ ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นอย่างไรคือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล ภพ ๓ อย่าง.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละภพ ๓ อย่างนี้

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ย่อมเจริญสัมมาสังกัปปะ … ย่อมเจริญสัมมาวาจา… ย่อมเจริญสัมมากัมมันตะ … ย่อมเจริญสัมมาอาชีวะ …ย่อมเจริญสัมมาวายามะ … ย่อมเจริญสัมมาสติ … ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละภพ ๓ อย่างเหล่านี้.

หน้า 425

165

เจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อละตัณหา ๓
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๘๖/๓๒๙.

ภิกษุทั้งหลาย ตัณหา ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นอย่างไรคือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ภิกษุทั้งหลายเหล่านี้แล ตัณหา ๓ อย่าง.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละตัณหา ๓ อย่างนี้

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ย่อมเจริญสัมมาสังกัปปะ … ย่อมเจริญสัมมาวาจา… ย่อมเจริญสัมมากัมมันตะ … ย่อมเจริญสัมมาอาชีวะ …ย่อมเจริญสัมมาวายามะ … ย่อมเจริญสัมมาสติ … ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละตัณหา๓ อย่างเหล่านี้.

หน้า 426

166

เจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อละโยคะ ๔
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๘๘/๓๓๕.

ภิกษุทั้งหลาย โยคะ ๔ อย่างนี้ ๔ อย่างเป็นอย่างไรคือ กามโยคะ ภวโยคะ ทิฏฐิโยคะ อวิชชาโยคะ ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล โยคะ ๔ อย่าง.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ ยิ่งเพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละโยคะ ๔ อย่างนี้

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ย่อมเจริญสัมมาสังกัปปะ … ย่อมเจริญสัมมาวาจา… ย่อมเจริญสัมมากัมมันตะ … ย่อมเจริญสัมมาอาชีวะ …ย่อมเจริญสัมมาวายามะ … ย่อมเจริญสัมมาสติ … ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละโยคะ๔ อย่างเหล่านี้.

หน้า 427

167

เจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อละอนุสัย ๗
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๘๙/๓๔๑.

ภิกษุทั้งหลาย อนุสัย ๗ อย่างนี้ ๗ อย่างเป็นอย่างไรได้แก่ อนุสัยคือกามราคะ อนุสัยคือปฏิฆะ อนุสัยคือทิฏฐิอนุสัยคือวิจิกิจฉา อนุสัยคือมานะ อนุสัยคือภวราคะอนุสัยคืออวิชชา ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล อนุสัย ๗ อย่าง.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอนุสัย ๗ อย่างนี้

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ย่อมเจริญสัมมาสังกัปปะ … ย่อมเจริญสัมมาวาจา… ย่อมเจริญสัมมากัมมันตะ … ย่อมเจริญสัมมาอาชีวะ …ย่อมเจริญสัมมาวายามะ … ย่อมเจริญสัมมาสติ … ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอนุสัย๗ อย่างเหล่านี้.

หน้า 428

168

เจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อละอุปาทานขันธ์ ๕

-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๙๐/๓๔๗.

ภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์ ๕ อย่างนี้ ๕ อย่างเป็นอย่างไร ได้แก่ อุปาทานขันธ์คือรูป อุปาทานขันธ์คือเวทนา อุปาทานขันธ์คือสัญญา อุปาทานขันธ์ คือสังขารอุปาทานขันธ์ คือวิญญาณ

ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แลอุปาทานขันธ์ ๕ อย่าง.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุปาทานขันธ์ ๕ อย่างนี้

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ย่อมเจริญสัมมาสังกัปปะ … ย่อมเจริญสัมมาวาจา … ย่อมเจริญสัมมากัมมันตะ … ย่อมเจริญสัมมา-อาชีวะ … ย่อมเจริญสัมมาวายามะ … ย่อมเจริญสัมมาสติ …ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธน้อมไปในการสละ

ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละ อุปาทานขันธ์ ๕ อย่างเหล่านี้.

หน้า 429

169

เจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อละ โอรัมภาคิยสังโยชน์
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๙๐/๓๔๙.


ภิกษุทั้งหลาย โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการเหล่านี้ ๕ ประการเป็นอย่างไร คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉาสีลัพพตปรามาส กามฉันทะ พยาบาท ภิกษุทั้งหลายเหล่านี้แล โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการเหล่านี้ ภิกษุทั้งหลายอรยิ มรรคอนั ประกอบดว้ ยองค์ ๘ เป็นอย่างไร

คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

(1) ย่อมเจริญ สัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะอาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

(2) ย่อมเจริญ สัมมาสังกัปปะ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

(3) ย่อมเจริญ สัมมาวาจา อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะอาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

(4) ย่อมเจริญ สัมมากัมมันตะ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

(5) ย่อมเจริญ สัมมาอาชีวะ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

(6) ย่อมเจริญ สัมมาวายามะ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

(7) ย่อมเจริญ สัมมาสติ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

(8) ย่อมเจริญ สัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เหล่านี้
พื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไปเพื่อละ โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการแล

หน้า 431

170
เจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อละ อุทธัมภาคิยสังโยชน์
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๙๐/๓๕๑.


ภิกษุทั้งหลาย อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการเหล่านี้๕ ประการเป็นอย่างไร คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะอวิชชา ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล อุทธัมภาคิยสังโยชน์๕ ประการ.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการเหล่านี้ ภิกษุทั้งหลายอรยิ มรรคอนั ประกอบดว้ ยองค์ ๘ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

(1) ย่อมเจริญ สัมมาทิฏฐิ
อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

(2) ย่อมเจริญ สัมมาสังกัปปะ
อันอาศัยวิเวกอาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

(3) ย่อมเจริญ สัมมาวาจา
อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

(4) ย่อมเจริญ สัมมากัมมันตะ
อันอาศัยวิเวกอาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

(5) ย่อมเจริญ สัมมาอาชีวะ
อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

(6) ย่อมเจริญ สัมมาวายามะ
อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

(7) ย่อมเจริญ สัมมาสติ
อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

(8) ย่อมเจริญ สัมมาสมาธิ
อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เหล่านี้ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไปเพื่อละ อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการแล.

(ในสูตรอื่นตรัสว่า ให้เจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ มีอันกำจัดราคะ เป็นที่สุด มีอันกำจัด โทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด หรือ เจริญ อริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘อันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด หรือเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๙๒/๓๕๔. -ผู้รวบรวม)

หน้า 433

171

เจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ละสังโยชน์ได้ไม่ยาก
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๗๖/๒๘๘.

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรือเดินสมุทรที่ผูกด้วยเครื่องผูก คือหวายแช่อยู่ในน้ำตลอด ๖ เดือน เขายกขึ้นบกในฤดูหนาว เครื่องผูกต้องลม และแดดแล้ว อันฝนตกรดแล้วย่อมจะเสียไป ผุไป โดยไม่ยากเลย ฉันใดก็ฉันนั้น

เมื่อภิกษุเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มาก ซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ สังโยชน์ทั้งหลายย่อมสงบหมดไป โดยไม่ยากเลย.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบ ด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า สังโยชน์ทั้งหลายจึงจะสงบหมดไป โดยไม่ยากเลย

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ … ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

ภิกษุทั้งหลายเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล สังโยชน์ทั้งหลาย จึงสงบหมดไป โดยไม่ยากเลย.

หน้า 437

172
การละสังโยชน์ ที่เป็นเหตุให้ กลับมายังโลกนี้อีก
(นัยที่ ๑)

-บาลี นิทาน. สํ. ๑๖/๑๑๙/๒๔๑.


ภิกษุทั้งหลาย ก็อาหารคือคำข้าว จะพึงเห็นได้อย่างไร.

ภิกษุทั้งหลาย เหมือนอย่างว่า ภรรยาสามี ๒ คนถือเอาเสบียงเดินทางเล็กน้อย แล้วออกเดินไปสู่ทาง กันดารเขาทั้งสองมีบุตรน้อยๆ น่ารักน่าพอใจอยู่คนหนึ่ง เมื่อขณะทั้งสองคนกำลังเดินไปในทาง กันดารอยู่

เสบียงเดินทางที่มีอยู่เพียงเล็กน้อยนั้นได้หมดสิ้นไป แต่ทางกันดารนั้นยังเหลืออยู่ เขาทั้งสองยังข้าม พ้นไปไม่ได้ครั้งนั้น เขาทั้งสองคนคิดตกลงกันอย่างนี้ว่า เสบียงเดินทางของเราทั้งสอง อันใดแล มีอยู่เล็กน้อย เสบียงเดินทางอันนั้นก็ได้หมดสิ้นไปแล้ว แต่ทางกันดารนี้ยังเหลืออยู่ เรายังข้ามพ้น ไปไม่ได้

อย่ากระนั้นเลย เราสองคนมาช่วยกันฆ่าบุตรน้อยๆคนเดียว ผู้น่ารัก น่าพอใจคนนี้เสีย ทำให้เป็นเนื้อเค็ม และเนื้อย่าง เมื่อได้บริโภคเนื้อบุตร จะได้พากันเดินข้ามพ้นทาง กันดารที่ยังเหลืออยู่นั้น ถ้าไม่เช่นนั้น เราทั้งสามคนต้องพากันพินาศหมดแน่

ครั้งนั้นภรรยาสามีทั้งสองคนนั้น ก็ฆ่าบุตรน้อยๆ คนเดียวผู้น่ารัก น่าพอใจนั้นเสีย ทำให้เป็นเนื้อเค็ม และเนื้อย่าง เมื่อบริโภคเนื้อบุตรเสร็จ ก็พากันเดินข้ามทางกันดาร ที่ยังเหลืออยู่นั้นเขาทั้งสองคน รับประทานเนื้อบุตรพลาง ค่อนอกพลางรำพันว่า ลูกชายน้อยๆ คนเดียว ของฉันไปไหนเสีย ลูกชายน้อยๆคนเดียวของฉันไปไหนเสีย ดังนี้

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นอย่างไร คือว่าเขาได้บริโภคเนื้อบุตรที่เป็นอาหาร เพื่อความคะนองหรือเพื่อความมัวเมา หรือเพื่อความตกแต่ง หรือเพื่อความประดับประดา ร่างกายใช่ไหม.

หามิได้ พระเจ้าข้า.

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เขาพากันรับประทานเนื้อบุตรเป็นอาหาร เพียงเพื่อข้ามพ้นทางกันดาร ใช่ไหม.

ใช่ พระเจ้าข้า.

ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ฉันใด เรากล่าวว่า บุคคลควรเห็นกวฬีการาหารว่า (เปรียบด้วยเนื้อบุตร) ก็ฉันนั้นเหมือนกันแลเมื่อ อริยสาวกกำหนดรู้กวฬีการาหารได้แล้ว ก็เป็นอันกำหนดรู้ความยินดีซึ่งเกิด แต่เบญจกามคุณ เมื่ออริยสาวกกำหนดรู้ความยินดี ซึ่งเกิดแต่เบญจกามคุณได้แล้ว สังโยชน์อันเป็น เครื่องชักนำอริยสาวกให้มาสู่โลกนี้ อีกก็ไม่มี.

หน้า 436

173

การละสังโยชน์ ที่เป็นเหตุให้ กลับมายังโลกนี้อีก
(นัยที่ ๒)

-บาลี ติก. อํ. ๒๐/๓๑๒/๕๓๔.


ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนในอากาศที่ปราศจากวลาหก ในเมื่อสรท สมัยยังอยู่ ห่างไกล อาทิตย์ส่องแสงเงินแสงทองขึ้นไปยังท้องฟ้า ขจัดความมืดมัว ที่อยู่ในอากาศ เสียทั้งหมดแล้ว ส่องแสง แผดแสงและรุ่งโรจน์อยู่ฉันใด

ภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล เมื่อใด ธรรมจักษุอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน เกิดแก่อริยสาวก พร้อมกับเกิดขึ้นแห่งทัศนะ

อริยสาวกนั้นย่อมละสังโยชน์ ๓ อย่างได้คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ลำดับต่อมาอริยสาวกออกจากธรรม ๒ ประการ คืออภิชฌาและพยาบาท อริยสาวกนั้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมบรรลุปฐมฌาน อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดจาก วิเวกอยู่

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอริยสาวกนั้น พึงทำกาละในสมัยนั้น เธอย่อมไม่มี สังโยชน์ที่เป็นเหตุให้อริยสาวก ผู้ยังประกอบด้วยสังโยชน์ พึงกลับมายังโลกนี้อีก.

หน้า 437

174

ปฏิปทาเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์
-บาลี ม. ม. ๑๓/๑๕๗/๑๕๖.

อานนท์ เมื่อบุคคลจักไม่อาศัยมรรค ไม่อาศัยปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อการละ โอรัมภาคิย สังโยชน์ ๕ แล้ว จักรู้ จักเห็นหรือจักละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ได้นั้น ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้

อานนท์ เปรียบเหมือน เมื่อไม่ถากเปลือก ไม่ถากกะพี้ของต้นไม้ใหญ่ที่ยืนต้นมีแก่น แล้วจักถากแก่นนั้น ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ฉันใดก็ฉันนั้น ข้อที่ว่าบุคคลจักไม่อาศัยมรรค ไม่อาศัยปฏิปทา ที่เป็นไปเพื่อการละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ แล้วจักรู้ จักเห็น หรือจักละ โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ได้นั้น ก็ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้. อานนท์ ข้อที่ว่า บุคคลอาศัย มรรค อาศัยปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อการละ โอรัมภาคิย สังโยชน์๕ แล้ว จักรู้จักเห็น และจักละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ได้นั้น เป็นฐานะที่จะมีได้

อานนท์ เปรียบเหมือน เมื่อถากเปลือก ถากกะพี้ของต้นไม้ใหญ่ที่ยืนต้นมีแก่น แล้วจึงถากแก่นนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ ฉันใด ก็ฉันนั้น เมื่อบุคคลอาศัยมรรค อาศัยปฏิปทา ที่เป็นไป เพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ แล้ว จักรู้ จักเห็น หรือจักละ โอรัมภาคิย สังโยชน์ ๕ ได้นั้น ก็เป็นฐานะที่จะมีได้.

อานนท์ เปรียบเหมือนแม่น้ำคงคา น้ำเต็มเปี่ยมเสมอขอบฝั่ง กาก้มลงดื่มได้ ครั้งนั้น บุรุษผู้มีกำลังน้อย พึงมาด้วย หวังว่าเราจักว่ายตัดขวาง กระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคานี้ ไปให้ถึงฝั่งโดยสวัสดี ดังนี้ เขาไม่อาจจะว่ายตัดขวางกระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคา ไปให้ถึงฝั่งโดยสวัสดีได้ ฉันใดก็ฉันนั้น เมื่อธรรมอันบุคคลแสดงอยู่แก่ผู้ใดผู้หนึ่ง เพื่อความดับสักกายะ แต่จิตของผู้นั้น ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ได้ไม่หลุด ออกไป พึงเห็นบุคคลเหล่านั้น ว่าเป็นบุรุษผู้มีกำลังน้อยนั้น.

อานนท์ เปรียบเหมือนแม่น้ำคงคา น้ำเต็มเปี่ยมเสมอขอบฝั่ง กาก้มลงดื่มได้ ครั้งนั้น บุรุษมีกำลัง พึงมา ด้วยหวังว่า เราจักว่ายตัดขวางกระแสน้ำ แห่งแม่น้ำคงคานี้ ไปให้ถึงโดยสวัสดี ดังนี้ เขาอาจจะว่าย ตัดขวางกระแสแห่งแม่น้ำคงคาไปให้ถึงฝั่ง โดยสวัสดีได้ ฉันใดก็ฉันนั้น เมื่อธรรมอันบุคคลแสดงอยู่ แก่ผู้ใดผู้หนึ่งเพื่อดับสักกายะ และจิตของผู้นั้นก็แล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป พึงเห็นบุคคล เหล่านั้น ว่าเป็นบุรุษมีกำลังนั้น.

อานนท์ มรรคและปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อละโอรัม-ภาคิยสังโยชน์ ๕ เป็นอย่างไร

อานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เพราะละอกุศลธรรมทั้งหลาย ด้วยอุปธิวิเวก เพราะระงับ ความเกียจคร้าน ทางกายได้โดยประการทั้งปวง จึงสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม ทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน อันมีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่

เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณอันมีอยู่ ในปฐมฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง (อนิจฺจโต)เป็นทุกข์ (ทุกฺขโต) เป็นดังโรค (โรคโต) เป็นดังหัวฝี (คณฺฑโต)เป็นดังลูกศร (สลฺลโต) เป็นของทนได้ยาก (อฆโต) เป็นของเบียดเบียน (อาพาธโต) เป็นของผู้อื่น (ปรโต) เป็นของแตกสลาย(ปโลกโต) เป็นของว่างเปล่า (สุญฺญโต) เป็นอนัตตา (อนตฺตโต)

เธอดำรงจิตด้วยธรรมเหล่านั้น แล้วจึงน้อมจิตไปสู่อมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นระงับ นั่นประณีต นั่นคือธรรมเป็นที่สงบระงับแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นความจางคลาย เป็นความดับ เป็นนิพพาน ดังนี้เธอ ดำรงอยู่ในปฐมฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไป แห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้าไม่ถึงความสิ้นไป แห่งอาสวะทั้งหลาย ก็เป็นโอปปาติกะ ผู้ปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้น เป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป และเพราะอำนาจแห่ง ธัมมราคะ ธัมมนันทินั้นๆ นั่นเอง อานนท์นี้มรรค นี้ปฏิปทา เป็นไปเพื่อการละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕.

อานนท์ อีกประการหนึ่ง เพราะสงบวิตกวิจารเสียได้ จึงบรรลุทุติยฌาน รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณอันใด ที่มีอยู่ในทุติยฌานนั้น บุคคลนั้นพิจารณาเห็นธรรม เหล่านั้น โดยความเป็นของ ไม่เที่ยง … อานนท์ นี้มรรค นี้ปฏิปทา เป็นไปเพื่อการละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕.

อานนท์ อีกประการหนึ่ง เพราะความจางไปแห่งปีติจึงอยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และย่อมเสวยสุข ด้วยกายจึงบรรลุตติยฌาน … รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณอันใด ที่มีอยู่ในตติยฌานนั้น บุคคลนั้นพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง … อานนท์ นี้มรรคนี้ปฏิปทา เป็นไปเพื่อการละ โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕.

อานนท์ อีกประการหนึ่ง เพราะละสุขและทุกข์เสียได้ เพราะความดับหายไป แห่งโสมนัส และโทมนัส ทั้งหลายในกาลก่อน จึงบรรลุจตุตถฌาน … รูป เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาณอันใด ที่มีอยู่ใน จตุตถฌานนั้น บุคคลนั้นพิจารณาเห็นธรรม เหล่านั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง … อานนท์ นี้มรรค นี้ปฏิปทาเป็นไปเพื่อการละ โอรัมภาคิย-สังโยชน์ ๕.

อานนท์ อีกประการหนึ่ง ภิกษุเพราะก้าวล่วงรูปสัญญาเสียได้ โดยประการทั้งปวง เพราะความดับไปแห่ง ปฏิฆสัญญา เพราะการไม่ใส่ใจ ซึ่งนานัตตสัญญา จึงเข้าถึงอากาสานัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า อากาศไม่มีที่สิ้นสุดดังนี้แล้วแลอยู่ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณอันใดที่มีอยู่ใน อากาสานัญ จายตนะนั้น

บุคคลนั้นพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นของทนได้ยาก เป็นของเบียดเบียน เป็นของผู้อื่น เป็นของต้องแตกสลาย เป็นของว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอดำรงจิตด้วยธรรมเหล่านั้นแล้ว จึงน้อมจิตไปสู่อมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นระงับ นั่นประณีตนั่นคือธรรมเป็นที่สงบระงับแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นความจางคลายเป็นความดับ เป็นนิพพาน ดังนี้

เธอดำรงอยู่ในอากาสานัญจายตนะนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้าไม่ถึงความสิ้นไป แห่งอาสวะทั้งหลาย ก็เป็นโอปปาติกะ ผู้ปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป และเพราะอำนาจแห่งธัมมราคะ ธัมมนันทินั้นๆ นั่นเอง อานนท์ นี้มรรคนี้ปฏิปทา เป็นไปเพื่อการละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕.

อานนท์ อีกประการหนึ่ง ภิกษุก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญา นัญจายตนะ …เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณอันใด ที่มีอยู่ในอากาสา-นัญจายตนะนั้น บุคคลนนั้ พิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง … อานนท์ นี้มรรค นี้ปฏิปทา เป็นไปเพื่อการละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕.

อานนท์ อีกประการหนึ่ง ภิกษุก้าวล่วงวิญญานัญจายตนะ บรรลุอากิญจัญญายตนะ … เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาณอันใด ที่มีอยู่ในอากิญจัญญายตนะนั้น บุคคลนั้นพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง …อานนท์ นี้มรรค นี้ปฏิปทา เป็นไปเพื่อการละ โอรัมภาคิย-สังโยชน์ ๕.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้ามรรคนี้ ปฏิปทานี้ ย่อมเป็นไปเพื่อละ โอรัมภา คิยสังโยชน์ ๕ เมื่อเป็นอย่างนั้น เพราะเหตุไร ภิกษุบางพวกในพระศาสนานี้ จึงเป็นเจโตวิมุตติ บางพวกเป็นปัญญาวิมุตติเล่า.

อานนท์ ในเรื่องนี้ เรากล่าวความต่างกันแห่งอินทรีย์ของภิกษุเหล่านั้น.

หน้า 443

175

การน้อมใจเพื่อตัดโอรัมภาคิยสังโยชน์
-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๖๘/๑๐๘.

เมื่อภิกษุน้อมใจไปอย่างนี้ว่า ถ้าเราไม่พึงมี ของเราก็ไม่พึงมี ถ้าเราจักไม่มี ของเราก็จักไม่มี ดังนี้ ภิกษุนั้นพึงตัดโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ภิกษุน้อมใจไปอย่างนี้ว่า ถ้าว่าเราไม่พึงมีของเราก็ไม่พึงมี ถ้าเราจักไม่มี ของก็จักไม่มี ดังนี้ พึงตัดโอรัมภาคิย-สังโยชน์ได้อย่างไร พระเจ้าข้า.

ภิกษุ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้วในโลกนี้ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของ พระอริยะ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัปบุรุษ ไม่ฉลาด ในธรรมของสัปบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัปบุรุษ

ย่อมตามเห็นรูปโดย ความเป็นตน ย่อมเห็นตนมีรูป ย่อมเห็นรูปในตน ย่อมเห็นตนในรูป ตามเห็นเวทนาโดยความเป็นตน …

ตามเห็นสัญญาโดยความเป็นตน … ตามเห็นสังขารโดยความเป็นตน … ตามเห็นวิญญาณ โดยความเป็นตน ย่อมเห็นตนมีวิญญาณ ย่อมเห็นวิญญาณในตน ย่อมเห็นตนในวิญญาณ

เขาย่อมไม่ทราบชัดรูป เวทนา สัญญาสังขาร วิญญาณ อันไม่เที่ยง ตามความเป็นจริงว่า เป็นของไม่เที่ยง ไม่ทราบชัดซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณอันเป็นทุกข์ ตามความเป็นจริงว่า เป็นทุกข์ ไม่ทราบชัดซึ่งรูปเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันเป็นอนัตตา ตามความเป็นจริงว่า เป็นอนัตตา ไม่ทราบชัดซึ่งรูป เวทนา สัญญาสังขาร วิญญาณ อันปัจจัยปรุงแต่ง ตามความเป็นจริงว่าอันปัจจัย ปรุงแต่ง ไม่ทราบชัดตามความเป็นจริงว่า แม้รูปแม้เวทนา แม้สัญญา แม้สังขาร แม้วิญญาณ จักไม่มี.

ภิกษุ ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ได้เห็นพระอริยะฉลาดในธรรมของพระอริยะ ได้รับการแนะนำดี ในธรรมของพระอริยะ ได้เห็นสัปบุรุษ ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ ได้รับการแนะนำดีในธรรม ของสัปบุรุษ

ย่อมไม่พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นตน … ไม่พิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นตน…
ไม่พิจารณาเห็นสัญญาโดยความเป็นตน …
ไม่พิจารณาเห็นสังขารโดยความเป็นตน …
ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นตน …
เธอย่อมทราบชัดซึ่งรูป เวทนา สัญญาสังขาร วิญญาณ อันไม่เที่ยง ตามความเป็นจริงว่า ไม่เที่ยงย่อมทราบชัดซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันเป็นทุกข์ ตามความเป็นจริงว่า เป็นว่าทุกข์

ย่อมทราบชัดซึ่งรูปเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันเป็นอนัตตา ตามความเป็นจริงว่าเป็นอนัตตา ย่อมทราบชัดซึ่งรูป เวทนา สัญญาสังขาร วิญญาณ อันปัจจัยปรุงแต่ง ตามความเป็นจริงว่า อันปัจจัยปรุงแต่ง ย่อมทราบชัดตามความ เป็นจริงว่า แม้รูปแม้เวทนา แม้สัญญา แม้สังขาร แม้วิญญาณ จักไม่มี ย่อมทราบชัด ตามความเป็นจริงเช่นนั้น เพราะเห็นความเป็นต่างๆ แห่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ.

ภิกษุ เมื่อภิกษุน้อมใจไปอย่างนี้ว่า ถ้าว่าเราไม่พึงมีของเราก็ไม่พึงมี ถ้าเราจักไม่มี ของเราก็จักไม่มีดังนี้ ภิกษุนั้นพึงตัดโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้ ด้วยอาการอย่างนี้แล.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุน้อมใจไปอยู่อย่างนี้ พึงตัดโอรัมภาคิยสังโยชน์เสียได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อภิกษุรู้เห็นอย่างไร อาสวะทั้งหลายจึงจะสิ้นไปในกาลเป็น ลำดับ.

ภิกษุ ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้วในโลกนี้ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของ พระอริยะ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัปบุรุษ ไม่ฉลาด ในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมถึงความสะดุ้ง ในฐานะอันไม่ควรสะดุ้ง ภิกษุ ก็ปุถุชนผู้มิได้ สดับแล้ว ย่อมมีความสะดุ้งดังนี้ว่า ถ้าเราไม่พึงมี ของเราก็ไม่พึงมี ถ้าเราจักไม่มี ของเราก็จักไม่มี ดังนี้ ภิกษุ

ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ได้เห็นพระอริยะ ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ได้รับการ แนะนำดี ในธรรมของพระอริยะ ได้เห็นสัปบุรุษ ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ ได้รับการ แนะนำดีในธรรม ของสัปบุรุษ ย่อมไม่ถึงความสะดุ้งในฐานะอันไม่ควรสะดุ้ง ภิกษุ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ไม่มีความสะดุ้งดังนี้ว่า ถ้าเราไม่พึงมี ของเราก็ไม่พึงมี ถ้าเราจักไม่มี ของเราก็จักไม่มี ดังนี้.

ภิกษุ วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอารูป ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้ เป็นวิญญาณที่มีรูปเป็นอารมณ์ มีรูปเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปซ่องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ได้.

ภิกษุ วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอาเวทนา ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้ เป็นวิญญาณที่มีเวทนา เป็นอารมณ์ มีเวทนาเป็นที่ตั้งอาศัยมีนันทิเป็นที่เข้าไปซ่องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ได้.

ภิกษุ วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอาสัญญา ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้ เป็นวิญญาณที่มีสัญญา เป็นอารมณ์ มีสัญญาเป็นที่ตั้งอาศัยมีนันทิเป็นที่เข้าไปซ่องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ได้.

ภิกษุ วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอาสังขาร ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้ เป็นวิญญาณที่มีสังขาร เป็นอารมณ์ มีสังขารเป็นที่ตั้งอาศัยมีนันทิเป็นที่เข้าไปซ่องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ได้.

ภิกษุ ผู้ใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราจักบัญญัติการมา การไป การจุติ การอุปบัติ หรือความเจริญ ความงอกงาม ความไพบูลย์แห่งวิญญาณ โดยเว้นจากรูป จากเวทนา จากสัญญา จากสังขารดังนี้ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

ภิกษุ ถ้าราคะในรูปธาตุ ในเวทนาธาตุ ในสัญญาธาตุในสังขารธาตุ ในวิญญาณธาตุ เป็นอันภิกษุละได้แล้ว (ราโค ปหีโน) เพราะละราคะนั้นได้ อารมณ์สำหรับวิญญาณ ย่อมขาดลง ที่ตั้งแห่งวิญญาณย่อมไม่มี วิญญาณอันไม่มีที่ตั้งนั้น ก็ไม่งอกงาม ไม่ถูกปรุงแต่ง ย่อมหลุดพ้นไป

เพราะหลุดพ้นไป จึงดำรงอยู่ เพราะดำรงอยู่ จึงยินดีพร้อมเพราะยินดีพร้อม จึงไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมปรินิพพานเฉพาะตน นั่นเทียว เธอย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็น อย่างนี้มิได้มี.

ภิกษุ เมื่อบุคคลรู้เห็นอย่างนี้แล อาสวะทั้งหลายย่อมสิ้นไป ในกาลเป็นลำดับ.

หน้า 488

176

สิ่งที่ควรพิจารณาเนืองๆ เพื่อละสังโยชน์
-บาลี ปญฺจก. อํ. ๒๒/๘๑/๕๗.

ภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๕ ประการนี้ อันสตรี บุรุษคฤหัสถ์ หรือบรรพชิต ควรพิจารณาเนืองๆ ๕ ประการเป็นอย่างไร คือ สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า
(๑) เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้
(๒) เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้
(๓) เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้
(๔) เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น
(๕) เรามีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง ทำกรรมใดไว้ ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เราจะเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น

ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไรสตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆ ว่าเรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้

ภิกษุทั้งหลาย ความมัวเมาในความเป็นหนุ่มสาวมีอยู่แก่สัตว์ทั้งหลาย ซึ่งเป็นเหตุ ให้สัตว์ทั้งหลาย ประพฤติกายทุจริตวจีทุจริต มโนทุจริต เมื่อเขาพิจารณาฐานะนั้น อยู่เนืองๆย่อมละความมัวเมา ในความเป็นหนุ่มสาวนั้นได้โดยสิ้นเชิง หรือว่าทำให้ เบาบางลงได้ ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แล สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ ไปได้.

ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไรสตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆ ว่าเรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้

ภิกษุทั้งหลาย ความมัวเมาในความไม่มีโรคมีอยู่แก่สัตว์ทั้งหลาย ซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ ทั้งหลาย ประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต เมื่อเขาพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนืองๆ ย่อมละความมัวเมา ในความไม่มีโรคนั้น ได้โดยสิ้นเชิง หรือว่าทำให้เบาบางลงได้

ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แล สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไปได้.

ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไรสตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆ ว่าเรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้

ภิกษุทั้งหลาย ความมัวเมาในชีวิตมีอยู่แก่สัตว์ทั้งหลาย ซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลาย ประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริตเมื่อเขาพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนืองๆ ย่อมละความมัวเมาในชีวิตนั้นได้โดยสิ้นเชิง หรือว่าทำให้เบาบางลงได้

ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แล สตรี บุรุษ คฤหัสถ์หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้.

ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไรสตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆ ว่าเราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น

ภิกษุทั้งหลาย ความพอใจ ความรักใคร่ในของรักมีอยู่แก่สัตว์ทั้งหลาย ซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลาย ประพฤติกายทุจริตวจีทุจริต มโนทุจริต เมื่อเขาพิจารณา ฐานะนั้นอยู่เนืองๆ ย่อมละความพอใจ ความรักใคร่นั้นได้โดยสิ้นเชิง หรือว่าทำให้เบาบางลงได้

ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจ ประโยชน์นี้แล สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆว่า เราจะต้องพลัดพราก จากของรักของชอบใจทั้งสิ้น.

ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไรสตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณา เนืองๆ ว่าเรามีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็น กำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง ทำกรรมใดไว้ ดีก็ตามชั่วก็ตาม เราจักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น

ภิกษุทั้งหลายกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต มีอยู่แก่สัตว์ทั้งหลาย เมื่อเขาพิจารณา ฐานะนั้น อยู่เนืองๆ ย่อมละทุจริตเหล่านั้นได้โดยสิ้นเชิง หรือว่าทำให้เบาบางลงได้

ภิกษุทั้งหลายเพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แล สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณา เนืองๆ ว่า เรามีกรรมเป็นของตนเป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็น กำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง ทำกรรมใดไว้ ดีก็ตาม ชั่วก็ตามเราจักเป็น ผู้รับผลของกรรมนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ไม่ใช่เราแต่ผู้เดียวเท่านั้น ที่มีความแก่ เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ โดยที่แท้ สัตว์ทั้งปวงที่มีการมา การไปการจุติ การอุบัติ ล้วนมีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้

เมื่ออริยสาวกนั้นพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนืองๆ มรรคย่อมเกิดขึ้นอริยสาวกนั้นย่อมเสพ อบรม ทำให้มาก ซึ่งมรรคนั้น เมื่อเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละ สังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป.

อริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ไม่ใช่เราแต่ผู้เดียวเท่านั้นที่มีความเจ็บไข้ เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้ โดยที่แท้ สัตว์ทั้งปวงที่มีการมา การไป การจุติการอุบัติ ล้วนมีความเจ็บไข้ เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้

เมื่ออริยสาวกนั้นพิจารณาฐานะนั้น อยู่เนืองๆ มรรคย่อมเกิดขึ้น อริยสาวกนั้น ย่อมเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละ สังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป.

อริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ไม่ใช่เราแต่ผู้เดียวเท่านั้นที่มีความตาย เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ โดยที่แท้ สัตว์ทั้งปวงที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติล้วนมีความตาย เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้

เมื่ออริยสาวกนั้นพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนืองๆ มรรคย่อมเกิดขึ้ นอริยสาวกนั้น ย่อมเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นเมื่อเสพอบรมทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป.

อริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ไม่ใช่เราแต่ผู้เดียวเท่านั้น ที่จะต้องพลัดพราก จากของรัก ของชอบใจทั้งสิ้น โดยที่แท้สัตว์ทั้งปวงที่มีการมา การไป การจุติการอุบัติ ล้วนจะต้องพลัดพราก จากของรักของชอบใจทั้งสิ้น

เมื่ออริยสาวกนั้นพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนืองๆ มรรคย่อมเกิดขึ้น อริยสาวกนั้นย่อมเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นเมื่อเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ ได้อนุสัยย่อมสิ้นไป.

อริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ไม่ใช่เราแต่ผู้เดียวเท่านั้นที่มีกรรมเป็นของตน เป็นทายาท แห่งกรรมมีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งทำกรรม ใดไว้ ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เราจักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น

โดยที่แท้สัตว์ทั้งปวงที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติล้วนมีกรรม เป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็น กำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง ทำกรรมใดไว้ ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม จักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น เมื่ออริยสาวกนั้นพิจารณา ฐานะนั้น อยู่เนืองๆ มรรคย่อมเกิดขึ้นอริยสาวกนั้นย่อมเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรค นั้นอยู่ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป.

สัตว์ทั้งหลาย ย่อมมีความแก่เป็นธรรมดา มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา มีความตายเป็น ธรรมดา สัตว์ทั้งหลายย่อมเป็นไปตามธรรมดา พวกปุถุชนย่อมเกลียด ถ้าเรา พึงเกลียดธรรมนั้น ในพวกสัตว์ผู้มีอย่างนั้นเป็นธรรมดา ข้อนั้นไม่สมควรแก่เรา ผู้เป็นอยู่อย่างนี้ เรานั้นเป็นอยู่อย่างนี้ ทราบธรรมที่หาอุปธิมิได้ เห็นการออกบวช โดยเป็นธรรมเกษม ครอบงำความมัวเมาทั้งปวง ในความไม่มีโรค ในความเป็น หนุ่มสาว และในชีวิต ความอุตสาหะได้มีแล้วแก่เรา ผู้เห็นเฉพาะซึ่งนิพพาน บัดนี้ เราไม่ควรเพื่อเสพกามทั้งหลายจักเป็นผู้ประพฤติไม่ถอยหลัง ตั้งหน้าประพฤติ พรหมจรรย์.

หน้า 455


177

ปริหานธรรม อปริหานธรรม และอภิภายตนะ ๖
-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๙๕/๑๔๐.

ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปริหานธรรม อปริหานธรรมและอภิภายตนะ ๖ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง.

ก็ปริหานธรรมเป็นอย่างไร คือ ภิกษุทั้งหลายอกุศลธรรมอันเป็นบาปทั้งหลาย มีความดำริซ่านไป เป็นฝ่ายสังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะเห็นรูป ด้วยตา ถ้าภิกษุให้สิ่งนั้นอาศัยอยู่ ไม่ละ ไม่บรรเทาไม่กำจัดเสีย ไม่ให้หายไป ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า เราย่อมเสื่อมจากกุศลธรรม ทั้งหลาย เหตุนี้พระผู้มีพระภาค จึงกล่าวว่าเป็นความเสื่อม.

ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง อกุศลธรรมอันเป็นบาปทั้งหลาย มีความดำริซ่านไป เป็นฝ่ายสังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะได้ฟังเสียงด้วยหู …เพราะได้กลิ่น ด้วยจมูก … เพราะได้ลิ้มรสด้วยลิ้น …

เพราะได้ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ถ้าภิกษุให้สิ่งนั้น อาศัยอยู่ ไม่ละไม่บรรเทา ไม่กำจัดเสีย ไม่ให้หายไป ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่าเราย่อมเสื่อมจาก กุศลธรรมทั้งหลาย เหตุนี้พระผู้มีพระภาคจึงกล่าวว่าเป็นความเสื่อม.

ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง อกุศลธรรมอันเป็นบาปทั้งหลาย มีความดำริซ่านไป เป็นฝ่ายสังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะได้รู้แจ้งธรรมด้วยใจ ถ้าภิกษุให้สิ่งนั้น อาศัยอยู่ ไม่ละ ไม่บรรเทา ไม่กำจัดเสีย ไม่ให้หายไป ข้อนั้นภิกษุ พึงทราบว่า เราย่อมเสื่อมจาก กุศลธรรมทั้งหลาย เหตุนี้พระผู้มีพระภาคจึงกล่าวว่า เป็นความเสื่อม.

ภิกษุทั้งหลาย ปริหานธรรมเป็นอย่างนี้แล.

ภิกษุทั้งหลาย ก็อปริหานธรรมเป็นอย่างไร คือภิกษุทั้งหลาย อกุศลธรรมอันเป็นบาป ทั้งหลาย มีความดำริซ่านไป เป็นฝ่ายสังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุในธรรม-วินัยนี้ เพราะเห็นรูปด้วยตา

ถ้าภิกษุไม่ให้สิ่งนั้นอาศัยอยู่ละ บรรเทา กำจัดให้หายไป ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า เราย่อมไม่เสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย เหตุนี้พระผู้มีพระภาคจึงกล่าวว่า เป็นความไม่เสื่อม.

ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง อกุศลธรรมอันเป็นบาปทั้งหลาย มีความดำริซ่านไป เป็นฝ่ายสังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะได้ฟังเสียงด้วยหู … เพราะได้กลิ่น ด้วยจมูก … เพราะได้ลิ้มรสด้วยลิ้น …

เพราะได้ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ถ้าภิกษุไม่ให้สิ่งนั้น อาศัยอยู่ละ บรรเทา กำจัดให้หายไป ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า เราย่อมไม่เสื่อมจากกุศลธรรม ทั้งหลาย เหตุนี้พระผู้มีพระภาคจึงกล่าวว่า เป็นความไม่เสื่อม.

ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง อกุศลธรรมอันเป็นบาปทั้งหลาย มีความดำริซ่านไป เป็นฝ่ายสังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะได้รู้แจ้งธรรมด้วยใจ ถ้าภิกษุไม่ให้สิ่งนั้น อาศัยอยู่ ละ บรรเทา กำจัดให้หายไป

ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า เราย่อมไม่เสื่อมจากกุศลธรรม ทั้งหลาย เหตุนี้พระผู้มีพระภาค จึงกล่าวว่า เป็นความไม่เสื่อม.

ภิกษุทั้งหลาย อปริหานธรรมเป็นอย่างนี้แล.

ภิกษุทั้งหลาย ก็อภิภายตนะ ๖ เป็นอย่างไร คือภิกษุทั้งหลาย อกุศลธรรมอันเป็นบาป ทั้งหลาย มีความดำริซ่านไป เป็นฝ่ายสังโยชน์ ย่อมไม่เกิดขึ้นแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะเห็นรูปด้วยตา

ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่าอายตนะนี้ เราครอบงำแล้ว อายตนะนี้ พระผู้มีพระภาคกล่าวว่า เป็นอภิภายตนะ.

ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง อกุศลธรรมอันเป็นบาปทั้งหลายมีความดำริซ่านไป เป็นฝ่ายสังโยชน์ ย่อมไม่เกิดขึ้นแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะได้ฟังเสียงด้วยหู… เพราะได้กลิ่นด้วยจมูก … เพราะได้ลิ้มรสด้วยลิ้น …เพราะได้ถูกต้องโผฏฐัพพะ ด้วยกาย

ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่าอายตนะนี้ เราครอบงำแล้ว อายตนะนี้ พระผู้มีพระภาคกล่าวว่า เป็นอภิภายตนะ.

ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง อกุศลธรรมอันเป็นบาปทั้งหลาย มีความดำริซ่านไป เป็นฝ่ายสังโยชน์ ย่อมไม่เกิดขึ้นแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะได้รู้แจ้งธรรมด้วยใจ ข้อนั้นภิกษุ พึงทราบว่า อายตนะนี้เราครอบงำแล้ว อายตนะนี้พระผู้มีพระภาคกล่าวว่า เป็นอภิภายตนะ.

ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล เรากล่าวว่า อภิภายตนะ๖ เป็นอย่างนี้แล.

หน้า 459

178

ผลของความไม่ประมาท ในผัสสายตนะ ๖
-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๑๕๗/๒๑๓.

ภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวว่า ความไม่ประมาทในผัสสายตนะ ๖ อันภิกษุทั้งปวงเทียว ควรทำ.

ภิกษุทั้งหลาย แต่เราไม่กล่าวว่า ความไม่ประมาทในผัสสายตนะ ๖ อันภิกษุทั้งปวงเทียวไม่ควรทำ.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใดเป็นอรหันต์ สิ้นอาวสะแล้ว มีพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว ทำกิจที่ควรทำ เสร็จแล้ว ปลงภาระลงแล้ว มีประโยชน์ตนอันบรรลุโดยลำดับแล้ว มีสังโยชน์ในภพหมดสิ้นแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ.

ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า ความไม่ประมาทในผัสสา-ยตนะ ๖ อันภิกษุเหล่านั้น ไม่ควรทำ ข้อนั้น เพราะเหตุอะไรเพราะเหตุว่าความไม่ประมาทของภิกษุเหล่านั้น ไม่ควรแล้วเพื่อประมาทได้อีก เพราะความไม่ประมาทนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย แต่ว่าภิกษุเหล่าใด ยังเป็นเสขะยังไม่บรรลุอรหัตตผล ปรารถนาธรรม เป็นแดนเกษมจากโยคะอันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า.

ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า ความไม่ประมาทในผัสสายตนะ ๖ อันภิกษุเหล่านั้นควรทำ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะเหตุว่ารูปทั้งหลายอันจะพึงรู้ได้ด้วยตา อันเป็นที่รื่นรมย์ใจก็มี อันไม่เป็นที่รื่นรมย์ใจก็มี รูปเหล่านั้นถูกต้องแล้วๆ ย่อมไม่กลุ้มรุมจิตของบุคคลผู้ไม่ประมาท ตั้งอยู่เพราะการไม่ถูกกลุ้มรุมจิต ความเพียรเป็นคุณอันบุคคลนั้นปรารภแล้ว ไม่ให้ย่อหย่อน สติเป็นธรรมชาติ อันบุคคลนั้นเข้าไปตั้งไว้แล้ว ไม่ให้หลงลืม กายสงบ ไม่กระสับกระส่ายจิตตั้งมั่น มีอารมณ์อันเดียว.

ภิกษุทั้งหลาย เราเห็นผลแห่งความไม่ประมาทนี้แลจึงกล่าวว่า ความไม่ประมาทใน ผัสสายตนะ ๖ อันภิกษุเหล่านั้นควรทำ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะเหตุว่า เสียงทั้งหลายอันจะพึงรู้ได้ด้วยหู … กลิ่นทั้งหลายอันจะพึงรู้ได้ ด้วยจมูก … รสทั้งหลายอันจะพึงรู้ได้ด้วยลิ้น … โผฏฐัพพะทั้งหลาย อันจะพึงรู้ได้ด้วยกาย ธรรมทั้งหลายอันจะพึงรู้แจ้งด้วยใจ อันเป็นที่รื่นรมย์ใจก็มี อันไม่เป็นที่รื่นรมย์ใจก็มี

ธรรมเหล่านั้นถูกต้องแล้วๆ ย่อมไม่กลุ้มรุมจิตของบุคคลผู้ไม่ประมาทตั้งอยู่ เพราะการไม่กลุ้มรุมจิต ความเพียรเป็นคุณอันบุคคลนั้นปรารภแล้ว ไม่ให้ย่อหย่อน สติเป็นธรรมชาติ อันบุคคลนั้นเข้าไปตั้งไว้แล้ว ไม่ให้หลงลืม กายสงบ ไม่กระสับกระส่าย จิตตั้งมั่น มีอารมณ์อันเดียว.

ภิกษุทั้งหลาย เราเห็นผลแห่งความไม่ประมาทนี้แล จึงกล่าวว่า ความไม่ประมาท ในผัสสายตนะ ๖ อันภิกษุเหล่านั้นควรทำ.

หน้า 462

179

ผลของการมีสังวร และไม่มีสังวร
-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๒๓๔/๓๓๔.

ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นเครื่องประพฤติ และธรรมเป็นเครื่องอยู่ เป็นอันติดตามภิกษ ุผู้ประพฤติ อยู่ด้วยอาการ ที่อกุศลธรรมอันเป็นบาป คือ อภิชฌาและโทมนัส ย่อมไม่ครอบงำภิกษุนั้นได้

ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษ ผู้เข้าไปสู่ป่าที่มีหนามมาก ข้างหน้าบุรุษนั้น ก็มีหนาม ข้างซ้ายก็มีหนาม ข้างขวาก็มีหนาม ข้างล่างก็มีหนาม ข้างบนก็มีหนาม บุรุษนั้น ต้องมีสติก้าวเข้าไปข้างหน้า หรือถอยกลับข้างหลัง ด้วยคิดว่าหนามอย่ายอก อย่าตำเราเลย

ภิกษุทั้งหลาย ฉันใดก็ฉันนั้น ภาวะเป็นที่รัก ภาวะเป็นที่ยินดีใดๆ ในโลก เรากล่าวว่า เป็นหนาม ในอริยวินัยภิกษุรู้แจ้งอย่างนี้แล้ว พึงทราบอสังวรและสังวร.

ภิกษุทั้งหลาย อสังวรย่อมมีอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปด้วยตาแล้ว ย่อมน้อมใจไปในรูป อันน่ารัก ย่อมขัดเคืองในรูปอันไม่น่ารัก เป็นผู้ไม่เข้าไปตั้ง กายคตาสติไว้ มีใจมีประมาณน้อยอยู่ และย่อมไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับไม่เหลือแห่งอกุศลธรรม อันเป็นบาป ที่บังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ตามความเป็นจริง …

ภิกษุรู้แจ้งธรรมด้วยใจแล้ว ย่อมน้อมใจไปในธรรม อันน่ารัก ย่อมขัดเคืองในธรรม อันไม่น่ารัก เป็นผู้ไม่เข้าไปตั้งกายคตาสติไว้แล้ว มีใจมีประมาณน้อยอยู่ และย่อมไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับไม่เหลือแห่ง อกุศลธรรมอันเป็นบาป ที่บังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอตามความเป็นจริง ภิกษุทั้งหลาย อสังวรย่อมมี อย่างนี้แล.

ภิกษุทั้งหลาย สังวรย่อมมีอย่างไร ภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยตา แล้ว ย่อมไม่น้อมใจไปในรูปอันน่ารัก ย่อมไม่ขัดเคืองในรูปอันไม่น่ารัก เป็นผู้เข้าไป ตั้งกายคตาสติไว้ มีใจหาประมาณมิได้อยู่ ย่อมรู้ชัดซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับไม่เหลือแห่งอกุศลธรรม อันเป็นบาป ที่บังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ตามความเป็นจริง …

ภิกษุรู้แจ้งธรรมด้วยใจแล้ว ย่อมไม่น้อมใจ ไปในธรรมอันน่ารักไม่ขัดเคืองในธรรม อันไม่น่ารัก เป็นผู้เข้าไปตั้งกายคตาสติไว้ มีใจหาประมาณ มิได้อยู่ และย่อมรู้ชัด ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญา-วิมุตติ อันเป็นที่ดับไม่เหลือแห่งอกุศลธรรม อันเป็นบาป ที่บังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอตามความเป็นจริง ภิกษุทั้งหลายสังวรย่อมมีอย่างนี้แล.

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุนั้นประพฤติอย่างนี้อยู่อย่างนี้ อกุศลธรรมอันเป็นบาป คือ ความดำริอัน ซ่านไปเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ ย่อมบังเกิดขึ้นเพราะความหลงลืมแห่งสติ บางครั้งบางคราว การบังเกิดขึ้นแห่งสติช้า ที่นั้นแลภิกษุนั้นย่อมละ ย่อมบรรเทา อกุศลธรรม อันเป็นบาปนั้น ย่อมกระทำให้พินาศ ย่อมให้ถึงความไม่มีได้เร็วพลัน ภิกษุทั้งหลาย บุรุษพึงให้หยดน้ำสอง หรือสามหยดตกลงในกะะทะเหล็ก อันร้อนจัด ตลอดวัน หยาดน้ำตกลงช้าทีนั้นแล น้ำนั้นพึง ถึงความสิ้นไป เหือดแห้งไปเร็วพลัน แม้ฉันใด

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุนั้นประพฤตอย่างนี้ อยู่อย่างนี้ อกุศลธรรมอันเป็นบาป คือ ความดำริ อันซ่านไป เป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ย่อมบังเกิดขึ้น เพราะความหลงลืม แห่งสติ บางครั้ง บางคราว การบังเกิดขึ้นแห่งสติช้า ที่นั้นแล ภิกษุนั้นย่อมละ ย่อมบรรเทา อกุศลธรรมอันเป็นบาปนั้น ย่อมกระทำให้พินาศ ย่อมให้ถึงความไม่มี ได้เร็วพลัน ฉันนั้นเหมือนกันแล

ภิกษุทั้งหลาย อกุศลธรรมอันเป็นบาป คือ อภิชฌาและโทมนัส ย่อมไม่ครอบงำภิกษุ ผู้ประพฤติ อยู่ด้วยอาการใดธรรม เป็นเครื่องประพฤติและธรรม เป็นเครื่องอยู่ เป็นอันติดตามภิกษุ ด้วยอาการอย่างนี้แล.


หน้า 465

180

ข้อปฏิบัติเพื่อดับความดำริอันเป็นอกุศล
-บาลี ม. ม. ๑๓/๓๔๙/๓๖๔.

ช่างไม้ ก็ความดำริอันเป็นอกุศลเป็นอย่างไรช่างไม้ ความดำริในกาม ความดำริใน พยาบาท ความดำริในการเบียดเบียน เหล่านี้เรากล่าวว่า ความดำริเป็นอกุศล ก็ความดำริเป็นอกุศลนี้ มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด แม้เหตุให้เกิดแห่งความดำริ เป็นอกุศลเหล่านั้น เรากล่าวแล้วว่ามีสัญญา เป็นเหตุให้เกิด สัญญาเป็นอย่างไร แม้สัญญาเล่าก็มีมากหลายอย่าง มีประการต่างๆ สัญญาใดเป็น สัญญาในกาม เป็นสัญญาในพยาบาท เป็นสัญญาในการเบียดเบียน ความดำริเป็นอกุศลมีสัญญานี้ เป็นเหตุให้เกิด.

ช่างไม้ ก็ความดำริอันเป็นอกุศลเหล่านี้ ดับไม่เหลือในที่ไหน แม้ความดับแห่ง ความดำริ อันเป็นอกุศลนั้น เราก็กล่าวไว้แล้ว ช่างไม้ ในกรณีนี้ ภิกษุ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุ ปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดจากวิเวกอยู่ ความดำริเป็นอกุศลเหล่านี้ ย่อมดับไม่เหลือ ในปฐมฌานนั้น.

ช่างไม้ ก็ผู้ปฏิบัติอย่างไร จึงจะชื่อว่าปฏิบัติเพื่อความดับแห่งความดำริเป็นอกุศล ช่างไม้ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ยังฉันทะให้เกิด พยายามปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ตั้งมั่น เพื่อยังอกุศลธรรมอันเป็นบาปที่ยังไม่เกิดไม่ให้เกิดขึ้น…
เพื่อละอกุศลธรรม อันเป็นบาปที่เกิดขึ้นแล้ว … เพื่อยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น … เพื่อความตั้งมั่น เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อความงอกงาม เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความเต็มเปี่ยมแห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ช่างไม้ ผู้ปฏิบัติอย่างนี้ แลชื่อว่า ปฏิบัติเพื่อความดับแห่งความดำริเป็นอกุศล.

ช่างไม้ ก็ความดำริอันเป็นกุศลเป็นอย่างไร ช่างไม้ความดำริในเนกขัมมะ ความดำริ ในความไม่ พยาบาท ความดำริในความไม่เบียดเบียน เหล่านี้เราก็กล่าวว่าความดำริ เป็นกุศล.

ช่างไม้ ก็ความดำริเป็นกุศลนี้ มีอะไรเป็นเหตุให้เกิดแม้เหตุให้เกิดแห่งความดำริ เป็นกุศลนั้น เรากล่าวแล้วว่า มีสัญญาเป็นเหตุให้เกิด สัญญาเป็นอย่างไร แม้สัญญา ก็มีมากหลายอย่าง มีประการต่างๆ สัญญาใดเป็นสัญญาในเนกขัมมะ เป็นสัญญา ในความไม่พยาบาท เป็นสัญญาในอันไม่เบียดเบียนความดำริ เป็นกุศลมีสัญญานี้เป็น เหตุให้เกิด.

ช่างไม้ ก็ความดำริอันเป็นกุศลเหล่านี้ ดับไม่เหลือในที่ไหน แม้ความดับแห่งความ ดำริที่เป็นกุศลนั้น เราก็กล่าวไว้แล้ว ช่างไม้ ในกรณีนี้ ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตก วิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดจากสมาธิ อยู่ความดำริอันเป็นกุศลเหล่านี้ ดับไม่เหลือ ในทุติยฌานนั้น.

ช่างไม้ ก็ผู้ปฏิบัติอย่างไร จึงจะชื่อว่าปฏิบัติเพื่อความดับแห่งความดำริเป็นกุศล ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ตั้งมั่น เพื่อยังอกุศลธรรมอันเป็นบาป ที่ยังไม่เกิดไม่ให้เกิดขึ้น… เพื่อละอกุศลธรรม อันเป็นบาปที่เกิดขึ้นแล้ว … เพื่อยังกุศลธรรม ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น … เพื่อความตั้งมั่น เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อความงอกงาม เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความเต็มเปี่ยมแห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว

ช่างไม้ ผู้ปฏิบัติอย่างนี้แล ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อความดับแห่งความดำริเป็นกุศล.


หน้า 468

181

ผลของการละอกุศลวิตก
-บาลี มู. ม. ๑๒/๒๔๑/๒๕๗.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ฝึกฝนในอธิจิต ควรกระทำไว้ในใจ ถึงนิมิต ๕ ประการ ตามเวลาอันสมควร นิมิต ๕ประการ เป็นอย่างไร.

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้ อาศัยนิมิตใดแล้วมนสิการนิมิตใดอยู่ วิตกทั้งหลาย อันเป็นบาปอกุศลประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ย่อมเกิดขึ้น

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นควรมนสิการนิมิตอื่น จากนิมิตนั้นอันประกอบด้วยกุศล เมื่อเธอมนสิการนิมิตอื่นจากนิมิตนั้น อันประกอบด้วยกุศลอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ย่อมถึงความตั้งอยู่ ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบระงับอยู่ ด้วยดี เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่ในภายในนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนช่างไม้ หรือลูกมือของช่างไม้ผู้ฉลาด ใช้ลิ่มอันเล็ก ตอก โยก ถอน ลิ่มอันใหญ่ออกแม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่ออาศัย นิมิตใดแล้ว มนสิการ นิมิตใดอยู่ วิตกทั้งหลายอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะ บ้าง ประกอบด้วยโทสะบ้าง ประกอบด้วยโมหะบ้าง ย่อมเกิดขึ้น

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นควรมนสิการนิมิตอื่น จากนิมิตนั้นอันประกอบด้วยกุศล เมื่อเธอ มนสิการนิมิต นั้นอันประกอบด้วยกุศลอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล อันประกอบด้วย ฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบระงับอยู่ด้วยดี เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่ในภายในนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย หากว่า เมื่อภิกษุนั้นมนสิการนิมิตอื่นจากนิมิตนั้น อันประกอบด้วย กุศลอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศลประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ยังเกิดขึ้นเรื่อยๆทีเดียว

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นควรพิจารณาโทษของวิตกเหล่านั้นว่า วิตกเหล่านี้ล้วนแต่เป็น อกุศล แม้อย่างนี้ วิตกเหล่านี้ล้วนแต่เป็นโทษ แม้อย่างนี้ วิตกเหล่านี้ ล้วนแต่มีทุกข์ เป็นวิบาก แม้อย่างนี้ ดังนี้

เมื่อเธอพิจารณาโทษของวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะ บ้างโทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตก อันเป็นบาป อกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบระงับอยู่ด้วยดี เป็นธรรมเอก ผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่ใน ภายในนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนหญิงสาวหรือชายหนุ่มที่ชอบแต่งตัว รู้สึก อึดอัดระอา เกลียดชัง ต่อซากงู ซากสุนัขัหรือซากมนุษย์ ซึ่งผูกติดอยู่ที่คอ (ของตน) แม้ฉันใด

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน หากเมื่อเธอมนสิการนิมิตอื่นจากนิมติ นัน้ อนั ประกอบดว้ ยกศุ ลอยู่ วติ กอันเป็นบาปอกุศลประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ยังเกิดขึ้นเรื่อยๆ

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นควรพิจารณาโทษของวิตกเหล่านั้นว่า วิตกเหล่านี้ล้วนแต่เป็น อกุศลแม้อย่างนี้ วิตกเหล่านี้ล้วนแต่เป็นโทษแม้อย่างนี้ วิตกเหล่านี้ล้วนแต่มีทุกข์ เป็นวิบากแม้อย่างนี้ดังนี้

เมื่อเธอพิจารณาโทษของวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้างโทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบระงับอยู่ด้วยดี เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่ในภายในนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย หากว่าเมื่อภิกษุนั้นพิจารณาโทษของวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาป อกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ยังเกิดขึ้นเรื่อยๆ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงถึงความไม่นึก ไม่ใส่ใจวิตกเหล่านั้นเมื่อเธอถึงความไม่นึก ไม่ใส่ใจวิตก เหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศล เหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบระงับอยู่ด้วยดี เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่ในภายในนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีจักษุ ไม่ต้องการจะเห็น รูปที่ผ่านมา เขาพงึ หลับตาเสีย หรือเหลียวไปทางอื่นเสียแม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้น เหมือนกัน หากเมื่อเธอพิจารณาโทษของวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ยังเกิดขึ้นเรื่อยๆ

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงถึงความไม่นึก ไม่ใส่ใจวิตกเหล่านั้น เมื่อเธอถึงความไม่นึก ไม่ใส่ใจวิตกเหล่านั้นอยู่อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตก อันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบระงับอยู่ด้วย เป็นธรรมเอก ผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่ในภายในนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย หากว่าเมื่อภิกษุนั้นถึงความไม่นึกไม่ใส่ใจวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ยังเกิดขึ้นเรื่อยๆ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นควรมนสิการสัณฐานแห่งวิตกสังขารของวิตกเหล่านั้น

เมื่อเธอมนสิการสัณฐานแห่งวิตก สังขารของวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้างโทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบระงับอยู่ ด้วยดี เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่ในภายในนั้น.

ภิกษุท้้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษพึงเดินเร็ว เขามีความคิดอย่างนี้ว่า เราจะเดินเร็ว ทำไมหนอ
ถ้ากระไร เราควรค่อยๆเดิน เขาก็ค่อยๆเดิน เขามีความคิดอย่างนี้ว่าเราค่อยๆเดินไป ทำไมหนอ
ถ้ากระไร เราควรยืน เขาก็ยืนเขามีความคิดอย่างนี้ว่า เราจะยืนทำไมหนอ
ถ้ากระไร เราควรนั่ง เขาก็นั่ง เขามีความคิดอย่างนี้ว่า เราจะนั่งทำไมหนอ
ถ้ากระไร เราควรนอน เขาก็ลงนอน
ภิกษุทั้งหลายก็บุรุษ คนนั้นเปลี่ยนจากอิริยาบถหยาบๆเสียแล้วสำเร็จ อยู่ด้วย อิริยาบถ ละเอียดๆ แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน หากว่าเมื่อเธอ ถึงความไม่นึก ไม่ใส่ใจวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะ บ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ยังเกิดขึ้นเรื่อยๆ

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นควรมนสิการสัณฐานแห่งวิตกสังขารของวิตกเหล่านั้น เมื่อเธอมนสิการสัณฐานแห่งวิตกสังขารของวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้างอันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบระงับอยู่ ด้วยดี เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่ในภายในนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย หากว่าเมื่อภิกษุนั้น มนสิการถึงสัณฐานแห่งวิตกสังขาร ของวิตก แม้เหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็น บาปอกุศลประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ยังเกิดขึ้นเรื่อยๆ ภิกษุนั้นพึงกัดฟันด้วยฟัน ดุนเพดานด้วยลิ้น ข่ม บีบคั้นบังคับจิต ด้วยจิต เมื่อเธอกัดฟันด้วยฟัน ดุนเพดานด้วยลิ้นข่มบีบ คั้น บังคับจิต ด้วยจิต อยู่วิตกอันเป็น บาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตก อันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบระงับอยู่ด้วยดี เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่ในภายในนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือน เหมือนบุรุษผู้มีกำลังมากจับบุรุษผู้มีกำลังน้อยกว่า ไว้ได้แล้ว บีบ กด เค้นที่ศีรษะ คอหรือก้านคอไว้ให้แน่น แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน หากเมื่อเธอมนสิการถึงสัณฐานแห่งวิตก-สังขาร ของวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ยังเกิดขึ้น เรื่อยๆ

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้น พึง กัดฟัน ด้วยฟัน ดุนเพดานด้วยลิ้น ข่มบีบคั้น บังคับจิต ด้วยจิต เมื่อเธอกัดฟันด้วยฟัน ดุนเพดานด้วยลิ้น ข่ม บีบคั้น บังคับจิตด้วยจิตอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละ เสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศล เหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบระงับอยู่ด้วยดี เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่ในภายในนั้น.

(เมื่อสามารถละอกุศลวิตกจากวิธีใดวิธีหนึ่งข้างต้นได้แล้วทรงตรัสสรุปในตอนท้ายว่า)

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรากล่าวว่า เป็นผู้ชำนาญในทางเดินของวิตก เธอจักจำนง วิตกใด ก็จักตรึกวิตกนั้นได้จักไม่จำนงวิตกใด ก็จักไม่ตรึกวิตกนั้นได้ เธอนั้นตัดตัณหา ได้แล้ว คลี่คลายสังโยชน์ได้แล้ว ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้แล้วเพราะละมานะ ได้โดยชอบ.

หน้า 475

182

สมัยที่ควรเข้าไปพบ ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ
-บาลี ฉกฺก. อํ. ๒๒/๓๕๔/๒๙๘.

ภิกษุ สมัยที่ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ มี ๖ ประการนี้ ๖ ประการเป็นอย่างไร คือภิกษุ สมัยใด ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีใจถูกกามราคะกลุ้มรุม ถูกกามราคะครอบงำอยู่ และเธอย่อมไม่ทราบชัดซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออก แห่งกามราคะ ที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง

สมัยนั้น ภิกษุนั้น พึงเข้าไปหาภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ ผมมีใจถูกกามราคะกลุ้มรุม ถูกกามราคะครอบงำอยู่ และไม่ทราบชัดซึ่ง อุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งกามราคะ ที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง สาธุ ขอท่านผู้มีอายุ โปรดแสดงธรรมเพื่อละกามราคะแก่ผม ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ย่อมแสดงธรรมเพื่อละกามราคะแก่เธอ ภิกษุ นี้เป็นสมัยที่ ๑ ที่ควรเข้าไปพบภิกษุ ผู้เจริญภาวนาทางใจ.

อีกประการหนึ่ง สมัยใด ภิกษุมีใจถูกพยาบาท กลุ้มรุมถูกพยาบาทครอบงำอยู่ และเธอย่อมไม่ทราบชัด ซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งพยาบาท ที่เกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง สมัยนั้น ภิกษุนั้น พึงเข้าไปหาภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ ผมมีใจถูกพยาบาทกลุ้มรุม ถูกพยาบาทครอบงำอยู่ และไม่ทราบชัด ซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งพยาบาท ที่เกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง สาธุ ขอท่านผู้มีอายุ โปรดแสดงธรรม เพื่อละพยาบาทแก่ผม ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ย่อมแสดงธรรมเพื่อละพยาบาทแก่เธอ ภิกษุ นี้เป็นสมัยที่ ๒ ที่ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ.

อีกประการหนึ่ง สมัยใด ภิกษุมีใจถูกถีนมิทธะกลุ้มรุมถูกถีนมิทธะครอบงำอยู่ และเธอย่อมไม่ทราบชัด ซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งถีนมิทธะ ที่เกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง สมัยนั้น ภิกษุนั้น พึงเข้าไปหาภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ ผมมีใจถูกถีนมิทธะกลุ้มรุม ถูกถีนมิทธะครอบงำอยู่ และไม่ทราบชัด ซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งถีนมิทธะ ที่เกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง สาธุ ขอท่านผู้มีอายุ โปรดแสดงธรรม เพื่อละถีนมิทธะแก่ผม ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ย่อมแสดงธรรมเพื่อละถีนมิทธะแก่เธอ ภิกษุ นี้เป็นสมัยที่ ๓ ที่ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ.

อีกประการหนึ่ง สมัยใด ภิกษุมีใจถูกอุทธัจจกุกกุจจะกลุ้มรุม อุทธัจจกุกกุจจะ ครอบงำอยู่ และเธอย่อมไม่ทราบชัดซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งอุทธัจจกุกกุจจะ ที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง สมัยนั้น ภิกษุนั้น พึงเข้าไปหาภิกษุผู้เจริญภาวนา ทางใจ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ ผมมีใจถูกอุทธัจจกุกกุจจะกลุ้มรุม ถูก อุทธัจจกุกกุจจะครอบงำอยู่และไม่ทราบชัด ซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งอุทธัจจ-กุกกุจจะ ที่เกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง สาธุ ขอท่านผู้มีอายุ โปรดแสดงธรรม เพื่อละอุทธัจจกุกกุจจะแก่ผมภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ย่อมแสดงธรรมเพื่อละ อุทธัจจ-กุกกุจจะแก่เธอ ภิกษุ นี้เป็นสมัยที่ ๔ ที่ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนา ทางใจ.

อีกประการหนึ่ง สมัยใด ภิกษุมีใจถูกวิจิกิจฉากลุ้มรุมถูกวิจิกิจฉาครอบงำอยู่ และเธอย่อมไม่ทราบชัด ซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งวิจิกิจฉา ที่เกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง สมัยนั้น ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ ผมมีใจถูกวิจิกิจฉากลุ้มรุม ถูกวิจิกิจฉาครอบงำอยู่ และไม่ทราบชัด ซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง สาธุ ขอท่านผู้มีอายุ โปรดแสดงธรรม เพื่อละวิจิกิจฉาแก่ผม ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ย่อมแสดงธรรมเพื่อละวิจิกิจฉาแก่เธอ ภิกษุ นี้เป็นสมัยที่ ๕ ที่ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ.

อีกประการหนึ่ง สมัยใด ภิกษุ อาศัยนิมิตใด ทำในใจซึ่งนิมิตใด อันเป็นที่สิ้นไป แห่งอาสวะโดยลำดับอยู่ แต่เธอไม่รู้ ไม่เห็นซึ่งนิมิตนั้น สมัยนั้น ภิกษุนั้น พึงเข้าไปหาภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ ผมอาศัยนิมิตใด ทำในใจซึ่งนิมิตใด อันเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะโดยลำดับอยู่ แต่ผมไม่รู้ ไม่เห็นซึ่งนิมิตนั้น สาธุ ขอท่านผู้มีอายุ โปรดแสดงธรรม เพื่อความสิ้น อาสวะแก่ผม ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ย่อมแสดงธรรม เพื่อความสิ้นอาสวะแก่เธอ ภิกษุ นี้เป็นสมัยที่ ๖ ที่ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ.


หน้า 479

183

ผลของการมีมิตรดี
-บาลี ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๗๒/๓๓๘.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีมิตรชั่ว มีสหายชั่ว มีเพื่อนฝูงชั่วเสพคบ เข้าไปนั่งใกล้มิตรชั่ว และประพฤติตามมิตรชั่วเหล่านั้นอยู่ จักบำเพ็ญธรรม คือ อภิสมาจาริกวัตรให้บริบูรณ์ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อภิกษุไม่บำเพ็ญธรรม คืออภิสมาจาริกวัตร ให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญเสขธรรมให้บริบูรณ์ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อไม่บำเพ็ญเสขธรรมให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญศีลทั้งหลายให้บริบูรณ์ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อไม่บำเพ็ญศีลทั้งหลายให้บริบูรณ์แล้ว จักละกามราคะ รูปราคะ หรืออรูปราคะ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนฝูงดีเสพคบ เข้าไปนั่งใกล้มิตรดี และประพฤติตามมิตรเหล่านั้นอยู่จักบำเพ็ญธรรม คือ อภิสมาจาริกวัตรให้บริบูรณ์ ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อภิกษุบำเพ็ญธรรม คืออภิสมาจาริกวัตรให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญเสขธรรมให้บริบูรณ์ ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อบำเพ็ญเสขธรรม ให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญศีลทั้งหลายให้บริบูรณ์ ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อบำเพ็ญศีลให้บริบูรณ์แล้ว จักละกามราคะ รูปราคะ หรืออรูปราคะ ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้.


หน้า 480

184

ผู้มีกุศลสมบูรณ์
-บาลี ม. ม. ๑๓/๓๕๑/๓๖๖.

ช่างไม้ เราย่อมบัญญัติบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม๑๐ ประการเป็นอย่างไร ว่าเป็นผู้มีกุศลสมบูรณ์ มีกุศลอย่างยิ่ง เป็นสมณะถึงภูมิปฏิบัติอันอุดม ไม่มีใครรบได้ช่างไม้ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วย
(1) สัมมาทิฏฐิอันเป็นอเสขะ
(2) สัมมาสังกัปปะอันเป็นอเสขะ
(3) สัมมาวาจาอันเป็นอเสขะ
(4) สัมมากัมมันตะอันเป็นอเสขะ
(5) สัมมาอาชีวะอันเป็นอเสขะ
(6) สัมมาวายามะอันเป็นอเสขะ
(7) สัมมาสติอันเป็นอเสขะ
(8) สัมมาสมาธิอันเป็นอเสขะ
(9) สัมมาญาณะอันเป็นอเสขะ
(10) สัมมาวิมุตติอันเป็นอเสขะ
ช่างไม้ เราย่อมบัญญัติบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม๑๐ ประการเหล่านี้แล ว่าเป็นผู้มีกุศลสมบูรณ์ มีกุศลอย่างยิ่ง เป็นสมณะถึงภูมิปฏิบัติอันอุดม ไม่มีใครรบได้ ดังนี้.


หน้า 481

185

ผู้มีสังโยชน์ในภายใน และในภายนอก
-บาลี ทุก. อํ. ๒๐/๘๐/๒๘๑.

ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวกับภิกษุทั้งหลายว่า ผู้มีอายุทั้งหลายเราจักแสดงบุคคลที่มีสังโยชน์ในภายใน และบุคคลที่มีสังโยชน์ในภายนอก ท่านทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลที่มีสังโยชน์ในภายในเป็นอย่างไร

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมแล้วในปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย เมื่อแตกกายตายไป ภิกษุนั้นย่อมเข้าถึงหมู่เทพหมู่ใดหมู่หนึ่ง ครั้นจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว เป็นอาคามีกลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้ นี้เรียกว่า บุคคลผู้มีสังโยชน์ในภายใน เป็นอาคามี กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้.

ผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้มีสังโยชน์ในภายนอกเป็นอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมแล้วในปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ภิกษุนั้นย่อมบรรลุเจโตวิมุตติอันสงบอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงหมู่เทพหมู่ใดหมู่หนึ่ง ครั้นจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว เป็นอนาคามีไม่กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้ นี้เรียกว่า บุคคลผู้มีสังโยชน์ในภายนอกเป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้.

ผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีศีลสำรวมแล้วในปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ภิกษุนั้นย่อมปฏิบัติเพื่อความหน่ายเพื่อคลาย เพื่อความดับกามทั้งหลาย ย่อมปฏิบัติเพื่อความหน่าย เพื่อคลาย เพื่อความดับภพทั้งหลาย ย่อมปฏิบัติเพื่อสิ้นตัณหา เพื่อสิ้นความโลภ ภิกษุนั้นเมื่อแตกกายตายไปย่อมเข้าถึงหมู่เทพหมู่ใดหมู่หนึ่ง ครั้นจุติจากอัตภาพนั้นแล้วเป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้ นี้เรียกว่า บุคคลมีสังโยชน์ในภายนอก เป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้.

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระสารีบุตรว่าสารีบุตร เทวดาที่มีจิตเสมอกันมากองค์เข้าไปหาเราจนถึงที่อยู่ ไหว้เราแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วบอกว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระสารีบุตรกำลังเทศนาถึงบุคคลที่มีสังโยชน์ในภายใน และบุคคลที่มีสังโยชน์ในภายนอก แก่ภิกษุทั้งหลายอยู่ที่ปราสาทของนางวิสาขามิคารมารดาในบุพพาราม

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บริษัทร่าเริงขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคทรงพระกรุณา เสด็จไปหาท่านพระสารีบุตรจนถึงที่อยู่เถิด สารีบุตร ก็เทวดาเหล่านั้นยืนอยู่ในโอกาส แม้เท่าปลายเหล็กแหลมจดลง๑๐ องค์บ้าง ๒ ๐ องค์บ้าง ๓ ๐ องค์บ้าง ๔ ๐ องค์บ้าง๕๐ องค์บ้าง ๖๐ องค์บ้าง แต่ก็ไม่เบียดกันและกัน.

สารีบุตร ก็เธอพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า จิตอย่างนั้นซึ่งเป็นเหตุให้เทวดาเหล่านั้นยืนอยู่ได้ในโอกาส แม้เท่าปลายเหล็กแหลมจดลง ๑ ๐ องค์บ้าง … ๖๐ องค์บ้าง เป็นจิตอันเทวดาเหล่านั้นอบรมแล้วในภพนั้นแน่นอน

สารีบุตร ก็ข้อนั้นเธอไม่ควรเห็นเช่นนี้ สารีบุตร ก็จิตอย่างนั้น ซึ่งเป็นเหตุให้เทวดาเหล่านั้นยืนอยู่ได้ในโอกาสแม้เท่าปลายเหล็กแหลมจดลง ๑ ๐ องค์บ้าง … แต่ก็ไม่เบียดกันและกัน เทวดาเหล่านั้นได้อบรมแล้วในศาสนานี้เอง เพราะฉะนั้นแหละ

สารีบุตร เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า จักเป็นผู้มีอินทรีย์สงบ มีใจระงับอยู่ เธอควรศึกษาเช่นนี้แหละ สารีบุตร กายกรรมวจีกรรม มโนกรรมของผู้มีอินทรีย์สงบ มีใจระงับ เพราะฉะนั้นแหละ

สารีบุตร เธอพึงศึกษาว่า จักนำกายและจิตที่สงบระงับแล้วเท่านั้น เข้าไปในพรหมจารีทั้งหลาย สารีบุตรเธอควรศึกษาเช่นนี้แหละ สารีบุตร พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก ที่ไม่ได้ฟังธรรมบรรยายนี้ ได้พากันฉิบหายเสียแล้ว.

หน้า 484

186

ผู้มีสิกขาเป็นอานิสงส์
-บาลี อิติวุ. ขุ. ๒๕/๒๖๐/๒๒๔.

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีสิกขาเป็นอานิสงส์ มีปัญญายิ่ง มีวิมุตติเป็นสาระ มีสติเป็นใหญ่อยู่เถิดภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลายมีสิกขาเป็นอานิสงส์ มีปัญญายิ่ง มีวิมุตติเป็นสาระ มีสติเป็นใหญ่อยู่ พึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตตผลในปัจจุบันหรือเมื่อยังมีความยึดมั่นเหลืออยู่ ก็จะเป็นอนาคามี.

เรากล่าวมุนีผู้มีสิกขาบริบูรณ์ มีความไม่เสื่อมเป็นธรรมดา มีปัญญายิ่ง มีปกติเห็นที่สุด คือความสิ้นไปแห่งชาติผู้ทรงไว้ซึ่งร่างกายอันมีในที่สุดนั้นแล ว่าผู้ละมาร ผู้ถึงฝั่งแห่งชรา เพราะเหตุนั้น ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้ยินดีในฌาน มีจิตตั้งมั่นแล้วในกาลทุกเมื่อ มีความเพียรมีปกติเห็นที่สุด คือ ความสิ้นไปแห่งชาติ ครอบงำมารพร้อมด้วยเสนาได้แล้ว เป็นผู้ถึงฝั่งแห่งชาติและมรณะ.

หน้า 485

187

ผู้มีความเพียรเป็นเครื่องตื่น
-บาลี อิติวุ. ขุ. ๒๕/๒๖๑/๒๒๕.

ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุพึงเป็นผู้มีความเพียรเป็นเครื่องตื่น มีสติสัมปชัญญะ มีจิตตั้งมั่น เบิกบาน ผ่องใสและพึงเป็นผู้เห็นแจ้งในกุศลธรรมทั้งหลาย สมควรแก่กาล ในการประกอบความเพียรนั้นเนืองๆ เถิด

ภิกษุทั้งหลายเมื่อภิกษุมีความเพียรเป็นเครื่องตื่น มีสติสัมปชัญญะ มีจิตตั้งมั่น เบิกบาน ผ่องใส เห็นแจ้งในกุศลธรรมทั้งหลาย สมควรแก่กาลในการประกอบ ความเพียรนั้นเนืองๆ พึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีความยึดมั่นเหลืออยู่ ก็จะเป็นอนาคามี.

เธอทั้งหลายตื่นอยู่ จงฟังคำนี้ เธอเหล่าใดผู้หลับแล้วเธอเหล่านั้นจงตื่น ความเป็นผู้ตื่นจากความหลับเป็นคุณประเสริฐ เพราะภัยย่อมไม่มีแก่ผู้ตื่นอยู่ ผู้ใดตื่นอยู่มีสติสัมปชัญญะ มีจิตตั้งมั่น เบิกบาน และผ่องใส พิจารณาธรรม อยู่โดยชอบโดยกาลอันควร ผู้นั้นมีสมาธิเป็นธรรมเอกผุดขึ้นแล้ว พึงกำจัดความมืด เสียได้ เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุพึงคบธรรมเครื่องเป็นผู้ตื่น ภิกษุผู้มีความเพียร มีปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน มีปกติได้ฌาน ตัดกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ ด้วยชาติ และชราได้แล้ว พึงถูกต้องญาณอันเป็นเครื่องตรัสรู้อย่างยอดเยี่ยมในอัตภาพนี้แล.

หน้า 486

188

ผู้มีความหลีกเร้นเป็นที่มายินดี
-บาลี อิติวุ. ขุ. ๒๕/๒๕๙/๒๒๓.

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีความหลีกเร้นเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในความหลีกเร้น ประกอบจิตของตนไว้ในสมถะในภายในเนืองๆ มีฌานไม่เสื่อม ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคารอยู่เถิด.

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลายมีความหลีกเร้นเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในความหลีกเร้น ประกอบจิตของตนไว้ในสมถะในภายในเนืองๆ มีฌานไม่เสื่อม ประกอบด้วยวิปัสสนาพอกพูนสุญญาคารอยู่ พึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่งคือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีความยึดมั่นเหลืออยู่ก็จะเป็นอนาคามี.

ชนเหล่าใดมีจิตสงบแล้ว มีปัญญาเป็นเครื่องรักษาตนมีสติ มีฌาน ไม่มีความยินดีในกามทั้งหลาย ย่อมเห็นแจ้งธรรมโดยชอบ เป็นผู้ยินดีแล้วในความไม่ประมาท มีปกติเห็นภัยในความประมาท ชนเหล่านั้นเป็นผู้อาจะไม่เสื่อมดำรงอยู่ใกล้นิพพานเทียว.

หน้า 487

189

การอบรมจิต ด้วยสิ่งสมควรแก่บรรพชา
-บาลี ทสก. อํ. ๒๔/๑๑๔/๕๙.

ภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า
จิตของพวกเราจักเป็นจิตได้รับอบรมแล้ว ด้วยสิ่งสมควรแก่บรรพชา
อกุศลธรรมอันเป็นบาปที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่รัดรึงจิตตั้งอยู่
จิตของพวกเราจักเป็นจิตได้รับอบรมแล้ว ด้วยอนิจจสัญญา
จิตของพวกเราจักเป็นจิตได้รับอบรมแล้ว ด้วยอนัตตสัญญา
จิตของพวกเราจักเป็นจิตได้รับอบรมแล้ว ด้วยอสุภสัญญา
จิตของพวกเราจักเป็นจิตได้รับอบรมแล้ว ด้วยอาทีนวสัญญา
จิตของพวกเราจักเป็นจิตรู้ ความสม่ำเสมอ และความไม่สม่ำเสมอของโลก
แล้วได้รับ อบรมด้วยสัญญานั้น
จิตของพวกเราจักเป็นจิตรู้ ความเจริญ และความเสื่อมของโลก

แล้วได้รับอบรมด้วยสัญญานั้น

จิตของพวกเราจักเป็นจิตรู้ความเกิด และความดับของโลก แล้วได้รับอบรมด้วย สัญญานั้น
จิตของพวกเราจักเป็นจิตได้รับอบรมแล้ว ด้วยปหานสัญญา
จิตของพวกเราจักเป็นจิตได้รับอบรมแล้ว ด้วยวิราคสัญญา
จิตของพวกเราจักเป็นจิตได้รับอบรมแล้ว ด้วยนิโรธสัญญา
ภิกษุทั้งหลายเธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล.

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล จิตของภิกษุเป็นจิตได้รับอบรมแล้วด้วย สิ่งสมควร แก่บรรพชา อกุศลธรรมอันเป็นบาปที่เกิดขึ้นแล้วย่อมไม่รัดรึงจิตตั้งอยู่

จิตได้รับอบรมแล้วด้วยอนิจจสัญญา
จิตได้รับอบรมแล้วด้วยอนัตตสัญญา
จิตได้รับอบรมแล้วด้วยอสุภสัญญา
จิตได้รับอบรมแล้วด้วยอาทีนวสัญญา

จิตรู้ความสม่ำเสมอและความไม่สม่ำเสมอของโลก แล้วได้รับอบรมแล้วด้วยสัญญา นั้น
จิตรู้ความเจริญและความเสื่อมของโลก แล้วได้รับอบรมแล้วด้วยสัญญานั้น
จิตรู้ความเกิดและความดับของโลก แล้วได้รับอบรมแล้วด้วยสัญญานั้น
จิตได้รับอบรมด้วยปหานสัญญา จิตได้รับอบรมด้วยวิราคสัญญา และจิตได้รับอบรมด้วยนิโรธสัญญา

เมื่อนั้นภิกษุนั้นพึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คืออรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีความยึดมั่นเหลืออยู่

มายเหตุ นอกจากพระสูตรที่ปรากฏในหนังสือเล่มนี้แล้ว พระศาสดายังได้ตรัสถึง ข้อปฏิบัติเพื่อการละสังโยชน์ และธรรมะที่เกี่ยวกับอริยบุคคลไว้อีกมาก ด้วยข้อจำกัด ด้านความหนาของหนังสือ จึงได้รวบรวมมาไว้เพียงบางส่วน ผู้สนใจสามารถศึกษา เพิ่มเติมได้จาก หนังสือพุทธวจน-หมวดธรรม เล่ม 1-15 และจากพระไตรปิฎก.