เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  ตัณหาย่อมเจริญแก่มนุษย์ ผู้ประพฤติประมาท 1048
 
คาถาธรรมบท (คำคม)
 
 


คาถาธรรมบท ตัณหาวรรคที่ ๒๔
ตัณหาย่อมเจริญแก่มนุษย์ ผู้ประพฤติประมาท

ท่านจงปล่อยความอาลัยในขันธ์ที่เป็น อดีต เสีย
จงปล่อยความอาลัยในขันธ์ที่เป็น อนาคต เสีย
จงปล่อยความอาลัยในขันธ์ที่เป็น ปัจจุบัน เสีย
จักเป็นผู้ถึงฝั่งแห่งภพ มีใจพ้นวิเศษแล้วในสังขตธรรมทั้งปวง
จักไม่เข้าถึงชาติและชราอี

การให้ธรรมเป็นทาน ย่อมชนะการให้ทั้งปวง
รสแห่งธรรม ย่อมชนะรสทั้งปวง
ความยินดีในธรรม ย่อมชนะความยินดีทั้งปวง
ความสิ้นตัณหา ย่อมชนะทุกข์ทั้งปวง

โภคทรัพย์ทั้งหลาย ย่อมฆ่าคนมีปัญญาทราม
แต่หาฆ่าผู้ที่แสวงหาฝั่งไม่ (โภคทรัพย์ ไม่อาจทำอันตรายแก่ผู้เดินมรรค)

ทานที่บุคคลถวายในท่าน ผู้ปราศจาก ราคะ ย่อมมีผลมาก
ทานที่บุคคลถวายในท่าน ผู้ปราศจาก โทสะ ย่อมมีผลมาก
ทานที่บุคคลถวายในท่าน ผู้ปราศจาก โมหะ ย่อมมีผลมาก

   เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
   การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
   การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
   แสวงหาสัจจะ บำเพ็ญทุกรกิริยา
   ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
   ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
   ปลงสังขาร ปรินิพพาน
   ลำดับขั้นการปรินิพพาน
   เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
   แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 

  คาถาธรรมบท ไม่ใช่คำสอนของพระศาสดาโดยตรง แต่มีการรวมรวมจัดหมวดหมู่ขึ้นมา
  ภายหลังโดยใช้ภาษาและสำนวนของตน ผู้ศึกษาควรใช้วิจารณญาณ

  (วิกิพีเดีย)
  ธรรมบท เป็นชื่อประชุมพระพุทธพจน์ในรูปแบบคาถา และเป็น 1 ในตำราพุทธศาสนา
  ซึ่งได้รับความนิยมอ่าน ทั้งเป็นที่รู้จักมากที่สุด ธรรมบทฉบับต้นที่สุดอยู่ในขุททกนิกาย
  ซึ่งเป็นหมวดหนึ่งในพระสุตตันตปิฎก ในพระไตรปิฎก ภาษาบาลี พระพุทธโฆสะ
  นักวิชาการ และนักวิจารณ์พุทธศาสนา อธิบายว่า พระพุทธฎีกาแต่ละส่วนที่บันทึกไว้นั้น
  พระโคตมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ต่างโอกาส แล้วแต่สถานการณ์จำเพาะ ที่บังเกิดขึ้นใน
  พระชนม์ และในสังฆมณฑล เขาร่ายรายละเอียดสถานการณ์ดังกล่าวไว้ในงานเขียนเรื่อง
  "ธัมมปทัฏฐกถา" ซึ่งต่อมากลายเป็นแหล่งตำนาน พระพุทธประวัติ

ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๕ สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต หน้าที่ ๔๓

ตัณหาย่อมเจริญแก่มนุษย์ ผู้ประพฤติประมาท

คาถาธรรมบท ตัณหาวรรคที่ ๒๔


     [๓๔] ตัณหาย่อมเจริญแก่มนุษย์ ผู้ประพฤติประมาท ดุจเครือเถาย่านทราย ฉะนั้น บุคคลนั้นย่อมเร่ร่อนไปสู่ภพน้อยใหญ่ ดังวานรปรารถนาผลไม้ เร่ร่อนไปในป่า ฉะนั้น ตัณหานี้ลามกซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ ในโลกย่อมครอบงำบุคคลใด ความโศก ทั้งหลาย ย่อมเจริญแก่บุคคลนั้น ดุจหญ้าคมบางอันฝนตกเชยแล้วงอกงามอยู่ในป่า ฉะนั้น

บุคคลใดแล ย่อมครอบงำตัณหาอันลามก ล่วงไปได้โดยยากในโลก ความโศก ทั้งหลาย ย่อมตกไปจากบุคคลนั้น เหมือนหยาดน้ำตกไปจากใบบัวฉะนั้น เพราะเหตุ นั้น เราจึงกล่าวกะท่านทั้งหลาย ผู้มาประชุมกันในที่นี้

ท่านทั้งหลายจงขุดรากแห่งตัณหาเสีย ดุจบุรุษต้องการแฝกขุดแฝก ฉะนั้น มาร อย่าระรานท่านทั้งหลายบ่อยๆ ดุจกระแสน้ำระรานไม้อ้อ ฉะนั้น

ต้นไม้ เมื่อรากหา อันตรายมิได้ มั่นคงอยู่ แม้ถูกตัดแล้วก็กลับงอกขึ้นได้ ฉันใด
ทุกข์นี้ เมื่อบุคคลยังถอนเชื้อตัณหาขึ้นไม่ได้แล้ว ย่อมเกิดขึ้นบ่อยๆ แม้ฉันนั้น

ความดำริทั้งหลายที่อาศัยราคะเป็นของใหญ่ ย่อมนำบุคคลผู้มีตัณหาดังกระแส ๓๖ อันไหลไปในอารมณ์ซึ่งทำให้ใจเอิบอาบ เป็นของกล้า ไปสู่ทิฐิชั่ว กระแสตัณหา ย่อมไหลไปในอารมณ์ทั้งปวง

ตัณหาดังเครือเถาเกิดขึ้นแล้วย่อมตั้งอยู่ ก็ท่านทั้งหลายเห็นตัณหาดังเครือเถานั้น อันเกิดแล้ว จงตัดรากเสียด้วยปัญญา โสมนัสที่ซ่านไปแล้วและที่เป็นไป กับด้วย ความเยื่อใย ย่อมมีแก่สัตว์ สัตว์เหล่านั้นอาศัยความสำราญ แสวงหาสุข

นรชนเหล่านั้นแลเป็นผู้เข้าถึงชาติและชรา หมู่สัตว์ถูกตัณหาอันทำความสะดุ้ง ห้อมล้อมแล้ว ย่อมกระสับกระส่าย ดุจกระต่ายติดแร้วกระสับกระส่ายอยู่ฉะนั้น

สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้ข้องแล้วด้วยสังโยชน์ และธรรมเป็นเครื่องข้อง ย่อมเข้าถึงทุกข์ บ่อยๆ สิ้นกาลนาน

หมู่สัตว์ถูกตัณหา อันทำความสะดุ้งห้อมล้อมแล้ว ย่อมกระสับ กระส่าย ดุจกระต่าย ติดแร้วกระสับกระส่ายอยู่ ฉะนั้น เพราะเหตุนั้น

ภิกษุเมื่อหวัง วิราคะธรรม แก่ตนพึงบรรเทาตัณหา ที่ทำความสะดุ้งเสีย ท่านทั้งหลาย จงเห็นบุคคลผู้ไม่มีกิเลส เพียงดังหมู่ไม้ในป่า มีใจน้อมไปแล้ว ในความเพียรดุจป่า พ้นแล้วจากตัณหาเพียงดังป่า ยังแล่นเข้าหาป่านั่นแล บุคคลนี้พ้นแล้ว จากเครื่องผูก ยังแล่นเข้าหาเครื่องผูก

นักปราชญ์ทั้งหลายหากล่าวเครื่องผูก ซึ่งเกิดแต่เหล็ก เกิดแต่ไม้ และเกิดแต่ หญ้าปล้อง ว่ามั่นไม่ สัตว์ผู้กำหนัดแล้ว กำหนัดนักแล้ว ในแก้วมณีและแก้วกุณฑล ทั้งหลายและความห่วงใยในบุตรและภริยา

นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวเครื่องผูกอันหน่วงลง อันหย่อน อันบุคคลเปลื้อง ได้โดย ยาก นั้นว่ามั่น นักปราชญ์ทั้งหลาย ตัดเครื่องผูก แม้นั้นแล้ว เป็นผู้ไม่มี ความห่วงใย ละกามสุขแล้วย่อมเว้นรอบ

สัตว์เหล่าใดถูกราคะย้อมแล้ว สัตว์เหล่านั้นย่อมแล่นไปตามกระแสตัณหา ดุจแมลงมุม แล่นไปตามใยที่ตนทำเอง ฉะนั้นนักปราชญ์ทั้งหลาย ตัดเครื่องผูก แม้นั้นแล้ว เป็นผู้ ไม่มีความห่วงใย ย่อมละทุกข์ทั้งปวงไป

ท่านจงปล่อยความอาลัยในขันธ์ที่เป็น อดีต เสีย
จงปล่อยความอาลัยในขันธ์ที่เป็น อนาคต เสีย
จงปล่อยความอาลัยในขันธ์ที่เป็น ปัจจุบัน เสีย
จักเป็นผู้ถึงฝั่งแห่งภพ มีใจพ้นวิเศษแล้วในสังขตธรรมทั้งปวง
จักไม่เข้าถึงชาติและชราอีก


ตัณหาย่อมเจริญยิ่งแก่ผู้ที่ถูกวิตกย่ำยี ผู้มีราคะกล้า มีปกติเห็นอารมณ์ว่างาม ผู้นั้นแลย่อมทำเครื่องผูกให้มั่น ส่วนผู้ใดยินดีแล้วในฌานเป็นที่สงบวิตก มีสติทุกเมื่อ เจริญอสุภะอยู่ ผู้นั้นแล จักทำตัณหาให้สิ้นไป ผู้นั้นจะตัดเครื่องผูกแห่งมารได้

ภิกษุผู้ถึงความสำเร็จแล้ว ไม่มีความสะดุ้ง ปราศจากตัณหา ไม่มีกิเลสเครื่องยั่วยวน ตัดลูกศรอันยังสัตว์ให้ไปสู่ภพได้แล้ว อัตภาพของภิกษุนี้มีในที่สุด

ภิกษุปราศจากตัณหาไม่ยึดมั่น ฉลาดในนิรุติ(คำพูด) และบท รู้จักความประชุมเบื้องต้น และ เบื้องปลายแห่งอักษรทั้งหลาย ภิกษุนั้นแลมีสรีระในที่สุด เรากล่าวว่า มีปัญญามาก เป็นมหาบุรุษเราเป็นผู้ครอบงำธรรมทั้งปวง รู้แจ้งธรรมทั้งปวง อันตัณหา และ ทิฐิไม่ฉาบ ทาแล้ว ในธรรมทั้งปวง ละธรรมได้ทุกอย่างพ้นวิเศษแล้ว

เพราะความสิ้นตัณหา รู้ยิ่งเอง พึงแสดงใครเล่า (ว่าเป็นอุปัชฌาย์หรืออาจารย์) การให้ธรรมเป็นทาน ย่อมชำนะการให้ทั้งปวง
รสแห่งธรรม ย่อมชำนะรสทั้งปวง
ความยินดีในธรรม ย่อมชำนะความยินดีทั้งปวง

ความสิ้นตัณหา ย่อมชำนะทุกข์ทั้งปวง

โภคทรัพย์ทั้งหลาย ย่อมฆ่าคนมีปัญญาทราม
แต่หาฆ่าผู้ที่แสวงหาฝั่งไม่


คนมีปัญญาทรามย่อมฆ่าตนได้ เหมือนบุคคลฆ่าผู้อื่น เพราะความอยากได้โภคทรัพย์ ฉะนั้น นาทั้งหลาย มีหญ้าเป็นโทษหมู่สัตว์มีราคะเป็นโทษ เพราะเหตุนั้นแล

ทานที่บุคคลถวายใน ท่านผู้ปราศจากราคะ ย่อมมีผลมาก
นาทั้งหลายมีหญ้าเป็นโทษ
หมู่สัตว์นี้ มีโทสะเป็นโทษ เพราะเหตุนั้นแล

ทานที่บุคคลถวายใน ท่านผู้ปราศจากโทสะ ย่อมมีผลมาก
นาทั้งหลายมีหญ้าเป็นโทษ
หมู่สัตว์นี้มีโมหะเป็นโทษ เพราะเหตุนั้นแล

ทานที่บุคคลถวายใน ท่านผู้ปราศจากโมหะ ย่อมมีผลมาก

นา ทั้งหลาย มีหญ้าเป็นโทษ
หมู่สัตว์นี้มีความอิจฉาเป็นโทษ เพราะเหตุนั้นแล
ทานที่บุคคล ถวายในท่านผู้ปราศจากความอิจฉาย่อมมีผลมาก ฯ

     จบตัณหาวรรคที่ ๒๔


 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์