เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
    พระสูตรสั้น
ค้นหาคำที่ต้องการ        

พระสูตรสั้น พระสูตรโดยย่อ
  พระสูตรสั้น ชุด11 ทางลัด.. คลิกดูพระสูตรที่เป็นตัวเลข
1 (คลิก)
S11-1 กามเลว ปานกลาง กามปราณีต : กามใน ๓ ภพ (อบาย มนุษย์ เทวดา) กามที่ปรากฎ กามที่นิรมิตเอง กามที่ผู้อื่นนิรมิ
S11-2 จะดีจะชั่ว อยู่ที่ตัวเอง คนอื่นทำให้ไม่ได้ ตนทำชั่วเอง ก็เศร้าหมองเอง ไม่ทำชั่ว ก็บริสุทธิ์เอง
S11-3 ผู้ตกต่ำ ...คือ 1.ผู้ไปต่ำ 2.ผู้มีความตระหนี่ 3.ผู้ไม่เชื่อถ้อยคำเทศนา ของพระศาสดา และ สาวกของพระศาสดา
S11-4 การบำรุงที่เลว บำรุงกษัตริย์บ้าง พราหมณ์บ้าง คฤหบดีบ้าง บำรุงคนชั้นสูง บำรุงสมณะผู้ปฏิบัติผิด การบำรุงนี้นั้นเป็นการบำรุงที่เลว
S11-5 การบำรุงที่ดี บำรุงพระตถาคต หรือสาวกของพระตถาคต ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ การบำรุงนี้เป็นไปเพื่อนิพพาน
S11-6 นิททสวัตถุ ๗ ประการ การถือพรหมจรรย์บริสุทธิ์ของสมณะในธรรมวินัยนี้ ไม่อาจนับจำนวนปีที่ปฏิบัติเหมือนกับลัทธิอื่น
S11-7 อกุศลมูล 3 โลภะ โทสะ โมหะ อันควรละ รากเหง้าของความชั่วทั้งปวง จะแสดงออกมาเป็นเป็นทุจริตทางกาย วาจา ใจ(ทุจริต3)
S11-8 อัคคิสูตร ไฟ ๓ กอง 1.ไฟราคะ(ดับได้ด้วยการเห็นความไม่งาม) 2.ไฟโทสะ(ดับได้ด้วยเจริญเมตตา)3.ไฟโมหะ(ดับได้ด้วยปัญญา)
S11-9

ฐานะ และ อฐานะ ของสตรี ๕ ประการ 1.อรหัตสัมมาสัมพุทธะ 2.พระเจ้าจักรพรรดิ 3.ท้าวสักกะ (ดาวดึงส์) 4.เป็นมาร 5.เป็นพรหม

S11-10 นิวรณ์ ๕ เทียบกับ สังโยชน์ ๑๐ (ความเหมือน-ความต่าง)
2  
S11-11 ผลจากความไม่มีธรรมะของราชา โลกธาตุนี้ย่อมกระทบกันเป็นลูกโซ่ (ธรรมิกสูตร) ราชาไม่เป็นธรรม ข้าราชการก็ไม่ตั้งอยู่ในธรรม
S11-12 เหตุที่ทําให้มนุษย์จํานวนลดลง 1.มนุษย์ถูกมิจฉาธรรมครอบงำจึงจับอาวุธฆ่าฟันกัน 2.เกิดทุพภิกขภัย 3.ยักษ์ปล่อยอมนุษย์(คนชั่ว)
S11-13 พระเจ้าจักรพรรดิ ทรงสัมฤทธิผล ๔ อย่าง 1 รูปงามเกินมนุษย์ 2.อายุยืนเกินมนุษย์ 3.อาพาธน้อย 4.เป็นที่รักใคร่ของพราหมณ์
S11-14 ความหมายของคําว่า “ความดับ” หมายถึง ความดับแห่งรูป แห่งเวทนา แห่งสัญญา แห่งสังขาร และแห่งวิญญาณ
S11-15 ความดับของขันธ์ ๕ คือ ความดับของทุกข์ เห็นขันธ์๕ ด้วยความรู้สึกเบื่อหน่าย เห็นความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
S11-16 จงอย่าคิดเรื่องโลก (ให้คิดเรื่อง อริยสัจสี่) เพราะไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อพรหมจรรย์ ไม่เป็นไปเพื่อความหน่ายทุกข์
S11-17 ลําดับการหลุดพ้น เมื่อเห็นอนัตตา รูปไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็น อนัตตา
S11-18 การพยากรณ์อรหัตผลด้วย มรรค ๔ ประการ..เจริญวิปัสสนา มีสมถะเป็นเบื้องหน้า ..ใจของภิกษุปราศจากอุทธัจจะ(ลังเลสงสัย)
S11-19 เรื่องที่ทรงพยากรณ์ คือนี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับไม่เหลือของทุกข์ และนี้หนทางให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์
S11-20 เรื่องที่ไม่ทรงพยากรณ์ และทรงพยากรณ์ เรื่องที่ทรงพยากรณ์ไม่ว่าจะเป็นอดีตอนาคตปัจจุบัน ต้องประกอบด้วยประโยชน์เท่านั้น
3  
S11-21 ทรงหลงกามและหลุดจากกาม (ก่อนตรัสรู้) ตรัสกับท้าวมหานาม ที่นิโค๎รธาราม กรุงกบิลพัสดุ์
S11-22 ชฎิลสูตร.. สมัยหิมะตก ๘ วัน พระผู้มีพระภาคเห็นชฏิลดำผุดเพื่อบูชาน้ำ บูชาไฟ จึงเปล่งอุทาน ความสะอาดย่อมไม่มีเพราะน้ำ
S11-23 การขับร้อง คือการร้องไห้ การฟ้อนรำ คือความเป็นบ้า การหัวเราะ คือความเป็นเด็ก เมื่อท่านเบิกบานในธรรมก็ควรแต่ยิ้มแย้ม
S11-24 อาปายิกสูตร บุคคล 3 จำพวกต้องไปนรก 1.ปฏิญาณตนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ 2.ตามกำจัดผู้ที่มีพรหมจรรย์ 3.มีทิฏฐิว่าโทษในกามไม่มี
S11-25 โคตมสูตร ..ทรงแสดงธรรมโดยมีเหตุ ไม่แสดงธรรมอันไม่มีเหตุ แสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ ไม่ใช่แสดงธรรมไม่มีปาฏิหาริย์
S11-26 อนุรุทธสูตรที่ ๑... ธรรม ๓ ที่ทำให้มาตุคามไปสู่นรก 1.มีความตระหนี่กลุ้มรุม 2.มีใจริษยากลุ้มรุม 3.มีใจอันกามราคะกลุ้มรุม
S11-27 ในวันที่ไร้เมฆ ฟ้าสีทอง อากาศบริสุทธิ์ ไม่ต่างกับภิกษุย่อมละสังโยชน์ ๓ อย่าง/ไม่เกิด อภิชชา และพยาบาท/บรรลุปฐมฌาน
S11-28 อัปปเมยยสูตร : สุปปเมยย ผู้ฟุ้งซ่าน โลเล ถือตัว ปากกล้า ทุปปเมยย ไม่ฟุ้งซ่านไม่ถือตัว ไม่โลเล อัปปเมยย ผู้พึงประมาณไม่ได้
S11-29 โอวาทปาติโมกข์ ความอดกลั้น เป็นตบะอย่างยิ่ง นิพพานเป็นบรมธรรม การไม่ทำบาป ทั้งปวง การทำกุศล ให้ถึงพร้อม
S11-30 อนุปุพพนิโรธ สงัดจากกาม บรรลุปฐมฌาน ...อีกประการหนึ่ง เพราะล่วงเนวสัญญา บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ และอาสวะย่อมสิ้นไป
4  
S11-31 ธรรม ๙ ประการเป็นไฉน คือ ราคะ โทสะ โมหะ โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปลาสะ อิสสา มัจฉริยะ (ธรรมปหายภัพพสูตร)
S11-32 สิกขาสูตร ๕ ประการ ปาณาติบาต อทินนาทาน กาเม มุสาวาท สุราเมรัย
S11-33 สาสวะ อนาสวะ : สาสวะ เป็นสัมมาทิฐิของผู้ยังไม่เป็นอริยะ(เป็นมิจฉาทิฐิ) ยังหวังบุญ/ อนาสวะ เป็นสัมมาทิฐิของผู้อริยะหวังหลุดพ้น
S11-34 เรื่องพระโสภิตะ อรหันต์ ระลึกชาติได้ 500 กัลป์
S11-35 กกุธเทวบุตรพรหมเทวดา เข้าเฝ้าฯถามข้อสงสัย (กกุธสูตรที่ ๘)
S11-36 ยอมเสียชีวิต ไม่ยอมล่วงสิกขาบท
S11-37 อสัทธรรม ๘ ประการ ครอบงำย่ำยีพระเทวทัต จึงตกนรกชั่วกัป ช่วยเหลือไม่ได้
S11-38 อสัทธรรม ๓ ประการ ครอบงำย่ำยีพระเทวทัต จึงตกนรกชั่วกัป ช่วยเหลือไม่ได้
S11-39 ลำดับการแสดง “อนุปุพพิกถา” ของพระผู้มีพระภาค แสดงธรรมไปตามลำดับ จากการอ่านใจของผู้ฟัง ด้วยญาณหยั่งรู้วาระจิต
S14-40 เหตุปัจจัยที่ทำให้สัตว์ต้อง ไปนรก หรือสุคติโลกสวรรค์ หลังกายแตกทำลาย (ตรัสกับพราหมณ์ชานุสโสณี)
5
S11-41 ธรรม ๒ อย่างที่เป็นไป เพื่อความตั้งมั่น-ไม่ตั้งมั่น แห่งพระสัทธรรม ๑. บทพยัญชนะ ที่ตั้งไว้ดี-ไม่ดี ๒.อรรถ ที่นำมา ดี-ไม่ดี
S11-42 ธรรม ๖ ประการ เป็นเครื่องอยู่ของผู้มีจิตหลุดพ้น เธอเห็นรูปแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ หู จมุก ลิ้น กาย..
S11-43 สักกัจจสูตร ภิกษุไม่เคารพพระศาสดา จักเคารพในธรรม ข้อนี้ไม่เป็นฐานะ... ภิกษุเคารพพระศาสดา จักไม่เคารพในธรรม ไม่ใช่ฐานะ
S11-44 ปิยรูป-สาตรูป ๖๐ : สิ่งอันเป็นที่รัก-เป็นที่ยินดี ในโลก เช่น รูป เสียง กลิ่น รส ../ จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา .. เป็น ปิยรูป สาตรูป
S11-45 จิตดวงแรกเกิดขึ้น วิญญาณดวงแรกปรากฏ
S11-46 ความเกิดแห่งกายย่อมมี เพราะความเกิดแห่งอาหาร ...ความเกิดแห่งจิต เพราะนามรูป ความเกิดแห่งธรรม เพราะมนสิการ
S11-47 ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณย่อมมี เพราะความเกิดขึ้นแห่งนามรูป
S11-48 การบัญญัติรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์... คือผัสสะ
S11-49 สุขวรรค สุข ๒ อย่าง อย่างไหนเป็นเลิศกว่ากัน
S14-50 ธรรมหลายทั้งปวง มีนิพพานเป็นที่สุด...ถ้าปริพพาชกเดียรถีย์ถาม พึงตอบดังนี้

ต่อชุด 12
 


1

กามเลว กามปานกลาง กามประณีต
ภิกษุทั้งหลาย โดยมากสัตว์ทั้งหลาย หมกมุ่นอยู่ในกาม กุลบุตรผู้ละเคียว และคานหาบหญ้า ออกบวชเป็นบรรพชิต ควรเรียกว่าเป็นกุลบุตรผู้มีศรัทธาออกบวช ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะเขาควรได้กาม ด้วยความเป็นหนุ่ม และกามเหล่านั้น ก็มีอยู่ตามสภาพ คือ
๑) กามเลว (หีนา กามา)
๒) กามปานกลาง (มชฺฌิมา กามา)
๓) กามประณีต (ปณีตา กามา)
ซึ่งกามทั้งหมดก็ถึงการนับว่าเป็นกามทั้งนั้น.
(-บาลี ปญฺจก. อํ. ๒๒/๖/๗.)
-------------------------------------------------

กามอย่างละ ๓
กามใน ๓ ภพ
๑) กามมีในอบาย (อบายภูมิ นรก กำเนิดเดรัจฉาน เปรตวิสัย)
๒) กามมีในมนุษย์ (กามคุณ ๕ ในภพมนุษย์)
๓) กามอันเป็นทิพย์ (กามในเทวดาชั้นกามภพ)

กามที่ปรากฏ และกามนิรมิตขึ้น
๑) กามที่ปรากฎ
๒) กามที่นิรมิตเอง
๓) กามที่ผู้อื่นนิรมิต
(พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๓๐ หน้าที่ หน้าที่ ๒๓)


.......................................................................................

2
จะดีจะชั่ว อยู่ที่ตัวเอง คนอื่นทำให้ไม่ได้
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] หน้า ๒๙ - ๔๓

โธตกะ เราไม่สามารถปลดเปลื้องใครๆ ที่มีความสงสัยในโลกได้ แต่เธอเมื่อรู้แจ้ง ธรรม อันประเสริฐ ก็จะข้ามโอฆะนี้ได้เอง ด้วยประการ ฉะนี้ (สัตว์เหล่านั้น)จึงชื่อว่า ทำให้ผู้อื่นหลุดพ้นไม่ได้เลย เป็นอย่างนี้บ้าง

สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
ตนทำชั่วเอง ก็เศร้าหมองเอง ไม่ทำชั่ว ก็บริสุทธิ์เอง
ความบริสุทธิ์ และไม่บริสุทธิ์ เป็นของเฉพาะตน
คนอื่น จะทำคนอื่นให้บริสุทธิ์ไม่ได้



.......................................................................................

3

ผู้ตกต่ำ
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๓๔ - ๓๕.

          [๔๒] คำว่า สัตว์เหล่านั้น เป็นผู้ตกต่ำ ตั้งอยู่ในกรรมอันไม่เสมอ มีความว่า
คำว่า ตกต่ำ คือ

(๑) แม้สัตว์ผู้ไปต่ำ ชื่อว่า ผู้ตกต่ำ
(๒) แม้ผู้มีความตระหนี่ ก็ชื่อว่า ผู้ตกต่ำ
(๓) ผู้ไม่เชื่อถือคำ ถ้อยคำ เทศนา คำสอนของพระพุทธเจ้า และ สาวกของ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็ชื่อว่า ผู้ตกต่ำ


ผู้ไปต่ำ ชื่อว่า ผู้ตกต่ำ อย่างไร?
สัตว์ผู้ไปต่ำ คือสัตว์ที่ไปสู่นรก ไปสู่ดิรัจฉานกำเนิด ไปสู่เปรตวิสัย ชื่อว่าไปต่ำ ผู้ไปต่ำอย่างนี้ จึงชื่อว่า ผู้ตกต่ำ



.....................................................................................
4

การบำรุงที่เลว
(ปาริจริยานุตตริยะ)

...ก็ปาริจริยานุตตริยะเป็นอย่างไร ?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมบำรุงกษัตริย์บ้าง พราหมณ์บ้าง คฤหบดีบ้าง บำรุงคนชั้นสูงชั้นต่ำ บำรุงสมณะ หรือ พราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย การบำรุงนี้นั้นมีอยู่ เราไม่กล่าวว่าไม่มี ก็แต่ว่าการบำรุงนี้นั้น เป็นการบำรุงที่เลว
บาลี ฉกฺก. อํ. ๒๒/๓๖๓/๓๐๑

.....................................................................................

5

การบำรุงที่ดี
(ปาริจริยานุตตริยะ)

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความ เลื่อมใสยิ่ง ย่อมบำรุงพระตถาคต หรือสาวกของพระตถาคต การบำรุงนี้ยอดเยี่ยม กว่าการบำรุงทั้งหลาย ย่อมเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย..เพื่อทำ ให้แจ้งซึ่งนิพพาน.
บาลี ฉกฺก. อํ. ๒๒/๓๖๓/๓๐๑

..................................................................................

6

นิททสวัตถุ ๗ ประการ

(การถือพรหมจรรย์บริสุทธิ์ ไม่อาจนับจำนวนปีที่ปฏิบัติได้)
(บาลี สตฺตก. อฺ ๒๓/๓๗/๓๙-๔๐.) พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ (ภาค๔) หน้า ๓๙๕

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เมื่อเช้านี้  ข้าพระองค์เข้าไปบิณฑบาตในเมืองสาวัตถี เห็นว่ายังเช้านัก จึงเข้าไปสู่อารามของปริพาชกผู้เป็นเดียรถีย์อื่น เขากําลังประชุม กัน พูดกันว่า "ท่านผู้มีอายุ ! ผู้ใดใครประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้น ๑๒ ปี ควรจะเรียกภิกษุนั้นว่าเป็น นิททสภิกขุ " ดังนี้ .

---ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! พระผู้มีพระ ภาคอาจหรือไม่หนอ เพื่อจะบัญญัติ นิททสภิกขุ ในธรรมวินัยนี้ ด้วยเหตุสักว่าการนับพรรษาอย่าง เดียวพระเจ้าข้า?"

สารีบุตร ! ใคร ๆ ไม่อาจเพื่อจะบัญญัตินิททสภิกขุ ในธรรมวินัยนี้ ด้วยเหตุ สักว่าการ นับพรรษาอย่างเดียว. สารีบุตร!  นิททสวัตถุ (วัตถุเป็นครื่องบัญญัตินิ ททสบุคคล) ๗ ประการเหล่านี้  เรากระทําให้แจ้งด้วยป๎ญญาอันยิ่งเองแล้ว ประการแล้ว. 

เจ็ดประการเหล่าไหนเล่า? เจ็ดประการคือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มีฉันทะแก่กล้าใน สิกขาสมาทาน และมีความรักอย่างยิ่งในสิกขา สมาทานสืบไป

. เป็นผู้มีฉันทะแก่กล้าในการ ใคร่ครวญธรรม และมีความรักอย่างยิ่งใน การใคร่ครวญธรรม สืบไป. 

๓.
เป็นผู้มีฉันทะแก่กล้าในการ กำจัดความอยาก และมีความรักอย่างยิ่งใน การกําจัดความ อยากต่อไป.

๔.
เป็นผู้มีฉันทะแก่กล้าใน การหลีกเร้น และมีความรักอย่างยิ่งในการหลีก เร้นต่อไป. 

๕.
เป็นผู้มีฉันทะแก่กล้าในการ ปรารภความเพียร และมีความรักอย่างยิ่งใน การปรารภความ เพียรต่อไป. 

๖.
เป็นผู้มีฉันทะแก่กล้าในการ รักษาตนด้วยสติ และมีความรักอย่างยิ่งใน การรักษาตนด้วย สติต่อไป. 

๗.
เป็นผู้มีฉันทะแก่กล้าในการ แทงตลอดด้วยทิฏฐิ  และมีความรักอย่าง ยิ่งในการ แทงตลอด ด้วยทิฏฐิต่อไป.
(เป็นผู้มีศรัทธา มีหิริ มีโอตตัปปะ เป็นพหูสูต ปรารภความเพียร มีสติ มีปัญญา)

สารีบุตร ! เหล่านี้แล  นิททสวัตถุ ๗ ประการ อันเรากระทําให้แจ้งด้วย ป๎ญญาอันยิ่ง เอง  แล้วประกาศแล้ว. 

สารีบุตร ! ภิกษุผู้ประกอบด้วยนิททสวัตถุ ๗ ประการเหล่านี้แล้ว จะประพฤติ พรหมจรรย์ บริสุทธิ์บริบูรณ์ ๑๒ ปี ก็ได้ ๒๔ ปีก็ได้ ๓๖ ปี ก็ได้ ๔๘ ปี ก็ได้ ย่อมควร ที่ จะเรียกว่า "นิททสภิกขุ" ดังนี้แล. 

...................................................................................

7
อกุศลมูล 3 โลภะ โทสะ โมหะ อันควรละ

สำหรับ อกุศลมูล 3 หากแปลตามตัวอักษรจะหมายความว่า รากเหง้าของความ ไม่ฉลาด หรือหมายถึง รากเหง้าหรือต้นตอของความชั่วทั้งปวง เมื่อกำเริบจะแสดง ออกมาเป็นทุจริตทางกาย วาจา ใจ รวมเป็นเหตุให้เกิดกิเลส ซึ่งมี 3 ประการ ได้แก่

1. โลภะ (ความอยากได้) ความอยากได้ของคนอื่นมาเป็นของตน อยากให้ตน มีเหมือนคนอื่น หรือมีมากกว่าผู้อื่น ความอยากมีหลายรูปแบบ ซึ่งจะก่อให้เกิด รากเหง้า ของความชั่วทั้งปวง เช่น อิจฉา ความอยาก ปาปิจฉา ความอยากอย่าง ชั่วช้าลามก มหิจฉา ความอยากรุนแรง อภิชฌาวิสมโลภะ ความอยากได้ถึงขั้น เพ่งเล็ง ความอยากจะเกิดมากขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดความชั่วในตัวเอง วิธีแก้ไขความ อยากคือ การใช้สติ ระลึกรู้ในตน

2. โทสะ (ความคิดประทุษร้าย)
การอยากฆ่า การอยากทำลายผู้อื่น ความคิด ประทุษร้ายเป็นรากเหง้า ให้เกิดกิเลสได้หลายอย่าง เช่น ปฏิฆะ ความหงุดหงิด โกธะ ความโกรธ อุปนาหะ ความผูกโกรธ พยาบาท ความคิดปองร้าย ถ้าปล่อยให้มี โทสะมาก ผู้นั้นจะเป็นคนชั่ว คนพาล และเป็นภัยต่อสังคม วิธีแก้ไขโทสะ คือ การใช้สติระงับตน และฝึกตนให้เป็นผู้มีอโทสะ

3. โมหะ (ความหลงไม่รู้จริง) ความไม่รู้ไม่เข้าใจ ความมัวเมา ความประมาท เป็นรากเหง้าให้เกิดกิเลสได้ต่าง ๆ มากมาย เช่น มักขะ ลบหลู่คุณท่าน, ปลาสะ ตีเสมอ มานะ ถือตัว มทะ มัวเมา ปมาทะ เลินเล่อ โมหะทำให้ขาดสติ ไม่รู้ผิดชอบ ร้ายแรงกว่าโลภะ และโทสะ รวมทั้งส่งเสริมให้โลภะและโทสะมีกำลังมากขึ้นอีกด้วย วิธีที่จะทำให้โมหะลดลงนั้นจะต้องปฏิบัติตนเป็นผู้ที่มีอโมหะ ความไม่หลงงมงาย

(กุศลมูล ๓ คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ)


....................................................................................

8

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๒๓๕

อัคคิสูตร
(ตรัสสอนชฏิลที่ยังบูชาไฟ)

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฟ ๓ กองนี้ ๓ กองเป็นไฉน คือ
๑.ไฟคือราคะ (กามคุณ เกิดจากผัสสะ)
๒.ไฟคือโทสะ (ไฟพยาบาท เกิดจากผัสสะ)
๓.ไฟคือโมหะ
(เบียดเบียน เกิดจากพยาบาท)

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฟ ๓ กองนี้แล ฯ

ไฟคือราคะ ย่อมเผาสัตว์ ผู้กำหนัดแล้วหมกมุ่นแล้วในกามทั้งหลาย
ไฟคือโทสะ ย่อมเผานรชน ผู้พยาบาท มีปรกติฆ่าสัตว์
ไฟคือโมหะ ย่อมเผานรชน ผู้ลุ่มหลง ไม่ฉลาดในอริยธรรม

ไฟ ๓ กองนี้ย่อมตามเผาหมู่สัตว์ ผู้ไม่รู้สึกว่าเป็นไฟ ผู้ยินดียิ่งในกายตน ทั้งในภพนี้ และภพหน้า สัตว์เหล่านั้นย่อมพอกพูนนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน อสุรกาย และ ปิตติวิสัย เป็นผู้ไม่พ้นไปจากเครื่องผูกแห่งมาร

ส่วนสัตว์เหล่าใด ประกอบความเพียรในพระศาสนา ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้งกลางคืน กลางวัน สัตว์เหล่านั้น ผู้มีความสำคัญ อารมณ์ว่า
ดับไฟ คือ ราคะได้ - ย่อมพิจารณาเห็นไม่งามอยู่เป็นนิจ
ดับไฟ คือ โทสะได้ - ย่อมเจริญเมตตา
ดับไฟ คือ โมหะได้ - ย่อมเจริญปัญญา

สัตว์เหล่านั้นมีปัญญา เป็นเครื่องรักษาตน ไม่เกียจคร้าน ทั้งกลางคืนกลางวัน ดับไฟ มีไฟ คือราคะเป็นต้นได้ ย่อมปรินิพพานโดยไม่มีส่วนเหลือ ล่วงทุกข์ได้ ไม่มีส่วน เหลือ บัณฑิตทั้งหลายผู้เห็นอริยสัจผู้ถึงที่สุดแห่งเวท รู้แล้วโดยชอบด้วยปัญญา เป็นเครื่องรู้ ยิ่ง ซึ่งความสิ้นไปแห่งชาติ ย่อมไม่มาสู่ภพใหม่ ฯ

....................................................................................
9
หนังสือภพภูมิ - พุทธวจน หน้า 366

ฐานะ และ อฐานะ ของสตรี ๕ ประการ


อานนท์ ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้

ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ สตรีจึง เป็นพระอรหันตสัมมา สัมพุทธะ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และ รู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือ บุรุษพึ่งเป็น พระอรหันต สัมมาสัมพุทธะ นั่นเป็นฐานะที่มีได้

ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะมิใช้โอกาส คือ สตรีจึง เป็นพระเจ้าจักรพรรดินั่นไม่ใช่ ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือ บุรุษพึงเป็น พระเจ้าจักรพรรดิ นั่นเป็นฐานะที่มีได้

ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ สตรีฟังสําเร็จ เป็นท้าวสักกะ
(เทวดาชั้นดาวดึงส์) นั่นไม่ใช่ ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือบุรุษพึ่งสําเร็จเป็นท้าวสักกะ นั้นเป็นฐานะที่มีได้

ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ สตรีพึ่งสําเร็จ เป็นมาร นั่นไม่ใช่ฐานะ ที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือ บุรุษพึงสําเร็จเป็นมาร นั่นเป็นฐานะ ที่มีได้

ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ สตรีพึ่งสําเร็จ เป็นพรหม นั่นไม่ใช่ ฐานะ ที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือ บุรุษพึ่งสําเร็จ เป็นพรหม นั่น เป็นฐานะ ที่มีได้


..................................................................................

10

นิวรณ์ ๕ เทียบกับ สังโยชน์ ๑๐ (ความเหมือน-ความต่าง)

นิวรณ์ ๕   สังโยชน์ ๑๐
1. กามฉันทะ (ความพอใจในกาม) 1. สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นตัวของตน)
2. พยาบาท (ไม่พอใจในกาม) 2. วิจิกิจฉา (ลังเลสงสัย)
3. ถีนมิทธะ (ขี้เกียจ ท้อแท้) 3. สีลัพพตปรามาส (ความถือมั่นศีลพรต)
4. อุทธัจจะกุกกุจจะ (ฟุ้งซ่าน) 4. กามฉันทะ (ความพอใจในกาม)
5. วิจิกิจฉา (ลังเลสงสัย) 5. พยาบาท (ความไม่พอใจในกาม
  6. รูปราคะ (ยึดติดในรูปฌาน)
  7. อรูปราคะ (ยึดติดใน อรูปฌาน)
  8. มานะ (ความถือตัว)
  9. อุทธัจจะกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่าน)
  10. อวิชชา (ความไม่รู้จริง)

พระสูตรเต็ม นิวรณ์๕   พระสูตรเต็ม สังโยชน์๑๐

.................................................................................

11

ผลจากความไม่มีธรรมะของพระราชา (ธรรมิกสูตร)
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓ หน้า๘๖-๘๘
-บาลี จตุกฺก. อํ ๒๑/๙๗/๗๐.


ภิกษุทั้งหลาย !

สมัยใดราชาไม่ตั้งอยู่ในธรรม สมัยนั้นข้าราชการก็ไม่ตั้งอยู่ในธรรม
เมื่อ ราชาไม่ตั้งอยู่ในธรรม พราหมณ์ และคหบดีก็ไม่ตั้งอยู่ในธรรม
เมื่อ พราหมณ์และคหบดีไม่ตั้งอยู่ในธรรม ประชาชนก็ไม่ตั้งอยู่ในธรรม
เมื่อ ประชาชนไม่ตั้งอยู่ในธรรม ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ ก็มีปริวรรต(แปรปรวน)
เมื่อ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์มีปริวรรต ดาวนักษัตรดาวอื่นๆ ก็มีปริวรรต
เมื่อ ดาวนักษัตร และดาวอื่นๆมีปริวรรต วันและคืน ก็มีปริวรรต
เมื่อ คืนและวัน มีปริวรรตไม่สม่ําเสมอ เดือนและปักษ์ ก็มีปริวรรตไม่สม่ําเสมอ
เมื่อ เดือนและปักษ์ มีปริวรรตไม่สม่ําเสมอ ฤดูและปี ก็มีปริวรรตไม่สม่ําเสมอ
เมื่อ ฤดูและปี มีปริวรรตไม่สม่ําเสมอ ลม (ทุกชนิด) ก็พัดไปไม่สม่ําเสมอ
เมื่อ ลมพัดไปไม่สม่ําเสมอ ปัญชสา (ระบบแห่งทิศทางลม) ก็แปรปรวน
เมื่อ ปัญชสา(ลม) แปรปรวน เทวดาทั้งหลาย ก็ ระส่ำระสาย
เมื่อ เทวดาทั้งหลาย ระส่ำระสาย ฝนก็ตกลงมา อย่างไม่เหมาะสม
เมื่อ ฝนตก ลงมาอย่างไม่เหมาะสม พืชพรรณก็แก่และสุกไม่สม่ําเสมอ

ภิกษุ ท. เมื่อมนุษย์ทั้งหลาย บริโภคพืชพรรณ และข้าว อันมีความแก่ และสุก ไม่สม่ำเสมอ ก็กลายเป็นผู้มีอายุสั้น ผิวพรรณทราม ทุพพลภาพและ มีโรคภัย ไข้เจ็บมาก

(อ่าน พระสูตรเต็ม)

...............................................................................

12

หนังสือภพภูมิ – พุทธวจน ข้อที่ ๖๑ หน้า 224

เหตุที่ทําให้มนุษย์จํานวนลดลง

พราหมณ์ ! ทุกวันนี้ มนุษย์กําหนัดแล้วด้วย ความกําหนัดผิดธรรม ถูกความโลภ อย่างแรงกล้า ครอบงํา ประกอบด้วยมิจฉาธรรม มนุษย์เหล่านั้น กําหนัดแล้วด้วย ความกําหนัด ผิดธรรม ถูกความโลภ อย่างแรงกล้าครอบงํา ประกอบด้วยมิจฉา ธรรม ต่างก็ฉวยศัสตราอันคมเข้าฆ่าฟันกันและกัน เพราะฉะนั้น มนุษย์จึง ล้มตายเสีย เป็นอันมาก

พราหมณ์ ! อีกประการหนึ่ง ทุกวันนี้ มนุษย์กําหนัดแล้ว ด้วยความกําหนัดผิดธรรม ถูกความโลภอย่างแรงกล้าครอบงํา ประกอบด้วยมิจฉาธรรม เมื่อมนุษย์เหล่านั้น กําหนัดแล้วด้วยความกําหนัดผิดธรรม ถูกความโลภอย่างแรงกล้าครอบงํา ประกอบด้วย มิจฉาธรรม ฝนก็ไม่ตกต้องตามฤดูกาล ฉะนั้น จึงเกิด ทุพภิกขภัย ข้าวกล้าเสียหาย เป็นเพลี้ย ไม่ให้ผล เพราะเหตุนั้น มนุษย์จึงล้มตายเสีย เป็นอันมาก.

พราหมณ์! อีกประการหนึ่ง ทุกวันนี้ มนุษย์กําหนัดแล้วด้วยความกําหนัดผิดธรรม ถูกความโลภอย่าง แรงกล้าครอบงํา ประกอบด้วยมิจฉาธรรม เมื่อมนุษย์เหล่านั้น กําหนัดแล้วด้วยความกําหนัดผิดธรรม ถูกความโลภอย่างแรงกล้าครอบงํา ประกอบด้วย มิจฉาธรรม พวกยักษ์ได้ปล่อย อมนุษย์ ที่ร้ายกาจลงไว้ เพราะฉะนั้น มนุษย์จึงล้มตายเสียเป็นอันมาก
(อมนุษย์ หมายถึง
คนโหด คนชั่ว)

สรุปมนุษย์เหตุที่ทำให้ลดน้อยลง
มนุษย์มีความกำหนัด ความโลภครอบงำ มีมิจฉาธรรม
1. มนุษย์จึงประหัตประหารกันด้วยอาวุธ ... มนุษย์จึงล้มตายเป็นอันมาก
2. ฝนไม่ตกตามฤดูกลาล เกิดทุกขภัย ข้าวเสียหาย... มนุษย์จึงล้มตายเป็นอันมาก
3. พวกยักษ์ปล่อย อมนุษย์ ที่ร้ายกาจลงไว้.... มนุษย์จึงล้มตายเป็นอันมาก


...............................................................................
13

พระเจ้าจักรพรรดิทรงประกอบด้วยความสัมฤทธิผล ๔ อย่าง
เป็นอย่างไรเล่า ?


(๑) ภิกษุทั้งหลาย ! พระเจ้าจักรพรรดิในโลกนี้ ย่อมทรงพระสิริโฉมงดงาม น่าดูน่า เลื่อมใส ประกอบด้วย พระฉวีวรรณอันงดงามอย่างยิ่งเกินมนุษย์อื่น ๆ
ภิกษุทั้งหลาย ! พระเจ้าจักรพรรดิทรงประกอบ ด้วยความสัมฤทธิผลข้อที่ ๑ ดังนี้

(๒) ภิกษุทั้งหลาย ! ประการอื่นยังมีอีก พระเจ้า จักรพรรดิย่อมทรงพระชนมายุยืน ทรงดํารงอยู่นานเกิน มนุษย์อื่น ๆ ภิกษุทั้งหลาย ! พระเจ้าจักรพรรดิทรงประกอบ ด้วยความสัมฤทธิผลข้อที่ ๒ ดังนี้

(๓) ภิกษุทั้งหลาย ! ประการอื่นยังมีอีก พระเจ้า จักรพรรดิย่อมเป็นผู้มีอาพาธน้อย ไม่ทรงลําบาก ทรง ประกอบด้วยพระเตโชธาตุย่อยพระกระยาหารสม่ําเสมอ ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก เกินมนุษย์อื่น ๆ ภิกษุทั้งหลาย ! พระเจ้าจักรพรรดิทรงประกอบ ด้วยความ สัมฤทธิผลข้อที่ ๓ ดังนี้

(๔) ภิกษุทั้งหลาย ! ประการอื่นยังมีอีก พระเจ้า จักรพรรดิย่อมทรงเป็นที่รักใคร่พอใจ ของพราหมณ์และ คหบดี เหมือนบิดาเป็นที่รักใคร่พอใจของบุตรฉะนั้น พราหมณ์ และ คหบดีก็เป็นที่ทรงโปรดปราน พอพระราชหฤทัยของพระเจ้าจักรพรรดิ เหมือนบุตร เป็นที่รักใคร่ พอใจของบิดาฉะนั้น.

ที่มา หนังสือภพภูมิ พุทธวจน


...............................................................................
14

ความหมายของคําว่า “ความดับ”

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! พระองค์กล่าวอยู่ว่า “ความดับๆ” ดังนี้อันว่า “ความดับๆ” ดังกล่าวนี้หมายถึง ความดับแห่งธรรมทั้งหลาย เหล่าไหนเล่า พระเจ้าข้า !

อานนท์ ! รูปก็ดี เวทนาก็ดี สัญญาก็ดี สังขาร ทั้งหลายก็ดี วิญญาณก็ดี เป็นของ ไม่เที่ยง อันปัจจัย ปรุงแต่งแล้ว อาศัยกันและกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็น ธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความจาง คลายไป เป็นธรรมดา มีความดับไปเป็น ธรรมดา คําอันเรากล่าวว่า “ความดับๆ” หมายถึง ความดับแห่งรูป แห่งเวทนา แห่ง สัญญา แห่งสังขาร และแห่งวิญญาณ ดังนี้

อานนท์! คําอันเรากล่าวว่า “ความดับ ๆ ดังนี้ หมายถึง ความดับแห่งธรรมทั้งหลาย เหล่านี้แล.
ขนุธ. ส. ๑๗/๓๐/๔๘.
หนังสือภพภูมิ บทที่ ๑๒๘ หน้า 455

...............................................................................
15
ความดับของขันธ์ ๕ คือ ความดับของทุกข์
(เห็นขันธ์๕ ด้วยความรู้สึกเบื่อหน่าย เห็นความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา)

ภิกษุทั้งหลาย ! ความดับ ความเข้าไปสงบรํางับ ความตั้งอยู่ไม่ได้ของรูป ของเวทนา ของสัญญา ของสังขาร และของวิญญาณ ใด ๆ
   อันนั้นแหละ เป็นความดับ ของทุกข์
   อันนั้นแหละ เป็นความเข้าไปสงบรํางับของสิ่งซึ่งมีปกติ เสียบแทงทั้งหลาย
   อันนั้นแหละ เป็นความตั้งอยู่ไม่ได้ของชราและมรณะแล.
ขน. ส. ๑๓/๒๔๗/๕๙๔.
หนังสือภพภูมิ บทที่ ๑๒๘ หน้า 455


...............................................................................

16

จงอย่าคิดเรื่องโลก
แต่ให้คิดเรื่อง อริยสัจสี่
(พระสูตรต่อเนื่อง เทวดา รบกับ อสูร)


ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ พวกเธอทั้งหลายจงอย่าคิดเรื่องโลก โดยนัยว่าโลกเที่ยงหรือ ? โลกไม่เที่ยงหรือ ? โลกมีที่สุดหรือ ? โลกไม่มีที่สุดหรือ ? ชีพก็ดวงนั้น ร่างกายก็ร่างนั้นหรือ ? ซีพก็ดวงอื่น ร่างกายก็ร่างอื่นหรือ ? ตถาคต ตายแล้ว ย่อมเป็นอย่างที่เป็นมาแล้วนั้นอีกหรือ ? ตถาคตตายแล้ว ไม่เป็นอย่างที่ เป็นมาแล้วนั้น อีกหรือ ? ตถาคตตายแล้ว เป็นอย่างที่เป็นมาแล้วอีกก็มี ไม่เป็น ก็มีหรือ ? ตถาคตตายแล้ว เป็นอย่างที่เป็นมาแล้วอีกก็ไม่เชิง ไม่เป็นก็ไม่เชิง หรือ?

เพราะเหตุไรจึงไม่ควรคิดเล่า ? เพราะความคิดนั้น ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็น เงื่อนต้นแห่งพรหมจรรย์ ไม่เป็นไปพร้อมเพื่อความหน่ายทุกข์ ความคลายกําหนัด ความดับ ความรํางับ ความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม และนิพพานเลย

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อพวกเธอจะคิด จงคิดว่า เช่นนี้ ๆ เป็นทุกข์ เช่นนี้ ๆ เป็นเหตุให้ เกิดทุกข์ เช่นนี้ ๆ เป็นความดับไม่เหลือของทุกข์ เช่นนี้ ๆ เป็นทางดําเนินให้ถึงความ ดับไม่เหลือ ของทุกข์ ดังนี้ เพราะเหตุไรจึงควรคิดเล่า ? เพราะความคิดนี้ ย่อม ประกอบด้วย ประโยชน์ เป็นเงื่อนต้นของพรหมจรรย์ เป็นไปพร้อมเพื่อความหน่าย ทุกข์ ความคลายกําหนัด ความดับ ความรํางับ ความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม และนิพพาน

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ พวกเธอพึงทําความเพียรเพื่อให้รู้ ตามเป็น จริงว่า นี้เป็นทุกข์ นี้เป็นเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ นี้เป็นความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ นี้เป็นทางดําเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ดังนี้เถิด


.............................................................................

17

ลําดับการหลุดพ้น เมื่อเห็นอนัตตา
ขนู. ส. ๑๗/๕๗/๕๓


ภิกษุทั้งหลาย ! รูปเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็น อนัตตา สิ่งนั้นนั้น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เป็นเรา ไม่ใช่ เป็นตัวตนของเรา

เธอทั้งหลายพึงเห็นข้อนั้น ด้วยปัญญาโดยชอบ ตรงตามที่เป็นจริงอย่างนี้ ด้วยประการ ดังนี้ (ในกรณีแห่งเวทนา สัญญา สังขารทั้งหลาย และวิญญาณ ก็ตรัสอย่าง เดียวกันกับ ในกรณีแห่งรูปทุกประการ)

ภิกษุทั้งหลาย! เมื่อบุคคลเห็นข้อนั้นด้วยปัญญาโดยชอบตรงตามที่เป็นจริง อยู่อย่างนี้
(๑) ปุพพันตานุทิฏฐิ (ความตามเห็นขันธ์ส่วนอดีต) ทั้งหลาย ย่อมไม่มี
(๒) เมื่อ ปุพพันตานุทิฏฐิ ทั้งหลายไม่มี อปรันตานุทิฏฐิทั้งหลาย (ตามเห็นขันธ์ในอนาคต) ย่อมไม่มี
(๓) เมื่อ อปรันตานุทิฏฐิ ทั้งหลายไม่มี ความยึดมั่นลูบคลําอย่างแรงกล้า ย่อมไม่มี
(๔) เมื่อความยึดมั่นลูบคลําอย่างแรงกล้าไม่มี จิต ย่อมจางคลายกําหนัดในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ทั้งหลาย ในวิญญาณ ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะ ทั้งหลาย เพราะไม่มีความยึดมั่นถือมั่น
(๕) เพราะหลุดพ้นแล้ว จึงดํารงอยู่
(๖) เพราะดํารงอยู่ จึงยินดีร่าเริงด้วยดี
(๗)
เพราะยินดีร่าเริงด้วยดี
จึงไม่หวาดสะดุ้ง
(๘) เมื่อไม่หวาดสะดุ้ง ย่อมปรินิพพานเฉพาะตนนั่นเทียว
(๙) เธอนั้น ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทําได้ทํา สําเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทําเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก” ดังนี้
(๑๐) เพราะหลุดพ้นแล้ว จึงดํารงอยู่
(๑๑) เพราะดํารงอยู่ จึงยินดีร่าเริงด้วยดี
(๑๒) เพราะยินดีร่าเริง ด้วยดี จึงไม่หวาดสะดุ้ง
(๑๓) เมื่อไม่หวาดสะดุ้ง ย่อมปรินิพพานเฉพาะตนนั่นเทียว

(๑๔) เธอนั้น ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทํา ได้ทําสําเร็จ แล้ว กิจอื่นที่จะต้องทําเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก” ดังนี้

ขนู. ส. ๑๗/๕๗/๕๓

.................................................................................
18
พระไตรปิฎกฉบับหลวง เล่มที่ ๒๑  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓ หน้าที่ ๑๕๒

การพยากรณ์อรหัตผลด้วย มรรค ๔ ประการ

             [๑๗๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้เมืองโกสัมพี ณ ที่นั้นแล ท่านพระอานนท์เรียกภิกษุทั้งหลายว่า อาวุโสภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น รับคำท่านพระอานนท์แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กล่าวว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย บุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ย่อมพยากรณ์การบรรลุอรหัต ในสำนัก ของเราด้วยมรรค ๔ โดยประการทั้งปวง หรืออย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดามรรค ๔ ประการนี้ มรรค ๔ เป็นไฉน

             (๑) ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญวิปัสสนา มีสมถะเป็นเบื้องหน้า เมื่อเธอเจริญ วิปัสสนา มีสมถะเป็นเบื้องหน้ามรรคย่อมเกิด เธอย่อมเสพ ย่อมเจริญ ย่อมกระทำ ให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพเจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด

             (๒) อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อม เจริญสมถะ มีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า เมื่อเธอ เจริญสมถะ มีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า มรรคย่อมเกิด เธอย่อมเสพ ย่อมเจริญ ย่อมกระทำ ให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด

             (๓) อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเจริญสมถะ และวิปัสสนาควบคู่กันไปเมื่อเธอ เจริญสมถะ และวิปัสสนาควบคู่กันไป มรรคย่อมเกิด เธอย่อมเสพ เจริญ กระทำให้มาก ซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด

             (๔) อีกประการหนึ่ง ใจของภิกษุปราศจากอุทธัจจะในธรรมสมัยนั้น จิตนั้น ย่อม ตั้งมั่น สงบ ณ ภายใน เป็นจิตเกิดดวงเดียว ตั้งมั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดขึ้น แก่เธอ เธอ ย่อมเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มาก ซึ่งมรรค นั้น ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด

             ดูกรอาวุโสทั้งหลาย บุคคลผู้ใด ผู้หนึ่ง เป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ย่อมพยากรณ์การบรรลุอรหัต ในสำนักของเรา ด้วยมรรค ๔ ประการนี้ โดยประการทั้ง ปวง หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดามรรค ๔ ประการนี้


................................................................................

19
พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ หน้าที่ ๓๐๓

เรื่องที่ทรงพยากรณ์

มาลุงกยบุตร ! ก็อะไรเล่าที่เราพยากรณ์ ?
สิ่งที่เราพยากรณ์ คือนี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับไม่เหลือของทุกข์ และนี้หนทางให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์.

ก็สิ่งนี้ เหตุไรเล่า เราจึงพยากรณ์ เพราะนั่นประกอบด้วยประโยชน์ เป็นเงื่อนต้นของ พรหมจรรย์ นั่นเป็นไปพร้อมเพื่อความหน่าย ความคลายกำหนัด ความดับสนิท ความรำงับ ความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม และนิพพาน เหตุนั้น เราจึงพยากรณ์แล้ว.

มาลุงกยบุตร ! เพราะฉะนั้นในเรื่องนี้
เธอจงจำสิ่งที่เราไม่พยากรณ์ โดยความเป็นสิ่งที่เราไม่พยากรณ์ และจำสิ่งที่เรา พยากรณ์ โดยความเป็นสิ่งที่ เราพยากรณ์แล้วเถิด.


..............................................................................
20
พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ หน้าที่ ๒๐๐

เรื่องที่ไม่ทรงพยากรณ์ และเรื่องที่ทรงพยากรณ์
(เรื่องที่ทรงพยากรณ์ไม่ว่าจะเป็นอดีตอนาคตปัจจุบัน ต้องประกอบด้วยประโยชน์เท่านั้น)

        จุนทะ !  แม้เป็นเรื่องในอดีต ถ้าไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ตถาคตย่อมไม่พยากรณ์ซึ่งเรื่องนั้น 
       จุนทะ !  แม้เป็นเรื่องในอดีตถ้าเป็นเรื่องจริง เรื่องแท้ แต่ไม่ประกอบด้วย ประโยชน์ ตถาคตก็ย่อมไม่พยากรณ์ ซึ่งเรื่องแม้นั้น  
       จุนทะ !  แม้เป็นเรื่องในอดีต ถ้าเป็นเรื่องจริง เรื่องแท้ เรื่องประกอบด้วย ประโยชน ตถาคตย่อมเป็นผู้รู้กาลอันสมควรในเรื่องนั้น เพื่อพยากรณ์ปัญหานั้น

        จุนทะ !  แม้เป็นเรื่องในอนาคต ถ้าไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ตถาคตย่อม ไม่พยากรณ์ซึ่งเรื่องนั้น
        จุนทะ !  แม้เป็นเรื่องในอนาคต ถ้าเป็นเรื่องจริง เรื่องแท้ แต่ไม่ประกอบด้วย ประโยชน์ ตถาคตก็ย่อมไม่พยากรณ์ซึ่งเรื่องแม้นั้น
        จุนทะ !  แม้เป็นเรื่องในอนาคต ถ้าเป็นเรื่องจริง เรื่องแท้ เรื่องประกอบด้วย ประโยชน์ ตถาคตย่อมเป็นผู้รู้กาลอันสมควรในเรื่องนั้น เพื่อพยากรณ์ปัญหานั้น.

        จุนทะ !  แม้เป็นเรื่องในปัจจุบัน ถ้าไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ตถาคตย่อม ไม่พยากรณ์ซึ่งเรื่องนั้น
        จุนทะ !  แม้เป็นเรื่องในปัจจุบัน ถ้าเป็นเรื่องจริง เรื่องแท้ แต่ไม่ประกอบด้วย ประโยชน์ ตถาคตก็ย่อมไม่พยากรณ์ซึ่งเรื่องแม้นั้น
        จุนทะ !  แม้เป็นเรื่องในปัจจุบัน ถ้าเป็นเรื่องจริง เรื่องแท้ เรื่องประกอบด้วย ประโยชน์ ตถาคตย่อมเป็นผู้รู้กาลอันสมควรในเรื่องนั้น เพื่อพยากรณ์ปัญหานั้น.
    
        ๑.  บาลี ปาสาทิกสูตร ปา.ที. ๑๑/๑๔๘/๑๑๙. ตรัสแก่จุนทสมณุทเทส ที่อัมพวันปราสาท ของเจ้าศากยะพวกเวธัญญา.

...............................................................................

21

ทรงหลงกามและหลุดจากกาม (ก่อนตรัสรู้)

         ดูก่อนมหานาม ! ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์ อยู่ แม้เป็นผู้มีสติระลึกได้ว่า “กามทั้งหลาย มีรสที่น่ายินดีน้อยมีทุกข์มาก มีความ คับแค้นมาก โทษอันแรงร้ายมีอยู่ในกามนั้นอย่างยิ่ง” ก็ดีแต่เรานั้นยังไม่ได้ บรรลุสุข อันเกิดแต่ปีติ หรือธรรมอื่นที่สงบยิ่งไปกว่าปีติสุขนั้น นอกจากได้เสวย แต่กาม และ อกุศลธรรมอย่างเดียว

เราจึงเป็นผู้หมุนกลับจากกามไม่ได้ ไม่รู้อย่างแจ่มแจ้งในกามทั้งหลาย อยู่เพียงนั้น.
ดูก่อนมหานาม ! เมื่อใด เป็นอันว่าเราได้เห็นข้อนี้อย่างดี ด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงว่า

“กามทั้งหลาย มีรสที่น่ายินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษอันแรง ร้าย มีอยู่ในกามนั้นอย่างยิ่ง” แล้ว

...เมื่อนั้นเราก็เป็นผู้ไม่หมุนกลับมาสู่กามทั้งหลาย รู้จักกามทั้งหลายอย่างแจ่มแจ้งได้

พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ หน้าที่ ๔๔ ๑. บาลี จูฬทุกขักขันธสูตร สีหนาทวรรค มู. ม. ๑๒/๑๘๐/๒๑๑. ตรัสแก่ท้าวมหานาม ที่นิโค๎รธาราม กรุงกบิลพัสดุ์.


...............................................................................
22
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๕๗

ชฎิลสูตร

        [๔๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ คยาสีสะประเทศ ใกล้บ้านคยา ก็สมัยนั้นแล ชฎิลมากด้วยกันผุดขึ้นบ้าง ดำลงบ้าง ผุดขึ้นและดำลงบ้าง รดน้ำบ้าง บูชาไฟบ้าง ที่แม่น้ำคยาในสมัยหิมะตก ระหว่าง ๘ วัน ในราตรีมีความหนาวในเหมันตฤดู ด้วยคิดเห็นว่า ความหมดจดย่อมมีได้ด้วยการกระทำนี้

พระผู้มีพระภาคได้ ทอดพระเนตรเห็นพวกชฎิลเหล่านั้น ผุดขึ้นบ้างดำลงบ้าง ผุดขึ้น และดำลงบ้าง รดน้ำบ้าง บูชาไฟบ้าง ที่ท่าแม่น้ำคยา ในสมัยหิมะตกระหว่าง๘ วัน ในราตรีมีความหนาว ในเหมันตฤดู ด้วยคิดเห็นว่า ความหมดจดย่อมมีได้ ด้วยการกระทำนี้

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว ได้ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลา นั้นว่า

ความสะอาดย่อมไม่มีเพราะน้ำ (แต่) ชนเป็นอันมากยังอาบอยู่ในน้ำนี้
สัจจะและธรรมะ มีอยู่ในผู้ใด ผู้นั้นเป็นผู้สะอาด และเป็นพราหมณ์


...............................................................................
23

โรณสูตร

          [๕๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
การขับร้อง คือการร้องไห้ ในวินัยของพระอริยเจ้า
การฟ้อนรำ คือ ความเป็นบ้า ในวินัยของพระอริยเจ้า
การหัวเราะจน เห็นฟัน พร่ำเพรื่อ คือความเป็นเด็กในวินัยของพระอริยเจ้า

เพราะเหตุนั้นแหละ จงละเสียโดยเด็ดขาดในการขับร้องฟ้อนรำ เมื่อท่านทั้งหลาย
เบิกบานในธรรม ก็ควรแต่ยิ้มแย้ม

(พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๒๔๗)

...............................................................................
24

อาปายิกสูตร

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้ ไม่ละบาปกรรม ๓ อย่างนี้ จักต้องไปอบาย จักต้องไปนรก บุคคล ๓ จำพวกเป็นไฉน คือ

๑. ผู้ที่ไม่ใช่พรหมจารี แต่ปฏิญาณตนว่าเป็นพรหมจารี  

๒. คนที่ตามกำจัดท่านที่มีพรหมจรรย์บริสุทธิ์ ประพฤติพรหมจรรย์หมดจด ด้วยกรรม เป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์อันไม่มีมูล  

๓. คนที่มีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า โทษในกามไม่มี ถึงความเป็นผู้ตกไปในกาม ทั้งหลาย  

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้แลไม่ละบาปกรรม ๓ อย่างนี้ จักต้องไปอบาย จักต้องไปนรก ฯ
(พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๒๕๓)

...............................................................................
25

โคตมสูตร
(ทรงแสดงธรรมโดยมีเหตุ ไม่แสดงธรรมอันไม่มีเหตุ)

           สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โคตมกเจดีย์ ใกล้พระนคร เวสาลีณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายทูลรับสนองพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรารู้ด้วยปัญญา อันยิ่งแล้ว จึงแสดงธรรม ไม่รู้ไม่แสดง
แสดงธรรมมีเหตุ ไม่ใช่แสดงธรรมไม่มีเหตุ
แสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ ไม่ใช่แสดงธรรมไม่มีปาฏิหาริย์

ท่านทั้งหลาย ควรทำโอวาท ควรทำอนุสาสนี ก็แหละท่านทั้งหลาย ควรที่จะยินดี ควรที่จะชื่นชม ควรที่จะโสมนัสว่า พระผู้มีพระภาคตรัสรู้เอง โดยชอบพระธรรม อันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว พระสงฆ์ปฏิบัติชอบแล้ว

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสคำไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ก็แหละเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้อยู่ พันโลกธาตุได้หวั่นไหวแล้ว

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๒๖๔

...............................................................................
26

อนุรุทธสูตรที่ ๑

        [๕๖๙] ครั้งนั้นแล ท่านพระอนุรุทธะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่อันควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาสเถิด ข้าพระองค์เห็นแต่มาตุคาม โดยมาก เมื่อตายไปเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มาตุคามประกอบด้วยธรรมเท่าไรหนอ เมื่อตายไป จึงเข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาตนรก พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า

ดูกรอนุรุทธะ มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๓ อย่าง เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบายทุคติ วินิบาต นรก

ธรรม๓ อย่างเป็นไฉน คือ มาตุคามในโลกนี้

เวลาเช้า มีใจอัน มลทิน คือ ความตระหนี่กลุ้มรุม อยู่ครองเรือน ๑
เวลาเที่ยง มีใจอัน ความริษยากลุ้มรุม อยู่ครองเรือน ๑
เวลาเย็น มีใจอัน กามราคะกลุ้มรุม อยู่ครองเรือน ๑

ดูกรอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ อย่างนี้แล เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึง อบายทุคติ วินิบาต นรก
(พระไตรปิฎก ฉบับหลวง  เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๒๖๘)

...............................................................................

27

สรทสูตร

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนในอากาศที่ปราศจาก วลาหก (เมฆ)ในเมื่อ สรทสมัย(ฤดูใบไม้ร่วง-ฤดูสารท) ยังอยู่ห่างไกล อาทิตย์ส่องแสงเงินแสงทอง ขึ้นไป ยังท้องฟ้า ขจัดความมืดมัวที่อยู่ในอากาศเสียทั้งหมดแล้ว ส่องแสง แผดแสง และ รุ่งโรจน์อยู่ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแลเมื่อใด ธรรมจักษุ อันปราศ จากธุลี ปราศจากมลทินเกิดแก่ อริยสาวก

อริยสาวก ย่อมละสังโยชน์ ๓ อย่าง คือสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส เสียได้ เด็ดขาด พร้อมกับเกิดขึ้นแห่งทัศนะ เมื่อนั้นธรรมจักษุชนิดอื่นอีก ไม่ประกอบ ด้วยธรรม ๒ ประการ คืออภิชฌา ๑ พยาบาท ๑ อริยสาวกนั้นสงัดจากกาม สงัดจาก อกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน อันมีวิตกวิจาร มีปีติ และ สุข เกิดแต่วิเวก อยู่ (ละสังโยชน์ ๓ อย่าง...ไม่เกิด อภิชชา และพยาบาท ... บรรลุปฐมฌาน)

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าอริยสาวก พึงทำกาละในสมัยนั้น เธอย่อมไม่มีสังโยชน์ ที่เป็น เหตุทำให้อริยสาวกผู้ยังประกอบ พึงกลับมายังโลกนี้อีก

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง  เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๒๓๑

...............................................................................
28

อัปปเมยยสูตร

          [๕๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
๓ จำพวกเป็นไฉน คือ
สุปปเมยย บุคคล ๑
ทุปปเมยย บุคคล ๑
อัปปเมยย บุคคล ๑


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ สุปปเมยย บุคคลเป็นไฉน คือ
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฟุ้งซ่าน ถือตัว โลเล ปากกล้า พูดพร่ำ เพรื่อ หลงลืม สติ ไม่มีสัมปชัญญะ มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตไม่แน่นอน ไม่สำรวมอินทรีย์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สุปปเมยยบุคคล ผู้พึงประมาณได้โดยง่าย

ดูกรภิกษุทั้งหลายก็ ทุปปเมยย บุคคลเป็นไฉน คือ
บุคคลบางคนบางคนในโลกนี้ ป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่านไม่ถือตัว ไม่โลเล ปากไม่กล้า ไม่พูด พร่ำเพรื่อ ดำรงสติมั่น มีสัมปชัญญะมีจิตตั้งมั่น มีจิตแน่วแน่ สำรวมอินทรีย์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ทุปปเมยยบุคคล ผู้พึงประมาณได้โดยยาก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อัปปเมยย บุคคลเป็นไฉน คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันตขีณาสพ
นี้เรียกว่า อัปปเมยยบุคคล ผู้พึงประมาณไม่ได้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๒๕๓

...............................................................................

29

ทรงแสดงพระโอวาทปาติโมกข์

           [๙๐] ภิกษุทั้งหลาย พระวิปัสสีพุทธเจ้า ทรงแสดง ปาติโมกข์ ในที่ประชุม สงฆ์ ที่กรุงพันธุมดีราชธานี นั้น ดังนี้

ความอดทน คือ ความอดกลั้น เป็นตบะอย่างยิ่ง
พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสว่า นิพพานเป็นบรมธรรม
ผู้ทำร้ายผู้อื่น ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต
ผู้เบียดเบียนผู้อื่น ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ
การไม่ทำบาป ทั้งปวง
การทำกุศล ให้ถึงพร้อม
การทำจิตของตนให้ผ่องแผ้ว
นี้คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

การไม่กล่าวร้ายผู้อื่น
การไม่เบียดเบียนผู้อื่น
ความสำรวมในปาติโมกข์
ความเป็นผู้รู้จักประมาณในอาหาร
การอยู่ในเสนาสนะที่สงัด
การประกอบความเพียรในอธิจิต
นี้คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] หน้าที่ ๕๐-๕๑


...............................................................................

30
อนุปุพพนิโรธสูตร
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๓๖๙


           [๒๖๕] อุ. ดูกรอาวุโส พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อนุปุพพนิโรธๆ ดังนี้ ดูกรอาวุโส โดยปริยายเพียงเท่าไรหนอแล พระผู้มีพระภาคตรัส อนุปุพพนิโรธ

     อา. ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน  ดูกรอาวุโส โดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัส อนุปุพพนิโรธ ฯลฯ

     อีกประการหนึ่ง ภิกษุ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน โดยประการ ทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ และอาสวะทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไป เพราะเห็น ด้วยปัญญา ดูกรอาวุโส โดยนิปปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาค ตรัสอนุปุพพนิโรธ


...............................................................................

31
ธรรมปหายภัพพสูตร
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๓  หน้าที่ ๓๗๐


           [๒๖๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังละธรรม ๙ ประการไม่ได้แล้ว เป็นผู้ ไม่ควร เพื่อจะกระทำให้แจ้งอรหัต ธรรม ๙ ประการเป็นไฉน คือ ราคะ ๑โทสะ ๑ โมหะ ๑ โกธะ ๑ อุปนาหะ ๑ มักขะ ๑ ปลาสะ ๑ อิสสา ๑ มัจฉริยะ ๑

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังละธรรม ๙ ประการนี้แลไม่ได้แล้ว ก็เป็นผู้ ไม่ควร เพื่อจะกระทำให้แจ้งซึ่งอรหัต

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๙ ประการได้แล้ว เป็นผู้ควรเพื่อกระทำ ให้แจ้งซึ่งอรหัตธรรม ๙ ประการเป็นไฉน คือ ราคะ ๑ โทสะ ๑โมหะ ๑ โกธะ ๑ อุปนาหะ ๑ มักขะ ๑ ปลาสะ ๑ อิสสา ๑ มัจฉริยะ ๑

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๙ ประการนี้แลได้แล้ว ก็เป็นผู้ควรเพื่อ กระทำ ให้แจ้งซึ่งอรหัต


............................................................................

32

สิกขาสูตร
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๓๗๑


           [๒๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุเครื่องให้สิกขาทุรพล ๕ ประการนี้

           ๕ ประการเป็นไฉน คือ
๑) ปาณาติบาต
๒) อทินนาทาน
๓) กาเมสุมิจฉาจาร
๔) มุสาวาท
๕) สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุเครื่องให้สิกขาทุรพล ๕ ประการนี้แล

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ เพื่อละเหตุเครื่องให้ สิกขาทุรพล ๕ ประการนี้แล สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะมีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก เสียพิจารณา เห็นเวทนาในเวทนา ทั้งหลายอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็น ธรรม ในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌา และ โทมนัสในโลกเสีย

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ เพื่อละเหตุเครื่อง ให้สิกขาทุรพล ๕ ประการนี้แล


...............................................................................
33

สาสวะ อนาสวะ

สาสวะ เป็น สัมมาทิฐิของ ภิกษุผู้ยังไม่เป็นอริยะ (ยังเป็นของปุถุชน)
เรียกว่าเป็น มิจฉาทิฐิ ที่เป็นสาสวะ คือยังไม่ประเสริฐ ยังหวังบุญ เป็นส่วนแห่งบุญ มีผลแก่ขันธ์ เป็นสัมมาทิฐิเบื้องต้น จิตยังแสวงหาที่พึ่ง จึงเชื่อการบวงสรวง เชื่อเรื่องทาน โลกนี้ โลกหน้า ทำบญให้ทานแล้วหวังจะได้ไปเกิดเป็นเทวดา

อนาสวะ เป็น สัมมาทิฐิของ ภิกษุผู้อริยะ
เรียกว่าเป็น สัมมาทิฐิ ที่เป็น อนาสวะ เป็นโลกุตตระ เมื่อปฏิบัติข้อใดแล้ว มรรคองค์ อื่นๆ ที่เหลืออีก ๗ ข้อ ก็เป็นบริวาร ห้อมล้อม เช่นสัมมาสมาธิเป็นประธาน ก็จะห้อมล้อมอีก ๗ มรรคที่เหลือ

(มหาจัตตารีสกสูตร ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๔ หน้าที่ ๑๔๕)
พระสูตรฉบับเต็ม

...............................................................................
34

เรื่องพระโสภิตะอรหันต์ ระลึกชาติได้ ๕๐๐ กัป


        [๒๙๙] ครั้งนั้น ท่านพระโสภิตะ เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ดูกรอาวุโส ทั้งหลายเราระลึกชาติได้ห้าร้อยกัลป์ ภิกษุทั้งหลายพากัน เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา ว่า ไฉนท่านพระโสภิตะ จึงกล่าวอย่างนี้ว่า

ดูกรอาวุโสทั้งหลาย เราระลึกชาติได้ห้าร้อยกัป ท่านพระโสภิตะกล่าว อวด อุตตริมนุสสธรรม แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ชาตินี้ของโสภิตะมีอยู่ แต่มีชาติเดียวเท่านั้นแล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย โสภิตะพูดจริง โสภิตะ ไม่ต้องอาบัติ.

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๔๓๖

...............................................................................
35
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  หน้าที่ ๗๗

กกุธเทวบุตรพรหมเทวดา เข้าเฝ้าฯถามข้อสงสัย (กกุธสูตรที่ ๘)

กกุธเทวบุตร .. ข้าแต่พระสมณะ พระองค์ทรงยินดีอยู่หรือ
พระผู้มีพระภาค... ดูกรผู้มีอายุ เราได้อะไรจึงจะยินดี

กกุธเทวบุตร .. ถ้าอย่างนั้นพระองค์ทรงเศร้าโศกอยู่หรือ
พระผู้มีพระภาค.. ดูกรผู้มีอายุ เราเสื่อมอะไรจึงจะเศร้าโศก

กกุธเทวบุตร .. ถ้าอย่างนั้นพระองค์ไม่ทรงยินดี ไม่ทรงเศร้าโศกเลยหรือ
พระผู้มีพระภาค... เป็นเช่นนั้นผู้มีอายุ

กกุธเทวบุตร .. พระองค์ไม่มีทุกข์บ้างหรือ ความเพลิดเพลินไม่มีบ้างหรือ ความเบื่อหน่ายไม่ครอบงำพระองค์บ้างหรือ
พระผู้มีพระภาค... เราไม่มีทุกข์เลย และความเพลิดเพลินก็ไม่มี ความเบื่อหน่าย ก็ไม่ครอบงำเราผู้นั่งแต่ผู้เดียว

กกุธเทวบุตร .. ทำไมพระองค์จึงไม่มีทุกข์ ทำไมความเพลิดเพลิน จึงไม่มี ทำไมความเบื่อหน่าย จึงไม่ครอบงำพระองค์ ผู้นั่งแต่ผู้เดียว
พระผู้มีพระภาค... ผู้มีทุกข์นั่นแหละ จึงมีความเพลิดเพลิน ผู้มีความเพลิดเพลิน นั่นแหละ จึงมีทุกข์ ภิกษุย่อมเป็นผู้ไม่มีความเพลิดเพลิน ไม่มีทุกข์ ท่านจงรู้อย่างนี้ เถิดผู้มีอายุ

กกุธเทวบุตร .. นานหนอ ข้าพระองค์จึงพบเห็นภิกษุ ผู้เป็นพราหมณ์ ดับรอบแล้ว ไม่มีความเพลิดเพลิน ไม่มีทุกข์ ข้ามพ้นเครื่อง ข้องในโลกแล้ว

...............................................................................
36
ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ หน้า 395

ยอมเสียชีวิตไม่ยอมล่วงสิกขาบท

         ภิกษุท. ! เช่นเดียวกับที่มหาสมุทร ย่อมมีนํ้าหยุดอยู่ที่ระดับใดระดับ หนึ่งเป็นธรรมดา หาล้นฝั่งไปไม่.

         ข้อนี้ฉันใด

        ภิกษุท. ! เราบัญญัติสิกขา บทใด ๆ แก่สาวกทั้งหลายของเราแล้ว สาวกทั้งหลายของเรา ย่อมไม่ก้าว ล่วงสิกขาบทนั้น ๆ แม้จะต้องเสียชีวิต ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.

         ภิกษุท. ! ข้อที่เราบัญญัติสิกขาบทใด ๆ แก่สาวกทั้งหลายของเราแล้ว สาวกทั้งหลายของเรา ย่อมไม่ก้าวล่วงสิกขาบทนั้น ๆ แม้จะต้องเสียชีวิต นั้นแล

        เป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์ไม่น่าจะมีได้ _ _ ในธรรมวินัยนี้ ซึ่งเมื่อภิกษุทั้งหลาย ได้เห็นแล้ว ๆ ซึ่งข้อนี้ย่อมเกิดความพอใจอย่างยิ่งในธรรมวินัยนี้แล.


...............................................................................
37
ฉบับหลวง เล่มที่ ๗ วินัยปิฎก จุลวรรค ภาค ๒ หน้าที่ ๑๓๔

อสัทธรรม ๘ ประการ ครอบงำย่ำยีพระเทวทัต จึงตกนรกชั่วกัป


อสัทธรรม ๘ ประการ เป็นไฉน คือ

๑. เทวทัตมีจิต อันลาภครอบงำ ย่ำยีแล้ว
๒. เทวทัตมีจิต อันความเสื่อมลาภครอบงำ ย่ำยีแล้ว
๓. เทวทัตมีจิต อันยศครอบงำ ย่ำยีแล้ว
๔. เทวทัตมีจิต อันความเสื่อมยศครอบงำ ย่ำยีแล้ว
๕. เทวทัตมีจิต อันสักการะครอบงำ ย่ำยีแล้ว
๖. เทวทัตมีจิต อันความเสื่อมสักการะ ครอบงำ ย่ำยีแล้ว
๗. เทวทัตมีจิต อันความปรารถนาลามกครอบงำ ย่ำยีแล้ว
๘. เทวทัตมีจิต อันความเป็นมิตรชั่วครอบงำ ย่ำยีแล้ว

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวทัต มีจิตอันอสัทธรรม ๘ ประการนี้แล ครอบงำย่ำยี แล้ว จักเกิดในอบาย ตกนรก ตั้งอยู่ตลอดกัป ช่วยเหลือไม่ได้

...............................................................................
38
ฉบับหลวง เล่มที่ ๗ วินัยปิฎก จุลวรรค ภาค ๒ หน้าที่ ๑๓๔

อสัทธรรม ๓ ประการ ครอบงำย่ำยีพระเทวทัต จึงตกนรกชั่วกัป

อสัทธรรม ๓ ประการ เป็นไฉน คือ
๑. ความปรารถนาลามก
๒. ความมีมิตรชั่ว
๓. พอบรรลุคุณวิเศษเพียงคั่นต่ำ ก็เลิกเสีย ในระหว่าง

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวทัตมีจิตอัน อสัทธรรม ๓ ประการนี้แล ครอบงำ ย่ำยี จักเกิดในอบาย ตกนรก ตั้งอยู่ตลอดกัป ช่วยเหลือไม่ได

...............................................................................

39

ลำดับการแสดง “อนุปุพพิกถา” ของพระผู้มีพระภาค
(แสดงธรรมไปตามลำดับ ด้วยญาณหยั่งรู้วาระจิตของผู้ฟัง)

(ย่อ)
1. ทรงประกาศ ทานกถา (ทาน)
2. ทรงประกาศ สีลกถา (ศีล)
3. ทรงประกาศ สัคคกถา (สุขของเทวดา) 
4. โทษความต่ำทราม ความเศร้าหมอง ของกามทั้งหลาย
5. อานิสงส์ในความออกจากกาม (เนกขัมมะ-ความดำริออกจากกาม)
6. เมื่อทรงทราบว่า กุลบุตรมีจิตสงบ มีจิตอ่อน ปลอดจากนิวรณ์ เบิกบานแล้ว จึง
7. ทรงประกาศ พระธรรมเทศนา คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค (อริยสัจสัจสี่)
8. ดวงตาเห็นธรรมว่า สิ่งใดมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นมีความดับไปเป็นธรรมดา
9. ข้ามข้อสงสัยได้แล้ว ไม่เชื่อคำสอนผู้อื่น แต่เชื่อคำของของพระศาสดา

ดูทั้งหมดเรื่อง อนุปุพพิกถา


...............................................................................
40
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง  เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๕๓

เหตุปัจจัยที่ทำให้สัตว์ต้องไปนรก หรือสุคติโลกสวรรค์
(ตรัสกับพราหมณ์ชานุสโสณี)

(เข้าถึงนรก)
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัย ให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ดูกรพราหมณ์ บุคคล บางคนในโลกนี้ ย่อมทำแต่กายทุจริต มิได้ทำกายสุจริต ย่อมทำแต่ วจีทุจริต มิได้ทำ วจีสุจริต ย่อมทำ แต่ มโนทุจริต มิได้ทำ มโนสุจริต เพราะกระทำด้วย เพราะไม่กระทำด้วย สัตว์บางพวกใน โลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป จึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

(ข้าถึงสุคติโลกสวรรค์)
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็อะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้สัตว์บางพวก ในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
ดูกรพราหมณ์ ส่วนบุคคล บางคน ในโลกนี้ ย่อมทำแต่กายสุจริต มิได้ทำกาย ทุจริต ย่อมทำแต่วจีสุจริต มิได้ทำวจีทุจริต ย่อมทำแต่ มโนสุจริต มิได้ทำมโน ทุจริต เพราะกระทำด้วย เพราะไม่กระทำด้วย สัตว์บางพวก ในโลกนี้ เมื่อแตกกาย ตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์


...............................................................................
41
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง  เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๕๕

ธรรม ๒ อย่างที่เป็นไปเพื่อความตั้งมั่น และไม่ตั้งมั่น แห่ง สัทธรรม

             [๒๖๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความ ฟั่นเฟือน เลือนหายแห่งสัทธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน คือ
  ๑) บทพยัญชนะ ที่ตั้งไว้ไม่ดี
  ๒) อรรถ ที่นำมาไม่ดี
แม้เนื้อความ แห่งบทพยัญชนะที่ตั้งไว้ไม่ดี ก็ย่อมเป็นอันนำมาไม่ดี

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความฟั่นเฟือน เลือนหายแห่งสัทธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความ ตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน ไม่เลือนหาย แห่งสัทธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน คือ
  ๑) บทพยัญชนะ ที่ตั้งไว้ดี
  ๒) อรรถที่นำมาดี
แม้เนื้อความ แห่ง บทพยัญชนะที่ตั้งไว้ดีแล้ว ก็ย่อมเป็นอันนำมาดี

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความ ตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน ไม่เลือนหายแห่งพระสัทธรรม


...............................................................................
42 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวงเล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๑๘๘
(ตรัสกับวัปปศากย ราชสาวกของ นิครนถ์นาฎบุตร)


ธรรม ๖ ประการ เป็นเครื่องอยู่ของผู้มีจิตหลุดพ้น


ดูกรวัปปะ เมื่อภิกษุมีจิตหลุดพ้นโดยชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมบรรลุธรรม เป็นเครื่องอยู่ เป็นนิตย์ ๖ ประการ

เธอ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มี อุเบกขา มีสติ สัมปชัญญะอยู่ ฟังเสียงด้วยหู... สูดกลิ่นด้วยจมูก... ลิ้มรสด้วยลิ้น... ถูกต้องโผฏฐัพพะ ด้วยกาย... รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจ แล้วไม่ดีใจไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติ สัมปชัญญะอยู่

เธอเมื่อเสวยเวทนา มีกายเป็นที่สุด
ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนา มีกายเป็นที่สุด

เมื่อเสวย เวทนา มีชีวิตเป็นที่สุด
ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนา มีชีวิต เป็นที่สุด

ย่อมรู้ชัดว่า เมื่อกายแตกสิ้นชีวิตไป

เวทนา ทั้งปวงอันไม่น่าเพลิดเพลิน ในโลกนี้ จักเป็นของเย็น

...............................................................................
43

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๙๕

สักกัจจสูตร
(ตรัสกับสารีบุตร)

ภิกษุไม่เคารพพระศาสดา จักเคารพในธรรม ข้อนี้ไม่เป็นฐานะ ที่จะมีได้
ภิกษุไม่เคารพพระศาสดา ชื่อว่าไม่เคารพในธรรมด้วย ฯลฯ

ภิกษุไม่เคารพพระศาสดา ในธรรมในสงฆ์ ในสิกขา ในสมาธิ ในความไม่ ประมาท จักเคารพในปฏิสันถาร ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้
ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดาในธรรม ในสงฆ์ในสิกขา ในสมาธิ ในความไม่ประมาท ชื่อว่าไม่เคารพในปฏิสันถารด้วย

ภิกษุเคารพพระศาสดา จักไม่เคารพในธรรม ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้
ภิกษุเคารพในพระศาสดา ชื่อว่าเคารพในธรรมด้วย ฯลฯ

ภิกษุเคารพพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ ในสิกขา ในสมาธิ ในความไม่ประมาท จักไม่เคารพในปฏิสันถาร ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้
ภิกษุเคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ ในสิกขา ในสมาธิ ในความไม่ประมาท ชื่อว่าเคารพในปฏิสันถารด้วย
(พระสูตรเต็ม)


...............................................................................
44

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๓๐ หน้าที่ ๑๒๘

ปิยรูป-สาตรูป ในโลก (สิ่งอันเป็นที่รัก-เป็นที่ยินดี)

          [๓๓๘] คำว่า ดูกรเหมกะ ... ในปิยรูปทั้งหลาย ความว่า สิ่งอะไรเป็น ปิยรูป (เป็นที่รัก) สาตรูป (เป็นที่ยินดี) ในโลก.

๑) จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย ใจ เป็น ปิยรูป สาตรูป ในโลก. (รวม 6)

๒) รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เป็น ปิยรูป สาตรูป ในโลก. (รวม 6)

๓) จักษุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ เป็น ปิยรูป สาตรูป ในโลก. (รวม 6)

๔) จักษุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส เป็น ปิยรูป สาตรูป ในโลก. (รวม 6)

๕) จักษุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา เป็น ปิยรูป สาตรูป ในโลก. (รวม 6)

๖) รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธรรมสัญญา เป็น ปิยรูป สาตรูป ในโลก. (รวม 6)

๗) รูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา โผฏฐัพพสัญเจตนา ธรรมสัญเจตนา เป็น ปิยรูป สาตรูป ในโลก. (รวม 6)

๘) รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธรรมตัณหา เป็น ปิยรูป สาตรูป ในโลก. (รวม 6)

๙) รูปวิตก สัททวิตก คันธวิตก รสวิตกโผฏฐัพพวิตก ธรรมวิตก เป็น ปิยรูป สาตรูป ในโลก. (รวม 6)

๑๐) รูปวิจาร สัททวิหาร คันธวิจาร รสวิจารโผฏฐัพพวิจาร ธรรมวิจาร เป็น ปิยรูป สาตรูป ในโลก. (รวม 6)

ปิยรูป สาตรูป ๖๐ (๑๐*๖ )

          เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ใน ปิยรูปทั้งหลาย.

  ปิยรูป สาตรูป ๖๐ (สิ่งที่มีสภาวะน่ารักน่าชื่นใจ เป็นที่เกิดและเป็นที่ดับของตัณหา)
       หมวด 1 อายตนะภายใน 6
       หมวด 2 อายตนะภายนอก 6
       หมวด 3 วิญญาณ 6
       หมวด 4 สัมผัส 6
       หมวด 5 เวทนา 6
       หมวด 6 สัญญา 6
       หมวด 7 สัญเจตนา 6
       หมวด 8 ตัณหา 6
       หมวด 9 ได้แก่ วิตก 6 คือ รูปวิตก สัททวิตก คันธวิตก รสวิตก โผฏฐัพพวิตก
   ธัมมวิตก (ความตริตรึกเกี่ยวกับรูป ฯลฯ)

       หมวด 10 ได้แก่ วิจาร 6 คือ รูปวิจาร สัททวิจาร คันธวิจาร รสวิจาร โผฏฐัพพวิจาร
   ธัมมวิจาร (ความตรองเกี่ยวกับรูป ฯลฯ


...............................................................................
45

จิตดวงแรกเกิดขึ้น วิญญาณดวงแรกปรากฏ
-บาลีมหา. วิ. ๔/๑๘๗/๑๔๑. (หนังสือ จิต มโน วิญญาณ)

การบวชของพระพุทธเจ้า คือนับอายุครบ20 ปี ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ หรือนับตั้งแต่การปฏิสนธิ หรือหยังลงของวิญญาณ ซึ่งถือว่าชีวิตใหม่ได้จุติแล้ว เป็นความความเกิดของสัตว์แล้ว
ไม่ได้นับตาม ปีเกิด (หลังคลอด) ตามกฎหมายไทยที่ถือเอาชีวิต หลังคลอด และรอดเป็น ชีวิต หรือตามเข้าใจของคนทั่วไป


... ภิกษุทั้งหลาย จิต ดวงแรกใดเกิด แล้วในครรภ์ แห่งมารดา
วิญญาณดวงแรกปรากฏแล้ว
อาศัยจิตดวงแรก
วิญญาณดวงแรกนั้นนั่นแหละ เป็นความเกิดของสัตว์นั้น

ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้อุปสมบทกุลบุตร
มีอายุครบ ๒๐ ปี ทั้งอยู่ในครรภ์.

บทนี้มีบาลีอย่างนี้
ยํ ภิกฺขเว มาตุ กุจฺฉิสฺมึ ปฐมํ จิตฺตํ อุปฺปนฺนํ ปฐมํ
วิญฺญาณํ ปาตุภูตํ ตทุปาทาย สาวสฺส ชาติ อนุชานามิ ภิกฺขเว
คพฺภวีสํ อุปสมฺปาเทตุนฺติ
.


...............................................................................
46

ความเกิดแห่งจิตย่อมมี เพราะความเกิดแห่งนามรูป
-บาลีมหาวาร. สํ. ๑๙/๒๔๖/๘๑๙. (หนังสือ จิต มโน วิญญาณ)

ความเกิดแห่งกาย เพราะความเกิดแห่ง อาหาร
ความเกิดแห่งเวทนา เพราะความเกิดแห่ง ผัสสะ
ความเกิดแห่งจิต เพราะความเกิดแห่ง นามรูป
ความเกิดแห่งธรรม เพราะความเกิดแห่ง มนสิการ


ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความเกิดและความดับ
แห่งสติปัฏฐาน ๔ เธอทั้งหลายจงฟัง.

ภิกษุทั้งหลาย ก็ความเกิดแห่งกายเป็นอย่างไร

ความเกิดแห่งกายย่อมมี เพราะความเกิดแห่ง อาหาร
ความดับแห่งกายย่อมมี เพราะความดับแห่งอาหาร

ความเกิดแห่งเวทนาย่อมมี เพราะความเกิดแห่ง ผัสสะ
ความดับแห่งเวทนาย่อมมี เพราะความดับแห่งผัสสะ

ความเกิดแห่งจิตย่อมมี เพราะความเกิดแห่ง นามรูป
ความดับแห่งจิตย่อมมี เพราะความดับแห่งนามรูป
(นามรูปสมุทยา จิตฺตสฺส สมุทโย นามรูปนิโรธา จิตฺตสฺส อตฺถงฺคโม)

ความเกิดแห่งธรรมย่อมมี
เพราะความเกิดแห่ง มนสิการ (กระทำในใจ)
ความดับแห่งธรรมย่อมมี เพราะความดับแห่ง มนสิการ
(มนสิการสมุทยา ธมฺมานํ สมุทโย มนสิการนิโรธา ธมฺมานํ อตฺถงฺคโม).



...............................................................................
47
ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณย่อมมี เพราะความเกิดขึ้นแห่งนามรูป
-บาลีขนฺธ. สํ. ๑๗/๗๕/๑๑๗. (หนังสือ จิต มโน วิญญาณ)
(ย่อ)
วิญญาณมีแค่หมู่ ๖ แห่งวิญญาณ นี้เท่านั้น คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ

วิญญาณเกิด.. เพราะการเกิดขึ้นของนามรูป
วิญญาณดับ... เพราะความดับของนามรูป
ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ คือ มรรค๘

-สุขโสมนัสใดๆอาศัยวิญญาณเกิดขึ้นนี้เป็นคุณแห่งวิญญาณ (อัสสาทะ)
-วิญญาณไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวน นี้เป็นโทษ
(อาทีนวะ)
-การกำจัดฉันทราคะ การละฉันทราคะในวิญญาณ นี้เป็นอุบายเครื่องสลัดออก
(นิสสรณะ)

สมณะพราหมณ์ หรือ ชนเหล่าใด ปฏิบัติดีแล้ว ชื่อว่าเป็นผู้หยั่งลงในธรรมวินัยนี้

สมณะพราหมณ์ หรือ ชนเหล่าใด รู้ชัดซึ่งวิญญาณ ซึ่งความเกิด ซึ่งความดับ รู้ชัดข้อปฏิบัติ ให้ถึงความดับแห่งวิญญาณแล้ว เป็นผู้หลุดพ้น เพราะเบื่อหน่าย คลายกำหนัด ความดับ เพราะไม่ถือมั่นในวิญญาณ สมณะหรือพราหมณ์ เหล่านั้น ชื่อว่า
เป็นเกพลี (หลุดพ้นดีแล้ว) วัฏฏะ ย่อมไม่มีแก่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น

           ภิกษุทั้งหลาย ก็วิญญาณเป็นอย่างไร ภิกษุทั้งหลาย หมู่แห่ง วิญญาณ ๖ เหล่านี้ คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าวิญญาณ

ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ
ย่อมมี เพราะความเกิดขึ้นแห่งนามรูป
ความดับแห่ง วิญญาณย่อมมี เพราะความดับแห่งนามรูป

อริยมรรคอัน ประกอบด้วยองค์ นี้นั่นเอง เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับ
แห่งวิญญาณ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ
สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และ สัมมาสมาธิ.

           ภิกษุทั้งหลาย
- สุขโสมนัสใดๆ อาศัยวิญญาณเกิดขึ้น นี้เป็นคุณแห่งวิญญาณ (อัสสาทะ)
-วิญญาณไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งวิญญาณ
(อาทีนวะ)
- การกำจัดฉันทราคะ การละฉันทราคะในวิญญาณ นี้เป็นอุบายเครื่องสลัดออก แห่ง วิญญาณ (นิสสรณะ).

           ภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด เหล่าหนึ่ง รู้ชัดแล้วซึ่งวิญญาณอย่างนี้ รู้ชัดแล้วซึ่งความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณอย่างนี้ รู้ชัดแล้วซึ่งความดับแห่ง วิญญาณ อย่างนี้ รู้ชัดแล้วซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งวิญญาณอย่างนี้ แล้วปฏิบัติ เพื่อ ความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับแห่งวิญญาณ สมณะหรือ พราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าปฏิบัติดีแล้ว ชนเหล่าใดปฏิบัติดีแล้ว ชนเหล่านั้นชื่อว่า ย่อมหยั่งลงในธรรมวินัยนี้

           ภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด เหล่าหนึ่ง รู้ชัดแล้วซึ่ง วิญญาณอย่างนี้ รู้ชัดแล้วซึ่งความ เกิดขึ้นแห่งวิญญาณอย่างนี้ รู้ชัดแล้วซึ่งความดับ แห่ง วิญญาณ อย่างนี้ รู้ชัดแล้วซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่ง วิญญาณอย่างนี้ แล้วเป็นผู้หลุดพ้น เพราะเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะความดับ เพราะไม่ถือ มั่นในวิญญาณ สมณะหรือพราหมณ์ เหล่านั้น ชื่อว่าหลุดพ้นดีแล้ว สมณะ หรือ พราหมณ์เหล่าใด หลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์ เหล่านั้นเป็น เกพลี สมณะหรือพราหมณ์ เหล่าใดเป็นเกพลี วัฏฏะย่อมไม่มีแก่สมณะหรือ พราหมณ์ เหล่านั้น.


...............................................................................
48

การบัญญัติรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งการ
บัญญัติรูปขันธ์
อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งการ
บัญญัติเวทนาขันธ์
อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งการ
บัญญัติสัญญาขันธ์
อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งการ
บัญญัติสังขารขันธ์
อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งการ
บัญญัติวิญญาณขันธ์.

ภิกษุ
มหาภูตรูป
(ธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม) เป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งการบัญญัติรูปขันธ์
ผัสสะ
เป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งการบัญญัติ เวทนาขันธ์
ผัสสะ
เป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งการบัญญัติ สัญญาขันธ์
ผัสสะ
เป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งการบัญญัติ สังขารขันธ์
นามรูป
เป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งการบัญญัติ วิญญาณขันธ์.
(หนังสือ จิต มโน วิญญาณ หน้า 28)


...............................................................................
49
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๗๔ (ทุติยปัณณาสก์)

สุขวรรค

สุข ๒ อย่าง อย่างไหนเป็นเลิศกว่ากัน

สุขของคฤหัสถ์ สุขเกิดแต่บรรพชา
... สุขเกิดแต่บรรพชาเป็นเลิศ

กามสุข เนกขัมมสุข
... เนกขัมมสุขเป็นเลิศ

สุขเจือกิเลส สุขไม่เจือกิเลส
... สุขไม่เจือกิเลสเป็นเลิศ

สุขมีอาสวะ สุขไม่มีอาสวะ
... สุขไม่มีอาสวะเป็นเลิศ

สุขอิงอามิส สุขไม่อิงอามิส
... สุขไม่อิงอามิสเป็นเลิศ

สุขของพระอริยเจ้า สุขของปุถุชน
... สุขของพระอริยเจ้าเป็นเลิศ

กายิกสุข เจตสิกสุข (สุขทางกาย-สุขทางใจ)
... เจตสิกสุขเป็นเลิศ

สุขอันเกิดแต่ฌานที่ยังมีปีติ สุขอันเกิดแต่ฌานที่ไม่มีปีติ
... สุขอันเกิดแต่ฌาน ไม่มีปีติเป็นเลิศ

สุขเกิดแต่ความยินดี สุขเกิดแต่ความวางเฉย
... สุขเกิดจากการวางเฉยเป็นเลิศ

สุขที่ถึงสมาธิ สุขที่ไม่ถึงสมาธิ
... สุขที่ถึงสมาธิเป็นเลิศ

สุขเกิดแต่ฌานมีปีติเป็นอารมณ์ สุขเกิดแต่ฌานไม่มีปีติเป็นอารมณ์
... สุขเกิดแต่ฌานไม่มีปีติเป็นอารมณ์เป็นเลิศ

สุขที่มีความยินดีเป็นอารมณ์ สุขที่มีความวางเฉยเป็นอารมณ์
... สุขที่มีความวางเฉยเป็นอารมณ์เป็นเลิศ

สุขที่มีรูปเป็นอารมณ์ สุขที่ไม่มีรูปเป็นอารมณ์
... สุขที่ไม่มีรูปเป็นอารมณ์เป็นเลิศ

...............................................................................
50

ธรรมหลายทั้งปวง มีนิพพานเป็นที่สุด
-บาลีทสกอํ๒๔/๑๑๓/๕๘.

ถ้าปริพพาชกเดียรถีย์ถาม พึงตอบดังนี้
ธรรมทั้งหลายทั้งปวง มีอะไรเป็นมูล
ธรรมทั้งหลายทั้งปวง มีอะไรเป็นแดนเกิด
ธรรมทั้งหลายทั้งปวง มีอะไรเป็นเหตุเกิด
ธรรมทั้งหลายทั้งปวง มีอะไรเป็นที่ประชุมลง
ธรรมทั้งหลายทั้งปวง มีอะไรเป็นประมุข
ธรรมทั้งหลายทั้งปวง มีอะไรเป็นอธิบดี
ธรรมทั้งหลายทั้งปวง มีอะไรเป็นอันดับสูงสุด
ธรรมทั้งหลายทั้งปวง มีอะไรเป็นแก่น
ธรรมทั้งหลายทั้งปวง มีอะไรเป็นที่หยั่งลง
ธรรมทั้งหลายทั้งปวง มีอะไรเป็นที่สุด
มีฉันทะ เป็นมูล
มีมนสิการ เป็นแดนเกิด
มีผัสสะ เป็นเหตุเกิด
มีเวทนา เป็นที่ประชุมลง
มีสมาธิ เป็นประมุข
มีสติ เป็นอธิบดี
มีปัญญา เป็นอันดับสูงสุด
มีวิมุตติ เป็นแก่น
มีอมตะ เป็นที่หยั่งลง
มีนิพพาน เป็นที่สุด


 






พุทธวจน ออนไลน์
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์