เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
หมอชีวกโกมารภัจจ์ เอตทัคคะผู้เลื่อมใสในบุคคล
ค้นหาคำที่ต้องการ    

  ผู้มีบทบาทสำคัญในพุทธศาสนา    
1 พระโมคคัลลานะ (อัครสาวกเบื้องซ้าย) 8 พระอุบาลี (ยอดเยี่ยมด้านผู้ทรงวินัย) 15 ภารทวาชะ (ผู้ยอดเยี่ยมด้านบันลือสีหนาท)
2 พระเทวทัต (ปลงพระชนม์พระพุทธเจ้า) 9 อนาถบิณฑิกคหบดี (ผู้สร้างวิหารเชตวัน) 16 วักกลิ (ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นย่อมเห็นตถาคต)
3 นิครนถ์ (โต้วาทะกับพระพุทธเจ้า) 10 พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี (ภิกษุณีรูปแรก) 17 คามิณี (แปลว่านายบ้าน หรือผู้ใหญ่บ้าน)
4 พระมหากัปปินะ (นั่งคู้บังลังค์ ตั้งกายตรง) 11 พระราหุล (เอตทัคคะผู้ใคร่ต่อการศึกษา) 18 พระมหากัจจานะ (ผู้จำแนกอรรถแห่งภาษิต)
5 พระสารีบุตร (อัครสาวกเบื้องขวา) 12 หมอชีวกโกมารภัจจ์ (แพทย์พระพุทธเจ้า) 19 อัคคิเวสนะ (ชื่อตระกูลปริพาชก)
6 พระมหากัสสป (ผู้ทรงธุดงค์ อยู่ป่าเป็นวัตร) 13 ราธะ (ตรัสสอนเรื่อง"สัตว์" กับราธะ) 20 สุสิมะปริพาชก (คิดว่าผู้หลุดพ้นคือผู้มีฤทธิ์)
7 พระอนุรุทธะ (พระอรหันต์ผู้มีทิพย์จักษุ) 14 เอตทัคคะ (ผู้ยอดเยี่ยมด้านต่างๆ 74 ท่าน) 21 พระอุทายี (มีความเห็นแย้งกับพระสารีบุตร)
           

เรื่องราวสำคัญของ หมอชีวกโกมารภัจจ์
แพทย์ประจำพระองค์พระพุทธเจ้า และ พระเจ้าพิมพิสาร


U 101
       ออกไปหน้าหลัก 1 of 3
  จากพระไตรปิฎก ที่เป็นคำสอนจากพระโอษฐ์
  พระสูตรที่เกี่ยวข้อง ๒ พระสูตร
1) เอตทัคคบาลี (อุบาสก) พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๖
2) กำเนิดชีวกโกมารภัจจ์ พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๕ วินัยปิฎก มหาวรรค ภาค ๒ หน้าที่ ๑๓๕ (พระสูตรนี้อาจเป็นอรรถกถา)
  (1) หมอชีวกโกมารภัจจ์ เลิศกว่าพวกอุบาสกสาวกของเรา ผู้เลื่อมใสในบุคคล
  (2) ชีวกโกมารภัจจ์ กำเนิดมาจากหญิงงามเมือง
  (3) ชีวกทารก ถูกทิ้งที่กองขยะ เจ้าชายอภัยนำมาชุบเลี้ยง
  (4) เรียนวิทยาการด้านการแพทย์ ที่เมืองตักศิลาเป็นเวลา 7 ปี
  (5) ขีวกถูกอาจารย์ ทดสอบความความรู้ ด้วยการให้ไปหาสมุนไพร
  (6) ออกเดินทางเพื่อรักษาคนไข้ ที่เมืองสาเกตุ
  (7) เศรษฐีปฏิเสธ เพราะเป็นหมอหนุ่ม ชีวกเสนอว่าหากไม่หายจะไม่รับเงิน
  (8) ชีวกรักษาเศรษฐีด้วยการใช้เนยใสผสมยาแล้วให้นัตถ์ (สอดจมูก)
  (9) รักษาเศรษฐีจนหาย ได้ค่ารักษา ๑๖,๐๐๐ กษาปณ์ ได้อาศัยในวังเจ้าชายอภัย
  (10) พระเจ้าพิมพิสารเป็นโรคริดสีดวงโลหิตไหล บรรดาสนมล้อเลียนว่ามีฤดูใกล้คลอด
  (11) ชีวกรักษาจนหายพร้อมสั่งสตรี ๕๐๐ นางถอดเครื่องประดับมอบให้ชีวก(ฐานที่เย้ยหยันพระองค์)
  (12) รักษาเศรษฐีเมืองราชคฤห์ หลังปวดศรีษะมา 7 ปี
  (13) เศรษฐียอมเป็นทาสหมอชีวก หากรักษาหาย
  (14) เศรษฐีถูกมัดเพื่อผ่ากระโหลกศรีษะ นำสิ่งมีชีวิต 2 ตัวออกมา
  (15) บุตรเศรษฐี เมืองพาราณสี เนื้องอกในลำใส้ ถ่ายไม่ออก ตัวเหลือง
  (16) พระเจ้าพิมพิมสารรับสั่งให้หมอชีวก เดินทางไปรักษา
 
 


(1)

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๖

เอตทัคคบาลี (อุบาสก)

            [๑๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
พ่อค้าชื่อตปุสสะและภัลลิกะ เลิศกว่าพวกอุบาสกสาวกของเราผู้ถึงสรณะก่อน
สุทัตตอนาถปิณฑิกคฤหบดี เลิศกว่าพวกอุบาสกสาวกของเรา ผู้ถวายทาน
จิตตคฤหบดีชาวเมืองมัจฉิกสัณฑะ เลิศกว่าพวกอุบาสกสาวกของเรา ผู้เป็นธรรมกถึก
หัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวี เลิศกว่าพวกอุบาสกสาวกของเรา ผู้สงเคราะห์บริษัทด้วยสังคหวัตถุ ๔
เจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะ เลิศกว่าพวกอุบาสกสาวกของเรา ผู้ถวายรสอันประณีต
อุคคคฤหบดีชาวเมืองเวสาลี เลิศกว่าพวกอุบาสกสาวกของเรา ผู้ถวายโภชนะเป็นที่ชอบใจ
อุคคคฤหบดี เลิศกว่าพวกอุบาสกสาวกของเรา ผู้เป็นสังฆอุปัฏฐาก
สูรัมพัฏฐเศรษฐีบุตร เลิศกว่าพวกอุบาสกสาวกของเรา ผู้เลื่อมใสอย่างแน่นแฟ้น
หมอชีวกโกมารภัจจ์ เลิศกว่าพวกอุบาสกสาวกของเรา ผู้เลื่อมใสในบุคคล
นกุลปิตาคฤหบดี เลิศกว่าพวกอุบาสกสาวกของเรา ผู้คุ้นเคย



(2)

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๕ วินัยปิฎก มหาวรรค ภาค ๒ หน้าที่ ๑๓๕

(พระสูตรนี้อาจเป็นอรรถกถา หรือเรื่องราวที่แต่งขึ้น ผู้อ่านพึงใช้วิจารณญาณกันเอาเอง)

กำเนิดชีวกโกมารภัจจ์

           ก็สมัยนั้น ในพระนครราชคฤห์ มีกุมารีชื่อสาลวดี เป็นสตรีทรงโฉมสคราญ ตา น่าเสน่หาประกอบด้วยผิวพรรณเฉิดฉายยิ่ง จึงพวกคนมีทรัพย์ชาวพระนคร ราชคฤห์ ได้คัดเลือก กุมารีสาลวดี เป็นหญิงงามเมือง ครั้นนางกุมารีสาลวดี ได้รับเลือกเป็นหญิงงามเมืองแล้ว ไม่ช้านานเท่าไรนักก็ได้เป็นผู้ชำนาญ ในการ ฟ้อนรำ ขับร้อง บรรเลงเครื่องดนตรี มีคนที่มีความประสงค์ต้องการตัวไปร่วมอภิรมย์ ราคาตัวคืนละ ๑๐๐ กษาปณ์

           ครั้นมิช้ามินาน นางสาลวดีหญิงงามเมือง ก็ตั้งครรภ์จึงนางมีความคิดเห็นว่า ธรรมดาสตรีมีครรภ์ ไม่เป็นที่พอใจของพวกบุรุษ ถ้าใครๆ ทราบว่าเรามีครรภ์ ลาภผล ของเราจักเสื่อมหมด ถ้ากระไร เราควรแจ้งให้เขาทราบว่าเป็นไข้ ต่อมานางได้สั่ง คนเฝ้าประตูไว้ว่า นายประตูจ๋า โปรดอย่าให้ชายใดๆ เข้ามา และผู้ใดถามหาดิฉัน จงบอกให้เขาทราบว่าเป็นไข้นะ

           คนเฝ้าประตูนั้น รับคำนางสาลวดี หญิงงามเมืองว่า จะปฏิบัติตามคำสั่ง เช่นนั้น หลังจากนั้นอาศัยความแก่แห่งครรภ์นั้น นางได้คลอดบุตรเป็นชาย และสั่ง กำชับทาสีว่า แม่สาวใช้จงวางทารกนี้ลงบนกระด้งเก่าๆ แล้วนำออกไปทิ้งที่กอง หยากเยื่อ

           ทาสีนั้นรับคำนางว่า ทำเช่นนั้นได้ เจ้าค่ะ ดังนี้ แล้ววางทารกนั้น ลงบนกระด้งเก่าๆ นำออกไปทิ้งไว้ ณ กองหยากเยื่อ

(3)
ชีวกทารก ถูกทิ้งที่กองขยะ เจ้าชายอภัยนำมาชุบเลี้ยง

           ก็ครั้งนั้นเป็นเวลาเช้า เจ้าชายอภัย กำลังเสด็จเข้าสู่พระราชวัง ได้ทอดพระเนตรเห็นทารกนั้น อันฝูงกาห้อมล้อมอยู่ ครั้นแล้วได้ถามมหาดเล็กว่า

พนายนั่นอะไรฝูงการุมกันตอม
ม. ทารก พ่ะย่ะค่ะ

อ. ยังเป็นอยู่หรือ พนาย
ม. ยังเป็นอยู่ พ่ะย่ะค่ะ

อ. พนาย ถ้าเช่นนั้น จงนำทารกนั้นไปที่วังของเรา ให้นางนมเลี้ยงไว้

           คนเหล่านั้น รับสนองพระบัญชาว่า อย่างนั้น พ่ะย่ะค่ะ แล้วนำทารกนั้น ไปวังเจ้าชายอภัยมอบแก่นางนมว่า โปรดเลี้ยงไว้ด้วย อาศัยคำว่า ยังเป็นอยู่ เขาจึง ขนานนามทารก นั้นว่า ชีวก ชีวกนั้น อันเจ้าชายรับสั่งให้เลี้ยงไว้ เขาจึงได้ตั้ง นามสกุล ว่า โกมารภัจจ์

           ต่อมาไม่นานนักชีวกโกมารภัจจ์ก็รู้เดียงสา จึงเข้าเฝ้าเจ้าชายอภัย ครั้นแล้ว ได้ทูลคำนี้แด่เจ้าชายอภัยว่า ใครเป็นมารดาของเกล้ากระหม่อม ใครเป็นบิดา ของเกล้า กระหม่อม พ่ะย่ะค่ะ

           เจ้าชายรับสั่งว่า พ่อชีวก แม้ถึงตัวเราก็ไม่รู้จักมารดาของเจ้า ก็แต่ว่าเรา เป็นบิดาของเจ้าเพราะเราได้ให้เลี้ยงเจ้าไว้

           จึงชีวกโกมารภัจจ์มีความคิดเห็นว่า ราชสกุลเหล่านี้แล คนที่ไม่มีศิลปะ จะเข้าพึ่งพระบารมี ทำไม่ได้ง่าย ถ้ากระไร เราควรเรียนวิชาแพทย์ไว้


(4)
เรียนศิลปะทางแพทย์
ที่เมืองตักศิลา เป็นเวลา 7 ปี

           [๑๒๙] ก็โดยสมัยนั้นแล นายแพทย์ทิศาปาโมกข์ ตั้งสำนักอยู่ ณ เมืองตักกสิลา จึงชีวกโกมารภัจจ์ ไม่ทูลลาเจ้าชายอภัย ลอบเดินทางไปเมือง ตักกสิลา เดินรอนแรมไปโดยลำดับถึงเมืองตักกสิลา แล้วเข้าไปหานายแพทย์ผู้นั้น ครั้นแล้วได้กราบเรียนคำนี้แก่นายแพทย์ว่าท่านอาจารย์ กระผมประสงค์จะศึกษา ศิลปะ

นายแพทย์สั่งว่า พ่อชีวก ถ้าเช่นนั้น จึงศึกษาเถิด

           ครั้งนั้นชีวกโกมารภัจจ์ เรียนวิชาได้มาก เรียนได้เร็ว เข้าใจดีด้วย และวิชา ที่เรียนได้แล้วก็ไม่ลืม ครั้นล่วงมาได้ ๗ ปี ชีวกโกมารภัจจ์คิดว่า ตัวเราเรียนวิชา ได้มาก เรียนได้เร็วเข้าใจดีด้วย ทั้งวิชาที่เรียนได้ก็ไม่ลืม และเราเรียนมาได้ ๗ ปีแล้ว ยังไม่สำเร็จศิลปะนี้ เมื่อไรจักสำเร็จสักที จึงเข้าไปหานายแพทย์ผู้นั้น แล้วได้เรียนถามว่า

          ท่านอาจารย์ กระผมเรียนวิชาได้มากเรียนได้เร็ว เข้าใจดีด้วย ทั้งวิชา ที่เรียนได้แล้วก็ไม่ลืม และ กระผมได้เรียนมาเป็นเวลา ๗ ปีก็ยังไม่สำเร็จ เมื่อไรจักสำเร็จสักทีเล่า ขอรับ

(5)
ขีวกถูกทดสอบความความรู้ จากอาจารย์

           นายแพทย์ตอบว่า พ่อชีวก ถ้าเช่นนั้นเธอจงถือเสียม เที่ยวไปรอบเมือง ตักกสิลาระยะทาง ๑ โยชน์(16 กม.) ตรวจดูสิ่งใดไม่ใช่ตัวยา จงขุดสิ่งนั้นมา

           ชีวกโกมารภัจจ์ รับคำนายแพทย์ว่า เป็นเช่นนั้นท่านอาจารย์ ดังนั้นแล้ว ถือเสียมเดินไปรอบเมืองตักกสิลา ระยะทาง ๑ โยชน์ มิได้เห็นสิ่งใด ที่ไม่เป็นตัวยา สักอย่างหนึ่ง จึงเดินทางกลับเข้าไปหานายแพทย์ และได้กราบเรียนคำนี้ ต่อ นายแพทย์ว่า ท่านอาจารย์กระผมเดินไปรอบเมืองตักกสิลาระยะทาง ๑ โยชน์แล้ว มิได้เห็นสิ่งที่ไม่เป็นยาสักอย่างหนึ่ง

           นายแพทย์บอกว่า พ่อชีวก เธอศึกษาสำเร็จแล้ว เท่านี้ก็พอที่เธอจะ ครองชีพได้ แล้วได้ให้เสบียงเดินทางเล็กน้อยแก่ชีวกโกมารภัจจ์

           ลำดับนั้น ชีวกโกมารภัจจ์ถือเสบียงเล็กน้อยนั้นแล้ว ได้เดินทางมุ่งไป พระนครราชคฤห์ ครั้นเดินทางไปเสบียงเพียงเล็กน้อยนั้น ได้หมดลงที่เมืองสาเกต ในระหว่างทาง จึงเกิดความปริวิตกว่าหนทางเหล่านี้ แลกันดารอัตคัดน้ำ อัตคัด อาหาร คนไม่มีเสบียงจะเดินไป ทำไม่ได้ง่ายจำเราจะต้องหาเสบียง


(6)
ออกเดินทางเพื่อรักษาคนไข้ ที่เมืองสาเกตุ

           [๑๓๐] ก็โดยสมัยนั้นแล ภรรยาเศรษฐีที่เมืองสาเกต เป็นโรคปวดศีรษะอยู่ ๗ ปีนายแพทย์ทิศาปาโมกข์ใหญ่ๆ หลายคนมารักษา ก็ไม่สามารถรักษาให้หาย ได้ขนเงินไปเป็นอันมาก จึงชีวกโกมารภัจจ์เข้าไปสู่เมืองสาเกต ถามคนทั้งหลายว่า พนาย ใครเจ็บไข้บ้าง ฉันจะรักษา คนทั้งหลายพากันบอกว่า ท่านอาจารย์ ภรรยาเศรษฐีนั้น ปวดศีรษะอยู่ ๗ ปี เชิญไปรักษาภรรยาเศรษฐีเถิดท่านอาจารย์ จึงชีวกโกมารภัจจ์ เดินทางไปบ้านเศรษฐีคหบดี ครั้นถึงแล้วได้สั่งคนเฝ้าประตูว่า พ่อนาย ท่านจงไปกราบเรียนภรรยาเศรษฐีว่า คุณนายขอรับ หมอมาแล้วเขามีความ ประสงค์จะเยี่ยมคุณนาย

           คนเฝ้าประตูรับคำชีวกโกมารภัจจ์ว่า เป็นอย่างนั้นขอรับ อาจารย์ ดังนั้น แล้วเข้าไปหาภรรยาเศรษฐี แล้วได้กราบเรียนว่า คุณนายขอรับ หมอมาแล้ว เขามีความประสงค์จะเยี่ยมคุณนาย

           ภรรยาเศรษฐีถามว่า พ่อนายเฝ้าประตูจ๋า หมอเป็นคนเช่นไร
พ. เป็นหมอหนุ่มๆ ขอรับ
ภ. ไม่ละ พ่อนายเฝ้าประตู หมอหนุ่มๆ จักทำอะไรแก่ฉันได้ นายแพทย์ทิศาปาโมกข์ ใหญ่ๆ หลายคนมารักษา ก็ไม่สามารถรักษาให้หาย ได้ขนเงินไปเป็นอันมาก

(7)
เศรษฐีปฏิเสธเพราะเป็นหมอหนุ่ม ชีวกเสนอว่าหากไม่หายจะไม่รับเงิน

           จึงนายประตูนั้น เดินออกมาหาชีวกโกมารภัจจ์ แล้วได้เรียนว่า ท่านอาจารย์ ภรรยาเศรษฐีพูดอย่างนี้ว่า ไม่ละ พ่อนายเฝ้าประตู หมอหนุ่มๆ จักทำอะไรแก่ฉันได้ นายแพทย์ทิศาปาโมกข์ใหญ่ๆ หลายคนมารักษา ก็ไม่สามารถรักษาให้หาย ได้ขนเงินไปเป็นอันมาก

           ชี. พ่อนายเฝ้าประตู ท่านจงไปกราบเรียนภรรยาเศรษฐีว่า คุณนายขอรับ คุณหมอสั่งมาอย่างนี้ว่า ขอคุณนายอย่าเพิ่งให้อะไรๆ ต่อเมื่อหายโรคแล้ว คุณนาย ประสงค์ จะให้สิ่งใด จึงค่อยให้สิ่งนั้นเถิด

           นายประตูรับคำชีวกโกมารภัจจ์ว่า เป็นอย่างนั้น ขอรับอาจารย์ ดังนั้นแล้ว เข้าไปหาภรรยาเศรษฐี ได้กราบเรียนว่า คุณนายขอรับ คุณหมอบอกข่าวมาอย่างนี้ว่า ขอคุณนายอย่าเพิ่งให้อะไรๆ ก่อน ต่อเมื่อคุณนายหายโรคแล้ว ประสงค์จะให้สิ่งใด จึงค่อยให้สิ่งนั้นเถิด

           ภรรยาเศรษฐีสั่งว่า พ่อนายประตู ถ้าเช่นนั้นเชิญคุณหมอมา นายประตู รับคำ ภรรยาเศรษฐีว่า อย่างนั้นขอรับ แล้วเข้าไปหาชีวกโกมารภัจจ์ แล้วได้แจ้ง ให้ทราบว่า ท่านอาจารย์ ภรรยาเศรษฐีขอเชิญท่านเข้าไป

(8)
ชีวกรักษาเศรษฐีด้วยการใช้เนยใสผสมยาแล้วให้นัตถ์(สอดจมูก)

เริ่มรักษาภรรยาเศรษฐี

           ลำดับนั้นชีวกโกมารภัจจ์ เข้าไปหาภรรยาเศรษฐี ครั้นแล้วตรวจดูความ ผันแปรของภรรยาเศรษฐี แล้วได้กล่าวคำนี้แก่ภรรยาเศรษฐีว่า คุณนายขอรับ ผมต้องการเนยใส หนึ่งซองมือ ครั้นภรรยาเศรษฐีสั่งให้หาเนยใสหนึ่งซองมือ มาให้แก่ชีวกแล้ว ชีวกโกมารภัจจ์จึงหุงเนยใสหนึ่งซองมือนั้น กับยาต่างๆ ให้ภรรยาเศรษฐี นอนหงายบนเตียง แล้วให้ นัตถุ์(สอดทางจมูก) ขณะนั้นเนยใส ที่ให้นัตถุ์นั้น ได้พุ่งออกจากปาก จึงภรรยาเศรษฐีถ่มเนยใสนั้นลงในกระโถน สั่งทาสีว่า แม่สาวใช้ จงเอาสำลีซับเนยใสนี้ไว้ จึงชีวกโกมารภัจจ์ได้คิดว่า แปลกจริงพวกเรา แม่บ้านคนนี้ ช่างสกปรกเนยใสนี้จำเป็นจะต้องทิ้ง ยังใช้ให้ทาสี เอาสำลีซับไว้ ส่วนยาของเรา มีราคาแพงๆ มากกว่าปล่อยให้เสีย แม่บ้านคนนี้ จักให้ขวัญข้าวอะไรแก่เราบ้าง

           ขณะนั้น ภรรยาเศรษฐีสังเกตรู้อาการ อันแปลกของชีวกโกมารภัจจ์ แล้วได้ถามคำนี้แก่ชีวกโกมารภัจจ์ว่า อาจารย์ท่านแปลกใจอะไรหรือ

           ชี. เวลานี้ผมกำลังคิดอยู่ว่า แปลกจริงแม่บ้านคนนี้ ช่างสกปรกเหลือเกิน เนยใสนี้จำเป็นจะต้องทิ้ง ยังใช้ให้ทาสีเอาสำลีซับไว้ ส่วนยาของเรามีราคาแพงๆ มากกว่าปล่อยให้เสียแม่บ้านคนนี้จักให้ขวัญข้าวอะไรแก่เราบ้าง

           ภ. อาจารย์ พวกดิฉันชื่อว่าเป็นคนมีเหย้าเรือน จำเป็นจะต้องรู้จักสิ่งที่ ควรสงวน เนยใสนี้ยังดีอยู่จะใช้เป็นยาสำหรับ ทาเท้า พวกทาสหรือกรรมกรก็ได้ ใช้เป็นน้ำมันเติมตะเกียงก็ได้ อาจารย์ท่านอย่าได้คิดวิตกไปเลย ค่าขวัญข้าว ของท่าน จักไม่ลดน้อย

(9)
รักษาเศรษฐีจนหาย ได้ค่ารักษา ๑๖,๐๐๐ กษาปณ์ และได้อาศัยในวังเจ้าชายอภัย

           คราวนั้นชีวกโกมารภัจจ์ ได้กำจัดโรคปวดศีรษะของภรรยาเศรษฐี ซึ่งเป็น มา ๗ ปีให้หายโดยวิธีนัตถุ์ยาคราวเดียวเท่านั้น ครั้นภรรยาเศรษฐีหายโรคแล้ว ได้ให้รางวัลชีวกโกมารภัจจ์ เป็นเงิน ๔,๐๐๐ กษาปณ์ บุตรเศรษฐีได้ทราบว่ามารดา ของเราหายโรคแล้ว ได้ให้รางวัลเพิ่มอีก๔,๐๐๐ กษาปณ์ บุตรสะใภ้ได้ทราบว่า แม่ผัวของเราหายโรคแล้ว ก็ได้ให้รางวัล ๔,๐๐๐ กษาปณ์เศรษฐีคหบดีทราบว่า ภรรยาของเราหายโรคแล้วได้เพิ่มรางวัลให้อีก ๔,๐๐๐ กษาปณ์ และให้ทาสทาสี รถม้าอีกด้วย จึงชีวกโกมารภัจจ์รับเงิน ๑๖,๐๐๐ กษาปณ์ กับทาส ทาสี และรถม้า เดินมุ่งไปพระนครราชคฤห์ ถึงพระนครราชคฤห์โดยลำดับ เข้าเฝ้าเจ้าชายอภัย

           ครั้นแล้วได้กราบทูลว่าเงิน ๑๖,๐๐๐ กษาปณ์ กับทาส ทาสี และรถม้านี้ เป็นการกระทำ ครั้งแรกของเกล้ากระหม่อม ขอใต้ฝ่าพระบาทจงทรงพระกรุณา โปรดรับค่า เลี้ยงดูเกล้ากระหม่อมเถิด พระเจ้าข้า

           พระราชกุมารรับสั่งว่า อย่าเลย พ่อนายชีวก ทรัพย์นี้จงเป็นของเจ้าคนเดียว เถิด และเจ้าจงสร้างบ้านอยู่ในวังของเราเถิด

           ชีวกโกมารภัจจ์ ทูลรับพระบัญชาเจ้าชายอภัยว่า เป็นพระกรุณายิ่ง พระเจ้าข้า แล้วได้สร้างบ้านอยู่ในวังของเจ้าชายอภัย

(10)
ชีวกมีโอกาสรักษาพระเจ้าพิมพิสาร
ด้วยโรคริดสีดวง บรรดาสนมล้อเลียนว่ามีฤดูใกล้คลอด

เรื่องพระเจ้าพิมพิสาร ทรงประชวรโรคริดสีดวงงอก

           [๑๓๑] ก็โดยสมัยนั้นแล พระเจ้าพิมพิสาร จอมเสนามาคธราช ทรงประชวร โรคริดสีดวงงอก พระภูษาเปื้อนพระโลหิต พวกพระสนมเห็นแล้ว พากันเย้ยหยันว่า บัดนี้พระเจ้าอยู่หัวทรงมีระดู ต่อมาพระโลหิตบังเกิดแก่พระองค์แล้ว ไม่นานเท่าไรนัก พระองค์จักประสูติ พระราชาทรงเก้อเพราะคำเย้ยหยัน ของพวกพระสนมนั้น

          ต่อมา ท้าวเธอได้ตรัสเล่าความนั้น แก่เจ้าชายอภัยว่าพ่ออภัย พ่อป่วย เป็นโรค เช่นนั้น ถึงกับ ภูษา(ผ้าทรง) เปื้อนโลหิต พวกพระสนมเห็นแล้วพากัน เย้ยหยันว่า บัดนี้พระเจ้าอยู่หัวทรงมีระดู ต่อมพระโลหิตบังเกิดแก่พระองค์แล้ว ไม่นานเท่าไรนัก พระองค์จักประสูติ เอาเถอะ พ่ออภัย เจ้าช่วยหาหมอชนิด ที่พอจะรักษาพ่อได้ให้ ทีเถิด

           อ. ขอเดชะ นายชีวกผู้นี้ เป็นหมอประจำข้าพระพุทธเจ้า ยังหนุ่ม ทรงคุณวุฒิ เธอจักรักษาพระองค์ได้

           พ. พ่ออภัย ถ้าเช่นนั้นเธอจงสั่งหมอชีวก เขาจักได้รักษาพ่อ

           ครั้งนั้นเจ้าชายอภัย สั่งชีวกโกมารภัจจ์ว่า พ่อนายชีวก เธอจงไปรักษา พระเจ้าอยู่หัวชีวก โกมารภัจจ์ รับสนองพระบัญชาว่าอย่างนั้น พระเจ้าข้า แล้วเอาเล็บ ตักยาเดินไปในราชสำนักครั้นถึงแล้วเ ข้าเฝ้าพระเจ้าพิมพิสาร จอมเสนามาคธราช แล้วได้กราบทูลคำนี้แด่พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราชว่า พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้าจักตรวจโรคของพระองค์ แล้วรักษาโรคริดสีดวงงอก ของพระเจ้า พิมพิสาร จอมเสนามาคธราช หายขาดด้วยทายาเพียงครั้งเดียวเท่านั้น

(11)
พระเจ้าพิมพิสารหายป่วย สั่งสตรี ๕๐๐ นางถอดเครื่องประดับมอบให้ชีวก
(ฐานที่เย้ยหยันพระองค์)

           ครั้นพระเจ้าพิมพิสาร จอมเสนามาคธราช ทรงหายประชวรจึงรับสั่งให้สตรี ๕๐๐ นางตกแต่งเครื่องประดับทั้งปวง ให้เปลื้องออกทำเป็นห่อแล้ว ได้มีพระราชโองการ แก่ชีวกโกมารภัจจ์ว่า พ่อนายชีวก เครื่องประดับทั้งปวงของสตรี ๕๐๐ นางนี้จงเป็นของเจ้า

           ชี. อย่าเลย พระพุทธเจ้าข้า ขอพระองค์จงทรงโปรดระลึกว่า เป็นหน้าที่ของ ข้าพระพุทธเจ้าเถิด

           พ. ถ้าอย่างนั้น เจ้าจงบำรุงเรากับพวกฝ่ายใน และภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้า เป็นประมุข ชีวกโกมารภัจจ์ ทูลรับสนองพระบรมราชโองการว่า เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า

(12)

รักษาเศรษฐีเมืองราชคฤห์ หลังปวดศรีษะมา 7 ปี

เรื่องเศรษฐีชาวพระนครราชคฤห์

           [๑๓๒] ก็โดยสมัยนั้นแล เศรษฐีชาวพระนครราชคฤห์ ป่วยเป็นโรคปวดศีรษะอยู่ ๗ ปีนายแพทย์ทิศาปาโมกข์ใหญ่ๆ หลายคนมารักษา ก็ไม่สามารถรักษาให้หาย ขนเงินไปเป็นอันมากอนึ่ง เศรษฐีนั้นถูกนายแพทย์บอกคืน นายแพทย์บางพวก ได้ทำนายไว้อย่างนี้ว่า เศรษฐีคหบดีจักถึงอนิจกรรมในวันที่ ๕ บางพวกทำนายไว้อย่างนี้ว่า จักถึงอนิจกรรมในวันที่ ๗

           ครั้งนั้นพวกคนร่ำรวย ชาวพระนครราชคฤห์ ได้มีความปริวิตกว่า เศรษฐี คหบดีผู้นี้แล มีอุปการะมากแก่พระเจ้าอยู่หัว และชาวนิคม แต่ท่านถูกนายแพทย์ บอกคืนเสียแล้ว นายแพทย์บางพวกทำนายไว้อย่างนี้ว่า เศรษฐีคหบดีจักถึง อนิจกรรมในวันที่ ๕ บางพวกทำนายไว้อย่างนี้ว่าจักถึงอนิจกรรมในวันที่ ๗ ก็ชีวกผู้นี้ เป็นนายแพทย์หลวงที่หนุ่ม ทรงคุณวุฒิ ถ้าเช่นนั้นพวกเราพึงทูลขอนายแพทย์ชีวก ต่อพระเจ้าอยู่หัว เพื่อจะให้รักษาเศรษฐีคหบดี แล้วจึงพากันไปในราชสำนัก

            ครั้นถึงแล้วได้เข้าเฝ้ากราบบังคมทูล แด่พระเจ้าพิมพิสาร จอมเสนา มาคธราชว่า ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาท ปกเกล้าปกกระหม่อม เศรษฐีคหบดีผู้นี้ มีอุปการะมากแก่ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทและชาวนิคม แต่ท่านถูกนายแพทย์บอกคืน เสียแล้ว นายแพทย์บางพวกทำนายไว้อย่างนี้ว่า เศรษฐีคหบดี จักถึงอนิจกรรม ในวันที่ ๕ บางพวกทำนายไว้อย่างนี้ว่า จักถึงอนิจกรรมในวันที่ ๗ ขอพระราชทาน พระบรมราชวโรกาส ขอใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท จงทรงมีพระบรมราชโองการ สั่งนายแพทย์ชีวก เพื่อได้รักษาเศรษฐีคหบดี

           ครั้งนั้นพระเจ้าพิมพิสาร จอมเสนามาคธราช ทรงมีพระราชดำรัสสั่งชีวก โกมารภัจจ์ว่าพ่อนายชีวก เจ้าจงไปรักษาเศรษฐีคหบดี

(13)

เศรษฐียอมเป็นทาสหมอชีวก หากรักษาหาย

           ชีวกโกมารภัจจ์ ทูลรับสนองพระบรมราชโองการว่า อย่างนั้นขอเดชะ แล้วไปหาเศรษฐีคหบดี สังเกตอาการที่ผิดแปลกของเศรษฐีคหบดีแล้ว ได้ถาม เศรษฐี คหบดีว่า ท่านคหบดีถ้าฉันรักษาท่านหายโรค จะพึงมีรางวัลอะไร แก่ฉันบ้าง?

ศ. ท่านอาจารย์ ทรัพย์สมบัติทั้งปวงจงเป็นของท่าน และตัวข้าพเจ้าก็ยอมเป็น ทาสของท่าน
ชี. ท่านคหบดี ท่านอาจนอนข้างเดียวตลอด ๗ เดือนได้ไหม?
ศ. ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าอาจนอนข้างเดียวตลอด ๗ เดือนได้
ชี. ท่านคหบดี ท่านอาจนอนข้างที่สองตลอด ๗ เดือนได้ไหม?
ศ. ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าอาจนอนข้างที่สองตลอด ๗ เดือนได้
ชี. ท่านคหบดี ท่านอาจนอนหงายตลอด ๗ เดือนได้ไหม?
ศ. ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าอาจนอนหงายตลอด ๗ เดือนได้

(14)
เศรษฐีถูกมัดบนเตียง เพื่อผ่ากระโหลกศรีษะนำสิ่งมีชีวิต 2 ตัว ออกมา

           ครั้งนั้น ชีวกโกมารภัจจ์ให้เศรษฐีคหบดี นอนบนเตียง มัดไว้กับเตียงถลก หนัง ศีรษะ เปิดรอยประสานกระโหลกศีรษะ นำสัตว์มีชีวิตออกมาสองตัว แล้วแสดง แก่ประชาชน ว่าท่านทั้งหลายจงดูสัตว์มีชีวิต ๒ ตัวนี้ เล็กตัวหนึ่ง ใหญ่ตัวหนึ่ง

            พวกอาจารย์ที่ทำนายไว้ อย่างนี้ว่าเศรษฐีคหบดีจักถึงอนิจกรรมในวันที่ ๕ เพราะท่านได้เห็นสัตว์ตัวใหญ่นี้ มันจักเจาะกินมันสมองของเศรษฐีคหบดีในวันที่ ๕ เศรษฐีคหบดีถูกมันเจาะกินสมองหมด ก็จักถึงอนิจกรรม สัตว์ตัวใหญ่นี้ชื่อว่า อันอาจารย์ พวกนั้นเห็นถูกต้องแล้ว ส่วนพวกอาจารย์ที่ทำนายไว้อย่างนี้ว่า เศรษฐีคหบดี จักถึงอนิจกรรมในวันที่ ๗ เพราะท่านได้เห็นสัตว์ตัวเล็กนี้ มันจัก เจาะกิน มันสมองของเศรษฐีคหบดีในวันที่ ๗ เศรษฐีคหบดีถูกมันเจาะกิน มันสมอง หมด ก็จักถึงอนิจกรรม สัตว์ตัวเล็กนี้ ชื่อว่าอันอาจารย์พวกนั้น เห็นถูกต้องแล้ว ดังนี้ แล้วปิดแนวประสานกระโหลกศีรษะ เย็บหนังศีรษะแล้ว ได้ทายา สมานแผล

           ครั้นล่วงสัปดาห์หนึ่ง เศรษฐีคหบดีได้กล่าวคำนี้ ต่อชีวกโกมารภัจจ์ว่า ท่านอาจารย์ข้าพเจ้าไม่อาจนอนข้างเดียวตลอด ๗ เดือนได้

ชี. ท่านคหบดี ท่านรับคำฉันว่า ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าอาจนอนข้างเดียวตลอด ๗ เดือนได้ดังนี้ มิใช่หรือ?

ศ. ข้าพเจ้ารับคำท่านจริง ท่านอาจารย์ แต่ข้าพเจ้าจักตายแน่ ข้าพเจ้าไม่อาจนอน ข้างเดียวตลอด ๗ เดือนได้

ชี. ท่านคหบดี ถ้าเช่นนั้น ท่านจงนอนข้างที่สองตลอด ๗ เดือนเถิด

ครั้นล่วงสัปดาห์หนึ่ง เศรษฐีคหบดี ได้กล่าวคำนี้ต่อชีวกโกมารภัจจ์ว่า ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าไม่อาจนอนข้างที่สองตลอด ๗ เดือนได้

ชี. ท่านคหบดี ท่านรับคำฉันว่า ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้านอนข้างที่สองตลอด ๗ เดือนได้ดังนี้มิใช่หรือ?

ศ. ข้าพเจ้ารับคำท่านจริง ท่านอาจารย์ แต่ข้าพเจ้าจักตายแน่ ข้าพเจ้าไม่อาจนอน ข้างที่สองตลอด ๗ เดือนได้

ชี. ท่านคหบดี ถ้าเช่นนั้น ท่านจงนอนหงายตลอด ๗ เดือนเถิด ครั้นล่วงสัปดาห์หนึ่ง เศรษฐีคหบดี ได้กล่าวคำนี้ต่อชีวกโกมารภัจจ์ว่า ท่านอาจารย์ข้าพเจ้าไม่อาจนอน หงายตลอด ๗ เดือนได้

ชี. ท่านคหบดี ท่านรับคำฉันว่า ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าอาจนอนหงายตลอด ๗ เดือนได้ดังนี้ มิใช่หรือไม่?

ศ. ข้าพเจ้ารับคำท่านจริง ท่านอาจารย์ แต่ข้าพเจ้าจักตายแน่ ข้าพเจ้าไม่อาจ นอนหงาย ตลอด ๗ เดือนได้

ชี. ท่านคหบดี ถ้าฉันไม่บอกท่านไว้ ท่านก็นอนเท่านั้นไม่ได้ แต่ฉันทราบอยู่ ก่อนแล้วว่า เศรษฐีคหบดีจักหายโรคในสามสัปดาห์ ลุกขึ้นเถิด ท่านหายป่วยแล้ว ท่านจงรู้จะได้รางวัลอะไรแก่ฉัน

ศ. ท่านอาจารย์ ก็ทรัพย์สมบัติทั้งปวงจงเป็นของท่าน ตัวข้าพเจ้าก็ยอมเป็นทาส ของท่าน

ชี. อย่าเลย ท่านคหบดี ท่านอย่าได้ให้ทรัพย์สมบัติทั้งหมดแก่ฉันเลย และท่าน ก็ไม่ต้องยอมเป็นทาสของฉัน ท่านจงทูลเกล้า ถวายทรัพย์แก่พระเจ้าอยู่หัว แสนกษาปณ์ ให้ฉันแสนกษาปณ์ก็พอแล้ว

ครั้นเศรษฐีคหบดีหายป่วย ได้ทูลเกล้าถวายทรัพย์แด่พระเจ้าอยู่หัว แสนกษาปณ์ ได้ให้แก่ชีวกโกมารภัจจ์ แสนกษาปณ์

(15)
บุตรเศรษฐีเมืองพาราณสี เนื้องอกในลำใส้ ถ่ายไม่ออก ตัวเหลือง

เรื่องบุตรเศรษฐีป่วยโรคเนื้องอกที่ลำไส้

           [๑๓๓] ก็โดยสมัยนั้นแล เศรษฐีบุตรชาวพระนครพาราณสี ผู้เล่นกีฬา หกคะเมน ได้ป่วยเป็นโรคเนื้องอกที่ลำไส้ ข้าวยาคูที่เธอดื่มเข้าไปก็ดี ข้าวสวย ที่เธอรับประทานก็ดี ไม่ย่อย อุจจาระและปัสสาวะออกไม่สะดวก เพราะโรคนั้น เธอจึงซูบผอม เศร้าหมอง มีผิวพรรณซูบซีดเหลืองขึ้นๆ มีตัวสะพรั่งด้วยเอ็น

           ครั้งนั้นเศรษฐีชาวพระนครพาราณสี ได้มีความปริวิตกดังนี้ว่าบุตรของเรา ได้เจ็บป่วยเช่นนั้น ข้าวยาคูที่เธอดื่มก็ดี ข้าวสวยที่เธอรับประทานก็ดี ไม่ย่อยอุจจาระ และปัสสาวะออกไม่สะดวก บุตรของเรานั้นจึงซูบผอม เศร้าหมอง มีผิวพรรณซูบซีด เหลืองขึ้นๆ มีตัวสะพรั่งด้วยเอ็น เพราะโรคนั้น ถ้ากระไร เราพึงไปพระนครราชคฤห์ แล้วทูลขอนายแพทย์ชีวกต่อพระเจ้าอยู่หัว เพื่อจะได้รักษาบุตรของเรา

           ต่อแต่นั้นเศรษฐี ชาวพระนครราชคฤห์แล้ว เข้าเฝ้าพระเจ้าพิมพิสาร จอมเสนามาคธราช แล้วได้กราบทูลว่าขอเดชะฯ บุตรของข้าพระพุทธเจ้า ได้เจ็บป่วย เช่นนั้น ข้าวยาคูที่เธอดื่มก็ดี ข้าวสวยที่เธอรับประทานก็ดี ไม่ย่อย อุจจาระ และปัสสาวะออกไม่สะดวก เธอจึงซูบผอม เศร้าหมอง มีผิวพรรณซูบซีด เหลืองขึ้นๆ มีตัวสะพรั่งด้วยเอ็น เพราะโรคนั้น ขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาส ขอใต้ฝ่า ละอองธุลีพระบาทจงมีพระบรมราชโองการ สั่งนายแพทย์ชีวก เพื่อจะได้รักษาบุตร ของข้าพระพุทธเจ้า

(16)
พระเจ้าพิมพิมสารรับสั่งให้หมอชีวก เดินทางไปรักษา


           ลำดับนั้น พระเจ้าพิมพิสาร จอมเสนามาคธราช ได้ทรงมีพระราชดำรัส สั่งชีวกโกมารภัจจ์ว่าไปเถิด พ่อนายชีวก เจ้าจงไปพระนครพาราณสี แล้วรักษาบุตร ของเศรษฐีชาวกรุงพาราณสี

           ชีวกโกมารภัจจ์ ทูลรับสนองพระบรมราชโองการว่า อย่างนั้นขอเดชะฯ แล้วไปพระนครพาราณสี เข้าไปหาเศรษฐีบุตร ชาวพระนครพาราณสี สังเกตอาการ ที่ผิดแปลกของเศรษฐี บุตรชาวพระนครพาราณสี เชิญประชาชนให้ออกไปเสีย ขึงม่านมัดเศรษฐีบุตรไว้กับเสา ให้ภรรยาอยู่ข้างหน้า ผ่าหนังท้อง นำเนื้องอกที่ลำไส้ ออกแสดงแก่ภรรยาว่า เธอจงดูความเจ็บป่วยของสามีเธอข้าวยาคูที่สามีเธอดื่มก็ดี ข้าวสวยที่สามีเธอรับประทานก็ดี ไม่ย่อย อุจจาระและปัสสาวะออกไม่สะดวก เพราะโรคนี้ สามีเธอนี้จึงซูบผอม เศร้าหมอง มีผิวพรรณซูบซีด เหลืองขึ้นๆมีตัว สะพรั่ง ด้วยเอ็นดังนี้ แล้วตัดเนื้องอกในลำไส้ออก สอดใส่ลำไส้กลับดังเดิม แล้วเย็บ หนังท้องทายาสมานแผล ต่อมาไม่นานเท่าไรนัก เศรษฐีบุตรชาวพระนครพาราณสี ได้หายโรคแล้ว

           ครั้งนั้น เศรษฐีชาวพระนครพาราณสีคิดว่า บุตรของเราหายโรค พ้น อันตรายแล้ว จึงให้รางวัลแก่ชีวกโกมารภัจจ์เป็นเงิน ๑๖,๐๐๐ กษาปณ์ ชีวกโกมารภัจจ์ รับเงิน ๑๖,๐๐๐ กษาปณ์นั้นเดินทางกลับมาสู่พระนคร ราชคฤห์ ตามเดิม

   



พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์