เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

 
 สักกัจจสูตร ความปริวิตกของพระสารีบุตร 1367
 

(โดยย่อ)

หลังจากพระสารีบุตร กล่าวคาถา พระผู้มีพระภาคตรัส ดีละๆ
จากนั้นพระองค์ทวนคำพูดของพระสารีบุตรเป็นการรับรอง

  - ภิกษุไม่เคารพพระศาสดา จักเคารพในธรรม ข้อนี้ไม่เป็นฐานะ ที่จะมีได้
    (ตรงกันข้าม) ภิกษุไม่เคารพพระศาสดา ชื่อว่าไม่เคารพในธรรมด้วย ฯลฯ

 - ภิกษุไม่เคารพพระศาสดา ในธรรมในสงฆ์ ในสิกขา ในสมาธิ ในความไม่ ประมาท จักเคารพ ในปฏิสันถาร ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้
   (ตรงกันข้าม) ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดาในธรรม ในสงฆ์ในสิกขา ในสมาธิ ในความไม่ประมาท ชื่อว่าไม่เคารพในปฏิสันถารด้วย

 - ภิกษุเคารพพระศาสดา จักไม่เคารพในธรรม ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้
   (ตรงกันข้าม)ภิกษุเคารพในพระศาสดา ชื่อว่าเคารพในธรรมด้วย ฯลฯ

 - ภิกษุเคารพพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ ในสิกขา ในสมาธิ ในความไม่ประมาท จักไม่เคารพ ในปฏิสันถาร ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้
   (ตรงกันข้าม) ภิกษุเคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ ในสิกขา ในสมาธิ ในความไม่ประมาท ชื่อว่าเคารพในปฏิสันถารด้วย



เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
รวมพระสูตร
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
(ดูทั้งหมด)

 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๙๕


สักกัจจสูตร


                [๖๗] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตร หลีกออกเร้นอยู่ในที่ลับ เกิดความ ปริวิตกแห่งใจอย่างนี้ว่า ภิกษุสักการะ เคารพ อาศัยอะไรอยู่หนอ จะพึงละอกุศล เจริญกุศล

     ลำดับนั้น ท่านคิดเห็นดังนี้ว่าภิกษุ สักการะ เคารพ อาศัยพระศาสดาอยู่แล จะพึงละ อกุศล เจริญกุศลภิกษุสักการะ เคารพ อาศัยธรรม ...อาศัยสงฆ์ ... อาศัยสิกขา ... อาศัยสมาธิ ... อาศัยความไม่ประมาท ...อาศัยปฏิสันถารอยู่แล ... จะพึงละอกุศล เจริญกุศล

     ท่านคิดเห็นอีกว่า ธรรมเหล่านี้ของเราบริสุทธิ์ผุดผ่อง ผิฉะนั้น เราพึงไปกราบทูล ธรรมเหล่านี้แด่พระผู้มีพระภาค ธรรมเหล่านี้ของเรา จักบริสุทธิ์ และจักนับว่าบริสุทธิ์ ยิ่งขึ้น ด้วยอาการอย่างนี้

     เปรียบเหมือน บุคคลได้ทองคำ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่อง เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า ทองคำแท่งของเรานี้ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ผิฉะนั้นเราพึง นำเอาทองคำแท่งนี้ ไปแสดง แก่นายช่างทอง ทองคำแท่งของเรานี้ ไปถึง นายช่างทอง เข้าจักบริสุทธิ์ และจัก นับว่าบริสุทธิ์ยิ่งขึ้น ด้วยอาการอย่างนี้ ฉะนั้น

     ลำดับนั้น เป็นเวลาเย็น ท่านพระสารีบุตรออกจากที่เร้น เข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาค ถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งครั้นแล้ว ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า

     ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ข้าพระองค์ หลีกออกเร้น อยู่ใน ที่ลับเกิดความปริวิตกแห่งใจอย่างนี้ว่า ภิกษุสักการะ เคารพ อาศัยอะไรอยู่หนอ จะพึงละอกุศล เจริญกุศล

     ลำดับนั้นข้าพระองค์ได้คิดเห็นดังนี้ว่า ภิกษุสักการะ เคารพ อาศัยพระศาสดา อยู่แล จะพึงละอกุศล เจริญกุศล สักการะ เคารพ อาศัยธรรม ... อาศัยสงฆ์ ...อาศัยสิกขา ... อาศัยสมาธิ ... อาศัยความไม่ประมาท ... อาศัยปฏิสันถารอยู่แล จะพึงละอกุศล เจริญกุศล

     ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้คิดเห็นดังนี้อีกว่า ธรรมเหล่านี้ของเรา บริสุทธิ์ผุดผ่อง ผิฉะนั้น เราพึงไปกราบทูลธรรมเหล่านี้ แด่ผู้มีพระภาค

     ธรรมเหล่านี้ของเราจักบริสุทธิ์ และจักนับว่าบริสุทธิ์ยิ่งขึ้น ด้วยอาการอย่างนี้ เปรียบเหมือนบุคคลได้ทองคำแท่งอันบริสุทธิ์ผุดผ่อง เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า ทองคำแท่งของเรานี้บริสุทธิ์ผุดผ่อง ผิฉะนั้นเราพึงนำเอาทองคำแท่งนี้ ไปแสดง แก่นายช่างทอง ทองคำแท่งของเรานี้ไปถึง นายช่างทองเข้า จักบริสุทธิ์และนับว่า บริสุทธิ์ยิ่งขึ้น ด้วยอาการอย่างนี้ฉะนั้น ฯ

     พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรสารีบุตร ดีละ ดีละ ภิกษุสักการะเคารพ อาศัย พระศาสดาอยู่แล จะพึงละอกุศล เจริญกุศล สักการะ เคารพอาศัยธรรม ... อาศัยสงฆ์ ...อาศัยสิกขา ... อาศัยสมาธิ ... อาศัยความไม่ประมาท ... อาศัย ปฏิสันถารอยู่แล จะพึงละอกุศลเจริญกุศล ฯ

      เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งพระดำรัส ที่พระผู้มีพระภาค ตรัสแล้วโดยย่อนี้ โดยพิสดารอย่างนี้ว่า

(ไม่เคารพในพระศาสดา)

- ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา จักเคารพ ในธรรม ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้
- ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา ชื่อว่า ไม่เคารพ ในธรรมด้วย

- ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา ในธรรม จักเคารพในสงฆ์ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้
- ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา ในธรรม ชื่อว่าไม่เคารพในสงฆ์ด้วย

- ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ จักเคารพในสิกขา ข้อนี้ไม่เป็นฐานะ ที่จะมีได้
- ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา ในธรรมในสงฆ์ ชื่อว่าไม่เคารพในสิกขาด้วย

- ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา ในธรรมในสงฆ์ ในสิกขา จักเคารพในสมาธิ ข้อนี้ ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้
- ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ ในสิกขา ชื่อว่าไม่เคารพในสมาธิ ด้วย

- ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ ในสิกขา ในสมาธิ จักเคารพในความ ไม่ประมาท ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้
- ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดาในธรรม ในสงฆ์ ในสิกขา ในสมาธิ ชื่อว่าไม่เคารพใน ความไม่ประมาทด้วย

- ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา ในธรรมในสงฆ์ ในสิกขา ในสมาธิ ในความไม่ ประมาท จักเคารพในปฏิสันถาร ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้
- ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ ในสิกขา ในสมาธิ ในความไม่ ประมาท ชื่อว่าไม่เคารพในปฏิสันถารด้วย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

(เคารพในพระศาสดา)

- ภิกษุเคารพในพระศาสดา จักไม่เคารพในธรรม ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้
- ภิกษุเคารพในพระศาสดา ชื่อว่าเคารพในธรรมด้วย

- ภิกษุเคารพในพระศาสดา ในธรรม จักไม่เคารพในสงฆ์ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้
- ภิกษุเคารพในพระศาสดา ในธรรม ชื่อว่าเคารพในสงฆ์ด้วย

- ภิกษุเคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ จักไม่เคารพในสิกขา ข้อนี้ไม่เป็นฐานะ ที่จะมีได้
- ภิกษุเคารพในพระศาสดา ในธรรมในสงฆ์ ชื่อว่าเคารพในสิกขาด้วย

- ภิกษุเคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ ในสิกขา จักไม่เคารพในสมาธิ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้
- ภิกษุเคารพในพระศาสดา ในในธรรม ในสงฆ์ ในสิกขา ชื่อว่าเคารพในสมาธิด้วย

- ภิกษุเคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ ในสิกขาในสมาธิ จักไม่เคารพในความ ไม่ประมาท ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้

- ภิกษุเคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ในสิกขา ในสมาธิ ชื่อว่าเคารพในความ ไม่ประมาท

- ภิกษุคารพในพระ ศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ ในสิกขา ในสมาธิ ในความไม่ประมาท จักไม่เคารพในปฏิสันถาร ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้
- ภิกษุเคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ในสิกขา ในสมาธิในความไม่ประมาท ชื่อว่าเคารพในปฏิสันถารด้วย

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงเนื้อความ แห่งพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาค ตรัสแล้วโดยย่อนี้ โดยพิสดารอย่างนี้

     พ. ดูกรสารีบุตร ดีละ ดีละ สารีบุตร เธอรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งคำ ที่เรากล่าว แล้ว โดยย่อนี้ โดยพิสดารอย่างนี้ ดีแล้ว
------------------------------------------------------------------------------------------------------

พระผู้มีพระภาค กลาวทวนคำพูดของพระสารีบุตรเพื่อเป็นการรับรอง

     ดูกรสารีบุตร
- ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา จักเคารพในธรรม ข้อนี้ไม่เป็นฐานะ ที่จะมีได้
- ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา ชื่อว่าไม่เคารพในธรรมด้วย ฯลฯ

- ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา ในธรรมในสงฆ์ ในสิกขา ในสมาธิ ในความไม่ ประมาท จักเคารพในปฏิสันถาร ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้
- ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดาในธรรม ในสงฆ์ในสิกขา ในสมาธิ ในความไม่ประมาท ชื่อว่าไม่เคารพในปฏิสันถารด้วย

     ดูกรสารีบุตร
- ภิกษุเคารพในพระศาสดา จักไม่เคารพในธรรม ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้
- ภิกษุเคารพในพระศาสดา ชื่อว่าเคารพในธรรมด้วย ฯลฯ

- ภิกษุเคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ ในสิกขา ในสมาธิ ในความไม่ประมาท จักไม่เคารพในปฏิสันถาร ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้
- ภิกษุเคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ ในสิกขา ในสมาธิ ในความไม่ประมาท ชื่อว่าเคารพในปฏิสันถารด้วย

        ดูกรสารีบุตร เธอพึงเห็นเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวแล้วโดยย่อนี้ โดยพิสดาร อย่างนี้แล

จบสูตรที่ ๖

 






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์