เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  มรรคแปด ประเสริฐกว่าทางทั้งหลาย อริยสัจจ์ ประเสริฐกว่าสัจจะทั้งหลาย วิราคธรรม ประเสริฐกว่าธรรมทั้งหลาย 1051
 
คาถาธรรมบท (คำคม)
 
 


คาถาธรรมบท มรรควรรคที่ ๒๐
มรรคแปด ประเสริฐกว่าทางทั้งหลาย

ทางมีองค์แปด ประเสริฐกว่าทางทั้งหลาย
ธรรมอันพระอริยะเจ้าพึงถึง ๔ ประการ
(อริยสัจจ์) ประเสริฐกว่าสัจจะทั้งหลาย

วิราคธรรม ประเสริฐกว่าธรรมทั้งหลาย
พระตถาคต ผู้มีจักษุประเสริฐกว่าสัตว์ สองเท้า และ อรูปธรรมทั้งหลาย

เมื่อใด บุคคลพิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง
เมื่อนั้น เขาย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ นี้เป็นทางแห่งความหมดจด

เมื่อใดบุคคลพิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์
เมื่อนั้นเขาย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ นี้เป็นทางแห่งความหมดจด

เมื่อใด บุคคลพิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา
เมื่อนั้นเขาย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ นี้เป็นทางแห่งความหมดจด

ท่านทั้งหลาย จงตัดป่า อย่าตัดต้นไม้ ภัยย่อมเกิดแต่ป่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายตัดป่า และหมู่ไม้ในป่าแล้ว
จงเป็นผู้ไม่มีป่า เพราะกิเลส ดุจหมู่ไม้ในป่า แม้ประมาณน้อย
(ฆ่ากิเลส แต่อย่าฆ่าคน)



   เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
   การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
   การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
   แสวงหาสัจจะ บำเพ็ญทุกรกิริยา
   ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
   ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
   ปลงสังขาร ปรินิพพาน
   ลำดับขั้นการปรินิพพาน
   เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
   แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 

  คาถาธรรมบท ไม่ใช่คำสอนของพระศาสดาโดยตรง แต่มีการรวมรวมจัดหมวดหมู่ขึ้นมา
  ภายหลังโดยใช้ภาษาและสำนวนของตน ผู้ศึกษาควรใช้วิจารณญาณ

  (วิกิพีเดีย)
  ธรรมบท เป็นชื่อประชุมพระพุทธพจน์ในรูปแบบคาถา และเป็น 1 ในตำราพุทธศาสนา
  ซึ่งได้รับความนิยมอ่าน ทั้งเป็นที่รู้จักมากที่สุด ธรรมบทฉบับต้นที่สุดอยู่ในขุททกนิกาย
  ซึ่งเป็นหมวดหนึ่งในพระสุตตันตปิฎก ในพระไตรปิฎก ภาษาบาลี พระพุทธโฆสะ
  นักวิชาการ และนักวิจารณ์พุทธศาสนา อธิบายว่า พระพุทธฎีกาแต่ละส่วนที่บันทึกไว้นั้น
  พระโคตมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ต่างโอกาส แล้วแต่สถานการณ์จำเพาะ ที่บังเกิดขึ้นใน
  พระชนม์ และในสังฆมณฑล เขาร่ายรายละเอียดสถานการณ์ดังกล่าวไว้ในงานเขียนเรื่อง
  "ธัมมปทัฏฐกถา" ซึ่งต่อมากลายเป็นแหล่งตำนาน พระพุทธประวัติ

ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๕ สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต หน้าที่ ๓๕

มรรคแปด ประเสริฐกว่าทางทั้งหลาย
คาถาธรรมบท มรรควรรคที่ ๒๐


        [๓๐] ทางมีองค์แปด ประเสริฐกว่าทางทั้งหลาย ธรรมอันพระอริยะเจ้าพึงถึง๔ ประการ (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) ประเสริฐกว่าสัจจะทั้งหลาย

วิราคธรรม
ประเสริฐกว่าธรรมทั้งหลาย
พระตถาคต ผู้มีจักษุประเสริฐกว่าสัตว์ สองเท้า และ อรูปธรรมทั้งหลาย

ทางนี้เท่านั้นเพื่อความหมดจดแห่งทัศนะ ทางอื่น ไม่มี เพราะเหตุนั้นท่านทั้งหลายจงดำเนินไปตามทางนี้แหละ
เพราะทางนี้เป็นที่ยังมาร และเสนามารให้หลง ด้วยว่าท่านทั้งหลายดำเนินไปตามทางนี้แล้ว จักทำ ที่สุด แห่งทุกข์ได้ เราทราบชัดธรรมเป็นที่สลัดกิเลส เพียงดังลูกศรออก บอกทาง แก่ท่าน ทั้งหลายแล้ว

ท่านทั้งหลายพึงทำความเพียรเครื่องยังกิเลส ให้เร่าร้อน

พระตถาคตทั้งหลาย เป็นแต่ผู้บอกชนทั้งหลาย ดำเนินไป
แล้วผู้เพ่งพินิจ จะพ้นจาก เครื่องผูกแห่งมารได้

เมื่อใด บุคคลพิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง
เมื่อนั้น เขาย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ นี้เป็นทางแห่งความหมดจด

เมื่อใดบุคคลพิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์
เมื่อนั้นเขาย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ นี้เป็นทางแห่งความหมดจด

เมื่อใด บุคคลพิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา
เมื่อนั้นเขาย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ นี้เป็นทางแห่งความหมดจด

บุคคลหนุ่มมีกำลัง ไม่ลุกขึ้นในกาลเป็นที่ลุกขึ้น
เข้าถึงความเป็นคนเกียจคร้าน มีความดำริอันจมเสียแล้ว ชื่อว่าเป็นคนเกียจคร้าน คนเกียจคร้าน ย่อมไม่ประสบทาง แห่งปัญญา

บุคคลพึงตามรักษาวาจา พึงสำรวมดีแล้วด้วยใจ และไม่พึงทำอกุศลด้วยกาย พึงชำระกรรมบถ ๓ ประการนี้ให้หมดจด พึงยินดีมรรค ที่ฤาษีประกาศแล้ว

ปัญญา เพียงดังแผ่นดินย่อมเกิด เพราะความประกอบโดยแท้
ความสิ้นไปแห่งปัญญา เพียงดังแผ่นดิน เพราะความไม่ประกอบ
บัณฑิตรู้ ทางสองแพร่งแห่งความเจริญ และความเสื่อมนี้แล้ว พึงตั้งตนไว้โดยอาการ ที่ปัญญาเพียงดังแผ่นดิน จะเจริญขึ้นได้

ท่านทั้งหลายจงตัดป่า อย่าตัดต้นไม้ ภัยย่อมเกิดแต่ป่า (ฆ่ากิเลส แต่อย่าฆ่าคน)
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายตัดป่า และหมู่ไม้ในป่าแล้ว
จงเป็นผู้ไม่มีป่า เพราะกิเลส ดุจหมู่ไม้ในป่า แม้ประมาณน้อย
ในนารี (หญิง) ของนระ(ชาย) ยังไม่ขาดเพียงใด
นระนั้น ยังมีใจเกาะเกี่ยว ดุจลูกโคผู้ดื่มกินน้ำนม
มีเกาะเกี่ยวในมารดาเพียงนั้น

ท่านจงตัดความรักของตนเสีย
ดุจบุคคลเด็ดดอกโกมุท
อันเกิดในสรทกาล(ฤดูใบไม้ร่วง) ด้วยฝ่ามือ
ท่านจงเพิ่มพูนทางสงบอย่างเดียว

นิพพาน
อันพระสุคตทรงแสดงแล้ว
คนพาลย่อมคิดผิดว่า เราจักอยู่ในที่นี้ตลอดฤดูฝน
จักอยู่ในที่นี้ตลอดฤดูหนาว และฤดูร้อนดังนี้ย่อมไม่รู้อันตราย

มัจจุ ย่อมพาเอาคนผู้มัวเมาในบุตร และปสุสัตว์
มีมนัสข้องติดในอารมณ์ต่างๆ เหมือนห้วงน้ำใหญ่
พาเอาชาวบ้านผู้หลับไปฉะนั้น
เมื่อบุคคลถูกมัจจุ ผู้ทำซึ่งที่สุดครอบงำแล้ว

บุตรทั้งหลายย่อมไม่มี เพื่อความต้านทาน
บิดาย่อมไม่มีเพื่อความต้านทาน
ถึงพวกพ้องทั้งหลาย ก็ย่อมไม่มีเพื่อความต้านทาน
ความเป็นผู้ต้านทาน ไม่มีในญาติทั้งหลาย
บัณฑิตทราบอำนาจประโยชน์นี้แล้ว

พึงเป็นผู้สำรวมแล้วด้วยศีล พึงรีบชำระทางเป็นที่ไปสู่นิพพานพลันทีเดียว ฯ

จบมรรควรรคที่ ๒๐

 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์