เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
นายคามณี
ค้นหาคำที่ต้องการ    

  ผู้มีบทบาทสำคัญในพุทธศาสนา    
1 พระโมคคัลลานะ (อัครสาวกเบื้องซ้าย) 8 พระอุบาลี (ยอดเยี่ยมด้านผู้ทรงวินัย) 15 ภารทวาชะ (ผู้ยอดเยี่ยมด้านบันลือสีหนาท)
2 พระเทวทัต (ปลงพระชนม์พระพุทธเจ้า) 9 อนาถบิณฑิกคหบดี (ผู้สร้างวิหารเชตวัน) 16 วักกลิ (ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นย่อมเห็นตถาคต)
3 นิครนถ์ (โต้วาทะกับพระพุทธเจ้า) 10 พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี (ภิกษุณีรูปแรก) 17 คามณี (แปลว่านายบ้าน หรือผู้ใหญ่บ้าน)
4 พระมหากัปปินะ (นั่งคู้บังลังค์ ตั้งกายตรง) 11 พระราหุล (เอตทัคคะผู้ใคร่ต่อการศึกษา) 18 พระมหากัจจานะ (ผู้จำแนกอรรถแห่งภาษิต)
5 พระสารีบุตร (อัครสาวกเบื้องขวา) 12 หมอชีวกโกมารภัจจ์ (แพทย์พระพุทธเจ้า) 19 อัคคิเวสนะ (ชื่อตระกูลปริพาชก)
6 พระมหากัสสป (ผู้ทรงธุดงค์ อยู่ป่าเป็นวัตร) 13 ราธะ (ตรัสสอนเรื่อง"สัตว์" กับราธะ) 20 สุสิมะปริพาชก (คิดว่าผู้หลุดพ้นคือผู้มีฤทธิ์)
7 พระอนุรุทธะ (พระอรหันต์ผู้มีทิพย์จักษุ) 14 เอตทัคคะ (ผู้ยอดเยี่ยมด้านต่างๆ 74 ท่าน) 21 พระอุทายี (มีความเห็นแย้งกับพระสารีบุตร)
           

 รวมพระสูตร เรื่องราวสำคัญของ นายคามณี
(คามณี แปลว่านายบ้าน หรือผู้ใหญ่บ้าน)
Ka 101
         ออกไปหน้าหลัก 1 of 5
  จากพระไตรปิฎก ที่เป็นคำสอนจากพระโอษฐ์ (ไม่รวมอรรถกถา)
  คามณี แปลว่าหัวหน้า นายบ้าน ผู้ใหญ่บ้าน
ในคามณิสังยุตต์ พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ จึงปรากฎชื่อนายบ้านหลายคนที่เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค
เช่น นายจัณฑคามณี , พ่อบ้านนักเต้นรำนามว่าตาลบุตร, นายบ้านนักรบอาชีพ, นายทหารม้า, นายนฏคามณี,
นายบ้านนามว่า อสิพันธกบุตร, นายคามณี นิครณถ์นาฏบุตร นายคามณีอสิพันธกบุตร, นายบ้านนามว่ามณิจูฬกะ,
นายบ้านนามว่าคันธภกะ, นายบ้านนามว่าราสิยะ, นายบ้านนามว่าปาฏลิยะ...
คามณีที่ได้บรรพชา และได้หลีกเร้นจนสำเร็จเป็นพระอรหันต์ มีชื่อว่า นายนฏคามณี นามว่า ตาลบุตร (พ่อบ้านนักเต้นรำ)
 
 

จัณฑสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๑๓ ข้อ [๕๘๖ - ๕๘๘]

      1) เหตุปัจจัยที่ทำให้บางคนเป็นคนดุ บางคนเป็นคนสงบเสงี่ยม
      2) ละราคะได้ย่อมเป็นคนสงบเสงี่ยม ละโทสะได้คนอื่นยั่ว ย่อมไม่โกรธ
  ตาลปุตตสูตร (นักเต้นรำ) ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๑๔ ข้อ [๕๘๙ - ๕๙๒ ]
      1) นักเต้นทำให้คนหัวเราะด้วยคำจริงบ้างเท็จบ้าง เมื่อกายแตกย่อมเข้าถึงสหาย ของเทวดาผู้ร่าเริง
      2) ความเห็นของเขานั้นเป็นความเห็นผิด นักเต้นเป็นผู้ที่ตั้งอยู่ในความกำหนัด เมื่อกายแตกย่อมไปเกิดในนรก
      3) นักเต้นรื่นเริงด้วยคำจริงบ้างเท็จบ้าง เมื่อกายแตกย่อมเข้าถึงนรก หรือ กำเนิดเดรัจฉาน
      4) คามิณี(นายบ้านชื่อตาลบุตร)เสียใจที่ถูกหลอกให้หลงเชื่อมานาน ต่อมาขออุปสมบท ไม่นานได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์
  โยธาชีวสูตร (ตรัสกับนักรบอาชีพ) ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๑๖ ข้อ [๕๙๓ - ๕๙๕]
      1) จริงหรือ...นักรบอาชีพฆ่าผู้อื่นในสนามรบ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสหายของเทวดาเหล่าสรชิต ..พระผู้มีพระภาคปฏิเสธที่จะตอบคำถามนี้
      2) กรณีที่ 1 ถ้านักรบอาชีพฆ่าผู้อื่นในสงครามตั้งจิตไว้ไม่ดี พยายามฆ่าให้ถึงความตาย ย่อมเกิดในนรกชื่อสรชิต
      3) กรณีที่ 1 ถ้านักรบอาชีพฆ่าผู้อื่นในสนามรบ แล้วคิดว่าเมื่อตายไปจะได้ไปเกิดเป็น สหายของเทวดาเหล่าสรชิต นี้เป็นความเห็นผิด
  อัสสาโรหสูตร (ตรัสกับทหารม้า) ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๑๘ ข้อ [๕๙๖ - ๕๙๗]
      1) ทหารฆ่าผู้อื่นในสงคราม เมื่อตายไปจะไปเกิดเป็นเทวดาเหล่าสรชิต จริงหรือ..ทรงปฏิเสธที่จะตอบคำถามถึง 3 ครั้ง
      2) ตรัสว่าทหารม้าคนใดฆ่าฆ่าผู้อื่นโดยตั้งใจ พยายามให้ถึงความตาย เมื่อตายไป ย่อมบังเกิดในนรกชื่อสรชิต
      3) ตรัสว่าทหารม้าคนใดฆ่าฆ่าผู้อื่นโดยตั้งใจ พยายามให้ถึงความตาย แล้วคิดว่า จะได้ไปเกิดเป็นเทวดาเหล่าสรชิต นี้เป็นความเห็นผิด

 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๑๓
(คามณิสังยุตต์)

จัณฑสูตร

1)
เหตุปัจจัยที่ทำให้บางคนเป็นคนดุ บางคนเป็นคนสงบเสงี่ยม

          [๕๘๖] ครั้งนั้นแล นายจัณฑคามณี เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้บุคคลบางคน ในโลกนี้ ถึงความนับว่า เป็นคนดุ เป็นคนดุ ก็อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่อง ให้บุคคล บางคนในโลกนี้ถึงความนับว่า เป็นคนสงบเสงี่ยม เป็นคนสงบเสงี่ยม

พระผู้มีพระภาค ตรัสตอบว่า

          ดูกรนายคามณี คนบางคนในโลกนี้ยังละราคะ ไม่ได้เพราะเป็นผู้ยังละราคะ ไม่ได้ คนอื่นจึงยั่วให้โกรธ คนที่ยังละราคะไม่ได้คนอื่นยั่วให้โกรธ ย่อมแสดงความ โกรธ ให้ปรากฏ ผู้นั้นจึงนับได้ว่าเป็นคนดุ คนบางคนในโลกนี้ยังละโทสะไม่ได้ เพราะเป็นผู้ยังละโทสะไม่ได้ คนอื่นจึงยั่วให้โกรธคนที่ยังละโทสะ ไม่ได้คนอื่นยั่ว ให้โกรธ ย่อมแสดงความโกรธให้ปรากฏ ผู้นั้นจึงนับได้ว่าเป็นคนดุ

          คนบางคนในโลกนี้ยังละโมหะไม่ได้ เพราะเป็นผู้ยังละโมหะไม่ได้ คนอื่นจึง ยั่วให้ โกรธ คนที่ยังละโมหะไม่ได้อันคนอื่นยั่วให้โกรธ ย่อมแสดงความโกรธให้ ปรากฏ ผู้นั้นจึงนับได้ว่าเป็นคนดุ ดูกรนายคามณี นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้คน บางคน ในโลกนี้ถึงความนับว่าเป็นคนดุ เป็นคนดุ ฯ

2)
ละราคะได้ย่อมเป็นคนสงบเสงี่ยม ละโทสะได้คนอื่นยั่ว ย่อมไม่โกรธ

          [๕๘๗] ดูกรนายคามณี อนึ่ง คนบางคนในโลกนี้ละราคะได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละราคะได้ คนอื่นจึงยั่วไม่โกรธ คนที่ละราคะได้แล้วอันคนอื่น ยั่วให้โกรธ ก็ไม่แสดง ความโกรธ ให้ปรากฏ ผู้นั้นจึงนับได้ว่า เป็นคนสงบเสงี่ยม คนบางคน ในโลกนี้ ละโทสะได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละโทสะได้ คนอื่นจึงยั่วไม่โกรธ คนที่ละโทสะได้แล้ว อันคนอื่นยั่วให้โกรธ ก็ไม่แสดงความโกรธให้ปรากฏ ผู้นั้นจึงนับได้ว่า เป็นคนสงบเสงี่ยม

          คนบางคนในโลกนี้ละโมหะได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละ โมหะได้ คนอื่นจึงยั่วไม่ โกรธ คนที่ละโมหะได้แล้วอันคนอื่นยั่วให้โกรธ ก็ไม่แสดงความโกรธให้ปรากฏ ผู้นั้น จึงนับได้ว่า เป็นคนสงบเสงี่ยม ดูกรนายคามณี นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้ คนบางคน ในโลกนี้ถึงความนับว่า เป็นคนสงบเสงี่ยมเป็นคนสงบเสงี่ยม ฯ

          [๕๘๘] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว นายจัณฑคามณีได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธรรมเทศนาของพระองค์แจ่มแจ้งยิ่งนัก พระธรรมเทศนาของพระองค์แจ่มแจ้งยิ่งนัก พระผู้มีพระภาคทรงประกาศธรรม โดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกหนทางให้แก่ คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยหวังว่า คนมีจักษุจักเห็นรูปฉะนั้น

          ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค กับทั้งพระธรรม และ พระภิกษุสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงจำข้าพระองค์ ว่าเป็น อุบาสก ผู้ถึงสรณะจนตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฯ


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๑๔
(คามณิสังยุตต์)

ตาลปุตตสูตร
(พ่อบ้านนักเต้นรำชื่อตาลบุตร)

          [๕๘๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถานใกล้พระนครราชคฤห์ ครั้งนั้นแล พ่อบ้านนักเต้นรำนามว่า ตาลบุตร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถาม พระผู้มีพระภาคว่า

1)
นักเต้นทำให้คนหัวเราะด้วยคำจริงบ้างเท็จบ้าง เมื่อกายแตกย่อมเข้าถึงสหาย ของเทวดาผู้ร่าเริง

          ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เคยได้ยินคำของนักเต้นรำ ผู้เป็นอาจารย์ และปาจารย์ก่อนๆกล่าวว่า นักเต้นรำคนใดทำให้คนหัวเราะ รื่นเริง ด้วยคำจริงบ้าง คำเท็จบ้างในท่ามกลางสถานเต้นรำ ในท่ามกลางสถานมหรสพ ผู้นั้นเมื่อแตก กายตายไปย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาผู้ร่าเริง ในข้อนี้พระผู้มีพระภาค ตรัสอย่างไร พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อย่าเลยนายคามณี ขอพักข้อนี้เสียเถิด ท่านอย่าถามข้อนี้กะเราเลย ฯ

          [๕๙๐] แม้ครั้งที่ ๒ ... แม้ครั้งที่ ๓ พ่อบ้านนักเต้นรำนามว่าตาลบุตร ก็ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เคยได้ยินคำ ของ นักเต้นรำ ผู้เป็นอาจารย์และปาจารย์ก่อนๆ กล่าวว่า นักเต้นรำคนใดทำให้คนหัวเราะ รื่นเริง ด้วยคำจริงบ้าง คำเท็จบ้างในท่ามกลางสถานเต้นรำ ในท่ามกลาง สถานมหรสพ ผู้นั้นเมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาผู้ร่าเริง ในข้อนี้พระผู้มีพระภาคตรัสอย่างไร ฯ

2)
ความเห็นของเขานั้นเป็นความเห็นผิด นักเต้นเป็นผู้ที่ตั้งอยู่ในความกำหนัด เมื่อกายแตกย่อมไปเกิดในนรก

          [๕๙๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรนายคามณี เราห้ามท่านไม่ได้แล้วว่า อย่าเลยนายคามณี ขอพักข้อนี้เสียเถิด ท่านอย่าถามข้อนี้กะเราเลย แต่เราจัก พยากรณ์ให้ท่าน ดูกรนายคามณี เมื่อก่อนสัตว์ทั้งหลายยังไม่ปราศจาก ราคะ อัน กิเลสเครื่องผูกคือราคะผูกไว้ นักเต้นรำรวบรวมเข้าไว้ซึ่งธรรม อันเป็นที่ตั้งแห่งความ กำหนัด ในท่ามกลางสถานเต้นรำ ในท่ามกลางสถานมหรสพ แก่สัตว์เหล่านั้นมาก ยิ่งขึ้น เมื่อก่อนสัตว์ทั้งหลายยังไม่ปราศจากโทสะ อันกิเลสเครื่องผูกคือโทสะผูกไว้ นักเต้นรำรวบรวมเข้าไว้ซึ่งธรรม เป็นที่ตั้งแห่งโทสะ ในท่ามกลางสถานเต้นรำ ในท่ามกลางสถานมหรสพ แก่สัตว์เหล่านั้นมากยิ่งขึ้น

          เมื่อก่อนสัตว์ทั้งหลายยังไม่ปราศจากโมหะ อันกิเลสเครื่องผูกคือโมหะผูกไว้ นักเต้นรำย่อมรวบรวมไว้ซึ่งธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโมหะ ในท่ามกลางสถานเต้นรำ ในท่ามกลางสถานมหรสพ แก่สัตว์เหล่านั้นมากยิ่งขึ้นนักเต้นรำนั้น ตนเองก็มัวเมา ประมาท ตั้งอยู่ในความประมาท เมื่อแตกกายตายไป ย่อมบังเกิดในนรกชื่อปหาสะ

3)
นักเต้นรื่นเริงด้วยคำจริงบ้างเท็จบ้าง เมื่อกายแตกย่อมเข้าถึงนรก หรือ กำเนิดเดรัจฉาน

          อนึ่ง ถ้าเขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นักเต้นรำคนใดทำให้คนหัวเราะ รื่นเริงด้วย คำจริงบ้าง คำเท็จบ้าง ในท่ามกลางสถานเต้นรำ ในท่ามกลางสถานมหรสพผู้นั้น เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชื่อปหาสะ ความเห็น ของเขานั้นเป็นความเห็นผิด ดูกรนายคามณี ก็เราย่อมกล่าวคติสองอย่างคือ นรกหรือกำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน อย่างใดอย่างหนึ่ง ของบุคคลผู้มีความเห็นผิด ฯ

          [๕๙๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พ่อบ้านนักเต้นรำนามว่า ตาลบุตร ร้องไห้สะอื้น น้ำตาไหล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรนายคามณี เราได้ ห้ามท่านแล้ว มิใช่หรือว่าอย่าเลย นายคามณี ขอพักข้อนี้เสียเถิด อย่าถามข้อนี้ กะเราเลย ฯ

4)
คามิณีเสียใจที่ถูกหลอกให้หลงเชื่อมานาน จึงขออุปสมบท ไม่นานได้สำเร็จ เป็นพระอรหันต์

          คามณี. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่ได้ร้องไห้ถึงข้อที่พระผู้มีพระภาค ตรัสอย่างนี้กะข้าพระองค์หรอก แต่ว่าข้าพระองค์ถูกนักเต้นรำ ผู้เป็นอาจารย์ และปาจารย์ก่อนๆ ล่อลวงให้หลงสิ้นกาลนานว่า นักเต้นรำคนใดทำให้คนหัวเราะ รื่นเริง ด้วยคำจริงบ้าง คำเท็จบ้าง ในท่ามกลางสถานเต้นรำ ในท่ามกลางสถาน มหรสพ

          ผู้นั้นเมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดา ชื่อปหาสะ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธรรมเทศนาของพระองค์แจ่มแจ้งยิ่งนัก ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ พระธรรมเทศนาของพระองค์แจ่มแจ้งยิ่งนัก พระผู้มีพระภาค ทรงประกาศ ธรรมโดยอเนกปริยาย ดุจหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทาง แก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยหวังว่า คนมีจักษุจักเห็นรูป ฉะนั้น

          ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค กับทั้งพระธรรม และ ภิกษุสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ ข้าพระองค์พึงได้บรรพชาอุปสมบท ในสำนักของ พระผู้มีพระภาค นายนฏคามณี นามว่า ตาลบุตร ได้บรรพชา ได้อุปสมบทในสำนัก พระผู้มีพระภาคแล้ว ท่านพระตาลบุตร อุปสมบทไม่นาน หลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจแน่วแน่ ฯลฯ ก็แลท่านพระตาลบุตรเป็นพระอรหันต์ องค์หนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย ฯ


ฉบับหลวง (ไทย) เล่มที่ ๑๘ สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค  หน้า ๓๑๖

โยธาชีวสูตร

(ตรัสกับนักรบอาชีพ)

1)
นักรบอาชีพฆ่าผู้อื่นในสนามรบ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสหายของเทวดา เหล่าสรชิต
จริงหรือ พระผู้มีพระภาคปฏิเสธที่จะตอบคำถามนี้ถึง 3 ครั้ง


          [๕๙๓] ครั้งนั้นแล นายบ้านนักรบอาชีพเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ ได้สดับคำ ของนักรบอาชีพ ทั้งอาจารย์ และปาจารย์ก่อนๆ กล่าวกันอย่างนี้ว่า นักรบอาชีพคนใด อุตสาหะพยายามในสงคราม คนอื่นฆ่าผู้นั้น ซึ่งกำลังอุตสาหะ พยายามให้ถึงความตาย ผู้นั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดา เหล่าสรชิต ในข้อนี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่าอย่างไร

          พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อย่าเลยนายบ้าน ขอพักข้อนี้เสียเถิด อย่าถามข้อนี้ กะเราเลย
แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓


          นายบ้านนักรบอาชีพได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ ได้สดับคำของนักรบอาชีพ ทั้งอาจารย์ และปาจารย์ ก่อนๆ กล่าวกันอย่างนี้ว่า
นักรบอาชีพคนใดอุตสาหะ พยายามในสงคราม คนอื่น ฆ่าผู้นั้น ซึ่งกำลังอุตสาหะ พยายามให้ถึงความตาย ผู้นั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็น สหายของเทวดา เหล่าสรชิต ในข้อนี้พระผู้มี พระภาค จะตรัสว่ากระไร

          พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรนายบ้าน เราห้ามท่านไม่ได้แล้วว่า อย่าเลย นายบ้าน ของดข้อนี้เสียเถิด อย่าถามเราถึงข้อนี้เลย แต่เราจักพยากรณ์ให้ท่าน

2)

กรณีที่ 1 ถ้านักรบอาชีพฆ่าผู้อื่นในสงครามตั้งจิตไว้ไม่ดี พยายามฆ่าให้ถึง ความตาย ย่อมเกิดในนรกชื่อสรชิต


(คติแบบที่ 1)
          ดูกรนายบ้าน นักรบอาชีพคนใด อุตสาหะพยายาม ในสงคราม ผู้นั้นยึด หน่วงจิต กระทำไว้ไม่ดี ตั้งจิตไว้ไม่ดีก่อน ว่าสัตว์เหล่านี้จงถูกฆ่า จงถูกแทง จงขาดสูญ จงพินาศ หรือว่าอย่าได้มีคนอื่นฆ่าผู้นั้น ซึ่งกำลัง อุตสาหะพยายามให้ถึง ความตาย ผู้นั้นเมื่อตายไป ย่อมเกิดในนรกชื่อสรชิต
(ตั้งจิตไว้ไม่ดี มีเจตนาฆ่า ย่อมไปเกิดในนรก)

3)
กรณีที่ 2 ถ้านักรบอาชีพฆ่าผู้อื่นในสนามรบ แล้วคิดว่าเมื่อตายไปจะได้ไป เกิดเป็นสหายของเทวดาเหล่าสรชิต นี้เป็นความเห็นผิด

(คติแบบที่ 2)
          ก็ถ้าเขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นักรบอาชีพคนใด อุตสาหะ พยายามใน สงคราม
คนอื่นฆ่าผู้นั้น ซึ่งกำลังอุตสาหะ พยายามให้ถึงความตาย ผู้นั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าสรชิต ดังนี้ไซร้ ความเห็นของผู้นั้น เป็นความเห็นผิด ดูกรนายบ้าน ก็เราย่อมกล่าวคติ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่งคือ นรก หรือ กำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน ของบุคคลผู้มีความเห็นผิด ฯ

          [๕๙๔] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว นายบ้านนักรบอาชีพ ร้องไห้ สอื้น น้ำตาไหล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรนายบ้าน เราได้ห้ามท่านแล้วมิใช่หรือว่า อย่าเลยนายบ้าน ของดข้อนี้เสียเถิด อย่าถามเราถึงข้อนี้เลย เขาทูลว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่ได้ร้องไห้ ถึงข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ กะข้าพระองค์หรอก

          แต่ว่าข้าพระองค์ถูกนักรบอาชีพทั้งอาจารย์ และปาจารย์ก่อนๆ ล่อลวง ให้หลง สิ้นกาลนานว่า นักรบอาชีพคนใดอุตสาหะพยายามในสงคราม คนอื่น ฆ่าผู้นั้น ซึ่งกำลังอุตสาหะพยายามให้ถึงความตาย นักรบอาชีพคนนั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดา เหล่าสรชิต ดังนี้

          ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญพระธรรมเทศนาของพระองค์แจ่มแจ้งนัก

          ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธรรมเทศนาของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระผู้มีพระภาค ทรงประกาศธรรม โดยอเนกปริยาย ดุจหงายของที่คว่ำ เปิดของ ที่ปิด บอกทางให้แก่คน หลงทาง หรือส่องไฟในที่มืดด้วยหวังว่า คนมีจักษุ จักได้เห็นรูป ฉะนั้น

          ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอถึงพระผู้มีพระภาค กับทั้งพระธรรม และ พระภิกษุสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงจำข้าพระองค์ ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะจนตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฯ

หัตถาโรหสูตร

          [๕๙๕] ครั้งนั้นแล นายทหารช้างได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ จนตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป


ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค หน้าที่ ๓๑๘

อัสสาโรหสูตร
(ตรัสกับทหารม้า)

1)
ทหารม้าถาม พ.ว่า ทหารฆ่าผู้อื่นในสงคราม เมื่อตายไปจะไปเกิดเป็นเทวดา เหล่าสรชิต จริงหรือ..ทรงปฏิเสธที่จะตอบคำถามถึง 3 ครั้ง


          [๕๙๖] ครั้งนั้นแล นายทหารม้าเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคม แล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับคำของทหารม้า ทั้งอาจารย์และปาจารย์ ก่อนๆ พูดกันว่า ทหารม้าคนใด อุตสาหะพยายามในสงคราม คนอื่นฆ่าผู้นั้น ซึ่งกำลัง อุตสาหะ พยายามให้ถึงความตาย ทหารม้าผู้นั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความ เป็นสหายของเทวดาเหล่าสรชิต ในข้อนี้พระผู้มีพระภาค จะตรัสว่ากระไร พระผู้มี พระภาคตรัสว่า อย่าเลยของดข้อนี้เสียเถิด อย่าถามเราถึงข้อนี้เลยแม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ

          แม้ครั้งที่ ๓ นายทหารม้าได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ ได้สดับคำ ของทหารม้า ทั้งอาจารย์และปาจารย์คนก่อนๆพูดกันว่า
ทหารม้าคนใดอุตสาหะ พยายาม ในสงครามคนอื่นฆ่าผู้นั้น เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึง ความเป็นสหาย ของเทวดาเหล่าสรชิต ในข้อนี้พระผู้มีพระภาคจะตรัสว่ากระไร

          พระผู้มีพระภาคตรัสว่า แน่ะนาย เราห้ามไม่ได้แน่แล้วว่า อย่าเลยนาย ของดข้อนี้ เสียเถิด อย่าถามเราถึงข้อนี้เลย แต่เราจักพยากรณ์ให้ท่าน

2)
ตรัสว่าทหารม้าคนใดฆ่าฆ่าผู้อื่นโดยตั้งใจ พยายามให้ถึงความตาย เมื่อตายไป ย่อมบังเกิดในนรกชื่อสรชิต

(คติแบบที่ 1)
แน่ะนายทหารม้าคนใด อุตสาหะพยายามในสงคราม ผู้นั้นยึดหน่วงจิตกระทำไว้ไม่ดี ตั้งจิตไว้ไม่ดีก่อนว่า สัตว์เหล่านี้จงถูกฆ่าจงถูกแทง จงขาดสูญ จงพินาศ หรือว่า จงอย่ามี คนอื่นฆ่าผู้นั้น ซึ่งกำลังอุตสาหะ พยายามให้ถึง ความตาย ทหารม้าผู้นั้น เมื่อตายไป ย่อมบังเกิดในนรกชื่อสรชิต

3)
ตรัสว่าทหารม้าคนใดฆ่าฆ่าผู้อื่นโดยตั้งใจ พยายามให้ถึงความตาย แล้วคิดว่า จะได้ไปเกิดเป็นเทวดาเหล่าสรชิต นี้เป็นความเห็นผิด

(คติแบบที่ 2)
อนึ่ง ถ้าเขามีความเห็นว่า ทหารม้าคนใด อุตสาหะพยายามในสงคราม คนอื่นฆ่า ผู้นั้น ซึ่งกำลังอุตสาหะ พยายามให้ถึงความตาย ทหารม้าผู้นั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึง ความเป็นสหาย ของเทวดาเหล่าสรชิต ดังนี้ไซร้ ความเห็นของเขานั้น เป็นความเห็น ผิด แน่ะนาย ก็เรากล่าวคติ ๒ อย่างอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ นรก หรือ กำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน ของบุคคลผู้มีความเห็นผิด ฯ

          [๕๙๗] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว นายทหารม้าร้องไห้ น้ำตาไหล พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า แน่ะนาย เราได้ห้ามท่านอย่างนี้แล้วมิใช่หรือว่าอย่าเลยนาย ของดข้อนี้เสียเถิด อย่าถามเราถึงข้อนี้เลย เขาทูลว่า

          ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์มิได้ร้องไห้ ถึงข้อที่พระผู้มีพระภาค ตรัสกะ ข้าพระองค์หรอก แต่ว่าข้าพระองค์ถูกทหารม้าทั้งอาจารย์ และปาจารย์ก่อนๆ ล่อลวงให้หลงสิ้นกาลนานว่า ทหารม้าคนใดอุตสาหะพยายามในสงคราม คนอื่นฆ่าผู้นั้นซึ่งกำลังอุตสาหะ พยายามให้ถึงความตาย ทหารม้าผู้นั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าสรชิต ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธรรมเทศนาของพระองค์แจ่มแจ้งนัก

          ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญพระธรรมเทศนาของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระผู้มีพระภาค ทรงประกาศธรรม โดยอเนกปริยายดุจหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทาง ให้แก่คนหลงทาง หรือส่องไฟในที่มืด ด้วยหวังว่า คนมีจักษุจักได้เห็นรูป ฉะนั้น

          ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค กับทั้งพระธรรม และภิกษุสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ อพระผู้มีพระภาคโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก  ผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะจนตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฯ

   



พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์