เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  ความเป็นพราหมณ์ ในพุทธศาสนา 1050
 
คาถาธรรมบท (คำคม)
 
 


คาถาธรรมบท พราหมณวรรคที่ ๒๖
ความเป็นพราหมณ์ ในพุทธศาสนา

พระอาทิตย์ย่อมส่องแสงสว่างในกลางวัน
พระจันทร์ย่อมส่องแสงสว่างในกลางคืน
กษัตริย์ทรงผูกสอดเครื่องครบ ย่อมมีสง่า
พราหมณ์ ผู้เพ่งฌาน ย่อมรุ่งเรือง
ส่วนพระพุทธเจ้า ย่อมรุ่งเรือง ด้วยพระเดชตลอดวันและคืนทั้งสิ้น

ภิกษุ
พึงตัด
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
พึงละ อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕
พึงเจริญ อินทรีย์ ๕ ให้ยิ่ง
ภิกษุล่วงธรรมเป็นเครื่องข้อง ๕ อย่างได้แล้ว
เรากล่าวว่า เป็นผู้ข้ามโอฆะได้

ฌานไม่มีแก่ผู้ไม่มีปัญญา
ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่มีฌาน
ฌานและปัญญามีอยู่ในผู้ใด
ผู้นั้นแลอยู่ในที่ใกล้นิพพาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเปลื้องราคะ และ โทสะเสีย
เหมือนมะลิ ปล่อยดอกที่เหี่ยวแห้งแล้ว ฉะนั้น


บุคคลที่ได้ชื่อว่า พราหมณ์ (๒๘ นัยะ)
1.ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล เป็นผู้ไม่ถือมั่น
2.ตัด สังโยชน์ทั้งหมดได้
3.ตัดความโกรธ ตัณหา ทิฐิ อนุสัย ถอนอวิชชา
4.มีขันติ อดกลั้น จากการทุบตี และจองจำ
5.ผู้ไม่โกรธ มีวัตร มีศีลไม่มีกิเลสเครื่องฟูขึ้น
6.ไม่ติดในกามทั้งหลาย เหมือนน้ำไม่ติดบนใบบัว ดุจเม็ดผักกาดไม่ติดปลายเหล็กแหลม
7.รู้แจ้งความสิ้นทุกข์ของตน ปลงแล้ว พรากแล้ว
8.ผู้มีปัญญาลึกซึ้ง เป็นนักปราชญ์ ผู้ฉลาดในมรรค
9.ผู้ไม่มีความอาลัยในคฤหัสถ์ และบรรพชิต ผู้มีความปรารถนาน้อย
10.วางอาชญาในสัตว์ มั่นคง ไม่สะดุ้ง ไม่ฆ่าเอง ไม่ใช้ผู้อื่นให้ฆ่า
11.ผู้ไม่ผิดในผู้ผิด ผู้ดับเสียในผู้ที่มีอาชญาในตน ผู้ไม่ยึดถือในขันธ์
12.ผู้ที่ทำราคะ โทสะ มานะ และ มักขะ ให้ตกไปดุจเมล็ดผักกาดตกจากปลายเหล็กแหลม
13.ผู้เปล่งวาจาไม่หยาบคาย พูดคำจริง ไม่ทำให้ใครขัดใจกัน
14.ไม่ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ น้อยก็ตาม มากก็ตาม งามก็ตาม ไม่งามก็ตาม
15.ไม่มีความหวังในโลกนี้และในโลกหน้า ไม่มีตัณหา และกิเลส
16.ไม่มีความอาลัย ไม่เคลือบแคลงสงสัยเพราะรู้ทั่ว หยั่งลงสู่อมตะ
17.ละทิ้งบุญและบาปทั้งสอง ล่วงกิเลสเครื่องขัดข้องในโลกนี้ ผู้ไม่มีความโศก
18.มีความเพลิดเพลินในภพสิ้นแล้ว เป็นผู้บริสุทธิ์ มีจิตผ่องใส
19.ล่วงทางลื่น ทางที่ไปได้ยาก ข้ามสงสาร และโมหะนี้เสียได้ ถึงฝั่งแล้ว
20.ละกามทั้งหลายในโลกนี้ เป็นผู้ไม่มีเรือน งดเว้นเสียได้ มีกามและ ภพ สิ้นแล้ว
21.ผู้ละตัณหาในโลกนี้ได้แล้ว ภพหมดสิ้นแล้ว
22.ละโยคะของมนุษย์ ล่วงโยคะอันเป็นทิพย์ พรากแล้วจากโยคะทั้งปวง
23.ละความยินดี -ไม่ยินดีได้ เป็นผู้เย็นไม่มีกิเลสเป็นเหตุเข้าไป ทรงไว้ ครอบงำเสีย
24.ผู้รู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย โดยประการทั้งปวง ผู้ไม่ข้องอยู่ ไปดีแล้ว ตรัสรู้แล้ว
25.เทวดา คนธรรพ์และมนุษย์รู้คติของเขาไม่ได้ มีอาสวะสิ้นแล้ว เป็นพระอรหันต์
26.ไม่มีกิเลสเครื่องกังวลในขันธ์ ที่เป็นอดีต เป็นอนาคต และในขันธ์ที่เป็นปัจจุบัน
27.องอาจ แกล้วกล้า แสวงหาคุณอันใหญ่ ชนะเสร็จแล้ว ไม่หวั่นไหว ล้างกิเลส ตรัสรู้แล้ว
28.รู้ปุพเพนิวาส เห็นสวรรค์และอบาย ถึงความสิ้นไปแห่งชาติ อยู่จบพรหมจรรย์


   เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
   การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
   การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
   แสวงหาสัจจะ บำเพ็ญทุกรกิริยา
   ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
   ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
   ปลงสังขาร ปรินิพพาน
   ลำดับขั้นการปรินิพพาน
   เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
   แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 

  คาถาธรรมบท ไม่ใช่คำสอนของพระศาสดาโดยตรง แต่มีการรวมรวมจัดหมวดหมู่ขึ้นมา
  ภายหลังโดยใช้ภาษาและสำนวนของตน ผู้ศึกษาควรใช้วิจารณญาณ

  (วิกิพีเดีย)
  ธรรมบท เป็นชื่อประชุมพระพุทธพจน์ในรูปแบบคาถา และเป็น 1 ในตำราพุทธศาสนา
  ซึ่งได้รับความนิยมอ่าน ทั้งเป็นที่รู้จักมากที่สุด ธรรมบทฉบับต้นที่สุดอยู่ในขุททกนิกาย
  ซึ่งเป็นหมวดหนึ่งในพระสุตตันตปิฎก ในพระไตรปิฎก ภาษาบาลี พระพุทธโฆสะ
  นักวิชาการ และนักวิจารณ์พุทธศาสนา อธิบายว่า พระพุทธฎีกาแต่ละส่วนที่บันทึกไว้นั้น
  พระโคตมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ต่างโอกาส แล้วแต่สถานการณ์จำเพาะ ที่บังเกิดขึ้นใน
  พระชนม์ และในสังฆมณฑล เขาร่ายรายละเอียดสถานการณ์ดังกล่าวไว้ในงานเขียนเรื่อง
  "ธัมมปทัฏฐกถา" ซึ่งต่อมากลายเป็นแหล่งตำนาน พระพุทธประวัติ

ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๕ สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต หน้า ๔๖


ความเป็นพราหมณ์ ในพุทธศาสนา
คาถาธรรมบท พราหมณวรรคที่ ๒๖


        [๓๖] ดูกรพราหมณ์ ท่านจงพยายามตัดกระแสตัณหาเสีย จงบรรเทากาม ทั้งหลายเสีย ดูกรพราหมณ์ ท่านรู้ความสิ้นไปแห่งสังขารทั้งหลายแล้ว จะเป็นผู้รู้ นิพพาน อันปัจจัยอะไรๆ ปรุงแต่งไม่ได้

เมื่อใดพราหมณ์เป็นผู้ถึงฝั่งในธรรมทั้ง ๒ ประการ* เมื่อนั้น กิเลสเป็นเครื่องประกอบ ทั้งปวงของพราหมณ์นั้น ผู้รู้แจ้งย่อมถึงความสาบสูญไป ฝั่งก็ดี(๑) ธรรมชาติ มิใช่ฝั่งก็ดี(๒) ฝั่งและธรรมชาติมิใช่ฝั่ง(๓) ย่อมไม่มีแก่ผู้ใด เรากล่าวผู้นั้น ซึ่งมีความ กระวนกระวายไปปราศแล้ว(หมดแล้ว)

ผู้ไม่ประกอบแล้วว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวบุคคลผู้เพ่งฌาน ปราศจากธุลีนั่งอยู่ผู้เดียว ทำกิจเสร็จแล้ว ไม่มีอาสวะบรรลุ ประโยชน์ อันสูงสุดนั้น ว่าเป็นพราหมณ์
*(ธรรม๒ ประการคือ ตัดกระแสตัณหา และบรรเทากาม)

พระอาทิตย์ย่อมส่องแสงสว่างในกลางวัน พระจันทร์ย่อมส่องแสงสว่างในกลางคืน กษัตริย์ทรงผูกสอดเครื่องครบ ย่อมมีสง่าพราหมณ์ ผู้เพ่งฌานย่อมรุ่งเรือง ส่วนพระพุทธเจ้า ย่อมรุ่งเรือง ด้วยพระเดชตลอดวันและคืนทั้งสิ้น

บุคคลผู้มีบาปอันลอยแล้วแล เรากล่าวว่าเป็นพราหมณ์

เรากล่าวบุคคลว่าเป็นสมณะเพราะประพฤติสงบ บุคคลผู้ขับไล่มลทินของตน เรากล่าวว่าเป็นบรรพชิต เพราะการขับไล่นั้น

พราหมณ์ไม่พึงประหารพราหมณ์ พราหมณ์ไม่พึงปล่อยเวรแก่พราหมณ์นั้น เราติเตียนบุคคลผู้ประหารพราหมณ์ เราติเตียนบุคคลผู้ปล่อยเวรแก่พราหมณ์ กว่าจักถึงเร็ว เธอตัดราคะและโทสะแล้ว จักถึงนิพพานในภายหลัง

ภิกษุ พึงตัดโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ พึงละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ พึงเจริญอินทรีย์ ๕ ให้ยิ่งภิกษุล่วงธรรมเป็นเครื่องข้อง ๕ อย่างได้แล้ว เรากล่าวว่า เป็นผู้ข้ามโอฆะได้

ดูกรภิกษุ เธอจงเพ่ง และอย่าประมาท จิตของเธอหมุนไปในกามคุณ เธออย่าเป็นผู้ ประมาทกลืนก้อนโลหะ อย่าถูกไฟเผาคร่ำครวญว่านี้ทุกข์

ฌานไม่มีแก่ผู้ไม่มีปัญญา
ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่มีฌาน
ฌานและปัญญามีอยู่ในผู้ใด
ผู้นั้นแลอยู่ในที่ใกล้นิพพาน


ความยินดีอันมิใช่ของมนุษย์ ย่อมมีแก่ภิกษุผู้เข้าไปสู่เรือนว่าง ผู้มีจิตสงบ ผู้เห็นแจ้ง ซึ่งธรรมโดยชอบ

ในกาลใดๆ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปแห่งขันธ์ทั้งหลาย ในกาลนั้นๆ ภิกษุนั้นย่อมได้ปีติและปราโมทย์ ปีติและปราโมทย์นั้น เป็นอมตะของ บัณฑิตทั้งหลายผู้รู้แจ้งอยู่ บรรดาธรรมเหล่านั้นธรรมนี้ คือ ความคุ้มครองอินทรีย์ ความสันโดษ และความสำรวมในปาฏิโมกข์ เป็นเบื้องต้นของ ภิกษุผู้มีปัญญาน ธรรมวินัยนี้ ท่านจงคบกัลยาณมิตร มีอาชีพหมดจดไม่เกียจคร้าน

ภิกษุพึงเป็นผู้ประพฤติปฏิสันถาร พึงเป็นผู้ฉลาดในอาจาระ (จรรยา ประพฤติดี)
เป็นผู้มากด้วยความปราโมทย์ เพราะความประพฤติในปฏิสันถาร และความเป็น ผู้ฉลาดในอาจาระนั้น จักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเปลื้องราคะ และ โทสะเสีย เหมือนมะลิ ปล่อยดอก ที่เหี่ยวแห้งแล้ว ฉะนั้น

ภิกษุผู้มีกายสงบ มีวาจาสงบ มีใจสงบมีใจตั้งมั่นดี มีอามิสในโลกอันคายแล้ว เรากล่าวว่า เป็นผู้สงบระงับ จงเตือนตนด้วยตนเอง จงสงวนตนด้วยตนเอง

ดูกรภิกษุ เธอนั้นผู้มีตนอันคุ้มครองแล้วมีสติ จักอยู่เป็นสุข ตนแลเป็นที่พึ่งของตน ตนแลเป็นคติของตนเพราะเหตุนั้น ท่านจงสำรวมตน เหมือนพ่อค้าระวังม้าดีไว้ ฉะนั้น

ภิกษุ ผู้มากด้วยความปราโมทย์เลื่อมใสแล้ว ในพุทธศาสนา พึงบรรลุสันตบท อันเป็นที่เข้าไปสงบแห่งสังขาร เป็นสุข

ภิกษุใดแล ยังเป็นหนุ่มย่อมเพียรพยายามในพุทธศาสนา ภิกษุนั้นย่อมยังโลกนี้ ให้สว่างไสว เหมือนพระจันทร์ พ้นแล้วจากเมฆ ฉะนั้น ฯ

บุคคลผู้ประหารนั้น การเกียจกันใจ จากสิ่งอันเป็นที่รักทั้งหลาย ของพราหมณ์ เป็นคุณประเสริฐหาน้อยไม่ ใจประกอบด้วยความเบียดเบียน ย่อมกลับจากวัตถุใดๆ ทุกข์ย่อมสงบได้หมดจากวัตถุนั้นๆ

เรากล่าวบุคคลผู้ไม่มีกรรมชั่วทางกาย วาจา ใจ ผู้สำรวมแล้วจากฐานะทั้ง ๓ ว่าเป็น พราหมณ์

บุคคลพึงรู้แจ้งธรรมอันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้วจากบุคคลใด พึงนอบน้อม บุคคลนั้นโดยเคารพ เหมือนพราหมณ์นอบน้อมการบูชาไฟ ฉะนั้น

บุคคลชื่อว่าเป็นพราหมณ์ เพราะการเกล้าชฎา เพราะโคตร เพราะชาติหามิได้ สัจจะ และ ธรรมะมีอยู่ในผู้ใด ผู้นั้นเป็นผู้สะอาดอยู่ ผู้นั้นเป็นพราหมณ์ด้วย

ดูกรท่านผู้มีปัญญาทราม จะมีประโยชน์อะไรด้วยการเกล้าชฎาแก่ท่าน จะมีประโยชน์อะไร ด้วยผ้าสาฎก ที่ทำด้วยหนังชะมดแก่ท่าน

ภายในของท่านรกชัฏ ท่านย่อมขัดสีแต่อวัยวะภายนอก เรากล่าวบุคคลผู้ทรงผ้า บังสุกุล ซูบผอมสะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น ผู้เดียวเพ่ง(ฌาน)อยู่ในป่านั้น ว่าเป็นพราหมณ์

ก็เราไม่กล่าวผู้ที่เกิดแต่กำเนิด ผู้มีมารดาเป็นแดนเกิด ว่าเป็นพราหมณ์ผู้นั้น เป็นผู้ชื่อ ว่า โภวาที (ผู้กล่าวว่าท่านผู้เจริญ) ผู้นั้นแลเป็นผู้มีกิเลสเครื่องกังวล

บุคคลที่เรียกว่า พราหมณ์ (๒๘ นัยยะ)

๑) เรากล่าวบุคคล ผู้ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล ผู้ไม่ถือมั่นนั้น ว่าเป็นพราหมณ์

๒) เรากล่าว ผู้ที่ตัดสังโยชน์ทั้งหมดได้ ไม่สะดุ้ง ผู้ล่วงกิเลสเป็นเครื่องข้อง ไม่ประกอบแล้ว ว่าเป็นพราหมณ์

๓) เรากล่าวบุคคล ผู้ตัดความโกรธ ดุจชะเนาะ ตัดตัณหาดุจหนังหัวเกวียน แล ะ ตัดทิฐิ ดุจเงื่อนพร้อมทั้งอนุสัย ดุจสายเสียได้ ผู้มีอวิชชา ดุจลิ่มสลักอันถอนแล้ว ตรัสรู้แล้ว ว่าเป็นพราหมณ์

๔) เรากล่าวผู้ไม่ประทุษร้าย อดกลั้นได้ ซึ่งการด่าการทุบตีและการจองจำ ผู้มีกำลัง คือ ขันติ ผู้มีหมู่พลเมืองคือขันติ ว่าเป็นพราหมณ์

๕) เรากล่าวบุคคล ผู้ไม่โกรธ มีวัตร มีศีลไม่มีกิเลสเครื่องฟูขึ้น ฝึกตนแล้ว มีร่างกาย ตั้งอยู่ ในที่สุดนั้น ว่าเป็นพราหมณ์

๖) เรากล่าวผู้ที่ ไม่ติดในกามทั้งหลาย ดุจน้ำไม่ติดอยู่ในใบบัว ดังเมล็ดพันธุ์ ผักกาด ไม่ติด อยู่บนปลายเหล็กแหลมนั้น ว่าเป็นพราหมณ์

๗) เรากล่าวผู้ที่ รู้แจ้งความสิ้นทุกข์ของตน ในธรรมวินัยนี้ มีภาระอันปลงแล้วพราก แล้ว ว่าเป็นพราหมณ์

๘) เรากล่าวบุคคล ผู้มีปัญญาลึกซึ้ง เป็นนักปราชญ์ ผู้ฉลาดในมรรค และมิใช่ มรรค ผู้บรรลุประโยชน์อันสูงสุดนั้น ว่าเป็นพราหมณ์

๙) เรากล่าวผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับคน ๒ พวก คือ คฤหัสถ์ และ บรรพชิต ผู้ไม่มีความอาลัย เที่ยวไป ผู้มีความปรารถนาน้อยนั้น ว่าเป็นพราหมณ์

๑๐) เรากล่าวผู้ที่ วางอาชญาในสัตว์ทั้งหลาย ผู้ที่สะดุ้งและมั่นคง ไม่ฆ่าเอง ไม่ใช้ ผู้อื่น ให้ฆ่า ว่าเป็นพราหมณ์

๑๑) เรากล่าวบุคคล ผู้ไม่ผิดในผู้ผิด ผู้ดับเสียในผู้ที่มีอาชญาในตน ผู้ไม่ยึดถือในขันธ์ ที่ยังมี ความยึดถือนั้น ว่าเป็นพราหมณ์

๑๒) เรากล่าว ผู้ที่ทำราคะ โทสะ มานะ และ มักขะ ให้ตกไปดุจเมล็ดพันธุ์ ผักกาด ที่เขาให้ ตกไป จากปลายเหล็กแหลมนั้น ว่าเป็นพราหมณ์

๑๓) เรากล่าวบุคคล ผู้เปล่งวาจาไม่หยาบคาย อันเป็นเหตุให้ผู้อื่นรู้แจ่มแจ้งกันได้ เป็นคำ จริง ผู้ไม่ทำใครๆ ให้ขัดใจกันนั้น ว่าเป็นพราหมณ์

๑๔) เรากล่าวผู้ที่ ไม่ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ให้ ในโลกนี้ ยาวก็ตาม สั้นก็ตาม น้อยก็ตาม มากก็ตาม งามก็ตาม ไม่งามก็ตาม ว่าเป็นพราหมณ์

๑๕) เรากล่าวผู้ ไม่มีความหวังในโลกนี้และในโลกหน้า ไม่มีตัณหา ไม่ประกอบด้วย กิเลส ว่าเป็นพราหมณ์

๑๖) เรากล่าวผู้ที่ ไม่มีความอาลัย ไม่เคลือบแคลงสงสัยเพราะรู้ทั่ว หยั่งลงสู่อมตะ บรรลุโดยลำดับ ว่าเป็นพราหมณ์

๑๗) เรากล่าวผู้ ละทิ้งบุญและบาปทั้งสอง ล่วงกิเลสเครื่องขัดข้องในโลกนี้ ผู้ไม่มี ความโศก ปราศจากธุลี บริสุทธิ์ ว่าเป็นพราหมณ์

๑๘) เรากล่าวผู้ที่ มีความเพลิดเพลินในภพสิ้นแล้ว ผู้บริสุทธิ์ มีจิตผ่องใส ไม่ขุ่นมัว เหมือน พระจันทร์ปราศจากมลทินนั้น ว่าเป็นพราหมณ์

๑๙) เรากล่าวผู้ ล่วงทางลื่น ทางที่ไปได้ยาก สงสารและโมหะนี้เสียได้ เป็นผู้ข้ามแล้ว ถึงฝั่ง เพ่ง (ฌาน)ไม่หวั่นไหว ไม่มีความเคลือบแคลงสงสัย ดับแล้วเพราะไม่ถือมั่น ว่าเป็นพราหมณ์

๒๐) เรากล่าวผู้ ละกามทั้งหลายในโลกนี้ เป็นผู้ไม่มีเรือนงดเว้นเสียได้ มีกามและ ภพ สิ้นแล้ว ว่าเป็นพราหมณ์

๒๑) เรากล่าว ผู้ละตัณหาในโลกนี้ได้แล้ว ภพหมดสิ้นแล้ว ว่าเป็นพราหมณ์

๒๒) เรากล่าวผู้ ละโยคะของมนุษย์ ล่วงโยคะอันเป็นทิพย์ พรากแล้วจากโยคะ ทั้งปวง ว่าเป็นพราหมณ์

๒๓) เรากล่าวผู้ ละความยินดี และความไม่ยินดีได้ เป็นผู้เย็นไม่มีกิเลสเป็นเหตุ เข้าไป ทรงไว้ ครอบงำเสีย ซึ่งโลกทั้งปวงผู้แกล้วกล้า ว่าเป็นพราหมณ์

๒๔) เรากล่าว ผู้รู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย โดยประการทั้งปวง ผู้ไม่ข้องอยู่ ไปดี ตรัสรู้ แล้ว ว่าเป็นพราหมณ์

๒๕) เรากล่าวผู้ที่ เทวดา คนธรรพ์และมนุษย์รู้คติของเขาไม่ได้ มีอาสวะสิ้นแล้ว เป็นพระอรหันต์ ว่าเป็นพราหมณ์

๒๖) เรากล่าวผู้ที่ ไม่มีกิเลสเครื่องกังวลในขันธ์ ที่เป็นอดีต ในขันธ์ที่เป็นอนาคต และในขันธ์ที่เป็นปัจจุบัน ไม่มีความกังวล ไม่มีความยึดถือ ว่าเป็นพราหมณ์

๒๗) เรากล่าวผู้ องอาจประเสริฐ แกล้วกล้า แสวงหาคุณอันใหญ่ ชนะเสร็จแล้ว ไม่หวั่นไหว ล้าง กิเลส ตรัสรู้แล้ว ว่าเป็นพราหมณ์

๒๘) เรากล่าวผู้ที่ รู้ปุพเพนิวาส เห็นสวรรค์และอบาย และได้ถึงความสิ้นไปแห่ง ชาติ อยู่จบพรหมจรรย์ เพราะรู้ยิ่งเป็นมุนีอยู่จบพรหมจรรย์ทั้งปวงแล้ว ว่าเป็นพราหมณ์ ฯ


จบพราหมณวรรคที่ ๒๖


 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์