เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
  
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ           

  อนาคามี-พุทธวจน   ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
    7 of 8  
 
  อนาคามี พุทธวจน  ที่มา : http://watnapp.com/book  
       
    สารบัญ หน้า  
  143.อานิสงส์ของอานาปานสติ ๒ ประการ 374  
  144.อานิสงส์ของอานาปานสติ ๗ ประการ 378  
  145.เจริญสัมมัปธาน ๔ เพื่อละ โอรัมภาคิยสังโยชน์   381  
  146.เจริญสัมมัปธาน ๔ เพื่อละ อุทธัมภาคิยสังโยชน์   383  
  147.อานิสงส์ ๒ ประการ ของอิทธิบาท ๔   385  
  148.อานิสงส์ ๗ ประการ ของอิทธิบาท ๔ 386  
  149.เจริญอิทธิบาท ๔ เพื่อละ โอรัมภาคิยสังโยชน์   388  
  150.อานิสงส์ ๒ ประการ ของอินทรีย์ ๕ 390  
  151.อานิสงส์ ๗ ประการ ของอินทรีย์ ๕   391  
  152.เจริญอินทรีย์ ๕ เพื่อละ โอรัมภาคิยสังโยชน์   393  
  153.เจริญอินทรีย์ ๕ เพื่อละ อุทธัมภาคิยสังโยชน์ 395  
  154.เจริญพละ ๕ เพื่อละ โอรัมภาคิยสังโยชน์   397  
  155.เจริญพละ ๕ เพื่อละ อุทธัมภาคิยสังโยชน์ 399  
  156.อานิสงส์ ๗ ประการ ของโพชฌงค์ ๗   401  
  157.อานิสงส์ ๒ ประการ ของการเจริญสัญญาแบบต่างๆ 406  
  158.เจริญโพชฌงค์ ๗ เพื่อละ โอรัมภาคิยสังโยชน์ 416  
  159.เจริญโพชฌงค์ ๗ เพื่อละ อุทธัมภาคิยสังโยชน์ 418  
  160.เจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อละนิวรณ์ ๕ 420  
  161.เจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อละกามคุณ ๕ 421  
  162.เจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อละการแสวงหา ๓   422  
       
 
 




อนาคามี Page 7

หน้า 374

143
อานิสงส์ของอานาปานสติ ๒ ประการ
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๙๖/๑๓๑๑.

ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติอันบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ ก็อานาปานสติอันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่

ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ ภิกษุไปแล้วสู่ป่า หรือโคนไม้ หรือเรือนว่างก็ตาม นั่งคู้ขา เข้ามาโดยรอบ ตั้งกายตรงดำรงสติเฉพาะหน้า

เธอนั้น มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก
เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง (สพฺพกายปฏิสํเวที) หายใจเข้า ว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับ (ปสฺสมฺภยํ กายสงฺขารํ) หายใจเข้า ว่า เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับ หายใจออก

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ (ปีติปฏิสํเวที) หายใจเข้า ว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจออก

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข (สุขปฏิสํเวที) หายใจเข้า ว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุขหายใจออก เธอย่อมทำการฝึกหัด ศึกษา ว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร (จิตฺตสงฺขารปฏิสํเวที) หายใจเข้า ว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจออก

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับ (ปสฺสมฺภยํ จิตฺตสงฺขารํ) หายใจเข้า ว่า เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับ หายใจออกเธอ ย่อมทำการ ฝึกหัด ศึกษาว่าเราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งจิต (จิตฺตปฏิสํเวที) หายใจเข้า ว่าเราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งจิต หายใจออกเธอย่อมทำการฝึกหัด ศึกษา ว่าเราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่ง(อภิปฺปโมทยํ จิตฺตํ) หายใจเข้า
ว่าเราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่ง หายใจออก

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่น (สมาทหํ จิตฺตํ) หายใจเข้า ว่าเราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่นหายใจออกเธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ (วิโมจยํ จิตฺตํ) หายใจเข้า ว่าเราเป็นผู้ทำจิตให้ ปล่อยอยู่ หายใจออก

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ (อนิจฺจานุปสฺสี) หายใจเข้า ว่าเราเป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจออกเธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลาย อยู่เป็นประจำ (วิราคานุปสฺสี) หายใจเข้า ว่าเราเป็นผู้เห็นซึ่งความ จางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจออก

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ (นิโรธานุปสฺสี) หายใจเข้า ว่าเราเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลือ อยู่เป็น ประจำ หายใจออก

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ (ปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสี) หายใจเข้าว่า เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจออก

ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่.

ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออานาปานสติ อันบุคคลเจริญทำให้มากแล้วอยู่อย่างนี้ พึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีความยึดมั่นเหลืออยู่ ก็จะเป็นอนาคามี.

หน้า 378

144
อานิสงส์ของอานาปานสติ ๗ ประการ

-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๙๗/๑๓๑๔.

ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันบุคคลเจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ ก็อานาปานสติอันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่

ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ ภิกษุไปแล้วสู่ป่า หรือโคนไม้ หรือเรือนว่างก็ตาม นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบ ตั้งกายตรงดำรงสติเฉพาะหน้า

เธอนั้น มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก

เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น

(จากนี้ได้ตรัสวิธีการเจริญอานาปานสติ ดังปรากฏในหน้า 374 )

ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่. ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้วอยู่อย่างนี้ ผล ๗ ประการ

อานิสงส์๗ ประการ ย่อมเป็นสิ่งที่หวังได้ คือ

(1) ย่อมสำเร็จ (บรรลุอรหันต์) ในปัจจุบัน
(ทิฏฺเฐว ธมฺเมปฏิกจฺจ อญฺญํ อาราเธติ)

(2) ถ้าไม่เช่นนั้น ย่อมสำเร็จ (บรรลุอรหันต์)
ในกาลแห่งมรณะ (มรณกาเล อญฺญํ ธาราเธติ)

(3) ถ้าไม่เช่นนั้น เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป
ย่อมเป็นอันตราปรินิพพายี

(4) ถ้าไม่เช่นนั้น เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป
ย่อมเป็นอุปหัจจปรินิพพายี

(5) ถ้าไม่เช่นนั้น เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
สิ้นไปย่อมเป็นอสังขารปรินิพพายี

(6) ถ้าไม่เช่นนั้น เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
สิ้นไปย่อมเป็นสสังขารปรินิพพายี

(7) ถ้าไม่เช่นนั้น เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
สิ้นไปย่อมเป็นอุทธังโสโตอกนิฏฐคามี

ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ผล ๗ ประการ อานิสงส์ ๗ ประการเหล่านี้ ย่อมเป็นสิ่งที่หวังได้ ดังนี้.

 (ในสูตรอื่นตรัสว่า อานาปานสติสมาธิ อันบุคคลเจริญแล้วทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อการละ สังโยชน์ทั้งหลาย -บาลีมหาวาร. สํ. ๑๙/๔๒๖/๑๔๐๖. หรือเป็นไปเพื่อการกำจัดเสียซึ่งอนุสัย -บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๒๖/๑๔๐๘. นอกจากนี้ยังได้ตรัสถึงอานิสงส์อื่นๆ ของอานาปานสติไว้อีกมาก ผู้สนใจสามารถศึกษาได้จากพุทธวจน-หมวดธรรม เล่ม ๖ ฉบับ อานาปานสติ หรือจากพระไตรปิฎก. -ผู้รวบรวม)

หน้า 381

145
เจริญสัมมัปธาน ๔เพื่อละ โอรัมภาคิยสังโยชน์

-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๒๒/๑๐๙๗.

ภิกษุทั้งหลาย โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการเหล่านี้ ๕ ประการเป็นอย่างไร คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉาสีลัพพตปรามาส กามฉันทะ พยาบาท ภิกษุทั้งหลายเหล่านี้แลโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ.

ภิกษุทั้งหลาย สัมมัปปธาน ๔ อันภิกษุพึงเจริญเพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละ โอรัมภาคิย-สังโยชน์ ๕ ประการเหล่านี้ ภิกษุทั้งหลาย

สัมมัปปธาน ๔ เป็นอย่างไร คือ

(1) ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังความพอใจให้เกิดขึ้นย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้เพื่อให้บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น

(2) ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังความพอใจให้เกิดขึ้นย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว

(3) ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังความพอใจให้เกิดขึ้นย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น

 (4) ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้เพื่อความตั้งอยู่ ความไม่เลือนหาย ความมียิ่งๆ ขึ้นไป ความไพบูลย์ ความเจริญ ความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว

ภิกษุทั้งหลาย สัมมัปปธาน ๔ เหล่านี้ อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการแล.

หน้า 383

146

เจริญสัมมัปธาน ๔ เพื่อละ อุทธัมภาคิยสังโยชน์
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๒๒/๑๐๙๗.

ภิกษุทั้งหลาย อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการเหล่านี้ ๕ ประการเป็นอย่างไร คือ รูปราคะ อรูปราคะมานะ อุทธัจจะ อวิชชา ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แลอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ.

ภิกษุทั้งหลาย สัมมัปปธาน ๔ อันภิกษุพึงเจริญเพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละ อุทธัมภาคิย-สังโยชน์ ๕ ประการเหล่านี้ ภิกษุทั้งหลาย

สัมมัปปธาน ๔ เป็นอย่างไร คือ

(1) ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังความพอใจให้เกิดขึ้นย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้เพื่อ ให้บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น

(2) ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังความพอใจให้เกิดขึ้นย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้เพื่อ ละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว

(3) ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังความพอใจให้เกิดขึ้นย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้เพื่อ ให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น

 (4) ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้เพื่อความตั้งอยู่ ความไม่เลือนหาย ความมียิ่งๆ ขึ้นไป ความไพบูลย์ ความเจริญ ความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว

ภิกษุทั้งหลาย สัมมัปปธาน ๔ เหล่านี้ อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการแล.

หน้า 385

147
อานิสงส์ ๒ ประการ ของอิทธิบาท ๔
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๖๕/๑๒๑๗.

ภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ เหล่านี้ อิทธิบาท ๔ เป็นอย่างไร

คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้


(1) ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วย ฉันทสมาธิ และปธานสังขาร
(2) ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วย วิริยสมาธิ และปธานสังขาร
(3) ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วย จิตตสมาธิ และปธานสังขาร
(4) ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วย วิมังสา-สมาธิ และปธานสังขาร

ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล อิทธิบาท ๔ .

ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออิทธิบาท ๔ อันภิกษุเจริญกระทำให้มากแล้ว พึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่งคือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีความยึดมั่น เหลืออยู่ ก็จะเป็น อนาคามี.

หน้า 386

148
อานิสงส์ ๗ ประการ ของอิทธิบาท ๔
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๖๖/๑๒๑๙.

ภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ เหล่านี้ อิทธิบาท ๔ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิ และปธานสังขาร … วิริยสมาธิและปธานสังขาร … จิตตสมาธิและปธานสังขาร … วิมังสาสมาธิและปธานสังขาร ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล อิทธิบาท ๔ .

ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออิทธิบาท ๔ อันภิกษุเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว ผล ๗ ประการ อานิสงส์ ๗ ประการย่อมเป็นสิ่งที่หวังได้ คือ

(1) ย่อมสำเร็จในปัจจุบัน
(ทิฏฺเฐว ธมฺเม ปฏิกจฺจ อญฺญํอาราเธติ)

(2) ถ้าไม่เช่นนั้น ย่อมสำเร็จ (บรรลุอรหันต์) ในกาลแห่งมรณะ
(มรณกาเล อญฺญํ ธาราเธติ)

(3) ถ้าไม่เช่นนั้น เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป
ย่อมเป็นอันตราปรินิพพายี

(4) ถ้าไม่เช่นนั้น เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป
ย่อมเป็นอุปหัจจปรินิพพายี

(5) ถ้าไม่เช่นนั้น เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
สิ้นไปย่อมเป็นอสังขารปรินิพพายี

(6) ถ้าไม่เช่นนั้น เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
สิ้นไปย่อมเป็นสสังขารปรินิพพายี

(7) ถ้าไม่เช่นนั้น เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
สิ้นไปย่อมเป็นอุทธังโสโตอกนิฏฐคามี

ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออิทธิบาท ๔ อันภิกษุเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว ผล ๗ ประการ อานิสงส์ ๗ ประการ เหล่านี้แล ย่อมเป็นสิ่งที่หวังได้.

หน้า 388

149
เจริญอิทธิบาท ๔ เพื่อละ โอรัมภาคิยสังโยชน์

-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๗๔/๑๒๕๐.


ภิกษุทั้งหลาย โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ เหล่านี้ ๕ ประการเป็นอย่างไร คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉาสีลัพพตปรามาส กามฉันทะ พยาบาท ภิกษุทั้งหลายเหล่านี้แล โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ.

ภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อรู้ยิ่งเพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละ โอรัมภาคิยสังโยชน์๕ ประการเหล่านี้ ภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ เป็นอย่างไร

คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

(1) ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร
(2) ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิและปธานสังขาร
(3) ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยจิตตสมาธิและปธานสังขาร
(4) ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิมังสา-สมาธิและปธานสังขาร

ภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ เหล่านี้ อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการแล.

(ในสูตรอื่นตรัสว่า การเจริญอิทธิบาท ๔ เป็นเหตุให้ละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ได้ -บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๗๔/๑๒๕๑.-ผู้รวบรวม)

หน้า 390

150
อานิสงส์ ๒ ประการ ของอินทรีย์ ๕

-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๑๒/๑๐๖๙.


ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ อินทรีย์ ๕ เป็นอย่างไร คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ปัญญินทรีย์ ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล อินทรีย์ ๕.

ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออินทรีย์ ๕ อันภิกษุเจริญ กระทำให้มากแล้ว พึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คืออรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีความยึดมั่น เหลืออยู่ ก็จะเป็นอนาคามี.

หน้า 391

151
อานิสงส์ ๗ ประการ ของอินทรีย์ ๕

-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๑๒/๑๐๖๘.

ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ อินทรีย์ ๕ เป็นอย่างไร คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ปัญญินทรีย์ ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล อินทรีย์ ๕.

ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออินทรีย์ ๕ อันภิกษุเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว ผล ๗ ประการ

อานิสงส์ ๗ ประการย่อมเป็นสิ่งที่หวังได้ คือ


(1) ย่อมสำเร็จในปัจจุบัน
(2) ถ้าไม่เช่นนั้นย่อมสำเร็จในกาลแห่งมรณะ
(3) ถ้าไม่เช่นนั้นเพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ย่อมเป็นอันตราปรินิพพายี
(4) ถ้าไม่เช่นนั้นเพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ย่อมเป็นอุปหัจจปรินิพพายี
(5) ถ้าไม่เช่นนั้นเพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕สิ้นไป ย่อมเป็นอสังขารปรินิพพายี
(6) ถ้าไม่เช่นนั้นเพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕สิ้นไป ย่อมเป็นสสังขารปรินิพพายี
(7) ถ้าไม่เช่นนั้นเพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕สิ้นไป
ย่อมเป็นอุทธังโสโตอกนิฏฐคามี

ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออินทรีย์ ๕ อันภิกษุเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว ผล ๗ ประการ อานิสงส์ ๗ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นสิ่งที่หวังได้.

หน้า 393

152

เจริญอินทรีย์ ๕ เพื่อละ โอรัมภาคิยสังโยชน์
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๑๖/๑๐๘๔.

ภิกษุทั้งหลาย โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการเหล่านี้ ๕ ประการเป็นอย่างไร คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉาสีลัพพตปรามาส กามฉันทะ พยาบาท ภิกษุทั้งหลายเหล่านี้แล โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ.

ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อรู้ยิ่งเพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละ โอรัมภาคิยสังโยชน์๕ ประการเหล่านี้ ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เป็นอย่างไร

คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

(1) ย่อมเจริญ สัทธินทรีย์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

(2) ย่อมเจริญ วิริยินทรีย์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

(3) ย่อมเจริญ สตินทรีย์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

(4) ย่อมเจริญ สมาธินทรีย์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

(5) ย่อมเจริญ ปัญญินทรีย์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการแล.

หน้า 395

153

เจริญอินทรีย์ ๕ เพื่อละ อุทธัมภาคิยสังโยชน์
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๑๖/๑๐๘๔.

ภิกษุทั้งหลาย อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการเหล่านี้ ๕ ประการเป็นอย่างไร คือ รูปราคะ อรูปราคะมานะ อุทธัจจะ อวิชชา ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แลอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ.

ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อรู้ยิ่งเพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละ อุทธัมภาคิยสังโยชน์๕ ประการเหล่านี้ ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เป็นอย่างไร

คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

(1) ย่อมเจริญ สัทธินทรีย์ อันอาศัยวิเวก อาศัย วิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

(2) ย่อมเจริญ วิริยินทรีย์ อันอาศัยวิเวก อาศัย วิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

(3) ย่อมเจริญ สตินทรีย์ อันอาศัยวิเวก อาศัย วิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

(4) ย่อมเจริญ สมาธินทรีย์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

(5) ย่อมเจริญ ปัญญินทรีย์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการแล.

(ในสูตรอื่นตรัสว่า ให้เจริญอินทรีย์ ๕ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุดเพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ -บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๑๗/๑๐๘๘.-ผู้รวบรวม)

หน้า 397

154
เจริญพละ ๕ เพื่อละ โอรัมภาคิยสังโยชน์

-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๒๓/๑๑๐๑.

ภิกษุทั้งหลาย โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการเหล่านี้ ๕ ประการเป็นอย่างไร คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉาสีลัพพตปรามาส กามฉันทะ พยาบาท ภิกษุทั้งหลายเหล่านี้แล โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ.

ภิกษุทั้งหลาย พละ ๕ อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อรู้ยิ่งเพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละ โอรัมภาคิยสังโยชน์๕ ประการเหล่านี้ ภิกษุทั้งหลาย พละ ๕ เป็นอย่างไร

คือภิกษุในธรรมวินัยนี้

(1) ย่อมเจริญ สัทธาพละ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

(2) ย่อมเจริญ วิริยพละ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

(3) ย่อมเจริญ สติพละ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะอาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

(4) ย่อมเจริญ สมาธิพละ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

(5) ย่อมเจริญ ปัญญาพละ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

ภิกษุทั้งหลาย พละ ๕ เหล่านี้ อันภิกษุพึงเจริญเพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการแล.

หน้า 399

155

เจริญพละ ๕ เพื่อละ อุทธัมภาคิยสังโยชน์
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๒๓/๑๑๐๒.

ภิกษุทั้งหลาย อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการเหล่านี้ ๕ ประการเป็นอย่างไร คือ รูปราคะ อรูปราคะมานะ อุทธัจจะ อวิชชา ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แลอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ.

ภิกษุทั้งหลาย พละ ๕ อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อรู้ยิ่งเพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละ อุทธัมภาคิยสังโยชน์๕ ประการเหล่านี้ ภิกษุทั้งหลาย พละ ๕ เป็นอย่างไร คือ

ภิกษุในธรรมวินัยนี้

(1) ย่อมเจริญ สัทธาพละ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

(2) ย่อมเจริญ วิริยพละ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

(3) ย่อมเจริญ สติพละ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะอาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

(4) ย่อมเจริญ สมาธิพละ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

(5) ย่อมเจริญ ปัญญาพละ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการแล.

(ในสูตรอื่นตรัสว่า ให้เจริญพละ ๕ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุดเพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ -บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๒๕/๑๑๐๖.-ผู้รวบรวม)

หน้า 401

156

อานิสงส์ ๗ ประการ ของโพชฌงค์ ๗

-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๙๘/๓๗๓.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใด เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณ ทัสสนะ
การได้เห็นภิกษุเหล่านั้นก็ดี
การได้ฟัง
ภิกษุเหล่านั้นก็ดี
การเข้าไปหา
ภิกษุเหล่านั้นก็ดี
การเข้าไปนั่งใกล้
ภิกษุเหล่านั้นก็ดี
การระลึกถึง
ภิกษุเหล่านั้นก็ดี
การบวชตาม
ภิกษุเหล่านั้นก็ดีแต่ละอย่างๆ เรากล่าวว่ามีอุปการะมาก

ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าผู้ที่ได้ฟังธรรมของภิกษุเห็นปานนั้นแล้ว ย่อมหลีกออกอยู่ ด้วย ๒ วิธี คือ หลีกออกด้วยกาย และหลีกออกด้วยจิต เมื่อเธอหลีกออกอยู่อย่างนั้น แล้ว ย่อมระลึกถึง ย่อมตรึก ถึงธรรมนั้น.

1 ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุหลีกออกอยู่อย่างนั้นแล้ว ย่อมระลึกถึงย่อมตรึก ถึงธรรมนั้น สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญ สติสัมโพชฌงค์สติสัมโพชฌงค์ของภิกษุ ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เธอมีสติอยู่ อย่างนั้น ย่อมเลือกเฟ้น ตรวจตราถึงความพินิจ พิจารณาธรรมนั้น ด้วยปัญญา.

2 ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุมีสติอยู่อย่างนั้น ย่อมเลือกเฟ้น ตรวจตราถึง ความพินิจพิจารณาธรรมนั้น ด้วยปัญญาสมัยนั้น ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เป็นอันภิกษุปรารภ แล้ว ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญธัมมวิจย สัมโพชฌงค์ ธัมมวิจย สัมโพชฌงค์ของภิกษุ ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เมื่อภิกษุเลือกเฟ้นตรวจตรา พินิจพิจารณาธรรมนั้น ด้วยปัญญา ความเพียรอันไม่ย่อหย่อนเป็นอันภิกษุ ปรารภแล้ว.

3 ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด เมื่อภิกษุเลือกเฟ้น ตรวจตราพินิจพิจารณาธรรมนั้น ด้วยปัญญา ความเพียรอัน ไม่ย่อหย่อน อันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมชื่อว่า เจริญวิริยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ ของภิกษุย่ อมถึงความเจริญบริบูรณ์ ปีติที่ไม่มีอามิสย่อมเกิดแก่ ภิกษุผู้ปรารภความเพียร.

4 ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ปีติที่ไม่มีอามิสย่อมเกิดแก่ภิกษุ ผู้ปรารภความเพียร สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ ของภิกษุย่อมถึงความ เจริญบริบูรณ์ กายก็ดีจิตก็ดี ของภิกษุผู้มีใจ กอปรด้วยปีติย่อมสงบระงับ.

5 ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด กายก็ดี จิตก็ดี ของภิกษุผู้มีใจกอปรด้วยปีติ ย่อมสงบระงับ สมัยนั้น ปัสสัทธิ สัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญปัสสัทธิสัม-โพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ของภิกษุ ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ จิตของภิกษุผู้มี กายสงบแล้ว มีความสุข ย่อมตั้งมั่น.

6 ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายสงบแล้วมีความสุข ย่อมตั้งมั่น สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญสมาธิ สัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ของภิกษุ ย่อมถึง ความเจริญบริบูรณ์ เธอย่อมเป็นผู้เพ่งดูจิต ที่ตั้งมั่นแล้ว อย่างนั้นด้วยดี.

7 ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุย่อมเป็นผู้เพ่งดูจิตที่ตั้งมั่นแล้ว อย่างนั้นด้วยดี สมัยนั้น อุเบกขา สัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญ อุเบกขา สัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์.

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อโพชฌงค์ ๗ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ผล ๗ ประการ

อานิสงส์๗ ประการ ย่อมเป็นสิ่งที่หวังได้ คือ

(1) ย่อมสำเร็จในปัจจุบัน

(2) ถ้าไม่สำเร็จในปัจจุบัน ย่อมสำเร็จในกาลแห่งมรณะ

(3) ถ้าไม่สำเร็จในปัจจุบัน และไม่สำเร็จในกาลแห่งมรณะ
ย่อมเป็นอันตราปรินิพพายีเพราะโอรัมภาคิย-สังโยชน์ ๕ สิ้นไป

(4) ถ้าไม่สำเร็จในปัจจุบัน ไม่สำเร็จในกาลแห่งมรณะ
และไม่ได้เป็นอันตราปรินิพพายี เพราะโอรัมภาคิย-สังโยชน์ ๕ สิ้นไป
ย่อมเป็นเป็นอุปหัจจปรินิพพายี เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป

(5) ถ้าไม่สำเร็จในปัจจุบัน ไม่สำเร็จในกาลแห่งมรณะ
ไม่ได้เป็นอันตราปรินิพพายี เพราะโอรัมภาคิย-สังโยชน์ ๕ สิ้นไป
และไม่ได้เป็นเป็นอุปหัจจปรินิพพายี เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป
ย่อมเป็นอสังขารปรินิพพายี เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป

(6) ถ้าไม่สำเร็จในปัจจุบัน ไม่สำเร็จในกาลแห่งมรณะ
ไม่ได้เป็นอันตราปรินิพพายี เพราะโอรัมภาคิย-สังโยชน์ ๕ สิ้นไป
ไม่ได้เป็นเป็นอุปหัจจปรินิพพายี เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป
และไม่ได้เป็นอสังขารปรินิพพายี เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป
ย่อมเป็นสสังขารปรินิพพายี เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป

(7) ถ้าไม่สำเร็จในปัจจุบัน ไม่สำเร็จในกาลแห่งมรณะ
ไม่ได้เป็นอันตราปรินิพพายี เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป
ไม่ได้เป็นเป็นอุปหัจจปรินิพพายี เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป
ไม่ได้เป็นอสังขารปรินิพพายี เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป
และไม่ได้เป็นสสังขารปรินิพพายี เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป
ย่อมเป็นอุทธังโสโตอกนิฏฐคามี เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อโพชฌงค์ ๗ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้
ผล ๗ ประการ อานิสงส์ ๗ ประการ ย่อมเป็นสิ่งที่หวังได้.

หน้า 406

157

อานิสงส์ ๒ ประการ ของการเจริญสัญญาแบบต่างๆ
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๑๗๙/๖๔๑.

ภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญาอันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ก็อัฏฐิก-สัญญาอันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้ว อย่างไร ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์
อันประกอบด้วย อัฏฐิกสัญญา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ย่อมเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ … ย่อมเจริญวิริย สัมโพชฌงค์ … ย่อมเจริญปีติ สัมโพชฌงค์ … ย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์… ย่อมเจริญสมาธิ สัมโพชฌงค์ … ย่อมเจริญอุเบกขา-สัมโพชฌงค์ อันประกอบด้วยอัฏฐิกสัญญา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ.

ภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญา อันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้ว อย่างนี้ ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก.

ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออัฏฐิกสัญญา อันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว พึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่งคืออรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมี ความยึดมั่น เหลืออยู่ก็จะเป็นอนาคามี ก็เมื่ออัฏฐิกสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว อย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร พึงหวังผลได้ ๒ อย่างอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีความยึดมั่นเหลืออยู่ ก็จะเป็นอนาคามี.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันประกอบด้วยอัฏฐิกสัญญา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ … ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันประกอบด้วย อัฏฐิกสัญญา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ.

ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออัฏฐิกสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว อย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ พึงหวัง ผลได้ ๒ อย่างอย่างใดอย่างหนึ่ง คืออรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีความ ยึดมั่นเหลืออยู่ ก็จะเป็น อนาคามี.

ภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญาอันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ ประโยชน์มาก ก็อัฏฐิก-สัญญาอันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันประกอบด้วยอัฏฐิกสัญญา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ … ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันประกอบด้วย อัฏฐิกสัญญา อาศัยวิเวก อาศัย วิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ.

ภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญา อันบุคคลผู้เจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อ ประโยชน์มาก.

ภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญา อันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ ความเกษม จากโยคะใหญ่ก็อัฏฐิกสัญญา อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มาก แล้วอย่างไร ย่อมเป็นไปเพื่อ ความเกษมจากโยคะใหญ่.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันประกอบด้วยอัฏฐิกสัญญา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ … ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันประกอบด้วย อัฏฐิกสัญญา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ.

ภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญา อันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อ ความเกษมจากโยคะใหญ่.

ภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญา อันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ ความสังเวชมาก ก็อัฏฐิก-สัญญา อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้ว อย่างไร ย่อมเป็นไปเพื่อความสังเวชมาก.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันประกอบด้วยอัฏฐิกสัญญา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ … ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันประกอบด้วย อัฏฐิกสัญญา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ.

ภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญา อันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อ ความสังเวชมาก.

ภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญา อันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่ออยู่ เป็นผาสุกมาก ก็อัฏฐิก-สัญญา อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมเป็นไปเพื่ออยู่เป็นผาสุก มาก.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันประกอบด้วยอัฏฐิกสัญญา อาศัยวิเวกอาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ … เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันประกอบด้วยอัฏฐิกสัญญา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ.

ภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญา อันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่ออยู่เป็นผาสุกมาก.

ภิกษุทั้งหลาย ปุฬวกสัญญา …1
ภิกษุทั้งหลาย วินีลกสัญญา …
ภิกษุทั้งหลาย วิจฉิททกสัญญา …
ภิกษุทั้งหลาย อุทธุมาตกสัญญา …
ภิกษุทั้งหลาย เมตตา อันบุคคลเจริญแล้ว …
ภิกษุทั้งหลาย กรุณา อันบุคคลเจริญแล้ว …
ภิกษุทั้งหลาย มุทิตา อันบุคคลเจริญแล้ว …
ภิกษุทั้งหลาย อุเบกขา อันบุคคลเจริญแล้ว …
ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว …
ภิกษุทั้งหลาย อสุภสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว …
ภิกษุทั้งหลาย มรณสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว …

1. พึงขยายข้อความท้าย … โดยเทียบเคียงเนื้อความที่ปรากฏในอัฏฐิกสัญญา.
-ผู้รวบรวม

ภิกษุทั้งหลาย อาหาเรปฏิกูลสัญญา …
ภิกษุทั้งหลาย สัพพโลเก อนภิรตสัญญา …
ภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญา …
ภิกษุทั้งหลาย อนิจเจทุกขสัญญา …
ภิกษุทั้งหลาย ทุกเขอนัตตสัญญา …
ภิกษุทั้งหลาย ปหานสัญญา …
ภิกษุทั้งหลาย วิราคสัญญา …
ภิกษุทั้งหลาย นิโรธสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้วย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ก็นิโรธสัญญา อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไรย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันประกอบด้วยนิโรธสัญญา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ … ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันประกอบด้วย นิโรธสัญญา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ.

ภิกษุทั้งหลาย นิโรธสัญญา อันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้ว อย่างนี้ ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก.

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อนิโรธสัญญา อันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว พึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใด อย่างหนึ่งคือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีความยึดมั่นเหลืออยู่ ก็จะเป็นอนาคามี เมื่อนิโรธสัญญา อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้ว อย่างไร พึงหวังผลได้ ๒ อย่างอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อ ยังมีความยึดมั่นเหลืออยู่ ก็จะเป็นอนาคามี.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันประกอบด้วยนิโรธสัญญา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ …ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันประกอบด้วย นิโรธสัญญา อาศัยวิเวกอาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

ภิกษุทั้งหลายเมื่อนิโรธสัญญา อันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ พึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คืออรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีความ ยึดมั่นเหลืออยู่ก็จะเป็นอนาคามี.

ภิกษุทั้งหลาย นิโรธสัญญาอันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ ประโยชน์มาก ก็นิโรธ-สัญญา อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันประกอบด้วยนิโรธสัญญา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ … ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันประกอบด้วย นิโรธสัญญา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ.

ภิกษุทั้งหลาย นิโรธสัญญา อันบุคคลผู้เจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อ ประโยชน์มาก.

ภิกษุทั้งหลาย นิโรธสัญญา อันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ ความเกษมจาก โยคะใหญ่ก็นิโรธสัญญา อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มาก แล้วอย่างไร ย่อมเป็นไปเพื่อความ เกษมจากโยคะใหญ่.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันประกอบด้วยนิโรธสัญญา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ … ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันประกอบด้วย นิโรธสัญญา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ.

ภิกษุทั้งหลาย นิโรธสัญญา อันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความ เกษมจากโยคะใหญ่.

ภิกษุทั้งหลาย นิโรธสัญญา อันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ ความสังเวชมาก ก็นิโรธ-สัญญา อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมเป็นไปเพื่อความสังเวชมาก

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันประกอบด้วยนิโรธสัญญา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ … ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันประกอบด้วย นิโรธสัญญา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ.

ภิกษุทั้งหลาย นิโรธสัญญา อันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความ สังเวชมาก.

ภิกษุทั้งหลาย นิโรธสัญญา อันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่ออยู่ เป็นผาสุกมาก ก็นิโรธสัญญา อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมเป็นไปเพื่ออยู่เป็นผาสุกมาก.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันประกอบด้วยนิโรธสัญญา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ … เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันประกอบด้วยนิโรธสัญญา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ.

ภิกษุทั้งหลาย นิโรธสัญญา อันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่ออยู่เป็นผาสุกมาก.

หน้า 416

158

เจริญโพชฌงค์ ๗ เพื่อละ โอรัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องต่ำ)
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๑๘๔/๖๖๘.

ภิกษุทั้งหลาย โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการเหล่านี้ ๕ ประการเป็นอย่างไร คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉาสีลัพพตปรามาส กามฉันทะ พยาบาท ภิกษุทั้งหลายเหล่านี้แล โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญโพชฌงค์ ๗ เพื่อรู้ยิ่งเพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละ โอรัมภาคิยสังโยชน์๕ ประการเหล่านี้ ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เป็น อย่างไรคือ

ภิกษุในธรรมวินัยนี้

(1) ย่อมเจริญ สติสัมโพชฌงค์
อันอาศัยวิเวกอาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

(2) ย่อมเจริญ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
อันอาศัยวิเวกอาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

(3) ย่อมเจริญ วิริยสัมโพชฌงค์
อันอาศัยวิเวกอาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

(4) ย่อมเจริญ ปีติสัมโพชฌงค์
อันอาศัยวิเวกอาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

(5) ย่อมเจริญ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
อันอาศัยวิเวกอาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

(6) ย่อมเจริญ สมาธิสัมโพชฌงค์
อันอาศัยวิเวกอาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

(7) ย่อมเจริญ อุเบกขาสัมโพชฌงค์
อันอาศัยวิเวกอาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญโพชฌงค์ ๗ เหล่านี้เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละ โอรัมภาคิย-สังโยชน์ ๕ ประการแล.

หน้า 418

159

เจริญโพชฌงค์ ๗ เพื่อละ อุทธัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องสูง)
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๑๘๔/๖๖๙.

ภิกษุทั้งหลาย อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการเหล่านี้๕ ประการเป็นอย่างไร คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะอุทธัจจะ อวิชชา ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล อุทธัมภาคิย-สังโยชน์ ๕ ประการ.

ภิกษุท้งั หลาย ภิกษุพึงเจริญโพชฌงค์ ๗ เพื่อรู้ยิ่งเพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละ อุทธัมภาคิยสังโยชน์๕ ประการเหล่านี้ ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เป็นอย่างไรคือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

(1) ย่อมเจริญ สติสัมโพชฌงค์
อันอาศัยวิเวกอาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

(2) ย่อมเจริญ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
อันอาศัยวิเวกอาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

(3) ย่อมเจริญ วิริยสัมโพชฌงค์
อันอาศัยวิเวกอาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

(4) ย่อมเจริญ ปีติสัมโพชฌงค์
อันอาศัยวิเวกอาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

(5) ย่อมเจริญ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
อันอาศัยวิเวกอาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

(6) ย่อมเจริญ สมาธิสัมโพชฌงค
อันอาศัยวิเวกอาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

(7) ย่อมเจริญ อุเบกขาสัมโพชฌงค์
อันอาศัยวิเวกอาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญโพชฌงค์ ๗ เหล่านี้เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละ อุทธัมภาคิย-สังโยชน์ ๕ ประการแล.

(ในสูตรอื่นตรัสว่า ให้เจริญโพชฌงค์ ๗ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด, หรือเจริญโพชฌงค์ ๗ อันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด, หรือเจริญโพชฌงค์ ๗ อันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพานโอนไปสู่นิพพาน เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ -บาลี มหาวาร. สํ.๑๙/๑๘๕/๖๗๑. -ผู้รวบรวม)

หน้า 420

160

เจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อละนิวรณ์ ๕
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๙๐/๓๔๕.

ภิกษุทั้งหลาย นิวรณ์ ๕ อย่างนี้ ๕ อย่างเป็นอย่างไร คือ
1) กามฉันทนิวรณ์
2) พยาบาทนิวรณ์
3) ถีนมิทธนิวรณ์
4) อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์
5) วิจิกิจฉานิวรณ์

ภิกษุทั้งหลายเหล่านี้แล นิวรณ์ ๕ อย่าง.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละนิวรณ์ ๕ อย่างนี้

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ย่อมเจริญสัมมาสังกัปปะ … ย่อมเจริญสัมมาวาจา… ย่อมเจริญสัมมากัมมันตะ … ย่อมเจริญสัมมาอาชีวะ …ย่อมเจริญสัมมาวายามะ … ย่อมเจริญสัมมาสติ … ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

ภิกษุควรเจริญ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละนิวรณ์๕ อย่างเหล่านี้.

หน้า 421

161
เจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อละกามคุณ ๕
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๘๙/๓๔๓.

ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ อย่างนี้ ๕ อย่างเป็นอย่างไร คือ รูปที่พึงรู้ได้ด้วยตา อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ยั่วยวน ชวนให้กำหนัด เสียงที่พึงรู้ด้วยหู …กลิ่นที่พึงรู้ด้วยจมูก … รสที่พึงรู้ด้วยลิ้น … โผฏฐัพพะที่พึงรู้ด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ยั่วยวนชวนให้กำหนัด

ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล กามคุณ ๕ อย่าง.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละกามคุณ ๕ อย่างนี้

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธน้อมไป ในการสละ ย่อมเจริญสัมมาสังกัปปะ … ย่อมเจริญสัมมาวาจา … ย่อมเจริญสัมมากัมมันตะ … ย่อมเจริญสัมมา-อาชีวะ … ย่อมเจริญสัมมาวายามะ … ย่อมเจริญสัมมาสติ …ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธน้อมไปในการสละ

ภิกษุควรเจริญ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละกามคุณ ๕ อย่างเหล่านี้.

หน้า 422

162
เจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อละการแสวงหา ๓
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๘๒/๓๐๔.

ภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นอย่างไร คือ การแสวงหากาม การแสวงหาภพ การแสวงหาพรหมจรรย์ ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล การแสวงหา ๓ อย่าง.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละการแสวงหา ๓ อย่างนี้

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธน้อมไป ในการสละ ย่อมเจริญสัมมาสังกัปปะ … ย่อมเจริญสัมมาวาจา … ย่อมเจริญสัมมากัมมันตะ … ย่อมเจริญสัมมา-อาชีวะ … ย่อมเจริญสัมมาวายามะ … ย่อมเจริญสัมมาสติ …ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธน้อมไปในการสละ

ภิกษุควรเจริญ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละการแสวงหา ๓ อย่างเหล่านี้.