เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
พระราหูล เอตทัคคะด้านผู้ใคร่ต่อการศึกษา
ค้นหาคำที่ต้องการ    

  ผู้มีบทบาทสำคัญในพุทธศาสนา    
1 พระโมคคัลลานะ (อัครสาวกเบื้องซ้าย) 8 พระอุบาลี (ยอดเยี่ยมด้านผู้ทรงวินัย) 15 ภารทวาชะ (ผู้ยอดเยี่ยมด้านบันลือสีหนาท)
2 พระเทวทัต (ปลงพระชนม์พระพุทธเจ้า) 9 อนาถบิณฑิกคหบดี (ผู้สร้างวิหารเชตวัน) 16 วักกลิ (ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นย่อมเห็นตถาคต)
3 นิครนถ์ (โต้วาทะกับพระพุทธเจ้า) 10 พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี (ภิกษุณีรูปแรก) 17 คามณี (แปลว่านายบ้าน หรือผู้ใหญ่บ้าน)
4 พระมหากัปปินะ (นั่งคู้บังลังค์ ตั้งกายตรง) 11 พระราหุล (เอตทัคคะผู้ใคร่ต่อการศึกษา) 18 พระมหากัจจานะ (ผู้จำแนกอรรถแห่งภาษิต)
5 พระสารีบุตร (อัครสาวกเบื้องขวา) 12 หมอชีวกโกมารภัจจ์ (แพทย์พระพุทธเจ้า) 19 อัคคิเวสนะ (ชื่อตระกูลปริพาชก)
6 พระมหากัสสป (ผู้ทรงธุดงค์ อยู่ป่าเป็นวัตร) 13 ราธะ (ตรัสสอนเรื่อง"สัตว์" กับราธะ) 20 สุสิมะปริพาชก (คิดว่าผู้หลุดพ้นคือผู้มีฤทธิ์)
7 พระอนุรุทธะ (พระอรหันต์ผู้มีทิพย์จักษุ) 14 เอตทัคคะ (ผู้ยอดเยี่ยมด้านต่างๆ 74 ท่าน) 21 พระอุทายี (มีความเห็นแย้งกับพระสารีบุตร)
           

 รวมพระสูตร เรื่องราวสำคัญของพระราหุล
พระโอรสของพระพุทธเจ้า พระสารรีบุตรเป็นผู้บวชให้
         ออกไปหน้าหลัก 4 of 4  
  พระราหุล จากพระไตรปิฎก ที่เป็นคำสอนจากพระโอษฐ์ (ไม่รวมอรรถกถา)
  (1) การนอนกับอนุสัมปัน (นอนกับสามเณร) (พระวินัยปิฎก)
  (2) พระอนุบัญญัติ (พระวินัยปิฎก)
  (3) เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา (พระวินัยปิฎก)
  (4) ทรงสอบถาม (พระวินัยปิฎก)
  (5) ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท (พระวินัยปิฎก)
  (6) พระบัญญัติ (พระวินัยปิฎก)
  (7) พระราหุลกุมารทรงผนวชเป็นสามเณร (พระวินัยปิฎก)
  (8) วิธีให้บรรพชา (พระวินัยปิฎก)
  (9) พระเจ้าสุทโธทนศากยะทูลขอพระพร (พระวินัยปิฎก)
  (10) พระเจ้าสุทโธทนทรงน้อยใจ (พระวินัยปิฎก)
  (11) พระบัญญัติ บุตรที่มารดาบิดาไม่อนุญาต ภิกษุไม่พึงให้บวช (พระวินัยปิฎก)
  (12) เรื่องทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้ฉลาดมีสามเณรมากรูปได้ (พระวินัยปิฎก)
  (13) สิกขาบทของสามเณร (พระวินัยปิฎก)
  (14) พระสารีบุตรเข้าเฝ้าทูลถามข้อปฏิบัติ (พระวินัยปิฎก)
  (15) วัตถุสำหรับอธรรมวาที ๑๘ ประการ (พระวินัยปิฎก)
  (16) วัตถุสำหรับธรรมวาที ๑๘ ประการ (พระวินัยปิฎก)
  (17) พระเถรานุเถระเข้าเฝ้าทูลถามข้อปฏิบัติ (พระวินัยปิฎก)
  (18) โคตมพุทธวงศ์ที่ ๒๕ ว่าด้วยพระประวัติพระโคตมพุทธเจ้า (พระสูตรนี้เป็นอรรถกถา)
 
 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒ วินัยปิฎก มหาวิภังค์ ภาค ๒ หน้าที่ ๒๙๔

(1)
การนอนกับอนุสัมปัน (นอนกับสามเณร)
เรื่องสามเณรราหุล

         [๒๙๐] กาลต่อมา พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่เมืองอาฬวี ตามพระพุทธาภิรมย์ แล้ว เสด็จจาริกไปโดยมรรคา อันจะไปสู่พระนครโกสัมพี เสด็จจาริกโดยลำดับ ถึงพระนครโกสัมพีแล้วข่าวว่า พระองค์ประทับอยู่พทริการาม เขตพระนครโกสัมพีนั้น.

         ภิกษุทั้งหลายได้กล่าวคำนี้ กะท่านสามเณรราหุลว่า อาวุโสราหุล พระผู้มีพระภาค ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้ว่า ภิกษุไม่พึงสำเร็จการนอนร่วมกับ อนุปสัมบัน (สามเณร) อาวุโสราหุล ท่านจงรู้สถานที่ควรนอน

         วันนั้น ท่านสามเณรราหุลหาที่นอนไม่ได้ จึงสำเร็จการนอนในวัจจกุฎี

         ครั้นปัจจุสสมัยแห่งราตรี พระผู้มีพระภาคทรงตื่นบรรทมแล้ว ได้เสด็จไปวัจจกุฎี ครั้นถึงจึงทรงพระกาสะ แม้ท่านราหุลก็กระแอมรับ.

         พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ใครอยู่ในวัจจกุฎีนี้ ท่านสามเณรราหุลทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้าราหุล พระพุทธเจ้าข้า

         พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรราหุล เหตุไรเธอจึงนอน ณ ที่นี้จึงท่าน สามเณรราหุล กราบทูลเรื่องนั้นให้ทรงทราบ

         ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงกระทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

         ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ให้สำเร็จการนอนร่วม กับอนุปสัมบันได้ ๒-๓ คืน ... ก็แลพวกเธอ พึงยกสิกขาบท นี้ ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้

(2)
พระอนุบัญญัติ

         ๕๔. ๕. ข. อนึ่ง ภิกษุใดสำเร็จการนอนร่วมกับอนุปสัมบัน ยิ่งกว่า ๒-๓ คืน เป็นปาจิตตีย์



พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒ วินัยปิฎก มหาวิภังค์ ภาค ๒ หน้าที่ ๔๑๗
(3)
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา

         [๔๖๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์. ครั้งนั้น ภิกษุณี ถุลลนันทา เป็นกุลุปิกา ของตระกูลแห่งหนึ่ง เป็นผู้รับภัตตาหารประจำอยู่. ก็แล คหบดีนั้น ได้นิมนต์พระเถระทั้งหลายไว้.

         ครั้นเวลาเช้า ภิกษุณีถุลลนันทา ครองอันตรวาสกแล้ว ถือบาตรจีวรเข้าไปสู่ ตระกูลนั้น.

         ครั้นแล้วได้ถามคหบดีนั้นว่า ดูกรท่านคหบดี ท่านจัดของเคี้ยวของฉันนี้ ไว้มากมายทำไม
         ค. กระผมได้นิมนต์พระเถระทั้งหลายไว้ ขอรับ.

         ถุ. ดูกรคหบดี พระเถระเหล่านั้นคือใครบ้าง
         ค. คือพระคุณเจ้าสารีบุตร พระคุณเจ้ามหาโมคคัลลานะ พระคุณเจ้ามหา กัจจานะ พระคุณเจ้ามหาโกฏฐิตะ พระคุณเจ้ามหากัปปินะ พระคุณเจ้ามหาจุนทะ พระคุณเจ้าอนุรุทธะ พระคุณเจ้าเรวตะ พระคุณเจ้าอุบาลี พระคุณเจ้าอานนท์ พระคุณเจ้าราหุล.

         ถุ. ดูกรคหบดี ก็เมื่อพระเถระผู้ใหญ่มีปรากฏอยู่ ทำไมท่านจึงนิมนต์พระเล็กๆ เล่า
         ค. พระเถระผู้ใหญ่เหล่านั้นคือใครบ้าง ขอรับ

         ถุ. คือพระคุณเจ้าเทวทัต พระคุณเจ้าโกกาลิกะ พระคุณเจ้ากฏโมรกติสสกะ พระคุณเจ้าขัณฑเทวีบุตร พระคุณเจ้าสมุทททัต

         ในระหว่างที่ภิกษุณีถุลลนันทา พูดค้างอยู่เช่นนี้ พอดีพระเถระทั้งหลาย เข้ามาถึง. นางกลับพูดว่า ดูกรคหบดี ถูกแล้ว พระเถระผู้ใหญ่ทั้งนั้น ท่านนิมนต์ มาแล้ว

         ค. เมื่อกี้นี้เองแท้ๆ ท่านพูดว่าพระคุณเจ้าทั้งหลายเป็นพระเล็กๆ เดี๋ยวนี้ กลับพูดว่าเป็นพระเถระผู้ใหญ่. คหบดีนั้นพูดแล้วขับนางออกจากเรือน และงดอาหาร ที่ถวายประจำ.

         บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน พระเทวทัต รู้อยู่จึงฉันบิณฑบาต อันภิกษุณีแนะนำให้ถวาย แล้วกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาค ...

(4)
ทรงสอบถาม

         พระผู้มีพระภาค ทรงสอบถามพระเทวทัตว่า ดูกรเทวทัต ข่าวว่า เธอรู้อยู่ ฉันบิณฑบาตอันภิกษุณีแนะนำให้ถวาย จริงหรือ?

         พระเทวทัตทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.


(5)

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

         พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษ ไฉนเธอรู้อยู่ จึงได้ฉัน บิณฑบาต อันภิกษุณีแนะนำให้ถวายเล่า การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความ เลื่อมใสของชุมชน ที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...

         ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

(6)
พระบัญญัติ

         ๗๘. ๙. ก. อนึ่ง ภิกษุใด รู้อยู่ ฉันบิณฑบาตอันภิกษุณีแนะนำ ให้ถวายเป็น ปาจิตตีย์.

         ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติแล้ว แก่ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.

เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ.



(7)

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๔ วินัยปิฎก มหาวรรค ภาค ๑ หน้าที่ ๑๓๕ - ๑๓๙

พระราหุลกุมารทรงผนวชเป็นสามเณร

         [๑๑๘] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ในพระนครราชคฤห์ ตามพระพุทธาภิรมย์แล้ว เสด็จจาริกไปทางพระนคร กบิลพัสดุ์ เสด็จเที่ยวจาริก โดยลำดับ ถึงพระนครกบิลพัสดุ์แล้ว. ทราบว่า พระองค์ประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตพระนครกบิลพัสดุ์ สักกชนบทนั้น.

         ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรง อันตรวาสกแล้ว ทรงถือบาตรจีวร เสด็จ พระพุทธดำเนินไปสู่พระราชนิเวศน์ ของพระเจ้าสุทโธทนศากยะ ครั้นแล้ว ประทับนั่ง เหนือพระพุทธอาสน์ที่เขาปูลาดถวาย.

         ครั้งนั้นพระเทวีราหุลมารดา ได้มีพระเสาวนีแก่ราหุลกุมาร ว่า ดูกรราหุล พระสมณะนั้นเป็นบิดาของเจ้า เจ้าจงไปทูลขอทรัพย์มรดกต่อพระองค์

         จึงราหุลกุมาร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ครั้นถึงแล้ว ได้ประทับยืน เบื้องพระพักตร์ พระผู้มีพระภาค พลางกราบทูลว่า ข้าแต่พระสมณะพระฉายา ของพระองค์เป็นสุข.

         ทันใดนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จ อุฏฐาการ จากพระพุทธอาสน์แล้วกลับไป จึงราหุลกุมารได้ตามเสด็จพระผู้มีพระภาคไปเบื้องหลังๆ พลางทูลขอว่า ข้าแต่พระสมณะ ขอได้โปรดประทานทรัพย์มรดก แก่หม่อมฉัน ข้าแต่พระสมณะ ขอได้โปรดประทานทรัพย์มรดกแก่หม่อมฉัน.

         ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกท่านพระสารีบุตรมารับสั่งว่า ดูกรสารีบุตร ถ้าเช่นนั้นเธอจงให้ราหุลกุมารบวช.

         ท่านพระสารีบุตรทูลถามว่า ข้าพระพุทธเจ้าจะให้ราหุลกุมารทรงผนวชอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า?

         ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต การบวชกุลบุตร เป็นสามเณรด้วยไตรสรณคมน์.


(8)
วิธีให้บรรพชา

         ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงให้กุลบุตรบวชอย่างนี้:-
ชั้นต้น พึงให้โกนผมและหนวด แล้วให้ครองผ้าย้อมฝาด ให้ห่มผ้าเฉวียงบ่า ให้กราบเท้าภิกษุทั้งหลาย ให้นั่งกระหย่ง ให้ประคองอัญชลี แล้วสั่งว่า จงว่าอย่างนี้ แล้วสอนให้ว่าสรณคมน์ดังนี้:-

ไตรสรณคมน์
พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้า เป็นที่พึ่ง
ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ ข้าพเจ้าถึงพระธรรม เป็นที่พึ่ง
สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ ข้าพเจ้าถึงพระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง
ทุติยมฺปิ พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้า เป็นที่พึ่ง แม้ครั้งที่ ๒
ทุติยมฺปิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ ข้าพเจ้าถึงพระธรรม เป็นที่พึ่ง แม้ครั้งที่ ๒
ทุติยมฺปิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ ข้าพเจ้าถึงพระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง แม้ครั้งที่ ๒
ตติยมฺปิ พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้า เป็นที่พึ่ง แม้ครั้งที่ ๓
ตติยมฺปิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ ข้าพเจ้าถึงพระธรรม เป็นที่พึ่ง แม้ครั้งที่ ๓
ตติยมฺปิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ ข้าพเจ้าถึงพระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง แม้ครั้งที่ ๓

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการบวชกุลบุตรเป็นสามเณร ด้วยไตรสรณคมน์นี้. คราวนั้น ท่านพระสารีบุตร ให้ราหุลกุมารบรรพชาแล้ว.


(9)
พระเจ้าสุทโธทนศากยะทูลขอพระพร

         ต่อมา พระเจ้าสุทโธทนศากยะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ครั้นถึงแล้ว ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นท้าวเธอประทับ นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลขอพระพรต่อพระผู้มีพระภาคว่า หม่อมฉัน ขอประทานพร ต่อพระผู้มีพระภาคสักอย่างหนึ่ง พระพุทธเจ้าข้า.

         พระผู้มีพระภาคถวายพระพรว่า ดูกรพระองค์ผู้โคตมะ ตถาคตทั้งหลาย มีพร ล่วงเลยเสียแล้ว
         สุท. หม่อมฉันทูลขอพรที่สมควรและไม่มีโทษ พระพุทธเจ้าข้า.
         ภ. พระองค์โปรดตรัสบอกพรนั้นเถิด โคตมะ.

(10)
(พระเจ้าสุทโธทนทรงน้อยใจ)

         สุท. เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงผนวชแล้ว
* ความทุกข์ล้นพ้นได้บังเกิดแก่ หม่อมฉัน
* เมื่อพ่อนันทะบวช ก็เช่นเดียวกัน
* เมื่อพ่อราหุลบรรพชา ทุกข์ยิ่งมากล้น พระพุทธเจ้าข้า


         ความรักบุตรย่อมตัดผิว ครั้นแล้ว ตัดหนัง ตัดเนื้อ ตัดเอ็น ตัดกระดูก แล้วตั้งอยู่ จรด เยื่อในกระดูก หม่อมฉันขอประทานพระวโรกาส พระคุณเจ้าทั้งหลาย ไม่พึงบวชบุตร ที่บิดามารดายังมิได้อนุญาตพระพุทธเจ้าข้า.

         ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจง ให้พระเจ้าสุทโธทนศากยะทรงเห็นแจ้ง ทรงสมาทานทรงอาจหาญ ทรงร่าเริง ด้วยธรรมีกถา. เมื่อพระเจ้าสุทโธทนศากยะ อันพระผู้มีพระภาค ทรงชี้แจงให้เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว เสด็จลุกจากพระที่ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทรงทำประทักษิณแล้วเสด็จกลับ.

         ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

(11)
(พระบัญญัติ บุตรที่มารดาบิดาไม่อนุญาต ภิกษุไม่พึงให้บวช)

         ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุตรที่มารดาบิดาไม่อนุญาต ภิกษุไม่พึงให้บวช รูปใด ให้บวช ต้องอาบัติทุกกฏ.

         ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในพระนครกบิลพัสดุ์ ตามพระพุทธาภิรมย์ แล้ว เสด็จจาริกไปทางพระนครสาวัตถี เสด็จเที่ยวจาริกโดยลำดับ ถึงพระนครสาวัตถี แล้ว. ทราบว่าพระองค์ประทับอยู่ในพระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถีนั้น

(12)
เรื่องทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้ฉลาดมีสามเณรมากรูปได้

         [๑๑๙] ก็โดยสมัยนั้นแล ตระกูลอุปฐากของท่านพระสารีบุตร ส่งเด็กชายไปใน สำนักท่านพระสารีบุตร ด้วยมอบหมายว่า ขอพระเถระโปรดบรรพชาเด็กคนนี้. ทีนั้น ท่านพระสารีบุตรได้มีความดำริว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติ ไม่ให้ภิกษุรูปเดียว รับสามเณร ๒ รูปไว้อุปัฏฐาก ก็เรามีสามเณรราหุลนี้อยู่แล้ว ทีนี้เราจะปฏิบัติอย่างไร ดังนี้ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.

         พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถรูปเดียว รับสามเณรสองรูปไว้อุปัฏฐากได้ ก็หรือเธออาจจะ โอวาท อนุศาสน์สามเณรมีจำนวนเท่าใด ก็ให้รับไว้อุปัฏฐาก มีจำนวนเท่านั้น.

(13)

สิกขาบทของสามเณร

         [๑๒๐] ครั้งนั้น สามเณรทั้งหลาย ได้มีความดำริว่า สิกขาบทของพวกเรา มีเท่าไรหนอแล และพวกเราจะต้องศึกษาในอะไร. ภิกษุทั้งหลายกราบทูล เรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาค.

พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

         ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตสิกขาบท ๑๐แก่สามเณรทั้งหลาย และให้ สามเณรทั้งหลาย ศึกษาในสิกขาบท ๑๐ นั้น คือ
๑. เว้นจากการทำสัตว์ที่มีชีวิตให้ตกล่วงไป
๒. เว้นจากถือเอาพัสดุอันเจ้าของมิได้ให้
๓. เว้นจากกรรมอันเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์
๔. เว้นจากการกล่าวเท็จ



(14)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๕ วินัยปิฎก มหาวรรค ภาค ๒ หน้าที่ ๒๖๘
- ๒๗๑

พระสารีบุตรเข้าเฝ้าทูลถามข้อปฏิบัติ

         [๒๕๒] ท่านพระสารีบุตรได้สดับข่าวว่า ภิกษุชาวพระนครโกสัมพี ผู้ก่อความบาดหมางก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ เหล่านั้น พากันมาสู่พระนครสาวัตถี จึงเข้าไปในพระพุทธสำนัก ถวายบังคม พระผู้มีพระภาค นั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งท่านพระสารีบุตรนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้ทูลถามข้อปฏิบัตินี้แด่พระผู้มีพระภาคว่า

          พระพุทธเจ้าข้าได้ข่าวมาว่า ภิกษุชาวพระนครโกสัมพีที่ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์เหล่านั้น พากันมา พระนครสาวัตถี ข้าพระพุทธเจ้าจะปฏิบัติในภิกษุเหล่านั้นอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า?

         พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สารีบุตร ถ้าเช่นนั้น เธอจงดำรงอยู่ตามธรรม
         สา. ข้าพระพุทธเจ้าจะพึงทราบธรรมหรือธรรมอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า?

(15)
วัตถุสำหรับอธรรมวาที ๑๘ ประการ

         พ. สารีบุตร เธอพึงทราบอธรรมวาทีภิกษุ ด้วยวัตถุ ๑๘ ประการ
คือภิกษุในธรรมวินัยนี้:-
๑. แสดงสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ว่าเป็นธรรม
๒. แสดงสิ่งที่เป็นธรรม ว่าไม่เป็นธรรม
๓. แสดงสิ่งที่ไม่เป็นวินัย ว่าเป็นวินัย
๔. แสดงสิ่งที่เป็นวินัย ว่าไม่เป็นวินัย
๕. แสดงสิ่งที่พระตถาคตมิได้ทรงภาษิตไว้ มิได้ตรัสไว้ว่าพระตถาคต ทรงภาษิตไว้ ตรัสไว้
๖. แสดงสิ่งที่พระตถาคตทรงภาษิตไว้ ตรัสไว้ว่าพระตถาคตมิได้ทรงภาษิตไว้ ตรัสไว้
๗. แสดงมรรยาทอันพระตถาคตมิได้ทรงประพฤติมา ว่าพระตถาคตทรงประพฤติมา
๘. แสดงมรรยาทอันพระตถาคตทรงประพฤติมาแล้ว ว่าพระตถาคตมิได้ทรงประพฤติ มา
๙. แสดงสิ่งที่พระตถาคตมิได้ทรงบัญญัติไว้ ว่าอันพระตถาคตทรงบัญญัติไว้
๑๐. แสดงสิ่งที่พระตถาคตทรงบัญญัติไว้ ว่าพระตถาคตมิได้ทรงบัญญัติไว้
๑๑. แสดงสิ่งที่มิใช่อาบัติ ว่าเป็นอาบัติ
๑๒. แสดงอาบัติ ว่าเป็นสิ่งมิใช่อาบัติ
๑๓. แสดงอาบัติเบา ว่าเป็นอาบัติหนัก
๑๔. แสดงอาบัติหนัก ว่าเป็นอาบัติเบา
๑๕. แสดงอาบัติมีส่วนเหลือ ว่าเป็นอาบัติหาส่วนเหลือมิได้
๑๖. แสดงอาบัติหาส่วนเหลือมิได้ ว่าเป็นอาบัติมีส่วนเหลือ
๑๗. แสดงอาบัติชั่วหยาบ ว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ
๑๘. แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบ ว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ
สารีบุตร เธอพึงทราบอธรรมวาทีภิกษุ ด้วยวัตถุ ๑๘ ประการนี้แล.


(16)
วัตถุสำหรับธรรมวาที ๑๘ ประการ

         สารีบุตร และพึงทราบธรรมวาทีภิกษุ ด้วยวัตถุ ๑๘ ประการ
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. แสดงสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ว่าไม่เป็นธรรม
๒. แสดงสิ่งที่เป็นธรรม ว่าเป็นธรรม
๓. แสดงสิ่งที่ไม่เป็นวินัย ว่าไม่เป็นวินัย
๔. แสดงสิ่งที่เป็นวินัย ว่าเป็นวินัย
๕. แสดงสิ่งที่พระตถาคตมิได้ทรงภาษิตไว้ มิได้ตรัสไว้ ว่าพระตถาคตมิได้ทรง ภาษิต ไว้ มิได้ตรัสไว้
๖. แสดงสิ่งที่พระตถาคตทรงภาษิตไว้ ตรัสไว้ว่าพระตถาคตทรงภาษิตไว้ ตรัสไว้
๗. แสดงมรรยาทอันพระตถาคตมิได้ทรงประพฤติมา ว่าพระตถาคตมิได้ทรง ประพฤติ มา
๘. แสดงมรรยาทอันพระตถาคตทรงประพฤติมา ว่าพระตถาคตทรงประพฤติมา
๙. แสดงสิ่งที่พระตถาคตมิได้ทรงบัญญัติไว้ ว่าพระตถาคตมิได้ทรงบัญญัติไว้
๑๐. แสดงสิ่งที่พระตถาคตทรงบัญญัติไว้ ว่าพระตถาคตทรงบัญญัติไว้
๑๑. แสดงสิ่งมิใช่อาบัติ ว่าเป็นสิ่งมิใช่อาบัติ
๑๒. แสดงอาบัติ ว่าเป็นอาบัติ
๑๓. แสดงอาบัติเบา ว่าเป็นอาบัติเบา
๑๔. แสดงอาบัติหนัก ว่าเป็นอาบัติหนัก
๑๕. แสดงอาบัติมีส่วนเหลือ ว่าเป็นอาบัติมีส่วนเหลือ
๑๖. แสดงอาบัติหาส่วนเหลือมิได้ ว่าเป็นอาบัติหาส่วนเหลือมิได้
๑๗. แสดงอาบัติชั่วหยาบ ว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ
๑๘. แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบ ว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ

         สารีบุตร เธอพึงทราบธรรมวาทีภิกษุ ด้วยวัตถุ ๑๘ ประการนี้แล.


(17)

พระเถรานุเถระเข้าเฝ้าทูลถามข้อปฏิบัติ

         [๒๕๓] ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้สดับข่าว ....
ท่านพระมหากัสสปะได้สดับข่าว ....
ท่านพระมหากัจจนะได้สดับข่าว ....
ท่านพระมหาโกฏฐิตะได้สดับข่าว ....
ท่านพระมหากัปปินะได้สดับข่าว ....
ท่านพระมหาจุนทะได้สดับข่าว ....
ท่านพระอนุรุทธะได้สดับข่าว ....
ท่านพระเรวตะได้สดับข่าว ....
ท่านพระอุบาลีได้สดับข่าว ....
ท่านพระอานนท์ได้สดับข่าว ....
ท่านพระราหุลได้สดับข่าวว่า ภิกษุชาวเมืองโกสัมพีที่ก่อความบาดหมาง ก่อการ ทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์เหล่านั้น พากันมาสู่พระนคร สาวัตถี จึงเข้าไปในพุทธสำนัก ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค แล้วนั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง ท่านพระราหุลนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้ทูลถามข้อปฏิบัติแด่ พระผู้มีพระภาค ว่า

          พระพุทธเจ้า ได้ข่าวมาว่า ภิกษุชาวเมืองโกสัมพี ที่ก่อความบาดหมาง ก่อการ ทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ เหล่านั้น พากันมาสู่พระนคร
สาวัตถี ข้าพระพุทธเจ้า จะปฏิบัติในภิกษุเหล่านั้นอย่างไรพระพุทธเจ้าข้า?

         พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ราหุล ถ้าเช่นนั้น เธอจงดำรงอยู่ตามธรรม
         รา. ข้าพระพุทธเจ้าจะพึงทราบธรรมหรืออธรรมอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า?
         พ. ราหุล เธอพึงทราบ อธรรมวาทีภิกษุ ด้วยวัตถุ ๑๘ ประการ ....

         ราหุล เธอพึงทราบอธรรมวาทีภิกษุ ด้วยวัตถุ ๑๘ ประการนี้แล.
         ราหุล และพึงทราบธรรมวาทีภิกษุ ด้วยวัตถุ ๑๘ ประการ ....
         ราหุล เธอพึงทราบธรรมวาทีภิกษุ ด้วยวัตถุ ๑๘ ประการนี้แล.



(18)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๓๓
สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก หน้าที่ ๓๖๔ - ๓๖๖

โคตมพุทธวงศ์ที่ ๒๕
ว่าด้วยพระประวัติพระโคตมพุทธเจ้า
พระสูตรนี้เป็นอรรถกถา เป็นเรื่องราวที่แต่งเสริมเข้ามาภายหลัง

พระอรหันตสัมมามัมพุทธเจ้า(โคตม) ทรงเล่าย้อนไปแค่ 91 กัป
นับพระพุทธเจ้าเพียงแค่ 7 พระองค์ เท่านั้น ไม่ได้มี 25 พระองค์
ตามคำแต่งที่แต่งขึ้นมาใหม่แต่อย่างใด


ทรงกล่าวไว้ในพระสูตร ชื่อว่า " มหาปทานสูตร"
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑
(คลิกอ่านพระสูตร) : (ดูสรุปแบบตาราง)


โคตมพุทธวงศ์ที่ ๒๕ (พระสูตรนี้เป็นอรรถกถา)
ว่าด้วยพระประวัติพระโคตมพุทธเจ้า

          [๒๖] บัดนี้ เราเป็นพระสัมพุทธเจ้านามว่า โคดม เจริญในศากยสกุล เราบำเพ็ญเพียรแล้ว ได้บรรลุสัมโพธิญาณอันอุดม พรหมอาราธนาแล้ว ประกาศ พระธรรมจักร ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่สัตว์ ๑๘ โกฏิ ต่อแต่นั้น

          เมื่อเราแสดงธรรมในสมาคมมนุษย์ และเทวดาธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๒ จะพึงกล่าว โดยคำนวณนับมิได้ ในคราวที่เรากล่าวสอนราหุลบุตรของเราบัดนี้ ณ ที่นี้แล ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๓จะพึงกล่าวโดยคำนวณนับมิได้

          เรามีการประชุมพระสาวกผู้แสวงหาคุณใหญ่ครั้งเดียว ภิกษุที่ประชุมกันมี ๑๒๕๐ รูป เราผู้ปราศจากมลทินรุ่งเรือนอยู่ในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ เราให้สิ่งที่ปรารถนา ทุกอย่างเหมือนแก้วมณีให้สิ่งที่ต้องการทั้งปวง

          ฉะนั้น เราประกาศจตุราริยสัจ เพื่ออนุเคราะห์แก่สัตว์ทั้งหลาย ผู้หวังผล ผู้แสวงหาธรรมเครื่องละความพอใจในภพ ธรรมาภิสมัยได้มีแก่สัตว์สองแสน ธรรมาภิ สมัยครั้งที่ ๑ และครั้งที่ ๒ ได้มีแก่สัตว์โดยจะคณนานับมิได้

          คำสั่งสอนของเราผู้เป็นศากยมุนี กว้างขวางเจริญแพร่หลายงอกงามดี บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว เป็นประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก ภิกษุหลายร้อยล้วนเป็นผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะมีจิตสงบระงับมั่นคงแวดล้อมเราอยู่ทุกเมื่อ

          ในกาลบัดนี้ ภิกษุเหล่าใด เป็นพระเสขะยังมิได้บรรลุอรหัตละภพมนุษย์ไป ภิกษุเหล่านั้น วิญญูชนตำหนิ ชนทั้งหลายผู้ชอบใจทางพระอริยเจ้า ยินดีในธรรม ทุกเมื่อ มีปัญญารุ่งเรือง ถึงจะยังท่องเที่ยวอยู่ในสงสาร ก็จักตรัสรู้ได้

          นครของเราชื่อกบิลพัสดุ์พระเจ้าสุทโธทนะ เป็นโยมบิดาของเรา โยมมารดา บังเกิดเกล้าของเราเรียกพระนามว่า มายาเทวี เราครอบครองอาคารสถานอยู่ ๒๙ ปี

          มีปราสาทอันประเสริฐ ๓ ปราสาท ชื่อสุจันทะ โกกนุทะ และโกญจะ มีสนม นารีกำนัล ในแปดหมื่นสี่พันนาง ล้วนประดับประดาสวยงาม มเหสีของเรานาม ว่า ยโสธรา บุตรชายของเราชื่อว่า ราหุล

          เราเห็นนิมิต ๔ ประการ จึงออกผนวชด้วยอัสวราชยาน ได้บำเพ็ญเพียร ประพฤติทุกกรกิริยาอยู่ ๖ ปี เราประกาศธรรมจัก ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมือง พาราณสี

          เราเป็นพระสัมพุทธเจ้าชื่อว่าโคดม เป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งปวง ภิกษุ ๒ รูป ชื่ออุปติสสะและโกลิตะเป็นอัครสาวกของเรา ภิกษุชื่ออานนทะ เป็นอุปัฏฐาก อยู่ใน สำนักของเรา

          ภิกษุณีชื่อเขมาและอุบลวรรณา เป็นอัครสาวิกา จิตตคฤหบดีและหัตถก อุบาสกชาวเมืองอาฬวี เป็นอัครอุปัฏฐาก นันทมาดาและอุตราอุบาสิกา เป็นอัคร อุปัฏฐายิกา

          เราบรรลุสัมโพธิญาณอันอุดม ที่ควงไม้อัสสัตถพฤกษ์ เรามีรัศมีซ่านออก ด้านละ วาทุกเมื่อสูงขึ้นไป ๑๖ ศอก บัดนี้

          อายุของเราน้อย มี ๑๐๐ ปี ถึงเราจะดำรงอยู่เพียงนั้น ก็ช่วยให้หมู่ชนข้ามพ้น วัฏสงสารได้มากมาย

          เราตั้งคบเพลิงคือธรรมไว้สำหรับให้คนภายหลังได้ตรัสรู้ อีกไม่นานเลย แม้เรากับสงฆ์สาวกก็จักนิพพาน ณ ที่นี้แลเพราะสิ้นอาหาร เหมือนไฟสิ้นเชื้อ ฉะนั้น

          เรามีร่างกายเป็นเครื่องทรงคุณ คือ เดชอันไม่มีเทียบเคียง ยศ กำลัง และ ฤทธิ์เหล่านี้ วิจิตด้วยลักษณะอันประเสริฐ๓๒ ประการ

          มีรัศมี ๖ ประการ สว่างไสวไปทั่วทิศน้อยใหญ่ ดุจพระอาทิตย์ ทุกอย่าง จักหายไปหมดสิ้น สังขารทั้งปวงว่างเปล่าหนอฉะนี้แล.

จบโคตมพุทธวงศ์ที่ ๒๕



เรื่องราวของพระพุทธเจ้าที่เป็นคำสอนจากพระโอษฐ์ และเรื่องที่แต่งขึ้นมาใหม่


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก คลิก

ข้อมูลจากวิกิพีเดีย (คลิกที่ภาพ)



   



พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์