เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
หมอชีวกโกมารภัจจ์ เอตทัคคะผู้เลื่อมใสในบุคคล
ค้นหาคำที่ต้องการ 

  ผู้มีบทบาทสำคัญในพุทธศาสนา    
1 พระโมคคัลลานะ (อัครสาวกเบื้องซ้าย) 8 พระอุบาลี (ยอดเยี่ยมด้านผู้ทรงวินัย) 15 ภารทวาชะ (ผู้ยอดเยี่ยมด้านบันลือสีหนาท)
2 พระเทวทัต (ปลงพระชนม์พระพุทธเจ้า) 9 อนาถบิณฑิกคหบดี (ผู้สร้างวิหารเชตวัน) 16 วักกลิ (ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นย่อมเห็นตถาคต)
3 นิครนถ์ (โต้วาทะกับพระพุทธเจ้า) 10 พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี (ภิกษุณีรูปแรก) 17 คามิณี (แปลว่านายบ้าน หรือผู้ใหญ่บ้าน)
4 พระมหากัปปินะ (นั่งคู้บังลังค์ ตั้งกายตรง) 11 พระราหุล (เอตทัคคะผู้ใคร่ต่อการศึกษา) 18 พระมหากัจจานะ (ผู้จำแนกอรรถแห่งภาษิต)
5 พระสารีบุตร (อัครสาวกเบื้องขวา) 12 หมอชีวกโกมารภัจจ์ (แพทย์พระพุทธเจ้า) 19 อัคคิเวสนะ (ชื่อตระกูลปริพาชก)
6 พระมหากัสสป (ผู้ทรงธุดงค์ อยู่ป่าเป็นวัตร) 13 ราธะ (ตรัสสอนเรื่อง"สัตว์" กับราธะ) 20 สุสิมะปริพาชก (คิดว่าผู้หลุดพ้นคือผู้มีฤทธิ์)
7 พระอนุรุทธะ (พระอรหันต์ผู้มีทิพย์จักษุ) 14 เอตทัคคะ (ผู้ยอดเยี่ยมด้านต่างๆ 74 ท่าน) 21 พระอุทายี (มีความเห็นแย้งกับพระสารีบุตร)
           

เรื่องราวสำคัญของ หมอชีวกโกมารภัจจ์
แพทย์ประจำพระองค์พระพุทธเจ้า และ พระเจ้าพิมพิสาร


U 101
       ออกไปหน้าหลัก 1 of 3
  จากพระไตรปิฎก ที่เป็นคำสอนจากพระโอษฐ์
  พระสูตรที่เกี่ยวข้อง ๔ พระสูตร
  (๑) เรื่องพระเจ้าอชาตศัตรู หมอชีวกโกมารภัจจ์ ฉบับหลวง เล่มที่ ๙ สุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค หน้าที่ ๔๕
  (๒) ๕.ชีวกสูตร เรื่องหมอชีวกโกมารภัจจ์ พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๓ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๔๒
  (๓) ชีวกสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๗๐
  (๔) อันตรายิกธรรม โรค ๕ ชนิด ฉบับหลวง เล่มที่ ๔ วินัยปิฎก มหาวรรค ภาค ๑ หน้าที่ ๑๑๗
  (1) วันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ ฤดูดอกโกมุทบาน พระเจ้าอชาตศัตรประสงค์ฟังธรรม
  (2) อำมาตย์ผู้หนึ่ง เสนอท่านปูรณะกัสสป ... ทรงนิ่ง
  (3) อำมาตย์ผู้หนึ่ง เสนอ ท่านมักขลิ โคศาล ... ทรงนิ่ง
  (4) อำมาตย์ผู้หนึ่ง เสนอ ท่านอชิต เกสกัมพล ... ทรงนิ่ง
  (5) อำมาตย์ผู้หนึ่ง เสนอ ท่านปกุธะ กัจจายนะ ... ทรงนิ่ง
  (6) อำมาตย์ผู้หนึ่ง เสนอท่านสญชัย เวลัฏฐบุตร ... ทรงนิ่ง
  (7) อำมาตย์ผู้หนึ่ง เสนอท่านนิครนถ์ นาฏบุตร ... ทรงนิ่ง
  (8) หมอชีวก เสนอพระผู้มีพระภาค ...ทรงสั่งเตรียมพาหนะเดินทาง
  (9) ท้าวเธอพร้อมสตรี และช้างผัง ๕๐๐ เชือก เดินทางไปสวนอัมพวัน
  (10) พระเจ้าอชาติศัตรูเกิดความกลัว เกรงว่าถูกชีวกหลอกมาให้ศัตรู
  (11) พระเจ้าอชาติศัตรูเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
  (12) พระเจ้าอชาติศัตรูถามปัญหา
  (13) หมอชีวกเข้าเฝ้า สอบถามเรื่องการฆ่าสัตว์
  (14) เนื้อที่ไม่ควรบริโภค และควรบริโภค ๓ อย่าง
  (15) การแผ่เมตตา แผ่ไปทิศทั้ง ๔ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง และแผ่ไปตลอดโลก
  (16) การแผ่กรุณา มุทิตา อุเบกขา แผ่ไปทิศทั้ง ๔ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง และแผ่ไปตลอดโลก
  (17) ทำบุญได้บาปด้วยเหตุ ๕ ประการ
  (18) ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรหนอ บุคคลชื่อว่าเป็นอุบาสก
  (19) อุบาสกชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติ เพื่อประโยชน์ตนเองและเพื่อประโยชน์ผู้อื่น
  (20) มคธชนบทเกิดโรคระบาด ๕ ชนิด
  (21) ทรงห้ามบวชคนเป็นโรคติดต่อ ๕ ชนิด
 
 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๙ สุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค หน้าที่ ๔๕

เรื่องพระเจ้าอชาตศัตรู
หมอชีวกโกมารภัจจ์


           [๙๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ประทับ ณ สวนอัมพวัน ของหมอชีวกโกมารภัจจ์ ใกล้ พระนครราชคฤห์ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ประมาณ ๑๒๕๐ รูป วันนั้นเป็น วัน อุโบสถ ๑๕ ค่ำเป็นวันครบ ๔ เดือน
ฤดูดอกโกมุทบาน(ดอกบัว) ในราตรีเพ็ญ พระจันทร์ เต็มดวง พระเจ้าแผ่นดินมคธ พระนามว่า อชาตศัตรูเวเทหีบุตร แวดล้อมด้วยราชอำมาตย์ประทับนั่ง ณ พระมหาปราสาทชั้นบน

(1)
วันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ ฤดูดอกโกมุทบาน พระเจ้าอชาตศัตรประสงค์ฟังธรรม

      ขณะนั้น ท้าวเธอทรงเปล่งพระอุทานว่า ดูกรอำมาตย์ ราตรีมีดวงเดือนแจ่ม กระจ่าง น่ารื่นรมย์หนอ ราตรีมีดวงเดือน แจ่มกระจ่าง ช่างงามจริงหนอ ราตรีมี ดวงเดือนแจ่มกระจ่าง น่าชมจริงหนอราตรีมีดวงเดือนแจ่มกระจ่าง น่าเบิกบาน จริงหนอ ราตรีมีดวงเดือนแจ่มกระจ่าง เข้าลักษณะจริงหนอ วันนี้เราควรจะเข้าไป หาสมณะ หรือพราหมณ์ผู้ใดดีหนอ ซึ่งจิตของเราผู้เข้าไปหาพึงเลื่อมใสได้

(2)
อำมาตย์ผู้หนึ่ง เสนอท่านปูรณะกัสสป ... ทรงนิ่ง

      ครั้นท้าวเธอดำรัสอย่างนี้แล้ว อำมาตย์ผู้หนึ่งจึงกราบทูลว่า ขอเดชะ ท่านปูรณะ กัสสป ปรากฏว่าเป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์มีชื่อเสียงมีเกียรติยศ เป็นเจ้าลัทธิ ชนส่วนมากยกย่องว่าดี เป็นคนเก่าแก่ บวชมานาน มีอายุล่วงกาล ผ่านวัยมา โดยลำดับ เชิญพระองค์เสด็จเข้าไปหาท่านปูรณะ กัสสปนั้นเถิด เห็นด้วยเกล้าฯ ว่า เมื่อพระองค์เสด็จเข้าไปหาท่านปูรณะกัสสป พระหฤทัยพึงเลื่อมใส.

       เมื่ออำมาตย์ผู้นั้นกราบทูลอย่างนี้แล้วท้าวเธอก็ทรงนิ่งอยู่


(3)
อำมาตย์ผู้หนึ่ง เสนอ ท่านมักขลิ โคศาล ... ทรงนิ่ง

      อำมาตย์อีกคนหนึ่ง จึงกราบทูลว่า ขอเดชะ ท่านมักขลิ โคศาล ปรากฏว่าเป็น เจ้าหมู่เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์มีชื่อเสียง มีเกียรติยศ เป็นเจ้าลัทธิ ชนส่วนมาก ยกย่อง ว่าดี เป็นคนเก่าแก่ บวชมานาน มีอายุล่วงกาล ผ่านวัยมาโดยลำดับ เชิญพระองค์เสด็จเข้าไปหาท่านมักขลิ โคศาลนั้นเถิด เห็นด้วยเกล้า ฯ ว่า เมื่อพระองค์เสด็จเข้าไปหาท่านมักขลิ โคศาลพระหฤทัยพึงเลื่อมใส

       เมื่ออำมาตย์ผู้นั้นกราบทูลอย่างนี้แล้ว ท้าวเธอก็ทรงนิ่งอยู่.


(4)
อำมาตย์ผู้หนึ่ง เสนอ ท่านอชิต เกสกัมพล ... ทรงนิ่ง

      อำมาตย์อีกคนหนึ่ง จึงกราบทูลว่า ขอเดชะ ท่านอชิต เกสกัมพล ปรากฏว่า เป็นเจ้าหมู่ เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์มีชื่อเสียง มีเกียรติยศ เป็นเจ้าลัทธิ ชนส่วนมาก ยกย่องว่าดีเป็นคนเก่าแก่ บวชมานาน มีอายุล่วงกาล ผ่านวัยมาโดยลำดับ เชิญพระองค์เสด็จเข้าไปหาท่านอชิต เกสกัมพล นั้นเถิด เห็นด้วยเกล้า ฯ ว่า เมื่อพระองค์เสด็จเข้าไปหาท่านอชิต เกสกัมพลพระหฤทัยพึงเลื่อมใส

       เมื่ออำมาตย์ผู้นั้นกราบทูลอย่างนี้แล้ว ท้าวเธอก็ทรงนิ่งอยู่


(5)
อำมาตย์ผู้หนึ่ง เสนอ ท่านปกุธะ กัจจายนะ ... ทรงนิ่ง

      อำมาตย์อีกคนหนึ่ง จึงกราบทูลว่า ขอเดชะ ท่านปกุธะ กัจจายนะ ปรากฏว่าเป็น เจ้าหมู่เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์มีชื่อเสียง มีเกียรติยศ เป็นเจ้าลัทธิ ชนส่วนมาก ยกย่อง ว่าดี เป็นคนเก่าแก่ บวชมานาน มีอายุล่วงกาล ผ่านวัยมาโดยลำดับ เชิญพระองค์เสด็จเข้าไปหา ท่านปกุธะกัจจายนะนั้นเถิด เห็นด้วยเกล้า ฯ ว่า เมื่อพระองค์เสด็จเข้าไปหาท่านปกุธะ กัจจายนะ พระหฤทัยพึงเลื่อมใส

       เมื่ออำมาตย์ผู้นั้นกราบทูลอย่างนี้แล้ว ท้าวเธอก็ทรงนิ่งอยู่

(6)
อำมาตย์ผู้หนึ่ง เสนอท่านสญชัย เวลัฏฐบุตร ... ทรงนิ่ง

      อำมาตย์อีกคนหนึ่ง จึงกราบทูลว่า ขอเดชะ ท่านสญชัย เวลัฏฐบุตร ปรากฏว่า เป็นเจ้าหมู่ เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์มีชื่อเสียง มีเกียรติยศ เป็นเจ้าลัทธิ ชนส่วนมาก ยกย่องว่าดีเป็นคนเก่าแก่ บวชมานาน มีอายุล่วงกาล ผ่านวัยมาโดยลำดับ เชิญพระองค์เสด็จเข้าไปหาท่านสญชัย เวลัฏฐบุตร นั้นเถิด เห็นด้วยเกล้าฯ ว่า เมื่อพระองค์เสด็จเข้าไปหาท่านสญชัยเวลัฏฐบุตร พระหฤทัยพึงเลื่อมใส.

       เมื่ออำมาตย์ผู้นั้นกราบทูลอย่างนี้แล้ว ท้าวเธอก็ทรงนิ่งอยู่


(7)
อำมาตย์ผู้หนึ่ง เสนอท่านนิครนถ์ นาฏบุตร ... ทรงนิ่ง

      อำมาตย์อีกคนหนึ่ง จึงกราบทูลว่า ขอเดชะ ท่านนิครนถ์ นาฏบุตร ปรากฏว่า เป็นเจ้าหมู่ เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์มีชื่อเสียง มีเกียรติยศ เป็นเจ้าลัทธิ ชนส่วนมาก ยกย่องว่าดีเป็นคนเก่าแก่ บวชมานาน มีอายุล่วงกาล ผ่านวัยมาโดยลำดับ เชิญพระองค์เสด็จเข้าไปหาท่านนิครนถ์ นาฏบุตร นั้นเถิด เห็นด้วยเกล้า ฯ ว่า เมื่อพระองค์เสด็จเข้าไปหาท่านนิครนถ์นาฏบุตร พระหฤทัยพึงเลื่อมใส.

       เมื่ออำมาตย์ผู้นั้นกราบทูลอย่างนี้แล้ว ท้าวเธอก็ทรงนิ่งอยู่


(8)
หมอชีวกเสนอพระผู้มีพระภาค ผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ ท้าวเธอสั่งเตรียมญาณ

กถาปรารภพระพุทธคุณ


           [๙๒] สมัยนั้น หมอชีวก โกมารภัจจ์ นั่งนิ่งอยู่ในที่ไม่ไกล พระเจ้าแผ่นดิน มคธ พระนามว่า อชาตศัตรู เวเทหีบุตร. ท้าวเธอจึงมีพระราชดำรัส กะหมอชีวก โกมารภัจจ์ ว่าชีวกผู้สหาย เธอทำไมจึงนิ่งเสียเล่า

      หมอชีวก โกมารภัจจ์ กราบทูลว่า ขอเดชะ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมา สัมพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ สวนอัมพวันของข้าพระพุทธเจ้า พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ หมู่ใหญ่ประมาณ ๑๒๕๐ รูป พระเกียรติศัพท์อันงาม ของพระองค์ขจรไปแล้ว อย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เอง โดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถี ฝึกบุรุษ ที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรมดังนี้

       เชิญพระองค์เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค พระองค์นั้นเถิด เห็นด้วยเกล้า ฯ ว่า เมื่อพระองค์เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค พระฤทัยพึงเลื่อมใส ท้าวเธอจึงมี พระราชดำรัสว่า ชีวกผู้สหาย ถ้าอย่างนั้นท่านจงสั่งให้เตรียมหัตถียานไว้

(9)

ท้าวเธอพร้อมสตรี และช้างผัง ๕๐๐ เชือก เดินทางไปสวนอัมพวัน

      หมอชีวก โกมารภัจจ์ รับสนองพระราชโองการแล้ว สั่งให้เตรียมช้างพังประมาณ ๕๐๐ เชือก และช้างพระที่นั่งเสร็จแล้ว จึงกราบทูลว่า ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า สั่งให้เตรียมหัตถียาน พร้อมแล้ว เชิญใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทเสด็จได้พระเจ้าข้า

      ลำดับนั้น ท้าวเธอโปรดให้พวกสตรี ขึ้นช้างพัง ๕๐๐ เชือกๆ ละนาง แล้วจึง ทรงช้างพระที่นั่งมีผู้ถือคบเพลิง เสด็จออกจากพระนครราชคฤห์ ด้วยพระราชานุภาพ อย่างยิ่งใหญ่ เสด็จไปสวนอัมพวันของหมอชีวก โกมารภัจจ์. พอใกล้จะถึงท้าวเธอ เกิดทรงหวาดหวั่นครั่นคร้าม และทรงมีความสยดสยองขึ้น

(10)

พระเจ้าอชาติศัตรูเกิดความกลัว เกรงว่าถูกชีวกหลอกมาให้ศัตรู

      ครั้นท้าวเธอทรงกลัว ทรงหวาดหวั่น มีพระโลมชาตชูชันแล้ว จึงตรัสกับ หมอชีวก โกมารภัจจ์ว่า ชีวกผู้สหาย ท่านไม่ได้ลวงเราหรือ ชีวกผู้สหาย ท่านไม่ได้หลอกเราหรือ ชีวกผู้สหาย ท่านไม่ได้ล่อเรามาให้ศัตรูหรือ เหตุไฉนเล่า ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ตั้ง ๑๒๕๐ รูป จึงไม่มีเสียงจาม เสียงกระแอม เสียงพึมพำเลย

       หมอชีวก โกมารภัจจ์กราบทูลว่า ขอพระองค์อย่าได้ทรงหวาดหวั่นเกรงกลัว เลย พระเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้าไม่ได้ลวงพระองค์ไม่ได้หลอกพระองค์ ไม่ได้ล่อ พระองค์มาให้ศัตรูเลย พระเจ้าข้า ขอเดชะ เชิญพระองค์เสด็จเข้าไปเถิดๆ นั่นประทีป ที่โรงกลม ยังตามอยู่

(11)
พระเจ้าอชาติศัตรูเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค

      ลำดับนั้น ท้าวเธอเสด็จพระราชดำเนิน โดยกระบวนช้างพระที่นั่ง ไปจนสุดทาง เสด็จลงทรงพระดำเนินเข้าประตูโรงกลม แล้วจึงรับสั่งกะหมอชีวกโกมารภัจจ์ว่า ชีวกผู้สหาย ไหนพระผู้มีพระภาค

      หมอชีวก โกมารภัจจ์ กราบทูลว่า ขอเดชะนั่นพระผู้มีพระภาค ประทับนั่ง พิงเสากลาง ผินพระพักตร์ไปทางทิศบูรพา ภิกษุสงฆ์แวดล้อมอยู่. ลำดับนั้น ท้าวเธอเสด็จเข้าไปเฝ้า.

      พระผู้มีพระภาค ประทับยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วทรงชำเลืองเห็นภิกษุสงฆ์ นิ่งสงบเหมือนห้วงน้ำใส ทรงเปล่งพระอุทานว่า ขอให้ อุทยภัทท์กุมาร* ของเรา จงมีความสงบอย่างภิกษุสงฆ์เดี๋ยวนี้
*บุตรพระเจ้าอชาติศัตรู

      พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรมหาบพิตร พระองค์เสด็จมาทั้งความรัก. แล้วท้าวเธอ ทูลรับว่า พระเจ้าข้า อุทยภัทท์กุมาร เป็นที่รักของหม่อมฉัน ขอให้ อุทยภัทท์กุมาร ของหม่อมฉันจงมีความสงบอย่างภิกษุสงฆ์เดี๋ยวนี้เถิด

(12)
พระเจ้าอชาติศัตรูถามปัญหา

           [๙๓] ลำดับนั้น ท้าวเธอทรงอภิวาทพระผู้มีพระภาค แล้วทรงประนมอัญชลี แก่ภิกษุสงฆ์ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ครั้นแล้วได้ตรัสพระดำรัสนี้กะพระผู้มี พระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันจะขอทูลถามปัญหา บางเรื่อง สักเล็กน้อย ถ้าพระองค์จะประทานพระวโรกาสพยากรณ์ปัญหาแก่หม่อมฉัน

พ. เชิญถามเถิด มหาบพิตร ถ้าทรงพระประสงค์

      อ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ศิลปศาสตร์เป็นอันมากเหล่านี้ คือ พลช้าง พลม้า พลรถ พลธนู พนักงานเชิญธง พนักงานจัดกระบวนทัพ พนักงานจัดส่งเสบียง พวกอุคคราชบุตร พลอาสา ขุนพล พลกล้า พลสวมเกราะหนัง พวกบุตรทาส ช่างทำขนม ช่างกัลบก พนักงานเครื่องสรง พวกพ่อครัว ช่างดอกไม้ ช่างย้อม ช่างหูก ช่างจักสาน ช่างหม้อ นักคำนวณพวกนับคะแนน (นักการบัญชี) หรือ ศิลปศาสตร์เป็นอันมาก

       แม้อย่างอื่นใดที่มีคติเหมือนอย่างนี้ คนเหล่านั้นย่อมอาศัยผลแห่งศิลปศาสตร์ ที่เห็นประจักษ์ เลี้ยงชีพในปัจจุบัน ด้วยผลแห่งศิลปศาสตร์นั้น เขาย่อมบำรุงตน มารดาบิดา บุตรภริยา มิตรอำมาตย์ให้เป็นสุขอิ่มหนำสำราญบำเพ็ญทักษิณาทาน อันมีผลอย่างสูง เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ในสมณ พราหมณ์ ทั้งหลาย ฉันใด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์อาจบัญญัติสามัญผล ที่เห็นประจักษ์ในปัจจุบัน เหมือนอย่างนั้นได้บ้างหรือไม่?

      พ. มหาบพิตร ทรงจำได้หรือไม่ว่า ปัญหาข้อนี้ มหาบพิตรได้ตรัสถามสมณ พราหมณ์ พวกอื่นแล้ว

      อ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ จำได้อยู่ ปัญหาข้อนี้ หม่อมฉันได้ถามสมณพราหมณ์ พวกอื่นแล้ว

      พ. ดูกรมหาบพิตร สมณพราหมณ์เหล่านั้นพยากรณ์อย่างไร ถ้ามหาบพิตร ไม่หนักพระทัย ก็ตรัสเถิด

      อ. ณ ที่ที่พระผู้มีพระภาคหรือท่านผู้เปรียบดังพระผู้มีพระภาค ประทับนั่งอยู่ หม่อมฉันไม่หนักใจ พระเจ้าข้า

      พ. ถ้าอย่างนั้น มหาบพิตรตรัสเถิด



(13)

หมอชีวกเข้าเฝ้า สอบถามเรื่องการฆ่าสัตว์

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๓ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๔๒

๕. ชีวกสูตร
เรื่องหมอชีวกโกมารภัจจ์


           [๕๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ อัมพวันของหมอชีวกโกมารภัจจ์ เขตพระนคร ราชคฤห์. ครั้งนั้นแล หมอชีวกโกมารภัจจ์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคม พระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ได้กราบทูลพระผู้มี พระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้าได้ฟังคำนี้มาว่า ชนทั้งหลายย่อม ฆ่าสัตว์ เจาะจงพระสมณโคดม พระสมณโคดม ทรงทราบข้อนั้นอยู่ ยังเสวยเนื้อ ที่เขาทำเฉพาะตน อาศัยตนทำ ดังนี้

      ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชนเหล่าใดกล่าวอย่างนี้ว่า ชนทั้งหลายย่อมฆ่าสัตว์ เจาะจงพระสมณโคดม พระสมณโคดมทรงทราบข้อนั้นอยู่ ยังเสวยเนื้อที่เขาทำ เฉพาะตน อาศัยตนทำ ดังนี้ ชนเหล่านั้นชื่อว่า กล่าวตรงกับที่พระผู้มีพระภาคตรัส ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาค ด้วยคำอันไม่เป็นจริง ชื่อว่ายืนยันธรรม อันสมควร แก่ธรรม การกล่าวและกล่าวตามที่ชอบธรรม จะไม่ถึงข้อติเตียนละหรือ?

(14)
เนื้อที่ไม่ควรบริโภค และควรบริโภค ๓ อย่าง

           [๕๗] พ. ดูกรชีวก ชนใดกล่าวอย่างนี้ว่า ชนทั้งหลายย่อมฆ่าสัตว์ เจาะจง พระสมณโคดมพระสมณโคดม ทรงทราบข้อนั้นอยู่ ก็ยังเสวยเนื้อสัตว์ที่เขาทำ เฉพาะตน อาศัยตนทำ ดังนี้ชนเหล่านั้น จะชื่อว่ากล่าวตรงกับที่เรากล่าวหามิได้ ชื่อว่ากล่าวตู่เรา ด้วยคำอันไม่เป็นจริง ดูกรชีวกเรากล่าวเนื้อว่า ไม่ควรเป็นของ บริโภคด้วยเหตุ ๓ ประการ คือ เนื้อที่ตนเห็น เนื้อที่ตนได้ยินเนื้อที่ตนรังเกียจ

      ดูกรชีวก เรากล่าวเนื้อว่า เป็นของไม่ควรบริโภคด้วยเหตุ ๓ ประการ นี้แล ดูกรชีวก เรากล่าวเนื้อว่า เป็นของควรบริโภคด้วยเหตุ ๓ ประการ คือ เนื้อที่ตนไม่ได้ เห็นเนื้อที่ตนไม่ได้ยิน เนื้อที่ตนไม่ได้รังเกียจ ดูกรชีวก เรากล่าวเนื้อว่า เป็นของควร บริโภคด้วยเหตุ ๓ ประการนี้แล.

(15)
การแผ่เมตตา

           [๕๘] ดูกรชีวก ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อาศัยบ้าน หรือ นิคมแห่งใดแห่งหนึ่ง อยู่ เธอมีใจประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปตลอดทิศหนึ่ง อยู่ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า โดยความมีตนทั่วไปในทุกสถาน ด้วยใจประกอบด้วยเมตตา อันไพบูลย์ ถึงความ เป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวรไม่มีความเบียดเบียนอยู่ คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดี เข้าไปหาเธอแล้วนิมนต์ด้วยภัต เพื่อให้ฉันในวันรุ่งขึ้น

      ดูกรชีวก เมื่อภิกษุหวังอยู่ ก็รับนิมนต์ พอล่วงราตรีนั้นไป เวลาเช้า ภิกษุนั้น นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวร เข้าไปยังนิเวศน์ของคฤหบดี หรือบุตรของคฤหบดี แล้วนั่ง ลงบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้ คฤหบดีหรือบุตรของคฤหบดีนั้น อังคาสเธอด้วย บิณฑบาต อันประณีต ความดำริว่า ดีหนอ คฤหบดี หรือบุตรคฤหบดีผู้นี้ อังคาสเรา อยู่ด้วยบิณฑบาตอันประณีต ดังนี้ ย่อมไม่มีแก่เธอ แม้ความดำริว่า โอหนอ คฤหบดี หรือ บุตรคฤหบดีผู้นี้ พึงอังคาสเราด้วยบิณฑบาตอันประณีตเช่นนี้ แม้ต่อไป ดังนี้ ก็ไม่มีแก่เธอ เธอไม่กำหนด ไม่สยบ ไม่รีบกลืนบิณฑบาตนั้นมีปกติเห็นโทษ มีปัญญา เครื่องถอนตน บริโภคอยู่

       ดูกรชีวก ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉนว่าในสมัยนั้น ภิกษุนั้นย่อมคิด เพื่อเบียดเบียนตน เพื่อเบียดเบียนผู้อื่น หรือเพื่อเบียดเบียนทั้งสองฝ่าย บ้างหรือ?

ไม่เป็นเช่นนั้น พระพุทธเจ้าข้า

      ดูกรชีวก สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่าฉันอาหาร อันไม่มีโทษมิใช่หรือ?
อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้าได้สดับมาว่า พรหม มีปกติอยู่ด้วยเมตตา คำนั้นเป็นแต่ข้าพระพุทธเจ้าได้สดับมา คำนี้พระผู้มีพระภาค เป็นองค์พยานปรากฎแล้ว ด้วยว่า พระผู้มีพระภาคทรงมีปกติอยู่ด้วยเมตตา

      ดูกรชีวก บุคคลพึงมีความพยาบาท เพราะราคะ โทสะ โมหะใด ราคะ โทสะ โมหะ นั้น ตถาคตละแล้ว มีมูลอันขาดแล้ว เป็นดุจตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา ดูกรชีวก ถ้าแลท่านกล่าวหมายเอาการละราคะ โทสะ โมหะ เป็นต้นนี้เราอนุญาตการกล่าวเช่นนั้นแก่ท่าน

      ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้ากล่าวหมายเอาการละราคะ โทสะ และ โมหะ เป็นต้นนี้

(16)
การแผ่กรุณา มุทิตา อุเบกขา แผ่ไปทิศทั้ง ๔ ทั้งเบื้องบนเบื้องล่างเบื้องขวาง และแผ่ไปตลอดโลก


           [๕๙] ดูกรชีวก ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อาศัยบ้าน หรือนิคมแห่งใดแห่งหนึ่งอยู่ เธอมีใจประกอบด้วยกรุณา ... มีใจประกอบด้วยมุทิตา ... มีใจประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวางแผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า โดยความมีตนทั่วไปในที่ ทุกสถาน ด้วยใจประกอบด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน คฤหบดี หรือ บุตรคฤหบดี เข้าไปหาเธอ แล้วนิมนต์ ด้วยภัต เพื่อให้ฉันในวันรุ่งขึ้น

       ดูกรชีวกเมื่อภิกษุหวังอยู่ย่อมรับนิมนต์ พอล่วงราตรีนั้นไป เวลาเช้า ภิกษุนั้น นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังนิเวศน์ของ คฤหบดีหรือบุตรของคฤหบดี แล้วนั่งลง บนอาสนะที่เขาปูลาดไว้

      คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีนั้น อังคาสเธอด้วยบิณฑบาต อันประณีต ความดำริว่า ดีหนอคฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีผู้นี้ อังคาสเราอยู่ด้วยบิณฑบาต อันประณีต ดังนี้ ย่อมไม่มีแก่เธอ แม้ความดำริว่า โอหนอ คฤหบดีห รือบุตรคฤหบดีผู้นี้ พึงอังคาสเรา ด้วยบิณฑบาตอันประณีตนี้แม้ต่อไป ดังนี้ ก็ไม่มีแก่เธอ เธอไม่กำหนัด ไม่สยบ ไม่รีบกลืนบิณฑบาตนั้น มีปกติเห็นโทษมีปัญญาเครื่องถอนตน บริโภคอยู่ ดูกรชีวก ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉนว่า ในสมัยนั้นภิกษุนั้นย่อมคิด เพื่อเบียดเบียนตน เพื่อเบียดเบียนผู้อื่น หรือเพื่อเบียดเบียนทั้งสองฝ่าย บ้างหรือ?

ไม่เป็นเช่นนั้น พระพุทธเจ้าข้า

       ดูกรชีวก สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่าฉันอาหารอันไม่มีโทษมิใช่หรือ?
อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้าได้สดับมาว่า พรหม มีปกติอยู่ด้วยอุเบกขา คำนั้นเป็นแต่ข้าพระพุทธเจ้าได้สดับมา คำนี้พระผู้มีพระภาค เป็นองค์พยานปรากฎแล้ว ด้วยว่า พระผู้มีพระภาค ทรงมีปกติอยู่ด้วยอุเบกขา

      ดูกรชีวก บุคคลพึงมีความเบียดเบียน มีความไม่ยินดี มีความกระทบกระทั่ง เพราะราคะโทสะ โมหะใด ราคะ โทสะ โมหะนั้น ตถาคตละแล้วมีมูลอันขาดแล้ว เป็นดุจตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดต่อไป เป็นธรรมดา ดูกรชีวก ถ้าแล ท่านกล่าวหมายเอาการละราคะโทสะ โมหะ เป็นต้นนี้ เราอนุญาตการกล่าวเช่นนั้น แก่ท่าน

      ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้ากล่าวหมาย เอาการละราคะ โทสะ โมหะ เป็นต้นนี้

(17)
ทำบุญได้บาปด้วยเหตุ ๕ ประการ

 ผู้ใดฆ่าสัตว์เจาะจงตถาคต หรือสาวกตถาคต (ฆ่าเพื่อทำอาหารถวายพระ)
 ผู้นั้นย่อมประสพบาป มิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วยเหตุ ๕ ประการ
คือ
 1. ผู้นั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายจงไปนำสัตว์ชื่อโน้นมา
 2. สัตว์นั้นเมื่อถูกเขาผูกคอนำมา ได้เสวยทุกข์ โทมนัส
 3. ผู้นั้นพูดอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายจงไปฆ่าสัตว์
 4. สัตว์นั้นเมื่อกำลังเขาฆ่าย่อมเสวยทุกข์ โทมนัส
 5. ผู้นั้นย่อมยังตถาคตและสาวกตถาคต ให้ยินดีด้วยเนื้อเป็น อกัปปิยะ

           [๖๐] ดูกรชีวก ผู้ใดฆ่าสัตว์เจาะจง ตถาคต หรือสาวกตถาคต ผู้นั้นย่อม ประสพบาป มิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วยเหตุ ๕ ประการ คือ ผู้นั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายจงไปนำสัตว์ชื่อโน้นมา ดังนี้ ชื่อว่าย่อมประสพบาป มิใช่บุญ เป็นอันมาก ด้วยเหตุประการที่ ๑ นี้ สัตว์นั้นเมื่อถูกเขาผูกคอนำมา ได้เสวยทุกข์ โทมนัส ชื่อว่า ย่อมประสพบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วยเหตุประการที่ ๒ นี้ ผู้นั้นพูดอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายจงไปฆ่าสัตว์นี้ ชื่อว่าย่อมประสพบาป มิใช่บุญ เป็นอันมาก ด้วยเหตุประการที่ ๓ นี้ สัตว์นั้นเมื่อกำลังเขาฆ่าย่อมเสวยทุกข์ โทมนัส ชื่อว่าย่อมประสพบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก

      ด้วยเหตุประการที่ ๔ นี้ ผู้นั้นย่อมยังตถาคตและสาวกตถาคต ให้ยินดีด้วยเนื้อ เป็น อกัปปิยะ ชื่อว่าย่อมประสพบาป มิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วยเหตุประการที่ ๕ นี้ ดูกรชีวก ผู้ใดฆ่าสัตว์เจาะจงตถาคต หรือสาวกของตถาคต ผู้นั้นย่อมประสพบาป มิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วยเหตุ ๕ ประการนี้

           [๖๑] เมื่อพระผู้มีพระภาค ตรัสอย่างนี้แล้ว ชีวกโกมารภัจจ์ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญไม่เคยมี ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญภิกษุทั้งหลาย ย่อมฉันอาหารอันไม่มีโทษหนอ

       ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำเปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืด ด้วยคิดว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูปฉันใด พระผู้มีพระภาค ทรงประกาศพระธรรมโดยอเนกปริยาย ฉันนั้นเหมือนกัน

     ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ ขอถึงพระผู้มีพระภาค พระธรรม และ พระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาค ทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปดังนี้แล

จบ ชีวกสูตร ที่ ๕

---------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๗๐

ชีวกสูตร

(18)
ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรหนอ บุคคลชื่อว่าเป็นอุบาสก

           [๑๑๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ สวนมะม่วงของหมอชีวก ใกล้พระนครราชฤห์ ครั้งนั้น หมอชีวกโกมารภัจจ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรหนอ บุคคลชื่อว่าเป็นอุบาสก พระผู้มีพระภาคตรัสว่าดูกรชีวก เมื่อใดแลบุคคลถึง พระพุทธเจ้า ถึงพระธรรม ถึงพระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้ แลชื่อว่าเป็นอุบาสก

      ช. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร อุบาสกชื่อว่าเป็นผู้มีศีล

      พ. ดูกรชีวก เมื่อใดแล อุบาสกงดเว้นจากปาณาบิบาต ฯลฯ งดเว้นจากการ ดื่มน้ำเมาคือ สุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้ แล อุบาสกชื่อว่าเป็นผู้มีศีล
(เว้นขาดศ๊ล ๕)

      ช. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร อุบาสกชื่อว่าปฏิบัติ เพื่อประโยชน์ตน ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น

      พ. ดูกรชีวก เมื่อใดแล อุบาสก ถึงพร้อมด้วยศรัทธาด้วยตนเอง แต่ไม่ชักชวน ผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ฯลฯ ตนเองเป็นผู้รู้ทั่วถึงอรรถรู้ทั่วถึงธรรม แล้วปฏิบัติ ธรรม สมควรแก่ธรรม แต่ไม่ชักชวนผู้อื่น ในการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ด้วยเหตุ มีประมาณเท่านี้แล อุบาสกชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ไม่ปฏิบัติ เพื่อประโยชน์ผู้อื่น

(19)
อุบาสกชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติ เพื่อประโยชน์ตนเองและเพื่อประโยชน์ผู้อื่น

      ช. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร อุบาสกชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติ เพื่อประโยชน์ตนและเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ฯ

      พ. ดูกรชีวก เมื่อใดแลอุบาสก
๑) เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธาด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นให้
ถึงพร้อมด้วยศรัทธา
๒) ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อม ด้วยศีล และชักชวนผู้อื่นให้
ถึงพร้อมด้วยศีล
๓) ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะ และชักชวนผู้อื่นให้
ถึงพร้อมด้วยจาคะ
๔) ตนเองเป็นผู้ใคร่เพื่อเห็นภิกษุ และ
ชักชวนผู้อื่นในการเห็นภิกษุ
๕) ตนเองเป็นผู้ใคร่เพื่อฟังสัทธรรม และ
ชักชวนผู้อื่นในการฟังสัทธรรม
๖) ตนเองเป็นผู้ทรงจำธรรมที่ตนเองฟังแล้ว และ
ชักชวนผู้อื่นเพื่อการทรงจำธรรม
๗) ตนเองเป็นผู้พิจารณาอรรถแห่งธรรมที่ตนฟังแล้วและ ชักชวนผู้อื่นในการพิจารณา..
๘) ตนเองรู้ทั่วถึงอรรถ ผู้ทั่วถึงธรรมแล้วปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรมและ
ชักชวนผู้อื่น ในการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม

      ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล อุบาสกชื่อว่า เป็นผู้ปฏิบัติ เพื่อประโยชน์ตน และเพื่อประโยชน์ผู้อื่น



พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๔ วินัยปิฎก มหาวรรค ภาค ๑ หน้าที่ ๑๑๗

(20)
มคธชนบทเกิดโรคระบาดขึ้น ๕ ชนิด

อันตรายิกธรรม โรค ๕ ชนิด

           [๑๐๑] ก็โดยสมัยนั้นแล ในมคธชนบทเกิดโรคระบาดขึ้น ๕ ชนิด คือ
๑) โรคเรื้อน
๒) โรคฝี
๓) โรคกลาก
๔) โรคมองคร่อ
๕) โรคลมบ้าหมู


      ประชาชนอันโรค ๕ ชนิดกระทบเข้าแล้วได้เข้าไปหาหมอชีวกโกมารภัจจ์ แล้ว กล่าวอย่างนี้ว่า ขอโอกาส ท่านอาจารย์ ขอท่านกรุณาช่วยรักษาพวกข้าพเจ้าด้วย

      ชี. เจ้าทั้งหลาย ฉันน่ะ มีกิจมาก มีงานที่ต้องทำมาก ฉันต้องถวายอภิบาล พระเจ้าพิมพิสาร จอมเสนามาคธราช ทั้งพวกฝ่ายใน และพระสงฆ์มีพระพุทธเจ้า เป็นประมุข ฉันไม่สามารถจะช่วยรักษาได้

      ป. ท่านอาจารย์ ทรัพย์สมบัติทั้งหมดยกให้ท่าน และพวกข้าพเจ้ายอมเป็นทาส ของท่านขอโอกาส ท่านอาจารย์ ขอท่านกรุณาช่วยรักษาพวกข้าพเจ้าด้วย

      ชี. เจ้าทั้งหลาย ฉันน่ะ มีกิจมาก มีงานที่ต้องทำมาก ฉันต้องถวายอภิบาล พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช ทั้งพวกฝ่ายใน และพระสงฆ์มีพระพุทธเจ้า เป็นประมุข ฉันไม่สามารถจะช่วยรักษาได้

      จึงประชาชนพวกนั้นได้คิดว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร เหล่านี้แล มีปกติเป็นสุขมีความประพฤติสบาย ฉันอาหารที่ดี นอนในห้องนอนอันมิดชิด ถ้ากระไร พวกเราพึงบวชในสำนักพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร ในที่นั้น ภิกษุทั้งหลายจักพยาบาล และหมอชีวกโกมารภัจจ์จักรักษา.

       ต่อมา พวกเขาพากันเข้าไปหาภิกษุทั้งหลายแล้วขอบรรพชา. ภิกษุทั้งหลาย ให้พวกเขาบรรพชาอุปสมบท แล้วต้องพยาบาล และหมอชีวกโกมารภัจจ์ ต้องรักษา พวกเขา

      สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายพยาบาล ภิกษุอาพาธมากรูป ย่อมเป็นผู้มากด้วยการ ขอร้องมากด้วยการขออยู่ว่า ขอจงให้อาหารสำหรับภิกษุอาพาธ ขอจงให้อาหาร สำหรับภิกษุผู้พยาบาลภิกษุอาพาธ ขอจงให้เภสัชสำหรับภิกษุผู้อาพาธ.

       แม้หมอชีวกโกมารภัจจ์มัวรักษาภิกษุอาพาธมากรูป ได้ปฏิบัติราชการ บางอย่าง บกพร่อง. บุรุษแม้คนหนึ่ง ถูกโรค ๕ ชนิดกระทบเข้าแล้วก็เข้าไปหาหมอชีวก โกมารภัจจ์ แล้วกราบเรียนว่า ขอโอกาส ท่านอาจารย์ ขอท่านกรุณาช่วยรักษา กระผมด้วย

      ชี. เจ้า ข้าน่ะ มีกิจมาก มีงานที่ต้องทำมาก ต้องถวายอภิบาล พระเจ้าพิมพิสาร จอมเสนามาคธราช ทั้งพวกฝ่ายใน และพระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ข้าไม่สามารถจะช่วยรักษาได้

      บุรุษ. ท่านอาจารย์ ทรัพย์สมบัติทั้งหมดยกให้ท่าน และกระผมยอมเป็นทาส ของท่านขอโอกาส ท่านอาจารย์ ขอท่านกรุณาช่วยรักษากระผมด้วย

      ชี. เจ้า ข้าน่ะ มีกิจมาก มีงานที่ต้องทำมาก ต้องถวายอภิบาลพระเจ้าพิมพิสาร จอมเสนามาคธราช ทั้งพวกฝ่ายใน และพระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ข้าไม่สามารถจะช่วยรักษาได้

      จึงบุรุษนั้นได้คิดว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้แล มีปกติเป็นสุข มีความประพฤติสบาย ฉันอาหารที่ดี นอนในห้องนอนอันมิดชิด ถ้ากระไร เราพึงบวช ในสำนักพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร ในที่นั้น ภิกษุทั้งหลายจักพยาบาล และ หมอชีวกโกมารภัจจ์จักรักษา เราหายโรคแล้วจักสึก จึงบุรุษนั้นเข้าไปหา ภิกษุทั้งหลาย แล้วขอบรรพชา.

       ภิกษุทั้งหลายให้บุรุษนั้นบรรพชาอุปสมบทแล้วต้องพยาบาล และหมอชีวก โกมารภัจจ์ ต้องรักษาภิกษุนั้น. ภิกษุนั้นหายโรคแล้วสึก

      หมอชีวกโกมารภัจจ์ได้เห็นบุรุษนั้นสึกแล้ว จึงได้ไต่ถามบุรุษนั้นว่า เจ้าบวช ในสำนักภิกษุมิใช่หรือ?
      บุรุษ ใช่แล้วขอรับ ท่านอาจารย์.

      ชี. เจ้าได้ทำพฤติการณ์เช่นนั้น เพื่อประสงค์อะไร?
      จึงบุรุษนั้น ได้เรียนเรื่องนั้นให้หมอชีวกโกมารภัจจ์ทราบ.

      หมอชีวกโกมารภัจจ์ จึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระคุณเจ้า ทั้งหลาย จึงได้ให้กุลบุตรผู้ถูกโรค ๕ ชนิดกระทบเข้าแล้วบวชเล่า.

       ครั้นแล้วเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลขอประทานพร ต่อพระผู้มีพระภาคว่า ข้าพระพุทธเจ้า ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายไม่พึงยังกุลบุตรผู้ถูกโรค ๕ ชนิดกระทบเข้าแล้ว ให้บวช

      ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค ทรงชี้แจงให้หมอชีวกโกมารภัจจ์ เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญร่าเริง ด้วยธรรมีกถา. ครั้นหมอชีวกโกมารภัจจ์ อันพระผู้มีพระภาค ทรงชี้แจงให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้วลุกจากที่นั่ง ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคทำประทักษิณแล้วกลับไป

(21)
ทรงห้ามบวชคนเป็นโรคติดต่อ ๕ ชนิด

      ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้ถูกโรค ๕ ชนิด กระทบเข้าแล้ว ภิกษุไม่พึงให้บวช รูปใดให้บวช ต้องอาบัติทุกกฏ


โรค ๕ ชนิด
โรคเรื้อน ๑ โรคฝี ๑ โรคกลาก ๑ โรคมองคร่อ ๑ โรคลมบ้าหมู ๑

   



หนังสือพุทธวจน ออนไลน์
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์