เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  สคารวสูตร นิวรณ์เป็นปัจจัยให้มนต์ไม่แจ่มแจ้ง 120  
 
  (ย่อ)

นิวรณ์ แปลว่า เครื่องกั้น
ใช้หมายถึงธรรมที่เป็นเครื่องปิดกั้นหรือขัดขวางไม่ให้บรรลุความดี ไม่เปิดโอกาส ให้ทำความดี และเป็นเครื่องกั้นความดีไว้ไม่ให้เข้าถึงจิต เป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ผู้ ปฏิบัติ บรรลุธรรมไม่ได้หรือ ทำให้เลิกล้มความตั้งใจปฏิบัติไป

นิวรณ์มี 5 อย่าง

1) กามฉันทะ - ความพอใจ ติดใจ หลงใหลใฝ่ฝัน ในกามโลกีย์ทั้งปวง
2) พยาบาท - ความไม่พอใจ จากความไม่ได้สมดังปรารถนาในโลกียะสมบัติทั้งปวง
3) ถีนมิทธะ - ความขี้เกียจ ท้อแท้ อ่อนแอ หมดอาลัย ไร้กำลังทั้งกายใจ ไม่ฮึกเหิม
4) อุทธัจจะกุกกุจจะ - ความคิดซัดส่าย ตลอดเวลา ไม่สงบนิ่งอยู่ในความคิดใด ๆ
5) วิจิกิจฉา -ความไม่แน่ใจ ลังเลใจ สงสัย กังวล กล้า ๆ กลัว ๆ ไม่เต็มที่ ไม่มั่นใจ


 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๔๖


สคารวสูตร (นิวรณ์๕)
นิวรณ์เป็นปัจจัยให้มนต์ไม่แจ่มแจ้ง



           [๖๐๑] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พราหมณ์ชื่อว่า สคารวะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาค ถึงที่ ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ ระลึกถึงกัน ไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มี พระภาค ว่า.

           [๖๐๒] ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้มนต์แม้ที่ บุคคล กระทำ การสาธยายไว้นาน ไม่แจ่มแจ้งในบางคราว ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ ที่มิได้กระทำ การ สาธยาย ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัย ให้มนต์แม้ที่มิได้ กระทำ การสาธยายเป็นเวลานาน ก็ยังแจ่มแจ้งในบางคราว ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่ กระทำการ สาธยาย.

           [๖๐๓] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรพราหมณ์ สมัยใดแล (1) บุคคล มีใจฟุ้งซ่านด้วยกามราคะ อันกามราคะเหนี่ยวรั้งไปและไม่รู้ ไม่เห็นอุบายเป็น เครื่องสลัดออก ซึ่งกามราคะที่บังเกิดแล้ว ตามความเป็นจริง สมัยนั้น เขาไม่รู้ไม่เห็น แม้ซึ่งประโยชน์ ตน ตามความเป็นจริง แม้ซึ่งประโยชน์บุคคลอื่น ตามความเป็นจริง แม้ซึ่งประโยชน์ ทั้งสองอย่าง ตามความเป็นจริง มนต์แม้ที่กระทำการสาธยายไว้นาน ก็ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ ที่มิได้กระทำการสาธยาย.

           [๖๐๔] ดูกรพราหมณ์ เปรียบเหมือนภาชนะใส่น้ำ ซึ่งระคนด้วยสีครั่ง สีเหลือง สีเขียว สีแดงอ่อน บุรุษผู้มีจักษุ เมื่อมองดูเงาหน้าของตนในน้ำนั้น ไม่พึงรู้ ไม่พึงเห็นตาม ความเป็นจริงได้ ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน สมัยใด บุคคลมีใจฟุ้งซ่าน ด้วยกามราคะ อันกาม ราคะเหนี่ยวรั้งไป และไม่รู้ ไม่เห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก ซึ่งกามราคะ ที่บังเกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง ในสมัยนั้น เขาย่อมไม่รู้ ไม่เห็นแม้ซึ่ง ประโยชน์ตน ตาม ความ เป็นจริง แม้ซึ่งประโยชน์บุคคลอื่นตามความเป็นจริง แม้ซึ่ง ประโยชน์ทั้ง สองนั้นตาม ความเป็นจริง มนต์แม้ที่กระทำการสาธยายไว้นาน ก็ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ ที่มิได้ กระทำการสาธยาย.

           [๖๐๕] ดูกรพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง สมัยใด (2) บุคคลมีใจฟุ้งซ่าน ด้วยพยาบาท อันพยาบาทเหนี่ยวรั้งไป และย่อม ไม่รู้ ไม่เห็นอุบายเป็นเครื่องสลัด ออก ซึ่งพยาบาท ที่บังเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง ...
          [๖๐๖] ดูกรพราหมณ์ เปรียบเหมือนภาชนะใส่น้ำ ซึ่งร้อนเพราะไฟเดือด พล่าน มีไอ พลุ่งขึ้น บุรุษผู้มีจักษุ เมื่อมองดูเงาหน้าของตนในน้ำนั้น ไม่พึงรู้ ไม่พึง เห็นตามความ เป็นจริงฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน สมัยใด บุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วย พยาบาท อันพยาบาท เหนี่ยวรั้งไป และย่อมไม่รู้ ไม่เห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก ซึ่งพยาบาทที่บังเกิดขึ้น แล้ว ตามความเป็นจริง ...

           [๖๐๗] ดูกรพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง สมัยใด (3) บุคคลมีใจฟุ้งซ่าน ด้วยถีนมิทธะ อันถีนมิทธะเหนี่ยวรั้งไป ย่อมไม่รู้ ไม่เห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก ซึ่งถีนมิทธะที่บัง เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง ...
           [๖๐๘] ดูกรพราหมณ์ เปรียบเหมือนภาชนะใส่น้ำ อันสาหร่ายและจอกแหน ปกคลุมไว้ บุรุษผู้มีจักษุ เมื่อมองดูเงาหน้าของตนในน้ำนั้น ไม่พึงรู้ ไม่พึงเห็นตาม ความเป็นจริง ฉันใดฉันนั้นเหมือนกัน สมัยใดบุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วยถีนมิทธะ อัน ถีนมิทธะเหนี่ยวรั้ง ไป และย่อมไม่รู้ ไม่เห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก ซึ่งถีนมิทธะ ที่บังเกิดขึ้นแล้ว ตามความ เป็นจริง ...

           [๖๐๙] ดูกรพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง สมัยใด (4) บุคคลมีใจฟุ้งซ่าน ด้วยอุทธัจจกุกกุจจะ อันอุทธัจจกุกกุจจะเหนี่ยวรั้งไป และย่อมไม่รู้ ไม่เห็นอุบายเป็น เครื่องสลัดออก ซึ่งอุทธัจจกุกกุจจะที่บังเกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง ...
           [๖๑๐] ดูกรพราหมณ์ เปรียบเหมือนภาชนะใส่น้ำ อันลมพัดต้องแล้ว หวั่นไหว กระเพื่อม เกิดเป็นคลื่น บุรุษผู้มีจักษุ เมื่อมองดูเงาหน้าของตนในน้ำนั้น ไม่พึงรู้ ไม่พึงเห็นตาม ความเป็นจริง ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน สมัยใด บุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วย อุทธัจจกุกกุจจะ อันอุทธัจจกุกกุจจะเหนี่ยวรั้งไป และย่อมไม่รู้ ไม่เห็นอุบายเป็นเครื่อง สลัดออก ซึ่งอุทธัจจกุกกุจจะที่บังเกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง ...

           [๖๑๑] ดูกรพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง ในสมัยใด (5) บุคคลมีใจฟุ้งซ่าน ด้วยวิจิกิจฉา อันวิจิกิจฉาเหนี่ยวรั้งไป และไม่รู้ ไม่เห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก ซึ่งวิจิกิจฉา ที่บังเกิด ขึ้นแล้วตามความเป็นจริง สมัยนั้น เขาย่อมไม่รู้ ไม่เห็นแม้ซึ่ง ประโยชน์ตน ตามความ เป็นจริง แม้ซึ่งประโยชน์ บุคคลอื่นตามความเป็นจริง แม้ซึ่งประโยชน์ ทั้งสองอย่าง ตามความเป็นจริง มนต์แม้ ที่กระทำการสาธยายไว้นาน ก็ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ ที่มิได้กระทำการ สาธยาย.
           [๖๑๒] ดูกรพราหมณ์ เปรียบเหมือนภาชนะใส่น้ำที่ขุ่นมัวเป็นเปือกตม อันบุคคลวางไว้ ในที่มืด บุรุษผู้มีจักษุ เมื่อมองดูเงาหน้าของตนในน้ำนั้น ไม่พึงรู้ ไม่พึงเห็นตามความ เป็นจริง ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน สมัยใด บุคคลมีใจฟุ้งซ่าน ด้วยวิจิกิจฉา อันวิจิกิจฉา เหนี่ยว รั้งไป และย่อมไม่รู้ ไม่เห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก ซึ่งวิจิกิจฉาที่บังเกิดขึ้น แล้ว ตามความ เป็นจริง สมัยนั้น เขาย่อมไม่รู้ ไม่เห็นแม้ ซึ่งประโยชน์ตนตามความ เป็นจริง แม้ซึ่งประโยชน์บุคคลอื่นตามความเป็นจริง แม้ซึ่งประโยชน์ทั้งสองอย่าง ตามความ เป็นจริง มนต์ที่กระทำการสาธยายไว้นาน ก็ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่ต้องกล่าวถึง มนต์ที่มิได้ กระทำการสาธยาย.

           [๖๑๓] ดูกรพราหมณ์ นี้แลเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้มนต์แม้ที่กระทำการ สาธยายไว้นาน ไม่แจ่มแจ้งในบางคราว ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่มิได้กระทำการ สาธยาย.
.................................................................................................................
(ปฏิปักษ์ -ในทางตรงกันข้าม)

           [๖๑๔] ดูกรพราหมณ์
(1) ส่วนสมัยใด บุคคลมีใจไม่ฟุ้งซ่านด้วยกามราคะ ไม่ถูกกาม ราคะ เหนี่ยวรั้งไป และย่อมรู้ ย่อมเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก ซึ่งกามราคะที่บังเกิด ขึ้น แล้วตามความเป็นจริง สมัยนั้น เขาย่อมรู้ ย่อมเห็นแม้ซึ่งประโยชน์ตน ตามความ เป็นจริง แม้ซึ่งประโยชน์บุคคลอื่นตามความเป็นจริง แม้ซึ่งประโยชน์ทั้งสองอย่าง ตามความเป็นจริง มนต์แม้ที่มิได้กระทำการสาธยายเป็นเวลานาน ย่อมแจ่มแจ้งได้ ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่กระทำการสาธยาย.
          [๖๑๕] ดูกรพราหมณ์ เปรียบเหมือนภาชนะใส่น้ำอันไม่ระคนด้วยสีครั่ง สีเหลือง สีเขียว หรือสีแดงอ่อน บุรุษผู้มีจักษุ เมื่อมองดูเงาหน้าของตนในน้ำนั้น พึงรู้ พึงเห็น ตามความเป็นจริง ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน สมัยใด บุคคลมีใจไม่ฟุ้งซ่านด้วย กามราคะ ไม่ถูกกาม ราคะเหนี่ยวรั้งไป และย่อมรู้ ย่อมเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก ซึ่งกามราคะที่บังเกิด ขึ้นแล้วตามความเป็นจริง ฯลฯ

           [๖๑๖] ดูกรพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง
(2) สมัยใด บุคคลมีใจไม่ฟุ้งซ่านด้วยพยาบาท ไม่ถูกพยาบาทเหนี่ยวรั้งไป และ ย่อมรู้ ย่อมเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก ซึ่งพยาบาท ที่บังเกิดขึ้นแล้วตามความ เป็นจริง ฯลฯ
          [๖๑๗] ดูกรพราหมณ์ เปรียบเหมือนภาชนะใส่น้ำที่ไม่ร้อนเพราะไฟ ไม่เดือดพล่าน ไม่เกิด ไอ บุรุษผู้มีจักษุ เมื่อมองดูเงาหน้าของตนในน้ำนั้น พึงรู้ พึงเห็นตามความเป็น จริงได้ ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน สมัยใดบุคคลมีใจไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยพยาบาท ไม่ถูก พยาบาท เหนี่ยวรั้งไป และย่อมรู้ ย่อมเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัด ออก ซึ่งพยาบาท ที่บังเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง ฯลฯ

           [๖๑๘] ดูกรพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง
(3) สมัยใด บุคคลมีใจไม่ฟุ้งซ่านด้วยถีนมิทธะ ไม่ถูกถีนมิทธะเหนี่ยวรั้งไป และ ย่อมรู้ ย่อมเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก ซึ่งถีนมิทธะ ที่บังเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง ฯลฯ
          [๖๑๙] ดูกรพราหมณ์ เปรียบเหมือนภาชนะใส่น้ำ อันสาหร่ายและจอกแหน ไม่ปก คลุมไว้ บุรุษผู้มีจักษุ เมื่อมองดูเงาหน้าของตนในน้ำนั้น พึงรู้ พึงเห็นตาม ความเป็น จริงได้ ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน สมัยใด บุคคลมีใจไม่ฟุ้งซ่านด้วยถีนมิทธะ ไม่ถูก ถีนมิทธะเหนี่ยวรั้งไป และย่อมรู้ ย่อมเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก ซึ่ง ถีนมิทธะ ที่บังเกิดขึ้นแล้ว ตามความ เป็นจริง ฯลฯ

           [๖๒๐] ดูกรพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง
(4) สมัยใด บุคคลมีใจไม่ฟุ้งซ่านด้วยอุทธัจจ กุกกุจจะ ไม่ถูกอุทธัจจกุกกุจจะเหนี่ยว รั้งไป และย่อมรู้ ย่อมเห็นอุบายเป็นเครื่อง สลัด ออก ซึ่งอุทธัจจกุกกุจจะที่บังเกิดขึ้น แล้ว ตามความจริง ฯลฯ
          [๖๒๑] ดูกรพราหมณ์ เปรียบเหมือนภาชนะใส่น้ำ อันลมไม่พัดต้องแล้ว ไม่หวั่นไหว ไม่กระเพื่อม ไม่เกิดเป็นคลื่น บุรุษผู้มีจักษุ เมื่อมองดูเงาหน้าของตน ในน้ำนั้น พึงรู้ พึงเห็น ตามความเป็นจริงได้ ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน สมัยใด บุคคล มีใจไม่ฟุ้งซ่าน ด้วย อุทธัจจ กุกกุจจะ ไม่ถูกอุทธัจจกุกกุจจะเหนี่ยวรั้งไป และย่อมรู้ ย่อมเห็นอุบาย เป็นเครื่อง สลัดออกซึ่งอุทธัจจกุกกุจจะที่บังเกิดขึ้นแล้ว ตามความ เป็นจริง ฯลฯ

           [๖๒๒] ดูกรพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง
(5) สมัยใด บุคคลมีใจไม่ฟุ้งซ่านด้วยวิจิกิจฉาไม่ถูกวิจิกิจฉาเหนี่ยวรั้งไป และ ย่อมรู้ ย่อมเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก ซึ่งวิจิกิจฉา ที่บังเกิดขึ้นแล้ว ตามความ เป็นจริง ฯลฯ

          [๖๒๓] ดูกรพราหมณ์ เปรียบเหมือนภาชนะใส่น้ำอันใสสะอาด ไม่ขุ่นมัว อันบุคคล วางไว้ ในที่แจ้ง บุรุษผู้มีจักษุ เมื่อมองดูเงาหน้าของตนในน้ำนั้น พึงรู้ พึงเห็นตาม ความเป็น จริงได้ ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน สมัยใด บุคคลมีใจไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยวิจิกิจฉา ไม่ถูกวิจิกิจฉา เหนี่ยวรั้งไป และย่อมรู้ ย่อมเห็นอุบายเป็นเครื่อง สลัดออก ซึ่ง วิจิกิจฉาที่บังเกิดขึ้นแล้ว ตาม ความเป็นจริง สมัยนั้น เขาย่อมรู้ ย่อมเห็นแม้ซึ่ง ประโยชน์ตนตามความเป็นจริง แม้ซึ่งประโยชน์บุคคลอื่นตามความ เป็นจริง แม้ซึ่ง ประโยชน์ทั้งสองอย่างตาม ความเป็น จริง มนต์แม้ที่มิได้กระทำการ สาธยาย เป็นเวลานาน ย่อมแจ่มแจ้งได้ ไม่ต้องกล่าวถึง มนต์ ที่กระทำการสาธยาย.

           [๖๒๔] ดูกรพราหมณ์ นี้แลเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้มนต์แม้ที่มิได้กระทำการ สาธยาย เป็นเวลานาน ก็ยังแจ่มแจ้งได้ในบางคราว ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่ กระทำการ สาธยาย.

           [๖๒๕] ดูกรพราหมณ์ โพชฌงค์แม้ทั้ง ๗ นี้ มิใช่เป็นธรรมกั้น มิใช่เป็น ธรรมห้าม ไม่เป็น อุปกิเลสของใจ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป เพื่อกระทำ ให้แจ้ง ซึ่งผล คือ วิชชาและวิมุติ โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน ? คือสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์

          ดูกรพราหมณ์ โพชฌงค์ ๗ นี้แล มิใช่เป็น ธรรมกั้น มิใช่เป็นธรรมห้าม ไม่เป็น อุปกิเลส ของใจอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้ง ซึ่งผล คือ วิชชา และวิมุติ.

           [๖๒๖] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว สคารวพราหมณ์ได้กราบทูล พระผู้มีพระ ภาคว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดม ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ฯลฯ ขอพระโคดมผู้เจริญ โปรดทรงจำ ข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต จำเดิมแต่วันนี้ เป็นต้นไป.

 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์