เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 ความสำรวม ความสำรวมด้วยจักษุ ด้วยหู ด้วยจมูก ด้วยลิ้น ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ เป็นความดี 1049
 
คาถาธรรมบท (คำคม)
 
 
คาถาธรรมบท ภิกขุวรรคที่ ๒๕
ความสำรวม

ความสำรวมด้วยจักษุ ..ด้วยหู ...ด้วยจมูก ...ด้วยลิ้น ...ด้วยกาย ..ด้วยวาจา ...ด้วยใจเป็นความดี ความสำรวมในทวารทั้งปวงเป็นความดี

ภิกษุผู้มีธรรมเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในธรรม ค้นคว้าธรรม ระลึกถึงธรรม
ย่อมไม่เสื่อม จากสัทธรรม


ฌานไม่มีแก่ผู้ไม่มีปัญญา ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่มีฌาน
ฌานและปัญญามีอยู่ในผู้ใด ผู้นั้นแลอยู่ในที่ใกล้นิพพาน

ในกาลใดๆ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปแห่งขันธ์ทั้งหลาย ในกาลนั้นๆ ภิกษุนั้นย่อมได้ปีติและปราโมทย์

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเปลื้องราคะ และ โทสะเสีย เหมือนมะลิปล่อยดอก ที่เหี่ยวแห้งแล้ว ฉะนั้น

ภิกษุผู้มีกายสงบ มีวาจาสงบ มีใจสงบมีใจตั้งมั่นดี มีอามิสในโลกอันคายแล้ว เรากล่าวว่า เป็นผู้สงบระงับ
   เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
   การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
   การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
   แสวงหาสัจจะ บำเพ็ญทุกรกิริยา
   ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
   ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
   ปลงสังขาร ปรินิพพาน
   ลำดับขั้นการปรินิพพาน
   เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
   แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 

  คาถาธรรมบท ไม่ใช่คำสอนของพระศาสดาโดยตรง แต่มีการรวมรวมจัดหมวดหมู่ขึ้นมา
  ภายหลังโดยใช้ภาษาและสำนวนของตน ผู้ศึกษาควรใช้วิจารณญาณ

  (วิกิพีเดีย)
  ธรรมบท เป็นชื่อประชุมพระพุทธพจน์ในรูปแบบคาถา และเป็น 1 ในตำราพุทธศาสนา
  ซึ่งได้รับความนิยมอ่าน ทั้งเป็นที่รู้จักมากที่สุด ธรรมบทฉบับต้นที่สุดอยู่ในขุททกนิกาย
  ซึ่งเป็นหมวดหนึ่งในพระสุตตันตปิฎก ในพระไตรปิฎก ภาษาบาลี พระพุทธโฆสะ
  นักวิชาการ และนักวิจารณ์พุทธศาสนา อธิบายว่า พระพุทธฎีกาแต่ละส่วนที่บันทึกไว้นั้น
  พระโคตมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ต่างโอกาส แล้วแต่สถานการณ์จำเพาะ ที่บังเกิดขึ้นใน
  พระชนม์ และในสังฆมณฑล เขาร่ายรายละเอียดสถานการณ์ดังกล่าวไว้ในงานเขียนเรื่อง
  "ธัมมปทัฏฐกถา" ซึ่งต่อมากลายเป็นแหล่งตำนาน พระพุทธประวัติ

ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๕ สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต หน้า ๔๕

ความสำรวม
คาถาธรรมบท ภิกขุวรรคที่ ๒๕

     [๓๕] ความสำรวม
ความสำรวมด้วยจักษุเป็นความดี
ความสำรวมด้วยหูเป็นความดี
ความสำรวมด้วยจมูกเป็นความดี
ความสำรวมด้วยลิ้นเป็นความดี
ความสำรวมด้วยกายเป็นความดี
ความสำรวมด้วยวาจาเป็นความดี
ความสำรวมด้วยใจเป็นความดี
ความสำรวมในทวารทั้งปวงเป็นความดี


ภิกษุผู้สำรวมแล้วในทวารทั้งปวง ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้

ผู้ที่สำรวมมือสำรวมเท้า สำรวมวาจา สำรวมตน ยินดีในอารมณ์ภายใน มีจิตตั้งมั่นอยู่ผู้เดียว สันโดษ บัณฑิตทั้งหลายกล่าวผู้นั้นว่าเป็นภิกษุ

ภิกษุใดสำรวมปาก มีปกติกล่าวด้วยปัญญา มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมแสดงอรรถและ ธรรม ภาษิตของภิกษุนั้น ไพเราะ

ภิกษุผู้มีธรรมเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในธรรม ค้นคว้าธรรม ระลึกถึงธรรม ย่อมไม่เสื่อม จากสัทธรรม

ภิกษุไม่พึงดูหมิ่นลาภของตน ไม่พึงเที่ยวปรารถนาลาภของผู้อื่น เพราะภิกษุปรารถนา ลาภของผู้อื่นอยู่ ย่อมไม่บรรลุสมาธิ

ถ้าว่าภิกษุแม้มีลาภน้อย ก็ย่อมไม่ดูหมิ่นลาภของตนไซร้ เทวดาทั้งหลายย่อม สรรเสริญ ภิกษุนั้น ผู้มีอาชีพบริสุทธิ์ ไม่เกียจคร้าน

ผู้ใดไม่มีความยึดถือในนามรูป ว่าของเราโดยประการทั้งปวง และย่อมไม่เศร้าโศก เพราะนามรูปไม่มีอยู่ ผู้นั้นแลเรากล่าวว่า เป็นภิกษุ

ภิกษุใดมีปกติอยู่ด้วยเมตตา เลื่อมใส แล้วในพระพุทธศาสนา ภิกษุนั้นพึงบรรลุ สันตบท อันเป็นที่ระงับสังขารเป็นสุข

ดูกรภิกษุ เธอจงวิดเรือนี้ เรือที่เธอวิดแล้ว จักถึงเร็ว
เธอตัดราคะ และโทสะแล้ว จักถึงนิพพานในภายหลัง

ภิกษุพึงตัด โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ พึงละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ พึงเจริญอินทรีย์ ๕ ให้ยิ่ง ภิกษุล่วงธรรมเป็นเครื่องข้อง ๕ อย่างได้แล้ว เรากล่าวว่า เป็นผู้ข้ามโอฆะได้

ดูกรภิกษุ เธอจงเพ่ง และอย่าประมาท จิตของเธอหมุนไปในกามคุณ เธออย่าเป็นผู้ ประมาทกลืนก้อนโลหะ อย่าถูกไฟเผาคร่ำครวญว่านี้ทุกข์

ฌานไม่มีแก่ผู้ไม่มีปัญญา ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่มีฌาน
ฌานและปัญญามีอยู่ในผู้ใด ผู้นั้นแลอยู่ในที่ใกล้นิพพาน

ความยินดีอันมิใช่ของมนุษย์ ย่อมมีแก่ภิกษุผู้เข้าไปสู่เรือนว่าง
ผู้มีจิตสงบ ผู้เห็นแจ้ง ซึ่งธรรมโดยชอบ

ในกาลใดๆ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปแห่งขันธ์ทั้งหลาย ในกาลนั้นๆ ภิกษุนั้นย่อมได้ปีติและปราโมทย์

ปีติและปราโมทย์ นั้น เป็นอมตะ ของบัณฑิตทั้งหลาย ผู้รู้แจ้งอยู่

บรรดาธรรมเหล่านั้นธรรมนี้ คือ ความคุ้มครองอินทรีย์ ความสันโดษ และความสำรวม ในปาฏิโมกข์ เป็นเบื้องต้นของภิกษุผู้มี ปัญญานธรรมวินัยนี้

ท่านจงคบกัลยาณมิตร มีอาชีพหมดจดไม่เกียจคร้าน

ภิกษุพึงเป็นผู้ประพฤติปฏิสันถาร พึงเป็นผู้ฉลาดในอาจาระ เป็นผู้มากด้วยความ ปราโมทย์ เพราะความประพฤติในปฏิสันถาร และความเป็นผู้ฉลาดในอาจาระนั้น จักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเปลื้องราคะ และ โทสะเสีย เหมือนมะลิปล่อยดอก ที่เหี่ยวแห้งแล้ว ฉะนั้น

ภิกษุผู้มีกายสงบ มีวาจาสงบ มีใจสงบมีใจตั้งมั่นดี มีอามิสในโลกอันคายแล้ว เรากล่าวว่า เป็นผู้สงบระงับ

จงเตือนตนด้วยตนเอง จงสงวนตนด้วยตนเอง

ดูกรภิกษุ เธอนั้นผู้มีตนอันคุ้มครองแล้วมีสติ จักอยู่เป็นสุข

ตนแลเป็นที่พึ่งของตน ตนแลเป็นคติของตนเพราะเหตุนั้น ท่านจงสำรวมตน เหมือนพ่อค้าระวังม้าดีไว้ ฉะนั้น

ภิกษุผู้มากด้วยความปราโมทย์ เลื่อมใสแล้วในพุทธศาสนา พึงบรรลุสันตบท อันเป็น ที่ เข้าไปสงบแห่งสังขาร เป็นสุข

ภิกษุใดแล ยังเป็นหนุ่ม ย่อมเพียรพยายามในพุทธศาสนา
ภิกษุนั้นย่อมยังโลกนี้ ให้สว่างไสว เหมือนพระจันทร์พ้นแล้วจากเมฆ ฉะนั้น ฯ

 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์