เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 อริยบุคคลประเภทต่างๆ (เอกกนิทเทส) พระสูตรนี้เป้นอรรถกถา(ฉบับหลวง เล่มที่ ๓๖ หน้า ๑๐๖) 505
 
เนื้อหาในพระสูตรนี้พอสังเขป
บุคคลผู้พ้นแล้วเป็นไฉน... ผู้มีธรรมอันไม่เสื่อมเป็นไฉน...
บุคคลชื่อว่าโสดาบัน ชื่อว่าปฏิบัติแล้วเพื่อทำให้แจ้งซึ่ง โสดาปัตติผล เป็นไฉน
 
 
 
พระสูตรนี้เป็นอรรถกถา (คำแต่งใหม่)
ไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า
คลิก 1  :  คลิก2

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๓๖ หน้า ๑๐๖

เอกกนิทเทส


        [๑๗] บุคคล ผู้พ้นแล้วในสมัย เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกต้องวิโมกข์ ๘* ด้วยกาย ในกาลโดยกาลในสมัย โดยสมัย แล้ว สำเร็จ อิริยาบถอยู่ อนึ่ง อาสวะบางอย่างของบุคคลนั้น หมดสิ้นแล้วเพราะเห็น ด้วยปัญญา บุคคลนี้เรียกว่า ผู้พ้นแล้วในสมัย
        [๑๘] บุคคล ผู้มิใช่พ้นแล้วในสมัย เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ มิได้ถูกต้องวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย ในกาลโดยกาลในสมัย โดยสมัย สำเร็จ อิริยาบถอยู่ อนึ่ง อาสวะทั้งหลายของบุคคลนั้น หมดสิ้นแล้วเพราะ เห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มิใช่พ้นแล้วในสมัย พระอริยบุคคล แม้ทั้งปวง ชื่อว่าผู้มิใช่พ้นแล้วในสมัย ในวิโมกข์ ส่วนที่เป็นอริยะ
* วิโมกข์ ๘
1. ผู้ได้รูปฌานย่อมเห็นรูป
2. ผู้ไม่มีความสำคัญในรูปในภายใน ย่อมเห็นรูปในภายนอก
3. ผู้ที่น้อมใจเชื่อว่า กสิณ เป็นของงาม
4. ผู้บรรลุ อากาสานัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้
5. ผู้ที่บรรลุ วิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้
6. ผู้ที่บรรลุอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร
7. ผู้ที่บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะ เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะ
8. ผู้ที่บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะ

.......................................................................................................................................................

        [๑๙] บุคคล ผู้มีธรรมอันกำเริบ เป็นไฉน

บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ได้สมาบัติอันสหรคตด้วยรูปฌาน หรือสหรคตด้วย อรูปฌาน แต่บุคคลนั้น มิใช่เป็นผู้ได้ ตามปรารถนา มิใช่เป็นผู้ได้โดยไม่ยาก มิใช่เ ป็นผู้ได้โดยไม่ ลำบาก ไม่สามารถจะเข้าหรือออกสมาบัติใดในที่ใด นานเท่าใด ตามปรารถนา ข้อนี้ก็เป็น ฐานะอยู่แล ที่สมาบัติเหล่านั้นจะพึงกำเริบได้ เพราะอาศัย ความประมาทของ บุคคลนั้น บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีธรรมอันกำเริบ
        [๒๐] บุคคล ผู้มีธรรมอันไม่กำเริบ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ได้สมาบัติอันสหรคตด้วยรูปฌาน หรือสหรคตด้วย อรูปฌาน แต่บุคคลนั้น เป็นผู้ได้ตาม ต้องการ เป็นผู้ได้โดยไม่ยาก เป็นผู้ได้โดย ไม่ลำบาก สามารถจะ เข้า หรือออกสมาบัติใดในที่ใด นานเท่าใดได้ตาม ปรารถนา ข้อนี้ไม่เป็นฐานะไม่เป็นโอกาส ที่สมาบัติเหล่านั้น จะพึงกำเริบเพราะอาศัยความ ประมาทของบุคคลนั้น บุคคลนี้เรียกว่าผู้มี ธรรม อันไม่กำเริบพระอริยบุคคล แม้ ทั้งหมด ชื่อว่าผู้มีธรรมอันไม่กำเริบ ในวิโมกข์ส่วน ที่เป็น อริยะ
.......................................................................................................................................................

          [๒๑] บุคคล ผู้มีธรรมอันเสื่อม เป็นไฉน

บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ได้สมาบัติอันสหรคตด้วยรูปฌาน หรือสหรคตด้วย อรูปฌาน แต่บุคคลนั้น มิใช่เป็นผู้ได้ตาม ต้องการ มิใช่เป็นผู้ได้โดยไม่ยาก มิใช่เป็น ผู้ได้โดยไม่ลำบาก ไม่สามารถจะเข้าหรือออกสมาบัติใด ในที่ใด นานเท่าใด ตามปรารถนา ข้อนี้ก็เป็นฐานะ อยู่แล ที่บุคคลนั้น จะพึงเสื่อมจากสมาบัติเหล่านั้นได้ เพราะอาศัยความประมาท บุคคลนี้ เรียกว่า ผู้มีธรรมอันเสื่อม
          [๒๒] บุคคล ผู้มีธรรมอันไม่เสื่อม เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ได้สมาบัติอันสหรคตด้วยรูปฌาน หรือสหรคต ด้วย อรูปฌาน แต่บุคคลนั้น เป็นผู้ได้ตาม ต้องการ เป็นผู้ได้โดยไม่ยากเป็นผู้ได้ โดย ไม่ลำบาก สามารถ จะเข้าหรือออก สมาบัติใด ในที่ใด นานเท่าใดตามปรารถนา ข้อนี้ไม่เป็นฐานะไม่เป็นโอกาส ที่บุคคลนั้น จะพึงเสื่อมจากสมาบัติเหล่านั้น เพราะ อาศัยความประมาท บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีธรรมอันไม่เสื่อม พระอริยบุคคล แม้ทั้งปวง เป็นผู้มีธรรม อันไม่เสื่อม ในวิโมกข์ ส่วนที่เป็นอริยะ
.......................................................................................................................................................

          [๒๓] บุคคล ผู้ควรโดยเจตนา เป็นไฉน

บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ได้สมาบัติอันสรหคตด้วยรูปฌาน หรือสหรคตด้วย อรูปฌาน แต่บุคคลนั้นมิใช่เป็นผู้ได้ ตามต้องการ มิใช่ได้โดยไม่ยากมิใช่เป็นผู้ได้ โดยไม่ลำบาก ไม่สามารถจะเข้าหรือออกสมาบัติใด ในที่ใด นานเท่าใด ได้ตาม ปรารถนา หากว่าคอย ใส่ใจอยู่ ย่อมไม่เสื่อมจากสมาบัติเหล่านั้น หากไม่เอาใจใส่ ก็เสื่อมจากสมาบัติเหล่านั้น บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ควรโดยเจตนา
          [๒๔] บุคคล ผู้ควรโดยการตามรักษา เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ได้สมาบัติ อันสรหคตด้วยรูปฌาน หรือสรหคตด้วย อรูปฌาน และบุคคลนั้นแล มิใช่เป็นผู้ได้ ตามต้องการ มิใช่เป็นผู้ได้โดยไม่ยาก มิใช่เป็นผู้ได้ โดยไม่ลำบาก ไม่สามารถจะเข้า หรือออกสมาบัติใด ในที่ใด นานเท่าใด ได้ตามปรารถนา หากว่าคอยรักษาอยู่ ย่อมไม่เสื่อมจากสมาบัติเหล่านั้น หากว่าไม่ คอยรักษา ก็เสื่อมจาก สมาบัติเหล่านั้น บุคคลนี้เรียกว่าผู้ควรโดยการตามรักษา
.......................................................................................................................................................

          [๒๕] บุคคลที่เป็น ปุถุชน เป็นไฉน
สัญโญชน์ ๓ อันบุคคลใดละไม่ได้ ทั้งไม่ปฏิบัติเพื่อละธรรมเหล่านั้น บุคคลนี้เรียกว่า ปุถุชน
          [๒๖] โคตรภูบุคคล เป็นไฉน
ความย่างลงสู่อริยธรรม ในลำดับแห่งธรรมเหล่าใด บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรมเหล่านั้น นี้เรียกว่าโคตรภูบุคคล

          [๒๗] บุคคล ผู้งดเว้นเพราะกลัว เป็นไฉน

พระเสขะ ๗ จำพวก และบุคคลปุถุชนผู้มีศีล ชื่อว่าผู้งดเว้นเพราะกลัว พระอรหันต์ ชื่อว่ามิใช่ ผู้งดเว้น เพราะกลัว
.......................................................................................................................................................

          [๒๘] บุคคล ผู้ไม่ควรแก่การบรรลุมรรคผล เป็นไฉน

บุคคลที่ประกอบด้วยกัมมาวรณ์ ประกอบด้วยกิเลสาวรณ์ ประกอบด้วยวิปากาวรณ์ ไม่มีศรัทธา ไม่มีฉันทะ มีปัญญาทราม โง่เขลา เป็นผู้ไม่ควรหยั่งลงสู่นิยาม อันถูกในกุศลธรรมทั้งหลาย บุคคลเหล่านี้เรียกว่า ผู้ไม่ควรแก่การบรรลุมรรคผล
          [๒๙] บุคคล ผู้ควรแก่การบรรลุมรรคผล เป็นไฉน
บุคคลที่ไม่ประกอบด้วยกัมมาวรณ์ ไม่ประกอบด้วยกิเลสาวรณ์ ไม่ประกอบด้วย วิปากาวรณ์ มีศรัทธา มีฉันทะ มีปัญญา ไม่โง่เขลา เป็นผู้ควรเพื่อหยั่งลงสู่นิยาม อันถูกในกุศลธรรม ทั้งหลาย บุคคลเหล่านี้เรียกว่า ผู้ควรแก่การบรรลุมรรคผล
.......................................................................................................................................................

          [๓๐] บุคคล ผู้เที่ยงแล้ว เป็นไฉน

บุคคลผู้ทำอนันตริยกรรม ๕* จำพวก บุคคลผู้เป็นนิยตมิจฉาทิฏฐิ และพระ อริยบุคคล๘** ชื่อว่า ผู้เที่ยง แล้ว บุคคลนอกนั้น ชื่อว่า ผู้ไม่เที่ยง
* อนันตริยกรรม ๕
1. มาตุฆาต - ฆ่ามารดา
2. ปิตุฆาต - ฆ่าบิดา
3. อรหันตฆาต - ฆ่าพระอรหันต์
4. โลหิตุปบาท - ทำร้ายพระพุทธเจ้า ห้อพระโลหิต
5. สังฆเภท - ยุยงสงฆ์ให้แตกกัน ทำลายสงฆ์


**อริยบุคคล ๘
1. พระอรหันต์ ๑
2. ผู้ปฏิบัติเพื่อความเป็นพระอรหันต์ ๑
3. พระอนาคามี ๑
4. ผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล ๑
5. พระสกทาคามี ๑
6. ผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล ๑
7. พระโสดาบัน ๑
8. ผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล ๑


          [๓๑] บุคคล ผู้ปฏิบัติ เป็นไฉน
บุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยมรรค ๔ ชื่อว่าผู้ปฏิบัติ บุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยผล ๔ ชื่อว่าผู้ตั้ง อยู่แล้ว ในผล
.......................................................................................................................................................

          [๓๒] บุคคลชื่อว่า สมสีสี เป็นไฉน
(ชื่อนี้ไม่มีในคำสอนของพระศาสดา)
การสิ้นไปแห่งอาสวะ และการสิ้นไปแห่งชีวิตของบุคคลใด มีไม่ก่อนไม่หลังกัน บุคคลนี้ เรียก ว่า สมสีสี (อรรถกถา)

          [๓๓] บุคคลชื่อว่า ฐิตกัปปี เป็นไฉน (ชื่อนี้ไม่มีในคำสอนของพระศาสดา)
บุคคลนี้พึงเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล และเวลาที่กัลป์ไหม้จะพึงมี กัลป์ ก็ไม่พึงไหม้ ตราบเท่าที่บุคคลนี้ ยังไม่ทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล บุคคลนี้ เรียกว่า ฐิตกัปปี บุคคลผู้พร้อมเพรียง ด้วยมรรค แม้ทั้งหมด ชื่อว่าเป็นผู้มีกัลป์ ตั้งอยู่แล้ว (อรรถกถา)
.......................................................................................................................................................

          [๓๔] บุคคลเป็น อริยะ เป็นไฉน
พระอริยบุคคล ๘ เป็นอริยะ บุคคลนอกนั้น ไม่ใช่อริยะ
          [๓๕] บุคคลเป็น เสขะ เป็นไฉน
บุคคลผู้พร้อมเพรียง ด้วยมรรค ๔ พร้อมเพรียงด้วยมรรค ๓ เป็นเสขะพระอรหันต์ เป็นอเสขะ บุคคลนอกนั้น เป็นเสขะ ก็มิใช่ เป็นอเสขะก็มิใช่
.......................................................................................................................................................

          [๓๖] บุคคลผู้มี วิชชา ๓ เป็นไฉน

บุคคลประกอบด้วยวิชชา ๓ ชื่อว่าผู้มี วิชชา ๓
วิชชา ๓
1. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ - ระลึกชาติย้อนไปในอดีตได้
2. จุตูปปาตญาณ -ความรู้การจุติ(เคลื่อน-การเกิด) และการอุบัติของสัตว์
3. อาสวักขยญาณ - รู้การทำอาสวะให้หมดสิ้นไป


          [๓๗] บุคคลผู้มี อภิญญา ๖ เป็นไฉน

บุคคลประกอบด้วยอภิญญา ๖ ชื่อว่าผู้มี อภิญญา ๖
อภิญญา ๖
1. อิทธิวิธิ - มีฤทธิ์ เช่น หายตัว เหาะได้ เดินบนน้ำ ดำดินได้
2. ทิพพโสต - มีหูทิพย์ ได้ยินเสียงทิพย์ เสียงเทวดา
3. เจโตปริยญาณ - รู้ใจผู้อื่น รู้ความคิดผู้อื่นได้
4. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ - ระลึกชาติย้อนไปในอดีตได้
5. ทิพพจักขุ - มีตาทิพย์ เห็นภพของสัตว์ในอนาคต
6. อาสวักขยญาณ - รู้การทำอาสวะให้หมดสิ้นไป

.......................................................................................................................................................

          [๓๘] บุคคลเป็น พระสัมมาสัมพุทธะ เป็นไฉน

บุคคลบางคนในโลกนี้ ตรัสรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งสัจจะด้วยตนเองในธรรมทั้งหลาย ที่ตน มิได้เคย สดับมาแล้วในก่อน บรรลุความเป็นพระสัพพัญญูในธรรมนั้น และบรรลุ ความเป็นผู้ มีความชำนาญ ในธรรม เป็นกำลังทั้งหลายบุคคลนี้เรียกว่า พระสัมมาสัมพุทธะ
          [๓๙] บุคคลเป็น พระปัจเจกพุทธะ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมตรัสรู้ซึ่งสัจจะทั้งหลายด้วยตนเอง ในธรรมทั้งหลาย ที่ตนไม่ได้ สดับ มาแล้วในก่อน แต่มิได้บรรลุ ความเป็นพระสัพพัญญู ในธรรมนั้น ทั้งไม่ถึงความเป็นผู้ ชำนาญในธรรม อันเป็นกำลังทั้งหลาย บุคคลนี้เรียกว่า พระปัจเจกพุทธะ
.......................................................................................................................................................

          [๔๐] บุคคลชื่อว่า อุภโตภาควิมุต เป็นไฉน

บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกต้องซึ่งวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย แล้วสำเร็จอิริยาบถอยู่ ทั้งอาสวะ ของผู้นั้น ก็สิ้นไปแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้เรียกว่า อุภโตภาควิมุต
          [๔๑] บุคคลชื่อว่า ปัญญาวิมุต เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ มิได้ถูกต้องซึ่งวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย สำเร็จอิริยาบถอยู่ แต่อาสวะ ของผู้นั้น สิ้นไปแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้เรียกว่า ปัญญาวิมุต
          [๔๒] บุคคลชื่อว่า กายสักขี เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกต้องซึ่งวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย แล้วสำเร็จอิริยาบถอยู่ ทั้งอาสวะ บางอย่าง ของผู้นั้นก็สิ้นไปแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญาบุคคลนี้เรียกว่า กายสักขี
.......................................................................................................................................................

          [๔๓] บุคคลชื่อว่า ทิฏฐิปัตตะ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ย่อมรู้ชัดตามความ เป็นจริงว่า นี้เหตุให้เกิดทุกข์ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่านี้ ความดับทุกข์ ย่อมรู้ชัด ตามความเป็นจริง ว่า นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์อนึ่ง ธรรมทั้งหลายที่พระตถาคต ประกาศแล้ว ผู้นั้นเห็นชัด แล้ว ดำเนินไปดีแล้วด้วยปัญญา อนึ่งอาสวะบางอย่าง ของผู้นั้นก็สิ้นไปแล้ว เพราะเห็นด้วย ปัญญาบุคคลนี้เรียกว่า ทิฏฐิปัตตะ
          [๔๔] บุคคลชื่อว่า สัทธาวิมุต เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ย่อมรู้ชัดตามความ เป็นจริงว่า นี้เหตุให้เกิดทุกข์ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริง ว่านี้ความดับทุกข์ ย่อมรู้ชัด ตามความเป็นจริง ว่า นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ อนึ่งธรรมทั้งหลายที่ พระตถาคต ประกาศแล้ว ผู้นั้นเห็นชัด แล้ว ดำเนินไปดีแล้วด้วยปัญญา อนึ่ง อาสวะบางอย่าง ของผู้นั้น ก็สิ้นไปแล้ว เพราะเห็นด้วย ปัญญา แต่มิใช่เหมือนบุคคล ผู้เป็นทิฏฐิปัตตะ บุคคลนี้เรียกว่าสัทธาวิมุต
.......................................................................................................................................................

          [๔๕] บุคคลชื่อว่า ธัมมานุสารี เป็นไฉน
ปัญญินทรีย์ของบุคคลใด ผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผลมีประมาณยิ่ง บุคคลนั้น ย่อมอบรม ซึ่งอริยมรรค อันมีปัญญาเป็นเครื่องนำมา มีปัญญาเป็นประธาน ให้เกิดขึ้น บุคคลนี้ เรียกว่า ธัมมานุสารี บุคคลผู้ปฏิบัติแล้ว เพื่อทำให้แจ้งซึ่ง โสดาปัตติผล ชื่อว่าธัมมานุสารี บุคคลผู้ตั้งอยู่แล้วในผล ชื่อว่า ทิฏฐิปัตตะ
          [๔๖] บุคคลชื่อว่า สัทธานุสารี เป็นไฉน
สัทธินทรีย์ของบุคคลใดผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล มีประมาณยิ่ง อบรม อริยมรรคมีสัทธา เป็นเครื่องนำมา มีสัทธาเป็นประธานให้เกิดขึ้น บุคคลนี้เรียกว่า สัทธานุสารี บุคคล ผู้ปฏิบัติ เพื่อทำให้แจ้ง ซึ่งโสดาปัตติผล ชื่อว่าสัทธานุสารี ผู้ตั้งอยู่แล้วในผล ชื่อว่า สัทธาวิมุต
.......................................................................................................................................................

          [๔๗] บุคคลชื่อว่า สัตตักขัตตุปรมะ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะความสิ้นไปรอบแห่ง สัญโญชน์ทั้ง ๓* เป็นโสดาบัน มีอันไม่ไป เกิดใน อบายเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง จะได้ตรัสรู้ในเบื้องหน้า บุคคลนั้น จะแล่นไป ท่องเที่ยวไปในเทวดา และมนุษย์ ๗ ชาติ แล้วทำที่สุดทุกข์ได้ บุคคลนี้ เรียกว่า สัตตัก ขัตตุปรมะ
          [๔๘] บุคคลชื่อว่า โกลังโกละ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะความสิ้นไปรอบ แห่งสัญโญชน์ทั้ง ๓ เป็นโสดาบัน มีอันไม่ ไปเกิด ในอบายเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงจะได้ตรัสรู้ในเบื้องหน้า บุคคลนั้น จะแล่นไป ท่องเที่ยวไป สู่ตระกูลสอง หรือสาม แล้วทำที่สุดทุกข์ได้ บุคคลนี้เรียกว่า โกลังโกละ
          [๔๙] บุคคลชื่อว่า เอกพิชี ป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะความสิ้นไปรอบ แห่งสัญโญชน์ทั้ง ๓ มีอันไม่ไปเกิด ในอบาย เป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง จะได้ตรัสรู้ในเบื้องหน้า บุคคลนั้นเกิดในภพมนุษย์ อีกครั้งเดียว แล้วทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ บุคคลนี้เรียกว่าเอกพิชี
.......................................................................................................................................................

          [๕๐] บุคคลชื่อว่า สกทาคามี เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสัญโญชน์ทั้ง ๓ เพราะทำราคะ โทสะ โมหะ ให้เบาบางลง เป็นสกทาคามี ยังจะมาสู่โลกนี้คราวเดียวเท่านั้น แล้วทำ ที่สุดทุกข์ ได้บุคคลนี้เรียกว่า สกทาคามี
          [๕๑] บุคคลชื่อว่า อนาคามี เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะความสิ้นไปรอบแห่งโอรัมภาคิยสัญโญชน์ทั้ง ๕ มีกำเนิดเป็น อุปปาติกะ ปรินิพพานในเทวโลกชั้นสุทธาวาสนั้น มีอันไม่กลับมาจาก โลกนั้น เป็นธรรมดา บุคคลนี้เรียกว่า อนาคามี
.......................................................................................................................................................

          [๕๒] บุคคลชื่อว่า อันตราปรินิพพายี เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะความสิ้นไปรอบแห่งโอรัมภาคิยสัญโญชน์ทั้ง ๕ มีกำเนิดเป็น อุปปาติกะ ปรินิพพานในเทวโลกชั้นสุทธาวาสนั้น มีอันไม่กลับมาจาก โลกนั้นเป็นธรรมดา บุคคลนั้น ย่อมยัง อริยมรรคให้เกิดขึ้น เพื่อละสัญโญชน์อันมี ในเบื้องบน ในระยะเวลาติดต่อ กับที่เกิดบ้าง ยังไม่ถึง ท่ามกลางกำหนดอายุบ้าง บุคคลนี้เรียกว่า อันตราปรินิพพายี

          [๕๓] บุคคลชื่อว่า อุปหัจจปริพพายี เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะความสิ้นไปรอบแห่งโอรัมภาคิยสัญโญชน์ทั้ง ๕ มีกำเนิดเป็น อุปปาติกะ ปรินิพพานในเทวโลกชั้นสุทธาวาสนั้น มีอันไม่กลับจาก โลกนั้น เป็นธรรมดา บุคคลนั้น ย่อมยัง อริยมรรคให้เกิดขึ้น เพื่อละสัญโญชน์ อันมีใน เบื้องบน เมื่อล่วงพ้น ท่ามกลางกำหนดอายุบ้าง เมื่อใกล้จะทำกาลกิริยาบ้าง บุคคลนี้ เรียกว่า อุปหัจจปรินิพพายี

          [๕๔] บุคคลชื่อว่า อสังขารปรินิพพายี เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะความสิ้นไปรอบแห่งโอรัมภาคิยสัญโญชน์ทั้ง ๕ มีกำเนิดเป็น อุปปาติกะ ปรินิพพานในเทวโลกชั้นสุทธาวาสนั้น มีอันไม่กลับจาก โลกนั้น เป็นธรรมดา บุคคลนั้นย่อมยัง อริยมรรคให้เกิดขึ้น โดยไม่ลำบากเพื่อละ สัญโญชน์ อันมีในเบื้องบน บุคคลนี้เรียกว่า อสังขาร ปรินิพพายี

          [๕๕] บุคคลชื่อว่า สสังขารปรินิพพายี เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะความสิ้นไปรอบแห่ง โอรัมภาคิยสัญโญชน์ทั้ง ๕ มีกำเนิดเป็น อุปปาติกะ ปรินิพพานในเทวโลกชั้นสุทธาวาสนั้น มีอันไม่กลับมาจาก โลกนั้นเป็นธรรมดา บุคคลนั้น ย่อมยังอริยมรรคให้เกิดขึ้นโดยลำบาก เพื่อละ สัญโญชน์ อันมีในเบื้องบน บุคคลนี้ เรียกว่า สสังขารปรินิพพายี

          [๕๖] บุคคลชื่อว่า อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะความสิ้นไปรอบแห่ง โอรัมภาคิยสัญโญชน์ทั้ง ๕ * มีกำเนิดเป็น อุปปาติกะ ปรินิพพานในเทวโลกชั้นสุทธาวาสนั้น มีอันไม่กลับมา จาก โลกนั้น เป็นธรรมดา บุคคลนั้น จุติจากอวิหา ไปอตัปปา จุติจากอตัปปาไปสุทัสสา จุติจากสุทัสสา ไปสุ ทัสสีจุติ จากสุทัสสีไปอกนิฏฐา ย่อมยังอริยมรรค ให้เกิดขึ้นใน อกนิฏฐา เพื่อละ สัญโญชน์เบื้องบน บุคคลนี้เรียกว่า อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี
.......................................................................................................................................................

          [๕๗] บุคคลชื่อว่าโสดาบัน ชื่อว่าปฏิบัติแล้วเพื่อทำให้แจ้งซึ่ง โสดาปัตติผล เป็นไฉน

          บุคคลผู้ปฏิบัติแล้วเพื่อละสัญโญชน์ * ปฏิบัติแล้วเพื่อทำให้แจ้งซึ่ง โสดาปัตติผล สัญโญชน์ ๓ อันบุคคลใดละได้แล้ว บุคคลนั้น เรียกว่า โสดาบัน
          บุคคลปฏิบัติแล้วเพื่อความเบาบาง แห่งกามราคะ และพยาบาท ปฏิบัติแล้วเพื่อ ทำให้ แจ้งซึ่งสกทาคามิผล เพราะราคะและพยาบาทของบุคคลใด เบาบางแล้ว บุคคลนี้ เรียกว่า สกทาคามี
          บุคคลปฏิบัติแล้วเพื่อละไม่ให้เหลือ ซึ่งกามราคะ และพยาบาท ปฏิบัติแล้ว เพื่อทำ ให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล กามราคะและพยาบาท อันบุคคลใดละได้หมด ไม่มีเหลือ บุคคลนั้น เรียกว่า อนาคามี
          บุคคลปฏิบัติแล้วเพื่อไม่ให้เหลือซึ่งรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ และ อวิชชา
         
ปฏิบัติแล้วเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล รูปราคะ อรูปราคะมานะ อุทธัจจะ อวิชชา อันบุคคลใดละได้หมดไม่มีเหลือ บุคคลนี้เรียกว่า อรหันต์

โอรัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องต่ำ 5 ได้แก่

* สัญโญชน์ 10

โอรัมภาคิยสัญโญชน์ (สังโยชน์เบื้องต่ำ) 5
1. สักกายทิฏฐิ - เห็นว่าร่างกายนี้เป็นของเรา มีความยึดมั่นในระดับหนึ่ง
2. วิจิกิจฉา - สงสัยในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
3. สีลัพพตปรามาส – ถือมั่นศีลพรต(ลัทธิอื่น) ด้วยความงมงาย
4. กามราคะ - มีความติดใจในกามคุณ
5. ปฏิฆะ – มีความกระทบกระทั่งในใจ

อุทธัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องสูง ) 5
6. รูปราคะ - มีความติดใจในรูปฌาน
7. อรูปราคะ – ติดใจในอรูปฌาน - พอใจในนามธรรมทั้งหลาย
8. มานะ – ความถือตัว มีความยึดมั่นถือมั่นในตัวตน
9. อุทธัจจะ - มีความฟุ้งซ่าน
10. อวิชชา - มีความไม่รู้จริง

เอกกนิทเทส จบ


 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์