001
ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์หน้า 216
เมื่อมีศีลควรส่งตนไปในแนวเผากิเลส
ภิกษุ ท. ! พวกเธอทั้งหลาย จงเป็นผู้มีศีลสมบูรณ์มีปาติโมกข์สมบูรณ์ อยู่เถิด จงเป็นผู้สำรวมใน ปาติโมกขสังวร มีมรรยาท และ โคจรสมบูรณ์อยู่เถิด จงมี ปรกติเห็นเป็นภัยในโทษทั้งหลายซึ่งมีประมาณ เล็กน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบท ทั้งหลายเถิด.
ภิกษุ ท. ! เมื่อพวกเธอทั้งหลาย สมบูรณ์ด้วยศีลเช่นนั้นแล้ว อะไรเล่า เป็นกิจที่พวกเธอ จะต้องทำให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป ?
ภิกษุ ท. ! เมื่อภิกษุเดินอยู่ก็ตาม ยืนอยู่ก็ตาม นั่งอยู่ก็ตาม นอน ตื่นอยู่ ก็ตาม อภิชฌาและ พยาบาทของภิกษุนั้นก็ปราศจากไปแล้ว ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉาของเธอก็ละได้แล้ว ความเพียรก็ปรารภแล้วไม่ย่อหย่อน สติก็ตั้งมั่นไม่ฟั่นเฟือน กายก็รำงับไม่กระสับกระส่าย จิตก็ตั้งมั่น เป็นหนึ่งแน่
ภิกษุ ท . ! ภิกษุที่เป็นได้เช่นนี้แม้จะเดินอยู่ก็ตาม ยืนอยู่ก็ตาม นั่งอยู่ ก็ตาม นอนตื่นอยู่ก็ตาม เราเรียกว่า “ผู้มีความเพียรเผากิเลส มีความ กลัวต่อโทษ แห่งวัฏฏะ เป็นผู้ปรารถความเพียรติดต่อ สมํ่าเสมอเป็นนิจ เป็น ผู้มีตนส่งไปในแนว แห่งความ หลุดพ้นตลอดเวลา” ดังนี้.
..................................................................................
002
ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์หน้า 217
ศีลอยู่เคียงคู่กับปัญญาเสมอ
พราหมณ์ ! องค์สองประการนี้จะยกเสียอีกประการหนึ่ง บัญญัติคน ผู้ประกอบด้วยองค์เพียง ประการเดียว ว่าเป็นพราหมณ์ และคนผู้ประกอบด้วย องค์เพียงประการเดียว เมื่อกล่าวว่า ตนเป็น พราหมณ์ได้ชื่อว่า กล่าวชอบ ไม่ต้องกล่าวเท็จ จะได้หรือไม่ ?
“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! องค์สองประการนี้จะยกเสียอีกประการหนึ่ง หาได้ไม่ เพราะว่า ศีล ย่อม ชำระปัญญาให้บริสุทธิ์ และปัญญาเล่า ก็ชำระศีลให้บริสุทธิ์ เหมือนกัน ศีลอยู่ที่ใด ปัญญาอยู่ที่นั้น ปัญญาอยู่ที่ใด ศีลอยู่ที่นั้น ผู้มีศีลก็มี ปัญญา ผู้มีปัญญาก็มีศีล บัณฑิตทั้งหลายย่อมกล่าวถึงศีล และปัญญาว่า เป็นของเลิศในโลก
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! เปรียบเหมือนคนล้างมือด้วยมือ หรือล้างเท้า ด้วยเท้า ฉันใด ศีลย่อมชำระปัญญา ให้บริสุทธิ์และปัญญาเล่าก็ชำระศีลให้บริสุทธิ์เหมือนกัน ศีลอยู่ที่ใด ปัญญาอยู่ที่นั้น ปัญญาอยู่ที่ใด ศีลอยู่ที่นั้น ผู้มีศีลก็มีปัญญา ผู้มีปัญญา ก็มีศีล บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมกล่าวถึงศีลและปัญญา ว่าเป็นของเลิศในโลก ฉันนั้น เหมือนกัน”
พราหมณ์ ! ข้อนั้น เป็นอย่างนั้น ๆ แหละพราหมณ์. ศีล ย่อมชำระ ปัญญาให้บริสุทธิ์ และปัญญาเล่า ก็ชำระศีลให้บริสุทธิ์เหมือนกัน ศีล อยู่ที่ใด ปัญญาอยู่ที่นั้น ปัญญาอยู่ที่ใด ศีลอยู่ที่นั้น ผู้มีศีลก็มีปัญญา ผู้มีปัญญา ก็มีศีล บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมกล่าวถึงศีลและปัญญา ว่าเป็นของเลิศ ในโลก
พราหมณ์ ! เปรียบเหมือนคนล้างมือด้วยมือ หรือล้างเท้าด้วยเท้า ฉันใด ศีล ย่อมชำระปัญญา ให้บริสุทธิ์และปัญญาเล่าก็ชำระศีลให้บริสุทธิ์เหมือนกัน ศีลอยู่ที่ใด ปัญญาอยู่ที่นั้น ปัญญาอยู่ที่ใด ศีลอยู่ที่นั้น ผู้มีศีลก็มีปัญญา ผู้มีปัญญาก็มีศีล บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมกล่าวถึงศีลและปัญญา ว่าเป็นของเลิศ ในโลก ฉันนั้นเหมือนกัน
..................................................................................
003
ศีลเป็นฐานรองรับสติปัฏฐานสี่
ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์หน้า 221
ภิกษุ ท. ! ถ้าอย่างนั้น ในเรื่องนี้เธอจงชำระสิ่งอันเป็นเบื้องต้นในกุศล ทั้งหลายให้บริสุทธิ์ก่อนเถิด. อะไรก็เป็นสิ่งเบื้องต้นของสิ่งอันเป็นกุศล ทั้งหลายเล่า ? สิ่งเบื้องต้นนั้นก็ได้แก่ศีล อันบริสุทธิ์หมดจดด้วยดี และ ทิฏฐิ (ความเห็น) ที่ถูกตรง
ภิกษุ ! โดยกาลใดแล ศีลของเธอเป็นศีลที่บริสุทธิ์หมดจดด้วยดีและ ทิฏฐิ ก็จักเป็นความเห็นที่ถูกตรงด้วย โดยกาลนั้น เธออาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้วพึงอบรม สติปัฏฐานสี่โดยวิธีทั้งสามเถิด
สติปัฏฐานสี่อะไรบ้างเล่า ? สติปัฏฐานสี่คือ
ภิกษุ ! เธอจงพิจารณาเห็นกายในกาย ณ ภายใน อยู่เนือง ๆ ก็ดี จงพิจารณาเห็นกายในกาย ณ ภายนอก อยู่เนือง ๆ ก็ดี จงพิจารณาเห็นกาย ในกาย ทั้งภายในและภายนอก อยู่เนือง ๆ ก็ดี เป็นผู้มีความเพียรเผากิเลส มีความรู้สึกตัว ทั่วพร้อม มีสติพึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย
(ในเวทนา จิต และธรรม ก็ตรัสทำนองเดียวกับในกาย)
ภิกษุ ! แต่กาลใดแล เธออาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จักอบรม สติปัฏฐานสี่ เหล่านี้โดยวิธีสาม ด้วยอาการอย่างนี้ แต่กาลนั้น คืนหรือวัน ของเธอจักผ่านไป โดยหวังได้แต่ความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลายอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้
................................................................................
. 004
ศีลเป็นฐานรองรับอริยมรรคมีองค์แปด
ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์หน้า 223
ภิกษุ ท. ! การงานประเภทใดประเภทหนึ่งที่ต้องทำด้วยกำลัง อันบุคคล กระทำอยู่การงานเหล่านั้นทั้งหมด ต้องอาศัยแผ่นดิน ตั้งอยู่บนแผ่นดิน บุคคลจึง ทำการงานที่ต้องทำด้วยกำลังเหล่านั้นได้ด้วยอาการอย่างนี้ฉันใด
ภิกษุ ท. ! ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว ย่อมอบรมอริยมรรคมีองค์๘ ให้เกิดขึ้นได้ย่อมทำ อริยมรรคมีองค์๘ ให้มากขึ้นได้ฉันนั้นเหมือนกัน
ภิกษุ ท. ! ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว ย่อมอบรมอริยมรรคมีองค์๘ ให้เกิดขึ้นได้ย่อมทำอริยมรรคมีองค์๘ ให้มากขึ้นได้เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมอบรมสัมมาทิฏฐิ ย่อมอบรมสัมมา สังกัปปะ ย่อมอบรมสัมมาวาจา ย่อมอบรมสัมมากัมมันตะ ย่อมอบรมสัมมาอาชีวะ ย่อมอบรมสัมมาวายามะ ย่อมอบรมสัมมาสติ และย่อมอบรมสัมมาสมาธิ ชนิด ที่โอนไปสู่นิพพาน เอนไปสู่นิพพาน เอียงไปสู่นิพพาน
ภิกษุ ท. ! ด้วยอาการ อย่างนี้แล ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว ย่อมทำอริยมรรคมีองค์๘ ให้เกิดขึ้นได้ย่อมทำอริยมรรคมีองค์๘ ให้มากขึ้นได้
.....................................................................................
005
ศีลสมบัติเป็นรุ่งอรุณแห่งอริยมรรค
ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์หน้า 224
ภิกษุ ท. ! เมื่ออาทิตย์อุทัยขึ้น การขึ้นมาแห่งอรุณ (แสงเงินแสงทอง) ย่อมเป็นเบื้องต้น เป็นนิมิตที่แลเห็นก่อน ภิกษุ ท. ! ฉันใดก็ฉันนั้น เพื่อ ความเกิดขึ้น แห่งอริยมรรคมีองค์๘ ของภิกษุ ศีลสมบัติ (ความถึงพร้อมด้วยศีล) ย่อมเป็นหลัก เบื้องต้น เป็นนิมิตเบื้องต้น
ภิกษุ ท. ! เมื่อภิกษุสมบูรณ์ด้วย ศีลแล้ว เธอต้องหวังข้อนี้ ได้คือว่า เธอจักอบรมอริยอัฏฐังคิกมรรคให้เกิดขึ้น ได้จักทำ อริยอัฏฐังคิกมรรคให้ มากขึ้นได้
ภิกษุท. ! ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยศีลแล้ว ย่อมอบรมอริยอัฐฐังคิกมรรค ให้เกิดขึ้นได้ ย่อมทำอริยอัฏฐังคิกมรรคให้มากขึ้นได้เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุท.! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมอบรมสัมมาทิฏฐิย่อมอบรมสัมมาสังกัปปะ ย่อมอบรม สัมมาวาจา ย่อมอบรมสัมมากัมมันตะ ย่อมอบรมสัมมาอาชีวะ ย่อมอบรม สัมมาวายามะ ย่อมอบรมสัมมาสติและย่อมอบรมสัมมาสมาธิ ชนิดที่มีการ นำออกซึ่ง ราคะ -โทสะ -โมหะ เสียได้เป็นผลสุดท้าย
ภิกษุท. ! ด้วย อาการอย่างนี้แล ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยศีลแล้ว ย่อมอบรม อริยอัฏฐังคิกมรรคให้เกิดขึ้นได้ย่อมทำอริยอัฏฐังคิกมรรคให้มากขึ้นได้
........................................................................................
006
ศีลสมบัติช่วยทำให้อริยมรรคเจริญเต็มที่
ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์หน้า 225
ภิกษุ ท. ! เรายังมองไม่เห็นธรรมชนิดอื่นแม้แต่สักอย่างหนึ่ง ที่จะทำ อริยอัฏฐังคิกมรรคอันยังไม่เกิด ให้บังเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ให้ถึงความ เจริญเต็มที่ เหมือนอย่าง ศีลสมบัติ (ความถึงพร้อมด้วยศีล) นี้เลย. ภิกษุ ท. ! เมื่อภิกษุสมบูรณ์ด้วยศีลแล้ว เธอต้องหวังข้อนี้ได้คือว่า เธอจักอบรม อริยอัฏฐังคิกมรรค ให้เกิดขึ้นได้จักทำ อริยอัฏฐังคิกมรรค ให้มากขึ้นได้.
ภิกษุ ท. ! ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยศีลแล้ว ย่อมอบรม อริยอัฏฐังคิกมรรค ให้เกิดขึ้นได้ย่อมทำอริยอัฏฐังคิกมรรคให้มากขึ้นได้เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมอบรมสัมมาธทิฏฐิ ย่อมอบรมสัมมาสังกัปปะ ย่อม อบรมสัมมาวาจา ย่อมอบรมสัมมากัมมันตะ ย่อมอบรมสัมมาอาชีวะ ย่อม อบรมสัมมาวายามะ ย่อมอบรมสัมมาสติและย่อมอบรมสัมมาสมาธิ ชนิดที่มีการนำออกซึ่ง ราคะ-โทสะ-โมหะ เสียได้เป็นผลสุดท้าย.
ภิกษุ ท. ! ด้วย อาการอย่างนี้แล ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยศีลแล้ว ย่อมอบรม อริยอัฏฐังคิกมรรค ให้เกิดขึ้นได้ย่อมทำอริยอัฏฐังคิกมรรค ให้มากขึ้นได้.
...............................................................................
007
ผู้ไม่ประมาทในความตายแท้จริง(มรณานุสติ)
ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์หน้า 279
ภิกษุท. ! มรณสติ (ความระลึกถึงความตาย) อันบุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลใหญ่มีอานิสงส์ใหญ่หยั่งลงสู่นิพพาน มีนิพพานเป็นที่สุด.
พวกเธอเจริญมรณสติอยู่บ้างหรือ ? ภิ. “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ !
ในการเจริญมรณสตินี้ ข้าพระองค์มีความคำนึงอย่างนี้ว่า
โอหนอ เราอาจจะมีชีวิตอยู่ได้เพียง วันหนึ่ง คืนหนึ่ง
โอหนอ เราอาจจะมีชีวิตอยู่ได้เพียง ชั่วเวลากลางวัน
โอหนอ เราอาจจะมีชีวิตอยู่ได้เพียง ชั่วขณะที่ ฉันบิณฑบาตเสร็จมื้อ
โอหนอ เราอาจจะมีชีวิตอยู่ได้เพียง ชั่วขณะที่ ฉันอาหารเสร็จเพียง ๔ -๕ คำ
โอหนอ เราอาจจะมีชีวิตอยู่ได้เพียง ชั่วขณะที่ ฉันอาหารเสร็จเพียงคำเดียว
โอหนอ เราอาจจะมีชีวิตอยู่ได้เพียง ชั่วขณะที่ หายใจเข้า แล้วหายใจออก หรือ ชั่วขณะ หายใจออก แล้วหายใจเข้า
ดูพระสูตรเต็ม
...................................................................................
008
ภิกษุที่เรียกร้องหาศาสดาเพื่อความเป็นศัตรู
ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์หน้า 356
|
เรียกร้องหาศาสดา เพื่อความเป็นศัตรู
ไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่ตั้งจิตกำหนด เพื่อรู้ทั่วถึง แต่แกล้งทำให้ผิดจาก คำสั่งสอนของศาสดาไปเสีย
เรียกร้องหาศาสดา เพื่อความเป็นมิตร
ย่อมฟังด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟัง ย่อมตั้งจิตกำหนด เพื่อรู้ทั่วถึง และไม่แกล้งทำให้ผิด จากคำสั่งสอนของศาสดา |
อานนท์ ! สาวกทั้งหลาย เรียกร้องหาศาสดา เพื่อความเป็นศัตรู ไม่เรียกร้อง เพื่อความ เป็นมิตร เป็นอย่างไรเล่า ?
อานนท์ ! ในกรณีนี้ศาสดา ผู้เอ็นดู แสวงหา ประโยชน์ เกื้อกูล อาศัยความเอ็นดูแล้ว จึงแสดงธรรมแก่สาวก ทั้งหลายว่า “สิ่งนี้เป็น ไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่พวกเธอทั้งหลาย และสิ่งนี้ก็เป็นไป เพื่อความสุข แก่พวกเธอทั้งหลาย” ดังนี้เป็นต้น
สาวก เหล่านั้น ของศาสดา ไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่ตั้งจิตกำหนดเพื่อรู้ทั่วถึง แต่แกล้ง ทำให้ผิด จากคำสั่งสอนของศาสดาไปเสีย.
อานนท์ ! สาวกทั้งหลายอย่างนี้แล ชื่อว่าผู้เรียกร้องหาศาสดา เพื่อความเป็นศัตรู ไม่เรียกร้องเพื่อความเป็นมิตร
อานนท์ ! เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้พวกเธอทั้งหลาย จงเรียกร้อง หาตถาคต เพื่อความ เป็นมิตรเถิด อย่าเรียกร้อง เพื่อความเป็นศัตรูเลย. ข้อนั้น จักเป็นไป เพื่อประโยชน์ เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่พวกเธอทั้งหลายเอง ตลอดกาลนาน.
.................................................................................
009
ภิกษุที่เรียกร้องหาศาสดาเพื่อความเป็นมิตร
ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์หน้า 356
อานนท์ ! สาวกทั้งหลาย เรียกร้องหาศาสดา เพื่อความเป็นมิตร ไม่เรียกร้องเพื่อ ความเป็นศัตรูเป็นอย่างไรเล่า ? อานนท์ ! ในกรณีนี้ศาสดา ผู้เอ็นดู แสวงหาประโยชน์ เกื้อกูล อาศัยความเอ็นดูแล้ว จึงแสดงธรรม แก่สาวกทั้งหลายว่า “สิ่งนี้เป็นไป เพื่อ ประโยชน์เกื้อกูลแก่พวกเธอทั้ง หลายและสิ่งนี้ก็เป็นไปเพื่อความสุข แก่พวกเธอ ทั้งหลาย” ดังนี้เป็นต้น
สาวกเหล่านั้นของศาสดา ย่อมฟังด้วยดีย่อมเงี่ยหูฟัง ย่อมตั้งจิตกำหนด เพื่อรู้ทั่วถึง และไม่แกล้งทำให้ผิดจากคำสั่งสอนของศาสดา.
อานนท์ ! สาวก ทั้งหลาย อย่างนี้แล ชื่อว่า ผู้เรียกร้องหาศาสดาเพื่อความเป็นมิตร ไม่เรียกร้องเพื่อความเป็นศัตรู
|
ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๔ สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ หน้าที่ ๑๙๒
สาวกเรียกร้องศาสดาด้วยความเป็นข้าศึก
[๓๕๕] ดูกรอานนท์ ก็เหล่าสาวกย่อมเรียกร้องศาสดาด้วยความเป็นข้าศึก ไม่ใช่ เรียกร้องด้วยความเป็นมิตรอย่างไร ดูกรอานนท์ ศาสดาในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ อนุเคราะห์ แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความเอ็นดูแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายว่า นี่เพื่อประโยชน์ เกื้อกูลแก่พวกเธอ นี่เพื่อความสุขแก่พวกเธอเหล่าสาวก ของศาสดา นั้นไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ย โสตสดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้และประพฤติหลีกเลี่ยงคำสอนของศาสดา
ดูกรอานนท์ อย่างนี้แลเหล่าสาวกชื่อว่าเรียกร้องศาสดาด้วยความเป็นข้าศึก ไม่ใช่เรียกร้อง ด้วยความเป็นมิตร ฯ
สาวกเรียกร้องศาสดาด้วยความเป็นมิตร
[๓๕๖] ดูกรอานนท์ ก็เหล่าสาวกย่อมเรียกร้องศาสดาด้วยความเป็นมิตร ไม่ใช่ เรียกร้องด้วยความเป็นข้าศึกอย่างไร ดูกรอานนท์ ศาสดาในธรรมวินัยนี้เป็นผู้อนุเคราะห์ แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความเอ็นดูแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายว่า นี่เพื่อ ประโยชน์ เกื้อกูลแก่พวกเธอ นี่เพื่อความสุขแก่พวกเธอ เหล่าสาวกของศาสดานั้น ย่อมฟังด้วยดี เงี่ย โสตสดับ ตั้งจิตรับรู้และไม่ประพฤติหลีกเลี่ยงคำสอนของศาสดา
ดูกรอานนท์ อย่างนี้แล เหล่าสาวกชื่อว่าเรียกร้องศาสดาด้วยความเป็นมิตร ไม่ใช่ เรียกร้อง ด้วยความเป็นข้าศึก ฯ
ดูกรอานนท์ เพราะฉะนั้นแล พวกเธอจงเรียกร้องเราด้วยความเป็นมิตร อย่าเรียกร้อง ด้วยความเป็นข้าศึก ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่พวกเธอ ตลอดกาลนาน |
.....................................................................................
010
ผู้ชี้ขุมทรัพย์ เราไม่พยายามทำกะพวกเธอ เหมือนช่างปั้นหม้อ
ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์
อานนท์ ! เราไม่พยายามทำกะพวกเธอ อย่างทะนุถนอม เหมือนพวกช่างหม้อ ทำแก่หม้อที่ยังเปียก ยังดิบอยู่
อานนท์ ! เราจักขนาบแล้ว ขนาบอีก ไม่มีหยุด
อานนท์ ! เราจักชี้โทษแล้ว ชี้โทษอีก ไม่มีหยุด
ผู้ใดมีมรรคผลเป็นแก่นสาร ผู้นั้นจักทนอยู่ได้เอง แล
..........................................................................................
011
คู่บุพเพสันนิวาส
บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๘๑/๕๖
ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าภรรยาและสามีทั้งสองพึงหวังพบกันและกัน ทั้งใน ปัจจุบัน และใน สัมปรายภพทั้งสองเทียว
พึงเป็นผู้
มี ศรัทธาเสมอกัน (ศรัทธาตถาคต)
มี ศีลเสมอกัน
มี จาคะเสมอกัน
มี ปัญญาเสมอกัน
ภรรยาและสามี ทั้งสองนั้น ย่อมได้พบกันและกันทั้งใน ปัจจุบัน ทั้งใน สัมปรายภพ (ภพหน้า)
ภรรยาและสามีทั้งสอง เป็นผู้มีศรัทธา รู้ความประสงค์ของผู้ขอ มีความสำรวม เป็นอยู่ โดยธรรม เจรจาถ้อยคำที่น่ารักแก่กันและกัน ย่อมมีความเจริญรุ่งเรืองมาก มีความ ผาสุก ทั้งสองฝ่าย มีศีลเสมอกัน รักใคร่กันมากไม่มีใจร้ายต่อกัน ประพฤติธรรม ในโลกนี้แล้ว ทั้งสองเป็นผู้มีศีลและวัตร เสมอกัน ย่อมเป็นผู้เสวยกามารมณ์ เพลิดเพลินบันเทิงใจอยู่ใน เทวโลก.
รักษาตน ด้วยการเสพธรรมะ ด้วยการเจริญธรรมะ ด้วยการทำให้มากซึ่งธรรมะรักษา ผู้อื่น ด้วยการอดทนด้วยการไม่เบียดเบียน ด้วยเมตตาจิต ด้วยความรักใคร่เอ็นดู
----------------------------------------------------------------------------
(ใช้หลัก ๔ ประการ เช่นเดียวกับ พ๎ยัคฆปัชชะ ! ธรรม ๔ ประการ)
(๑) ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา (สัทธาสัมปทา)
(๒) ความถึงพร้อมด้วยศีล (สีลสัมปทา)
(๓) ความถึงพร้อมด้วยการบริจาค (จาคสัมปทา)
(๔) ความถึงพร้อมด้วยปัญญา (ปัญญาสัมปทา)
(1)
ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา(สัทธาสัมปทา)
เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อในการตรัสรู้ของตถาคต
(2)
ความถึงพร้อมด้วยศีล (สีลสัมปทา)
เว้นขาดจากศีล ๕
(3)
ความถึงพร้อมด้วยการบริจาค (จาคสัมปทา)
มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน
อยู่ครองเรือน มีจาคะ อันปล่อยอยู่เป็น ประจำมีฝ่ามืออันชุ่มเป็นปกติ ยินดีแล้วในการสละ
ควรแก่การขอ ยินดีแล้วในการ จำแนกทาน
(4)
ความถึงพร้อมด้วยปัญญา
(ปัญญาสัมปทา)
เป็นผู้มีปัญญาประกอบด้วยปัญญา เครื่องให้ถึงสัจจะแห่งการเกิดดับเป็นเครื่องไปจาก ข้าศึก เป็นเครื่องเจาะแทงกิเลส เป็นเครื่องถึงซึ่งความสิ้นไปแห่งทุกข์โดยชอบ
พระสูตรอื่นเรื่องธาตุ
สัตว์ทั้งหลายย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน โดยธาตุเทียว
จังกมสูตร ภิกษุผู้มีปัญญาเดินจงกรมกับภิกษุผู้มีปัญญา
ดูคลิป
..................................................................................
012
คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ นับเรียงตัวได้ ๘ บุรุษ
คู่แห่งบุรุษ ๔ คู๋ นับเรียงตัวได้ ๘ บุรุษ หมายถึง พระอริยสงฆ์สาวกของพระพุทธองค์ ได้แก่
คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่
คู่ที่ ๑ โสดาปัตติผล และ โสดาปัตติมรรค
คู่ที่ ๒ สกทาคามิผล และ สกทาคามิมรรค
คู่ที่ ๓ อนาคามิผล และ อนาคามิมรรค
คู่ที่ ๔ อรหัตตผล และ อรหัตตมรรค
ถ้านับเรียงตัว ๘ บุรุษ คือ
๑. โสตาปัตติผล
๒. โสดาปัตติมรรค (ผู้กำลังปฏิบัติเพื่อความเป็นโสดาบัน)
๓. สกทาคามิผล
๔. สกทาคามิมรรค (ผู้กำลังปฏิบัติเพื่อความเป็นสกทาคามี)
๕. อนาคามิมรรค
๖. อนาคามิมรรค (ผู้กำลังปฏิบัติเพื่อความเป็นอนาคามี)
๗. อรหัตตผล
๘. อรหัตตมรรค (ผู้กำลังปฏิบัติเพื่อความเป็นอรหันต์)
.....................................................................................
013
ชีวกได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค คำว่าอุบาสก
ด้วยเหตุมีประมาณ เท่าไรหนอ บุคคลชื่อว่าเป็น อุบาสก
พระผู้มีพระภาค ตรัสว่าดูกรชีวก เมื่อใดแล บุคคลถึงพระพุทธเจ้า ถึงพระธรรม ถึงพระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ ด้วยเหตุมีประมาณ เท่านี้แล ชื่อว่าเป็นอุบาสก
คำถามอื่นที่ทูลถามพระผู้มีพระภาค
ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร อุบาสกชื่อว่า เป็นผู้มีศีล
ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร อุบาสกชื่อว่า ปฏิบัติเพื่อโยชน์ตน ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น
ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร อุบาสกชื่อว่า เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน และเพื่อประโยชน์ ผู้อื่น
อ่าน ชีวกสูตร
.............................................................................................................................................................
014
กุมภัณฑเปรต (ผู้พิพากษาโกงชาวบ้าน)
โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร อันเป็น สถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระลักขณะ กับ ท่านพระมหาโมคคัลลานะ
ท่านพระมหาโมคคัลลานะกล่าวว่า อาวุโส ผมลงจากคิชฌกูฏ บรรพต เขต พระนครราชคฤห์ นี้ ได้เห็นกุมภัณฑเปรตชาย มีอัณฑะโตเท่าหม้อ ลอยไปใน เวหาส เปรตนั้นแม้เมื่อเดินไปย่อมยกอัณฑะ เหล่านั้น แหละขึ้นพาดบ่าเดินไป แม้เมื่อนั่งก็ย่อมนั่งบน อัณฑะเหล่านั้นแหละ ฝูงแร้งเหยี่ยว และนกตะกรุม พากันโฉบอยู่ ขวักไขว่ จิกสับโดยแรง จิกทึ้ง ยื้อแย่ง สะบัดซึ่งเปรตนั้นอยู่ไปมา เปรตนั้นร้องครวญคราง ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาค รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย... สัตว์นั้นเคยเป็นผู้พิพากษาโกงชาวบ้าน อยู่ในพระนครราชคฤห์ นี้เอง
อ่านพระสูตรเต็ม Page 673 ข้อ (10)
.........................................................................................
015
มังคุลิตถีเปรต (ตายจากอาชีพหมอดู)
โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร อันเป็น สถานที่ พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระลักขณะ กับท่าน พระมหาโมคคัลลานะ
...
ท่านพระมหาโมคคัลลานะกล่าวว่าอาวุโส ผมลงจากคิชฌกูฏ บรรพต เขตพระนคร ราชคฤห์ นี้ ได้เห็นมังคุลิตถีเปรตหญิง มีรูปร่างน่าเกลียด มีกลิ่นเหม็น ลอยไปใน เวหาส ฝูงแร้ง เหยี่ยว และนกตะกรุม พากันโฉบอยู่ ขวักไขว่ จิกสับโดยแรง จิกทึ้ง ยื้อแย่ง สะบัดซึ่งเปรตหญิงนั้นอยู่ไปมา เปรตหญิงนั้น ร้องครวญคราง ... ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย .. เปรตหญิงนั้นเคยเป็นแม่มด(หมอดู) อยู่ในพระนครราชคฤห์ นี้เอง
(แม่มด หรือ หมอดู.. บาลี อิกฺขณิกา)
อ่านพระสูตรเต็ม Page 673 ข้อ (14)
............................................................................................................................................................. 016
เอกบุคคลบาลี บุคคลเอกของโลก
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เอก เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่ออัตถะ ประโยชน์ เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย บุคคลผู้เอก เป็นไฉน คือ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
(โดยย่อ)
1. เกิดขึ้นเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก
2. เพื่ออัตถะประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย
3. เป็นบุคคลเอก หาได้ยากในโลก
4. เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเป็นอัจฉริยมนุษย์
5. กาลกิริยาของบุคคลผู้เอกนี้แล เป็นเหตุเดือดร้อนแก่ชนเป็นอันมาก
6. เป็นผู้ไม่มีสอง ไม่มีเช่นกับพระองค์
7. ไม่มีใครเปรียบไม่มีใครเปรียบเสมอ ไม่มีบุคคลเปรียบ
8. เป็นผู้เลิศกว่าสัตว์ทั้งหลาย
9. เป็นการปรากฏแห่งแสงสว่างใหญ่ แห่งโอภาสใหญ่ แห่งอนุตตริยะ ๖
10 เป็นการทำให้แจ้งซึ่งปฏิสัมภิทา ๔
11 เป็นการแทงตลอดธาตุเป็นอันมาก เป็นการแทงตลอดธาตุต่างๆ
12 เป็นการกระทำให้แจ้งซึ่งผล คือ วิชชาและวิมุตติ
13. เป็นการกระทำให้แจ้ง ซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตผล
13. เราย่อมไม่เล็งเห็นบุคคลอื่นแม้คนเดียว ผู้ยังธรรมจักรที่ยอดเยี่ยม อันตถาคต ให้เป็นไปแล้ว ให้เป็นไปตามโดยชอบ เหมือนสารีบุตรนี้เลย (ข้อนี้ ตรัสสรรเสริญ พระสารีบุตร)
อ่านพระสูตรเต็ม
ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐
สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
............................................................................................................................................................. 017
สัมมาทิฐิ ๒ แบบ สาสวะกับ อนาสวะ
มหาจัตตารีสกสูตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาทิฐิ เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าว สัมมาทิฐิเป็น ๒ อย่าง คือ
สัมมาทิฐิ ที่ยังเป็น สาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑
สัมมาทิฐิ ของพระอริยะ ที่เป็น อนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค อย่าง ๑
(สัมมาทิฐิของภิกษุผู้ไม่เป็นอริยะ เรียกว่าเป็นมิจฉาทิฐิที่เป็น สาสวะ คือยังไม่ประเสริฐ ยังหวังบุญ เป็นส่วนแห่งบุญ เป็นสัมมาทิฐิเบื้องต้น .. ส่วน สัมมาทิฐิของภิกษุผู้อริยะ เรียกว่าเป็นสัมมาทิฐิที่เป็น อนาสวะ เป็น โลกุตตระ)
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิที่ยังเป็น สาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ ขันธ์ เป็นไฉน คือ ความเห็นดังนี้ว่า
ทานที่ให้แล้วมีผล,
ยัญที่บูชาแล้วมีผล,
สังเวยที่ บวงสรวงแล้ว มีผล,
ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่วแล้วมีอยู่,
โลกนี้มี โลกหน้ามี,
มารดามี, บิดามี,
สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี,
สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเองในโลก
มีอยู่ นี้สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาทิฐิของพระอริยะที่เป็น อนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ธัมมจยสัมโพชฌงค์ ความเห็นชอบ องค์แห่งมรรค ของภิกษุผู้มีจิตไกล ข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่ นี้แล สัมมาทิฐิ ของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค ฯ
ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อ ละมิจฉาทิฐิ เพื่อบรรลุสัมมาทิฐิ ความพยายามของเธอ นั้นเป็นสัมมาวายามะ(ความเพียรชอบ)
ภิกษุนั้นมีสติ ละมิจฉาทิฐิได้ มีสติบรรลุสัมมาทิฐิอยู่ สติ ของเธอนั้น เป็นสัมมาสติ(ระลึกชอบ)
ด้วยอาการนี้ ธรรม ๓ ประการนี้ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตาม สัมมาทิฐิ ของภิกษุนั้นฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาทิฐิย่อม เป็น ประธานอย่างไร คือ ภิกษุ
รู้จัก มิจฉาสังกัปปะ ว่า มิจฉาสังกัปปะ
รู้จัก สัมมาสังกัปปะ ว่า สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)
ความรู้ของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฐิ ฯ
(รู้จักว่า มิจฉาทิฐิ ว่าเป็นมิจฉาทิฐิ ความรู้นั้นก็ถือเป็น สัมมาทิฐิ ไปด้วย)
อ่านพระสูตรเต็ม มหาจัตตารีสกสูตร
.............................................................................................................................................................
018
สัตว์ คืออะไร
นัยยะ1
ดูกรราธะ (ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา ในอายนะภายใน ๖)
เพราะมีความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก ในรูป จึงเรียกว่า สัตว์
เพราะมีความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก ในเวทนา จึงเรียกว่า สัตว์
เพราะมีความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก ในสัญญา จึงเรียกว่า สัตว์
เพราะมีความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก ในสังขารทั้งหลาย จึงเรียกว่า สัตว์
เพราะมีความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก ในวิญญาณ จึงเรียกว่า สัตว์
นัยยะ 2
ราธะ !
ความพอใจอันใด ราคะอันใด นันทิอันใด ตัณหาอันใด มีอยู่ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขารทั้งหลาย และในวิญญาณเพราะการติดแล้ว ข้องแล้ว ในสิ่งนั้น ๆ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า ‘สัตว์’ ดังนี้.
ราธะ ! เปรียบเหมือนพวกกุมารน้อย ๆ หรือกุมารีน้อย ๆ เล่นเรือนน้อย ๆ ที่ทำด้วยดิน อยู่ ตราบใดเขายังมีราคะ มีฉันทะ มีความรัก มีความกระหาย มีความเร่าร้อน และมี ตัณหา ในเรือนน้อยที่ทำด้วยดินเหล่านั้น ตราบนั้น พวกเด็กน้อยนั้น ๆ ย่อมอาลัย เรือนน้อย ที่ทำด้วยดินเหล่านั้น ย่อมอยากเล่น ย่อมอยากมีเรือนน้อย ที่ทำด้วยดิน เหล่านั้น ย่อมยึดถือเรือนน้อย ที่ทำด้วยดินเหล่านั้นว่า เป็นของเรา ดังนี้.
ราธะ ! แต่เมื่อใดแล พวกกุมารน้อย ๆ หรือกุมารีน้อย ๆ เหล่านั้น มีราคะไปปราศแล้ว มีฉันทะไปปราศแล้ว มีความรักไปปราศแล้ว มีความกระหายไปปราศแล้ว มีความเร่า ร้อนไปปราศแล้ว มีตัณหาไปปราศแล้ว ในเรือนน้อยที่ทำด้วยดินเหล่านั้น ในกาลนั้น แหละพวกเขาย่อมทำเรือนน้อย ๆ ที่ทำด้วยดินเหล่านั้น ให้กระจัดกระจาย เรี่ยราย เกลื่อนกล่นไป กระทำให้จบการเล่นเสีย ด้วยมือและเท้าทั้งหลาย อุปมานี้ ฉันใด
ราธะ ! อุปไมยก็ฉันนั้น คือ แม้พวกเธอทั้งหลาย จงเรี่ยรายกระจายออก ซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ จงขจัดเสียให้ถูกวิธี จงทำให้แหลกลาญ โดยถูกวิธี จงทำให้จบการเล่นให้ถูกวิธี จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหาเถิด.
ราธะ ! เพราะว่า ความสิ้นไปแห่งตัณหานั้น คือนิพพาน ดังนี้ แล.
.............................................................................................................................................................
019
ความเลื่อมใสอย่างยิ่งในตถาคตถึงที่สุดโดยส่วนเดียว
ตถาคเต เอกนฺตคโตอภิปฺปสนฺโน
อริยสาวกใด มีความเลื่อมใสอย่างยิ่งในตถาคตถึงที่สุดโดยส่วนเดียว เขาย่อมไม่สงสัย หรือลังเลในตถาคต หรือคำสอนในตถาคต
ถูกแล้ว ถูกแล้ว สารีบุตร ! สารีบุตร !
อริยสาวกใด มีความเลื่อมใสอย่างยิ่งในตถาคตถึงที่สุดโดยส่วนเดียว เขาย่อมไม่สงสัย หรือลังเลในตถาคต หรือคำสอนในตถาคต.
สารีบุตร ! เมื่ออริยสาวกเป็นผู้มีสัทธาแล้ว พึงหวังข้อนี้สืบไปว่า เขาจักเป็นผู้ปรารภ ความเพียร เพื่อละอกุศลธรรมทั้งหลาย เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย.
สารีบุตร ! ความเพียรเช่นนั้นของอริยสาวกนั้นย่อมเป็น วิริยินทรีย์ ของเธอนั้น.
( สาธุ สาธุ สารีปุตฺต โย โส สารีปุตฺต อริยสาวโก ตถาคเต เอกนฺตคโตอภิปฺปสนฺโน น โส ตถาคเต วา ตถาคตสาสเน วา กงฺเขยฺย วา วิจิกิจฺเฉยฺย วา ฯสทฺธสฺส หิ สารีปุตฺต อริยสาวกสฺส เอตํ ปาฏิกงฺขํ ยํ อารทฺธวิริโย วิหริสฺสติอกุสลานํ ธมฺมานํ ปหานาย กุสลานํ ธมฺมานํ อุปสมฺปทาย ถามวา ทฬฺหปรกฺกโมอนิกฺขิตฺตธุโร กุสเลสุ ธมฺเมสุ ฯ (บาลี) มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๙๙/๑๐๑๗
.............................................................................................................................................................
020
สังเวชนียสถาน ๔ (มหาปรินิพพานสูตร)
ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๐ สุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค หน้าที่ ๘๗ -๑๑๑
มหาปรินิพพานสูตร (๑๑)
สังเวชนียสถาน ๔ |
๑ |
สถานที่ประสูติ |
ลุมพินีวัน นครกบิลพัสดุ์ |
ลุมมินเด - เนปาล |
|
๒ |
สถานที่ตรัสรู้ |
ควงไม้โพธิ์ พุทธคยา |
รัฐพิหาร - อินเดีย |
|
๓ |
สถานที่แสดงปฐมเทศนา |
ป่าอิสิปตน-
เมืองพาราณสี |
รัฐอุตตร - อินเดีย |
|
๔ |
สถานที่ปรินิพพาน |
เมืองกุสินารา |
รัฐอุตตร- อินเดีย |
|
[๑๓๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อก่อนพวกภิกษุผู้อยู่จำพรรษาในทิศ ทั้งหลาย ย่อมมา เพื่อเฝ้าพระตถาคต พวกข้าพระองค์ย่อมได้เห็น ได้เข้าไปนั่งใกล้ ภิกษุเหล่านั้น ผู้ให้เจริญใจก็โดยกาลล่วงไปแห่งพระผู้มีพระภาค พวกข้าพระองค์ จักไม่ได้เห็น ไม่ได้เข้าไปนั่งใกล้พวกภิกษุผู้ให้เจริญใจ ฯ
ดูกรอานนท์ สังเวชนียสถาน ๔ แห่งเหล่านี้ เป็นที่ควรเห็น ของกุลบุตรผู้มีศรัทธา สังเวชนียสถาน ๔ แห่ง เป็นไฉน คือ
๑. สังเวชนียสถาน อันเป็นที่ควรเห็นของกุลบุตรผู้มีศรัทธาด้วยมาตาม ระลึกว่า พระตถาคตประสูติในที่นี้ ฯ
๒. สังเวชนียสถาน อันเป็นที่ควรเห็นของกุลบุตรผู้มีศรัทธาด้วยมาตาม ระลึกว่า พระตถาคตตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในที่นี้ ฯ
๓. สังเวชนียสถานอั นเป็นที่ควรเห็นของกุลบุตรผู้มีศรัทธาด้วยมาตาม ระลึกว่า พระตถาคตทรงยังอนุตตรธรรมจักรให้เป็นไปในที่นี้ ฯ
๔. สังเวชนียสถาน อันเป็นที่ควรเห็นของกุลบุตรผู้มีศรัทธาด้วยมาตาม ระลึกว่า พระตถาคตเสด็จปรินิพพานแล้วด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุในที่นี้
สังเวชนียสถาน ๔ แห่งนี้แลเป็นที่ควรเห็น ของกุลบุตรผู้มีศรัทธา ฯ
ดูกรอานนท์ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา จักมาด้วยความเชื่อว่า พระตถาคตประสูติในที่นี้ก็ดี พระตถาคตตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในที่นี้ ก็ดี พระตถาคตทรงยังอนุตรธรรมจักรให้เป็นไปในที่นี้ก็ดี พระตถาคตเสด็จ ปรินิพพานแล้ว ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุในที่นี้ก็ดี
ก็ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง เที่ยวจาริกไปยังเจดีย์ มีจิตเลื่อมใสแล้ว จักทำกาละลง ชนเหล่านั้นทั้งหมดเบื้องหน้า แต่ตายเพราะกายแตก จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ฯ
.............................................................................................................................................................021
ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๐ สุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค หน้าที่ ๘๗ -๑๑๑
มหาปรินิพพานสูตร
อีกสามเดือนแต่นี้ ตถาคตจักปรินิพพาน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้แลที่เรา แสดงแล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ... ฯ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเตือนภิกษุทั้งหลายว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เรา ขอเตือนพวกเธอ สังขารทั้งหลาย มีความ เสื่อมเป็นธรรมดา พวกเธอจงยัง ความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม ความปรินิพพาน แห่งตถาคต จักมีในไม่ช้า
โดยล่วงไปอีกสามเดือนแต่นี้ ตถาคตก็จักปรินิพพาน
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัส พระคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
[๑๐๘] คนเหล่าใด ทั้งเด็กทั้งผู้ใหญ่ ทั้งพาลทั้งบัณฑิต ทั้งมั่งมี ทั้งขัดสน ล้วนมี ความตายเป็นเบื้องหน้า ภาชนะดินที่นายช่างหม้อกระทำแล้ว ทั้งเล็กทั้งใหญ่ ทั้งสุกทั้งดิบ ทุกชนิด มีความแตกเป็นที่สุด ฉันใด ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายก็ฉันนั้น ฯ
พระศาสดาได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า วัยของเราแก่หง่อมแล้ว ชีวิตของ เราเป็นของน้อย เราจักละพวกเธอไป เรากระทำที่พึ่งแก่ตนแล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท มีสติ มีศีล อันดีเถิด จงเป็นผู้มี ความดำริตั้งมั่นดีแล้ว ตามรักษาจิตของตนเถิด ผู้ใดจักเป็นผู้ไม่ประมาท อยู่ใน ธรรมวินัยนี้ ผู้นั้นจักละชาติ สงสาร แล้วกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ดังนี้ ฯ
.............................................................................................................................................................
022
ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๐ สุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค หน้าที่ ๘๗ -๑๑๑
มหาปรินิพพานสูตร
ตถาคตจะมีผิวพรรณผุดผ่องดั่งทอง ด้วยเหตุ 2 ประการ
คือ
ราตรีที่ตรัสรู้ และราตรีที่ปรินิพพาน
[๑๒๒] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ เมื่อปุกกุสมัลลบุตรหลีกไปแล้วไม่นาน ได้น้อมคู่ผ้าเนื้อละเอียดมีสีดังทองสิงคี ซึ่งเป็นผ้าทรงนั้นเข้าไปสู่พระกาย ของ พระผู้มีพระภาค ผ้าที่ท่านพระอานนท์ น้อมเข้าไปสู่พระกาย ของพระผู้มีพระภาค นั้น ย่อมปรากฏดัง ถ่านไฟที่ปราศจากเปลวฉะนั้น
ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ เหตุไม่เคยมีมามีแล้ว พระฉวีวรรณของพระตถาคตบริสุทธิ์ผุดผ่องยิ่งนัก คู่ผ้าเนื้อ ละเอียด มีสีดังทองสิงคี ซึ่งเป็นผ้าทรงนี้ ข้าพระองค์น้อมเข้าไปสู่พระกาย ของพระผู้มี พระภาคย่อมปรากฏ ดังถ่านไฟที่ปราศจากเปลว ฯ
(ผ้าสีดั่งมองเนื้อดีที่ปุกกุสะ ถวาย เป็นจีวรผืนสุดท้าย ที่พระผู้มีพระภาคใช้ห่มจนปรินิพพาน)
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ข้อนี้เป็นอย่างนั้น อานนท์ ในกาลทั้งสอง กายของตถาคต ย่อมบริสุทธิ์ ฉวีวรรณผุดผ่องยิ่งนัก ในกาลทั้งสองเป็นไฉน
คือ ในราตรีที่ ตถาคต ตรัสรู้ อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ๑
ในราตรีที่ตถาคต ปรินิพพาน ด้วยอนุปาทิเสส นิพพานธาตุ ๑
ดูกรอานนท์ในกาลทั้งสองนี้แล กายของตถาคตย่อมบริสุทธิ์ ฉวีวรรณ ผุดผ่องยิ่งนัก
ดูกรอานนท์ ในปัจฉิมยามแห่งราตรีวันนี้ แล ความปรินิพพานของตถาคตจักมีใน ระหว่าง ไม้สาละทั้งคู่ ในสาลวัน อันเป็นที่แวะพักของ มัลลกษัตริย์ ทั้งหลาย ในเมืองกุสินารา
.............................................................................................................................................................023
ลักษณาศรัทธาของ สัตตบุรุษ หรือผู้เป็นอริยะ
ประกาศ ขอถึงพระผู้มีพระพุทธ พระธรรม พระภิกษุสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยคิดว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูป ดังนี้ ฉันใด พระผู้มีพระภาคทรงประกาศพระธรรมโดยอเนกปริยาย ฉันนั้นเหมือนกัน
ข้าพระองค์นี้ ขอถึงพระผู้มีพระภาคพระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาค จงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฯ
ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๐ สุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค หน้าที่ ๘๗ -๑๑๑มหาปรินิพพานสูตร
.............................................................................................................................................................
024
บิณฑบาตสองคราวเป็นไฉน
(ตักบาตรที่มีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่กว่าการตักบาตรอื่นๆ)
|
ตรัสกับ พระจุนทกะ(นายจุนทะ) ขณะกังวลใจร้อนใจ ว่าตนเป็นต้นเหตุ
ทำให้พระผู้มีพระภาคกำลังเสด็จปรินิพพาน
ตักบาตรคราวที่1
พ่อค้าชื่อ ตปุสสะ และ ภัลลิกะ ถวายข้าวป่น สัตตุผงและสัตตุก้อนแด่
พระผู้มีพระภาค เมื่อแรกตรัสรู้ (คลิกอ่านพระสูตร)
ตักบาตรคราวที่2
นายจุนท กัมมารบุตร ถวายภัตตาหาร มื้อสุดท้าย ชื่อสุกรมัททวะ (เห็ด)
เมื่อพระผู้มีพระภาค เสด็จมายังเมืองปาวา (คลิกอ่านพระสูตร) |
คือ
ตถาคตเสวยบิณฑบาตใดแล้ว ตรัสรู้ อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ อย่างหนึ่ง
ตถาคตเสวยบิณฑบาตใดแล้ว เสด็จปรินิพพาน ด้วยอนุปาทิเสสนิพานธาตุ
อย่างหนึ่ง
บิณฑบาตสองคราวนี้ มีผลเสมอๆ กัน มีวิบากเสมอๆ กัน มีผลใหญ่กว่า
มีอานิสงส์ใหญ่กว่าบิณฑบาตอื่นๆ ยิ่งนัก
กรรมที่นายจุนทกัมมารบุตร ก่อสร้างแล้ว เป็นไปเพื่ออายุ ..เป็นไปเพื่อวรรณะ.. เป็นไปเพื่อความสุข..เป็นไปเพื่อยศ..เป็นไปเพื่อสวรรค์..เป็นไปเพื่อความเป็นใหญ่ยิ่ง
ดูกรอานนท์ เธอพึงช่วยบันเทา ความร้อนใจของ นายจุนทกัมมารบุตร เสียด้วยประการฉะนี้
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบความนั้นแล้ว ทรงเปล่งพระอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
[๑๒๗] บุญย่อมเจริญแก่ผู้ให้ เวรย่อมไม่ก่อแก่ผู้สำรวมอยู่ คนฉลาดเทียว ย่อมละ กรรม อันลามก เขาดับแล้วเพราะราคะ โทสะ โมหะ สิ้นไป
-----------------------------------------------------------------------
ฝ่ายพระจุนทกะนั่งเฝ้าอยู่เฉพาะ พระพักตร์ในที่นั้น
[๑๒๖] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกท่านพระอานนท์มารับสั่งว่า ดูกรอานนท์ บางทีใครๆ จะทำความร้อนใจให้เกิดแก่นายจุนทกัมมารบุตรว่า ดูกรนายจุนทะ มิใช่ลาภของท่านท่านได้ไม่ดีแล้ว ที่พระตถาคตเสวยบิณฑบาตของ ท่านเป็น ครั้งสุดท้ายเสด็จปรินิพพานแล้ว ดังนี้เธอพึงช่วยบันเทาความร้อนใจ ของนาย จุนทกัมมารบุตรเสียอย่างนี้ว่า
(จุนทะ กังวลใจ ร้อนใจ ว่าตนเป็นต้นเหตุทำให้พระผู้มีพระภาคกำลังเสด็จปรินิพพาน)
ดูกร นายจุนทะ เป็นลาภของท่าน ท่านได้ดีแล้ว ที่พระตถาคตเสวยบิณฑบาต ของท่านเป็นครั้งสุดท้าย เสด็จปรินิพพานแล้ว เรื่องนี้เราได้ฟังมา ได้รับมาเฉพาะ พระพักตร์ พระผู้มีพระภาคว่า บิณฑบาตสองคราวนี้ มีผลเสมอๆกัน มีวิบากเสมอๆ กัน มีผลใหญ่กว่า มีอานิสงส์ใหญ่กว่าบิณฑบาตอื่นๆ อื่นๆยิ่งนัก
ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๐ สุตตันตปิฎกทีฆนิกาย มหาวรรค หน้าที่ ๘๗ -๑๑๑ มหาปรินิพพานสูตร
.............................................................................................................................................................
025
พระศาสดาไม่ให้อานนท์สนใจกับพระสรีระของตถาคต
พระพุทธเจ้าให้อานนท์จัดการพระสรีระ เช่นเดียวกับจักรพรรดิ์
1. ห่อพระสรีระพระเจ้าจักรพรรดิด้วยผ้าใหม่ แล้วซับด้วยสำลี แล้วห่อด้วยผ้าไหม
2. จากนั้นห่อด้วยผ้าอีก ๕๐๐ คู่
3. เชิญพระสรีระลงในรางเหล็กอันเต็มด้วยน้ำมัน ครอบด้วยรางเหล็กอื่น
4. กระทำ จิตกาธารด้วยไม้หอมล้วน
5. ถวายพระเพลิงพระสรีระพระเจ้าจักรพรรดิ
6. สร้างสถูป ของพระเจ้าจักรพรรดิไว้ที่หนทางใหญ่ ๔ แพร่ง
7. บูชาด้วย มาลัย ของหอม หรือจุณ จักอภิวาท หรือจักยังจิตให้เลื่อมใสในสถูปนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่ชน เหล่านั้น สิ้นกาลนาน |
[๑๓๓] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์ จะพึงปฏิบัติในพระสรีระ ของพระตถาคตอย่างไร ฯ
ดูกรอานนท์ พวกเธอจงอย่าขวนขวาย เพื่อบูชาสรีระตถาคตเลย จงสืบต่อ พยายาม ในประโยชน์ของตนๆ เถิด จงเป็นผู้ไม่ประมาทในประโยชน์ของตนๆ มีความเพียร มีตนอันส่งไปแล้วอยู่เถิด
กษัตริย์ผู้เป็นบัณฑิตก็ดี พราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิตก็ดี คฤหบดี ผู้เป็นบัณฑิตก็ดีผู้เลื่อมใส ยิ่งในตถาคตมีอยู่ เขาทั้งหลายจักกระทำการ บูชาสรีระ ตถาคต ฯ
ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ก็เขาทั้งหลายจะพึงปฏิบัติในพระสรีระของตถาคตอย่างไร ฯ
ดูกรอานนท์ พึงปฏิบัติในสรีระตถาคต เหมือนที่เขาปฏิบัติในพระสรีระ พระเจ้าจักรพรรดิ ฯ
ข้าแด่พระองค์ผู้เจริญ ก็เขาปฏิบัติในพระสรีระพระเจ้าจักรพรรดิอย่างไร ฯ
ดูกรอานนท์ เขาห่อพระสรีระพระเจ้าจักรพรรดิด้วยผ้าใหม่แล้วซับด้วยสำลี แล้วห่อด้วยผ้าใหม่ โดยอุบายนี้ ห่อพระสรีระพระจักรพรรดิด้วยผ้า ๕๐๐ คู่ แล้ว เชิญพระสรีระลงในรางเหล็กอันเต็มด้วยน้ำมัน ครอบด้วยรางเหล็กอื่น แล้วกระทำ จิตกาธารด้วยไม้หอมล้วน ถวายพระเพลิงพระสรีระพระเจ้าจักรพรรดิ
สร้างสถูป ของพระเจ้าจักรพรรดิไว้ที่หนทางใหญ่ ๔ แพร่งเขาปฏิบัติ ในพระสรีระ พระเจ้าจักรพรรดิ ด้วยประการฉะนี้แล
พวกกษัตริย์ผู้เป็นบัณฑิตเป็นต้นพึงปฏิบัติใน สรีระตถาคตเหมือนที่เขาปฏิบัติ พระสรีระ พระเจ้าจักรพรรดิ พึงสร้างสถูปของ ตถาคตไว้ที่หนทางใหญ่ ๔ แพร่ง
ชนเหล่าใดจักยกขึ้นซึ่งมาลัยของหอมหรือจุณ จักอภิวาท หรือจักยังจิตให้เลื่อมใสใน สถูปนั้น การกระทำเช่นนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่ชน เหล่านั้น สิ้นกาลนาน ฯ
............................................................................................................................................................. 026
ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๑ สุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค หน้า ๔๔ - ๖๔
แก้ว ๗ ประการ
ของพระราชาจักรพรรดิ์ ทัลหเนมิ
[๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว มี พระราชาจักรพรรดิ์ พระนามว่า ทัลหเนมิผู้ทรงธรรม เป็นพระราชาโดยธรรม เป็นใหญ่ในแผ่นดิน มีมหาสมุทร ๔ เป็นขอบเขต ทรงชำนะแล้ว มีราชอาณาจักรมั่นคง สมบูรณ์ ด้วยแก้ว ๗ ประการ คือ จักรแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว แก้วมณี นางแก้ว คฤหบดีแก้ว ปริณายกแก้ว เป็นที่ ๗
พระราชบุตรของพระองค์มีกว่าพัน ล้วนกล้าหาญ มีรูปทรงสมเป็นวีรกษัตริย์ สามารถย่ำยีเสนา ของข้าศึกได้ พระองค์ทรงชำนะโดยธรรม มิต้องใช้อาชญา มิต้องใช้ศัสตรา ครอบครองแผ่นดิน มีสาครเป็นขอบเขต
----------------------------------------------------------------------------------------------------
แก้ว ๗ ประการ (วิกิพีเดีย)
พระเจ้าจักรพรรดิเป็นผู้ครอบครองแก้ว ๗ ประการ อันได้แก่
1.จักรแก้ว (จกฺกรตฺตนํ)
เมื่อพระราชาผู้ที่ประพฤติจักกวัตติวัตรอันประเสริฐจะได้สำเร็จเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ในวันอุโบสถขณะที่พระองค์ทรงรักษาศีลอุโบสถอยู่ ณ พระมหาปราสาทชั้นบนนั้น จะปรากฏจักรแก้วขึ้น ทำจากโลหะมีค่า ส่องแสงสว่างไสว แล้วพาพระเจ้าจักรพรรดิ พร้อม เหล่าเสนาบดีลอยไปยังประเทศต่างๆ ในทวีปทั้ง 4 ประเทศต่างๆ ก็ยอม สวามิภักดิ์ ไม่มีการสู้รบกัน เมื่อจะถวายเครื่องบรรณาการพระเจ้าจักรพรรดิ ก็ทรงไม่รับ แต่พระราชทานโอวาทศีล 5 ให้
2.ช้างแก้ว (หตฺถีรตฺตนํ)
ช้างแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิ เป็นพญาช้าง มีชื่อว่า อุโบสถ สีขาวเผือก สง่างาม มี ฤทธิ์เดชสามารถเหาะได้คล่องแคล่วว่องไว ฝึกหัดได้เอง สามารถพาพระเจ้า จักรพรรดิ ไปรอบชมพูทวีป จรดขอบมหาสมุทร ได้ตั้งแต่เช้ารุ่ง และกลับมาทันเวลา เสวยพระกระยาหารเช้า
3.ม้าแก้ว (อสฺสรตฺตนํ)
ม้าแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิ เป็นพญาม้า มีชื่อว่า วลาหกะ เป็นอัศวราชผู้สง่างาม ขนงาม มีหางเป็นพวง ตรงปลายคล้ายดอกบัวตูม มีฤทธิ์เดชเหาะเหินเดินบน อากาศ ได้ คล่องแคล่วว่องไว ฝึกหัดได้เอง สามารถพาพระเจ้าจักรพรรดิไปรอบชมพูทวีป จรดขอบมหาสมุทร ได้ตั้งแต่เช้ารุ่ง และกลับมาทันเวลาเสวยพระกระยาหารเช้า
4.มณีแก้ว (มณิรตฺตนํ)
มณีแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิ เป็นแก้วมณีเปล่งแสงสุกสกาว ใสแวววาวยิ่งกว่าเพชร เปล่งรังสีแสงสว่างไสวโดยรอบถึง 1 โยชน์ คอยบันดาลความอุดมสมบูรณ์ ทุกอย่าง ให้เกิดขึ้น ดึงดูดสมบัติทั้งหลายมาให้ สามารถเลี้ยงคนได้ทั้งชมพูทวีป โดย ไม่ต้อง ทำมาหากิน เมื่อพระมหาจักรพรรดิทรงทดลองแก้วมณีกับกองทัพ โดยติดแก้ว มณีไว้ บนยอดธงนำทัพ แก้วมณีก็เปล่งแสงสว่างไสว ทำให้กองทัพเดินทางได้สะดวกสบาย เหมือนเดินทัพในเวลากลางวัน
5.นางแก้ว (อิตถรตฺตนํ)
นางแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิ เป็นหญิงที่มีบุญญาธิการ รูปร่างน่าดูชม ผิวพรรณเปล่ง ปลั่งผ่องใส สวยงามกว่ามนุษย์ทั่วไป พูดจาสุภาพ ไม่โกหก มีกลิ่นดอกบัวหอมฟุ้ง ออกจากปาก มีกลิ่นจันทน์หอมฟุ้งรอบกาย นางแก้วเป็นผู้คอยปรนนิบัติพระเจ้า จักรพรรดิอย่างไม่ขาดสาย ตื่นก่อนนอนทีหลังพระเจ้าจักรพรรดิ คอยรับฟังคำสั่ง ของพระเจ้าจักรพรรดิ ประพฤติชอบต่อพระเจ้าจักรพรรดิเสมอ
6.ขุนคลังแก้ว (คหปติรตฺตนํ)
คฤหบดีแก้ว หรือขุนคลังแก้ว สามารถนำทรัพย์สินมาให้แด่พระเจ้าจักรพรรดิได้ ขุมทรัพย์อยู่ที่ไหนก็เห็นไปหมด
7.ขุนพลแก้ว (ปริณายกรตฺตนํ)
ปริณายกแก้ว หรือขุนพลแก้ว คือพระราชโอรสองค์โตของพระเจ้าจักรพรรดิ เป็นขุนศึก คู่ใจ เป็นบัณฑิตนักปราชญ์ มีความฉลาดเฉลียว รู้สิ่งใดควรไม่ควร คอยให้คำแนะนำ ปรึกษาแด่พระเจ้าจักรพรรดิอยู่เสมอ
............................................................................................................................................................. 027
กรรม เหมือนเงาติดตามตัวไปทุกภพ
บุคคลทำกรรมใด
ด้วยกาย ด้วยวาจา หรือด้วยใจ
กรรมนั้นแหละ เป็นของๆ เขา
และเขาย่อมพาเอากรรมนั้นไป
อนึ่ง กรรมนั้นย่อมติดตามเขาไป
เหมือนเงาติดตามตน ฉะนั้น
เพราะฉะนั้น บุคคลควรทำกรรมดี
สั่งสมไว้สำหรับภพหน้า
บุญทั้งหลาย ย่อมเป็นที่พึ่ง
ของสัตว์ทั้งหลาย ในโลกหน้า
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๕
สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค หน้าที่ ๑๑๕
.............................................................................................................................................................
028
บทสวดความสิ้นสุดแห่งโลก
นิสสิตัสสะ จะลิตัง
ความหวั่นไหว ย่อมมี แก่บุคคล ผู้อันตัณหา และทิฏฐิ อาศัยแล้ว
อะนิสสิตัสสะ จะลิตัง นัตถิ
ความหวั่นไหว ย่อมไม่มี แก่บุคคล ผู้อันตัณหา และทิฏฐิ ไม่อาศัยแล้ว
จะลิเต อะสะติ ปสสัทธิ
เมื่อความหวั่นไหวไม่มี ปัสสัทธิ (ความสงบจากกิเลส) ย่อมมี
ปสสัทธิยา สะติ นะติ นะ โหติ
เมื่อปัสสัทธิมี ความน้อมไป ย่อมไม่มี
นะติยา อะสะติ อาคะติคะติ นะ โหติ
เมื่อความน้อมไปไม่มี การมาและการไปย่อมไม่มี
อาคะติ คะติยา อะสะติ จุตูปะปาโต นะ โหติ
เมื่อการมาและการไปไม่มี การเคลื่อน และการเกิดขึ้น ย่อมไม่มี
จุตูปะปาเต อะสะติ เนวิธะ นะ หุรัง นะ อุภะยะมันตะเร
เมื่อการเคลื่อนและการเกิดขึ้นไม่มี อะไรๆก็ไม่มี ในโลกนี้ ไม่มีในโลกอื่น ไม่มี ในระหว่างแห่งโลกทั้งสอง
เอเสวันโต ทุกขัสสะ
นั่นแหละ คือ ที่สุดแห่งทุกข์ ละ.
----------------------------------------------------------
(เฉพาะภาษาไทย)
ความหวั่นไหว ย่อมมี แก่บุคคล ผู้อันตัณหา และทิฏฐิ อาศัยแล้ว
ความหวั่นไหว ย่อมไม่มี แก่บุคคล ผู้อันตัณหา และทิฏฐิ ไม่อาศัยแล้ว
เมื่อความหวั่นไหวไม่มี ปัสสัทธิ (ความสงบจากกิเลส) ย่อมมี
เมื่อปัสสัทธิมี ความน้อมไป ย่อมไม่มี
เมื่อความน้อมไปไม่มี การมาและการไปย่อมไม่มี
เมื่อการมาและการไปไม่มี การเคลื่อนและการเกิดขึ้นย่อมไม่มี
เมื่อการเคลื่อนและการเกิดขึ้นไม่มี
อะไรๆก็ไม่มี ในโลกนี้ ไม่มีในโลกอื่น ไม่มี
ในระหว่างแห่งโลกทั้งสอง
นั่นแหละ คือ ที่สุดแห่งทุกข์ ละ
---------------------------------------------------------
(ไทย) อุ . ขุ . ๒๕/๑๔๔/๑๖๑.
(บาลี) อุ . ขุ . ๒๕/๒๐๗/๑๖๑
.............................................................................................................................................................
029
สรุปย่อ 1 กัป และความยาวนานของสังสารวัฏ
ความนานของสังสารวัฏ ที่สัตว์ต้องท่องเที่ยวไป
๑. เหมือนตัดใบไม้ กิ่งไม้ในชมภูทวีป ทำให้เป็นมัดๆละ ๔ นิ้วว่านี้เป็นมารดาของเรา ๆๆ แม้ตัดหมดทั้งป่า ความเป็นมารดาของมารดาๆๆ ก็ยังไม่หมดสิ้นไป
๒.เหมือนปั้นก้อนดินทั้งปฐพีเท่าเม็ดกระเบา ว่านี้เป็นบิดาของเรา ของเราๆๆๆ แม้ปั้นดิน จนหมดปฐพี ความเป็นบิดาของบิดาๆๆ ก็ยังไม่หมดสิ้น
๓.น้ำตาที่หลั่งไหลจากสิ่งที่ไม่พอใจตลอดสังสารวัฎ มากกว่าน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔
๔.น้ำนมมารดาของผู้ท่องเที่ยวไปมาในสังสารวัฏได้ดื่มแล้ว มากกว่าน้ำในสมุทรทั้ง ๔
ความยาวนานของ กัป
๑. อุปมาเขาหินแท่งทึบ กว้าง ยาว สูง ด้านละ 1 โยชน์ ทุก100 ปี บุรุษเอาผ้ามาปัด 1 ครั้ง แม้ภูเขาหินลูกใหญ่จะพึงหมดไป แต่ กัปหนึ่งก็ยังไม่สิ้นไป
๒.นครที่ทำด้วยเหล็ก กว้าง ยาว สูง ด้านละ 1 โยชน์ บรรจุเมล็ดพันธุ์ผักกาดจนเต็ม ทุก 100 ปี บุรุษหยิบเอาเมล็ดพันธุ์ผักกาดออก 1 เมล็ด แม้เมล็ดพันธุ์หมดไป แต่ กัปหนึ่งก็ยังไม่สิ้นไป
๓.มีสาวก ๔ รูป มีอายุ ๑๐๐ ปี มีชีวิต ๑๐๐ ปี หากภิกษุเหล่านั้นพึงระลึกถอยหลังไป ได้วันละแสนกัป ตลอด100 ปี (จนทำกาละ) กัปที่ยังระลึกไม่ถึงก็ยังมีอยู่อีก
๔. กัปที่ผ่านไปแล้วล่วงไปแล้ว มากกว่าเมล็ดทรายในแม่น้ำคงคา
๕.บุคคลโยนท่อนไม้ขึ้นบนอากาศ บางคราวตกลงทางโคน ทางขวาง ทางปลาย ก็ฉันนั้นแล บางคราวเคลื่อนจากโลกอื่นสู่โลกนี้ บางคราวเคลื่อนจากโลกอื่นสู่โลกนี้
๖. บุคคลหนึ่ง ท่องเที่ยวตลอด 1 กัป ร่างกองกระดูกยังใหญ่กว่าภูเขาเวปุลละ
สัตว์ทั้งหลาย เป็นมาทุกอย่างแล้ว
๑.เห็นคนมือเท้าไม่สมประกอบ เราก็เคยเสวยทุกข์เช่นนั้น มาแล้ว
๒.เห็นใครมีสุขมีบริวาร เราก็เคยเสวยสุขเช่นนั้นมาแล้ว
๓.เห็นบุคคลผู้เพียบพร้อมด้วยความสุข มีบริวารคอยรับใช้ ๔.เราก็เคยเสวยสุขเห็นปานนี้มาแล้ว
ตรัสกับภิกษุชาวเมืองปาวาประมาณ ๓๐ รูป
๑.สมัยเป็นมนุษย์ โลหิตที่ไหลจากการถูกฆ่าตัดคอ ตลอดสังสารวัฎ มากกว่าน้ำใน มหาสมุทรทั้ง ๔
๒.สมัยเป็นมนุษย์ ถูกฆ่าตัดคอข้อหาโจรฆ่าชาวบ้าน โลหิตที่ไหล มากกว่าน้ำ ในมหา สมุทรทั้ง ๔
๓.สมัยเป็นมนุษย์ ประพฤติผิดในภรรยาของผู้อื่น ถูกจับฆ่าตัดคอ โลหิตที่หลั่งไหล มากกว่าน้ำ ในมหาสมุทรทั้ง ๔
๔.สมัยเกิดเป็นโค โลหิตที่ไหลจากการถูกฆ่าตัดคอ ตลอดทั้งสังสารวัฎ มากกว่าน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔
๕.เกิดเป็นกระบือ โลหิตที่หลั่งไหล จากการถูกตัดคอ ตลอดทั้งสังสารวัฎ มากกว่าน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔
๖. สมัยเกิดเป็นแกะ เป็นแพะ เป็นเนื้อ เป็นสุกร เป็นไก่ ...ก็เช่นกัน
สัตว์เคยเป็นบิดา มารดา ฯลฯ มาแล้วทั้งสิ้น
-สัตว์ที่ไม่เคยเป็นมารดา โดยกาลนานนี้ มิใช่หาได้ง่ายเลย
-สัตว์ที่ไม่เคยเป็นบิดา โดยกาลนานนี้ มิใช่หาได้ง่ายเลย
-สัตว์ที่ไม่เคยเป็นบิดา โดยกาลนานนี้ มิใช่หาได้ง่ายเลย
-สัตว์ที่ไม่เคยเป็นพี่หญิง น้องหญิง โดยกาลนานนี้ ไม่ใช่หาได้ง่ายเลย
-สัตว์ที่ไม่เคยเป็นบุตร โดยกาลนานนี้ มิใช่หาได้ง่ายเลย
-สัตว์ที่ไม่เคยเป็นธิดา โดยกาลนานนี้ มิใช่หาได้ง่ายเลย
............................................................................................................................................................. 030
ธรรม ๒ อย่าง เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ
ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐ สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต หน้าที่ ๕๗
[๒๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่าง เป็นไปในส่วนแห่งวิชชา ธรรม ๒ อย่าง
เป็นไฉน คือ สมถะ ๑ วิปัสสนา ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมถะที่ภิกษุเจริญแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมอบรมจิต
จิตที่อบรมแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมละราคะได้
วิปัสสนาที่อบรมแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมอบรมปัญญา
ปัญญาที่อบรมแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมละอวิชชาได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
จิตที่เศร้าหมองด้วยราคะ ย่อมไม่หลุดพ้น
หรือปัญญาที่เศร้าหมองด้วยอวิชชา ย่อมไม่เจริญด้วยประการฉะนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เพราะสำรอก ราคะ ได้ จึงชื่อว่า เจโตวิมุติ
เพราะสำรอก อวิชชา ได้ จึงชื่อว่า ปัญญาวิมุติ
------------------------------------------------------------------------------------
(สรุปจาก สาธยายธรรม พอจ.คึกฤทธิ์ วัดนาป่าพง)
เจโตวิมุตติ - ความหลุดพ้นแห่งจิต
การหลุดพ้นจากกิเลส ด้วยอำนาจการฝึกจิต หรือด้วยกำลังสมาธิ แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ต้องเกิดปัญญาวิมุตติ จึงจักทำให้เป็นเจโต วิมุตติที่ไม่กำเริบ คือ ไม่กลับกลายได้ อีกต่อไป เช่น สมาบัติ ๘ เป็นเจโตวิมุตติ อันละเอียดประณีต
ปัญญาวิมุตติ - ความหลุดพ้นด้วยปัญญา
ความหลุดพ้นที่บรรลุด้วยการกำจัดอวิชชาได้ ทำให้สำเร็จอรหัตตผล และทำให้ เจโตวิมุตติ เป็นเจโตวิมุตติที่ไม่กำเริบ คือ ไม่กลับกลายได้อีกต่อไป
.............................................................................................................................................................
031
ผู้สมบูรณ์ด้วย กุศลกรรมบถ ๑๐
จุนทะ ! เหล่านี้แล เรียกว่า กุศลกรรมบถ ๑๐.
จุนทะ ! บุคคลประกอบด้วยกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการเหล่านี้
ลุกจากที่นอนตามเวลาแห่งตนแล้ว
แม้จะลูบแผ่นดิน ก็เป็นคนสะอาด
แม้จะไม่ลูบแผ่นดิน ก็เป็นคนสะอาด
แม้จะจับโคมัยสด ก็เป็นคนสะอาด
แม้จะไม่จับโคมัยสด ก็เป็นคนสะอาด
แม้จะจับหญ้าเขียว ก็เป็นคนสะอาด
แม้จะไม่จับหญ้าเขียว ก็เป็นคนสะอาด
แม้จะบำเรอไฟ ก็เป็นคนสะอาด
แม้จะไม่บำเรอไฟ ก็เป็นคนสะอาด
แม้จะไหว้พระอาทิตย์ ก็เป็นคนสะอาด
แม้จะไม่ไหว้พระอาทิตย์ ก็เป็นคนสะอาด
แม้จะลงน้ำในเวลาเย็นเป็นครั้งที่สาม ก็เป็นคนสะอาด
แม้จะไม่ลงน้ำในเวลาเย็นเป็นครั้งที่สาม ก็เป็นคนสะอาด.
ข้อนั้นเพราะเหตุไร ?
จุนทะ ! เพราะเหตุว่า กุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ เหล่านี้ เป็นตัวความสะอาด และเป็นเครื่องกระทำความสะอาด.
จุนทะ ! อนึ่ง เพราะมีการประกอบด้วยกุศลกรรมบถทั้ง ๑๐ ประการเหล่านี้ เป็นเหตุ
พวกเทพจึงปรากฏ หรือว่าสุคติใดๆ แม้อื่นอีก ย่อมมี.
.............................................................................................................................................................
032
มิจฉาทิฐิของนักแสดง (ตาลปุตตสูตร)
ฉบับหลวง (ไทย) เล่มที่ ๑๘ สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
ตาลบุตร พ่อบ้านนักเต้นรำ เข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาค ได้ทูลถามพระผู้มี พระภาค ว่า เคยได้ยินคำของนักเต้นรำ ผู้เป็นอาจารย์และปาจารย์ก่อนๆ กล่าวว่า นักเต้นรำคนใด ทำให้คนหัวเราะ รื่นเริง ด้วยคำจริงบ้าง คำเท็จบ้างในท่ามกลาง สถานเต้นรำ ในท่ามกลางสถาน มหรสพ ผู้นั้นเมื่อแตกกาย ตายไป ย่อมเข้าถึง ความเป็นสหาย แห่งเทวดาผู้ร่าเริง ในข้อนี้พระผู้มีพระภาคตรัส อย่างไร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อย่าเลย นายคามณี ขอพักข้อนี้เสียเถิด ท่านอย่าถามข้อนี้ กะเราเลยฯ แม้ครั้งที่ ๒ ... แม้ครั้งที่ ๓ ...
ดูกรนายคามณี เราห้ามท่านไม่ได้แล้วว่า อย่าเลย ท่านอย่าถามข้อนี้กะเราเลย แต่เราจักพยากรณ์ให้ท่าน
อนึ่ง ถ้าเขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นักเต้นรำคนใด ทำให้คนหัวเราะ รื่นเริงด้วย คำจริง บ้าง คำเท็จบ้าง ในท่ามกลางสถานเต้นรำ ในท่ามกลางสถานมหรสพผู้นั้น เมื่อแตก กาย ตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่ง เทวดาชื่อปหาสะ ความเห็นของเขานั้น เป็นความเห็นผิด (มิจฉาทิฐิ)
ดูกรนายคามณี ก็เราย่อมกล่าวคติสองอย่าง คือ นรก หรือ กำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน อย่างใดอย่างหนึ่ง ของบุคคลผู้มีความเห็นผิด ฯ
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พ่อบ้านนักเต้นรำนามว่า ตาลบุตร ร้องไห้สะอื้น น้ำตาไหล. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่ได้ร้องไห้ ถึงข้อที่พระผู้มีพระภาค ตรัสอย่างนี้กะข้าพระองค์หรอก แต่ว่าข้าพระองค์ถูกนักเต้นรำผู้เป็นอาจารย์ และ ปาจารย์ก่อนๆ ล่อลวงให้เข้าใจผิดมาช้านาน
.............................................................................................................................................................
033
ปา. ที. ๑๑/๗๐-๘๐/๓๙-๔๗./ ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ หน้า 581
ราชาเอาแต่อารักขาตนเอง แต่ไม่ได้ทำให้เกิดทรัพย์ ความยากจนขัดสนย่อมเกิด
ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อพระราชา มีการกระทำชนิด ที่เป็นไปแต่เพียงเพื่อการคุ้มครอง อารักขา แต่มิได้เป็นไปเพื่อการกระทำให้เกิดทรัพย์ แก่บุคคลผู้ไม่มีทรัพย์ทั้งหลาย ดังนั้นแล้วความยากจนขัดสน ก็เป็นไปอย่างกว้างขวาง แรงกล้าถึงที่สุด
เพราะความยากจนขัดสน เป็นไปอย่างกว้างขวาง แรงกล้าถึงที่สุด อทินนาทาน (ลักทรัพย์) ก็เป็นไปอย่างกว้างขวาง แรงกล้าถึงที่สุด
เพราะอทินนาทานเป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด การใช้ศัสตราวุธ โดยวิธีการ ต่างๆ ก็เป็นไปอย่างกว้างขวาง แรงกล้าถึงที่สุด
เพราะการใช้ศัสตราวุธโดยวิธีการต่างๆ เป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด ปาณาติบาต (ซึ่งหมายถึงการฆ่า มนุษย์ด้วยกัน) ก็เป็นไปอย่างกว้างขวางแรง กล้า ถึงที่สุด
................................................................................
034
ไม่โกหกกัน แม้เพียงเพื่อหัวเราะเล่น
“ราหุล ! นักบวช ที่ไม่มีความละอายในการแกล้งกล่าวเท็จ ทั้งที่รู้อยู่ว่าเป็นเท็จ ก็มีความเป็นสมณะ เท่ากับความว่างเปล่า ของน้ำในภาชนะนี้ ฉันนั้นเหมือนกัน ..ฯลฯ..”
“ราหุล ! เรากล่าวว่า กรรมอันเป็นบาปหน่อยหนึ่ง ซึ่งนักบวชที่ไม่มีความละอาย ในการ แกล้งกล่าวเท็จทั้งที่รู้อยู่ว่าเป็นเท็จ จะทำไม่ได้ หามีไม่.
เพราะฉะนั้นในเรื่องนี้ เธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจไว้ว่า
“เราทั้งหลายจักไม่กล่าวมุสาแม้แต่เพื่อหัวเราะกันเล่น” ดังนี้
ราหุล ! เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกใจไว้อย่างนี้”
ปฐมธรรม หน้า 109
.................................................................................
035
ลักษณะของ “ผู้มีความเพียรตลอดเวลา”
ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อภิกษุกำลังเดิน...ยืน...นั่ง...นอนอยู่
ถ้าเกิดครุ่นคิดด้วยความ ครุ่นคิด ในกาม
หรือครุ่นคิดด้วยความ ครุ่นคิด ในทางเดือดแค้น
หรือ ครุ่นคิดด้วยความ ครุ่นคิด ในทางทำผู้อื่นให้ลำบากเปล่าๆขึ้นมา
และ ภิกษุ ก็ไม่รับเอาความ ครุ่นคิดนั้นไว้ สละทิ้ง ไปถ่ายถอนออก ทำให้สิ้นสุดลงไป จนไม่มีเหลือ
ภิกษุที่เป็น เช่นนี้ แม้กำลัง เดิน ...ยืน ...นั่ง ...นอนอยู่ ก็เรียกว่า เป็นผู้ทำ ความเพียรเผา กิเลส รู้สึกกลัวต่อสิ่งลามก เป็นคน ปรารภความเพียร อุทิศตนในการเผากิเลส อยู่เนืองนิจ
ปฐมธรรม หน้า 163
................................................................................
036
แม้เพียงปฐมฌาน ก็ชื่อว่าเป็นที่หลบพ้นภัยจากมาร
(พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสข้อความปรารภการสงครามระหว่างเทวดากับอสูร ... ถ้าฝ่ายใดแพ้ถูกไล่ติด ตามไปจนถึงภพ เป็นที่อยู่แห่งตน ก็จะพ้นจากการถูกไล่ ติดตาม แล้วตรัสต่อไปอีกว่า)
ภิกษุทั้งหลาย ! ฉันใดก็ฉันนั้น : ในสมัยใดภิกษุสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าถึงปฐมฌาน อันมี วิตกมีวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดจากวิเวกแล้วแลอยู่
ภิกษุทั้งหลาย ! ในสมัยนั้น ภิกษุย่อมคิดอย่าง นี้ว่า “ในการนี้ เรามีตนอันถึงแล้ว ซึ่งที่ต้านทานสำหรับ สัตว์ผู้กลัวอยู่ มารจะไม่ทำอะไรได้”.
ภิกษุทั้งหลาย !แม้มารผู้มีบาป ก็คิดอย่างนี้ว่า “ในการนี้ ภิกษุมีตนอันถึงแล้ว ซึ่งที่ ต้านทานสำหรับสัตว์ ผู้กลัวอยู่ เราจะทำอะไรไม่ได้”....
(ในกรณีแห่งทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌานก็ได้ตรัสข้อความทำนองเดียวกัน)
ปฐมธรรม หน้า 190
..................................................................................
37
ความสำคัญของ สมถะ และ วิปัสสนา
ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรม ๒ อย่างเหล่านี้ เป็นส่วนแห่งวิชชา(ความรู้แจ้ง)
๒ อย่างอะไรเล่า?
๒ อย่าง คือ สมถะ และ วิปัสสนา
ภิกษุทั้งหลาย ! สมถะ เมื่ออบรมแล้ว จะได้ประโยชน์อะไร ?
อบรมแล้ว จิตจะเจริญจิตเจริญแล้ว จะได้ประโยชน์อะไร ?
เจริญแล้ว จะละราคะได้.
ภิกษุทั้งหลาย ! วิปัสสนาเล่า เมื่อเจริญแล้ว จะได้ประโยชน์อะไร ?
เจริญแล้ว ปัญญาจะเจริญปัญญาเจริญแล้ว จะได้ประโยชน์อะไร ?
เจริญแล้ว จะละอวิชชาได้ แล
ปฐมธรรม หน้า 197
..............................................................................
38
กายนี้ถูกความแก่ย่ำยี (ตรัสกับอานนท์ในช่วงใกล้ปรินิพพาน)
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! บัดนี้ ฉวีวรรณของพระผู้มีพระภาค ไม่บริสุทธิ์ผุดผ่อง เหมือนแต่ก่อน และพระกายก็เหี่ยวย่น หย่อนยาน มีพระองค์ค้อมไปข้างหน้า อินทรีย์ทั้งหลาย ก็เปลี่ยนเป็นอย่างอื่นไปหมด ทั้งพระจักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ”
อานนท์ ! นั่น ต้องเป็นอย่างนั้น คือ
ความชรามี (ซ่อน) อยู่ในความหนุ่ม
ความเจ็บไข้มี (ซ่อน) อยู่ในความไม่มีโรค
ความตายมี (ซ่อน) อยู่ในชีวิต
ฉวีวรรณจึงไม่บริสุทธิ์ผุดผ่องเสียแล้ว และกายก็เหี่ยวย่นหย่อนยาน มีตัวค้อมไปข้างหน้า อินทรีย์ ทั้งหลายก็เปลี่ยนเป็น อย่างอื่นไปหมด ทั้งตา หู จมูก ลิ้น กายดังนี้
พระผู้มีพระภาค ครั้นตรัสคำนี้แล้ว ได้ตรัสข้อความนี้ (เป็นคำกาพย์กลอน) อีกว่า
โธ่เอ๋ย ! ความแก่อันชั่วช้าเอ๋ย ! อันทำความน่าเกลียดเอ๋ย !
กายที่น่าพอใจ บัดนี้ก็ถูกความแก่ย่ำยีหมดแล้ว
แม้ใครจะมีชีวิตอยู่ตั้งร้อยปีทุกคน ก็ยังมีความตายเป็นที่ไปในเบื้องหน้า ความตายไม่ยกเว้นให้แก่ใครๆ มันย่ำยีหมด ทุกคน
ปฐมธรรม หน้า 256
....................................................................................
39
กุศลธรรม อกุศลธรรม
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่น แม้อย่างหนึ่ง
ที่เป็นเหตุให้
อกุศลธรรม ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือ
กุศลธรรม ที่เกิดขึ้นแล้ว เสื่อมไป
เหมือนการประกอบ อกุศลธรรม เนืองๆ
ไม่ประกอบ กุศลธรรมเนืองๆ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เพราะการประกอบ อกุศลธรรมเนืองๆ
เพราะการไม่ประกอบ กุศลธรรมเนืองๆ
อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และ
กุศลธรรมที่เกิดขึ้น แล้วย่อมเสื่อมไป ฯ
.....................................................................................
40|
มิตรที่แท้จริงคือ อริยมรรคมีองค์ ๘
อานนท์ ! ภิกษุผู้ชื่อว่า มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดีย่อมเจริญ ทำให้มากซึ่งอริยมรรค ประกอบด้วยองค์แปด โดยอาการอย่างไรเล่า ?
อานนท์ ! ภิกษุนี้ ย่อมเจริญ ทำให้มากซึ่ง สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ อันน้อมไป เพื่อการสลัดลง.
อานนท์ ! อย่างนี้แล ชื่อว่าภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดีมีเพื่อนดี ย่อมเจริญ ทำให้มากซึ่ง อริยมรรค ประกอบ ด้วยองค์แปด.
อานนท์ ! ข้อนั้นเธอพึงทราบด้วยปริยายอันนี้เถิดว่าพรหมจรรย์นี้ทั้งหมดนั้นเทียว ได้แก่ ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี ดังนี้.
......................................................................................
41
(เสาหิน ๑๖ ศอก) ผู้รู้อริยสัจ ย่อมไม่หวั่นไหว ดุจเสาหิน
ภิกษุ ท. ! ภิกษุรูปใด รู้อยู่ตามเป็นจริงว่า “นี้เป็นทุกข์ นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ นี้เป็นความดับไม่เหลือของทุกข์ และนี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับ ไม่เหลือ ของทุกข์.”
ดังนี้นั้น แม้ว่าจะพึงมีบุคคลที่เป็นสมณะหรือพราหมณ์ ซึ่งเป็นผู้ต้องการ จะโต้วาทะ เที่ยวแสวงคู่โต้วาทะ มาจากทิศตะวันออกหรือทิศตะวันตก ทิศเหนือ ทิศใต้ ก็ตาม โดยประกาศว่า “เราจักยกวาทะของภิกษุรูปนั้นเสีย” ดังนี้
ข้อที่สมณะหรือพราหมณ์นั้น จักทำภิกษุนั้นให้หวั่นไหวสั่นสะเทือน หรือสั่นระรัวไป โดยถูกธรรมนั้น ไม่เป็นฐานะที่จะเป็นไปได้เลย.
ข้อนี้เป็นเพราะเหตุไรเล่า? เพราะเหตุที่อริยสัจสี่นั้น ป็นธรรมที่ภิกษุนั้นเห็นแล้วด้วยดี.
ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนเสาหินยาว ๑๖ ศอก ฝังอยู่ในดิน ๘ ศอก โผล่ขึ้น พ้นดิน ๘ ศอก แม้จะมีลมพายุฝน อย่างแรงกล้า มาจากทิศตะวันออก หรือ ทิศตะวันตก ทิศเหนือ ทิศใต้ ก็ตาม ไม่พึงทำเสาหินนั้นให้หวั่นไหวสั่นสะเทือน หรือสั่นระรัว ไปได้เลย.
ข้อนี้เป็นเพราะเหตุไรเล่า ? เพราะส่วนที่ฝังนั้นลึก และฝังเป็นอย่างดี ฉันใดก็ฉันนั้น.
ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้นในกรณีนั้น ในกรณีนี้พวกเธอพึงทำความเพียรเพื่อให้รู้ ตามเป็นจริง ว่า
“ นี้เป็นทุกข์
นี้เป็นเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์นี้ เป็นความดับไม่เหลือ แห่งทุกข์ นี้เป็นทางดำเนิน ให้ถึง ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์”
(หนังสือ อริยสัจจากพระโอษฐ์)
........................................................................................
42
นิวรณ์๕ นิวรณ์เป็นปัจจัยให้มนต์ไม่แจ่มแจ้ง
(กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิธะ อุทธัจจะกุกกุจจ วิจิกิจฉา)
นิวรณ์ แปลว่า เครื่องกั้น
ใช้หมายถึงธรรมที่เป็นเครื่องปิดกั้นหรือขัดขวางไม่ให้บรรลุความดี ไม่เปิดโอกาส ให้ทำความดี และเป็นเครื่องกั้นความดีไว้ไม่ให้เข้าถึงจิต เป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ ผู้ปฏิบัติ บรรลุธรรมไม่ได้หรือทำให้เลิกล้มความตั้งใจปฏิบัติไป
นิวรณ์มี ๕ อย่าง คือ
1) กามฉันทะ ความพอใจติดใจ หลงใหลใฝ่ฝัน ในกามโลกีย์ทั้งปวง ดุจคนหลับอยู่
2) พยาบาท ความไม่พอใจ ความสมปรารถนา ในโลกียะสมบัติทั้งปวง
3) ถีนมิทธะ ความขี้เกียจ ท้อแท้ อ่อนแอ หมดอาลัย ไร้กำลังทั้งกายใจ ไม่ฮึกเหิม
4) อุทธัจจะกุกกุจจะ ความคิดซัดส่าย ตลอดเวลา ไม่สงบนิ่งอยู่ในความคิดใด ๆ
5) วิจิกิจฉา ความไม่แน่ใจ ลังเลใจ สงสัย กังวล กล้า ๆ กลัว ๆ ไม่เต็มที่ ไม่มั่นใจ
อุปมา นิวรณ์ ๕
(1) กามราคะ เปรียบเหมือน ภาชนะใส่น้ำซึ่งระคนด้วยสี ครั่ง สีเหลือง สีเขียว สีแดงอ่อน บุรุษผู้มีจักษุ เมื่อมองดูเงาหน้าของตนในน้ำนั้น ไม่พึงรู้ ไม่พึงเห็นตาม ความเป็นจริงได้
(2) พยาบาท เปรียบเหมือน ภาชนะใส่น้ำซึ่งร้อน เพราะไฟเดือดพล่าน มีไอ พลุ่งขึ้น บุรุษผู้มีจักษุ เมื่อมองดูเงาหน้าของตนในน้ำนั้น ไม่พึงรู้ ไม่พึงเห็นตามความ เป็นจริง
(3) ถีนมิทธะ เปรียบเหมือน ภาชนะใส่น้ำ อันสาหร่ายและจอกแหน ปกคลุมไว้ บุรุษผู้มีจักษุ เมื่อมองดูเงาหน้าของตนในน้ำนั้น ไม่พึงรู้ ไม่พึงเห็นตามความเป็นจริง
(4) อุทธัจจกุกกุจจะ เปรียบเหมือน ภาชนะใส่น้ำอันลมพัด ต้องแล้ว หวั่นไหว กระเพื่อม เกิดเป็นคลื่น บุรุษผู้มีจักษุ เมื่อมองดูเงาหน้าของตนในน้ำนั้น ไม่พึงรู้ ไม่พึงเห็นตาม ความเป็นจริง
(5) วิจิกิจฉา เปรียบเหมือน ภาชนะใส่น้ำที่ขุ่นมัวเป็นเปือกตม อันบุคคลวางไว้ ในที่มืด บุรุษผู้มีจักษุ เมื่อมองดูเงาหน้าของตนในน้ำนั้น ไม่พึงรู้ ไม่พึงเห็นตามความ เป็นจริง
ดูกรพราหมณ์ นี้แลเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้มนต์แม้ที่กระทำการสาธยายไว้นาน ไม่แจ่มแจ้งในบางคราว ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่มิได้กระทำการสาธยาย.
พระสูตรเต็ม สคารวสูตร
...................................................................................
43
คำแต่งใหม่ บทสวดนอกศาสนา และ ความเข้าใจผิดของชาวพุทธ
ที่มาที่ไปของประเพณีผิดอันเกิดจากคำแต่งใหม่ 117
ความเข้าใจผิด อานิสงส์การสร้างพระพุทธรูป 118
ความเข้าใจผิด เกี่ยวกับการฟังเทศน์มหาชาติ 122
ความเข้าใจผิด ในพระสัมมาสัมพุทธะ เมตเตยยะ 123
ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการกรวดน้ำอุทิศบุญ126
ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการทำน้ำมนต์ 128
ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับอานิสงส์ของการสวดมนต์ 130
บทสวดมนต์ยอดนิยมเป็นคำแต่งใหม่ 133
บทสวดพาหุง (พุทธชัยมังคล)เป็นคำแต่งใหม่ 134
คาถาชินบัญชร เป็นคำแต่งใหม่ 135
บทสวดอภยปริตร เป็นคำแต่งใหม่ 137
บทสวดอาฏานาฏิยปริตร(สวดภาณยักษ์) เป็นคำแต่งใหม่ 138
บทสวดโพชฌงคปริตร เป็นคำแต่งใหม่ 139
บทสวดชัยปริตร เป็นคำแต่งใหม่ 140
บทสวดอุทิศบุญกุศล (ปัตติทานคาถา) เป็นคำแต่งใหม่141
....................................................................................
44
ภพ ๓
-บาลี นิทาน. สํ. ๑๖/๕๒/๙๒.
ภิกษุทั้งหลาย ภพ1 เป็นอย่างไรเล่า.
ภิกษุทั้งหลาย ภพทั้งหลาย ๓ อย่าง เหล่านี้คือ กามภพ2 รูปภพ อรูปภพ.
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ภพ.
ความก่อขึ้น พร้อมแห่งภพ ย่อมมีเพราะความก่อขึ้นพร้อมแห่งอุปาทาน
ความดับ ไม่เหลือแห่งภพ ย่อมมีเพราะความดับไม่เหลือแห่งอุปาทาน
มรรค อันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับ ไม่เหลือแห่งภพ ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือความเห็นชอบ ความดำริชอบการพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.
1. ภพ = สถานที่อันวิญญาณใช้ตั้งอาศัยเพื่อเกิดขึ้น หรือเจริญงอกงามต่อไป. (ดูเพิ่มเติมที่ตั้งอาศัยของวิญญาณ 182 ตรัสภพเปรียบกับดินวิญญาณเปรียบกับ ส่วนของพืชเช่น เมล็ด ที่สามารถเจริญงอกงามต่อไปได้)
2. กามภพ = ที่เกิดอันอาศัย ดิน น้ำ ไฟ ลม
รูปภพ = สถานที่เกิดอันอาศัยสิ่งที่ เป็นรูปในส่วนละเอียด
อรูปภพ = สถานที่เกิดอันอาศัยสิ่งที่ไม่ใช่รูป(ภพที่ไม่มีรูป)
...............................................................................
45
บุคคลที่ได้ชื่อว่า พราหมณ์ (๒๘ นัยะ)
(ดูพระสูตรเต็ม คาถาธรรมบท พราหมณวรรคที่ ๒)
1. ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล เป็นผู้ไม่ถือมั่น
2. ตัด สังโยชน์ ทั้งหมดได้
3. ตัดความโกรธ ตัณหา ทิฐิ อนุสัย ถอนอวิชชา
4. มีขันติ อดกลั้น จากการทุบตี และจองจำ
5. ผู้ไม่โกรธ มีวัตร มีศีลไม่มีกิเลสเครื่องฟูขึ้น
6. ไม่ติดในกาม เหมือนน้ำไม่ติดบนใบบัว ดุจเม็ดผักกาดไม่ติดปลาย เหล็กแหลม
7. รู้แจ้งความสิ้นทุกข์ของตน ปลงแล้ว พรากแล้ว
8. ผู้มีปัญญาลึกซึ้ง เป็นนักปราชญ์ ผู้ฉลาดในมรรค
9. ผู้ไม่มีความอาลัยในคฤหัสถ์ และบรรพชิต ผู้มีความปรารถนาน้อย
10. วางอาชญาในสัตว์ มั่นคง ไม่สะดุ้ง ไม่ฆ่าเอง ไม่ใช้ผู้อื่นให้ฆ่า
11. ผู้ไม่ผิดในผู้ผิด ผู้ดับเสียในผู้ที่มีอาชญาในตน ผู้ไม่ยึดถือในขันธ์
12. ผู้ที่ทำราคะ โทสะ มานะและมักขะ ดุจเมล็ดผักกาดตกจากปลายเหล็กแหลม
13. ผู้เปล่งวาจาไม่หยาบคาย พูดคำจริง ไม่ทำให้ใครขัดใจกัน
14. ไม่ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ น้อยก็ตามมากก็ตาม งามก็ตามไม่งามก็ตาม
15. ไม่มีความหวังในโลกนี้และในโลกหน้า ไม่มีตัณหา และกิเลส
16. ไม่มีความอาลัย ไม่เคลือบแคลงสงสัยเพราะรู้ทั่ว หยั่งลงสู่อมตะ
17. ละทิ้งบุญและบาปทั้งสอง ล่วงกิเลสเครื่องขัดข้องในโลกนี้ ผู้ไม่มีความโศก
18. มีความเพลิดเพลินในภพสิ้นแล้ว เป็นผู้บริสุทธิ์ มีจิตผ่องใส
19. ล่วงทางลื่น ทางที่ไปได้ยาก ข้ามสงสาร และโมหะเสียได้ เป็นผู้ถึงฝั่งแล้ว
20. ละกามทั้งหลายในโลกนี้ เป็นผู้ไม่มีเรือน งดเว้นเสียได้ มีกามและภพ สิ้นแล้ว
21. ผู้ละตัณหาในโลกนี้ได้แล้ว ภพหมดสิ้นแล้ว
22. ละโยคะของมนุษย์ ล่วงโยคะอันเป็นทิพย์ พรากแล้วจากโยคะทั้งปวง
23. ละความยินดี-ไม่ยินดีได้ เป็นผู้เย็นไม่มีกิเลสเป็นเหตุเข้าไป ทรงไว้ ครอบงำเสีย
24. ผู้รู้จุติและอุบัติของสัตว์โดยประการทั้งปวง ผู้ไม่ข้องอยู่ ไปดีแล้ว ตรัสรู้แล้ว
25. เทวดา คนธรรพ์และมนุษย์รู้คติของเขาไม่ได้ มีอาสวะสิ้นแล้ว เป็นพระอรหันต์
26. ไม่มีกิเลสเครื่องกังวลในขันธ์ ที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต และที่เป็นปัจจุบัน
27. องอาจแกล้วกล้า ชนะแล้ว แสวงคุณอันยิ้่งใหญ่ไม่หวั่นไหว ล้างกิเลส ตรัสรู้แล้ว
28. รู้ปุพเพนิวาส เห็นสวรรค์และอบาย ถึงความสิ้นไปแห่งชาติ อยู่จบพรหมจรรย์
..................................................................................
46
ลักษณะหนทางแห่งความหมดจด
ทางมีองค์แปด เป็นทางอันประเสริฐกว่าทางทั้งหลาย.
บทแห่งอริยสัจสี่ ประเสริฐกว่าบททั้งหลาย.
วิราคธรรม ประเสริฐกว่าธรรมทั้งหลาย.
ผู้มีพุทธจักษุ ประเสริฐกว่าสัตว์สองเท้าทั้งหลาย.
นี่แหละทางเพื่อความหมดจด แห่งทัสสนะ ทางอื่นมิได้มี.
เธอทั้งหลาย จงเดินตามทางนั้น อันเป็นที่หลงแห่งมาร เธอทั้งหลาย เดินตามทางนั้นแล้ว จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.
ทางเราบอกแล้วแก่เธอทั้งหลาย เพื่อการรู้จักการถอนซึ่งลูกศร ความเพียรเป็นกิจอันเธอทั้งหลายพึงกระทำ ตถาคตทั้งหลายเป็นเพียงผู้บอก (วิธีแห่งการกระทำ).
- ธ. ขุ. ๒๕/๕๑/๓๐.
....................................................................................
47
ผู้มุ่งปฏิบัติแล้ว ย่อมพ้นจากเครื่องผูกแห่งมาร
เมื่อใด บุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า “สังขารทั้งหลายทั้งปวง ไม่เที่ยง ” เมื่อนั้น เขาย่อมเบื่อหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ : นั่นแหละเป็นทางแห่งความหมดจด.
เมื่อใด บุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า “สังขารทั้งหลายทั้งปวง เป็นทุกข์ ” เมื่อนั้น เขาย่อมเบื่อหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ : นั่นแหละเป็นทางแห่งความหมดจด.
เมื่อใด บุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า “ธรรมทั้งหลายทั้งปวง เป็นอนัตตา” เมื่อนั้น เขาย่อมเบื่อหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ : นั่นแหละเป็นทางแห่งความหมดจด.
- ธ. ขุ. ๒๕/๕๑/๓๐.
............................................................................
48
วิบากแห่งกรรม ๓ อย่าง
ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าววิบากแห่งกรรมทั้งหลายว่า มีอยู่ ๓ อย่าง คือ
1.) วิบากในทิฏฐธรรม (คือทันควัน) หรือว่า
2.) วิบากในอุปะปัชชะ (คือในเวลาต่อมา) หรือว่า
3.) วิบากใน อปรปริยายะ (คือในเวลาต่อมาอีก)
....................................................................................
49
บุคคล ๔ จำพวก เรียงตัวได้ ๘ บุรุษ
คู่แห่งบุรุษ ๔ คู๋ นับเรียงตัวได้ ๘ บุรุษ หมายถึง พระอริยสงฆ์สาวกของพระพุทธองค์ ได้แก่
คู่แห่งบุรุษ ๔ คู๋
คู่ที่ ๑ โสดาปัตติผล และ โสดาปัตติมรรค
คู่ที่ ๒ สกทาคามิผล และ สกทาคามิมรรค
คู่ที่ ๓ อนาคามิผล และ อนาคามิมรรค
คู่ที่ ๔ อรหัตตผล และ อรหัตตมรรค
ถ้านับเรียงตัว ๘ บุรุษ คือ
๑. โสตาปัตติผล
๒. โสดาปัตติมรรค (ผู้กำลังปฏิบัติเพื่อความเป็นโสดาบัน)
๓. สกทาคามิผล
๔. สกทาคามิมรรค (ผู้กำลังปฏิบัติเพื่อความเป็นสกทาคามี)
๕. อนาคามิมรรค
๖. อนาคามิมรรค (ผู้กำลังปฏิบัติเพื่อความเป็นอนาคามี)
๗. อรหัตตผล
๘. อรหัตตมรรค (ผู้กำลังปฏิบัติเพื่อความเป็นอรหันต์)
คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่
1. โสดาบัน
2. ผู้ปฏิบัติเพื่อความเป็นโสดาบัน
3. สกทาคามี
4. ผู้ปฎิบัติเพื่อความเป็นสกทาคามี
5. อนาคามี
6. ผู้ปฎิบัติเพื่อความเป็นอนาคามี
7. อรหันต์
8. ผู้ปฎิบัติเพื่อความเป็นอรหันต์ |
.................................................................................
50
ผลแห่งความเป็นโสดาบัน
ภิกษุ ท. ! อานิสงส์แห่งการทำให้แจ้ง ซึ่งโสดาปัตติผล ๖ อย่าง เหล่านี้ มีอยู่ หกอย่าง เหล่าไหนเล่า ?
หกอย่าง คือ
๑. เป็นบุคคลผู้ เที่ยงแท้ต่อสัทธรรม (สทฺธมฺมนิยโต)
๒. เป็นบุคคลผู้ มีธรรมอันไม่รู้เสื่อม (อปริหานธมฺโม)
๓. เป็นผู้ที่ทุกข์ดับไป ทุกขั้นตอนแห่งการกระทำที่กระทำแล้ว
๔. เป็นบุคคลผู้ประกอบด้วย อสาธารณญาณ (ที่ไม่ทั่วไปแก่พวกอื่น)
๕. เป็นบุคคลผู้เห็นธรรมที่เป็นเหตุ
๖. เป็นบุคคลผู้เห็นธรรมทั้งหลาย ที่เกิดมาแต่เหตุ.
ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล อานิสงส์ ๖ ประการแห่งการทำให้แจ้งซึ่ง โสดาปัตติผล.
อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๑ หน้าที่ ๕๙๕
- ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๙๐/๓๖๘.
|