เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
  
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ            

  อนาคามี-พุทธวจน   ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
    6 of 8  
 
  อนาคามี พุทธวจน  ที่มา : http://watnapp.com/book  
       
    สารบัญ หน้า  
  108.อานิสงส์การฟังธรรมโดยกาลอันควร 307  
  109.ประโยชน์ของการฟังกุศลธรรม 311  
  110.การให้ทาน แล้วเป็นอนาคามี 321  
  111.ละธรรมอย่างหนึ่ง ได้อนาคามี (นัยที่ ๑) 325  
  112.ละธรรมอย่างหนึ่ง ได้อนาคามี (นัยที่ ๒) 326  
  113.ละธรรมอย่างหนึ่ง ได้อนาคามี (นัยที่ ๓) 327  
  114.ละธรรมอย่างหนึ่ง ได้อนาคามี (นัยที่ ๔) 328  
  115.ละธรรมอย่างหนึ่ง ได้อนาคามี (นัยที่ ๕) 329  
  116.เจริญพรหมวิหาร ได้อรหันต์หรืออนาคามี 330  
  117.อานิสงส์ที่มุ่งหวัง ของการเจริญอนิจจสัญญา   334  
  118.อานิสงส์ที่มุ่งหวัง ของการเจริญทุกขสัญญา   335  
  119.อานิสงส์ที่มุ่งหวัง ของการเจริญอนัตตสัญญา   337  
  120.ผลของการเจริญอนิจจสัญญา 338  
  121.ผลของการพิจารณาเห็นสังขาร โดยความไม่เที่ยง 342  
  122.ผลของการพิจารณาเห็นสังขาร โดยความเป็นทุกข์   343  
  123.ผลของการพิจารณาเห็นธรรม โดยความเป็นอนัตตา 344  
  124.ผลของการพิจารณาเห็นนิพพาน โดยความเป็นสุข 345  
  125.การเห็นเพื่อละสังโยชน์   346  
  126.การเห็นเพื่อละอนุสัย 348  
  127.การเห็นเพื่อละอาสวะ 349  
  128.การเห็นเพื่อละอวิชชา 350  
  129.อานิสงส์ของธรรม ๑ ประการ (นัยที่ ๑) 351  
  130.อานิสงส์ของธรรม ๑ ประการ (นัยที่ ๒) 352  
  131.อานิสงส์ของธรรม ๔ ประการ   355  
  132.อานิสงส์ของธรรม ๕ ประการ (นัยที่ ๑) 359  
  133.อานิสงส์ของธรรม ๕ ประการ (นัยที่ ๒) 360  
  134.ละธรรม ๕ อย่าง ได้ความเป็นอริยบุคคล (นัยที่ ๑) 361  
  135.ละธรรม ๖ อย่าง ได้อนาคามิผล   363  
  136.ละธรรม ๖ อย่าง ได้อรหัตตผล 365  
  137.อานิสงส์ของสติปัฏฐาน ๔ (นัยที่ ๑) 366  
  138.อานิสงส์ของสติปัฏฐาน ๔ (นัยที่ ๒) 367  
  139.เจริญสติปัฏฐาน ๔ เพื่อละ โอรัมภาคิยสังโยชน์ 369  
  140.เจริญสติปัฏฐาน ๔ เพื่อละ อุทธัมภาคิยสังโยชน์ 370  
  141.เจริญสติปัฏฐาน ๔ เพื่อละนิวรณ์   371  
  142.ปฏิปทาให้ถึงการเจริญสติปัฏฐาน 372  
 
   
 
 




อนาคามี Page 6


หน้า 307

108
อานิสงส์การฟังธรรมโดยกาลอันควร
-บาลี ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๒๔/๓๒๗.


ก็สมัยนั้น ท่านพระผัคคุณะอาพาธ มีทุกข์ เป็นไข้หนัก พระผู้มี-พระภาค ได้เสด็จเข้าไปเยี่ยมท่านพระผัคคุณะถึงที่อยู่ แล้วได้ทรงชี้แจงด้วยธรรมีกถา ให้ท่านพระผัคคุณะเห็นแจ้ง ให้สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงแล้วเสด็จลุกจากอาสนะ หลีกไป ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จไปแล้วไม่นาน ท่านพระผัคคุณะได้กระทำาละ และในเวลาตายอินทรีย์ของท่านพระผัคคุณะนั้น ผ่องใสยิ่งนัก.

ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จจากมาไม่นาน ท่านพระผัคคุณะก็กระทำกาละ และในเวลาตายอินทรีย์ของท่านพระผัคคุณะผ่องใสยิ่งนัก.

อานนท์ ก็อินทรีย์ของผัคคุณภิกษุจักไม่ผ่องใสได้อย่างไร จิตของผัคคุณภิกษุ ยังไม่หลุดพ้นจากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ จิตของผัคคุณภิกษุนั้น ก็หลุดพ้นแล้วจากสังโยชน์ อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น (ตสฺส ตํ ธมฺมเทสนํ สุตฺวา ปญฺจหิ โอรมฺภาคิเยหิสญฺโญชเนหิ จิตฺตํ วิมุตฺตํ).

อานนท์ อานิสงส์ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร ในการใคร่ครวญเนื้อความ แห่งธรรมโดยกาลอินควร ๖ ประการนี้๖ ประการเป็นอย่างไร คือ

(1) อานนท์ จิตของภิกษุในธรรมวินัยนี้ ยังไม่หลุดพ้นจากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ ในเวลาใกล้ตาย เธอได้เห็นตถาคต ตถาคตย่อมแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น อันงามในท่ามกลาง อันงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิงแก่เธอ จิตของเธอย่อมหลุดพ้นจากสังโยชน์ อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น (ตสสฺตํ ธมฺมเทสนํ สุตฺวา ปญฺจหิ โอรมฺภาคิเยหิ สญฺโญชเนหิ จิตฺตํ วิมุจฺจติ) อานนท์ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๑ ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร.

(2) อีกประการหนึ่ง จิตของภิกษุยังไม่หลุดพ้นจากสังโยชน์ อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ ในเวลาใกล้ตายเธอไม่ได้เห็นตถาคตเลย แต่ได้เห็นสาวกของตถาคต สาวกของตถาคตย่อมแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิงแก่เธอ จิตของเธอย่อมหลุดพ้นจากสังโยชน์ อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น อานนท์ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๒ ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร.

(3) อีกประการหนึ่ง จิตของภิกษุยังไม่หลุดพ้นจากสังโยชน์ อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ ในเวลาใกล้ตายเธอไม่ได้เห็นตถาคต และไม่ได้เห็นสาวกของตถาคตเลยแต่เธอย่อมตรึกตรองเพ่งด้วยใจ ซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมาได้เรียนมา เมื่อเธอตรึกตรองเพ่งด้วยใจ ซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมา ได้เรียนมาอยู่ จิตของเธอย่อมหลุดพ้นจากสังโยชน์ อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ อานนท์ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๓ ในการใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรมโดยกาลอันควร.

(4) อานนท์ จิตของมนุษย์ในธรรมวินัยนี้ ได้หลุดพ้นจากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ แต่จิตของเธอยังไม่น้อมไปในนิพพาน อันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิ อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ ในเวลาใกล้ตาย เธอย่อมได้เห็นตถาคต ตถาคตย่อมแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น … แก่เธอ จิตของเธอย่อมน้อมไปในนิพพาน อันเป็นที่สิ้นไปแหง่ อุปธิ อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น อานนท์ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๔ ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร.

(5) อีกประการหนึ่ง จิตของภิกษุหลุดพ้นแล้วจากสังโยชน์ อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ แต่จิตของเธอยังไม่น้อมไปในนิพพาน อันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิ อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ ในเวลาใกล้ตาย เธอไม่ได้เห็นตถาคตเลย แต่ได้เห็นสาวกของตถาคต สาวกของตถาคตย่อมแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น … แก่เธอ จิตของเธอย่อมน้อมไปในนิพพาน อันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิ อันหาธรรมอื่น ยิ่งกว่ามิได้เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น อานนท์ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๕ ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร.

(6) อีกประการหนึ่ง จิตของภิกษุหลุดพ้นแล้วจากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ แต่จิตของเธอยังไม่น้อมไปในนิพพาน อันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิ อันหาธรรมอืน่ยิ่งกว่ามิได้ ในเวลาใกล้ตาย เธอไม่ได้เห็นตถาคต และไม่ได้เห็นสาวกของตถาคตเลย แต่เธอย่อมตรึกตรองเพ่งด้วยใจซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมา ได้เรียนมา เมื่อเธอตรึกตรองเพ่งด้วยใจซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมา ได้เรียนมาอยู่ จิตของเธอย่อมน้อมไปในนิพพาน อันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิ อันหาธรรมอืน่ยิ่งกว่ามิได้ อานนท์ นี้เป็นอานิสงส์ข้อ ๖ ในการใคร่ครวญ เนื้อความแห่งธรรมโดยกาลอันควร.

อานนท์ เหล่านี้แล อานิสงส์ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร ในการใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรมโดยกาลอันควร๖ ประการ.

หน้า 311

109
ประโยชน์ของการฟังกุศลธรรม
-บาลี สุตฺต. ขุ. ๒๕/๔๗๓/๓๙๐.


ภิกษุทั้งหลาย ถ้าจะพึงมีผู้ถามเธอทั้งหลายอย่างนี้ว่า จะมีประโยชน์อะไร เพื่อการฟังกุศลธรรมอันเป็นอริยะ เป็นเครื่องนำออก อันให้ถึงปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ เธอทั้งหลายพึงตอบเขาอย่างนี้ว่า มีประโยชน์เพื่อรู้ธรรมอันเป็นธรรม ๒ อย่างตามความเป็นจริง

ถ้าเขาถามต่อไปอีกว่า ท่านทั้งหลายกล่าวอะไรว่าเป็นธรรม ๒ อย่าง เธอทั้งหลาย พึงตอบเขาอย่างนี้ว่า การพิจารณาเห็นเนืองๆ (อนุปสฺสนา)ว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้เป็นอย่างที่ ๑ การพิจารณาเห็นเนืองๆ (อนุปสฺสนา) ว่า นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินี -ปฏิปทา นี้เป็นอย่างที่ ๒  ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณา เห็นธรรม อันเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบเนืองๆ อย่างนี้เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ พึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตตผลในปัจจุบันหรือเมื่อยังมีความยึดมั่นเหลืออยู่ ก็จะเป็นอนาคามี.

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเขาถามต่อไปอีกว่า การพิจารณาเห็นธรรมอันเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบเนืองๆ จะพึงมีโดยปริยายอย่างอื่นอีกบ้างไหม ให้ตอบเขาว่าพึงมี

ถ้าเขาถามต่อไปอีกว่า พึงมีอย่างไรเล่า ให้ตอบเขาว่า การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า ทุกข์ใดๆ ที่เกิดขึ้น ทุกข์ทั้งหมดนั้น ย่อมเกิดขึ้นเพราะอุปธิเป็นปัจจัย นี้เป็นอย่างที่ ๑ การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งอุปธิ นั่นเอง ทุกข์จึงไม่เกิด นี้เป็นอย่างที่ ๒ ภิกษุทั้งหลายภิกษุผู้พิจารณาเห็นเนืองๆ ซึ่งธรรมอันเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบอย่างนี้ … พึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่งคือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีความยึดมั่นเหลืออยู่ ก็จะเป็นอนาคามี.

ภิกษุทั้งหลาย … ถ้าเขาถามต่อไปอีกว่า พึงมีอย่างไรเล่าให้ตอบเขาว่า การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า ทุกข์ใดๆ ที่เกิดขึ้น ทุกข์ทั้งหมดนั้น ย่อมเกิดขึ้นเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย นี้เป็นอย่างที่ ๑ การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือ แห่งอวิชชา นั่นเอง ทุกข์จึงไม่เกิด นี้เป็นอย่างที่ ๒ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นเนืองๆซึ่งธรรมอันเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบอย่างนี้ … พึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตตผลในปัจจุบันหรือเมื่อยังมีความยึดมั่นเหลืออยู่ ก็จะเป็นอนาคามี.

ภิกษุทั้งหลาย… ถ้าเขาถามต่อไปอีกว่า พึงมีอย่างไรเล่าให้ตอบเขาว่า การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า ทุกข์ใดๆ ที่เกิดขึ้นทุกข์ทั้งหมดนั้น ย่อมเกิดขึ้นเพราะสังขารเป็นปัจจัย นี้เป็นอย่างที่ ๑ การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งสังขาร นั่นเอง ทุกข์จึงไม่เกิด นี้เป็นอย่างที่ ๒ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นเนืองๆ ซึ่งธรรมอันเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบอย่างนี้ … พึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีความยึดมั่นเหลืออยู่ ก็จะเป็นอนาคามี.

ภิกษุทั้งหลาย … ถ้าเขาถามต่อไปอีกว่า พึงมีอย่างไรเล่าให้ตอบเขาว่า การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า ทุกข์ใดๆ ที่เกิดขึ้นทุกข์ทั้งหมดนั้น ย่อมเกิดขึ้นเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นี้เป็นอย่างที่ ๑ การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งวิญญาณ นั่นเอง ทุกข์จึงไม่เกิด
นี้เป็นอย่างที่ ๒ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นเนืองๆซึ่งธรรมอันเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบอย่างนี้ … พึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีความยึดมั่นเหลืออยู่ ก็จะเป็นอนาคามี.

ภิกษุทั้งหลาย … ถ้าเขาถามต่อไปอีกว่า พึงมีอย่างไรเล่าให้ตอบเขาว่า การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า ทุกข์ใดๆ ที่เกิดขึ้นทุกข์ทั้งหมดนั้น ย่อมเกิดขึ้นเพราะผัสสะเป็นปัจจัย นี้เป็นอย่างที่ ๑ การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือ แห่งผัสสะนั่นเอง ทุกข์จึงไม่เกิด นี้ เป็นอย่างที่ ๒ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นเนืองๆซึ่งธรรมอันเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบอย่างนี้ … พึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีความยึดมั่นเหลืออยู่ ก็จะเป็นอนาคามี.

ภิกษุทั้งหลาย … ถ้าเขาถามต่อไปอีกว่า พึงมีอย่างไรเล่าให้ตอบเขาว่า การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า ทุกข์ใดๆ ที่เกิดขึ้นทุกข์ทั้งหมดนั้น ย่อมเกิดขึ้นเพราะเวทนาเป็นปัจจัย นี้เป็นอย่างที่ ๑ การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งเวทนา นั่นเอง ทุกข์จึงไม่เกิด นี้เป็นอย่างที่ ๒ ภิกษุทั้งหลายภิกษุผู้พิจารณาเห็นเนืองๆซึ่งธรรมอันเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบอย่างนี้ … พึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีความยึดมั่นเหลืออยู่ ก็จะเป็นอนาคามี.

ภิกษุทั้งหลาย … ถ้าเขาถามต่อไปอีกว่า พึงมีอย่างไรเล่าให้ตอบเขาว่า การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า ทุกข์ใดๆ ที่เกิดขึ้นทุกข์ทั้งหมดนั้น ย่อมเกิดขึ้นเพราะตัณหาเป็นปัจจัย นี้เป็นอย่างที่ ๑ การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่าเพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งตัณหานั่นเอง ทุกข์จึงไม่เกิด นี้เป็นอย่างที่ ๒ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นเนืองๆ ซึ่งธรรมอันเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบอย่างนี้ … พึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีความยึดมั่นเหลืออยู่ ก็จะเป็นอนาคามี.

ภิกษุทั้งหลาย … ถ้าเขาถามต่อไปอีกว่า พึงมีอย่างไรเล่าให้ตอบเขาว่า การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า ทุกข์ใดๆ ที่เกิดขึ้นทุกข์ทั้งหมดนั้น ย่อมเกิดขึ้นเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย นี้เป็นอย่างที่ ๑ การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือ แห่งอุปาทาน นั่นเอง ทุกข์จึงไม่เกิด นี้เป็นอย่างที่ ๒ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นเนืองๆซึ่งธรรมอันเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบอย่างนี้ … พึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตตผลในปัจจุบันหรือเมื่อยังมีความยึดมั่นเหลืออยู่ ก็จะเป็นอนาคามี.

ภิกษุทั้งหลาย … ถ้าเขาถามต่อไปอีกว่า พึงมีอย่างไรเล่าให้ตอบเขาว่า การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า ทุกข์ใดๆ ที่เกิดขึ้นทุกข์ทั้งหมดนั้น ย่อมเกิดขึ้นเพราะความริเริ่ม (อารมฺภ)เป็นปัจจัย นี้เป็นอย่างที่ ๑ การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่าเพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือ แห่งความริเริ่มนั่นเอง ทุกข์จึงไม่เกิด นี้เป็นอย่างที่ ๒ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นเนืองๆ ซึ่งธรรมอันเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบ อย่างนี้ … พึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คืออรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีความยึดมั่นเหลืออยู่ก็จะเป็นอนาคามี.

ภิกษุทั้งหลาย … ถ้าเขาถามต่อไปอีกว่า พึงมีอย่างไรเล่าให้ตอบเขาว่า การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า ทุกข์ใดๆ ที่เกิดขึ้นทุกข์ทั้งหมดนั้น ย่อมเกิดขึ้นเพราะอาหารเป็นปัจจัย นี้เป็นอย่างที่ ๑ การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งอาหาร ทั้งหมดนั่นเอง ทุกข์จึงไม่เกิด นี้เป็นอย่างที่ ๒ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นเนืองๆ ซึ่งธรรมอันเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบอย่างนี้ … พึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คืออรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีความยึดมั่นเหลืออยู่ก็จะเป็นอนาคามี.

ภิกษุทั้งหลาย … ถ้าเขาถามต่อไปอีกว่า พึงมีอย่างไรเล่าให้ตอบเขาว่า การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งทั้งหมด ย่อมเกิดขึ้น เพราะความหวั่นไหวเป็นปัจจัย นี้เป็นอย่างที่ ๑ การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือ แห่งความหวั่นไหวทั้งหลายนั่นเอง ทุกข์จึงไม่เกิด นี้เป็นอย่างที่ ๒ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นเนืองๆ ซึ่งธรรมอันเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบอย่างนี้ … พึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คืออรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีความยึดมั่นเหลืออยู่ก็จะเป็นอนาคามี.

ภิกษุทั้งหลาย … ถ้าเขาถามต่อไปอีกว่า พึงมีอย่างไรเล่าให้ตอบเขาว่า การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า ความดิ้นรนย่อมมีแก่ผู้อันตัณหา ทิฏฐิ และมานะอาศัยแล้ว นี้เป็นอย่างที่ ๑ การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า ผู้ที่ตัณหา ทิฏฐิและมานะไม่อาศัยแล้ว ย่อมไม่ดิ้นรน นี้เป็นอย่างที่ ๒ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นเนืองๆ ซึ่งธรรมอันเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบอย่างนี้ … พึงหวังผลได้ ๒ อย่างอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีความยึดมั่นเหลืออยู่ ก็จะเป็นอนาคามี.

ภิกษุทั้งหลาย … ถ้าเขาถามต่อไปอีกว่า พึงมีอย่างไรเล่าให้ตอบเขาว่า การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า อรูปภพละเอียดกว่ารูปภพ นี้เป็นอย่างที่ ๑
การพิจารณาเห็นเนืองๆว่านิโรธละเอียดกว่าอรูปภพ นี้เป็นอย่างที่ ๒ ภิกษุทั้งหลายภิกษุผู้พิจารณาเห็นเนืองๆ ซึ่งธรรมอันเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบอย่างนี้ … พึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่งคือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีความยึดมั่นเหลืออยู่ก็จะเป็นอนาคามี.

ภิกษุทั้งหลาย … ถ้าเขาถามต่อไปอีกว่า พึงมีอย่างไรเล่าให้ตอบเขาว่า การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า นามรูปที่โลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ที่หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์เล็งเห็นว่า นามรูปนี้เป็นของจริง พระอริยเจ้าทั้งหลายเห็นด้วย ดีแล้วด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงว่า นามรูปนั่นเป็นของเท็จ นี้เป็นอย่างที่ ๑ การพิจารณาเห็นเนืองๆว่านิพพานที่โลก พร้อมทั้ง เทวโลก มารโลก พรหมโลก ที่หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณ-พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์เล็งเห็นว่า นิพพานนี้เป็นของเท็จ พระอริยเจ้า ทั้งหลายเห็นด้วยดีแล้วด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงว่า นิพพานนั้นเป็นของจริง นี้เป็นอย่างที่ ๒ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นเนืองๆ ซึ่งธรรมอันเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบอย่างนี้ … พึงหวังผลได้ ๒ อย่าง
อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีความยึดมั่นเหลืออยู่ ก็จะเป็นอนาคามี.

ภิกษุทั้งหลาย … ถ้าเขาถามต่อไปอีกว่า การพิจารณาเห็นธรรมอันเป็นธรรม ๒ อย่างเนืองๆ โดยชอบ จะพึงมีโดยปริยายอย่างอื่น บ้างไหม ให้ตอบเขาว่า พึงมี ถ้าเขาถามต่อไปอีกว่า พึงมีอย่างไรเล่า ให้ตอบเขาว่า การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า อิฏฐารมณ์ (อารมณ์หรือสิ่งที่น่าปรารถนา น่าพอใจ) ที่โลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ที่หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและ มนุษย์เล็งเห็นว่า เป็นสุข พระอริยเจ้าทั้งหลายเห็นด้วยดีแล้ว ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงว่า นั่นเป็นทุกข์ นี้เป็นอย่างที่ ๑  การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่านิพพานที่โลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลกที่หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เล็งเห็นว่านี้เป็นทุกข์ พระอริยะเจ้าทั้งหลายเห็นด้วยดีแลว้ ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงว่า นั่นเป็นสุข นี้เป็นอย่างที่ ๒

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นธรรมอันเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบเนืองๆ อย่างนี้ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ พึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คืออรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีความยึดมั่นเหลืออยู่ก็จะเป็นอนาคามี.

(สำหรับบทนี้มีเนื้อหาค่อนข้างยาว จึงได้นำมาใส่ไว้บางส่วน ผู้สนใจพึงตามอ่านเนื้อความเต็มได้จากที่มาของพระสูตร. -ผู้รวบรวม)

หน้า 321

110
การให้ทาน แล้วเป็นอนาคามี
-บาลี สตฺตก. อํ. ๒๓/๖๐/๔๙.


ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ที่การให้ทานเช่นนั้นนั่นแล บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้แล้ว มีผลมาก แต่ไม่มีอานิสงส์มาก และอะไรหนอ เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ที่การให้ทานเช่นนั้นนั่นแลบุคคลบางคนในโลกนี้ ให้แล้ว มีผลมาก และมีอานิสงส์มาก.

สารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้ทานโดยมีความหวังผล ให้ทานโดยมีจิตผูกพันในผล ให้ทานโดยมุ่งการสั่งสม (บุญ) ให้ทานโดยคิดว่า เราตายไปจักได้เสวยผลของทานนี้ เขาจึงให้ทาน คือ ข้าว น้ำ เครื่องนุ่งห่ม ยานพาหนะดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย และประทีปโคมไฟแก่สมณะหรือพราหมณ์ … เขาให้ทานเช่นนั้นแล้ว เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาเหล่าจาตุมหาราชิกา ครั้นสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้.

สารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้ทานโดยไม่มีความหวังผล ให้ทานโดยไม่มีจิตผูกพันในผล ให้ทานโดยไม่มุ่งการสั่งสม (บุญ) ให้ทานโดยไม่คิดว่า “เราตายไปจักได้เสวยผลของทานนี้” แต่เขาให้ทานด้วยคิดว่า “การให้ทานเป็นการดี” … เขาให้ทานเช่นนั้นแล้ว เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาเหล่าดาวดึงส์ ครั้นสิ้นกรรมสิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว ยังเป็นผู้กลับมา คือมาสู่ความเป็นอย่างนี้.

สารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้ทานโดยไม่มีความหวังผล … ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า “การให้ทานเป็นการดี” แต่ให้ทานด้วยคิดว่า บิดามารดา ปู่ย่า ตายายเคยให้เคยทำมา เราก็ไม่ควรทำให้เสียประเพณี … เขาให้ทานเช่นนั้นแล้ว เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็น สหายแห่งเทวดาเหล่ายามา ครั้นสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้.

สารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้ทานโดยไม่มีความหวังผล … ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่าบิดามารดา ปู่ย่าตายาย เคยให้เคยทำมา เราก็ไม่ควรทำให้เสียประเพณี แต่ให้ทานด้วยคิดว่า เราหุงหากิน สมณะหรือพราหมณ์เหล่านี้ไม่หุงหากิน เราหุงหากินได้ จะไม่ให้ทาน แก่สมณะหรือพราหมณ์ผู้ไม่หุงหา ไม่สมควร … เขาให้ทานเช่นนั้นแล้วเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดา เหล่าดุสิต ครั้นสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้.

สารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้ทานโดยไม่มีความหวังผล … ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เราหุงหากินได้ สมณะหรือพราหมณ์ เหล่านี้หุงหากินไม่ได้ เราหุงหากินได้ จะไม่ให้ทานแก่สมณะ หรือพราหมณ์ผู้หุงหากินไม่ได้ ไม่สมควร แต่ให้ทานด้วยคิดว่าเราจักเป็น ผู้จำแนกแจกทาน เหมือนฤาษีแต่ครั้งก่อน คือ อัฏฐกฤาษี วามกฤาษี วามเทวฤาษี เวสสามิตรฤาษี ยมทัคคิฤาษี อังคีรสฤาษี ภารทวาชฤาษี วาเสฏฐฤาษีกัสสปฤาษี และภคุฤาษี บูชามหายัญ … เขาให้ทานเช่นนั้นแล้วเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่ง เทวดาเหล่านิมมานรดี ครั้นสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้.

สารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้ทานโดยไม่มีความหวังผล … ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เราจักเป็นผู้จำแนกแจกทาน เหมือนอย่างฤาษี แต่ครั้งก่อน คืออัฏฐกฤาษี … ภคุฤาษีแต่ให้ทานด้วยคิดว่า เมื่อเราให้ทานอย่างนี้ จิตจะเลื่อมใสเกิดความปลื้มใจและโสมนัส … เขาให้ทานเช่นนั้นแล้ว เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาเหล่าปรนิมมิตวสวัสดีครั้นสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้.

สารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้ทานโดยไม่มีความหวังผล … ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เมื่อเราให้ทานอย่างนี้จิตจะเลื่อมใส เกิดความปลื้มใจและโสมนัส แต่ให้ทานเป็นเครื่องประดับจิต เป็นบริขารของจิต (จิตฺตาลงฺการํ จิตฺตปริกฺขารํ) …

เขาให้ทานเช่นนั้นแล้ว เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดา เหล่าพรหมกายิกา ครั้นสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศหมด ความเป็นใหญ่แล้ว เป็นผู้ไม่ต้องกลับมา คือ ไม่มาสู่ความเป็นอย่างนี้.

สารีบุตร นี้แล เป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้ทานเช่นนั้นที่บุคคลบางคนในโลกนี้ให้แล้ว มีผลมาก แต่ไม่มีอานิสงส์มากและเป็นเหตุ เป็นปัจจัยเช่นนั้น ที่บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้แล้วมีผลมาก และมีอานิสงส์มาก.

หน้า 325

111
ละธรรมอย่างหนึ่ง ได้อนาคามี (นัยที่ ๑)

-บาลี อิติวุ. ขุ. ๒๕/๒๒๙/๑๗๙.

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายละธรรมอย่างหนึ่ง ได้เรารับรองความเป็นอนาคามี ของเธอทั้งหลาย ธรรมอย่างหนึ่งเป็นอย่างไร.

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายละธรรมอย่างหนึ่งคือ โลภะได้ เราเป็นผู้รับรองเธอทั้งหลาย เพื่อความเป็นอนาคามี.

ชนผู้เห็นแจ้งทั้งหลาย รู้ชัดด้วยดีซึ่งความโลภอันเป็นเหตุให้สัตว์ผู้โลภไปสู่ทุคติ แล้วละได้ ครั้นละได้แล้วย่อมไม่มาสู่โลกนี้ อีกในกาลไหนๆ.

หน้า 326

112
ละธรรมอย่างหนึ่ง ได้อนาคามี (นัยที่ ๒)

-บาลี อิติวุ. ขุ. ๒๕/๒๒๙/๑๘๐. 

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายละธรรมอย่างหนึ่ง ได้เรารับรองความเป็นอนาคามี ของเธอทั้งหลาย ธรรมอย่างหนึ่งเป็นอย่างไร.

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายละธรรมอย่างหนึ่ง คือโทสะได้ เรารับรองความเป็น อนาคามีเธอทั้งหลาย.

ชนผู้เห็นแจ้งทั้งหลาย รู้ชัดด้วยดีซึ่ง โทสะอันเป็นเหตุให้สัตว์ผู้ประทุษร้าย ไปสู่ทุคติ แล้วละได้ ครั้นละได้แล้วย่อมไม่มาสู่โลกนี้อีก ในกาลไหนๆ

หน้า 327

113
ละธรรมอย่างหนึ่ง ได้อนาคามี (นัยที่ ๓)

-บาลี อิติวุ. ขุ. ๒๕/๒๓๐/๑๘๑.

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายละธรรมอย่างหนึ่งได้ เรารับรองความเป็นอนาคามี ของเธอทั้งหลาย ธรรมอย่างหนึ่งเป็นอย่างไร.

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายละธรรมอย่างหนึ่ง คือโมหะได้ เรารับรองความเป็น อนาคามี เธอทั้งหลาย.

ชนผู้เห็นแจ้งทั้งหลาย รู้ชัดด้วยดี ซึ่ง โมหะอันเป็นเหตุให้สัตว์ผู้หลงไปสู่ทุคติ แล้วละได้ ครั้นละได้แล้วย่อมไม่มาสู่โลกนี้อีกในกาล ไหนๆ.

หน้า 328

114
ละธรรมอย่างหนึ่ง ได้อนาคามี (นัยที่ ๔)

-บาลี อิติวุ. ขุ. ๒๕/๒๓๐/๑๘๒.

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายละธรรมอย่างหนึ่งได้ เรารับรองความเป็นอนาคามี ของเธอทั้งหลาย ธรรมอย่างหนึ่งเป็นอย่างไร.

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายละธรรมอย่างหนึ่ง คือโกธะ (ความโกรธ) ได้ เรารับรองความเป็นอนาคามีเธอทั้งหลาย.

ชนผู้เห็นแจ้งทั้งหลาย รู้ชัดด้วยดีซึ่งโกธะอันเป็นเหตุให้สัตว์ผู้โกรธไปสู่ทุคติ แล้วละได้ ครั้นละได้แล้ว ย่อมไม่มาสู่โลกนี้อีกในกาล ไหนๆ.

หน้า 329

115

ละธรรมอย่างหนึ่ง ได้อนาคามี (นัยที่ ๕)
-บาลี อิติวุ. ขุ. ๒๕/๒๓๑/๑๘๓.

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายละธรรมอย่างหนึ่งได้ เรารับรองความเป็นอนาคามี ของเธอทั้งหลาย ธรรมอย่างหนึ่งเป็นอย่างไร.

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายละธรรมอย่างหนึ่ง คือมักขะ (ความลบหลู่คุณ) ได้ เรารับรองความเป็นอนาคามีเธอทั้งหลาย.

ชนผู้เห็นแจ้งทั้งหลาย รู้ชัดด้วยดีซึ่ง มักขะ(ลบหลู่) อันเป็นเหตุให้สัตว์ผู้ลบหลู่ไปสู่ทุคติ แล้วละได้ ครั้นละได้แล้ว ย่อมไม่มาสู่ โลกนี้อีกในกาลไหนๆ.

หน้า 330

116

เจริญพรหมวิหาร ได้อรหันต์ หรืออนาคามี
-บาลี ทสก. อํ. ๒๔/๓๒๑/๑๙๖.

ภิกษุทั้งหลาย เราไม่รู้แล้วย่อมไม่กล่าวความสิ้นสุดแห่งกรรม ที่สัตว์ตั้งใจกระทำ สั่งสมขึ้น ก็วิบากนั้นแลอันสัตว์ผู้ทำพึงได้เสวย ในปัจจุบัน ในอัตภาพถัดไป หรือในอัตภาพต่อๆ ไปภิกษุทั้งหลาย เราไม่รู้แล้วย่อมไม่กล่าวการทำที่สุดทุกข์ แห่งกรรม ที่สัตว์ ตั้งใจกระทำสั่งสมขึ้น.

ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกนั้นนั่นแล เป็นผู้ปราศจากอภิชฌา ปราศจากพยาบาท ไม่ลุ่มหลง มีสัมปชัญญะ มีสติเฉพาะหน้า มีใจประกอบด้วยเมตตาแผ่ไปตลอด ทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่ก็เหมือนกัน โดยนัยนี้ ทั้งทิศเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่าในที่ทุกสถาน

ด้วยใจประกอบด้วยเมตตาอันไพบูลย์ ใหญ่หลวงหาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่

อริยสาวกนั้นย่อมรู้อย่างนี้ว่า ในกาลก่อนแล จิตของเรานี้เป็นจิตคับแคบ เป็นจิตไม่ได้อบรมแล้วแต่บัดนี้ จิตของเรานี้ เป็นจิตหาประมาณมิได้ เป็นจิตอบรมดีแล้ว ก็กรรมที่ทำแล้วพอประมาณอย่างใดอย่างหนึ่งนั้น ย่อมไม่เหลืออยู่ ไม่ตั้งอยู่ในจิตของเรานั้นภิกษุทั้งหลาย

เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นอย่างไรคือ หากในเวลายังเป็นเด็ก เด็กนี้พึงเจริญเมตตา เจโตวิมุตติไซร้พึงทำบาปกรรมบ้างหรือ.

ไม่ใช่เช่นนั้น พระเจ้าข้า.
ก็ทุกข์จะพึงถูกต้องบุคคลผู้ไม่ทำบาปกรรม หรือ.

ไม่ใช่เช่นนั้น พระเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยว่าทุกข์จักถูกต้องบุคคลผู้ไม่ทำบาปกรรมได้แต่ที่ไหน.

ภิกษุทั้งหลาย ก็เมตตาเจโตวิมุตตินี้ อันสตรีหรือบุรุษ พึงเจริญแล ภิกษุทั้งหลาย กายนี้มิได้มีส่วนอันสตรีหรือบุรุษจะพึงพาเอาไปได้ ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ผู้มีอันจะต้องตายเป็นสภาพนี้ เป็นผู้มีจิตเป็นเหตุ สัตว์นั้นย่อมรู้อย่างนี้ว่า บาปกรรมไรๆ ของเรา อันกรัชกายนี้ทำแล้ว ในกาลก่อนบาปกรรมนั้นทั้งหมด เป็น กรรมอันเราพึงเสวยในอัตภาพนี้จักไม่ติดตามไป ดังนี้

ภิกษุทั้งหลาย เมตตาเจโตวิมุตติอัน ภิกษุผู้มีปัญญา ผู้ยังไม่แทงตลอดวิมุตติอันยิ่ง ในธรรม- วินัยนี้อบรมแล้ว ด้วยประการอย่างนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็น อนาคามี.

ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกมีจิตประกอบด้วยกรุณา… มุทิตา … อุเบกขา แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่ก็เหมือนกัน โดยนัยนี้ ทั้งทิศเบื้องบน เบื้องล่างเบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่าในที่ ทุกสถานด้วยจิต อันประกอบด้วยอุเบกขา อันไพบูลย์ ใหญ่หลวงหาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ อริยสาวกนั้นย่อมรู้อย่างนี้ว่า ในกาลก่อนแล จิตของเรานี้ เป็นจิต เล็กน้อยเป็นจิตไม่ได้อบรมแล้ว แต่บัดนี้ จิตของเรานี้เป็นจิต หาประมาณมิได้ เป็นจิตอบรมดีแล้ว ก็กรรมที่ทำแล้วพอประมาณ อย่างใดอย่างหนึง่ นั้น ย่อมไม่เหลืออยู่ไม่ตั้งอยู่ในจิตของเรานั้น

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นอย่างไร คือ หากว่าในเวลา ยังเป็นเด็ก เด็กนี้พึงเจริญอุเบกขาเจโตวิมุตติไซร้ พึงกระทำบาปกรรมบ้างหรือ.

ไม่ใช่เช่นนั้น พระเจ้าข้า.
ก็ทุกข์จะพึงถูกต้องบุคคลผู้ไม่ทำบาปกรรมหรือ.

ไม่ใช่เช่นนั้น พระเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยว่าทุกข์จักถูกต้องบุคคล ผู้ไม่ทำ บาปกรรมได้แต่ที่ไหน.

ภิกษุทั้งหลาย อุเบกขาเจโตวิมุตตินี้ อันสตรีหรือบุรุษพึงเจริญแล ภิกษุทั้งหลาย กายนี้มิได้มีส่วนอันสตรีหรือบุรุษจะพึงพาเอาไปได้ ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ผู้มีอันจะต้อง ตายเป็นสภาพนี้ เป็นผู้มีจิตเป็นเหตุ สัตว์นั้นย่อมรู้อย่างนี้ว่า บาปกรรมไรๆ ของเราอันกรัชกายนี้ ทำแล้วในกาลก่อนบาปกรรมนั้นทั้งหมด อันเราจะพึงเสวย ในอัตภาพนี้ จักไม่ติดตามไปดังนี้ ภิกษุทั้งหลาย อุเบกขาเจโตวิมุตติ อันภิกษุผู้มีปัญญา ผู้ยังไม่แทงตลอดวิมุตติอันยิ่ง ในธรรมวินัยนี้เจริญแล้ว ด้วยประการ อย่างนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นอนาคามี.

หน้า 334

117

อานิสงส์ที่มุ่งหวัง ของการเจริญอนิจจสัญญา
-บาลี ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๙๓/๓๗๓.

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุหวังอยู่ซึ่งอานิสงส์ ๖ประการ ย่อมสมควรโดยแท้ เพื่อจะเข้าไปตั้งซึ่งอนิจจสัญญาในสังขารทั้งปวง อย่างไม่จำกัดขอบเขต ๖ ประการนั้นเป็นอย่างไร คือ
(1) สังขารทั้งปวง จักปรากฏโดยความเป็นของตั้งอยู่อย่างไม่มั่นคง
(2) ใจของเรา จักไม่ยินดีในโลกทั้งปวง
(3) ใจของเรา จักออกจากโลกทั้งปวง
(4) ใจของเรา จักเป็นใจน้อมไปในนิพพาน
(5) สังโยชน์ทั้งหลายของเรา จักถึงซึ่งการละขาด
(6) เราจักเป็นผู้ประกอบด้วยสามัญญคุณอันยอดเยี่ยม

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุหวังอยู่ซึ่งอานิสงส์ ๖ประการเหล่านี้แล ย่อมสมควรโดยแท้ เพื่อจะเข้าไปตั้งไว้ซึ่งอนิจจสัญญาในสังขารทั้งปวง อย่างไม่จำกัดขอบเขต.

หน้า 335

118
อานิสงส์ที่มุ่งหวัง ของการเจริญทุกขสัญญา
-บาลี ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๙๓/๓๗๔.

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุหวังอยู่ซึ่งอานิสงส์ ๖ประการ ย่อมสมควรโดยแท้ เพื่อจะเข้าไปตั้งไว้ซึ่งทุกขสัญญาในสังขารทั้งปวง อย่างไม่จำกัดขอบเขต ๖ ประการนั้นเป็นอย่างไร คือ
(1) นิพพิทาสัญญา (สัญญาในความน่าเบื่อหน่าย) ของเราในสังขารทั้งปวง จักปรากฏ เหมือนมีเพชฌฆาตเงื้อดาบอยู่ต่อหน้าเรา
(2) ใจของเรา จักออกจากโลกทั้งปวง
(3) เราจักเป็นผู้เห็นสันติ (ความสงบระงับ) ในนิพพานอยู่เป็นประจำ
(4) อนุสัยทั้งหลายของเรา จักถึงซึ่งการถูกถอนขึ้นจนหมดสิ้น
(5) เราจักเป็นผู้กระทำกิจ (ในการทำที่สุดทุกข์) อยู่เป็นประจำ
(6) พระศาสดาจักเป็นผู้ที่เราบำเรอแล้ว ด้วยวัตรอันประกอบด้วยเมตตา

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุหวังอยู่ซึ่งอานิสงส์ ๖ประการเหล่านี้แล ย่อมสมควรโดยแท้ เพื่อจะเข้าไปตั้งไว้ซึ่งทุกขสัญญาในสังขารทั้งปวง อย่างไม่จำกัดขอบเขต.

หน้า 377

119

อานิสงส์ที่มุ่งหวัง ของการเจริญอนัตตสัญญา
-บาลี ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๙๓/๓๗๕.

ภิกษุทั้งหลาย เมือ่ ภกิ ษหุ วังอยู่ซึง่ อานิสงส์ ๖ ประการย่อมสมควรโดยแท้ เพื่อจะเข้าไปตั้งไว้ซึ่งอนัตตสัญญาในธรรมทั้งปวง อย่างไม่จำกัดขอบเขต ๖ ประการนั้นเป็นอย่างไร คือ

(1) เราจักเป็นผู้ไม่มีตัณหาและทิฏฐิในโลกทั้งปวง
(2) ทิฏฐิอันเป็นเหตุให้กระทำความถือตัวว่าเรา(อหงฺการ) จักดับ
(3) ตัณหาอันเป็นเหตุให้กระทำการยึดถือว่าของเรา(มมงฺการ) จักดับ
(4) เราจักเป็นผู้ประกอบด้วยอสาธารณญาณ(ความรู้อันไม่ทั่วไปแก่ปุถุชน)
(5) ธรรมอันเป็นเหตุ จักเป็นสิ่งที่เราเห็นแล้วด้วยดี
(6) และธรรมทั้งหลายอันเกิดแต่เหตุ จักเป็นสิ่งที่เราเห็นด้วยดี

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุหวังอยู่ซึ่งอานิสงส์ ๖ประการเหล่านี้แล ย่อมสมควรโดยแท้ เพื่อจะเข้าไปตั้งไว้ซึ่งอนัตตสัญญาในธรรมทั้งปวง อย่างไม่จำกัดขอบเขต.

หน้า 338

120
ผลของการเจริญอนิจจสัญญา
-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๘๙/๒๖๓.

ภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญา อันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว ย่อมครอบงำกามราคะทั้งปวงได้ ย่อมครอบงำรูปราคะทั้งปวงได้ ย่อมครอบงำภวราคะทั้งปวงได้ย่อมครอบงำอวิชชาทั้งปวงได้ ย่อมถอนขึ้นซึ่งอัสมิมานะทั้งปวงได้

ภิกษุทั้งหลาย ในสรทสมัย (ฤดูใบไม้ร่วง) ชาวนาเมื่อไถนาด้วยไถคันใหญ่ ย่อมไถทำลายความสืบต่อแห่งรากทุกชนิด แม้ฉันใด อนิจจสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ยอ่ มครอบงำกามราคะทั้งปวงได้ ย่อมครอบงำรูปราคะทั้งปวงได้ ย่อมครอบงำภวราคะทั้งปวงได้ ย่อมครอบงำ อวิชชาทั้งปวงได้ ย่อมถอนขึ้นซึ่งอัสมิมานะทั้งปวงได้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.

ภิกษุทั้งหลาย คนเกี่ยวหญ้ามุงกระต่าย เกี่ยวหญ้ามุงกระต่ายแล้ว จับปลาย เขย่า ฟาด สลัดออก แม้ฉันใดอนิจจสัญญา อันบุคคล เจริญแล้ว … ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อพวงมะม่วงขาดจากขั้ว ในมะม่วงเหล่านั้น มะม่วงเหล่าใด เนื่องด้วยขั้ว มะม่วงเหล่านั้นทั้งหมดย่อมเป็นของหลุดไป ตามขั้วมะม่วงนั้น แม้ฉันใด อนิจจสัญญาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว … ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.

ภิกษุทั้งหลาย กลอนใดๆ แห่งเรือนยอด กลอนทั้งหมดนั้นไปสู่ยอด น้อมไปที่ยอด ประชุมลงที่ยอดยอด ชนทั้งหลายกล่าวว่าเลิศกว่า กลอนเหล่านั้น แม้ฉันใดอนิจจสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว … ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.

ภิกษุทั้งหลาย ไม้มีกลิ่นที่รากใดๆ ไม้กะลำพัก1 ชนทั้งหลายกล่าวว่า เลิศกว่าไม้มีกลิ่นที่รากเหล่านั้น แม้ฉันใดอนิจจสัญญา อันบุคคล เจริญแล้ว … ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.

ภิกษุทั้งหลาย ไม้มีกลิ่นที่แก่นใดๆ จันทน์แดงชนทั้งหลายกล่าวว่า เลิศกว่าไม้ ที่มีกลิ่น เหล่านั้น แม้ฉันใดอนิจจสัญญา อันบุคคล เจริญแล้ว … ก็ฉันนั้นหมือนกัน.

ภิกษุทั้งหลาย ไม้มีกลิ่นที่ดอกใดๆ มะลิ ชนทั้งหลายกล่าวว่า เลิศกว่าไม้มีกลิ่น ที่ดอกเหล่านั้น แม้ฉันใด อนิจจสัญญาอันบุคคลเจริญแล้ว … ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.

ภิกษุทั้งหลาย พระราชาผู้น้อยใดๆ ทั้งหมดนั้นย่อมเป็นผู้เสด็จไปตาม (คล้อยตาม) พระเจ้าจักรพรรดิพระเจ้าจักรพรรดิ ชนทั้งหลาย ย่อมกล่าวว่าเลิศกว่าพระราชา

1. กะลำพัก มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า สลัดได. -ผู้รวบรวม

ผู้น้อยเหล่านั้น แม้ฉันใด อนิจจสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว … ก็ฉันนั้นเหมือนกัน. ภิกษุทั้งหลาย แสงดาวทั้งหลาย ชนิดใดชนิดหนึ่ง แสงดาวทั้งหมดนั้นไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑ ๖ แห่งแสงพระจันทร์แสงพระจันทร์

ชนทั้งหลายกล่าวว่า เลิศกว่าแสงดาวเหล่านั้น แม้ฉันใด อนิจจสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว … ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.

ภิกษุทั้งหลาย ในสรทสมัย ท้องฟ้าบริสุทธิ์ ปราศจากเมฆ พระอาทิตย์ขึ้นไปสู่ ท้องฟ้า ย่อมส่องแสงและแผดแสงไพโรจน์ กำจัดความมืดอันอยู่ในอากาศทั่วไป แม้ฉันใดอนิจจสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมครอบงำ กามราคะ ทั้งปวงได้ ย่อมครอบงำรูปราคะทั้งปวงได้ย่อมครอบงำภวราคะทั้งปวงได้ ย่อมครอบงำอวิชชาทั้งปวงได้ย่อมถอนขึ้นซึ่งอัสมิมานะได้ทั้งหมด ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.

ภิกษุทั้งหลาย ก็อนิจจสัญญา อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้ว อย่างไร จึงครอบงำกามราคะทั้งปวง … ถอนขึ้นซึ่ง อัสมิมานะได้หมด อนิจจสัญญา อันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ว่า รูปดังนี้ความเกิดแห่งรูป ดังนี้ความดับแห่งรูป ดังนี้ เวทนาดังนี้ …

สัญญาดังนี้ … สังขารดังนี้ … วิญญาณดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณดังนี้ ความดับแห่งวิญญาณดังนี้ ย่อมครอบงำกามราคะทั้งปวงได้ … ถอนขึ้นซึ่ง อัสมิมานะได้ทั้งหมด.

ภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญา อันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมครอบงำกามราคะทั้งปวงได้ ย่อมครอบงำปราคะทั้งปวงได้ ย่อมครอบงำ ภวราคะทั้งปวงได้ ย่อมครอบงำอวิชชาทั้งปวงได้ ย่อมถอนขึ้นซึ่งอัสมิมานะได้หมด.
หน้า 342


121

ผลของการพิจารณาเห็นสังขาร โดยความไม่เที่ยง
-บาลี ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๙๑/๓๖๙.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นสังขารใดๆ โดยความเป็นของเที่ยง จักเป็นผู้ประกอบด้วยขันติ ที่สมควร(อนุโลมิก าย ขนติ ยา) ข้อนั้นย่อมไม่เป็น ฐานะที่จะมีได้ เธอไม่ประกอบด้วยขันติที่สมควรแล้ว จักก้าวลงสู่หนทาง แห่งความถูกต้อง (สมฺมตฺตนิยาม) ข้อนั้นย่อมไม่เป็น ฐานะที่จะมีได้ เมื่อไม่ก้าวลงสู่ สัมมัตตนิยาม แล้ว จักกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผล ข้อนั้นย่อมไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นสังขารทั้งปวง โดยความเป็นของไม่เที่ยง จักเป็นผู้ประกอบด้วยขันติที่สมควร ข้อนั้นย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้ เธอประกอบด้วย ขันติที่สมควรแล้ว จักก้าวลงสู่หนทางแห่งความถูกต้อง (สมฺมตฺตนิยาม) ข้อนั้นย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อก้าวลงสู่หนทางแห่งความถูกต้อง จักกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผลอนาคามิผล หรืออรหัตตผล ข้อนั้นย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้.

หน้า 343


122

ผลของการพิจารณาเห็นสังขาร โดยความเป็นทุกข์
-บาลี ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๙๒/๓๗๐.
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นสังขารใดๆ โดยความเป็นสุข จักเป็นผู้ประกอบ ด้วย ขันติ ที่สมควร ข้อนั้นย่อมไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ เธอไม่ประกอบด้วยขันติ ที่สมควรแล้วจักก้าวลงสู่หนทางแห่งความถูกต้อง ข้อนั้นย่อมไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อไม่ก้าวลงสู่หนทางแหง่ ความถูกต้องแล้วจักกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผลหรืออรหัตตผล ข้อนั้นย่อมไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นสังขารทั้งปวงโดยความเป็นทุกข์ จักเป็นผู้ประกอบด้วยขันติที่สมควร ข้อนั้นย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้ เธอประกอบด้วยขันติที่สมควรแล้ว จักก้าวลงสู่หนทางแห่งความถูกต้อง ข้อนั้นย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อก้าวลงสู่ หนทางแห่งความถูกต้องแล้ว จักกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผล ข้อนั้นย่อมเป็นฐานะ ที่จะมีได้.

หน้า 344

123

ผลของการพิจารณาเห็นธรรม โดยความเป็นอนัตตา
-บาลี ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๙๒/๓๗๑.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นธรรมใดๆ โดยความเป็นอัตตา จักเป็นผู้ประกอบด้วยขันติที่สมควร ข้อนั้นย่อมไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ เธอไม่ประกอบด้วยขันติ ที่สมควรแล้วจักก้าวลงสู่หนทางแห่งความถูกต้อง ข้อนั้นย่อมไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อไม่ก้าวลงสู่หนทาง แห่งความถูกต้องแล้ว จักกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผลหรืออรหัตตผล ข้อนั้นย่อมไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นธรรมทั้งปวงโดยความเป็นอนัตตา จักเป็นผู้ประกอบด้วยขันติ ที่สมควร ข้อนั้นย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้ เธอประกอบด้วย ขันติ ที่สมควรแล้ว จักก้าวลงสู่หนทางแห่ง ความถูกต้อง ข้อนั้นย่อมเป็นฐานะที่จะ มีได้ เมื่อก้าวลงสู่หนทาง แห่งความถูกต้องแล้วจักกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผล ข้อนั้นย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้.

หน้า 345

124

ผลของการพิจารณาเห็นนิพพาน โดยความเป็นสุข
-บาลี ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๙๒/๓๗๒.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นนิพพานโดยความเป็นทุกข์ จักเป็นผู้ประกอบด้วย ขันติที่สมควร ข้อนั้นย่อมไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ เธอไม่ประกอบด้วยขันติที่สมควร แล้ว จักก้าวลงสู่หนทางแห่งความถูกต้อง ข้อนั้นย่อมไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อไม่ก้าวลงสู่หนทางแหง่ ความถูกต้องแล้วจัก กระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผลหรืออรหัตตผล ข้อนั้นย่อมไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นนิพพานโดยความเป็นสุข จักเป็นผู้ประกอบด้วย ขันติ ที่สมควร ข้อนั้นย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้ เธอประกอบด้วยขันติที่สมควรแล้ว จักก้าวลงสู่หนทางแห่ง ความถูกต้อง ข้อนั้นย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อก้าวลงสู่หนทาง แห่งความถูกต้องแล้วจัก กระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผล ข้อนั้นย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้.

หน้า 346

125

การเห็นเพื่อละสังโยชน์
-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๓๗/๕๗.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไรจึงจะละสังโยชน์ได้.
ภิกษุ เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งตาโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละสังโยชน์ได้.
เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งรูปทั้งหลาย … .
เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งจักษุวิญญาณ … .
เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งจักษุสัมผัส … .
เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละสังโยชน์ได้.

ภิกษุ เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ ซึ่งหูซึ่งเสียงทั้งหลาย… ซึ่งโสตวิญญาณ … ซึ่งโสตสัมผัส … ซึ่งสุขเวทนาทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละสังโยชน์ได้.

ภิกษุ เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ ซึ่งจมูกซึ่งกลิ่นทั้งหลาย… ซึ่งฆานวิญญาณ … ซึ่งฆานสัมผัส … ซึ่งสุขเวทนาทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละสังโยชน์ได้.

ภิกษุ เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ ซึ่งลิ้นซึ่งรสทั้งหลาย… ซึ่งชิวหาวิญญาณ … ซึ่งชิวหาสัมผัส … ซึ่งสุขเวทนาทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหา-สัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละสังโยชน์ได้.

ภิกษุ เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ ซึ่งกายซึ่งโผฏฐัพพะทั้งหลาย … ซึ่งกายวิญญาณ … ซึ่งกายสัมผัส …ซึ่งสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นของไม่เที่ยงย่อมละสังโยชน์ได้.

ภิกษุ เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ ซึ่งใจ ซึ่งธรรมทั้งหลาย… ซึ่งมโนวิญญาณ … ซึ่งมโนสัมผัส … ซึ่งสุขเวทนาทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละสังโยชน์ได้.

ภิกษุ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แลย่อมละสังโยชน์ได้.

(ในสูตรอื่นตรัสว่า เมื่อรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งธรรมเหล่านี้ โดยความเป็นอนัตตา สังโยชน์จึงจะถึงความเพิกถอน -บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๓๘/๕๘.-ผู้รวบรวม)

หน้า 348

126

การเห็นเพื่อละอนุสัย
-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๓๙/๖๑.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไรจึงจะละอนุสัยได้.

ภิกษุ เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ ซึ่งตาโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละอนุสัยได้.

เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งรูปทั้งหลาย … .
เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งจักษุวิญญาณ … .
เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งจักษุสัมผัส … .
เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละอนุสัยได้.
(ในกรณีแห่งธรรมหมวด หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ก็มีข้อความอย่างเดียวกัน).

ภิกษุ บุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล ย่อมละอนุสัยได้.

(ในสูตรอื่นตรัสว่า เมื่อรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งธรรมเหล่านี้ โดยความเป็นอนัตตา อนุสัยจะพึงถึงความเพิกถอน -บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๓๙/๖๒.-ผู้รวบรวม)

หน้า 349

127

การเห็นเพื่อละอาสวะ
-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๓๘/๕๙.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไรจึงจะละอาสวะได้.

ภิกษุ เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ ซึ่งตาโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละอาสวะได้.

เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งรูปทั้งหลาย … .
เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งจักษุวิญญาณ … .
เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งจักษุสัมผัส … .
เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละอาสวะได้.

(ในกรณีแห่งธรรมหมวด หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ก็มีข้อความอย่างเดียวกัน).
ภิกษุ บุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล ย่อมละอาสวะได้.

(ในสูตรอื่นตรัสว่า เมื่อรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งธรรมเหล่านี้ โดยความเป็นอนัตตา อาสวะจึงจะถึงความเพิกถอน -บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๓๘/๖๐.-ผู้รวบรวม)

หน้า 350

128
การเห็นเพื่อละอวิชชา
-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๓๗/๕๖.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลเมื่อรู้อย่างไร เห็นอย่างไร จึงจะละอวิชชาได้ วิชาจึงจะเกิดขึ้น พระเจ้าข้า.

ภิกษุ เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ ซึ่งตาโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละอวิชชาได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น.
เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งรูปทั้งหลาย … .
เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งจักษุวิญญาณ … .
เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งจักษุสัมผัส … .
เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ
อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละอวิชชาได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น.

(ในกรณีแห่งธรรมหมวด หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ก็มีข้อความอย่างเดียวกัน).

ภิกษุ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แลย่อมละอวิชชาได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น.

หน้า 351

129
อานิสงส์ของธรรม ๑ ประการ (นัยที่ ๑)
-บาลี เอก. อํ. ๒๐/๕๗/๒๓๓.

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง ย่อมเป็นไปเพื่อทำ สกทาคามิผลให้แจ้ง ย่อมเป็นไปเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง ย่อมเป็นไปเพื่อทำอรหัตตผลให้แจ้งธรรมข้อหนึ่งคืออะไร คือ กายคตาสติ.

ภิกษุทั้งหลาย ธรรมข้อหนึ่งนี้แล บุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง ย่อมเป็นไปเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง ย่อมเป็นไปเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง ย่อมเป็นไปเพื่อทำอรหัตตผลให้แจ้ง.

หน้า 352

130
อานิสงส์ของธรรม ๑ ประการ (นัยที่ ๒)
-บาลี เอก. อํ. ๒๐/๕๕/๒๒๕.

ภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติ อันภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว กุศลธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งเป็นไปในส่วนวิชชา ย่อมหยั่งลงในภายใน ของภิกษุนั้น เปรียบเหมือนมหาสมุทรอันผู้ใดผู้หนึ่ง ถูกต้องด้วยใจแล้ว แม่น้ำน้อยสายใดสายหนึ่ง ซึ่งไหลไปสู่สมุทร ย่อมหยั่งลงในภายในของผู้นั้นฉะนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ธรรมข้อหนึ่งซึ่งบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว เป็นไปเพื่อความสังเวชใหญ่ เป็นไปเพื่อประโยชน์ใหญ่ เป็นไปเพื่อความเกษม จากโยคะใหญ่ เป็นไปเพื่อสติและสัมปชัญญะ เป็นไปเพื่อได้ญาณทัสสนะ เป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เป็นไปเพื่อทำให้แจ้งซึ่งผลคือวิชชา และวิมุตติ ธรรมข้อหนึ่งคืออะไร คือ กายคตาสติ.

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว แม้กายก็สงบ แม้จิตก็สงบ แม้วิตกวิจารก็สงบ ธรรมที่เป็นไปในส่วนแห่งวิชชาแม้ทั้งสิ้น ก็ถึงความเจริญบริบูรณ์ ธรรมข้อหนึ่งคืออะไร คือ กายคตาสติ.

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว อกุศลธรรม ที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้นได้เลย และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมละเสียได้ ธรรมข้อหนึ่งคืออะไร คือ กายคตาสติ.

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว กุศลธรรม ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขี้น และกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญ ไพบูลย์ยิ่ง ธรรมข้อหนึ่งคืออะไร คือ กายคตาสติ.

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมละอวิชชาเสียได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น ย่อมละอัสมิมานะเสียได้ อนุสัยย่อมถึงความเพิกถอน ย่อมละสังโยชน์เสียได้ ธรรมข้อหนึ่งคืออะไร คือ กายคตาสติ.

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความแตกฉานแห่งปัญญา ย่อมเป็นไปเพื่อ อนุปาทาปรินิพพาน ธรรมข้อหนึ่งคืออะไร คือ กายคตาสติ.

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว ย่อมมีการแทงตลอดธาตุมากหลาย ย่อมมีการแทงตลอดธาตุต่างๆ ย่อมมีความแตกฉานในธาตุมากหลาย ธรรมข้อหนึ่งคืออะไร คือ กายคตาสติ.

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา (ปญฺญาปฏิลาภ)
ย่อมเป็นไป เพื่อความเจริญแห่งปัญญา (ปญญาวุฑฺฒิ)
ย่อมเป็นไปเพื่อความไพบูลย์แห่งปัญญา (ปญฺญาเวปุลฺล)
ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาใหญ่ (มหาปญฺญตา)
ย่อมเป็น ไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญามาก (ปุถุปญฺญตา)
ย่อมเป็นไป เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาไพบูลย์ (วิปุลปญฺญตา)
ย่อมเป็นไป เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาลึกซึ้ง (คมฺภีรปญฺญตา)
ย่อมเป็นไป เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาสามารถยิ่ง (อสมตฺถปญฺญตา)
ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเสมือนแผ่นดิน (ภูริปญฺญตา)
ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มากด้วยปัญญา (ปญฺญาพาหุลฺลา)
ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาว่องไว (สีฆปญฺญตา)
ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเร็ว (ลหุปญฺญตา)
ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาร่าเริง (หาสปญฺญตา)
ย่อมเป็นไปเพื่อ ความเป็นผู้มีปัญญาแล่น (ชวนปญฺญตา)
ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาคม (ติกฺขปญฺญตา)
ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็น ผู้มีปัญญาเจาะแทงกิเลส (นิพฺเพธิกปญฺญตา)
ธรรมข้อหนึ่งคือ อะไร คือ กายคตาสติ.

ภิกษุทั้งหลาย ธรรมข้อหนึ่งนี้แล บุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ ได้ปัญญา ... ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญา เจาะแทงกิเลส.

หน้า 355

131

อานิสงส์ของธรรม ๔ ประการ
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๑๖/๑๖๓๔., -บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๓๓๒/๒๔๘.

ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการเหล่านี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล ๔ ประการเป็นอย่างไร คือ
(1) การคบสัตบุรุษ (สปฺปุริสสํเสว)
(2) การฟังสัทธรรม (สทฺธมฺมสฺสวน)
(3) การกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย (โยนิโสมนสิการ)
(4) การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม (ธมฺมานุธมฺม- ปฏิปตฺติ)

ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการเหล่านี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำห้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล.

ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการเหล่านี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่ง สกทาคามิผล ๔ ประการเป็นอย่างไร
คือ การคบสัตบุรุษ การฟังสัทธรรม การกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม.

ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการเหล่านี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล.

ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการเหล่านี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่ง อนาคามิผล ๔ ประการเป็นอย่างไร คือ การคบสัตบุรุษการฟังสัทธรรม การกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม.

ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการเหล่านี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล.

ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการเหล่านี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่ง อรหัตตผล ๔ ประการเป็นอย่างไร คือ การคบสัตบุรุษ การฟังสัทธรรม การกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม.

ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการเหล่านี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล.

ภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลาย ๔ ประการเหล่านี้ เป็นไปเพื่อได้เฉพาะซึ่งปัญญา (ปญญาปฏิลาภ) ๔ ประการเป็นอย่างไร คือ การคบสัตบุรุษ การฟังสัทธรรม การกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม.

ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการเหล่านี้แล เป็นไปพร้อมเพื่อได้เฉพาะซึ่งปัญญา.

[ธรรม ๔ ประการเหล่านี้เป็นหลักธรรมที่สำคัญ เพราะได้ตรัสไว้ในบาลีแห่งอื่น อีกหลายพระสูตร ดังนี้
เป็นธรรมที่มีอุปการะมากแก่มนุษย์ (มนุสฺสภูตพหุการ)
(-บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๓๓๒/๒๔๙.)

เป็นองค์คุณเครื่องให้ถึงกระแสแห่งพระนิพพาน (โสตา-ปตฺติยงฺค)
(-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๓๔/๑๔๒๙.)

เป็นเครื่องให้มีความเจริญแห่งปัญญา (ปญญาวุฑฺฒิ)
(-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๑๗/๑๖๓๙.)

เป็นเครื่องให้มีความไพบูลย์แห่งปัญญา (ปญฺญาเวปุลฺล)
(-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๑๗/๑๖๔๐.)

เป็นเครื่องให้มีปัญญาอันใหญ่หลวง (มหาปญฺญตา)
(-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๑๘/๑๖๔๑.)

เป็นเครื่องให้มีปัญญาอันหนาแน่น (ปุถุปญฺญตา) (-บาลี
มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๑๘/๑๖๔๒.)

เป็นเครื่องให้มีปัญญาอันไพบูลย์ (วิปุลปญฺญตา) (-บาลี
มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๑๘/๑๖๔๓.)

เป็นเครื่องให้มีปัญญาอันลึกซึ้ง (คมฺภีรปญฺญตา) (-บาลี
มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๑๘/๑๖๔๔.)

เป็นเครื่องให้มีปัญญาอันหาประมาณค่ามิได้ (อปฺปมตฺต-
ปญฺญตา) (-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๑๘/๑๖๔๕.)

เป็นเครื่องให้มีปัญญาเสมือนแผ่นดิน (ภูริปญฺญตา)
(-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๑๘/๑๖๔๖.)

เป็นเครื่องให้มีปัญญามาก (ปญฺญาพาหุลฺลาย) (-บาลี
มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๑๘/๑๖๔๗.)

เป็นเครื่องให้เป็นผู้มีปัญญาฉับพลัน (สีฆปญฺญตา) (-บาลี
มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๑๘/๑๖๔๘.)

เป็นเครื่องให้เป็นผู้มีปัญญาไว (ลหุปญฺญตา) (-บาลี
มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๑๘/๑๖๔๙.)

เป็นเครื่องให้เป็นผู้มีปัญญาอันร่าเริง (หาสปญฺญตา)
(-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๑๘/๑๖๕๐.)

เป็นเครื่องให้เป็นผู้มีปัญญาแล่น (ชวนปญฺญตา) (-บาลี
มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๑๘/๑๖๕๑.)

เป็นเครื่องให้เป็นผู้มีปัญญาคมกล้า (ติกฺขปญฺญตา)
(-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๑๘/๑๖๕๒.)

เป็นเครื่องให้เป็นผู้มีปัญญาเครื่องเจาะแทง (นิพฺเพธิก-
ปญฺญตา) (-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๑๘/๑๖๕๓.)]

หน้า 359

132
อานิสงส์ของธรรม ๕ ประการ (นัยที่ ๑)
-บาลี ปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๖๑/๑๒๒.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหรือภิกษุณีใดก็ตาม เมื่อเจริญทำให้มากซึ่งธรรม ๕ ประการ เธอพึงหวังผลได้ ๒ อย่างอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีความยึดมั่นเหลืออยู่ ก็จะเป็นอนาคามี ธรรม ๕ ประการเป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
(1) เป็นผู้มีสติอันเข้าไปตั้งไว้ด้วยดี เพื่อปัญญาอันให้หยั่งถึงความตั้งขึ้น และดับไป แห่งธรรมทั้งหลาย
(2) ย่อมพิจารณาเห็นว่าไม่งามในกาย
(3) มีความสำคัญว่าเป็นของปฏิกูลในอาหาร
(4) มีความสำคัญว่าไม่น่ายินดีในโลกทั้งปวง
(5) พิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหรือภิกษุณีใดก็ตาม เมื่อเจริญทำให้มากซึ่งธรรม ๕ ประการ เหล่านี้แล เธอพึงหวังผลได้๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีความยึดมั่นเหลืออยู่ ก็จะเป็นอนาคามี.

หน้า 360

133
อานิสงส์ของธรรม ๕ ประการ (นัยที่ ๒)

-บาลี ปญฺจก. อํ. ๒๒/๙๓/๖๗.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหรือภิกษุณีใดก็ตาม เมื่อเจริญทำให้มากซึ่งธรรม ๕ ประการ เธอพึงหวังผลได้ ๒ อย่างอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีความยึดมั่นเหลืออยู่ ก็จะเป็นอนาคามี ธรรม ๕ ประการเป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนีี้
(1) ย่อมเจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร
(2) ย่อมเจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิและปธานสังขาร
(3) ย่อมเจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิและปธานสังขาร
(4) ย่อมเจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิและปธานสังขาร
(5) ย่อมเจริญวิริยะอย่างยิ่งเป็นที่ ๕

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหรือภิกษุณีใดก็ตาม เมื่อเจริญทำให้มากซึ่งธรรม ๕ ประการเหล่านี้แล เธอพึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตตผลในปัจจุบันหรือเมื่อยังมีความยึดมั่นเหลืออยู่ ก็จะเป็นอนาคามี.

หน้า 361

134

ละธรรม ๕ อย่าง ได้ความเป็นอริยบุคคล (นัยที่ ๑)
-บาลี ปญฺจก. อํ. ๒๒/๓๐๓/๒๕๙.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๕ ประการ ไม่ควรเพื่อบรรลุปฐมฌาน … ทุติยฌาน … ตติยฌาน … จตุตถฌาน… ไม่ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล … สกทาคามิผล …อนาคามิผล … อรหัตตผล ธรรม ๕ ประการเป็นอย่างไร คือ
(1) ความตระหนี่ที่อยู่
(2) ความตระหนี่สกุล
(3) ความตระหนี่ลาภ
(4) ความตระหนี่วรรณะ
(5) ความเป็นคนอกตัญญูกตเวที

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๕ ประการนี้แลไม่ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล.
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๕ ประการ ควรเพื่อบรรลุปฐมฌาน … ทุติยฌาน … ตติยฌาน … จตุตถฌาน… ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล … สกทาคามิผล …อนาคามิผล … อรหัตตผล ธรรม ๕ ประการเป็นอย่างไรคือ ความตระหนี่ที่อยู่
(1) ความตระหนี่ที่อยู่
(2) ความตระหนี่สกุล
(3) ความตระหนี่ลาภ
(4) ความตระหนี่วรรณะ
(5) ความเป็นคนอกตัญญูกตเวที
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๕ ประการนี้แลควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล.

(ในสูตรอื่น ได้ตรัสโดยนัยเดียวกันนี้ ต่างกันเฉพาะในข้อที่ ๕โดยตรัสว่าเป็น ความตระหนี่ธรรม -บาลี ปญฺจก. อํ. ๒๒/๓๐๒/๒๕๗.-ผู้รวบรวม)

หน้า 363

135

ละธรรม ๖ อย่าง ได้อนาคามิผล

-บาลี ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๗๑/๓๓๖.


ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังละธรรม ๖ ประการไม่ได้แล้วย่อมเป็นผู้ไม่ควร เพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล ธรรม ๖ประการเป็นอย่างไร คือ
(1) ความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา
(2) ความเป็นผู้ไม่มีหิริ
(3) ความเป็นผู้ไม่มีโอตตัปปะ
(4) ความเป็นผู้เกียจคร้าน
(5) ความเป็นผู้มีสติเลอะเลือน
(6) ความเป็นผู้มีปัญญาทราม
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังละธรรม ๖ ประการนี้ไม่ได้แล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๖ ประการได้แล้ว ย่อมเป็นผู้ควรเพื่อทำให้แจ้ง ซึ่งอนาคามิผล ธรรม ๖ ประการเป็นอย่างไร คือ
(1) ความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา
(2) ความเป็นผู้ไม่มีหิริ
(3) ความเป็นผู้ไม่มีโอตตัปปะ
(4) ความเป็นผู้เกียจคร้าน
(5) ความเป็นผู้มีสติเลอะเลือน
(6) ความเป็นผู้มีปัญญาทราม

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๖ ประการนี้ได้แล้วย่อมเป็นผู้ควรเพื่อทำให้แจ้ง ซึ่งอนาคามิผล.

หน้า 365

136

ละธรรม ๖ อย่าง ได้อรหัตตผล
-บาลี ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๗๑/๓๓๗.


ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังละธรรม ๖ ประการไม่ได้แล้วย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อทำให้แจ้ง ซึ่งอรหัตตผล ธรรม ๖ประการเป็นอย่างไร คือ ถีนะ มิทธะ อุทธัจจะ กุกกุจจะ ความไม่มีศรัทธา ความประมาท.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังละธรรม ๖ ประการนี้ไม่ได้แล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่ควร เพื่อทำให้แจ้ง ซึ่งอรหัตตผล.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๖ ประการได้แล้วย่อมเป็นผู้ควรเพื่อทำให้แจ้ง ซึ่งอรหัตตผล ธรรม ๖ประการเป็นอย่างไร คือ ถีนะ มิทธะ อุทธัจจะ กุกกุจจะ ความไม่มีศรัทธา ความประมาท.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๖ ประการนี้ได้แล้วย่อมเป็นผู้ควรเพื่อทำให้แจ้ง ซึ่งอรหัตตผล.

หน้า 366

137

อานิสงส์ของสติปัฏฐาน ๔ (นัยที่ ๑)
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๔๑/๘๐๕.


ภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ สติปัฏฐาน ๔ เป็นอย่างไร คือภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ … .

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ … .

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะมีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย.

ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล สติปัฏฐาน ๔

ภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ อันบุคคลเจริญกระทำให้มากแล้ว พึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่งคือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีความยึดมั่นเหลืออยู่ก็จะเป็นอนาคามี.

หน้า 367

138

อานิสงส์ของสติปัฏฐาน ๔ (นัยที่ ๒)
-บาลี มู. ม. ๑๒/๑๒๖/๑๕๑.

ภิกษุทั้งหลาย ก็ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้อย่างนี้ ตลอด ๗ ปี พึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่งคือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีความยึดมั่นเหลืออยู่ ก็จะเป็นอนาคามี.

ภิกษุทั้งหลาย ๗ ปียกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้อย่างนี้ ตลอด ๖ ปี … ตลอด ๕ ปี … ตลอด๔ ปี … ตลอด ๓ ปี … ตลอด ๒ ปี … ตลอด ๑ ปี … .

ภิกษุทั้งหลาย ๑ ปียกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้อย่างนี้ ตลอด ๗ เดือน เขาพึงหวังผล ได้๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คืออรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมี ความยึดมั่นเหลืออยู่ ก็จะเป็นอนาคามี.

ภิกษุทั้งหลาย ๗ เดือนยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ ตลอด ๖ เดือน … ตลอด ๕ เดือน… ตลอด ๔ เดือน … ตลอด ๓ เดือน … ตลอด ๒ เดือน …ตลอด ๑ เดือน … ตลอดกึ่งเดือน … .

ภิกษุทั้งหลาย กึ่งเดือนยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้อย่างนี้ ตลอด ๗ วัน เขาพึงหวังผล ได้๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมี ความยึดมั่นเหลืออยู่ ก็จะเป็นอนาคามี.

 (ส่วนนี้นำมาจากท้ายมหาสติปัฏฐานสูตร ซึ่งมีเนื้อหาค่อนข้างมาก จึงไม่ได้นำใส่ไว้ ในทีนี้ ผู้ที่ต้องการศึกษาเพิ่มเติม สามารถดูได้ที่มหาสติปัฏฐานสูตร -บาลี มหา. ที. ๑๐/๓๒๕/๒๗๓. หรือ สติปัฏฐานสูตร-บาลี มู. ม. ๑๒/๑๐๓/๑๓๑. -ผู้รวบรวม)

หน้า 369

139

เจริญสติปัฏฐาน ๔ เพื่อละ โอรัมภาคิยสังโยชน์
-บาลี นวก. อํ. ๒๓/๔๘๐/๒๗๑.

ภิกษุทั้งหลาย โอรัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องต่ำ) ๕ ประการเหล่านี้ ๕ ประการเป็นอย่างไร คือ สักกายทิฏฐิวิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส กามฉันทะ พยาบาท ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ.

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ เพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการเหล่านี้ สติปัฏฐาน ๔  เป็นอย่างไร

คือ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้


ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะมีสติ กำจัดอภิชฌาและ โทมนัสในโลกเสีย
ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่

ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะมีสติ กำจัดอภิชฌาและ โทมนัส ในโลกเสีย.

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ เพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการแล.

(ในสูตรอื่นตรัสว่า ให้เจริญสติปัฏฐาน ๔ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์. -ผู้รวบรวม)

หน้า 370

140

เจริญสติปัฏฐาน ๔ เพื่อละ อุทธัมภาคิยสังโยชน์
-บาลี นวก. อํ. ๒๓/๔๘๑/๒๗๔.

ภิกษุทั้งหลาย อุทธัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องสูง)๕ ประการเหล่านี้ ๕ ประการเป็นอย่างไร คือ รูปราคะอรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา ภิกษุทั้งหลายเหล่านี้ แล อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ.

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการเหล่านี้ สติปัฏฐาน๔ เป็นอย่างไร

คือ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้


ย่อมพิจารณา เห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะมีสติ กำจัดอภิชฌาและ โทมนัสในโลกเสีย
ย่อมพิจารณา เห็นเวทนาในเวทนาอยู่
ย่อมพิจารณา เห็นจิตในจิตอยู่
ย่อมพิจารณา เห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะมีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสีย.

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการแล.

(ในสูตรอื่นตรัสว่า ให้เจริญสติปัฏฐาน ๔ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์. -ผู้รวบรวม)

หน้า 371

141
เจริญสติปัฏฐาน ๔ เพื่อละนิวรณ์
-บาลี นวก. อํ. ๒๓/๔๗๙/๒๖๘.

ภิกษุทั้งหลาย นิวรณ์ ๕ ประการเหล่านี้ ๕ ประการเป็นอย่างไร คือ กามฉันทนิวรณ์ พยาบาทนิวรณ์ถีนมิทธนิวรณ์ อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ วิจิกิจฉานิวรณ์ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แลนิวรณ์ ๕ ประการ.

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ เพื่อละนิวรณ์ ๕ ประการเหล่านี้

หน้า 372

142
ปฏิปทาให้ถึงการเจริญสติปัฏฐาน
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๔๔/๘๑๕.

ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสติปัฏฐาน การเจริญสติปัฏฐาน และปฏิปทาอันให้ถึงการ เจริญสติปัฏฐาน แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง.

ภิกษุทั้งหลาย ก็สติปัฏฐานเป็นอย่างไร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้

ย่อมพิจารณา เห็นกายในกาย อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะมีสติ กำจัดอภิชฌาและ โทมนัสในโลกเสีย
ย่อมพิจารณา เห็นเวทนาในเวทนา อยู่ …
ย่อมพิจารณา เห็นจิตในจิต อยู่ …
ย่อมพิจารณา เห็นธรรมในธรรม อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ โทมนัส ในโลกเสีย

ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าสติปัฏฐาน.

ภิกษุทั้งหลาย ก็การเจริญสติปัฏฐานเป็นอย่างไรภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกาย

พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อม ในกาย พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้น และ ความเสื่อมไปในกาย อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัส ในโลกเสีย
พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้น ในเวทนา
พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้น ในจิต
พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้น ในธรรม
พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในธรรม
พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในธรรมอยู่ มีความเพียรมีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าการเจริญสติปัฏฐาน.

ภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิปทาอันให้ถึงการเจริญสติปัฏฐานเป็นอย่างไร

ภิกษุทั้งหลาย อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายาวะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ นี้แลเรียกว่าปฏิปทาอันให้ถึงการเจริญสติปัฏฐาน.