เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
พระอุทายี
ค้นหาคำที่ต้องการ    

  ผู้มีบทบาทสำคัญในพุทธศาสนา    
1 พระโมคคัลลานะ (อัครสาวกเบื้องซ้าย) 8 พระอุบาลี (ยอดเยี่ยมด้านผู้ทรงวินัย) 15 ภารทวาชะ (ผู้ยอดเยี่ยมด้านบันลือสีหนาท)
2 พระเทวทัต (ปลงพระชนม์พระพุทธเจ้า) 9 อนาถบิณฑิกคหบดี (ผู้สร้างวิหารเชตวัน) 16 วักกลิ (ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นย่อมเห็นตถาคต)
3 นิครนถ์ (โต้วาทะกับพระพุทธเจ้า) 10 พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี (ภิกษุณีรูปแรก) 17 คามณี (แปลว่านายบ้าน หรือผู้ใหญ่บ้าน)
4 พระมหากัปปินะ (นั่งคู้บังลังค์ ตั้งกายตรง) 11 พระราหุล (เอตทัคคะผู้ใคร่ต่อการศึกษา) 18 พระมหากัจจานะ (ผู้จำแนกอรรถแห่งภาษิต)
5 พระสารีบุตร (อัครสาวกเบื้องขวา) 12 หมอชีวกโกมารภัจจ์ (แพทย์พระพุทธเจ้า) 19 อัคคิเวสนะ (ชื่อตระกูลปริพาชก)
6 พระมหากัสสป (ผู้ทรงธุดงค์ อยู่ป่าเป็นวัตร) 13 ราธะ (ตรัสสอนเรื่อง"สัตว์" กับราธะ) 20 สุสิมะปริพาชก (คิดว่าผู้หลุดพ้นคือผู้มีฤทธิ์)
7 พระอนุรุทธะ (พระอรหันต์ผู้มีทิพย์จักษุ) 14 เอตทัคคะ (ผู้ยอดเยี่ยมด้านต่างๆ 74 ท่าน) 21 พระอุทายี (มีความเห็นแย้งกับพระสารีบุตร)
         
  รวมพระสูตร เรื่องพระอุทายี 103
               ออกไปหน้าหลัก 3 of 5
จากพระไตรปิฎก ที่เป็นคำสอนจากพระโอษฐ์ (ไม่รวมอรรถกถา)
1 นิโรธสูตร เรื่องสัญญาเวทยิตนิโรธ
2 เข้าถึงสัญญาเวทยิตแต่ยังไม่บรรลุ หลังทำกาละย่อมไปเกิดเป็นเทพผู้มีกวฬิงการาหาร เป็นอาหาร
3 อุทายีเห็นแย้ง ว่าไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส
4 พากันเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค
5 ทรงถามอุทายีว่าไปเกิดเป็นเทพเหล่าไหน อุทายีตอบชั้นอรูป..ไฉนเธอผู้เป็นพาล
6 ธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ..ของเพื่อนพรหมจรรย์
7 นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง(พระสารีบุตร กล่าวกับอุทายี)
8 อุทายีเห็นแย้งพระสารีบุตรว่า นิพพานไม่มีเวทนาจะเป็นสุขได้อย่างไร
9 นิพพานเป็นสุขอย่างไร ท่านจะพึงทราบได้โดย ปริยายแม้นี้
10 กามเหสสูตรที่ ๑ (กายสักขีบุคคล)
 


(1)
ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๗๓ (P1081)

๖. นิโรธสูตร

คลิป

             [๑๖๖] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตร ได้กล่าวว่า

(2)
(ผู้เข้าถึงสัญญาเวทยิตแต่ยังไม่บรรลุ หลังทำกาละย่อมไปเกิดเป็นเทพ ผู้มีกวฬิงการาหารเป็นอาหาร)

       ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วย สมาธิ ถึงพร้อมด้วยปัญญา พึงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง พึงออกจากสัญญาเวทยิต นิโรธบ้าง ข้อนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้ ถ้าเธอไม่พึงบรรลุอรหัตผลในปัจจุบันไซร้ เธอก็ ก้าวล่วง(พ้นจาก) ความเป็นสหายเหล่าเทพผู้มีกวฬิงการาหารเป็นภักษา(เทพกามภพ) เข้าถึงเหล่าเทพ ผู้มีฤทธิ์ทางใจบางเหล่า พึงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง พึงออกจาก สัญญาเวทยิตนิโรธ บ้าง ข้อนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้

(3)
(อุทายีเห็นแย้ง ว่าไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส)

เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระอุทายี ได้กล่าว กะท่านพระสารีบุตรว่า

       ดูกรท่านพระสารีบุตร ข้อที่ภิกษุก้าวล่วงความเป็นสหายเหล่าเทพ ผู้มี กวฬิงการาหาร เป็นภักษา เข้าถึงเหล่าเทพผู้มีฤทธิ์ทางใจบางเหล่า พึงเข้า สัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง พึงออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง นั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส ข้อนั้นไม่เป็นฐานะ ที่จะมีได้ แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓

       ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลายภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา พึงเข้า สัญญาเวทยิต นิโรธบ้างพึงออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ ถ้าเธอไม่พึง บรรลุ อรหัตผลในปัจจุบันไซร้ เธอก็ก้าวล่วงความเป็นสหายเหล่า เทพผู้มีกวฬิงการาหารเป็นภักษา เข้าถึงเหล่าเทพผู้มีฤทธิ์ทางใจบางเหล่าพึงเข้า สัญญาเวทยิตนิโรธบ้างพึงออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ม้ครั้งที่๓

        ท่านพระอุทายีได้กล่าวกะท่านพระสารีบุตรว่า

        ดูกรท่านพระสารีบุตร ข้อที่ภิกษุก้าวล่วงความเป็นสหายเหล่าเทพ ผู้มี กวฬิงการาหาร เป็นภักษา เข้าถึงเหล่าเทพผู้มีฤทธิ์ทางใจบางเหล่า พึงเข้าสัญญา เวทยิตนิโรธบ้าง พึงออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง นั่นมิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส ข้อนั้นไม่เป็นฐานะ ที่จะมีได้

        ครั้งนั้นท่านพระสารีบุตรได้คิดว่า ท่านพระอุทายีคันค้านเราถึง ๓ ครั้ง และภิกษุ บางรูป ก็ไม่อนุโมทนา (ภาษิต) เรา ผิฉะนั้น เราพึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ

         ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

(4)
พากันเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค

         ครั้นแล้วได้กล่าวกะภิกษุทั้งหลายว่า

        ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ถึงพร้อม ด้วยปัญญา พึงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง พึงออกจากสัญญาเวทยิต นิโรธ บ้าง ข้อนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้ ถ้าเธอไม่พึงบรรลุอรหัตผลในปัจจุบันไซร้ เธอก็ก้าวล่วง (พ้นจาก) ความเป็นสหายเหล่าเทพผู้มีกวฬิงการาหารเป็นภักษา(ตั้งแต่ชั้นกามภพขึ้นไป) เข้าถึง เหล่าเทพ ผู้มีฤทธิ์ทางใจบางเหล่า พึงเข้าสัญญา เวทยิตนิโรธบ้าง พึงออกจาก สัญญาเวทยิต นิโรธบ้าง ข้อนั้นเป็นฐานะ ที่จะมีได้ เมื่อท่านพระสารีบุตร กล่าวอย่างนี้ แล้ว ท่านพระอุทายี ได้กล่าวกะท่านพระสารีบุตรว่า

        ดูกรท่านพระสารีบุตร ข้อที่ภิกษุก้าวล่วงความเป็นสหายเหล่าเทพ ผู้มี กวฬิงการาหาร เป็นภักษา เข้าถึงเหล่าเทพผู้มีฤทธิ์ทางใจบางเหล่า พึงเข้า สัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง พึงออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง นั้นมิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส ข้อนั้นไม่เป็นฐานะที่จะ มีได้ แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓

        ท่านพระอุทายี ... ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรได้คิดว่า ท่านพระอุทายีคัดค้านเรา ถึง ๓ ครั้ง แม้เฉพาะพระภักตร์แห่งพระผู้มีพระภาค และภิกษุบางรูปก็ไม่ อนุโมทนา ต่อเรา ผิฉะนั้น เราพึงนิ่งเสีย ครั้งนั้นท่านพระสารีบุตรได้นิ่งอยู่

(5)
ทรงถามอุทายีว่าไปเกิดเป็นเทพเหล่าไหน อุทายีตอบชั้นอรูป..ไฉนเธอผู้เป็น พาล

        ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระอุทายีว่าดูกรอุทายี ก็เธอย่อม หมายถึง เหล่าเทพผู้มีฤทธิ์ทางใจเหล่าไหน ท่านพระอุทายีได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์หมายถึงเหล่า เทพชั้นอรูป ที่สำเร็จด้วยสัญญา

       พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรอุทายี ไฉนเธอผู้เป็นพาล ไม่ฉลาดจึงได้กล่าว อย่างนั้น เธอเองย่อมเข้าใจคำที่เธอควรพูด ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะ ท่านพระอานนท์ว่า

       ดูกรอานนท์ ไฉนพวกเธอจักวางเฉย (ดูดาย) ภิกษุผู้เถระซึ่งถูกเบียดเบียนอยู่ เพราะว่า แม้ความการุณจักไม่มีในภิกษุผู้ฉลาดซึ่งถูกเบียดเบียนอยู่ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาค ได้ตรัส เรียกภิกษุทั้งหลายว่า

       ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้ ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ... ข้อนั้นเป็นฐานะที่จะ มีได้ พระผู้มีพระภาคผู้สุคต ครั้นตรัสดังนี้แล้ว จึงเสด็จลุกจากอาสนะเข้าไปยัง พระวิหาร ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จไปแล้วไม่นาน ท่านพระอานนท์ ได้เข้าไปหา ท่านพระอุปวาณะ แล้วกล่าวว่า

       ดูกรท่านอุปวาณะ ภิกษุเหล่าอื่นในพระศาสนานี้ ย่อมเบียดเบียนภิกษุทั้งหลาย ผู้เถระ พวกเราจะไม่ถามหาภิกษุเหล่านั้น การที่พระผู้มีพระภาค เสด็จออกจาก ที่พักผ่อน ในเวลาเย็น จักทรงปรารภเหตุนั้นยกขึ้นแสดง เหมือนดังที่จะพึงตรัสกะ ท่านอุปวาณะ โดยเฉพาะในเหตุนั้น ข้อนั้นไม่เป็นของอัศจรรย์ บัดนี้ ความน้อยใจ ได้เกิดขึ้น แก่พวกเรา ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่เร้นในเวลาเย็นแล้ว เสด็จเข้า ไปนั่ง ที่อุปัฏฐานศาลา ประทับนั่งบนอาสนะที่ได้ตบแต่งไว้ แล้วจึงตรัสถาม ท่าน พระอุปวาณะว่า

       ดูกรอุปวาณะ ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรมเท่าไรหนอแล ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพและเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์ ท่านพระอุปวาณะ ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์

(6)
ธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่อง ของเพื่อน พรหมจรรย์

ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ

ภิกษุในธรรมวินัยนี้

(๑) เป็นผู้มีศีล
ฯลฯ ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย

(๒) เธอเป็นพหุสูต ฯลฯ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง

(๓) เธอเป็นผู้มีวาจาไพเราะ
มีถ้อยคำไพเราะ ประกอบด้วยวาจาชาวเมืองอันสละสลวย ไม่มีโทษให้รู้เนื้อความได้แจ่มแจ้ง

(๔) เธอเป็นผู้ได้ตามความปรารถนา
ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิต ยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน

(๕) เธอย่อมทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ
อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะ ทั้งหลาย สิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่

       ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็น ที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพและเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์ ฯ

       พ. ดีละๆ อุปวาณะ ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์ถ้าหากว่าธรรม ๕ ประการนี้ไม่พึงมีแก่ภิกษุผู้เถระไซร้ เพื่อนพรหมจรรย์พึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเธอ โดยความเป็นผู้มีฟันหัก มีผมหงอก มีหนังย่น อะไรกัน แต่เพราะธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมมีแก่ภิกษุผู้เถระ ฉะนั้นเพื่อนพรหมจรรย์จึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเธอ ฯ





(7)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๓๓๕ (P529)

๓. นิพพานสูตร ว่าด้วยนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง
(พระสารีบุตร กล่าวกับอุทายี และภิกษุทั้งหลาย)


(8)
อุทายีเห็นแย้งพระสารีบุตรว่า นิพพานไม่มีเวทนาจะเป็นสุขได้อย่างไร

             [๒๓๘] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตร อยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลันทก-นิวาปสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตร กล่าวกะ ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย นิพพานนี้เป็นสุข ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย นิพพานนี้เป็นสุข เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระอุทายีได้กล่าวกะ ท่านพระสารีบุตรว่า ดูก่อนอาวุโสสารีบุตร นิพพานนี้ไม่มีเวทนา จะเป็นสุขได้อย่างไร. ท่านพระสารีบุตร กล่าวว่า ดูก่อนอาวุโส นิพพานนี้ ไม่มีเวทนา นั่นแหละเป็นสุข

        ดูก่อนอาวุโส กามคุณ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือรูป ที่จะพึงรู้แจ้ง ด้วย จักษุอันน่าปรารถนาน่าใคร่น่าพอใจ เป็นที่รักยั่วยวนชวน ให้กำนัด เสียงที่จะพึง รู้แจ้ง ด้วยหู ฯลฯ กลิ่น ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจมูก ฯลฯ รส ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยลิ้น ฯลฯ
โผฏฐัพพะ ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ยั่วยวน ชวนให้กำหนัด กามคุณ ๕ ประการนี้แล ดูก่อนอาวุโส สุขโสมนัสย่อมเกิดขึ้น เพราะอาศัยกามคุณ ๕ประการนี้ นี้เรียกว่า กามสุข

(9)
นิพพานเป็นสุขอย่างไร ท่านจะพึงทราบได้โดย ปริยายแม้นี้

       ดูก่อนอาวุโสภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานอยู่ ถ้าเมื่อ ภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมข้อนี้ สัญญามนสิการ อันสหรคต(1) ด้วยกาม ย่อมฟุ้งซ่าน ข้อนั้น เป็นอาพาธของเธอ เปรียบเหมือนความทุกข์พึงเกิดขึ้น แก่บุคคล ผู้มีความสุข เพียงเพื่อเบียดเบียนฉันใด สัญญามนสิการอันสหรคต ด้วยกามเหล่านั้น ย่อมฟุ้งซ่าน แก่ภิกษุนั้น ข้อนั้น เป็นอาพาธของเธอ ฉันนั้น เหมือนกัน ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส เรียกอาพาธนั้นว่า เป็นความทุกข์ ดูก่อนอาวุโส นิพพานเป็นสุขอย่างไร ท่านจะพึงทราบได้โดย ปริยายแม้นี้
(1) (สหรคต แปลว่า ไปด้วยกัน ร่วมกัน..)

       อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ เพราะวิตกวิจารสงบไป ถ้าเมื่อ ภิกษุนั้น อยู่ด้วยวิหารธรรมข้อนี้ สัญญามนสิการอันสหรคต ด้วยวิตก ย่อมฟุ้งซ่าน ข้อนั้นเป็น อาพาธของเธอ เปรียบเหมือนความทุกข์พึงเกิดขึ้น แก่บุคคลผู้มีความสุข เพียงเพื่อ เบียดเบียน ฉันใด สัญญามนสิการอันสหรคต ด้วยวิตกเหล่านั้น ย่อมฟุ้งซ่าน แก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นอาพาธ นั้น ว่าเป็นทุกข์ ดูก่อนอาวุโส นิพพาน เป็นสุขอย่างไร ท่านพึงทราบ ได้โดยปริยาย แม้นี้

       อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุตติยฌาน ฯลฯ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรม ข้อนี้ สัญญามนสิการอันสหรคต ด้วยปีติย่อมฟุ้งซ่าน ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอ เปรียบเหมือนความทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีความสุข เพียงเพื่อเบียดเบียนฉันใด สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยปีติ ย่อมฟุ้งซ่านแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นอาพาธ ของเธอ ฉันนั้นเหมือนกัน ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกอาพาธนั้นว่าเป็นความทุกข์ ดูก่อนอาวุโส นิพพานเป็นสุขอย่างไร ท่านพึงทราบได้โดยปริยายแม้นี้

       อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตฌาน ฯลฯ ถ้าเมื่อภิกษุนั้น อยู่ด้วยวิหาร-ธรรมข้อนี้ สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยอุเบกขาย่อมฟุ้งซ่าน ข้อนั้นเป็นอาพาธ ของเธอ เปรียบเหมือนความทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีความสุข เพียงเพื่อเบียดเบียน ฉันใด สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยอุเบกขา ย่อมฟุ้งซ่านแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็น อาพาธ ของเธอ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกอาพาธนั้นว่า เป็นความทุกข์ ดูก่อนอาวุโส นิพพานเป็นสุขอย่างไร ท่านพึงทราบได้โดยปริยาย แม้นี้

        อีกประการหนึ่ง เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง ฯลฯ ภิกษุบรรลุ อากาสานัญจายตนฌาน โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่าอากาศไม่มีที่สุด ถ้าเมื่อภิกษุนั้น อยู่ด้วยวิหารธรรมข้อนี้ สัญญามนสิการอันหรคตด้วยรูปย่อมฟุ้งซ่าน ข้อนั้นเป็นอาพาธ ของเธอ เปรียบเหมือนความทุกข์ พึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีความสุขเพียงเพื่อเบียดเบียน ฉันใด สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยรูปย่อมฟุ้งซ่านแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นอาพาธ ของเธอ ฉันนั้นเหมือนกัน ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกอาพาธ นั้นว่าเป็นความทุกข์ ดูก่อนอาวุโส นิพพานสุขอย่างไร ท่านพึงทราบได้ โดยปริยาย แม้นี้

       อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน ฯลฯ เมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วย วิหารธรรมข้อนี้ สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยอากาสานัญจายตนะ ย่อมฟุ้งซ่าน ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอ เปรียบเหมือนความทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีความสุข เพียงเพื่อเบียดเบียน ฉันใด สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยอากาสาณัญจายตนะ ย่อมฟุ้งซ่านแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอ ฉันนั้นเหมือนกัน ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกอาพาธนั้นว่าเป็นความทุกข์ ดูก่อนอาวุโส นิพพานเป็นสุขอย่างไร ท่านพึงทราบโดยปริยายแม้นี้

        อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุอากิญจัญญายตนฌาน ฯลฯ ถ้าเมื่อภิกษุนั้น อยู่ด้วย วิหารธรรมข้อนี้ สัญญามนสิการอันสหรคต ด้วยวิญญาณัญจายตนะย่อม ฟุ้งซ่าน ข้อนั้นเป็นอาพาธ ของเธอ เปรียบเหมือนความทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่บุคคล ผู้มีความสุข เพียงเพื่อเบียดเบียน ฉันใด สัญญามนสิการอันสหรคตด้วย วิญญาณัญจายตนะ ย่อมฟุ้งซ่านแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอฉันนั้น เหมือนกัน ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกอาพาธนั้นว่าเป็นความทุกขดูก่อนอาวุโส นิพพานเป็นสุขอย่างไร ท่านพึงทราบได้ปริยายแม้นี้

       อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ฯลฯ ถ้าเมื่อภิกษุ นั้น อยู่ด้วย วิหารธรรมข้อนี้ สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยอากิญจัญญายตนะ ย่อมฟุ้งซ่าน ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอ เปรียบเหมือนความทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่บุคคล ผู้มีความสุข เพียงเพื่อเบียดเบียน ฉันใดสัญญามนสิการอันสหรคตด้วย อากิญจัญญายตนะ ย่อมฟุ้งซ่านแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นอาพาธ ของเธอ ฉันนั้น เหมือนกัน ซึ่งพระผู้มีพระภาคตรัสเรียกอาพาธนั้นว่าเป็นความทุกข์ ดูกรอาวุโส นิพพานเป็นสุขอย่างไร ท่านพึงทราบได้โดยปริยายแม้นี้

       อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะล่วง เนวสัญญา นาสัญญายตนฌาน โดยประการทั้งปวง อาสวะทั้งหลายของเธอสิ้นรอบแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา ดูกรอาวุโสนิพพานเป็นสุขอย่างไร ท่านพึงทราบได้โดย ปริยายแม้นี้

จบสูตรที่ ๓


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๓๖๒ - ๓๖๔


(10)
กามเหสสูตรที่ ๑ (กายสักขี-)
(พระอุทายี เข้าไปหาพระอานนท์)

             [๒๔๗] อุทายี ดูกรอาวุโส พระผู้มีพระภาคตรัสว่า กายสักขีๆ ดังนี้ โดยปริยาย เพียงเท่าไรหนอแล พระผู้มีพระภาคจึงตรัส กายสักขี

     อา. ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน และ อายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกาย ด้วยอาการนั้นๆ ดูกรอาวุโสโดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัส กายสักขี

     อีกประการหนึ่ง ภิกษุ ... บรรลุทุติยฌาน ... ตติยฌาน ... จตุตถฌาน ...และ อายตนะ นั้น มีอยู่ด้วยอาการใดๆ เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกาย ด้วยอาการ นั้นๆ ดูกรอาวุโส โดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัส กายสักขี

     อีกประการหนึ่ง ภิกษุ ... บรรลุอากาสานัญจายตนะ ... และอายตนะนั้นมีอยู่ด้วย อาการใดๆ เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ ดูกรอาวุโสโดย ปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัส กายสักขี

     อีกประการหนึ่ง ภิกษุ ... เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน โดยประการ ทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ และอาสวะทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไป เพราะ เห็นด้วยปัญญา และอายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้น ด้วยกาย ด้วยอาการนั้นๆ ดูกรอาวุโส โดยนิปปริยายแม้เพียงเท่านี้แลพระผู้มีพระภาค
ตรัส กายสักขี

  กายสักขีบุคคล เป็นไฉน
  เอกกนิทเทส ฉบับหลวง เล่มที่ ๓๖ หน้า ๑๐๖
  บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกต้องซึ่งวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย แล้วสำเร็จอิริยาบถอยู่ ทั้งอาสวะ
  บางอย่าง ของผู้นั้นก็สิ้นไปแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญาบุคคลนี้เรียกว่า กายสักขี P505

  กีฎาคิริสูตร ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๓ ข้อที่ ๒๓๓ หน้า ๑๗๙
   บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกต้อง วิโมกข์อันละเอียด คือ อรูปสมบัติ ล่วงรูปสมาบัติ ด้วย
   กายอยู่ และอาสวะบางเหล่าของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็น (อริยสัจ) ด้วยปัญญา
   บุคคลนี้ เรากล่าวว่า กายสักขีบุคคล P866

 

 
   



หนังสือพุทธวจน ออนไลน์
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์