เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  บุคคล ๗ จำพวกเหล่านี้มีปรากฏอยู่ในโลก ๗ จำพวกเป็นไฉน คือ 866
 
(เนื้อหาพอสังเขป)

บุคคล ๗ จำพวก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๗ จำพวกเหล่านี้มีปรากฏอยู่ในโลก ๗ จำพวกเป็นไฉน คือ

1.อุภโตภาควิมุตบุคคลเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกต้องวิโมกข์อันลเอียด คืออรูปสมาบัติ ล่วงรูปสมบัติ ด้วยกายอยู่
และอาสวะ ทั้งหลายของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็น (อริยสัจ) ด้วยปัญญา

2.ปัญญาวิมุตบุคคลเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่ได้ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียด คืออรูปสมบัติ ล่วงรูปสมบัติด้วย กายอยู่ แต่อาสวะ ทั้งหลายของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็น (อริยสัจ) ด้วย

3.กายสักขีบุคคลเป็นไฉน

บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียด คืออรูปสมบัติ ล่วงรูปสมาบัติด้วยกายอยู่
และอาสวะ บางเหล่าของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็น (อริยสัจ) ด้วยปัญญา

4.ทิฏฐิปัตตบุคคลเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้
ไม่ได้ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียด คือ อรูปสมาบัติ ล่วงรูปสมบัติด้วย กายอยู่ แต่อาสวะบางเหล่าของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็น (อริยสัจ) ด้วยปัญญา

5.สัทธาวิมุตบุคคลเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่ได้ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียด คือ อรูปสมบัติ ล่วงรูปสมาบัติด้วย กายอยู่ แต่อาสวะ บางเหล่าของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็น (อริยสัจ) ด้วยปัญญา

6.ธัมมานุสารีบุคคลเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่ได้ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียด คือ อรูป สมาบัติ ล่วงรูปสมาบัติด้วย กายอยู่ แต่อาสวะ บางเหล่า ของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็น (อริยสัจ) ด้วยปัญญา

7.สัทธานุสารีบุคคลเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้
ไม่ได้ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียด คือ อรูปสมาบัติ ล่วงรูปสมาบัติด้วย กายอยู่ แต่อาสวะ บางเหล่าของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็น (อริยสัจ) ด้วยปัญญา

บุคคล ๗ จำพวก ฉบับหลวง : ฉบับมหาจุฬาฯ


 
 


ฉบับหลวง
เล่มที่ ๑๓ สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ หน้าที่ ๑๗๙


๑๐. กีฏาคิริสูตร
บุคคล ๗ จำพวก


                [๒๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๗ จำพวกเหล่านี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ๗ จำพวกเป็นไฉน คือ

อุภโตภาควิมุตบุคคล ๑
ปัญญาวิมุตบุคคล ๑
กายสักขีบุคคล ๑
ทิฏฐิปัตตบุคคล ๑
สัทธาวิมุตบุคคล ๑
ธัมมานุสารีบุคคล ๑
สัทธานุสารีบุคคล ๑.

                [๒๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อุภโตภาควิมุตบุคคลเป็นไฉน (๑)ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียด คืออรูปสมาบัติ ล่วงรูปสมบัติด้วยกายอยู่ และอาสวะทั้งหลายของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็น (อริยสัจ) ด้วยปัญญา บุคคลนี้เรากล่าวว่า อุภโตภาควิมุตบุคคล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวว่า กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะกิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ภิกษุนั้นทำเสร็จแล้ว และภิกษุนั้นเป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะประมาท.

                [๒๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปัญญาวิมุตบุคคลเป็นไฉน (๒)ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่ได้ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียด คืออรูป สมบัติ ล่วงรูปสมบัติด้วยกายอยู่แต่อาสวะทั้งหลายของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็น (อริยสัจ) ด้วยปัญญา ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เรากล่าวว่าปัญญาวิมุตบุคคล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวว่า กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาทย่อมไม่มี แก่ ภิกษุแม้นี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะกิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ภิกษุนั้นทำเสร็จ แล้ว และภิกษุนั้นเป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะประมาท.

                [๒๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กายสักขีบุคคลเป็นไฉน (๓)ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียด คืออรูปสมบัติ ล่วงรูปสมาบัติด้วยกายอยู่ และอาสวะบางเหล่าของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็น (อริยสัจ) ด้วยปัญญา บุคคลนี้เรากล่าวว่ากายสักขีบุคคล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า กิจที่ ควรทำด้วยความไม่ประมาท ย่อมมีแก่ภิกษุนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเราเห็นผลแห่งความไม่ประมาทของภิกษุนี้เช่นนี้ว่า ไฉนท่านผู้นี้ เมื่อเสพเสนาสนะ ที่สมควร คบหากัลยาณมิตร ทำอินทรีย์ให้เสมออยู่ พึงทำซึ่งที่สุด พรหมจรรย์ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่าที่กุลบุตรทั้งหลาย ออกจากเรือน บวชเป็น บรรพชิตโดยชอบต้องการ ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองได้ในปัจจุบัน แล้วเข้าถึงอยู่ ดังนี้ เราจึงกล่าวว่า กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ย่อมมีแก่ภิกษุนี้

                [๒๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทิฏฐิปัตตบุคคลเป็นไฉน (๔)ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่ได้ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียด คือ อรูปสมาบัติ ล่วงรูปสมบัติด้วยกายอยู่ แต่อาสวะบางเหล่าของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็น (อริยสัจ) ด้วยปัญญา อนึ่ง ธรรมทั้งหลายที่ตถาคตประกาศแล้ว เป็นธรรมอันผู้นั้น เห็นแจ้ง ด้วยปัญญา ประพฤติ ดีแล้ว บุคคลนี้เรากล่าวว่า ทิฏฐิปัตตบุคคล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า กิจที่ควร ทำด้วยความไม่ประมาท ย่อมมีแก่ภิกษุแม้นี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเราเห็นผลแห่ง ความไม่ประมาทของภิกษุนี้เช่นนี้ว่า ไฉนท่านผู้นี้เสพเสนาสนะที่สมควร คบหา กัลยาณมิตร ทำอินทรีย์ให้เสมออยู่ พึงทำซึ่งที่สุดพรหมจรรย์อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ที่กุลบุตรทั้งหลายออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการให้แจ้งชัด ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน แล้วเข้าถึงอยู่ ดังนี้ เราจึงกล่าวว่า กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ย่อมมีแก่ภิกษุนี้

                [๒๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัทธาวิมุตบุคคลเป็นไฉน (๕)ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่ได้ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียด คือ อรูปสมบัติ ล่วงรูปสมาบัติ ด้วยกายอยู่ แต่อาสวะบางเหล่าของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็น (อริยสัจ) ด้วยปัญญา อนึ่ง ความเชื่อในพระตถาคตของผู้นั้นตั้งมั่นแล้ว มีราก หยั่งลงมั่นแล้ว บุคคลนี้เรากล่าวว่าสัทธาวิมุตบุคคล ดูกรภิกษุทั้งหลายเรากล่าวว่ากิจ ที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ย่อมมีแก่ภิกษุแม้นี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเราเห็น ผลแห่งความไม่ประมาทของภิกษุนี้เช่นนี้ว่า ไฉนท่านผู้นี้เสพเสนาสนะอันสมควร คบหากัลยาณมิตร ทำอินทรีย์ให้เสมออยู่ พึงทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าที่กุลบุตรทั้งหลาย ผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต โดยชอบ ต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน แล้วเข้าถึงอยู่ ดังนี้จึงกล่าวว่า กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ย่อมมีแก่ภิกษุนี้.

                [๒๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธัมมานุสารีบุคคลเป็นไฉน (๖)ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่ได้ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียด คือ อรูป สมาบัติ ล่วงรูปสมาบัติด้วยกายอยู่ แต่อาสวะบางเหล่าของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็น (อริยสัจ) ด้วยปัญญา อนึ่ง ธรรมทั้งหลายที่พระตถาคตประกาศแล้ว ย่อมควรซึ่งความ พินิจ โดยประมาณด้วยปัญญาของผู้นั้น อีกประการหนึ่งธรรมเหล่านี้ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ย่อมมีแก่ผู้นั้น บุคคลนี้เรากล่าวว่า ธัมมานุสารีบุคคล. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ย่อมมีแก่ภิกษุแม้นี้ ข้อนี้เพราะเหตุไร เพราะเราเห็นผลแห่งความไม่ประมาท ของภิกษุนี้ เช่นนี้ว่า ไฉนท่านผู้นี้เสพเสนาสนะที่สมควรคบหากัลยาณมิตร ทำอินทรีย์ ให้เสมออยู่พึงทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าที่กุลบุตรทั้งหลาย ผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง ในปัจจุบันแล้วเข้าถึงอยู่ ดังนี้ เราจึงกล่าวว่า กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ย่อมมีแก่ภิกษุนี้.

                [๒๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัทธานุสารีบุคคลเป็นไฉน (๗)ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่ได้ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียด คือ อรูปสมาบัติ ล่วงรูปสมาบัติด้วยกายอยู่ แต่อาสวะบางเหล่าของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็น (อริยสัจ) ด้วยปัญญา อนึ่ง ผู้นั้นมีแต่เพียงความเชื่อความรักในพระตถาคต อีกประการหนึ่ง ธรรมเหล่านี้ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ย่อมมีแก่ผู้นั้น บุคคลนี้เรากล่าวว่า สัทธานุสารีบุคคล.ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ย่อมมีแก่ภิกษุแม้นี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเราเห็นผลแห่งความไม่ประมาทของภิกษุนี้เช่นนี้ว่า ไฉนท่านผู้นี้เสพเสนาสนะ ที่สมควร คบหากัลยาณมิตร ทำอินทรีย์ให้เสมออยู่ พึงทำให้แจ้ง ซึ่งที่สุดพรหมจรรย์ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่กุลบุตรทั้งหลาย ผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต โดยชอบ ต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง ในปัจจุบัน แล้วเข้าถึงอยู่ ดังนี้ จึงกล่าวว่า กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ย่อมมีแก่ภิกษุนี้.


ฉบับมหาจุฬาฯ
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ หน้าที ๒๐๑

๑๐. กีฏาคิริสูตร
บุคคล ๗ จำพวก

                [๑๘๒] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๗ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๗ จำพวก ไหนบ้าง คือ

๑. ท่านผู้เป็นอุภโตภาควิมุต
๒. ท่านผู้เป็นปัญญาวิมุต
๓. ท่านผู้เป็นกายสักขี
๔. ท่านผู้เป็นทิฏฐิปัตตะ
๕. ท่านผู้เป็นสัทธาวิมุต
๖. ท่านผู้เป็นธัมมานุสารี
๗. ท่านผู้เป็นสัทธานุสารี

ท่านผู้เป็นอุภโตภาควิมุต เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ได้สัมผัสสันตวิโมกข์ ซึ่งไม่มีรูปเพราะล่วงรูปฌาน ได้ด้วย กายอยู่ และอาสวะทั้งหลายของผู้นั้นสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้เราเรียกว่า เป็นอุภโตภาควิมุต เรากล่าวว่า ภิกษุนี้ไม่ต้องทำกิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุนั้นได้ทำกิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาทเสร็จแล้ว และภิกษุนั้นจัดเป็นผู้ไม่ประมาทต่อไป

ท่านผู้เป็นปัญญาวิมุต เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่ได้สัมผัสสันตวิโมกข์ ซึ่งไม่มีรูปเพราะล่วงรูปฌาน ได้ด้วยกายอยู่ และอาสวะทั้งหลาย ของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้ เราเรียกว่า เป็นปัญญาวิมุต เรากล่าวว่า ภิกษุแม้นี้ไม่ต้องทำกิจที่ควรทำ ด้วยความ ไม่ประมาท ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุนั้นได้ทำกิจที่ควรทำด้วยความ ไม่ประมาท เสร็จแล้ว และภิกษุนั้นจัดเป็นผู้ไม่ประมาทต่อไป

ท่านผู้เป็นกายสักขี เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ได้สัมผัสสันตวิโมกข์ ซึ่งไม่มีรูป เพราะล่วงรูปฌานได้ ด้วยกายอยู่ และอาสวะบางเหล่าของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้ เราเรียกว่า เป็นกายสักขี เรากล่าวว่า ภิกษุแม้นี้ต้องทำกิจที่ควรทำ ด้วยความไม่ ประมาท ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเราเห็นผลแห่งความไม่ประมาท ของภิกษุนี้ เช่นนี้ว่า จะเป็นการดี ถ้าท่านผู้นี้ เมื่อใช้สอยเสนาสนะ ที่สมควร คบหากัลยาณมิตร ปรับอินทรีย์ให้เสมอ จะพึงทำให้แจ้งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ ต้องการด้วยปัญญา อันยิ่ง เอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน จึงกล่าวว่า ภิกษุนี้ต้องทำกิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท

ท่านผู้เป็นทิฏฐิปัตตะ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่ได้สัมผัสสันตวิโมกข์ ซึ่งไม่มีรูปเพราะล่วงรูปฌานได้ ด้วยกายอยู่ แต่อาสวะบางเหล่าของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา อนึ่ง ธรรม ทั้งหลาย ที่ตถาคตประกาศแล้ว เป็นธรรมที่ผู้นั้นเห็นแจ้งด้วยปัญญา ประพฤติดีแล้ว บุคคลนี้เราเรียกว่า เป็นทิฏฐิปัตตะ เรากล่าวว่า ภิกษุนี้ต้องทำกิจที่ควรทำ ด้วยความ ไม่ประมาท ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเราเห็นผลแห่งความไม่ประมาทของ ภิกษุนี้ เช่นนี้ว่า จะเป็นการดี ถ้าท่านผู้นี้ เมื่อใช้สอยเสนาสนะ ที่สมควร คบหากัลยาณมิตร ปรับอินทรีย์ให้เสมอ จะพึงทำให้แจ้งประโยชน์ยอดเยี่ยม อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ ต้องการด้วยปัญญา อันยิ่ง เอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน จึงกล่าวว่า ภิกษุนี้ต้องทำกิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท

ท่านผู้เป็นสัทธาวิมุต เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่ได้สัมผัสสันตวิโมกข์ ซึ่งไม่มีรูปเพราะล่วงรูปฌาน ได้ด้วยกายอยู่ แต่อาสวะ บางเหล่าของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา อนึ่ง ความเชื่อในตถาคตของผู้นั้นตั้งมั่นแล้ว มีรากหยั่งลง มั่นคงแล้ว บุคคลนี้เราเรียกว่า เป็นสัทธาวิมุต เรากล่าวว่า ภิกษุแม้นี้ต้องทำกิจที่ควรทำ ด้วยความไม่ประมาท ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเราเห็นผลแห่งความไม่ประมาทของภิกษุนี้ เช่นนี้ว่า ‘จะเป็นการดีถ้าท่านผู้นี้ เมื่อใช้สอยเสนาสนะ ที่สมควร คบหากัลยาณมิตร ปรับอินทรีย์ ให้เสมอจะพึงทำให้แจ้ง ประโยชน์ยอดเยี่ยม อันเป็นที่สุดแห่ง พรหมจรรย์ ที่เหล่า กุลบุตรผู้ออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน’ จึงกล่าวว่า ‘ภิกษุนี้ต้องทำกิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท

ท่านผู้เป็นธัมมานุสารี เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่ได้สัมผัสสันตวิโมกข์ ซึ่งไม่มีรูปเพราะล่วงรูปฌาน ได้ด้วยกายอยู่ แต่อาสวะ บางเหล่าของผู้นั้นสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา อนึ่ง ธรรมทั้งหลายที่ตถาคตประกาศแล้ว ควรเพื่อพินิจโดยประมาณ ด้วยปัญญาของผู้นั้น อีกประการหนึ่ง ธรรมเหล่านี้ คือ สัทธินทรีย์(อินทรีย์คือศรัทธา) วิริยินทรีย์ (อินทรีย์คือวิริยะ) สตินทรีย์ (อินทรีย์คือสติ) สมาธินทรีย์(อินทรีย์คือสมาธิ) ปัญญินทรีย์ (อินทรีย์คือปัญญา) ย่อมมีแก่ผู้นั้น บุคคลนี้ เราเรียกว่า เป็นธัมมานุสารี เรากล่าวว่า ภิกษุแม้นี้ต้องทำกิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเราเห็นผลแห่งความไม่ประมาทของภิกษุนี้เช่นนี้ว่า จะเป็นการดีถ้าท่านผู้นี้ เมื่อใช้สอยเสนาสนะ ที่สมควร คบหากัลยาณมิตร ปรับอินทรีย์ให้เสมอจะพึงทำให้แจ้ง ประโยชน์ยอดเยี่ยม อันเป็นที่สุดแห่ง พรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ ต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน จึงกล่าวว่า ภิกษุนี้ต้องทำกิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท

ท่านผู้เป็นสัทธานุสารี เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่ได้สัมผัสสันตวิโมกข์ ซึ่งไม่มีรูปเพราะล่วงรูปฌาน ได้ด้วยกายอยู่ แต่อาสวะ บางเหล่าของผู้นั้นสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา อนึ่ง ผู้นั้น มีแต่เพียงความเชื่อ ความรักในตถาคต อีกประการหนึ่ง ธรรมเหล่านี้ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ย่อมมีแก่ผู้นั้น บุคคลนี้เราเรียกว่า เป็นสัทธานุสารี เรากล่าวว่า ‘ภิกษุแม้นี้ ต้องทำกิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเราเห็นผลแห่งความไม่ประมาทของภิกษุนี้ เช่นนี้ว่า จะเป็นการดีถ้าท่านผู้นี้ เมื่อใช้สอยเสนาสนะ ที่สมควร คบหากัลยาณมิตร ปรับอินทรีย์ ให้เสมอ จะพึงทำ ให้แจ้ง ประโยชน์ยอดเยี่ยม อันเป็นที่สุดแห่ง พรหมจรรย์ ที่เหล่า กุลบุตร ผู้ออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ ในปัจจุบัน’ จึงกล่าวว่า ‘ภิกษุนี้ต้องทำกิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์