เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
พระราหูล เอตทัคคะด้านผู้ใคร่ต่อการศึกษา
ค้นหาคำที่ต้องการ    

  ผู้มีบทบาทสำคัญในพุทธศาสนา    
1 พระโมคคัลลานะ (อัครสาวกเบื้องซ้าย) 8 พระอุบาลี (ยอดเยี่ยมด้านผู้ทรงวินัย) 15 ภารทวาชะ (ผู้ยอดเยี่ยมด้านบันลือสีหนาท)
2 พระเทวทัต (ปลงพระชนม์พระพุทธเจ้า) 9 อนาถบิณฑิกคหบดี (ผู้สร้างวิหารเชตวัน) 16 วักกลิ (ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นย่อมเห็นตถาคต)
3 นิครนถ์ (โต้วาทะกับพระพุทธเจ้า) 10 พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี (ภิกษุณีรูปแรก) 17 คามณี (แปลว่านายบ้าน หรือผู้ใหญ่บ้าน)
4 พระมหากัปปินะ (นั่งคู้บังลังค์ ตั้งกายตรง) 11 พระราหุล (เอตทัคคะผู้ใคร่ต่อการศึกษา) 18 พระมหากัจจานะ (ผู้จำแนกอรรถแห่งภาษิต)
5 พระสารีบุตร (อัครสาวกเบื้องขวา) 12 หมอชีวกโกมารภัจจ์ (แพทย์พระพุทธเจ้า) 19 อัคคิเวสนะ (ชื่อตระกูลปริพาชก)
6 พระมหากัสสป (ผู้ทรงธุดงค์ อยู่ป่าเป็นวัตร) 13 ราธะ (ตรัสสอนเรื่อง"สัตว์" กับราธะ) 20 สุสิมะปริพาชก (คิดว่าผู้หลุดพ้นคือผู้มีฤทธิ์)
7 พระอนุรุทธะ (พระอรหันต์ผู้มีทิพย์จักษุ) 14 เอตทัคคะ (ผู้ยอดเยี่ยมด้านต่างๆ 74 ท่าน) 21 พระอุทายี (มีความเห็นแย้งกับพระสารีบุตร)
           

 รวมพระสูตร เรื่องราวสำคัญของพระราหุล
พระโอรสของพระพุทธเจ้า พระสารรีบุตรเป็นผู้บวชให้

 
         ออกไปหน้าหลัก   1 of 4
  พระราหุล จากพระไตรปิฎก ที่เป็นคำสอนจากพระโอษฐ์ (ไม่รวมอรรถกถา)
  (1)  พระราหุล เอตทัคคะ เลิศกว่าภิกษุของเราผู้ใคร่ต่อการศึกษา
  (2) เสด็จเข้าไปยัง อัมพลัฏฐิกาปราสาท ที่ท่านพระราหุลอยู่
  (3) อุปมา น้ำน้อยในภาชนะ
  (4) อุปมา เรื่องงวงช้าง
  (5) อุปมาเรื่องแว่น มีประโยชน์อย่างไร
  (6) กรรมทางกาย (กายกรรม)
  (7) กรรมทางวาจา (วจีกรรม)
  (8) กรรมทางใจ (มโนกรรม)
  (9) กรรม ๓ ที่เป็น อดีต อนาคต ปัจจุบัน
  (10) พระราหุลหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ (ราหุลสูตร)
 
 


ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐ สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต หน้าที่ ๒๔

เอตทัคคบาลี (เอตทัคคะ ๗๔ ท่าน)
(ผู้ยอดเยี่ยมทางใดทางหนึ่งเป็นพิเศษจำนวน ๗๔ ท่าน ที่ประทานแต่งตั้งให้กับ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา)

วรรคที่ ๓ (ภิกษุ จำนวน 10 ท่าน)
พระราหุล- เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้ใคร่ต่อการศึกษา
พระรัฐปาละ- เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเรา ผู้บวชด้วยศรัทธา
พระกุณฑธานะ- เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้รับสลากก่อน
พระวังคีสะ- เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้มีปฏิภาณ
พระอุปเสนวังคันตบุตร- เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้นำความเลื่อมใสมาโดยรอบ
พระทัพพมัลลบุตร- เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้จัดแจงเสนาสนะ
พระปิลินทวัจฉะ-เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้เป็นที่รักเป็นที่ชอบใจ ของเทวดาทั้งหลาย
พระพาหิยทารุจีริยะ- เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้ตรัสรู้ได้เร็วพลัน
พระกุมารกัสสปะ- เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้แสดงธรรมได้วิจิตร
พระมหาโกฏฐิตะ- เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเรา ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------


ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๓ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๐๔ - ๑๑๐ ข้อ [๑๒๕] - [๑๓๒]
(2)
จูฬราหุโลวาทสูตร เรื่องพระราหุล

          [๑๒๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน เขต พระนครราชคฤห์.

         ก็สมัยนั้นแล ท่านพระราหุลอยู่ ณ ปราสาทชื่อว่าอัมพลัฏฐิกา.

         ครั้งนั้นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่เร้นอยู่แล้ว เสด็จเข้าไปยัง
อัมพลัฏฐิกาปราสาท ที่ท่านพระราหุลอยู่.

         ท่านพระราหุลได้เห็นพระผู้มีพระภาคเสด็จมาแต่ไกล จึงปูลาดอาสนะ และ ตั้งน้ำ สำหรับล้างพระบาทไว้.

         พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ แล้วทรงล้างพระบาท.

         ท่านพระราหุลถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
--------------------------------------------------------------------------

(3)
อุปมา น้ำน้อยในภาชนะ

              [๑๒๖] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเหลือน้ำไว้ในภาชนะน้ำหน่อยหนึ่ง แล้ว ตรัสกะท่านพระราหุลว่า ดูกรราหุล เธอเห็นน้ำเหลือหน่อยหนึ่งอยู่ในภาชนะน้ำนี้ หรือ? ท่านพระราหุลกราบทูลว่า เห็นพระเจ้าข้า.

         ดูกรราหุล สมณธรรมของบุคคล ผู้ไม่มีความละอายในการกล่าวมุสา ทั้งรู้อยู่    ก็มีน้อยเหมือนกันฉะนั้น.

         ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเทน้ำที่เหลือหน่อยหนึ่งนั้นเสีย แล้วตรัสกะท่าน พระราหุลว่า ดูกรราหุลเธอเห็นน้ำหน่อยหนึ่งที่เราเทเสียแล้วหรือ?
         รา. เห็น พระเจ้าข้า.

         พ. ดูกรราหุล สมณธรรมของบุคคล ผู้ไม่มีความละอายในการกล่าวมุสา ทั้งรู้อยู่ ก็เป็นของที่เขาทิ้งเสียแล้วเหมือนกันฉะนั้น.

         ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงคว่ำภาชนะน้ำนั้น แล้วตรัสกะท่านพระราหุลว่า
ดูกรราหุล เธอเห็นภาชนะน้ำที่คว่ำนี้หรือ?
        เห็น พระเจ้าข้า.

         ดูกรราหุล สมณธรรมของบุคคลผู้ไม่มีความละอายในการกล่าวมุสาทั้งรู้อยู่
  ก็เป็นของที่เขาคว่ำเสียแล้วเหมือนกันฉะนั้น.

         ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงหงายภาชนะน้ำนั้นขึ้น แล้วตรัสกะท่านพระราหุล ว่า ดูกรราหุล เธอเห็นภาชนะน้ำอันว่างเปล่านี้หรือ?
         เห็น พระเจ้าข้า.

         ดูกรราหุล สมณธรรมของบุคคล ผู้ไม่มีความละอายในการกล่าว มุสา ทั้งรู้อยู่
ก็เป็นของว่างเปล่า เหมือนกันฉะนั้น.
--------------------------------------------------------------------------

(4)
อุปมาเรื่องงวงช้าง

                [๑๒๗] ดูกรราหุล เปรียบเหมือนช้างต้น มีงาอันงอนงาม เป็นพาหนะ ที่เจริญยิ่งนัก มีกำเนิดดี เคยเข้าสงคราม ช้างนั้นเข้าสงครามแล้ว ย่อมทำกรรม ด้วยเท้า หน้าทั้งสองบ้าง ด้วยเท้าหลังทั้งสองบ้าง ด้วยกายเบื้องหน้าบ้าง ด้วยกายเบื้องหลังบ้าง ด้วยศีรษะบ้าง ด้วยหูทั้งสองบ้าง ด้วยงาทั้งสองบ้าง ด้วยหางบ้าง ย่อมรักษาไว้แต่ งวง เท่านั้น.

         เพราะการที่ช้างรักษาแต่งวง นั้น ควานช้างจึงมีความดำริอย่างนี้ว่า ช้างต้นนี้ แลมีงา อันงอนงาม เป็นพาหนะที่เจริญยิ่งนัก มีกำเนิดดี เคยเข้าสงคราม เข้าสงคราม แล้ว ย่อมทำกรรมด้วยเท้าหน้าทั้งสองบ้าง ด้วยเท้าหลังทั้งสองบ้าง ด้วยกาย เบื้องหน้า บ้าง ด้วยกายเบื้องหลังบ้าง ด้วยศีรษะบ้างด้วยหูทั้งสองบ้าง ด้วยงา ทั้งสองบ้าง ด้วยหางบ้าง ย่อมรักษาไว้แต่งวงเท่านั้น ชีวิตชื่อว่าอันช้างต้น ยังไม่ยอมสละแล.

         ดูกรราหุล เมื่อใดแลช้างต้นมีงาอันงอนงาม เป็นพาหนะที่เจริญยิ่งนัก มีกำเนิดดี เคยเข้าสงคราม เข้าสงครามแล้ว ย่อมทำกรรมด้วยเท้าหน้าทั้งสองบ้าง ด้วยเท้าหลัง ทั้งสองบ้าง ด้วยกายเบื้องหน้าบ้าง ด้วยกายเบื้องหลังบ้าง ด้วยศีรษะบ้าง ด้วยหูทั้งสองบ้าง ด้วยงาทั้งสองบ้าง ด้วยหางบ้าง ด้วยงวงบ้าง.

         เพราะการที่ช้างทำกรรมด้วยงวงนั้น ควานช้างจึงมีความดำริอย่างนี้ว่า ก็ช้างต้นนี้แล มีงาอันงอนงาม เป็นพาหนะที่เจริญยิ่งนักมีกำเนิดดี เคยเข้าสงคราม เข้าสงครามแล้ว ย่อมทำกรรมด้วยเท้าหน้าทั้งสองบ้าง ด้วยเท้าหลังทั้งสองบ้าง ด้วยกายเบื้องหน้าบ้าง ด้วยกายเบื้องหลังบ้าง ด้วยศีรษะบ้าง ด้วยหูทั้งสองบ้าง ด้วยงาทั้งสองบ้าง ด้วยหางบ้าง ด้วยงวงบ้าง ชีวิตชื่อว่าอันช้างต้นยอมสละแล้ว บัดนี้ไม่มีอะไรที่ช้างต้นจะพึงทำไม่ได้ ฉันใด.

         ดูกรราหุล เรากล่าวว่าบุคคลผู้ไม่มีความละอาย ในการกล่าวมุสาทั้งที่รู้อยู่ ที่จะไม่ทำ บาปกรรม แม้น้อยหนึ่งไม่มี ฉันนั้นเหมือนกัน. เพราะเหตุนั้นแหละ ราหุล เธอพึงศึกษาว่า เราจักไม่กล่าวมุสา แม้เพราะหัวเราะกันเล่น ดูกรราหุล เธอพึงศึกษาอย่างนี้แล.
--------------------------------------------------------------------------

(5)
อุปมาเรื่องแว่น มีประโยชน์อย่างไร

                [๑๒๘] ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน แว่นมีประโยชน์ อย่างไร? มีประโยชน์สำหรับส่องดู พระเจ้าข้า.

         ฉันนั้นเหมือนกันแล ราหุล บุคคลควรพิจารณาเสียก่อน แล้วจึงทำกรรม ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ.
--------------------------------------------------------------------------

(6)
กรรมทางกาย

                [๑๒๙] ดูกรราหุล เธอปรารถนาจะทำกรรมใด ด้วยกาย กายกรรม นั้น เธอพึงพิจารณาเสียก่อนว่า เราปรารถนาจะทำกรรมนี้ใดด้วยกาย กายกรรมของเรา นี้ พึงเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียนทั้งตน ทั้งผู้อื่นบ้าง กายกรรมนี้เป็นอกุศลมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบากกระมังหนอ.

         ดูกรราหุล ถ้าเมื่อเธอพิจารณาอยู่ พึงรู้อย่างนี้ว่าเราปรารถนาจะทำกรรมใด ด้วยกาย กายกรรมของเรานี้ พึงเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตน เพื่อเบียดเบียนผู้อื่น เพื่อ เบียดเบียน ทั้งตนทั้งผู้อื่น กายกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไรมีทุกข์เป็นวิบาก ดังนี้ไซร้ กรรมเห็น ปานนี้ เธอไม่พึงทำด้วยกายโดยส่วนเดียว.

         แต่ถ้าเมื่อเธอพิจารณาอยู่พึงรู้อย่างนี้ว่า เราปรารถนาจะทำกรรมใดด้วยกาย กายกรรม ของเรานี้ ไม่พึงเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตน เพื่อเบียดเบียนผู้อื่น เพื่อ เบียดเบียนทั้งตน ทั้งผู้อื่น กายกรรมนี้เป็นกุศลมีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบากดังนี้ไซร้ กรรมเห็นปานนั้น เธอพึงทำด้วยกาย.

         แม้เมื่อเธอกำลังทำกรรมด้วยกาย เธอก็พึงพิจารณากายกรรมนั้นแหละว่า เรากำลัง ทำกรรมใดด้วยกาย กายกรรมของเรานี้ ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อ เบียดเบียนผู้อื่นบ้าง และเพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้าง กายกรรมนี้เป็น อกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบากกระมังหนอ.

         ถ้าเมื่อเธอพิจารณาอยู่ พึงรู้อย่างนี้ว่า เราทำกรรมใดด้วยกาย กายกรรมของเรา นี้ ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง และเพื่อเบียดเบียน ทั้งตนและผู้อื่นบ้าง กายกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบากดังนี้ไซร้ เธอพึงเลิกกายกรรมเห็นปานนั้นเสีย.

         แต่ถ้าเธอพิจารณาอยู่ พึงรู้อย่างนี้ว่า เราทำกรรมใดด้วยกาย กายกรรม ของเรานี้ ย่อมไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง และเพื่อ เบียดเบียน ทั้งตนและผู้อื่นบ้าง กายกรรมนี้เป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก ดังนี้ไซร้ เธอพึงเพิ่มกายกรรมเห็นปานนั้น.

         ดูกรราหุล แม้เธอทำกรรมด้วยกายแล้ว เธอก็พึงพิจารณากายกรรมนั้นแหละว่า เราได้ทำแล้วซึ่งกรรมใดด้วยกาย กายกรรมของเรานี้ ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียน ตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง และเพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้าง กายกรรมนี้ เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบากกระมังหนอ.

         ถ้าเธอพิจารณาอยู่ พึงรู้อย่างนี้ว่า เราได้ทำแล้วซึ่งกายกรรมใด กายกรรม ของเรา นี้ ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง และเพื่อ เบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้าง กายกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก ดังนี้ไซร้ กายกรรม เห็นปานนั้น เธอพึงแสดง เปิดเผย ทำให้ตื้น ในพระศาสนา หรือในเพื่อน พรหมจรรย์ทั้งหลายผู้วิญญู แล้วพึงสำรวมต่อไป.

         แต่ถ้าเธอพิจารณาอยู่พึงรู้อย่างนี้ว่า เราได้ทำแล้วซึ่งกรรมใดด้วยกาย กายกรรม ของเรานี้ ย่อมไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง และเพื่อ เบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้าง กายกรรมนี้เป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก ดังนี้ไซร้ เธอพึงมีปีติและปราโมทย์ ศึกษาในกุศลธรรมทั้ง กลางวัน และ กลางคืน อยู่ด้วยกายกรรมนั้นแหละ.
--------------------------------------------------------------------------

(7)
วจีกรรม

                [๑๓๐] ดูกรราหุล เธอปรารถนาจะทำกรรมใด ด้วยวาจาเธอพึง พิจารณา วจีกรรมนั้นเสียก่อนว่า เราปรารถนาจะทำกรรมใดด้วยวาจา วจีกรรมของเรานี้ พึงเป็นไป เพื่อเบียดเบียนตนบ้างเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง และเพื่อเบียดเบียน ทั้งตนและผู้อื่นบ้าง วจีกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบากกระมังหนอ.

         ถ้าเธอพิจารณาอยู่ พึงรู้อย่างนี้ว่า เราปรารถนาจะทำกรรมใดด้วยวาจา วจีกรรม ของเรา นี้ พึงเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง และเพื่อ เบียดเบียน ทั้งตน และผู้อื่นบ้าง วจีกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็น วิบาก ดังนี้ไซร้ วจีกรรมเห็นปานนั้น เธอไม่ควรทำโดยส่วนเดียว.

         แต่ถ้าเธอพิจารณาอยู่ พึงรู้อย่างนี้ว่าเราปรารถนาจะทำกรรมใดด้วยวาจา วจีกรรม ของเรานี้ ไม่พึงเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง และ เพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้าง วจีกรรมนี้เป็นกุศล มีสุขเป็นกำไรมีสุขเป็นผล ดังนี้ไซร้ วจีกรรมเห็นปานนั้น เธอควรทำ.

         ดูกรราหุล แม้เมื่อเธอกำลังทำกรรมด้วยวาจา เธอก็พึงพิจารณาวจีกรรมนั้น แหละ ว่า เราทำอยู่ซึ่งกรรมใดด้วยวาจา วจีกรรมของเรานี้ ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียน ตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง และเพื่อเบียดเบียนทั้งตน และผู้อื่นบ้าง วจีกรรมนี้ เป็น อกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบากกระมังหนอ.

         ถ้าเธอพิจารณาอยู่พึงรู้อย่างนี้ว่า เราทำอยู่ซึ่งกรรมใดด้วยวาจา วจีกรรม ของเรานี้ ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น และเพื่อเบียดเบียนทั้งตน และผู้อื่น วจีกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไรมีทุกข์เป็นวิบากดังนี้ไซร้ เธอพึงเลิกวจีกรรม เห็นปานนั้นเสีย.

         แต่ถ้าเธอพิจารณาอยู่ พึงรู้อย่างนี้ว่าเราทำอยู่ซึ่งกรรมใดด้วยวาจา วจีกรรม ของเรานี้ ย่อมไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง และเพื่อ เบียดเบียน ทั้งตน และผู้อื่นบ้าง วจีกรรมนี้เป็นกุศล มีสุขเป็นกำไรมีสุขเป็นวิบาก ดังนี้ไซร้ เธอพึงเพิ่มวจีกรรมเห็นปานนั้น.

         ดูกรราหุล แม้เธอทำกรรมด้วยวาจาแล้ว เธอก็พึงพิจารณาวจีกรรมนั้นแหละว่า เราได้ทำแล้ว ซึ่งกรรมใดด้วยวาจา วจีกรรมของเรานี้ ย่อมเป็นไปเพื่อ เบียดเบียน ตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียนทั้งตน และ ผู้อื่นบ้าง วจีกรรมนี้เป็น อกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบากกระมังหนอ.

         ถ้าเธอพิจารณาอยู่พึงรู้อย่างนี้ว่า เราได้ทำแล้วซึ่งกรรมใดด้วยวาจา วจีกรรม ของเรานี้ ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียน ทั้งตน และผู้อื่นบ้าง วจีกรรมนี้เป็นอกุศลมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบากดังนี้ไซร้ วจีกรรมเห็นปานนั้น เธอพึงแสดง เปิดเผยทำให้ตื้น ในพระศาสนาหรือในเพื่อน พรหมจรรย์ทั้งหลาย ผู้วิญญู ครั้นแล้วพึงสำรวมต่อไป.

         แต่ถ้าเธอพิจารณาอยู่ พึงรู้อย่างนี้ว่า เราได้ทำแล้วซึ่งกรรมใดด้วยวาจา วจีกรรม ของเรานี้ ย่อมไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียนทั้งตน และผู้อื่นบ้างวจีกรรมนี้เป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก ดังนี้ไซร้ เธอพึงมีปีติและปราโมทย์ศึกษาในกุศลธรรมทั้งกลางวันและกลางคืน อยู่ด้วยวจีกรรมนั้นแหละ.
--------------------------------------------------------------------------

(8)
มโนกรรม

                [๑๓๑] ดูกรราหุล เธอปรารถนาจะทำกรรมใด ด้วยใจ เธอพึง พิจารณามโนกรรม นั้น เสียก่อนว่า เราปรารถนาจะทำกรรมใด ด้วยใจ มโนกรรม ของเรานี้ พึงเป็นไป เพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียน ทั้งตนและผู้อื่นบ้าง มโนกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก กระมังหนอ

         ถ้าเธอพิจารณาอยู่พึงรู้อย่างนี้ว่า เราปรารถนาจะทำกรรมใดด้วยใจ มโนกรรม ของเรานี้ พึงเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้างเพื่อเบียดเบียน ทั้งตน และผู้อื่นบ้าง มโนกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบากดังนี้ไซร้ มโนกรรมเห็นปานนี้ เธอไม่ควรทำโดยส่วนเดียว.

         แต่ถ้าเธอพิจารณาอยู่ พึงรู้อย่างนี้ว่า เราปรารถนาจะทำกรรมใดด้วยใจ มโนกรรม ของเรานี้ ไม่พึงเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อ เบียดเบียนทั้งตน และผู้อื่นบ้าง มโนกรรมนี้เป็นกุศล มีสุขเป็นกำไรมีสุขเป็นวิบาก ดังนี้ไซร้ มโนกรรมเห็นปานนั้น เธอควรทำ.

         ดูกรราหุล แม้เมื่อเธอกำลังทำกรรมใดด้วยใจ เธอก็พึงพิจารณามโนกรรมนั้น แหละว่า เราทำอยู่ซึ่งกรรมใดด้วยใจ มโนกรรมของเรานี้ ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียน ตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้าง มโนกรรมนี้ เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบากกระมังหนอ.

         ถ้าเธอพิจารณาอยู่พึงรู้อย่างนี้ว่า เราทำอยู่ซึ่งกรรมใดด้วยใจ มโนกรรมของเรา นี้ ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียนทั้งตน และผู้อื่นบ้าง มโนกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบากดังนี้ไซร้ เธอพึงเลิกมโนกรรมเห็นปานนั้นเสีย.

         แต่ถ้าเธอพิจารณาอยู่พึงรู้อย่างนี้ว่า เราทำอยู่ซึ่งกรรมใดด้วยใจ มโนกรรม ของเรานี้ ย่อมไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อ เบียดเบียนทั้งตน และผู้อื่นบ้าง มโนกรรมนี้ เป็นกุศลมีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก ดังนี้ไซร้ เธอพึงเพิ่ม มโนกรรมเห็นปานนั้น.

         ดูกรราหุล แม้เธอทำกรรมใดด้วยใจแล้ว เธอก็พึงพิจารณามโนกรรมนั้น แหละ ว่า เราได้ทำกรรมใดด้วยใจแล้วมโนกรรมของเรานี้ ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียนทั้งตน และผู้อื่นบ้าง มโนกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบากกระมังหนอ.

         ถ้าเธอพิจารณาอยู่ พึงรู้อย่างนี้ว่า เราทำได้แล้วซึ่งกรรมใดด้วยใจ มโนกรรม ของเรานี้ ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียน ทั้งตน และผู้อื่นบ้าง มโนกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบากดังนี้ไซร้ เธอพึงกระดาก ละอายเกลียดในมโนกรรมเห็นปานนั้น ครั้นแล้วพึงสำรวมต่อไป.

         แต่ถ้าเธอพิจารณาอยู่ พึงรู้อย่างนี้ว่า เราได้ทำแล้วซึ่งกรรมใดด้วยใจ มโนกรรม ของเรานี้ย่อมไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อ เบียดเบียน ทั้งตนและผู้อื่นบ้าง มโนกรรมนี้เป็นกุศล มีสุขเป็นกำไรมีสุขเป็น วิบาก ดังนี้ไซร้ เธอพึงมีปีติและปราโมทย์ ศึกษาในกุศลธรรมทั้งหลาย ทั้งกลางวันและ กลางคืน อยู่ด้วยมโนกรรมนั้นแหละ.
--------------------------------------------------------------------------

(9)
กรรม ๓ อดีต อนาคต ปัจจุบัน
(สมณะในอดีต อนาคต หรือปัจจุบัน ก็จะพิจารณาตามที่กล่าวมา แล้วจึง กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม)

                [๑๓๒] ดูกรราหุล สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในอดีตกาล ได้ชำระ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมแล้ว สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหมดนั้น พิจารณาๆ อย่างนี้นั่นเอง แล้วจึงชำระ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม.

         แม้สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในอนาคตกาล จักชำระกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหมดนั้น ก็จักพิจารณาๆอย่างนี้นั่นเอง แล้วจึงชำระ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม.

         ถึงสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในปัจจุบัน กำลังชำระกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมอยู่ สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหมดนั้น ก็พิจารณาๆ อย่างนี้นั่นเอง แล้วจึง ชำระกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม.

         เพราะเหตุนั้นแหละ ราหุล เธอพึงศึกษาว่า เราจักพิจารณาๆ แล้วจึงชำระ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ดูกรราหุล เธอพึงศึกษาอย่างนี้แหละ.

         พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ท่านพระราหุลมีใจยินดีชื่นชม พระภาษิต ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล.

จบ จุฬราหุโลวาทสูตร ที่ ๑.



พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘
สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค หน้าที่ ๑๐๗- หน้าที่ ๑๑๐ (P1250)
(10)
พระราหุลหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ (ราหุลสูตร)

          [๑๘๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของ ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงหลีกเร้น อยู่ในที่สงัด ทรงเกิดปริวิตกแห่งพระหฤทัย อย่างนี้ว่า ธรรมที่เป็นเครื่องบ่มวิมุติ ของ ราหุลแก่กล้าแล้ว ถ้ากระไรเราควรแนะนำราหุล ในธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะ ยิ่งขึ้น ไปเถิด

          ครั้นทรงพระดำริฉะนี้แล้ว ในเวลาเช้าพระผู้มีพระภาค ทรงครองอันตรวาสก ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี ครั้นเวลาภายหลังภัต เสด็จกลับจากบิณฑบาตแล้ว ตรัสเรียกท่านพระราหุลมาตรัสว่าราหุล เธอจงถือผ้า นิสีทนะไปสู่ป่าอันธวันด้วยกัน เพื่อพักผ่อนในกลางวัน

          ท่านพระราหุลทูลรับพระดำรัส พระผู้มีพระภาคแล้ว ได้ถือผ้านิสีทนะ ตาม เสด็จพระผู้มีพระภาคไปข้างหลัง ก็สมัยนั้นพวกเทวดาหลายพันติดตาม พระผู้มี พระภาค ไปด้วยคิดว่า วันนี้พระผู้มีพระภาคจักทรงแนะนำท่านพระราหุล ในธรรม เป็นที่สิ้นอาสวะอันยิ่งขึ้นไป

          [๑๘๘] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาค เสด็จเข้าไปสู่ป่าอันธวัน ประทับ ณ พุทธอาสน์ ที่พระราหุลปูลาดถวาย ที่ควงต้นไม้แห่งหนึ่ง ฝ่ายท่านพระราหุล ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาค จึงตรัสถามว่า ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุเที่ยงหรือไม่เที่ยง ท่านพระราหุลกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า
รา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอที่จะตามเห็น สิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา
รา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า

พ. รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง
รา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า
รา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอที่จะตามเห็น สิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา
รา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า

พ. จักษุวิญญาณ... จักษุสัมผัส... เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณที่เกิดขึ้นเพราะจักษ ุสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง
รา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า
รา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา
รา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯลฯ

พ. ใจเที่ยงหรือไม่เที่ยง
รา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า
รา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอที่จะตามเห็น สิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา
รา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า

พ. ธรรมารมณ์เที่ยงหรือไม่เที่ยง
รา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า
รา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา
รา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า

พ. มโนวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง
รา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า
รา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอที่จะตามเห็น สิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา
รา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า

พ. มโนสัมผัสเที่ยงหรือไม่เที่ยง
รา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า
รา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอที่จะตามเห็น สิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา
รา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า

พ. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เกิดขึ้นเพราะ มโนสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือ ไม่เที่ยง
รา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า
รา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอที่จะตามเห็น สิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา
รา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า

          พ. ดูกรราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งใน จักษุทั้งในรูป ทั้งในจักษุวิญญาณ ทั้งในจักษุสัมผัส ทั้งใน เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัส เป็นปัจจัย ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในใจ ทั้งในธรรมารมณ์ ทั้งในมโนวิญญาณ ทั้งในมโนสัมผัสทั้งในเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เกิดขึ้นเพราะ มโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี

          พระผู้มีพระภาคตรัสพระสูตรนี้จบลงแล้ว ท่านพระราหุลชื่นชมยินดี พระภาษิต ของพระผู้มีพระภาค อนึ่ง เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ จิตของท่าน พระราหุลหลุด พ้นแล้วจากอาสวะ ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน

          ฝ่ายเทวดาหลายพัน ก็เกิดธรรมจักษุอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทินว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็น ธรรมดาสิ่งนั้น ทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา

 

   



พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์