เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม

พระมหาโมคคัลลานะ
ค้นหาคำที่ต้องการ    

  ผู้มีบทบาทสำคัญในพุทธศาสนา    
1 พระโมคคัลลานะ (อัครสาวกเบื้องซ้าย) 8 พระอุบาลี (ยอดเยี่ยมด้านผู้ทรงวินัย) 15 ภารทวาชะ (ผู้ยอดเยี่ยมด้านบันลือสีหนาท)
2 พระเทวทัต (ปลงพระชนม์พระพุทธเจ้า) 9 อนาถบิณฑิกคหบดี (ผู้สร้างวิหารเชตวัน) 16 วักกลิ (ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นย่อมเห็นตถาคต)
3 นิครนถ์ (โต้วาทะกับพระพุทธเจ้า) 10 พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี (ภิกษุณีรูปแรก) 17 คามณี (แปลว่านายบ้าน หรือผู้ใหญ่บ้าน)
4 พระมหากัปปินะ (นั่งคู้บังลังค์ ตั้งกายตรง) 11 พระราหุล (เอตทัคคะผู้ใคร่ต่อการศึกษา) 18 พระมหากัจจานะ (ผู้จำแนกอรรถแห่งภาษิต)
5 พระสารีบุตร (อัครสาวกเบื้องขวา) 12 หมอชีวกโกมารภัจจ์ (แพทย์พระพุทธเจ้า) 19 อัคคิเวสนะ (ชื่อตระกูลปริพาชก)
6 พระมหากัสสป (ผู้ทรงธุดงค์ อยู่ป่าเป็นวัตร) 13 ราธะ (ตรัสสอนเรื่อง"สัตว์" กับราธะ) 20 สุสิมะปริพาชก (คิดว่าผู้หลุดพ้นคือผู้มีฤทธิ์)
7 พระอนุรุทธะ (พระอรหันต์ผู้มีทิพย์จักษุ) 14 เอตทัคคะ (ผู้ยอดเยี่ยมด้านต่างๆ 74 ท่าน) 21 พระอุทายี (มีความเห็นแย้งกับพระสารีบุตร)
           

 รวมพระสูตร เรื่องราวสำคัญของพระโมคคัลลานะ
อัครสาวกเบื้องซ้าย เอตทัคคะด้านผู้มีฤทธ
M101
               ออกไปหน้าหลัก   1 of 8
  83 เรื่องราวสำคัญของ พระมหาโมคคัลลานะ จากพระไตรปิฎกฉบับหลวง คัดเฉพาะคำสอนจากพระโอษฐ์
  1.พระมหาโมคคัลลานะ จะพลิกแผ่นดินด้วยฝ่ามือ (พระมหาโมคคัลลานะเปล่งสีหนาท)
  2. พระโมคคัลลานะกล่าวว่าพระราชาทรงปราชัยแล้ว (เรื่องรบ ณ พระนครราชคฤห์)
  3. พระโมคคัลลานะเข้า อาเนญชาสมาธิ ได้ยินเสียงโขลงช้าง (เรื่องช้างลงน้ำ)
  4. รับสั่งให้พระโมคคัลลานะ กับพระสารีบุตร ทำปัพพาชนียกรรม
  5. วิธีทำปัพพาชนียกรรม (ทำสังฆกรรมสงฆ์ผู้กระทำผิด)
  6. พระอัสสชิเถระแสดงธรรมแก่ สารีบุตร (สารีบุตรปริพาชก มีโอกาสพบกับ พระอัสสชิ ภิกษุใหม่ เมื่อครั้งอยู่กับสำนักสัญชัย)
  7. พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ พร้อมสาวกของสัญชัย เข้าหาพระพุทธเจ้า ทำให้เจ้าสำนักสัญชัย ถึงกับเลือดพุ่งออกจากปาก
  8. พระสารีบุตรเถระอาพาธ (พระโมคคัลลานะรักษาด้วยรากบัว)
  9. ภารทวาชเหาะขึ้นไปเอาบาตรไม้ลงมา (เรื่องบาตรปุ่มไม้จันทน์ของเศรษฐฐี กรุงราชครฤห์)
  10. ทรงเรียกประชุมสงฆ์ ติเตียนภารทวาชะ (ที่เหาะขึ้นไปเอาบาตรไม้จันทน์ลงมา)
  11. ทรงบัญญัติ ภิกษุไม่พึงฉันกระเทียม ยกเว้นอาพาธ (กระเทียมมีกลิ่น)
  12. พระเทวทัตเสื่อมจากฤทธิ์แล้ว (เรื่องกักกุธโกฬิยบุตร)
  13. เรื่องศาสดา ๕ จำพวก เป็นผู้มีศีลไม่บริสุทธิ์ ปฏิญาณว่าเราเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ เป็นผู้มีอาชีวะไม่บริสุทธิ์ แต่ปฏิญาณว่าบริสุทธิ์
  14. ศาสนาของตถาคต เราแลเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ ปฏิญาณว่าเราเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ และว่าศีลของเราบริสุทธิ์
  15. พระเทวทัตทูลขอปกครองสงฆ์ พระพุทธเจ้าปฏิเสธ นี่เป็นเหตุให้พระเทวทัต ผูกอาฆาตในพระผู้มีพระภาคเป็นครั้งแรก
  16. พระเทวทัตหาพรรคพวก เกลี้ยกล่อม ภิกษุบวชใหม่ประมาณ ๕๐๐ รูป ให้ไปอยู่สำนักตน
  17. พระสารีบุตรกับพระโมค-แสดงธรรมเจือด้วยอนุศาสนี เจือด้วยอิทธิปาฏิหาริย์ แล้วพาภิกษุกลับ เทวทัตถึงกับเลือดพุ่งออกจากปาก

 

1
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๘

พระมหาโมคคัลลานะ จะพลิกแผ่นดินด้วยฝ่ามือ (พระโมคคัลลานะเปล่งสีหนาท)

(ย่อ)
พระโมคคัลลานะ จะพลิกแผ่นดินด้วยฝ่ามือ ให้ภิกษุได้ฉันง้วนดิน และจะพา
ภิกษุไป บิณฑบาตที่อุตรกุรุ ในช่วงที่เมืองเวรัญชามีภิกษาหารน้อย ประชาชน
ล้มตาย ด้วยความ อดอยาก แต่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
อย่าเลย

            [๖] ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคมแล้วนั่งณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กราบทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคว่า

พระพุทธเจ้าข้า บัดนี้เมืองเวรัญชา มีภิกษาหารน้อย ประชาชนหาเลี้ยงชีพฝืดเคือง มีกระดูกคนตายขาวเกลื่อน ต้องมีสลากซื้ออาหาร ภิกษุสงฆ์จะยังอัตภาพให้เป็นไป ด้วยการถือบาตรแสวงหา ก็ทำไม่ได้ง่าย พระพุทธเจ้าข้าพื้นเบื้องล่างแห่งแผ่นดิน ผืนใหญ่นี้ สมบูรณ์ มีรสอันโอชา เหมือนน้ำผึ้งหวี่ที่ไม่มีตัวอ่อน ฉะนั้นขอประทาน พระวโรกาส

ข้าพระพุทธเจ้าจะพึงพลิกแผ่นดิน ภิกษุทั้งหลายจักได้ฉันง้วนดิน พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรโมคคัลลานะ ก็สัตว์ผู้อาศัยแผ่นดินเล่า เธอจะทำอย่างไร แก่สัตว์เหล่านั้น?

ม. ข้าพระพุทธเจ้า จักนิรมิตฝ่ามือข้างหนึ่ง ให้เป็นดุจแผ่นดินใหญ่ ยังสัตว์ผู้อาศัย แผ่นดินเหล่านั้น ให้ไปอยู่ในฝ่ามือนั้น จักพลิกแผ่นดินด้วยมืออีกข้างหนึ่ง พระพุทธเจ้าข้า

ภ. อย่าเลย โมคคัลลานะ การพลิกแผ่นดิน เธออย่าพอใจเลย สัตว์ทั้งหลาย จะพึง ได้รับผลตรงกันข้าม

ม. ขอประทานพระวโรกาส ขอภิกษุสงฆ์ทั้งหมด พึงไปบิณฑบาตในอุตรกุรุทวีป พระพุทธเจ้าข้า

ภ. ก็ภิกษุผู้ไม่มีฤทธิ์เล่า เธอจักทำอย่างไรแก่ภิกษุเหล่านั้น?

ม. ข้าพระพุทธเจ้าจักทำให้ภิกษุทั้งหมดไปได้ พระพุทธเจ้าข้า

ภ. อย่าเลย โมคคัลลานะ การที่ภิกษุสงฆ์ทั้งหมดไปบิณฑบาตถึงอุตรกุรุทวีป เธออย่าพอใจเลย

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
2
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๔๓๖

พระโมคคัลลานะบอกภิกษุ ว่าพระราชาทรงปราชัยแล้ว
(เรื่องรบ ณ พระนครราชคฤห์
)

(ย่อ)
พระมหาโมคคัลลานะ กล่าวว่า พระราชาได้ปราชัยให้กับ พวกเจ้า ลัจฉวีแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย พากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทนาว่า ไฉนพระมหาโมคคัลลานะ
จึงกล่าวอย่างนี้... พระผู้มีพระภาคตรัสว่า โมคคัลลานะพูดจริง ไม่ต้องอาบัติ


            [๒๙๗] ก็โดยสมัยนั้นแล พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช ทำสงคราม พ่ายแพ้พวกเจ้าลิจฉวี ต่อมาภายหลัง ท้าวเธอทรงระดมพลยกไปรบ พวกเจ้าลิจฉวี ได้ชัยชนะ และตีกลองนันทิเภรี ประกาศในสงครามว่า พระราชาทรงชนะ พวกเจ้าลิจฉวีแล้ว

            ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ พูดกะภิกษุทั้งหลายว่า อาวุโสทั้งหลาย พระราชาทรงปราชัยพวกเจ้าลิจฉวีแล้ว แต่เขาตีกองนันทิเภรี ประกาศใน สงคราม ว่าพระราชาทรงได้ชัยชนะพวกเจ้าลิจฉวีแล้ว ภิกษุทั้งหลายพากันเพ่งโทษ
ติเตียน โพนทนาว่า ไฉนท่านพระมหาโมคคัลลานะจึงกล่าวอย่างนี้ว่า

            อาวุโสทั้งหลาย พระราชาทรงปราชัยพวกเจ้าลิจฉวีแล้ว แต่เขาตีกอง นันทิเภรีประกาศในสงครามว่า พระราชาทรงได้ชัยชนะพวกเจ้าลิจฉวีแล้ว ท่าน พระมหาโมคคัลลานะ กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม แล้วกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มี พระภาค

          พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งแรกพระราชาทรงปราชัย พวกเจ้าลิจฉวี ต่อมาภายหลัง ท้าวเธอทรงระดมพลยกไปรบพวกเจ้าลิจฉวีได้ชัยชนะ

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย โมคคัลลานะพูดจริง โมคคัลลานะไม่ต้องอาบัติ.

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
3
พระโมค-เข้าอาเนญชาสมาบัติ ได้ยินเสียงโขลงช้าง
(เรื่องช้างลงน้ำ)

(ย่อ)
พระโมค- กล่าวกับหมู่สงฆ์ว่า เราเข้าอาเนญชสมาธิ ใกล้ฝั่งแม่น้ำสัปปินิกา
ณ ตำบลนี้ ได้ยินเสียงโขลงช้างลงน้ำเวลาขึ้นจากน้ำส่งเสียงคล้ายกระเรียน
ภิกษุต่างเพ่งโทษ ว่าอวดอุตริ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สมาธินั้นมีอยู่
แต่ไม่บริสุทธิ์ โมคคัลลานะพูดจริง โมคคัลลานะ
ไม่ต้องอาบัติ


        [๒๙๘] ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย เราเข้าอาเนญชสมาธิใกล้ฝั่งแม่น้ำสัปปินิกา ณ ตำบลนี้ ได้ยินเสียงโขลงช้างลงน้ำ เวลาขึ้นจากน้ำเปล่งเสียงดังดุจนกกระเรียน

        ภิกษุทั้งหลายพากัน เพ่งโทษ ติเตียน โพทะนาว่า ไฉนท่าน พระมหาโมค คัลลานะ จึงกล่าวอย่างนี้ว่า

        ดูกรอาวุโสทั้งหลาย เราเข้าอาเนญชสมาธิ (อ่านว่า อา เน ชา) ใกล้ฝั่งแม่น้ำ สัปปินิกา ณ ตำบลนี้ ได้ยินเสียงโขลงช้างลงน้ำ เวลาขึ้นจากน้ำเปล่งเสียงดังดุจ นกกระเรียน ท่านพระมหา โมคคัลลานะกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม แล้วกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค

       พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธินั้นมีอยู่ แต่ไม่บริสุทธิ์ โมคคัลลานะพูดจริง โมคคัลลานะ ไม่ต้องอาบัติ

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
4
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๗๓๒

รับสั่งให้พระโมคคัลลานะกะพระสารีบุตร ทำปัพพาชนียกรรม

(ย่อ)
ทรงรับสั่งให้พระสารีบุตร กับ พระโมค ทำปัพพาชนียกรรม (ขับออกจากหมู่)
แก่ภิกษุ พวกพระอัสสชิ และ พระปุนัพพสุกะ ที่ชนบทกิฏาคีรี เพราะภิกษุพวกนั้น
เป็น
สัทธิวิหาริก ของเธอ (เป็นอุปัชฌาย์)


        [๖๑๘] ครั้นพระผู้มีพระภาค ทรงติเตียนภิกษุพวก พระอัสสชิ และ พระปุนัพพสุกะ โดยอเนกปริยายดังนี้แล้ว ทรงกระทำธรรมีกถา รับสั่งกะ พระสารีบุตร และ พระโมคคัลลานะ ว่า

      ไปเถิดสารีบุตร และโมคคัลลานะ พวกเธอไปถึงชนบทกิฏาคีรีแล้ว จงทำปัพพา ชนียกรรม แก่ภิกษุพวกพระอัสสชิ และพระปุนัพพสุกะ จากชนบทกิฏาคีรี เพราะ ภิกษุพวกนั้นเป็น สัทธิวิหาริก ของเธอ

        พระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ กราบทูลถามว่า พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระพุทธเจ้า จะทำปัพพาชนียกรรม (ขับภิกษุออกจากหมู่) แก่ภิกษุพวก พระอัสสชิ และพระปุนัพพสุกะ จากชนบทกิฏาคีรีได้ด้วย วิธีไรเพราะภิกษุพวกนั้น ดุร้าย หยาบคาย

        พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรสารีบุตร และโมคคัลลานะ ถ้าเช่นนั้น พวกเธอ จงไป พร้อมด้วยภิกษุหลายๆ รูป

        พระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ ทูลรับสนองพระผู้มีพระภาคว่า อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า



เหตุที่พระผู้มีพระภาคให้พระสารีบุตร กับพระโมคคัลลานะ ทำปัพพาชนียกรรม มีสาเหตุมาจาก ความประพฤติเลวทราม ประพฤติอนาจาร ....

ทรงสอบถามภิกษุสงฆ์

        [๖๑๗] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค รับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุ เป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า

         ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุพวกพระอัสสชิ และพระปุนัพพสุกะ เป็นเจ้าถิ่น ในชนบทกิฏาคีรี เป็นภิกษุอลัชชี เลวทราม ประพฤติอนาจาร เห็นปานดั่งนี้

คือ
ปลูกต้นไม้ดอกเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นปลูกบ้าง
รดน้ำเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นรดบ้าง

เก็บดอกไม้เองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นเก็บบ้าง
ร้อยกรองดอกไม้เองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นร้อยกรองบ้าง
ทำมาลัยต่อก้านเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง
ทำมาลัยเรียงก้านเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง
ทำดอกไม้ช่อเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง
ทำดอกไม้พุ่มเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง
ทำดอกไม้เทริดเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง
ทำดอกไม้พวงเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง
ทำดอกไม้แผงสำหรับประดับอกเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง

... ประพฤติอนาจารต่างๆ บ้าง เมื่อก่อนชาวบ้านยังมีศรัทธาเลื่อมใส แต่เดี๋ยวนี้เขา ไม่ศรัทธาไม่เลื่อมใสแล้ว แม้ทานประจำของสงฆ์ก่อนๆ

บัดนี้ทายกทายิกา ได้ตัดขาดแล้วภิกษุ มีศีลเป็นที่รัก ย่อมหลีกเลี่ยงไป ภิกษุเลวทราม อยู่ครอง ดังนี้ จริงหรือ?

        ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า

(อ่านพระสูตรเต็ม)

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
5
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๗๓๒

วิธีทำปัพพาชนียกรรม (ทำสังฆกรรมสงฆ์ผู้กระทำผิด)


          [๖๑๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลวิธีปัพพาชนียกรรม พึงทำอย่างนี้ พึงโจทภิกษุพวกพระอัสสชิ และพระปุนัพพสุกะก่อน

    ครั้นแล้วพึงให้พวกเธอให้การ ครั้นแล้วพึงยกอาบัติขึ้น ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วย ญัตติจตุตถกรรมวาจา (ภิกษุร่วมกันกระทำ สังฆกรรม แก่ภิกษุผู้ทำผิด) ว่าดังนี้

กรรมวาจา ทำปัพพาชนียกรรม

        ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้าภิกษุ พวกพระอัสสชิ และพระปุนัพพสุกะ เหล่านี้ เป็นผู้ประทุษร้ายสกุล มีความประพฤติเลวทราม ความประพฤติเลวทราม ของภิกษุเหล่านี้ เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย และสกุลทั้งหลาย อันภิกษุ เหล่านี้ ประทุษร้ายแล้ว เขาได้เห็นอยู่ด้วยเขาได้ยินอยู่ด้วย ถ้าความพร้อม พรั่ง ของสงฆ์ถึงที่แล้ว

        สงฆ์พึงทำปัพพาชนียกรรม แก่ภิกษุพวกพระอัสสชิ และ พระปุนัพพสุกะ จากชนบท กิฏาคีรี ว่า ภิกษุพวกพระอัสสชิ และพระปุนัพพสุกะ ไม่พึงอยู่ในชนบท กิฏาคีรี นี่เป็นญัตติ

        ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุพวกพระอัสสชิ และ พระปุนัพพสุกะ เหล่านี้ เป็นผู้ประทุษร้ายสกุล มีความประพฤติเลวทราม ความประพฤติเลวทรามของ ภิกษุเหล่านี้ เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย และสกุลทั้งหลาย อันภิกษุเหล่านี้ ประทุษร้ายแล้ว เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย สงฆ์ทำปัพพาชนียกรรม แก่ภิกษุพวก พระอัสสชิ และพระปุนัพพสุกะ จากชนบท กิฏาคีรีว่า

        ภิกษุพวกพระอัสสชิ และ พระปุนัพพสุกะ ไม่พึงอยู่ในชนบทกิฏาคีรี การทำ ปัพพาชนียกรรม แก่ภิกษุ พวกพระอัสสชิ และพระปุนัพพสุกะ จากชนบทกิฏาคีรีว่า

        ภิกษุพวกพระอัสสชิ และพระปุนัพพสุกะ ไม่พึงอยู่ในชนบทกิฏาคีรี ชอบแก่ ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด...ฯลฯ

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
6
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๕๘

พระอัสสชิเถระแสดงธรรมแก่ สารีบุตร (ปริพาชก)

(ย่อ)
พระอัสสชิ
ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น และ
ความดับแห่งธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะมีปกติทรงสั่งสอนอย่างนี้

สารีบุตรปริพาชก
หลังฟังธรรมปริยายนี้แล้ว เกิดดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ว่า
สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับไป เป็นธรรมดา


        [๖๕] ลำดับนั้น ท่านพระอัสสชิ ได้กล่าวธรรมปริยายนี้แก่สารีบุตรปริพาชก ว่าดังนี้
ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะมีปกติทรงสั่งสอนอย่างนี้

สารีบุตรปริพาชกได้ดวงตาเห็นธรรม

        [๖๖] ครั้นได้ฟังธรรมปริยายนี้ ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับไปเป็นธรรมดา ได้เกิดขึ้นแก่ สารีบุตรปริพาชก ธรรมนี้แหละ ถ้ามีก็เพียงนี้เท่านั้น ท่านทั้งหลาย จงแทงตลอดบท อันหาความโศกมิได้ บทอันหาความโศกมิได้นี้พวกเรายังไม่เห็น ล่วงเลยมาแล้วหลายหมื่นกัลป์

สารีบุตรปริพาชกเปลื้องคำปฏิญญา

        [๖๗] เวลาต่อมา สารีบุตรปริพาชก เข้าไปหาโมคคัลลานปริพาชก.
โมคคัลลาน ปริพาชก ได้เห็นสารีบุตรปริพาชก เดินมาแต่ไกล ครั้นแล้วได้ถาม สารีบุตรปริพาชกว่า ผู้มีอายุ อินทรีย์ของท่านผ่องใส ผิวพรรณของท่านบริสุทธิ์ ผุดผ่อง ท่านได้บรรลุอมตธรรมแล้วกระมังหนอ?

        สา. ถูกละ ผู้มีอายุ เราได้บรรลุอมตธรรมแล้ว.

        โมค. ท่านบรรลุอมตธรรมได้อย่างไร ด้วยวิธีไร?

        สา. ผู้มีอายุ วันนี้เราได้เห็นพระอัสสชิ กำลังเที่ยวบิณฑบาตในพระนคร ราชคฤห์ มีมรรยาทก้าวไป ถอยกลับ แลเหลียว เหยียดแขน คู้แขน น่าเลื่อมใส มีนัยน์ตาทอดลง ถึงพร้อมด้วยอิริยาบถ

        ครั้นแล้วเราได้มีความดำริว่า บรรดาพระอรหันต์ หรือ ท่านผู้ได้บรรลุ อรหัตมรรคในโลก ภิกษุรูปนี้คงเป็นผู้ใดผู้หนึ่งแน่ ถ้ากระไร เราพึงเข้าไปหา ภิกษุรูปนี้

--------------------------------------------------------------------------
7
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๕๖

พระสารีบุตรกับพระโมคคัลลานะบรรพชา

(ย่อ)
พระสารีบุตร กับพระโมคคัลลานะ เมื่อครั้งยังเป็นปริพาชกในสำนักสัญชัย ได้พบกับ พระอัสสชิ สาวกตถาคต และได้ฟังธรรมเป็นครั้งแรก จนมีดวงตาเห็นธรรม จึงออกจากสำนัก พร้อมกับสาวกทั้งหมดมาขอบวชกับพระพุทธเจ้า


             [๖๔] ก็โดยสมัยนั้นแล สญชัยปริพาชก อาศัยอยู่ในพระนครราชคฤห์ พร้อมด้วย ปริพาชก บริษัทหมู่ใหญ่ จำนวน ๒๕๐ คน. ก็ครั้งนั้น พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ ประพฤติพรหมจรรย์อยู่ใน สำนักสญชัยปริพาชก

        ท่านทั้งสองได้ทำกติกากันไว้ว่า ผู้ใดบรรลุอมตธรรมก่อน ผู้นั้นจงบอกแก่ อีกคนหนึ่ง

        ขณะนั้นเป็นเวลาเช้า ท่านพระอัสสชิ นุ่งอันตรวาสกแล้ว ถือบาตรจีวรเข้าไป บิณฑบาต ยังพระนครราชคฤห์ มีมรรยาทก้าวไป ถอยกลับ แลเหลียว คู้แขน เหยียดแขน น่าเลื่อมใส มีนัยน์ตาทอดลง ถึงพร้อมด้วยอิริยาบถ

        สารีบุตรปาริพาชก ได้เห็นท่านพระอัสสชิ กำลังเที่ยวบิณฑบาตในพระนคร ราชคฤห์ มีมรรยาทก้าวไป ถอยกลับ แลเหลียว คู้แขนเหยียดแขน น่าเลื่อมใส มีนัยน์ตา ทอดลง ถึงพร้อมด้วยอิริยาบถ

        ครั้นแล้วได้มีความดำริว่า บรรดาพระอรหันต์ หรือท่านผู้ได้บรรลุ พระอรหัตมรรค ในโลก ภิกษุรูปนี้คงเป็นผู้ใดผู้หนึ่งแน่ถ้ากระไร เราพึงเข้าไปหาภิกษุ รูปนี้ แล้วถามว่า ท่านบวชเฉพาะใคร ใครเป็นศาสดาของท่าน หรือท่านชอบใจ ธรรมของใคร? แล้วได้ดำริต่อไปว่า ยังเป็นกาลไม่สมควร จะถามภิกษุรูปนี้ เพราะท่านกำลังเข้าละแวกบ้าน เที่ยวบิณฑบาต ผิฉะนั้น เราพึงติดตามภิกษุรูปนี้ ไปข้างหลังๆ เพราะเป็นทาง อันผู้มุ่งประโยชน์ทั้งหลาย จะต้องสนใจ

        ครั้งนั้น ท่านพระอัสสชิเที่ยวบิณฑบาต ในพระนครราชคฤห์ ถือบิณฑบาต กลับไป

        จึงสารีบุตรปริพาชก เข้าไปหาท่านพระอัสสชิ ถึงแล้วได้พูดปราศรัยกับท่าน พระอัสสชิ ครั้นผ่านการพูดปราศรัยพอให้เป็นที่บันเทิง เป็นที่ระลึกถึงกัน ไปแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง.

        สารีบุตรปริพาชก ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กล่าวคำนี้ กะท่าน พระอัสสชิว่า อินทรีย์ของท่านผ่องใส ผิวพรรณของท่านบริสุทธิ์ผุดผ่อง ท่านบวช เฉพาะใคร ใครเป็นศาสดาของท่าน หรือท่านชอบใจธรรมของใคร ขอรับ?

        อ. มีอยู่ ท่าน พระมหาสมณะศากยบุตร เสด็จออกทรงผนวช จากศากยตระกูล เราบวชเฉพาะพระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นศาสดา ของเรา และเราอบใจธรรมของพระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น

        สา. ก็พระศาสดาของท่านสอนอย่างไร แนะนำอย่างไร?

        อ. เราเป็นคนใหม่ บวชยังไม่นาน เพิ่งมาสู่พระธรรมวินัยนี้ ไม่อาจแสดงธรรม แก่ท่านได้กว้างขวาง แต่จักกล่าวใจความแก่ท่านโดยย่อ

        สา. น้อยหรือมาก นิมนต์กล่าวเถิด ท่านจงกล่าวแต่ใจความแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าต้องการใจความอย่างเดียว ท่านจักทำพยัญชนะให้มากทำไม

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
8
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๕ หน้าที่ ๕๓

พระสารีบุตรเถระอาพาธ (พระโมครักษาด้วยรากบัว)

(ย่อ)
พระสารีบุตร อาพาธเป็นไข้ตัวร้อน พระมหาโมคคัลลานะ เข้าไปเยี่ยม ถามว่า อาวุโสสารีบุตร เมื่อก่อนท่านอาพาธเป็นไข้ตัวร้อน รักษาหายด้วยเภสัชอะไร? พระสารีบุตรตอบว่า รักษาด้วย รากบัวและเง่าบัว ...พระโมคจึงหายไปปรากฏ ริมฝั่งสระโบกขรณีมันทากินี ช้างตัวหนึ่ง ได้ลงไปในสระ ใช้งวงถอนรากและเง่าบัว ให้พระโมคคัลลานะไปรักษาพระสารีบุตร จนหาย


        [๕๕] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในพระนครราชคฤห์ ตาม พระพุทธาภิรมย์แล้ว เสด็จพระพุทธดำเนินมุ่งไปทางพระนครสาวัตถี เสด็จจาริกโดย ลำดับ ถึงพระนครสาวัตถีแล้ว ทราบว่าพระองค์ประทับอยู่ในพระวิหารเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถีนั้น

        วันต่อมา ท่านพระสารีบุตร อาพาธเป็นไข้ตัวร้อน ท่านพระมหาโมคคัลลานะ เข้าไปเยี่ยมท่านพระสารีบุตร ได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า อาวุโส สารีบุตร เมื่อก่อน ท่านอาพาธเป็นไข้ตัวร้อน รักษาหายด้วยเภสัชอะไร?

        ท่านพระสารีบุตรตอบว่า รักษาหายด้วยรากบัวและเง่าบัว.

        จึงท่านพระมหาโมคคัลลานะ ได้หายตัวไปในพระวิหารเชตวันทันที มาปรากฏ อยู่ ณ ริมฝั่งสระโบกขรณีมันทากินี เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนที่คู้ หรือ คู้แขน ที่เหยียด ฉะนั้น ช้างเชือกหนึ่ง ได้เห็นท่านพระมหาโมคคัลลานะ กำลังมา แต่ไกล ครั้นแล้วได้กล่าวคำนี้กะท่านพระมหาโมคคัลลานะว่า นิมนต์พระคุณเจ้า มหาโมคคัลลานะมา พระคุณเจ้ามหาโมคคัลลานะมาดีแล้ว พระคุณเจ้าต้องประสงค์ สิ่งไร ข้าพเจ้าจะถวายสิ่งไร เจ้าข้า?

        ท่านพระมหาโมคคัลลานะตอบว่า ฉันประสงค์ เง่าบัว และรากบัว จ้ะ

        ช้างเชือกนั้น สั่งช้างอีกเชือกหนึ่งทันทีว่า พนาย ผิฉะนั้น เจ้าจงถวายเง่าบัว และรากบัวแก่พระคุณเจ้า จนพอแก่ความต้องการ

        จึงช้างเชือกที่ถูกใช้นั้น ลงสู่สระโบกขรณี มันทากินี ใช้งวง ถอนเง่าบัวและ รากบัวล้างน้ำให้สะอาด ม้วนเป็นห่อเข้าไปหา ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ทันใดนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ได้หายตัวไปที่ริมฝั่ง สระโบกขรณีมันทากินี มาปรากฏตัว ที่พระวิหารเชตวัน เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีกำลัง เหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น

        แม้ช้างเชือกนั้น ก็ได้หายไปตรงริมฝั่งสระโบกขรณี มันทากินี มาปรากฏตัว ที่พระวิหารเชตวัน ได้ประเคนเง่า บัวละรากบัว แก่ท่านพระมหาโมคคัลลานะ แล้วหายตัวไปที่พระวิหารเชตวันาปรากฏตัวที่ริมฝั่งสระโบกขรณีมันทากินี

        ลำดับนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ น้อมเง่าบัว และรากบัวเข้าไปถวายท่าน พระสารีบุตร เมื่อท่านพระสารีบุตรฉันเง่าบัว และรากบัวแล้ว โรคไข้ตัวร้อน ก็หายทันที

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
9
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๗ หน้าที่ ๑๐

ภารทวาชเถระ(อรหันต์)เหาะขึ้นไปเอาบาตรไม้ลงมา (เรื่องบาตรปุ่มไม้จันทน์)

(ย่อ)
เรื่องของเรื่องคือ ท่านราชคหเศรษฐี ต้องการเห็นอรหันต์ผู้มีฤทธิ์ จึงกลึงบาตร ด้วยปุ่มไม้ จันทน์ ซึ่งเป็นของหายาก ผูกไว้บนสาแหรกติดปลายไม้ ประกาศว่า ใครอยากได้ก็เหาะขึ้น เอาลงมาเถิด...เจ้าสำนักปริพาชกต่างๆอยากได้ แต่ไม่มีใคร เอาลงมาได้ ... ภารทวาชะ ขณะบิณฑบาตอยู่ในเมืองกับ พระโมคคัลลานะ เอาลง มาได้ พร้อมเหาะเวียนรอบเมือง
ราชคฤห์ ๓ รอบ สร้างความชื่นชมยินดีให้กับ เศรษฐี และชาวเมือง จึงพร้อมกันตาม ภารทวาชะไปถึงสำนักของพระพุทธเจ้า อย่างอึกทึกเกรียวกราว



         [๒๙] สมัยต่อมา ปุ่มไม้แก่จันทน์มีราคามาก ได้บังเกิดแก่เศรษฐี ชาวเมือ งราชคฤห์ จึงราชคหเศรษฐีได้คิดว่า ถ้ากระไรเราจะให้กลึงบาตรด้วยปุ่มไม้ แก่นจันทน์นี้ ส่วนที่กลึงเหลือเราจักเก็บไว้ใช้ และเราจักให้บาตรเป็นทาน หลังจากนั้น ท่านราชคหเศรษฐี ให้กลึงบาตรด้วยปุ่มไม้แก่นจันทน์นั้น แล้วใส่สาแหลก แขวนไว้ที่ปลายไม้ไผ่ผูกต่อๆ กันขึ้นไป

        แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า สมณะหรือพราหมณ์ผู้ใด เป็นพระอรหันต์และมีฤทธิ์ จงปลดบาตรที่เราให้แล้วไปเถิด

         [๓๐] ขณะนั้น ปูรณะกัสสป เข้าไปหาท่านราชคหเศรษฐีแล้ว กล่าวว่า ท่านคหบดีอาตมานี้แหละ เป็นพระอรหันต์และมีฤทธิ์ ขอท่านจงให้บาตรแก่ อาตมาเถิด ท่านเศรษฐีตอบว่า ท่านเจ้าข้า ถ้าพระคุณเจ้าเป็นพระอรหันต์และ มีฤทธิ์ ก็จงปลดบาตร ที่ข้าพเจ้าให้แล้วนั่นแลไปเถิด

         ต่อมา ท่านมักขลิโคสาล ท่านอชิตเกสกัมพล ท่านปกุธกัจจายนะท่านสัญชัย เวลัฏฐบุตร ท่านนิครนถ์นาฏบุตร ได้เข้าไปหาท่านราชคหเศรษฐี แล้วกล่าวว่า ท่านคหบดี อาตมานี้แหละเป็นพระอรหันต์ และมีฤทธิ์ ขอท่านจงให้บาตรแก่อาตมา เถิด ท่านเศรษฐีตอบว่า ท่านเจ้าข้า ถ้าพระคุณเจ้าเป็นพระอรหันต์และมีฤทธิ์ ก็จงปลดบาตร ที่ข้าพเจ้าให้แล้วนั่นแลไปเถิด

เรื่องพระปิณโฑลภารทวาชเถระ

         [๓๑] สมัยต่อมา ท่านพระมหาโมคคัลลานะ กับท่านพระปิณโฑลภาร  ทวาชะ ครองอันตรวาสก ในเวลาเช้าแล้ว ถือบาตรจีวร เข้าไปบิณฑบาตในเมือง   ราชคฤห์ อันที่แท้ ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะ เป็นพระอรหันต์และมีฤทธิ์

         แม้ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ก็เป็นพระอรหันต์ และมีฤทธิ์จึงท่าน พระปิณโฑลภาร ทวาชะ ได้กล่าวกะท่าน พระมหาโมคคัลลานะว่า ไปเถิด ท่านโมคคัลลานะ จงปลดบาตรนั้นลง บาตรนั้นของท่าน แม้ท่านพระโมคคัลลานะ ก็กล่าวกะท่านพระปิณโฑลภารทวาชะว่า ไปเถิด ท่านภารทวาชะ จงปลดบาตรนั้นลง บาตรนั้นของท่าน จึงท่านพระปิณโฑล ภารทวาชะเหาะขึ้นสู่เวหาส ถือบาตรนั้น เวียนไป รอบเมืองราชคฤห์ ๓ รอบ

         [๓๒] ครั้งนั้น ท่านราชคหเศรษฐีพร้อมกับบุตรภรรยา ยืนอยู่ในเรือนของตน ประคองอัญชลีนมัสการ กล่าวนิมนต์ว่า ท่านเจ้าข้า ขอพระคุณเจ้าภารทวาชะ จงประดิษฐานในเรือนของข้าพเจ้านี้เถิด จึงท่านพระปิณโฑลภารทวาชะ ประดิษฐาน ในเรือน ของท่านราชคหเศรษฐี

         ขณะนั้นท่านราชคหเศรษฐี รับบาตรจากมือของท่าน พระปิณโฑลภารทวาชะ  แล้วได้จัดของเคี้ยวมีค่ามากถวายท่าน  พระปิณโฑลภารทวาชะ ท่านพระปิณโฑล ภารทวาชะได้รับบาตรนั้น ไปสู่พระอาราม

         ชาวบ้านได้ทราบข่าวว่า ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะ ปลดบาตรของ ราชคห เศรษฐี ไปแล้วและชาว บ้านเหล่านั้น มีเสียงอึกทึกเกรียวกราว ติดตามพระปิณโฑล ภารทวาชะไปข้างหลัง

         พระผู้มีพระภาค ได้ทรงสดับเสียงอึกทึกเกรียวกราว ครั้นแล้ว ตรัสถามท่าน พระอานนท์ว่า อานนท์ นั่นเสียงอึกทึก เกรียวกราว เรื่องอะไรกัน ท่านพระอานนท์ กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะ ปลดบาตรของท่าน ราชคห เศรษฐีลงแล้ว

          พวกชาวบ้านทราบข่าวว่า ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะ ปลดบาตรของท่าน ราชคหเศรษฐีลง จึงพากันติดตามท่านพระปิณโฑล ภารทวาชะ มาข้างหลังๆ อย่างอึกทึกเกรียวกราว พระพุทธเจ้าข้า เสียงอึกทึกเกรียวกราวนี้ คือเสียงนั้น พระพุทธเจ้าข้า

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
10
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๗ หน้าที่ ๑๐

ทรงเรียกประชุมสงฆ์ ติเตียนภารทวาชะ

(ย่อ)
กรณีภารทวาชะเหาะขึ้นไปปลดบาตรของเศรษฐี พระผู้มีพระภาคเรียกประชุมสงฆ์
ข่าวว่าเธอปลดบาตรของราชคหเศรษฐีลง จริงหรือ ....ภ.จริง พระพุทธเจ้าข้า

การกระทำของเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนเธอจึงได้แสดงอิทธิปาฏิหาริย์ ซึ่งเป็นธรรมอันยวดยิ่งของมนุษย์ แก่พวกคฤหัสถ์ เพราะเหตุแห่งบาตรไม้ ซึ่งเป็นดุจซากศพเล่า....การกระทำของ เธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชน ที่ยังไม่เลื่อมใส


         [๓๓] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค รับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ในเพราะเหตุ เป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามท่านพระปิณโฑลภาร ทวาชะว่า ภารทวาชะ ข่าวว่าเธอปลดบาตรของราชคหเศรษฐีลง จริงหรือ

         ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า

         พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ทรงติเตียนว่าภารทวาชะ การกระทำของเธอ นั่น ไม่เหมาะ ไม่สมไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนเธอ จึงได้แสดง อิทธิปาฏิหาริย์ ซึ่งเป็นธรรมอันยวดยิ่งของมนุษย์ แก่พวกคฤหัสถ์ เพราะเหตุแห่ง บาตรไม้ ซึ่งเป็นดุจซากศพเล่า มาตุคามแสดงของลับ เพราะเหตุ แห่งทรัพย์ซึ่งเป็น ดุจซากศพแม้ฉันใด

          เธอก็ฉันนั้นเหมือนกัน ได้แสดงอิทธิปาฏิหาริย์ ซึ่งเป็นธรรม อันยวดยิ่งของ มนุษย์ แก่พวกคฤหัสถ์ เพราะเหตุแห่งบาตร ไม้ซึ่งเป็นดุจซากศพ การกระทำของ เธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชน ที่ยังไม่เลื่อมใส ...

         ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถา รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงแสดงอิทธิปาฎิหาริย์ ซึ่งเป็นธรรมอันยวดยิ่งของมนุษย์ แก่พวกคฤหัสถ์ รูปใดแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ  

         ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอ จงทำลายบาตรไม้นั่น บดให้ละเอียด ใช้เป็นยาหยอดตา ของภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุไม่พึงใช้บาตรไม้ รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
11
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๗ หน้าที่ ๔๖

ทรงบัญญัติ ภิกษุไม่พึงฉันกระเทียม

(ย่อ)
จากกรณีภิกษุรูปหนึ่งฉันกระเทียม แล้วนั่งอยู่ไกล เพราะกลัวกลิ่นรบกวนหมู่สงฆ์
ทรงบัญญัติห้ามภิกษุฉันกระทียม ยกเว้นอาพาธ
(แสดงว่าสมัยนั้นใช้กระเทียมเป็นโอสถ)


         [๑๘๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาค อันบริษัทหมู่ใหญ่แวดล้อม ประทับนั่ง แสดงธรรมอยู่ภิกษุรูปหนึ่ง ฉันกระเทียม แลเธอคิดว่า ภิกษุทั้งหลายอย่าได้รบกวน จึงนั่ง ณ ที่สุดส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทอดพระเนตรเห็นภิกษุนั้น  นั่ง ณ ที่สุดส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วจึงรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

         ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทำไมหนอ ภิกษุนั้นจึงนั่ง ณ ที่สุดส่วนข้างหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ภิกษุนั้นฉันกระเทียม พระพุทธเจ้าข้า แลเธอคิดว่า ภิกษุทั้งหลาย อย่ารบกวนจึงนั่ง ณ ที่สุดส่วนข้างหนึ่ง

         ภ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุฉันของใดแล้ว จะพึงเป็นผู้เหินห่างจาก  ธรรมกถาเห็นปานนี้ ภิกษุควรฉันของนั้นหรือ

         ภิ. ไม่ควรฉัน พระพุทธเจ้าข้า
         ภ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันกระเทียม รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ

         [๑๘๘] สมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรอาพาธเป็นลมเสียดท้อง ครั้งนั้นท่าน พระมหาโมคคัลลานะ เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรแล้วถามว่า เมื่อก่อนท่านเป็น    ลมเสียดท้อง หายด้วยยาอะไร ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ผมหายด้วยกระเทียม

          ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคๆ ตรัสว่า
          ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ฉันกระเทียมได้เพราะเหตุอาพาธ

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
12
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๗ หน้าที่ ๑๐๙

พระเทวทัตเสื่อมจากฤทธิ์แล้ว (เรื่องกักกุธโกฬิยบุตร)

(ย่อ)
กักกุธะเทพบุตร ผู้เคยเป็นอุปัฏฐากให้พระพระโมคฯ แต่ทำกาละไปแล้ว เข้าหาพระโมค คัลลานะ แจ้งให้ทราบว่า พระเทวทัตได้เสื่อมจากฤทธิ์แล้ว เพราะจิตคิดพยาบาท ต่อ พระผู้มีพระภาค


         [๓๕๐] สมัยนั้น โกฬิยบุตรชื่อกักกุธะ เป็นอุปัฏฐาก ของท่านพระมหา โมคคัลลานะ ผู้ตายไม่นาน ได้เข้าถึงมโนมัยกายอย่างหนึ่ง อัตภาพเห็นปานดังนี้ ที่เขาได้มีขนาดเท่ากับคามเขต ของชาวมคธ ๒ หรือ ๓ แห่ง เขาย่อมไม่ยังตนและ คนอื่นให้ลำบาก เพราะอัตภาพที่เขาได้นั้น

         ครั้งนั้น กักกุธะเทพบุตร (เทวดา) เข้าไปหาท่าน พระมหาโมคคัลลานะ อภิวาท แล้วยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ กล่าวกะท่านพระมหา โมคคัลลานะ ว่า ท่านเจ้าข้า พระเทวทัต อันลาภสักการะและ ความสรรเสริญ ครอบงำ รึงรัดจิต แล้วได้เกิดความปราถนาเห็นปานนี้ว่า เราจักปกครองภิกษุสงฆ์ ท่านเจ้าข้า พระเทวทัตได้เสื่อมจากฤทธิ์นั้นแล้ว พร้อมกับ จิตตุปบาท ทีเดียว

         กักกุธะเทพบุตร ได้กล่าวอย่างนี้แล้ว จึงอภิวาทท่านพระมหาโมคคัลลานะ กระทำประทักษิณแล้วหายไปณ ที่นั้นเอง

         [๓๕๑] ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค   ถวายบังคม แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า โกฬิยบุตรชื่อ กักกุธะ เป็นอุปัฏฐากของข้าพระพุทธเจ้า ผู้ตายไม่นาน ได้เข้าถึงมโนมัยกาย อย่างหนึ่ง อัตภาพเห็นปานดังนี้ ที่เขาได้มีขนาดเท่ากับคามเขตของชาวมคธ ๒ หรือ ๓ แห่ง เขาย่อมไม่ยังตนและคนอื่นให้ลำบาก เพราะอัตภาพที่เขาได้นั้น พระพุทธเจ้าข้า

         ครั้งนั้น กักกุธะเทพบุตร เข้าไปหาข้าพระพุทธเจ้า อภิวาทแล้ว ได้ยืนอยู่ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กล่าวกะข้าพระพุทธเจ้าว่า ท่านเจ้าข้า พระเทวทัต อันลาภสักการะครอบงำ รึงรัดจิตแล้ว ได้เกิดความปราถนาเห็นปานนี้ว่า เราจัก ปกครองภิกษุสงฆ์ ท่านเจ้าข้า พระเทวทัตเสื่อมจากฤทธิ์นั้นแล้วพร้อม กับจิตตุปบาททีเดียว พระพุทธเจ้าข้า กักกุธะเทพบุตรได้กล่าวอย่างนี้แล้ว อภิวาท    ข้าพระพุทธเจ้า กระทำประทักษิณแล้วหายไป ณ ที่นั้นเอง

         พ. ดูกรโมคคัลลานะ ก็กักกุธะเทพบุตร อันเธอกำหนดรู้ ซึ่งจิตด้วยจิต   แล้วหรือว่า กักกุธะเทพบุตรกล่าวคำ อย่างหนึ่งอย่างใด คำนั้นทั้งหมดย่อมเป็น   อย่างนั้นทีเดียว ไม่เป็นอย่างอื่น
(พ.ตรัสถามพระโมคว่าแน่ใจหรือหรือว่า ก.กล่าวจริง)

         ม. พระพุทธเจ้าข้า กักกุธะเทพบุตร อันข้าพระพุทธเจ้า กำหนดรู้จิต ด้วยจิต แล้วว่า กักกุธะเทพบุตรกล่าวคำอย่างหนึ่งอย่างใด คำนั้นทั้งหมดย่อมเป็นอย่างนั้น ทีเดียว ไม่เป็นอย่างอื่น
(พระโมคตอบว่าตนเอง กำหนดรู้จิตของ ก.ด้วยจิตของตนเอง คำนั้นย่อมไม่เป็นอย่างอื่น)

         พ. ดูกรโมคคัลลานะ เธอจงรักษาวาจานั้น

          ดูกรโมคคัลลานะ เธอจงรักษาวาจานั้น บัดนี้โมฆบุรุษนั้นจักกระทำตน ให้ปรากฏด้วยตนเอง (โมฆบุรุษในที่นี้หมายถึงพระเทวทัตที่ทำบาปด้วยตนเอง)

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
13
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๗ หน้าที่ ๑๑๐

เรื่องศาสดา ๕ จำพวก

(ย่อ)
ตรัสกับพระโมคคัลลานะ เรื่องศาสดา 5 จำพวก
1. เป็นผู้มีศีลไม่บริสุทธิ์ ปฏิญาณว่าเราเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์
2. เป็นผู้มีอาชีวะไม่บริสุทธิ์ แต่ปฏิญาณว่าเราเป็นผู้มีอาชีวะบริสุทธิ์
3. เป็นผู้มีธรรมเทศนา ไม่บริสุทธิ์ปฏิญาณว่า เราเป็นผู้มีธรรมเทศนาบริสุทธิ์
4. เราเป็นผู้มีไวยากรณ์บริสุทธิ์ ว่าไวยากรณ์ของเราบริสุทธิ์ผุดผ่องไม่เศร้าหมอง
5. เป็นผู้มีญาณทัสสนะไม่บริสุทธิ์ แต่ปฏิญาณว่าเราเป็นผู้มีญาณทัสสนะบริสุทธิ์



         [๓๕๒] ดูกรโมคคัลลานะ ศาสดา ๕ จำพวกเหล่านี้มีปรากฏอยู่ในโลก ๕ จำพวกเป็นไฉน ดูกรโมคคัลลานะ (1) ศาสดาบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีศีลไม่ บริสุทธิ์ ปฏิญาณว่าเราเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ และว่า ศีลของเราบริสุทธิ์ ผุดผ่อง  ไม่เศร้าหมอง

สาวกทั้งหลายย่อมรู้ ซึ่งศาสดานั้นนั่นอย่างนี้ว่า ศาสดาผู้เจริญนี้แล เป็นผู้มีศีล ไม่บริสุทธิ์ ปฏิญาณว่าเราเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ และว่าศีลของเราบริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่เศร้าหมอง ก็พวกเรานี่แหละพึงบอกแก่ พวกคฤหัสถ์

ศาสดานั้นไม่พึง มีความพอใจ ก็ความไม่พอใจใดแลจะพึงมี พวกเราจะพึง กล่าวกะ ศาสดานั้นด้วย ความไม่พอใจนั้นอย่างไร

ก็ศาสดานั้น ย่อมนับถือบูชาเราด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย เภสัช บริขาร ท่านจักกระทำกรรมใดไว้ ท่านก็จักปรากฏด้วยกรรมนั้นเอง

ดูกรโมคคัลลานะ สาวกทั้งหลาย ย่อมรักษาศาสดาเห็นปานนั้นโดยศีล ก็แลศาสดา เห็นปานนั้น ย่อมหวังการรักษาโดยศีล จากสาวกทั้งหลาย
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

         [๓๕๓] ดูกรโมคคัลลานะ อนึ่ง (2) ศาสดาบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มี อาชีวะ ไม่บริสุทธิ์ปฏิญาณว่า เราเป็นผู้มีอาชีวะบริสุทธิ์ และว่าอาชีวะของเรา บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่เศร้าหมอง

สาวกทั้งหลายย่อมรู้ซึ่งศาสดานั้นนั่นอย่างนี้ว่า ศาสดาผู้เจริญนี้แล เป็นผู้มี อาชีวะ ไม่บริสุทธิ์ ปฏิญาณว่า เราเป็นผู้มีอาชีวะบริสุทธิ์ และว่าอาชีวะของเราบริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่เศร้าหมอง ก็พวกเรานี่แหละพึงบอกแก่พวกคฤหัสถ์

ศาสดานั้นไม่พึงมี ความพอใจ ก็ความไม่พอใจใดแลพึงมี พวกเราจะพึง กล่าวกะ ศาสดานั้น ด้วยความไม่พอใจนั้นอย่างไร

ก็ศาสดานั้นย่อมนับถือ บูชาเรา ด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลาน ปัจจัย เภสัชบริขาร ท่านจักกระทำกรรมใดไว้ ท่านก็จักปรากฏด้วยกรรมนั้นเอ

ดูกรโมคคัลลานะสาวกทั้งหลาย ย่อมรักษาศาสดาเห็นปานนั้นโดยอาชีวะ ก็แล ศาสดาเห็นปานนั้น ย่อมหวังเฉพาะซึ่งการรักษาโดยอาชีวะจากสาวกทั้งหลาย

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

         [๓๕๔] ดูกรโมคคัลลานะ อนึ่ง (3) ศาสดาบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีธรรม เทศนา ไม่บริสุทธิ์ปฏิญาณว่า เราเป็นผู้มีธรรมเทศนาบริสุทธิ์ และว่า ธรรมเทศนาของเราบริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่เศร้าหมอง

สาวกทั้งหลาย ย่อมรู้ซึ่ง ศาสดานั้น นั่นอย่างนี้ว่าศาสดาผู้เจริญนี้แล เป็นผู้มี ธรรมเทศนา ไม่บริสุทธิ์ ปฏิญาณว่าเราเป็นผู้มีธรรมเทศนาบริสุทธิ์ และว่าธรรมเทศนา ของเราบริสุทธิ์ ผุดผ่องไม่เศร้า หมอง ก็พวกเรานี่แหละพึงบอกแก่พวกคฤหัสถ์

ศาสดานั้น ไม่พึงมีความพอใจ ก็ความไม่พอใจใดแลพึงมี พวกเราจะพึง กล่าว กะ ศาสดานั้นด้วยความไม่พอใจนั้นอย่างไร

ก็ศาสดานั้นย่อมนับถือบูชาเราด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลาน ปัจจัย เภสัช บริขาร ท่านจักกระทำกรรมใดไว้ ท่านก็จักปรากฏด้วยกรรมนั้นเอง

ดูกรโมคคัลลานะ สาวกทั้งหลายย่อมรักษาศาสดาเห็นปานนั้นโดยธรรมเทศนา ก็แล ศาสดาเห็นปานนั้น ย่อมหวังเฉพาะซึ่งการรักษา โดยธรรมเทศนา จากสาวก ทั้งหลาย
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


         [๓๕๕] ดูกรโมคคัลลานะ อนึ่ง (4) ศาสดาบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มี    ไวยากรณ์(คาถา ภาษา) ไม่บริสุทธิ์ปฏิญาณว่า เราเป็นผู้มีไวยากรณ์บริสุทธิ์ และว่า ไวยากรณ์ ของเราบริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่เศร้าหมอง

สาวกทั้งหลายย่อมรู้ ซึ่ง ศาสดานั้นนั่นอย่างนี้ว่าศาสดาผู้เจริญนี้แล เป็นผู้มี ไวยากรณ์ ไม่บริสุทธิ์ปฏิญาณว่า เราเป็นผู้มีไวยากรณ์บริสุทธิ์ และว่า ไวยากรณ์ ของเรา บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่เศร้าหมอง ก็พวกเรานี่แหละพึงบอกแก่ พวกคฤหัสถ์

ศาสดานั้นไม่พึงมีความพอใจ ก็ความไม่พอใจใดแลพึงมี พวกเราพึงกล่าวกะศาสดา นั้น ด้วยความไม่พอใจนั้นอย่างไร 

ก็ศาสดานั้นย่อมนับถือบูชาเราด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลาน ปัจจัยเภสัช บริขาร ท่านจักกระทำกรรมใดไว้ ท่านก็จักปรากฏ ด้วยกรรมนั้นเอง

ดูกรโมคคัลลานะ สาวกทั้งหลายย่อมรักษาศาสดาเห็นปานนั้น โดยไวยากรณ์ ก็แล ศาสดาเห็นปานนั้น ย่อมหวังเฉพาะซึ่งการรักษาโดย ไวยากรณ์ จากสาวกทั้งหลาย
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

         [๓๕๖] ดูกรโมคคัลลานะ อนึ่ง (5) ศาสดาบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีญาณ ทัสสนะไม่บริสุทธิ์ ปฏิญาณว่า เราเป็นผู้มีญาณทัสสนะบริสุทธิ์ และว่า ญาณทัสสนะ ของเราบริสุทธิ์ ผุดผ่องไม่เศร้าหมอง

สาวกทั้งหลายย่อมรู้ซึ่ง ศาสดานั้น นั่นอย่างนี้ว่า ศาสดาผู้เจริญนี้แล เป็นผู้มี ญาณทัสสนะ ไม่บริสุทธิ์ ปฏิญาณว่า เราเป็นผู้มีญาณทัสสนะบริสุทธิ์ และว่า ญาณทัสสนะ ของเราบริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่เศร้าหมอง ก็พวกเรานี่แหละ พึงบอกแก่ พวกคฤหัสถ์

ศาสดานั้นไม่พึง มีความพอใจ ก็ความไม่พอใจใดแลพึงมี พวกเราจะพึง กล่าวกะ ศาสดานั้นด้วย ความไม่พอใจนั้นอย่างไร

ก็ศาสดานั้น ย่อมนับถือบูชาเราด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัช บริขาร ท่านจักกระทำกรรมใดไว้ ท่านก็จักปรากฏด้วยกรรมนั้นเอง

ดูกรโมคคัลลานะ สาวกทั้งหลายย่อมรักษาศาสดาเห็นปานนั้น โดยญาณทัสสนะ ก็แล ศาสดาเห็นปานนั้น ย่อมหวังเฉพาะซึ่งการรักษาโดยญาณทัสสนะ จากสาวก ทั้งหลาย

ดูกรโมคคัลลานะ ศาสดา ๕ จำพวก เหล่านี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

14
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๗ หน้าที่ ๑๑๐
- ๑๑๒

ศาสนาของตถาคต

(ย่อ)
เราแลเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ ปฏิญาณว่าเราเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์
และว่าศีลของเราบริสุทธิ์ ผุดผ่องไม่เศร้าหมอง
เราเป็นผู้มีอาชีวะบริสุทธิ์ ...
เราเป็นผู้มีธรรมเทศนาบริสุทธิ์ ...
เราเป็นผู้มีไวยากรณ์บริสุทธิ์ ...
เราเป็นผู้มีญาณทัสสนะบริสุทธิ์ ปฏิญาณว่า เราเป็นผู้มีญาณทัสสนะ


         [๓๕๗] ดูกรโมคคัลลานะ ก็เราแลเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ปฏิญาณว่าเราเป็นผู้ มีศีล บริสุทธิ์และว่าศีลของเราบริสุทธิ์ ผุดผ่องไม่เศร้าหมอง แลสาวกทั้งหลาย ย่อมไม่รักษาเราโดยศีล และเราก็ไม่หวังเฉพาะ ซึ่งการรักษาโดยศีล จาก   สาวกทั้งหลาย
อนึ่ง เราเป็นผู้มีอาชีวะบริสุทธิ์ ...
อนึ่ง เราเป็นผู้มีธรรมเทศนาบริสุทธิ์ ...
อนึ่ง เราเป็นผู้มีไวยากรณ์บริสุทธิ์ ...

อนึ่ง เราเป็นผู้มีญาณทัสสนะบริสุทธิ์ ปฏิญาณว่า เราเป็นผู้มีญาณทัสสนะ บริสุทธิ์
และ ว่าญาณทัสสนะของเราบริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่เศร้าหมอง แลสาวกทั้งหลาย ย่อมไม่รักษาโดยญาณทัสสนะ และเราก็ไม่หวังเฉพาะ ซึ่งการ รักษาโดยญาณ ทัสสนะ จากสาวกทั้งหลาย

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
15
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๗ หน้าที่ ๑๑๔

พระเทวทัตทูลขอปกครองสงฆ์

(ย่อ) พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรเทวทัต แม้แต่สารีบุตร และ โมคคัลลานะ เรายังไม่มอบ ภิกษุสงฆ์ให้ ไฉนจะพึงมอบให้เธอ ผู้เช่นทรากศพ ผู้บริโภคปัจจัย  เช่นก้อนเขฬะเล่า... นี้เป็นเหตุ ทำให้พระเทวทัตผูกอาฆาต พระผู้มีพระภาค เป็นครั้งแรก


         [๓๖๑] ก็โดยสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาค อันบริษัทหมู่ใหญ่แวดล้อมแล้ว ประทับนั่งแสดงธรรม แก่บริษัท พร้อมทั้งพระราชา ครั้งนั้น พระเทวทัตลุกจาก  อาสนะ ห่มผ้าเฉวียงบ่า นั่งกระหย่ง ประคองอัญชลี ไปทางพระผู้มีพระภาค แล้ว กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า บัดนี้ พระผู้มีพระภาค ทรงพระชราแล้ว เป็นผู้เฒ่า แก่หง่อมแล้ว ล่วงกาลผ่านวัยไปแล้ว บัดนี้ ขอพระองค์จงทรงขวนขวายน้อย ประกอบทิฏฐธรรมสุขวิหาร อยู่เถิด ขอจงมอบภิกษุสงฆ์แก่ข้าพระพุทธเจ้า ข้าพระพุทธเจ้า จักปกครองภิกษุสงฆ์

พระผู้มีพระภาค ตรัสห้ามว่า อย่าเลย เทวทัต เธออย่าพอใจที่จะปกครอง ภิกษุสงฆ์เลย

แม้ครั้งที่สอง ...

แม้ครั้งที่สาม พระเทวทัต ก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า บัดนี้ พระผู้มีพระภาคทรงพระ ชราแล้ว เป็นผู้เฒ่า แก่หง่อมแล้ว ล่วงกาลผ่านวัย ไปแล้ว บัดนี้ ขอพระผู้มีพระภาค จงทรงขวนขวายน้อย ประกอบทิฏฐธรรม สุขวิหาร อยู่เถิด ขอจงมอบภิกษุสงฆ์ แก่ข้าพระพุทธเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าจักปกครอง ภิกษุสงฆ์

         พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรเทวทัต แม้แต่สารีบุตร และโมคคัลลานะ เรายังไม่มอบภิกษุสงฆ์ให้ ไฉนจะพึงมอบให้เธอผู้ เช่นทรากศพ ผู้บริโภคปัจจัย เช่นก้อนเขฬะเล่า

         ทีนั้น พระเทวทัตคิดว่า พระผู้มีพระภาค ทรงรุกรานเรากลางบริษัทพร้อม ด้วยพระราชาด้วย วาทะว่าบริโภคปัจจัยดุจก้อนเขฬะ ทรงยกย่องแต่พระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ ดังนี้ จึงโกรธ น้อยใจ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณ แล้วกลับไป นี่แหละ พระเทวทัตได้ผูกอาฆาตในพระผู้มีพระภาค เป็นครั้งแรก

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
16
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง  เล่มที่ ๗ หน้าที่ ๑๓๐

พระเทวทัตหาพรรคพวก

(ย่อ)
พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ พระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ ตามไปเกลี้ยกล่อม พาภิกษุบวชใหม่ประมาณ ๕๐๐ รูป ที่พระเทวทัติพาหลีกไปทางคยาสีสะประเทศ ให้กลับมาโดยเร็ว ไม่เช่นนั้นความย่อยยับจะบังเกิด แก่ภิกษุเหล่านั้น


        [๓๘๙] ครั้งนั้น ถึงวันอุโบสถ พระเทวทัตลุกจากอาสนะ ประกาศให้ ภิกษุทั้งหลาย จับสลากว่า ท่านทั้งหลาย พวกเราเข้าไปเฝ้าพระสมณโคดม แล้ว ทูลขอวัตถุ ๕ ประการว่าพระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาค ตรัสคุณแห่งความเป็นผู้    มักน้อย ... การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย วัตถุ ๕ ประการนี้ ย่อมเป็น ไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย ... การปรารภความเพียรโดยอเนกปริยาย

         ข้าพระพุทธเจ้า ขอประทานพระวโรกาส ภิกษุทั้งหลาย พึงถืออยู่ป่าเป็นวัตร ตลอดชีวิต รูปใด อาศัยบ้านอยู่ รูปนั้นพึงต้องโทษ ... ภิกษุทั้งหลายไม่พึงฉันปลา และเนื้อตลอดชีวิต รูปใดพึงฉันปลาและเนื้อ รูปนั้นพึงต้อง โทษ วัตถุ ๕ ประการนี้ พระสมณโคดม ไม่ทรงอนุญาต แต่พวกเรานั้นย่อมสมาทาน ประพฤติตามวัตถุ ๕ ประการนี้ วัตถุ ๕ ประการนี้ ชอบแก่ท่าน ผู้ใด ท่านผู้นั้นจงจับสลาก

         [๓๙๐] สมัยนั้น พระวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลี ประมาณ ๕๐๐ รูป เป็นพระ บวชใหม่ และรู้พระธรรมวินัย น้อย พวกเธอจับสลากด้วยเข้าใจว่า นี้ธรรม  นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ลำดับนั้น พระเทวทัตทำลายสงฆ์แล้ว พาภิกษุประมาณ๕๐๐ รูป หลีกไปทางคยาสีสะประเทศ

         [๓๙๑] ครั้งนั้น พระสารีบุตรพระโมคคัลลานะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคมนั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง เมื่อท่านพระสารีบุตรนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้   กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า พระเทวทัตทำลาย สงฆ์แล้ว พาภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูปหลีกไปทางคยาสีสะประเทศ

         พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรสารีบุตร โมคคัลลานะ พวกเธอจักมีความ การุญในภิกษุใหม่เหล่านั้น มิใช่หรือ พวกเธอจงรีบไป ภิกษุเหล่านั้นกำลังจะถึง ความย่อยยับ

         พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ ทูลรับสนองพระพุทธพจน์แล้ว ลุกจาก อาสนะถวายบังคม พระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณ แล้วเดินทางไปคยาสีสะประเทศ 

        เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง

         [๓๙๒] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งยืนร้องไห้อยู่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค จึงพระ ผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุนั้น ว่า ดูกรภิกษุ เธอร้องไห้ทำไม

         ภิกษุนั้นกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะเป็นอัคร สาวก ของพระผู้มีพระภาค ไปในสำนักพระเทวทัต คงจะชอบใจธรรมของพระเทวทัต

         พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ ข้อที่สารีบุตรโมคคัลลานะ จะพึงชอบ ใจธรรม ของเทวทัต นั่น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส แต่เธอทั้งสองไปเพื่อซ้อมความ เข้าใจกะภิกษุ

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
17
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง  เล่มที่ ๗ หน้าที่ ๑๓๐

พระสารีบุตรกับพระโมคคัลลานะ พาภิกษุ ๕๐๐ กลับ

(ย่อ)
ครั้งนั้น พระเทวทัตหลงดีใจคิดว่าสารีบุตร กับโมค ชอบใจธรรมของตน จึงเชื่อเชิญให้ กล่าวสอนภิกษุ ท. ส่วนตัวเอง แม้พระโกกาลิกะ เตือนแล้วว่าอย่าไว้ใจ แต่เทวทัตเข้าใจ ว่ามาดี จึงจำวัด (งีบหลับ)

ลำดับนั้น..
พระสารีบุตร กล่าวสอนภิกษุ ท.ด้วยบทธรรม "สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็น ธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับเป็นธรรมดา" อันเป็นอนุศาสนี เจือด้วย อาเทสนาปาฏิหาริย์ ส่วน พระโมคคัลลานะ กล่าวสอนด้วยธรรมีกถาอันเป็นอนุศาสนี เจือด้วยอิทธิปาฏิหาริย์
จากนั้นได้พาภิกษุทั้งหมดเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ... พระโกกาลิกะจึงปลุกพระเทวทัต ให้ตื่น แต่ภิกษุไปแล้ว... ครั้งนั้น โลหิตร้อนได้พุ่งออกจากปากพระเทวทัต ในที่นั้นเอง
(พระเทวทัตมรณะภาพ ด้วยโลหิตร้อนพุ่งออกจากปาก หรือกระอักเลือด แต่อรรถกถา บรรยายว่า ธรณีสูบ เท่ากับบิดเบือนคำสอนของพระพุทธเจ้า)

         [๓๙๓] สมัยนั้น พระเทวทัตอันบริษัทหมู่ใหญ่แวดล้อม แล้วนั่งแสดงธรรมอยู่ เธอได้เห็นพระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ มาแต่ไกล จึงเตือนภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เห็นไหมธรรมเรากล่าวดีแล้ว พระสารีบุตร โมคคัลลานะ อัครสาวก ของพระสมณโคดม พากันมาสู่สำนักเรา ต้องชอบใจธรรม ของเรา

         เมื่อพระเทวทัตกล่าวอย่างนี้แล้ว พระโกกาลิกะ ได้กล่าวกะพระเทวทัตว่า ท่านเทวทัต ท่านอย่าไว้วางใจ พระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ เพราะเธอ ทั้งสองมีความปรารถนาลามก ลุอำนาจแก่ความปรารถนาลามก พระเทวทัตกล่าวว่า  อย่าเลย คุณ ท่านทั้งสองมาดี เพราะชอบใจธรรมของเรา

         ลำดับนั้น ท่านพระเทวทัตนิมนต์ ท่านพระสารีบุตร ด้วยอาสนะกึ่งหนึ่งว่า มาเถิด ท่านสารีบุตร นิมนต์นั่ง บนอาสนะนี้ ท่านพระสารีบุตรห้ามว่า อย่าเลยท่าน แล้วถืออาสนะ แห่งหนึ่งนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แม้ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ก็ถืออาสนะแห่งหนึ่งนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

         ลำดับนั้น พระเทวทัตแสดงธรรม กถาให้ภิกษุทั้งหลายเห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงหลายราตรี แล้วเชื้อเชิญ ท่านพระสารีบุตรว่า ท่านสารีบุตร ภิกษุสงฆ์ ปราศจากถีนมิทธะ แล้วธรรมีกถาของภิกษุทั้งหลาย จงแจ่มแจ้งกะท่าน เราเมื่อยหลัง จักเอน ท่านพระสารีบุตรรับคำ พระเทวทัตแล้ว ลำดับนั้น พระเทวทัต ปูผ้า สังฆาฏิ ๔ ชั้น แล้วจำวัตรโดยข้างเบื้องขวา เธอเหน็ด เหนื่อยหมด สติสัมปชัญญะ ครู่เดียว เท่านั้น ก็หลับไป

         [๓๙๔] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรกล่าวสอน พร่ำสอนภิกษุทั้งหลายด้วย ธรรมีกถา อันเป็นอนุศาสนี เจือด้วยอาเทสนาปาฏิหาริย์

         ท่านพระมหา โมคคัลลานะกล่าวสอน
พร่ำสอน ภิกษุทั้งหลาย
ด้วย ธรรมีกถาอันเป็นอนุศาสนี เจือด้วยอิทธิปาฏิหาริย์

        ขณะเมื่อภิกษุเหล่านั้น อันท่านพระสารีบุตร กล่าวสอนอยู่ พร่ำสอนอยู่ ด้วย อนุศาสนี เจือด้วยอาเทศนาปาฏิหาริย์ และอัน ท่านพระมหาโมค คัลลานะกล่าว สอนอยู่ พร่ำสอนอยู่ ด้วยอนุศาสนีเจือด้วย อิทธิปาฏิหาริย์ ดวงตา เห็นธรรมที่ ปราศจากธุลี ปราศจากมลทินได้เกิดขึ้นว่า สิ่งใด สิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็น ธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับเป็นธรรมดา ที่นั้นท่านพระสารีบุตร เรียกภิกษุทั้งหลาย มาว่า ท่านทั้งหลาย เราจักไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ผู้ใดชอบใจธรรม ของพระผู้มีพระภาคนั้น ผู้นั้นจงมา

         ครั้งนั้น พระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ พาภิกษุ ๕๐๐ รูปนั้น เข้าไปทาง พระเวฬุวัน ครั้งนั้น พระโกกาลิกะ ปลุกพระเทวทัตให้ลุกขึ้น ด้วยคำว่าท่านเทวทัต ลุก ขึ้นเถิด

         พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ พาภิกษุเหล่านั้นไปแล้ว เราบอกท่านแล้ว มิใช่หรือว่า อย่าไว้วางใจ พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ เพราะเธอทั้งสอง มีความปรารถนาลามก ถึงอำนาจความปรารถนาลามก

         ครั้งนั้น โลหิตร้อนได้พุ่งออกจาก ปาก พระเทวทัต ในที่นั้นเอง

   



พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์