เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
นายคามณี
ค้นหาคำที่ต้องการ    

  ผู้มีบทบาทสำคัญในพุทธศาสนา    
1 พระโมคคัลลานะ (อัครสาวกเบื้องซ้าย) 8 พระอุบาลี (ยอดเยี่ยมด้านผู้ทรงวินัย) 15 ภารทวาชะ (ผู้ยอดเยี่ยมด้านบันลือสีหนาท)
2 พระเทวทัต (ปลงพระชนม์พระพุทธเจ้า) 9 อนาถบิณฑิกคหบดี (ผู้สร้างวิหารเชตวัน) 16 วักกลิ (ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นย่อมเห็นตถาคต)
3 นิครนถ์ (โต้วาทะกับพระพุทธเจ้า) 10 พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี (ภิกษุณีรูปแรก) 17 คามณี (แปลว่านายบ้าน หรือผู้ใหญ่บ้าน)
4 พระมหากัปปินะ (นั่งคู้บังลังค์ ตั้งกายตรง) 11 พระราหุล (เอตทัคคะผู้ใคร่ต่อการศึกษา) 18 พระมหากัจจานะ (ผู้จำแนกอรรถแห่งภาษิต)
5 พระสารีบุตร (อัครสาวกเบื้องขวา) 12 หมอชีวกโกมารภัจจ์ (แพทย์พระพุทธเจ้า) 19 อัคคิเวสนะ (ชื่อตระกูลปริพาชก)
6 พระมหากัสสป (ผู้ทรงธุดงค์ อยู่ป่าเป็นวัตร) 13 ราธะ (ตรัสสอนเรื่อง"สัตว์" กับราธะ) 20 สุสิมะปริพาชก (คิดว่าผู้หลุดพ้นคือผู้มีฤทธิ์)
7 พระอนุรุทธะ (พระอรหันต์ผู้มีทิพย์จักษุ) 14 เอตทัคคะ (ผู้ยอดเยี่ยมด้านต่างๆ 74 ท่าน) 21 พระอุทายี (มีความเห็นแย้งกับพระสารีบุตร)
           

 รวมพระสูตร เรื่องราวสำคัญของ นายคามณี
(คามณี แปลว่านายบ้าน หรือผู้ใหญ่บ้าน)
Ka 104
         ออกไปหน้าหลัก 4 of 5
  จากพระไตรปิฎก ที่เป็นคำสอนจากพระโอษฐ์ (ไม่รวมอรรถกถา)
  ราสิยสูตร ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๓๖ ข้อ [๖๒๙ - ๖๔๘]
  1) ข้าพระองค์ได้สดับมาว่า พระสมณโคดมติเตียนตบะทั้งปวง เข้าไปว่า เข้าไปด่าบุคคล ทั้งปวงผู้มีตบะ ทรงชีพอยู่อย่างเศร้าหมอง
  2) ชนเหล่าใดกล่าวอย่างนั้น(ติเตียนตบะทั้งปวง) ย่อมกล่าวตู่เราด้วยคำเท็จ ไม่เป็นจริง
  3) บรรพชิตไม่ควรเสพส่วนสุด ๒ อย่าง คือพัวพันด้วยกามสุข กับทรมานตนให้เป็นทุกข์
  4) ทางสายกลางที่เป็นข้อพึงปฏิบัติ คือ องค์ ๘ (สัมมาทิฐิ...)
  5) บุคคลผู้บริโภคกาม ๓ จำพวก แสวงหาทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม เลี้ยงตัวให้สุขสบายและไม่สุขสบาย ไม่ทำบุญ และจำแนกทานทำบุญ
  6) บุคคลผู้บริโภคกาม ๓ จำพวก แสวงหาทรัพย์โดย ชอบธรรมและ/ไม่ชอบธรรม เลี้ยงตัวให้สุขสบาย/ไม่สุขสบาย ทำบุญ/ไม่ทำบุญ
  7) บุคคลผู้บริโภคกาม ๔ จำพวก แสวงหาทรัพย์โดยชอบธรรม .ไม่ทำบุญ เป็นคนละโลภ ไม่เห็นโทษ /ไม่ละโมภ มีปรกติเห็นโทษ
  8) บุคคลผู้บริโภคกามเช่นนี้ พึงถูกติเตียนโดย ๓ สถาน แสวงทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม ไม่เลี้ยงตัวให้สุขสบาย ไม่จำแนกทาน-ไม่ทำบุญ
  9) บุคคลผู้บริโภคกาม ๓ จำพวก พึงถูกติเตียนโดย ๒ สถาน ควรสรรเสริญสถานเดียว
  10) บุคคลผู้บริโภคกาม ๓ จำพวก พึงถูกติเตียนสถานเดียว ควรสรรเสริญ ๒ สถาน
  11) บุคคลผู้บริโภคกาม ๓ จำพวก ควรสรรเสริญสถานเดียว พึงถูกติเตียน ๓ สถาน
  12) บุคคลผู้บริโภคกาม ๓ จำพวก ควรสรรเสริญ ๒ สถาน พึงถูกติเตียน ๒ สถาน
  13) บุคคลผู้บริโภคกาม ๓ จำพวก ควรสรรเสริญ ๓ สถาน พึงถูกติเตียนสถานเดียว
  14) บุคคลผู้บริโภคกาม ๓ จำพวก ควรสรรเสริญสถานเดียว พึงถูกติเตียน ๒ สถาน
  15) บุคคลผู้บริโภคกาม ๓ จำพวก ควรสรรเสริญ ๒ สถาน พึงถูกติเตียนสถานเดียว
  16) บุคคลผู้บริโภคกาม ๓ จำพวก ควรสรรเสริญ ๓ สถาน พึงถูกติเตียนสถานเดียว
  17) บุคคลผู้บริโภคกาม ๓ จำพวก ควรสรรเสริญ ๔ สถาน
  18) บุคคลผู้มีตบะ ทรงชีพอยู่อย่างเศร้าหมอง ๓ จำพวก
  19) บุคคลผู้มีตบะ ทรงชีพอยู่อย่างเศร้าหมอง ๓ จำพวก พึงถูกติเตียนโดย ๓ สถาน เป็นไฉน
  20) บุคคลผู้บริโภคกาม ๓ จำพวก พึงถูกติเตียนโดย ๒ สถาน ควรสรรเสริญสถานเดียว
  21) บุคคลผู้บริโภคกาม ๓ จำพวก พึงถูกติเตียนสถานเดียว ควรสรรเสริญ ๒ สถาน
  22) ธรรม ๓ อย่างนี้ (ราคะ โทสะ โมหะ) เป็นของอันบุคคลพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู

 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๓๖
(คามณิสังยุตต์)

ราสิยสูตร

1)
ข้าพระองค์ได้สดับมาว่า พระสมณโคดมติเตียนตบะทั้งปวง เข้าไปว่าเข้าไปด่าบุคคล ทั้งปวงผู้มีตบะ ทรงชีพอยู่อย่างเศร้าหมอง

          [๖๒๙] ครั้งนั้นแล นายบ้านนามว่าราสิยะ ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับมาว่า พระสมณโคดมติเตียนตบะทั้งปวง เข้าไปว่าเข้าไปด่าบุคคลทั้งปวงผู้มีตบะ ทรงชีพอยู่อย่างเศร้าหมอง โดยส่วนเดียว ดังนี้

          ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชนเหล่าใดได้กล่าวแล้วอย่างนี้ว่า พระสมณโคดม ติเตียน ตบะทั้งปวง เข้าไปว่า เข้าไปด่าบุคคลทั้งปวงผู้มีตบะ ทรงชีพอยู่อย่าง เศร้าหมอง โดยส่วนเดียว ดังนี้ ชนเหล่านั้นเป็นอันกล่าวตามคำที่พระผู้มีพระภาค ตรัสแล้ว จะไม่กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำอันไม่จริง และพยากรณ์ธรรม สมควร แก่ธรรม ทั้งการคล้อยตามวาทะที่ถูกไรๆ จะไม่ถึงฐานะอันวิญญูชนพึงติเตียน ได้แลหรือ พระเจ้าข้า

2)
ชนเหล่าใดกล่าวอย่างนั้น(ติเตียนตบะทั้งปวง) ย่อมกล่าวตู่เราด้วยคำเท็จ ไม่เป็นจริง

          พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรนายคามณี ชนเหล่าใดได้กล่าวแล้วอย่างนี้ว่า พระสมณโคดม ติเตียนตบะทั้งปวง เข้าไปว่า เข้าไปด่าบุคคลทั้งปวงผู้มีตบะ ทรงชีพอยู่อย่างเศร้าหมองโดยส่วนเดียว ดังนี้ ชนเหล่านั้น ย่อมไม่เป็นอันกล่าวตาม คำที่เรากล่าวแล้ว และกล่าวตู่เราด้วยคำเท็จไม่เป็นจริง

3)
บรรพชิตไม่ควรเสพส่วนสุด ๒ อย่าง คือพัวพันด้วยกามสุข กับทรมานตนให้เป็นทุกข์

          [๖๓๐] ดูกรนายคามณี บรรพชิตไม่ควรเสพส่วนสุด ๒ อย่างนี้ คือ
๑. การประกอบตนให้พัวพัน ด้วยกามสุขในกามทั้งหลาย อันเป็นธรรมเลวทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชนไม่ใช่เป็นของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
๒. การประกอบตนให้เหน็ดเหนื่อยลำบากเปล่า ซึ่งเป็นทุกข์ ไม่ใช่เป็นของ พระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์

          ดูกรนายคามณี ข้อปฏิบัติสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ส่วนสุด ๒ อย่างนั้น อันพระตถาคต ตรัสรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งแล้ว กระทำให้เกิดจักษุ กระทำให้เกิดญาณ ย่อมเป็นไป เพื่อความสงบระงับเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้เพื่อนิพพาน

4)
ทางสายกลางที่เป็นข้อพึงปฏิบัติ คือ องค์ ๘ (สัมมาทิฐิ...)

          ดูกรนายคามณี ก็ข้อปฏิบัติสายกลาง อันพระตถาคต ตรัสรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง แล้ว กระทำให้เกิดจักษุ กระทำให้เกิดญาณ ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพานนั้นเป็นไฉน คืออริยมรรคอันประกอบด้วย องค์ ๘ นี้แล คือ สัมมาทิฐิ ฯลฯ

          สัมมาสมาธิ ดูกรนายคามณี ข้อปฏิบัติสายกลางนี้แล อันตถาคตตรัสรู้ด้วย ปัญญา อันยิ่งแล้ว กระทำให้เกิดจักษุ กระทำให้เกิดญาณ ย่อมเป็นไปเพื่อความ สงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้เพื่อนิพพาน ฯ


5)
บุคคลผู้บริโภคกาม ๓ จำพวก แสวงหาทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม เลี้ยงตัวให้สุขสบาย และไม่สุขสบาย ไม่ทำบุญ และจำแนกทานทำบุญ

          [๖๓๑] ดูกรนายคามณี บุคคลผู้บริโภคกาม ๓ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
๓ จำพวกเป็นไฉน คือ

(๑) บุคคลบริโภคกามบางคนในโลกนี้ แสวงหาทรัพย์ โดยไม่ชอบธรรมดยความ ผลุนผลัน ครั้นแล้ว ไม่เลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย ไม่จำแนกทาน ไม่ทำบุญ

(๒) ก็บุคคลผู้บริโภคกามบางคนในโลกนี้ แสวงหาโภคทรัพย์ โดยไม่ชอบธรรมโดยความผลุนผลัน ครั้นแล้วเลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย แต่ไม่จำแนกทาน ไม่ทำบุญ

(๓) บุคคลผู้บริโภคกาม บางคนในโลกนี้ แสวงหาโภคทรัพย์ โดยไม่ชอบธรรม โดยความผลุนผลัน ครั้นแล้วเลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย จำแนกทาน ทำบุญ
------------------------------------------------------------------------------------------------

6)

บุคคลผู้บริโภคกาม ๓ จำพวก แสวงหาทรัพย์โดย ชอบธรรมและ/ไม่ชอบธรรม เลี้ยงตัวให้สุขสบาย/ไม่สุขสบาย ทำบุญ/ไม่ทำบุญ

          [๖๓๒] ดูกรนายคามณี
(๑) บุคคลผู้บริโภคกามบางคนในโลกนี้
แสวงหาโภคทรัพย์ โดยชอบธรรมและไม่ ชอบธรรมดยความผลุนผลันบ้าง โดยความ ไม่ผลุนผลันบ้าง ครั้นแล้วไม่เลี้ยงตัว ให้สุขสบาย ไม่จำแนกทาน ไม่ทำบุญ

(๒) บุคคลผู้บริโภคกามบางคนในโลกนี้ แสวงหาโภคทรัพย์ โดยชอบธรรม และไม่ชอบธรรม โดยความ ผลุนผลันบ้าง โดยความไม่ผลุนผลันบ้าง ครั้นแล้ว เลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย แต่ไม่จำแนกทาน ไม่ทำบุญ

(๓) บุคคลผู้บริโภคกามบางคนในโลกนี้ แสวงหาโภคทรัพย์ โดยชอบธรรมและไม่ ชอบธรรม โดยความ ผลุนผลันบ้าง โดยความไม่ผลุนผลันบ้าง ครั้นแล้วเลี้ยงตัว ให้เป็นสุขสบาย จำแนกทาน ทำบุญ
------------------------------------------------------------------------------------------------

7)
บุคคลผู้บริโภคกาม ๔ จำพวก
แสวงหาทรัพย์โดยชอบธรรม เลี้ยงตัวให้สุขสบาย/ ไม่สุขสบาย ทำบุญ/ไม่ทำบุญ เป็นคนละโลภ ไม่เห็นโทษ ไม่มีปัญญา /ไม่ละโมภ มีปรกติเห็นโทษ มีปัญญาเครื่องสลัดออกสลัดออก บริโภคทรัพย์นั้นอยู่

          [๖๓๓] ดูกรนายคามณี อนึ่ง
(๑) บุคคลผู้บริโภคกามบางคนในโลกนี้
แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม โดยไม่ผลุนผลัน ครั้นแล้วไม่เลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย ไม่จำแนกทาน ไม่ทำบุญ

(๒) ก็บุคคลผู้บริโภคกามบางคนในโลกนี้ แสวงหาโภคทรัพย์ โดยชอบธรรม โดยไม่ผลุนผลัน ครั้นแล้วเลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย แต่ไม่จำแนกทาน ไม่ทำบุญ

(๓) ก็บุคคลผู้บริโภคกามบางคนในโลกนี้ แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม โดยไม่ ผลุนผลัน ครั้นแล้วเลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย จำแนกทานทำบุญ แต่ยังเป็นคนละโมภ หลงพัวพันไม่เห็นโทษ ไม่มีปัญญาเครื่องสลัดออก บริโภคทรัพย์นั้นอยู่

(๔) อนึ่งบุคคลผู้บริโภคกามบางคนในโลกนี้ แสวงหาโภคทรัพย์ โดยชอบธรรม โดยไม่ผลุนผลัน ครั้นแล้วเลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย จำแนกทานทำบุญ และไม่ละโมภ ไม่หลงไม่พัวพัน มีปรกติเห็นโทษ มีปัญญาเครื่องสลัดออก บริโภคทรัพย์นั้นอยู่
------------------------------------------------------------------------------------------------

8)
บุคคลผู้บริโภคกามเช่นนี้ พึงถูกติเตียนโดย ๓ สถาน แสวงทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม ไม่เลี้ยงตัวให้สุขสบาย ไม่จำแนกทาน-ไม่ทำบุญ

          [๖๓๔] ดูกรนายคามณี ในบุคคลผู้บริโภคกาม ๓ จำพวกนั้น ผู้บริโภคกาม ที่แสวงหาโภคทรัพย์ โดยไม่ชอบธรรม โดยความผลุนผลัน ครั้นแล้วไม่เลี้ยงตัว ให้เป็นสุขสบาย ไม่จำแนกทาน ไม่ทำบุญ นี้พึงถูกติเตียนโดย ๓ สถาน
          พึงถูกติเตียนโดย ๓ สถานเป็นไฉน คือ
สถานที่ ๑ พึงถูกติเตียนดังนี้ว่า แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม โดยความ ผลุนผลัน
สถานที่ ๒ พึงถูกติเตียน ดังนี้ว่า ไม่เลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย
สถานที่ ๓ พึงถูกติเตียนดังนี้ว่า ไม่จำแนกทาน ไม่ทำบุญ
         ดูกรนายคามณี บุคคลผู้บริโภคกามเช่นนี้ พึงถูกติเตียนโดย ๓ สถานเหล่านี้

------------------------------------------------------------------------------------------------

9)
บุคคลผู้บริโภคกาม ๓ จำพวก พึงถูกติเตียนโดย ๒ สถาน ควรสรรเสริญสถานเดียว

          [๖๓๕] ดูกรนายคามณี ในบุคคลผู้บริโภคกาม ๓ จำพวกนั้น ผู้บริโภคกาม ที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม โดยความผลุนผลัน ครั้นแล้วเลี้ยงตัวให้เป็น สุขสบาย แต่ไม่จำแนกทาน ไม่ทำบุญนี้ พึงถูกติเตียนโดย ๒ สถาน ควรสรรเสริญ โดยสถานเดียว
          พึงถูกติเตียนโดย ๒ สถานเป็นไฉนคือ
สถานที่ ๑
พึงถูกติเตียนดังนี้ว่า แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม โดยความผลุนผลัน
สถานที่ ๒ พึงถูกติเตียน ดังนี้ว่า ไม่จำแนกทาน ไม่ทำบุญ
           ควรสรรเสริญโดยสถานเดียวเป็นไฉน
ควรสรรเสริญโดยสถานเดียวว่า
เลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย
          ดูกรนายคามณี บุคคลผู้บริโภคกามเช่นนี้ พึงถูกติเตียนโดย ๒ สถาน ควรสรรเสริญ โดยสถานเดียวนี้
------------------------------------------------------------------------------------------------

10)

บุคคลผู้บริโภคกาม ๓ จำพวก พึงถูกติเตียนสถานเดียว ควรสรรเสริญ ๒ สถาน

          [๖๓๖] ดูกรนายคามณี ในบุคคลผู้บริโภคกาม ๓ จำพวกนั้น ผู้บริโภคกาม ที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม โดยความผลุนผลัน ครั้นแล้วเลี้ยงตัวให้เป็น สุขสบาย จำแนกทานทำบุญนี้ พึงถูกติเตียนโดยสถานอย่างเดียว ควรสรรเสริญโดย ๒ สถาน
          พึงถูกติเตียนโดยสถานเดียวเป็นไฉน คือ

พึงถูกติเตียนโดยสถานเดียว ว่า แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม โดยความผลุนผลัน
ควรสรรเสริญโดย ๒ สถานเป็นไฉน คือ
สถานที่ ๑ ควรสรรเสริญดังนี้ว่าเลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย
สถานที่ ๒ ควรสรรเสริญ ดังนี้ว่า จำแนกทาน ทำบุญ
         ดูกรนายคามณี บุคคลผู้บริโภคกามเช่นนี้ พึงถูกติเตียน โดยสถานเดียว ควรสรรเสริญโดย ๒ สถานเหล่านี้ ฯ

------------------------------------------------------------------------------------------------

11)
บุคคลผู้บริโภคกาม ๓ จำพวก ควรสรรเสริญสถานเดียว พึงถูกติเตียน ๓ สถาน

          [๖๓๗] ดูกรนายคามณี ในบุคคลผู้บริโภคกาม ๓ จำพวกนั้น ผู้บริโภคกาม ที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม และไม่ชอบธรรม โดยผลุนผลันบ้าง โดยไม่ ผลุนผลันบ้าง ครั้นแล้วไม่เลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย ไม่จำแนกทาน ไม่ทำบุญนี้ ควรสรรเสริญโดยสถานเดียว พึงถูกติเตียนโดย ๓ สถาน
          ควรสรรเสริญโดยสถานเดียวเป็นไฉน คือ ควรสรรเสริญโดยสถานเดียว ดังนี้ว่า แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม โดยความไม่ผลุนผลัน
          พึงถูกติเตียนโดย ๓ สถาน เป็นไฉน คือ
สถานที่ ๑ พึงถูกติเตียนดังนี้ว่า
แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม โดยความผลุนผลัน
สถานที่ ๒ พึงถูกติเตียน ดังนี้ว่า ไม่เลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย
สถานที่ ๓ พึงถูกติเตียนดังนี้ว่า ไม่จำแนกทาน ไม่ทำบุญ
          ดูกรนายคามณี บุคคลบริโภคกามเช่นนี้ ควรสรรเสริญโดยสถานเดียว พึงถูกติเตียน โดย ๓ สถานเหล่านี้ ฯ

------------------------------------------------------------------------------------------------

12)
บุคคลผู้บริโภคกาม ๓ จำพวก ควรสรรเสริญ ๒ สถาน พึงถูกติเตียน ๒ สถาน

          [๖๓๘] ดูกรนายคามณี ในบุคคลผู้บริโภคกาม ๓ จำพวกนั้น ผู้บริโภคกาม ที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม และไม่ชอบธรรม โดยผลุนผลันบ้าง โดยไม่ ผลุนผลันบ้าง ครั้นแล้วเลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย แต่ไม่จำแนกทาน ไม่ทำบุญนี้ควร สรรเสริญโดย ๒ สถาน พึงถูกติเตียนโดย ๒ สถาน
          ควรสรรเสริญโดย ๒ สถานเป็นไฉน คือ

สถานที่ ๑ ควรสรรเสริญดังนี้ว่า แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม โดยความไม่ ผลุนผลัน
สถานที่ ๒ ควรสรรเสริญ ดังนี้ว่า เลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย
          พึงถูกติเตียนโดย ๒ สถานเป็นไฉน คือ

สถานที่ ๑ พึงถูกติเตียนดังนี้ว่า แสวงหา โภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม โดยความ ผลุนผลัน
สถานที่ ๒ พึงถูกติเตียน ดังนี้ว่า ไม่จำแนกทาน ไม่ทำบุญ           ดูกรนายคามณีบุคคลผู้บริโภคกามเช่นนี้ ควรสรรเสริญโดย ๒ สถานพึงถูกติเตียน ๒ สถานเหล่านี้
------------------------------------------------------------------------------------------------

13)
บุคคลผู้บริโภคกาม ๓ จำพวก ควรสรรเสริญ ๓ สถาน พึงถูกติเตียนสถานเดียว

          [๖๓๙] ดูกรนายคามณี ในบุคคลผู้บริโภคกาม ๓ จำพวกนั้น ผู้บริโภคกาม ที่แสวงหาโภคทรัพย์ โดยชอบธรรมและไม่ชอบธรรม โดยผลุนผลันบ้าง โดยไม่ ผลุนผลันบ้าง ครั้นแล้วเลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย จำแนกทาน ทำบุญนี้ ควรสรรเสริญ โดย ๓ สถาน พึงถูกติเตียนโดยสถานเดียว
          ควรสรรเสริญโดย ๓ สถานเป็นไฉน คือ
สถานที่ ๑ ควรสรรเสริญดังนี้ว่า แสวงหา โภคทรัพย์โดยชอบธรรม โดยความไม่ผลุนผลัน
สถานที่ ๒ ควรสรรเสริญ ดังนี้ว่า เลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย
สถานที่ ๓ ควรสรรเสริญดังนี้ว่า จำแนกทาน ทำบุญ
          พึงถูกติเตียนโดยสถานเดียวเป็นไฉน คือ พึงถูกติเตียนโดยสถานเดียว ดังนี้ว่า
แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม โดยความผลุนผลัน
          ดูกรนายคามณี บุคคลผู้บริโภคกาม เช่นนี้ ควรสรรเสริญโดย ๓ สถาน พึงถูกติเตียน โดยสถานเดียวนี้ ฯ
------------------------------------------------------------------------------------------------

14)
บุคคลผู้บริโภคกาม ๓ จำพวก ควรสรรเสริญสถานเดียว พึงถูกติเตียน ๒ สถาน

          [๖๔๐] ดูกรนายคามณี ในบุคคลผู้บริโภคกาม ๓ จำพวกนั้น
ผู้บริโภคกาม ที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม โดยความไม่ผลุนผลัน ครั้นแล้ว ไม่เลี้ยงตัว ให้สุขสบาย ไม่จำแนกทานไม่ทำบุญนี้ ควรสรรเสริญโดยสถานเดียว
พึงถูกติเตียน โดย ๒ สถาน
          ควรสรรเสริญโดยสถานเดียวเป็นไฉน คือ ควรสรรเสริญ โดยสถานเดียว ดังนี้ว่า แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม โดยความไม่ผลุนผลัน
          พึงถูกติเตียนโดย ๒ สถานเป็นไฉน คือ

สถานที่ ๑ พึงถูกติเตียนดังนี้ว่า ไม่เลี้ยงตัว ให้เป็นสุขสบาย
สถานที่ ๒ พึงถูกติเตียนดังนี้ว่า ไม่จำแนกทาน ไม่ทำบุญ
          ดูกรนายคามณี บุคคลผู้บริโภคกามเช่นนี้ ควรสรรเสริญโดยสถานเดียว พึงถูกติเตียน โดย ๒ สถานเหล่านี้

------------------------------------------------------------------------------------------------

15)
บุคคลผู้บริโภคกาม ๓ จำพวก ควรสรรเสริญ ๒ สถาน พึงถูกติเตียนสถานเดียว

          [๖๔๑] ดูกรนายคามณี ในบุคคลผู้บริโภคกาม ๓ จำพวกนั้น ผู้บริโภคกาม ที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม โดยความไม่ผลุนผลัน ครั้นแล้วเลี้ยงตัวให้เป็น สุขสบาย แต่ไม่จำแนกทาน ไม่ทำบุญนี้ ควรสรรเสริญโดย ๒ สถานพึงถูกติเตียน โดยสถานเดียว
          ควรสรรเสริญโดย ๒ สถานเป็นไฉน คือ

สถานที่ ๑ ควรสรรเสริญดังนี้ว่า แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม โดยความไม่ ผลุนผลัน
สถานที่ ๒ ควรสรรเสริญ ดังนี้ว่า เลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย
         พึงถูกติเตียนโดยสถานเดียวเป็นไฉน คือ พึงติเตียน โดย สถานเดียว ดังนี้ว่า ไม่จำแนกทานไม่ทำบุญ
        ดูกรนายคามณี บุคคลผู้บริโภคกาม เช่นนี้ ควรสรรเสริญโดย ๒ สถาน พึงถูกติเตียนโดยสถานเดียวนี้

------------------------------------------------------------------------------------------------

16)
บุคคลผู้บริโภคกาม ๓ จำพวก ควรสรรเสริญ ๓ สถาน พึงถูกติเตียนสถานเดียว

          [๖๔๒] ดูกรนายคามณี ในบุคคลผู้บริโภคกาม ๓ จำพวกนั้น ผู้บริโภคกาม ที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม โดยความไม่ผลุนผลัน ครั้นแล้วเลี้ยงตัวให้เป็น สุขสบาย จำแนกทาน ทำบุญ แต่ยังเป็นคนละโมภ หลง พัวพันไม่เห็นโทษ ไม่มี ปัญญา เครื่องสลัดออกบริโภคโภคทรัพย์นี้ ควรสรรเสริญโดย ๓ สถาน พึงถูกติเตียน โดยสถานเดียว
          ควรสรรเสริญโดย ๓ สถานเป็นไฉน คือ

สถานที่ ๑ ควรสรรเสริญดังนี้ว่า แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรมโดยความไม่ผลุนผลัน
สถานที่ ๒ ควรสรรเสริญ ดังนี้ว่า เลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย
สถานที่ ๓ ควรสรรเสริญดังนี้ว่า จำแนกทาน ทำบุญ
          พึงถูกติเตียนโดยสถานเดียวเป็นไฉน คือพึงถูกติเตียนโดยสถานเดียว ดังนี้ว่า เป็นคนละโมภ หลงพัวพัน ไม่เห็นโทษ ไม่มีปัญญาเครื่องสลัดออก บริโภค โภคทรัพย์
          ดูกรนายคามณี บุคคลผู้บริโภคกามเช่นนี้ ควรสรรเสริญโดย ๓ สถาน พึงถูกติเตียน โดยสถานเดียวนี้

------------------------------------------------------------------------------------------------

17)
บุคคลผู้บริโภคกาม ๓ จำพวก ควรสรรเสริญ ๔ สถาน

          [๖๔๓] ดูกรนายคามณี ในบุคคลผู้บริโภคกาม ๓ จำพวกนั้น ผู้บริโภคกาม ที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม โดยความไม่ผลุนผลัน ครั้นแล้วเลี้ยงตัว ให้เป็น สุขสบาย จำแนกทาน ทำบุญ และไม่ละโมภ ไม่หลง ไม่พัวพัน มีปรกติเห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก บริโภคโภคทรัพย์นี้ ควรสรรเสริญโดย ๔ สถาน
           ควรสรรเสริญโดย ๔ สถานเป็นไฉน คือ
สถานที่ ๑ ควรสรรเสริญดังนี้ว่า แสวงหา โภคทรัพย์โดยชอบธรรม โดยความไม่ ผลุนผลัน
สถานที่ ๒ ควรสรรเสริญดังนี้ว่า เลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย
สถานที่ ๓ ควรสรรเสริญดังนี้ว่าจำแนกทาน ทำบุญ
สถานที่ ๔ ควรสรรเสริญดังนี้ว่า เป็นคนไม่ละโมภ ไม่หลง ไม่พัวพันมีปรกติเห็นโทษ มีปัญญา เป็นเครื่องสลัดออกบริโภคโภคทรัพย์
         ดูกรนายคามณี บุคคลผู้บริโภคกาม เช่นนี้ ควรสรรเสริญโดย ๔ สถานเหล่านี้

------------------------------------------------------------------------------------------------

18)

บุคคลผู้มีตบะ ทรงชีพอยู่อย่างเศร้าหมอง ๓ จำพวก

          [๖๔๔] ดูกรนายคามณี บุคคลผู้มีตบะ ทรงชีพอยู่อย่างเศร้าหมอง ๓ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ๓ จำพวกเป็นไฉน คือ
          (๑) บุคคลผู้มีตบะทรงชีพ อยู่อย่าง เศร้าหมอง บางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีศรัทธา ออกบวชเป็นบรรพชิต ด้วยคิดว่า ไฉนหนอ เราพึงบรรลุกุศลธรรม พึงทำให้แจ้งซึ่ง อุตริมนุสธรรม ที่เป็นญาณทัศนะ วิเศษ ชั้นเยี่ยม อย่างบริบูรณ์ ดังนี้ เขาย่อมทำตัว ให้ร้อนรนกระวนกระวาย แต่ก็ไม่บรรลุกุศลธรรม ทำให้แจ้งซึ่ง อุตริมนุสธรรม ที่เป็น ญาณทัศนะวิเศษชั้นเยี่ยม อย่างบริบูรณ์ไม่ได้ ๑

          (๒) ดูกรนายคามณี ก็บุคคลผู้มีตบะ ทรงชีพอยู่อย่างเศร้าหมอง บางคน ในโลกนี้ เป็นผู้มีศรัทธา ออกบวชเป็นบรรพชิต ด้วยคิดว่า ไฉนหนอ เราพึงบรรลุ กุศลธรรม พึงทำให้แจ้งซึ่งอุตริมนุสธรรม ที่เป็นญาณทัศนะวิเศษชั้นเยี่ยม อย่างบริบูรณ์ ดังนี้ เขาย่อมทำตัวให้ร้อนรนกระวนกระวาย บรรลุกุศลธรรม อย่างเดียว แต่กระทำให้แจ้ง ซึ่งอุตริมนุสธรรม ที่เป็นญาณทัศนะวิเศษชั้นเยี่ยม อย่างบริบูรณ์ ไม่ได้ ๑

          (๓) ดูกรนายคามณี ก็บุคคลผู้มีตบะทรงชีพอยู่อย่างเศร้าหมอง บางคน ในโลกนี้ เป็นผู้มีศรัทธา ออกบวชเป็นบรรพชิต ด้วยคิดว่า ไฉนหนอเราพึงบรรลุ กุศลธรรม พึงทำให้แจ้งซึ่งอุตริมนุสธรรม ที่เป็นญาณทัศนะวิเศษชั้นเยี่ยม อย่างบริบูรณ์ดังนี้ เขาย่อมทำตัวให้ร้อนรนกระวนกระวาย ได้บรรลุกุศลธรรม และทำให้แจ้งซึ่ง อุตริมนุสธรรม ที่เป็นญาณทัศนะวิเศษชั้นเยี่ยม อย่างบริบูรณ์ ๑
------------------------------------------------------------------------------------------------

19)
บุคคลผู้มีตบะ ทรงชีพอยู่อย่างเศร้าหมอง ๓ จำพวก พึงถูกติเตียนโดย ๓ สถาน เป็นไฉน

          [๖๔๕] ดูกรนายคามณี ในบรรดาบุคคลผู้มีตบะ ทรงชีพอยู่อย่างเศร้าหมอง ๓ จำพวกนั้น ผู้มีตบะทรงชีพอยู่อย่างเศร้าหมอง ที่ทำตัวให้ร้อนรนกระวนกระวาย ไม่ได้บรรลุกุศลธรรม ทำให้แจ้ง ซึ่งอุตริมนุสธรรม ที่เป็นญาณทัศนะวิเศษชั้นเยี่ยม อย่างบริบูรณ์ไม่ได้นี้ พึงถูกติเตียนโดย ๓ สถาน
พึงถูกติเตียนโดย ๓ สถานเป็นไฉน คือ
สถานที่ ๑ พึงถูกติเตียนดังนี้ว่า ทำตัวให้ร้อนรนกระวนกระวาย
สถานที่ ๒ พึงถูกติเตียนดังนี้ว่า ไม่ได้บรรลุกุศลธรรม
สถานที่ ๓ พึงถูกติเตียนดังนี้ว่า ทำให้แจ้งซึ่งอุตริมนุสธรรม ที่เป็นญาณทัศนะวิเศษ ชั้นเยี่ยม อย่างบริบูรณ์
ไม่ได้
          ดูกรนายคามณี บุคคลผู้มีตบะทรงชีพอย่างเศร้าหมองนี้ พึงถูกติเตียนโดย ๓ สถานเหล่านี้
------------------------------------------------------------------------------------------------

20)
บุคคลผู้บริโภคกาม ๓ จำพวก พึงถูกติเตียนโดย ๒ สถาน ควรสรรเสริญสถานเดียว

          [๖๔๖] ดูกรนายคามณี ในบรรดาบุคคลผู้มีตบะ ทรงชีพอยู่อย่างเศร้าหมอง ๓ จำพวกนั้น ผู้มีตบะทรงชีพอยู่อย่างเศร้าหมอง ที่ทำตัวให้ร้อนรนกระวนกระวาย ได้บรรลุกุศลธรรมเท่านั้น แต่ทำให้แจ้งซึ่งอุตริมนุสธรรมชั้นเยี่ยม อย่างบริบูรณ์ ไม่ได้นี้ พึงถูกติเตียนโดย ๒ สถานควรสรรเสริญโดยสถานเดียว

พึงถูกติเตียนโดย ๒ สถานเป็นไฉน คือ
สถานที่ ๑ พึงถูกติเตียนดังนี้ว่า ทำตัวให้ ร้อนรนกระวนกระวาย
สถานที่ ๒ พึงถูกติเตียนดังนี้ว่า ทำให้แจ้งซึ่งอุตริมนุสธรรม ที่เป็นญาณทัศนะวิเศษ ชั้นเยี่ยมอย่างบริบูรณ์ไม่ได้
ควรสรรเสริญโดยสถานเดียว เป็นไฉน คือ ควรสรรเสริญโดยสถานเดียวดังนี้ว่า
ได้บรรลุกุศลธรรม
          
ดูกรนายคามณี บุคคลผู้มีตบะทรงชีพอยู่อย่างเศร้าหมองเช่นนี้ พึงถูก ติเตียน โดย ๒ สถาน ควรสรรเสริญ โดยสถานเดียวนี้
------------------------------------------------------------------------------------------------

21)
บุคคลผู้บริโภคกาม ๓ จำพวก พึงถูกติเตียนสถานเดียว ควรสรรเสริญ ๒ สถาน

          [๖๔๗] ดูกรนายคามณี ในบรรดาบุคคล ผู้มีตบะทรงชีพอยู่อย่างเศร้าหมอง ๓ จำพวกนั้นผู้มีตบะ ทรงชีพอยู่อย่างเศร้าหมอง ที่ทำตัวให้ร้อนรนกระวนกระวาย ได้บรรลุกุศลธรรม และทำให้แจ้งซึ่งอุตริมนุสธรรม ที่เป็นญาณทัศนะวิเศษชั้นเยี่ยม อย่างบริบูรณ์นี้ พึงถูกติเตียนโดยสถานเดียว ควรสรรเสริญโดย ๒ สถาน พึงถูกติเตียนโดยสถานเดียวเป็นไฉน คือ พึงถูกติเตียนโดยสถานเดียวดังนี้ว่า ทำตัวให้ร้อนรนกระวนกระวาย
ควรสรรเสริญโดย ๒ สถานเป็นไฉนคือ

สถานที่ ๑ ควรสรรเสริญดังนี้ว่า ได้บรรลุกุศลธรรม
สถานที่ ๒ ควรสรรเสริญดังนี้ว่า ทำให้แจ้งซึ่ง อุตริมนุสธรรม ที่เป็นญาณทัศนะวิเศษ ชั้นเยี่ยม อย่างบริบูรณ์ได้
           ดูกรนายคามณี บุคคลผู้มีตบะทรงชีพอยู่อย่างเศร้าหมองเช่นนี้ พึงถูก ติเตียนโดยสถานเดียว ควรสรรเสริญโดย ๒ สถานเหล่านี้

------------------------------------------------------------------------------------------------

22)
ธรรม ๓ อย่างนี้ เป็นของอันบุคคลพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู

          [๖๔๘] ดูกรนายคามณี ธรรม ๓ อย่างนี้ เป็นของอันบุคคลพึงเห็นเอง หาความทรุดโทรมมิได้ ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตน
(ราคะ)
ธรรม ๓ อย่างเป็นไฉน คือ การที่บุคคลเป็นผู้กำหนัด
ตั้งใจที่จะเบียดเบียนตนเองบ้าง
ตั้งใจที่จะเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
ตั้งใจที่จะเบียดเบียน ทั้งตนเองทั้งผู้อื่นบ้าง
เพราะราคะเป็นเหตุ
เมื่อละราคะได้แล้ว
ย่อมไม่ตั้งใจ ที่จะเบียดเบียนตนเองบ้าง
ย่อมไม่ตั้งใจที่จะเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
ย่อมไม่ตั้งใจที่จะเบียดเบียน ทั้งตนเองทั้งผู้อื่น บ้าง

นี้เป็นธรรมอันบุคคลพึงเห็นเอง หาความทรุดโทรมมิได้ ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตน ๑

------------------------------------------------------------------------------------------------
(โทสะ)
การที่บุคคลผู้ถูกโทสะ ประทุษร้ายแล้ว
ตั้งใจที่จะเบียดเบียนตนเองบ้าง
ตั้งใจที่จะ เบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
ตั้งใจที่จะเบียดเบียน ทั้งตนเองทั้งผู้อื่นบ้าง
เพราะโทสะเป็นเหตุ
เมื่อละโทสะได้แล้ว
ย่อมไม่ตั้งใจที่จะเบียดเบียนตนเองบ้าง
ย่อมไม่ตั้งใจที่จะ เบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
ย่อมไม่ตั้งใจที่จะเบียดเบียนทั้งตนเองทั้งผู้อื่นบ้าง

นี้เป็นธรรม อันบุคคลพึงเห็นเอง หาความทรุดโทรมมิได้ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตน ๑

------------------------------------------------------------------------------------------------
(โมหะ)

การที่บุคคลผู้หลงแล้ว
ตั้งใจจะเบียดเบียนตนเองบ้าง
ตั้งใจจะเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
ตั้งใจจะเบียดเบียน ทั้งตนเองทั้งผู้อื่นบ้าง
เพราะโมหะเป็นเหตุ
เมื่อละโมหะได้แล้ว
ย่อมไม่ตั้งใจที่จะเบียดเบียนตนเองบ้าง
ย่อมไม่ตั้งใจที่จะเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
ย่อมไม่ตั้งใจที่จะเบียดเบียน ทั้งตนเองทั้งผู้อื่นบ้าง

นี้เป็นธรรมอันบุคคลพึงเห็นเอง หาความทรุดโทรมมิได้ ไม่ประกอบด้วยกาลควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนจะพึงรู้ เฉพาะตน ๑


          ดูกรนายคามณี ธรรม ๓ อย่างนี้แล เป็นของอันบุคคลพึงเห็นเอง หาความทรุดโทรม มิได้ ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนจะพึงรู้ เฉพาะตน

          เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้แล้ว นายบ้านนามว่าราสิยะได้กราบทูล พระผู้มีพระภาค ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธรรมเทศนาของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธรรมเทศนาของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระผู้มีพระภาคทรง ประกาศธรรม โดยอเนกปริยาย ดุจหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางให้แก่คน หลงทาง หรือส่องไฟ ในที่มืดด้วยหวังว่า คนมีจักษุจักเห็นรูป

          ฉะนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค กับทั้ง พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงจำข้าพระองค์ ว่าเป็น อุบาสก ผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต

   



พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์