เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
  
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ            

  อนาคามี-พุทธวจน   ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
    5 of 8  
 
  อนาคามี พุทธวจน  ที่มา : http://watnapp.com/book  
       
    สารบัญ หน้า  
  81.การเห็นเวทนา ที่เป็นไปเพื่อสิ้นอาสวะ 225  
  82.อนุสัย ๗ 226  
  ผู้สิ้นสังโยชน์ 227  
  83.ชื่อของอริยบุคคล (นัยที่ ๕) 228  
  84.ชื่อของอริยบุคคล (นัยที่ ๖) 229  
  85.บุคคลตกน้ำ ๗ จำพวก 235  
  86.บุคคล ๔ จำพวก 239  
  87.ผลของการประกอบตนในสุข 241  
  88.สัทธานุสารี ธัมมานุสารี โสดาบัน 243  
  89.ผู้เชื่อมั่นในตถาคต และสำเร็จในโลกนี้ หรือละโลกนี้ไปแล้วจึงสำเร็จ 245  
  90.ผู้เป็นอสังขารปรินิพพายี ผู้เป็นสสังขารปรินิพพายี 248  
  91.เป็นการยากที่จะพยากรณ์ว่า ใครงดงามและประณีตกว่า   251  
  92.ผู้พ้นทุคติ หรือไม่ไปทุคติ
253  
  93.เทวดาใดไม่มีพยาบาท เทวดานั้นไม่มาสู่ความเป็นอย่างนี้ 256  
  94.ผู้เป็นเสขะ 262  
  95.สิกขา ๓ 263  
  96.บรรพชิตกับคฤหัสถ์ ละสังโยชน์ได้ไม่เท่ากัน 265  
  97.ละสังโยชน์ได้ ถึงจะทำที่สุดทุกข์ได้ 270  
  98.ข้อแตกต่างระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับ กับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เมื่อเสวยเวทนา 272  
  99.ธรรมที่น่าอัศจรรย์ในธรรมวินัยนี้ 276  
  100.ปัจจัยให้สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้น 282  
  101.นิพพานธาตุ ๒ อย่าง 285  
  ข้อปฏิบัติเพื่อสิ้นสังโยชน์ 287  
  102.ผู้หลับน้อย ตื่นมากในราตรี 288  
  103.ธรรมมีอุปการะมากต่อผู้เป็นเสขะ 289  
  104.ปฏิปทาบรรลุมรรคผล ๔ แบบ 290  
       - แบบปฏิบัติลำบาก รู้ได้ช้า 290  
       - แบบปฏิบัติลำบาก รู้ได้เร็ว 291  
       - แบบปฏิบัติสบาย รู้ได้ช้า 292  
       - แบบปฏิบัติสบาย รู้ได้เร็ว 293  
  105.ความพรากจากโยคะ ๔ 295  
  106.เหตุสำเร็จความปรารถนา (นัยที่ ๑) 298  
  107.เหตุสำเร็จความปรารถนา (นัยที่ ๒) 303  
       
 
 




อนาคามี Page 5

หน้า 225

81
การเห็นเวทนา ที่เป็นไปเพื่อสิ้นอาสวะ

-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๒๕๖/๓๖๗.

ภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ เหล่านี้ เวทนา ๓ เป็นอย่างไร คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา

ภิกษุทั้งหลาย
พึงเห็นสุขเวทนา โดยความเป็นทุกข์
พึงเห็นทุกขเวทนา โดยความเป็นลูกศร
พึงเห็นอทุกขมสุขเวทนา โดยความเป็นของไม่เที่ยง

ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่ภิกษุเห็นสุขเวทนา โดยความเป็นทุกข์ เห็นทุกขเวทนา โดยความเป็นลูกศร เห็นอทุกขมสุขเวทนา โดยความเป็นของไม่เที่ยง ภิกษุนี้ เรากล่าวว่า มีความเห็นโดยชอบ ตัดตัณหาได้เด็ดขาด เพิกถอนสังโยชน์ได้แล้ว ได้กระทำที่สุดแห่งทุกข์แล้ว เพราะละมานะได้โดยชอบ

ถ้าภิกษุใดเห็นสุข โดยความเป็นทุกข์ เห็นทุกข์โดยความเป็นลูกศร เห็นอทุกขมสุข ซึ่งมีอยู่นั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง ภิกษุนั้นเป็นผู้เห็น โดยชอบ ย่อมกำหนดรู้เวทนา ทั้งหลายได้ ครั้นกำหนดรู้เวทนาแล้ว เป็นผู้หาอาสวะมิได้ในปัจจุบัน ตั้งอยู่ในธรรม จบเวท เมื่อตายไป ย่อมไม่เข้าถึงความนับว่าเป็นอะไร.

หน้า 226


82
อนุสัย ๗

-บาลี สตฺตก. อํ. ๒๓/๘/๑๑.

ภิกษุทั้งหลาย อนุสัย ๗ ประการเหล่านี้ ๗ ประการเป็นอย่างไร คือ อนุสัย คือกามราคะ อนุสัยคือปฏิฆะ อนุสัยคือทิฏฐิ อนุสัยคือวิจิกิจฉา อนุสัยคือมานะ อนุสัยคือภวราคะอนุสัยคืออวิชชา ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แลอนุสัย ๗ ประการ.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละ เพื่อตัดอนุสัย ๗ ประการเหล่านี้ ๗ ประการเป็นอย่างไรคือ อนุสัยคือกามราคะ … อนุสัยคืออวิชชา ภิกษุย่อมอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อละ เพื่อตัดอนุสัย ๗ ประการเหล่านี้แล.

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุละอนุสัยคือกามราคะเสียได้ ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาล ยอดด้วน ไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขี้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา ละอนุสัย คือปฏิฆะเสียได้ ... ละอนุสัยคือทิฏฐิ เสียได้ ... ละอนุสัยคือวิจิกิจฉาเสียได้ ...ละอนุสัยคือมานะเสียได้ ... ละอนุสัยคือภวราคะเสียได้ ... ละอนุสัยคืออวิชชาเสีย ได้ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วนไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้น อีกต่อไปเป็นธรรมดา เมื่อนั้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ตัดตัณหาได้แล้ว เพิกถอนสังโยชน์ได้แล้ว กระทำที่สุดทุกข์ได้แล้ว เพราะตรัสรู้คือละมานะเสียได้โดยชอบ.

ผู้สิ้นสังโยชน์
หน้า 228

83
ชื่อของอริยบุคคล (นัยที่ ๕)

-บาลี สตฺตก. อํ. ๒๓/๑๐/๑๔.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๗ จำพวกนี้ ย่อมเป็นผู้ควรแก่ของคำนับ ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ของทำบุญ ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่น ยิ่งกว่า๗ จำพวกเป็นอย่างไร คือ
(1) อุภโตภาควิมุตติ
(2) ปัญญาวิมุตติ
(3) กายสักขี
(4) ทิฏฐิปัตตะ
(5) สัทธาวิมุตติ
(6) ธัมมานุสารี
(7) สัทธานุสารี
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๗ จำพวกนี้แล เป็นผู้ควรแก่ของคำนับ ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ของทำบุญ ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

หน้า 229

84
ชื่อของอริยบุคคล (นัยที่ ๖)

-บาลี ม. ม. ๑๓/๒๒๙/๒๓๐.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๗ จำพวกเหล่านี้มีปรากฏอยู่ในโลก ๗ จำพวกเป็นอย่างไร คือ อุภโตภาควิมุตติ ปัญญาวิมุตติ กายสักขี ทิฏฐิปัตตะ สัทธาวิมุตติ ธัมมา-นุสารี สัทธานุสารี.

ภิกษุทั้งหลาย ก็อุภโตภาควิมุตติบุคคลเป็นอย่างไร (1)
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกต้องด้วย กาย ซึ่งวิโมกข์อันสงบ อันไม่มีรูป เพราะก้าวล่วงรูปเสียได้่ และอาสวะทั้งหลายของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็น (อริยสัจ) ด้วยปัญญา บุคคลนี้เราเรียกว่า อุภโตภาควิมุตติ ภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวว่า กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะกิจที่ควรทำด้วย ความไม่ประมาท ภิกษุนั้นทำเสร็จแล้ว และภิกษุนั้นเป็นผู้ ไม่อาจที่จะประมาท ได้อีก.

ภิกษุทั้งหลาย ก็ปัญญาวิมุตติบุคคลเป็นอย่างไร (2)
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่ได้ถูกต้องด้วยกายซึ่งวิโมกข์อันสงบ อันไม่มีรูปเพราะก้าวล่วง รูปเสียได้ แต่อาสวะทั้งหลายของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็น (อริยสัจ) ด้วยปัญญา ภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เราเรียกว่า ปัญญาวิมุตติ ภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวว่า กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ย่อมไม่มีแก่ภิกษุ แม้นี้ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะกิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ภิกษุนั้นทำเสร็จ แล้ว และภิกษุนั้นเป็นผู้ไม่อาจที่จะประมาทได้อีก.

ภิกษุทั้งหลาย ก็กายสักขีบุคคลเป็นอย่างไร (3)
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกต้องด้วยกาย ซึ่งวิโมกข์อันสงบ อันไม่มีรูปเพราะก้าวล่วงรูปเสียได้ และ อาสวะบางเหล่าของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็น (อริยสัจ) ด้วยปัญญาบุคคลนี้ เราเรียกว่า กายสักขี ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า กิจที่ควรทำด้วยความ ไม่ประมาท ย่อมมีแก่ภิกษุนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ภิกษุทั้งหลาย เพราะเราเห็นผลแห่งความไม่ประมาทของภิกษุแม้เช่นนี้ว่า ไฉนท่านผู้นี้เมื่อเสพเสนา สนะ ที่สมควร คบหากัลยาณมิตร ทำอินทรีย์ให้เสมออยู่ ก็จะทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์ อันไม่มีอะไรยิ่งไปกว่า ซึ่งเป็นประโยชน์ ที่ต้องการ ของกุลบุตรทั้งหลาย ผู้ออกจากเรือนบวช เป็นบรรพชิตโดยชอบ ได้ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ดังนี้ เราจึงกล่าวว่า กิจที่ต้องทำด้วย ความไม่ประมาท ย่อมมีแก่ภิกษุนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ทิฏฐิปัตตบุคคลเป็นอย่างไร (4)
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่ได้ถูกต้อง ด้วยกายซึ่งวิโมกข์อันสงบ อันไม่มีรูปเพราะก้าวล่วงรูปเสียได้ แต่อาสวะบางเหล่าของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็น (อริยสัจ)ด้วยปัญญา อนึ่ง ธรรมทั้งหลาย ที่ตถาคตประกาศแล้ว เป็นธรรมอันผู้นั้นเห็นแจ้งแล้ว ประพฤติดีแล้ว ด้วยปัญญา บุคคลนี้เราเรียกว่า ทิฏฐิปัตตะ ภิกษุทั้งหลายเรากล่าวว่า กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ย่อมมีแก่ภิกษุนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะเราเห็นผลแห่ง ความไม่ประมาทของภิกษุแม้เช่นนี้ว่า ไฉนท่านผู้นี้เมื่อเสพเสนาสนะที่สมควร คบหากัลยาณมิตร ทำอินทรีย์ให้เสมออยู่ ก็จะทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์ อันไม่มีอะไรยิ่งไปกว่า ซึ่งเป็นประโยชน์ ที่ต้องการของกุลบุตรทั้งหลาย ผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ ได้ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ดังนี้ เราจึงกล่าวว่า กิจที่ต้องทำด้วย ความไม่ประมาท ย่อมมีแก่ภิกษุนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ก็สัทธาวิมุตติบุคคลเป็นอย่างไร (5)
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคน ในโลกนี้ ไม่ได้ถูกต้อง ด้วยกาย ซึ่งวิโมกข์ อันสงบ อันไม่มีรูปเพราะก้าวล่วงรูป เสียได้ แต่อาสวะบางเหล่าของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็น (อริยสัจ)ด้วยปัญญา อนึ่ง ความเชื่อในตถาคต ของผู้นั้น ตั้งมั่นแล้วมีรากหยั่งลงมั่นแล้ว บุคคลนี้เราเรียกว่า สัทธาวิมุตติภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาทย่อมมี แก่ภิกษุนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะเราเห็นผลแห่งความไม่ประมาท ของภิกษุ แม้เช่นนี้ว่า ไฉนท่านผู้นี้เมื่อเสพ เสนาสนะอันสมควร คบหากัลยาณมิตร ทำอินทรีย์ให้เสมออยู่ ก็จะทำให้แจ้ง ซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์ อันไม่มีอะไรยิ่งไปกว่า ซึ่งเป็นประโยชน์ที่ต้องการ ของกุลบุตรทั้งหลาย ผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ ได้ด้วยปัญญา อันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ดังนี้ เราจึงกล่าวว่า กิจที่ต้องทำด้วยความ ไม่ประมาท ย่อมมีแก่ภิกษุนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ก็ธัมมานุสารีบุคคลเป็นอย่างไร (6)
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคน ในโลกนี้ ไม่ได้ถูกต้อง ด้วยกาย ซึ่งวิโมกข์ อันสงบ อันไม่มีรูปเพราะก้าวล่วงรูป เสียได้ แต่อาสวะบางเหล่าของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็น (อริยสัจ)ด้วยปัญญา อนึ่งธรรมทั้งหลายที่ตถาคตประกาศแล้วย่อมทน ต่อการเพ่ง โดยประมาณ ด้วยปัญญาของผู้นั้นและธรรมเหล่านี้ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ย่อมมีแก่ผู้นั้น บุคคลนี้เราเรียกว่าธัมมานุสารี ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า กิจที่ควรทำด้วย ความไม่ประมาท ย่อมมีแก่ภิกษุนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะเราเห็นผลแห่งความไม่ประมาท ของภิกษุแม้เช่นนี้ว่าไฉนท่านผู้นี้ เมื่อเสพเสนาสนะอันสมควร คบหากัลยาณมิตร ทำอินทรีย์ให้เสมออยู่ ก็จะทำให้แจ้ง ซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์ อันไม่มีอะไรยิ่งไปกว่า ซึ่งเป็นประโยชน์ ที่ต้องการของ กุลบุตรทั้งหลาย ผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบได้ด้วย ปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ดังนี้ เราจึงกล่าวว่า กิจที่ต้องทำ ด้วยความไม่ประมาท ย่อมมีแก่ภิกษุนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ก็สัทธานุสารีบุคคลเป็นอย่างไร (7)
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคน ในโลกนี้ ไม่ได้ถูกต้องด้วย กายซึ่งวิโมกข์ อันสงบ อันไม่มีรูปเพราะก้าวล่วงรูป เสียได้ แต่อาสวะบางเหล่าของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็น(อริยสัจ) ด้วยปัญญา อนึ่ง ผู้นั้นมีศรัทธา มีความรักในตถาคตพอประมาณ และธรรมเหล่านี้ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ย่อมมีแก่ผู้นั้น บุคคลนี้เราเรียกว่า สัทธานุสารี ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ย่อมมีแก่ภิกษุนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะเราเห็นผลแห่งความไม่ประมาท ของภิกษุ แม้เช่นนี้ว่าไฉนท่านผู้นี้ เมื่อเสพเสนาสนะอันสมควร คบหากัลยาณมิตร ทำอินทรีย์ให้เสมออยู่ก็จะทำ ให้แจ้ง ซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์ อันไม่มีอะไรยิ่งไปกว่า ซึ่งเป็นประโยชน์ที่ต้องการ ของกุลบุตร ทั้งหลาย ผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ ได้ด้วยปัญญา อันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ดังนี้ เราจึงกล่าวว่า กิจที่ต้องทำด้วยความ ไม่ประมาท ย่อมมีแก่ภิกษุนี้.


หน้า 235

85
บุคคลตกน้ำ๗ จำพวก

-บาลี สตฺตก. อํ. ๒๓/๑๐/๑๕.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเปรียบด้วยคนตกน้ำ ๗จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ๗ จำพวกเป็นอย่างไร คือ
(1) บุคคลบางคนในโลกนี้ จมลงคราวเดียวแล้วก็เป็นอันจมอยู่นั่นเอง
(2) บางคนโผล่ขึ้นมาแล้ว กลับจมลงไปอีก
(3) บางคนโผล่ขึ้นมาแล้ว ทรงตัวอยู่
(4) บางคนโผล่ขึ้นมาแล้ว เหลียวดูรอบๆ
(5) บางคนโผล่ขึ้นมาแล้ว ว่ายหาฝั่ง
(6) บางคนโผล่ขึ้นมาแล้ว เข้ามาถึงที่ตื้น
(7) บางคนโผล่ขึ้นมาแล้ว ข้ามถึงฝั่ง เป็นพราหมณ์อยู่บนบก

ภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลที่จมลงแล้วคราวเดียวแล้ว ก็เป็นอันจมอยู่นั่นเองเป็นอย่างไร ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยอกุศลธรรมฝ่ายดำโดยส่วนเดียว ภิกษุทั้งหลาย บุคคลที่จมลงแล้วคราวเดียวแล้ว ก็เป็นอันจมอยู่นั่นเอง เป็นอย่างนี้แล.

ภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลที่โผล่ขึ้นมาแล้ว กลับจมลงไปอีกเป็นอย่างไร ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้โผล่ขึ้นมาได้ คือ เขามีศรัทธาดี หิริดิี โอตตัปปะดี วิริยะดีและปัญญาดี ในกุศลธรรมทั้งหลาย แต่ศรัทธา หิริโอตตัปปะ วิริยะ และ ปัญญา ของเขานั้น ไม่ตั้งอยู่นานไม่เจริญขึ้น เสื่อมไปฝ่ายเดียว ภิกษุทั้งหลาย บุคคลที่โผล่ขึ้นมาแล้ว กลับจมลงเป็นอย่างนี้แล.

ภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลที่โผล่ขึ้นมาแล้ว ทรงตัวอยู่เป็นอย่างไร ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ โผล่ขึ้นมาได้ คือ เขามีศรัทธาดี หิริดีิ โอตตัปปะดี วิริยะดี และปัญญาดี ในกุศลธรรมทั้งหลาย ส่วนศรัทธา หิริ โอตตัปปะวิริยะ และปัญญาของเขานั้น ไม่เสื่อมลง ไม่เจริญขึ้นคงที่อยู่ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลที่โผล่ขึ้นมาแล้ว ทรงตัวอยู่เป็นอย่างนี้แล.

ภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลที่โผล่ขึ้นมาแล้ว เหลียวดูรอบๆ เป็นอย่างไร ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้โผล่ขึ้นมาได้ คือ เขามีศรัทธาดี หิริดิี โอตตัปปะดี วิริยะดีและปัญญาดี ในกุศลธรรมทั้งหลาย เพราะสังโยชน์ ๓สิ้นไป เขาเป็นโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลที่โผล่ขึ้นมาแล้ว เหลียวดูรอบๆ เป็นอย่างนี้แล.

ภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลที่โผล่ขึ้นมาแล้ว ว่ายหาฝั่งเป็นอย่างไร ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ โผล่ขึ้นมาได้ คือ เขามีศรัทธาดี หิริดีิ โอตตัปปะดี วิริยะดี และปัญญาดี ในกุศลธรรมทั้งหลาย เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไปและเพราะราคะ โทสะ โมหะเบาบาง เขาเป็นสกทาคามี มาสู่โลกนี้อีกครั้งเดียวเท่านั้น แล้วจะทำที่สดุ แหง่ ทุกข์ได้ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลที่โผล่ขึ้นมาแล้ว ว่ายหาฝั่งเป็นอย่างนี้แล.

ภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลที่โผล่ขึ้นมาแล้ว เข้ามาถึงที่ตื้นเป็นอย่างไร ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ โผล่ขึ้นมาได้ คือ เขามีศรัทธาดี หิริดี โอตตัปปะดี วิริยะดีและปัญญาดี ในกุศลธรรมทั้งหลาย เพราะโอรัมภาคิย-สังโยชน์ ๕ สิ้นไป เขาเป็นโอปปาติกะ จะปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา ภิกษุทั้งหลาย บุคคลที่โผล่ขึ้นมาแล้ว เข้ามาถึงที่ตื้น เป็นอย่างนี้แล.

ภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลที่โผล่ขึ้นมาแล้ว ข้ามถึงฝั่งเป็นพราหมณ์ อยู่บนบกเป็นอย่างไร ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคน ในโลกนี้ โผล่ขึ้นมาได้ คือ เขามีศรัทธาดี หิริดี โอตตัปปะดี วิริยะดี และปัญญาดี ในกุศลธรรมทั้งหลายเขากระทำให้แจ้ง ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลที่โผล่ขึ้นมาแล้วข้ามถึงฝั่ง เป็นพราหมณ์ อยู่บนบกเป็นอย่างนี้แลภิกษุทั้งหลาย บุคคลเปรียบด้วย คนตกน้ำ ๗ จำพวกเหล่านี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก.

หน้า 239

86
บุคคล ๔ จำพวก

-บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๖/๕.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก๔ จำพวกเป็นอย่างไร คือ
(1) บุคคลผู้ไปตามกระแส
(2) บุคคลผู้ไปทวนกระแส
(3) บุคคลผู้ทรงตัวอยู่
(4) บุคคลผู้ข้ามถึงฝั่ง เป็นพราหมณ์ อยู่บนบก

ภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ไปตามกระแสเป็นอย่างไรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเสพกามทั้งหลาย และย่อมกระทำกรรมอันเป็นบาป ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่าบุคคล ผู้ไปตามกระแส.

ภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ไปทวนกระแสเป็นอย่างไรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมไม่เสพกาม และย่อม ไม่กระทำกรรมอันเป็นบาป แม้มีหน้านองด้วยน้ำตาร้องไห้อยู่ เพราะประกอบด้วยทุกข์บ้าง เพราะประกอบด้วยโทมนัสบ้าง ก็ประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์ บริบูรณ์ได้ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่าบุคคลผู้ไปทวนกระแส.

ภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ทรงตัวอยู่เป็นอย่างไรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นโอปปาติกะ ปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ภิกษุทั้งหลายนี้เราเรียกว่าบุคคล ผู้มีตนตั้งอยู่แล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ข้ามถึงฝั่งเปน็ พราหมณอ์ ยู่บนบกเป็นอย่างไร ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคน ในโลกนี้ กระทำให้แจ้ง ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้เพราะความสิ้นไปแห่ง อาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่าบุคคล ผู้ข้ามถึงฝั่ง เป็นพราหมณ์อยู่บนบก.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกเหล่านี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก.


หน้า 241

87
ผลของการประกอบตนในสุข

-บาลี ปา. ที. ๑๑/๑๔๕/๑๑๖.

จุนทะ ก็เป็นฐานะที่จะมีได้แล คือการที่พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์พึงกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส ก็เมื่อพวกท่านประกอบตน ให้ติด เนื่องในความสุข ๔ ประการเหล่านี้อยู่ผลกี่ประการ อานิสงส์ กี่ประการ อันท่านทั้งหลายพึงหวังได้.

จุนทะ พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ผู้มีวาทะอย่างนี้ อันพวกเธอพึงกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส เมื่อพวกเราประกอบตนให้ติด เนื่องในความสุข ๔ ประการเหล่านี้แลอยู่ ผล ๔ ประการอานิสงส์ ๔ ประการอันพวกเราพึง หวังได้ ๔ ประการเป็นอย่างไร.


อาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้จะเป็นโสดาบัน มีอันไม่ต้องตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงมีอันจะตรัสรู้ ในภายหน้า เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป ข้อนี้เป็นผลประการที่ ๑ เป็นอานิสงส์ประการที่ ๑.

อาวุโส ข้ออื่น ยังมีอีก ภิกษุจะเป็นสกทาคามี มาสู่โลกนี้คราวเดียวเท่านั้น แล้วจะทำที่สุดแห่งทุกข์ เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไปและเพราะความที่ ราคะ โทสะ โมหะเบาบางข้อนี้เป็นผลประการที่ ๒ เป็นอานิสงส์ประการที่ ๒.

อาวุโส ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุจะเป็นโอปปาติกะ ผู้จะปรินิพพานในภพนั้น เป็นผู้ไม่ต้องกลับมาจากโลกนั้น เป็นธรรมดา เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำทั้ง ๕ สิ้นไป ข้อนี้เป็นผลประการที่ ๓ เป็นอานิสงส์ประการที่ ๓.

อาวุโส ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะ ทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญา อันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ข้อนี้เป็นผลประการที่ ๔ เป็นอานิสงส์ประการที่ ๔.

อาวุโส เมื่อพวกเราเป็นผู้ประกอบตนให้ติดเนื่องในความสุข ๔ ประการเหล่านี้แลอยู่ ผล ๔ ประการ อานิสงส์ ๔ประการเหล่านี้ อันพวกเราพึงหวังได้ ดังนี้.

หน้า 243

88
สัทธานุสารี ธัมมานุสารี โสดาบัน

-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๗๘/๔๖๙.

ภิกษุทั้งหลาย ตา...หู...จมูก...ลิ้น...กาย...ใจ เป็นสิ่งไม่เที่ยง มีความแปรปรวนเป็นปกติ มีความเปลี่ยน เป็นอย่างอื่น เป็นปกติ.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลใดมีความเชื่อน้อมจิตไปในธรรม ๖ อย่างนี้ ด้วยอาการอย่างนี้ บุคคลนี้เราเรียกว่า เป็นสัทธานุสารี ก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม (หนทางแห่งความถูกต้อง)ก้าวลงสู่สัปปุริสภูมิ (ภูมิแห่งสัตบุรษ) ล่วงพ้นปุถุชนภมิ ไม่อาจที่จะกระทำกรรม อันบุคคลทำแล้ว จะเข้าถึงนรก กำเนิดเดรัจฉาน หรือเปรตวิสัย และไม่อาจจะทำกาละ ตราบเท่าที่ยังไม่ทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล.

ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ อย่างเหล่านี้ ทนต่อการเพ่งโดยประมาณอันยิ่งแห่งปัญญาของบุคคลใด ด้วยอาการอย่างนี้ บุคคลนี้เราเรียกว่า ธัมมานุสารี ก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม(ระบบแห่งความถูกต้อง) ก้าวลงสู่สัปปุริสภูมิ (ภูมิแห่งสัตบุรุษ) ล่วงพ้นปุถุชนภูมิ ไม่อาจที่จะกระทำกรรม อันบุคคลทำแล้ว จะเข้าถึงนรก กำเนิดเดรัจฉาน หรือเปรตวิสัย และไม่อาจจะทำ กาละ ตราบเท่าที่ยังไม่ทำให้แจ้ง ซึ่งโสดาปัตติผล.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลใดย่อมรู้ ย่อมเห็นซึ่งธรรม๖ อย่างเหล่านี้ ด้วยอาการอย่างนี้ บุคคลนี้เราเรียกว่า โสดาบัน ผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้มีการตรัสรู้พร้อมเป็นเบื้องหน้า.

(สูตรข้างบนนี้ -บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๗๘/๔๖๙. ทรงแสดงอารมณ์แห่งอนิจจังเป็นต้น ด้วยธรรม ๖ อย่าง คือ อายตนะภายในหกในสูตรถัดไปทรงแสดงอารมณ์นั้น ด้วยอายตนะภายนอกหก คือ รูป เสียงกลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรม ก็มี, แสดงด้วยวิญญาณหก ก็มี  ด้วยสัมผัสหก ก็มี ด้วยเวทนาหก ก็มี ด้วยสัญญาหก ก็มี ด้วยสัญเจตนาหก ก็มี ด้วยตัณหาหก ก็มี ด้วยธาตุหก ก็มี และด้วยขันธ์ห้า ก็มี ทรงแสดงไว้ด้วยหลักการปฏิบัติอย่างเดียวกัน. -ผู้รวบรวม)
หน้า 245

89
ผู้เชื่อมั่นในตถาคต และสำเร็จในโลกนี้ หรือละโลกนี้ไปแล้วจึงสำเร็จ

-บาลี ทสก. อํ. ๒๔/๑๒๘/๖๓.

ภิกษุท้งั หลาย บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง เชื่อมั่นในเราบุคคลเหล่านั้นทั้งหมด เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิ บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วย ทิฏฐิ ๕ จำพวกสำเร็จในโลกนี้ อีก ๕ จำพวกละโลกนี้ไปแล้วจึงสำเร็จ บุคคล ๕ จำพวกเหล่าไหนที่สำเร็จ
ในโลกนี้ คือ

(1) สัตตักขัตตุปรมะ
(2) โกลังโกละ
(3) เอกพีชี
(4) สกทาคามี
(5) อรหันต์ในปัจจุบัน
บุคคล ๕ จำพวกเหล่านี้แล สำเร็จในโลกนี้.

บุคคล ๕ จำพวกเหล่าไหน ละโลกนี้ไปแล้วจึงสำเร็จ คือ
(1) อันตราปรินิพพายี
(2) อุปหัจจปรินิพพายี
(3) อสังขารปรินิพพายี
(4) สสังขารปรินิพพายี
(5) อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี
บุคคล ๕ จำพวกเหล่านี้แล ละโลกนี้ไปแล้วจึงสำเร็จ.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง เชื่อมั่นในเราบุคคลเหล่านั้นทั้งหมด เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิ บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วย ทิฏฐิเหล่านั้น ๕ จำพวกสำเร็จในโลกนี้ และ ๕ จำพวกละโลกนี้ไปแล้วจึงสำเร็จ.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเลื่อมใสอย่างไม่หวั่นไหวในเรา บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้ถึง กระแสนิพพาน บุคคลผู้ถึงกระแสนิพพาน ๕ จำพวกสำเร็จในโลกนี้ อีก ๕ จำพวกละโลกนี้ไปแล้ว จึงสำเร็จ บุคคล ๕จำพวกเหล่าไหนที่สำเร็จในโลกนี้ คือ
(1) สัตตักขัตตุปรมะ
(2) โกลังโกละ
(3) เอกพีชี
(4) สกทาคามี
(5) อรหันต์ในปัจจุบัน (ทิฏฺเฐว ธมฺเม อรหา)
บุคคล ๕ จำพวกเหล่านี้แล สำเร็จในโลกนี้.

บุคคล ๕ จำพวกเหล่าไหน ละโลกนี้ไปแล้วจึงสำเร็จคือ
(1) อันตราปรินิพพายี
(2) อุปหัจจปรินิพพายี
(3) อสังขารปรินิพพายี
(4) สสังขารปรินิพพายี
(5) อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี
บุคคล ๕ จำพวกเหล่านี้แล ละโลกนี้ไปแล้วจึงสำเร็จ.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเลื่อมใสอย่างไม่หวั่นไหวในเรา บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้ถึงกระแสนิพพาน บุคคลผู้ถึงกระแสนิพพานเหล่านั้น ๕จำพวกสำเร็จในโลกนี้ และ ๕ จำพวกละโลกนี้ไปแล้วจึงสำเร็จ.
(ใน -บาลี ปฏิสมฺ. ขุ. ๓๑/๒๔๒/๓๖๐-๓๖๑. มีบาลี เหมือนกันนี้ แต่พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวง แปลส่วนท้ายต่างออกไปเป็นว่า เชื่อมั่นในเรา กับเชื่อมั่นในภพ สุทธาวาส. -ผู้รวบรวม)

หน้า 248

90
ผู้เป็นอสังขารปรินิพพายี ผู้เป็นสสังขารปรินิพพายี

-บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๒๐๙/๑๖๙.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก ๔ จำพวกเป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นสังขารปรินิพพายีในปัจจุบัน (ทิฏฺเฐว ธมฺเม สสงฺขารปรินิพฺพายี) บางคนเมือ่ กายแตกทำลายจงึ เป็นสสังขารปรินิพายี (กายสสฺเภทา สสงฺขารปรินิพฺพายี) บางคนเป็นอสังขารปรินิพพายีในปัจจุบัน (ทิฏฺเฐว ธมฺเม อสงฺขารปรินิพฺพายี) บางคนเมื่อกายแตกทำลาย จึงเป็นอสังขารปรินิพพายี (กายสฺส เภทา อสงฺขารปรินิพฺพายี).

ภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเป็นสสังขารปรินิพพายีในปัจจุบันเป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณา เห็นในกายว่าไม่งาม มีความสำคัญในอาหารว่าเป็นปฏิกูลมีความสำคัญในโลกทั้งปวง ว่าไม่น่ายินดี พิจารณาเห็นในสังขารทั้งปวง ว่าไม่เที่ยง และมรณสัญญาของเธอตั้งไว้ดีแล้วในภายใน เธออาศัยธรรม เป็นกำลังของพระเสขะ ๕ ประการนี้อยู่ คือ ศรัทธา หิริ โอตตัปปะ วิริยะ ปัญญา ทั้งอินทรีย์๕ ประการนี้ของเธอปรากฏว่าแก่กล้า คือ สัทธินทรีย์วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ เพราะเหตุที่อินทรีย์ ๕ ประการนี้แก่กล้า เธอย่อมเป็นสสังขารปรินิพพายีในปัจจุบันเทียว ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเป็นสสังขารปรินิพพายีในปัจจุบันเป็นอย่างนี้แล.

ภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อกายแตกจึงเป็นสสังขาร-ปรินิพพายีเป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นในกายว่า ไม่งาม … เธออาศัยธรรมเป็นกำลังของพระเสขะ๕ ประการนี้อยู่ … แต่อินทรีย์ ๕ ประการนี้ของเธอปรากฏว่าอ่อน … เพราะเหตุที่อินทรีย์ ๕ ประการนี้อ่อน เธอเมื่อกายแตกทำลาย จึงเป็นสสังขารปรินิพพายี ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อกาย แตกทำลาย จึงเป็นสสังขารปรินิพพายี เป็นอย่างนี้แล.

ภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเป็นอสังขารปรินิพพายีในปัจจุบันเป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม… บรรลุปฐมฌาน … บรรลุทุติยฌาน … บรรลุตติยฌาน… บรรลุจตุตถฌาน เธออาศัยธรรมเป็นกำลังของพระเสขะ๕ ประการนี้อยู่ … ทั้งอินทรีย์ ๕ ประการนี้ของเธอปรากฏว่า แก่กล้า … เพราะเหตุที่อินทรีย์ ๕ ประการนี้แก่กล้า เธอย่อมเป็นอสังขารปรินิพพายีในปัจจุบัน ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเป็นอสังขารปรินิพพายีในปัจจุบัน เป็นอย่างนี้แล.

ภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อกายแตกทำลายจึงเป็นอสังขารปรินิพพายีเป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม … บรรลุปฐมฌาน … บรรลุทุติยฌาน… บรรลุตติยฌาน … บรรลุจตุตถฌาน … เธออาศัยธรรมเป็นกำลังของพระเสขะ ๕ ประการนี้อยู่ … แต่อินทรีย์ ๕ ประการนี้ของเธอปรากฏว่าอ่อน … เพราะเหตุที่อินทรีย์ ๕ ประการนี้อ่อน เธอเมื่อกายแตก ทำลายจึงเป็นอสังขารปรินิพพายีภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อกายแตกทำลายจึงเป็นอสังขารปรินิพพายี อย่างนี้แล.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก.
(ควรดูประกอบเพิ่มเติมเรื่อง “ปฏิปทาบรรลุมรรคผล ๔ แบบ”ในหน้า 290 ของหนังสือเล่มนี้. -ผู้รวบรวม)

หน้า 251

91
เป็นการยากที่จะพยากรณ์ว่า ใครงดงามและประณีตกว่า

-บาลี ติก. อํ. ๒๐/๑๔๘/๔๖๐.

สมัยหนึ่ง ท่านพระสวิฏฐะ ท่านพระมหาโกฏฐิตะ ท่านพระสารีบุตรได้สนทนากันถึงเรื่อง บุคคล ๓ จำพวกนี้ คือ กายสักขี ทิฏฐิปัตตะ และสัทธาวิมุตติ ว่าชอบใจจำพวกไหน ซึ่งเป็นผู้งามกว่าและ ประณีตกว่าท่านพระสวิฏฐะได้ตอบว่า ชอบใจบุคคล ผู้สัทธาวิมุตติ ซึ่งเป็นผู้งามกว่าและประณีตกว่า เพราะสัทธินทรีย์ของบุคคลนี้ มีประมาณยิ่งท่าน พระมหาโกฏฐิตะได้ตอบว่า ชอบใจบุคคลกายสักขี ซึ่งเป็นผู้งามกว่าและประณีตกว่า เพราะสมาธินทรีย์ของบุคคลนี้ มีประมาณยิ่ง

ท่านพระสารีบุตรได้ตอบว่า ชอบใจบุคคลผู้ทิฏฐิปัตตะ ซึ่งเป็นผู้งามกว่าและประณีตกว่า เพราะปัญญินทรีย์ของบุคคลนี้ มีประมาณยิ่งจากนั้น ท่านพระสารีบุตรจึงได้พาทั้งหมด เข้าไปหาพระผู้มีพระภาค แล้วได้กราบทูลเรื่องทั้งหมดให้ทราบ

สารีบุตร การที่จะพยากรณ์ในข้อนี้โดยส่วนเดียวว่าบรรดาบุคคล ๓ จำพวกนี้ พวกใดเป็นผู้งามกว่าและ ประณีตกว่าดังนี้ ไม่ใช่จะทำได้โดยง่ายเลย เพราะข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ พวกสัทธาวิมุตติเป็นผู้ ปฏิบัติเพื่อความเป็นอรหันต์ ส่วนพวกกายสักขี และทิฏฐิปัตตะ ยังเป็นสกทาคามีหรืออนาคามี.

สารีบุตร การที่จะพยากรณ์ในข้อนี้โดยส่วนเดียวว่าบรรดาบุคคล ๓ จำพวกนี้ พวกใดเป็นผู้งามกว่า และประณีตกว่าดังนี้ ไม่ใช่จะทำได้โดยง่ายเลย เพราะข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ พวกกายสักขีเป็นผู้ ปฏิบัติเพื่อความเป็นอรหันต์ ส่วนพวกสัทธาวิมุตติและทิฏฐิปัตตะ ยังเป็นสกทาคามีหรืออนาคามี.

สารีบุตร การที่จะพยากรณ์ในข้อนี้โดยส่วนเดียวว่าบรรดาบุคคล ๓ จำพวกนี้ พวกใดเป็นผู้งามกว่า และประณีตกว่าดังนี้ ไม่ใช่จะทำได้โดยง่ายเลย เพราะข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ พวกทิฏฐิปัตตะเป็น ผู้ปฏิบัติเพื่อความเป็นอรหันต์ ส่วนพวก สัทธาวิมุตติ และกายสักขี ยังเป็นสกทาคามีหรืออนาคามี.

สารีบุตร การที่จะพยากรณ์ในข้อนี้โดยส่วนเดียวว่าบรรดาบุคคล ๓ จำพวกนี้ พวกใดเป็นผู้งามกว่าและ ประณีตกว่าไม่ใช่จะทำได้โดยง่ายเลย.

หน้า 253

92
ผู้พ้นทุคติ หรือไม่ไปทุคติ

-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๗๑/๑๕๓๐.

มหาราช บุคคลบางคนในโลกนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า … ในพระธรรม …ในพระสงฆ์ … มีปัญญาร่าเริง เฉียบแหลม และประกอบด้วยวิมุตติ เขาย่อมกระทำให้แจ้ง ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ บุคคลนี้พ้นจากนรกกำเนิดเดรัจฉาน เปรตวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาต.

มหาราช ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า … ในพระธรรม… ในพระสงฆ์ … มีปัญญาร่าเริง เฉียบแหลม แต่ไม่ประกอบด้วยวิมุตติ เพราะสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องต่ำ ๕ สิ้นไปเขาเกิดเป็น อุปปาติกะ จะปรินิพพานในภพที่เกิดนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา บุคคลนี้ก็พ้นจากนรก กำเนิดเดรัจฉาน เปรตวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาต.

มหาราช ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า … ในพระธรรม… ในพระสงฆ์ … ไม่มีปัญญาร่าเริง ไม่เฉียบแหลม และไม่ประกอบด้วยวิมุตติ เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป และเพราะราคะ โทสะ และ โมหะเบาบาง เขาเป็นสกทาคามี มาสู่โลกนี้อีกคราวเดียวเท่านั้น จะกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ บุคคลนี้ก็พ้นจากนรก กำเนิดเดรัจฉาน เปรตวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาต.

มหาราช ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า … ในพระธรรม… ในพระสงฆ์ … ไม่มีปัญญาร่าเริง ไม่เฉียบแหลม และไม่ประกอบด้วยวิมุตติ เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป เขาเป็นโสดาบัน มีความ ไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ ในเบื้องหน้า บุคคลนี้ก็พ้นจากนรก กำเนิดเดรัจฉาน เปรตวิสัยอบาย ทุคติ วินิบาต.

มหาราช ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า … ในพระธรรม… ในพระสงฆ์ … ไม่มีปัญญาร่าเริง ไม่เฉียบแหลม และไม่ประกอบด้วยวิมุตติ แต่ว่าเขามีธรรมเหล่านี้ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ธรรมทั้งหลายที่ตถาคตประกาศแล้ว ย่อมทนต่อการเพ่งด้วยปัญญาของเขา (ยิ่ง)กว่าประมาณ บุคคลนี้ก็ไม่ไปสู่นรก กำเนิดเดรัจฉานเปรตวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาต.

มหาราช ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า … ในพระธรรม… ในพระสงฆ์ … ไม่มีปัญญาร่าเริง ไม่เฉียบแหลม และไม่ประกอบด้วยวิมุตติ แต่ว่าเขามีธรรมเหล่านี้ คือ สัทธินทรีย์… ปัญญินทรีย์ และเขามีศรัทธา มีความรักในตถาคต พอประมาณ บุคคลนี้ก็ไม่ไปสู่นรก กำเนิดเดรัจฉาน เปรตวิสัยอบาย ทุคติ วินิบาต.

หน้า 256

93
เทวดาใดไม่มีพยาบาท เทวดานั้นไม่มาสู่ความเป็นอย่างนี้

-บาลี ม. ม. ๑๓/๕๒๐/๕๗๕.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วรรณะ ๔ จำพวกนี้ คือ กษัตริย์พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วรรณะ ๔ จำพวกนี้ จะพึงมีความแปลกกัน จะพึงมีเครื่องกระทำให้ต่างกันบ้างไหม พระเจ้าข้า.

มหาราช วรรณะ ๔ จำพวกนี้ คือ กษัตริย์ พราหมณ์แพศย์ ศูทร มหาราช ในบรรดาวรรณะ ๔ จำพวกนี้วรรณะ ๒ จำพวก คือ กษัตริย์และพราหมณ์ เรากล่าวว่าเป็นผู้เลิศ คือ เป็นที่กราบไหว้ เป็นที่ลุกรับ เป็นที่กระทำอัญชลี เป็นที่กระทำสามีจิกรรม.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันมิได้ทูลถามถึงความแปลกกัน ในปัจจุบัน กับพระผู้มีพระภาค หม่อมฉันทูลถามถึงความแปลกกันใน สัมปรายภพ กับพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วรรณะ ๔ จำพวกนี้ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วรรณะ ๔ จำพวกนี้ จะพึงมีความแปลกกัน จะพึงมีเครื่องกระทำให้ต่างกันบ้างไหม พระเจ้าข้า.

มหาราช องค์แห่งภิกษุผู้มี ความเพียร ๕ ประการ นี้ ๕ ประการเป็นอย่างไร คือ

(1) มหาราช ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธาเชื่อพระปัญญาตรัสรู้ ของตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาค พระองค์นั้นเป็นอรหันต์ … เป็นผู้เบิกบานแล้วเป็นผู้จำแนกพระธรรม

(2) ภิกษุเป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง ประกอบด้วยไฟธาตุ สำหรับย่อยอาหารอันสม่ำเสมอ ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก เป็นปานกลาง ควรแก่การทำความเพียร

(3) เป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา เปิดเผยตนตามความเป็นจริง ในพระศาสดา หรือในเพื่อนพรหมจรรย์ ทั้งหลาย ผู้เป็น วิญญูชน

(4) เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อม เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่น มั่นคงไม่ทอดธุระ ในกุศลธรรมทั้งหลาย

(5) เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญา เครื่องพิจารณาความเกิด และความดับ เป็นอริยะเป็นเครื่อง ชำแรก กิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบมหาราช เหล่านี้แลองค์แห่งภิกษุผู้มีความเพียร ๕ ประการ.

มหาราช วรรณะ ๔ จำพวกนี้ คือ กษัตริย์ พราหมณ์แพศย์ ศูทร ถ้าวรรณะ ๔ จำพวกนั้น เป็นผู้ประกอบด้วยองค์แห่งภิกษุ ผู้มีความเพียร ๕ ประการนี้ ข้อนั้นก็จะเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่วรรณะ ๔ จำพวกนั้นตลอดกาลนาน.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วรรณะ ๔ จำพวกนี้ คือ กษัตริย์พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ถ้าวรรณะ ๔ จำพวกนั้น พึงเป็นผู้ประกอบ ด้วยองค์แห่งภิกษุผู้มีความเพียร ๕ ประการนี้

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในข้อนี้วรรณะ ๔ จำพวกนั้น จะพึงมีความแปลกกัน จะพึงมีเครื่องกระทำให้ต่างกันบ้างไหม พระเจ้าข้า.

มหาราช ในข้อนี้ เรากล่าวความต่างกันด้วยความเพียรแห่งวรรณะ ๔ จำพวกนั้น.

มหาราช ปรียบเหมือนสัตว์คู่หนึ่ง เป็นช้างที่ควรฝึกก็ตาม เป็นม้าที่ควรฝึกก็ตาม เป็นโคที่ควรฝึกก็ตาม เขาฝึกดีแล้ว แนะนำดีแล้ว คู่หนึ่งไม่ได้ฝึก ไม่ได้แนะนำ.

มหาราช ท่านจะทรงสำคัญความ ข้อนั้นเป็นอย่างไร สัตว์คู่หนึ่งเป็นช้างที่ควรฝึก ก็ตาม เป็นม้าที่ควรฝึก ก็ตามเป็นโคที่ควรฝึกก็ตาม เขาฝึกดีแล้ว แนะนำดีแล้ว สัตว์คู่หนึ่งที่เขาฝึกแล้วเท่านั้น พึงถึงเหตุของสัตว์ที่ฝึกแล้ว พึงยังภูมิของสัตว์ ที่ฝึกแล้ว ให้ถึงพร้อมมิใช่หรือ.

อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

มหาราช ก็สัตว์คู่หนึ่งเป็นช้างที่ควรฝึกก็ตาม เป็นม้าที่ควรฝึกก็ตาม เป็นโคควรฝึกก็ตาม เขาไม่ได้ฝึก ไม่ได้แนะนำสัตว์ คู่นั้นที่เขาไม่ได้ฝึกเลย จะพึงถึงเหตุของสัตว์ที่ฝึกแล้ว จะพึงยังภูมิของสัตว์ที่ฝึกแล้ว ให้ถึงพร้อมเหมือนสัตว์คู่หนึ่ง เป็นช้างที่ควรฝึกก็ตาม เป็นม้าที่ควรฝึกก็ตาม เป็นโคที่ควรฝึกก็ตาม ที่เขาฝึกดีแล้ว แนะนำดีแล้ว ดังนั้นบ้างหรือไม่.

ไม่เป็นอย่างนั้นเลย พระเจ้าข้า.

มหาราช ฉันนั้นเหมือนกันแล ผลใดอันบุคคลผู้มีศรัทธา มีอาพาธน้อย ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา ปรารภความเพียรมีปัญญา พึงถึงผลนั้น บุคคลผู้ไม่มีศรัทธา มีอาพาธมากโอ้อวด มีมายา เกียจคร้าน มีปัญญาทราม จักถึงได้ ดังนี้

ข้อนี้ไม่เป็นฐานะ ที่จะมีได้.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคตรัสสภาพอันเป็นเหตุ และตรัสสภาพ อันเป็นผลพร้อมกับเหตุ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วรรณะ ๔ จำพวกนี้ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ถ้าวรรณะ ๔ จำพวกเหล่านั้นพึงเป็นผู้ประกอบด้วย องค์แห่งภิกษุ ผู้มีความเพียร ๕ ประการนี้ และมีความเพียรชอบเหมือนกัน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในข้อนี้ วรรณ ๔ จำพวกน้้น จะพึงมีความแปลกกัน พึงมีเครื่องกระทำให้ต่างกันบ้างไหมพระเจ้าข้า.

มหาราช ในข้อนี้ เราย่อมไม่กล่าวความต่างกันระหว่าง วิมุตติ กับ วิมุตติ ของวรรณะ ๔ จำพวกนั้น.

มหาราช เปรียบเหมือนบุรุษเก็บเอาไม้สาละแห้งมาใส่ไฟ พึงก่อไฟให้โพลงขึ้น ต่อมาบุรุษอีกคนหนึ่งเก็บเอาไม้มะม่วง แห้ง มาใส่ไฟ พึงก่อไฟให้โพลงขึ้น และภายหลังบุรุษอีกคนหนึ่ง เก็บเอาไม้มะเดื่อแห้งมาใส่ไฟ พึงก่อไฟให้โพลง ขึ้น.

มหาราช ท่านจะทรงสำคัญความข้อนั้นเป็นอย่างไร เปลวกับเปลว สีกับสี หรือ แสงกับแสงของไฟ ที่เกิดขึ้นจากไม้ต่างๆ กันนั้น จะพึงมีความแตกต่าง กันอย่างไร หรือหนอ.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ไม่พึงมีความแตกต่างกันเลย พระเจ้าข้า.

มหาราช ฉันนั้นก็เหมือนกัน เดชอันใดอันความเพียรย่ำยีแล้ว เกิดขึ้น ด้วยความเพียร ในข้อนี้ เราย่อมไม่กล่าวความต่างกัน ระหว่างวิมุตติกับวิมุตติ.

… ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เทวดามีจริงหรือ พระเจ้าข้า.

มหาราช ก็เพราะเหตุอะไรท่านจึงถามอย่างนี้ว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เทวดามีจริงหรือ.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าเทวดามีจริง เทวดาเหล่านั้น มาสู่ความเป็นอย่างนี้ หรือ ไม่มาสู่ความเป็นอย่างนี้ พระเจ้าข้า.

มหาราช
เทวดาเหล่าใดมีพยาบาท (สพฺยาปชฺฌา) เทวดาเหล่านั้น มาสู่ความเป็นอย่างนี้ (อาคนฺตาโร อิตฺถตฺตํ)
เทวดาเหล่าใดไม่มีพยาบาท (อพฺยาปชฺฌา) เทวดาเหล่านั้นไม่มาสู่ความเป็นอย่างนี้ (อนาคนฺตาโร อิตฺถตฺตนฺติ)1 … .

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พรหมมีจริงหรือ.

มหาราช ก็เพราะเหตุไรท่านจึงถามอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญก็พรหมมีจริง หรือข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพรหมมีจริง พรหมนั้นมาสู่ความเป็นอย่างนี้ หรือไม่มาสู่ความเป็นอย่างนี้ พระเจ้าข้า.

มหาราช
พรหมใดมีพยาบาท (สพฺยาปชฺโฌ) พรหมนั้นมาสู่ความเป็นอย่างนี้ (อาคนตฺ า อติ ถฺ ตตฺ )
พรหมใดไม่มีพยาบาท (อพฺยาปชฺโฌ) พรหมนั้นไม่มาสู่ความเป็นอย่างนี้ (อนาคนฺตาอิตฺถตฺตนฺติ) … .

1. ในส่วนนี้ มีสำนวนแปลแบบอื่นอีก เช่น เทวดาเหล่าใดมีทุกข์ เทวดาเหล่านั้น มาสู่โลกนี้ เทวดาเหล่าใดไม่มีทุกข์ เทวดาเหล่านั้นไม่มาสู่โลกนี้ เป็นต้น. –ผู้รวบรวม

หน้า 262

94
ผู้เป็นเสขะ

-บาลี ติก. อํ. ๒๐/๒๙๗/๕๒๕.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า เสขะๆ ดังนี้ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรหนอ บุคคลจึงชื่อว่า เป็นเสขะ.
ภิกษุ ที่เรียกชื่อว่าเสขะ ด้วยเหตุว่ายังต้องศึกษาศึกษาอะไร ศึกษาอธิศีลสิกขา ศึกษาอธิจิตตสิกขา และศึกษา อธิปัญญาสิกขา.ภิกษุ ที่เรียกชื่อว่าเสขะ ด้วยเหตุว่ายังต้องศึกษาแล.

หน้า 263

94
สิกขา ๓

-บาลี ติก. อํ. ๒๐/๓๐๓/๕๒๙.

ภิกษุทั้งหลาย สิกขา ๓ นี้ สิกขา ๓ เป็นอย่างไรคือ อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา.

ภิกษุทั้งหลาย ก็อธิศีลสิกขาเป็นอย่างไร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมแล้ว ด้วยความสำรวม ในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมารยาท และโคจรมีปกติเห็นภัยในโทษเพียง เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท ทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า อธิศีลสิกขา.

ภิกษุทั้งหลาย ก็อธิจิตตสิกขาเป็นอย่างไร ภิกษุท้้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน มีวิตกมีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่. เพราะวิตกและวิจารสงบไป จึงบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใส แห่งจิต ในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เพราะปีติสิ้นไปจึงมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขามีสติ อยู่เป็นสุข เพราะละสุข และทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัส ก่อนๆ ได้ จึงบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีอุเบกขา เป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า อธิจิตตสิกขา.

ภิกษุทั้งหลาย ก็อธิปัญญาสิกขาเป็นอย่างไร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่านี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า อธิปัญญาสิกขา.

ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แลสิกขา ๓.

หน้า 265

96
บรรพชิตกับคฤหัสถ์ ละสังโยชน์ได้ไม่เท่ากัน

-บาลี ม. ม. ๑๓/๒๐๗/๑๙๙.

อนุรุทธะทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้ฟังว่าภิกษุชื่อนี้ทำกาละแล้ว พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่า ดำรงอยู่ใน อรหัตตผล ก็ท่านนั้นเป็นผู้อันภิกษุนั้น ได้เห็นเองหรือได้ยินมาว่า ท่านนั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้ บ้าง ว่าท่านนั้นเป็นผู้มีธรรม อย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้นเป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้บ้างว่า ท่านนั้น เป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้นเป็นผู้พ้นวิเศษแล้ว อย่างนี้บ้าง ภิกษุนั้นเมื่อระลึกถึง ศรัทธา ศีล สุตะจาคะ และปัญญาของภิกษุนั้น จะน้อมจิตเข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้นบ้าง.

อนุรุทธะทั้งหลาย ความอยู่สำราญย่อมมีได้แก่ภิกษุ แม้ด้วยประการฉะนี้แล.

อนุรุทธะทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้ฟังว่าภิกษุชื่อนี้ทำกาละแล้ว พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่า เป็นโอปปาติกะ จะปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ก็ท่านนั้นเป็นผู้อัน ภิกษุนั้น ได้เห็นเองหรือได้ยินมาว่า ท่านนั้นเป็นผู้มีศีล อย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้นเป็นผู้มีธรรมอย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้นเป็นผู้มี ปัญญา อย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้นเป็นผู้มีวิหาร-ธรรมอย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้นเป็น ผู้พ้นวิเศษแล้ว อย่างนี้บ้าง ภิกษุนั้นเมื่อระลึก ถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญาของภิกษุนั้น จะน้อมจิตเข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้นบ้าง.

อนุรุทธะทั้งหลาย ความอยู่สำราญย่อมมีได้แก่ภิกษุแม้ด้วยประการฉะนี้แล.

อนุรุทธะทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้ฟังว่าภิกษุชื่อนี้ทำกาละแล้ว พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่า เป็นสกทาคามี จักมายังโลกนี้คราวเดียวเท่านั้น แล้วทำที่สุดทุกข์ได้ เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป และเพราะราคะ โทสะและโมหะเบาบาง ก็ท่านนั้นเป็นผู้อันภิกษุนั้นได้เห็นเองหรือได้ยินมาว่า ท่านนั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้นเป็นผู้มีธรรมอย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้นเป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้นเป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้นเป็นผู้พ้นวิเศษแล้วอย่างนี้บ้าง ภิกษุนั้นเมื่อระลึกถึง ศรัทธา ศีล สุตะจาคะ และปัญญาของภิกษุนั้น จะน้อมจิตเข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้นบ้าง.

อนุรุทธะทั้งหลาย ความอยู่สำราญย่อมมีได้แก่ภิกษุแม้ด้วยประการฉะนี้แล.

อนุรุทธะทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้ฟังว่าภิกษุชื่อนี้ทำกาละแล้ว พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่า เป็นโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง มีอันจะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป ถ้าท่านนั้นเป็นผู้อันภิกษุนั้น ได้เห็นเอง หรือได้ยินมาว่า ท่านนั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้นเป็นผู้มีธรรมอย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้นเป็นผู้มีปัญญา อย่างนี้บ้าง ว่าท่านเป็นผู้มีวิหารธรรม อย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้นเป็นผู้พ้นวิเศษอย่างนี้บ้าง ภิกษุนั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา ของภิกษุนั้น จะน้อมจิตเข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้นบ้าง.

อนุรุทธะทั้งหลาย ความอยู่สำราญย่อมมีได้แก่ภิกษุแม้ด้วยประการฉะนี้แล.

(ถัดไปได้ตรัสถึงภิกษุณี โดยมีนัยอย่างเดียวกันกับในกรณีของภิกษุ)

อนุรุทธะทั้งหลาย อุบาสกในธรรมวินัยนี้ได้ฟังมาว่า อุบาสกชื่อนี้ทำกาละแล้ว พระผู้มีพระภาคทรง พยากรณ์ว่าเป็น โอปปาติกะ จะปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ก็ท่านนั้น เป็นผู้ อันอุบาสกนั้น ได้เห็นเองหรือได้ยินมา ว่าท่านนั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้นเป็นผู้มีธรรมอย่างนี้บ้างว่า ท่านเป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้นเป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้นเป็นผู้พ้นวิเศษแล้วอย่างนี้บ้าง อุบาสกนั้น เมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญาของอุบาสกนั้น จะน้อมจิตเข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้น บ้าง.

อนุรุทธะทั้งหลาย ความอยู่สำราญย่อมมีได้แก่อุบาสก แม้ด้วยประการฉะนี้.

อนุรุทธะทั้งหลาย อุบาสกในธรรมวินัยนี้ได้ฟังมาว่าอุบาสกชื่อนี้ทำกาละแล้ว พระผู้มีพระภาคทรง พยากรณ์ว่าเป็น สกทาคามี จักกลับมายังโลกนี้เพียงคราวเดียว แล้วทำที่สุดทุกข์ได้ เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป และเพราะราคะ โทสะและโมหะ เบาบาง ก็ท่านนั้นเป็นผู้อันอุบาสกนั้นได้เห็นเอง หรือได้ยินมา ว่าท่านนั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้นเป็นผู้มีธรรมอย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้นเป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้ บ้าง ว่าท่านนั้นเป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้นเป็นผู้พ้นวิเศษแล้วอย่างนี้บ้าง อุบาสกนั้น เมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีลสุตะ จาคะและปัญญาของอุบาสกนั้น จะน้อมจิตเข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้น บ้าง.

อนุรุทธะทั้งหลาย ความอยู่สำราญย่อมมีได้แก่อุบาสก แม้ด้วยประการฉะนี้แล.

อนุรุทธะทั้งหลาย อุบาสกในธรรมวินัยนี้ได้ฟังมาว่าอุบาสกชื่อนี้ทำกาละแล้ว พระผู้มีพระภาคทรง พยากรณ์ว่าเป็นโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง มีอันจะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป ก็ท่านนั้นเป็นผู้อันอุบาสกนั้น ได้เห็นเองหรือได้ยินมาว่า ท่านนั้นเป็นผู้มีศีล อย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้นเป็นผู้มีธรรมอย่างนี้บ้างว่าท่านนั้นเป็นผู้มีปัญญา อย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้นเป็นผู้มี วิหารธรรมอย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้นเป็นผู้พ้นวิเศษแล้วอย่างนี้บ้าง อุบาสกนั้นเมื่อระลึกถึง ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญาของอุบาสกนั้น จะน้อมจิตเข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้นบ้าง.

อนุรุทธะทั้งหลาย ความอยู่สำราญย่อมมีได้แก่อุบาสก แม้ด้วยประการฉะนี้แล.

(ถัดไปได้ตรัสถึงอุบาสิกา โดยมีนัยอย่างเดียวกันกับในกรณีของอุบาสก)

หน้า 270

97
ละสังโยชน์ได้ ถึงจะทำที่สุดทุกข์ได้

-บาลี ม. ม. ๑๓/๒๓๘/๒๔๓.

ข้าแต่พระโคดม คฤหัสถ์บางคน ยังละสังโยชน์ของคฤหัสถ์ไม่ได้เมื่อตายไป ย่อมทำที่สุด ทุกข์ได้มีอยู่หรือ.

วัจฉะ คฤหัสถ์ที่ยังละสังโยชน์ของคฤหัสถ์ไม่ได้แล้ว เมื่อตายไป จะทำที่สุดทุกข์ได้นั้น ไม่มีเลย. ข้าแต่พระโคดม ก็คฤหัสถ์บางคน ยังละสังโยชน์ของคฤหัสถ์ไม่ได้ เมื่อตายไป เข้าถึงโลกสวรรค์ได้ มีอยู่หรือ.

วัจฉะ คฤหัสถ์ที่ละสังโยชน์ของคฤหัสถ์ยังไม่ได้ เมื่อตายไป ได้ไปสวรรค์นั้น ไม่ใช่ร้อยเดียว ไม่ใช่สองร้อยไม่ใช่สามร้อย ไม่ใช่สี่ร้อย ไม่ใช่ห้าร้อยเท่านั้น โดยที่แท้ มีอยู่มากทีเดียว.

ข้าแต่ท่านพระโคดม อาชีวกบางคน เมื่อตายไป จะทำที่สุดทุกข์ได้มีอยู่บ้างหรือ.

วัจฉะ อาชีวกบางคน เมื่อตายไป จะทำที่สุดทุกข์ได้นั้น ไม่มีเลย.

ข้าแต่ท่านพระโคดม ก็อาชีวกบางคน เมื่อตายไป จะไปสวรรค์ได้ มีอยู่หรือ.

วัจฉะ นับแต่กัปนี้ย้อนไป ๙๑ กัป เราระลึกไม่ได้ว่าได้เห็นอาชีวกอื่นที่ไปสวรรค์ นอกจากอาชีวก พวกเดียวที่เป็นกรรมวาที กิริยาวาที.

ข้าแต่ท่านพระโคดม เมื่อเป็นเช่นนั้น ลัทธิของเดียรถีย์เป็นอันสูญ โดยที่สุดจากคุณเครื่องไปสู่สวรรค์ อย่างนั้นหรือ.

อย่างนั้นวัจฉะ ลัทธิของเดียรถีย์นี้เป็นอันสูญ โดยที่สุดแม้จากคุณเครื่อง ไปสู่สวรรค์.

หน้า 272

98
ข้อแตกต่างระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับ กับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เมื่อเสวยเวทนา

-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๒๕๗/๓๖๙.

ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ย่อมเสวยสุขเวทนาบ้าง ทุกขเวทนาบ้าง อทุกขมสุขเวทนาบ้าง อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ก็ย่อมเสวยสุขเวทนาบ้าง ทุกขเวทนาบ้างอทุกขมสุขเวทนาบ้าง.

ภิกษุทั้งหลาย ในบุคคล ๒ จำพวกนั้น อะไรเป็นความพิเศษ เป็นความแปลก เป็นเครื่องทำให้ต่างกัน ระหว่างอริยสาวก ผู้ได้สดับ กับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ.

ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมเศร้าโศก ร่ำไรรำพัน ทุบอกคร่ำครวญ ย่อมถึงความหลงไหล เขาย่อมเสวยเวทนา ๒ อย่าง คือ เวทนาทางกาย และเวทนาทางใจ.

ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนายขมังธนู พึงยิงบุรุษด้วยลูกศร แล้วยิงซ้ำบุรุษนั้น ด้วยลูกศรดอกที่ ๒ อีก ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ บุรุษนั้นย่อมเสวยเวทนาเพราะลูกศร ๒ อย่างคือ ทางกายและทางใจ

ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับก็ฉันนั้นเหมือนกัน อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมเศร้าโศกร่ำไรรำพัน ทุบอกคร่ำครวญ ย่อมถึงความหลงไหล เขาย่อมเสวยเวทนา ๒ อย่าคือเวทนาทางกาย และเวทนาทางใจ อนึ่ง เขาย่อมเป็นผู้มีความขัดเคืองเพราะทุกขเวทนานั้นนั่นเอง

ปฏิฆานุสัยใด อันเกิดเพราะ ทุกขเวทนา ปฏิฆานุสัยนั้นย่อมนอนตามแก่เขา ผู้มีความขัดเคือง เพราะทุกขเวทนานั้นเขา ผู้อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมจะพอใจในกามสุข ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ย่อมไม่รู้อุบาย เครื่องสลัดออก จากทุกขเวทนา นอกไปจากกามสุข และเมื่อเขาพอใจในกามสุขอยู่

ราคานุสัยใด อันเกิดเพราะ สุขเวทนา ราคานุสัยนั้น ย่อมนอนเนื่อง (ในบุคคลนั้น) เขาย่อมไม่รู้ซึ่งเหตุเกิด (สมุทย) ความตั้งอยู่ไม่ได้ (อตฺถงฺคม) คุณ(อสฺสาท) โทษ (อาทีนว) และอุบายเป็นเครื่องสลัดออก (นิสฺสรณ) แห่งเวทนาเหล่านั้น ตามความเป็นจริง เมื่อเขาไม่รู้เหตุเกิดความตั้งอยู่ไม่ได้ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งเวทนาเหล่านั้น ตามความเป็นจริง

อวิชชานุสัยใด อันเกิดเพราะ อทุกขมสุขเวทนา อวิชชานุสัยนั้น ย่อมนอนเนื่อง (ในบุคคลนั้น) ถ้าเสวยสุขเวทนา เขาย่อมเป็นผู้ติดใจ เสวยสุขเวทนานั้น ถ้าเสวยทุกขเวทนา เขาย่อมเป็นผู้ติดใจ เสวยทุกขเวทนานั้น และถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนา เขาย่อมเป็นผู้ติดใจ เสวยอทุกขมสุขเวทนานั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับนี้ เราเรียกว่า เป็นผู้ประกอบด้วยชาติ ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัสและ อุปายาสะ เรากล่าวว่า เป็นผู้ประกอบด้วยทุกข์.

ภิกษุทั้งหลาย ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับ อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่รำไรรำพัน ไม่ทุบอกคร่ำครวญ ไม่ถึงความหลงไหล เขาย่อมเสวยเวทนาทางกายอย่างเดียว ไม่ได้เสวยเวทนาทางใจ.

ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนายขมังธนู พึงยิงบุรุษด้วยลูกศร แล้วยิงซ้ำบุรุษนั้น ด้วยลูกศรดอกที่ ๒ ผิดไปก็เมื่อเป็น อย่างนี้ บุรุษนั้นย่อมเสวยเวทนาเพราะลูกศร ดอกเดียว

ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ ก็ฉันนั้นเหมือนกันอันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ร่ำไร่รำพันไม่ทุบอก คร่ำครวญ ไม่ถึงความหลงไหล เขาย่อมเสวยเวทนาทางกายอย่างเดียว ไม่ได้เสวยเวทนาทางใจ อนึ่ง เขาย่อมไม่มี ความขัดเคือง เพราะทุกขเวทนานั้น

ปฏิฆานุสัยใด อันเกิดเพราะทุกขเวทนา ปฏิฆานุสัยนั้น ย่อมไม่นอนตามแก่เขา ผู้ไม่มีความขัดเคือง เพราะทุกขเวทนานั้น เขาผู้อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมจะไม่พอใจในกามสุข ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะอริยสาวกผู้ได้สดับนั้น ย่อมรู้ชัด ซึ่งอุบายอื่น อันเป็นเครื่องสลัดออกจากทุกขเวทนา นอกไปจากกามสุข เมื่อเขาไม่พอใจในกามสุข

ราคานุสัยใด อันเกิดเพราะสุขเวทนาราคานุสัยนั้น ย่อมไม่นอนเนื่อง (ในบุคคลนั้น) เขาย่อมรู้ชัดซึ่งเหตุเกิด ความตั้งอยู่ ไม่ได้ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องสลัดออก แห่งเวทนาเหล่านั้น ตามความเป็นจริง เมื่อเขารู้ชัด ซึ่งเหตุเกิด ความตั้งอยู่ ไม่ได้ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งเวทนาเหล่านั้น ตามความเป็นจริง

อวิชชานุสัยใด อันเกิดเพราะอทุกขมสุขเวทนา อวิชชานุสัยนั้น ย่อมไม่นอนเนื่อง (ในบุคคลนั้น) ถ้าเสวยสุขเวทนา เขาย่อมเป็นผู้ไม่ติดใจเสวยสุขเวทนานั้น ถ้าเสวยทุกขเวทนา เขาย่อมเป็นผู้ไม่ติดใจ เสวยทุกขเวทนานั้น ถ้าเสวย อทุกขมสุขเวทนา เขาย่อมเป็นผู้ไม่ติดใจ เสวยอทุกขมสุขเวทนานั้น.

ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วนี้ เราเรียกว่าเป็นผู้ปราศจากชาติ ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัส และ อุปายาสะ เราย่อมกล่าวว่า เป็นผู้ปราศจากทุกข์.

ภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความพิเศษ เป็นความแปลกกัน เป็นเครื่องกระทำให้ต่างกันระหว่างอริยสาวก ผู้ได้สดับกับปุถุชน ผู้ไม่ได้สดับ.

หน้า 276

99
ธรรมที่น่าอัศจรรย์ในธรรมวินัยนี้

-บาลี อฏฺฐก. อํ. ๒๓/๒๐๗/๑๑๐.

ตรัสเพราะปรารภเหตุมีภิกษุผู้ไม่บริสุทธิ์อยู่ หมู่ภิกษุสงฆ์ในวันอุโบสถ ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เธอทั้งหลายพึงทำอุโบสถเถิด พึงแสดงปาติโมกข์เถิด.

ภิกษุทั้งหลาย ตั้งแต่กาลบัดนี้เป็นต้นไป เราจักไม่แสดงปาติโมกข์. ภิกษุทั้งหลาย การที่ตถาคตจะพึง แสดงปาติโมกข์ ในบริษัทที่ไม่บริสุทธิ์ นี้มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส.

ภิกษุทั้งหลาย ในมหาสมุทรมีธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา ๘ ประการ ที่พวกอสูรเห็นแล้วๆ ย่อมอภิรมย์ธรรม ๘ ประการเป็นอย่างไร คือ

… ภิกษุทั้งหลาย (1) ข้อที่มหาสมุทรลาดลุ่ม ลึกลงไป โดยลำดับ หาได้โกรกชัน เหมือนเหวไม่ นี้เป็นธรรม ที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา ของมหาสมุทรประการที่ ๑ ที่พวกอสูรเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่.

… ภิกษุทั้งหลาย (2) ข้อที่มหาสมุทรเต็มเปี่ยมอยู่เสมอไม่ล้นฝั่ง นี้เป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ อันไม่เคยมีมาของ มหาสมุทร ประการที่ ๒ ที่พวกอสูรเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่.

… ภิกษุทั้งหลาย (3) ข้อที่มหาสมุทรไม่เกลื่อนด้วยซากศพ และในมหาสมุทร คลื่นย่อมซัดเอาซากศพ เข้าหาฝั่งให้ขึ้นบกทันที นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ อันไม่เคยมีมาของมหาสมุทรประการที่ ๓ ที่พวกอสูรเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่.

… ภิกษุทั้งหลาย (4) ข้อที่แม่น้ำสายใหญ่ๆ บางสายคือ แม่น้ำคงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี แม่น้ำเหล่านั้นไหลไปถึง มหาสมุทรแล้ว ย่อมเปลี่ยนนาม และโคตรเดิมหมด ถึงความนับว่า มหาสมุทรนั่นเอง นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ อันไม่เคยมีมา ของมหาสมุทรประการที่ ๔ ที่พวกอสูรเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่.

… ภิกษุทั้งหลาย (5) ข้อที่แม่น้ำทุกสายในโลก ย่อมไหลไปรวมยังมหาสมุทร และสายฝนจากอากาศ ตกลงสู่มหาสมุทร มหาสมุทรก็มิได้ปรากฏว่าจะพร่อง หรือเต็มเพราะน้ำนั้นๆ นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ อันไม่เคยมีมาของมหาสมุทร ประการที่ ๕ ที่พวกอสูรเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่.

… ภิกษุทั้งหลาย (6) ข้อที่มหาสมุทรมีรสเดียว คือ รสเค็มนี้เป็นธรรม ที่น่าอัศจรรย์ อันไม่เคยมีมาของ มหาสมุทรประการที่ ๖ ที่พวกอสูรเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่.

… ภิกษุทั้งหลาย (7) ข้อที่มหาสมุทรมีรัตนะมากมายหลายชนิด ในมหาสมุทรนั้น มีรัตนะ คือ แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ สังข์ ศิลา แก้วประพาฬ เงิน ทอง ทับทิมมรกตนี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ อันไม่เคยมีมาของมหาสมุทรประการที่ ๗ ที่พวกอสูรเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่.

… ภิกษุทั้งหลาย (8) ข้อที่มหาสมุทรเป็นที่พำนักอาศัยของสิ่งมีชีวิตใหญ่ๆ สิ่งมีชีวิต ในมหาสมุทรนั้น มีดังนี้คือ ปลาติมิ ปลาติมิงคลา ปลาติมิรมิงคลา พวกอสูร นาคคนธรรพ์ แม้ที่มีร่างกายประมาณ ๑๐๐ โยชน์ ๒๐๐ โยชน์๓๐๐ โยชน์ ๔๐๐ โยชน์ ๕๐๐โยชน์ ก็มีอยู่ นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา ของ มหาสมุทรประการที่ ๘ ที่พวกอสูรเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่.

ภิกษุทั้งหลาย ในมหาสมุทรมีธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา ๘ ประการเหล่านี้แล ที่พวกอสูร เห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่.

ภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยนี้ ก็มีธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา ๘ ประการ ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้วๆ ย่อมอภิรมย์อยู่ ธรรม ๘ ประการเป็นอย่างไร คือ.

… ภิกษุทั้งหลาย (1) ข้อที่ในธรรมวินัยนี้ มีการศึกษาไปตามลำดับ มีการกระทำไป ตามลำดับ มีการปฏิบัติ ไปตามลำดับ มิใช่ว่าจะมีการบรรลุอรหัตผลโดยตรง นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา ของธรรมวินัยนี้ประการที่ ๑ ที่ภิกษุทั้งหลาย เห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่.

… ภิกษุทั้งหลาย (2) ข้อที่สาวกทั้งหลายของเรา ไม่ล่วงสิกขาบท ที่เราบัญญัติไว้ แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต นี้เป็นธรรมที่น่า อัศจรรย์อันไม่เคยมีมา ของธรรมวินัยนี้ ประการที่ ๒ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่.

… ภิกษุทั้งหลาย (3) ข้อที่บุคคลผู้ทุศีล มีบาปกรรมมีสมาจารไม่สะอาด น่ารังเกียจ ปกปิดกรรมชั่ว ไม่ใช่สมณะ แต่ปฏิญญา ว่าเป็นสมณะ มิใช่ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ แต่ปฏิญญาว่าประพฤติพรหมจรรย์ เน่าใน ชุ่มด้วยราคะ เป็นเพียงดังขยะมูลฝอย สงฆ์ย่อมไม่อยู่ร่วมกับบุคคลนั้น ประชุมกันยกวัตร เธอเสียทันที แม้เขา จะนั่งอยู่ในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ก็จริง ถึงกระนั้นเขา ก็ชื่อ ว่าห่างไกลจากสงฆ์ และสงฆ์ ก็ห่างไกลจากเขา นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ อันไม่เคยมีมา ของธรรมวินัยนี้ ประการที่ ๓ ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่.

… ภิกษุทั้งหลาย (4) ข้อที่วรรณะ ๔ เหล่านี้ คือ กษัตริย์พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ออกบวช เป็นบรรพชิต ในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ย่อมละนามและโคตร เดิมเสีย ถึงความนับว่าเป็นสมณศากยบุตร ทั้งนั้น นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ อันไม่เคย มีมาของธรรมวินัยนี้ ประการที่ ๔ ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่.

… ภิกษุทั้งหลาย (5) ข้อที่ถึงแม้ภิกษุเป็นอันมาก จะปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสส นิพพานธาตุ นิพพานธาตุ ก็มิได้ปรากฏว่า จะพร่อง หรือเต็มด้วยภิกษุนั้น นี้เป็นธรรม ที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา ของธรรมวินัยนี้ ประการที่ ๕ ที่ภิกษุทั้งหลาย เห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่.

… ภิกษุทั้งหลาย (6) ข้อที่ธรรมวินัยมีรสเดียว คือวิมุตติรส นี้เป็นธรรม ที่น่าอัศจรรย์ อันไม่เคยมีมาประการที่ ๖ในธรรมวินัยนี้ ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่

.… ภิกษุทั้งหลาย (7) ข้อที่ธรรมวินัยนี้มีรัตนะ มากมายหลายชนิด รัตนะในธรรมวินัยนั้น มีดังนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ อันไม่เคยมีมาของธรรมวินัยนี้ ประการที่ ๗ ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่.

… ภิกษุทั้งหลาย (8) ข้อที่ธรรมวินัยนี้เป็นที่พำนักอาศัยแห่งสิ่งที่มีชีวิตใหญ่ๆ สิ่งมีชีวิต ในธรรมวินัยนี้ มีดังนี้คือ โสดาบัน ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้ง ซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามี ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำ ให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล อนาคามี ท่านผู้ปฏิบัติ เพื่อ กระทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผลอรหันต์ ท่านผู้ปฏิบัติ เพื่อความเป็นอรหันต์ นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ อันไม่เคยมีมาของธรรมวินัยนี้ ประการที่ ๘ ที่ภิกษุทั้งหลาย เห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่.

ภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยนี้มีสิ่งที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา ๘ ประการนี้แล ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่.
(ใน -บาลี อฏฺฐก. อํ. ๒๓/๒๐๐/๑๐๙. ได้ตรัสกับปหาราทะจอมอสูร โดยมีนัยเดียวกันนี้. -ผู้รวบรวม)

หน้า 282

100
ปัจจัยให้สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้น

-บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๒๑๓/๑๗๑.

ภิกษุทั้งหลาย
เมื่อกายมีอยู่
สุขทุกข์ภายใน ย่อมเกิดขึ้น เพราะกายสัญเจตนาเป็นเหตุ หรือ
เมื่อวาจามีอยู่ สุขทุกข์ใน ภายในย่อมเกิดขึ้น เพราะวจีสัญเจตนา เป็นเหตุ หรือ
เมื่อใจมีอยู่ สุขทุกข์ภายในย่อมเกิดขึ้น เพราะมโนสัญเจตนาเป็นเหตุ

อีกอย่างหนึ่ง
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย บุคคลย่อมปรุงแต่งกายสังขาร อันเป็นปัจจัย ให้สุข-ทุกข์ภายใน เกิดขึ้นด้วยตนเองบ้าง

หรือ บุคคลอื่นย่อมปรุงแต่งกายสังขารของบุคคลนั้น อันเป็นปัจจัย ให้สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้นแก่บุคคลนั้น

หรือ บุคคลรู้สึกตัวย่อมปรุงแต่งกายสังขาร อันเป็นปัจจัย ให้สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้นบ้าง

หรือ บุคคลไม่รู้สึกตัวย่อมปรุงแต่งกายสังขาร อันเป็นปัจจัย ให้สุขทุกข์ภายใน เกิดขึ้นบ้าง บุคคลย่อมปรุงแต่งวจีสังขาร อันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายใน เกิดขึ้นด้วยตนเองบ้าง

หรือ บุคคลอื่นย่อมปรุงแต่งวจีสังขารของบุคคลนั้น อันเป็นปัจจัย ให้สุขทุกข์ภายใน เกิดขึ้นแก่บุคคลนั้นบ้าง

หรือ บุคคลรู้สึกตัวย่อมปรุงแต่งวจีสังขาร อันเป็นปัจจัย ให้สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้นบ้าง

หรือ บุคคลไม่รู้สึกตัวย่อมปรุงแต่งวจีสังขาร อันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายใน เกิดขึ้นบ้าง บุคคลย่อมปรุงแต่งมโนสังขาร อันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายในเกิดข้นึ ด้วยตนเองบ้าง

หรือ บุคคลอื่นย่อมปรุงแต่งมโนสังขารของบุคคลนั้น อันเป็นปัจจัย ให้สุขทุกข์ภายใน เกิดขึ้นแก่บุคคลนั้นบ้าง

หรือ บุคคลรู้สึกตัวย่อมปรุงแต่งมโนสังขาร อันเป็นปัจจัย ให้สุขทุกข์ภายใน เกิดขึ้นบ้าง

หรือ บุคคลไม่รู้สึกตัวย่อมปรุงแต่งมโนสังขาร อันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายใน เกิดขึ้นบ้าง.

ภิกษุทั้งหลาย อวิชชาติดตามไปแล้วในธรรมเหล่านี้ แต่เพราะอวิชชานั่นแล ดับโดยสำรอกไม่เหลือ กายอันเป็นปัจจัยให้สุข ทุกข์ภายในเกิดขึ้นแก่บุคคลนั้น ย่อมไม่มี วาจา… ใจ … เขต … วัตถุ… อายตนะ … อธิกรณะอันเป็นปัจจัย ให้สุขทุกข์ ภายในเกิดขึ้นแก่บุคคลนั้นย่อมไม่มี.

ภิกษุทั้งหลาย ความได้อัตภาพ ๔ ประการนี้ ๔ประการเป็นอย่างไร คือ ความได้อัตภาพ ที่สัญเจตนาของตนเป็นไป ไม่ใช่สัญเจตนาของผู้อื่นเป็นไปก็มี ความได้อัตภาพที่สัญเจตนาของผู้อื่น เป็นไป ไม่ใช่สัญเจตนาของตน เป็นไปก็มีความ ได้อัตภาพที่สัญเจตนาของตนด้วย สัญเจตนา ของผู้อื่นด้วยเป็นไปก็มี ความได้อัตภาพที่สัญเจตนาของตน ก็มิใช่สัญเจตนาของผู้อื่น ก็มิใช่เป็นไปก็มี.

ภิกษุทั้งหลาย ความได้อัตภาพ ๔ ประการนี้แล.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญธรรม ที่พระผู้มีพระภาคตรัสโดยย่อนี้ ข้าพระองค์ทราบชัดเนื้อความโดยพิสดารอย่างนี้ว่า บรรดาความได้อัตภาพ ๔ ประการนั้น
ความได้อัตภาพที่สัญเจตนาของตนเป็นไป มิใช่สัญเจตนาของผู้อื่นเป็นไปนี้ คือ
การจุติจากกายนั้นของสัตว์เหล่านั้น ย่อมมีเพราะสัญเจตนาของตนเป็นเหตุ
ความได้อัตภาพที่สัญเจตนาของผู้อื่นเป็นไป มิใช่สัญเจตนาของตนเป็นไปนี้ คือ
การจุติจากกายนั้นของสัตว์เหล่านั้น ย่อมมีเพราะ สัญเจตนาของผู้อื่นเป็นเหตุ
ความได้อัตภาพที่สัญเจตนาของตนด้วยสัญเจตนาของผู้อื่นด้วยเป็นไปนี้ คือ
การจุติจากกายนั้นของสัตว์เหล่านั้น ย่อมมีเพราะสัญเจตนาของตน
และสัญเจตนาผู้อื่นเป็นเหตุความได้อัตภาพที่สัญเจตนาของตน เป็นไปก็มิใช่
สัญเจตนาของผู้อื่นเป็นไปก็มิใช่นี้ จะพึงเห็นเทวดาทั้งหลายด้วยอัตภาพนั้น เป็นอย่างไร พระเจ้าข้า.

สารีบุตร พึงเห็นเทวดาทั้งหลายผู้เข้าถึงเนวสัญญา-นาสัญญายตนะ ด้วยอัตภาพนั้น.
(ถัดจากนี้ ได้ตรัสต่อไปตามข้อความที่ปรากฏในหน้า98 ของหนังสือเล่มนี้. ผู้รวบรวม)

หน้า 285

101
นิพพานธาตุ ๒ อย่าง

-บาลี อิติวุ. ขุ. ๒๕/๒๕๘/๒๒๒.

ภิกษุทั้งหลาย นิพพานธาตุ ๒ ประการนี้ ๒ ประการเป็นอย่างไร คือ สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ และ อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ.

ภิกษุทั้งหลาย ก็สอุปาทิเสสนิพพานธาตุเป็นอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้วมีประโยชน์ของตน อันบรรลุแล้ว มีสังโยชน์ในภพนี้สิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้นย่อมเสวยอารมณ์ทั้งที่พึงใจ และไม่พึงใจ ยังเสวยสุขและทุกข์อยู่ เพราะความที่อินทรีย์ ๕ เหล่าใดเป็นธรรมชาติไม่บุบสลาย อินทรีย์ ๕เหล่านั้นของเธอยังตั้งอยู่นั่นเทียว ภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่ง โทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะของภิกษุนั้น นี้เราเรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ.

ภิกษุทั้งหลาย ก็อนุปาทิเสสนิพพานธาตุเป็นอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลง ได้แล้ว มีประโยชน์ของตนอันบรรลุแล้ว มีสังโยชน์ในภพสิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้โดยชอบ เวทนาทั้งปวงในอัตภาพนี้แหละ ของภิกษุนั้น เป็นธรรมชาติ อันกิเลสทั้งหลายมีตัณหาเป็นต้น ให้เพลิดเพลินมิได้แล้ว จัก (ดับ) เย็น.

ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพานธาตุภิกษุทั้งหลาย นิพพานธาตุ ๒ ประการนี้แล.

นิพพานธาตุ ๒ ประการนี้ ตถาคตผู้มีจักษุ ผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยแล้ว ผู้คงที่ประกาศไว้แล้ว อันนิพพานธาตุ อย่างหนึ่งมีในปัจจุบันนี้ชื่อว่า สอุปาทิเสส เพราะสิ้นตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพ ส่วนนิพพานธาตุ(อีกอย่างหนึ่ง) เป็นที่ดับ สนิทแห่งภพ ทั้งหลาย โดยประการทั้งปวงอันมีในเบื้องหน้า ชื่อว่าอนุปาทิเสส ชนเหล่าใดรู้บทอันปัจจัย ไม่ปรุงแต่งแล้วนี้ มีจิตหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้นตัณหา เครื่องนำไปสู่ภพ ชนเหล่านั้นยินดีแล้วในนิพพาน เป็นที่สิ้นกิเลสเพราะบรรลุธรรม อันเป็นสาระ เป็นผู้คงที่ ละภพได้ทั้งหมด.

 

ข้อปฏิบัติเพื่อสิ้นสังโยชน์


หน้า 288

102
ผู้หลับน้อย ตื่นมากในราตรี

-บาลี ปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๗๕/๑๓๗.

ภิกษุทั้งหลาย คน ๕ จำพวกนี้ ย่อมหลับน้อยตื่นมากในราตรี ๕ จำพวกเป็นอย่างไร คือ
(1) สตรีผู้คิดมุ่งถึงบุรุษ
(2) บุรุษผู้คิดมุ่งถึงสตรี
(3) โจรผู้คิดมุ่งลักทรัพย์
(4) พระราชาผู้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณีย์
(5) ภิกษุผู้คิดมุ่งถึงธรรมที่ปราศจากสังโยชน์

ภิกษุทั้งหลาย คน ๕ จำพวกนี้แล ย่อมหลับน้อยตื่นมากในราตรี.

หน้า 289

103
ธรรมมีอุปการะมากต่อผู้เป็นเสขะ

-บาลี อิติวุ. ขุ. ๒๕/๒๓๖/๑๙๔.

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุผู้เป็นเสขะยังไม่บรรลุอรหัตตผล ปรารถนาความเกษมจากโยคะ อันยอดเยี่ยมอยู่ เราไม่พิจารณาเห็น แม้เหตุอันหนึ่งอย่างอื่น กระทำเหตุที่มี ณ ภายในว่ามีอุปการะมาก เหมือน โยนิโสมนสิการนี้เลย

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมนสิการ โดยแยบคาย ย่อมละอกุศลเสียได้ ย่อมเจริญกุศล ให้เกิดมี.

ธรรมอย่างอื่นอันมีอุปการะมาก เพื่อบรรลุประโยชน์อันสูงสุดแห่งภิกษุ ผู้เป็นพระเสขะ เหมือนโยนิโส มนสิการไม่มีเลย ภิกษุเริ่มตั้งไว้ซึ่งมนสิการ โดยแยบคาย พึงบรรลุนิพพานอันเป็นที่สิ้นไป แห่งทุกข์ได้.

หน้า 290

104
ปฏิปทาบรรลุมรรคผล ๔ แบบ

-บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๒๐๒,๒๐๗/๑๖๓,๑๖๖.

ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการเหล่านี้ ๔ ประการเป็นอย่างไร คือ
(1) ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา (ปฏิบัติลำบาก รู้ได้ช้า)
(2) ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา (ปฏิบัติลำบาก รู้ได้เร็ว)
(3) สุขาปฏิปทาทันธาภิญญา (ปฏิบัติสบาย รู้ได้ช้า)
(4) สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา (ปฏิบัติสบาย รู้ได้เร็ว)


แบบปฏิบัติลำบาก รู้ได้ช้า
ภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา เป็นอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นในกาย ว่าไม่งาม มีความสำคัญ ในอาหารว่าเป็นของปฏิกูล มีความสำคัญในโลกทั้งปวงว่าไม่น่ายินดี พิจารณาเห็นในสังขารทั้งปวง ว่าไม่เที่ยงอนึ่ง มรณสัญญาของเธอตั้งอยู่ดีแล้วในภายใน เธอเข้าไปอาศัยธรรม อันเป็นกำลังของพระเสขะ ๕ ประการนี้ คือ สัทธาหิริ โอตตัปปะ วิริยะ ปัญญา อินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือสัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ของเธอ ปรากฏว่าอ่อน เธอจึงได้บรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะช้า เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้อ่อน ภิกษุทั้งหลายนี้เรียกว่า ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา.


แบบปฏิบัติลำบาก รู้ได้เร็ว
ภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา เป็นอย่างไรภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นในกาย ว่าไม่งาม มีความสำคัญ ในอาหารว่าเป็นของปฏิกูล มีความสำคัญในโลกทั้งปวงว่าไม่น่ายินดี พิจารณาเห็นในสังขารทั้งปวงว่าไม่เที่ยง อนึ่งมรณสัญญา ของเธอตั้งอยู่ดีแล้วในภายใน

เธอเข้าไปอาศัยธรรมอันเป็นกำลังของพระเสขะ ๕ ประการนี้ คือ สัทธาหิริ โอตตัปปะ วิริยะ ปัญญา แต่อินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือสัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ของเธอ ปรากฏว่าแก่กล้า เธอย่อมได้บรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะเร็วพลัน เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้แก่กล้า ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา.

แบบปฏิบัติสบาย รู้ได้ช้า
ภิกษุทั้งหลาย ก็สุขาปฏิปทาทันธาภิญญาเป็นอย่างไรภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัด จากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติ และสุข อันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะวิตกและวิจารสงบไป จึงบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใส แห่งจิต ในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร มีปีติ และสุข อันเกิดจาก สมาธิอยู่ เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ ย่อมเป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ และ สัมปชัญญะ บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข ดังนี้

เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัสก่อนๆ ได้ จึงบรรลุจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีแต่สติ อันบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ เธออาศัยธรรม อันเป็นกำลังของพระเสขะ ๕ ประการนี้ คือ สัทธา หิริโอตตัปปะ วิริยะ ปัญญา แต่อินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ สัทธินทรีย์วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ของเธอปรากฏว่าอ่อน เธอจึงบรรลุ คุณวิเศษ เพื่อความสิ้นอาสวะช้า เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้อ่อน ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา.

แบบปฏิบัติสบาย รู้ได้เร็ว
ภิกษุทั้งหลาย ก็สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญาเป็นอย่างไรภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัด จากกาม สงัดจาก อกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติ และสุข อันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะวิตกและ วิจารสงบไป จึงบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใส แห่งจิต ในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร มีปีติ และสุข อันเกิดจาก สมาธิอยู่ เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ ย่อมเป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติและ สัมปชัญญะ บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข ดังนี้

เพราะละสุข ละทุกข์และดับโสมนัสก่อนๆ ได้ จึงบรรลุจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีแต่สติอันบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ เธออาศัยธรรม อันเป็นกำลังของ พระเสขะ ๕ ประการนี้ คือ สัทธา หิริโอตตัปปะ วิริยะ ปัญญา ทั้งอินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย ของเธอปรากฏว่าแก่กล้า เธอย่อมได้บรรลุคุณวิเศษ เพื่อความสิ้น อาสวะเร็วพลัน เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้แก่กล้า ภิกษุทั้งหลายนี้เรียกว่า สุขาปฏิปทาขิปปา ภิญญา.

ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล ปฏิปทา ๔ ประการ.

ภิกษุทั้งหลาย ในปฏิปทา ๔ ประการนั้น ทุกขา-ปฏิปทาทันธาภิญญา บัณฑิต กล่าวว่า เลวโดยส่วนทั้งสองทีเดียว คือ กล่าวว่าเลวแม้ด้วยการ ปฏิบัติลำบาก กล่าวว่าเลวแม้ด้วยการรู้ได้ช้า ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทานี้บัณฑิตกล่าวว่าเลว โดย ส่วนทั้งสอง ทีเดียว ภิกษุทั้งหลาย ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา บัณฑิตกล่าวว่า เลว เพราะปฏิบัติลำบาก.

ภิกษุทั้งหลาย สุขาปฏิปทาทันธาภิญญา บัณฑิตกล่าวว่าเลว เพราะรู้ได้ช้า.

ภิกษุทั้งหลาย สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา บัณฑิตกล่าวว่าประณีต โดยส่วนทั้งสอง ทีเดียว คือ กล่าวว่าประณีตแม้ด้วยการ ปฏิบัติสะดวก กล่าวว่าประณีต แม้ด้วยการ รู้ได้เร็ว ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทานี้บัณฑิตกล่าวว่าประณีตโดยส่วนทั้งสองทีเดียว.

หน้า 295

105
ความพรากจากโยคะ ๔

-บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๔/๑๐.

ภิกษุทั้งหลาย ความพรากจากโยคะ ๔ ประการนี้๔ ประการเป็นอย่างไร คือ
(1) ความพรากจาก กามโยคะ (กามโยควิสํโยโค)
(2) ความพรากจาก ภวโยคะ (ภวโยควิสํโยโค)
(3) ความพรากจาก ทิฏฐิโยคะ (ทิฏฺฐิโยควิสํโยโค)
(4) ความพรากจาก อวิชชาโยคะ (อวิชฺชาโยควิสํโยโค)

ภิกษุทั้งหลาย ก็ความพรากจากกามโยคะเป็นอย่างไร บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมรู้ชัดซึ่งความเกิด (สมุทย) ความตั้งอยู่ไม่ได้ (อตฺถงฺคม) คุณ (อสฺสาท) โทษ (อาทีนว) และอุบายเครื่องสลัดออก (นิสฺสรณ) แห่งกามทั้งหลาย ตามความเป็นจริง เมื่อเขารู้ชัดซึ่งความเกิด ความตั้งอยู่ไม่ได้ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งกามทั้งหลาย ตามความเป็นจริง ความกำหนัด เพราะกาม ความเพลิดเพลินเพราะกาม ความเยื่อใยเพราะกาม ความหมกมุ่นเพราะกาม ความกระหาย เพราะกาม ความเร่าร้อนเพราะกาม ความหยั่งลงในกามความทะยานอยาก เพราะกาม ในกามทั้งหลาย ย่อมไม่เกิดขึ้น ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ความพรากจากกามโยคะ ความพรากจาก กามโยคะ เป็นดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ก็ความพรากจากภวโยคะเป็นอย่างไร บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมรู้ชัดซึ่งย่อมรู้ชัด ซึ่งความเกิด(สมุทย) ความตั้งอยู่ไม่ได้ (อตฺถงฺคม) คุณ (อสฺสาท) โทษ (อาทีนว)และอุบาย เครื่องสลัดออก (นิสฺสรณ) แห่งภพทั้งหลาย ตามความเป็นจริง เมื่อเขารู้ชัดซึ่งความเกิด ตั้งอยู่ไม่ได้ คุณโทษ และอุบายเครื่อง สลัดออกแห่งภพทั้งหลาย ตามความเป็นจริง ความกำหนัดเพราะภพ ความเพลิดเพลินเพราะภพ ความเยื่อใยเพราะภพ ความหมกมุ่นเพราะภพ ความกระหายเพราะภพ ความเร่าร้อนเพราะภพ ความหยั่งลงในภพ และ ความทะยานอยากเพราะภพ ในภพทั้งหลายย่อมไม่เกิดขึ้น ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ความพรากจากภวโยคะ ความพรากจาก กามโยคะ ความพรากจากภวโยคะเป็นดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ก็ความพรากจากทิฏฐิโยคะเป็นอย่างไร บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมรู้ชัดซึ่งย่อมรู้ชัด ซึ่งความเกิด(สมุทย) ความตั้งอยู่ไม่ได้ (อตฺถงฺคม) คุณ (อสฺสาท) โทษ (อาทีนว)และอุบายเครื่อง สลัดออก (นิสฺสรณ) แห่งทิฏฐิทั้งหลาย ตามความเป็นจริง เมื่อเขารู้ชัดซึ่งความเกิด ความตั้งอยู่ ไม่ได้คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งทิฏฐิทั้งหลาย ตามความเป็นจริง ความกำหนัด เพราะทิฏฐิ ความเพลิดเพลินเพราะทิฏฐิ ความเยื่อใยเพราะทิฏฐิ ความหมกมุ่น เพราะทิฏฐิ ความกระหาย เพราะทิฏฐิ ความเร่าร้อน เพราะทิฏฐิ ความหยั่งลงใน ทิฏฐิ และความทะยานอยาก เพราะทิฏฐิ ในทิฏฐิทั้งหลาย ย่อมไม่เกิดขึ้น ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่าความพรากจากทิฏฐิโยคะ ความพราก จากกามโยคะ ความพรากจากภวโยคะ ความพรากจาก ทิฏฐิโยคะ เป็นดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ก็ความพรากจากอวิชชาโยคะเป็นอย่างไร บุคคลบางคน ในโลกนี้ ย่อมรู้ชัดซึ่งย่อมรู้ชัด ซึ่งความเกิด (สมุทย) ความตั้งอยู่ไม่ได้ (อตฺถงฺคม) คุณ (อสฺสาท) โทษ(อาทีนว) และอุบาย เครื่องสลัดออก (นิสฺสรณ) แห่ง ผัสสายตนะ๖ ประการ ตามความเป็นจริง เมื่อเขารู้ชัดซึ่งความเกิด ความตั้งอยู่ไม่ได้ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออก แห่งผัสสายตนะ ๖ ประการ ตามความเป็นจริง ความไม่รู้ ความไม่หยั่งรู้ในผัสสายตนะ ๖ ประการ ย่อมไม่เกิดขึ้น นี้เราเรียกว่า ความพรากจาก อวิชชาโยคะ ความพราก จากกามโยคะ ความพรากจากภวโยคะ ความพรากจากทิฏฐิโยคะเป็นดังนี้

บุคคลผู้พรากจากอกุศลธรรมอันเป็นบาป อันเป็นเครื่องเศร้าหมอง เป็นเหตุให้เกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก มีชาติ ชรา และ มรณะต่อไปอีก ฉะนั้น เราจึงเรียกว่า ผู้เกษมจากโยคะ.

ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล ความพรากจากโยคะ๔ ประการ.

หน้า 298

106
เหตุสำเร็จความปรารถนา (นัยที่ ๑)

-บาลี อุปริ. ม. ๑๔/๒๑๗/๓๑๘.

ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงเหตุสำเร็จความปรารถนาแก่เธอทั้งหลาย พวกเธอจงฟังเหตุสำเร็จ ความปรารถนานั้น จงทำในใจให้ดี เราจักกล่าว.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เธอมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า “โอหนอ เราเมื่อตายไปแล้ว พึงเข้าถึงความเป็นสหาย แห่งกษัตริย์มหาศาลเถิด” ดังนี้ก็มี

เธอมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า “โอหนอ เราเมื่อตายไปแล้ว พึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่ง พราหมณ์มหาศาลเถิด” ดังนี้ก็มี

เธอมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า “โอหนอเราเมื่อตายไปแล้วพึงเข้าถึงความเป็นสหาย แห่ง คหบดีมหาศาลเถิด” ดังนี้ก็มีเธอ จึงตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น ความปรารถนาและ วิหารธรรมเหล่านั้น อันเธอเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้ว อย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความสำเร็จ ในภาวะนั้นๆภิกษุทั้งหลาย นี้มรรค นี้ปฏิปทา เป็นไปเพื่อความสำเร็จในภาวะนั้นๆ.

ภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เธอได้ฟังมาว่าเทวดาชั้น จาตุมหาราชิกา ... เทวดาชั้นดาวดึงส์ ... เทวดาชั้นยามา ... เทวดาชั้นดุสิต เทวดาชั้นนิมมานรดี ... เทวดาชั้น ปรนิมมิตวสวัสตี มีอายุยืน มีวรรณะ มากด้วยความสุขเธอมีความ ปรารถนาอย่างนี้ ว่า “โอหนอ เราเมื่อตายไปแล้วพึงเข้าถึง ความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นนั้นๆ เถิด” ดังนี้

เธอจึงตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น ความปรารถนาและวิหารธรรมเหล่านั้น อันเธอเจริญแล้ว อย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความสำเร็จ ในภาวะนั้นๆ ภิกษุทั้งหลาย นี้มรรค นี้ปฏิปทา เป็นไปเพื่อวามสำเร็จ ในความเป็น สหายแห่งเทวดาเหล่านั้นๆ.

ภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เธอได้ฟังมา ว่า สหัสสพรหม ... ทวิสหัสสพรหม ... ติสหัสสพรหม ...จตุสหัสสพรหม ... ปัญจสหัสสพรหม ... ทสสหัสสพรหม... สตสหัสสพรหม มีอายุยืน มีวรรณะ มากด้วยสุข ... เธอมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า “โอหนอ เราเมื่อตายไปแล้วพึงเข้าถึงความเป็นสหาย แห่งพรหมเหล่านั้นๆ เถิด” ดังนี้

เธอจึงตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น ความปรารถนาและวิหารธรรมเหล่านั้น อันเธอเจริญแล้ว อย่างนี้ ทำให้มากแล้ว อย่างนี้ ย่อมเป็นไป เพื่อความสำเร็จ ในภาวะนั้นๆ ภิกษุทั้งหลาย นี้มรรค นี้ปฏิปทา เป็นไปเพื่อความสำเร็จ ในความเป็นสหายแห่งพรหมเหล่านั้นๆ.

ภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เธอได้ฟังมา ว่า เทวดาชั้นอาภา ... เทวดาชั้นปริตตาภา ... เทวดาชั้น อัปปมาณาภา ... เทวดาชั้นอาภัสสรา ... เทวดาชั้นสุภา... เทวดาชั้นปริตตสุภา... เทวดาชั้นอัปปมาณสุภา ... เทวดาชั้นสุภกิณหา ... เทวดาชั้นเวหัปผลา ... มีอายุยืน มีวรรณะมากด้วยความสุข เธอมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า “โอหนอ เราเมื่อตายไปแล้ว พึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นนั้นๆ เถิด” ดังนี้

เธอจึงตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น ความปรารถนาและวิหารธรรมเหล่านั้น อันเธอเจริญแล้ว อย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความสำเร็จ ในภาวะ นั้นๆ ภิกษุทั้งหลาย นี้มรรค นี้ปฏิปทา เป็นไปเพื่อความสำเร็จ ในความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นนั้นๆ.

ภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เธอได้ฟังมา ว่า เทวดาชั้นอวิหา ... เทวดาชั้นอตัปปา ... เทวดาชั้น สุทัสสา ... เทวดาชั้นสุทัสสี ... เทวดาชั้น อกนิฏฐา มีอายุยืน มีวรรณะมาก ด้วยความสุข เธอมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า “โอหนอเราเมื่อตายไป แล้ว พึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นนั้นๆ เถิด”

เธอจึงตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้นความปรารถนาและวิหารธรรมเหล่านั้น อันเธอเจริญแล้ว อย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความสำเร็จ ในภาวะนั้นๆ ภิกษุทั้งหลาย นี้มรรค นี้ฏิปทา เป็นไปเพื่อความสำเร็จ ในความเป็น สหายแห่งเทวดาชั้นนั้นๆ.

ภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เธอได้ฟังมา ว่า เทวดาผู้เข้าถึง อากาสานัญจายตนภพ ... เทวดาผู้เข้าถึง วิญญาณัญจายตนภพ ... เทวดาผู้เข้าถึง อากิญจัญญายตนภพ... เทวดาผู้เข้าถึง เนวสัญญานาสัญญายตนภพ มีอายุยืนดำรงอยู่นาน มากด้วยความสขุ เธอมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า “โอหนอ เราเมื่อตายไปแล้ว พึงเข้าถึงความเป็น สหายแห่งเทวดาผู้เข้าถึงภพนั้นๆ เถิด”

เธอจึงตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น ความปรารถนาและวิหารธรรมเหล่านั้น อันเธอเจริญแล้ว อย่างนี้ ทำให้มากแล้ว อย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความสำเร็จ ในภาวะนั้นๆ ภิกษุทั้งหลาย นี้มรรคนี้ ปฏิปทา เป็นไปเพื่อความสำเร็จ ในความเป็นสหายแห่งเทวดาผู้เข้าถึงภพนั้นๆ.

ภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วย ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เธอมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า “โอหนอ เราพึงเข้าถึงเจโตวิมุตติ ปัญญา วิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญา อันยิ่ง เอง ในปัจจุบัน เข้าถึงแล้วแลอยู่”

เธอจึงเข้าถึงเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่ง อาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งเองใน ปัจจุบัน เข้าถึงแล้วแลอยู่ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้ย่อมไม่เกิดในที่ไหนๆ.

หน้า 303

107
เหตุสำเร็จความปรารถนา (นัยที่ ๒)

-บาลี มู. ม. ๑๒/๕๘/๗๓.

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นมีศีลอันสมบูรณ์มีปาติโมกข์ อันสมบูรณ์อยู่เถิด จงเป็นผู้สำรวม ด้วยความสำรวมใน ปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจาระ และโคจร อยู่เถิด จงเป็นผู้มีปกติเห็นภัยในโทษทั้งหลาย แม้มีประมาณน้อยสมาทานศึกษา ในสิกขาบททั้งหลายเถิด.

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า ขอเราพึงเป็นที่รักเป็นที่ชอบใจ เป็นที่เคารพ และเป็นผู้ควรยกย่อง ของเพื่อน พรหมจรรย์ทั้งหลายเถิดดังนี้ ภิกษุนั้น พึงกระทำ ให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรม อันเป็นเครื่องสงบแห่งใจ ในภายใน ไม่เหินห่าง จากฌาน ประกอบด้วยวิปัสสนา และให้วัตรของผู้อยู่ สุญญาคารเจริญงอกงาม.

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า ขอเราพึงได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เถิดดังนี้ … .

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราบริโภคจีวรบิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย เภสัชบริขาร ของเทวดา หรือ มนุษย์เหล่าใด สักการะเหล่านั้น ของเทวดา และมนุษย์เหล่านั้นพึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่เถิด ดังนี้ … .

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า ญาติและสาโลหิตของเราเหล่าใด ล่วงลับทำกาละไปแล้ว มีจิตเลื่อมใสระลึกถึงอยู่ ความระลึกถึงด้วยจิตอันเลื่อมใส ของญาติ และสาโลหิตเหล่านั้น พึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่เถิด ดังนี้ … .

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงเป็นผู้ข่มความไม่ยินดี และความยินดีได้ อนึ่ง ความไม่ยินดี อย่าพึงครอบงำ เราได้เลย เราพึงครอบงำย่ำยี ความไม่ยินดี อันเกิดขึ้นแล้วได้อยู่เถิด ดังนี้ … .

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุพึงหวังว่า เราพึงเป็นผู้ข่มความกลัวและความขลาดได้ อนึ่ง ความกลัวและ ความขลาด อย่าพึง ครอบงำเราได้เลย เราพึงครอบงำ ย่ำยี ความกลัว และความขลาดที่เกิดขึ้นแล้ว ได้อยู่เถิด ดังนี้ … .

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงเป็นผู้ได้ฌานทั้ง ๔ อันเกิดขึ้น เพราะจิตยิ่ง เป็นธรรมเครื่อง อยู่เป็นสุข ในทิฏฐธรรมตามความปรารถนา พึงได้ไม่ยาก ไม่ลำบากเถิด ดังนี้ … .

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงถูกต้องด้วยกายซึ่งวิโมกข์อันสงบ อันไม่มีรูป เพราะก้าวล่วง รูปเสียได้อยู่เถิด ดังนี้ … .

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงเป็นโสดาบัน เพราะความสิ้นไปแห่ง สังโยชน์ ๓ พึงเป็นผู้มีอันไม่ตก่ตำ เป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงมีอันตรัสรู้ เป็นเบื้องหน้า เถิดดังนี้ … .

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงเป็นสกทาคามี เพราะความสิ้นไปแห่ง สังโยชน์ ๓ (และ) เพราะราคะ โทสะ และโมหะเบาบาง มาสู่โลกนี้เพียงครั้งเดียว เท่านั้น แล้วจะทำที่สุดทุกข์ได้เถิด ดังนี้ … .

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงเป็นโอปปาติกะ เพราะความสิ้นไป แห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ พึงปรินิพพาน ในภพนั้น มีอันไม่กลับมาจากโลกนั้น เป็นธรรมดาเถิด ดังนี้ … .

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงบรรลุอิทธิวิธีหลายประการ … .

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงได้ยินเสียงทั้ง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์ และเสียงมนุษย์ … .

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่น ด้วยใจ … .

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก … .

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติเลว ประณีต มีผิวพรรณดีมีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ … .

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะ ทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่เถิดดังนี้ ภิกษุนั้นพึง เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรม อันเป็นเครื่องสงบแห่งใจในภายใน ไม่เหินห่างจากฌาน ประกอบด้วยวิปัสสนา และให้วัตรของผู้อยู่ สุญญาคารเจริญงอกงาม.

คำใด ที่เรากล่าวแล้วว่า ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นมีศีลอันสมบูรณ์ มีปาติโมกข์ อันสมบูรณ์อยู่เถิดเธอทั้งหลาย จงเป็นผู้สำรวมด้วยความสำรวม ในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาท และโคจรอยู่เถิด เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มี ปกติเห็น ภัยในโทษทั้งหลาย แม้มีประมาณน้อย สมาทาน ศึกษาในสิกขาบท ทั้งหลายเถิด ดังนี้ คำนั้น อันเราอาศัยอำนาจประโยชน์นี้ จึงได้กล่าวแล้ว.