เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  ความอดกลั้น ความไม่ประมาทเราจักอดกลั้นคำล่วงเกิน ดุจช้างอดทนลูกศร ที่ออกมาจากแล่ง 1047
 
คาถาธรรมบท (คำคม)
 
 
คาถาธรรมบท นาควรรคที่ ๒๓
ความอดกลั้น ความไม่ประมาท

คนที่ได้ฝึกแล้ว อดทนซึ่งคำล่วงเกินได้ เป็นผู้ประเสริฐสุด… ดุจช้างอดทนซึ่งลูกศร ที่ออกมาจากแล่ง ในสงคราม

ความยินดีด้วยปัจจัยตามมีตามได้ นำมาซึ่งความสุข
บุญนำความสุขมาให้ ในเวลาสิ้นชีวิต
การละทุกข์ได้ทั้งหมด นำมาซึ่งความสุข
ความเป็นผู้เกื้อกูล มารดา นำมาซึ่งความสุขในโลก
ความเป็นผู้เกื้อกูลบิดา นำมาซึ่งความสุข
ความเป็นผู้เกื้อกูลสมณะ นำมาซึ่งความสุขในโลก
และความเป็นผู้เกื้อกูลพราหมณ์ นำมาซึ่งความสุขในโลก
ศีล นำมาซึ่งความสุข ตราบเท่าชรา
ศรัทธาตั้งมั่นแล้ว นำมาซึ่งความสุข
การได้เฉพาะซึ่งปัญญานำมาซึ่งความสุข
การไม่ทำบาปทั้งหลาย นำมา ซึ่งความสุข
   เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
   การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
   การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
   แสวงหาสัจจะ บำเพ็ญทุกรกิริยา
   ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
   ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
   ปลงสังขาร ปรินิพพาน
   ลำดับขั้นการปรินิพพาน
   เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
   แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 

  คาถาธรรมบท ไม่ใช่คำสอนของพระศาสดาโดยตรง แต่มีการรวมรวมจัดหมวดหมู่ขึ้นมา
  ภายหลังโดยใช้ภาษาและสำนวนของตน ผู้ศึกษาควรใช้วิจารณญาณ

  (วิกิพีเดีย)
  ธรรมบท เป็นชื่อประชุมพระพุทธพจน์ในรูปแบบคาถา และเป็น 1 ในตำราพุทธศาสนา
  ซึ่งได้รับความนิยมอ่าน ทั้งเป็นที่รู้จักมากที่สุด ธรรมบทฉบับต้นที่สุดอยู่ในขุททกนิกาย
  ซึ่งเป็นหมวดหนึ่งในพระสุตตันตปิฎก ในพระไตรปิฎก ภาษาบาลี พระพุทธโฆสะ
  นักวิชาการ และนักวิจารณ์พุทธศาสนา อธิบายว่า พระพุทธฎีกาแต่ละส่วนที่บันทึกไว้นั้น
  พระโคตมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ต่างโอกาส แล้วแต่สถานการณ์จำเพาะ ที่บังเกิดขึ้นใน
  พระชนม์ และในสังฆมณฑล เขาร่ายรายละเอียดสถานการณ์ดังกล่าวไว้ในงานเขียนเรื่อง
  "ธัมมปทัฏฐกถา" ซึ่งต่อมากลายเป็นแหล่งตำนาน พระพุทธประวัติ

ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๕ สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต หน้าที่ ๔๐

ความอดกลั้น ความไม่ประมาท
คาถาธรรมบท นาควรรคที่ ๒๓


[๓๓] เราจักอดกลั้นซึ่งคำล่วงเกิน ดุจช้างอดทนซึ่งลูกศร ที่ออกมาจาก แล่งในสงคราม ฉะนั้น เพราะคนทุศีลมีมาก ชนทั้งหลายย่อมนำสัตว์พาหนะที่ฝึกหัด แล้ว ไปสู่ที่ชุมนุม พระราชา ย่อมทรงพาหนะที่ได้ฝึกหัดแล้ว ในหมู่มนุษย์คน ที่ได้ฝึก แล้ว อดทนซึ่งคำล่วงเกินได้ เป็นผู้ประเสริฐสุด

ม้าอัสดร ม้าอาชาไนย ม้าสินธพ และ ช้างกุญชร ผู้มหานาคชนิด ที่นายควานฝึกแล้ว จึงเป็นสัตว์ประเสริฐ บุคคลผู้มีตนอันฝึกแล้ว ประเสริฐกว่าพาหนะเหล่านั้น บุคคลผู้ฝึก ตนแล้ว พึงไปสู่ทิศที่ยังไม่เคยไป ด้วยตนที่ฝึกแล้ว ฝึกดีแล้วได้ฉันใด บุคคลพึงไปสู่ ทิศที่ยังไม่เคยไป แล้วด้วยยานเหล่านี้ ฉันนั้น หาได้ไม่ กุญชรนามว่า ธนปาลกะ ผู้ตกมันจัด ห้ามได้ยาก เขาผูกไว้แล้ว ย่อมไม่บริโภคอาหาร กุญชร ย่อมระลึกถึงป่า เป็นที่อยู่แห่งช้าง

เมื่อใด บุคคลเป็นผู้บริโภคมาก มักง่วงซึมนอนหลับ พลิกกลับไปมา ดุจสุกรใหญ่ อันบุคคลปรนปรือ ด้วยเหยื่อ เมื่อนั้น บุคคลนั้นเป็นคนเขลาเข้าห้องบ่อยๆ

จิตนี้ได้ เที่ยวไปสู่ที่จาริกตามความปรารถนา ตามความใคร่ ตามความสุข ในกาลก่อน วันนี้ เราจักข่มจิตนั้นโดยอุบายอันแยบคาย ดุจนายควานช้าง ผู้ถือขอข่มช้างผู้ตกมัน ฉะนั้น

ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ยินดีในความไม่ประมาท จงตามรักษาจิตของตน จงถอนตนขึ้น จากหล่มคือกิเลส ที่ถอนได้ยาก ดุจกุญชรผู้จมแล้วในเปือกตมถอนตนขึ้นได้ ฉะนั้น

ถ้าว่าบุคคลพึงได้สหายผู้มีปัญญา รักษาตน ผู้เที่ยวไปด้วยกัน มีปกติอยู่ด้วยกรรมดี เป็นนักปราชญ์ ไซร้ บุคคลนั้นพึงครอบงำอันตรายทั้งปวง มีใจชื่นชม มีสติเที่ยวไปกับ สหายนั้น

ถ้าว่าบุคคลไม่พึงได้สหายผู้มีปัญญารักษาตน ผู้เที่ยวไปด้วยกันมีปกติอยู่ด้วยกรรมดี เป็นนักปราชญ์ไซร้

บุคคลนั้นพึงเที่ยวไป ผู้เดียวดุจพระราชาทรงละแว่นแคว้น อันพระองค์ทรงชนะ แล้ว เสด็จเที่ยวไปพระองค์เดียว ดุจช้างชื่อมา ตังคะ ละโขลง เที่ยวไปตัวเดียวในป่า ฉะนั้น

การเที่ยวไปของบุคคลผู้เดียวประเสริฐกว่า เพราะความเป็นสหายไม่มีในเพราะชน พาล

บุคคลพึงเที่ยวไปผู้เดียว ดุจช้างชื่อมา ตังคะ มีความขวนขวายน้อยเที่ยวไปในป่า และไม่พึงทำบาปทั้งหลาย สหายทั้งหลาย เมื่อความต้องการเกิดขึ้น นำความสุข มาให้
ความยินดีด้วยปัจจัยตามมีตามได้ นำมาซึ่งความสุข
บุญนำความสุขมาให้ ในเวลาสิ้นชีวิต
การละทุกข์ได้ทั้งหมด นำมาซึ่งความสุข
ความเป็นผู้เกื้อกูล มารดา นำมาซึ่งความสุขในโลก
ความเป็นผู้เกื้อกูลบิดา นำมาซึ่งความสุข
ความเป็นผู้เกื้อกูลสมณะ นำมาซึ่งความสุขในโลก
และความเป็นผู้เกื้อกูลพราหมณ์ นำมาซึ่งความสุขในโลก
ศีล นำมาซึ่งความสุข ตราบเท่าชรา
ศรัทธาตั้งมั่นแล้ว นำมาซึ่งความสุข
การได้เฉพาะซึ่งปัญญานำมาซึ่งความสุข
การไม่ทำบาปทั้งหลาย นำมา ซึ่งความสุข


จบนาควรรคที่ ๒๓

 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์