เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 ผู้กล่าวคำไม่จริงย่อมเข้าถึงนรก ... ผู้ใดทำบาปกรรมแล้ว กล่าวว่ามิได้ทำ ผู้นั้นย่อมเข้าถึงนรก 1046
 
คาถาธรรมบท (คำคม)
 
 
คาถาธรรมบท นิรยวรรคที่ ๒๒

ผู้กล่าวคำไม่จริงย่อมเข้าถึงนรก

... บุคคลผู้กล่าวคำไม่จริง ย่อมเข้าถึงนรก
... ผู้ใดทำบาปกรรมแล้ว กล่าวว่ามิได้ทำ ผู้นั้นย่อมเข้าถึงนรก


นรชนผู้ประมาทแล้ว ทำชู้ภริยาของผู้อื่น ย่อมถึงฐานะ ๔ อย่าง คือ
    ไม่ได้บุญ ๑
    ไม่ได้นอนตามความใคร่ ๑
    นินทาเป็นที่ ๓
    นรกเป็นที่ ๔


สัตว์ทั้งหลาย ผู้ถือมั่นมิจฉาทิฐิ
ย่อมละอายเพราะวัตถุอันบุคคลไม่พึงละอาย
(คิดตรงกันข้าม รู้คุณเป็นโทษ)
ย่อมไม่ละอายเพราะวัตถุอันบุคคลพึงละอาย
ย่อมไปสู่ทุคติ

สัตว์ทั้งหลาย ผู้ถือมั่นมิจฉาทิฐิ
ผู้มีปกติเห็นในสิ่งที่ไม่ควรกลัวว่าควรกลัว
(คิดตรงกันข้าม)
และมีปกติ เห็นในสิ่งที่ควรกลัวว่าไม่ควรกลัว
ย่อมไปสู่ทุคติ

สัตว์ทั้งหลาย ผู้ถือมั่นมิจฉาทิฐิ
มีปกติรู้ในสิ่งที่ไม่มีโทษว่ามีโทษ
(คิดตรงกันข้าม)
และมีปกติ เห็นในสิ่งที่มีโทษว่าไม่มีโทษ
ย่อมไปสู่ทุคติ

สัตว์ทั้งหลาย ผู้ถือมั่นสัมมาทิฐิ
รู้ธรรมที่มีโทษโดยความเป็นธรรมที่มีโทษ
(รู้ตามความเป็นจริง-รู้โทษโดยความเป็นโทษ)
และ รู้ธรรมที่หาโทษมิได้ โดยความเป็นธรรมหาโทษมิได้
ย่อมไปสู่สุคติ
   เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
   การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
   การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
   แสวงหาสัจจะ บำเพ็ญทุกรกิริยา
   ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
   ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
   ปลงสังขาร ปรินิพพาน
   ลำดับขั้นการปรินิพพาน
   เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
   แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 

  คาถาธรรมบท ไม่ใช่คำสอนของพระศาสดาโดยตรง แต่มีการรวมรวมจัดหมวดหมู่ขึ้นมา
  ภายหลังโดยใช้ภาษาและสำนวนของตน ผู้ศึกษาควรใช้วิจารณญาณ

  (วิกิพีเดีย)
  ธรรมบท เป็นชื่อประชุมพระพุทธพจน์ในรูปแบบคาถา และเป็น 1 ในตำราพุทธศาสนา
  ซึ่งได้รับความนิยมอ่าน ทั้งเป็นที่รู้จักมากที่สุด ธรรมบทฉบับต้นที่สุดอยู่ในขุททกนิกาย
  ซึ่งเป็นหมวดหนึ่งในพระสุตตันตปิฎก ในพระไตรปิฎก ภาษาบาลี พระพุทธโฆสะ
  นักวิชาการ และนักวิจารณ์พุทธศาสนา อธิบายว่า พระพุทธฎีกาแต่ละส่วนที่บันทึกไว้นั้น
  พระโคตมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ต่างโอกาส แล้วแต่สถานการณ์จำเพาะ ที่บังเกิดขึ้นใน
  พระชนม์ และในสังฆมณฑล เขาร่ายรายละเอียดสถานการณ์ดังกล่าวไว้ในงานเขียนเรื่อง
  "ธัมมปทัฏฐกถา" ซึ่งต่อมากลายเป็นแหล่งตำนาน พระพุทธประวัติ

ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๕ สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต หน้าที่ ๓๙


ผู้กล่าวคำไม่จริงย่อมเข้าถึงนรก
คาถาธรรมบท นิรยวรรคที่ ๒๒


     [๓๒] บุคคลผู้กล่าวคำไม่จริงย่อมเข้าถึงนรก หรือ แม้ผู้ใดทำบาปกรรมแล้ว กล่าวว่ามิได้ทำ ผู้นั้นย่อมเข้าถึงนรก เช่นเดียวกัน แม้คนทั้งสองนั้นเป็นมนุษย์ ผู้มี กรรมเลวทราม ละไปแล้ว ย่อมเป็นผู้เสมอกันในโลกหน้า

คนเป็นอันมากผู้อันผ้ากาสาวะพันคอแล้ว มีธรรมอันลามก ไม่สำรวมเป็นคนชั่วช้า ย่อมเข้าถึงนรก เพราะกรรมอันลามกทั้งหลาย

ก้อนเหล็กแดงเปรียบด้วยเปลวไฟ อันบุคคลบริโภคแล้วประเสริฐกว่าบุคคล ผู้ทุศีล ไม่สำรวม พึงบริโภคก้อนข้าวของชาวแว่นแคว้น จะประเสริฐอะไร

นรชนผู้ประมาทแล้ว ทำชู้ภริยาของผู้อื่น ย่อมถึงฐานะ ๔ อย่าง คือ
    ไม่ได้บุญ ๑
    ไม่ได้นอนตามความใคร่ ๑
    นินทาเป็นที่ ๓
    
นรกเป็นที่ ๔

การไม่ได้บุญ และคติอันลามก ย่อมมีแก่นรชนนั้น ความยินดีของบุรุษผู้กลัวกับหญิง ผู้กลัว น้อยนัก และพระราชาทรงลงอาชญาอย่างหนักเพราะฉะนั้น นรชนไม่ควร ทำชู้ภริยาของผู้อื่น หญ้าคาบุคคลจับไม่ดีย่อมบาดมือ ฉันใด

ความเป็นสมณะที่บุคคลปฏิบัติไม่ดี ย่อมคร่าเข้าไปในนรก ฉันนั้นการงานอย่างใด อย่างหนึ่งที่ย่อหย่อนวัตรที่เศร้าหมอง และพรหมจรรย์ที่ระลึกด้วยความรังเกียจ ย่อมไม่มีผลมาก ถ้าจะทำพึงทำกิจนั้นจริงๆ พึงบากบั่นให้มั่น

ก็สมณธรรมที่ย่อหย่อน ย่อมเรี่ยรายกิเลส ดุจธุลีโดยยิ่ง ความชั่วไม่ทำเสียเลยดีกว่า เพราะความชั่วทำให้เดือดร้อนในภายหลัง ส่วนความดีทำนั่นแลเป็นดี เพราะทำแล้ว ไม่เดือดร้อนในภายหลัง

ท่านทั้งหลายจงคุ้มครองตนเหมือน ปัจจันตนคร ที่มนุษย์ทั้งหลายคุ้มครองไว้ พร้อมทั้ง ภายในและภายนอก ฉะนั้นขณะอย่าล่วงท่านทั้งหลายไปเสีย เพราะว่า ผู้ที่ล่วง ขณะเสียแล้ว เป็นผู้ยัดเยียดกันในนรก ย่อมเศร้าโศก

สัตว์ทั้งหลาย ผู้ถือมั่นมิจฉาทิฐิ
ย่อมละอายเพราะวัตถุอันบุคคลไม่พึงละอาย (คิดตรงกันข้าม)
ย่อมไม่ละอายเพราะวัตถุอันบุคคลพึงละอาย
ย่อมไปสู่ทุคติ


สัตว์ทั้งหลาย ผู้ถือมั่นมิจฉาทิฐิ
ผู้มีปกติเห็นในสิ่งที่ไม่ควรกลัวว่าควรกลัว (คิดตรงกันข้าม)
และมีปกติ เห็นในสิ่งที่ควรกลัวว่าไม่ควรกลัว
ย่อมไปสู่ทุคติ


สัตว์ทั้งหลาย ผู้ถือมั่นมิจฉาทิฐิ
มีปกติรู้ในสิ่งที่ไม่มีโทษว่ามีโทษ (คิดตรงกันข้าม)
และมีปกติ เห็นใน สิ่งที่มีโทษว่าไม่มีโทษ
ย่อมไปสู่ทุคติ


สัตว์ทั้งหลาย ผู้ถือมั่นสัมมาทิฐิ
รู้ธรรมที่มีโทษโดยความเป็นธรรมที่มีโทษ (รู้ตามความเป็นจริง)
และ รู้ธรรมที่หาโทษมิได้ โดยความเป็นธรรมหาโทษมิได้
ย่อมไปสู่สุคติ


จบนิรยวรรคที่ ๒๒

 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์