เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
พระอุทายี
ค้นหาคำที่ต้องการ    

  ผู้มีบทบาทสำคัญในพุทธศาสนา    
1 พระโมคคัลลานะ (อัครสาวกเบื้องซ้าย) 8 พระอุบาลี (ยอดเยี่ยมด้านผู้ทรงวินัย) 15 ภารทวาชะ (ผู้ยอดเยี่ยมด้านบันลือสีหนาท)
2 พระเทวทัต (ปลงพระชนม์พระพุทธเจ้า) 9 อนาถบิณฑิกคหบดี (ผู้สร้างวิหารเชตวัน) 16 วักกลิ (ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นย่อมเห็นตถาคต)
3 นิครนถ์ (โต้วาทะกับพระพุทธเจ้า) 10 พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี (ภิกษุณีรูปแรก) 17 คามณี (แปลว่านายบ้าน หรือผู้ใหญ่บ้าน)
4 พระมหากัปปินะ (นั่งคู้บังลังค์ ตั้งกายตรง) 11 พระราหุล (เอตทัคคะผู้ใคร่ต่อการศึกษา) 18 พระมหากัจจานะ (ผู้จำแนกอรรถแห่งภาษิต)
5 พระสารีบุตร (อัครสาวกเบื้องขวา) 12 หมอชีวกโกมารภัจจ์ (แพทย์พระพุทธเจ้า) 19 อัคคิเวสนะ (ชื่อตระกูลปริพาชก)
6 พระมหากัสสป (ผู้ทรงธุดงค์ อยู่ป่าเป็นวัตร) 13 ราธะ (ตรัสสอนเรื่อง"สัตว์" กับราธะ) 20 สุสิมะปริพาชก (คิดว่าผู้หลุดพ้นคือผู้มีฤทธิ์)
7 พระอนุรุทธะ (พระอรหันต์ผู้มีทิพย์จักษุ) 14 เอตทัคคะ (ผู้ยอดเยี่ยมด้านต่างๆ 74 ท่าน) 21 พระอุทายี (มีความเห็นแย้งกับพระสารีบุตร)
         
 รวมพระสูตร เรื่องพระอุทายี
101
              ออกไปหน้าหลัก 1 of 5
จากพระไตรปิฎก ที่เป็นคำสอนจากพระโอษฐ์ (ไม่รวมอรรถกถา)
  บัญญัติพระวินัย
1 เรื่องพระอุทายี ขอเสพเมถุนกับหญิงหม้าย
2 ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติสิกขาบท
3 พระบัญญัติ
4 ความหมายของคำว่า สังฆาทิเสส
5 เรื่องพระอุทายี กับนางวิสาขามิคารมาตา (อุทายีนั่งในที่ลับกับสตรี) สิกขาบทที่ ๑
6 พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรง ติเตียน
7 อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ
8 พระบัญญัติ
9 เรื่องพระอุทายี กับนางวิสาขา มิคารมาตา (อุทายีนั่งในที่ลับกับสตรี) สิกขาบทที่ ๒
10 พระผู้มีพระภาคทรงติเตียน
11 พระบัญญัติ
 
 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑ วินัยปิฎก มหาวิภังค์ ภาค ๑ หน้า 546

(1)
สังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๔
เรื่องพระอุทายี
ขอเสพเมถุนกับหญิงหม้าย


           [๔๑๔] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ อนาถบัณฑิกะคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระอุทายีเป็น พระกุลุปกะ ในพระนครสาวัตถีเข้าไปสู่สกุลเป็นอันมาก

ครั้งนั้น มีสตรีหม้ายผู้หนึ่ง รูปงาม น่าดู น่าชม ครั้นเวลาเช้า ท่านพระอุทายี ครองอันตรวาสกแล้ว ถือบาตรและจีวรเดินไปทางเรือนของสตรีหม้ายนั้น

ครั้นแล้วนั่งเหนืออาสนะที่เขาจัดถวาย จึงสตรีหม้ายนั้นเข้าไปหาท่านพระอุทายี กราบแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งท่านพระอุทายีได้ยังสตรีหม้ายนั้น ให้เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถา

ครั้นแล้วสตรีหม้ายนั้นได้กล่าวปวารณาท่านพระอุทายีว่า โปรดบอกเถิด เจ้าข้า ต้องการสิ่งใดซึ่งดิฉันสามารถจัดหาถวายพระคุณเจ้าได้ คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ เภสัชบริขารอันเป็นปัจจัยของภิกษุไข้

พระอุทายีขอร้องว่า น้องหญิง ปัจจัยเหล่านั้น ไม่เป็นของหาได้ยากสำหรับฉัน ขอจงให้ของที่หาได้ยากสำหรับฉันเถิด

สตรีหม้ายถามว่า ของอะไร เจ้าขา
อุ. เมถุนธรรม จ้ะ
ส. พระคุณเจ้าต้องการหรือ เจ้าคะ
อุ. ต้องการ จ้ะ

สตรีหม้ายนั้นกล่าวว่า นิมนต์มาเถิด เจ้าค่ะ แล้วเดินเข้าห้อง เลิกผ้าสาฎกนอนหงาย บนเตียง

ทันใดนั้น ท่านพระอุทายีตามเข้าไปหานางถึงเตียง ครั้นแล้วถ่มเขฬะรด พูดว่า ใครจักถูกต้องหญิงถ่อย มีกลิ่นเหม็น นี้ได้ ดังนี้แล้วหลีกไป

จึงสตรีหม้ายนั้นเพ่งโทษว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้ เป็นผู้ไม่ละอาย ทุศีลพูดเท็จ พระสมณะเหล่านี้ยังจักปฏิญาณว่า เป็นผู้ประพฤติธรรม ประพฤติเรียบร้อย ประพฤติพรหมจรรย์ พูดจริงมีศีล มีกัลยาณธรรมดังนี้เล่า ติเตียนว่า
ความเป็นสมณะของพระสมณะเหล่านี้ไม่มี ความเป็นพราหมณ์ของพระสมณะเหล่านี้ไม่มี ความเป็นสมณะของพระสมณะเหล่านี้พินาศแล้ว ความเป็นพราหมณ์ของพระสมณะเหล่านี้พินาศแล้ว ความเป็นสมณะของพระสมณะเหล่านี้ จะมีแต่ไหน ความเป็นพราหมณ์ของพระสมณะเหล่านี้ จะมีแต่ไหน และโพนทะนาว่าพระสมณะเหล่านี้ ขาดจากความเป็นสมณะแล้ว พระสมณะเหล่านี้ขาดจากความเป็นพราหมณ์แล้ว

ไฉนพระสมณะอุทายีจึงได้ขอเมถุนธรรมต่อเราด้วยตนเอง แล้วถ่มเขฬะรดพูดว่า ใครจักถูกต้องหญิงถ่อยมีกลิ่นเหม็นนี้ได้ ดังนี้แล้วหลีกไป เรามีอะไรชั่วช้า เรามีอะไร ที่มีกลิ่นเหม็นเราเลวกว่าหญิงคนไหนอย่างไร ดังนี้

แม้สตรีเหล่าอื่นก็เพ่งโทษว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้ เป็นผู้ไม่ละอาย ทุศีล พูดเท็จ พระสมณะเหล่านี้ ยังจักปฏิญาณว่า เป็นผู้ประพฤติธรรม ประพฤติ เรียบร้อยประพฤติพรหมจรรย์ พูดจริง มีศีล มีกัลยาณธรรมดังนี้เล่า ติเตียนว่า

ความเป็นสมณะ ของพระสมณะเหล่านี้ไม่มี
ความเป็นพราหมณ์ของพระสมณะเหล่านี้ไม่มี
ความเป็นสมณะของพระสมณะเหล่านี้ พินาศแล้ว
ความเป็นพราหมณ์ของพระสมณะเหล่านี้ พินาศแล้ว
ความเป็นสมณะของพระสมณะเหล่านี้ จะมีแต่ไหน
ความเป็นพราหมณ์ของพระสมณะเหล่านี้ จะมีแต่ไหน และโพนทะนาว่า
พระสมณะเหล่านี้ขาดจากความเป็นพระสมณะแล้ว
พระสมณะเหล่านี้ ขาดจากความเป็นพราหมณ์แล้ว ไฉน

พระอุทายีจึงได้ขอเมถุนธรรมต่อสตรีนี้ด้วยตนเอง แล้วจึงถ่มเขฬะรดพูดว่า ใครจักถูก ต้องหญิงถ่อยมีกลิ่นเหม็นนี้ได้ดังนี้ แล้วหลีกไป นางคนนี้มีอะไรชั่วช้า นางคนนี้มีอะไร ที่มีกลิ่นเหม็น นางคนนี้เลวกว่าสตรีคนไหน อย่างไร ดังนี้

ภิกษุทั้งหลายได้ยินสตรีพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้ มักน้อยสันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนท่านพระอุทายีจึงได้กล่าวคุณแห่งการบำเรอตนด้วยกาม ในสำนัก มาตุคามเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค



(2)
ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติสิกขาบท

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค รับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามท่านพระอุทายีว่า

ดูกรอุทายี
ข่าวว่า เธอกล่าวคุณแห่งการบำเรอตนด้วยกาม ในสำนักมาตุคาม จริงหรือ?


ท่านพระอุทายีทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า

ดูกรโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่น ไม่เหมาะไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนเธอจึงได้กล่าวคุณแห่งการบำเรอตนด้วยกาม ในสำนัก มาตุคามเล่า

ดูกรโมฆบุรุษ ธรรมอันเราแสดงแล้วโดยอเนกปริยาย เพื่อคลายความกำหนัด ไม่ใช่เพื่อมีความกำหนัด เพื่อความพราก ไม่ใช่เพื่อความประกอบ เพื่อความ ไม่ถือมั่น ไม่ใช่เพื่อมีความถือมั่น มิใช่หรือ เมื่อธรรมชื่อนั้น อันเราแสดงแล้ว เพื่อคลายความกำหนัด เธอยังจักคิดเพื่อมีความกำหนัด เราแสดงเพื่อความพราก เธอยังจักคิดเพื่อความประกอบ เราแสดงเพื่อความไม่ถือมั่น เธอยังจักคิด เพื่อมีความถือมั่น

ดูกรโมฆบุรุษ ธรรมอันเราแสดงแล้วโดยอเนกปริยาย เพื่อเป็นที่สำรอกแห่งราคะ เพื่อเป็นที่สร่างแห่งความเมา เพื่อเป็นที่ดับสูญแห่งความระหาย เพื่อเป็นที่หลุดถอน แห่งอาลัย เพื่อเป็นที่เข้าไปตัดแห่งวัฏฏะ เพื่อเป็นที่สิ้นแห่งตัณหา เพื่อคลายความ กำหนัด เพื่อความดับทุกข์เพื่อปราศจากตัณหาเครื่องร้อยรัดมิใช่หรือ

ดูกรโมฆบุรุษ การละกาม การกำหนดรู้ความหมายในกาม การกำจัดความระหาย ในกามการเพิกถอนความตรึกอันเกี่ยวด้วยกาม การระงับความกลัดกลุ้ม เพราะกาม เราบอกไว้แล้วโดยอเนกปริยาย มิใช่หรือ

ดูกรโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชน ที่ยังไม่ เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของ เธอนั่นเป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็น อย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว

พระผู้มีพระภาคทรงติเตียนท่านพระอุทายีโดยอเนกปริยายดังนี้แล้ว ตรัสโทษแห่ง ความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่ สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อยความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียรโดยอเนกปริยาย

แล้วทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย

อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ
เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑
เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑
เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑
เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑
เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑
เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑
เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-



(3)

พระบัญญัติ
๘. ๔. อนึ่ง ภิกษุใด กำหนัดแล้ว มีจิตแปรปรวนแล้ว กล่าวคุณแห่งการบำเรอกาม ของตนในสำนักมาตุคาม ด้วยถ้อยคำพาดพิงเมถุนว่า น้องหญิง สตรีใด บำเรอผู้ ประพฤติพรหมจรรย์ มีศีล มีกัลยาณธรรม เช่นเรา ด้วยธรรมนั่น นั่นเป็นยอดแห่ง ความบำเรอทั้งหลาย เป็นสังฆาทิเสส*

เรื่องพระอุทายี จบ



(4)

ความหมายของคำว่า สังฆาทิเสส

* สังฆาทิเสส คือประเภทของโทษที่เกิดจากการล่วงละเมิดสิกขาบทประเภท ครุกาบัติที่เรียกว่า อาบัติสังฆาทิเสส จัดเป็นอาบัติโทษรุนแรง รองจากปาราชิก 
มีทั้งหมด 13 ประการดังนี้

1.ทำน้ำอสุจิเคลื่อน
2. แตะต้องสัมผัสกายสตรี
3.พูดเกี้ยวพาราสีสตรี
4.พูดจาให้สตรีบำเรอกามให้
5.ทำตัวเป็นพ่อสื่อ
6.สร้างกุฏิด้วยการขอ
7.มีเจ้าภาพสร้างกุฏิให้แต่ไม่ให้สงฆ์แสดงที่ก่อน
8.ใส่ความว่าปาราชิกโดยไม่มีมูล
9.แกล้งสมมติแล้วใส่ความว่าปาราชิกโดยไม่มีมูล
10.ทำสงฆ์แตกแยก(สังฆเภท)
11.เข้าข้างภิกษุที่ทำสงฆ์แตกแยก
12.ภิกษุทำตนเป็นคนหัวดื้อ
13.ระจบสอพลอคฤหัสถ์

คำว่าสังฆาทิเสสแปลว่าอาบัติที่ต้องอาศัยสงฆ์ในกรรมเบื้องต้นและกรรมที่เหลือ กล่าวคือเมื่อภิกษุต้องอาบัติดังกล่าวแล้ว ต้องแจ้งแก่สงฆ์ 4 รูปเพื่อขอประพฤติวัตร ที่ชื่อมานัต เมื่อสงฆ์อนุญาตแล้วจึงประพฤติวัตรดังกล่าวเป็นเวลา 6 คืน เมื่อพ้นแล้ว จึงขอให้สงฆ์ 20 รูปทำสังฆกรรมสวดอัพภานให้ เมื่อพระสงฆ์สวดอัพภานเสร็จสิ้น ถือว่าภิกษุรูปนั้นพ้นจากอาบัติข้อนี้

ในกรณีที่ภิกษุต้องอาบัติข้อนี้แล้วปกปิดไว้ เมื่อมาแจ้งแก่หมู่สงฆ์แล้ว ต้องอยู่ ปริวาสกรรม (รักษาศีลให้บริสุทธิ์) เท่ากับจำนวนวันที่ปกปิดไว้ก่อน เช่น ภิกษุต้อง อาบัติสังฆาทิเสส แล้วปกปิดไว้หนึ่งเดือน เมื่อแจ้งแก่สงฆ์แล้วต้องอยู่ปริวาส หนึ่งเดือน แล้วจึงขอประพฤติวัตรมานัตต่อไป


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๗๔๑


(5)
อนิยต สิกขาบทที่ ๑
เรื่องพระอุทายีกับนางวิสาขา มิคารมาตา

(อุทายีนั่งในที่ลับกับสตรี)

           [๖๓๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ อนาถ บิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นท่านพระอุทายีเป็น พระ ประจำสกุล ในพระนครสาวัตถีเข้าไปหาสกุลเป็นอันมาก สมัยนั้น สาวน้อยแห่งสกุล อุปัฏฐาก ของท่านพระอุทายี เป็นสตรีที่ มารดาบิดายกให้แก่หนุ่มน้อยของสกุลหนึ่ง

           ครั้นเวลาเช้า ท่านพระอุทายีครองอันตรวาสกแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไป หาสกุลนั้น ครั้นแล้วจึงไต่ถามพวกชาวบ้านว่า สาวน้อยผู้มีชื่อนี้อยู่ไหน พวกชาวบ้าน ตอบอย่างนี้ ว่า พวกข้าพเจ้าได้ยกให้แก่หนุ่มน้อยของสกุลโน้นแล้ว เจ้าข้า

           แม้สกุลนั้นแล ก็เป็นอุปัฏฐากของท่านพระอุทายี จึงท่านพระอุทายีเข้าไปหา สกุลนั้น ครั้นแล้วจึงถามพวกชาวบ้านว่า สตรีผู้มีชื่อนี้ อยู่ไหน? พวกชาวบ้านตอบว่า นางนั่งอยู่ ในห้องเจ้าข้า

จึงท่านพระอุทายีเข้าไปหาสาวน้อยนั้น

           ครั้นแล้วสำเร็จการนั่งในที่ลับคือในอาสนะ กำบังซึ่งพอจะทำการ ได้กับสาวน้อย นั้น หนึ่งต่อหนึ่ง เจรจากล่าวธรรมอยู่ ควรแก่เวลา.

           [๖๓๒] ก็โดยสมัยนั้นแล นางวิสาขา มิคารมาตา เป็นสตรีมีบุตรมาก มีนัดดามาก มีบุตร ไม่มีโรค มีนัดดาไม่มีโรค ซึ่งโลกสมมติว่าเป็นมิ่งมงคล พวก ชาวบ้าน เชิญนาง ไปให้รับประทานอาหารก่อนในงานบำเพ็ญกุศล งานมงคล งานมหรสพ

           ครั้งนั้น นางวิสาขามิคารมาตา ได้ถูกเชิญไปสู่สกุลนั้น นางได้เห็นพระอุทายี นั่งใน ที่ลับ คือในอาสนะกำบัง ซึ่งพอจะทำการได้กับหญิงสาวนั้น หนึ่งต่อหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กล่าวคำนี้กะท่านพระอุทายีว่า ข้าแต่พระคุณเจ้า การที่พระคุณเจ้าสำเร็จ การนั่ง ในที่ลับ คือในอาสนะกำบัง ซึ่งพอจะทำการได้กับมาตุคาม หนึ่งต่อหนึ่งเช่นนี้ ไม่เหมาะ ไม่ควร แม้พระคุณเจ้าจะไม่ต้องการด้วยธรรมนั้นก็จริง ถึงอย่างนั้น พวกชาวบ้านผู้ที่ไม่เลื่อมใส จะบอกให้เชื่อได้โดยยาก

           ท่านพระอุทายี แม้ถูกนางวิสาขา มิคารมาตา ว่ากล่าวอยู่อย่างนี้ ก็มิได้ เชื่อฟัง เมื่อ นางวิสาขา มิคารมาตา กลับไปแล้ว ได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ ภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุ ที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างพากัน เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนท่านพระอุทายี จึงได้สำเร็จการนั่ง ในที่ลับ คือใน อาสนะกำบัง ซึ่งพอจะทำการได้กับมาตุคาม หนึ่งต่อหนึ่งเล่า แล้วกราบทูลเนื้อความ นั้นแด่พระผู้มีพระภาคประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติสิกขาบท

           ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุ เป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามท่านพระอุทายีว่า

           ดูกรอุทายี ข่าวว่า เธอสำเร็จการนั่งในที่ลับ คือในอาสนะกำบัง ซึ่งพอจะ ทำการได้กับ มาตุคาม หนึ่งต่อหนึ่ง จริงหรือ?

           ท่านพระอุทายีทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า


(6)

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรง ติเตียน

           ดูกรโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั้น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของ สมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ดูกรโมฆบุรุษ ไฉน เธอจึงได้ สำเร็จการนั่ง ในที่ลับ คือในอาสนะ กำบัง ซึ่งพอจะทำการได้กับมาตุคาม หนึ่งต่อหนึ่ง เล่า การกระทำ ของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชน ที่ยัง ไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความ เลื่อมใสยิ่ง ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้การกระทำ ของเธอนั้น เป็นไปเพื่อ ความไม่ เลื่อมใส ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็น อย่างอื่น ของชนบางพวก ที่เลื่อมใสแล้ว

           ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงติเตียนท่านพระอุทายีโดยอเนกปริยาย ดังนี้แล้ว ตรัสโทษ แห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคน ไม่สันโดษความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคน เลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่ายความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการ ที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสมการปรารภความเพียร โดยอเนกปริยายแล้ว ทรงกระทำ ธรรมีกถา ที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสม แก่เรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่ง กะภิกษุทั้งหลายว่า

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย


(7)

อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ
เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑
เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑
เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑
เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑
เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑
เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑
เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑
เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑
เพื่อถือตามพระวินัย ๑

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

(8)

พระบัญญัติ ๑๘. ๑.
อนึ่ง ภิกษุใดรูปเดียว สำเร็จการนั่งในที่ลับ คือในอาสนะกำบัง พอจะทำการ ได้กับ มาตุคามผู้เดียว อุบาสิกามีวาจาที่เชื่อได้ เห็นภิกษุกับมาตุคาม นั้น นั่นแล้ว พูดขึ้นด้วย ธรรม ๓ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือด้วยปาราชิกก็ดี ด้วยสังฆาทิเสส ก็ดี ด้วย ปาจิตตีย์ ก็ดี ภิกษุปฏิญาณซึ่งการนั่ง พึงถูกปรับด้วย ธรรม ๓ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ ด้วยปาราชิกบ้างด้วยสังฆาทิเสสบ้าง ด้วยปาจิตตีย์บ้าง อีกอย่างหนึ่ง อุบาสิกามีวาจาที่เชื่อได้นั้น กล่าวด้วยธรรมใด ภิกษุนั้นพึงถูกปรับด้วย ธรรมนั้น ธรรมนี้ ชื่อ อนิยต.


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๗๔๘


(9)

อนิยต สิกขาบทที่ ๒
เรื่องพระอุทายี กับนางวิสาขา มิคารมาตา

           [๖๔๔] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอานาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสารวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระอุทายีดำริว่า พระผู้มีพระภาคทรงห้ามการสำเร็จการนั่งในที่ลับ คือในอาสนะกำบัง พอจะการทำได้ กับมาตุคามหนึ่งต่อหนึ่ง จึงสำเร็จการนั่งในที่ลับ กับสาวน้อยคนนั้นแล หนึ่งต่อหนึ่ง เจรจากล่าวธรรมอยู่ ควรแก่เวลา

           แม้ครั้งที่สองแล นางวิสาขา มิคารมาตา ก็ได้ถูกเชิญไปสู่สกุลนั้น นางได้เห็นท่าน พระอุทายีนั่งในที่ลับ กับสาวน้อยนั้นแล หนึ่งต่อหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กล่าวคำนี้ กะท่าน พระอุทายีว่า ข้าแต่พระคุณเจ้า การที่พระคุณเจ้านั่งในที่ลับ กับมาตุคาม หนึ่งต่อหนึ่ง เช่นนี้ ไม่เหมาะไม่ควร พระคุณเจ้าแม้ไม่ต้องการ ด้วยธรรมนั้นก็จริง ถึงอย่างนั้น พวกชาวบ้านผู้ที่ไม่เลื่อมใสจะบอกให้เชื่อได้โดยยาก

ท่านพระอุทายี แม้ถูกนางวิสาขา มิคารมาตา ว่ากล่าวอยู่อย่างนี้ ก็มิได้เชื่อฟัง

เมื่อนางวิสาขา มิคารมาตากลับไปแล้ว ได้แจ้งนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย

           บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อ สิกขา ต่างก็พากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนท่านพระอุทายี จึงได้สำเร็จ การนั่ง ในที่ลับกับมาตุคาม หนึ่งต่อหนึ่งเล่า แล้วกราบทูลเนื้อความนั้น แด่พระผู้มีพระภาค ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติสิกขาบท

           ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูล นั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามท่านพระอุทายีว่า ดูกรอุทายี ข่าวว่า เธอสำเร็จการนั่งในที่ลับกับมาตุคาม หนึ่งต่อหนึ่ง จริงหรือ?

           ท่านพระอุทายีทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า


(10)

พระผู้มีพระภาคทรงติเตียน

           ดูกรโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่น ไม่เหมาะไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจ ของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ

           ดูกรโมฆบุรุษ ไฉน เธอจึงได้สำเร็จการนั่งในที่ลับกับมาตุคาม หนึ่งต่อหนึ่ง เล่า การกระทำ ของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใส ของชุมชนที่ยัง ไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่ง ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำ ของเธอนั่น เป็นไปเพื่อความ ไม่เลื่อมใส ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความ เป็นอย่างอื่น ของชน บางพวก ที่เลื่อมใสแล้ว

           ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงติเตียนท่านพระอุทายีโดยอเนกปริยาย ดังนี้แล้ว ตรัสโทษ แห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคน ไม่สันโดษความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคน เลี้ยงง่าย ความ เป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่า เลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยเอนกปริยาย แล้วทรงกระทำ ธรรมีกถา ที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะแก่เรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุ ทั้งหลายว่า

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบท แก่ภิกษุทั้งหลาย

อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ

เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑
เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑
เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑
เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑
เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑
เพื่อกำจัดอวัยวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑
เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑
เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑
เพื่อความตั้งมั่นแห่งสัทธรรม ๑
เพื่อถือตามพระวินัย ๑

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-


(11)

พระบัญญัติ ๑๙. ๒.
อนึ่ง สถานหาเป็นอาสนะกำบังไม่เลยทีเดียว หาเป็นที่พอจะทำการได้ไม่ แต่เป็นที่พอ จะพูดเคาะมาตุคาม ด้วยวาจาชั่วหยาบได้อยู่ แล ภิกษุใดรูปเดียว สำเร็จการนั่งใน ที่ลับ กับด้วยมาตุคามผู้เดียว ในอาสนะมีรูปอย่างนั้น อุบาสิกามีวาจา ที่เชื่อได้เห็น ภิกษุ กับ มาตุคามนั้นนั่นแล้ว พูดขึ้นด้วยธรรม ๒ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือด้วย สังฆาทิเสส ก็ดี ด้วยปาจิตตีย์ก็ดี ภิกษุปฏิญาณซึ่งการนั่ง พึงถูกปรับด้วย ธรรม ๒ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือด้วย สังฆาทิเสสบ้าง ด้วย ปาจิตตีย์บ้าง อีกอย่างหนึ่ง อุบาสิกา มีวาจาที่เชื่อได้นั้นกล่าวด้วยธรรมใด ภิกษุนั้นพึงถูกปรับด้วย ธรรมนั้น แม้ธรรมนี้ก็ชื่อ อนิยต.

เรื่องพระอุทายี กับนางวิสาขา จบ.

 
   



หนังสือพุทธวจน ออนไลน์
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์