เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
    พระสูตรสั้น
   ค้นหาคำที่ต้องการ       

 
พระสูตรสั้น พระสูตรโดยย่อ
  พระสูตรสั้น ชุด2 ทางลัด.. คลิกดูพระสูตรที่เป็นตัวเลข
 
  (คลิก)
S2-41 ตถาคตผู้บังเกิดแล้ว (รู้แจ้งโลก เป็นครูเทวดา-มนุษย์)
S2-42 ทรงประกาศธรรมจักร ที่อิสิปตนมฤคทายวัน (อริยสัจจ์)
S2-43 ผู้ที่ทำลายสงฆ์ให้แตกแยกกัน (แสดงสิ่งไม่ใช่เป็นธรรม..)
S2-44 อย่าฟังธรรมของคนอื่น (เป็นเรื่องนอกแนว..)
S2-45 ให้ฟังแต่คำของตถาคต (เป็นข้อความลึก มีความหายซึ้ง..
S2-46 ขันธ์ ๕ เป็นไฉน (รูปขันธ์ เวทนาขันธ์..)
S2-47 อุปาทานขันธ์ ๕ (ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งรูป..)
S2-48 ปุณโณวาทสูตร (ภิกษุเดินทางไปชนบท)
S2-49 ศีล สมาธิ (กู้หนี้ ใช้หนี้)
S2-50 ภพ หรือ กรรม คือผืนนา (คือวิญญาณฐิติใน 4 ธาตุ)
   
S2-51 มิจฉาทิฐิเรื่องกรรม 4 แบบ (กรรมไม่ได้จากตนเองบันดาล..)
S2-52 แผ่นดินไหวเนื่องด้วยการแสดงธรรมจักร (ทั่วทั้งโลกธาตุ)
S2-53 เกิดแสงสว่างเนื่องด้วยการแสดงธรรมจักร (ไปถึงนรก)
S2-54 โสดาบัน คุณสมบัติของโสดาบัน (ความหมายหลายนัยยะ)
S2-55 องค์ประกอบของผัสสะ มี 3 สิ่งเสมอ(ตา+รูป+วิญญาณ)
S2-56 สังโยชน์สิบ (โอรัมภาคิยสังโยชน์ อุทธัมภาคิยสังโยชน์)
S2-57 เต่าตาบอด (อุปมาแอกไม้ไผ่กับการเกิดเป็นมนุษย์)
S2-58 เครื่องวัดความก้าวหน้าของจิต (ดับเร็วเหมือนกระพริบตา)
S2-59 อินทรีย์5 เครื่องวัดการบรรลุธรรม ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา
S2-60 ให้ทานกับบุคคลต่างกัน จะได้อนิสงส์ต่างกัน
   
S2-61 มนุษย์เป็นอันมาก ได้ยึดถือเอาที่พึ่งผิดๆ (ต้องรู้ มรรค8)
S2-62 โลกธรรม 8 (พระพุทธเจ้าทรงตำหนิลาภสักการะ)
S2-63 คำสอนอื่นเหมือนแสงหิงห้อย (คำตถาคตเหมือนแสงอาทิตย์)
S2-64 อนุสาสนีปาฏิหาริย์ (คำพูดที่เป็นไปเพื่อการหลุดพ้น)
S2-65 การทำบุญ (ตั้งแต่สัตว์เดรัจฉาน จนถึงอริยะ)
S2-66 ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับไม่อาจจะหลุดพ้น (รู้จักการปล่อยวาง)
S2-67 ประโยชน์ของผู้ได้สดับในธรรม (สุตตะ)
S2-68 สติปัฎฐาน 4 ที่เที่ยวของจิต (สติปัฏฐาน4 กาย เวทนา จิต ธรรม)
S2-69 นิพพาน สิ่งสิ่งหนึ่ง (ขันธ์5ไม่อาจหยั่งลงได้)
S2-70 สัทธานุสารี ธัมมานุสารี (รู้ขันธ์5 ไม่เที่ยง รับประกันความตาย)
   
S2-71 ความหมายของคำว่า “สัตว์” (คือ ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา)
S2-72 ทุกข์ : อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์
S2-73 ทุกขัง ความหมายของทุกขัง (เสื่อม แตกสลาย)
S2-74 เทวดาตายจะมีอาการ 5 อย่างดังนี้ เหงื่อออกรักแร้..
S2-75 มนุษย์มีดีกว่าเทวดา 3 เรื่อง สติ กล้าหาญ ประพฤติพรหม..
S2-76 ทรงประพฤติพรหมจรรย์ ไม่ได้ให้เขานับถือ (ต้องให้ปัญญา)
S2-77 คำสอนที่ทรงสั่งสอนบ่อยมาก (ขันธ์5 ไม่เที่ยง)
S2-78 “สิ่งนั้น” หาพบในกายนี้ (ที่สุดแแห่งโลก อยู่ในกายนี้)
S2-79 พระโสดาบันประกอบพร้อมแล้ว ด้วยอริยมรรคมีองค์แปด
S2-80 พระโสดาบัน รู้จักปัญจุปาทานขันธ์ รู้จักรสอร่อยและทางออก
 
ต่อชุด 3
 
 

พระสูตรสั้น ชุด2 (80 พระสูตร)


41
ตถาคตผู้บังเกิดแล้ว

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ตถาคตเกิดขึ้นในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์
ผู้ตรัสรู้ชอบด้วยตนเอง สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ
ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกคนที่ควรฝึกไม่มี
ใครยิ่งกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้เบิกบาน
แล้วจำแนกธรรมออกสั่งสอนสัตว์.

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ตถาคตนั้น ได้ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้
กับทั้งเทวดา มาร พรหม ซึ่งหมู่สัตว์ กับทั้งสมณพราหมณ์
พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว
ประกาศให้ผู้อื่นรู้แจ้งตามตถาคตนั้น แสดงธรรมไพเราะ
ในเบื้องต้น ในท่ามกลาง และในที่สุด
ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถะ
พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง.

คหบดีหรือบุตรคหบดี หรือคนที่เกิดในตระกูล
อื่นใดในภายหลัง ย่อมฟังธรรมนั้น. ครั้นฟังแล้ว ย่อมเกิด
ศรัทธาในตถาคต. กุลบุตรนั้นผู้ประกอบอยู่ด้วยศรัทธา
ย่อมพิจารณาเห็นว่า ฆราวาส คับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี;
ส่วน บรรพชา เป็นโอกาสว่าง
มันไม่เป็นไปได้โดยง่ายที่เราผู้อยู่ครองเรือนเช่นนี้
จะประพฤติพรหมจรรย์นั้น ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์โดย
ส่วนเดียว เหมือนสังข์ที่เขาขัดสะอาดดีแล้ว.

ถ้ากระไรเราพึงปลงผมและหนวด ครองผ้าย้อมฝาด
ออกจากเรือนไปบวชเป็นผู้ไม่มีเรือนเถิด....” .


42
ทรงประกาศธรรมจักร ที่อิสิปตนมฤคทายวัน
(ประกาศความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค)

ภิกษุ ท. ! ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ได้ประกาศ อนุตตรธรรมจักร ให้เป็นไปแล้ว
ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้นครพาราณสี, เป็นธรรมจักร
ที่สมณะหรือพราหมณ์, เทพ มาร พรหม หรือใครๆในโลก
จะต้านทานให้หมุนกลับมิได้

ข้อนี้คือ การบอก การแสดง การบัญญัติ การแต่งตั้ง
การเปิดเผยการจำแนก และการทำให้ตื้น
ซึ่งความจริงอันประเสริฐสี่ประการ :

สี่ประการได้แก่
ความจริงอันประเสริฐ คือ
ทุกข์
ความจริงอันประเสริฐ คือ
เหตุให้เกิดทุกข์
ความจริงอันประเสริฐ คือ
ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์
และ ความจริงอันประเสริฐ คือ
ทางทำผู้ปฏิบัติให้ลุถึง
ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.


43
ผู้ที่ทำลายสงฆ์ให้แตกแยกกัน
(แสดงธรรมอื่น ว่าเป็นธรรมะของพระพุทธเจ้า)

ผู้ทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันให้แตกกัน ฯ
ย่อมเสวยกรรมอยู่ใน
นรกตลอดกัปหนึ่ง

ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมแสดงสิ่งที่ ไม่ใช่ธรรม ว่า เป็นธรรม
ย่อมแสดงสิ่งที่ เป็นธรรม ว่า ไม่ใช่ธรรม
ย่อมแสดงสิ่งที่ ตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้ว่า ตถาคตบัญญัติ ไว้
ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้ว่า ตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้



44

อย่าฟังธรรมของคนอื่น

"ภิกษุทั้งหลาย ! พวกภิกษุบริษัทในกรณีนี้
สุตตันตะเหล่าใด ที่กวีแต่งขึ้นใหม่เป็นคำร้อยกรอง
ประเภทกาพย์กลอน มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร
เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวก

เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่

เธอจักไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง
และจักไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน"



45
ให้ฟังแต่คำของตถาคต

"ภิกษุทั้งหลาย ! ส่วนสุตตันตะเหล่าใดที่เป็นคำของตถาคต
เป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ
ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญาตา เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่

เธอย่อมฟังด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟัง ย่อมตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง
และย่อมสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน


จึงพากันเล่าเรียนไต่ถาม ทวนถามแก่กันและกันอยู่ว่า
"ข้อนี้เป็นอย่างไร? มีความหมายกี่นัย?" ดังนี้.

ด้วยการทำดังนี้ เธอย่อมเปิดธรรมที่ถูกปิดไว้ได้.
ธรรมที่ยังไม่ปรากฎเธอก็ทำให้ปรากฎได้,
ความสงสัยในธรรมหลายประการที่น่าสงสัยเธอก็บรรเทาลงได้"



46
ขันธ์ ๕
รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงขันธ์ ๕ และอุปาทานขันธ์ ๕
เธอทั้งหลายจงฟัง.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ขันธ์ ๕ เป็นไฉน ?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอดีต อนาคต
และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด
เลวหรือประณีต อยู่ในที่ไกลหรือใกล้.
นี้เรียกว่า รูปขันธ์.

เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ นี้เรียกว่า เวทนาขันธ์
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ
นี้เรียกว่า สัญญาขันธ์

สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ฯลฯ นี้เรียกว่า สังขารขันธ์

วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน
เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต
อยู่ในที่ไกลหรือใกล้. นี้เรียกว่า วิญญาณขันธ์.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เรียกว่า ขันธ์ ๕.



47
อุปาทานขันธ์ ๕
(ความยึดในขันธ์ ยึดในรูป ยึดในเวทนา..สัญญา สังขาร วิญญาณ)

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อุปาทานขันธ์ ๕  
ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน
เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด
เลวหรือประณีต อยู่ในที่ไกลหรือใกล้
เป็นไปกับด้วยอาสวะ เป็นปัจจัยแก่อุปาทาน.

นี้เรียกว่า อุปาทานขันธ์คือรูป
แปลว่า ขันธ์เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน คือ รูป

เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ นี้เรียกว่า อุปาทานขันธ์คือเวทนา
แปลว่า ขันธ์เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน คือ เวทนา

สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ นี้เรียกว่า อุปาทานขันธ์คือสัญญา
แปลว่า ขันธ์เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน คือ สัญญา

สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ฯลฯ นี้เรียกว่า อุปาทานขันธ์คือสังขาร
แปลว่า ขันธ์เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน คือ สังขาร

วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน
เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต
อยู่ในที่ไกลหรือใกล้ เป็นไปกับด้วยอาสวะ เป็นปัจจัยแก่อุปาทาน.
นี้เรียกว่า. อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ แปลว่า ขันธ์เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน คือ วิญญาณ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เรียกว่า อุปาทานขันธ์ ๕.



48
ปุณโณวาทสูตร
(ภิกษุปุณณะ จะเดินทางไปชนบทที่ชาวเมืองมีนิสัยดุร้าย)

พระผู้มีพระภาคทรงให้โอวาทโดยย่อแก่พระปุณณะว่า

รูปที่พึงรู้ได้ด้วยจักษุ เสียงที่พึงรู้ได้ด้วยโสต กลิ่นที่พึงรู้ได้ด้วยฆานะ
รสที่พึงรู้ได้ด้วยชิวหา โผฏฐัพพะที่พึงรู้ได้ด้วยกาย
ธรรมารมณ์ที่พึงรู้ได้ด้วยมโน อันน่าปรารถนา น่าใคร่
น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด มีอยู่

เมื่อภิกษุเพลิดเพลิน ชมเชย ยึดติด รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
ธรรมารมณ์ นั้น ความเพลิดเพลินย่อมเกิดขึ้น
เพราะความเพลิดเพลินเกิด ทุกข์จึงเกิด

เมื่อภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่ชมเชย ไม่ยึดติด รูป เสียง กลิ่น รส
โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ นั้น ความเพลิดเพลินย่อมดับ
เพราะความเพลิดเพลินดับ ทุกข์จึงดับ

เมื่อพระปุณณะทูลพระพุทธเจ้าว่า ตนจะเดินทางไปยัง สุนาปรันต ชนบท
พระพุทธเจ้าตรัสว่า ชาวสุนาปรันตชนบทดุร้ายหยาบช้า
หากชาวสุนาปรันตชนบททำร้ายพระปุณณะ ท่านจะทำอย่างไร

- ถ้าชาวสุนาปรันตชนบทด่า บริภาษ ตน พระปุณณะจะคิดว่า
  ยังดีนักหนาที่ไม่ได้ประหารเราด้วยฝ่ามือ

- ถ้าชาวสุนาปรันตชนบท ประหารด้วยฝ่ามือ พระปุณณะจะมีความคิดว่า
  ยังดีนักหนาที่ไม่ให้การประหารเราด้วยก้อนดิน

- ถ้าชาวสุนาปรันตชนบท ประหารด้วยก้อนดิน พระปุณณะจะมีความคิดว่า
  ยังดีนักหนาที่ไม่ให้การประหารเราด้วยท่อนไม้

- ถ้าชาวสุนาปรันตชนบท ประหารด้วยท่อนไมพระปุณณธจะมีความคิดว่า
  ยังดีนักหนาที่ไม่ให้การประหารเราด้วยศาสตรา

- ถ้าชาวสุนาปรันตชนบท ประหารด้วยศาสตรา พระปุณณะจะมีความคิดว่า
  ยังดีนักหนาที่ไม่ปลิดชีพเราเสียด้วยศาสตราอันคม

- ถ้าชาวสุนาปรันตชนบท ปลิดชีพ ตนเสียด้วยศาสตราอันคม
  พระปุณณะจะมีความคิดว่า มีเหล่าสาวกของพระผู้มีพระภาค
  ที่อึดอัดเกลียดชังร่างกายและชีวิต พากันแสวงหาศาสตราสังหารชีพอยู่
  แต่เราไม่ต้องแสวงหาสิ่งดังนั้นเลย ก็ได้ศาสตราสังหารชีพแล้ว

พระพุทธเจ้ากล่าวว่า พระปุณณะ ประกอบด้วย ทมะ (ข่มจิต)
และ อุปสมะ (สงบ ระงับใจ) จักสามารถอยู่ในสุนาปรันตชนบทได้

ท่านพระปุณณะได้เดินทางจาริกไปยังสุนาปรันตชนบท
ได้ให้พวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบท กลับใจแสดงตนเป็น อุบาสก
ประมาณ ๕๐๐ คน อุบาสิกาประมาณ ๕๐๐ คน ภายในพรรษานั้นเอง
และตัวท่านได้ ทำให้แจ้งซึ่งวิชชา๓ ภายในพรรษานั้นเช่นกัน

ต่อมา ท่านปุณณกุลบุตรได้ทำกาละ พระพุทธเจ้าได้ตรัสว่า
ท่านพระปุณณะ ได้บรรลุธรรมสมควรแก่ธรรม ไม่ได้ทำให้ทรงลำบาก
เพราะเหตุแห่งธรรม
และได้ปรินิพพาน



49

ศีล สมาธิ

ผิดศีล เท่ากับ กู้หนี้
กังวลใจในขณะนั่งสมาธิ เท่ากับ ใช้หนี้

ความกังวล คือ เพื่อนสอง (วิปัติศาน บริโภชกังวล)

การรักษาศีล จึงมีความจำเป็น ทำให้ไม่มีความกังวลใจ
ในขณะนั่งสมาธิ ไม่ว่าจะอยู่ป่า หรือวิเวก

ทำศีลให้บริสุทธิ์ ไม่กังวล ปิติก็เกิดง่าย สุขเกิดง่าย



50
ภพ หรือ กรรม คือ ผืนนา

กรรมก็คือวิญญาณทิฐิที่มี 4 ธาตุ คือ
1 รูป คือมหาภูตธาตุ 4 ดิน น้ำ ไฟ ลม มันคือกรรม
2 เวทนา สุข ทุกข์ อทุกขมเวทนา(ความรู้สึกเฉยๆ) มันคือกรรม
3 สัญญา จำได้หมายรู้ มันคือกรรม
4 สังขาร ความปรุงแต่ง มันคือกรรม

นามธรรมทั้ง 4 ถูกรู้โดยวิญญาณ หรือจิต
ดังนั้นกรรม จึงไม่ได้เกิดจากผู้อื่นบันดาล
มิจฉาทิฐิแบบที่ 1 (จะหมดไป)

คนที่ยังไม่ถึงโสดาบัน จะมีมิจฉาทิฐิ 4 อย่าง



51
มิจฉาทิฐิเรื่องกรรม 4 แบบ

มิจฉาทิฐิแบบที่ 1
เขาจะคิดว่า กรรม หรือ สุข-ทุกข์ เกิดจากผู้อื่นบันดาล
จะคิดว่าพรหมบันดาล อิศวรบันดาล ภูเขาศักดิ์สิทธิบันดาล
ป่าไม้ศักดิ์สิทธิ์บันดาล เครื่องรางของขลังบันดาล
ให้สัตว์ดีเลว หรือไปอย่างนั้นอย่างนี้

มิจฉาทิฐิแบบที่ 2
เขาจะคิดว่า กรรม หรือ สุข-ทุกข์ เกิดจากตนเองบันดาล

มิจฉาทิฐิแบบที่ 3
เขาจะคิดว่า กรรม หรือ สุข-ทุกข์ เกิดจากทั้งตนเองบันดาล
และผู้อื่นบันดาล

มิจฉาทิฐิแบบที่ 4
เขาจะคิดว่า กรรม หรือ สุข-ทุกข์ เกิดมาเองลอยๆ
โดยปราศจากสาเหตุ

เมื่อเกิดควมเห็นผิดทั้ง 4 อย่าง จึงเกิดพิธีกรรม
โดยคิดว่าสิ่งนั้นสิ่งนี้จะดลบันดาล
ให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ได้ ซึ่งพระศาสดาปฎิเสธ
และยังตรัสว่า สัตว์ทั้งหลายจะเป็น ไปตามกรรม

ได้แก่ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ของสัตว์เหล่านั้น


52
แผ่นดินไหวเนื่องด้วยการแสดงธรรมจักร

ดูก่อนอานนท์ ! เหตุปัจจัยที่ทำให้ปรากฏการไหว
แห่งแผ่นดินอันใหญ่หลวง มีอยู่แปดประการ. ....

ดูก่อนอานนท์ ! เมื่อใด ตถาคตย่อมยังธรรมจักร
อันไม่มีจักรอื่นยิ่งกว่าให้เป็นไป
เมื่อนั้น แผ่นดินย่อมหวั่นไหว
ย่อมสั่นสะเทือน ย่อมสั่นสะท้าน.

อานนท์ ! นี้แล เป็นเหตุปัจจัยคำรบหก แห่งการ
ปรากฏการไหวของแผ่นดินอันใหญ่หลวง.

(ตรัสแก่พระอานนท์ ที่ปาวาลเจดีย์ เมืองเวสาลี)



53
เกิดแสงสว่างเนื่องด้วยการแสดงธรรมจักร

ภิกษุ ท. ! เมื่อใดตถาคตประกาศอนุตตรธรรมจักร,
เมื่อนั้นในโลกนี้ และเทวโลก มารโลก พรหมโลก
ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาพร้อมทั้งมนุษย์
ย่อมเกิดแสงสว่างอันยิ่ง หาประมาณมิได้
ยิ่งกว่าเทวนุภาพของเทวดา.

ในโลกันตริกนรกอันเปิดโล่งเป็นนิจ แต่มืดมิด
จนหาการเกิดแห่งจักขุวิญญาณมิได้
อันแสงแห่งดวงจันทร์ และ ดวงอาทิตย์
ที่มีฤทธิ์อานุภาพอย่างนี้ส่องไปไม่ถึง

ณ ที่นั้นแสงสว่างอันยิ่งจนประมาณมิได้
ยิ่งกว่าเทวานุภาพ ย่อมบังเกิดขึ้น.
สัตว์ที่เกิดอยู่ ณ ที่นั้น จะรู้จักกันได้ด้วยแสงสว่างนั้น



54
คุณสมบัติของโสดาบัน

โสดาบัน - จะห่างไกลจากมิฉาทิฐิทั้งปวง
              (ความเห็นผิด ความเข้าใจผิดในแบบต่างๆ)
โสดาบัน - จะไม่เชื่อว่ากรรม เกิดจากผู้อื่นบันดาล ตนเองบันดาล
              ทั้งตนเองและผู้อื่นบันดาล จะไม่เชื่อว่าเกิดขึ้นมาลอยๆ
โสดาบัน - จะห่างจากสีลัพพตปรามาส ความลูบคลำในศิลพรต
              (สีลัพพตปรามาส หมายความถึงความยึดมั่นถือมั่น
              อยู่ในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือศีลพรตภายนอกพระพุทธศาสนา)
โสดาบัน - เป็นผู้สมบูรณ์แล้วด้วยทืฐิ
โสดาบัน - ผู้ยืนอยู่จรดประตูแห่งอมตะ
โสดาบัน - เป็นผู้มีธรรมอันไม่เสื่อม
โสดาบัน - จะไม่ไปเกิดอีกแล้วในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
โสดาบัน - ภพของโสดาบันมี 2 คติ ไม่มนุษย์ก็เทวดา
โสดาบัน - เป็นที่เที่ยงแท้ต่อนิพพาน มีการตรัสรู้พร้อม
              ในเบื้องหน้าแน่นอน (พระองค์รับประกัน)

พระองคฺ์ตรัสว่า มหาพุทธธาตุ 4 ดิน น้ำ ไฟ ลม ยังมีความแปรปรวน
แต่ความเป็นโสดาบันไม่มีความแปรปรวน เที่ยงแท้ คงที่
ดังนั้นเราต้องทำความดีให้ถึงระดับความดีที่คงที่
ไม่เช่นนั้นเราต้องไปเกิดในนรก กำเนิดเดรัจฉาน เปรตวิสัย



55
องค์ประกอบของผัสสะ มี 3 สิ่งเสมอ
(ธรรมอันเป็นเหตุ ที่ทำให้เกิดเวทนา)

สัมผัส หรือ ผัสสะ มีหกอย่าง คือ
1 จักขุสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางตา คือ ตา+รูป+จักขุวิญญาณ
2 โสตสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางหู คือ หู+เสียง+โสตวิญญาณ
3 ฆานสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางจมูก คือ จมูก+กลิ่น+ฆานวิญญาณ
4 ชิวหาสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางลิ้น คือ ลิ้น+รส+ชิวหาวิญญาณ
5 กายสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางกาย คือ กาย+โผฏฐัพพะ
    (เช่น ร้อน เย็น อ่อน แข็ง)+กายวิญญาณ
6 มโนสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางใจ คือ ใจ+ธรรมารมณ์
    (สิ่งที่ใจนึกคิด)+มโนวิญญาณ

สุข ทุกข์ เกิดจากสัมผัสหรือผัสสะ



56
สังโยชน์

สังโยชน์ คือ กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ หรือกิเลส
เครื่องร้อยรัดจิตใจให้จมในวัฏฏะ มี 10 อย่าง คือ

ก. โอรัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องต่ำ 5 ได้แก่
        1. สักกายทิฏฐิ - มีความเห็นว่าร่างกายนี้เป็นของเรา
            มีความยึดมั่นถือมั่นในระดับหนึ่ง
        2. วิจิกิจฉา - มีความสงสัยในคุณของพระรัตนตรัย
           คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
        3. สีลัพพตปรามาส - ความถือมั่นศีลพรต
            โดยสักว่าทำตามๆ กันไปอย่างงมงาย
        4. กามราคะ - มีความติดใจในกามคุณ (ราคะ)
        5. ปฏิฆะ - มีความกระทบกระทั่งในใจ (โทสะ โมหะ)

ข. อุทธัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องสูง 5 ได้แก่
        6. รูปราคะ - มีความติดใจในวัตถุหรือรูปฌาน
        7. อรูปราคะ - มีความติดใจในอรูปฌาน หรือความพอใจ
           ในนามธรรม ทั้งหลาย
        8. มานะ - มีความยึดมั่นถือมั่นในตัวตนหรือคุณสมบัติของตน
        9. อุทธัจจะ - มีความฟุ้งซ่าน
       10. อวิชชา - มีความไม่รู้จริง

โสดาบัน ละสังโยชน์ 3 ข้อต้นได้คือ หมด
            สักกายทิฏฐ วิจิกิจฉา และ สีลัพพตปรามาส

สกทาคามี ทำสังโยชน์ข้อ 4 และ 5 คือ
            กามราคะ และปฏิฆะ ให้เบาบางลง (ราคะ โทสะ โมหะ)

อนาคามี ละสังโยชน์ 5 ข้อแรกได้หมด

อรหันต์ ละสังโยชน์ทั้ง 10 ข้อ



57
อุปมาแอกไม้ไผ่ กับการเกิดเป็นมนุษย์

ภิกษุ ทั้งหลาย. !
ถ้าสมมติว่า มหาปฐพีอันใหญ่หลวงนี้
มีน้ำท่วมถึง เป็นอันเดียวกันทั้งหมด

บุรุษคนหนึ่ง ทิ้งแอก (ไม้ไผ่ ?)
ซึ่งมีรูเจาะได้เพียงรูเดียว ลงไปในน้ำนั้น
ลมตะวันออกพัดให้ลอยไปทางทิศตะวันตก
ลมตะวันตกพัดให้ลอยไปทางทิศตะวันออก
ลมทิศเหนือพัดให้ลอยไปทางทิศใต้
ลมทิศใต้พัดให้ลอยไปทางทิศเหนือ อยู่ดังนี้

ในน้ำนั้น มีเต่าตัวหนึ่ง ตาบอด
ล่วงไปร้อย ๆ ปี มันจะผุดขึ้นมาครั้งหนึ่ง ๆ

ภิกษุ ทั้งหลาย. !
เธอทั้งหลาย จะสำคัญความข้อนี้ ว่าอย่างไร
จะเป็นไปได้ไหม ที่เต่าตาบอด ร้อยปีจึงจะผุดขึ้น สักครั้งหนึ่ง
จะพึงยื่นคอเข้าไปในรูซึ่งมีอยู่เพียงรูเดียวในแอกนั้น ?
“ข้อนี้ยากที่จะเป็นไปได้ พระเจ้าข้า ! ที่เต่าตาบอดนั้น
ร้อยปีผุดขึ้นเพียงครั้งเดียว จะพึงยื่นคอเข้าไปในรู
ซึ่งมีอยู่เพียงรูเดียวในแอกนั้น”

ภิกษุ ทั้งหลาย. !
ยากที่จะเป็นไปได้ ฉันเดียวกัน ที่ใคร ๆ จะพึงได้ความเป็นมนุษย์
ยากที่จะเป็นไปได้ฉันเดียวกัน ที่ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ
จะเกิดขึ้นในโลก ยากที่จะเป็นไปได้ ฉันเดียวกัน
ที่ธรรมวินัยอันตถาคตประกาศแล้วจะรุ่งเรืองไปทั่วโลก

ภิกษุ ทั้งหลาย. !
แต่ว่า บัดนี้ ความเป็นมนุษย์ ก็ได้แล้ว
ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะก็บังเกิดขึ้นในโลกแล้ว
และธรรมวินัยอันตถาคตประกาศแล้ว ก็รุ่งเรืองไปทั่วโลกแล้ว

ภิกษุ ทั้งหลาย. !
เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้พวกเธอพึงกระทำโยคกรรม(ความเพียร)
เพื่อให้รู้ว่า " นี้ ทุกข์ นี้ เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ ความดับแห่งทุกข์
นี้ หนทางให้ถึงความดับแห่งทุกข์ " ดังนี้ เถิด.

(โยคกรรม คือ การกระทำความเพียรอย่างมีระบบ อย่างแข็งขันเต็มที่
ในรูปแบบ หนึ่งๆ เพื่อให้สำเร็จ ประโยชน์ตามความมุ่งหมาย
เรียกกันง่ายๆว่า โยคะ )



58

เครื่องวัดความก้าวหน้าของจิต

อานนท์ ! อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ –ไม่เป็นที่ชอบใจ –เป็นที่ชอบใจ
และไม่เป็นที่ชอบใจ อันบังเกิดขึ้นแล้วแก่ภิกษุนั้น ย่อมดับไปเร็ว
เหมือนกระพริบตาของคน ส่วนอุเบกขายังคงเหลืออยู่

อานนท์ นี้แล เราเรียกว่า อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศ



59

อินทรีย์ 5 : เครื่องวัดในการบรรลุธรรม ความช้า-เร็ว ของสัตว์

1 ศรัทธา (ตถาคต)
2 วิริยะ (ความเพียร) สร้างอุปนิสัยในฝั่งดีเช่นฟังธรรม
3 สติ การระลึกได้
4 สมาธิ อานาปานสติ เอาใจมาอยู่กับรูป /ลมหายใจ
5 ปัญญา เห็นการทำงานของขันธ์5 รู้จิตเกิดดับ

สัมมัตตนิยาม ระบบแห่งความถูกต้อง สัปปบุรุษ ก้าวพ้นปุถุชน หากเข้าใจตามนี้
ไม่อาจที่จะกระทำกรรมที่ทำแล้วเข้าถึงนรก - กำเนิดเดรัจฉาน - เปรตวิสัย



60
ให้ทานกับบุคคลผู้ควรให้จะได้อนิสงส์ต่างกัน

(เรียงลำดับอานิสงส์จากน้อยไปมาก)
ให้ทานกับบุคคล ผู้ทุศีล... ได้อนิสงส์มากกว่าให้กับ
สัตว์เดรัจฉาน
ให้ทานกับบุคคล ผู้มีศีล... ได้อนิสงส์มากกว่า
ผู้ทุศีล
ให้ทานกับบุคคล ผู้ปราศจากกาม ....ได้อนิสงส์มากกว่า
ผู้มีศีล
ให้ทานกับ อริยะบุคคล.... ได้อนิสงส์มากกว่า
ผู้ปราศจากกาม
ที่เหลือจากนั้น ให้ผลประมาณไม่ได้


-ให้ทานกับสัตว์เดรัจฉาน ได้อานิสงส์น้อยที่สุด
-ให้ทานกับอริยบุคคลได้ อานิสงส์มากกว่าที่กล่าวมา
-ให้ทานกับ สกทาคามี อนาคามี อรหันต์ พระปัจเจก พระพุทธเจ้า
  ได้อานิสงส์มากกว่าให้กับอริยะบุคคล




61
มนุษย์เป็นอันมาก ได้ยึดถือเอาที่พึ่งผิดๆ

มนุษย์ทั้งหลายเป็นอันมาก ถูกความกลัวคุกคามเอาแล้ว ย่อมถือเอาภูเขาบ้าง
ป่าไม้ที่ศักดิ์สิทธิ์บ้าง สวนศักดิ์สิทธิ์บ้าง รุกขเจดีย์บ้าง ว่าเป็นที่พึ่งของตนๆ

นั่นไม่ใช่ที่พึ่งอันทำความเกษมให้ได้เลย นั่นไม่ใช่ที่พึ่งอันสูงสุด
ผู้ใดถือเอาสิ่งนั้นๆ เป็นที่พึ่งแล้ว ย่อมไม่หลุดพ้นไปจากทุกข์ทั้งปวงได้.

ส่วนผู้ใดที่ถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งแล้ว
เห็นอริยสัจทั้งสี่ ด้วยปัญญาอันถูกต้อง คือเห็นทุกข์
เห็นเหตุเป็นเครื่องให้เกิดขึ้นของทุกข์ เห็นความก้าวล่วงเสียได้ซึ่งทุกข์
และเห็นมรรคประกอบ ด้วยองค์แปดอันประเสริฐ
ซึ่งเป็นเครื่องให้ถึงความเข้าไปสงบรำงับแห่งทุกข์

นั่นแหละคือที่พึ่งอันเกษม นั่นคือที่พึ่งอันสูงสุด
ผู้ใดถือเอาที่พึ่งนั้นแล้ว
ย่อมหลุดพ้นไปจากทุกข์ทั้งปวง ได้แท้.



62
พระพุทธเจ้าทรงตำหนิลาภสักการะ (โลกธรรม ๘ )

“ภิกษุทั้งหลาย!
ลาภ ยศ สักการะ และชื่อเสียง เป็นของทารุณ
เผ็ดร้อน หยาบคาย
เป็นอันตรายแก่การปฏิบัติธรรม
และบรรลุธรรมอันเกษม ซึ่งไม่มีสิ่งอื่นยิ่งไปกว่า
เปรียบเหมือนปลาบางตัว เห็นแก่เหยื่อกลืนเบ็ดที่พรานเบ็ด
เกี่ยวเหยื่อหย่อนลงไปในน้ำลึก
มันกลืนเบ็ดของพรานอย่างนี้แล้ว ได้รับทุกข์ถึงความพินาศ
พรานเบ็ดพึงทำได้ตามความพอใจ ฉะนั้น

ภิกษุทั้งหลาย! พรานเบ็ดเป็นชื่อของมารใจบาป
เบ็ดและเหยื่อเป็นชื่อของลาภสักการะ และ ชื่อเสียง
ภิกษุบางรูปยินดีพอใจในลาภสักการะ และ ชื่อเสียง ที่เกิดขึ้นแล้ว
ภิกษุนี้เรากล่าวว่า กลืนเบ็ดของมาร ได้รับทุกข์ถึงความพินาศ

เพราะฉะนั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราทั้งหลาย
จงละลาภสักการะและชื่อเสียงที่เกิดขึ้นแล้วเสีย
และลาภสักการะและชื่อเสียงที่เกิดขึ้นแล้วจะครอบงำจิตของเราไม่ได้
เธอทั้งหลายพึงปฏิบัติอย่างนี้แล”



63

คำสอนของคนอื่นเปรียบเหมือนแสงหิงห้อย
คำของตถาคตเปรียบเหมือนแสงอาทิตย์
เมื่อดวงอาทิตย์ขึ้น แสงหิ่งห้อยก็อับแสง


พอดวงอาทิตย์ขึ้น หิ่งห้อยก็อับแสง

อานนท์! ตลอดเวลาที่ตถาคตผู้เป็นอรหันต์ตรัสรู้ชอบเอง
ยังไม่เกิดขึ้นในโลกอยู่เพียงใด เหล่าปริพพาชกผู้เป็นเดียรถีย์อื่น
ก็ยังเป็นที่สักการะ เคารพ นับถือ บูชา นอบน้อม
และยังมีลาภด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และคิลานเภสัช อยู่ตลอดเวลาเพียงนั้น.

อานนท์! ในกาลใด ตถาคตผู้เป็นอรหันต์ตรัสรู้ชอบเอง
เกิดขึ้นในโลก เมื่อนั้นเหล่าปริพพาชกผู้เป็นเดียรถีย์อื่น
ก็หมดความเป็นที่สักการะเคารพนับถือบูชานอบน้อม
และไม่มีลาภด้วยจีวรบิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานเภสัช.

และในบัดนี้ ตถาคตเป็นที่สักการะเคารพนับถือบูชานอบน้อม
และมีลาภด้วยจีวร บิณฑบาติ เสนาสนะ คิลานเภสัช
รวมทั้งภิกษุสงฆ์ นี้ด้วย. พระผู้มีพระภาคทรงแจ่มแจ้งในความข้อนี้
ได้ทรงอุทานคำอุทานนี้ขึ้นว่า:-

หิ่งห้อยนั้น ย่อมส่องแสงอยู่ได้ชั่วเวลาที่ดวงอาทิตย์ยังไม่ขึ้นมา
ครั้นอาทิตย์ขึ้นมา หิ่งห้อยก็หมดแสงไม่มีสว่างอีก
เดียรถีย์ทั้งหลาย ก็เป็นเช่นนั้น.

โอกาสอยู่ได้ชั่วเวลาที่บุคคลผู้ตรัสรู้ชอบด้วยตนเองยังไม่เกิดขึ้นในโลก.
พวกที่ได้แต่นึก ๆ เอา (คือไม่ตรัสรู้) ย่อมบริสุทธิ์ไม่ได้.
ถึงแม้สาวกของเขาก็เหมือนกัน. ผู้ที่มีความเห็นผิด จะไม่พ้นทุกข์ไปได้เลย”.

อานนท์! ในกาลใด ตถาคตผู้เป็นอรหันต์ตรัสรู้ชอบเองเกิดขึ้นในโลก
เมื่อนั้น เหล่าปริพพาชกผู้เป็นเดียรถีย์อื่น ก็หมดความเป็น
ที่สักการะ เคารพ นับถือ บูชานอบน้อม



64
อนุสาสนีปาฏิหาริย์
(ผู้ใดหยั่งลงมั่นต่อพระศาสดาแล้ว ใครๆก็ไม่อาจชักนำไปทางอื่นได้)

คือคำพูดที่ออกจากปากพระโอษฐ์ ของตถาคต
ที่สามารถทำให้เราหลุดพ้นจากแก่เจ็บตายได้

ชื่อพระพุทธเจ้า..ตถาคต อรหันต สัมมาสัมพุทธะ

วาเสฏฐะ ท. ! อนึ่ง ศรัทธา ของผู้ใดแลตั้งมั่น ในตถาคต ฝังลงรากแล้ว
ดำรงอยู่ได้มั่นคง อันสมณะ หรือพราหมณ์ เทวดา มาร
พรหม หรือใคร ๆ ในโลกก็ตาม ไม่ชักนำไปทางอื่นได้
ผู้นั้นควรที่จะกล่าวอย่างนี้ว่า

เราเป็นบุตร เป็นโอรส อันเกิดจากพระโอษฐ์ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เกิดโดยธรรม เนรมิตโดยธรรม เป็นทายาทโดยธรรม

สุภัททะ (ปัฉมสาวก หรือสาวกองค์สุดท้าย)คำสอนของสมณะพรามหณ์
เหล่าอื่น จะเหมือนกับคำสอนของตถาคตอยู่ 3 อย่าง แต่จะไม่เหมือนอยู่ 1 อย่าง

อุปาทาน เค้าจะสอนเหมือนตถาคตใน 3 เรื่อง
1 กามุปาทาน การหลีกออกจากกาม
2 สีลัปปตุปาทาน ความยึดมั่นในศีลพรต ข้อปฏิบัติทางกายกับวาจา
3 ทิฏฐุปาทาน อุปทาทานในความเห็น ยึดมั่นในความคิดความเห็นของตน

แต่จะไม่มีสมณะพรามห์ณเหล่าใดในโลก สอนในเรื่อง อัตวาทุปาทาน
คือการถอดอุปาทาน จากความเป็นตัวตน คือความยึดมั่นในขันธ์ทั้ง 5



65
การทำบุญ
(นัยยะหนึ่งในอีกหลายๆนัยยะ)

ทำบุญกับสัตว์เดรัจฉาน ได้ 100 เท่า
ทำบุญกับปุถุชนผู้ทุศีล ได้ 1000 เท่า
ทำบุญกับปุถชนผู้มีศีล ได้ 100,000 เท่า
ทำบุญกับบุคคลผู้ปราศจากกาม ได้ 100,000 โกฏเท่า
ทำกับอริยะ (ตั้งแต่โสดาบันขึ้นไป) นับประมาณไม่ได้



66
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ไม่อาจจะหลุดพ้น
(ความยึดในกายปล่อยวางได้บ้าง แต่ไม่อาจปล่อยวางจิตได้)

ภิกษุ ท. !  ปุถุชนผู้ไม่ได้มีการสดับ จะพึงเบื่อหน่ายได้บ้าง
พึงคลายกำหนัดได้บ้าง  พึงปล่อยวางได้บ้าง 
ในกายอันเป็นที่ประชุม แห่งมหาภูตทั้งสี่นี้.  
ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?   

ภิกษุ ท. !   ข้อนั้นเพราะเหตุว่า การก่อขึ้นก็ดี  การสลายลงก็ดี 
การถูกยึดครองก็ดี  การทอดทิ้งซากไว้ก็ดี 
แห่งกาย (เห็นกายเสื่อม)
อันเป็นที่ประชุม แห่งมหาภูตทั้งสี่นี้ ย่อมปรากฏอยู่.
เพราะเหตุนั้น ปุถุชนผู้ไม่ได้มีการสดับ 
จึงเบื่อหน่ายได้บ้าง 
จึงคลายกำหนัดได้บ้าง  จึงปล่อยวางได้บ้างในกายนั้น.

ภิกษุ ท. !  ส่วนที่เรียกกันว่า
“จิต” ก็ดี ว่า “มโน” ก็ดี ว่า “วิญญาณ”  ก็ดี 
ปุถุชนผู้ไม่ได้มีการสดับ
ไม่อาจจะเบื่อหน่าย ไม่อาจจะคลายกำหนัด  
ไม่อาจจะปล่อยวาง ซึ่งจิตนั้น.
  ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?  

ภิกษุ ท. !  ข้อนั้นเพราะเหตุว่า  สิ่งที่เรียกว่าจิตเป็นต้นนี้ 
เป็นสิ่งที่ปุถุชนผู้ไม่ได้มีการสดับ
ได้ถึงทับแล้วด้วย ตัณหา
ได้ยึดถือแล้วด้วยทิฏฐิโดยความเป็นตัวตน มาตลอดกาลช้านานว่า
“นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา” ดังนี้

เพราะเหตุนั้น  ปุถุชนผู้ไม่ได้มีการสดับ  จึงไม่อาจจะเบื่อหน่าย  
ไม่อาจจะคลายกำหนัด  ไม่อาจจะปล่อยวาง ซึ่งสิ่งที่เรียกว่าจิตเป็นต้นนั้น.



67
ประโยชน์ของผู้ได้สดับในธรรม(สุตตะ)

การฟังธรรม เป็นธรรมมีอุปการะมากต่อการทรงจำ
การทรงจำ เป็นธรรมอุปการะมากต่อการใคร่ครวญธรรม

การกระทำกิจเนื่องด้วยการฟัง
กระทำกิจเนื่องด้วยความเป็นเป็นพหูสูตร(มีสุตตะมาก)
แทงตลอดอย่างดีด้วยทิฏิ(ทำความเข้าใจ)
รู้ชัดปัญญาวิมุติ เจโตวิมุติ

ใครทำ 4 เหตุปัจจัยนี้ จะไปทางดี ไม่ไปทางเสื่อม



68
สติปัฎฐาน4 (กาย เวทนา จิต ธรรม)
ฐานที่ตั้งของการระลึกได้


กายานุปัสนา- (อยู่กับกาย) ก้อนกาย(รู้ลม การเคลื่อนไหว การทำงานในปัจจุบัน)
เวทนานุปัสนา- (อย่กับอุเบกขา) ให้นึกถึงอุเบกขา สุขมา ทุกข์มา ให้ทิ้งไป)
จิตตานุปัสนา- (อยู่กับผู้รู้) ผู้รู้กำลังรู้อะไร
อาศัยอานาฯ เป็นผู้ตามเห็นจิตอยู่เป็นประจำ
ธรรมมานุปัสนา- (เห็นความไม่เที่ยง จางคลาย เห็นเกิดดับของ รูปนาม
)



69
นิพพาน

“สิ่ง” สิ่งหนึ่ง ซึ่งบุคคลพึงรู้แจ้ง เป็นสิ่งที่ไม่มี ปรากฏการณ์ ไม่มีที่สุด
แต่มีทางปฏิบัติเข้ามาถึงได้โดยรอบนั้นมีอยู่

ใน “สิ่ง”นั้นแหละ ดิน น้ำ ไฟ ลม ไม่หยั่งลงได้
ใน “สิ่ง” นั้นแหละความยาว ความสั้น ความเล็ก ความใหญ่
ความงาม ความไม่งาม ไม่หยั่งลงได้

ใน “สิ่ง” นั้นแหละ นามรูปย่อมดับสนิท ไม่มีเศษเหลือ
นามรูปดับสนิท ใน “สิ่ง” นี้ เพราะการดับสนิทของวิญญาณ, ดังนี้”



70
สัทธานุสารี ธัมมานุสารี

โสดาปัตติมรรค ๒ จำพวก

ก. สัทธานุสารี
ภิกษุ ท. ! ตา ... หู ... จมูก ... ลิ้น ... กาย ... ใจ
เป็นสิ่งไม่เที่ยง มีความแปรปรวนเป็นปกติ มีความเปลี่ยน
เป็นอย่างอื่นเป็นปกติ.
ภิกษุ ท.! บุคคลใด มีความเชื่อน้อมจิตไป
ในธรรม ๖ อย่างนี้ ด้วยอาการอย่างนี้
บุคคลนี้เราเรียกว่าเป็น สัทธานุสารี

หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม (ระบบแห่งความถูกต้อง)
หยั่งลงสู่สัปปุริสภูมิ (ภูมิแห่งสัตบุรุษ)
ล่วงพ้นบุถุชนภูมิ ไม่อาจที่จะกระทำกรรม อันกระทำแล้ว
จะเข้าถึงนรก กำเนิดเดรัจฉาน หรือ เปรตวิสัย และไม่ควร
ที่จะทำกาละก่อนแต่ที่จะทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล.

ข. ธัมมานุสารี
ภิกษุ ท. ! ธรรม ๖ อย่างเหล่านี้
ทนต่อการเพ่งโดยประมาณอันยิ่ง
แห่งปัญญา
ของบุคคลใด ด้วยอาการ อย่างนี้
บุคคลนี้เราเรียกว่า ธัมมานุสารี

หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม (ระบบแห่งความถูกต้อง)
หยั่งลงสู่สัปปุริสภูมิ (ภูมิแห่งสัตบุรุษ)
ล่วงพ้นบุถุชนภูมิ ไม่อาจที่จะกระทำกรรม อันกระทำแล้ว
จะเข้าถึงนรก กำเนิดเดรัจฉาน หรือ เปรตวิสัย และไม่ควร
ที่จะทำกาละก่อนแต่ที่จะทำให้แจ้งซึ่ง โสดาปัตติผล.



71
ความหมายของคำว่า “สัตว์”
พระพุทธเจ้าเรียกว่า ผู้มีอวิชชา หรือผู้หลง

ราธะ !
ความพอใจ อันใด (ฉันนะ)
ราคะ อันใด (ความกำหนัด)
นันทิ อันใด (ความเพลิน)
ตัณหา อันใด (ความอยาก)

ที่มีอยู่ใน รูป เวทนา สัญญา สังขาร ทั้งหลาย ในวิญญาณ
เพราะการติดแล้ว ข้องแล้วในสิ่งนั้นๆ จึงเรียกว่า “สัตว์”ดังนี้
(ผู้ข้องติดในขันธ์ทั้ง 5)

สัตว์คือสภาวะหนึ่งที่เข้าไปติดข้องในขันธ์ทั้ง 5 คือผู้ที่เวียนว่ายตายเกิด

สัตว์ มายึดติดในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ (ขันธ์5)

และสัตว์ตัวนี้แหละที่ปฎิบัติมรรค 8 จนสมบูรณ์แล้ว อวิชชาจะจางคลายไป หมดไป
วิชชาจะเกิดขึ้น สัตว์ตัวนี้จะถูกเรียกใหม่ว่า วิมุตติญาณทัสสนะ (ผู้รู้ในวิมุตติ)

สัตว์จะตั้งอยู่ในวิมุตติ และจะไม่ตั้งอาศัยอยู่ในขันธ์ 5 อีกต่อไป
เพราะรู้ว่าขันธ์ 5 ไม่ไช่ตัวเราของเรา

ดังนั้นทุกคนจึงมีวิมุตติในตัวอยู่แล้ว มีนิพพานในตัวอยู่แล้ว
เพียงแต่เรามีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก



72
ทุกข์ : อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นอนัตตา

ทุกขเวทนา
เวทนาใดๆ เวทนานั้นถึงการประชุมลงในความทุกข์

เวทนามี 3
สุขเวทนา สุขก็เดินไปสู่ความทุกข์ และเดินไปสู่ความแตกสลาย แตกดับ
ทุกขเวทนา ก็เดินไปสู่ความทุกข์ และเดินไปสู่ความแตกสลาย แตกดับ
อทุกขมสุข ก็เดินไปสู่ความทุกข์ และเดินไปสู่ความแตกสลาย แตกดับ
หรืออุเบกขาก็เป็นทุกข์ และเดินไปสู่ความแตกสลาย แตกดับ

ดังนั้นคำว่าทุกข์หมายถึงการแตกสลาย
ทนอยู่สภาพเดิมไม่ได้ ต้องมีการเปลี่ยนแปลง

ทุกขสัตว์ ในอริยสัจจึงกินความกว้าง
สรรพสิ่งใดๆที่เป็นรูป และนามที่เดินไปสู่การแตกดับ
นั่นคือกองทุกข์ทั้งหมด

พระองค์จึงบอกว่าขันธ์ 5 เป็นทุกข์
ขันธ์ทั้ง 5 รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มีการแตกดับ
ทั้งหมดจึงเป็นทุกขสัตว์ นี่คือ ทุกข์ในอริยสัจ4

คำว่าทุกข์ชึ่งมีความหมายซ้ำซ้อนหลายๆกรณี
เรื่องของทุกข์จึงมีความหมายกว้างกว่าความรู้สึกที่เป็นทุกข์



73
ทุกขัง

สิ่งที่ไม่คงที่ แปรเปลี่ยน เรียกว่า ทุกขัง
ทุกขัง คือ แตกสลาย (แตกเพราะมีเสื่อม เสื่อมเพราะมีเกิด)

สิ่งใดที่แตกสลายได้ ถูกเรียกว่ากองทุกข์
การที่เข้าไปมีอุปทาน ในสิ่งที่แตกสลายได้ ความทุกข์ก็จะเกิดขึ้น



74
เทวดาตายจะมีอาการ 5 อย่างดังนี้

1 ผิวพรรณจะเศร้าหมอง
2 เสื้อผ้าอาภรณ์จะเศร้าหมอง
3 ดอกไม้จะเหี่ยวเฉา
4 เหงื่อจะไหลออกจากรักแร้
5 เทวดาจะไม่ยินดีในทิพย์อาสของตน

เทวดาอื่นจะเข้ามาปลอบโยนด้วยคำว่า
1 ขอให้ท่านไปสู่สุขติ
2 ขอให้ท่านได้ลาภ
3 ขอให้ท่านตั้งมั่นในลาภดีแล้ว ขอให้ประดิษฐานด้วยดี



75
มนุษย์มีดีกว่าเทวดา 3 เรื่อง

1 เป็นผู้มีสติ
2 มีความกล้าหาญ
3 มีการประพฤติพรหมจรรย์อันเยี่ยมยอด
(ประพฤติธรรมของตถาคต)

ภิกขุถามพระพุทธเจ้าว่าอะไรคือลาภที่ได้ดีแล้ว
คือการที่เทวดาที่ตายแล้วมาเกิดเป็นมนุษย์ มีคำสอนของตถาคตที่ประกาศไว้ดีแล้ว

แล้วอะไรคือความตั้งมั่นที่ได้ลาภดีแล้ว
พระพุทธเจ้าตรัสว่า การที่ไม่มีสมณะ(นักบวช) พรามหณ์ เทพ มาร พรหม
หรือใครๆในโลก ชักจุงศรัทธาเค้าออกจากพระพุทธเจ้าไปได้
ศรัทธานั้นประดิษฐานด้วยดี ตั้งมั่นด้วยดี อย่างไม่หวั่นไหว



76
ไม่ได้ทรงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อให้เขานับถือ

ภิกษุทั้งหลาย ! พรหมจรรย์นี้เราประพฤติ มิใช่เพื่อหลอกลวงคนให้นับถือ
มิใช่เพื่อเรียกคนมาเป็นบริวาร มิใช่เพื่ออานิสงส์เป็นลาภสักการะ และเสียงสรรเสริญ มิใช่เพื่ออานิสงส์จะได้เป็นเจ้าลัทธิ หรือเพื่อค้านลัทธิอื่นใดให้ล้มลงไป และมิใช่เพื่อให้มหาชนเข้าใจว่า เราได้เป็นผู้วิเศษอย่างนั้นอย่างนี้ ก็หามิได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ที่แท้ พรหมจรรย์นี้ เราประพฤติเพื่อสำรวม เพื่อละ เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับสนิทซึ่งทุกข์ แล.

-บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๓๓/๒๕.



77
คำสอนที่ทรงสั่งสอนบ่อยมาก

“พระโคดมผู้เจริญ ! ทรงนำสาวกทั้งหลายไปอย่างไร ?
อนึ่ง อนุสาสนีของพระโคดมผู้เจริญ ย่อมเป็นไปในสาวกทั้งหลาย
ส่วนมาก มีส่วนแห่งการจำแนกอย่างไร ?”

อัคคิเวสสนะ ! เราย่อมนำสาวกทั้งหลายไปอย่างนี้
อนึ่ง อนุสาสนีของเรา ย่อมเป็นไปในสาวกทั้งหลาย ส่วนมาก
มีส่วนแห่งการจำแนกอย่างนี้ว่า

“ภิกษุ ทั้งหลาย. !
รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง
สังขารไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง.

ภิกษุ ทั้งหลาย. !
รูปไม่ใช่ตัวตน เวทนาไม่ใช่ตัวตน
สัญญาไม่ใช่ตัวตน สังขารไม่ใช่ตัวตน
วิญญาณไม่ใช่ตัวตน.
สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง
ธรรมทั้งหลายทั้งปวงไม่ใช่ตัวตน” ดังนี้.

อัคคิเวสสนะ ! เราย่อมนำสาวกทั้งหลายไปอย่างนี้
อนึ่ง อนุสาสนีของเรา ย่อมเป็นไปในสาวกทั้งหลาย ส่วนมาก
มีส่วนแห่งการจำแนกอย่างนี้ ดังนี้.

มู. ม. ๑๒/๔๒๖/๓๙๖.



78
“สิ่งนั้น” หาพบในกายนี้

“แน่ะเธอ ! ที่สุดโลกแห่งใด
อันสัตว์ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติ
เราไม่กล่าวว่า ใครๆ อาจรู้ อาจเห็น
อาจถึงที่สุดแห่งโลกนั้น ได้ด้วยการไป.

“แน่ะเธอ ! ในร่างกายที่ยาวประมาณวาหนึ่ง
ที่ยังประกอบด้วยสัญญาและใจนี้เอง
เราได้บัญญัติโลก, เหตุให้เกิดโลก
ความดับสนิทไม่เหลือของโลก
และทางดำเนินให้ถึงความดับสนิทไม่เหลือของโลกไว้”
ดังนี้แล.

-บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๖๐/๔๕.



79
พระโสดาบันประกอบพร้อมแล้ว ด้วยอริยมรรคมีองค์แปด

สารีบุตร ! ที่มักกล่าวกันว่า โสดาบัน-โสดาบัน
ดังนี้ เป็นอย่างไรเล่า สารีบุตร ?

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ท่านผู้ใด เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว
ด้วยอริยมรรคมีองค์แปดนี้อยู่ ผู้เช่นนั้นแล ข้าพระองค์เรียกว่าเป็น
พระโสดาบัน ผู้มีชื่ออย่างนี้ ๆ มีโคตรอย่างนี้ ๆ พระเจ้าข้า !”

สารีบุตร ! ถูกแล้ว ถูกแล้ว ผู้ที่ประกอบพร้อมแล้ว
ด้วยอริยมรรคมีองค์แปดนี้อยู่ ถึงเราเองก็เรียกผู้เช่นนั้น
ว่าเป็น พระโสดาบัน ผู้มีชื่ออย่างนี้ ๆ มีโคตรอย่างนี้ ๆ.

มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๓๕/๑๔๓๒-๑๔๓



80
พระโสดาบัน รู้จักปัญจุปาทานขันธ์

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เมื่อใดแล สาวกของพระอริยเจ้าในธรรมวินัยนี้
มารู้จักความก่อขึ้น แห่ง อุปาทานขันธ์ห้า
รู้จักความตั้งอยู่ไม่ได้ ของอุปาทานขันธ์ห้า
รู้จักรสอร่อย ของอุปาทานขันธ์ห้า
รู้จักโทษ อันร้ายกาจของอุปาทานขันธ์ห้า
และรู้จักอุบายที่ไปให้พ้น อุปาทานขันธ์ห้านี้เสียตามที่ถูกที่จริง

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เมื่อนั้นแหละ สาวกของพระอริยเจ้า
ผู้นั้น เราเรียกว่าเป็นพระโสดาบัน ผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา
เที่ยงแท้ต่อพระนิพพาน จักตรัสรู้ธรรมได้ในกาลเบื้องหน้า.

ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๙๖/๒๙๖.